Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 29

รายงานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ชีววิทยา เรื่อง การลำเลียงน้ำและ
อาหารของพืช ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเกาะคา
วิทยาคม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับการ
จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

จัดทำโดย
นางสาวมัทนา แมลงภู่ รหัสนักศึกษา 61181570135
สาขาวิชา ชีววิทยา

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาภาคเรียนที่
1/2565
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
โครงร่างงานวิจัยชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ชีววิทยา เรื่อง การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเกาะคาวิทยาคม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบ
เสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ชื่อนักศึกษา นางสาวมัทนา แมลงภู่ รหัสนักศึกษา 61181570135
ระยะเวลาที่ทำวิจัย วันที่ 6-21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การศึกษาเป็นรากฐานของสังคมที่มีบทบาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ และ
ความสามารถที่ตอบสนองได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ การศึกษาจึงเป็นกลไกลสำคัญ
ในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้มีการพัฒนาความคิด ความสามารถวิเคราะห์ปัญหาการตัดสินใจ
และการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมถือเป็นการพัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆ ในกา ร
ดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่น และประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข ตลอดจนเป็นการพัฒนาประเทศให้เจริญ
ก้าวหน้า ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้มนุษย์เข้าใจในธรรมชาติ ทำให้มนุษย์ได้
พัฒนาความคิดและนําความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการผลิตเครื่องมือช่วยในการอํานวยความ
สะดวกในชีวิตประจำวัน และถูกบรรจุให้มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมจนถึงระดับอุดม
ศึกษา ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจใน
ธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นสามารถนําความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผลสร้างสรรค์และมี
คุณธรรม (ทิพย์รัตน์, 2558)
การเรียนวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งหวัง
ให้นักเรียนนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ การ
แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การคิดเป็นเหตุเป็นผล การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะ
สาคัญในการค้นคว้า สร้างองค์ความรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และให้ผู้เรียนมีส่วน
ร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) และโลกแห่งการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป
ค่อนข้างมากในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา การศึกษาที่ยอมรับกันว่าเป็นการสร้างความรู้ความสาม ารถ
และพัฒนาศักยภาพคน ได้แก่ การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง การให้ผู้เรียนทุกคนได้มี
โอกาสรับรู้เพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของตนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะ
ทาได้ โดยปราศจากข้อจากัดทั้งระดับสติปัญญา ความสามารถในการรับรู้ และอื่ น ๆ อีกทั้งยังหวังว่า
ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่มีข้อจากัดด้านเวลา สถานที่ และที่ส ำคัญอีกประการหนึ่งคือเปิด
โอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดทั้งในการแก้ปัญหา วิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ในทุกระดับ (สุทธิพร
จิตต์มิตรภาพ, 2553)
วิชาชีววิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ แขนงหนึ่ง ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์
ระหว่างประชากรสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมการศึกษาลักษณะรูปร่าง และการจัดจําแนกสิ่งมีชีวิต
สำหรับการศึกษาในระดับย่อยลงมา เช่น การศึกษาองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ อวัยวะ เนื้อเยื่อ
และเซลล์ ในด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงานการจัดการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาในปัจจุบันนั้น
ส่ว นใหญ่เป็น แบบบรรยายจึงทำให้เนื้อหาวิชาชีววิทยาขาดความน่าสนใจส่งผลทำให้นักเรียนมี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาลดต่ ำลง ซึ่งผู้เรียนให้ความเห็นว่าวิชาวิทยาศาสตร์ต้องมีการ
เรียนรู้แบบท่องจำ เมื่อทำไม่ได้ก็ท้อเกิดความไม่อยากเรียนรู้ขึ้นมาเลยเหมารวมวิชาวิทยาศาสตร์ว่า
ต้องจำให้ได้ และท่องเก่งโดยสาเหตุหลักของการไม่ชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ว ได้แก่ 1. ด้านผู้สอนมี
การสอนแบบเน้นครูเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติที่เน้นการท่อ งจ ำ
บทเรียนให้กับเด็กอย่างไม่รู้ตัว 2. ด้านผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการรับฟังหรือจดบันทึก ทำให้
เกิดการเรียนรู้หรือจดจําเนื้อหาได้แค่เพียงในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากไม่ได้เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจาก
การสืบเสาะแสวงหาด้วยตนเองเพราะขาดความรับผิดชอบเอาใจใส่ 3. ด้านเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์
ในเรื่องที่เป็นทฤษฎีไม่มีการปฏิบัติหรือการทดลองเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับผู้เรียน ทำให้ขาด
ความสนในเนื้อหาได้ 4. ด้านสภาพแวดล้อมบรรยากาศของบริเวณโรงเรียนสื่อการเรียนการสอน
สภาพห้องเรียนที่น่าเบื่อจำเจซ้ำซากล้วนแต่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งนั้น (ทิพย์รัตน์, 2558)
จากสาเหตุที่กล่าวมาแล้วนั้น จึงทำให้ผู้เรียนบางส่วนเกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากเรียนขาดแรงจูงใจใน
การเรียนส่งผลให้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ ำ ซึ่งผู้วิจัย พบว่า นักเรียนภายในห้องเรียนมี
ความสามารถที่คละกัน นักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง การลำเลียงน้ำ
และอาหารของพืช ค่อนข้างต่ำ และนักเรี ยนบางคนเรียนไม่ทันเพื่อน เนื่องจากเนื้อหาในบทนี้มี
ค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่เป็นศัพท์เฉพาะที่ผู้เรียนไม่เคยเรียนมาก่อนทำให้ยากต่อการจดจํา อีกทั้ง
นักเรียนยังขาดความกระตือรือร้นในการเรียนส่งผลให้ผู้เรียนทำข้อสอบไม่ค่อยได้และผลคะแนนจึง
ออกมาค่อนข้างต่ำ ซึ่งผู้วิจัยคิดว่าน่าจะเป็นเพราะลักษณะการเรียนการสอนภายในห้องเรียนยังไม่ได้
รับความสนใจจากผู้เรียนเท่าที่ควร

2. แนวทางการแก้ปัญหา
การจัดการเรียนรู้โดยโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es เป็นการจัดการ
เรียนรู้ที่ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางความคิดหาเหตุผล ทำให้ค้นพบ
ความรู้หรือแนวทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es ประกอบ
ด้วย 5 ขั้นตอน คือการสร้า งความสนใจ (Engagement) การสำรวจและค้นหา (Exploration) การ
อธิ บ ายและลงข้ อ สรุ ป (Explanation) การขยายความรู้ (Elaboration) และการประเมิ น
(Evaluation) จากลำดับขั้นตอนดังกล่าวผู้เรียนสามารถสร้างความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตน
เอง มีการกำหนดประเด็นปัญหาหรือตั้งสมมติฐานขึ้นตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้วทดลองเพื่อ
ตรวจสอบหรือสืบค้นหาคำตอบตามสมมติฐานนั้นได้ใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล มุ่งให้
ผู้เรียน รู้จักคิดวิเคราะห์สังเคราะห์แสวงหาความจริงจากการสืบเสาะหาข้อมูล รู้จักการแก้ปัญหาด้วย
ตัวเอง (สาขาวิชาชีววิทยา สสวท (2550) และ ภูมินทร์ (2560))
การสอนที่เน้นการจัดสภาพทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่ม
ประกอบ ด้วยสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน โดยแต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการ
เรียนรู้ และในความสาเร็จของกลุ่ม โดยครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ สมาชิกในกลุ่ม มีความ
สามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมีความ
รับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้กลุ่มได้รับความสาเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด นักเรียนได้รู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ
ด้วยตนเอง และด้วยความร่วมมือ และความช่วยเหลือจากเพื่อน ๆ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางสังคม
ต่าง ๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ ทักษะการ
แสวงหาความรู้ ทักษะการคิด การแก้ปัญหา และอื่น ๆ (วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542), ไสว ฟักขาว
(2544), ทิศนา แขมมณี (2548))
ดังนั้น ผู้วิจัยมีความสนใจในการนำการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วม
กับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นพร้อมทั้ง
เป็นการฝึกทักษะการแก้ปัญหาเพื่อนาไปปรับใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต และการจัดการ
เรียนรู้แบบร่วมมือจะช่วยฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับ บทบาทของตนเองและสมาชิกคนอื่น ๆ ใน
กลุ่ม ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิด ขึ้นใน
ชีวิตประจำวัน และเข้าใจเนื้อหาของรายวิชชีววิทยามากขึ้นโดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้

3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การ
ลำเลียงน้ำและอาหารของพืช ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการ
จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือ

4. วิธีดำเนินการวิจัย
4.1 ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้น มัธ ยมศึ ก ษาปีท ี่ 5/1 โรงเรียนเกาะคา
วิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 คน
4.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4.2.1 แผนการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่ว มกับ
เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
4.2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว32243
เรื่อง การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีลักษณะเป็นแบบทดสอบ
แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ
4.2.3 แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ แบบกระบวนการสืบเสาะหา
ความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
4.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
4.3.1 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
4.3.2 ดำเนินการทดลองสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การลำเลียงน้ำและ
อาหารของพืช โดยจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคการจัดการ
เรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 6 แผน เป็นระยะเวลา 9 ชั่วโมง โดยสอน 3 สัปดาห์
4.3.3 ในขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมครูสังเกตพฤติกรรมทุกครั้ง และคอยตั้งคำถาม
เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน
4.3.4 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
4.3.5 วิเคราะห์ข้อมูลคะแนนที่ได้จากการทาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
4.4.1 วิเคราะห์ข้อมูล
1) วิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง การลำเลียง
น้ำและอาหารของพืช ระดับชั้นมัธ ยมศึกษาปีที่ 5/1 โดยวิเคราะห์ ห าผลต่าง ค่าเฉลี่ย และส่ว น
เบี่ยงเบนมาตรฐานจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบ
เสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es
2) วิเคราะห์ข้อมูลทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์หา
ร้อยละของคะแนนผู้เรียนที่ได้หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es
4.4.2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
4.4.2.1 ค่าร้อยละ (Percentage)
F
p = x 100
n
เมื่อ F แทน จำนวนข้อมูลที่เก็บรวบรวม
n แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด
4.4.2.2 ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean)
∑x
μ=
n
เมื่อ μ แทน ค่าเฉลี่ย
∑ x แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม
N แทน จำนวนคะแนนเต็มทั้งหมด
4.4.2.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
√N ∑ x2 -( ∑ x)2
σ =
N(N-1)
เมื่อ σ แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
X แทน คะแนนแต่ละตัว
N แทน จำนวนคะแนนเต็มทั้งหมด
∑ x แทน ผลรวมของคะแนน
4.4.2.4 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ
หาค่าความเที่ยงตรงของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาชีววิทยา โดยใช้ดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับเนื้อหา
∑R
IOC =
N
เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับข้อ
คำถาม
∑ R แทน ผลรวมของคะแนนความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

5. ผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 4 คน ซึ่งผู้วิจัยจะได้นำเสนอผลการวิจัย
ดังต่อไปนี้
5.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
5.2 ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้

5.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
5.1.1 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน
จากการทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จำนวน 40
ข้อ 40 คะแนน โดยจัดเป็นระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 ระดับ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนของนักเรียน ไม่ผ่าน
เกณฑ์ จำนวน 3 คิดเป็นร้อยละ 75 ระดับคะแนนผ่านเกณฑ์ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อละ 25 หลังจาก
นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือ พบว่า นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้น โดยนักเรียนทุกคนมีคะแนนแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนผ่านเกณฑ์ทุกคน
ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน
และหลังเรียน
ส่วนเบี่ยงเบน
การทดสอบ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ร้อยละ t
มาตรฐาน
ก่อนเรียน 40 17.50 43.75 5.45
2.73
หลังเรียน 40 23.75 59.37 1.71

จากตารางที่ 1 ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ
หลัง เรียนรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่ง
ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 17.50 และ
23.75 ตามลำดับ เมื่อนำมาเปรียบเทียบโดยใช้วิธีทางสถิติค่า t-test for dependent simple พบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 2.73,
p<0.05) แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ จึงกล่าวได้ว่า
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สามารถ
ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

5.2 ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้
นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา
ความรู้ 5 ขั้นร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช โดยรวมอยู่
ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.38) และนักเรียนมีความพึง
พอใจรายด้าน โดยด้านที่ค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย 4.45)
รองลงมาคือ ด้านเนื้อหา (ค่าเฉลี่ย 4.2) ด้านสื่อและอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย
4.15) และด้านการวัดผลและประเมินผล (ค่าเฉลี่ย 4.06) ตามตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา
ความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
ส่วน
ระดับความ
รายการที่ประเมิน ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบน
พึงพอใจ
มาตรฐาน
ด้านเนื้อหา
1. เนื้อหาที่เรียนเป็นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย 3.25 0.50 ปานกลาง
2. ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องที่เรียนตามความต้องการ 4.25 0.96 มาก
3. เนื้อหาที่เรียนไม่ยากเกินไป 4.25 0.50 มาก
4. เรื่องที่เรียนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ 4.25 0.96 มาก
5. ความรู้ที่ได้รับเป็นเรื่องที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 5 0.00 มากที่สุด
รวม 4.2 0.58 มาก
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
6. การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และแบบ
ร่วมมือทำให้นักเรียนมีความสุข 4.25 0.50 มาก
7. กิจกรรมการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหามากขึ้น 5 0.82 มากที่สุด
8. ในขณะที่เรียนเพื่อนในกลุ่มช่วยกันคิดและให้ความ
ร่วมมือ 5 0.00 มากที่สุด
9. ได้ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น 4.5 1.00 มาก
10. กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยน
ความรู้ความคิด 4.5 0.58 มาก
11. การจัดการเรียนรู้ทำให้จำเนื้อหาได้นาน 3.5 1.00 มาก

รวม 4.45 0.65 มาก


ด้านสื่อและอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
12. ในการเรียนมีสื่อที่น่าสนใจ 4 1.41 มาก
13. การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นและแบบ
ร่วมมือโดยใช้สื่อทำให้ฉันเข้าใจมากขึ้น 4.25 0.96 มาก
14. ตื่นเต้นเมื่อได้ทำการทดลอง 4 1.15 มาก
15. ในการเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง 4.5 1.00 มากที่สุด
16. มีสื่อเพียงพอต่อการเรียนของนักเรียน 4 0.82 มาก
รวม 4.15 1.07 มาก
ด้านการวัดผลและประเมินผล
17. ฉันได้ทราบคะแนนของตนเองและกลุ่ม 4.75 0.50 มากที่สุด
18. เมื่อตอบคำถามถูกต้องจะได้รับคำชมเชยเสมอ 3.75 1.26 มาก
19. เมื่อมีการทดสอบท้ายบทเรียน ฉันพอใจคะแนนที่ได้ 3.25 0.50 มาก
20. คุณครูมีวิธีการทดสอบที่เหมาะสม 4.5 0.58 มากที่สุด
รวม 4.06 0.71 มาก
โดยรวม 4.19 0.38 มาก

6. สรุปและสะท้อนผลความคิดเชิงวิชาชีพ
6.1 สรุปผลการศึกษา
จากการวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา เรื่อ ง การลำเลียงน้ำและ
อาหารของพืช โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือ สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้
6.1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นั ก เรี ย นมี ค ะแนนเฉลี ่ย ร้อ ยละของคะแนนแบบทดสอบวั ด ผลสั มฤทธิ์
ทางการเรีย นเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนทั้งชั้น เท่ากับ 17.50 และ 23.75 ตามลำดับ เมื่อ
นำมาเปรียบเทียบโดยใช้วิธีทางสถิติค่า t-test for dependent simple พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 2.73, p<0.05) แสดงว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ จึงกล่าวได้ว่าการจัดการเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ สามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

6.1.2 ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้
นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีความพึงพอใจต่อกิ จกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก มี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนมี
ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ ข้อ 5 , 7, 8, 15, 17 และ ข้อ 20 ที่กล่าวว่า กิจกรรมการเรียนรู้
ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหามากขึ้น (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 5) กิจกรรมการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา
มากขึ้น (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 5) ในขณะที่เรียนเพื่อนในกลุ่มช่วยกันคิดและให้ความร่วมมื อ (ค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 4.5) ในการเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้ว ยตนเอง (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.5) ฉันได้ทราบคะแนนของ
ตนเองและกลุ่ม (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.75) และคุณครูมีวิธีการทดสอบที่เหมาะสม (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.5)

6.2 สะท้อนผลความคิดเชิงวิชาชีพ
จากการวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การลำเลียง
น้ำและอาหารของพืช โดยการจั ดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือ ผู้วิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้ในกระบวนการต่าง ๆ มีส่วนสำคัญที่สามารถทำให้ผู้เรียน
เกิดทักษะกระบวนที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจากการทำวิจัยทำให้เกิดประโยชน์ต่อ
ผู้เรียนอย่างถ่อแท้ได้จากการลงมือปฏิบัติ แก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกขณะในการดำเนินกิจกรรม
เป็นกลุ่มที่ทุกคนต้องทำข้อตกลงและตัดใจจนทำให้เกิดผลสำเร็จ และเข้าใจเนื้อหาของวิชาชีววิทยาได้
อย่างเข้าใจ
บรรณานุกรม

พรทิพย์ สุดรักษา. 2555. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ


ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนสืบเสาะหา
ความรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ทิศนา แขมมณี. 2548. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542. แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร:แอล ที
เพรส.
ภูมินทร์ สุวรรณสูร . 2560. รายงานการวิจัยในชั้นเรียนศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิส ิกส์
เพิ่มเติม 4 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้แบบ 5E. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
อำเภอเมืองนนทบุร ี จังหวัดนนทบุรี , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธ ยมศึกษา เขต 3,
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ.
สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. 2553. “การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่
ครูมืออาชีพ” อ้างอิงจาก สุดาพร ลักษณียนาวิน. การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. สมาคม
เครื อ ข่ า ยการพั ฒ นาวิ ช าชี พ อาจารย์ แ ละองค์ ก รอุ ด มศึ ก ษาแห่ ง ประเทศไทย. สำนั ก
คณะกรรมการการอุดมศึกษา: กระทรวงศึกษาธิการ.
สาขาชีววิทยา สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (สสวท.). 2550. รูปแบบการเรียน
การสอนที่พัฒนากระบวนการคิดระดับสูงวิชาชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.
[ออนไลน์ ] เข้ า ถึ ง ได้ จ าก : Available:http://www.ipst.ac.th/biology/Bio-Articles/m
ag-content10.html (วันที่ค้นข้อมูล : 19 มิถุนายน 2565)
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2562. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) 2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.onec.go.th/Inde
x.php/page/category/CAT0000011 (วันที่ค้นข้อมูล : 19 มิถุนายน 2565).
ไสว ฟักขาว. หลักการสอนสาหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร:เอมพันธ์, 2544.
อุไรวรรณ ปานีสงค์, จิต นวนแก้ว, สุมาลี เลี่ยมทอง. 2560. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบ
เสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิค การจัดแผนผังมโนทัศน์เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีผล
ต่อความ สามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิ บูล
สงคราม. 11(1): 134-147.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
แบบทดสอบ บทที่ 10 การลำเลียงของพืช
คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวแล้วทำเครื่องหมาย (X) ลงใน
กระดาษคำตอบ ตรงกับตัวเลือก ก ข ค หรือ ง
1. เมื่อนำต้นกระสังแช่ในน้ำสี ทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำสี ข้อใดถูกต้อง
ก. น้ำสีเคลื่อนที่เข้าสู่ราก และมีทิศทางลำเลียงไปยังลำต้นโดยผ่านท่อลำเลียงน้ำ
ข. น้ำสีเคลื่อนที่เข้าสู่ราก และมีทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้นส่วนบนไปสู่ลำต้นและใบทางท่อลำเลียง
อาหาร
ค. น้ำสีเคลื่อนที่เข้าสู่ราก และมีทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้นส่วนบนไปสู่ลำต้นและใบทางท่อลำเลียงน้ำ
ง. น้ำสีเคลื่อนที่เข้าสู่ราก และมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชโดยการแพร่
2. โครงสร้างที่พืชใช้ในการลำเลียงน้ำ-เกลือแร่ขึ้นสู่ลำต้น กิ่ง และใบคืออะไร
ก. ระบบราก
ข. แคมเบียม
ค. โฟลเอ็ม
ง. ไซเล็ม
3. ความเข้มข้นของน้ำในเซลล์รอบ ๆ ท่อลำเลียงน้ำจะเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับความเข้มข้น
ของน้ำในท่อลำเลียงน้ำ
ก. เซลล์ท่อลำเลียงน้ำมีความเข้มข้นของน้ำมากกว่า
ข. ความเข้มข้นของน้ำระหว่างเซลล์ทั้งสองเท่ากัน
ค. ไม่มีข้อถูก
ง. ความเข้มข้นของน้ำรอบ ๆ ท่อลำเลียงน้ำจะมีความเข้มข้นมากกว่าในท่อลำเลียงน้ำ
4. ท่อลำเลียงอาหารแตกต่างจากท่อลำเลียงน้ำอย่างไร
ก. ท่อลำเลียงอาหารเป็นเซลล์มีชีวิตท่อลำเลียงน้ำเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว
ข. ท่อลำเลียงทั้งสองมีนิวเคลียส
ค. ท่อลำเลียงอาหารเป็นเซลล์ที่ตายแล้วส่วนท่อลำเลียงน้ำเป็นเซลล์ที่มีชีวิต
ง. ท่อลำเลียงทั้งสองเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว
5. ส่วน A มีเนื้อเยื่อลำเลียงชนิดใดถ้าควั่น A ออกส่งผลอย่างไรต่อกิ่งไม้นี้

ก. ส่วน A มีไซเลม และการควั่น A ออกส่งผลให้ต้นไม้ลำเลียงน้ำจากรากขึ้นสู่ใบและกิ่งไม่ได้


ข. ส่วน A มีโฟลเอ็ม และการควั่น A ออกส่งผลให้ต้นไม้ลำเลียงน้ำจากใบไปสู่รากของต้นไม้นี้ไม่ได้
ค. ส่วน A มีไซเลม และการควั่น A ออกส่งผลให้ต้นไม้ลำเลียงอาหารจากส่วนล่างรอยควั่นไปสู่ใบ
ของกิ่งนี้ไม่ได้
ง. ส่วน A มีโฟลเอ็ม และการควั่น A ออกส่งผลให้ต้นไม้ลำเลียงอาหารจากใบของกิ่งนี้ไปสู่ส่วนล่าง
รอยควั่นไม่ได้
6. ปัจจัยในข้อใดที่ทำให้เกิดการลำเลียงน้ำจากรากไปยังลำต้นและใบ
ก. แรงดันภายในท่อโฟลเอ็มเนื่องจากการลำเลียงน้ำภายในท่อ
ข. แรงดันภายในท่อไซเล็มเนื่องจากการคายน้ำของพืช
ค. แรงดันที่เกิดขึ้นเนื่องจากไซเล็มมีขนาดเล็กและตีบ
ง. แรงดันรากที่เกิดขึ้นเนื่องจากน้ำในเซลล์ขนรากมีปริมาณมากกว่าน้ำในดิน
7. ลักษณะของสภาพแวดล้อมแบบใดที่จะช่วยทำให้พืชลดอัตราการสูญเสียนํ้าผ่านทางปากใบได้ดี
ที่สุด
ก. แสงแดดจัด ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศตํ่า
ข. อุณหภูมิตํ่า หลังฝนตกหนักใหม่ ๆ
ค. แสงแดดจัด ปริมาณนํ้าในดินสูง
ง. ปริมาณนํ้าในดินสูง ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศตํ่า
8. การคายน้ำในรูปของหยดน้ำจะเกิดขึ้นที่บริเวณใดของใบมากที่สุด และใช้วิธีใด
ก. ปากใบ การแพร่
ข. ขอบใบ กัตเตชัน
ค. ท้องใบ ออสโมซิส
ง. ปลายใบ การระเหย
9. กลุ่มเซลล์ที่ทําหน้าที่เป็นท่อลําเลียงน้ำ พบได้ในส่วนใดของพืช
ก. เฉพาะราก
ข. รากและลําต้น
ค. ราก ลําต้นและกิ่ง
ง. ราก ลําต้น กิ่งและใบ
10. ท่อลําเลียงน้ำในลําต้นพืชใบเลี้ยงคู่จะมีลักษณะอย่างไร
ก. เรียงกันอยู่เป็นวง
ข. กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
ค. อยู่เป็นกลุ่มตรงกลางลําต้น
ง. อยู่เป็นหย่อม ๆ ระหว่างเซลล์
11. ข้อใดเรียงลําดับการลําเลียงน้ำของพืชได้ถูกต้อง
ก. ใบต้น ราก กิ่ง
ข. ราก ต้น กิ่ง ใบ
ค. ใบ กิ่ง ราก ต้น
ง. ต้น กิ่ง ราก ใบ
12. การลำเลียงน้ำในรากมีกี่แบบ
ก. 2 แบบ คือ แบบซิมพลาสต์ แบบอโพพลาสต์
ข. 2 แบบ คือ แบบซิมพลาสต์ แบบทรานส์เมมแบรน
ค. 3 แบบ คือ แบบซิมพลาสต์ แบบทรานส์เมมแบรน
แบบอโพพลาสต์
ง. 3 แบบ คือ แบบซิมพลาสต์ แบบอโพพลาสต์ การคายน้ำ
13. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการลำเลียงในพืช
ก. การลำเลียงน้ำจากรากขึ้นไปสู่บริเวณยอดของไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เกี่ยวข้องกับแรงดึงจากการ
คายน้ำที่ใบ และแรงดันรากมากที่สุด
ข. การแพร่ของน้ำในไซเลมเข้าสู่โฟลเอม ทำให้แรงดันที่ใช้ในการลำเลียงสารอาหารในซีฟทิวบ์
ค. การลำเลียงธาตุอาหารแบบใช้พลังงาน ทำให้พืชสามารถสะสมธาตุอาหารสำคัญบางชนิดได้
ง. การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุเข้าสู่เอนโดเดอร์มิส ทำให้พืชสามารถสะสมธาตุอาหารสำคัญบางชนิด
ได้
14. กระบวนการลำเลียงน้ำและสารอาหารต่าง ๆ ไปทางด้านข้างของลำต้นจะผ่านส่วนที่เรียกว่าอะไร
ก. pit
ข. ray
ค. lumen
ง. plasmodermata
15. โครงสร้างของพืชที่ทำหน้าที่เป็นกำแพงกั้นการลำเลียงน้ำ ภายในลำต้นและรากของพืชคืออะไร
ก. Pericycle
ข. Casparian Strip
ค. Cortex
ง. Endodermis
16. ในกลุ่มท่อน้ำ ท่ออาหารของพืชมีเซลล์ชนิดหนึ่งที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงน้ำและ
อาหารเซลล์ชนิดนี้ คืออะไร
ก. เซลล์คอมพาเนียน
ข. เซลล์ไฟเบอร์
ค. เซลล์เทรคีด
ง. เซลล์ซีฟทิวบ์เมมเบอร์
17. จากภาพหมายเลข 1 เป็นการลำเลียงน้ำแบบใด
ก. แบบซิมพลาสต์
ข. แบบอโพพลาสต์
ค. ไม่มีข้อใดถูก
ง. แบบทรานส์เมมแบรน
18. จากภาพหมายเลข 2 เป็นการลำเลียงน้ำแบบใด
ก. แบบซิมพลาสต์
ข. แบบอโพพลาสต์
ค. ไม่มีข้อใดถูก
ง. แบบทรานส์เมมแบรน
19. โครงสร้างใดของพืชที่ส่วนใหญ่มีการคายน้ำเกิดขึ้นมากที่สุด
ก. ปากใบ
ข. ปลายใบ
ค. เซลล์คุม
ง. รอยแตกของใบ
20. ข้อไม่ใช่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคายน้ำ
ก. แสงสว่าง
ข. ความชื้น
ค. อุณหภูมิ
ง. การเจริญเติบโต
21. ในการทดลองการลำเลียงน้ำของพืชโดยนำต้นกระสังแช่ลงในน้ำหมึกสีแดง ถ้าต้องการทำให้น้ำ
หมึกสีแดงเคลื่อนที่เข้าสู่ต้นเทียนเร็วขึ้น ควรทำอย่างไร
ก. นำขวดที่แช่ต้นเทียนไปวางไว้ตรงที่มีแสง
ข. เพิ่มปริมาณน้ำหมึกสีแดง
ค. เพิ่มความเข้มข้นของน้ำหมึกสีแดง
ง. นำต้นเทียนที่เป็นต้นอ่อนมาทดสอบ
22. ถ้านำต้นกระสังมาตัดตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ กลุ่มเซลล์ที่ติดสีแดง
คืออะไร
ก. กลุ่มท่อลำเลียงน้ำ
ข. กลุ่มท่อลำเลียงอาหาร
ค. กลุ่มเซลล์ที่กำลังเจริญ
ง. กลุ่มของเซลล์ที่มีไขมัน
23. ถ้ารากไม่มีขนรากจะเกิดอะไรขึ้น
ก. รากจะไม่ชอนไชไปในดิน
ข. ลำเลียงอาหารและน้ำไม่ได้
ค. รากพืชจะยึดพื้นดินไม่มั่นคง
ง. รากดูดซึมน้ำและแร่ธาตุได้น้อยลง
24. การอนุรักษ์ดินและน้ำโดยวิธีพืช วิธีใดที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีความลาดเทต่ำ
ก. การปลูกพืชคลุมดิน (cover cropping)
ข. การปลูกพืชหมุนเวียน (crop rotation)
ค. การปลูกพืชตามแนวระดับ (contour cultivation or contouring)
ง. การปลูกพืชสลับเป็นแถว (strip cropping)
25. การดูดน้ำและแร่ธาตุของพืชจำเป็นต้องอาศัยรากเสมอไปหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ไม่จำเป็น เพราะพืชมีองค์ประกอบส่วนอื่นที่สามารถทำหน้าที่แทนรากได้
ข. ไม่จำเป็น เพราะการตัดกิ่งไม้มาแช่น้ำก็มีการดูดน้ำไปเลี้ยงลำต้นได้
ค. จำเป็น เพราะรากมีหน้าที่ลำเลียงน้ำ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
26. จากการทดลองพบว่า ระดับน้ำในหลอดทดลอง X ยังคงที่ ในขณะที่น้ำในหลอดทดลอง Y จะ
ลดลงเมื่อผ่านไปเป็นเวลาสามวัน จากผลการทดลองนี้ข้อใดเป็นข้อเท็จจริง

ก. น้ำสูญเสียจากหลอดทดลอง Y ผ่านใบของต้นกล้า
ข. น้ำมันดันน้ำลงในหลอดทดลอง X
ค. น้ำสูญเสียจากหลอดทดลอง Y เนื่องจากระเหยผ่านน้ำมัน
ง. น้ำไหลผ่านรูเล็ก ๆ ในหลอดทดลอง
27. ระบบการให้น้ำพืชเป็นเทคโนโลยีวิศวกรรมเกษตรที่สามารถจัดการควบคุมปริมาณการให้น้ำพืช
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสะดวก ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประโยชน์ของระบบการให้น้ำพืช
ก. กําหนดเวลาการเก็บผลผลิตได้
ข. เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต
ค. สะดวกและประหยัดเวลาการให้น้ำ
ง. มีค่าใช้จ่ายที่สูง
28. ดอกไม้สด เมื่อตัดจากต้นแล้วมักมีอายุสั้น เหี่ยวเร็ว ข้อใดดังต่อไปนี้ที่ไม่ได้ช่วยยืดอายุดอกไม้ให้
นานขึ้น
ก. สารที่มีแอลกอฮอล์ เช่น วอดก้า
ข. น้ำยาซักผ้าขาว
ค. น้ำตาลทราย
ง. เกลือ
29. การสูญเสียน้ำในรุปของไอออน เรียกว่า ___________ และเกิดขึ้นใน _____________จงเลือก
คำตอบที่ถูกต้อง
ก. การคายน้ำ ใบไม้
ข. การระเหย ลำต้น
ค. การคายน้ำ xylem
ง. การคายน้ำ ราก
30. การทดลองเพื่อแสดงการคายน้ำที่เกิดขึ้นในใบพืช
น้ำกลั่นตัวที่ด้านในของถุงพลาสติก ข้อใดต่อไปนี้ใช้ทดสอบน้ำ

ก. กระดาษโคบอลต์คลอไรด์
ข. กระดาษลิตมัส
ค. กระดาษ pH
ง. ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์
31. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้อง
ก. แร่ธาตุเข้าสู่รากพืชโดยการแพร่ น้ำเข้าสู่รากพืชด้วยการออสโมซิส
ข. แร่ธาตุเข้าสู่รากพืชโดยการออสโมซิส น้ำเข้าสู่รากพืชด้วยการแพร่
ค. แร่ธาตุและน้ำเข้าสู่รากพืชด้วยการออสโมซิส
ง. แร่ธาตุและน้ำเข้าสู่รากพืชโดยการแพร่
32. การย้ายต้นเข็มไปปักชำ ต้องเด็ดใบทิ้งบ้างเพื่อเหตุผลข้อใด
ก. ลดการคายน้ำ
ข. ป้องกันการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ค. ป้องกันการบังแสงแดดในกลุ่มใบ
ง. ป้องกันไม่ให้แมลงมารบกวนขณะปักชำ
33. น้ำตาลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชโดยใช้ส่วนใด
ก. ขนราก
ข. ท่อลำเลียงอาหาร
ค. ท่อลำเลียงแร่ธาตุ
ง. ท่อลำเลียงน้ำ-เกลือแร่
34. ถ้าควั่นเปลือกต้นไม้ออกดังรูป จะทำให้เกิดอะไรขึ้นในสองสัปดาห์ต่อมา

0
ก. ผล A จะเล็กลง ผล B เจริญตามปกติ
ข. ผล A และ B จะเล็กลงทั้งคูเพราะขาดน้ำ
ค. ผล A เจริญตามปกติผล B จะเล็กไมเจริญ
ง. ผล A และ B จะเล็กลงทั้งคู่เพราะขาดอาหาร
35. อาหารที่ถูกลำเลียงในโฟลเอ็มจะอยู่ในรูปใด
ก. กลูโคส
ข. ฟรักโทส
ค. ซูโครส
ง. แป้ง
36. ต้นสักที่มีความสูงมากแต่สามารถลำเลียงน้ำจากดินสู่ยอดต้นสักได้ แรงในข้อใดที่ทำให้ต้นสัก
สามารถลำเลียงน้ำได้สูงสุด
ก. เซลล์พาเรงไคมาช่วยปั๊มน้ำเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำ
ข. เกิดจากแรงดันราก (root pressure)
ค. เกิดจากแรงดึงเนื่องจากการคายน้ำ (transpiration pull)
ง. เกิดจากกระบวนการออสโมซิส
37. สภาพแวดล้อมในข้อใดเหมาะสมต่อการเกิดguttation ได้มากที่สุด
ก. ไม้พื้นล่างในป่าชายเลนบนฝั่งในช่วงฤดูฝน
ข. ไม้พื้นล่างในป่าดิบชื้นใกล้น้ำตกลมสงบ
ค. ไม้พุ่มในป่าไม้เบจพรรณหลังคืนฝนตกแสงแดดน้อย
ง. ไม้พุ่มในป่าดิบแล้ง อากาศมืดครึ้มฝนกำลังจะตก
38. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำของพืช
ก. ความเข้มของแสง
ข. อุณหภูมิ
ค. จำนวนใบ
ง. ดิน
39. แอมแปร์สังเกตเห็นพืชที่ขึ้นในพื้นที่แห่งหนึ่งมีใบอ่อนมีสีเหลือง แต่เส้นใบยังมีสีเขียวอยู่ แอมแปร์
ควรตั้งสมมติว่าพืชนั้นขาดธาตุใด
ก. ไนโตรเจน
ข. เหล็ก
ค. ซัลเฟอร์
ง. แมกนีเซียม
40. ข้อใดอธิบายบทบาทของแรงดันราก (root pressure) ได้ถูกต้อง
ก. ซ่อมแซมสายน้ำที่ขาดตอนในท่อโฟลเอ็ม
ข. ซ่อมแซมสายน้ำที่ขาดตอนในท่อไซเล็ม
ค. ทำให้เกิด guttation ในต้นกล้า
ง. ข้อ ข และ ค ถูกต้อง
ภาคผนวก ข
ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
และเกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
โดยผู้เชียวชาญ จำนวน 3 ท่าน
ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบกหลังเรียน
เรื่อง การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเกาะคาวิทยาคม
ตาราง ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบและหลังเรียน เรื่อง การ จากผู้เชียวชาญ จำนวน 3
ท่าน โดยพิจารณาความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ของข้อสอบ
ตัวชี้วัด/ ข้อที่ ความ ความ ความ
พฤติกรรม คิดเห็นของ คิดเห็นของ คิดเห็นของ
ที่ต้องการวัด ผู้เชี่ยวชาญ1 ผู้เชี่ยวชาญ2 ผู้เชี่ยวชาญ2 สรุปผล หมายเหตุ
(นางสาวสุภาวดี (นางวราภรณ์ (นางอนัญญา ริด
ใจดี) สุภายะ) เดิล)

+1 0 -1 +1 0 -1 +1 0 -1 IOC แปลผล
1. 1 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
2 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
3 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
4 ✓ ✓ ✓ 0.67 มีความตรง
5 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
6 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
7 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
8 ✓ ✓ ✓ 0.67 มีความตรง
9 ✓ ✓ 1 มีความตรง
10 ✓ ✓ ✓ 0.67 มีความตรง
11 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
12 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
13 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
14 ✓ ✓ ✓ 0.67 มีความตรง
15 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
16 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
17 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
18 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
19 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
20 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
21 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
22 ✓ ✓ ✓ 0.67 มีความตรง
23 ✓ ✓ ✓ 0.67 มีความตรง
24 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
25 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
26 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
27 ✓ ✓ ✓ 0.67 มีความตรง
28 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
29 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
30 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
31 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
32 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
33 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
34 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
35 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
36 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
37 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
38 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง
39 ✓ ✓ ✓ 0.67 มีความตรง
40 ✓ ✓ ✓ 1 มีความตรง

เกณฑ์การพิจารณา
IOC ≥ 0.5 แสดงว่ า ข้ อ สอบ มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ ตั ว ชี ้ ว ั ด /พฤติ ก รรมที ่ ต ้ อ งการวั ด
หมายความว่าข้อสอบ ข้อนั้นมีความตรงตามเนื้อหา สามารถนำข้อสอบไปใช้ในการทดสอบได้จริง
IOC ≤ 0.5 แสดงว่ า ข้ อ สอบ ไม่ ม ี ค วามสอดคล้ อ งกั บ ตั ว ชี ้ ว ั ด /พฤติ ก รรมที ่ ต ้ อ งการวั ด
หมายความว่าข้อสอบ ข้อนั้นไม่มีความตรงตามเนื้อหา ไม่สามารถนำข้อสอบไปใช้ในการทดสอบได้

สรุปผลการตรวจสอบคุณภาพ
ข้อสอบมีทั้งหมด จำนวน 40 ข้อ โดยมีข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์ IOC จำนวน 40 ข้อ เป็นข้อสอบ
ที่มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและมีความตรงตามเนื้อหา จึงสามารถนำข้อสอบไป
ใช้ในการทดสอบได้
ภาคผนวก ค
แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา
ความรู้ 5 ขั้นร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น
ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย √ ลงในช่องว่างที่นักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อการเรียนรู้
แบบร่วมมือ
เกณฑ์การให้คะแนน
ระดับ 5 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพ มากที่สุด
ระดับ 4 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพ มาก
ระดับ 3 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภำพ ปานกลำง
ระดับ 2 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพ น้อย
ระดับ 1 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพ น้อยที่สุด
ระดับความพึงพอใจ
รายการประเมิน
5 4 3 2 1
ด้านเนื้อหา
1. เนื้อหาที่เรียนเป็นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย
2. ได้ศึกษาเรื่องที่เรียนตามความต้องการ
3. เนื้อหาที่เรียนไม่ยากเกินไป
4. เรื่องที่เรียนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
5. ความรู้ที่ได้รับเป็นเรื่องที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
6. การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และแบบร่วมมือทำให้นักเรียน
มีความสุข
7. กิจกรรมการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหามากขึ้น
8. ในขณะที่เรียนเพื่อนในกลุ่มช่วยกันคิดและให้ความร่วมมือ
9. ได้ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น
10. กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้
ความคิด
11. การจัดการเรียนรู้ทำให้จำเนื้อหาได้นาน
ด้านสื่อและอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
12. ในการเรียนมีสื่อที่น่าสนใจ
13. การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้และแบบร่วมมือโดยใช้สื่อทำ
ให้ฉันเข้าใจมากขึ้น
14. ตื่นเต้นเมื่อได้ทำการทดลอง
15. ในการเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
16. มีสื่อเพียงพอต่อการเรียนของนักเรียน
ด้านการวัดผลและประเมินผล
17. ฉันได้ทราบคะแนนของตนเองและกลุ่ม
ระดับความพึงพอใจ
รายการประเมิน
5 4 3 2 1
18. เมื่อตอบคำถามถูกต้องจะได้รับคำชมเชยเสมอ
19. เมื่อมีการทดสอบย่อยท้ายบทเรียน ฉันพอใจคะแนนที่ได้
20. คุณครูมีวิธีการทดสอบที่เหมาะสม

เกณฑ์การให้คะแนน
ระดับคุณภาพของกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (X) เป็นรายข้อและแปล
ความหมายของค่ำเฉลี่ยโดยใช้เกณฑ์สัมบูรณ์แปลผลคะแนนเป็นช่วง ๆ มีความหมายดังนี้
คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายความว่า มีระดับคุณภาพ น้อยที่สุด
คะแนนเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายความว่า มีระดับคุณภาพ น้อย
คะแนนเฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายความว่า มีระดับคุณภาพ ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายความว่า มีระดับคุณภาพ มาก
คะแนนเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายความว่า มีระดับคุณภาพ มากที่สุด
ภาคผนวก ง
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรมระหว่างการเก็บข้อมูลในการทำวิจัย

นักเรียนทำข้อสอบก่อนเรียน เรื่อง การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช

นักเรียนทำกิจกรรมการดูดน้ำจากสูงที่ต่างกัน

นักเรียนทำปฏิบัติการ เรื่อง การลำเลียงน้ำของพืช


นักเรียนทำกิจกรรม stem education เรื่อง การปลูกต้นอ่อนทานตะวัน

นักเรียนเล่นเกมจับคู่คำศัพท์ เรื่อง การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช

นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรียน เรื่อง การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช


ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ-สกุล นางสาวมัทนา แมลงภู่


วัน/ เดือน/ ปีเกิด 18/09/2542
ติดต่อ โทรศัพท์มือถือ : 0964476749
E-mail : matthana3177@gmail.com
Facebook : Miuta Un
ประวัติการศึกษา
มัธยมศึกษา : โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยา
ปัจจุบัน : ปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต (ค.บ. 5 ปี)
สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง

You might also like