บทที่ 3 การจัดการเงินทุนระยะสั้น

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 25

บทที่ 3

การจัดหาเงินทุนระยะสั้น

ความหมายและประเภทของเงินทุนระยะสั้น
ในการศึกษาเงินทุนระยะสั้น ควรเริ่มต้นด้วยการศึกษาความหมายและประเภทของเงินทุนระยะสั้น
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ความหมายของเงินทุนระยะสั้น
เงินทุนระยะสั้นหมายถึงเงินทุนที่กิจการจัดหาได้จากการก่อหนี้สินระยะสั้น ซึ่งมีกําหนดระยะเวลาใช้
คืนภายใน 1 ปี เงินทุนส่วนนี้กิจการควรใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ
เป็นต้น
เงินทุนที่ได้มาจากเงินกู้ระยะสั้นหากนํามาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ จะสามารถชําระ
คืนได้ในตัวเอง (Self-liquidation) การชําระคืนได้ในตัวเองหมายถึงการที่ผู้กู้นําเงินกู้ไปลงทุนใน
สินทรัพย์หมุนเวียน เช่น ลูกหนี้สินค้า คงเหลือ แล้วสินทรัพย์หมุนเวียนเหล่านี้เปลี่ยนสภาพกลับมา
เป็นเงินสดภายในระยะเวลา 1 ปี ทําให้ผู้กู้สามารถชําระ หนี้ได้จากเงินที่เก็บจากลูกหนี้หรือเงินที่เก็บ
จากการขายสินค้านั่นเอง ลักษณะเช่นนี้จึงเรียกว่า การชําระคืนได้ในตัวเอง ซึ่งต่างจากเงินกู้ที่ใช้ลงทุน
ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ซึ่งสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนั้นจะไม่เปลี่ยนสภาพตัวเองเป็นเงินสด
ดังนั้น จึงถือว่าเงินกู้ที่ใช้ลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนไม่สามารถชําระคืนได้ในตัวเอง
ประเภทของเงินทุนระยะสั้น
ประเภทของเงินทุนระยะสั้น แบ่งตามวิธีการจัดหา
เงินทุนระยะสั้นจัดหาได้จากการก่อหนี้สินระยะสั้น ซึ่งมีผลให้กิจการมีรายการเจ้าหนี้ในงบการเงินของ
กิจการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้การค้า ตัวเงินจ่าย และเจ้าหนี้เงินกู้การก่อหนี้สินระยะสั้นแต่
ละรายการมีวิธีการต่างกัน ดังนั้น จึงจําแนกประเภทของเงินทุนระยะสั้นตามวิธีการจัดหาเงินทุนได้ 3
ประเภท ได้แก่
1. สินเชื่อทางการค้า (Trade Credit) เป็นเงินทุนระยะสั้นที่เกิดจากผู้ขายให้สินเชื่อผู้ซื้อ โดยผู้ขาย
ยินยอม มอบสินค้าให้ผู้ซื้อ และกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ซื้อมาชําระเงินภายหลัง
2. ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper) เป็นการจัดหาเงินทุนระยะสั้นโดยออกตั๋วเงินกู้ระยะสั้นที่
ไม่มี หลักทรัพย์ค้ําประกันให้แก่ผู้ซื้อตั๋ว เป็นการสัญญาว่าจะมีการจ่ายเงินตามกําหนดเวลาและ
เงื่อนไขในตัว
3. เงินกู้ระยะสั้น (Short Term Loans) เป็นเงินทุนระยะสั้นที่มีกําหนดใช้คืนภายในเวลา 1 ปี เงินกู้
ระยะสั้น จําแนกเป็นเงินกู้ระยะสั้นที่มีหลักประกัน และเงินกู้ระยะสั้นที่ไม่มีหลักประกัน
3.1 เงินกู้ระยะสั้นที่มีหลักประกัน (Secured Loans) หมายถึงเงินกู้ที่มีหลักทรัพย์ค้ําประกัน
หลักทรัพย์ ที่นํามาค้ําประกันได้แก่ ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ และสินทรัพย์อื่นๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล
อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
3.2 เงินกู้ระยะสั้นที่ไม่มีหลักประกัน (Unsecured Loans) มีลักษณะต่างๆ กันตามข้อตกลง
ในการกู้ การกู้ยืมแต่ละครั้งจะใช้ตัวสัญญาใช้เงินเป็นหลักฐานการกู้ยืม จําแนกได้เป็นเงินกู้ชนิด
กําหนดวงเงิน เงินกู้ชนิด หมุนเวียน และเงินกู้เฉพาะกรณี
3.2.1 เงินกู้ชนิดกําหนดวงเงิน (Line of Credit) เป็นการตกลงระหว่างผู้ใหญ่กับผู้
เกี่ยวกับ จํานวนเงินสูงสุดที่ผู้ให้กู้จะยอมให้กู้ ผู้กู้จะขอกู้อย่างต่ําเท่าไรก็ได้ แต่สูงสุดต้องไม่เกินวงเงินที่
กําหนด ดอกเบี้ยจะคิด เฉพาะจํานวนที่ผู้กู้เบิกไปใช้เท่านั้น วงเงินที่กําหนดนี้จะมีอายุของข้อตกลงไม่
เกิน 1 ปี และผู้ให้กู้อาจจะเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขของข้อตกลงหรือระงับการกู้ยืมได้โดยไม่ต้องรอให้
ข้อตกลงนี้ครบกําหนด นั่นคือ ผู้ให้กู้ไม่ได้มีข้อผูกพันตาม กฎหมายว่าจะต้องมีเงินให้กู้ทุกครั้งที่ขอกู้
3.2.2 เงินกู้ชนิดหมุนเวียน (Revolving Credit) เป็นข้อผูกพันตามกฎหมายที่ผู้ให้กู้
จะต้องให้ผู้ กู้กู้เงินในวงเงินที่ตกลงและภายในเวลาที่ตกลงไว้ โดยผู้กู้มีสิทธิขอกู้ได้ตราบเท่าที่การขอกู้
ยังไม่เกินเวลาและวงเงินที่ กําหนด ดอกเบี้ยจะคิดเฉพาะจํานวนเงินที่กู้ไปเท่านั้น ส่วนวงเงินที่ไม่ได้
เบิกใช้ ผู้ให้กู้อาจจะคิดค่าธรรมเนียมผูกพัน เงินกู้ (Commitment Fee) ในทางปฏิบัติประมาณ
0.5% ผู้กู้จะออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เป็นหลักฐาน ตัวสัญญาใช้เงิน ที่เป็นหลักฐานการกู้ยืมปกติจะมี
อายุตั๋วไม่เกิน 90 วัน เช่น กําหนดวงเงินกู้ชนิดหมุนเวียนไว้ 10,000 บาท กู้เงินไปใช้ 4,000 บาท
ดอกเบี้ยจะคิดจากจํานวนเงิน 4,000 บาท ส่วนวงเงินที่เหลือ 6,000 บาท จะคิดค่าธรรมเนียมผูกพัน
เงิน กู้ ผู้กู้ยังมีสิทธิกู้ได้อีก 6,000 บาท และถ้านําเงินมาใช้คืนผู้ให้กู้แล้ว 3,000 บาท ผู้กู้ก็จะมีวงเงินที่
จะกู้ได้เปลี่ยนจาก 6,000 บาท เป็น 9,000 บาท เป็นต้น
ข้อแตกต่าง เงินกู้ชนิดหมุนเวียนมีลักษณะคล้ายกันกับเงินกู้ชนิดกําหนดวงเงิน คือ ต่างก็เป็น เงินกู้ที่มี
ข้อตกลงเกี่ยวกับวงเงินที่จะให้กู้ว่าสูงสุดไม่เกินเท่าไร แต่เงินกู้ชนิดหมุนเวียนจะมีข้อแตกต่างจากเงินกู้
ชนิด กําหนดวงเงิน 3 ประการ คือ
1) ผู้ให้กู้มีข้อผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องให้เงินกู้กับลูกค้าทุกครั้งที่ขอกู้ ตราบเท่าที่การ
ขอกู้ยังไม่เกินเวลาและวงเงินที่กําหนด
2) อายุของสัญญาอาจจะเกิน 1 ปี ดังนั้นเงินกู้ชนิดหมุนเวียนจึงเป็นทั้งเงินทุนระยะสั้น และระยะปาน
กลาง เป็นเงินทุนระยะสั้นถ้าอายุของสัญญาไม่เกิน 1 ปี และจัดเป็นเงินทุนระยะปานกลางถ้าอายุ
สัญญา เกินกว่า 1 ปี แต่โดยปกติมักจะไม่เกิน 3 ปี
ไปใช้ เพราะผู้ให้กู้ถือว่ามีภาระผูกพันในการที่จะต้องจัดเตรียมเงินสําหรับการกู้ตลอดเวลา
3) เงินกู้ชนิดหมุนเวียนอาจจะมีการคิดค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ในส่วนเงินกู้ที่ไม่ได้เบิก
3.2.3 เงินกู้มีกําหนดเวลาหรือ เงินกู้เฉพาะกรณีหรือเงินกู้ครั้งคราว (Transaction
Loan) เป็นเงิน กู้ที่ตกลงเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งโดยเฉพาะและมีกําหนดเวลา ผู้ให้กู้จะพิจารณาเหตุผล
และความจําเป็นของการกู้ เช่น ผู้กู้อาจจะขอกู้เพื่อไปทํางานตามสัญญารับเหมาก่อสร้าง จํานวนเงินที่
ให้กู้มักจะไม่เกินต้นทุนที่ใช้ในการทํางานนั้นๆและการใช้คืนเงินก็จะกําหนดเวลาชัดเจนตามที่ตกลงกัน
ในทางทฤษฎีได้แบ่งเงินกู้ระยะสั้นเป็นเงินกู้ที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน แต่ในทางปฏิบัติ แล้ว
เงินกู้ที่ไม่มีหลักประกันนั้นจะมีต่อเมื่อเมื่อกู้เป็นบุคคลที่ผู้ให้กู้ให้ความเชื่อถือ ดังนั้น ส่วนใหญ่ของเงินกู้
จึงมักจะมีหลักประกัน ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลค้ําประกัน หรือสินทรัพย์ ที่ดิน อาคารเครื่องจักร
เงินกู้แบบต่างๆ ของเงินกู้ระยะสั้นที่ปฏิบัติในประเทศไทย ได้แก่ เงินกู้โดยเบิกเงินเกินบัญชี เงินกู้โดย
ขายลดเช็คและตั๋วเงินกู้ เงินกู้โดยมีลูกหนี้และสินค้าเป็นหลักประกัน เงินกู้เฉพาะกรณี เงินกู้บัตร
เครดิต และเงินกู้โดยการเล่นแชร์
กิจกรรม 1
1. อธิบายความหมายของเงินทุนระยะสั้น
2. เงินทุนระยะสั้นจําแนกตามวิธีการจัดหาเงินทุนได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

แหล่งเงินทุนระยะสั้น
การจัดหาเงินทุนระยะสั้นถือว่าเป็นหน้าที่ของนักบริหารการเงิน จึงจําเป็นต้องศึกษาแหล่งเงินทุน
ระยะสั้น และวิธีการจัดหาเงินทุนจากแต่ละแหล่ง เพื่อเตรียมพร้อมสําหรับการจัดหาเงินทุนมาใช้ใน
กิจการ ในเรื่องนี้จะกล่าว ถึงเฉพาะแหล่งเงินทุนระยะสั้น แหล่งเงินทุนระยะสั้นได้มาจากแหล่งเงินทุน
ต่างๆ ได้แก่ สินเชื่อทางการค้าในวงการธุรกิจ สินเชื่อจากตลาด การเงินในระบบ และสินเชื่อจาก
ตลาดการเงินนอกระบบ
สินเชื่อทางการค้าในวงการธุรกิจ
สินเชื่อทางการค้าในวงการธุรกิจเป็นการขายเชื่อสินค้า จัดเป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นแหล่งใหญ่ที่นิยม
ใช้กัน แพร่หลาย เนื่องจากไม่มีขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติที่ยุ่งยาก นอกจากนี้ยังสามารถยืดหยุ่น
กําหนดเวลาชําระหนี้ได้
สินเชื่อจากตลาดการเงินในระบบ
ตลาดการเงินในระบบหมายถึงตลาดการเงินที่มีการดําเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติเรื่องสถาบัน
การเงิน ชนิดนั้นโดยเฉพาะ กฎหมายจะระบุผู้มีอํานาจควบคุม ตรวจสอบ และกําหนดบทลงโทษอย่าง
ชัดเจน สถาบันการเงิน ที่ถือว่าอยู่ในตลาดการเงินในระบบ เช่น
1. ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยบริษัทเงินทุน อยู่ในการควบคุมของธนาคารแห่ง
ประเทศไทย 2. ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคาร
สงเคราะห์ อยู่ในการ ควบคุมของกระทรวงการคลัง
3. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อมอยู่ในความควบคุมของกระทรวงอุตสาหกรรม
4. บริษัทประกันชีวิตอยู่ในการควบคุมของกระทรวงพาณิชย์
6. โรงรับจํานํา อยู่ในการควบคุมของกระทรวงมหาดไทย
5. สหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์ออมทรัพย์ อยู่ในการควบคุมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน
การเลือกแหล่งเงินทุนระยะสั้น ธุรกิจควรศึกษาลักษณะการทํางานและบริการเกี่ยวกับธุรกิจของ
สถาบัน การเงิน การให้คําแนะนําปรึกษาในด้านต่างๆ และประเภทของเงินกู้ ซึ่งแต่ละธนาคารมี
บริการแตกต่างกัน นอกจากนี้ วงเงินที่ธนาคารจะให้กู้ยังถูกจํากัดด้วยเงินกองทุน (Capital Fund)
ของธนาคารอีกด้วย
การคํานวณดอกเบี้ยจะคํานวณจากอัตราดอกเบี้ยประเภทต่างๆ ของธนาคาร ได้แก่ 1) อัตราดอกเบี้ย
ขั้นต่ําที่ เรียกเก็บจากลูกค้าชั้นดีประเภทเงินกู้มีระยะเวลา (MLR - Minimum Loan Rate) 2) อัตรา
ดอกเบี้ยขั้นต่ําที่เรียกเก็บ จากลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR - Minimum Retail Rate) 3) อัตราดอกเบี้ย
ขั้นต่ําที่เรียกเก็บจากลูกค้าชั้นดีประเภท เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี (MOR - Minimum Overdraw
Rate) ตามทีต่ กลงกันระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ เช่น ตกลงกัน ในอัตราดอกเบี้ย MLR + 1 ถ้าขณะนี้ MLR
เท่ากับ 6% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่จะคํานวณในช่วงดังกล่าวก็จะเท่ากับ 7% ต่อปี เป็นต้น
ในปัจจุบัน การกู้ยืมเงินจากตลาดเงินในระบบ ผู้ให้กู้จะให้ผู้กู้ลงนามยินยอมให้ตรวจสอบเครดิตของผู้
กู้ จากเครดิตบูโร ซึ่งเป็นหน่วยงานของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจํากัด เป็นหน่วยงานที่รวบรวม
ข้อมูลการใช้สินเชื่อ ของบุคคลและนิติบุคคล เมื่อได้รับข้อมูลเครดิตจากเครดิตบูโรแล้ว ผู้ให้กู้จะใช้
เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการ ให้สินเชื่อ สรุปข้อมูลจาก http://www.ncb.co.th ได้ดังนี้

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด


ที่ตั้ง 999/9 อาคารสํานักงานเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 9 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร บริษัทเดิมชื่อ บริษัทระบบข้อมูลกลาง จํากัด ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท
ข้อมูลเครดิตกลาง จํากัด เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ
จํากัด เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2548
เครดิตบูโร (Credit Bureau) เป็นหน่วยงานที่เก็บประวัติสินเชื่อหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ข้อมูล
เครดิต” เครดิต บูโรมิได้ทาํ หน้าที่เพียงเก็บข้อมูล แต่หากยังประมวลข้อมูลสินเชื่อของผู้ที่กู้ยืมหรือ
อาจกู้ยืม และให้ข้อมูลเหล่านั้นแก่ สถาบันการเงินซึ่งเป็นสมาชิกของเครดิตบูโรเมื่อสถาบันการเงิน
เหล่านั้นขอข้อมูลโดยปกติบุคคลทั่วไปก็สามารถขอดู ข้อมูลเครดิตของตนเองได้ และยังสามารถ
โต้แย้งหรือขอแก้ไขกรณีทขี่ ้อมูลของตนไม่ถูกต้องหรือไม่ใช่ข้อมูลล่าสุด เครดิตบูโรมิได้มีแต่ในประเทศ
ที่มีระบบการเงินที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น อเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี
หรือเบลเยี่ยมเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย
นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และไทยนั้นต่างได้ดําเนินการจัดตั้งเครดิตบูโรของตนเพื่อเสริมสร้างความ
แข็งแกร่งให้ธุรกิจการ เชื่อถือของผู้กู้สินเชื่อของตนเอง เงินของประเทศตน ประเทศต่างๆ ต่างก็มี
กฎระเบียบในการรวบรวมและเก็บข้อมูลสินเชื่อของผู้กู้สินเชื่อที่แตกต่าง กัน ในประเทศซึ่งยังไม่มีการ
จัดตั้งเครดิตบูโร สถาบันการเงินแต่ละแห่งก็อาจมีข้อมูลสินเชื่อและจัดอันดับความน่า
ในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรอังกฤษ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์นั้น เครดิตบูโรเป็นการ
ดําเนินงานของเอกชน เครดิตบูโรใหญ่ๆ ในอเมริกาและสหราชอาณาจักรอังกฤษคือ Equifax, Trans
Union, Experian และ Dun and Bradstreet สําหรับในไทยนั้น เครดิตบูโรอยู่ภายใต้การกํากับดูแล
ของ “คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูล เครดิต” ตามพระราชบัญญัติการประกอบการธุรกิจข้อมูลเครดิต
พ.ศ. 2545 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ มีหน้าที่ออก
ประกาศที่เป็นกฎหมายลูกเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
เครดิตบูโร่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกดําเนินการภายใต้การกํากับดูแลในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ใน
ประเทศที่ การเข้าถึงข้อมูล และการปกป้องข้อมูล หากเครดิตบูโรจัดตั้งโดยภาคเอกชน ธนาคารกลาง
ก็มักจะมีการกําหนด เครดิตบูโรตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารกลางนั้น ธนาคารกลางก็จะเป็นผู้
กําหนดกฎระเบียบในการรวบรวมข้อมูล
กฎระเบียบและวิธีปฏิบัติที่ใช้กับเครดิตบูโรนั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการกําหนดมาตรการปกป้องข้อมูล
บุคคล ซึ่งจะกําหนด ว่าบุคคลประเภทใดมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลและนําข้อมูลนั้นไปใช้ในทางใดได้บ้าง ทั้ง
ยังกําหนดมาตรการในการเก็บรักษา
ข้อมูลให้ปลอดภัย ขณะที่บุคคลสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนและสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้มิใช่ว่าใครก็
ตามก็สามารถ เข้าถึงข้อมูลของเครดิตบูโรได้ สถาบันการเงินหรือผู้ที่ให้สินเชื่อรายอื่นที่เป็นสมาชิก
ของเครดิตบูโรอาจขอดูข้อมูล เหล่านั้นได้เมื่อมีบุคคลยืนขอเงินกู้ ขอทําสัญญาจํานอง หรือขอสินเชื่อ
อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศก็มีกฎระเบียบใน เรื่องนี้แตกต่างกันไป
การให้บริการของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด มีดังนี้
1. รายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา เป็นรายงานซึ่งแสดงข้อมูลภาพรวมด้านสินเชื่อทุกประเภทของ
บุคคล ธรรมดา ที่มีต่อสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตเครดิตแห่งชาติ เช่น
ธนาคาร บริษัทเงินทุน และสถาบันการเงินอื่น รายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา (Consumer
Credit Report) จะประกอบด้วยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้ขอ สินเชื่อและคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ เช่น ชื่อ
นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน เป็นต้น และราย ละเอียดประวัติการขอ การได้รับ
อนุมัติสินเชื่อ และการชําระสินเชื่อประเภทต่างๆ ของบุคคลนั้นทุกประเภท ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคล
สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ เป็นต้น
ระบบรายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดาของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติประมวลผลโดยใช้ซอฟต์แวร์
มาตรฐานโลกจาก บริษัท Trans Union ซึ่งเป็นเครดิตบูโรชั้นนําผู้ให้บริการระบบข้อมูลเครดิตบุคคล
ธรรมดาที่ใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
2. รายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ เป็นรายงานซึ่งแสดงข้อมูลภาพรวมด้านสินเชื่อทุกประเภทของนิติ
บุคคล และบุคคลธรรมดาที่ขอสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ ที่มีต่อสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัท
ข้อมูลเครดิตเครดิตแห่ง ชาติ เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน และสถาบันการเงินอื่น
รายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ (Commercial Credit Report) จะประกอบด้วยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้ขอ
สินเชื่อ และคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ เช่น ชื่อ สถานที่ตั้ง เลขที่ทะเบียนการจัดตั้งนิติบุคคล หรือเลข
ประจําตัวผู้เสีย ภาษีอากร และรายละเอียดประวัติการขอ การได้รับอนุมัติสินเชื่อ และการชําระ
สินเชื่อประเภทต่างๆ ของนิติบุคคล นั่นทุกประเภท
ระบบรายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติประมวลผลโดยใช้ซอฟต์แวร์
มาตรฐาน โลกจาก บริษัท Dun & Bradstreet ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ชั้นนําที่
ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สินเชื่อจากตลาดการเงินนอกระบบ
ตลาดการเงินนอกระบบเป็นตลาดเงินที่มีอยู่ทุกชุมชน เป็นตลาดการเงินที่มีอยู่ในทุกประเทศ ไม่ว่าจะ
เป็น ประเทศที่พัฒนาแล้วหรือด้อยพัฒนาก็ตาม และขนาดของตลาดในประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือ
กําลังพัฒนาจะมีขนาด ใหญ่กว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ลักษณะของตลาดการเงินนอกระบบคือไม่มี
หน่วยงานควบคุมการทํางานของตลาด เงินนอกระบบ ในกรณีที่มีปัญหาฟ้องร้องในส่วนที่เกี่ยวกับ
อัตราดอกเบี้ยก็จะใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เป็นหลักในการพิจารณา
ประเภทต่างๆ ของสินเชื่อจากตลาดการเงินนอกระบบได้แก่ การกู้ยืมระหว่างบุคคล การเล่นแชร์ การ
ขาย ลดเช็คและตั๋วเงิน ฯลฯ การจัดหาเงินทุนจากตลาดการเงินนอกระบบทําได้รวดเร็ว ไม่ต้องผ่าน
ขั้นตอนการวิเคราะห์ สินเชื่อ นอกจากนี้ ผู้ให้กู้มักจะไม่มายุ่งเกี่ยวหรือออกข้อบังคับในการปฏิบัติงาน
เหมือนกับผู้ให้กู้ในตลาดการเงินในระบบ ซึ่งมักจะมีเงื่อนไขการปฏิบัติงานในการกู้ยืมด้วย เช่น
กําหนดอัตราส่วนสภาพคล่องของกิจการ เป็นต้น
กฎระเบียบและวิธีปฏิบัติที่ใช้กับเครดิตบูโรนั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการกําหนดมาตรการปกป้อง
ข้อมูลบุคคล ซึ่งจะกําหนด ว่าบุคคลประเภทใดมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลและนําข้อมูลนั้นไปใช้ในทางใดได้
บ้าง ทั้งยังกําหนดมาตรการในการเก็บรักษา
ข้อมูลให้ปลอดภัย ขณะที่บุคคลสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนและสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้มิใช่ว่าใครก็
ตามก็สามารถ เข้าถึงข้อมูลของเครดิตบูโรได้ สถาบันการเงินหรือผู้ที่ให้สินเชื่อรายอื่นที่เป็นสมาชิก
ของเครดิตบูโรอาจขอดูข้อมูล เหล่านั้นได้เมื่อมีบุคคลยืนขอเงินกู้ ขอทําสัญญาจํานอง หรือขอสินเชื่อ
อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศก็มีกฎระเบียบใน เรื่องนี้แตกต่างกันไป
การให้บริการของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด มีดังนี้
1. รายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา เป็นรายงานซึ่งแสดงข้อมูลภาพรวมด้านสินเชื่อทุกประเภทของ
บุคคล ธรรมดา ที่มีต่อสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตเครดิตแห่งชาติ เช่น
ธนาคาร บริษัทเงินทุน และ
สถาบันการเงินอื่น
รายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา (Consumer Credit Report) จะประกอบด้วยข้อมูลที่
บ่งชี้ถึงผู้ขอ สินเชื่อและคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตร
ประชาชน เป็นต้น และราย ละเอียดประวัติการขอ การได้รับอนุมัติสินเชื่อ และการชําระสินเชื่อ
ประเภทต่างๆ ของบุคคลนั้นทุกประเภท ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อที่อยู่
อาศัย สินเชื่อรถยนต์ เป็นต้น
ระบบรายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดาของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติประมวลผลโดยใช้ซอฟต์แวร์
มาตรฐานโลกจาก บริษัท Trans Union ซึ่งเป็นเครดิตบูโรชั้นนําผู้ให้บริการระบบข้อมูลเครดิตบุคคล
ธรรมดาที่ใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
2. รายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ เป็นรายงานซึ่งแสดงข้อมูลภาพรวมด้านสินเชื่อทุกประเภทของนิติ
บุคคล และบุคคลธรรมดาที่ขอสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ ที่มีต่อสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัท
ข้อมูลเครดิตเครดิตแห่ง ชาติ เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน และสถาบันการเงินอื่น
รายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ (Commercial Credit Report) จะประกอบด้วยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้ขอ
สินเชื่อ และคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ เช่น ชื่อ สถานที่ตั้ง เลขที่ทะเบียนการจัดตั้งนิติบุคคล หรือเลข
ประจําตัวผู้เสีย ภาษีอากร และรายละเอียดประวัติการขอ การได้รับอนุมัติสินเชื่อ และการชําระ
สินเชื่อประเภทต่างๆ ของนิติบุคคล นั่นทุกประเภท
ระบบรายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติประมวลผลโดยใช้ซอฟต์แวร์
มาตรฐาน โลกจาก บริษัท Dun & Bradstreet ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ชั้นนําที่
ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สินเชื่อจากตลาดการเงินนอกระบบ
ตลาดการเงินนอกระบบเป็นตลาดเงินที่มีอยู่ทุกชุมชน เป็นตลาดการเงินที่มีอยู่ในทุกประเทศ ไม่ว่าจะ
เป็น ประเทศที่พัฒนาแล้วหรือด้อยพัฒนาก็ตาม และขนาดของตลาดในประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือ
กําลังพัฒนาจะมีขนาด ใหญ่กว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ลักษณะของตลาดการเงินนอกระบบคือไม่มี
หน่วยงานควบคุมการทํางานของตลาด เงินนอกระบบ ในกรณีที่มีปัญหาฟ้องร้องในส่วนที่เกี่ยวกับ
อัตราดอกเบี้ยก็จะใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เป็นหลักในการพิจารณา
ประเภทต่างๆ ของสินเชื่อจากตลาดการเงินนอกระบบได้แก่ การกู้ยืมระหว่างบุคคล การเล่นแชร์ การ
ขาย ลดเช็คและตั๋วเงิน ฯลฯ การจัดหาเงินทุนจากตลาดการเงินนอกระบบทําได้รวดเร็ว ไม่ต้องผ่าน
ขั้นตอนการวิเคราะห์ สินเชื่อ นอกจากนี้ ผู้ให้กู้มักจะไม่มายุ่งเกี่ยวหรือออกข้อบังคับในการปฏิบัติงาน
เหมือนกับผู้ให้กู้ในตลาดการเงินในระบบ ซึ่งมักจะมีเงื่อนไขการปฏิบัติงานในการกู้ยืมด้วย เช่น
กําหนดอัตราส่วนสภาพคล่องของกิจการ เป็นต้น
สินเชื่อทางการค้าและตราสารพาณิชย์
แนวคิด
ประเภทสินเชื่อทางการค้า
เงื่อนไขและต้นทุนของสินเชื่อทางการค้า
การจัดหาเงินทุนระยะสั้นโดยการออกตราสารพาณิชย์
1. สินเชื่อทางการค้าจําแนกเป็นการเปิดบัญชีเงินเชื่อ การใช้ตัวสัญญาใช้เงิน และการรับรองตัวเงิน 2.
เงื่อนไขการให้สินเชือจะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการชาระหนี้และส่วนลดที่จะให้ 3. ต้นทุน
ของการใช้สินเชื่อทางการค้าจะเกิดเมื่อผู้ใช้สินเชื่อทางการค้าไม่ชําระเงินค่าซื้อสินค้าภายใน
กําหนดเวลาได้รับส่วนลด ต้นทุนของเงินทุนส่วนนี้จะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติ
4. กิจการที่มีชื่อเสียงทางการค้าและมีฐานะทางการเงินดีเป็นที่เชื่อถือ สามารถจัดหาเงินทุนระยะสั้น
โดยการออกตราสารพาณิชย์ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวสัญญาใช้เงินที่มีอายุสั้น และออกโดยไม่มี
หลักทรัพย์ค่าประกัน
วัตถุประสงค์
1. อธิบายประเภทและเงื่อนไขการให้สินเชื่อทางการค้าได้
2. ระบุวันที่ชําระเงินตามเงื่อนไขสินเชื่อทางการค้าได้
3. คํานวณต้นทุนของการใช้สินเชื่อทางการค้าได้
4. อธิบายการจัดหาเงินโดยการออกตราสารพาณิชย์ได้
ประเภทสินเชื่อทางการค้า
สินเชื่อทางการค้าเป็นสินเชื่อที่เกิดขึ้นในวงการธุรกิจ เป็นสินเชื่อที่ให้ตามประเพณีของการค้า โดย
ผู้ขายยอม มอบสินค้าให้ผู้ซื้อก่อนที่ผู้ซื้อจะชําระเงิน ซึ่งมีการตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขการให้สินเชื่อว่า ผู้
ซื้อจะต้องชําระเงินภายใน กําหนดเวลาใด และส่วนลดที่ผู้ขายจะให้เป็นอย่างไร สินเชื่อทางการค้าเป็น
เงินทุนระยะสั้นที่กิจการใช้ได้สะดวก เนื่องจากไม่มีขนั้ ตอนและวิธีการปฏิบัติทยี่ ุ่งยาก นอกจากนี้ยัง
สามารถยืดหยุ่นกําหนดเวลาชําระหนี้ได้ คือในขณะที่ กิจการมีความจําเป็นทางการเงินก็อาจชําระเมื่อ
หนี้ครบกําหนด แต่ถ้าการเงินดีก็อาจชําระก่อนหนี้ครบกําหนดเพื่อ
ขอรับส่วนลดเงินสดก็ได้ สินเชื่อทางการค้าจําแนกตามวิธีการให้สินเชื่อได้ดังนี้
1. สินเชื่อทางการค้าโดยการเปิดบัญชีเงินเชื่อ การเปิดบัญชีเงินเชื่อเป็นสินเชื่อทางการค้าที่นิยมใช้กัน
แพร่หลาย โดยผู้ซื้อส่งใบสั่งซื้อไปยังผู้ขาย ผู้ขายจะพิจารณาคุณสมบัติ 5 C's ของผู้ซื้อว่าเชื่อถือได้
หรือไม่ ได้แก่ ลักษณะนิสยั ของลูกค้า (Characteristic) ความสามารถในการชําระหนี้ (Capacity)
เงินทุนหรือฐานะของกิจการ (Capital) หลักประกันการชําระหนี้ (Collateral) และเงื่อนไขหรือ
สถานการณ์ประกอบอื่นๆ (Condition) ถ้าผู้ขายมี ความเชื่อถือผู้ซื้อก็จะจัดส่งสินค้ามาให้พร้อมทั้ง
ใบกํากับสินค้า ผู้ซื้อจะรับมอบสินค้าและลงนามรับสินค้าในใบกํากับ สินค้า และส่งคืนใบกํากับสินค้า
1 สําเนาให้กับผู้ชาย เพื่อให้ผู้ขายใช้เป็นหลักฐานในการเก็บเงินภายหลัง ต่อจากนั้น ผู้ซื้อก็จะลงบัญชี
ให้ผู้ขายเป็นเจ้าหนี้การค้า และผู้ขายก็จะลงบัญชีให้ผู้ซื้อเป็นลูกหนี้การค้า เมื่อครบกําหนดเวลาตาม
เงื่อนไขการให้สินเชื่อ ผู้ซื้อก็จะชําระเงินหรือจ่ายเช็คตามภาพที่

ภาพที่ 1 เช็ค
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 987 อันว่าเช็คนั้นคือหนังสือตราสารซึ่งบุคคล
คนหนึ่ง เรียน ว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้
ตามคําสั่งของบุคคลอีกคน
หนึ่ง อันเรียกว่าผู้รับเงิน อันเช็คนั้นต้องมีรายการ ดังระบุหมายเลขไว้ในภาพที่ 1 ดังนี้
1. คําบอกชื่อว่าเป็นเช็ค ตามหมายเลข 1)
2. คําสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจํานวนแน่นอน
3. ชื่อหรือยี่ห้อและสํานักของธนาคาร ตามหมายเลข 2)
4. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือค่าจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ตามหมายเลข 3)
5. สถานที่ใช้เงิน
6. วันและสถานที่ออกเช็ค ตามหมายเลข 4)
7. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ตามหมายเลข 5)
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและป้องกันมิให้ผู้ไม่มีสิทธิรับเงินจากเช็คนําเช็คไปขึ้นเงิน ผู้ออกเช็คจึงควร
ทํา การขีดคร่อมเช็คโดยการเขียนเส้นขนาน 2 เส้น ขีดไว้บนด้านหน้ามุมบนซ้ายของเช็ค พร้อมระบุ
ชื่อจ่ายเช็คให้ผู้ใด และขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออก ทําให้ธนาคารทําการจ่ายเงินตามเช็คจ่ายผ่าน
บัญชีเงินฝากที่มีชื่อตรงกับชื่อที่ระบุ
จ่ายในเช็คเท่านั้น

2. สินเชื่อทางการค้าโดยการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงิน การให้สินเชื่อวิธีนี้ คือ นอกเหนือจากการลงนาม


รับรองใน ใบกํากับสินค้าแล้ว ผู้ซื้อจะออกตัวสัญญาใช้เงิน ตามภาพที่ 9.2 เพื่อเป็นหลักฐานการ
เป็นหนี้ให้แก่ผู้ขาย

ภาพที่ 2
ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 982 บัญญัติว่า “อันว่าตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น คือ
หนังสือ ตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คํามั่นสัญญาว่า จะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีก
คนหนึ่ง หรือใช้ให้ตาม คําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน” ผูจ้ ่ายเงินในที่นี้คือผู้ซื้อ และผู้รับ
เงินคือผู้ขาย ดังนั้น สินเชื่อชนิดนี้จึงมี หลักฐานการเป็นหนี้ดีกว่าสินเชื่อทางการค้าโดยการเปิดบัญชี
เงินเชื่อ และตามมาตรา 983 ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นต้องมี รายการดังต่อไปนี้ ตามหมายเลขที่กํากับไว้ใน
ภาพที่ 2 ดังนี้
1. คําบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามหมายเลข 1)
2. คํามั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจํานวนแน่นอน ตามหมายเลข 2)
3. วันถึงกําหนดใช้เงิน ตามหมายเลข 3)
4. สถานที่ใช้เงิน ตามหมายเลข 4)
5. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน ตามหมายเลข 5) 6. วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามหมายเลข 6)
7. ลายมือชื่อผู้ออกตัว ตามหมายเลข 7)
ในกรณีที่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินออกตัวเพื่อชําระหนี้ค่าสินค้า ให้เขียนระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าในบรรทัด
“ข้าพเจ้า”
และระบุชื่อผู้ชายในบรรทัด “ให้แก่”
ส่วนการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชําระหนี้กู้ยืม ในบรรทัด “ข้าพเจ้า” ให้ระบุชื่อผู้จ่ายเงินซึ่งเป็นลูกหนี้
และ
บรรทัด “ให้แก่” ให้ระบุชื่อผู้รับเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้
3. สินเชื่อทางการค้าโดยการรับรองตั๋วเงิน การให้สินเชื่อวิธีนี้คือ นอกเหนือจากการลงลายมือชื่อ
รับรองใน ใบกํากับสินค้าแล้ว ผู้ขายจะออกตัวแลกเงินให้ผู้ซื้อรับรอง เรียกว่า ตัวเงินที่รับรอง (Trade
Acceptance) หรือให้ ผู้ซื้อสินค้านําตัวไปให้ธนาคารรับรอง เรียกว่า ตั๋วเงินธนาคารรับรอง (Bank
Acceptance) ตัวเงินที่รับรองโดยผู้รับ รองที่มีเครดิตดี สามารถนําไปขายลดในตลาดการเงินได้โดย
ผู้ขายยอมเสียส่วนลดเพื่อแลกกับเงินสดที่ได้รับก่อนถึง
กําหนดเวลาในตัว การรับรองตัวนี้จะต้องรับรองก่อนส่งมอบสินค้าดังภาพที่ 3
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 908 บัญญัติไว้ว่า “อันว่าตั๋วแลกเงินนั้นคือหนังสือตรา
สาร ซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่
บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน” ตามมาตรา 909 อันตั๋วแลก
เงินนั้นต้องมีรายการดังต่อไปนี้ ตาม
หมายเลขที่กํากับในภาพที่ 3 คือ
1. คําบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ตามหมายเลข 1)
2. คํามั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจํานวนแน่นอน ตามหมายเลข 2)
3. ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย ตามหมายเลข 3)
4. วันถึงกําหนดใช้เงิน ตามหมายเลข 4)
5. สถานที่ใช้เงิน ตามหมายเลข 5)
6. ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคําจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ตามหมายเลข 6) 7. วันและสถานที่ออกตั๋ว
เงิน ตามหมายเลข 7)
8. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ตามหมายเลข 8)
ดังนั้น ตั๋วแลกเงินจึงประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่าย คือ ผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย และผู้รับเงิน โดยผู้สั่งจ่ายกับผู้รับ
เงิน อาจเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้ หรือผู้สั่งจ่ายกับผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตาม
ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 912 บัญญัติว่า “อันตัวแลกเงินนั้นจะออกคําสั่งให้ใช้เงิน
ตามคําสั่งของผู้สั่งจ่ายก็ได้ อนึ่ง จะสั่ง
จ่ายเอาจากตัวผู้สั่งจ่ายเอง หรือสั่งจ่ายเพื่อบุคคลภายนอกก็ได้”
ในกรณีออกตั๋วแลกเงินเพื่อซื้อสินค้า จะระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าในบรรทัด “ชื่อผู้สั่งจ่าย” และระบุชื่อผู้ขาย
ใน บรรทัด “ให้แก่” ส่วนในกรณีออกตั๋วแลกเงินเพื่อชําระหนี้กู้ยืมจะระบุชื่อลูกหนี้ในบรรทัด “ชื่อผู้สั่ง
จ่าย” และระบุชื่อ เจ้าหนี้ในบรรทัด “ให้แก่
กิจกรรม 2
สินเชื่อทางการค้ามีกี่ประเภท

เงื่อนไขและต้นทุนของสินเชื่อทางการค้า
ในการใช้เงินทุนจากสินเชื่อทางการค้า ควรศึกษาเงื่อนไขและวิธีการคํานวณต้นทุนของสินเชื่อทาง
การค้า
เงื่อนไขของสินเชื่อทางการค้า
การใช้สินเชื่อทางการค้านั้น โดยปกติจะต้องมีการตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขการให้สินเชื่อระหว่างผู้ขายกับ
ผู้ซื้อ เมื่อเงื่อนไขเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว การซื้อขายจึงจะเกิดขึ้น เงื่อนไขการให้สินเชื่อจะเป็น
รายละเอียดเกี่ยวกับการ กําหนดเวลาเริ่มต้นการกําหนดเวลาได้รับส่วนลด การกําหนดอัตราส่วนลด
การกําหนดเวลาชําระหนี้ทั้งสิ้น เช่น เงื่อนไข ของสินเชื่อทางการค้า 2/10, net 30 หรือ 2/10, n/30
มีรายละเอียดของเงื่อนไขจําแนกได้ดังนี้ กําหนดอัตราส่วนลด คือ 2% จากยอดซื้อ ถ้าซื้อ 100 บาท
ชําระเงิน 98 บาท
กําหนดเวลาได้รับส่วนลด คือ 10 วัน นับจากวันที่ปรากฏในใบกํากับสินค้า กําหนดเวลาชําระหนี้
ทั้งสิ้นคือ 30 วัน
1. การกําหนดเวลาเริ่มต้นของเงื่อนไขสินเชื่อ ที่นิยมใช้จําแนกได้เป็น เริ่มต้นจากวันที่ปรากฏใน
ใบกํากับ สินค้า เริ่มต้นจากวันที่ได้รับสินค้า (AOG หรือ ROG) และเริ่มต้นจากวันสิ้นเดือนที่ซื้อสินค้า
(EOM) มีรายละเอียด
ดังนี้
1.1 กําหนดวันเริ่มต้นตามวันที่ปรากฏในใบกํากับสินค้า เงื่อนไขนี้จะใช้ในกรณีทั่วไปเป็นปกติ โดย
กําหนดเงื่อนไขที่ไม่มีอักษรอื่นกํากับ เช่น 2/10, n/30 ถ้าใบกํากับสินค้าลงวันที่ 5 สิงหาคม 2558
กําหนดเวลาได้รับ สินค้าคือ 10 วัน นับจากวันที่ 5 สิงหาคม 255x ดังนั้นวันครบกําหนดชําระเงิน คือ
ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 255x หากชําระเงินไม่ทันได้รับส่วนลด ต้องชําระหนี้ทั้งสิ้นภายใน 30 วัน
นับจากวันที่ 5 สิงหาคม 255x คือ ภายในวันที่ 4 กันยายน 255x คํานวณได้ดังนี้
วันที่ 5 – 31 สิงหาคม 26 วัน
กันยายน 4
รวม 30 วัน
1.2 กําหนดวันเริ่มต้นจากวันที่ได้รับสินค้า เงื่อนไขชนิดนี้จะใช้ในกรณีที่ผู้ขายมีลูกค้าอยู่ต่างท้องถิ่น
ระยะเวลาการขนส่งสินค้าจากผู้ขายไปยังลูกค้าแต่ละรายใช้เวลาต่างกัน ดังนั้น ถ้าจะเริ่มต้นเงื่อนไข
ของสินเชื่อโดย 25 1.1 จะทําให้ลูกค้าที่อยู่ใกล้ผู้ขายได้เปรียบกว่าลูกค้าที่อยู่ห่างไกลออกไป เพราะจะ
ได้รับสินค้าก่อน ดังนั้นจึงกําหนด เวลาเริ่มต้นของเงื่อนไขสินเชื่อโดยนับจากวันที่ลูกค้ารายนั้นๆ ได้รับ
สินค้า โดยจะกําหนดเงื่อนไขเป็น 2/10, 1/30 ACG (Arrival of Goods) หรือ 2/10, 1/30 ROG
(Receipt of Goods) ดังนั้นถ้าใบกํากับสินค้าลงวันที่ 5 สิงหาคม 255x ได้รับสินค้าวันที่ 10 สิงหาคม
255% วันครบกําหนดชําระเงินเพื่อให้ได้รับส่วนลดจะนับจากวันที่ 10 สิงหาคม ไปอีก 10 วัน คือต้อง
ชําระภายในวันที่ 20 สิงหาคม 255x หากชําระไม่ทันได้รับส่วนลด ต้องชําระหนี้ทั้งสิ้นภายใน 30 วัน
นับจากวันที่ 10 สิงหาคม 2558 วันครบกําหนดคือ วันที่ 9 กันยายน 255x คํานวณได้ดังนี้
วันที่ 10 - 31 สิงหาคม 21 วัน
กันยายน 9 วัน
รวม 30 วัน
1.3 กําหนดวันเริ่มต้นจากวันสิ้นเดือนที่ซื้อสินค้านั้น เงื่อนไขชนิดนี้ใช้ในกรณีที่การซื้อขายทํากันหลาย
ซื้อในเดือนนั้นตรงกัน โดยจะเริ่มต้นนับจากวันสิ้นเดือนที่ทําการซื้อ โดยกําหนดเงื่อนไขสินเชื่อดังนี้
2/10, n/30 EOM End of Month) ตัวอย่างเช่น การซื้อสินค้าเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม 255x
กําหนดเวลาชําระหนี้ที่เกิดจากการซื้อเดือน สิงหาคมทุกรายการจะนับจากปลายเดือนสิงหาคมไป 10
วัน ดังนั้นวันครบกําหนดชําระเงินและได้รับส่วนลดของใบ กํากับสินค้าทุกใบที่ทําการซื้อในเดือน
สิงหาคมคือวันที่ 10 กันยายน 255x บางกิจการอาจกําหนดเงื่อนไขเป็น MOM (Middle of Month)
วันครบกําหนดจะเริ่มนับทุกๆ วันที่ 15 และวันที่ 1 ของเดือน ซึ่งจะทําให้ระยะเวลาให้สินเชื่อ
เป็นครึ่งหนึ่งของเงื่อนไขแบบ EOM
2. การกําหนดเวลาได้รับส่วนลด เช่น 2/10, n/30 หมายความว่าจะได้รับส่วนลดเงินสด 2% ถ้า
ชําระเงิน ภายใน 10 วันนับจากวันที่ในใบกํากับสินค้า หรือ 2/10, 1/30 AOC หมายความว่า จะได้รับ
ส่วนลด 2% ถ้าชําระเงิน ภายในเวลา 10 วัน นับจากวันที่รับสินค้า ดังนั้นถ้าซื้อสินค้า 100 บาท และ
ชําระเงินภายในกําหนดเวลาส่วนลด ก็จะ ชําระเพียง 98 บาท เป็นต้น กําหนดเวลาได้รับส่วนลดจะ
ยาวหรือสั้นขึ้นอยู่กับอัตราการหมุนเวียนของสินค้าและการ แข่งขัน ถ้าสินค้ามีอัตราการหมุนเวียนสูง
กําหนดเวลาให้ส่วนลดมักจะสั้น เพราะลูกค้าสามารถขายสินค้าได้เร็ว ดังนั้น ผู้ขายก็จะกําหนดเวลา
ส่วนลดไว้สั้น เพื่อเร่งให้ลูกค้านําเงินที่ได้รับจากการขายมาชําระหนี้เร็วขึ้น ซึ่งถ้าผู้ขายกําหนด เวลา
ส่วนลดไว้ยาว ลูกค้าอาจจะน่าเงินที่ได้รับจากการขายไปหมุนเวียนใช้ประโยชน์ทางอื่นก่อน ทําให้
ผู้ขายอาจเก็บ เงินไม่ได้เมื่อหนี้ครบกําหนด
3. การกําหนดอัตราส่วนลด อัตราส่วนลดกับกําหนดเวลาที่ได้รับส่วนลดจะมีความสัมพันธ์กัน คือ ถ้า
อัตราส่วนลดสูง กําหนดเวลาที่ได้รับส่วนลดจะสั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเร่งให้ลูกค้ารีบชําระเงินภายใน
กําหนดเวลาได้รับ ส่วนลด อัตราส่วนลดที่ให้นี้จะสูงหรือต่ําขึ้นอยู่กับสภาพการแข่งขันและสภาพ
เงินทุนของผู้ขาย ถ้าสภาพการแข่งขันสูง หรือเงินทุนของผู้ชายมีน้อย อัตราส่วนลดนี้ก็จะมีแนวโน้มสูง
เพื่อเร่งให้ลูกค้าชําระหนี้ให้ทันกําหนดเวลาได้รับส่วนลด ทําให้ผู้ขายได้รับเงินสดไปเป็นเงินทุน
หมุนเวียนเร็วขึ้น
4. การกําหนดเวลาชําระหนี้ทั้งสิ้น หมายถึงกําหนดเวลาที่ผู้ซื้อจะต้องชําระหนี้ทั้งสิ้นให้กับกิจการ วัน
เริ่ม ต้นนับเวลาก็แล้วแต่ข้อตกลงตามรายละเอียดที่ได้กล่าวแล้วในข้อ 1 เช่น 2/10, n/30 ก็
หมายความว่า ผู้ซื้อจะได้รบั ส่วนลด 2% ถ้าชําระเงินภายในกําหนดเวลา 10 วัน นับจากวันที่ใน
ใบกํากับสินค้า หรือถ้าไม่สามารถชําระในกําหนด เวลาดังกล่าวได้ก็ต้องชําระหนี้ทั้งสิ้นเต็มจํานวน
ภายในกําหนดเวลา 30 วัน นับจากวันที่ในใบกํากับสินค้า แต่ถ้ากําหนด เงื่อนไข 2/10, 1/30 AOG ก็
จะเริ่มนับจากวันที่ที่ได้รับสินค้า การกําหนดเวลาชําระหนี้ทั้งสิ้นจะกําหนดเวลาสั้นหรือยาว
ก็ขึ้นอยู่กับอัตราการหมุนเวียนของสินค้าและสภาพการแข่งขัน
ต้นทุนของสินเชื่อทางการค้า
สินเชื่อทางการค้าเป็นเงินทุนระยะสั้นที่มตี ้นทุน โดยต้นทุนของสินเชื่อทางการค้านี้เกิดจากการที่ผู้ซื้อ
ไม่ชําระ เงินภายในกําหนดเวลาได้รับส่วนลด จะถือว่าส่วนลดที่กิจการพลาดนี้เป็นต้นทุนของสินเชื่อ
ทางการค้า เช่น เงื่อนไข 2/10, 1/30 หากผู้ซื้อชําระภายในกําหนดเวลาส่วนลดชําระเงินเพียง 98
บาท ถ้าไม่ชําระภายในกําหนดเวลาส่วนลด เท่ากับผู้ซื้อยืมเงินผู้ขาย 98 บาท เป็นเวลา 20 วัน และ
จะใช้คือให้ 100 บาท นั่นคือ ผู้ซื้อจ่ายดอกเบี้ยให้ 2 บาท การ คํานวณต้นทุนของสินเชื่อทางการค้า
ต่อปีทําได้ 2 วิธี วิธีแรก คํานวณโดยใช้จํานวนเงินส่วนลด ส่วนวิธีที่สองใช้ร้อย
ละส่วนลดคํานวณ ดังนี้
1. ต้นทุนสินเชื่อทางการค้าต่อปีโดยใช้จํานวนเงินส่วนลดคํานวณ
ส่วนลดเงินสดที่ไม่ได้รับ 365 100
จํานวนเงินสุทธิหลังหักส่วนลด จํานวนวันนับจากวันครบกําหนดส่วนลดถึงวันชําระเงิน

2. ต้นทุนสินเชื่อทางการค้าต่อปีโดยใช้ร้อยละส่วนลดคํานวณ
เปอร์เซ็นต์ส่วนลด 365 100
เปอร์เซ็นต์เงินสุทธิที่จ่าย จํานวนวันนับจากวันครบกําหนดส่วนลดถึงวันชําระเงิน
ตัวอย่างที ร้านสุขใจทําการซื้อเชื่อสินค้าจากบริษัทสุขกาย จํากัด จํานวนเงินตามใบกํากับสินค้า
5,000 บาท เงื่อนไข 1/10, n/30 หมายความว่าถ้าซื้อเชื่อ 100 บาท ชําระเงินภายใน 10 วัน จะชําระ
เพียง 99 บาท ปรากฏว่าร้านสุขใจ ไม่ได้ชําระเงินภายในกําหนดเวลาที่ได้รับส่วนลด แต่ชําระในวัน
สุดท้ายของกําหนดเวลาชําระเงินทั้งสิ้น
การที่ร้านสุขใจชําระเงินในวันสุดท้ายของกําหนดเวลาชําระเงิน ทําให้ทางร้านต้องชําระหนี้จํานวนนี้
เป็นเงิน 5,000 บาท แต่ถ้าชําระภายในกําหนดเวลา 10 วัน จะได้รับส่วนลด 1% ของ 5,000 บาท ซึ่ง
จะชําระเพียง 4,950 บาท จากบริษัทสุขกาย จํากัด จึงเท่ากับว่าร้านสุขใจได้ยืมเงินจํานวน 4,950
บาท ใช้ต่ออีก 20 วัน โดยเสียค่าตอบแทนเงิน ทุนส่วนนี้เท่ากับส่วนลดที่พลาดหรือส่วนลดที่ไม่ได้รับ
คือ 50 บาท ดังนั้น ต้นทุนของเงินทุนคํานวณได้ดังนี้
ต้นทุนสินเชื่อทางการค้าต่อครั้งคํานวณโดยใช้จํานวนเงินส่วนลด
50 100 = 1.010% สําหรับระยะเวลา 20 วัน
4,950
ต้นทุนสินเชื่อทางการค้าต่อครั้งคํานวณโดยใช้ร้อยละส่วนลด
1 × 100 = 1.010% สําหรับระยะเวลา 20 วัน
99
หากคํานวณต้นทุนสินเชื่อทางการค้าเฉลี่ยต่อปี จะคํานวณจํานวนครั้งของการใช้สินเชื่อตลอดปีเท่ากับ
18.25 ครั้ง คํานวณจาก 365 วัน หารด้วย 20 วัน นํา 18.25 ครั้งคุณกับต้นทุนสินเชื่อทางการค้าต่อ
ครั้ง 1.010% จะได้ต้นทุน สินเชื่อทางการค้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 18.43% หรือคํานวณต้นทุนสินเชื่อทาง
การค้าต่อปีโดยใช้จํานวนเงินส่วนลด คํานวณ โดยใช้สูตรได้ดังนี้

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าต้นทุนของเงินทุนระยะสั้นที่ได้จากสินเชื่อทางการค้ามีอัตราค่อนข้างสูง
ดังนั้น ถ้ากิจการสามารถหาเงินทุนจากแหล่งอื่นมาชําระหนี้สินเชื่อทางการค้าให้ทันกําหนดเวลาได้รับ
ส่วนลด โดยจัดหาเงิน ทุนจากแหล่งอื่นมีต้นทุนถูกกว่าก็ควรจะทํา การคํานวณต้นทุนสินเชื่อทาง
การค้าตามที่อธิบายแล้วนั้น มีข้อกําหนด ว่าถ้ากิจการพลาดการชําระเงินในเวลาได้รับส่วนลด กิจการ
ควรเลื่อนเวลาชําระหนี้เป็นวันสุดท้ายของกําหนดเวลา
ชําระหนี้ทั้งสิ้น
และหากร้านสุขใจสามารถหาเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ํากว่า 18.43% ต่อปี เพื่อนําเงินกู้มาชําระหนี้ค่า
สินค้าให้ ทันกําหนด สมมติ 4,950 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี ระยะเวลากู้เงิน 20 วัน ร้าน
สุขใจจะจ่ายดอกเบี้ยดังนี้
ดอกเบี้ยจ่าย = 4,950 × 10 x 20
100 365
= 27.12 บาท
เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนสินเชื่อทางการค้าที่ร้านสุขใจพลาดส่วนลดเงินสด 50 บาท กับการกู้เงิน
4,950 บาท การหาเงินกู้มาชําระให้ทันเวลาได้รับส่วนลดร้านสุขใจจะประหยัดได้ 22.88 บาท
(คํานวณจาก 50 บาทลบด้วย 27.12 บาท) ต้นทุนของสินเชื่อทางการค้าคํานวณตามวิธีข้างต้น ใน
กรณีเงื่อนไขต่างๆ แสดงได้ดังตารางที่ 9.1
ตาราง ต้นทุนของสินเชื่อทางการค้าในกรณีเงื่อนไขต่างๆ กัน

จากตาราง
จะเห็นว่า ในกรณีอัตราส่วนลดเหมือนกันแต่กําหนดเวลาชําระหนี้ทั้งสิ้นยาวนานกว่าจะมี ผลทําให้
ต้นทุนสินเชื่อทางการค้าหรืออัตราดอกเบี้ยแท้จริง (Effective Rate) มีอัตราลดลง เช่น 1/10, n/20
อัตรา ดอกเบี้ยแท้จริงเท่ากับ 36.9% ต่อปี แต่ 1/10, 1/45 อัตราดอกเบี้ยแท้จริงจะลดลงเหลือ
10.5% ต่อปี เพียงแต่กําหนด เวลาชําระหนี้ทั้งสิ้นเปลี่ยนจาก 20 วัน เป็น 45 วัน เท่านั้น มีผลทําให้
อัตราดอกเบี้ยลดลงจาก 36.9% ต่อปี เหลือเพียง10 5% ต่อปี
ดังนั้น ในกรณีที่ชําระเงินไม่ทันกําหนดเวลาได้รับส่วนลด กิจการควรจะเลื่อนการชําระเงินไปเป็นวัน
สุดท้ายของกําหนดเวลาชําระหนี้ ไม่ควรชําระก่อนเพราะไม่เกิดประโยชน์สําหรับกิจการ
ดังตัวอย่างที่ 2 ร้านสุขใจทําการซื้อเชื่อจากบริษัทส่งเสริม จํากัด จํานวนเงินตามใบกํากับสินค้า
5,000 บาท เงื่อนไข 2/10, 1/30 ปรากฏว่าร้านไม่สามารถชําระเงินภายในกําหนดเวลาที่ได้รับส่วนลด
คือภายในวันที่ 10 แต่ไป ชําระวันที่ 15 คือ เลยกําหนดเวลาไป 5 วัน คํานวณต้นทุนของสินเชื่อทาง
การค้าได้ดังนี้
จะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงมาก แต่ถ้ากิจการเลื่อนชําระหนี้ไปเป็นวันสุดท้ายของกําหนดเวลา
ชําระเงิน ทุนสินเชื่อทางการค้าเหลือเพียง 37.24% ต่อปี คํานวณได้ดังนี้ต้นทุนสินเชื่อทางการค้าได้
ดังนี้

จากตัวอย่าง หากร้านสุขใจไม่สามารถชําระเงินภายในกําหนดเวลาได้รับส่วนลดจึงควรเลื่อนเวลาชําระ
ไปจนถึงวันครบกําหนดชําระเงิน
การชําระรายการสินค้าที่ไม่กําหนดให้ส่วนลด
สมมติในการซื้อสินค้าหากกิจการต่อรองจากการซื้อเงินสดเป็นเงินเชื่อ โดยผู้ขายไม่ได้ให้ส่วนลดแต่
กําหนด ที่ต้องชําระหนี้เป็น/20 AOG คือต้องชําระเงินภายใน 20 วันนับจากวันที่ลงนามรับของกิจการ
ผู้ซื้อก็ควรใช้สิทธิ์ใน รชําระจ่ายเงินตามกําหนดเวลา โดยผู้ซื้อจะได้ประโยชน์จากยอดซื้อดังนี้ ถ้ายอด
ซื้อเฉลี่ยต่อครั้งเท่ากับ 200,000 บาท กกิจการต้องกู้เงินอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี เพื่อชําระยอด
ซื้อเงินสดแต่ละครั้ง ทําให้กิจการต้องจ่ายดอกเบี้ย 20 ) ถ้าคํานวณดอกเบี้ยจ่ายทั้งปีก็เอา 1,095.89
บาทกับ 1,095.89 บาท ทุก 20 วัน (คํานวณจาก 200,000 × X ท คูณด้วย 18.25 ครั้ง (คํานวณจาก
365 วัน หารด้วย 20 วัน) จะจ่ายดอกเบี้ยทั้งปีเท่ากับ 19,999.99 บาท หรือ ,000 บาทต่อปี ทําให้
กิจการจะประหยัดจากการชะลอการจ่ายเงินจากซื้อเงินสดเป็นซื้อเงินเชื่อปีละ 20,000 บาท ดังนั้น
แนวความคิดในการชะลอการจ่ายค่าใช้จ่ายค้างจ่ายโดยทําการจ่ายในวันท้ายๆ ของวันที่มีสิทธิจ่าย ทํา
ให้กิจการได้ประโยชน์ ทั้งนี้ต้องระวังมิให้ผิดนัดชําระหนี้
กิจกรรม
1. เงื่อนไขของสินเชื่อทางการค้า 3/10, 1/45 มีรายละเอียดเกี่ยวกับอะไรบ้าง
2. จงระบุวันที่ชําระเงินโดยได้รับส่วนลด และกําหนดเวลาชําระหนี้ทั้งสิ้น เงื่อนไขของสินเชื่อ 2/10,
n/30 ใบกํากับสินค้าลงวันที่ 5 มีนาคม 255x รับสินค้าวันที่ 10 มีนาคม 255x หากเงื่อนไขสินเชื่อเป็น
2/10, n/30 AOG
3. ถ้าเงื่อนไขของสินเชื่อ 2/10, 1/45 หากผู้ซื้อชําระเงินไม่ทันกําหนดเวลาส่วนลด ให้คํานวณต้นทุน
ต่อ ปีของการใช้สินเชื่อทางการค้า

การจัดหาเงินทุนระยะสั้นโดยการออกตราสารพาณิชย์
การจัดหาเงินทุนระยะสั้นอีกวิธีหนึ่งของธุรกิจคือ การออกตราสารพาณิชย์เพื่อขายให้บุคคลทั่วไป
ลักษณะของตราสารพาณิชย์
ตราสารพาณิชย์ที่ออกขายมีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุสั้น บางครั้งอาจจะมีอายุไม่ถึง
1 สัปดาห์ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น และออกโดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ํา
ประกันตัวดังกล่าว ดังนั้น การจัดหา เงินทุนระยะสั้นโดยวิธีนี้จึงมีข้อจํากัด คือ กิจการที่จะจัดหา
เงินทุนด้วยวิธีนี้จะต้องเป็นกิจการขนาดใหญ่ มีฐานะของ การเงินดี มีชื่อเสียงทางการค้าเป็นที่เชื่อถือ
ตราสารพาณิชย์ถือเป็นหลักทรัพย์ระยะสั้นที่ซื้อขายกันในตลาดเงิน (Money Market) กิจการที่
ต้องการเงิน ทุนระยะสั้นก็จะออกตัวขายให้กับบุคคลทั่วไป ผู้ซื้อจะมีทั้งบุคคลธรรมดา บริษัทจํากัด
ห้างหุ้นส่วน ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน ผู้ซื้อตั๋วดังกล่าวมักจะต้องการลงทุนในระยะสั้น ทั้งนี้
เนื่องจากเงินสดที่ผู้ซื้อตราสารพาณิชย์มีอยู่ นั้นเป็นเงินสดที่มีเหลืออยู่เป็นการชั่วคราว
สําหรับธนาคารพาณิชย์สามารถออกตราสารพาณิชย์โดยออกในรูปตั๋วแลกเงินที่เรียกว่า B/E (Bill of
Exchange) โดยผู้ซื้อตราสาร B/E จะไม่ได้รับการคุ้มครองเงินเหมือนการฝากเงินกับธนาคาร เพราะ
ถือว่าการซื้อ B/E เป็นการให้ธนาคารพาณิชย์กู้เงิน
การซื้อขายตราสารพาณิชย์
วิธีการออกตั๋วเพื่อขายนี้จะมีอยู่ 2 วิธีการ คือ
1. ผู้ออกทําการขายโดยตรง (Direct Placement Market) หรือ
2. ผู้ออกขายผ่านผู้ค้าหลักทรัพย์ (Dealer Market)
ผู้ออกตัวนิยมออกตั๋วโดยทําการขายโดยตรง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการขายเกิดขึ้นน้อยกว่า แต่ถ้าขาย
ผ่าน
คือ ผู้ซื้อตัวจะหักส่วนลดจากราคาหน้าตั๋วไว้ก่อน และเมื่อครบกําหนดไถ่ถอนผู้ซื้อจะได้รับเงินเต็มตาม
ราคาหน้าตั๋ว ผู้ค้าหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ก็จะคิดค่านายหน้าตามแต่จะตกลงกันการซื้อขายตั๋ว
อาจจะขายโดยวิธีประมูลส่วนลด
เช่น ตราสารพาณิชย์หน้าตัว 10,000 บาท ผู้ซื้อตั๋วประมูลซื้อในราคา 9,900 บาท เมื่อครบ
กําหนดเวลาจะได้รับเงินคืน 10,000 บาท เป็นต้น หรืออาจจะซื้อขายกันโดยผู้ออกตั๋วเสนอดอกเบี้ย
แก่ผู้ซื้อก็ได้
ตราสารชนิดนี้มีการซื้อขายในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1790 โดยตราสารชนิดนี้ออกขายใน
ตลาด แรก (Primary Market) และผู้ถือตราสารสามารถนําไปซื้อขายในตลาดรอง (Secondary
Market) ได้ รวมทั้งอาจ ระยะสั้น เป็นต้น นําไปเป็นหลักประกันในการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุน
แหล่งอื่นได้อีกด้วย เช่น ใช้เป็นหลักประกันในการกู้เงิน
สําหรับในประเทศไทยมีกิจการที่ออกตราสารชนิดนี้มากขึ้น โดยออกในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มี
หลักประกัน 6 เสนออัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ อายุของตัวจะมี
หลายชนิด ได้แก่ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 - 12 เดือน สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน อัตราดอกเบี้ยที่บริษัท
แต่ละแห่งจะเสนอไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความ ต้องการเงินทุนของบริษัทแห่งนั้น รวมทั้งการคาดคะเน
แนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
ข้อดีและข้อเสียของตราสารพาณิชย์
ข้อดีของตราสารชนิดนี้ ทางด้านผู้ออกตราสาร คือ สามารถจัดหาเงินทุนโดยออกตราสารชนิดนี้ได้
แสดงว่า เป็นกิจการที่มีฐานะการเงินดีชื่อเสียงทางการค้าเป็นที่ยอมรับและสามารถจัดหาเงินโดยอัตรา
ดอกเบี้ยที่เสนอให้กับ
ผู้ซื้อต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกตราสารจะจัดหาเงินทุนได้จากธนาคารพาณิชย์ เช่น อัตราดอกเบี้ย
เงินฝากธนาคาร พาณิชย์ร้อยละ 6 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 10 กิจการที่ออกตรา
สารที่เป็นตั๋วเงินกู้ที่ไม่มีหลักประกัน จะเสนออัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 6 แต่ต่ํากว่าร้อยละ 10 เช่น
เสนอร้อยละ 8 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพอัตราดอกเบี้ย และปัจจัยต่างๆ ของตลาดเงินทําให้ผู้ออกตัวได้
เงินทุนไปใช้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่ํากว่าการกู้จากธนาคารพาณิชย์

ธนาคารพาณิชย์

ผูอ้ อมทั่วไป กิจการที่ออกตราสาร


พาณิชย์

ภาพ อัตราดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องกับตราสารพาณิชย์
นอกจากนี้ ผู้ออกตัวยังสามารถออกตราสารได้โดยไม่จํากัดจํานวน ซึ่งต่างจากการจัดหาเงินทุนจาก
ธนาคาร พาณิชย์ เพราะธนาคารพาณิชย์จะให้เงินกู้กับลูกค้าแต่ละรายโดยจํากัดจํานวน ข้อดีทางด้าน
ผู้ซื้อตราสาร คือทําให้ ผู้ซื้อตัวได้ผลตอบแทนสูงกว่านําเงินฝากธนาคารพาณิชย์ จากดอกเบี้ยรับร้อย
ละ 6 เป็นร้อยละ 8
ส่วนข้อเสียทางด้านผู้ออกตราสาร คือ กิจการที่ออกตราสารชนิดนี้จะไถ่ถอนคืนก่อนกําหนดไม่ได้
บางครั้ง กิจการผู้ออกอาจจะได้เปรียบในการออกตราสารและบางครั้งอาจจะเสียเปรียบในการออก
ตราสาร เช่น กรณีที่อัตรา ดอกเบี้ยในท้องตลาดลดลงต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยที่เสนอซื้อขายตราสารคือ
ร้อยละ 8 เป็นต้น ข้อเสียทางด้านผู้ซื้อตราสาร คือความเสี่ยงที่จะเกิดจากการที่บริษัทอาจจะมีเหตุ
สุดวิสัยทําให้ไม่สามารถชําระเงินคืนได้

กิจกรรม
กิจการลักษณะใดที่สามารถจัดหาเงินทุนโดยการออกตราสารพาณิชย์ได้

You might also like