Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 51

ตารางวิเคราะห์แบบทดสอบมาตรฐานชั้นปี

วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 1


ท 1.1 การอ่าน ท 2.1 การเขียน ท 3.1 การฟัง การดู ท 4.1 หลักการ ท 5.1 วรรณคดี
ข้อ และการพูด ใช้ภาษาไทย และวรรณกรรม
1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
1 

2 

3 

4 

5 

6 

7 

8 

9 

10 

11 

12 

13 

14 

~1~
ท 1.1 การอ่าน ท 2.1 การเขียน ท 3.1 การฟัง การดู ท 4.1 หลักการ ท 5.1 วรรณคดี
ข้อ และการพูด ใช้ภาษาไทย และวรรณกรรม
1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
15 

16 

17 

18 

19 

20 

21 

22 

23 

24 

25 

26 

27 

28 

29 

30 

31 

~2~
ท 1.1 การอ่าน ท 2.1 การเขียน ท 3.1 การฟัง การดู ท 4.1 หลักการ ท 5.1 วรรณคดี
ข้อ และการพูด ใช้ภาษาไทย และวรรณกรรม
1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
32 

33 

34 

35 

36 

37 

38 

39 

40 

41 

42 

43 

44 

45 

46 

47 

48 

~3~
ท 1.1 การอ่าน ท 2.1 การเขียน ท 3.1 การฟัง การดู ท 4.1 หลักการ ท 5.1 วรรณคดี
ข้อ และการพูด ใช้ภาษาไทย และวรรณกรรม
1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
49 

50 

51 

52 

53 

54 

55 

56 

57 

58 

59 

60 



~4~
ภาษาไทย ชุดที่ 1 1
ชั้นมัธยมศึกษาปีท1ี่ 2 90

ให้วง ⃝ ล้อมรอบตัวเลขหน้าคาตอบที่ถูกต้อง
1. แนวทางการอ่านออกเสียงทานองเสนาะบทร้อยกรองในวรรคจบข้อใดถูกต้อง
1. ใช้เสียงหลบต่ํา
2. ใช้น้ําเสียงสั้น กระชับ
3. กระแทกเสียงในคําสุดท้าย
4. ทอดเสียงให้ยาวออกไปช้าๆ
อ่านข้อความที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 2. - 3.

...คนอื่ น จะว่ า อย่ า งไรก็ ช่ า งเขา จะว่ า เมื อ งไทยล้ า สมั ย ว่ า เมื อ งไทยเชย ...แต่ เ ราอยู่ พ อมี พ อกิ น
และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกินมีความสงบ และทํางานตั้งจิตอธิษฐาน
ตั้งปณิธาน ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพอ
อยู่พอกินมีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวด
ได้ประเทศต่างๆ ในโลกนี้กําลังตก กําลังแย่ กําลังยุ่ง เพราะแสวงหาความยิ่งยวด ทั้งในอํานา จ ทั้งใน
ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทางอุตสาหกรรม ทางลัทธิ ฉะนั้นถ้าทุก ท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความคิด
และมี อิ ท ธิ พ ล มี พ ลั ง ที่ จ ะทํ า ให้ ผู้ อื่ น ซึ่ ง มี ค วามคิ ด เหมื อ นกั น ช่ ว ยกั น รั ก ษาส่ ว นรวมให้ อ ยู่ ดี กิ น ดี
พอสมควร ขอย้ํา พอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะ
เป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวร...
พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

2. ข้อใดคือใจความสาคัญของพระบรมราโชวาทที่กาหนดให้อ่าน
1. ทุกประเทศแสวงหาความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และลัทธิ
2. ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดี กินดี พอสมควร มีความสงบ
3. ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินได้ ประเทศจะเจริญรุ่งเรือง
4. ความสงบจะทําให้ประเทศพออยู่พอกิน

~5~
3. ข้อความใดคือข้อมูลที่สนับสนุนให้เห็นว่าประเทศไทยจะยอดยิ่งยวดหากรักษาความพออยู่พอกินไว้ได้
1. ความสุขสงบในประเทศจะเกิดขึ้น
2. การเป็นผู้มีความคิดของประชากรไทย
3. ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
4. ประเทศต่างๆ ในโลกกําลังแย่ กําลังยุ่งเพราะแสวงหาความยิ่งยวด
4. ข้อความใดสอดคล้องกับคาว่า “การเขียนแผนผังความคิด” มากที่สุด
1. การระดมความคิด 2. การจดบันทึกความคิด
3. การวิเคราะห์ความคิด 4. การประเมินความคิด
5. ข้อใดคือลักษณะของการโต้แย้งที่มีความน่าเชื่อถือ
1. ใช้ภาษาที่มีพลังโน้มน้าว
2. สอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึกส่วนตัว
3. ประกอบด้วยความคิดเห็นของผู้ส่งสาร
4. ประกอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น
6. ข้อความใดใช้พลังของภาษาเพื่อโน้มน้าวความรู้สึกของผู้รับสารต่างจากข้ออื่น
1. แสดงพลังประชาธิปไตย ด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
2. ผงซักฟอกคลีน กําจัดคราบเพียงแค่ป้ายครั้งเดียว
3. ยาเสพติดคือมารร้าย บ่อนทําลายสังคมไทย
4. หนังสือคือมิตร สื่อความคิดให้ก้าวไกล
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 7.

ผู้ใดเกิดเป็นสตรีอันมีศักดิ์ บํารุงรักกายไว้ให้เป็นผล
สงวนงามตามระบอบไม่ชอบกล จึงจะพ้นภัยพาลการนินทา

7. ข้อคิดที่ได้รับจากบทร้อยกรองที่กาหนดให้อ่านสอดคล้องกับข้อใด
1. เป็นผู้หญิงต้องรู้จักรักษากิริยา 2. เป็นผู้หญิงต้องงดเว้นการนินทา
3. เป็นผู้หญิงต้องรู้จักรักนวลสงวนตัว 4. เป็นผู้หญิงต้องแต่งกายให้เหมาะสม
8. พฤติกรรมของบุคคลใดควรได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีมารยาทในการใช้ห้องสมุด
1. หน่อย ยืนอ่านหนังสือพิมพ์บริเวณชั้นแขวน
2. นุช ตั้งค่าการเรียกเข้าโทรศัพท์มือถือเป็นระบบสั่น
3. นิด พับหน้าหนังสือที่ต้องการแล้วนําไปถ่ายสําเนา
4. น้อย ตะโกนเรียกเพื่อนให้ค้นหาหนังสือที่ต้องการ

~6~
9. ลักษณะในข้อใดเป็นจุดสังเกตสาคัญที่ทาให้ระบุรูปแบบของตัวอักษรได้
1. การเว้นช่องไฟ
2. การลงน้ําหนักมือ
3. โครงสร้างของตัวอักษร
4. การวางตําแหน่งพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์
อ่านข้อความที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 10.- 11.
เดือ นตกไปแล้ ว ดาวแข่ ง แสงขาว ยิ บ ๆ ยั บๆ เหมือ นเกล็ด แก้ วอัน สอดสอยร้ อยปั ก อยู่ เต็ มผ้ าดํ า
ผืนใหญ่วูบวาบวิบวับส่องแสง ใหญ่แลน้อย ใกล้แลไกล บางดวงแสงหนาวดูเย็นนิ่ง บางดวงกระพริบ
พร่างพร้อย ดั่งดาวใหญ่น้อยแย้มยิ้มหยอกเอินกัน
เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน : มาลา คําจันทร์
10. ข้อความที่กาหนดให้อ่านสร้างสรรค์ด้วยโวหารประเภทใดชัดเจนที่สุด
1. พรรณนาโวหาร 2. บรรยายโวหาร
3. อุปมาโวหาร 4. สาธกโวหาร
11. วิธีการในข้อใดที่ผู้เขียนใช้สร้างจินตภาพให้แก่ผู้อ่าน
1. การใช้สํานวน 2. การเปรียบเทียบ
3. การกล่าวเกินจริง 4. การใช้คําซ้ํา คําซ้อน
12. ประเด็นความคิดในข้อใดมีความจาเป็นน้อยที่สุดเมื่อต้องเขียนเรียงความเรื่อง “ครูดีที่ฉันประทับใจ”
1. วิธีการสอนของครู 2. โครงการที่ครูจัดทํา
3. ความสําเร็จของลูกศิษย์ 4. ความประทับใจของศิษย์เก่า
13. ย่อความที่ดีต้องมีลักษณะสอดคล้องกับข้อใด
1. ย่อความเรื่องที่สนใจ
2. มีจํานวนย่อหน้ามากกว่าหนึ่ง
3. ขยายความบทอ่านให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
4. เมื่อย่อแล้วใจความสําคัญของเรื่องไม่เปลี่ยนแปลง
14. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการทารายงานการศึกษาค้นคว้า
1. การเลือกเรื่อง 2. การวางโครงเรื่อง
3. การรวบรวมข้อมูล 4. การสํารวจแหล่งข้อมูล
15. คาขึ้นต้นและลงท้ายเนื้อความจดหมายในข้อใดถูกต้องเมื่อโรงเรียนเขียนจดหมายเรียนเชิญวิทยากร
1. ตามที่ จึงเรียนมาเพื่อทราบ 2. เนื่องจาก จึงเรียนมาเพื่อทราบ
3. ตามที่ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา 4. เนื่องจาก จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

~7~
16. ลักษณะใดเป็นข้อแตกต่างระหว่างการโต้แย้งกับการโต้เถียง
1. โอกาสและกาลเทศะ 2. การให้ข้อมูลและเหตุผล
3. ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สื่อสาร 4. ประเด็นการแสดงความคิดเห็น
17. การใช้ภาษาเพื่อโต้แย้งในข้อใดสะท้อนให้เห็นว่าผู้ส่งสารมีมารยาทเหมาะสม
1. ผมไม่เห็นด้วยกับคุณนภา
2. ความคิดเห็นของคุณนภายังมีข้อบกพร่องอยู่มาก
3. ถ้าพวกเราคล้อยตามความคิดเห็นของคุณนภารับรองเลยว่าไม่ได้ผล
4. ข้อเสนอของคุณนภาเป็นแนวทางหนึ่ง ซึ่งผมมีอีกแนวทางเสนอให้พิจารณา
18. ทักษะใดสาคัญต่อการพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู
1. ทักษะการวิจารณ์ 2. ทักษะการวิเคราะห์
3. ทักษะการเรียบเรียง 4. ทักษะการจับใจความ
19. การวิเคราะห์ในส่วนใดสะท้อนความน่าเชื่อถือของเรื่องที่ฟังและดูได้มากที่สุด
1. การวิเคราะห์ข้อมูล 2. การวิเคราะห์ชื่อเรื่อง
3. การวิเคราะห์ผู้ส่งสาร 4. การวิเคราะห์วิธีการสื่อสาร
20. พฤติกรรมของบุคคลใดปรากฏลักษณะการวิจารณ์อย่างมีเหตุผล
1. ตั้ม วิจารณ์ฝ่ายตรงข้ามด้วยอคติ
2. ติ๋ว วิจารณ์ในเรื่องที่ตนไม่มีความรู้เพื่อไม่ให้เกิดอคติ
3. ต้น ค้นหาข้อมูลโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม
4. แต๋ม นําเสนอผลการวิจารณ์โดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์
อ่านข้อความที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 21.
ขออํานาจคุณความดีทั้งปวงที่ท่านได้กระทํามา จงดลบันดาลให้ได้พบประสบแต่ความสุข
ความเจริ ญรุ่ ง เรื องในหน้า ที่ ก ารงาน พบแต่ค นดี พบแต่ สิ่ งดี ใ นอนาคต และคลาดแคล้ วจาก
ภัยอันตรายทั้งปวง
21. บทพูดอวยพรที่กาหนดให้อ่าน เหมาะสมที่จะใช้ในโอกาสใด
1. งานแต่งงาน 2. งานขึ้นบ้านใหม่
3. งานเลี้ยงรับตําแหน่งใหม่ 4. งานเลี้ยงเกษียณอายุราชการ
22. บุคคลใดมีแนวทางการเลือกใช้โสตทัศนูปกรณ์เพื่อนาเสนอรายงานการศึกษาค้นคว้าเหมาะสมมากที่สุด
1. ป้อง เลือกใช้โสตทัศนูปกรณ์ที่คาดว่าผู้ฟังจะให้ความสนใจ
2. ป่าน เลือกใช้โสตทัศนูปกรณ์ตลอดการนําเสนอรายงานการศึกษาค้นคว้า
3. ปาน เลือกใช้โสตทัศนูปกรณ์หลากหลายประเภทเพื่อสร้างความเข้าใจในเนื้อหา
4. แป้ง เลือกพิจารณาว่าโสตทัศนูปกรณ์จะสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้มากน้อยเพียงใด

~8~
23. คาพูดของผู้ส่งสารคนใดสะท้อนให้เห็นว่ามีมารยาทเมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ผู้ฟังยกมือขึ้นตั้งคาถามขณะ
ดาเนินการบรรยาย
1. แก้ม “ขอบคุณสําหรับคําถามค่ะ อีกสักครู่จะเข้าสู่ช่วงซักถาม ดิฉันจะตอบคําถามคุณเป็นคําถามแรก”
2. กิ๊ก “ขอบคุณสําหรับคําถามนะคะ แต่นั่งลงก่อนค่ะ เจ้าหน้าที่รบกวนดูแลผู้ฟังท่านนี้ด้วยค่ะ”
3. ไก่ “ขอบคุณสําหรับคําถามนะคะ แต่ดิฉันจะไม่ตอบคําถามของคุณ จนกว่าจะถึงเวลาค่ะ”
4. กุ๊ก “ขอบคุณสําหรับคําถามนะคะ แต่ถ้าจะตั้งคําถามรอให้ถึงช่วงเวลาที่กําหนดก่อนค่ะ”
24. คาประสมคู่ใดมีที่มาของคาสอดคล้องกับคาเงื่อนไข “ตาขาว”
1. เบี้ยล่าง รถราง 2. ตีนแมว หมูหัน
3. กล่องดํา น้ําแข็ง 4. มือกาว ลงแดง
25. คาในข้อใดมีลักษณะสอดคล้องกับคาเงื่อนไข “ขึ้นรถลงเรือ”
1. เล่นหูเล่นตา 2. เดินไปเดินมา
3. กล้าได้กล้าเสีย 4. บ้านป่าเมืองเถื่อน
26. นามวลีในข้อใดปรากฏส่วนขยาย
1. ช้างป่า 2. ไม้ขีดไฟ
3. เพื่อนคนนี้ 4. ดอกทานตะวัน
27. ประโยคในข้อใดมีโครงสร้างสอดคล้องกับประโยคเงื่อนไข “เด็กหญิงวารีนั่งในห้องเรียน”
1. เขาทํางานหนักจนล้มป่วย
2. พ่อไปต่างจังหวัดแต่แม่อยู่บ้าน
3. ปฐมพงษ์ให้ของขวัญเยาวพาทุกปี
4. ครูดีใจที่นักเรียนทุกคนสอบได้คะแนนดี
28. กลอนสุภาพวรรคใดปรากฏลักษณะเฉพาะทางวรรณศิลป์ที่เรียกว่า “สัมผัสใน” เด่นชัดที่สุด
1. เพียงหมายรัศมีพิมานมอง 2. จึงชักเรื่องชาดกมาบรรหาร
3. จักกล่าวอดีตนิทานแต่ปางก่อน 4. กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม
29. ข้อใดใช้คาราชาศัพท์ได้ถูกต้อง
1. สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวง
2. บริษัทไทยเกษตรทูลเกล้าฯ ถวายรถเกี่ยวนวดข้าวเพื่อใช้ในโครงการพระราชดําริ
3. กทม. น้อมเกล้าฯ ถวายหนังสือสมุดภาพแผนที่ “หนึ่งศตวรรษกรุงเทพมหานคร”
4. หอการค้าไทยร่วมกับคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (กกร) ทูลเกล้าฯ ถวายกังหันน้ําชัยพัฒนา
30. คายืมในข้อใดมีลักษณะสอดคล้องกับคาเงื่อนไข “กังขา”
1. ผจญ 2. อิจฉา
3. กรีฑา 4. อัศจรรย์

~9~
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 31.
นงคราญองค์เอกแก้ว กระษัตรีย์
มานมนัสกัตเวที ยิ่งล้ํา
เกรงพระราชสามี มลายพระ ชนม์เฮย
ขับคเชนทรเข่นค้ํา สะอึกสู้ดัสกร
31. บทร้อยกรองข้างต้น พระสุริโยทัยมีคุณสมบัติที่ควรนามาเป็นแบบอย่างข้อใด
1. มีระเบียบวินัย 2. มีความอดทนบากบั่น
3. มีเมตตา ความสงสาร 4. ความกตัญํู ความเสียสละ
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 32.
บุเรงนองนามราชเจ้า จอมรา มัญเฮย
ยกพยุหเเสนยา ยิ่งแกล้ว
มอญม่านประมวลมา สามสิบ หมื่นเเฮ
ถึงอยุธเยศแล้ว หยุดใกล้นครา
32. บทร้อยกรองข้างต้น ให้คุณค่าด้านสังคมในข้อใด
1. สะท้อนวัฒนธรรมประเพณี 2. เห็นความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง
3. เห็นสภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ 4. สะท้อนแนวคิด ค่านิยมของสังคมไทย
33. “ทรงเครื่องยุทธพิไชย เช่นอุป ราชแฮ” บทร้อยกรองนี้กล่าวถึงบุคคลใด
1. บุเรงนอง 2. พระเจ้าแปร
3. พระสุริโยทัย 4. พระมหาจักรพรรดิ
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 34.
สรรเพชญที่แปดเจ้า อยุธยา
เสด็จประพาสทรงปลา ปากน้ํา
ล่องเรือเอกไชยมา ถึงโคก ขามพ่อ
คลองคดโขนเรือค้ํา ขัดไม้หักสลาย
34. บทร้อยกรองข้างต้น กล่าวถึงกษัตริย์พระองค์ใด
1. พระเจ้าเสือ 2. พระเจ้าอุทุมพร
3. พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ 4. พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
35. จากวรรณคดีเรื่องบทเสภาสามัคคีเสวก คาว่า “เสวก” หมายถึงข้อใด
1. ข้าราชบริพาร 2. ประชาชนทั่วไป
3. ทหารรักษาพระองค์ 4. ข้าราชการในราชสํานัก

~ 10 ~
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 36.

ศิลปกรรมนําใจให้สร่างโศก ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย
จําเริญตาพาใจให้สบาย อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญ

36. บทร้อยกรองข้างต้นให้คุณค่าด้านสังคมในข้อใด
1. ศาสนาที่กําลังเจริญรุ่งเรือง 2. มีความเจริญทางวัฒนธรรม
3. สะท้อนความงามทางด้านศิลปะ 4. ด้านการปกครองการขยายอาณาเขต
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 37.
อันชาติใดไร้ช่างชํานาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า
ใครใครเห็นไม่เป็นที่จําเริญตา เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย

37. บทร้อยกรองข้างต้นใช้ภาพพจน์ชนิดใด
1. อุปมา 2. อติพจน์
3. อุปลักษณ์ 4. บุคลาธิษฐาน
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 38.
เพราะขาดเครื่องระงับดับรําคาญ โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ

38. จากบทร้อยกรองข้างต้น คาว่า “โอสถ” หมายถึงข้อใด


1. การงาน 2. ความรัก
3. งานศิลปะ 4. ยารักษาโรค
39. ศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 2 กล่าวถึงเรื่องใดเป็นสาคัญ
1. การประดิษฐ์อักษรไทย 2. ระบบชลประทานและป่าไม้
3. การเกษตร ประเพณี และศาสนสถาน 4. ชีวประวัติ ระบบเศรษฐกิจ และกฎหมาย
อ่านข้อความที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 40.

“เมื่อชั่วพ่อขุนรามคําแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ํามีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอา


จกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า
ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส”

40. ข้อความข้างต้นมีใจความกล่าวถึงเรื่องใด
1. การค้าขายแบบเสรี 2. ความร่ํารวยของบ้านเมือง
3. ความสําคัญของการทํานา 4. การทําการเกษตรภายในบ้านเมือง

~ 11 ~
41. “เจ้าเมืองบ่เอา จกอบ ในไพร่” จากข้อความข้างต้น “จกอบ” นี้หมายถึงสิ่งใด
1. ภาษี 2. ไพร่พล
3. เงินหรือเบี้ย 4. ข้าวหรือยุ้งข้าว
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 42.
จนผมโกร๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพียงหู ดูเงาในน้ําแล้วร้องไห้
ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า

42. จากบทร้อยกรองนี้ แสดงถึงอารมณ์ใด


1. เสียใจ 2. น้อยใจ
3. แค้นใจ 4. อึดอัดใจ
43. วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ให้ข้อคิดในเรื่องใด
1. ความลุ่มหลงพอใจในตนเอง ทําให้เกิดความสุข
2. เมื่อใครที่มาทําร้ายหรือรังแกเรา เราควรแก้แค้นเพื่อให้เขารู้สํานึก
3. เมื่อเรามีอํานาจแล้ว ควรใช้อํานาจเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนมากที่สุด
4. การให้อํานาจแก่บุคคลที่ขาดสติ จะเกิดผลร้ายและนํามาซึ่งความเดือดร้อน
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 44.
เมื่อนั้น พระสยมภูวญาณเรืองศรี
ได้ฟังนนทกพาที ภูมีนิ่งนึกตรึกไป
ไอ้นี่มีชอบมาช้านาน จําจะประทานพรให้
คิดแล้วก็ประสิทธิ์พรชัย จงได้สําเร็จมโนรถ

44. จากบทร้อยกรองข้างต้น สะท้อนให้เห็นคุณค่าด้านสังคมอย่างไร


1. ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว 2. ทําความดี ละเว้นความชั่ว
3. ทําดีกับคนไกลตัว ทําชั่วกับคนใกล้ชิด 4. ทําดีได้ดีมีที่ไหน ทําชั่วแล้วได้ดีมีถมไป
45. วรรณคดีเรื่องรามเกี ยรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ข้อคิด ใดที่สามารถนามาเป็นแบบอย่า งในการ
ดาเนินชีวิตประจาวัน
1. เราควรทําความดีอย่างปิดทองหลังพระ
2. เราต้องมีความอดทนอดกลั้น เพื่อจะได้รับการชื่นชม
3. อย่ารังแกผู้ที่ด้อยกว่าตน แต่ควรชื่นชมในสิ่งที่เขากระทํา
4. เราควรเป็นผู้มีความเสียสละ เพราะจะได้รับการสรรเสริญเยินยอ

~ 12 ~
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 46.
หัวลิงหมากลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง
ลิงไต่กระไดลิง ลิงโลดคว้าประสาลิง
หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง
ลางลิงหูลิงลิง หลอกขู้
ลิงไต่กระไดลิง ลิงห่ม
ลิงโลดฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง
46. จากบทร้อยกรองนี้ แสดงให้เห็นถึงสิ่งใด
1. พรรณไม้
2. นิสัยของลิง
3. ลิงมีหลายชนิด
4. ระบบนิเวศน์ป่าไม้
47. ข้อใดปรากฏวรรณศิลป์ด้านการเล่นเสียงสระ เสียงพยัญชนะ เสียงวรรณยุกต์ และเล่นคาซ้าประสานกัน
อย่างกลมกลืน
1. ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู หนูงูสู้ดูอยู่ รูปงูทู่หนูมูทู
2. กระจงกระจิดหน้า เอ็นดู เดินร่อยเรี่ยงามตรู กระจ้อย
3. นกแก้วแจ้วเสียงใส คลอไคล้คู่หมู่สาริกา นกตั้วผัวเมียคลา ฝ่าแขกเต้าเหล่าโนรี
4. ยูงทองย่องเยื้องย่าง รํารางชางช่างฟายหาง ปากหงอนอ่อนสําอาง ช่างรําเล่นเต้นตามกัน
48. บทร้อยกรองในข้อใด แสดงคุณค่าด้านวัฒนธรรมการแต่งกาย
1. นักสนมกรมชแม่มี่ ขี่ช้างกูบรูปโลมใจ พักตราอ่าผ่องใส นุ่งห่มโอ่โสภาจริง
2. กระจายสยายซร้องนาง ผ้าสไบบางนางสีดา ห่อห้อยย้อยลงมา แต่ค่าไม้ใหญ่สูงงาม
3. เที่ยวเล่นเปนเกษมสุข แสนสิ่งสนุกปลุกใจหวัง เร่ร่ายผายผาดผัง หวัวริกรื่นชื่นชมไพร
4. พังพลายหลายหมู่ซร้อง ในเถื่อนท้องร้องระงมดง ธารน้ําคร่ํากันลง เล่นน้ําแน่นแตร้นชมกัน
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 49.
งูเขียวรัดตุ๊กแก ตุ๊กแกแก่คางแข็งขยัน
กัดงูงูยิ่งพัน อ้าปากง่วงล้วงตับกิน
49. บทร้อยกรองข้างต้นใช้กลวิธีการสร้างภาพพจน์แบบใด
1. อุปมา
2. สัทพจน์
3. นาฏการ
4. บุคลาธิษฐาน

~ 13 ~
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 50.
ศาสนาสอนสั่งให้ ประพฤติดี
หนึ่งยุติธรรมไป่มี เลือกผู้
ประพฤติเพื่อประโยชน์ศรี สวัสดิ์ทั่ว กันแฮ
สามสิ่งควรรอบรู้ เคารพเรื้องเจริญคุณ
50. จากบทร้อยกรอง สามสิ่งควรเคารพนี้มีอะไรบ้าง
1. ศาสนา, ความเสมอภาค, การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
2. ศาสนา, ความยุติธรรม, การสละประโยชน์ตนเอง
3. การประพฤติดี, ความยุติธรรม, การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
4. การอ่อนน้อม, ความเสมอภาค, การสละประโยชน์ตนเอง
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 51.
หนังสือดีสอนสั่งข้อ วิทยา
เว้นบาปเสาะกัลยาณ์ มิตรไว้
51. บทร้อยกรองข้างต้น หมายถึงสิ่งใด
1. หนังสือดี 2. หนังสือเรียน
3. หนังสือวิทยาศาสตร์ 4. หนังสือมีที่มีราคาแพง
52. “สงบระงับดับประสงค์ สิ่งเศร้า” บทร้อยกรองนี้ หมายถึงเรื่องใด
1. ความสงบ 2. ความสุภาพ
3. ความเฉยชา 4. ความเศร้าโศก
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 53.

ยินคดีมีเรื่องน้อย ใหญ่ไฉนก็ดี
ยังบ่ลงเห็นไป เด็ดด้วน
ฟังตอบขอบคําไข คิดใคร่ ครวญนา
ห่อนตัดสินห้วนห้วน เหตุด้วยเบาความ

53. บทร้อยกรองนี้ ให้ข้อคิดแก่ผู้อ่านอย่างไร


1. ควรพูดสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อองค์ความรู้
2. ควรมีสติในการพูด ลําดับถ้อยคําให้ดีก่อนพูด
3. ควรมีความหนักแน่น คิดใคร่ครวญก่อนตัดสินใจ
4. ควรพูดสิ่งที่เป็นความจริงจะทําให้เป็นคนน่าเชื่อถือ

~ 14 ~
54. จากวรรณคดีเรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ คาว่า นฤทุมนาการ มีความหมายตรงกับข้อใด
1. ผู้ที่ประพฤติดีจะไม่ได้รับความเสียใจ
2. ผู้ที่ประพฤติดีจะมีมิตรสหายมากมาย
3. ผู้ที่ประพฤติดีจะได้รับรางวัลตอบแทน
4. ผู้ที่ประพฤติดีจะได้รับการยกย่องสรรเสริญ
55. กลอนดอกสร้อยราพึงในป่าช้า แสดงแนวคิดที่สาคัญในเรื่องใด
1. หมั่นทําความดี เมื่อตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์
2. หมั่นทําแต่ความดีเพื่อการหลุดพ้นเข้าสู่นิพพาน
3. ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง
4. ความตายเป็นเรื่องธรรมดาทุกคนไม่สามารถหลีกหนีได้
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 56.

ศพเอ๋ยศพสูง เป็นเครื่องจูงจิตให้เลื่อมใสศานต์
จารึกคําสํานวนชวนสักการ ผิดกับฐานชาวนาคนสามัญ
ซึ่งอย่างดีก็มีกวีเถื่อน จารึกชื่อปีเดือนวันดับขันธ์
อุทิศสิ่งซึ่งสร้างตามทางธรรม์ ของผู้นั้นผู้นี้แก่ผีเอย

56. บทร้อยกรองข้างต้นแสดงให้เห็นคุณค่าด้านสังคมอย่างไร
1. ความเชื่อของคนไทย
2. ค่านิยมของคนในสังคม
3. วิถีชีวิตของคนในชนบท
4. ประเพณีทางพุทธศาสนา
57. กลอนดอกสร้อยราพึงในป่าช้ามีความดีเด่นในด้านใดเด่นชัดที่สุด
1. ภาษา 2. ข้อคิด
3. สัมผัส 4. ทรรศนะ
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 58.
ท่านชูช่วยอวยพรให้ผ่องแผ้ว ดังฉัตรแก้วกางกั้นไว้เหนือหัว
อุตส่าห์ฝนไพลทารักษาตัว ค่อยยังชั่วมึนเมื่อยที่เหนื่อยกาย
58. บทร้อยกรองนี้ให้ความรู้เรื่องใด
1. วิธีใช้สมุนไพร 2. ประเภทของสมุนไพร
3. สรรพคุณของสมุนไพร 4. ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพร

~ 15 ~
59. บทร้อยกรองในข้อใด แสดงความรู้สึกของสุนทรภู่ที่ต้องจากคนรักมาอย่างกะทันหัน
1. ฉันพลัดพรากจากจรเพราะร้อนจิต ใช่จะคิดอายอางขนางหนี
2. จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน
3. อันนารีที่ยังสาวพวกชาวบ้าน ถีบกระดานถือตะกร้าเที่ยวหาหอย
4. โอ้ยามนี้พี่เห็นแต่พักตร์เพื่อน ไม่ชื่นเหมือนสุดสวาทที่มาดหมาย
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 60.
กระแสชลวนเชี่ยวเรือเลี้ยวลด ดูค้อมคดขอบคุ้งคงคาไหล
แต่สาชลเจียวยังวนเป็นวงไป นี่หรือใจที่จะตรงอย่าสงกา

60. บทร้อยกรองนี้ สุนทรภู่เปรียบเทียบกระแสน้าเชี่ยวและความคดของแม่น้ากับสิ่งใด


1. หัวใจ 2. จิตใจ
3. ระยะทาง 4. ความประพฤติ



~ 16 ~
ตารางวิเคราะห์แบบทดสอบมาตรฐานชั้นปี
วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2
ท 1.1 การอ่าน ท 2.1 การเขียน ท 3.1 การฟัง การดู ท 4.1 หลักการ ท 5.1 วรรณคดี
ข้อ และการพูด ใช้ภาษาไทย และวรรณกรรม
1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
1 

2 

3 

4 

5 

6 

7 

8 

9 

10 

11 

12 

13 

14 

~ 19 ~
ท 1.1 การอ่าน ท 2.1 การเขียน ท 3.1 การฟัง การดู ท 4.1 หลักการ ท 5.1 วรรณคดี
ข้อ และการพูด ใช้ภาษาไทย และวรรณกรรม
1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
15 

16 

17 

18 

19 

20 

21 

22 

23 

24 

25 

26 

27 

28 

29 

30 

~ 20 ~
ท 1.1 การอ่าน ท 2.1 การเขียน ท 3.1 การฟัง การดู ท 4.1 หลักการ ท 5.1 วรรณคดี
ข้อ และการพูด ใช้ภาษาไทย และวรรณกรรม
1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
31 

32 

33 

34 

35 

36 

37 

38 

39 

40 

41 

42 

43 

44 

45 

46 

~ 21 ~
ท 1.1 การอ่าน ท 2.1 การเขียน ท 3.1 การฟัง การดู ท 4.1 หลักการ ท 5.1 วรรณคดี
ข้อ และการพูด ใช้ภาษาไทย และวรรณกรรม
1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
47 

48 

49 

50 

51 

52 

53 

54 

55 

56 

57 

58 

59 

60 



~ 22 ~
ภาษาไทย ชุดที่ 2 1
ชั้นมัธยมศึกษาปีท1ี่ 2 90

ให้วง ⃝ ล้อมรอบตัวเลขหน้าคาตอบที่ถูกต้อง
1. ข้อความใดมีแนวทางการอ่านออกเสียงแตกต่างจากข้ออื่น
1. ผลวิจัยชี้ว่าเอามือถือแนบหู 50 นาที มีผลต่อการทํางานของสมองส่วนที่ใกล้เสาสัญญาณ
2. ขณะพระองค์เสด็จมาใกล้เบญจคีรีนคร คือ ราชคฤห์เป็นเวลาจวนสิ้นทิวาวาร
3. เสียงร่ําไห้สะอึกสะอื้นของแม่เฒ่าดังผสานเสียงลื่นไหลของสายน้ํามูล
4. เบื้องบนมีกลุ่มเมฆเป็นคลื่นซ้อนซับสลับกันเป็นทิวแถว
อ่านข้อความที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 2. – 3.
...การที่ จะอบรมสนั บ สนุ น อนุช นให้ ไ ด้ ผลตามความมุ่ งหมายของการศึ ก ษานั้น ข้า พเจ้ าเห็น ว่ า
การฝึกฝนและปลูกฝังความรู้จักเหตุผล ความรู้จักผิดชอบชั่วดี เป็นสิ่งจําเป็นไม่น้อยกว่าการให้วิชาการ
เพราะการรู้จักพิจารณาให้เห็นเหตุเห็นผล ให้รู้จักจําแนกสิ่งผิดชอบชั่วดีได้โดยกระจ่างแจ้ง ย่อมทําให้
มองบุ ค คล มองสิ่ ง ต่ า งๆ ได้ ลึ ก ลงไป จนเห็ น ความจริ ง ในบุ ค คลและในสิ่ ง นั้ น ๆ เมื่ อ ได้ ม องเห็ น
ความจริ ง แล้ ว ก็ จ ะสามารถใช้ ค วามรู้ แ ละวิ ช าการ ปฏิ บั ติ ง านทุ ก อย่ า งได้ ดี แ ละถู ก ต้ อ งยิ่ ง ขึ้ น
เป็นประโยชน์แก่ตน แก่ผู้อื่นได้มากขึ้น...
พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

2. ข้อใดคือใจความสาคัญของพระบรมราโชวาทที่กาหนดให้อ่าน
1. การรู้จักพิจารณาให้เห็นเหตุเห็นผล
2. การรู้จักจําแนกสิ่งผิดชอบชั่วดีได้โดยกระจ่างแจ้ง
3. การอบรมสนับสนุน สั่งสอนเยาวชนเป็นเรื่องสําคัญ
4. การฝึกฝน ปลูกฝังความรู้จักเหตุผล ผิดชอบชั่วดี จําเป็นไม่น้อยกว่าการให้ความรู้ทางวิชาการ
3. ข้อความใดคือเหตุผลสนับสนุนว่า “การฝึกฝน ปลูกฝังเหตุผล และความรู้สึกผิดชอบชั่วดีคือสิ่งจาเป็น”
1. ปฏิบัติงานทุกอย่างได้ถูกต้อง 2. มองเห็นความจริงในอนาคต
3. เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น 4. มองบุคคลและสิ่งต่างๆ ได้ลึกลงไป

~ 23 ~
4. การเขียนแผนผังความคิดมีประโยชน์ต่อเรื่องใดมากที่สุด
1. การลําดับประเด็น 2. การระดมความคิด
3. การวิเคราะห์ข้อมูล 4. การสํารวจแหล่งข้อมูล
อ่านข้อความที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 5.
มีความเชื่ออย่างผิดๆ ว่า ใครก็ตามที่ติดยาเสพติดก็จะติดตลอดไป ประชาชนควรได้รับข้อมูลที่
ถูกต้องว่า ผู้ติดยาจํานวนมากที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพแล้วสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างปกติ

5. ข้อโต้แย้งที่กาหนดให้อ่าน หากจะไม่ได้รับการเชื่อถือน่าจะมีสาเหตุสอดคล้องกับข้อใด
1. ผู้ส่งสารไม่ได้เรียบเรียงข้อสรุป
2. ผู้ส่งสารขาดความรู้ในประเด็นที่โต้แย้ง
3. ภาษาที่ใช้ไม่ก่อให้เกิดการโน้มน้าวความรู้สึก
4. ผู้ส่งสารไม่ได้แสวงหาข้อมูลเพื่อสนับสนุนข้อสรุป
6. ข้อความใดใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจได้ประสบผลสาเร็จมากที่สุด
1. การประหยัดพลังงานกันคนละเล็กละน้อยจะช่วยให้ลูกหลานเรามีพลังงานใช้ต่อไป
2. การอุดหนุนอุตสาหกรรมพื้นบ้านเป็นการช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
3. การทํางานให้เกิดผลดีจําเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนทุกฝ่าย
4. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นรายได้ที่สําคัญของประเทศไทย
อ่านข้อความที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 7.
เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ
7. ข้อคิดที่ได้รับจากบทร้อยกรองที่กาหนดให้อ่านสอดคล้องกับสานวนในข้อใด
1. พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ 2. พอแง้มปากก็เห็นไรฟัน
3. พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น 4. พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย
8. การกระทาในข้อใดเข้าข่ายสร้างความเดือดร้อนราคาญให้แก่ผู้อื่น เมื่อใช้ห้องสมุดร่วมกัน
1. กําพล นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ในบริเวณที่กําหนดไว้
2. ปฐมพงษ์ นั่งสนทนาและหัวเราะกับเพื่อนในห้องสมุด
3. สุรชัย พับหน้าหนังสือที่ต้องการแล้วนําไปให้เจ้าหน้าที่ถ่ายสําเนา
4. สุรศักดิ์ ฝึกทําแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ของห้องสมุดโดยเขียนคําตอบลงในแบบฝึกหัด
9. โครงสร้างของตัวอักษรที่หัวมีลักษณะเหลี่ยมสอดคล้องกับรูปแบบใด
1. แบบคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. แบบกระทรวงศึกษาธิการ
3. แบบไทยประดิษฐ์ 4. แบบอาลักษณ์

~ 24 ~
อ่านข้อความที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 10.
...แดดจ้านสาดทอความกราดเกรี้ยว...กรีดโรยคมบนพลิ้วน้ําที่บิดเบียด วิวาทลมคะนอง...สีน้ําเงินผาก
ของฟ้า...เขียวขรึมของแมกไม้...พงขนัดกอบนดินเปียกลู่โอน
หอมดอกประดวน : รงค์ วงศ์สวรรค์
10. ข้อความที่กาหนดให้อ่านโดดเด่นด้วยโวหารประเภทใด
1. พรรณนาโวหาร 2. บรรยายโวหาร
3. อุปมาโวหาร 4. สาธกโวหาร
11. การเขียนส่วนสรุปในเรียงความควรมีแนวทางการเขียนสอดคล้องกับข้อใด
1. ไม่นําเสนอประเด็นใหม่ แต่ย้ําประเด็นเดิม
2. เขียนให้กระชับ กระตุ้นความสนใจของผู้อ่าน
3. เปิดประเด็นให้ผู้อ่านทราบว่าจะสื่อสารเรื่องใด
4. สร้างความสัมพันธ์ของแต่ละประเด็นที่นําเสนอ
12. บุคคลใดมีแนวทางการย่อความที่ถูกต้องและเหมาะสม
1. ปู อ่านไปย่อไป
2. ไก่ อ่านคร่าวๆ เพื่อค้นหาใจความสําคัญ
3. กุ้ง อ่านเฉพาะหัวข้อใหญ่แล้วนํามาเรียบเรียง
4. ปลา อ่านตั้งแต่ต้นจนจบแล้วเรียบเรียงจากความเข้าใจ
13. ขั้นตอนในข้อใดจะทาให้ผู้เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเรียบเรียงประเด็นที่ต้องการเสนอได้ครบถ้วน
1. การวางโครงเรื่อง 2. การรวบรวมข้อมูล
3 การวิเคราะห์ข้อมูล 4. การสํารวจแหล่งข้อมูล
14. ข้อใดคือคาลงท้ายที่ถูกต้องเมื่อโรงเรียนเขียนจดหมายเรียนเชิญประชุมผู้ปกครอง
1. ขอแสดงความเคารพ 2. ขอแสดงความนับถือ
3. ขอแสดงความเคารพอย่างยิ่ง 4. ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
15. ลักษณะการวิจารณ์ในข้อใดที่มีความสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ
1. การวิจารณ์ไปตามความคิด 2. การวิจารณ์ไปตามความรู้สึก
3. การวิจารณ์จากผลการวิเคราะห์ 4. การวิจารณ์ไปตามเสียงส่วนใหญ่
16. การเขียนสื่อสารในรูปแบบใด ผู้ส่งสารจะต้องคานึงถึงมารยาทและการใช้ภาษาต่างจากข้ออื่น
1. การเขียนแสดงความคิดเห็นผ่านบทความในหนังสือพิมพ์
2. การเขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์
3. การเขียนสรุปความจากเรื่องที่อ่าน
4. การเขียนบทพรรณนาในเรื่องสั้น

~ 25 ~
17. หากต้องพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู แนวทางใดที่จะทาให้เลือกเรื่องได้ประสบผลสาเร็จมากที่สุด
1. เลือกเรื่องจากผลการวิเคราะห์ผู้ฟัง 2. เลือกเรื่องที่มีความยาวเหมาะสม
3. เลือกเรื่องโดยพิจารณาจากเวลา 4. เลือกเรื่องที่ตนเองมีความสนใจ
18. พฤติกรรมในข้อใดสอดคล้องกับคาว่า “วิเคราะห์” เรื่องที่ฟังและดูจากสื่อ
1. การแยกแยะส่วนประกอบเพื่อค้นหาความสัมพันธ์
2. ตอบคําถามว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
3. การนําไปประยุกต์ใช้
4. ฟังและดูอย่างตั้งใจ
อ่านข้อความที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 19.
นิทานเรื่อง ลิงกับลา
หญิงชาวบ้านคนหนึ่งอาศัยอยู่คนเดียวในกระท่อม ด้วยความเหงานางจึงหาสัตว์มาเลี้ยงไว้
คื อ ลิ ง และลา วั น หนึ่ ง หญิ ง ชาวบ้ า นต้ อ งออกไปตลาดเพื่ อซื้ อ อาหาร ก่ อนออกจากบ้ า น
เธอเอาเชือกมาผูกคอลิง แล้วมัดขาของลาเอาไว้ ทันทีที่หญิงชาวบ้านออกจากบ้าน ลิงก็ค่อยๆ
คลายปมเชือกออกจากคอ อีกทั้งยังซุกซนไปแก้เชือกมัดขาให้แก่ลาอีกด้วย หลังจากนั้นเจ้าลิง
ก็กระโดดโลดเต้น ห้อยโหนไปทั่วจนทําให้ข้าวของต่างๆ ล้มกระจัดกระจาย รื้อค้นเสื้อผ้า
มาฉีกกัด ในขณะที่ลาได้แต่มองดูการกระทําของเจ้าลิงอยู่เฉยๆ เมื่อหญิงชาวบ้านกลับมาจาก
ตลาด เจ้าลิงมองเห็นก็รีบเอาเชือกมาผูกคอตนอย่างเดิมและอยู่อย่างสงบนิ่ง เมื่อหญิงชาวบ้าน
เปิดประตูกระท่อมเข้ามาเห็นข้าวของถูกรื้อค้นเกิดโทสะขึ้นทันที หันมองลิงและลาเพื่อดูว่า
ใครเป็ นผู้ ก่ อเรื่อง และเห็น ว่า ลาไม่มี เชือกผูก ขาดังเดิม เธอก็ คิด เอาเองว่าเจ้าลานี่เอง คื อ
ตัวปัญหา จึงวิ่งไปหยิบท่อนไม้มาทุบตีเจ้าลาผู้น่าสงสารจนสิ้นใจ
19. คาพูดของบุคคลใดสะท้อนให้เห็นว่าผู้พูดวิเคราะห์ วิจารณ์เรื่องที่ฟังได้อย่างมีเหตุผล
1. พร “นิทานเรื่องนี้ใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหา”
2. แพร “นิทานเรื่องนี้ไม่สนุก เพราะเนื้อหายาวเกินไป”
3. พลอย “ชอบนิทานเรื่องนี้เพราะชื่อเรื่องมีความเหมาะสม”
4. พิมพ์ “นิทานเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นความผิดพลาดของมนุษย์ที่ใช้ความรู้สึกแก้ปัญหา”
20. การพูดในลักษณะใดสามารถจูงใจให้ผู้ฟังยอมรับได้มากที่สุด
1. พูดด้วยน้ําเสียงและลีลาที่น่าฟัง
2. พูดแบบอ่อนน้อมถ่อมตน
3. พูดแสดงข้อเท็จจริง
4. พูดเชิงวิเคราะห์

~ 26 ~
21. แนวทางการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าในข้อใดจะทาให้ประสบผลสาเร็จและเป็นธรรมชาติมากที่สุด
1. พูดโดยอาศัยต้นร่างที่เรียบเรียงจากความเข้าใจ
2. พูดโดยท่องจําบทร่างที่เรียบเรียงจากความเข้าใจ
3. พูดโดยอ่านจากต้นร่างที่เรียบเรียงจากความเข้าใจ
4. พูดโดยท่องจําบทร่างที่เพื่อนในกลุ่มเป็นผู้เรียบเรียง
22. คาพูดปลอบประโลมในข้อใดสะท้อนให้เห็นว่าผู้พูดมีมารยาทในการสื่อสาร
1. “ต้อง เธอทําใจเถอะ เมื่อถึงคราวเคราะห์แบบนี้ ไม่มีใครเหลือรอดมาได้หรอก”
2. “ต้อง ความสูญเสียของเธอในครั้งนี้ มันเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาท”
3. “ไม่มีใครที่เกิดมาแล้วไม่ตาย เธอจงคิดเสียว่า สิ่งนี้คือธรรมดาของมนุษย์”
4. “อย่าเสียใจไปเลยต้อง สักวันเธอก็ต้องเจอกับสิ่งนี้”
23. ข้อใดเป็นคาสมาสทุกคา
1. กังขา มิจฉา 2. ปฏิบัติ ปฏิภาณ
3. บรรยาย พรรณนา 4. ขัตติยกุมาร ฌาปนสถาน
24. คาคู่ใดสอดคล้องกับคาเงื่อนไขที่กาหนด “ไตรลักษณ์”
1. อุตสาหกรรม บรรณารักษ์ 2. ถาวรวัตถุ ฌาปนสถาน
3. สรรพาวุธ ฌาปนสถาน 4. อุตสาหกรรม ถาวรวัตถุ
25. ประโยคในข้อใดมีลักษณะสอดคล้องกับประโยคเงื่อนไข “พ่อจะไปเชียงใหม่แต่แม่จะอยู่กรุงเทพ”
1. วีรนุชออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าเอง
2. หมอจะไปหาคนไข้หรือจะให้คนไข้มาหาหมอ
3. หลังคาที่รั่วนั่น ซ่อมแล้วแต่น้ําฝนยังไหลซึมลงมา
4. เกษตรกรแถบนี้นิยมทํานาและเลี้ยงปลาที่ตลาดต้องการ
26. ประโยคในข้อใดปรากฏประโยคย่อยซึ่งทาหน้าที่ขยายคานามที่นามาข้างหน้า
1. เขาได้ยินมาว่าปีนี้น้ําจะมาก
2. เขาทํางานหามรุ่งหามค่ําซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ
3. นนท์ซึ่งเป็นหลานชายของคุณพ่อได้รับทุนไปเรียนต่างประเทศ
4. ดินอ่อนๆ เชิงเขาถล่มลงมาเพราะฝนตกหนักติดต่อกันมาหลายวัน
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 27.
จากความวุ่นวู่วามสู่ความว่าง จากความมืดมาสว่างอย่างเฉิดฉัน
จากความร้อนระอุเย็นเป็นนิรันดร์ ไม่รู้พลันพลิกเห็นเป็นความรู้
27. ข้อใดคือลักษณะวรรณศิลป์ที่โดดเด่นของบทร้อยกรองที่กาหนดให้อ่าน
1. การซ้ําคํา 2. การหลากคํา
3. การใช้คําตรงข้าม 4. การเล่นเสียงสัมผัส

~ 27 ~
อ่านข้อความที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 28.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ....................ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาและภริยา
เข้ า เฝ้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาทในโอกาสเยื อ นประเทศไทยอย่ า งเป็ น ทางการในฐานะ
.......................................ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

28. ควรเติมคาราชาศัพท์คู่ใดลงในช่องว่างจึงจะถูกต้อง
1. พระราชทานพระราชวโรกาส, พระอาคันตุกะ
2. พระราชทานพระราชวโรกาส, พระราชอาคันตุกะ
3. พระราชทานพระบรมราชวโรกาส, พระอาคันตุกะ
4. พระราชทานพระบรมราชวโรกาส, พระราชอาคันตุกะ
29. คาคู่ใดมีลักษณะสอดคล้องกับคาเงื่อนไข “สัญญาณ”
1. ขันติ ทัพพี 2. เมตตา ทัพพี
3. วิสัญญี กัญญา 4. เมตตา วิสัญญี
30. คาคู่ใดมีลักษณะสอดคล้องกับคาเงื่อนไข “บรรยาย” ทุกคา
1. หรรษา ภรรยา 2. บรรพต บรรทัด
3. ภรรยา บรรทัด 4. หรรษา กรรแสง
31. จากเรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดารข้อใดกล่าวถึงพระสุริโยทัยได้ถูกต้อง
1. ทรงไสช้างไล่ตามข้าศึก
2. ทรงขับช้างไล่ศัตรูจนหนีพ่ายไป
3. ทรงขับช้างของพระองค์ออกรับช้างข้าศึก
4. ทรงไสช้างเผือกชนพระเจ้าแปรได้รับชัยชนะ
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 32.
นงคราญองค์เอกแก้ว กระษัตรีย์
มานมนัสกัตเวที ยิ่งล้ํา
เกรงพระราชสามี มลายพระ ชนม์เฮย
ขับคเชนทรเข่นค้ํา สะอึกสู้ดัสกร

32. บทร้อยกรองนี้ คาว่า “นงคราญ” หมายถึงใคร


1. พระสุริโยทัย
2. พันท้ายนรสิงห์
3. พระเจ้าบุเรงนอง
4. พระมหาจักรพรรดิ

~ 28 ~
33. จากเรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ภาพพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต แสดงคุณธรรมเรื่องใดที่ควรได้รับ
ความยกย่อง
1. มีศีลธรรม 2. มีความกตัญํู
3. มีระเบียบวินัย 4. มีความรับผิดชอบ
34. จากโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ภาพพระสุริโยทัยขาดคอช้าง วรรคใดก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
มากที่สุด
1. ขุนมอญร่อนง้าวฟาด ฉาดฉะ
2. ขาดแล่งตราบอุระ หรุบดิ้น
3. โอรสรีบกันพระ ศพสู่ นครแฮ
4. สูญชีพไป่สูญสิ้น พจน์ผู้สรรเสริญ
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 35.

เหล่าเสวกตกที่กะลาสี ควรคิดถึงหน้าที่นั้นเป็นใหญ่
รักษาตนเคร่งคงตรงวินัย สมานใจจงรักพระจักรี
ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง สามัคคีเป็นกําลังพลังศรี
ควรปรองดองในหมู่ราชเสวี ให้สมที่ร่วมพระเจ้าเราองค์เดียว

35. ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงในบทร้อยกรองข้างต้น
1. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2. ความมีระเบียบวินัย
3. ความกตัญํูกตเวที 4. ความสามัคคี
36. จากวรรณคดีเรื่องบทเสภาสามัคคีเสวก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปรียบเทียบ
ประเทศชาติกับสิ่งใด
1. เรือที่กําลังล่ม 2. เรือที่แล่นอยู่ในลําคลอง
3. เรือใหญ่ที่แล่นอยู่ในทะเล 4. เรือที่กําลังถูกพายุพัดกระหน่ํา
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 37.

ควรนึกบรรดาข้าพระบาท ล้วนเป็นราชบริพารพระทรงศรี
เหมือนลูกเรืออยู่ในกลางหว่างวารี จําต้องมีมิตรจิตสนิทกัน

37. จากบทร้อยกรอง “พระทรงศรี” หมายถึงใคร


1. ข้าราชบริพาร 2. พระอัครมเหสี
3. พระราชมารดา 4. พระมหากษัตริย์

~ 29 ~
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 38.
อันผอง ชาติไพรัช ช่างจัดสรร เป็นหลายอย่างต่างพรรณเข้ามาขาย
เราต้องซื้อหลากหลากและมากมาย ต้องใช้ทรัพย์สุรุ่ยสุร่ายเป็นก่ายกอง

38. จากบทร้อยกรอง “ชาติไพรัช” หมายถึงสิ่งใด


1. นายทุน 2. ผู้ผลิตสินค้า
3. ชาวต่างชาติ 4. ประชาชนคนไทย
39. จากวรรณคดีเรื่องศิลาจารึกหลักที่ 1 ให้คุณค่าด้านสังคมเกี่ยวกับครอบครัวในข้อใด
1. ให้มีความกตัญํูต่อบิดามารดา และญาติพี่น้อง
2. ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ด้วยทรัพย์สินเงินทอง
3. ให้ความเคารพท่านอย่างสม่ําเสมอ
4. ไม่ทอดทิ้งพ่อแม่ในยามทุกข์ยาก
40. จากวรรณคดีเรื่องศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงประโยชน์ของพระแท่นมนังคศิลาบาตรในข้อใด
1. เป็นที่ประทับส่วนพระองค์
2. เป็นธรรมาสน์สําหรับใช้แสดงธรรม
3. เป็นที่นั่งเพื่อสั่งสอนเหล่าข้าราชการ
4. เป็นปูชนียสถานให้ประชาชนสักการะ
41. ในฐานะวรรณคดี ศิลาจารึกหลักที่ 1 ให้สารัตถประโยชน์สาคัญในเรื่องใด
1. เป็นต้นแบบของการใช้ภาษาไทย
2. เป็นต้นแบบการปกครองตามหลักนิติศาสตร์
3. ให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และอักษรศาสตร์
4. ให้ความรู้เรื่องวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมา
อ่านข้อความที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 42.
“...ในปากปตูมีกะดิ่งอันณื่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อย มีความเจ็บท้อง
ข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้...”

42. จากเนื้อความในศิลาจารึก แสดงให้เห็นลักษณะด้านใดของพ่อขุนรามคาแหงมหาราช


1. ความยุติธรรม 2. ความเสมอภาคเท่าเทียม
3. การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ 4. การเอาใจใส่ต่อประชาชน
43. เมื่อนนทกถูกฆ่าแล้วได้มาเกิดใหม่เป็นใคร
1. พระลักษมณ์ 2. พระราม
3. หนุมาน 4. ทศกัณฐ์

~ 30 ~
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 44.
เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์ พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข
งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร งามนัยน์เนตรงามกร
งามถันงามกรรณงามขนง งามองค์ยิ่งเทพอัปสร
งามจริตกิริยางามงอน งามเอวงามอ่อนทั้งกายา
44. บทร้อยกรองข้างต้นให้รสทางวรรณคดีในด้านใด
1. เสาวรจนี 2. พิโรธวาทัง
3. นารีปราโมทย์ 4. สัลลาปังคพิไสย
45. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทกเป็นพระราชนิพนธ์ของใคร
1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
2. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
3. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
4. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
46. จากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก การกระทาของนนทกตรงกับสานวนสุภาษิต
ว่าอย่างไร
1. เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ 2. กงเกวียนกําเกวียน
3. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ 4. สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ
47. บทร้อยกรองในข้อใด สื่อถึงจินตภาพแสดงความเคลื่อนไหว
1. ปีกหางต่างสีแกม ลายลวด
2. ฝูงช้างสล้างใหญ่น้อย พังพลาย
3. ยูงทองย่องเยื้องย่าง รํารางชางช่างฟ่ายหาง
4. เลียงผาอยู่ภูเขา หนวดพรายเพราเขาแปล้ปลาย
48. กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ให้ความรู้เรื่องใดมากที่สุด
1. ชีวิตสัตว์ป่า 2. พืชสมุนไพร
3. พันธุ์ไม้หายาก 4. ธรรมชาติศึกษา
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 49.
เทโพแลเทพา ตะเพียนกาพาพวกจร
ไอ้บ้าปลาสลุมพอน ผักพร้าเพรี้ยแลหนวดพราม
49. บทร้อยกรองข้างต้น กวีไม่ได้กล่าวถึงปลาชนิดใด
1. ปลาเทโพ 2. ปลาสวาย
3. ปลาทับทิม 4. ปลาตะเพียน

~ 31 ~
50. “ฝูงลิงยวบยาบต้น พวาหนา” จากบทร้อยกรองข้างต้น คาว่า “พวา” หมายถึงไม้ชนิดใด
1. ต้นลําไย 2. ต้นมะม่วง
3. ต้นมะพร้าว 4. ต้นน้อยหน่า
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 51.
สุจริตจิตโอบอ้อม อารี
ใจโปร่งปราศราคี ขุ่นข้อง
สิ่งเกษมสุขเปรมปรี- ดาพรั่ง พร้อมแฮ
สามสิ่งสมควรต้อง ชอบต้องยินดี
51. จากบทร้อยกรองข้างต้นกวีต้องการสื่อสารสิ่งใดแก่ผู้อ่าน
1. ให้รู้จักการเสียสละ 2. ให้รู้จักการมีเมตตากรุณา
3. ให้รู้จักการประนีประนอม 4. ให้รู้จักการมีจิตใจโอบอ้อมอารี
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 52.
ไป่ฟังคนพูดฟุ้ง ฟั่นเฝือ
เท็จและจริงจานเจือ คละเคล้า
52. จากบทร้อยกรองคาว่า "พูดฟุ้งฟั่นเฝือ" หมายถึงข้อใด
1. พูดคล่อง 2. พูดเพ้อเจ้อ
3. พูดจาวกวน 4. พูดจามีเหตุผล
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 53.
สามารถอาจห้ามงด วาจา ตนเอย
ปางเมื่อยังโกรธา ขุ่นแค้น
หยุดคิดพิจารณา แพ้ชนะ ก่อนนา
ชอบผิดคิดเห็นแม้น ไม่ยั้งเสียความ
53. จากบทร้อยกรองนี้กวีแสดงให้เห็นความสาคัญของการพูดในข้อใด
1. ไม่ควรพูดเท็จ 2. ไม่ควรพูดนินทา
3. ไม่ควรกล่าวร้ายผู้อื่น 4. ไม่ควรพูดในเวลาโกรธ
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 54.
กรุณานรชาติผู้ พ้องภัย พิบัติเฮย
ช่วยรอดปลอดความกษัย สว่างร้อน
ผลจักเพิ่มพูนใน อนาคต กาลแฮ
ชนจักชูชื่อช้อน ป่างเบื้องปัจจุบัน

~ 32 ~
54. จากบทร้อยกรองนี้ แสดงให้เห็นคุณค่าของการทาความดีตามข้อใด
1. การช่วยเหลือผู้อื่นเพราะหวังสิ่งตอบแทน
2. การช่วยเหลือผู้อื่นเพราะหวังกุศลผลบุญที่จะบังเกิด
3. การช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากเป็นเรื่องน่ายินดี
4. การช่วยเหลือผู้อื่นจะทําให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 55.
ดวงเอ๋ยดวงมณี มักจะลี้ลับอยู่ในภูผา
หรือใต้ท้องสมุทรสุดสายตา ก็เสื่อมซาสิ้นชมนิยมชน
บุปผชาติชูสีและมีกลิ่น อยู่ในถิ่นที่ไกลเช่นไพรสณฑ์
ไม่มีใครได้เชยเลยสักคน ย่อมบานหล่นเปล่าดายมากมายเอย

55. จากบทร้อยกรองข้างต้นแสดงให้เห็นถึงภาพพจน์ใดเด่นชัดที่สุด
1. อุปมา 2. บุคคลวัต
3. สัทพจน์ 4. สัญลักษณ์
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 56.

กองเอ๋ยกองข้าว กองสูงราวโรงนายิ่งน่าใคร่
เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวใคร ใครเล่าไถคราดฟื้นพื้นแผ่นดิน
เช้าก็ขับโคกระบือถือคันไถ สําราญใจตามเขตประเทศถิ่น
ยึดหางยามยักไปตามใจจินต์ หางยามผินตามใจเพราะใครเอย

56. บทร้อยกรองนี้ กล่าวถึงสาระสาคัญเรื่องใด


1. วิถีชีวิตของชาวนา 2. คุณค่าของเมล็ดข้าว
3. ความสุขของชาวนา 4. การทํานาโดยใช้ควายไถนา
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 57.
ห่างเอ๋ยห่างไกล ห่างจากพวกมักใหญ่ฝักใฝ่หา
แต่สิ่งซึ่งเหลวไหลใส่อาตมา ความมักน้อยชาวนาไม่น้อมไป
เพื่อรักษาความสราญฐานวิเวก ร่มชื้อเฉกหุบเขาลําเนาไศล
สันโดษดับฟุ้งซ่านทะยานใจ ตามวิสัยชาวนาเย็นกว่าเอย

57. บทร้อยกรองนี้ สะท้อนคุณค่าด้านสังคมอย่างไร


1. ความเชื่อของคนไทย 2. การประกอบพิธีกรรม
3. ค่านิยมของคนในสังคม 4. ความพอเพียงในการดําเนินชีวิต

~ 33 ~
58. บทร้อยกรองข้อใดใช้โวหารเปรียบเทียบ
1. เขาหุงหาอาหารให้ตามจน โอ้ยามยลโภชนาน้ําตาคลอ
2. ต้องเจือน้ํากล้ํากลืนพอกลั้วคอ กินแต่พอดับลมด้วยตรมใจ
3. ประทับทอดนาวาอยู่ท่าน้ํา ดูเรียงลําเรือรายริมไพรสณฑ์
4. จะกลืนข้าวคราวโศกในทรวงเสียว เหมือนขืนเคี้ยวกรวดแกลบให้แสบศอ
59. บทร้อยกรองข้อใดใช้ภาพพจน์เลียนเสียงธรรมชาติ
1. เสียงผัวผัวตัวเมียเที่ยวโยนกาย เห็นคนอายแอบอิงกับกิ่งยาง
2. ตะลึงแลแต่ล้วนลูกจระเข้ โดยคะเนมากมายทั้งซ้ายขวา
3. ถึงวัดแจ้งแสงจันทร์จํารัสเรือง แลชําเลืองเหลียวหลังหลั่งน้ําตา
4. โอ้ชะนีเวทนาเที่ยวหาผัว เหมือนตัวพี่จากน้องให้หมองหมาง
อ่านบทร้อยกรองที่กาหนด แล้วตอบคาถามข้อ 60.
ดูเรือแพแต่ละลําล้วนโปะโหละ พวกเจ๊กจีนกินโต๊ะเสียงโหลเหล
บ้างลุยเลนล้วงปูดูโซเซ สมคะเนใส่ข้องเที่ยวมองคอย
60. บทร้อยกรองข้างต้น แสดงให้เห็นอิทธิพลของชนชาติใด
1. เขมร 2. พม่า
3. ลาว 4. จีน



~ 34 ~
เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี มัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 1
1. 4 2. 2 3. 1 4. 1 5. 4
6. 2 7. 3 8. 2 9. 3 10. 1
11. 4 12. 4 13. 4 14. 1 15. 4
16. 2 17. 4 18. 4 19. 1 20. 4
21. 3 22. 4 23. 1 24. 3 25. 4
26. 3 27. 3 28. 4 29. 1 30. 2
31. 4 32. 3 33. 3 34. 1 35. 4
36. 3 37. 1 38. 3 39. 3 40. 1
41. 1 42. 3 43. 4 44. 1 45. 3
46. 1 47. 1 48. 1 49. 3 50. 2
51. 1 52. 1 53. 3 54. 1 55. 3
56. 2 57. 2 58. 3 59. 2 60. 2

เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี มัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดที่ 2


1. 1 2. 4 3. 4 4. 2 5. 4
6. 1 7. 4 8. 2 9. 4 10. 1
11. 1 12. 4 13. 1 14. 2 15. 3
16. 1 17. 4 18. 1 19. 4 20. 3
21. 1 22. 3 23. 4 24. 1 25. 1
26. 3 27. 3 28. 4 29. 3 30. 1
31. 3 32. 1 33. 4 34. 2 35. 3
36. 3 37. 4 38. 3 39. 1 40. 2
41. 3 42. 1 43. 4 44. 1 45. 1
46. 2 47. 3 48. 4 49. 2 50. 2
51. 4 52. 2 53. 4 54. 3 55. 1
56. 1 57. 4 58. 4 59. 1 60. 4



~ 35 ~
เฉลยแบบทดสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1
เฉลยอย่างละเอียด
1. ตอบ ข้อ 4. การอ่านออกเสียงทํานองเสนาะบทร้อยกรองวรรคจบ หรือวรรคส่ง ผู้อ่านควรทอดเสียงให้
ยาวออกไปช้าๆ เพื่อให้ผู้ฟังทราบว่าวรรคที่ผู้อ่านกําลังอ่านนั้นเป็นวรรคสุดท้าย และจะทําให้
เกิดจังหวะที่ไพเราะ
2. ตอบ ข้อ 2. ใจความสําคัญของพระบรมราโชวาทที่กําหนดให้อ่าน คือ “ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดี
กินดี พอสมควร มีความสงบ” ปรากฏบริเวณตอนท้ายของพระบรมราโชวาท
3. ตอบ ข้อ 1. ข้อความที่สนับสนุนว่าประเทศไทยจะยอดยิ่งยวด คือ “ความสุขสงบในประเทศจะเกิดขึ้น ”
เพราะถ้า ประชากรมี ค วามพออยู่ พ อกิ น พอเลี้ย งตนเองได้ เมื่ อนั้น ประชากรจะคํา นึง ถึ ง
ส่วนรวม ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองเพื่อส่วนรวม ความสุขสงบจึงเกิดขึ้น ไม่เกิดการเบียดเบียน
การแก่งแย่ง มีผลทําให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
4. ตอบ ข้อ 1. การเขียนแผนผังความคิด คือ “การระดมความคิด” เพราะแผนผังความคิดเป็นเครื่องมือ หรือ
วิธีก ารเพื่ อใช้ ระดมความคิ ดของกลุ่ มบุคคล โดยใช้เ ส้น สี ภาพ และข้อความสั้น ๆ เป็ น
เครื่องมือช่วยบันทึก
5. ตอบ ข้อ 4. การโต้แย้งเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้พูด หรือผู้โต้แย้งมีความคิดเห็นในประเด็นเดียวกันต่างออกไป
โดยผู้โต้แย้งจะต้องชี้แจง แสดงข้อมูลที่ตนเองสืบค้นได้ เพื่อทําให้ผู้ฟังประจักษ์ ซึ่งข้อโต้แย้ง
ที่ จ ะได้ รั บ การยอมรั บ จะต้ อ งประกอบด้ ว ยข้ อ มู ล ทั้ ง ที่ เ ป็ น ข้ อ เท็ จ จริ ง และข้ อ คิ ด เห็ น
ข้อโต้แย้งที่ประกอบด้วยความคิดเห็น อารมณ์ส่วนตนแต่เพียงอย่างเดียวย่อมเป็นข้อโต้แย้งที่
ขาดน้ําหนัก
6. ตอบ ข้อ 2. ข้อความที่ปรากฏในตัวเลือก ใช้พลังของภาษาเพื่อโน้มน้าวความรู้สึกของผู้ฟัง และกระตุ้นให้
เกิดพฤติกรรมที่ผู้ส่งสารประสงค์ ซึ่งข้อความในตัวเลือกข้อ 2. “ผงซักฟอกคลีน กําจัดคราบ
เพียงแค่ ป้ายครั้งเดียว” ใช้พลังของภาษาแตกต่างจากข้ออื่นๆ เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่ อ
กระตุ้นให้ผู้รับสารเกิดความต้องการในสินค้าและบริการ เรียกข้อความที่มีลักษณะเช่นนี้ว่า
“โฆษณา” ส่วนข้ออื่นๆ มุ่งเน้นให้ผู้ฟังเกิดพฤติกรรมด้านดี
7. ตอบ ข้อ 3. ข้อคิดที่ได้รับ คือ “เป็นผู้หญิงต้องรู้จักรักนวลสงวนตัว” โดยแปลความจากวรรคที่กล่าวว่า
“บํารุงรักกายไว้ให้เป็นผล” และ “สงวนงามตามระบอบไม่ชอบกล”
8. ตอบ ข้อ 2. การใช้ห้องสมุดซึ่งเป็นสาธารณสมบัติร่วมกัน ผู้เข้าใช้จะต้องระมัดระวัง รักษาพฤติกรรมของ
ตนเองไม่ให้ล่วงละเมิดสิทธิ หรือสร้างความเดือดร้อนรําคาญให้แก่ผู้อื่น รวมทั้งไม่ขูด ลบ
ขี ด ฆ่า หรือทํ า ลายสมบั ติข องห้องสมุด ดัง นั้น บุคคลที่มีพ ฤติก รรมเหมาะสมเมื่อเข้าใช้
ห้องสมุด คือ นุช เพราะมีพฤติกรรมที่ไม่สร้างความเดือดร้อนรําคาญให้แก่ผู้อื่น

~ 36 ~
9. ตอบ ข้อ 3. ลักษณะซึ่งเป็นจุดสังเกตสําคัญที่ทําให้ระบุว่าตัวอักษรที่ เห็นเป็นตัวอักษรรูปแบบใด คือ
โครงสร้ า งของตั ว อั ก ษร กล่ า วคื อ ตั ว อั ก ษรแต่ ล ะรู ป แบบจะมี โ ครงสร้ า ง เช่ น ส่ ว นหั ว
แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง ตัวอักษรรูปแบบอาลักษณ์ ส่วนหัวจะมีลักษณะเหลี่ยม ในขณะที่
ตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนหัวจะมีลักษณะกลมมน
10. ตอบ ข้อ 1. ข้อความที่กําหนดให้อ่านสร้างสรรค์โดยใช้พรรณนาโวหาร เป็นกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อให้
รายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือสร้างภาพในจินตนาการของผู้อ่าน โดยเลือกสรรถ้อยคําที่
ไพเราะทั้งด้านเสียงและความหมาย ส่วนข้อ 2. บรรยายโวหาร เป็นกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อเล่า
เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งอย่างตรงไปตรงมา ข้อ 3. อุปมาโวหาร เป็นกลวิธีการใช้ภาษาใน
ลักษณะเปรียบเทียบ โดยการเปรียบเทียบสิ่งของที่เหมือนกัน โยงความคิดไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง
หรือเปรียบเทียบข้อความตรงกันข้ามหรือข้อความที่ขัดแย้งกัน ส่วนข้อ 4. สาธกโวหาร เป็น
กลวิธีการใช้ภาษา ที่ ผู้เขี ย นหยิ บยกตัวอย่างมาอ้างอิงประกอบการอธิบายเพื่ อสนับสนุน
ข้อความที่เขียนให้ผู้อ่านเข้าใจและเกิดความเชื่อถือ
11. ตอบ ข้อ 4. วิธีการที่ผู้เขียนใช้เพื่อสร้างภาพในจินตนาการของผู้อ่านให้ชัดเจน คือ การใช้คําซ้ํา คําซ้อน
โดยสังเกตจาก “ยิบๆ ยับๆ” ซึ่งเป็นคําซ้ํา ในขณะเดียวกับที่ใช้คําซ้อนเพื่อสร้างภาพการ
เคลื่อนไหว เช่น “วูบวาบวิบวับ” “แย้มยิ้ม”
12. ตอบ ข้อ 4. เรียงความที่ดี เมื่อผู้เขียนเลือกเรื่อง กําหนดวัตถุประสงค์ของเรื่องได้แล้ว ต้องวางโครงเรื่อง
เพื่อสร้างขอบเขตของเรียงความ โดยใช้ส่วนประกอบของเรียงความ ซึ่งได้แก่ คํานํา เนื้อเรื่อง
สรุป เป็นกรอบแบ่งประเด็นความคิด โดยประเด็นความคิดทั้งหมดจะต้องมีความเชื่อมโยง
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ชื่อเรื่อง จากตัวเลือกประเด็นความคิดที่มีความจําเป็นน้อยที่สุด
คือ “ความประทับใจของศิษย์เก่า” เพราะไม่มีความเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ
13. ตอบ ข้อ 4. การย่อความ คือ การจับใจความสําคัญ หรือจับประเด็นสําคัญของเรื่องที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือ
ได้ดู เรียบเรียงด้วยสํานวนภาษาของตน การย่อความที่ดีผู้ย่อจะต้องอ่าน ฟัง หรือดูเรื่องนั้นๆ
อย่างน้อย 2 รอบ เมื่อลงมือย่อความแล้วใจความสําคัญของข้อความจะต้องไม่เปลี่ ยนแปลง
ไม่มีการขยายความบทอ่าน เพราะอาจทําให้ใจความสําคัญเปลี่ยนแปลงไป และเมื่อย่อเสร็จ
จะต้องมีเพียงย่อหน้าเดียว
14. ตอบ ข้อ 1. การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า คือ การนําเสนอผลที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม
สํารวจ หรือปฏิบั ติเกี่ยวกั บเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอีย ด มีแบบแผน โดยใช้ภาษาระดับ
ทางการเรียบเรียงตามรูปแบบที่กําหนด โดยขั้นตอนแรกของการทํารายงานการศึกษาค้นคว้า
คือ การเลือกเรื่อง หรือกําหนดเรื่อง เพราะเป็นเข็มทิศสําคัญของการทํารายงาน เชื่อมโยง
ไปสู่ขั้นตอนต่างๆ เช่น การวางโครงเรื่อง การสํารวจรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

~ 37 ~
15. ตอบ ข้อ 4. การเขียนจดหมายกิจธุระเพื่ อเรียนเชิญวิทยากร คําขึ้นต้นจดหมายขอความอนุเคราะห์ที่
ถูกต้อง เนื้อความในจดหมาย (ย่อหน้าแรก) คือ “เนื่องจาก” เพราะผู้เขียนจะต้องชี้แจง
เกี่ยวกับสาเหตุของการเขียนจดหมาย คําว่า เนื่องจาก จึงเป็นคําที่ถูกต้อง เหมาะสม สําหรับคํา
ลงท้ายเนื้อความ ต้องใช้ว่า “จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา” เพื่อแสดงความนอบน้อม ยกย่อง
ให้เกียรติผู้รับจดหมายตัดสินใจรับคําเรียนเชิญ
16. ตอบ ข้อ 2. การโต้แย้งและการโต้เถียงแตกต่างกันในประเด็น “การให้ข้อมูลและเหตุผล” การโต้แย้งที่ดี
และได้รับความน่าเชื่อถือจะต้องประกอบด้วยข้อมูลทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น การ
โต้เถียงเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล เพื่อชัยชนะ ไม่ได้เป็นการ
ชี้แจงเช่นเดียวกับการโต้แย้ง
17. ตอบ ข้อ 4. การใช้ภาษาเพื่อโต้แย้ง แสดงความคิดเห็น ผู้พูดจะต้องระมัดระวังคําพูดของตนเองที่อาจทํา
ให้ อี ก ฝ่ า ยเกิ ด ความรู้ สึ ก ไม่ พ อใจ เช่ น การพู ด โจมตี ค วามคิ ด เห็ น ของอี ก ฝ่ า ย เป็ น ต้ น
ซึ่งข้อความที่สะท้อนให้เห็นว่าผู้พูดเป็นผู้มีมารยาทเหมาะสม คือ “ข้อเสนอของคุณนภาเป็น
แนวทางหนึ่ ง ซึ่ง ผมมี อีก แนวทางเสนอให้พิ จารณา” เพราะเป็นข้ อความที่ไ ม่ปรากฏรู ป
ประโยคโจมตี แต่หาช่องทางเสนอความคิดเห็นของตนด้วยท่าทีและถ้อยคําที่สุภาพ
18. ตอบ ข้อ 4. ทักษะที่สําคัญและจําเป็นต่อการพูดสรุปความ คือ ทักษะการจับใจความ เพราะการพูดสรุป
ความ ผู้พูดจะต้องตั้งคําถามแล้วหาคําตอบว่าเป็นเรื่องของใคร ทําอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไร
ทําไม และอย่างไร เมื่อตอบคําถามได้ก็เท่ากับจับประเด็นหรือใจความของเรื่องได้ จากนั้นจึง
นํามาเรียบเรียงด้วยสํานวนภาษาของตนเอง ส่วนทักษะการวิเคราะห์ วิจารณ์ยังไม่มีความ
จําเป็นสําหรับการพูดสรุปความ แต่มีความจําเป็นสําหรับการพูดแสดงความคิดเห็น
19. ตอบ ข้อ 1. การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของเรื่องที่ได้อ่าน ฟัง หรือดู จะต้องวิเคราะห์ในหลายๆ ด้าน
ประกอบกัน เช่น ผู้ส่งสาร ชื่อเรื่อง วิธีการสื่อสาร แหล่งข้อมูล เป็นต้น แต่การวิเคราะห์ที่จะ
สะท้อนความน่าเชื่อถือของเรื่อ งได้มากที่สุด คือ การวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งผู้วิเคราะห์จะต้อง
แยกแยะข้อมูลออกเป็นส่วนๆ เพื่อดูว่าข้อมูลส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นข้อคิดเห็น
ข้อมูลใดบ้างที่สนับสนุนกัน แล้วข้อมูลนั้นได้มาจากแหล่งใด
20. ตอบ ข้อ 4. การวิจารณ์ หมายถึง การพูดแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ได้อ่าน ฟัง หรือดูจากสื่อต่างๆ โดย
แยกแยะ ชี้ แจง ให้เห็นทั้ง ด้านดีและบกพร่องเพื่อให้เกิดการพั ฒนา การวิจารณ์จะเกิดขึ้น
ภายหลังการวิเคราะห์ ดังนั้น การวิจารณ์ที่มีเหตุผลจะต้องเกิดจากการวิเคราะห์ แยกแยะ
ส่วนประกอบต่างๆ ของเรื่อง ไม่ใช่การวิจารณ์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อโจมตี วิจารณ์ด้วยอคติ หรือ
วิจารณ์ในสิ่งที่ตนไม่มีความรู้
21. ตอบ ข้อ 3. บทพูดที่ กําหนดให้อ่าน มีความเหมาะสมที่จะใช้ในโอกาส “งานเลี้ยงรับตําแหน่งใหม่ ”
เพราะถ้อยคําที่ใช้เรียบเรียงมีลักษณะของการอวยพร โดยมุ่งเน้นไปที่ตําแหน่งหน้าที่การงาน

~ 38 ~
22. ตอบ ข้อ 4. โสตทัศนูปกรณ์อาจเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า ในกรณีที่สามารถ
สร้างความเข้าใจในเนื้อหาให้แก่ผู้ฟังได้ดีกว่าถ้อยคําของผู้พูด การเลือกใช้โสตทัศนูปกรณ์
หลากหลายประเภท การคาดเดาความสนใจของผู้ฟัง และการใช้โสตฯ ตลอดช่วงของการ
รายงาน อาจลดทอนความสํ า คั ญ ของผู้ พู ด ลงได้ ดั ง นั้ น แป้ ง จึ ง มี แ นวทางการเลื อ กใช้
โสตทัศนูปกรณ์ที่เหมาะสมมากที่สุด เพราะพิจารณาก่อนว่าโสตฯ ที่จะเลือกใช้มีความจําเป็น
หรือไม่
23. ตอบ ข้อ 1. ตามกําหนดการของการบรรยายครั้งหนึ่งๆ จะกําหนดให้มีช่วงตอบข้อซักถาม โดยเกิดขึ้น
หลังจากการบรรยายแล้วเสร็จ แต่หากขณะที่บรรยาย มีผู้ฟังตั้งคําถามกลางคัน ผู้พูดจะต้อง
แก้ไขสถานการณ์ด้วยท่าทีละมุนละม่อม ใช้คําพูดที่ไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจแก่ผู้ฟัง
ซึ่งคําพูดของแก้มเป็นคําพูดที่เหมาะสมมากที่สุด เพราะไม่มีลักษณะตําหนิ และลงท้ายให้
ผู้ฟั ง รู้สึก ว่า ผู้พู ดใส่ใ จ ให้ความสําคัญที่จะตอบคําถามของตนเป็นคําถามแรก ในขณะที่
ข้อความอื่นๆ นั้น มีลักษณะตําหนิ
24. ตอบ ข้อ 3. คําประสม “ตาขาว” ประกอบขึ้นจากคํานามและคําวิเศษณ์ เมื่อวิเคราะห์คําต่างๆ ในตัวเลือก
พบว่า
คาประสม ประเภทของคาที่นามาประกอบ
เบี้ยล่าง คํานาม+คําวิเศษณ์
รถราง คํานาม+คํานาม
ตีนแมว คํานาม+คํานาม
หมูหัน คํานาม+คํากริยา
กล่องดํา คํานาม+คําวิเศษณ์
น้ําแข็ง คํานาม+คําวิเศษณ์
มือกาว คํานาม+คํานาม
ลงแดง คํากริยา+คําวิเศษณ์
ดังนั้น กล่องดํา น้ําแข็ง จึงเป็นคําประสมที่สอดคล้องกับคําเงื่อนไข เพราะประกอบขึ้นด้วยคํา
ชนิดเดียวกัน
25. ตอบ ข้อ 4. คําเงื่อนไขที่กําหนด “ขึ้นรถลงเรือ” เป็นคําซ้อนด้วยวิธีการนําคําซ้อน 2 คู่ ได้แก่ “ขึ้นลง”
“รถเรือ” มาแยกซ้อนสลับตําแหน่งกัน คําจากตัวเลือกที่มีลักษณะสอดคล้องกับคําเงื่อนไข
คือ “บ้านป่าเมืองเถื่อน” เพราะเกิดจากคําซ้อน 2 คู่ ได้แก่ “บ้านเมือง” “ป่าเถื่อน” มาแยกซ้อน
สลับตําแหน่งกัน ส่วนคําอื่นๆ ได้แก่ เล่นหูเล่นตา เดินไปเดินมา กล้าได้กล้าเสีย เป็นคําซ้อน
ที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการเดียวกัน คือ เติมคําคําเดียวในตําแหน่งข้างหน้าและแทรกกลางระหว่าง
คําซ้อน

~ 39 ~
26. ตอบ ข้อ 3. วลี หมายถึง หน่วยทางภาษาที่ใช้เป็นส่วนประกอบของประโยค วลีอาจประกอบด้วยคํา 1 คํา
หรือคําหลายคําก็ได้ แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ นามวลี สรรพนามวลี กริยาวลี บุพบทวลี และ
วิเศษณ์วลี โดยโจทย์ให้วิเคราะห์ส่วนขยายของนามวลี จากตัวเลือกที่กําหนด นามวลี “เพื่อน
คนนี”้ ปรากฏส่วนขยายคือคําว่า “คนนี”้
27. ตอบ ข้อ 3. ประโยคเงื่อนไขที่กําหนด “เด็กหญิงวารีนั่งในห้องเรียน” เป็นประโยคสามัญที่มีกริยาวลี
เดียว คือ “นั่งในห้องเรียน” โดยในกริยาวลีมีคํากริยาเพียงคําเดียว คือ “นั่ง” เมื่อวิเคราะห์
ประโยค ข้อ 1.“เขาทํางานหนักจนล้มป่วย” พบว่าเป็นประโยคความซ้อนที่มีอนุประโยค “จน
ล้มป่วย” ขยายกริยา “ทํางานหนัก” ข้อ 2.“พ่อไปต่างจังหวัดแต่แม่อยู่บ้าน” พบว่าเป็น
ประโยคความรวมที่เกิดจากประโยคย่อย 2 ประโยคมารวมเป็นประโยคเดียวกัน ในที่นี้คือ
ประโยคสามัญรวมกับประโยคสามัญ ข้อ 3. ปฐมพงษ์ให้ของขวัญเยาวพาทุกปี ” พบว่าเป็น
ประโยคสามัญที่มีกริยาวลีคือ “ให้ของขวัญเยาวพาทุกปี” โดยในกริยาวลีมีคํากริยาเพียงคํา
เดียวคือ “ให้” ข้อ 4.“ครูดีใจที่นักเรียนทุกคนสอบได้คะแนนดี” พบว่าเป็นประโยคความซ้อน
ที่มีอนุประโยคทําหน้าที่เช่นเดียวกับนามวลี ดังนั้น ข้อ 3. จึงมีลักษณะสอดคล้องกับประโยค
เงื่อนไข
28. ตอบ ข้อ 4. สัมผัส หมายถึง คําคล้องจองช่วยให้บทร้อยกรองมีท่วงทํานองไพเราะ ร้อยเรียงเกี่ยวเนื่องกัน
แบ่งออกเป็น สัมผัสใน และสัมผัสนอก โดยสัมผัสใน เป็นสัมผัสที่อยู่ภายในวรรค ไม่ถือเป็น
สัมผัสบังคับ เป็นได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ส่วนสัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างบท
เป็นสัมผัสบังคับของบทร้อยกรอง ซึ่ งแตกต่างไปตามประเภทของบทร้อยกรอง โดยบังคับ
ให้เป็นสัมผัสสระ ซึ่งกลอนสุภาพวรรคที่ปรากฏลักษณะทางวรรณศิลป์ที่เรียกว่า “สัมผัสใน”
โดดเด่นที่สุดคือ “กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม” โดยมีทั้งสัมผัสสระ และสัมผัส
อักษร ก่อให้เกิดช่วงจังหวะที่ไพเราะ
29. ตอบ ข้อ 1. คําว่า “ทูลเกล้าฯ” อ่านออกเสียงว่า ทูน-เกล้า-ทูน-กระ-หม่อม “น้อมเกล้าฯ” อ่านออกเสียงว่า
น้อม-เกล้า -น้ อม-กระ-หม่ อม มีวิ ธีก ารใช้แตกต่ างกั น คือ ทูล เกล้ าฯ ใช้ เมื่อ ถวายของที่
สามารถยกถวายได้ ในขณะที่ น้อมเกล้าฯ ใช้เมื่อถวายของที่ไม่สามารถยกถวายได้ ดังนั้น
ข้อความ “สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวง” จึงใช้คํา
ราชาศัพท์ได้ถูกต้อง ข้อความในข้อ 2., 4. ที่ถูกต้องใช้ว่า “น้อมเกล้าฯ” ข้อ 3. ที่ถูกต้องใช้ว่า
“ทูลเกล้าฯ”
30. ตอบ ข้อ 2. คําเงื่อนไขที่กําหนดให้ คือ “กังขา” เป็นคําที่ยืมมาจากภาษาบาลี มีจุดสังเกต คือ การใช้
ตัวสะกดตัวตาม ส่วนข้อ 1. “ผจญ” เป็นคําที่ยื มมาจากภาษาเขมรมีจุดสังเกต คือ การใช้
ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ซึ่งคําที่ยืมมาจากภาษาเขมรส่วนใหญ่ จะใช้พยัญชนะ ญ สะกด
ข้อ 2. “อิจฉา” เป็นคําที่ยืมมาจากภาษาบาลี มีจุดสัง เกต คือ การใช้ตัวสะกดตัวตาม ข้อ 3.
“กรีฑา” เป็นคําที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤตมีจุดสังเกต คือ การใช้พยัญชนะ ฑ ขณะที่คําที่ยืม

~ 40 ~
มาจากภาษาบาลีใ นคํา ที่ มี ความหมายทํานองเดีย วกันจะใช้พ ยัญชนะ ฬ คือ กี ฬา ข้อ 4.
“อัศจรรย์” เป็นคําที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤตมีจุดสังเกต คือ การใช้ รร (ร หัน)
31. ตอบ ข้อ 4. ความกตัญํู ความเสีย สละ บทร้อยกรองข้างต้น กล่าวถึง สมเด็จพระสุริโยทัย เกรงว่า
พระสวามีจะสิ้นพระชนม์ขณะกระทํายุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร ดังนั้น พระสุริโยทัยจึงไสช้าง
เข้าขวางพระเจ้าแปร ทําให้ต้องพระแสงของ้าวจนสิ้นพระชนม์ลงบนคอช้าง แสดงให้เห็นถึง
ความกตัญํูต่อพระเจ้าจักรพรรดิผู้ที่ทรงเป็นพระสวามีและผู้ครองบัลลังก์ในฐานะกษัตริย์
พระสุริโยทัยจึงยอมสละชีวิตตนเองเข้าแลกเพื่อทดแทนบุญคุณ
32. ตอบ ข้อ 3. เห็นสภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ บทร้อยกรองนี้ แสดงให้เห็นถึงสภาพสังคมบ้านเมือง
ที่กําลังทําศึกสงคราม โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นําในการออกรบและติดตามด้วยกอง
กําลังเหล่าทหารที่สู้รบด้วยความกล้าหาญอย่างไม่ถอยหนี
33. ตอบ ข้อ 3. พระสุริโยทัย ผู้เป็นมเหสี เมื่อทราบข่าวจึงทรงเครื่องเป็นอุปราช (ทรงแต่งเป็นชาย) ขี่ช้าง
เข้าร่วมกระบวนทัพด้วย
34. ตอบ ข้อ 1. พระเจ้าเสือ (สมเด็จพระสรรเพชญที่ 8) ได้เสด็จประพาสจับปลาแถวปากน้ําโดยเรือพระที่นั่ง
ชื่อเอกไชย มาถึงตําบลโคกขาม คลองบริเวณนั้นคดเคี้ยวมากทําให้โขน (หัว) เรือพระที่นั่ง
ชนเข้ากับกิ่งไม้จนหักพังลง
35. ตอบ ข้อ 4. ข้าราชการในราชสํานัก เสวก อ่านว่า เส-วก หมายถึง ข้าราชการในราชสํานัก เช่น ผู้รับใช้
ผู้อยู่ใกล้ชิด คนสนิท ยศข้าราชการในราชสํานัก
36. ตอบ ข้อ 3. สะท้อนความงามทางด้านศิลปะ ถอดคําประพันธ์ อันศิลปกรรมนั้นช่วยทําให้จิตใจคลายเศร้า
ช่วยทําให้คลายจากความทุกข์และทําให้จิตใจของเรามีความสุขทางจิตใจ ซึ่งจะส่งผลให้
ร่า งกายแข็ ง แรงไปด้ว ย แต่ ท างตรงกั น ข้า ม หากใครไม่ เ ห็น คุณ ค่า ความงามของศิล ปะ
เมื่อเผชิญความทุกข์ก็ไม่มีสิ่งใดมาเป็นยารักษาจิตใจได้
37. ตอบ ข้อ 1. อุปมา หมายถึง การใช้ข้อความเปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์โดยใช้คํา “ดัง เหมือน เช่น ดุจ
คล้า ย” ข้อ 2. อติพ จน์ หมายถึง การกล่าวเกิ นความจริง เพื่อเน้นความรู้สึกทําให้ผู้ฟังเกิ ด
ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ข้อ 3. อุปลักษณ์ หมายถึง การเปรียบว่าสิ่งหนึ่งเป็นอี กสิ่งหนึ่ง โดยนําสิ่ง
สองสิ่งที่ต่างจําพวกกันแต่มีลักษณะเด่นเหมือนกันมาเปรียบเทียบกันเช่นเดียวกับอุปมา ข้อ 4.
บุคลาธิษฐาน หมายถึง การกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์แต่มีกิริยาอาการและความรู้สึกที่
เหมือนมนุษย์
38. ตอบ ข้อ 3. งานศิลปะ บทร้อยกรองนี้ กวีได้เปรียบเทียบศิลปะกับโอสถ หรือยาที่สามารถทําให้ตนคลาย
จากความทุกข์และความเบื่อหน่ายได้
39. ตอบ ข้อ 3. การเกษตร ประเพณี และศาสนสถาน ศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 2 กล่าวถึง ภูมิประเทศที่มี
สภาพเอื้ อ อํ า นวยเหมาะแก่ ก ารเพาะปลู ก ทํ า การเกษตร เช่ น ปลู ก หมาก ปลู ก พลู
ปลูกมะพร้าว เป็นต้น นอกจากนี้บริเวณรอบๆ กําแพงเมืองยังรายล้อมด้วยน้ําที่ใสสะอาด

~ 41 ~
มี ป ระเพณีง านทอดกฐิ น การละเล่ น ภายในเมื อง รวมถึ งศาสนสถานที่ มี ป ระติ ม ากรรม
พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่งดงาม
40. ตอบ ข้อ 1. การค้ า ขายแบบเสรี ข้ อความข้ างต้น มีเนื้อ หาที่แ สดงให้เห็น ถึงความอุด มสมบู รณ์ของ
บ้านเมือง ดังเช่นข้อความ “ในน้ํามีปลา ในนามีข้าว” และเปิดการค้าอย่างเสรีให้ชาวต่างชาติ
เข้ามาทําการค้าได้อย่างอิสระ โดยที่ไม่มีการแก่งแย่ง ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
41. ตอบ ข้อ 1. ภาษี จกอบ หรือ จังกอบ หมายถึง ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าและขนาดของพาหนะที่บรรทุก
ข้อ 2. ไพร่พล สมัยสุโขทัย หมายถึง กําลังคน กําลังทหาร
ข้อ 3. เงินหรือเบี้ย สมัยสุโขทัยจะใช้คําว่า เงือน
ข้อ 4. ข้าวหรือยุ้งข้าว (ยุ้งฉาง) สมัยสุโขทัยจะใช้คําว่า เยียข้าว
42. ตอบ ข้อ 3. แค้นใจ บทร้อยกรองนี้มีเนื้อหา กล่าวถึง นนทกนั่งประจําอยู่ที่บันไดของเชิงเขาไกรลาส
โดยมี หน้า ที่ล้างเท้า ให้แก่ เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร เหล่าเทวดาที่พ ากันมาเข้าเฝ้า
พระอิศวรได้ยื่นเท้าให้ล้างแล้วมักแหย่เย้าหยอกล้อนนทกอยู่เป็นประจํา ด้วยการลูบหัวบ้าง
ตบหัวบ้าง ถอนผมบ้าง ทําให้นนทกโกรธและแค้นใจมาก
43. ตอบ ข้อ 4. การให้อํานาจแก่บุคคลที่ขาดสติ จะเกิดผลร้ายและนําซึ่งความเดือดร้อน จากวรรณคดีเรื่อง
รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ให้ข้อคิดว่าเราไม่ควรลุ่มหลงในตนเอง ไม่อวดเก่ง
อวดฉลาดในความสามารถที่มี ก่ อนจะทําสิ่ งใดควรมีส ติคิดอย่างรอบคอบ ไม่ใช้อารมณ์
ตัดสิน และเมื่อได้รับโอกาสที่ดี ก็ควรใช้โอกาสนั้นไปในทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่หลงว่าตนนั้นมี
อํานาจสามารถทําสิ่งใดก็ได้ และที่สําคัญจะได้ไม่ตกอยู่ในความประมาทนั้นด้วย
44. ตอบ ข้อ 1. ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว จากบทร้อยกรอง นนทกตั้ งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี เมื่อจะ
ขอพรจากพระอิศวร จึงได้รับความเมตตาและบันดาลพรนั้นโดยทันที
45. ตอบ ข้อ 3. อย่ารังแกผู้ที่ด้อยกว่าตน แต่ควรชื่นชมในสิ่งที่เขากระทํา ข้อคิดนี้ หมายถึง คนเรานั้นเมื่อเกิด
เป็นมนุษย์แล้ว ก็เป็นคนเหมือนกัน มีความเท่าเทีย มและความเสมอภาค แม้ว่าผู้นั้นจะเป็น
ผู้อ่อนแอกว่า แต่เราก็ไม่ควรไปรังแกทั้งคําพูดที่ดูถูกหรือรังแกทางร่างกาย แต่ควรมีจิตใจที่
เมตตาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
46. ตอบ ข้อ 1. พรรณไม้ จากบทร้อยกรอง กวีกล่าวถึง ชนิดของพรรณไม้ คือ หัวลิง หมากลางลิง กะไดลิง
และหูลิง เป็นต้น ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่พบได้ยาก โดยทั่วไปจะพบบริเวณในป่าลึก หัวลิง
หมายถึง ไม้เถาชนิดหนึ่ง ผลขนาดส้มจีน มีสันตรงกลางคล้ายหัวลิง หมากลางลิง หมายถึง
ชื่อปาล์มชนิดหนึ่ง ลางลิงหรือกะไดลิง หมายถึง ไม้เถาเนื้อแข็งชนิดหนึ่ง เถาแบนยาว งอ
กลับไปมาคล้ายบันได หูลิง หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ชมผู้ หมายถึง ชมผู้ เป็นรูป
โทโทษของคําว่า ชมพู่ หมายถึง ผลไม้ชนิดหนึ่ง

~ 42 ~
47. ตอบ ข้อ 1. ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู หนูงูสู้ดูอยู่ รูปงูทู่หนูมูทู จากบทร้อยกรองจะเห็นว่า เป็นการเลือกใช้
ถ้อยคําที่มีเสียงสระเดียวกัน ซึ่งมีทั้งการเล่นเสียงสระ เสียงพยัญชนะ เสียงวรรณยุกต์และการ
ซ้ําคําได้อย่างกลมกลืนและเกิดจินตภาพ โดยบทร้อยกรองนี้มีใจความว่า ขณะที่งูขู่หนูฟู่ๆ
เพราะหนูจะเข้าไปในรูงู งูจึงสู้กับหนู หนูก็สู้กับงู สัตว์ทั้งสองต่างต่อสู้กันอย่างชุลมุนวุ่นวาย
โดยต่ า งก็ รู้ เ ชิ ง ซึ่ ง กั น และกั น คํ า ศั พ ท์ มู ทู คื อ มู่ ทู่ หมายถึ ง ป้ า น ไม่ แ หลม (ในที่ นี้ ล ด
วรรณยุกต์เอก) ฝู้ คือ ฝู้ เป็นรูปโทโทษของ ฟู่ หมายถึง เสียงที่ดังฟู่ เหมือนเสียงงูเวลาขู่
ถู้ เป็นรูปโทโทษของ ทู่ หมายถึง ไม่แหลม
48. ตอบ ข้อ 1. ถอดความ หมายถึง นางสนมทั้งหลายของท่านซึ่งนั่งอยู่บนประทุนหลังช้างเหมือนกัน แต่ละ
คนนั้นก็มีใบหน้าสวยสดใส นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสวยงามเป็นริ้วลวดลายสีทอง สะท้อนให้เห็น
วัฒนธรรมการแต่ง กายของสตรีใ นสมัย อยุ ธ ยา รวมถึงหน้า ตาอันผุด ผ่ องสวยงาม ข้อ 2.
กล่าวถึง ต้นช้องนางคลี่และสไบนางสีดา ต่างก็ยื่นเลื้อยห้อยลงมา เมื่อยามลมพัดจะแกว่งไป
มาดูสวยงามนัก ข้อ 3. กล่าวถึง การเที่ยวเล่นในครั้งนี้ช่างมีความสนุกยิ่งนัก เพราะได้ชื่นชม
ความงามทางธรรมชาติต่างๆ ข้อ 4. กล่าวถึง ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ที่มีโขลงช้าง
อยู่อาศัยมากมาย
49. ตอบ ข้อ 3. นาฏการ คือ การแสดงอาการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆที่สวยงาม จากบทร้อยกรองแสดงถึงการ
เคลื่อนไหวอย่างช้าๆ ขณะที่งูเขียวกําลังรัดตุ๊กแก เมื่อตุ๊กแกอ้าปาก งูเขียวก็เข้าไปล้วงตับ
ตุ๊กแกกินเป็นอาหาร ข้อ 1. อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง โดยใช้คํา
ว่า ดุจ ดั่ง เหมือน เฉก ราวกับ เป็นต้น ข้อ 2. สัทพจน์ คือ ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ
เช่น เสียงคลื่นทะเล เสียงดนตรี เสียงลม เสียงสัตว์ เพื่อทําให้เกิดความรู้สึกเหมือนได้ยินเสียง
นั้นจริงๆ ข้อ 4. บุคลาธิษฐาน คือ การกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด หรือสิ่งที่
ไม่ใช่มนุษย์ ให้ทํากิริยาอาการคล้ายมนุษย์
50. ตอบ ข้อ 2. ศาสนา, ความยุติธรรม, การสละประโยชน์ตนเอง จากบทร้อยกรอง หมายถึง ให้เรารู้จัก
เคารพพระพุทธศาสนา เพราะศาสนาสอนให้เราเป็นคนดี ส่วนความยุติธรรมนั้น จะทําให้เรา
เป็นคนมีความซื่อสัตย์ซื่อตรงในทุกๆ เรื่อง และการรู้จักสละประโยชน์ส่วนตน ทําให้เรารู้จัก
ทําประโยชน์ทุกๆ สิ่งเท่าที่กําลังเราพอทําได้ ไม่ใช่ทําแต่ประโยชน์ของตนเพียงอย่างเดียว
51. ตอบ ข้อ 1. หนังสือดี บทร้อยกรองนี้ มาจากเรื่องโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์โดยกล่าวถึง สามสิ่งที่ควร
จะกระทํ าให้มี ซึ่งได้ แก่ หนังสือดี เพื่อนดี และใจเย็นดี หนังสือดี ก็ เปรีย บเหมือนครูผู้ที่
อบรมบ่ม วิช าให้ค วามรู้แก่ เรา ดังนั้นแล้วหนังสือดีเราจึงควรให้ความเคารพเสมือนกั บที่
เคารพครู
52. ตอบ ข้อ 1. ความสงบ บทร้อยกรองนี้มาจากเรื่องโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์โดยกล่าวถึง สามสิ่งควร
อ้อนวอนขอ ซึ่งได้แก่ ความเชื่อถือ ความสงบ ใจบริสุทธิ์ จากบทร้อยกรอง หมายถึง หากเรา

~ 43 ~
รู้จักควบคุมสติอารมณ์ได้นั้นจะทําให้จิตใจของเรามีความสงบและทําให้ยับยั้งความต้องการ
ในสิ่งต่างๆ ที่ทําให้เป็นทุกข์ระทมใจได้ คือ หนึ่งในสามสิ่งที่เราควรมุ่งรักษา
53. ตอบ ข้อ 3. ควรมีความหนักแน่น คิดใคร่ครวญก่อนตัดสินใจ จากบทร้อยกรอง กวีต้องการบอกให้ผู้อ่าน
เห็นความสําคัญของการพูด รู้จักคิดก่อนพูด ไตร่ตรองให้ดีก่อนเอ่ยวาจาออกไป ขณะที่พูด
นั้นต้องมีความหนักแน่น และน้ําเสียงชัดเจนในถ้อยคํา
54. ตอบ ข้อ 1. ผู้ที่ประพฤติดีจะไม่ได้รับความเสียใจ นฤทุมนาการ หมายถึง กิจ ๑๐ ประการที่ผู้ประพฤติยัง
ไม่เคยได้รับความเสียใจ เพราะเป็นความประพฤติดีในไตรวาท ( กาย วาจา ใจ ) อันจะส่งผล
ดีต่อผู้ประพฤติและสังคมส่วนรวม สาระสําคัญของโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการเป็นคําสอน
ซึ่งมีอยู่ 2 แนวทาง ได้แก่ 1. สอนให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดี 2. สอนให้ละเว้นสิ่งที่ไม่ดี
55. ตอบ ข้อ 3. ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง เนื้อหาแสดงถึงสัจธรรมของชีวิต
ที่ให้ข้อคิด คติเตือนใจ ให้ตระหนักถึงความจริงที่ว่า ความตายนั้นเป็นสิ่งสุดท้ายของมนุษย์
ไม่ว่าจะเป็นบุคคลสําคัญ ร่ํารวย ยากจน มีชาติตระกูลที่สูงศักดิ์แค่ไหน ก็ไม่สามารถหนีจาก
ความตาย แม้แต่ทรัพย์สินเงินทองที่มี ก็ไม่สามารถนําติดตัวไปได้ คงเหลือไว้แต่ความดีและ
ความชั่วเท่านั้น
56. ตอบ ข้อ 2. ค่านิยมของคนในสังคม บทร้อยกรองนี้ หมายถึง ศพของบุคคลที่มีฐานะร่ํารวย เป็นสิ่งที่ควร
ค่าแก่การเลื่อมใสกราบไหว้ มีการจารึกเป็นสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่เพื่อให้เหมาะสมกับฐานะ
ผิดกับศพของชาวนาธรรมดา ซึ่งอย่างดีที่สุดก็มีแค่กวีสมัครเล่นซึ่งจะจารึกเอาไว้เพียงแค่ วัน
เดือน ปี ที่ล่วงลับและอุทิศสิ่งของทางธรรมให้แก่ผู้ตายเท่านั้น
57. ตอบ ข้อ 2. ข้อคิด จากบทร้อยกรองนี้ จะเห็นได้ว่ากลอนดอกสร้อยรําพึงในป่าช้ามีเนื้อหาที่ไม่ยาวนัก
แต่ เ น้ น ใจความที่ ใ ห้ ข้ อ คิ ด เตื อ นสติ แ ก่ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คน ให้ ทํ า แต่ ค วามดี ล ะเว้ น ความชั่ ว
เพราะเมื่อเราตายท้ายสุดก็มีเพียงแต่ความดีและความชั่วเท่านั้นที่ติดตัวไป
58. ตอบ ข้อ 3. สรรพคุณของสมุนไพร จากบทร้อยกรอง กวีสอดแทรกความรู้เรื่องสรรพคุณของสมุนไพร
ว่า หากมีอาการเจ็บป่วย จะรักษาด้วยการใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่พบได้โดยทั่วไป ซึ่งในที่นี้
บิดาของสุนทรภูไ่ ด้ใช้ไพลฝนทาเพื่อรักษาอาการวิงเวียน ปวดเมื่อยให้แก่สุนทรภู่
59. ตอบ ข้อ 2. จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลาใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน บทร้อยกรองแสดงถึงความรู้สึก
ของกวีที่รู้สึกสงสารตนเองซึ่งมีชีวิตคู่แต่ก็ไม่ได้อยู่ด้วยกัน ต้องพลัดพรากอย่างกะทันหันโดย
ที่ไม่ได้ร่ําลา
60. ตอบ ข้อ 2. จิตใจ จากบทร้อยกรอง กวีเลือกนําลักษณะเด่นของกระแสน้ําที่ไหลเชี่ยวและมีความคดเคี้ยว
มาเปรียบเทียบกับจิตใจของมนุษย์ โดยเปรียบให้เห็นว่าแม้แต่น้ําซึ่งเป็นสิ่งธรรมชาติยังมี
ความคดเคี้ยวแล้วใจมนุษย์จะซื่อตรงได้อย่างไร



~ 44 ~
เฉลยแบบทดสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2
เฉลยอย่างละเอียด
1. ตอบ ข้อ 1. ข้อความที่มีแนวทางการอ่านออกเสียงแตกต่างจากข้ออื่น คือ “ผลวิจัยชี้ว่าเอามือถือแนบหู
50 นาที มีผลต่อการทํางานของสมองส่วนที่ใกล้เสาสัญญาณ” เพราะข้อความนี้เขียนด้วย
บรรยายโวหาร ในขณะที่ข้อความอื่นๆ เขียนด้วยพรรณนาโวหาร มุ่งให้รายละเอียดของภาพ
หนึ่งๆ เกิดในจินตนาการของผู้รับสาร
2. ตอบ ข้อ 4. การฝึกฝน ปลูกฝังความรู้จักเหตุผล ผิดชอบชั่วดี จําเป็นไม่น้อยกว่าการให้ความรู้ทางวิชาการ
คือ ใจความสําคัญของพระบรมราโชวาทที่กําหนดให้อ่าน เพราะการรู้จักเหตุผล รู้จักผิดชอบ
ชั่วดี ย่อมทําให้มองเห็นทุกสิ่งด้วยความกระจ่างแจ้ง ซึ่งนับเป็นสิ่งสําคัญมากที่สุด
3. ตอบ ข้อ 4. เหตุผลที่ช่วยสนับสนุนให้เห็นว่า การฝึกฝน ปลูกฝังเหตุผล และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี เป็น
สิ่งจําเป็น คือ “มองบุคคลและสิ่งต่างๆ ได้ลึกลงไป” เพราะความรู้สึกผิดชอบชั่วดี จะเป็น
เครื่องมือสําหรับการมองบุคคลและสิ่งต่างๆ ให้กระจ่างด้วยจิตใจที่เป็นกลาง
4. ตอบ ข้อ 2. การเขียนแผนผังความคิด เป็นเครื่องมือที่ใช้สําหรับระดมความคิดในประเด็นหนึ่งๆ ของกลุ่ม
บุคคล โดยใช้เส้น สี ภาพ และข้อความที่กระชับเพื่อให้จดจําได้ง่ายเป็นเครื่องมือบันทึก
ซึ่ ง การเขี ย นแผนผั ง ความคิ ด จะทํ า ให้ ผู้ ร่ ว มคิ ด สามารถระดมความคิ ด ได้ ห ลากหลาย
ครอบคลุมประเด็นนั้นๆ
5. ตอบ ข้อ 4. ข้อโต้แย้งที่กําหนดให้อ่าน เป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความสามารถในการใช้ชีวิต ร่วมกับผู้อื่น
ของผู้ติดยาเสพติดที่ได้รับการฟื้นฟูแล้ว แต่ข้อโต้แย้งนี้จะได้รับการยอมรับ หรือน่าเชื่อถือก็
ต่อเมื่อผู้โต้แย้งแสวงหาข้อมูล เพื่อยืนยันว่าผู้ติดยาเสพติดที่ได้รับการฟื้นฟูแล้วสามารถใช้
ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้จริง โดยข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเฉพาะของบุคคล ข้อมูลทางสถิติ
ซึ่งข้อโต้แย้งดังกล่าวไม่ปรากฏข้อมูลสนับสนุนข้อสรุปของผู้พูด
6. ตอบ ข้อ 1. การใช้ ภาษาโน้ม น้า วใจ ผู้ส่งสารจะต้องเรียบเรีย งถ้อยคําให้มีพ ลังพอที่จะเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมของผู้รับสาร แต่การโน้มน้าวใจที่จะประสบผลสําเร็จมากที่สุด คือ การทําให้ผู้ฟัง
ประจักษ์ในความจริง สื่อสารให้เข้าใจได้ว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายของ
ผู้พูด ผู้ที่จะได้รับประโยชน์ คือ ผู้รับสาร ข้อ 1. จึงมีแนวทางการใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจได้
ประสบผลสําเร็จมากที่สุด เพราะแสดงให้เห็นว่าถ้าผู้รับสารปฏิบัติตาม (ประหยัดพลังงาน)
จะได้รับสิ่งใด (ลูกหลานมีพลังงานใช้) ตอบแทน
7. ตอบ ข้ อ 4. ข้ อ คิ ด ของบทร้ อ ยกรองที่ กํ า หนดให้ อ่ า น คื อ ให้ รู้ จั ก ระวั ง รั ก ษาคํ า พู ด ของตนเอง
เมื่อพิจารณาสํานวนในแต่ละข้อ พบว่า ข้อ 1. พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ หมายถึง รู้ทันกัน ข้อ 2.
พอแง้ ม ปากก็ เห็นไรฟั น มี ความหมายเช่นเดีย วกั บสํานวน พออ้าปากก็ เห็นลิ้นไก่ ข้อ 3.
พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น หมายถึง พบหญิงสาวที่ถูกใจ เป็นที่พึงพอใจเมื่อตนเองแก่เฒ่า

~ 45 ~
ข้อ 4. พู ดดีเป็นศรีแก่ ตัว พู ดชั่วอัปราชัย หมายถึง พูดดีย่ อมเกิดผลดี ถ้าพู ดไม่ดีย่ อมเกิ ด
ผลเสีย ดังนั้น สํานวนที่มีความสอดคล้องกับข้อคิดที่ได้รับจากบทร้อยกรอง คือ “พูดดีเป็น
ศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย”
8. ตอบ ข้อ 2. มารยาทการใช้ห้องสมุด คือ กรอบสําหรับการระวังรักษาพฤติกรรม การกระทําของตน
ไม่ให้ล่วงละเมิดสิทธิ หรือสร้างความเดือดร้อนรําคาญให้แก่ผู้อื่น นอกจากนี้มารยาทที่สําคัญ
อีก ประการหนึ่ง เมื่ อเข้า ใช้ ห้องสมุด ต้องไม่ขูด ลบ ขีด ฆ่า ทําลายหนังสือ อุปกรณ์ โต๊ะ
หรือสมบัติอื่นๆ พฤติกรรมของกําพล เป็นสิ่งที่เหมาะสมควรปฏิบัติ พฤติกรรมของสุรชัย
และสุ ร ศั ก ดิ์ เป็ น พฤติ ก รรมที่ ไ ม่ เ หมาะสม เข้ า ข่ า ยการทํ า ลายสมบั ติ ข องห้ อ งสมุ ด
แต่พฤติกรรมที่เข้าข่ายสร้างความเดือดร้อน รําคาญให้แก่ผู้อื่น คือ ปฐมพงษ์ เพราะเสียง
พูดคุยและหัวเราะอาจทําลายสมาธิของผู้อื่นได้
9. ตอบ ข้อ 4. ตัวอัก ษรที่ โครงสร้างส่วนหัวมีลักษณะเหลี่ยม คือ ตัวอักษรแบบอาลักษณ์ หรือเรียกว่า
ตัวอักษรหัวบัว ส่วนตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ และแบบคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย โครงสร้างส่วนหัวมีลักษณะกลม
10. ตอบ ข้อ 1. ข้อความที่กําหนดให้อ่านเขียนด้วยพรรณนาโวหาร เพราะโวหารนี้มุ่งเลือกสรรถ้อยคําที่
ไพเราะทั้ ง ด้า นเสียงและความหมาย เพื่ อให้ภาพหรือรายละเอีย ดของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่ าง
ชัดเจนแก่ผู้อ่าน เรียกว่า สร้างภาพในจินตนาการ
11. ตอบ ข้อ 1. ส่วนสรุปของเรียงความที่ดี ควรทําหน้าที่เน้นย้ําวัตถุประสงค์ที่ผู้เขียนต้องการนําเสนอ
ดังนั้น การเขียนส่วนสรุปจึงไม่ควรนําเสนอประเด็นใหม่ แต่ควรเรียบเรียงถ้อยคําเพื่อให้
ผู้อ่านเข้าใจ เข้าถึงแก่นของเรียงความ และไม่ควรขึ้นต้นย่อหน้าด้วยคําว่า “สรุปว่า” “กล่าว
โดยสรุป” “สรุปได้ว่า” “สรุปแล้ว” เพราะจะทําให้เสียอรรถรสของเรียงความ
12. ตอบ ข้อ 4. ย่อความที่ดีต้องย่อจากความเข้าใจ โดยใช้สํานวนภาษาของตนเอง ซึ่งความเข้าใจในเรื่องที่
อ่าน ฟัง หรือดู จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ย่อมีสมาธิขณะรับสาร หากเป็นการรับสารด้วยวิธีการ
อ่าน ผู้รับสารควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ ตั้งแต่ต้นจนจบ โดยการอ่านรอบแรกเป็นการอ่าน
เพื่อสํารวจ รอบที่สองเป็นการอ่านเพื่อค้นหาใจความสําคัญ ไม่ควรใช้วิธีแบบอ่านไปย่อไป
เพราะจะทําให้ขาดความต่อเนื่อง รวมถึงการอ่านเฉพาะหัวข้อใหญ่ ไม่ใช่วิธีการย่อความที่
ถูกต้อง เพราะหัวข้อใหญ่ไม่ใช่ใจความสําคัญของบทอ่าน
13. ตอบ ข้อ 1. โครงเรื่องเป็นกรอบที่ช่วยกําหนดประเด็นในการสื่อสาร การวางโครงเรื่องจะช่วยทําให้เห็น
ภาพรวมของเนื้อหา ว่าควรจะนําเสนอประเด็นใดบ้าง และจัดลําดับความสําคัญอย่ างไร
ดั ง นั้ น การวางโครงเรื่ อ งเพื่ อ เขี ย นรายงานการศึ ก ษาค้ น คว้ า จะช่ ว ยให้ ผู้ ทํ า รายงานฯ
ตรวจสอบความครบถ้วน ครอบคลุมของประเด็นที่ต้องการนําเสนอได้

~ 46 ~
14. ตอบ ข้อ 2. คําลงท้ายจดหมายกิจธุระ หากเป็นจดหมายที่มีถึงบุคคลธรรมดา ที่มิได้ดํารงตําแหน่ง ดังนี้
ประธานองคมนตรี นายกรั ฐ มนตรี ประธานรั ฐ สภา ประธานวุ ฒิ ส ภา ประธานสภา
ผู้แทนราษฎร ประธานศาลฎีกา และรัฐบุรุษ ให้ใช้คําลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ”
15. ตอบ ข้อ 3. การวิจารณ์ คือ การพูดแสดงความคิดเห็นของตนต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น งานวรรณกรรม งาน
ศิลปะ เป็นต้น โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและหลักการ นําเสนอทั้งด้านที่โดดเด่นและ
บกพร่อง เพื่อให้เกิดการแก้ไข สร้างสรรค์ เป็นลักษณะของการติเพื่อ ก่อ ซึ่งการวิจารณ์ที่
สมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ ผู้พูดหรือผู้วิจารณ์จะต้องใคร่ครวญ วิเคราะห์ แยกแยะส่วนประกอบ
ของงานว่ามีลักษณะอย่างไร สัมพันธ์กันอย่างไร แล้วจึงแสดงความคิดเห็นออกไป ไม่ควร
วิจารณ์ไปตามความคิด ความรู้สึกของตนโดยไม่มีข้อมูล หลักวิชารองรับ หรือวิจารณ์ไปตาม
เสียงส่วนใหญ่
16. ตอบ ข้อ 1. การสื่อสารไม่ว่ารูปแบบใด จําเป็นที่ผู้เขียนจะต้องแสดงมารยาทต่อผู้รับสาร จากตัวเลือกที่
กําหนด การเขียนที่ผู้เขียนจะต้องคํานึงถึงมารยาทและการใช้ภาษามากกว่าการเขียนรูปแบบ
อื่นๆ คือ “การเขียนแสดงความคิดเห็น” กล่าวคือ ต้องไม่ใช้ภาษาที่จะก่อให้เกิดการตีความ
ได้หลากหลาย หรือนําไปสู่การแบ่งฝ่าย การโต้แย้ง
17. ตอบ ข้อ 4. การเลือกเรื่องเป็นสิ่งสําคัญที่ส่งผลต่อความสําเร็จของการพูด ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเพื่อเลือก
เรื่อง ได้แก่ เวลา กลุ่มผู้ฟัง โอกาส กาลเทศะ แต่จากตัวเลือกที่กําหนด ควรเลือกเรื่องที่ตนเอง
มีค วามสนใจ เพราะการเลือกพู ดในสิ่งที่ตนเองสนใจ ย่ อมเกิ ดความกระตือรือร้น มีแรง
บันดาลใจที่จะค้นหาข้อมูล
18. ตอบ ข้อ 1. การวิเคราะห์ คือ การใช้สติปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ เพื่อแยกแยะองค์ประกอบส่วนต่างๆ
ของสิ่งนั้นๆ เพื่อหาคําตอบว่ามีลักษณะอย่างไร ทําหน้าที่อะไร และสัมพันธ์กันอย่างไร
19. ตอบ ข้อ 4. การวิเคราะห์ วิจารณ์ คือ การพูดแสดงความคิดเห็นรูปแบบหนึ่ง โดยจําเป็นต้องมีหลักวิชา
รองรับ การวิจารณ์ไปตามความรู้สึก หรือให้เหตุที่ไม่เพียงพอ ย่อมเป็นการวิเคราะห์ วิจารณ์
ที่ไม่น่าเชื่อถือ เมื่อพิจารณาคําพูดของผู้วิจารณ์แต่ละคนพบว่า “พร” ไม่ให้เหตุผลประกอบคํา
วิจารณ์ของตน “แพร” เหตุผลการวิจารณ์มีน้ําหนักไม่เพียงพอ มีความรู้สึกส่วนตัวร่วมด้วย
“พลอย” เหตุผลการวิจารณ์มีน้ําหนักไม่เพียงพอ ดังนั้น บุคคลที่พูดวิเคราะห์ วิจารณ์ได้อย่าง
มีเหตุผล คือ พิมพ์ เพราะแสดงสิ่งที่ตนได้รับจากการอ่าน
20. ตอบ ข้อ 3. คําพูดที่จะทําให้ผู้ฟังเชื่อถือหรือยอมรับได้มากที่สุด คือ การแสดงข้อเท็จจริงให้เป็นที่
ประจักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้
21. ตอบ ข้ อ 1. การเรี ย บเรี ย งบทพู ด รายงาน ต้ อ งเรี ย บเรี ย งจากความรู้ ความเข้ า ใจของผู้ พู ด โดยใช้
ภาษาระดับทางการที่กระชับ ชัดเจน แนวทางการพูดรายงานให้ประสบผลสําเร็จ ผู้พูดจึงควร
พูดโดยอาศัยต้นร่างที่เรียบเรียงจากความเข้าใจ เพราะการพูดจากต้นร่างจะช่วยให้พูดได้อย่าง
เป็ น ธรรมชาติ ไม่ ใ ช่ พู ด จากการอ่ า นซึ่ ง จะทํ า ให้ ผู้ ฟั ง เสี ย อรรถรสขณะฟั ง และไม่ ใ ช่

~ 47 ~
การท่องจํา ที่อาจทําให้ผู้พูดลืมเนื้อหาสาระได้ เมื่อตกอยู่ในอาการประหม่า การพูดโดยอาศัย
ต้นร่าง คือ การจําเฉพาะประเด็นหลัก เพื่อให้ตนเองสื่อสารได้ครบถ้วน
22. ตอบ ข้อ 3. คําพูดปลอบประโลมที่สะท้อนให้เห็นว่าผู้พูดมีมารยาทในการสื่อสาร คือ “ไม่มีใครที่เกิด
มาแล้วไม่ตาย เธอจงคิดเสียว่า สิ่งนี้คือธรรมดาของมนุษย์ ” เพราะในข้ออื่นๆ ถ้อยคําที่ใช้มี
ลักษณะเสียดสี ประชดประชัน และสร้างความเศร้าหมองให้แก่ผู้ฟังยิ่งขึ้น
23. ตอบ ข้อ 4. คําสมาส มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า การวางอยู่รวมกัน คําสมาสในภาษาไทยแบ่งได้ 3
ประเภท ได้แก่ คําสมาสยืม คําสมาสสร้าง และคําสมาสซ้อน โดยคําที่นํามาวางรวมกันนั้น
อาจเป็นได้ทั้ง คําบาลีกับบาลี สันสกฤตกับสันสกฤต หรือบาลีกับสันสกฤต จากตัวเลือก
คําที่มีลักษณะเป็นคําสมาส คือ “ขัตติยกุมาร” และ “ฌาปนสถาน” เพราะเกิดจากการนําคํา
ขัตติย (บ.) + กุมาร (บ., ส.) และฌาปน (บ.) + สถาน (ส.) มาวางรวมกัน ส่วนคําในข้ออื่นๆ
ได้แก่ กังขา มิจฉา ปฏิบัติ ปฏิภาณ บรรยาย พรรณนา ไม่มีลักษณะการสร้างคําด้วยวิธีการ
ข้างต้น
24. ตอบ ข้อ 1. คําเงื่อนไขที่กําหนด “ไตรลักษณ์” เป็นคําสมาสสร้าง หรือคําสมาสที่ไทยสร้างขึ้นเลียนแบบ
คําสมาสของภาษาบาลี สันสกฤต โดยนําคําที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤตมารวมกัน คือ
ไตร (ส.)+ลักษณ์ (ส.) เมื่อพิจารณาคําในตัวเลือกพบว่า
คา ที่มาของคา
อุตสาหกรรม อุตสาห (ส.)+กรรม (ส.)

บรรณารักษ์ บรรณ (ส.)+อารักษ์ (ส.)

ถาวรวัตถุ ถาวร (บ.)+วัตถุ (บ.)

ฌาปนสถาน ฌาปน (บ.)+สถาน (ส.)

สรรพาวุธ สรรพ (ส.)+อาวุธ (บ.)


ดังนั้น คําที่มีลักษณะสอดคล้องกับคําเงื่อนไข โดยเป็นคําสมาสสร้าง ที่เกิดจากการนําคํายืม
ในภาษาสันสกฤตทั้งสองคํามารวมกัน คือ อุตสาหกรรม บรรณารักษ์
25. ตอบ ข้อ 1. ประโยคเงื่อนไขที่กําหนดให้เป็นประโยคที่เกิดจากการรวมกันของประโยคย่อย 2 ประโยค
โดยประโยคย่อยนั้นๆ อาจเป็นประโยคสามัญหรือประโยคซ้อน แต่ต้องมีคําเชื่อม ดังนี้ และ
และก็ แต่ ทว่า แต่ทว่า โดยประโยค “พ่อจะไปเชียงใหม่แต่แม่จะอยู่กรุงเทพ” เกิดจากการ
รวมกั นของประโยคสามั ญ “พ่ อจะไปเชีย งใหม่ ” “แม่จะอยู่ ก รุงเทพ” มีคําเชื่อม แต่ เมื่อ
วิเคราะห์ประโยคในแต่ละข้อ พบว่า

~ 48 ~
ประโยค ประเภทของประโยคย่อย

วีรนุชออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าเอง ประโยคสามัญ+ประโยคสามัญ

หมอจะไปหาคนไข้หรือจะให้คนไข้มาหาหมอ ประโยคสามัญ+ประโยคซ้อน

หลังคาที่รั่วนั่น ซ่อมแล้วแต่น้ําฝนยังไหลซึมลงมา ประโยคซ้อน+ประโยคสามัญ


เกษตรกรแถบนี้นิยมทํานาและเลี้ยงปลาที่ตลาด ประโยคสามัญ+ประโยคซ้อน
ต้องการ
ดังนั้น ประโยค “วีรนุชออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าเอง” จึงมีลักษณะสอดคล้องกับประโยค
เงื่อนไข
26. ตอบ ข้อ 3. ประโยคย่อยซึ่งทําหน้าที่ขยายคํานามที่นํามาข้างหน้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คุณานุประโยค”
เมื่อวิเคราะห์ประโยคในแต่ละข้อ พบว่า

ประโยค หน้าที่ของประโยคย่อย

เขาได้ยินมาว่าปีนี้น้ําจะมาก ปีนี้น้าจะมาก เป็นนามานุประโยคทําหน้าที่เป็นหน่วย


เสริมความของกริยา “ได้ยิน”
เขาทํางานหามรุ่งหามค่ําซึ่งไม่ดีต่อ ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ เป็นประโยคย่อยทําหน้าที่ขยาย
สุขภาพ กริยาวลี “ทํางานหามรุ่งหามค่ํา”
นนท์ ซึ่ ง เป็ น หลานชายของคุ ณ พ่ อ ซึ่งเป็นหลานชายของคุณพ่ อ เป็นคุณานุป ระโยคทํ า
ได้รับทุนไปเรียนต่างประเทศ หน้าที่ขยายคํานาม “นนท์”
ดินอ่อนๆ เชิงเขาถล่มลงมาเพราะฝน เพราะฝนตกหนักติดต่อกันมาหลายวัน เป็นวิเศษณานุ
ตกหนักติดต่อกันมาหลายวัน ประโยคทําหน้าทีข่ ยายกริยาวลี “ถล่มลงมา”

27. ตอบ ข้อ 3. ลักษณะทางวรรณศิ ลป์ของบทร้อยกรองที่กําหนดให้อ่าน แม้จะปรากฏเสียงสัมผัสของ


พยัญชนะและสระ แต่ไม่โดดเด่นเท่ากับการใช้คําคู่ตรงข้าม ได้แก่ “วุ่น-ว่าง” “มืด-สว่าง”
“ร้อน-เย็น” และ “ไม่ร-ู้ รู้”
28. ตอบ ข้อ 4. การประกอบคํ าราชาศัพท์ ที่ใ ช้แก่พระมหากษัตริย์ กําหนดไว้ว่า “พระบรม” ใช้นําหน้า
คํานามซึ่งเป็นสิ่งสําคัญอันควรยกย่อง ส่วนคํานามที่เป็นสิ่งสําคัญรองลงมาให้ใช้คําว่า “พระ
ราช” ประกอบข้างหน้า

~ 49 ~
29. ตอบ ข้อ 3. คําเงื่อนไขที่กําหนดให้ คือ สัญญาณ เป็นคําที่ยืมมาจากภาษาบาลี มีหลักการสังเกต คือ
ตัวสะกดตัวตาม โดยใช้พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด และแถวที่ 5 ตาม เมื่อพิจารณาคําในแต่ละ
ข้อ พบว่า ขันติ พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด แถวที่ 1 ตาม ทัพพี พยัญชนะแถวที่ 3 สะกด แถวที่
3 ตาม เมตตา พยัญชนะแถวที่ 1 สะกด แถวที่ 1 ตาม วิสัญญี พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด แถวที่
5 ตาม กัญญา พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด แถวที่ 5 ตาม ดั งนั้น คําที่มีลักษณะสอดคล้องกับคํา
เงื่อนไข คือ วิสัญญี กัญญา
30. ตอบ ข้อ 1. คําเงื่อนไขที่กําหนดให้เป็นคําที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต มีหลักการสังเกต คือ การใช้ รร
(ร หัน ) เมื่ อวิ เ คราะห์คํ า ที่ กํ า หนด หรรษา ภรรยา และบรรพต เป็ นคํ า ที่ ยื ม มาจากภาษา
สันสกฤต ส่วน บรรทัด และกรรแสง เป็นคําที่ยืมมาจากภาษาเขมร
31. ตอบ ข้อ 3. ทรงขั บช้ า งของพระองค์ออกรับช้างข้าศึก จากเรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ภาพ
พระสุ ริ โ ยทั ย ขาดคอช้ า ง กล่ า วถึ ง สมเด็ จ พระมหาจั ก รพรรดิ ท รงกระทํ า ยุ ท ธหั ต ถี กั บ
พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่า สมเด็จพระสุริโยทัยพระอัครมเหสีจึงทรงเครื่องเป็นชายตาม
เสด็จไปรบ เมื่อพระมหาจักรพรรดิเสียที พระเจ้าแปรไสช้างไล่ตามมา สมเด็จพระสุริโยทัย
จึงขับช้างออกรับข้าศึกไว้จนถูกพระแสงของ้าวฟันสิ้นพระชนม์บนคอช้างทันที
32. ตอบ ข้อ 1. พระสุริโยทัย จากบทร้อยกรอง สมเด็จพระสุริโยทัยเกรงว่าพระสวามีจะได้รับอันตราย จึงได้
ขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร และต่อสู้กับพระเจ้าแปรแทนพระสวามีจนถูกพระแสงของ้าว
ฟันสิ้นพระชนม์ซบอยู่กับคอช้าง
33. ตอบ ข้อ 4. มีความรับผิดชอบ กล่าวคือ ขณะที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) เสด็จไป
ประพาสทรงเบ็ดที่ปากน้ํา เมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตําบลโคกขามซึ่งเป็นทางคด
เคี้ยว ได้มีกิ่งไม้ใหญ่หักลง พันท้ายนรสิงห์ตกใจมากจึงกระโดดลงน้ําขึ้นฝั่งแล้วกราบบังคม
ทูลให้ทรงลงพระอาญา แต่สมเด็จพระสรรเพชญ์พระราชทานอภัยโทษเพราะความไม่ได้
เจตนาของพันท้ายนรสิงห์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดศีรษะหุ่นเหมือนแทน แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่
เห็นด้วย สมเด็จพระสรรเพชญ์จึงรับสั่งประหารชีวิต แล้วให้ตั้งศาลเพียงตาเพื่อสืบเกียรติคุณ
34. ตอบ ข้อ 2. ขาดแล่งตราบอุระ หรุบ ดิ้น บทร้อยกรองวรรคนี้ ให้ จินตภาพชัดเจน กล่าวคือ ให้ภาพที่
พระเจ้าแปรใช้พระแสงของ้าวฟันพระอุระของพระสุริโยทัยจนขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์
จึงเป็นวรรคที่ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่านมากที่สุด
35. ตอบ ข้อ 3. ความกตัญํูกตเวที จากบทร้อยกรอง หมายถึง เหล่าข้าราชการในราชสํานักก็เหมือนเป็น
กะลาสีควรให้ความสําคัญกับหน้าที่ที่ต้องทํา เป็นหลัก ปฏิบัติตนตามกฎตามระเบียบวินัย
อย่างเคร่งครัด และต้องมีความสามัคคีจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน
36. ตอบ ข้อ 3. เรือใหญ่ที่แล่นอยู่ในทะเล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปรียบประเทศชาติ
กับเรือลําใหญ่ที่กําลังแล่นอยู่ในทะเล โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นําประเทศเปรียบได้
กับกัปตันหรือนายเรือ

~ 50 ~
37. ตอบ ข้ อ 4. พระมหากษั ต ริ ย์ จากเนื้ อ หา พระทรงศรี มี ค วามหมายว่ า พระมหากษั ต ริ ย์ คํ า ว่ า
พระมหากษัตริย์ มีคําไวพจน์อีกหลายคํา เช่น ทรงธรรม์ พระภูธร พระจักรี เป็นต้น
38. ตอบ ข้อ 3. ชาวต่า งชาติ คํ า ว่า ชาติไ พรัช มีความหมายว่า ต่างชาติ ต่างประเทศ ถอดความจากบท
ร้อยกรองหมายความว่า มีชาวต่างชาติหลายประเทศเข้ามาทําการค้าที่ประเทศไทยและมี
สินค้าให้เลือกสรรกันอย่างมากมาย
39. ตอบ ข้อ 1. ให้มีความกตัญํูต่อบิดามารดา และญาติพี่น้อง ดังคําจารึกของพ่อขุนรามคําแหงที่กล่าวไว้
ว่า “...เมื่อชั่วพ่อกู กูบําเรอแก่พ่อกู กูบําเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้
หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยดี กูเอามาแก่พ่อกู...” แสดงถึง การรู้จักดูแลเอาใจใส่
พระราชบิดาและพระราชมารดาเป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่าทรงมีความกตัญํูต่อผู้มีพระคุณ ซึ่ง
เป็นคุณสมบัติที่ดีควรนํามาเป็นแบบอย่าง
40. ตอบ ข้อ 2. เป็ นธรรมาสน์สํา หรับ ใช้แสดงธรรม พระแท่นมนังคศิลาบาตรนั้นในศิลาจารึกกล่าวว่า
พ่อขุนรามคําแหงทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.1835 เพื่อใช้เป็นแท่นอาสนะให้พระสงฆ์นั่งแสดง
ธรรมแก่ราษฎรในวันธรรมสวนะ
41. ตอบ ข้อ 3. ให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และอักษรศาสตร์ ศิลาจารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามคําแหงทรงสร้าง
ขึ้นเมื่อ พ.ศ.1826 เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
ไทยเป็นอย่างมาก เช่น ประวัติส่วนพระองค์ การทําศึกสงคราม ระบบเศรษฐกิจของบ้านเมือง
ระบบกฎหมาย ประเพณี ศาสนา ทั้งนี้ยังทําให้ได้ทราบถึงต้นกําเนิดของอักษรไทยที่พระองค์
ทรงประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติ ดั งนั้น ศิลาจารึกหลักที่ 1 จึงนับเป็น
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และอักษรศาสตร์สมัยสุโขทัยที่ควรค่าแก่การรักษาไว้
42. ตอบ ข้อ 1. ความยุติธรรม จากข้อความในศิลาจารึก จะเห็นว่าประชาชนชาวสุโขทัยมีสิทธิที่จะเรียกร้อง
ความยุติธรรมโดยการสั่นกระดิ่งประตูเมืองเมื่อมีเรื่องที่ต้องการร้องเรียน เป็นกระบวนการ
ยุติธรรมที่ทุกคนต่างยอมรับและพ่อขุนรามคําแหงจะทรงไต่สวนด้วยพระองค์เอง
43. ตอบ ข้อ 4. ทศกัณฐ์ รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก กล่าวถึง มูลเหตุที่นนทกอุบัติเป็นทศกัณ ฐ์
เพราะก่อกรรมมากมายทําให้เทวดาบาดเจ็บล้มตายเป็นจํานวนมากจนสุ ดท้ายก็ต้องตายด้วย
ศรของพระราม นนทกเป็นยักษ์รับใช้ของพระอิศวร มีหน้าที่คอยล้างเท้าให้บรรดาทวยเทพ
อยู่ที่เชิงเขาไกรลาส เวลาเทวดาจะมาเข้าเฝ้าพระอิศวรก็จะมาให้นนทกล้างเท้าให้ เทวดาพวก
นี้ เห็นนนทกก้มหน้าล้างเท้าให้ก็เกิดสนุก ตบหัวบ้าง ถอนผมเล่นบ้าง จนศีรษะของนนทก
โล้นโกร๋น เทวดาเห็นก็ยิ่งกลั่นแกล้งมากขึ้น ทําให้นนทกโกรธมากจึงทูลขอพรวิเศษกับพระ
อิศวร พระอิศวรเห็นในความตั้งใจทํางานของนนทกจึงประทานพรให้มีนิ้วเพชรซึ่งมีฤทธิ์
ชี้ไปที่ใครคนนั้นก็จะต้องตาย

~ 51 ~
44. ตอบ ข้อ 1. เสาวรจนี หรือ บทชมโฉม หมายถึง การกล่าวชมความงามของตัวละครในเรื่อง ข้อ 2.
พิโรธวาทั ง หรือ บทตัดพ้อ คือ การกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไ ม่พอใจ โกรธ ประชด
ประชัน ข้อ 3. นารีปราโมทย์ คือ การกล่าวข้อความแสดงความรัก ทั้งที่เป็นการพบกันใน
ระยะแรกๆ ก่อนจะถึงบทสังวาส ข้อ 4. สัลลาปังคพิไสย หรือบทโศก คือ การแสดงอารมณ์
โศกเศร้า อาลัยรัก แสดงความเสียใจ เป็นต้น
45. ตอบ ข้อ 1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์
ปราบนนทก เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อของคนไทย ได้รับเค้าเรื่องจากมหากาพย์
รามายณะของอิ น เดี ย พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราชโปรดเกล้ า ฯ
ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งสงฆ์และฆราวาสช่วยกันรวบรวมฟื้นฟูใหม่ให้สมบูรณ์
ยิ่งขึ้น หลังจากที่บ้านเมืองเกิดศึกสงครามสมัยกรุงศรีอยุธยา
46. ตอบ ข้อ 2. กงเกวียนกําเกวียน หมายความว่า ทําอย่างไรย่อมได้รับผลกรรมอย่างนั้น เหมือนดั่งที่ นนทก
โดนพระนารายณ์ฆ่าเพราะตนไปฆ่าเทวดาเช่นกัน ข้อ 1. เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ หมายความว่า
ทําอะไรไม่จริงจัง ไม่เอาการเอางาน ประสบความสําเร็จได้ยาก ข้อ 3. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
หมายความว่า การทํางานที่มีความลังเล ทําให้แก้ปัญหาได้ไม่ทันท่วงที เมื่อได้อย่างหนึ่ง
แต่ต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป ข้อ 4. สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ หมายความว่า ความสุขที่เกิด
จากการทําความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทําความชั่วย่อมอยู่ในใจของผู้กระทํา
47. ตอบ ข้อ 3. ยูงทองย่องเยื้องย่าง รํารางชางช่างฟ่ายหาง จากบทร้อยกรอง จะเห็นว่ากวีเลือกใช้ถ้อยคํา
เพื่อให้เกิดสัมผัสพยัญชนะ จึงทําให้เกิดความไพเราะของถ้อยคําและจินตภาพที่ชัดเจนทําให้
ผู้อ่า นมองเห็นภาพของนกยู งที่กํ า ลังเคลื่อนไหวอย่ างช้ าๆ ตามธรรมชาติซึ่ง กํ าลัง แสดง
อากัปกิริยารําแพนหางอย่างสวยงาม
48. ตอบ ข้อ 4. ธรรมชาติศึกษา กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง มีเนื้อเรื่อง พรรณนาถึงการเดินทางโดย
เสด็จทางชลมารคออกจากอยุ ธยาไปตามแม่น้ําลพบุรี ตั้งแต่กล่าวชมขบวนเสด็จ ชมสัตว์
นานาชนิด ทั้ง สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม สัตว์ปีก สัตว์น้ํา และพรรณไม้สกุ ลต่างๆ ในลักษณะ
ธรรมชาติศึกษา ซึ่งสะท้อนภาพความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้อย่างชัดเจน
49. ตอบ ข้อ 2. ปลาสวาย จากบทร้อยกรอง แสดงให้เห็นความสามารถของกวีที่สามารถบรรจุชื่อปลา
ลงในบทร้อยกรอง บทนี้ได้มากถึง 9 ชนิด ได้แก่ ปลาเทโพ ปลาเทพา ปลาตะเพียน ปลากา
ปลาไอ้บ้า ปลาสลุมพอน ปลาผักพร้า ปลาเพรี้ย และปลาหนวดพราม
50. ตอบ ข้อ 2. ต้นมะม่วง พวา หรือ พะวา คือ ชื่อของต้นมะม่วง หรือต้นไม้ที่มีขนาดกลาง
51. ตอบ ข้อ 4. ให้รู้จักการมีจิตใจโอบอ้อมอารี จากโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ สามสิ่งที่ควรชอบ ได้แก่
ความมีอารีด้วยจิตใจที่สุจริต ใจดี และความสนุกสนานเบิกบาน เป็นข้อที่ควรกระทําอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะกับบุคคลใกล้ชิด

~ 52 ~
52. ตอบ ข้อ 2. พูดเพ้อเจ้อ จากบทร้อยกรอง หมายถึง การรู้จักเลือกฟังสิ่งที่มีสารประโยชน์ ไม่ฟังคนที่ชอบ
พูดเพ้อเจ้อ จริงบ้างเท็จบ้าง เพราะเปรียบเหมือนมีดที่กรีดหรือระรานคนทั่วไป ฟังแล้วจะพา
เราเข้าไปอยู่ในพวกพูดจาเหลวไหล
53. ตอบ ข้อ 4. ไม่ควรพูดในเวลาโกรธ จากบทร้อยกรอง กล่าวถึง ควรงดพูดในเวลาโกรธ เพราะจะทําให้
ขาดสติหรือขาดการยับยั้งชั่งใจ
54. ตอบ ข้อ 3. การช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากเป็นเรื่องน่ายินดี จากบทร้ อยกรองสะท้อนให้เห็นความ
เชื่อทางศาสนาว่า การช่ วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ย ากนั้นเป็นการทําความดีและเป็นสิ่งที่
น่ายินดีก่อให้เกิดความสุขแก่ตนเอง ทําให้ผู้คนระลึกถึงและยังเป็นการสะสมผลบุญไว้ใช้ใน
ภายภาคหน้าด้วย
55. ตอบ ข้อ 1. อุปมา จากบทร้อยกรอง กวีได้เปรียบผู้ทําความดีเหมือนดวงมณีอันมีค่า ที่จะซ่อนอยู่ในที่
ลึ ก ลั บ เช่ น ในภู เ ขาหรื อ อยู่ ใ ต้ ท้ อ งทะเล ทํ า ให้ ก ลายเป็ น สิ่ ง ไร้ ค่ า ไม่ มี ผู้ ใ ดได้ ชื่ น ชม
เปรียบเสมือนดอกไม้ที่สีสวยและกลิ่นหอมที่อยู่ห่างไกลก็ไม่มีใครได้เชยชมย่อมบานหล่น
ไปเปล่าๆ อย่างน่าเสียดาย
56. ตอบ ข้อ 1. วิถีชีวิตของชาวนา บทร้อยกรอง กล่าวถึง วิถีชีวิตของชาวนาที่มีอาชีพทํานา โดยบรรยาย
ตั้ ง แต่ ขั้ น ตอนการไถนาโดยใช้ โ คกระบื อ และเมื่ อ ถึ ง ฤดู เ ก็ บ เกี่ ย วก็ ใ ช้ เ คี ย วเกี่ ย วข้ า ว
ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสําคัญของอาชีพทํานา ที่ปลูกข้าวให้เราได้บริโภค
57. ตอบ ข้อ 4. ความพอเพียงในการดําเนินชีวิต บทร้อยกรองนี้ ให้แนวคิดเรื่องการรู้จักความพอเพียงในชีวิต
โดยแนะให้ห่างไกลจากพวกมักใหญ่ใฝ่สูงและดําเนินชีวิตตามแบบอย่างของชาวนา
58. ตอบ ข้อ 4. จะกลืนข้าวคราวโศกในทรวงเสียว เหมือนขืนเคี้ยวกรวดแกลบให้แสบคอ บทร้อยกรองนี้มี
เนื้อหา กล่าวถึง อารมณ์ความโศกเศร้าในขณะกลืนข้าวหรืออาหารแต่ละครั้งช่างยากลําบาก
เหมือนกลืนกรวดหรือแกลบที่จะสร้างความเจ็บปวด
59. ตอบ ข้อ 1. เสีย งผัวผัวตัวเมี ยเที่ย วโยนกาย เห็นคนอายแอบอิงกับกิ่งยาง จากบทร้อยกรองมีการใช้
ภาพพจน์เลีย นเสียงธรรมชาติหรือสัทพจน์ใ นคําว่า “ผัวผัว ” ซึ่งเป็นการเลีย นเสียงร้อง
ของชะนี
60. ตอบ ข้อ 4. จีน จากบทร้อยกรองนี้ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวจีนซึ่งอพยพเข้ามาในประเทศไทย
โดยประกอบอาชีพประมง บทร้อยกรองสะท้อนอิทธิพลของคํายืมภาษาจีนในภาษาไทย เช่น
คําว่า กินโต๊ะ เป็นสํานวนที่ใช้พูดกันมาแต่โบราณ คือ ชาวจีนจะกินอาหารรวมกันบนโต๊ะ
จึงเกิดสํานวนคําว่า กินโต๊ะ ขึ้น



~ 53 ~

You might also like