สรุป Presentation 6210900895

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 4

รสิตา จันทร์สนธิ 6210900895

สรุปเนื้อหา presentation
1. Fish farming industry in Thailand
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความต้องการบริโภคที่มากขึน้ และทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อ
สุขภาพปลาที่เลี้ยง การเลี้ยงปลาเป็น 1 ในรายได้สำคัญของประเทศไทย เนื้อปลาเป็นแหล่งโปรตีนหลักของไทยโดยเฉพาะจังหวัดที่
อยู่ติดชายฝั่งทะเล อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงปลาแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมปลาน้ำจืดและอุตสาหกรรมปลาน้ำเค็ม โดย
พบว่าปัจจัยจำกัดการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกิดจากการขาดทุนจากการผลิตเนื่องจากไม่ได้รับ การส่งเสริมจากภาครัฐ
โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเลี้ยงน้ำจืด เนื่องด้วยอัตราการเติบโตด้านกำไรน้อยและไม่น่าดึงดูดในการลงทุน จึงควรมุ่งเน้นไปที่
การทำประมงแบบยั่งยืนแทน ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดกฎระเบียบและกฎหมายเพื่อควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ของสิ่งมีชีวิตตามมา
2. กฎหมายที่เกีย่ วข้องกับการเลี้ยงกุ้งทะเล
การเลี้ยงกุ้งในประเทศไทยมีรูปแบบเป็นระบบเลี้ยงกุ้งเป็นส่วนใหญ่ (90%) และในระบบมีลักษณะ Intensive culture
ถึง 80% คือลักษณะการรับตัวอ่อนกุ้งจากโรงฟัก ซึ่งรูปแบบการเลี้ยงลักษณะนี้เป็นที่นิยมเนือ่ งจากได้กำไรสูง ใช้พื้นที่น้อย แต่ส่งผล
กระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากเช่นกัน จึงควรมีมาตรฐานและกฎหมายต่างๆมาควบคุมการเลี้ยง ได้แก่ มาตรฐานการเก็บรักษาน้ำ มีค่า
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งในฟาร์มกุ้ง การกำหนดยาและสารเคมีห้ามใช้ในการเพาะเลี้ยงกุ้ง ในด้านกฎหมายจะแตกต่างกัน
ในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมี U.S. law กำหนดการนำเข้ากุ้ง ประเทศจีน พบปัญหาเจอเชื้อ IHHNV จากกุ้ง
กุลาดำไทยบ่อยจึงออกข้อกำหนดนำเข้ากุ้งจากไทยว่าจะต้องรับรองผลการตรวจเชื้อดังกล่าว โดยรวมสรุปได้ว่าแต่ละประเทศมีข้อ
กำหนดการส่งออกและนำเข้าแตกต่างกันตามปัญหาที่พบ แต่โดยรวมจะต้องมีการตรวจคัดกรองและรับรองโรคต่างๆที่แต่ละ
ประเทศกำหนดในข้อบังคับกฎหมาย
3. Challenge in aquaculture (Environmental impact)

ปัจจุบันพบว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการประมง โดยเฉพาะภาวะโลกร้อนที่ส่งผลเป็นวง
กว้างอย่างมาก ได้แก่ ปริมาตรน้ำลดลงส่งผลต่อความเข้มข้นแอมโมเนีย Nitrite CO2 มีความเข้มข้นของเสียเพิ่มขึ้นเป็นพิษต่อ
ร่างกาย หรือการที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ลดความเค็มของน้ำส่งผลต่อ osmoregulation ของสัตว์น้ำ ส่งผลให้เกิด Stress
ตามมา หรือจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่ออุณหภูมิและความขุ่นของน้ำที่เปลี่ยนไป เกิดการเผาผลาญ
พลังงานสูงขึ้น ส่งผลให้สัตว์เกิด Stress ตามมาเช่นกัน ทำให้ระบบภูมิคมุ้ กันต่ำลง ผลผลิตลดลงตามมา ฟาร์มจึงต้องมีการรับมือต่อ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น การวางระบบ biosecurity ที่ดี จัดการสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะคุณภาพน้ำให้เหมาะสม เพาะเลี้ยงใน
ระบบปิด และคัดเลือกพันธุ์ที่มีความทนทาน
5. Breeding technology
ปัจจุบันอุตสาหกรรมสัตว์นำ้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการบริโภคของมนุษย์ จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีช่วยเพิ่ม
ผลผลิตด้านการสืบพันธุ์ โดยกล่าวถึง 3 รูปแบบ ได้แก่
1.) การใช้ฮอรโมน
จะใช้เพื่อผสมเทียมและเปลี่ยนเพศปลา โดยสามารถฉีดฮอร์โมนเข้าทาง intraperitoneal, intramuscular injection
และ dorsal sinus โดยฮอร์โมนจะส่งผลกระตุ้นให้เกิดการ maturation, ovulation จากนั้นจึงนำผลผลิตที่ได้ไปทำ artificial
reproduction ต่อไป โดยฮอร์โมนที่ใช้นิยมใช้ LHRHa, GNRHa, Ovaprim, HcG และ pituitary extract โดยจะส่งผลใน
Hypothalamic-pituitary-gonadal axis ในส่วนต่างๆแตกต่างกันตามฮอร์โมนที่เลือกใช้
2.) Artificial insemination
ใช้เพื่อควบคุมการผสมพันธุ์ในสภาพแวดล้อมที่จัดเตรียมไว้ (Ex-situ) โดยสามารถใช้น้ำเชื้อสด น้ำเชื้อผสม extender
หรือน้ำเชือ้ แช่แข็งก็ได้
3.) Germ cell transplantation (GCT)
เพื่อคัดเลือกและเพิ่มจำนวนพันธุ์ที่ตอ้ งการได้มากขึ้น
โดยรวมเทคโนโลยีช่วยในการสืบพันธุ์ทำให้สามารถเก็บรักษาและคัดเลือกพันธุ์ที่มีความทนทาน ได้ความสวยงาม ได้ความ
หลากหลายทางพันธุกรรมป้องกันปัญหาที่เกิดจากการผสมเลือดชิด ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้ตามความต้องการ ไม่มีข้อจำกัด
ด้านฤดูผสม สภาพแวดล้อม และยังสามารถใช้ในการอนุรักษ์สัตว์ที่เสี่ยงสูญพันธุ์ได้อีกด้วย
6. Recirculating aquaculture system (RAS)
การทำประมง โดยเฉพาะการเลี้ยงระบบปิด (Closed system) ก่อให้เกิดการผลิตของเสียออกมาปริมาณมาก และเนื่อง
ด้วยอุตสาหกรรมการประมงมีแนวโน้มจะขยายตัวมากขึ้น จึงมีระบบการเลี้ยง RAS เพื่อลดของเสียที่สะสมในน้ำ ลดการเติมน้ำหรือ
เปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อ ปลอดภัยจากโรคที่มากับน้ำมากกว่าการเลี้ยงแบบระบบปิด โดยหลักการของ RAS มีทั้งหมด 7 ส่วน ได้แก่
1.) Production: จัดสถานที่เพาะเลี้ยงอย่างเหมาะสมตามสายพันธุ์
2.) Solid removal: กรองน้ำด้วยการกรองทางกายภาพ
3.) Pumping/pump sump: บ่อปั๊มน้ำเพื่อหมุนเวียนน้ำในระบบ
4.) Nitrogen removal: น้ำถูกกรองของเสียออกด้วยวิธีทางชีวภาพ
5.) Temperature: มีการควบคุมอุณหภูมิน้ำอย่างเหมาะสม
6.) Degassing & Oxygen: มีเครื่องไล่แก๊ส CO2 และกระจาย O2
7.) Disinfection: มีระบบการฆ่าเชื่อ มักเป็นการใช้รังสี UV หรือการใช้ Ozone
ถึงแม้ว่า RAS จะมีข้อดีต่างๆที่กล่าวมา เช่น มีการควบคุมปัจจัยต่างๆที่สำคัญต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำได้ดี เลี้ยงหนาแน่นได้
ปลอดภัยต่อสัตว์และมนุษย์ มีความยั่งยืนทางธรรมชาติ แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน นั่นคือมีต้นทุนที่สูง ระบบมีความซับซ้อน ใช้ไฟฟ้า
ตลอดเวลา เป็นต้น แต่มีการปรับระบบ RAS เพื่อลดข้อเสียของระบบ เช่น การสร้างบึงประดิษฐ์, Bio-RAS, Aquaponic RAS,
Microalgae assisted aquaculture
วันที่ 06/10/2566
1. Fish nutrition
ผิวปลามีองค์ประกอบที่เป็น pigment cell มีเม็ดสีต่างๆ ทั้ง melanin, carotenoids, pteridines, purines โดยการแสดงออก
ของเม็ดสีจะถูกควบคุมด้วยระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาท โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดสีในด้านของตัวปลาได้แก่พันธุกรรม
อายุ และเพศ ในด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่อาหารทีก่ ิน สารเสริมเม็ดสีและ hormone additives โดยกลไกการเกิดมาจาก
1.) สรีรวิทยาระบบประสาทและต่อมไร้ท่อของตัวปลา
เช่น Melanin concentrating hormone (Mch), Melanophore stimulating hormone (Msh)
2.) อาหารและสภาพแวดล้อมในการเพาะเลี้ยงปลา
สีสันตัวปลามาจาก Xanthophores, Erythrophores
3.) ธรรมชาติของตัวปลาและปัจจัยอื่นๆ
2. เทคโนโลยีป้องกันควบคุมโรคเพื่ออุตสาหกรรมสัตว์น้ำไทย
มีความสำคัญเนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมมีการเติบโตมากขึ้นทำให้การจัดการไม่ทั่วถึงหรือมีการเลี้ยงที่หนาแน่นทำให้
มีปัญหาโรคติดเชื้อในฟาร์ม เกิดการสูญเสียถึง 60% จึงมีการคิดค้นเทคโนโลยีที่ปรับปรุงยีนของโฮสต์ โดยกำหนดยีนที่ต้องการ
สังเคราะห์ dsRNA และนำไปใช้ต่อ โดยสามารถฉีดเข้าไปที่ตัวสัตว์ได้โดยตรง ผสมอาหาร หรือใช้อาหารมีชีวิตเป็นตัวพา ปัจจุบันมี
ระบบ Smart aquaculture farm เป็นระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้แรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ลดต้นทุนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีหลักการ 4s คือ Smart data: ใช้เครื่องมือควบคุมและตรวจสอบ
สภาพแวดล้อมภายในฟาร์ม, Smart aquatic animal monitoring: เก็บรวบรวมข้อมูลสัตว์น้ำภายในฟาร์มตั้งแต่รับเข้าจนถึงเก็บ
เกี่ยวผลผลิต, Smart aquaculture machinery and robotic: ใช้ AI ควบคุมระยะการเลี้ยงต่างๆ ประมวลผลและส่งข้อมูลผ่าน
แอพพลิเคชั่น และ Smart building farm management
3. Using antimicrobial agents in aquaculture
ประวัติการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีในไทยเริ่มตั้งแต่ปี 2452 ปัจจุบันมีการจำกัดการใช้มากขึน้ เช่น มาลาไคท์กรีนที่ใช้ใน
ปลาสวยงามเท่านั้น เมื่อมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่แพร่หลายและไม่มีการควบคุมจัดการการใช้ที่ถูกต้องทำให้เกิดเชื้อดื้อยาตามมา
หลักการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์น้ำ จะต้องใช้เมื่อจำเป็นเท่านัน้ ใช้ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ใช้ยาที่มีคุณภาพ
และได้รับการขึ้นทะเบียนอนุญาตให้ใช้ในสัตว์น้ำตามประเภท ระวังการใช้สารเคมีที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในสัตว์น้ำ เช่น
chloramphenicol, Nitrofurans, Malachite green เป็นต้น และปัจจุบันมีการใช้ Probiotics มากขึ้นเนื่องจากมีผลประโยชน์ใน
หลายๆด้าน เช่น ช่วยปรับปรุงุณภาพน้ำ ลดปัญหาการเกิดโรคและช่วยลดการดื้อยาของเชื้อก่อโรคแต่พบว่าในงานวิจัย probiotics
มีเชื้อดื้อยา จึงมีความเป็นไปได้ทเี่ ชื้อใน probiotics สามารถเป็นแหล่งก่อโรคได้

4. Fish welfare
World organisation for animal health (OIE) animal welfare
1.) มีสุขภาพที่ดีปราศจากโรค
2.) ไม่ถูกละเลยหรือทอดทิ้ง
3.) ปราศจากจากความไม่สบายเนื่องจากสภาพแวดล้อม
4.) ปราศจากจากความกลัวและทุกข์ทรมาน
5.) มีพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้สัตว์ได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ
ให้ระลึกเสมอว่าสัตว์ก็มีคสามรู้สึก ความเจ็บปวดและสามารถกลัวได้ โดยต้องมีองค์กรออกข้อกำหนดควบคุมอุตสาหกรรมการ
เลี้ยงสัตว์น้ำให้สอดคล้องตาม welfare
EU: ดูทั้งรูปแบบตั้งแต่การขนส่งปลา ความแออัดในการเลี้ยง ความเครียดของปลา
WOAH: ดูเกี่ยวกับการขนส่งตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ รูปแบบการขนส่ง การฆ่าเชื้อ การบำบัดน้ำ
โดยทั้งสองแตกต่างกันที่ EU ไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนแต่มีการพูดถึงสวัสดิภาพของสัตว์ แต่ WOAH มีข้อกำหนดที่ชัดเจนแต่
ไม่ได้พูดถึงสวัสดิภาพของสัตว์
5. Eco-friendly Aquaculture
อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำเน้นที่ผลผลิตและกำไรเป็นหลักมากกว่าการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มีการใช้
ยาและสารเคมีเกินจำเป็น ให้อาหารปริมาณที่ไม่เหมาะสม ไม่มีระบบการจัดการของเสียที่ดี ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ มีการ
ระบาดของโรค ทำลายที่อยู่อาศัย การเลี้ยงปลาในรูปแบบต่างๆก็เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมต่างกัน เช่นการเลี้ยงปลาในกระชัง
ส่งผลให้ผลาหลุดรอดไปสู่ธรรมชาติและเกิด alien species การเลี้ยงแบบ eco-friendly คือการเลี้ยงให้มีผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ลดการเกิดโรคในฟาร์ม ลดรายจ่ายของเกษตรกร โดยแนวทางการ
ประบปรุงฟาร์ม เช่น นำเทคโนโลยีหมุนเวียนน้ำที่มีประสิทธิภาพ ใช้ eco-diet อาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้จุลินทรีย์
บำบัดน้ำ

You might also like