Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 29

1

แบบรูปรายการ
งานก่อสร้างท่าเทียบเรือ ม.นวมินทร์ เขตดุสิต
1. ความเป็ นมา
กรุงเทพมหานครมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาระบบขนส่ง
สาธารณะทางน้ำ (ระบบรอง) ทั้งในแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองต่าง ๆ
เพื่อเป็ นทางเลือกในการเดินทางของประชาชนและช่วยลดปั ญหาการ
จราจรหนาแน่นบนท้องถนน รวมทั้งการเชื่อมต่อโครงข่ายการเดินทาง
ระบบ ล้อ ราง เรือ แม่น้ำเจ้าพระยาเป็ นเส้นทางสายหลักในการเดินทาง
และขนส่งทางน้ำ ซึ่งสามารถใช้เดินทางระหว่างฝั่ งธนบุรีกับฝั่ งพระนคร
แทนการเดินทางทางถนนที่ติดขัดและหนาแน่น ทำให้ประชาชนไม่ได้รับ
ความสะดวกต้องเสียเวลานานกับการเดินทางไปทำงาน ติดต่อธุระ และ
ท่องเที่ยว ดังนั้น สำนักการจราจรและขนส่งที่มีหน้าที่ในการพัฒนาและ
ส่งเสริมการเดินทางในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทำการสำรวจพื้นที่ชุมชนท่าน้ำ
สามเสน เขตดุสิต พบว่าบริเวณจุดสิ้นสุดถนนสุโขทัยในแม่น้ำเจ้าพระยา
มีความเหมาะสมที่จะก่อสร้างท่าเทียบเรือและคนในชุมชนก็สนับสนุนให้
ก่อสร้างท่าเทียบเรือเนื่องจากปั ญหาการจราจรบนสะพานกรุงธน ถนน
ราชวิถี ถนนขาว ถนนสุโขทัย และถนนสามเสน หากมีท่าเทียบเรือ
บริเวณดังกล่าวก็จะทำให้ประชาชนทั่วไป นักเรียนนักศึกษา และนักท่อง
เที่ยวได้รับความสะดวกในการเดินทางจากฝั่ งธนบุรีข้ามมาฝั่ งพระนคร
รวมทั้งประชาชนที่จะเดินทางมาใช้บริการที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์
กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล และมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ส่ง
ผลให้ช่วยลดปั ญหาการจราจรบนถนนในพื้นที่และประชาชนมีคุณภาพ
ชีวิตที่ดีขึ้นจากการเดินทางตามนโยบายของผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ใน
ด้าน “เดินทางดี”

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
2
2. วัตถุประสงค์
2.1 ส่งเสริมการเดินทางทางน้ำและเป็ นทางเลือกในการเดินทางให้
กับประชาชน
2.2 ประชาชนได้รับความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้ท่า
เทียบเรือสาธารณะในการเดินทาง
2.3 ช่วยลดปั ญหาการจราจรที่หนาแน่นบนถนนระหว่างฝั่ งธนบุรี
และฝั่ งพระนคร
2.4 ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในการเดินทางไปสถานที่ทำงาน
สถานศึกษา และโรงพยาบาล

3. คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ
3.1 มีความสามารถตามกฎหมาย
3.2 ไม่เป็ นบุคคลล้มละลาย
3.3 ไม่อยู่ระหว่างเลิกกิจการ
3.4 ไม่เป็ นบุคคลซึ่งอยู่ระหว่างการถูกระงับการยื่นข้อเสนอ
หรือทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐไว้ชั่วคราวเนื่องจากเป็ นผู้ที่ไม่ผ่าน
เกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการตามระเบียบที่
รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังกำหนดตามที่ประกาศเผยแพร่ในระบบ
เ ค รื อ ข่ า ย ส า ร ส น เ ท ศ ข อ ง ก ร ม บั ญ ชี ก ล า ง
3.5 ไม่เป็ นบุคคลซึ่งถูกระบุชื่ อไว้ในบัญชีรายชื่ อผู้ทิ้งงาน
และได้แจ้งเวียนชื่ อให้เป็ นผู้ทิ้งงานของหน่วยงานของรัฐในระบบ
สารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ซึ่งรวมถึงนิติบุคคลที่ผู้ทิ้งงานเป็ นหุ้นส่วนผู้
จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้มีอำ นาจในการดำ เนินงานใน
กิ จ ก า ร ข อ ง นิ ติ บุ ค ค ล นั้ น ด้ ว ย

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
3
3.6 มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามคณะกรรมการ
นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐกำหนดในราชกิจจานุ
เ บ ก ษ า
3.7 เป็ นนิติบุคคล ผู้มีอาชีพรับจ้างงานที่ประกวดราคา
อิ เ ล็ ก ท ร อ นิ ก ส์ ดั ง ก ล่ า ว
3.8 ไม่เป็ นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นที่เข้า
ยื่ นข้อเสนอให้แก่กรุงเทพมหานคร ณ วั นประกาศประกวดราคา
อิเล็กทรอนิกส์ หรือไม่เป็ นผู้กระทำการอันเป็ นการขัดขวางการแข่งขัน
ราคา อย่างเป็ นธรรมในการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้
3.9 ไม่เป็ นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่
ยอมรับขึ้นศาลไทย เว้นแต่รัฐบาลของผู้ยื่นข้อเสนอได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์
แ ล ะ ค ว า ม คุ้ ม กั น เ ช่ น ว่ า นั้ น
3.10 ผู้ยื่นข้อเสนอต้องเป็ นผู้ที่จดทะเบียนเป็ นผู้รับจ้างเหมา
งานก่อสร้างของกรุงเทพมหานครในประเภทงานอาคาร ชั้น 1, 2, 3, 4 กรณี
ทะเบียนผู้รับจ้างเหมางานก่อสร้างของกรุงเทพมหานครหมดอายุ ผู้ยื่นข้อ
เสนอต้องแสดงเอกสารหลักฐานการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
ง า น ก่ อ ส ร้ า ง ไ ว้ กั บ ก ร ม บั ญ ชี ก ล า ง ด้ ว ย
3.11 ผู้ยื่นข้อเสนอต้องลงทะเบียนที่มีข้อมูลถูกต้องครบถ้วน
ใ น ร ะ บ บ จั ด ซื้ อ จั ด จ้ า ง ภ า ค รั ฐ ด้ ว ย อิ เ ล็ ก ท ร อ นิ ก ส์ (Electronic
Government Procurement : e - GP) ข อ ง ก ร ม บั ญ ชี ก ล า ง
3.12 ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานประเภทงานอาคาร และเป็นผล
งานที่เป็ นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรของรัฐบาล
หรือเอกชนที่กรุงเทพมหานครเชื่อถือได้ ซึ่งมีราคางานตามสัญญาเดียว
ไม่น้อยกว่า 1,800,000.00 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนบาทถ้วน) เป็ นราคาที่
รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผลงานดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จครบถ้วนตามสัญญา
1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
4
โดยให้แนบหนังสือรับรองผลงาน และในกรณีที่ผลงานเป็นของเอกชนให้แนบ
สั ญ ญ า ม า ด้ ว ย
3.13 ผู้ยื่นข้อเสนอที่ยื่นข้อเสนอในรูปแบบของ “กิจการร่วม
ค้ า ” ต้ อ ง มี คุ ณ ส ม บั ติ ดั ง นี้
กรณีที่ข้อตกลงระหว่างผู้เข้าร่วมค้ากำหนดให้ผู้เข้าร่วม
ค้ารายใดรายหนึ่งเป็ นผู้เข้าร่วมค้าหลัก ข้อตกลงระหว่างผู้เข้าร่วมค้าจะ
ต้องมีการกำหนดสัดส่วนหน้าที่ และความรับผิดชอบ ในปริมาณ
งาน สิ่งของ หรือมูลค่าตามสัญญาของผู้เข้าร่วมค้าหลักมากกว่าผู้เข้าร่วม
ค้ า ร า ย อื่ น ทุ ก ร า ย
กรณีที่ข้อตกลงระหว่างผู้เข้าร่วมค้ากำหนดให้ผู้เข้าร่วม
ค้ารายใดรายหนึ่งเป็ นผู้เข้าร่วมค้าหลัก กิจการร่วมค้านั้นต้องใช้ผลงาน
ของผู้เข้าร่วมค้าหลักรายเดียวเป็ นผลงานของกิจการร่วมค้า ที่ยื่นข้อ
เ ส น อ
สำหรับข้อตกลงระหว่างผู้เข้าร่วมค้าที่ไม่ได้กำหนดให้ผู้
เข้าร่วมค้ารายใดเป็ นผู้เข้าร่วมค้าหลัก ผู้เข้าร่วมค้าทุกรายจะต้องมี
คุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่ อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารเชิญชวน หรือ
ห นั ง สื อ เ ชิ ญ ช ว น
กรณีที่ข้อตกลงระหว่างผู้เข้าร่วมค้ากำหนดให้มีการ
มอบหมายผู้เข้าร่วมค้ารายใด รายหนึ่งเป็ นผู้ยื่นข้อเสนอ ในนามกิจการ
ร่ ว ม ค้ า ก า ร ยื่ น ข้ อ เ ส น อ ดั ง ก ล่ า ว ไ ม่ ต้ อ ง มี ห นั ง สื อ ม อ บ อำ น า จ
สำหรับข้อตกลงระหว่างผู้เข้าร่วมค้าที่ไม่ได้กำหนดให้ผู้
เข้าร่วมค้ารายใดเป็ นผู้ยื่นข้อเสนอ ผู้เข้าร่วมค้าทุกรายจะต้องลงลายมือ
ชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ผู้เข้าร่วมค้ารายใดรายหนึ่งเป็ นผู้ยื่นข้อเสนอ
ใ น น า ม กิ จ ก า ร ร่ ว ม ค้ า

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
5
3.14 ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีวิศวกรประจำและต้องเป็ นผู้ได้รับ
อนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา และ
ทำหน้าที่รับผิดชอบควบคุมงานที่เข้าร่วมประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
และในกรณีที่ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ได้และได้เข้าทำสัญญากับ
กรุงเทพมหานครแล้ว จะต้องส่งสำเนาหลักฐานการหักภาษีเงินเดือน ณ
ที่จ่ายของวิศวกรประจำ ตามประเภทงานดังกล่าวทุก ๆ เดือน
3.15 ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีค่าสุทธิของกิจการ ดังนี้
3.15.1 กรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็ นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม
กฎหมายไทยซึ่งได้จดทะเบียน เกินกว่า 1 ปี ต้องมีมูลค่าสุทธิของ
กิจการ จากผลต่างระหว่างสินทรัพย์สุทธิหักด้วยหนี้สินสุทธิที่ปรากฏใน
งบแสดงฐานะการเงินที่มีการตรวจรับรองแล้ว ซึ่งจะต้องแสดงค่าเป็ น
บวก 1 ปี สุดท้ายก่อนวันยื่นข้อเสนอ
3.15.2 กรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็ นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม
กฎหมายไทย ซึ่งยังไม่มีการรายงานงบแสดงฐานะการเงินกับกรมพัฒนา
ธุรกิจการค้า ให้พิจารณาการกำหนดมูลค่าของทุนจดทะเบียน โดยผู้ยื่น
ข้อเสนอจะต้องมีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระมูลค่าหุ้นแล้ว ณ วันที่ยื่น
ข้อเสนอมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 1 ล้าน
3.15.3 สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งที่มีวงเงินเกิน
500,000 บาทขึ้นไป กรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็ นบุคคลธรรมดา โดยพิจารณา
จากหนังสือรับรองบัญชีเงินฝาก ไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันยื่นข้อเสนอ โดย
ต้องมีเงินฝากคงเหลือในบัญชีธนาคารเป็ นมูลค่า 1 ใน 4 ของมูลค่างบ
ประมาณของโครงการหรือรายการ ที่ยื่นข้อเสนอในแต่ละครั้ง และหาก
เป็ นผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือเป็ นผู้ได้รับการคัดเลือกจะต้องแสดง

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
6
หนังสือรับรองบัญชีเงินฝากที่มีมูลค่าดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งในวันลงนามใน
สัญญา
3.15.4 กรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอไม่มีมูลค่าสุทธิของกิจการ
หรือทุนจดทะเบียน หรือมีแต่ไม่เพียงพอที่จะเข้า ยื่นข้อเสนอ ผู้ยื่นข้อ
เสนอสามารถขอวงเงินสินเชื่อ โดยต้องมีวงเงินสินเชื่อ 1 ใน 4 ของมูลค่า
งบประมาณ ของโครงการหรือรายการที่ยื่นข้อเสนอในครั้งนั้น (สินเชื่อที่
ธนาคารภายในประเทศ หรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่
ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ และประกอบ
ธุรกิจค้าประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อ
บริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย แจ้งเวียนให้ทราบ โดยพิจารณา
จากยอดเงินรวมของวงเงินสินเชื่อที่สำนักงานใหญ่รับรองหรือที่สำนักงาน
สาขารับรอง (กรณีได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานใหญ่ ซึ่งออกให้แก่ผู้ยื่น
ข้อเสนอนับถึงวันยื่นข้อเสนอไม่เกิน 90 วัน)
3.16 กรณีตาม 3.15.1 – 3.15.4 ยกเว้นสำหรับกรณีดังต่อ
ไปนี้
3.16.1 กรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็ นหน่วยงานของรัฐ
3.16.2 นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่อยู่
ระหว่างการฟื้ นฟูกิจการ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10)
พ.ศ. 2561

4. ข้อกำหนด
4.1 ผู้รับจ้างต้องใช้พัสดุประเภทวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิต
ภายในประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าหรือวัสดุที่จะใช้งาน
จ้างนี้และส่งให้ผู้ว่าจ้างภายใน 60 วันนับถัดจากวันลงนามสัญญา

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
7
4.2 ผู้รับจ้างจะต้องทำแผนการใช้พัสดุที่ผลิตภายในประเทศ
ตามแบบฟอร์มที่กำหนด ส่งให้ผู้ว่าจ้างภายใน 60 วัน นับถัดจากวันลง
นามสัญญา
4.3 ในกรณีที่ต้องใช้งานเหล็กในการจ้างนี้ ผู้รับจ้างต้องใช้เหล็ก
ที่ผลิตภายในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณเหล็กที่จะใช้ใน
งานจ้างนี้
4.4 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีวิศวกรในสาขาโยธา จำนวน 1 คน
และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมที่ยังไม่หมดอายุของวิศวกร
ประจำ ซึ่งเป็ นผู้ควบคุมงานรายนี้ และต้องไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือ
เพิกถอนใบอนุญาตโดยยื่นเอกสาร หลักฐาน พร้อมกับการยื่นข้อเสนอ

5. หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
กรุงเทพมหานครจะพิจารณาตัดสินโดยใช้หลักเกณฑ์ราคาที่ผู้
ยื่นข้อเสนอได้เสนอราคาเหมารวมต่ำสุด และยื่นเอกสารหลักฐานครบ
ถ้วนถูกต้องตามที่กรุงเทพมหานครกำหนด หากผู้ยื่นเสนอราคาซึ่งเป็ นผู้
ประกอบการ SMEs เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้ยื่นเสนอราคาราย
อื่นที่ไม่เกินร้อยละ 10 จะพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างจากผู้ประกอบการ SMEs
ดังกล่าว โดยจัดเรียงลำดับผู้ยื่นเสนอราคาซึ่งเป็ นผู้ประกอบการ SMEs
ซึ่งเสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้ยื่นเสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ
10 ที่จะเรียกมาทำสัญญาไม่เกิน 3 ราย หากผู้ยื่นเสนอราคาซึ่งมิใช่ผู้
ประกอบการ SMEs แต่เป็ นบุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือนิติบุคคล
ที่จัดตั้งขึ้น
ตามกฎหมายไทยเสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้ยื่นเสนอราคาซึ่งเป็ น
บุคคลธรรมดาที่มิได้ถือสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
ของต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 3 จะพิจารณาจัดซื้อหรือจัดจ้างจาก ผู้

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
8
ยื่นเสนอราคาซึ่งเป็ นบุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลที่จัดตั้ง
ขึ้นตามกฎหมายไทยดังกล่าว

6. กำหนดยืนราคา
ผู้ยื่นข้อเสนอต้องเสนอราคาโดยต้องกำหนดยืนราคาไม่น้อย
กว่า 180 วัน นับถัดจากวันที่เสนอราคา

7. รูปแบบและรายการ
7.1 แบบก่อสร้างท่าเทียบเรือ ม.นวมินทร์ เขตดุสิต เลขที่
สขส.0040
7.2 รายการมาตรฐานงานอาคารของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
2546

8. ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบในการดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบ
เรือท่าเทียบเรือ ม.นวมินทร์ เขตดุสิต และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่
เกี่ยวข้อง ซึ่งมีรายละเอียดในขอบเขตงานดังนี้
8.1 ผู้รับจ้างต้องดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือตาม
ตำแหน่งท่าเทียบเรือที่แสดงในแบบก่อสร้างเลขที่ สขส.0040 และ
ก่อสร้างตามปริมาณงานในแบบเลขที่ สขส.0040
8.2 ผู้รับจ้างต้องติดตั้งป้ ายบอกชื่อท่าเทียบเรือให้ครบถ้วน
ทุกจุดตามตำแหน่งที่กำหนดดังแสดงในแบบเลขที่ สขส.0040

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
9
8.3 แผนการทำงาน (Work Plan) และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติ
งานในการก่อสร้าง
ผู้รับจ้างจะต้องจัดทำแผนงานการก่อสร้างเสนอต่อผู้ว่าจ้าง
หรือผู้แทนผู้ว่าจ้างภายใน 7 วันนับจากวันที่เริ่มงาน เพื่อให้ความเห็น
ชอบก่อนดำเนินการก่อสร้าง พร้อมส่งหนังสือแต่งตั้งบุคลากรของผู้รับ
จ้างที่ปฏิบัติงานในการก่อสร้าง โดยอย่างน้อยต้องมีวิศวกรผู้ควบคุมงาน
และสถาปนิกผู้ควบคุมงาน
ถ้าผู้รับจ้างมิได้เสนอแผนงาน หรือมิได้เริ่มทำงานหรือไม่
สามารถทำงานที่รับจ้างให้แล้วเสร็จตามที่กำหนดเวลา หรือมีเหตุให้เชื่อ
ได้ว่าผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาหรือ
จะแล้วเสร็จล่าช้าเกินกำหนดเวลาหรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง
หรือตกเป็ นผู้ล้มละลายหรือเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ
ตรวจการจ้าง หรือ ผู้ควบคุมงาน ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้
และมีสิทธิจ้างผู้รับจ้างรายใหม่เข้าทำงานของผู้รับจ้างให้ลุล่วงไปได้ด้วย
การที่ผู้ว่าจ้างไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาดังกล่าวข้างต้นนั้น ไม่เป็ น
เหตุให้ผู้รับจ้างพ้นจากความผิดตามสัญญา
8.4 งานรื้อย้ายและก่อสร้างกลับคืนสภาพเดิมของแนวเขื่อน
ทางเท้า หรือในบริเวณที่ทำการก่อสร้างบริเวณโดยรอบที่อาจเกิดผลกระ
ทบจากการก่อสร้างรวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
8.5 แบบเพื่อการก่อสร้าง (Shop Drawing)
ผู้รับจ้างจะต้องจัดทำแบบแสดงรายละเอียดสำหรับการ
ก่อสร้าง (Shop Drawing) โดยผู้รับจ้างจะต้องส่งให้ผู้แทนผู้ว่าจ้างตรวจ
สอบและอนุมัติก่อนทำงาน
ผู้รับจ้างจะต้องส่งแบบเพื่อการก่อสร้างในเวลาที่เหมาะสม
เพื่อให้ผู้ควบคุมมีเวลาตรวจสอบและอนุมัติได้ทันก่อนการทำงาน (ภายใน
1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
10
15 วันทำการ) ความล่าช้าอันเนื่องมาจากผู้แทนผู้ว่าจ้างสั่งให้แก้ไขแบบ
เพื่อการก่อสร้างหรือปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน จะถือเป็ นเหตุให้ผู้รับจ้าง
ใช้เป็ นข้ออ้างเรียกร้องขอขยายเวลาการก่อสร้าง หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมไม่
ได้
8.6 แบบก่อสร้างจริง (As-Built Drawing)
ผู้รับจ้างต้องนำแบบเพื่อการก่อสร้าง (Shop Drawing) ที่ได้
รับอนุมัติแล้วไปเขียนเป็ นแบบก่อสร้างจริง (As-Built Drawing) ตาม
ขนาดที่ผู้แทนผู้ว่าจ้างเห็นชอบ

ผู้รับจ้างจะต้องรวบรวมแบบก่อสร้างจริง (As-Built Drawing) ของงาน


ทั้งหมด ส่งให้ผู้แทนผู้ว่าจ้างตรวจสอบก่อนการส่งมอบงานครั้งสุดท้าย
หากมีข้อแก้ไขให้ผู้รับจ้างดำเนินการให้ถูกต้องเรียบร้อย ผู้รับจ้างจะต้อง
จัดส่งทำแบบก่อสร้างจริง (As-Built Drawing) หลังจากส่งมอบงานงวด
สุดท้ายให้กรุงเทพมหานครไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับมอบงาน
จำนวน 3 ชุด พร้อม Auto Cad File
8.7 การดำเนินงานก่อสร้างใด ๆ ที่รายการประกอบแบบนี้ไม่ได้
ระบุไว้เป็นอย่างอื่น หรือ ไม่ได้กล่าวถึงแต่ต้องเกี่ยวเนื่องกับการ
ก่อสร้าง ให้ดำเนินการตามแบบรายการมาตรฐานงานอาคารของ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546
8.8 ในการก่อสร้างจริงอาจต้องมีการแก้ไข ดัดแปลงบางสิ่ง
บางอย่างให้สามารถใช้การได้ดีและมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะด้านความ
มั่นคงแข็งแรง หรือให้เป็ นไปตามนโยบายของผู้ว่าจ้างที่ตั้งไว้ ฉะนั้น จึง
ไม่ถือว่าการแก้ไขเป็ นการดำเนินการก่อสร้างที่ผิดไปจากรูปแบบและ
รายการ (ยกเว้นการเปลี่ยนแปลง ที่เป็ นการลดเนื้องาน) แต่ทั้งนี้ต้อง

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
11
ได้รับความเห็นชอบจากผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรผู้ออกแบบก่อนทุก
ครั้ง และถือว่าความเห็นนั้นเป็ นที่สิ้นสุด
8.9 ตำแหน่งในการก่อสร้างอาจมีการขยับหรือย้ายตามความ
เหมาะสมในการใช้งานตามความเห็นของผู้ควบคุมงาน ผู้รับจ้างจะต้อง
ดำเนินการก่อสร้างตามปริมาณงานที่กำหนดโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม
8.10 หากสถานที่ที่กำหนดให้ในการก่อสร้างมีปั ญหาหรือ
อุปสรรค ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการก่อสร้างในสถานที่ที่กำหนดใหม่ และ
ต้องเสนอแผนก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้างให้ผู้ว่าจ้างให้ความเห็นชอบ
ก่อนการดำเนินการซึ่งต้องมีปริมาณเนื้องานรวมเท่ากับของเดิมหรือ
มากกว่าโดยผู้รับจ้างจะต้องไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม
8.11 รายการก่อสร้างต่าง ๆ ที่ระบุในแบบ ถ้าขัดแย้งกับ
รายการให้ถือปฏิบัติตามรายการนี้
8.12 ผู้รับจ้างจะต้องส่งแผนงานก่อสร้างก่อนดำเนินการ
ก่อสร้างให้กับสำนักงานระบบขนส่งภายใน 15 วัน และรายงานผลคืบ
หน้าของการก่อสร้างโดยระบุร้อยละของงานที่ทำได้และผลงานสะสมใน
แต่ละเดือนส่งให้ผู้ควบคุมงานเป็ นประจำทุกเดือนจนงานแล้วเสร็จ
8.13 วัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาก่อสร้างในครั้งนี้จะต้องเป็ นของ
ใหม่ ไม่เคยใช้งานมาก่อน ยกเว้นกรณีที่ระบุไว้เป็ นอย่างอื่น ต้องมี
คุณภาพดี ถูกต้องตามรูปแบบรายการ และเป็ นไปตามสัญญา
8.14 การทดสอบวัสดุ ให้เป็ นไปตามรายละเอียดในข้อ
กำหนดเฉพาะงาน รายละเอียดใน
รายการมาตรฐานงานอาคารของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546 ตาม
ประเภทของงานนั้น ๆ

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
12
8.15 วัสดุก่อสร้างที่เป็ นส่วนสำคัญ แม้ไม่ได้ระบุในรายการ
ประกอบสัญญา ก็จะต้องได้รับการทดสอบทางวิศวกรรม หรือมีหนังสือ
รับรองคุณภาพจากบริษัทผู้ผลิต
8.16 ในระหว่างการก่อสร้าง ผู้รับจ้างจะต้องดูแลและจัดสร้าง
โรงงานเก็บวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์
เครื่องจักร วัสดุรื้อถอน และอื่น ๆ ให้เป็ นระเบียบเรียบร้อย ไม่ก่อให้เกิด
ปั ญหาด้านฝุ่นละออง มลพิษ หรือปั ญหาอื่น ๆ อันเกิดความเดือดร้อนต่อ
ประชาชนและสิ่งแวดล้อม โดยตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง จนกว่าการ
ก่อสร้างจะแล้วเสร็จ
8.17 สิ่งก่อสร้างใดที่ระบุให้ดำเนินการ แต่มิได้กำหนดแบบ
รายละเอียดไว้ให้ ผู้รับจ้างเสนอรูปแบบและรายการ ตามวัตถุประสงค์ที่
กำหนดไว้สำหรับสิ่งก่อสร้างนั้น ๆ เพื่อขอรับความเห็นชอบต่อผู้ว่าจ้าง
8.18 งานปลีกย่อยที่มิได้ระบุไว้ในสัญญา แบบแปลน หรือ
รายการก่อสร้าง แต่มีความจำเป็ นที่ต้องกระทำเพื่อให้งานสำเร็จไปโดย
เรียบร้อยตามหลักวิชาการช่างที่ดีและ/หรือเพื่อให้งานบรรลุตาม
วัตถุประสงค์ หรือมีคำวินิจฉัยของผู้ว่าจ้างให้แก้ไขเกี่ยวกับแบบแปลน
รายการก่อสร้างแล้ว ผู้รับจ้างต้องยินยอมรับทำงานนั้น ๆ ให้แล้วเสร็จ
เรียบร้อย โดยไม่คิดค่าก่อสร้างเพิ่มเติมจากที่ตกลงกันไว้

9. คุณลักษณะเฉพาะ
9.1 บททั่วไป
งานนี้ประกอบด้วย การจัดหา ประกอบ และติดตั้งโป๊ ะ
คอนกรีตพร้อมอุปกรณ์ตามที่แสดงไว้ในแบบก่อสร้าง บรรดาเหล็ก และ
วัสดุอื่น ๆ ที่จะนำมาใช้ต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานก่อนที่จะนำเหล็ก

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
13
และวัสดุอื่นมาใช้ในการติดตั้ง ประกอบ ผู้รับจ้างจะต้องเสนอตัวอย่าง
วัสดุ ทั้งรูปแบบและรายละเอียดการติดตั้ง (Shop Drawing) ให้ผู้
ควบคุมงานตรวจสอบและอนุมัติก่อนจึงจะนำวัสดุนั้น ๆ เข้ามาใช้
ประกอบการติดตั้งได้
9.2 วัสดุ
1) มาตรฐานคุณภาพวัสดุ
วัสดุที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้าง จะต้องมีมาตรฐาน
ขนาด และรูปร่างสอดคล้องกับแบบแปลน หากมิได้ระบุไว้เป็ นอย่างอื่น
วัสดุที่จะนำมาใช้งานก่อสร้างจะต้องมีคุณสมบัติเป็ นไปตามมาตรฐาน
ดังระบุหรือเทียบเท่า ตามตารางดังต่อไปนี้

ชนิดของวัสดุ มาตรฐาน
1. เหล็กรูปพรรณ มอก. 1227-2558 มาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
มอก.116 “เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ”
2. เหล็กแผ่น ASTM Designation A-22
3. เหล็กกลวง มอก.107 - 2561 “เหล็กกลวงสำหรับงาน
4. ท่อเหล็กกล้าอาบ ก่อสร้าง”
สังกะสี มอก.276 - 2562 “ท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสีมี
5. เหล็กหล่อ ตะเข็บแบบไม่มีเกลียว”
6. เหล็กกล้าไร้สนิม ASTM Designation : A-48, Class 30
(Stainless ASTM Designation : A-264, หรือ JIS
Steel) GA303, 4304, 4317
7. สลักเกลียว แป้ น ชนิด A316
เกลียว และ มอก.291, 171 และ 258 “สลักเกลียวหัวหก

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
14
แหวนรองแป้ น เหลี่ยม แป้ นเกลียวและแหวนรองแป้ นเกลียว”
เกลียว มอก.49-2556 ลวดเชื่อมไฟฟ้ ามีสารพอกหุ้มใช้
8. ลวดเชื่อมเหล็ก เชื่อมเหล็กกล้าไม่เจือ และเกรนละเอียดด้วย
การเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ ลวดเชื่อมชนิด
เหล็กกล้าเหนียว ซึ่งมีเปลือกหุ้มสำหรับเชื่อม
ด้วยประกายไฟฟ้ า

2) งานระบบสีเคลือบส่วนเหล็กโครงสร้าง
การเตรียมผิวพื้นถ้าเป็ นโลหะเหล็กหรือประเภทส่วน
ผสมของเหล็กให้ทำความสะอาดพื้นผิวชิ้นงานที่มีน้ำมัน จารบีปนเปื้ อน
ด้วยสารละลายที่เหมาะสมเช่นทินเนอร์หรือหากเป็ นคราบดินหรือเกลือ
ให้ใช้น้ำสะอาดเช็ดล้างแล้วทำให้แห้งสนิทก่อนที่จะทำการขจัดสนิมและ
milscale ด้วยการพ่นทราย
ให้ได้มาตรฐาน หรือ ISO Sa 2.5 เป็ นอย่างน้อยก่อนทาสีรองพื้น ขณะ
ทำการเคลือบสี สภาพอากาศต้องไม่มีความชื้นสัมพันธ์เกินกว่า 85%
การเคลือบสีต้องไม่ทำในขณะที่สภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น ฝนตก
หรือมีหมอก ควรตรวจสอบทั้งความชื้นสัมพันธ์ในอากาศและที่พื้นผิว
งาน หรือไม่ทำงานสีท่ามกลางสภาพ
อากาศที่ร้อนจัดมากเกินไปหรือตามคำแนะนำของผู้ผลิตสี การใช้สาร
ทำละลายหรือทินเนอร์ให้ใช้ทินเนอร์สำหรับสีอิพ๊อคซี่โดยเฉพาะหรือที่
บริษัทฯ ผู้ผลิตจัดให้เท่านั้น ปริมาณการใช้ให้ดูตามคู่มือผู้ผลิตหรือตาม
คำแนะนำของฝ่ ายเทคนิคฯ
- การทาสีรองพื้น (Primer coat) การทาสีรองพื้นกัน
สนิมให้ทาด้วยสี ประเภท Coal Tar Epoxy จำนวนชั้น 1 โดยกำหนด
ความหนาสีเมื่อแห้งไม่น้อยกว่า 100 ไมครอน ข้อกำหนดการใช้งานของ

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
15
สีรองพื้นให้ถือปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตสีนั้น ๆ โดย
เคร่งครัด และต้องรอให้สีแห้งตัว ไม่น้อยกว่า 16 ชั่วโมงหรือตามคำ
แนะนำของบริษัทผู้ผลิตก่อนทาชั้นต่อไป
สีรองพื้นและผลิตภัณฑ์เทียบเท่า
CHUGOKU : COAL TAR HB
TOA : COAL TAR EPOXY 111
BEGER : COAL TAR EPOXY 80
- การทาสีชั้นกลาง (Under coat) การทาสีชั้นกลาง
ให้ทาด้วยสี ประเภท Coal Tar Epoxy จำนวน ชั้น 1 โดยกำหนด
ความหนาสีเมื่อแห้งไม่น้อยกว่า 100 ไมครอน ข้อกำหนดการใช้งานของ
สีรองพื้นให้ถือปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตสีนั้น ๆ โดย
เคร่งครัด และต้องรอให้สีแห้งตัวไม่น้อยกว่า 16 ชั่วโมงหรือตามคำ
แนะนำของบริษัทผู้ผลิตก่อนทาชั้นต่อไป
สีชั้นกลางและผลิตภัณฑ์เทียบเท่า
CHUGOKU : COAL TAR HB
TOA : COAL TAR EPOXY 111
BEGER : COAL TAR EPOXY 80
- การทาสีชั้นทับหน้า (Finish coat) การทาสีชั้นทับ
หน้า ให้ทาด้วยสี ประเภท Coal Tar Epoxy จำนวน 1 ชั้น โดยกำหนด
ความหนาสีเมื่อแห้งไม่น้อยกว่า 100 ไมครอน ข้อกำหนดการใช้งานของ
สีรองพื้นให้ถือปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตสีนั้น ๆ โดย
เคร่งครัด
สีชั้นทับหน้าและผลิตภัณฑ์เทียบเท่า
CHUGOKU : COAL TAR HB
TOA : COAL TAR EPOXY 111
1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
16
BEGER : COAL TAR EPOXY 80
เมื่อทาสีเสร็จเรียบร้อยแล้วหลังจากแห้งสนิทจะต้องไม่เห็นสีชั้นล่าง
รอยด่าง รอยแปรง สีไหลย้อย หรือไม่เรียบร้อยเลอะเทอะ ต้องมีสีเรียบ
สม่ำเสมอไม่ปรากฏฟองอากาศหรือรูเข็มบนเนื้อฟิ ล์มสี และมีความหนาสี
แห้งรวมทุกชั้นวัดได้ไม่น้อยกว่า 300 ไมครอน
2.1) งานสีสำหรับระบบสีเคลือบส่วนท่อเหล็กเคลือบ
สังกะสี BSM
การเตรียมผิวพื้นให้ทำความสะอาดพื้นผิวชิ้นงานที่มี
น้ำมัน จารบีปนเปื้ อนด้วยสารละลายที่เหมาะสมเช่นทินเนอร์หรือหาก
เป็ นคราบดินหรือเกลือให้ใช้น้ำสะอาดเช็ดล้างแล้วทำให้แห้งสนิทและ
ขณะทำการเคลือบสี สภาพอากาศต้องไม่มีความชื้นสัมพันธ์เกินกว่า 85%
การเคลือบสีต้องไม่ทำในขณะที่สภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่นฝนตก,มี
หมอก ควรตรวจสอบทั้งความชื้นสัมพันธ์ในอากาศและที่พื้นผิวงาน
หรือไม่ทำงานสีท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนจัดมากเกินไปหรือตามคำ
แนะนำของผู้ผลิตสี การใช้สารทำละลาย
หรือทินเนอร์ให้ใช้ทินเนอร์สำหรับสีโดยเฉพาะหรือที่บริษัทฯ ผู้ผลิตจัดให้
เท่านั้น ปริมาณการใช้ให้ดูตามคู่มือผู้ผลิตหรือตามคำแนะนำของฝ่ ายเท
คนิคฯ
- การทาสีรองพื้น (Primer coat) การทาสีรองพื้นกัน
สนิม ให้ทาด้วยสี ประเภท Epoxy primer สำหรับทาบนเหล็ก
galvanized โดยเฉพาะ จำนวน 1 ชั้น โดยกำหนดความหนาสีแห้ง
แต่ละชั้นไม่น้อยกว่า 30 ไมครอน ข้อกำหนดการใช้งานของสีรองพื้นให้
ถือปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตสีนั้น ๆ โดยเคร่งครัด และ
ต้องรอให้สีแห้งตัวไม่น้อยกว่า 16 ชั่วโมง หรือตามคำแนะนำของบริษัท
ก่อนทาสีชั้นต่อไป
1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
17

สีรองพื้นและผลิตภัณฑ์เทียบเท่า
CHUGOKU : UMEGUARD HS SILVER
TOA : RUST TECH
BEGER : RUSTGUARD
- การทาสีทับหน้า (Top coat ) การทาสีทับหน้าด้วยสี
ทับหน้าประเภท Acrylic Polyurethane ชนิดทนแสงยูวีได้ และให้ทา
อย่างน้อย 1 ชั้น ความหนาสีเมื่อแห้งไม่น้อยกว่าชั้นละ 50 ไมครอน เมื่อ
ทาสีเสร็จเรียบร้อยแล้วหลังจากแห้งสนิทจะต้องไม่เห็นสีชั้นล่าง รอยด่าง
รอยแปรง สีไหลย้อยหรือไม่เรียบร้อยเลอะเทอะ ต้องมีสีเรียบสม่ำเสมอไม่
ปรากฏฟองอากาศหรือรูเข็มบนเนื้อฟิ ล์มสี และมีความหนาสีแห้งรวมทุก
ชั้นวัดได้ไม่น้อยกว่า 80 ไมครอน
สีรองพื้นและผลิตภัณฑ์เทียบเท่า
CHUGOKU : UNY MARINE HS
TOA : TOPGUARD
BEGER : DURATHANE
9.3 โป๊ ะคอนกรีตจะต้องมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
1) โป๊ ะคอนกรีตต้องมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 5.00
เมตร ความยาวไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ความสูงไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
2) ต้องหล่อจากคอนกรีตให้เป็ นชิ้นเดียวกัน ไม่มีห้อง
ลอยภายใน ความหนาของคอนกรีตต้องไม่น้อยกว่า 70 มิลลิเมตร และมี
ระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมไม่น้อยกว่า 35 มิลลิเมตร
3) คอนกรีตชั้นคุณภาพ C45/50
ความต้านทานกำลังรับแรงอัดที่ 28 วัน ของคอนกรีต
แท่งทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 45 เมกะปาสคาล (450 กิโลกรัม/ตาราง
1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
18
เซนติเมตร) โดยต้องทำการเก็บตัวอย่างจากสถานที่ผลิตโป๊ ะคอนกรีตและ
ส่งทดสอบกับหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร
4) โป๊ ะคอนกรีตจะต้องมีระดับเหนือน้ำ (Freeboard)
ก่อนรับน้ำหนักบรรทุกไม่น้อยกว่า 800 + 10 มิลลิเมตร เพื่อให้โป๊ ะ
คอนกรีตมีเสถียรภาพที่ดี และมีความต่างระดับของโป๊ ะคอนกรีตแต่ละ
ด้านไม่เกิน 20 มิลลิเมตร (วัดจากปลายสุดถึงปลายสุดของแต่ละด้าน)
5) โป๊ ะคอนกรีตสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดได้
ไม่น้อยกว่า 300 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยในขณะที่รับน้ำหนักบรรทุก
สูงสุดจะต้องมีระดับเหนือน้ำ (Minimum Freeboard) ไม่น้อยกว่า 450
มิลลิเมตร (ให้วัดจากด้านที่จมมากที่สุด)

6) เหล็กเสริมกำลังที่ใช้ผลิตโป๊ ะคอนกรีต จะต้องมี


คุณสมบัติเป็ นไปตามมาตรฐานดังที่ระบุตามตาราง ดังนี้

ลำดั ประเภท ขนาด ของเหล็ก มาตรฐาน



1 เหล็กตะแกรง มอก. 943-2533
2 เหล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เล็ก มอก. 943-2533
กว่า 10 ม.ม.
3 เหล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง มอก. 24-2559
ตั้งแต่ 10 ม.ม. ขึ้นไป

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
19

เหล็กเสริมกำลังจะต้องมีความต้านทางแรงดึงที่จุดคลากไม่
น้อยกว่า 490 เมกะปาสคาล (5000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร) ผู้ผลิต
จะต้องส่งเอกสารยืนยันมาตรฐานของเหล็กที่นำมาใช้ผลิตโป๊ ะตาม
ตารางข้างต้น จากผู้ผลิตเหล็กเสริมกำลังที่ผู้ผลิตเลือกใช้และต้องทำการ
เก็บตัวอย่างเหล็กเสริมกำลังจากสถานที่ผลิตโป๊ ะและส่งทดสอบกับ
หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร
7) ผู้รับจ้างจะต้องแสดงหนังสือยืนยันจากผู้ผลิตว่าเป็ นผู้
ผลิตโป๊ ะให้กับโครงการนี้ ซึ่งผู้ผลิตจะต้องเป็ นผู้ที่มีประสบการณ์ในการ
ผลิตโป๊ ะคอนกรีต โดยจะต้องส่งผลงานการผลิตโป๊ ะคอนกรีต ที่ไม่มีห้อง
ลอยภายใน ให้แก่ผู้ว่าจ้างพิจารณาอนุมัติก่อนดำเนินการผลิต
8) ผู้รับจ้างจะต้องจัดส่งรายการคำนวณเสถียรภาพของ
โป๊ ะ โดยได้รับการรับรองจากสามัญวิศวกร หรือ วุฒิวิศวกร ที่มี
ประสบการณ์ในการออกแบบโป๊ ะคอนกรีต ให้แก่ผู้ว่าจ้างพิจารณาก่อนที่
จะอนุมัติให้ใช้

9) โฟมที่ใช้ในการผลิตโป๊ ะคอนกรีตจะต้องเป็ นชนิด


Expanded Polystyrene (EPS) มีกำลังรับน้ำหนักไม่น้อยกว่า 80kPa.
@5% strain (ASTM D6817-02) สำหรับความหนาโป๊ ะคอนกรีตตั้งแต่
1.5 เมตร ขึ้นไป และมีกำลังรับน้ำหนักไม่น้อยกว่า 60kPa. @5% strain
(ASTM D6817-02) สำหรับความหนาโป๊ ะคอนกรีตตั้งแต่ 1.0 เมตร แต่
ไม่เกิน 1.5 เมตร โดยจะต้องส่งผลทดสอบการรับน้ำหนักจากหน่วยงาน
หรือสถาบันภายในประเทศที่เชื่อถือได้ ซึ่งหนังสือรับรองผลการทดสอบ
ต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
20
10) กรณีผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างและผลิตโป๊ ะคอนกรีต
เอง ให้ผู้รับจ้างนำเสนอ Shop Drawing และรายละเอียดการเสริมเหล็ก
รายการคำนวณโครงสร้างโป๊ ะ และรายการคำนวณเสถียรภาพของโป๊ ะ
คอนกรีต โดยจะต้องได้รับการรับรองจากวุฒิวิศวกรที่มีประสบการณ์ใน
การออกแบบโป๊ ะคอนกรีต และจะต้องส่งผลงานที่เคยผลิตโป๊ ะคอนกรีต
ให้แก่ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนผู้ว่าจ้างพิจารณาอนุมัติก่อนดำเนินการ
11) ผู้รับจ้างต้องแจ้งสถานที่ผลิตโป๊ ะคอนกรีตเพื่อให้ผู้
ควบคุมงาน หรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ สามารถเข้าทำการตรวจ
สอบได้ตลอด พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการเข้าตรวจสอบ
12) ผู้รับจ้างจะต้องรับประกันคุณภาพของโป๊ ะคอนกรีตเป็ น
ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี โดยทำหนังสือรับประกันคุณภาพให้แก่
หน่วยงาน ณ วันส่งมอบงานงวดสุดท้าย หากมีความเสียหายจากการใช้
งานตามปกติ ผู้รับจ้างต้องทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้เหมือน
เดิม และต้องจัดเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบสภาพโป๊ ะคอนกรีตปี ละ 2
ครั้ง ตลอดช่วงการรับประกันคุณภาพโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

10. ข้อกำหนดงานทั่วไป
10.1 ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญานี้ ผู้รับจ้าง
ตกลงจะรับผิดชอบ ชดใช้ ป้ องกัน และดำเนินการให้กรุงเทพมหานคร
ข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร ปลอดภัยและพ้นจากบรรดา
ความรับผิด และความเสียหายใด ๆ อันอาจเกิดขึ้น หรือได้รับผลมาจาก
การกระทำ หรืองดเว้นไม่กระทำการ ซึ่งรวมถึงการจงใจหรือประมาท
เลินเล่อของผู้รับจ้าง หรือของลูกจ้างของผู้รับจ้าง หรือการที่ผู้รับจ้าง
หรือลูกจ้างของผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อบังคับที่
เกี่ยวข้องกับสัญญานี้

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
21
10.2 ในกรณีการดำเนินการในงานใด ๆ ที่ไม่มีรายละเอียด
มาตรฐานของวัสดุก่อสร้าง การควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง วิธีการ
ก่อสร้างและรายละเอียดอื่น ๆ ปรากฏในข้อกำหนดเฉพาะงาน
รายการมาตรฐานงานอาคารของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546 ให้ผู้รับ
จ้างส่งรายละเอียดมาตรฐานของวัสดุก่อสร้าง การควบคุมคุณภาพงาน
ก่อสร้าง วิธีการก่อสร้างและรายละเอียดอื่น ๆ ให้ผู้ควบคุมงาน
พิจารณาก่อนที่จะดำเนินการในงานนั้น ๆ
10.3 ให้ผู้รับจ้างจัดทำป้ ายของ บริษัท, ห้างร้าน และป้ าย
ประกาศต่าง ๆ ตามที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ ณ บริเวณที่ก่อสร้างตาม
จำนวนของผู้ควบคุมการก่อสร้างกำหนดให้
10.4 สิ่งกีดขวางต่อการก่อสร้าง เช่น สมบัติของการไฟฟ้ าฯ
การประปาฯ การโทรศัพท์ฯ ให้
ผู้รับจ้างแจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบเป็ นลายลักษณ์อักษร เพื่อผู้ว่าจ้างจะได้
พิจารณาช่วยเหลือติดต่อขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องย้าย
ให้ และให้ถือว่าผู้รับจ้างได้ตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างด้วยตนเอง และ
ยอมรับสภาพบริเวณสถานที่ก่อสร้างแล้ว โดยจะนำมาเป็ นเหตุอ้างไม่ว่า
กรณีใด ๆ เกี่ยวกับสถานที่ก่อสร้างไม่ได้
10.5 ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุ หรือภยันตราย
ความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นต่อการงานหรือคนงานของผู้รับจ้างเอง และจะ
ต้องรับผิดชอบต่อเหตุเสียหายอันเกิดขึ้นแก่ผู้ว่าจ้าง หรือบุคคลภายนอก
ซึ่งต้องเสียหายไป โดยความประมาทของผู้รับจ้าง ลูกจ้างหรือตัวแทน
ของผู้รับจ้างโดยสิ้นเชิง
10.6 ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบต่อความชำรุดเสียหายที่เกิด
ขึ้นเกี่ยวกับถนน ท่อระบายน้ำ ประปา ไฟฟ้ า โทรศัพท์ และทรัพย์สินอื่น
ๆ อันเกิดจากการกระทำของผู้รับจ้าง ลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้าง ไม่
1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
22
ว่าจะโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม โดยผู้รับจ้างต้องรับใช้เงิน ค่า
เสียหายแก่ผู้ว่าจ้าง หรือต้องทำการ
บูรณะซ่อมถนน หรือทำขึ้นใหม่ให้กลับคืนสภาพดังเดิมโดยเร็ว หากผู้รับ
จ้างเพิกเฉย หรือบิดพลิ้ว ไม่ดำเนินการดังกล่าวหรือ ผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับ
จ้างกระทำการล่าช้า ผู้ว่าจ้างจะเข้าดำเนินการดังกล่าวแทน โดยผู้รับจ้าง
จะต้องออกเงินค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งหมด หรือผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิก
สัญญาจ้างเสียก็ได้พร้อมทั้งมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอื่น ๆ ด้วย
10.7 ผู้รับจ้างจะต้องอำนวยความสะดวกในการจราจรใน
ระหว่างการก่อสร้างตลอดเวลา จะต้องติดตั้งเครื่องหมายจราจร
สัญญาณป้ องกันภัยต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ข้อบังคับ และตามคำ
สั่งของเจ้าพนักงานจราจรทุกประการ
10.8 ก่อนเริ่มงานผู้รับจ้างต้องเคลียร์อุปสรรคสิ่งกีดขวาง
หรือดินท้องคลองบริเวณที่จะก่อสร้างท่าเทียบเรือให้มีความลึกอย่างน้อย
2.00 เมตร จากระดับพื้นชานพัก โดยหลังจากก่อสร้างท่าเทียบเรือเสร็จ
หากระดับน้ำในคลองลดต่ำลงจนโป๊ ะคอนกรีตติดอุปสรรคหรือดินท้อง
คลอง ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องทำการเคลียร์อุปสรรคหรือปรับระดับดินใต้
โป๊ ะคอนกรีต เพื่อให้โป๊ ะคอนกรีตสามารถใช้งานได้ในสภาพปกติ
10.9 ผู้รับจ้างจะต้องทำการก่อสร้างให้ได้ขนาดและรูปทรงที่
ปรากฏอยู่ในแบบด้วยฝี มือดี ถ้าในแบบไม่ชัดเจนหรือไม่มี ถ้าหาก
จำเป็ นที่จะต้องทำเพื่อความปลอดภัยแข็งแรง และความเรียบร้อยของ
การก่อสร้างแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการตามความเห็นของผู้ควบคุม
งาน โดยไม่บิดพลิ้วและไม่คิดค่าก่อสร้างเพิ่มเติมแต่ประการใด
10.10 ผู้รับจ้างจะต้องมีมาตรการในการป้องกันฝุ่นหรือ
มลภาวะที่เหมาะสม โดยดำเนินการอย่างเป็ นรูปธรรมและถือปฏิบัติตาม

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
23
มาตรการนั้นอย่างเคร่งครัด ในการที่จะป้ องกันไม่ให้เกิดความเดือดร้อน
ต่อประชาชนบริเวณใกล้เคียง
10.11 เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนส่งมอบ
งานผู้รับจ้างจะต้องทำความสะอาดบริเวณสถานที่ก่อสร้างให้เรียบร้อย
10.12 ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าโรงงานก็ดี กองวัสดุก่อสร้างก็ดี
หรือการจอดรถก็ดี ผู้รับจ้างจะไม่กระทำให้กีดขวางการสัญจรของ
ประชาชน และยานพาหนะที่ผ่านไปมา
10.13 เมื่อเลิกงานแล้วผู้รับจ้างจะต้องเก็บเครื่องมือเครื่องใช้
เครื่องทุ่นแรง ยานพาหนะ และอุปกรณ์ก่อสร้างไว้ภายในที่กำหนดให้
เท่านั้น
10.14 งานก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) ให้ถือวัน
แล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อได้ทำการบ่มคอนกรีตครบ 7 วัน นับตั้งแต่วันงาน
เสร็จเรียบร้อย

11. ระยะเวลาดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง 200 วัน นับถัดจากวันที่ลง
นามในสัญญา

12. การส่งมอบงาน
ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 200
วัน โดยส่งมอบงานเป็ นงวดตามผลสำเร็จของงาน

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
24
13. ค่าจ้างและการจ่ายเงิน
13.1 กรุงเทพมหานครจะจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็ น
งวดงานตามรายการแบ่งงวดงาน
เมื่อกรุงเทพมหานครหรือเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครได้ทำการตรวจ
สอบผลงานที่ทำเสร็จแล้วว่าถูกต้องและเป็ นไปตามแบบรูปรายการ
ก่อสร้าง และสัญญาจ้างทุกประการ กรุงเทพมหานครจะออกหนังสือ
รับรองการรับมอบงานนั้นให้ไว้แก่ผู้รับจ้าง การจ่ายเงินงวดสุดท้ายจะ
จ่ายให้เมื่องานทั้งหมดตามสัญญาได้แล้วเสร็จทุกประการ
13.2 ผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างเมื่อผู้รับจ้างได้ส่ง
มอบงานที่ได้ปฏิบัติงานทั้งหมด
ให้แล้วเสร็จและถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา และคณะกรรมการตรวจรับ
พัสดุได้ตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว โดยแบ่งชำระการจ่ายเงินออกเป็ น 4
งวด ดังนี้
งวดที่ 1 เป็ นจำนวนเงินในอัตราร้อยละ 45 ของราคาค่าจ้าง
เมื่อผู้รับจ้างได้ปฏิบัติงานแล้วเสร็จสะสมร้อยละ 45 ของงานตามสัญญา
และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว
งวดที่ 2 เป็ นจำนวนเงินในอัตราร้อยละ 30 ของราคาค่าจ้าง
เมื่อผู้รับจ้างได้ปฏิบัติงานแล้วเสร็จสะสมร้อยละ 75 ของงานตามสัญญา
และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว
งวดที่ 3 เป็ นจำนวนเงินในอัตราร้อยละ 10 ของราคาค่าจ้าง
เมื่อผู้รับจ้างได้ปฏิบัติงานแล้วเสร็จสะสมร้อยละ 85 ของงานตามสัญญา
และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว
งวดที่ 4 (งวดสุดท้าย) เป็ นจำนวนเงินในอัตราร้อยละ 15
ของราคาค่าจ้าง เมื่อผู้รับจ้างได้ปฏิบัติงานแล้วเสร็จสะสมร้อยละ 100

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
25
ของงานตามสัญญา และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับงาน
เรียบร้อยแล้ว
อนึ่ง การจ่ายเงินงวดสุดท้ายจะจ่ายให้เมื่องานทั้งหมดตาม
สัญญาได้แล้วเสร็จทุกประการและคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจ
รับงานเรียบร้อยแล้ว และค่าใช้จ่ายในการทดสอบวัสดุ หรือค่าใช้จ่ายอื่น
ใดที่ได้เกิดขึ้นอันเกิดมาจากงานครั้งนี้ให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับ
จ้าง

14. วงเงินในการจัดหา
งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ด้าน
เมืองและการพัฒนาเมือง แผนงานจัดการจราจรและระบบขนส่ง
สาธารณะ ผลผลิตจัดการศาลาที่พักผู้โดยสาร รถโดยสารสาธารณะ ท่า
เทียบเรือ สาธารณะ และบริหารจัดการพื้นที่ให้สิทธิ งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์
ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง) รายการก่อสร้างท่าเทียบ
เรือ ม.นวมินทร์ เขตดุสิต จำนวนเงิน 8,600,000.00 บาท (แปดล้านหก
แสนบาทถ้วน)

15. การปรับ
หากผู้รับจ้างไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา ผู้รับจ้าง
ยินยอมจ่ายค่าปรับให้แก่กรุงเทพมหานคร ดังนี้
14.1 กรณีที่รับจ้างนำงานที่รับจ้างไปจ้างช่วงให้ผู้อื่นทำอีก
ทอดหนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ผู้ว่าจ้างจะกำหนดค่าปรับสำหรับการ
ฝ่ าฝื นดังกล่าวเป็ นจำนวนร้อยละ 10 (สิบ) ของวงเงินของงานจ้างช่วงนั้น
14.2 กรณีที่ผู้ว่าจ้างปฏิบัติผิดสัญญาจ้างก่อสร้าง นอกเหนือ
จากข้อ 14.1 จะกำหนดค่าปรับเป็ นรายวันเป็ นจำนวนเงินตายตัวใน
อัตราร้อยละ 0.10 ของราคางานจ้าง

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
26

16. การบังคับค่าปรับ ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่าย


ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่งด้วยเหตุใด
ๆ ก็ตามจนเป็ นเหตุให้เกิดค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายแก่ผู้ว่าจ้าง
ผู้รับจ้างต้องชดใช้ค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้แก่ผู้ว่า
จ้างโดยสิ้นเชิงภายใน 15 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็ นหนังสือจากผู้
ว่าจ้าง หากผู้รับจ้างไม่ชดใช้
ให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะหักเอาจาก
จำนวนเงินค่าจ้างที่ต้องชำระ หรือบังคับจากหลักประกันการปฏิบัติตาม
สัญญาได้ทันที
หากค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่าย ที่บังคับจากเงินค่าจ้าง
ที่ต้องชำระ เงินประกันผลงาน
หรือหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาแล้วยังไม่เพียงพอ ผู้รับจ้าง
ยินยอมชำระส่วนที่เหลือที่ยังขาดอยู่จนครบถ้วนตามจำนวนค่าปรับ ค่า
เสียหาย หรือค่าใช้จ่ายนั้นภายในกำหนด 15 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับ
แจ้งเป็ นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง

17. ความรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องของงานจ้าง
เมื่องานแล้วเสร็จสมบูรณ์ และผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจาก
ผู้รับจ้าง หากมีเหตุชำรุดบกพร่อง หรือเสียหายเกิดขึ้นจากงานจ้างนี้
ภายในกำหนด 2 ปี นัดถัดจากวันที่ได้รับมอบงานดังกล่าว ซึ่งความชำรุด
บกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของผู้รับจ้าง อันเกิดจาก
การใช้วัสดุไม่ถูกต้อง หรือทำไว้ไม่เรียบร้อย หรือทำไม่ถูกต้องตาม
มาตรฐานแห่งหลักวิชา ผู้รับจ้างจะต้องรีบดำเนินการแก้ไขให้เป็ นที่
เรียบร้อย โดยไม่ชักช้า ซึ่งผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนิน
การทั้งหมด และไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายดังกล่าวกับ

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
27
กรุงเทพมหานครได้ หากผู้รับจ้างบิดพลิ้วไม่กระทำการดังกล่าวภายใน
กำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็ นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง หรือไม่
กระทำการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนดเรียบร้อย ให้ผู้ว่า
จ้างมีสิทธิที่จะทำการนั้นเองหรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นโดยผู้รับจ้างต้อง
เป็ นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด

18. การปรับราคาค่างานก่อสร้าง
การปรับราคางานก่อสร้างตามสูตรราคา จะนำมาใช้ในกรณีที่ค่า
งานก่อสร้างลดลงหรือเพิ่มขึ้น
โดยวิธีการ ตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ สูตรและวิธีการคำนวณที่ใช้กับ
สัญญาแบบปรับราคาได้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม
2532 เรื่องการพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างตาม
หนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0203/ว 109 ลงวันที่
24 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2532
สูตรการปรับราคา (สูตรค่า K ) จะต้องคงที่ที่ระดับที่กำหนดไว้ใน
วันแล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้ในวันแล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
หรือภายในระยะเวลาที่กรุงเทพมหานคร ได้ขยายออกไป โดยจะใช้สูตร
ของทางราชการที่ได้ระบุไว้ในสัญญา

19. มาตรฐานฝี มือช่าง


เมื่อกรุงเทพมหานคร ได้คัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอรายใดให้เป็ นผู้รับ
จ้างและได้ตกลงจ้างก่อสร้างตามประกาศนี้แล้ว ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้อง
ตกลงว่าในการปฏิบัติงานก่อสร้างดังกล่าว ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีและ
ใช้ผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝี มือช่างหรือผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐาน
ฝี มือช่างจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานและทดสอบฝี มือแรงงาน
หรือสถาบันของราชการอื่น หรือสถาบันเอกชนที่ราชการรับรอง หรือผู้มี

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
28
วุฒิบัตรระดับ ปวช. ปวส. และ ปวท. หรือเทียบเท่าจากสถาบันการ
ศึกษาที่ กพ. รับรองให้เข้ารับราชการได้
ในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของแต่ละสาขาช่าง แต่จะต้องมีจำนวนช่าง
อย่างน้อย 1 คน ในแต่ละสาขาช่างดังต่อไปนี้
1. ช่างไม้ (ก่อสร้าง)
2. ช่างปูน
3. ช่างไฟฟ้ า
4. ช่างอื่น ๆ ที่จำเป็ นสำหรับใช้ในงานนี้

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- ฝ่ ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานระบบขนส่ง สำนักการจราจร
และขนส่ง กรุงเทพมหานคร
47 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร รหัส
ไปรษณีย์ 10400
- โทรศัพท์ 0 2354 1225

ลงชื่อ............................................ ประธานกรรมการ

(นายบุญสม สุวรรณปิ ฎกกุล)

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..
29

ลงชื่อ............................................ กรรมการ
(นายอาศิส เสวตครุธมัตร)

ลงชื่อ............................................ กรรมการ
(นายกฤษณะ สงชุม)

1. ………………………………………….. 2. ………………………………………….. 3.
…………………………………………..

You might also like