You are on page 1of 64

บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 57

บทที่ 2.

คุณสมบัตขิ องสารบริสุทธิ์

2.1 สารบริสุทธิ์และสถานะ1

สารบริสุทธ คือสารที่มีองคประกอบทางเคมีคงที่ (Fixed Chemical Composition) และเปนเนื้อ


เดียว (Homogeneous) ตลอดทั้งสารนั้น เชน น้ํา ไนโตรเจน ฮีเลียม คารบอนไดออกไซด เปนตน สารที่มี
องคประกอบทางเคมีคงที่หลายองคประกอบและเปนเนื้อเดียวกันก็ถือไดวาเปนสารบริสุทธิ์ดวยเชนกัน เชน
อากาศ ซึ่งถือไดวาเปนสารที่เปนเนื้อเดียวกันและมีแก็สหลายชนิดเปนองคประกอบดวยสัดสวนคงที่ จึงถือ
ไดวาอากาศเปนสารบริสุทธิ์

สารที่มีสวนผสมระหวางน้ําและน้ํามัน ไมถือเปนสารบริสุทธิ์เพราะน้ําและน้ํามันไมเปนเนื้อเดียวกัน
และมีองคประกอบทางเคมีไมเหมือนกัน

สารใดๆ ที่มีหลายสถานะแตมีองคประกอบทางเคมีในทุกสถานะเหมือนกันถือวาเปนสารบริสุทธิ์
เชน น้ําและน้ําแข็ง ถือเปนสารบริสุทธิ์เพราะองคประกอบทางเคมีของน้ําและน้ําแข็งเหมือนกันคือ H2O
ในขณะที่พิจารณาไดวา อากาศและละอองน้ําในอากาศไมเปนสารบริสุทธิ์เพราะองคประกอบทางเคมี
ระหวางอากาศและละอองน้ําในอากาศมีองคประกอบทางเคมีไมเหมือนกัน

สถานะของสารบริสุทธิ์แ บงไดเปน 3 สถานะตามแรงดึง ดูดระหวางโมเลกุลของสารคือ สถานะ


ของแข็ง สถานะของเหลว และ สถานะแก็ส รูปที่ 2.1 แสดงแผนภูมิกระบวนการเปลี่ยนสถานะและการ
วางตัวของโมเลกุลของสารในสถานะของแข็ง ของเหลว และ แก็ส

สารบริสุทธิ์ในสถานะของแข็ง มีระยะหางระหวางโมเลกุลนอยและมีแรงดึงดูดระหวางโมเลกุลสูง
ทําใหโมเลกุลแตละโมเลกุลไมสามารถเคลื่อนที่ไปยังตําแหนงตางๆ ไดโดยอิสระ แตยังสามารถเคลื่อนที่ได
โดยการสั่นอยูในขอบเขตที่จํากัด ความเร็วในการสั่นของโมเลกุลจะขึ้นกับอุณหภูมิของสารนั้น คือเมื่อสาร
บริสุทธิ์ในสถานะของแข็งมีอุณหภูมิสูงความเร็วในการสั่นของแตละโมเลกุลจะมีความเร็วสูง เมื่ออุณหภูมิ
58 เทอรโมไดนามิกส

ของสารสูงมากจะทําใหความเร็วในการสั่นสูงมากจนเอาชนะแรงดึงดูดระหวางโมเลกุลและทําใหโมเลกุล
แตละโมเลกุลแยกออกจากกัน ทําใหเกิดกระบวนการหลอมเหลว (Melting Process) ขึ้น ซึ่งจะทําให
ของแข็งเริ่มเปลี่ยนสถานะเปนของเหลว

รูปที่ 2.1 แผนภูมิกระบวนการเปลี่ยนสถานะ

และการวางตัวของโมเลกุลของสาร สถานะของแข็ง ของเหลว และ แก็ส

สารบริสุทธใ นสถานะของเหลว มีแ รงดึง ดูด ระหวางโมเลกุล นอยกวาสารบริสุทธิ์ ใ นสภาวะ


ของแข็ง ทําใหโ มเลกุลของของเหลวสามารถเคลื่อนที่ไ ด แรงดึง ดูด ระหวางโมเลกุลของสารบริสุทธิ์ใ น
สถานะของเหลวจะอยูในระดับทีก่ ารเคลือ่ นที่ของโมเลกุลหนึง่ มีอิทธิพลทําใหเกิดการเคลื่อนที่ของโมเลกุลที่
อยูขางเคียงได สารบริสุทธิ์โ ดยทั่วไปมีร ะยะหางระหวางโมเลกุล ในสถานะของเหลวมากกวาระยะหาง
ระหวางโมเลกุลในสถานะของแข็ง จึงทําใหสารนั้น เกิดการหดตัวหรือมีปริมาตรลดลงเมื่อสารนั้น เปลี่ยน
สถานะจากของของเหลวเปนของแข็ง ในขณะที่น้ําจะมีพฤติกรรมตรงขามคือระยะหางระหวางโมเลกุลของ
น้ําในสถานะของเหลวนอยกวาของแข็งจึงทําใหน้ําจะเกิดการขยายตัวหรือมีปริมาตรเพิ่มขึ้นเมื่อเปลี่ยน
สถานะจากของแข็งเปนของเหลว เมื่อสารในสถานะของเหลวมีอุณหภูมิสูงขึ้นจะทําใหแรงดึงดูดระหวาง
โมเลกุลลดลงจนทําใหเกิด การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเปนสถานะแก็ส กระบวนการที่ส ารเปลี่ยน
สถานะจากของเหลวเปนแก็สเรียกวา กระบวนการระเหย (Evaporation Process)
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 59

สารบริสุทธิ์ในสถานะแก็ส จะมีระยะหางระหวางโมเลกุลมากและมีแรงดึงดูดระหวางโมเลกุล
นอยมากจนทําใหแตละโมเลกุลของแก็สเคลื่อนที่อยางอิสระตอกันและเคลื่อนที่อยางไรทิศทาง ดวยเหตุผล
นี้จึงทําใหสารในสถานะแก็ส มีปริมาตรเทากับปริมาตรของภาชนะที่บรรจุเสมอ อยางไรก็ตามอาจเรียก
สถานะไอ (Vapor Phase) แทนสถานะแก็สไดดวยเชนกัน

ดังที่ไดกลาวไวในบทที่ 1 สารเมื่ออยูในสถานะแก็สจะมีพลังงานภายในสูงที่สุด รองลงมาคือสถานะ


ของเหลว และสถานะของแข็ง ตามลําดับ ดัง นั้น เมื่อสารในสถานะแก็ส สูญ เสียพลัง งานจะทําใหเกิ ด
กระบวนการเปลี่ยนสถานะเปนของเหลวเรียกกระบวนการนี้วา กระบวนการควบแนน (Condensation
Process) ในขณะที่สารในสถานะของเหลวสูญเสียพลังงานจนทําใหเกิดกระบวนการเปลี่ยนสถานะจาก
ของเหลวเปนของแข็งเรียกกระบวนการนี้วากระบวนการแข็งตัว (Freeze Process) ในบางกรณีจะพบวา
เกิดการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเปนสถานะแก็สในทันทีโดยไมผานสถานะของเหลว เชน การเปลี่ยน
สถานะของน้ําแข็งแหง (Dry Ice) เปนกาซคารบอนไดออกไซด เรียกกระบวนการนี้กวา กระบวนการ
ระเหิด (Sublimation Process) สําหรับกระบวนการที่แก็สเปลี่ยนสถานะเปนของแข็งโดยไมผานสถานะ
ของเหลวเลยเรียกวากระบวนการระเหิดกลับหรือกระบวนการควบแข็ง (Deposition Process)

การศึกษาสภาวะของสารบริสุทธิ์และปรากฏการณตางๆ ของการเปลี่ยนสถานะจะใช “น้ํา” เปน


ตัวแทนของสารบริสุทธิ์ในการศึกษาตลอดทั้งเอกสารนี้ อยางไรก็ตามสารบริสุทธิ์อื่นๆ ก็จะมีพฤติกรรมไม
แตกตางกับน้ําเชนกัน

2.2 สถานะของเหลวอัดตัว (Compressed Liquid) และของเหลวอิ่มตัว (Saturated Liquid)

น้ําในสภาวะบรรยากาศ เชน น้ําที่ความดัน 1 บรรยากาศ (1 atm) อุณหภูมิ 20 ๐C เปนน้ําในสถานะ


ของเหลว และเรียกสถานะของน้ํานี้วา สถานะของเหลวอัดตัว (Compressed Liquid) หรือ สถานะ
ของเหลวเย็น ยิ่ง (Subcooled Liquid) น้ําในสถานะนี้จะยังไมพรอมสําหรับการกลายเปน ไอ เมื่อน้ําใน
สถานะของเหลวอัด ตัวไดรับความรอนภายใตกระบวนการความดันคงที่ ทําใหอุณหภูมิ ปริมาตร และ
ปริมาตรจําเพาะ ของน้ํามีแนวโนมสูงขึ้น เมื่อใหความรอนกับน้ําอยางตอเนื่องจนกระทั่งน้ําเริ่มเดือดจะทํา
ใหน้ํ าบางสว นเหลา นี้ พร อมที่ จ ะกลายเป น ไอ เรียกสถานะของน้ําในสภาพที่มีน้ํ าบางส วนพรอมที่จ ะ
กลายเปน ไอวาสถานะของเหลวอิ่มตัว (Saturated Liquid) การใหความรอนแกน้ํา ภายใตกระบวนการ
60 เทอรโมไดนามิกส

ความดันคงที่อาจทําไดโดยการใหความรอนกับน้ําที่อยูภายในกระบอกสูบที่มีลูกสูบอิสระ เมื่อน้ําภายใน
กระบอกสูบไดรับความรอนจะทําใหอุณหภูมิและปริมาตรของน้ําเพิ่มขึ้น เมื่อปริมาตรของน้ําเพิ่มขึ้นก็จะทํ า
ใหเกิดการผลักดันลูกสูบอิสระใหเคลื่อนที่โดยปราศจากแรงตาน จึงทําใหน้ําภายในกระบอกสูบยังคงรักษา
ความดันใหคงที่ได รูปที่ 2.2 แสดงน้ําภายใตกระบวนการใหความรอนแบบความดันคงที่ จากสภาวะเริ่มตน
(สภาวะที่ 1) ความดัน 1 บรรยากาศ อุณหภูมิ 20๐C ในสถานะของเหลวอัดตัว จนกลายเปนน้ํามีอุณหภูมิ
เพิ่มขึ้นเปน 100 ๐C ความดัน 1 บรรยากาศ ในสถานะของเหลวอิ่มตัว ในสภาวะสุดทาย (สภาวะที่ 2)

รูปที่ 2.2 น้ําภายใตกระบวนการใหความรอนแบบความดันคงที่

จากสถานะของเหลวอัดตัวเปนสถานะของเหลวอิ่มตัว

2.3 สถานะของผสมอิ่มตัวและสถานะไออิ่มตัว

จากรูปที่ 2.2 ถาน้ําในสถานะของเหลวอิ่มตัวไดรับความรอนภายใตความดันคงที่อยางตอเนื่อง น้ํา


จะมีอุณหภูมิคงที่ในขณะที่มีปริมาตรเพิ่มขึ้น และจะเริ่มปรากฏวามีน้ําในสถานะของเหลวอิ่มตัวบางสวน
เปลี่ยนสถานะเปนสถานะไอ เรียกน้ําในสวนที่เปลี่ยนเปนสถานะไอวา ไออิ่มตัว (Saturated Vapor) ดังนั้น
ในขณะนี้จะปรากฏวาน้ําทั้งหมดในกระบอกสูบจะประกอบดวยสองสถานะคือของเหลวอิ่มตัวและไออิ่มตัว
และเรียกสถานะของน้ําทั้งหมดในกระบอกสูบวา สถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัว (Saturated
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 61

Liquid-Vapor Mixture) รูปที่ 2.3 แสดงน้ําภายใตกระบวนการใหความรอนแบบความดันคงที่จากสถานะ


ของเหลวอิ่มตัว (สภาวะที่ 2) เปนสถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัว (สภาวะที่ 3)

รูปที่ 2.3 น้ําภายใตกระบวนการใหความรอนแบบความดันคงที่

จากสถานะของเหลวอิ่มตัวเปนสถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัว

2.4 สถานะไอรอนยิ่งยวด

หากดําเนินกระบวนการใหความรอนแกน้ําในสถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัวดังรูปที่ 2.3
อยางตอเนื่อง จะทําใหน้ําในสวนที่เปนของเหลวอิ่มตัวคอยๆ ระเหยกลายเปนไอตอไป ทําใหน้ํามีปริมาตร
เพิ่มขึ้นในขณะที่อุณหภูมิคงที่จนกระทั่งน้ําในสถานะของเหลวอิ่มตัวระเหยกลายเปนไออิ่มตัวจนหมด และ
เมื่อกระบวนการใหความรอนแบบความดันคงที่ยังคงดําเนินตอไปอีกน้ําในสถานะไออิ่มตัวจะเปลี่ยนสถานะ
เปนสถานะไอรอนยิ่งยวด (Superheated Vapor) เมื่อกระบวนการใหความรอนแบบความดันคงที่ยังคง
ดําเนิน ตอไปอีก ในขณะที่น้ําอยูในสถานะไอรอนยิ่ง ยวดจะทําใหอุณหภูมิและปริมาตรของน้ํามีแ นวโน ม
เพิ่มขึ้น จากรูปที่ 2.4 แสดงน้ําภายใตกระบวนการใหความรอนความดันคงที่จากสภาวะเริ่มตน (สภาวะที่
3) สถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัวเปนสถานะไออิ่มตัว (สภาวะที่ 4) และเปนสภาวะสุดทาย (สภาวะ
ที่ 5) สถานะไอรอนยิ่งยวด ตามลําดับ
62 เทอรโมไดนามิกส

รูปที่ 2.4 น้ําภายใตกระบวนการใหความรอนแบบความดันคงที่

จากสถานะของผสมของเหลวเปนไออิ่มตัวเปนสถานะไออิ่มตัว

และเปนสถานะไอรอนยิง่ ยวด

2.5 อุณหภูมิอิ่มตัวและความดันอิ่มตัว

จากรูปที่ 2.2 ถึง รูปที่ 2.4 ดังอธิบายขางตนเปนการแสดงความสัมพันธระหวางอุณหภูมิ T และ


ปริมาตร V ของการเปลี่ยนสถานะของน้ําจากสถานะของเหลวเปนสถานะไอภายใตความดันคงที่ 1 atm ถา
พิจารณากระบอกสูบจากรูปทั้งหมดดังกลาวเปนระบบจะพบวาเปนระบบปดและทําใหสามารถพิจารณาได
วาน้ําภายในกระบอกสูบตลอดระยะเวลาของการเกิดกระบวนการทั้งหมดมีมวลคงที่ ดังนั้นจึงทําใหเสนทาง
การดําเนิน กระบวนการทั้งหมดจากสภาวะที่ 1 ดัง รูปที่ 2.2 จนถึงสภาวะที่ 5 ดังรูปที่ 2.4 จะมีรูปแบบ
เดียวกันหากแสดงดวยความสัมพันธระหวางอุณหภูมิ T และปริมาตรจําเพาะ v ดังแสดงในรูปที่ 2.5

จากรูปที่ 2.5 แสดงใหเห็นวาน้ําที่ความดันบรรยากาศ 1 atm (101.325 kPa) จะเดือดที่อุณหภูมิ


100๐C ทําใหในขณะที่น้ําเริ่มเดือดในสถานะเปนของเหลวอิ่มตัว(สภาวะที่ 2) กลายเปนของผสมของเหลว
และไออิ่มตัว(สภาวะที่ 3) จนในที่สุดเปนสถานะไออิ่มตัวทั้งหมด(สภาวะที่ 4) น้ําจะมีอุณหภูมิคงที่ เทากับ
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 63

100๐C เทากัน (T2 = T3 = T4 = 100๐C) ในขณะเดียวกันหากน้ํามีความดันสูงขึ้นเปน 500 kPa น้ําจะเดือดที่


อุณหภูมิ 151.9๐C ในขณะที่หากความดันของน้ําเทากับ 50 kPa น้ําจะเดือดที่อุณหภูมิ 81.33 ๐C เนื่องจาก
พิจารณาใหน้ําเปนตัวแทนของการศึกษาการเปลี่ยนสถานะของสารบริสุทธิ์ใดๆ ดังนั้นจึงอาจกลาวไดวา
อุณหภูมิและความดันของสารบริสุทธิ์ในขณะเดือดจะมีความสัมพันธตอกัน กลาวคือสารบริสุทธิ์จะเดือด
ที่อุณหภูมิสู ง ขึ้น เมื่อ ความดัน ของสารบริสุ ทธิ์สู ง ขึ้น และในทางกลับ กั น สารบริ สุทธิ์ จะเดือดที่
อุณหภูมิต่ําลงหากความดันของสารบริสุทธิ์ต่ําลง

รูปที่ 2.5 แผนภูมิ T-v สําหรับการเปลี่ยนสถานะ

จากของเหลวอัดตัว(สภาวะที่ 1) เปน สถานะไอรอนยิง่ ยวด (สภาวะที่ 5)

ภายใตกระบวนการความดันคงที่ 1 atm

อุณหภูมิที่ทําใหสารบริสุทธิ์เริ่มเดือดหรือเริ่มระเหยกลายเปนไอภายใตความดันที่พิจารณาเรียกวา
อุณหภูมิอิ่มตัว (Saturation Temperature) เชน น้ําที่ความดัน 100 kPa มีอุณหภูมิอิ่มตัวเทากับ 99.63 ๐C
น้ําที่ความดัน 50 kPa มีอุณหภูมิอิ่มตัวเทากับ 81.33 ๐C และ น้ําที่ความดัน 200 kPa มีอุณหภูมิอิ่มตัว
เทากับ 120.23 ๐C เปนตน อุณหภูมิอิ่มตัวของน้ําภายใตความดันตางๆ แสดงในตาราง A-5

ในทํานองเดียวกันความดันที่ทําใหสารบริสุทธิ์เริ่มเดือดหรือเริ่มระเหยภายใตอุณหภูมิที่พิจารณา
เรียกวา ความดัน อิ่มตัว (Saturation Pressure) เชน น้ําที่อุณ หภูมิ 100๐ C จะมีความดัน อิ่มตัวเทากับ
64 เทอรโมไดนามิกส

101.33 kPa น้ําที่อุณหภูมิ 80๐C มีความดันอิ่มตัวเทากับ 47.39 kPa และ น้ําที่อุณหภูมิ120๐C จะมีความ
ดันอิ่มตัวเทากับ 198.53 kPa เปนตน ความดันอิ่มตัวของน้ําภายใตอุณหภูมิตางๆ แสดงในตาราง A-4

จะเห็นไดวาสารบริสุทธิ์ที่มีความดัน สูงจะมีจุด เดือดสูง ขึ้นหรืออุณ หภูมิอิ่มตัวสูง ขึ้น ดวย ดัง นั้น


ในขณะเดือดของสารบริสุทธิ์อุณหภูมิและความดันจะเปนคุณสมบัติที่ขึ้นตอกันกลาวคือ

Tsat  f (Psat ) 2.1

โดยที่

Tsat แทน อุณหภูมิอิ่มตัว ๐C

Psat แทน ความดันอิ่มตัว ๐C

รูปที่ 2.6 แผนภูมิ T - v สําหรับการเปลี่ยนสถานะของน้ํา

ภายใตความดันคงทีต่ างๆ จากสถานะของเหลวอัดตัวเปนสถานะไอรานยิ่งยวด


Thermodynamics an Engineering Approach 2nd Edition, Yunus A. Cengel, McGraii-Hill, 1994.
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 65

รูปที่ 2.6 แสดงความสัมพันธระหวางอุณหภูมิ T และปริมาตรจําเพาะ v สําหรับการเปลี่ยนสถานะ


ของน้ําจากสถานะของเหลวอัดตัวเปนสถานะไอรอนยิ่งยวดภายใตกระบวนการความดันคงที่ตา งๆ ดังนั้นจึง
กล า วได ว า เส น ที่ ป รากฏภายใต ก ระบวนการความดั น คงที่ เ หล า นี้ คื อ เส น ความดั น คงที่ ภ ายใต
ความสัมพันธระหวางอุณหภูมิและปริมาตรจําเพาะที่ผานสถานะของเหลวอัดตัว ของผสมของเหลว
และไออิ่มตัว และ ไอรอนยิ่งยวด ของน้ํา สําหรับสารบริสุทธิ์อื่นๆ เสนความดันคงที่นี้จะมีแนวโนมและ
รูปแบบการวางตัวในลักษณะเดียวกัน

พิจารณาจากแผนภูมิ T-v ในรูปที่ 2.6 จะปรากฏสภาวะของเหลวอิ่มตัวและสภาวะไออิ่มตัวบนเสน


ความดันคงที่ตางๆ จนกระทั่งสภาวะของเหลวอิ่มตัวและสภาวะไออิ่มตัวเปนสภาวะเดียวกันบนเสนความ
ดันคงที่ 22.09 MPa โดยมีอุณหภูมิ 374.14 ๐C และปริมาตรจําเพาะ 0.003155 m3/kg กลาวไดวาใน
สภาวะนี้น้ําจะมีสภาพพรอมเปลี่ยนสถานะจากของเหลวอัดตัวเปนสถานะไอรอนยิ่งยวดในทันทีโดยจะไมมี
การเปลี่ยนสถานะเปนของผสมของเหลวอิ่มตัว และไออิ่มตัวเลย ซึ่ง จะเรียกจุด ที่ปรากฏบนแผนภูมิใ น
สภาวะนี้วา จุดวิกฤติ (Critical Point) สภาวะบนจุดวิกฤติเรียกวา สภาวะวิกฤติ (Critical State) และเรียก
คุณสมบัติตางๆ ภายใตสภาวะนี้วาคุณสมบัติวิกฤติ (Critical Properties) ดังนั้นจึงเรียก ความดัน อุณหภูมิ
และ ปริมาตรจําเพาะ ในสภาวะนี้วา ความดันวิกฤติ (Critical Pressure) แทนดวย Pcr อุณหภูมิวิกฤติ
(Critical Temperature) แทนดวย Tcr และ ปริมาตรจําเพาะวิกฤติ (Critical Specific Volume) แทนดวย vcr
ซึ่งน้ําจะมีความดันวิกฤติ Pcr = 22.09 MPa อุณหภูมิวิกฤติ Tcr = 374.14๐C และ ปริมาตรจําเพาะวิกฤติ vcr
= 0.003155 m3/kg ตาราง A-1 แสดงอุณหภูมิวิกฤติ และ ความดันวิกฤติ ของสารชนิดตางๆ

การใหความรอนที่ความดันคงที่แกสารบริสุทธิ์ ใ นสถานะของเหลวอัดตัวภายใตความดันสูงกวา
ความดันวิกฤติ (P > Pcr) ปริมาตรจําเพาะของสารมีแนวโนมเพิ่มขึ้น แตไมสามารถบงชี้เขตของการเปลี่ยน
สถานะจากสถานะของเหลวอัดตัวเปนไอรอนยิ่งยวดไดอยางชัดเจน อยางไรก็ตามในทางปฏิบัติจะยอมรับ
วาถาอุณหภูมิของสารบริสุทธิ์สูงกวาอุณหภูมิวิกฤติ (T > Tcr) ถือไดวามีสถานะเปนไอรอนยิ่งยวด และถา
อุณหภูมิของสารบริสุทธิ์ต่ํากวาอุณหภูมิวิกฤติ (T < Tcr) เปนสถานะของเหลวอัดตัว

การใหความรอนที่ความดันคงที่แกสารบริสุทธิ์ในสถานะของเหลวอัดตัวภายใตความดันที่ต่ํากวา
ความดันวิกฤติ (P< Pcr) อุณหภูมิและปริมาตรจําเพาะของสารบริสุทธิ์มีแนวโนมเพิ่มขึ้นจนกระทั่งเริ่มเดือด
66 เทอรโมไดนามิกส

หรือเริ่มมีสารบริสุทธิ์บางสวนกลายเปนไออิ่มตัวสารบริสุทธิ์เหลานั้นจะอยูในสถานะของเหลวอิ่มตัว เมื่อ
กระบวนการดําเนินตอไปอยางตอเนื่องจะพบวาสารบริสุทธิ์มีการระเหยของไออิ่มตัวอยางตอเนื่องทําให
สารบริสุทธิ์ใ นสวนที่มีสถานะเปน ของเหลวอิ่มตัวมีปริมาณลดลงโดยอุณ หภูมิของสารบริสุทธิ์คงที่แ ต
ปริมาตรจําเพาะมีแนวโนมเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง สารบริสุทธิ์มีสถานะเปนของผสมของเหลวและไออิ่มตัว
หากกระบวนการยังคงดําเนินตอไปอีกจะพบวาสารบริสุทธิ์ในสวนที่มีสถานะเปนของเหลวอิ่มตัวจะระเหย
กลายเปนไออิ่มตัวจนหมดทําใหสารบริสุทธิ์ทั้งหมดอยูในสถานะไออิ่มตัว เมื่อสารบริสุทธิ์ไดรับความรอน
แบบความดันคงที่ตอไปอีกจะทําใหสารบริสทุ ธิ์มีสถานะเปนไอรอนยิ่งยวดโดยอุณหภูมิและปริมาตรจําเพาะ
ของสารบริสุทธิ์มีแนวโนมสูงขึ้น จะเห็นไดวาหากสารบริสุทธิ์มีความดันต่ํากวาความดันวิกฤติ ขอบเขตของ
สถานะของสารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบดวย สถานะของเหลวอัดตัว สถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัว และ
สถานะไอรอนยิ่งยวด จะปรากฏใหเห็นอยางชัดเจนตามปรากฏการณการเปลี่ยนสถานะภายใตความดัน
คงที่ดังที่ตามที่ไดกลาวขางตน
1
ี่ > P
คงท
P2 =

ี่
คงท

Tsat @ P2
P1 =
ัว
อิ่มต

เสน

Tsat @ P1

ไออ
เหล

ิ่มตัว
ของ
เสน

รูปที่ 2.7 แผนภูมิ T-v ของสารบริสทุ ธิ์

จากรูปที่ 2.6 ถาทําการลากเสนเชื่อมระหวางสภาวะของเหลวอิ่มตัวภายใตเสนความดันคงที่ตางๆ


เรียกเสนนี้วา เสนของเหลวอิ่มตัว (Saturated Liquid Line) และเมื่อลากเสนเชื่อมสภาวะไออิ่มตัวภายใต
เสนความดันคงที่ตางๆ เรียกเสนนี้วา เสนไออิ่มตัว (Saturated Vapor Line) โดยที่จะเห็นไดวาเสนทั้งสอง
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 67

จะบรรจบกันที่จุดวิกฤติพอดี และเรียกเสนทั้งสองวา เสนอิ่มตัว (Saturated Line) ซึ่งทําใหสภาวะของสาร


บริสุทธิ์ที่อยูบนเสนของเหลวอิ่มตัวมีสถานะเปนของเหลวอิ่มตัวเสมอและสภาวะของสารบริสุทธิ์ที่อยูบน
เสนไออิ่มตัวมีสถานะเปนไออิ่มตัวเสมอ จึงทําใหเสนอิ่มตัวแบงเขตสถานะของสารระหวาง เขตสถานะ
ของเหลวอัดตัว เขตสถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัว และ เขตสถานะไอรอนยิ่งยวด อยางชัดเจน ดัง
แสดงในรูปที่ 2.7

จากรูปที่ 2.7 จะเห็นไดวาเสนความดันคงที่บนแผนภูมิ T-v ของสารบริสุทธิ์ เสนความดันคงที่ที่มี


คาสูงกวา (เสนความดันคงที่ P2 ) จะอยูเหนือเสนความดันคงที่ที่มีคาต่ํากวา (เสนความดันคงที่ P1 ) เสมอ
โดยที่อุณหภูมิอิ่มตัวภายใตความดัน P1 ( Tsat @ P1 ) นอยกวาอุณหภูมิอิ่มตัวภายใตความดัน P2 ( Tsat @ P2 ) อาจ
กลาวไดวาอุณหภูมิอิ่มตัวจะมีคามากขึ้นเมื่อสารบริสุทธิ์มีความดันสูงขึ้นเสมอ อุณหภูมิอิ่มตัวภายใตความ
ดัน P ตางๆ ของน้ํา Tsat @P สามารถหาไดจากตาราง A-5 ตามที่ไดกลาวมาแลวขางตน

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.1 จงหาอุณหภูมิของน้ําที่ทําใหน้ําภายใตความดันตอไปนี้เดือด

ก. ความดัน 20 kPa
ข. ความดัน 75 kPa
ค. ความดัน 125 kPa
ง. ความดัน 150 kPa
จ. ความดัน 200 kPa

วิธีทํา

น้ําภายใตความดันตางๆ จะเดือดเมื่อมีอุณหภูมิเทากับอุณหภูมิอิ่มตัว หาไดจากตาราง A-5 ดังนี้

คําตอบขอ ก ข ค ง จ
ความดัน kPa 20 75 125 150 200

อุณหภูมิอมิ่ ตัว C 60.06 91.76 105.97 111.35 120.21
ตอบ
68 เทอรโมไดนามิกส

จากผลลัพธทั้งหมดพบวาเมื่อน้ํามีความดันสูงขึ้นทําใหอุณหภูมิอิ่มตัวของน้ําสูงขึ้นดวยหรืออาจ
กลาวไดวาน้ําจะเดือดที่อุณหภูมิสูงขึ้นหากน้ํามีความดัน สูงขึ้น กลาวคือ Tsat  f(P) หรืออาจพิจ ารณา
ในทางกลับกันไดวา น้ําภายใตอุณหภูมิ 60.06๐C 91.76๐C 105.97๐C 111.35๐C และ 120.21๐C จะเดือดที่
ความดัน 20kPa 75kPa 125kPa 150kPa และ 200kPa ตามลําดับ

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.2 จงหาความดันของน้ําที่ทําใหน้ําภายใตอุณหภูมิตอไปนี้เดือด

ก. อุณหภูมิ 60๐C
ข. อุณหภูมิ 90๐C
ค. อุณหภูมิ 105๐C
ง. อุณหภูมิ 110๐C
จ. อุณหภูมิ 120๐C

วิธีทํา

น้ําภายใตอุณหภูมิตางๆ จะเดือดเมื่อความดันของน้ําเทากับความดันอิ่มตัว หาไดจาก ตาราง A-4


ดังนี้

คําตอบขอ ก ข ค ง จ

อุณหภูมิ C 60 90 105 110 120
ความดันอิ่มตัว kPa 19.947 70.183 120.9 143.38 198.67
ตอบ

จากผลลัพธทั้งหมดสามารถกลาวไดวาน้ําที่อุณหภูมิสูงจะมีความดันอิ่มตัวสูงขึ้นดวยซึ่งแสดงให
เห็น วา Psat  f (T ) ซึ่ง แสดงวาน้ําที่ อุณ หภูมิสูง ขึ้น จะเดือดที่ค วามดัน สูง ขึ้น หรืออาจพิจ ารณาในทาง
กลับกันไดวา น้ําภายใตความดัน 19.947kPa 70.183kPa 120.9kPa 143.38kPa และ 198.67kPa จะเดือด
ที่อุณหภูมิ 60๐C 90๐C 105๐C 110๐C และ 120๐C ตามลําดับ
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 69

พิจารณาตัวอยางที่ 2.1 และ ตัวอยางที่ 2.2 รวมกันจะเห็นไดอยางชัดเจนวาความดันอิ่มตัวและ


อุณหภูมิอิ่มตัวจะขึ้นตอกันเสมอ คือ Psat  f( Tsat )

---------------------------------------------------------------------------

2.6 การบงชี้สถานะของสารดวยแผนภูมิ T-v

P3
P2 =
P1 =
T2  Tsat@P

รูปที่ 2.8 การบงชี้สถานะของสารบริสุทธิ์ ดวยแผนภูมิ T-v

เมื่อทราบความดัน P และอุณหภูมิ T ของสารบริสุทธิ์สามารถบงชี้สถานะของสารบริสุทธิ์นั้นได


ดวยการพิจารณาจากแผนภูมิ T-v โดยเทียบอุณหภูมิ T ของสารกับอุณหภูมิอิ่มตัวที่ความดันเดียวกับสาร
บริสุทธิ์นั้น Tsat @P กลาวคือ

1. สารอยูในสถานะของเหลวอัดตัว อุณหภูมิของสารนอยกวาอุณหภูมิอิ่มตัวของสารที่ความ
ดันเดียวกันเสมอ ตัวอยางเชน สภาวะที่ 1 รูปที่ 2.8 T1  Tsat @ P
2. สารอยูในสถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัว อุณหภูมิของสารเทากับอุณหภูมิอิ่มตัวที่
ความดันเดียวกันเสมอ ตัวอยางเชน สภาวะที่ 2 ดังรูปที่ 2.8 T2  Tsat @P
3. สารอยูในสถานะของไอรอนยิ่งยวด อุณหภูมิของสารมากกวาอุณหภูมิอิ่มตัวของสารที่ความ
ดันเดียวกันเสมอ ตัวอยางเชน สภาวะที่ 3 ดังรูปที่ 2.8 T3  Tsat @P
70 เทอรโมไดนามิกส

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.3 จงบงชี้สถานะของน้ําภายใตสภาวะ อุณหภูมิและความดันตอไปนี้

ก. T = 20๐C P = 100 kPa


ข. T=150๐C P = 200 kPa
ค. T=124๐C P = 225 kPa
ง. T = 110๐C P = 200 kPa

วิธีทํา

ก. พิจารณา T = 20๐C P = 100 kPa จากตาราง A-5 ที่ความดัน 100 kPa อุณหภูมิอิ่มตัวคือ
Tsat @ P 100kPa  99.63 o C วิเคราะหสถานะบนแผนภูมิ T-v ไดดังนี้

Tsat @ P100kPa  99.63 o C

น้ําที่สภาวะ T = 20๐C P = 100 kPa มีสถานะเปนของเหลวอัดตัว ตอบ ก

ข. พิจารณา T = 150๐C P = 200 kPa จากตาราง A-5 ที่ความดัน 200 kPa อุณหภูมิอิ่มตัวคือ
Tsat @ P  200kPa  120.23 o C วิเคราะหสถานะบนแผนภูมิ T-v ไดดังนี้
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 71

Tsat @ P 200 kPa  120.23 o C

น้ําที่สภาวะ T = 150๐C P = 200 kPa มีสถานะเปนไอรอนยิ่งยวด ตอบ ข

ค. พิจารณา T = 124๐C P = 225 kPa จากตาราง A-5 ที่ความดัน 225 kPa อุณหภูมิอิ่มตัวคือ
Tsat @ P  225kPa  124 o C วิเคราะหสถานะบนแผนภูมิ T-v ไดดังนี้

Tsat @ P 225 kPa  124 o C

น้ําที่สภาวะ T = 124๐C P = 225 kPa มีสถานะเปนของผสมของเหลวและไออิ่มตัว ตอบ ค

ง. พิจารณา T = 110๐C P = 200 kPa จากตาราง A-5 ที่ความดัน 200 kPa อุณหภูมิอิ่มตัวคือ
Tsat @ P  200kPa  120.23 o C วิเคราะหสถานะบนแผนภูมิ T-v ไดดังนี้
72 เทอรโมไดนามิกส

Tsat @ P  200 kPa  120 . 23 o C P=200kPa



110 C

น้ําที่สภาวะ T = 110๐C P = 200 kPa มีสถานะเปนของเหลวอัดตัว ตอบ ง

---------------------------------------------------------------------------

เมื่อทราบปริมาตรจําเพาะ v ของสาร จะทําใหสามารถบงชี้สถานะของสารนั้นไดดวยการพิจารณา


บนแผนภูมิ T-v โดยเทียบปริมาตรจําเพาะ v ของสารที่พิจารณากับปริมาตรจําเพาะของสารในสภาวะ
ของเหลวอิ่มตัว vf และปริมาตรจําเพาะของสารในสภาวะไออิ่มตัว vg ที่ความดันเดียวกัน กลาวคือ

1. สารอยูในสถานะของเหลวอัดตัว ปริมาตรจําเพาะของสารนอยกวาปริมาตรจําเพาะของสาร
ในสถานะของเหลวอิ่มตัวที่ความดันเดียวกัน ตัวอยางเชน สภาวะที่ 1 ดังรูปที่ 2.8 v1 <vf
2. สารมี สถานะของผสมของเหลวและไออิ่ ม ตัว ปริม าตรจํา เพาะของสารมีค า มากกว า
ปริมาตรจําเพาะของสารในสถานะของเหลวอิ่มตัวแตนอยกวา ปริมาตรจําเพาะของสารใน
สถานะไออิ่มตัวที่ความดันเดียวกัน ตัวอยางเชน สภาวะที่ 2 ดังรูปที่ 2.8 vf < v2 < vg
3. สารอยูในสถานะไอรอนยิ่งยวด ปริมาตรจําเพาะของสารมากกวาปริมาตรจําเพาะของสาร
ในสถานะไออิ่มตัวที่ความดันเดียวกัน ตัวอยางเชน สภาวะที่ 3 ดังรูปที่ 2.8 v3 > vg

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.4 จงบงชี้สถานะของน้ําภายใตสภาวะตอไปนี้

ก. P=200 kPa v = 0.0001 m3/kg


ข. P=200 kPa v = 0.5 m3/kg
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 73

ค. P = 200 kPa v = 1.0 m3/kg

ที่ความดัน 200 kPa น้ํามีปริมาตรจําเพาะในสถานะของเหลวอิ่มตัวและไออิ่มตัว ดังนี้ตามลําดับ vf


= 0.001061 m3/kg vg = 0.8857 m3/kg ดังนั้น

ก. พิจารณาที่ P=200 kPa v = 0.0001 m3/kg ที่ความดันที่ P=200 kPa เห็นไดวา v < vf
ดังนั้นน้ํามีสถานะเปนของเหลวอัดตัว ตอบ ก
ข. พิจารณาที่ P=200 kPa v = 0.5 m3/kg ที่ความดันที่ P=200 kPa เห็นไดวา vf < v < vg
ดังนั้นน้ํามีสถานะเปนของผสมของเหลวและไออิ่มตัว ตอบ ข
ค. พิจารณาที่ P=200 kPa v = 1.0 m3/kg ที่ความดันที่ P=200 kPa เห็นไดวา v > vg ดังนั้นน้ํา
มีสถานะเปนไอรอนยิ่งยวด ตอบ ค

---------------------------------------------------------------------------

2.7 แผนภูมิความดันและปริมาตรจําเพาะของสารบริสุทธิ์

แผนภูมิความดันและปริมาตรจําเพาะเปนอีกแผนภูมิหนึ่ง ที่มีความเหมาะสมสําหรับ การวิเคราะห


สภาวะของสารบริสุทธิ์ โดยแผนภูมินี้จะพิจารณาความสัมพันธระหวางความดันและปริมาตรจําเพาะของ
สารภายใต ก ระบวนการอุ ณ หภู มิ ค งที่ ต า งๆ ดั ง นั้ น จะปรากฏ เส น อุ ณ หภู มิ ค งที่ ในแผนภู มิ นี้ การ
เปลี่ยนแปลงความดันและปริมาตรของสารแบบอุณหภูมิคงที่สามารถทําไดโดยทําการปรับความดันและ
ปริมาตรของสารภายในกระบอกสูบดวยการใชแรงผลักดันลูกสูบใหเคลื่อนที่จนทําใหสารมีระดับความดัน
และปริมาตรตามที่ตองการในขณะเดียวกันอาศัยกระบวนการถายเทความรอนจากสิ่งแวดลอมเพื่อรักษา
อุณหภูมิของสารภายในกระบอกสูบใหมีคาคงที่ตลอดระยะเวลาในการทดลอง เนื่องจากกระบอกสูบเปน
ระบบปดสารภายในกระบอกสูบจึงมีมวลคงที่ (m = คงที่) ไมเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการปรับปริมาตรของสาร
ภายในกระบอกสูบจึงทําใหปริมาตรจําเพาะของสารเปลี่ยนแปลงไปดวย (v = V/m) ตามปริมาตรของสารที่
เปลี่ยนไปนั้น การเปลี่ยนแปลงความดันและปริมาตรของสารโดยควบคุมใหอุณหภูมิคงที่ดังกลาวขางตน
แสดงดังรูปที่ 2.9
74 เทอรโมไดนามิกส

P vs v
T = คงที่

รูปที่ 2.9 การเปลี่ยนแปลงความดันและปริมาตรของสาร

ภายใตกระบวนการอุณหภูมิคงที่

การทดลองดังรูปที่ 2.9 เพื่อสังเกตความสัมพัน ธระหวางความดันและปริมาตรจําเพาะของสาร


เมื่อสถานะของสารเริ่มตนเปนของเหลวอัดตัวภายใตกระบวนการอุณหภูมิคงที่ เมื่อใหการทดลองดําเนิน
อยางตอเนื่องจนกระทั่งสารนั้นอยูในสถานะไอรอนยิ่งยวดจะพบวา

รูปที่ 2.10 แผนภูมิ P-v ของสารบริสุทธิ์

1. สารอยูในสถานะของเหลวอัดตัว เมื่อความดันของสารลดลงปริมาตรจําเพาะของสารจะมี
แนวโนมเพิ่มขึ้นจนกระทั่งเขาสูสถานะของเหลวอิ่มตัว
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 75

2. สารอยูในสถานะของผสมของเหลวและไออิ่ม ตัว เมื่อความดันของสารจะคงที่ในขณะที่


ปริมาตรจําเพาะจะมีแนวโนมเพิ่มขึ้นจนกระทั่งสารอยูในสถานะไออิ่มตัว
3. สารอยูในสถานะไอรอนยิ่งยวด เมื่อความดันของสารจะมีแนวโนมลดลงในขณะที่ปริมาตร
จําเพาะมีแนวโนมเพิ่มขึ้น

ผลที่ไดจากการทดลองดังกลาวทําใหไดความสัมพันธระหวางความดันและปริมาตรจําเพาะของ
สารภายใตอุณหภูมิคงที่ตางๆ ซึ่งจะทําใหเกิดแผนภูมิ P-v ดังรูปที่ 2.10 จากรูปแสดงใหเห็นวาบนแผนภูมิ
P-v เสนอุณหภูมิคงที่ที่มีคาสูง (เสนอุณหภูมิคงที่ T2) จะวางตัวอยูเหนือเสน อุณหภูมิคงที่ที่มีคาต่ํากวา
(เสนอุณหภูมิคงที่ T1) เสมอ รูปแบบและการวางตัวของเสนอุณหภูมิคงที่ดังรูปที่ 2.10 แสดงใหเห็นวาความ
ดั น อิ่ ม ตั ว ภายใต อุ ณ หภู มิ สู ง จะมี ค า สู ง กว า ความดั น อิ่ ม ตั ว ภายใต อุ ณ หภู มิ ที่ ต่ํ า กว า เสมอ กล า วคื อ
Psat @ T2  Psat @ T1

การบงชี้สถานะของสารดวยแผนภูมิ P-v เมื่อทราบอุณหภูมิ T และความดัน P มีแนวทางพิจารณา


ตอไปนี้

1. สารอยูในสถานะของเหลวอัดตัว ความดันของสารมีคามากกวาความดันอิ่มตัวของ
สารนั้นที่อุณหภูมิเดียวกัน P  Psat @ T ตัวอยางเชน สภาวะที่ 1 P1  Psat @ T แสดงดังรูป
ที่ 2.11
2. สารอยูใ นสถานะของผสมของเหลวและไออิ่ม ตัว ความดัน ของสารมีคา เทากับ
ความดัน อิ่มตัวของสารนั้นที่อุณหภูมิเดียวกัน P  Psat @ T ตัวอยางเชน สภาวะที่ 2
P2  Psat @ T แสดงดังรูปที่ 2.11
3. สารอยูในสถานะไอรอนยิ่งยวด ความดันของสารมีคานอยกวาความดันอิ่มตัวของ
สารนั้นที่อุณหภูมิเดียวกัน P  Psat @ T ตัวอยางเชน สภาวะที่ 3 P3  Psat @ T แสดงดังรูป
ที่ 2.11
76 เทอรโมไดนามิกส

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.5 จงหาสถานะของน้ําดวยแผนภูมิ P-v ภายใตสภาวะเดียวกับตัวอยางที่ 2.1 กลาวคือ

ก. T = 20๐C P = 100 kPa


ข. T=150๐C P = 200 kPa
ค. T=124๐C P = 225 kPa
ง. T = 110๐C P = 200 kPa

วิธีทํา

ก. พิจารณา T = 20๐C P = 100 kPa จากตาราง A-4 Psat @ T 20 o C  2.339 kPa ดังนั้น
P

P = 100 kPa
Psat@T20o C  2.339kPa
T=
20 ๐
C

v
จะเห็นวาสภาวะที่พิจารณามีสถานะเปนของเหลวอัดตัว ตอบ ก
ข. พิจารณา T = 150๐C P = 200 kPa จากตาราง A-4 Psat @ T 150o C  475.8 kPa ดังนั้น
P

Psat @ T  150 o C  475 .8 kPa


T=
P = 200 kPa 150 ๐
C

v
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 77

จะเห็นวาสภาวะที่พิจารณามีสถานะเปนไอรอนยิ่งยวด ตอบ ข

ค. พิจารณา T = 124๐C P = 225 kPa จากตาราง A-4 จะเห็นวาไมปรากฏขอมูลของคุณสมบัติ


น้ําอิ่มตัวที่อุณหภูมิ 124 ๐C ในตาราง แตปรากฏที่อุณหภูมิ 120๐C และ 125๐ C ตามลําดับ
ดังนั้นจะทําการประมาณความดันอิ่มตัวที่อุณหภูมิ 124 ๐C ( Psat @ T 124 o C ) โดยอาศัยความดัน
อิ่มตัวที่อุณหภูมิ 120๐C ( Psat @ T 120o C ) และ ความดันอิ่มตัวที่อุณหภูมิ 125 ๐C ( Psat @ T 125o C )
โดยสมมติฐ านใหค วามสั มพัน ธ ร ะหว างอุณ หภูมิแ ละความดัน อิ่ มตัวในชวงที่พิจ ารณานี้ มี
ความสัมพันธเปนเสนตรง ดังนี้

T ( ๐C) Psat (kPa)


120 198.53
124 y
125 232.1

จากรูปสมมติให y แทน Psat @ T 124 o C เนื่องจากสมมติใหความสัมพันธระหวาง Psat และ T


เปน แบบเสน ตรง จึง ทําใหความชัน ของความสัมพัน ธต ลอดทั้ง ชวงการพิจ ารณานี้จึง คงที่
กลาวคือ
232.1  198.53 y  198.53
ความชัน  
125  120 124  120

จากสมการขางตนจะได y = 225.385 ดังนั้น Psat @ T 124 C  225 kPa จากแผนภูมิ P-v จะได
o
78 เทอรโมไดนามิกส

Psat @ T  124 o C  P  225 kPa


T=
1 24 ๐
C

จะเห็นวาสภาวะที่พิจารณามีสถานะเปนของผสมของเหลวและไออิ่มตัว ตอบ ค
ง. พิจารณา T = 110๐C P = 200 kPa จากตาราง A-4 Psat @ T 110 C  143.27 kPa ดังนั้น
o

Psat @ T 110 o C  143 .27 kPa

จะเห็นวาสภาวะที่พิจารณามีสถานะเปนของเหลวอัดตัว ตอบ ง
ในการบงชี้สถานะของสารเมื่อทราบอุณ หภูมิแ ละความดัน อาจใชแผนภูมิ P-v ในการ
วิเคราะหสถานะดัง แสดงในตัวอยางนี้ หรือใชแผนภูมิ T-v ในการวิเคราะหส ถานะดังเชน
ตัวอยางที่ 2.1 ก็ส ามารถทําไดเชน เดียวกัน เมื่อศึก ษาตัวอยางนี้จ นเขาใจแลวควรกลับไป
ทบทวนความเขาใจในตัวอยางที่ 2.1 อีกครั้งจะทําใหผูศึกษามีความเขาใจมากยิ่งขึ้น
จาก ขอยอย ค จะเห็น ไดวาคุณ สมบัติที่ใ ชอางอิง สําหรับการพิจารณามีคาอยูร ะหวาง
ขอมูลที่แ สดงในตาราง จากตัวอยางนี้ไดแ สดงการประมาณคาคุณ สมบัติดังกลาวดวยการ
สมมติฐานใหความสัมพันธระหวางชวงของขอมูลในตารางมีความสัมพันธเปนเสนตรง ซึ่งทําให
ความชันของความสัมพันธตลอดทั้งชวงของขอมูลที่พิจารณาคงที่ จึงทําใหสามารถวิเคราะห
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 79

คุณสมบัติที่มีคาอยูระหวางขอมูลในตารางได วิธีการประมาณคาดัง กลาวเรียกวา วิธีการ


ประมาณเชิงเสนตรง (Linear Interpolation) ความแมนยําของวิธีการนี้ขึ้นกับปริมาณขอมูลที่
ปรากฏในตารางและความละเอียดของชวงระหวางขอมูลที่พิจารณา

---------------------------------------------------------------------------

เมื่อทราบปริมาตรจําเพาะ v ของสาร จะทําใหสามารถบงชี้สถานะของสารนั้นไดดวยการพิจารณา


บนแผนภูมิ P-v โดยเทียบปริมาตรจําเพาะ v ของสารที่พิจารณากับปริมาตรจําเพาะของสารในสภาวะ
ของเหลวอิ่มตัว vf และปริมาตรจําเพาะของสารในสภาวะไออิ่มตัว vg ที่อุณหภูมิเดียวกันได โดยอาศัย
หลักการตอไปนี้

1. สารอยูในสถานะของเหลวอัดตัว ปริมาตรจําเพาะของสารนอยกวาปริมาตรจําเพาะของสาร
ในสถานะของเหลวอิ่มตัวที่อุณหภูมเิ ดียวกัน ตัวอยางเชน สภาวะที่ 1 ดังรูปที่ 2.11 v1 < vf
2. สารมีสถานะของผสมของเหลวและไออิ่ม ตัว ปริมาตรจําเพาะของสารจะมีคาระหวาง
ปริมาตรจําเพาะของสารในสถานะของเหลวอิ่มตัวและปริมาตรจําเพาะของสารในสถานะไอ
อิ่มตัวที่อุณหภูมเิ ดียวกัน ตัวอยางเชน สภาวะที่ 2 ดังรูปที่ 2.11 vf < v2 < vg
3. สารอยูในสถานะไอรอนยิ่งยวด ปริมาตรจําเพาะของสารมากกวาปริมาตรจําเพาะของสาร
ในสภาวะไออิ่มตัวที่อุณหภูมเิ ดียวกัน ตัวอยางเชน สภาวะที่ 3 ดังรูปที่ 2.11 v3 > vg

P2  Psat@T

รูปที่ 2.11 การบงชี้สถานะของสารบริสทุ ธิ์ดวยแผนภูมิ P-v


80 เทอรโมไดนามิกส

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.6 จงหาสถานะของน้ํา อุณหภูมิ 20๐C และมีปริมาตรจําเพาะตอไปนี้

ก. v = 0.00100 m3/kg
ข. v = 10 m3/kg
ค. v = 60 m3/kg

วิธีทํา

จากตาราง A-4 น้ําที่อุณ หภูมิ 20 ๐C ในสภาวะของเหลวอิ่มตัวและไออิ่มตัวมีปริมาตรจําเพาะ


ตามลําดับดังนี้ vf = 0.001002 m3/kg vg=57.79 m3/kg ดังนั้น

ก. v = 0.00100 m3/kg < vf แสดงวามีสถานะเปนของเหลวอัดตัว ตอบ ก


ข. vf < v = 10 m3/kg < vg แสดงวามีสถานะเปนของผสมของเหลวและไออิ่มตัว ตอบ ข
ค. v = 60 m3/kg > vg แสดงวามีสถานะเปนไอรอนยิ่งยวด ตอบ ค

---------------------------------------------------------------------------

หากจําแนกสารบริสุทธิ์ตามการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของสารเมื่อเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเปน
ของแข็งจะจําแนกไดเปน 2 ประเภทคือ

1. สารบริสุทธิ์ที่เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเปนของเหลวแลวหดตัวหรือมีปริมาตรลดลง ถือไดวา
เปนพฤติกรรมของสารบริสุทธิ์สวนใหญ แผนภูมิ P-v ในมุมมอง 2 มิติ แสดงเขตของสถานะตางๆ ของสาร
บริสุทธิ์ประเภทนี้แสดงดัง รูปที่ 2.12

2. สารบริสุทธิ์เมื่อเปลี่ยนสถานะเปน ของแข็ง แลวขยายตัวหรือปริมาตรเพิ่มขึ้น เชน น้ํา สาร


บริสุทธิ์ที่มีพฤติกรรมในลักษณะนี้จะพบไดเปนสวนนอย หากพิจารณาน้ําจํานวนหนึ่งมีมวลคงที่หากน้ํา ที่
พิจารณานี้แข็งตัวปริมาตรของน้ําจะมากขึ้น ซึ่งสง ผลใหน้ําที่พิจารณามีความหนาแนนลดลงเมื่อแข็งตัว
ดังนั้นจึงพบวาความหนาแนนของน้ําแข็งจึงมีคานอยกวาน้ําในสถานะของเหลว ทําใหพบวาน้ําแข็งสามารถ
ลอยน้ําได แผนภูมิ P-v ในมุมมอง 2 มิติ แสดงเขตของสถานะตางๆ ของสารบริสุทธิ์ประเภทนี้แสดงดัง รูป
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 81

ที่ 2.13 โดยเสนประระหวางเขตสถานะของผสมของแข็งและของเหลว (Solid-Liquid Phase) และ สถานะ


ของแข็ง แทน เสนที่มองไมเห็น (Hidden Line) ซึ่งแสดงวาเมื่อสารเริ่มเปลี่ยนสถานะเปนของแข็งปริมาตร
ของสารจะเพิ่มขึ้น

เขตของผสมของแข็งและของเหลว
เขตของเหลวอัดตัว
เขตของแข็ง

รูปที่ 2.12 แผนภูมิ P-v ของสารบริสุทธิ์ที่หดตัวเมื่อเปลีย่ นสถานะเปนของแข็ง

เสนรวมสาม (Triple Line) ดังรูปที่ 2.12 และ รูปที่ 2.13 คือเสนที่บงชี้วาหากสภาวะของสารอยูบน


ตําแหนงใดๆ ของเสนนี้แสดงวาสารนั้นจะประกอบดวย สถานะของแข็ง สถานะของเหลว และ สถานะไอ
ทั้ง 3 สถานะไดอยางสมดุล เนื่องจากการวางตัวของเสนรวมสามแสดงวาความดันและอุณหภูมิของสภาวะ
ใดๆ บนเสนรวมสามจะมีคาเทากันเสมอแมสารนั้นจะมีสภาวะที่แตกตางกัน ก็ตาม แตปริมาตรจําเพาะจะ
แตกตางกันหากสภาวะของสารแตกตางกันออกไป ความดันและอุณหภูมิของสารบนเสนรวมสามเรียกวา
ความดันรวมสาม (Triple Pressure) และ อุณหภูมิรวมสาม (Triple Temperature)

จากแผนภูมิ P-v ดังรูปที่ 2.12 และ รูปที่ 2.13 จะสังเกตไดวาปรากฏการณการเปลี่ยนสถานะของ


สารจากสถานะของแข็งเปนสถานะไอเกิดขึ้นไดใน 2 กรณีคือ

กรณีที่ 1 สารในสถานะของแข็ง หลอมละลายกลายเปน สถานะของเหลวโดยผานเขตของผสม


ของแข็งและของเหลว และสารในสถานะของเหลวระเหยกลายเปนไอโดยผานเขตของผสมของเหลวและไอ
อิ่มตัว ปรากฏการณในกรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความดันของสารมีคาสูงกวาความดันรวมสาม
82 เทอรโมไดนามิกส

กรณีที่ 2 สารในสถานะของแข็งระเหิดกลายเปนสถานะไอ โดยผานเขตสถานะของผสมของแข็ง


และไอ (Solid-Vapor Phase) ปรากฏการณนี้จะเกิดขึ้นไดเมื่อความดันของสารต่ํากวาความดันรวมสาม

เขตของผสมของแข็งและของเหลว

เขตของเหลวอัดตัว
เขตของแข็ง

รูปที่ 2.13 แผนภูมิ P-v ของสารบริสุทธิ์ที่ขยายตัวเมื่อเปลี่ยนสถานะเปนของแข็ง (เชน น้ํา)

2.8 แผนภูมิความดันและอุณหภูมขิ องสารบริสุทธิ์

แผนภูมิ P-T ของสารบริสุทธิ์แสดงดังรูปที่ 2.14 จะเห็นไดวาแผนภูมินี้เขตสถานะทั้งสามของสาร


ถูกแบบออกจากกันดวยเสน 3 เสน อยางชัดเจน จนทําใหอาจเรียกแผนภูมินี้วา แผนภูมิสถานะ (Phase
Diagram) เสนทั้ง 3 เสนประกอบดวย

เสนที่ 1 เสนการระเหิด (Sublimation Line) คือ เสนที่แบงเขตสถานะของแข็งกับสถานะไอรอน


ยิ่งยวด

เสนที่ 2 เสนการหลอมเหลว (Melting Line) คือเสนที่แบงเขตสถานะของแข็งกับสถานะของเหลว

เสนที่ 3 เสนการระเหย (Vaporization Line) คือเสนที่แบงเขตสถานะของเหลวและสถานะไอรอน


ยิ่งยวด
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 83

รูปที่ 2.14 แผนภูมิ P-T ของสารบริสุทธิ์

เสนทั้ง 3 ดังรูปจะบรรจบกันที่ จุดรวมสาม (Triple Point) คือจุดที่สารปรากฏสถานะของแข็ง


สถานะของเหลว และ สถานะไอ อยูใ นสภาวะสมดุลพรอมกันทั้งสามสถานะ ดังนั้นอาจกลาวไดวาสภาวะ
ของสารบนจุดรวมสามคือสภาวะใดๆ บนเสนรวมสามนั่นเอง เพราะสภาวะบนเสนรวมสามมีความดันและ
อุณหภูมิคงที่ ดังนั้นจึงปรากฏเปนจุดบนแผนภูมิ P-T และจุดวิกฤติจะปรากฏที่ปลายของเสนการระเหย

2.9 แผนภูมิความดัน ปริมาตรจําเพาะ และ อุณหภูมิ

แผนภูมิ P-v-T คือแผนภูมิที่เกิดจากแผนภูมิ P-v และแผนภูมิ T-v วางตัวตั้งฉากซึ่งกันและกัน


โดยมีแกนปริมาตรจําเพาะเปนแกนรวม ทําใหปรากฏความสัมพันธระหวางคุณสมบัติ ความดัน ปริมาตร
จําเพาะ และ อุณหภูมิ ของสารขึ้น ดังรูปที่ 2.15 แสดงแผนภูมิ P-v-T ของสารประเภทหดตัวเมื่อเปลี่ยน
สถานะเปนของแข็ง และ รูปที่ 2.16 แสดงแผนภูมิ P-v-T ของสารประเภทขยายตัวเมื่อเปลี่ยนสถานะเปน
ของแข็ง
84 เทอรโมไดนามิกส

รูปที่ 2.15 แผนภูมิ P-v-T ของสารประเภทหดตัวเมื่อเปลี่ยนสถานะเปนของแข็ง


Thermodynamics an Engineering Approach 2nd Edition, Yunus A. Cengel, McGraii-Hill, 1994.

รูปที่ 2.16 แผนภูมิ P-v-T ของสารประเภทขยายตัวเมื่อเปลี่ยนสถานะเปนของแข็ง


Thermodynamics an Engineering Approach 2nd Edition, Yunus A. Cengel, McGraii-Hill, 1994.

การพิจารณาเขตสถานะของสารบนแผนภูมินี้จะพบวา เขตสถานะเดียว คือสถานะของแข็ง สถานะ


ของเหลว และ สถานะไอรอนยิ่งยวด จะอยูบนพื้นผิวโคงของแผนภูมิ และเขตสถานะมากกวา 1 สถานะ จะ
ปรากฏบนพื้นผิวที่ตั้งฉากกับระนาบ P-T
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 85

อยางไรก็ตามเมื่อวิเคราะหสภาวะของสารหรือวิเคราะหกระบวนการทางเทอรโมไดนามิกสมักนิยม
ใชแผนภูมิแบบมุมมอง 2 มิติ เชน แผนภูมิ P-v หรือ แผนภูมิ T-v เนื่องจากการใชคุณสมบัติที่ไมขึ้นกับ
ขนาดและเปนคุณสมบัติที่ไมขึ้นตอกัน 2 ชนิด มีความเพียงพอตอการระบุสภาวะทางเทอรโมไดนามิกสของ
สารไดอยางสมบูรณแลว

2.10 ตารางคุณสมบัติของสาร

ตารางคุณสมบัติของสารและตารางอางอิงอื่นๆ ตลอดจนแผนภูมิ และ ขอมูลอางอิงตางๆ ที่จําเปน


ตลอดทั้งเอกสารนี้จะอางอิงจากภาคผนวกของหนังสือ Thermodynamics an Engineering Approach 2nd
Edition, Yunus A. Cengel, McGraw-Hill, 1994 เปนหลัก จากที่ไดกลาวไวขางตนการศึกษาคุณสมบัติของ
สารบริสุทธิ์ตลอดทั้งเอกสารนี้จะใช “น้ํา” เปนตัวแทนในการศึกษา ตารางแสดงคุณสมบัติของน้ําที่สําคัญ
ประกอบดวยตารางดังตอไปนี้

ตาราง A-4 (TABLE A-4) แสดงคุณสมบัติของน้ําในสภาวะของเหลวอิ่มตัวและสภาวะไออิ่มตัวของ


น้ํา ภายใตอุณหภูมิตางๆ

ตาราง A-5 (TABLE A-5) แสดงคุณสมบัติของน้ําในสภาวะของเหลวอิ่มตัวและสภาวะไออิ่มตัว


ของน้ํา ภายใตความดันตางๆ

ตาราง A-6 (TABLE A-6) แสดงคุณสมบัติของน้ําในสภาวะไอรอนยิ่งยวด ภายใตอุณหภูมิและ


ความดันตางๆ

ตาราง A-7 (TABLE A-7) แสดงคุณสมบัติของน้ําในสภาวะของเหลวอัดตัว ภายใตอุณหภูมิและ


ความดันตางๆ

ตาราง A-8 (TABLE A-8) แสดงคุณสมบัติของน้ําในสภาวะของแข็งอิ่มตัวและสภาวะไออิ่มตัว


ภายใตอุณหภูมิตางๆ

ตารางและขอมูลตางๆ ที่อางอิงดวยหนวย SI จะอยูในสวนครึ่งแรกของภาคผนวก สวนครึ่งหลัง


ของภาคผนวกตารางและขอมูลตางๆ จะอางอิงดวยหนวยอังกฤษ (English) และจะบงบอกดวยอักษรอี
86 เทอรโมไดนามิกส

ตัวพิพมใหญ (E) วางไวทายชื่อตารางหรือแผนภูมิ แทน การอางอิงคาตางๆ ดวยหนวยอังกฤษ เชน ตาราง


A-4E (TABLE A-4E) ตาราง A-5E (TABLE A-5E) เปนตน ตารางชื่อเดียวกันที่อางอิงดวยหนวย SI และ
อางอิงดวยหนวยอังกฤษจะเปนตารางเดียวกันจะมีความแตกตางกันเฉพาะหนวยที่ใชเทานั้น เชน

ตารางในหนวย SI

ตาราง A-4 (TABLE A-4) ตารางคุณสมบัติของน้ําในสภาวะของเหลวอิ่มตัวและสภาวะไออิ่มตัว


ของน้ํา ภายใตอุณหภูมิตางๆ

ตารางในหนวยอังกฤษ

ตาราง A-4E (TABLE A-4E) ตารางคุณสมบัติของน้ําในสภาวะของเหลวอิ่มตัวและสภาวะไออิ่มตัว


ของน้ํา ภายใตอุณหภูมิตางๆ

2.11 เอนทาลป (Enthalpy)

ถาพิจารณากอนสสารที่กําลังเคลื่อนที่ผานขอบเขตของระบบเขาสูระบบดังรูปที่ 2.17 จะทําให


ระบบไดรับพลัง งานในรูปพลังงานภายใน (U) ของกอนสสารนั้น ในขณะเดียวกันขณะที่กอนสสารนั้น
เคลื่อนที่เขาสูระบบกอนสสารนั้นยังคงใหงานเนือ่ งจากการผลักดันตัวเองใหเคลือ่ นตัวเขาสูร ะบบดวย งานที่
กอนสสารใชในการเคลื่อนตัวเขาสูระบบนี้เรียกวา งานเนื่องจากการไหล (Flow Work) เอนทาลป (H) คือ
คุณสมบัติของสารที่รวมอิทธิพลของพลังงานภายในกับงานเนื่องจากการไหลของสารนั้น กลาวคือ

H  U  Wflow 2.2

งานเนื่องจากการไหล (Wflow) ที่ทําใหกอนสสารความยาว L เคลื่อนเขาไปในระบบดวยแรง F คือ


Wflow  FxL ดังนั้น

H  U  FL
หากนําพื้นที่หนาตัดของสาร (A) หาร F และคูณกับ L ในสมการขางตนจะได
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 87

F
H U  LxA 
A
H  U  PV 2.3

โดยที่

P แทน ความดันของสารที่เคลื่อนที่เขาหรือออกจากระบบ [Pa]

V แทน ปริมาตรของสารที่เคลื่อนที่เขาหรือออกจากระบบ [m3]

รูปที่ 2.17 พลังงานภายในและงานเนื่องจากการไหล

จากสมการที่ 2.3 สามารถกลาวไดวางานเนื่องจากการไหลเปนคุณสมบัติเพราะงานเนื่องจากการ


ไหลอยูภายในความสัมพัน ธร ะหวางความดั น และปริมาตรของสารที่เคลื่อนที่เขาหรือ ออกจากระบบ
เหลานั้นคือ Wflow  PV และทําใหสามารถพิจารณาไดวาเอนทาลปเปนคุณสมบัติดวยเชนกัน

เอนทาลปเปนคุณสมบัติที่ขึ้นกับขนาดเนื่องจากพลังงานภายใน U และปริมาตร V เปนคุณสมบัติที่


ขึ้น กับขนาดและอิทธิพลตอเอนทาลปดวยดังแสดงในสมการที่ 2.3 เอนทาลปใ นรูปตอหนวยมวลอาจ
เรียกวาเอนทาลปจําเพาะ (Specific Enthalpy) แสดงดังนี้
H U PV
h  
m m m
88 เทอรโมไดนามิกส

h  u  Pv 2.4

โดยที่

h แทน เอนทาลปตอหนวยมวล [J/kg]

2.12 การหาคุณสมบัติของสารในสถานะของเหลวอิ่มตัวและสถานะไออิ่มตัว

การบงชี้ส ภาวะของสารใดๆ สามารถทําไดโ ดยการกําหนดคุณ สมบัติที่ไมขึ้นกับขนาดและเปน


คุณสมบัติที่ไมขึ้นตอกันของสารนั้น 2 ชนิดขึ้นไป สารในสถานะของเหลวอิ่มตัวสภาวะของสารจะอยูบนเสน
ของเหลวอิ่มตัว ในขณะที่สารในสถานะไออิ่มตัวสารนั้นจะมีสภาวะอยูบนเสนไออิ่มตัวเสมอ คุณสมบัติของ
น้ําในสถานะของเหลวอิ่มตัวและสถานะไออิ่มตัวแสดงในตาราง A-4 และตาราง A-5 คุณสมบัติตางๆ ใน
ตารางทั้งสองอธิบายไดดังตอไปนี้

ตาราง A-4 แสดงคุณสมบัติของน้ําในสถานะของเหลวอิ่มตัวและสถานะไออิ่มตัว ภายใตอุณหภูมิ


อิ่มตัวของน้ําตางๆ จากตารางนี้ทําใหเห็นไดวาความดันอิ่มตัว (Psat) จะขึ้นกับอุณหภูมิอิ่มตัวเสมอกลาวคือ
Psat = f(Tsat) นอกจากนี้ยังแสดงถึงคุณสมบัตขิ องน้ําในสถานะอิ่มตัวอื่นๆ ดวยคือ ปริมาตรจําเพาะ พลังงาน
ภายใน เอนทาลป และ เอนโทรป (Entropy) ตามลําดับ สําหรับความหมายของเอนโทรปจะอธิบายในอันดับ
ตอไป

ตาราง A-5 แสดงคุณสมบัติของน้ําในสถานะของเหลวอิ่มตัวและสถานะไออิ่มตัว ภายใตความดัน


อิ่มตัวของน้ําตางๆ พิจารณาจากตารางนี้จะเห็นไดวาอุณหภูมิอิ่มตัว จะขึ้นกับความดันอิ่มตัวของน้ําเสมอ
กลาวคือ Tsat = f(Psat) นอกจากนี้ยังแสดงคุณสมบัติของน้ําในสถานะอิ่มตัวอื่นๆ ด วยคือ ปริมาตรจําเพาะ
พลังงานภายใน เอนทาลป และ เอนโทรป (Entropy) ตามลําดับ เชนเดียวกับตาราง A-4

ตัวหอย f ตัวหอย g และตัวหอย fg ที่ปรากฏอยูทายสัญลักษณแทนคุณสมบัติตางๆ ในตาราง


ทั้งสองมีความหมายแทน สภาวะของเหลวอิ่มตัว สภาวะไออิ่มตัว และ ผลตางระหวางคุ ณสมบัติน้ําใน
สถานะของไออิ่มตัวและคุณสมบัติเดียวกันในสถานะของเหลวอิ่มตัว ตามลําดับ ตัวอยางเชน

vf แทน ปริมาตรจําเพาะของน้ําในสถานะของเหลวอิ่มตัว [m3/kg]


บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 89

vg แทน ปริมาตรจําเพาะของน้ําในสถานะไออิ่มตัว [m3/kg]

ufg แทน u  ug  u f ภายใตอุณหภูมิอิ่มตัวเดียวกัน (ตาราง A-4) หรือภายใตความดัน อิ่มตัว


เดียวกัน (ตาราง A-5)

hfg แทน h  h g  h f ดังแสดงในตาราง A-4 และ ตาราง A-5 แปลความหมายไดวาคือพลังงานที่


ทําใหน้ํา 1 หนวยมวลเปลี่ยนสถานะจากของเหลวอิ่มตัวเปนสถานะไออิ่มตัว ภายใตอุณหภูมิคงที่คา
หนึ่ง (ตาราง A-4) หรือความดันคงที่คาหนึ่ง (ตาราง A-5) จากความหมายดังกลาวทําให hfg ถูก
เรียกวา เอนทาลปของการกลายเปนไอ (Enthalpy of Vaporization)

ในการหาคุณสมบัติของน้ําในสถานะอิ่มตัวจาก ตาราง A-4 และ ตาราง A-5 สามารถใชแทนกัน


ได อยางไรก็ตามเพื่อลดความยุงยากในการใชงานในกรณีที่ทราบอุณหภูมิของน้ําและตองการหาคุณสมบัติ
อื่นๆในสถานะอิ่มตัวควรเลือกใช ตาราง A-4 เพราะตาราง A-4 อางอิงอุณหภูมิอิ่มตัวของน้ําเปนหลัก
ในทางกลับกันกรณีที่ทราบความดันของน้ําและตองการหาคุณสมบัติอิ่มตัวอื่นๆ ควรใชตาราง A-5 เพราะ
ตาราง A-5 อางอิงความดันอิ่มตัวของน้ําเปนหลัก

2.13 การหาคุณสมบัติของสารในสถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัว

สารบริสุทธิ์ในสถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัวจะประกอบดวย สารบางสวนที่อยูในสถานะ
ของเหลวอิ่ม ตัว และสารบางสว นอยู ใ นสถานะไออิ่ม ตัว ที่ ความดัน และอุณ หภู มิเ ดียวกัน ในการหา
คุณสมบัติของสารในสถานะนี้จําเปนที่จะตองทราบถึงอัตราสวนระหวางมวลของสารในสวนที่เปนไออิ่มตัว
และมวลทั้งหมดของสารที่พิจารณานั้น อัตราสวนดังกลาวเรียกวา คาคุณภาพ (Quality) กลาวคือ
m vapor
x 2.5
m total

โดยที่

X แทน คาคุณภาพ
90 เทอรโมไดนามิกส

mvapor แทน มวลของสารในสวนที่เปนไออิ่มตัว [kg]

mtotal แทน มวลของสารในสถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัวทั้งหมด [kg]

มวลของสารในสถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัวทั้งหมดประกอบดวยมวลของสารในสวนที่มี
สถานะเปนไออิ่มตัวและมวลของสารในสวนที่มีสถานะเปนของเหลวอิ่มตัว หากแทนมวลของสารในสวนที่
เปนไออิ่มตัวดวย mg มวลของสารในสวนที่เปนของเหลวอิ่มตัว แทนดวย mf และมวลทั้งหมดของสารใน
สถานะของผสมของเหลวและไออิ่มตัวแทนดวย m ดังนั้น m total  m  m vapor  m liquid  m g  m f

หากพิจารณาสมการที่ 2.5 จะเห็นไดวาคาคุณภาพจะมีคาอยูระหวาง 0 ถึง 1 ( 0  x  1 ) กลาวคือ


ถาของผสมอิ่มตัวมีสถานะเขาใกลของเหลวอิ่มตัวหมายถึงมีมวลในสวนที่เปนของเหลวอิ่มตัวมากและมีมวล
ในสวนที่เปนไออิ่มตัวนอยมาก ( m g  0 ) จะทําใหคาคุณภาพเขาใกล 0 ( x  0 ) ในทางกลับกันถาของ
ผสมอิ่มตัวมีสถานะเขาใกลไออิ่มตัว ( m g  m total ) จะทําใหคาคุณภาพเขาใกล 1 ( x  1 ) เสมอ

รูปที่ 2.18 แสดงปริมาตรของสารในสถานะของผสมอิ่มตัว ซึ่งประกอบดวยปริมาตรของสารในสวน


ที่มีสถานะเปนของเหลวอิ่มตัว Vf และปริมาตรของสารในสวนที่เปนไออิ่มตัว Vg ดังนั้นปริมาตรของสาร
ทั้งหมดคือ

V  Vf  Vg

mv  m f v f  m g v g

แต m f  m  m g ดังนั้น

mv  (m  m g )v f  m g v g

m m
v   1  g v f  g v g
 m m
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 91

รูปที่ 2.18 ปริมาตรของสารในสถานะของผสมอิ่มตัว


mg
แต x  และ v fg  v g  v f ดังนั้น
m
v  v f  xv fg 2.6

สมการที่ 2.6 แสดงใหเห็ น วาปริมาตรจําเพาะของสารในสถานะของผสมอิ่มตั วจะขึ้น กับ ค า


คุณภาพ x ปริมาตรจําเพาะของของเหลวอิ่มตัว vf และ ปริมาตรจําเพาะของไออิ่มตัว vg ที่อุณหภูมิและ
ความดันเดียวกัน พิจารณาในทํานองเดียวกันสามารถแสดง พลังงานภายใน u และ เอนทาลป h ของสาร
ในสถานะของผสมอิ่มตัวไดดังตอไปนี้

u  u f  xu fg 2.7

h  h f  xh fg 2.8

เนื่องจากคาคุณภาพ x มีคาระหวาง 0 ถึง 1 ดังนั้นจากสมการที่ 2.6 สมการที่ 2.7 และ สมการที่


2.8 จะเห็นวาปริมาตรจําเพาะ v พลังงานภายในจําเพาะ u และ เอนทาลป h ของสารในสถานะของผสม
ของเหลวและไออิ่ม ตัวจะมีค าอยูร ะหวา ง v f  v  v g u f  u  u g และ h f  h  h g ตามลําดั บ ที่
อุณหภูมิและความดันเดียวกันเสมอ

ที่อุณ หภูมิและความดัน เดียวกัน สารจะมีส ถานะเปน ของเหลวอัด ตัวเมื่อ v  v f u  u f และ


h  h f และสารจะมีสถานะเปนไอรอนยิ่งยวดเมื่อ v  v g u  u g และ h  h g เสมอ
92 เทอรโมไดนามิกส

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.7 แท็งกคงรูปบรรจุน้ํามวล 10 kg อุณหภูมิ 90๐C มีน้ําในสถานะของเหลว 8 kg นอกนั้นเปน


สถานะไอ จงหา

ก. ความดันของน้ําภายในแท็งก
ข. ปริมาตรของแท็งก
ค. พลังงานภายในของน้ําในแท็งก
ง. เอนทาลปของน้ําในแท็งก

วิธีทํา

จากโจทยน้ําบรรจุในแท็งกคงรูปมวล 10 kg แบงออกเปนสถานะของเหลว 8 kg ดังนั้นจึงมีสถานะ


ไอ 2 kg ทําใหสามารถกลาวไดวาน้ําในแท็งกมีสถานะเปนของผสมของเหลวและไออิ่มตัว แสดงดังรูป

Psat @ T 90 o
C  70.14 kPa

คาคุณภาพของน้ําคือ
mg 2
x   0 .2
m 10
จากตาราง A-4 น้ําอุณหภูมิ 90๐C ได Psat @ T  90 C = 70.14 kPa vf = 0.001036 m3/kg vg=2.361
o

m3/kg uf =376.85 kJ/kg ug=2494.5 kJ/kg hf=376.92 kJ/kg และ hg=2660.1 kJ/kg ดังนั้นเนื่องจากน้ํามี
สถานะเปนของผสมของเหลวและไออิ่มตัวดังนั้น ความดันของน้ํา คือ
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 93

P  Psat @ T  90 o C  70.14 kPa ตอบ ก

ปริมาตรจําเพาะของน้ํา คือ v  v f  xv fg  0.001036  0.2 x(2.361  0.001036)  0.473 m3/kg

ปริมาตรของน้ําในแท็งก คือ V = mv = 10x0.473 = 4.73 m3 ตอบ ข

พลังงานภายในจําเพาะของน้ํา คือ u  u f  xu fg  376.85  0.2 x(2494.5  376.85)  800.38 kJ/kg

พลังงานภายในของน้ํา คือ U = mu = 10 x 800.38 = 8003.8 kJ ตอบ ค

เอนทาลปจําเพาะของน้ํา คือ h  h f  xh fg  376.92  0.2 x(2660.1  376.92)  833.556 kJ/kg

เอนทาลปของน้ํา คือ H = mh = 10 x 833.556 = 8335.56 kJ ตอบ ง

ปริมาตรของน้ําใน ขอยอย ข อาจพิจารณาไดดังนี้คือ เนื่องจากน้ํามีสถานะเปนของผสมของเหลว


และไออิ่มตัว ดังนั้นปริมาตรของน้ําจึงเทากับผลรวมของปริมาตรน้ําในสวนของเหลวอิ่มตัวและปริมาตรน้ํา
ในสวนไออิ่มตัวได การวิเคราะหพลังงานภายในและเอนทาลปก็สามารถพิจารณาดวยหลักการดังกลาวใน
ทํานองเดียวกันไดเชนกัน ดังนั้น

V  m f v f  m g v g  8x0.001036  2 x 2.361  4.73 m3

U  m f u f  m g u g  8x376.85  2 x2494.5  8003.8 kJ

H  m f h f  mg h g  8x376.92  2 x2660.1  8335.56 kJ

ขอใหสังเกตุความสัมพันธระหวางเอนทาลปและพลังงานภายในตามดังที่แสดงในสมการที่ 2.3
กลาวคือ H = U + PV ดังนั้น H = 8003.8 + 70.14x4.73 = 8335.56 kJ ซึ่งเห็นไดวาการวิเคราะหเอนทาล
ปจากสมการที่ 2.3 และการหาเอนทาลปโดยการใชตารางคาที่ไดจะไมแตกตางกัน

---------------------------------------------------------------------------
94 เทอรโมไดนามิกส

2.14 การหาคุณสมบัติของสารในสถานะไอรอนยิ่งยวด

อุณหภูมิและความดันของสารบริสุทธิ์ในสถานะไอรอนยิ่งยวดเปนคุณสมบัติที่ไมขึ้นตอกันและทั้ง
สองเปนคุณสมบัติที่ไมขึ้นกับขนาด ดังนั้นอุณหภูมิและความดันสามารถใชในการระบุสภาวะของสารใน
สถานะไอรอนยิ่งยวดได ตลอดจนใชอางอิงในการหาคุณสมบัติอื่นๆ ไดเชนกัน ตาราง A-6 แสดงคุณสมบัติ
ของน้ําในสถานะไอรอนยิ่งยวดที่อุณหภูมิตางๆ ในแตละคาความดัน โดยเริ่มตั้ง แตคุณสมบัติของน้ําใน
สถานะไออิ่มตัวที่ความดันนั้นๆ

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.8 จงหาปริมาตรจําเพาะของน้ําในสภาวะตางๆ ตอไปนี้

ก. P = 1 MPa T = 250 ๐C
ข. P = 1.1 MPa T = 300 ๐C
ค. T = 300 ๐C h = 3000 kJ/kg

วิธีทํา

ก. พิจารณาน้ําสภาวะ P = 1 MPa T = 250 ๐C จากตาราง A-5 Tsat @ P 1MPa  179.91 ๐C


ดังนั้นมีสถานะเปนไอรอนยิ่งยวดแสดงดังแผนภูมิ T-v ดังรูป

Tsat @ P 1.0 MPa  179 .91 o C

จากตาราง A-6 ที่ P = 1 MPa T = 250 ๐C จะได v = 0.2327 m3/kg ตอบ ก


บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 95

ข. พิจารณาน้ําสภาวะ P = 1.1 MPa T = 300 ๐C จากตาราง A-4 Psat @ T 300 C  8.581 MPa ๐

ดังนัน้ มีสถานะเปนไอรอนยิ่งยวดแสดงดังแผนภูมิ P-v ดังรูป

T = 300๐C
Psat @ T  300 o
C  8 .581 MPa
P = 1.1 MPa

v v
v m3/kg
น้ําที่ T = 300 ๐C
P (MPa) v (m3/kg) 0.2579
1 0.2579
y
1.1 y
1.2 0.2138
0.2138

1.0 1.1 1.2 P MPa

จากตาราง A-6 น้ําที่อุณหภูมิ 300 ๐C ความดัน 1.1 MPa อยูระหวางความดัน 1 MPa และ 1.2
MPa ดังนั้นการหาปริมาตรจําเพาะที่ความดัน 1.1 MPa จะตองใชวิธีการประมาณเชิงเสนตรง โดยความชัน
ของเสนตรงดังรูปคือ
0.2138  0.2579 y  0.2138
ความชัน  
1.2  1.0 1.1  1.2
y = 0.2358

ปริมาตรจําเพาะที่สภาวะ P = 1.1 MPa T = 300 ๐C เทากับ v = y = 0.2358 m3/kg ตอบ ข

ค. พิจารณาน้ําสภาวะ T = 300 ๐C h = 3000 kJ/kg จากตาราง A-4 ที่อุณหภูมิ 300 ๐C จะได

hf = 1372.4 kJ/kg และ hg = 2738.7 kJ/kg จะได h  h g ดังนั้นสถานะของน้ําเปนไอรอนยิ่งยวด


จากตาราง A-6 พบวาที่อุณหภูมิ 300๐C h = 3000 kJ/kg มีคาอยูระหวาง h = 3008.8 kJ/kg
และ h = 2993.5 kJ/kg ดังนั้นการหาปริมาตรจําเพาะของน้ําที่สภาวะ T = 300 ๐C h = 3000
kJ/kg จึงตองใชวิธกี ารประมาณเชิงเสน ดังรูป
96 เทอรโมไดนามิกส

น้ําที่ T = 300๐C
h (kJ/kg) v (m3/kg)
3008.8 0.09890
3000.0 y
2993.5 0.08114

0.09890  0.08114 y  0.08114


ความชัน  
3008.8  2993.5 3000  2993.5
y = 0.0887

ปริมาตรจําเพาะที่สภาวะ T = 300 ๐C h = 3000 kJ/kg เทากับ v = y = 0.0887 m3/kg ตอบ ค

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.9 ไอน้ําอิ่มตัวภายในแท็งกคงรูปมีอุณหภูมิ 200๐C ไดรับความรอนจนมีอุณหภูมิเปน 250๐C


แสดงดังรูป จงหาปริมาตรของแท็งกและความดันของน้ําภายหลังจากไดรับความรอน

วิธีทํา

น้ําในสภาวะเริ่มตนกอนไดรับความรอนมีอุณหภูมิ T1 = 200๐C มีสถานะเปนไอน้ําอิ่มตัว ดังนั้น


ปริ ม าตรจํ าเพาะและความดั น ของน้ํ าในสภาวะเริ่ มต น คื อ v 1  v g @ T 200 C และ P1  Psat @ T 200 C
o o
1 1

ตามลําดับ จากตาราง A-4 ที่อุณหภูมิ 200๐C จะได v1 = 0.12736 m3/kg และ P1 = 1.5538 MPa

เนื่องจากน้ําในสภาวะเริ่มตนมีสถานะเปนไออิ่มตัว ดังนั้นปริมาตรของน้ําจึงเทากับปริมาตรของ
แท็งกคือ
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 97

Vtan k  V1  mv 1  10x0.12736  1.2736 m3 ตอบ

กําหนดแท็งกใหเปนแท็งกคงรูป ดังนั้นทําใหปริมาตรของแท็งกคงที่เสมอ (Vtank= คงที่) และหาก


พิจารณาใหภายในแท็งกทั้งหมดเปนระบบจะถือไดวาภายในแท็งกเปนระบบปด ดังนั้นน้ําที่อยูภายในแท็งก
จึงมีมวลคงที่ (m = คงที่) จากสาเหตุนี้จึงทําใหปริมาตรจําเพาะของน้ําภายในแท็งกคงที่ดวย (v = v1 = v2)
กลาวคือ

Vtan k
v  v1  v 2   0.12736 m3/kg
m
ดังนั้นในสภาวะหลังจากไดรับความรอนแลว (สภาวะที่ 2) T2 = 250๐C และ v2 = 0.12736 m3/kg
จากตาราง A-4 ที่อุณหภูมิ 250๐C จะได vf = 0.001251 m3/kg vg = 0.05013 m3/kg เห็นไดวา v2 > vg
ดังนั้นน้ําในสภาวะที่ 2 มีสถานะเปนไอรอนยิ่งยวด

จากตาราง A-6 ที่อุณหภูมิ 250๐ C ปริมาตรจําเพาะ v2 อยูระหวางปริมาตรจําเพาะ 0.14184


m3/kg และ 0.12497 m3/kg ดังนั้นการหาความดันของน้ําที่สภาวะที่ 2 จะตองใชวิธีการประมาณแบบเชิง
เสน ดังรูป
98 เทอรโมไดนามิกส

น้ําที่ T = 250 ๐C
v (m3/kg) P (MPa)
0.14184 1.6
0.12736 y
0.12497 1.8

1.8  1.6 y  1.6


ความชัน  
0.12497  0.14184 0.12736  0.14184
y = 1.7717

ความดันของน้ําหลังไดรับความรอนในสภาวะที่ 2 คือ P2 = y = 1.7717 MPa ตอบ

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.10 ไอน้ําอิ่มตัวมวล 10 kg อุณหภูมิ 200๐C ภายในกระบอกสูบที่มีลูกสูบอิสระ ไดรับความ


รอนจนมีอุณหภูมิเปน 250๐C แสดงดังรูป จงหาปริมาตรของกระบอกสูบภายหลังจากไดรับความรอน

วิธีทํา

พิจารณาภายในกระบอกสูบเปนระบบจะเห็นวาเปนระบบปด แสดงวาน้ําภายในกระบอกสูบมีมวล
คงที่ (m = m1 = m2) สมมติฐานใหลูกสูบเปนลูกสูบอิสระคือไมมีแรงตานการเคลื่อนที่ของลูกสูบและลูกสูบ
ไมมีน้ําหนัก ดังนั้นลูกสูบจะเคลื่อนที่โดยการขยายตัวของปริมาตรของน้ําในขณะไดรับความรอนแบบความ
ดันคงที่ (P = P1 = P2)
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 99

กอนไดรับความรอน (สภาวะที่ 1) น้ํามีอุณหภูมิ 200 ๐C สถานะไออิ่มตัว ดังนั้นจากตาราง A-4 จะ


ได P1  Psat @ T  200 o C  1.5538 MPa สภาวะที่ 2 P2=P1= 1.5538 MPa และ T2 = 250๐C จากแผนภูมิ P-v
จะเห็นวาสภาวะที่ 2 มีสถานะเปนไอรอนยิ่งยวด

พิจารณาตาราง A-6 จะเห็นวาที่อุณหภูมิ 250๐C ความดัน P2 = 1.5538 MPa อยูระหวางความ


ดัน 1.4 MPa และ 1.6 MPa ดังนั้นการหาปริมาตรจําเพาะจึงตองใชวิธีการประมาณเชิงเสนตรง

น้ําที่ T = 250๐C
P (MPa) v (m3/kg)
1.4 0.16350
1.55380 y
1.6 0.14184

0.14184  0.16350 y  0.14184


ความชัน  
1.6  1.4 1.5538  1.6
y = 0.14684

ปริมาตรจําเพาะของน้ําภายหลังจากรับความรอน v2 = 0.14684 m3/kg เนื่องจากน้ํามีสถานะไอ


รอนยิ่งยวดดังนั้นปริมาตรของน้ําภายหลังจากไดรับความรอนจะเทากับปริมาตรของกระบอกสูบภายหลัง
จากไดรับความรอนดวยเชนกันคือ
100 เทอรโมไดนามิกส

V2  mv 2  10x0.14684  1.4684 m3

ปริมาตรของกระบอกสูบภายหลังจากไดรับความรอน คือ 1.4684 m3 ตอบ

จากปรากฏการณในตัวอยางนี้ทําใหระบบมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตรแบบความดันคงที่ (P = P1 =
P2) จากสภาวะเริ่มตนมีปริมาตร V1 =mv1 =10 x 0.12736 = 1.2736 m3 เปน V2 = 1.4684 m3 ดังนั้นระบบ
2 2
จะใหง านเนื่องจากขอบเขตแกสิ่ง แวดลอม คือ Wb   PdV  P  dV  P( V2  V1 ) = 1553.8 kPa x
1 1
3
(1.4684-1.2736) m = 1553.6 kJ

---------------------------------------------------------------------------

2.15 การหาคุณสมบัติของสารในสถานะของเหลวอัดตัว

คุณสมบัติจริงของน้ําในสถานะของเหลวอัดตัวที่อุณหภูมิตางๆ ในแตละคาความดัน โดยเริ่มตั้งแต


คุณสมบัติของน้ําในสถานะของเหลวอิ่มตัว แสดงใน ตาราง A-7

เนื่องจากความดันมีอิทธิพลตอคุณสมบัติของสารในสถานะของเหลวอัดตัวนอยมากเมื่อเทียบกับ
อุณหภูมิ ดังนั้นโดยทั่วไปจึงอนุโลมใหประมาณคุณสมบัติของของเหลวอัดตัวเทากับคุณสมบัตขิ องของเหลว
อิ่มตัวที่อุณหภูมิเดียวกัน ดังนั้น

y  yf@T 2.9

โดยที่

y แทน คุณสมบัติ v u หรือ h ของของเหลวอัดตัว

การประมาณคุณสมบัติของเหลวอัดตัวดวยสมการที่ 2.9 สําหรับปริมาตรจําเพาะ v และพลังงาน


ภายในจําเพาะ u จะมีความคลาดเคลื่อนในระดับที่ยอมรับได แตสําหรับเอนทาลปจําเพาะ h จะมีความ
คลาดเคลื่อนอยูบางในกรณีที่สารที่พิจารณามีความดันสูง ในกรณีดังกลาวนี้สามารถประมาณเอนทาลป
จําเพาะไดดังสมการตอไปนี้

h  h f @ T  v f (P  Psat ) 2.10
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 101

โดยที่

vf แทน ปริมาตรจําเพาะของของเหลวอิ่มตัวที่อุณหภูมิเดียวกัน

P แทน ความดันของสาร

hf แทน เอนทาลปจําเพาะของของเหลวอิ่มตัวที่อุณหภูมิเดียวกัน

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.11 จงหาพลังงานภายในของน้ําในสภาวะ 80๐C และ ความดัน 5 MPa มีสถานะเปนของเหลว


อัดตัวโดย

ก. ขอมูลจากคุณสมบัติจริงของน้ําในสถานะของเหลวอัดตัวโดยตรงจาก ตาราง A-7


ข. การประมาณโดยพิจารณาใหคุณสมบัติของของเหลวอัด ตัวเทากับคุณสมบัติของของเหลว
อิ่มตัวที่อุณหภูมิเดียวกัน
ค. พลังงานภายในที่ไดการประมาณในขอ ข มีความคลาดเคลื่อนกี่เปอรเซ็นต

วิธีทํา

ตรวจสอบสถานะของน้ําที่ T = 80๐C และ P = 5 MPa จากตาราง A-5 พบวา Tsat@P=5 MPa =


263.99 ๐C ดังนั้น T < Tsat@P=5 MPa จึงมีสถานะเปนของเหลวอัดตัว

จากตาราง A-7 น้ําที่ T = 80๐C และ P = 5 MPa จะได u = 333.72 kJ/kg ตอบ ก

ประมาณโดยพิจารณาใหพลังงานภายในของของเหลวอัดตัวเทากับ พลังงานภายในของของเหลว
อิ่มตัวที่อุณหภูมิเดียวกัน กลาวคือ

u  u f @ T  80๐ C

จากตาราง A-4 น้ําที่ T = 80๐C คือ

u f @ T  80 o C  334.86 kJ / kg
102 เทอรโมไดนามิกส

ดังนั้น u  334.86 kJ/kg ตอบ ข

พลังงานภายในจริงของน้ําซึ่งไดจากตาราง A-7 u = 333.72 kJ/kg และพลังงานภายในที่ไดจาก


การประมาณ คือ u  334.86 kJ/kg ดังนั้นความคลาดเคลื่อนจากการประมาณคือ
334.86  333.72
ความคลาดเคลื่อนจากการประมาณ  x100  0.3116%
333.72
พลังงานภายในที่ไดการประมาณในขอ ข มีความคลาดเคลื่อน 0.3116% ตอบ ค

---------------------------------------------------------------------------

2.16 แก็สอุดมคติ (Ideal Gas)

การหาคุณสมบัติจริงของแก็สชนิดตางๆ สามารถหาไดจากตารางหรือแผนภูมิของคุณสมบัติของ
แก็สนั้นๆ อาทิเชนการหาคุณสมบัติจริงของน้ํา ในสถานะไอหาไดจากตาราง A-6 เปนตน อยางไรก็ตาม
บอ ยครั้ ง ที่ ก ารวิ เ คราะหคุ ณ สมบั ติ ข องสารมี ค วามจํ า เป น ที่ จ ะต อ งพิ จ ารณาคุ ณ สมบั ติต า งๆ ในรู ป
ความสัมพันธ เชน กรณีที่ขอมูลในตารางคุณสมบัติของแก็สชนิดนั้นๆ ไมครอบคลุมถึงสภาวะที่ตองการ
วิเคราะห หรือ กรณีตองการจําลองความสัมพันธของคุณสมบัติ ตางๆ ของแก็สเพื่อความสะดวกในการ
คํานวณ เปนตน ความเขาใจถึงความสัมพันธระหวางคุณสมบัติตางๆ ของแก็สจึงเปนเครื่องมือที่สําคัญ
สําหรับการแกปญหาในกรณีขางตน ในหัวขอนี้จะเนนหนักในการศึกษาความสัมพัน ธระหวางความดัน
อุณหภูมิ และ ปริมาตรจําเพาะของสารในสถานะไอดังที่จะกลาวถึงในอันดับตอไป

ในป ค.ศ. 1662 Robert Boyle ทําการศึกษาวิจัยหาความสัมพันธระหวางความดันและปริมาตร


จําเพาะของแก็สในถังสุญญากาศ ผลการศึกษาวิจัยพบวาความดันจะแปรผกผันกับปริมาตรจําเพาะ ตอมา
ป ค.ศ. 1802 J. Charles และ J. Gay-Lussac ไดพบวาที่ความดันต่ําปริมาตรของแก็สจะแปรผันตรงกั บ
อุณ หภูมิ จากงานวิจัยทั้งสองทําใหไดส มการความสัมพัน ธระหวาง ความดัน อุณ หภูมิ และ ปริมาตร
จําเพาะของแก็สขึ้น เรียกวา สมการสภาวะ (Equation of State) ดังนี้

T
P  R 
v
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 103

หรือ Pv  RT 2.11

โดยที่

P แทน ความดัน [kPa]

R แทน คาคงที่ของแก็ส [kJ/kg K หรือ kPa m3/kg K]

v แทน ปริมาตรจําเพาะ [m3]

T แทน อุณหภูมิสมบูรณ [K]

แก็ส ใดๆ ที่มีความสัมพัน ธร ะหวาง ความดัน อุณ หภูมิ และ ปริมาตรจําเพาะ สอดคลองตาม
สมการสภาวะ (สมการที่ 2.11) จะเรียกแก็สนั้นวาแก็สอุดมคติ ดังนั้นจึงสามารถเรียกสมการที่ 2.11 วา
สมการสภาวะของแก็สอุดมคติ

แก็สตางๆ จะมีพฤติกรรมคลายแก็สอุดมคติเมื่อแก็ส เหลานั้นที่มีความหนาแนนต่ํา ซึ่งเกิดขึ้นใน


สภาวะที่ แก็สเหลานั้นมีความดัน ต่ําและมีอุณหภูมิสูง ซึ่ง เปนสภาวะทั่วไปของแก็สสวนใหญเชน อากาศ
ออกซิเจน ฮีเลียม อารกอน นีออน ฯลฯ จึงสามารถประมาณแก็สเหลานั้นใหเปนแก็สอุดมคติได แก็สบาง
ชนิดในสภาวะทั่วไปมีความหนาแนนสูง เชน ไอน้ํา ในกระบวนการผลิตกําลังของโรงจักรไอน้ํา สารทําความ
เย็น (Refrigerant) ในกระบวนการทําความเย็น จะไมมีพฤติกรรมคลายแก็สอุดมคติ จึงไมสามารถใชสมการ
สภาวะของแก็สอุดมคติในการวิเคราะหคุณสมบัติได

คาคงที่ของแก็สขึ้นกับแก็สแตละชนิดแสดงในตาราง A-1 ซึ่งไดจากความสัมพันธดังนี้

Ru
R 2.12
M
โดยที่

Ru แทน คาคงตัวสากลของแก็ส มีคาเทากับ 8.314 kPa m3/(kmole K)

M แทน มวลโมเลกุลของแก็ส [kg/kmole]


104 เทอรโมไดนามิกส

มวลโมเลกุลของแก็ส คือ มวล (kg) ของแก็สจํานวน 1 kmole โดยที่มวลโมเลกุลของแก็สชนิด ค


ตางๆ แสดงในตาราง A-1

เนื่องจาก v  V / m แทนลงในสมการที่ 2.11 จะไดสมการสภาวะในรูปดังนี้

PV  mRT 2.13

เนื่องจาก R  R u / M และ มวล m  NxM โดยที่ N แทน โมลของสาร kmole เมื่อแทนลงใน


สมการที่ 2.13 จะได

PV  NRu T 2.14

ถาพิจารณาแก็สอุดมคติภายใตกระบวนการใดๆ ซึ่งมีมวลคงที่ (m = คงที่) อาทิเชนกระบวนการ


ตางๆ ในระบบปด จากสมการที่ 2.13 จะได
PV
m  คงที่
RT
ดังนั้นถาพิจารณาสภาวะที่ 1 แทน สภาวะเริ่มตนของกระบวนการและสภาวะที่ 2 แทน สภาวะ
สิ้นสุดกระบวนการ ภายใตกระบวนการมวลคงที่ใดๆ ของแก็สอุดมคติจะได
P1 V1 P2 V2
m  m1  m2  
RT1 RT2

ดังนั้นภายใตกระบวนการมวลคงที่ใดๆ ของแก็สอุดมคติ ความสัมพันธระหวางความดัน อุณหภูมิ


และ ปริมาตร ในสภาวะเริ่มตนและสภาวะสุดทายของกระบวนการคือ
P1 V1 P2 V2
m   คงที่ 2.15
T1 T2

ไอน้ําในสภาวะที่มีความหนาแนนต่ําถือวามีพฤติกรรมเปนแก็สอุดมคติดวย สภาวะของน้ําใดๆ ที่อยู


ภายในพื้นที่แรงเงาดังรูปที่ 2.19 ถือวาไอน้ําในสภาวะเหลานั้นมีพฤติกรรมเปนแก็สอุดมคติ จากรูปที่ 2.19
แสดงใหเห็นวาน้ําในสถานะไอรอนยิ่งยวดที่ความดันต่ํากวา 10kPa ถือไดวาเปนแก็สอุดมคติไดโดยไมตอง
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 105

คํานึงถึงอุณหภูมิ และจะเห็นวาไอน้ําที่ความดันสูง ในสภาวะที่ใกลเสนไออิ่มตัว หรือ ใกลจุดวิกฤติ ไอน้ําไม


ถือวามีพฤติกรรมคลายแก็สอุดมคติ แตสําหรับไอน้ําในอากาศมีความดันต่าํ มากสามารถสมมติฐานไดวาไอ
น้ําเหลานี้เปนแก็สอุดมคติไดดวยเชนกัน ในขณะที่ไอน้ําที่ใชในการผลิตกําลังสําหรับโรงจักรผลิตกําลังดวย
ไอน้ํา ไอน้ําเหลานี้มีความดันสูงมากจึงไมสามารถถือวาเปนแก็สอุดมคติได

รูปที่ 2.19 เขตสมมติฐานไอน้ําเปนแก็สอุดมคติ


Thermodynamics an Engineering Approach 2nd Edition, Yunus A. Cengel, McGraii-Hill, 1994.

แฟกเตอรสภาพอัดได (Compressibility Factor) คือดัชนีชีวัด พฤติก รรมการเปนแก็ส อุด มคติ


ภายใตความดันและอุณหภูมิของแก็สที่พิจารณา กลาวคือ

Pv actual
Z 2.16
RT
106 เทอรโมไดนามิกส

โดยที่

Z แทน แฟกเตอรสภาพอัดได

vactual แทน ปริมาตรจําเพาะของแก็สจริง [m3/kg]

จากสมการที่ 2.16 จะเห็นไดวา v ideal  P / RT เมื่อ videal แทน ปริมาตรจําเพาะของแก็สอุดมคติ


ภายใตความดัน P และอุณหภูมิ T ที่พิจารณา ดังนั้นจากสมการที่ 2.16 จะได
v actual
Z 2.17
v ideal

จากสมการที่ 2.16 และ สมการที่ 2.17 จะเห็นไดวาถา Z=1 แก็สจะมีพฤติกรรมเปนแก็สอุดมคติ


และขนาดของ Z ที่มากกวาหรือนอยกวา 1 จะแสดงใหเห็นถึงความเบี่ยงเบนของพฤติกรรมของแก็สนั้นๆ
จากพฤติกรรมของแก็สอุดมคติ

คา Z สําหรับแก็สชนิดใดๆ จะสัมพันธกับ ความดันลด (Reduced Pressure) และ อุณหภูมิล ด


(Reduced Temperature) โดย ความดันลด หมายถึง อัตราสวนความดันของแก็สตอความดันวิกฤติ และ
อุณหภูมิลด หมายถึง อัตราสวนระหวางอุณหภูมิของแก็สตออุณหภูมิวิกฤติ แสดงดังสมการที่ 2.18 และ
สมการที่ 2.19 ตามลําดับ
P
PR  2.18
Pcr

โดยที่

PR แทน ความดันลดของแก็ส
T
TR  2.19
Tcr

โดยที่

TR แทน อุณหภูมิลดของแก็ส
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 107

รูปที่ 2.20 แสดงแผนภูมสิ ภาพอัดตัวไดทั่วไป


Thermodynamics an Engineering Approach 2nd Edition, Yunus A. Cengel, McGraii-Hill, 1994.

แผนภูมิดังรูปที่ 2.20 เรียกวาแผนภูมิสภาพอัดตัวไดทั่วไป (Generalized Compressibility Chart)


แนวโนมบนแผนภูมิสามารถกลาวไดวาแก็สทุกชนิดที่มีคา TR และ PR เดียวกันจะมีคา Z เทากันเสมอ จาก
แผนภูมิจะไดขอสรุปสําคัญตอไปนี้

1. ที่ความดันต่ํา (PR << 1) แก็สจะมีพฤติกรรมคลายแก็สอุดมคติ โดยที่อุณ หภูมิมีอิทธิพลตอ


พฤติกรรมนอยมาก
2. ที่อุณหภูมิสูง (TR >> 2) แก็สจะมีพฤติก รรมคลายแก็สอุดมคติ โดยความดัน มีอิทธิพลตอ
พฤติกรรมนอยมาก
3. แก็สในสภาวะเขาใกลจุดวิกฤติ ( TR  1 ) จะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนจากความเปนแก็สอุดมคติ
มาก
108 เทอรโมไดนามิกส

หากแก็ส ที่พิจ ารณาเปน ไปตามขอสรุปสําคัญ ในขอที่ 1 หรือ ขอที่ 2 ขอใดขอหนึ่ง จะสามารถ


สมมติฐ านไดวาแก็ส นั้น มีพฤติก รรมคลายแก็ส อุด มคติ จึง สามารถใชส มการสภาวะของแก็ส อุด มคติ
(สมการที่ 2.11 สมการที่ 2.13 และ สมการที่ 2.14) อธิบายความสัมพัน ธของ ความดัน อุณ หภูมิ และ
ปริมาตรจําเพาะ ของแก็สเหลานั้นได

กรณีที่ทราบความดัน P และปริมาตรจําเพาะ v ของแก็ส การวิเคราะหพฤติกรรมการเปนแก็สอุดม


คติดวยความดันลด PR และ อุณหภูมิลด TR ทําไดยาก อยางไรก็ตามยังสามารถวิเคราะหพฤติกรรมการ
เปนแก็สอุดมคติของแก็สนั้นไดดวยความสัมพันธระหวาง ความดันลด PR และปริมาตรจําเพาะลดเทียม
(Pseudo Reduced Specific Volume) ของแก็สนั้นที่มีผลตอคา Z ในรูปแผนภูมิสภาพอัดตัวไดทั่วไปเชนกัน
โดยปริมาตรจําเพาะลดเทียมหาไดจาก

รูปที่ 2.21 แผนภูมิสภาพอัดตัวไดทั่วไปภายใตอิทธิพล

ของความดันลด PR และ ปริมาตรจําเพาะลดเทียม vR ในชวง 0< PR < 1.0


Thermodynamics an Engineering Approach 2nd Edition, Yunus A. Cengel, McGraii-Hill, 1994.

v actual
vR  2.20
RTcr / Pcr
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 109

โดยที่

vR แทน ปริมาตรจําเพาะลดเทียม

แผนภูมิความสัมพันธของความดันลด PR และ ปริมาตรจําเพาะลดเทียม vR ในชวง 0< PR < 1.0


แสดงดังรูปที่ 2.21

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.12 อากาศภายในหองขนาด 4m x 5m x 6m มีความดัน 100 kPa และ อุณหภูมิ 25๐C จงหา
มวลของอากาศภายในหองนี้

วิธีทํา

ตาราง A-1 อากาศมีอุณหภูมิวิกฤติ Tcr = 132.5 K และ ความดันวิกฤติ Pcr = 3.77 MPa ดังนั้น
อากาศภายในหองที่ความดัน 100 kPa และ อุณหภูมิ 25๐C มี อุณหภูมิลดและความดันลดตามลําดับดังนี้

TR  T / Tcr  (25  273)K / 132.5K  2.24

PR  P / Pcr  100kPa / 3770kPa  0.0265

จะเห็น วา PR << 1 และ TR > 2 ดัง นั้น จึง ถือไดวาอากาศมีพฤติก รรมคลายแก็ส อุดมคติ
ความสัมพันธ P-v-T เปนไปตามสมการสภาวะของแก็สอุดมคติคือ Pv = RT จากตาราง A-1 สําหรับ
อากาศ R = 0.287 kJ/kg K ปริมาตรจําเพาะของอากาศคือ

RT 0.287x(25  273)
v   0.855 m3/kg
P 100
อากาศภายในหองมีปริมาตรเทากับปริมาตรหองดังนั้นปริมาตรของอากาศคือ V = 4x5x6 = 120
m3 สามารถหามวลของอากาศไดดังนี้
V 120
m   140.35 kg ตอบ
v 0.855
110 เทอรโมไดนามิกส

ทุกครั้งที่พิจารณาความสัมพันธความดัน อุณหภูมิ และ ปริมาตรจําเพาะ ดวยสมการสภาวะของ


แก็สอุดมคติจะตองตรวจสอบพฤติกรรมความคลายแก็สอุดมคติของแก็สนั้นกอนเสมอดังแสดงในตัวอยาง
นี้ เนื่องจากในบางสภาวะของแก็สที่พิจารณาอาจมีพฤติกรรมที่แตกตางออกไปจากแก็สอุดมคติมาก สงผล
ใหการวิเคราะหดวยสมการสภาวะของแก็สอุดมคติมีความคลาดเคลื่อนในระดับที่ยอมรับไมได

จากตัวอยางนี้มีขอสังเกตวาอากาศในสภาวะปกติเชนที่ ความดัน 100 kPa และ อุณหภูมิ 25๐C มี


พฤติกรรมคลายแก็สอุดมคติ

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.13 แก็สไนโตรเจน N2 มวล 2 kg ความดัน 100 kPa อุณหภูมิ 300 K ภายในกระบอกสูบ เมื่อ
ถูกอัดตัวโดยมีความสัมพันธ PV1.4 = คงที่ จนกระทั่งมีอุณหภูมิ 360K จงหางานของกระบวนการนี้

วิธีทํา

ตาราง A-1 แก็ส N2 มี Pcr = 3.39 MPa และ Tcr = 126.2 K ดังนั้นถาพิจารณาในสภาวะที่ 1

TR  T / Tcr  300K / 126.2K  2.37  2

PR  P / Pcr  100kPa / 3390kPa  0.0295  1

ดังนั้นแก็ส N2 ที่พิจารณามีพฤติกรรมคลายแก็สอุดมคติ ถาพิจารณาภายในกระบอกสูบเปนระบบ


จะเห็นวางานที่กระทําตอระบบทําใหลูกสูบเคลื่อนที่ในทิศทางการอัดทําใหปริมาตรของ N2 ภายในกระบอก
สูบเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นงานที่กระบอกสูบไดรับคืองานเนื่องจากของเขต กลาวคือ
2
W  Wb   PdV A
1
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 111

พิจารณา N2 ในสภาวะที่ 1 ปริมาตรของ N2 หาไดจากสมการสภาวะของแก็สอุดมคติ และจาก


ตาราง A-1 R = 0.2968 kJ/kg K สําหรับ N2 ดังนั้น
mRT1 2 x0.2968 x300
V1  
P1 100

V1  1.781 m3

กําหนดให y แทน คาคงที่ของสภาพการอัด ดังนั้น PV1.4 = y กลาวคือ

PV 1.4  P1 V1 1.4  P2 V2 1.4  y

y  P1 V1 1.4  100x1.7811.4  224.35


ดังนั้น
224.35
P B
V 1.4
พิจารณา N2 ในสภาวะที่ 2 จากสมการสภาวะของแก็สอุดมคติจะได
mRT2 2 x0.2968x360
P2  
V2 V2
213.7
P2  C
V2
224.35
จากสมการ B แทน P = P2 และ V = V2 จะได P2  และแทนลงในสมการ C จะได
V2 1.4
213.7 224.35

V2 V2 1.4

V2  1.1297 m3
112 เทอรโมไดนามิกส

สามารถจัดรูปงานเนื่องจากขอบเขตในรูปความสัมพันธกับปริมาตร Wb = f(V) โดยแทนสมการ B


ในสมการ A จะได
2 2
224.35
Wb   PdV   1.4
dV
1 1 V

 1 1 
Wb  560.87   
V 0.4 V 0.4 
 2 1 
1 1 
Wb  560.87  
 1.1297 0.4 1.7810.4 
Wb  88.92 kJ

จากตัวอยางนี้จะเห็นไดวา V2 < V1 ทําใหผลลัพธของงานเนื่องจากขอบเขตที่ไดเปนจํานวนลบ ซึ่ง


อธิบายไดวาเกิดจากระบบอยูภายใตก ระบวนการอัด จึงตองไดรับงานจากสิ่ง แวดลอมเพื่อการดําเนิน
กระบวนการ ดังนั้นงานที่กระบอกสูบไดรับเทากับ 88.92 kJ ตอบ

กระบวนการอัดและขยายตัวของแก็สในกระบอกสูบโดยทั่วไปจะมีความสัมพันธระหวางความดัน
และปริมาตรในรูปกระบวนการโพลีโทรปก PVn = คงที่ ดังที่กลาวไวในบทที่ 1 ซึ่งสอดคลองตอขอกําหนด
ของตัวอยางนี้

---------------------------------------------------------------------------

2.17 สมการสภาวะอื่นๆ

การวิเคราะหความสัมพันธ P-v-T ของแก็สดังที่ไดกลาวมาแลวขางตนมีขอจํากัดสําคัญคือแก็ส


ตองมีพฤติกรรมคลายแก็สอุดมคติ โดยตรวจสอบโดยแฟกเตอรสภาพอัดได Z ของแก็สนั้น ถาแก็ส ที่
พิจารณาไมมีพฤติก รรมคลายแก็ส อุด มคติก ารใชส มการสภาวะของแก็สอุดมคติ (Pv = RT) จะมีความ
คลาดเคลื่อนอยางมาก อยางไรก็ตามยังมีสมการสภาวะจํานวนมากทีส่ ามารถวิเคราะหความสัมพันธ P-v-
T ของแก็สไดอยางแมนยําและสามารถวิเคราะหสภาวะตางๆ ของแก็สไดไมวาจะมีพฤติกรรมคลายแก็ส
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 113

อุดมคติหรือไมก็ตาม ในปจจุบันพบวามีผูนําเสนอสมการสภาวะดังกลาวนี้อยางกวางขวาง ดังนั้นเอกสารนี้


จะกลาวเฉพาะสมการสภาวะที่สําคัญและเปนที่รูจักโดยทั่วไปซึ่งไดเลือกสรรไว 3 สมการคือ

1. สมการสภาวะของ Van der Waals


2. สมการสภาวะของ Beattie-Bridgeman
3. สมการสภาวะของ Benedict-Webb-Rubin

สมการสภาวะของ Van der Waals สมการสภาวะของ Van der Waals ไดถูกเผยแพรในป ค.ศ.
1873 ดังสมการตอไปนี้

 P  a  v  b   RT 2.21
 
 v2 
โดยที่

a และ b แทน คาคงที่ซึ่งขึ้นกับแก็สแตละชนิด หาไดตามลําดับดังนี้

27R 2 Tcr 2 RT
a , b  cr
64Pcr 8Pcr

สมการนี้ไดมาจากการปรับปรุงสมการสภาวะของแก็สอุดมคติโดยไดพิจารณาปจจัย 2 ปจจัยที่
สมการสภาวะของแก็สอุดมคติไมไดพิจารณาคือ

1. แรงดึงดูดระหวางโมเลกุล การพิจารณาปจจัยนี้ทําใหปรากฏเทอม a / v 2 ในสมการสภาวะ


ของ Van der Waals
2. ปริมาตรของโมเลกุลของแก็ส ทําใหปริมาตรแก็สมีความจํากัดตอจํานวนของโมเลกุลของ
แก็ส เชน สมมติวา ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ อัตราสวนปริมาตรของโมเลกุลตอ
ปริมาตรแก็สทั้งหมดเปน 1:1000 ถาแก็สนี้มีความดันเพิ่มขึ้น จะทําใหปริมาตรของโมเลกุล
สูง ขึ้ น จึ ง ส ง ผลให อั ต ราส ว นปริ ม าตรของโมเลกุ ล ต อ ปริม าตรแก็ ส สู ง ขึ้ น ด ว ยอย า งมี
นัยสําคัญดวย Van der Waals ปรับปรุงสมการสภาวะของแก็สอุดมคติโดยชดเชยปจจัยนี้
ดวยเทอม b แทน ปริมาตรของโมเลกุลแก็สตอหนวยมวล
114 เทอรโมไดนามิกส

สมการสภาวะของ Van der Waals ยังคงไมมีความแมนยําเทาที่ควรเมื่อเทียบกับสมการสภาวะของ


แก็สจริงอื่นๆ ที่จะไดกลาวตอไป แตเนื่องจากสมการนี้ไดรับการปรับปรุงจากสมการสภาวะของแก็สอุดม
คติจึงทําใหสมการนี้สามารถใชงานไดกับสภาวะของแก็สที่กวางกวา อยางไรก็ตามพบวาสมการสภาวะของ
Van der Waals สามารถใชไดดีสําหรับแก็สที่มีความหนาแนนไมสูงมาก

สมการสภาวะของ Beattie-Bridgeman สมการสภาวะของ Beattie-Bridgeman ถูกเผยแพรใน


ป ค.ศ.1928 เปนสมการสภาวะที่มีความแมนยําอยูในเกณฑที่ยอมรับไดสําหรับแก็สใดๆ ที่มีความหนาแนน
นอยกวา 0.8  cr โดยที่  cr แทน ความหนาแนนของแก็สในสภาวะวิกฤติ สมการนี้ ประกอบดวยคาคงที่
จากการทดลองจํานวน 5 คา คือ A0 a B0 b และ c คาคงที่ทั้งหมดแสดงในตารางที่ 2-1 สมการสภาวะของ
Beattie-Bridgeman แสดงไดดังนี้

RuT  c  A
P  1   v  B   2.22
v 2  vT 3  v2
a b
เมื่อ A  A 0  1   และ B  B 0  1  
 v  v
โดยที่

v แทน ปริมาตรจําเพาะตอโมล [m3/kmole]

ตารางที่ 2.1 คาคงที่ของสมการสภาวะของ Beattie-Bridgeman

แก็ส A0 a B0 b c
อากาศ - 131.84410 0.01931 0.04611 -0.001101 43,400
อารกอน Ar 130.78020 0.02328 0.03931 0.0 59,900
คารบอนไดออกไซด CO2 507.28360 0.07132 0.10476 0.07235 660,000
ฮีเลียม He 2.18860 0.05984 0.01400 0.0 40
ไฮโดนเจน H2 20.01170 -0.00506 0.02096 -0.04359 504
ไนโตรเจน N2 136.23150 0.02617 0.05046 -0.00691 42,000
ออกซิเจน O2 151.08570 0.02562 0.04624 0.004208 48,000
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 115

สมการสภาวะของ Benedict-Webb-Rubin สมการสภาวะของ Benedict-Webb-Rubin เปน


สมการที่พัฒนามาจากสมการสภาวะของ Beattie-Bridgeman และไดถูกเผยแพรในป ค.ศ. 1940 สมการนี้
ประกอบดวยคาคงที่ทั้งหมด 8 ตัว คือ a A0 b B0 c C0  และ  คาคงที่ทั้งหมดแสดงในตารางที่ 2.2
สมการนี้มีความแมนยําสําหรับแก็สที่มีความหนาแนนต่ํากวา 2.5 cr สมการสภาวะของ Benedict-Webb-
Rubin แสดงดังนี้

Ru T  C  1 bR T  a
P  B0Ru T  A 0  20  2  u 3
v  T v v
2.23
a c 
 6  3 2  1  2 e   / v
2

v vT  v 
ตารางที่ 2.2 คาคงที่ของสมการสภาวะของ Benedict-Webb-Rubin

แก็ส a A0 b B0 c C0  

ไนโตรเจน N2 2.54 106.73 0.002328 0.04074 7.379E+04 8.164E+05 1.272E-04 0.0053


มีเทน CH4 5 187.91 0.002280 0.04260 2.578E+05 2.286E+06 1.244E-04 0.006
คารบอนมอนนอกไซด CO 3.71 135.87 0.002623 0.0545 1.054E+05 8.673E+05 1.350E-04 0.006
คารบอนไดออกไซด CO2 13.86 277.3 0.00721 0.04991 1.511E+06 1.404E+07 8.470E-05 0.0054

---------------------------------------------------------------------------

ตัวอยางที่ 2.14 จงหาความดันของแก็ส N2 ที่ T = 175K และ v = 0.00375 m3/kg ดวยสมการสภาวะ


ตอไปนี้

ก. สมการสภาวะของแก็สอุดมคติ
ข. สมการสภาวะของ Van der Waals
ค. สมการสภาวะของ Beattie-Bridgeman
ง. สมการสภาวะของ Benedict-Webb-Rubin
116 เทอรโมไดนามิกส

วิธีทํา

จากตาราง A-1 M = 28.013 kg/kmole R = 0.2968 kJ/Kg K Tcr = 126.2 K Pcr = 3.39 MPa และ
vcr = 0.0899 m3/kmole สําหรับ N2

ก. หาความดันของ N2 ดวย สมการสภาวะของแก็สอุดมคติ ไดดังนี้


RT 0.2968x175
P   13,020 kPa ตอบ ก
v 0.00375
ข. หาความดันของ N2 ดวย สมการสภาวะของ Van der Waals ไดดังนี้
27R 2 Tcr 2 27 x0.2968 2 x126.2 2
a  3
 0.175 kPa/kg2
64Pcr 64 x3.39x10
RT 0.2968 x126 .2 3
b  cr   0 . 00138 m /kg
8Pcr 8 x 3.39 x10 3
จากสมการสภาวะของ Van der Waals
 P  a  v  b   RT
 
 v2 
ดังนั้น
RT a 0.2968x175 0.175
P  2 
v  b v 0.00375  0.00138 0.003752
P = 9,471.17 kPa ตอบ ข
ค. หาความดันของ N2 ดวย สมการสภาวะของ Beattie-Bridgeman ไดดังนี้
จากตาราง 2.1 สําหรับ N2 จะได A0 = 136.2315 a = 0.02617 B0 = 0.05046 b = -0.00691
และ c = 42,000 ปริมาตรจําเพาะโดยโมล v  Mv  28.013kg / kmolx0.00375m 3 / kg
ดังนั้น v = 0.10505 m3/kmole
a 0.02617 
A  A 0  1    136.2315 1    102.29
 v  0.10505 

b  0.00691 
B  B 0  1    0.05046 1    0.05378
 v  0.10505 
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 117

Ru T  c  A
P  1    v  B  
v 2  vT 3  v2
8.31447 x175  42000  102.29
  1   0.10505  0.05378  
0.10505 2  0.10505x175 3  0.10505 2
P = (131,850)(0.9254)(0.15883)-9269.175
P = 10,110.3 kPa ตอบ ค
ง. หาความดันของ N2 ดวย สมการสภาวะของ Benedict-Webb-Rubin ไดดังนี้
จากตารางที่ 2.2 สําหรับ N2 จะได
a = 2.54 A0 = 106.73
b = 0.002328 B0 = 0.04074
c = 7.379x104 C0 = 8.164x105
 = 1.272x10-4  = 0.0053

แทนในสมการสภาวะของ Benedict-Webb-Rubin ดังนี้

RuT  C  1 bR u T  a
P  B 0 R u T  A 0  20  2 
v  T v v3
a c 
 6  3 2  1  2 e   / v
2

v vT  v 

P = 10,009 kPa ตอบ ง

หากนําผลลัพธในกรณีตัวอยางนี้ไปเทียบกับความดันจริงของ N2 ภายใตสภาวะที่กําหนด
จะพบวา สมการสภาวะที่มี ความคลาดเคลื่อ นมากที่สุ ด จนถึง น อยที่สุด เรียงตามลําดับได
ดังตอไปนี้ สมการสภาวะของแก็สอุดมคติ สมการสภาวะของ Van der Waals สมการสภาวะ
ของ Beattie-Bridgeman และ สมการสภาวะของ Benedict-Webb-Rubin และมีเปอรเซ็น ต
ความคลาดเคลื่อน 38.6% 5.4% 1.1% และ 0.09% ตามลําดับ

---------------------------------------------------------------------------
118 เทอรโมไดนามิกส

แบบฝกหัดทายบทที่ 2

ขอที่ 1. น้ําแข็งเปนสารบริสุทธิ์หรือไม จงอธิบายใหชัดเจน

ขอที่ 2. จงหาคุณสมบัติของน้ําในตารางตอไปนี้ใหครบถวน

T (๐C) P (kPa) U (kJ/kg) สถานะ


130 2300
600 ของเหลวอิ่มตัว
400 500
90 700

T (๐C) P (kPa) h (kJ/kg) x สถานะ


325 0.4
160 1682
950 0
80 500
800 3161.7

T (๐C) P (kPa) v (m3/kg) สถานะ


125 0.53
1000 ของเหลวอิ่มตัว
25 750
500 0.130
บทที่ 2 คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ 119

T (๐C) P (kPa) u (kJ/kg) สถานะ


325 2452
170 ไออิ่มตัว
190 2000
4000 3040

ขอที่ 3. ความดันบรรยากาศของเมืองหนึ่งเทากับ 83.4 kPa จงหาอุณหภูมิที่ทําใหของน้ําในหมอตมน้ําที่ไม


ปดฝาเดือด

ขอที่ 4. จงหาปริมารจําเพาะ พลังงานภายใน และ เอนทาลป ของน้ําในสถานะของเหลวอัดตัว ที่อุณหภูมิ


100 ๐C ความดัน 15 MPa โดยใชวิธีประมาณจากคุณสมบัติของเหลวอิ่มตัวที่อุณหภูมิเดียวกันและใชวิธีการ
เปดตารางของเหลวอัดตัว

ขอที่ 5. คาคงที่ของแก็ส R และ Ru ตางกันอยางไร จงอธิบายใหชัดเจน

ขอที่ 6. ถังแก็สบรรจุแก็สออกซิเจนขนาด 2.5 m3 มีความดัน 600 kPa อุณหภูมิ 30๐C แก็สออกซิเจนมี


พฤติกรรมคลายแก็สอุดมคติหรือไม และจงหามวลของออกซิเจนภายในถัง

ขอที่ 7. จงหาปริมาตรจําเพาะของไอน้ํารอนยิ่งยวด ที่ความดัน 10 MPa อุณหภูมิ 400๐C โดยวิธีตอไปนี้

7.1 สมการสภาวะของแก็สอุดมคติ

7.2 แผนภูมิสภาพอัดตัวไดทั่วไป

7.3 ตารางไอน้ํา

พรอมหาเปอรเซ็นตความคลาดเคลื่อนที่หาจากวิธีในขอที่ 7.1 และ ขอที่ 7.2 ดวย

ขอที่ 8. แก็สไนโตรเจน N2 น้ําหนัก 100 kg อุณหภูมิ 225 K บรรจุอยูในแท็งกปริมาตร 3.27 m3 จงหา


ความดันของแก็สไนโครเจนนี้ดวยวิธีตอไปนี้

8.1 สมการสภาวะของแก็สอุดมคติ
120 เทอรโมไดนามิกส

8.2 สมการสภาวะของ Van der Waals

8.3 สมการสภาวะของ Beattie-Bridgeman

You might also like