Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

กิจกรรม9.

1 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้

พิณนภา21 อชิรญา22 ณิชา23 ณิชาภา24

ปัญหา : การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้เป็นอย่างไร

จุดประสงค์ของกิจกรรม : เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ของระบบ

สมมติฐาน : ถ้าทำการย้ายลวดเสียบไปเรื่อยๆแล้วพอถึงจุดนึงอัตราการย้ายจะคงที่

ตัวแปร ตัวแปรต้น จำนวนลวดเสียบกระดาษที่ย้าย


ตัวแปรตาม จำนวนรวมของลวดในกลุ่ม
ตัวแปรควบคุม ย้ายลวดเสียบกระดาษตามที่คำนวน จำนวนลวดเสียบกระดาษเริ่มต้น

วิธีทำกิจกรรม ตอนที่ 1
1. แบ่งลวดเสียบกระดาษเป็นกลุ่ม A และ B โดยเริ่มต้นกำหนดให้มีลวดเสียบกระดาษในกลุ่ม A
จำนวน 30 อัน และ B 10 อัน

2. ย้ายลวดเสียบกระดาษ จากทั้งสองกลุ่มพร้อมกันโดยย้ายลวดเสียบกระดาษ จำนวนครึ่งหนึ่ง


ของA ไป B และย้ายลวดเสียบกระดาษจำนวนหนึ่งในสี่ของ B ไป A โดยถ้าจำนวน ลวดเสียบ
กระดาษที่ต้องย้ายเป็นเลขทศนิยมตั้งแต่ 0.5 ให้ปัดขึ้น ส่วน เลขทศนิยมน้อยกว่า 0.5 ให้ปัดลง

3.บันทึกจำนวนลวดเสียบกระดาษที่ย้ายไปและจำนวนรวมของลวดเสียบกระดาษในแต่ละกลุ่ม
4. ทำซ้ำข้อ 2-3 อีก 4 ครั้ง

ตอนที่ 2
ทำกิจกรรมเช่นเดียวกับตอนที่ 1 โดยเริ่มต้นให้กลุ่ม A มีลวดเสียบกระดาษจำนวน
40 อัน แต่กลุ่ม B ไม่มีลวดเสียบกระดาษ
ตารางบันทึกผลการทดลองตอนที่1

จำนวนลวดเสียบกระดาษ A จำนวนลวดเสียบกระดาษ B
ครั้งที่
ที่ย้าย (อัน) รวม A (อัน) ที่ย้าย (อัน) รวม B (อัน)

เริ่มต้น 0 30 0 10

1 15 18 3 22

2 9 15 6 25

3 8 13 6 27

4 7 13 7 27

5 7 13 7 27

ตารางบันทึกผลการทดลองตอนที่2

จำนวนลวดเสียบกระดาษ A จำนวนลวดเสียบกระดาษ B
ครั้งที่
ที่ย้าย (อัน) รวม A (อัน) ที่ย้าย (อัน) รวม B (อัน)

เริ่มต้น 0 40 0 0

1 20 20 0 20

2 10 16 5 25

3 8 13 6 27

4 7 13 7 27

5 7 13 7 27
คำถามท้ายกิจกรรม
1. จำนวนลวดเสียบกระดาษที่ย้ายจากกลุ่ม A ไปกลุ่ม Bในแต่ละครั้งมีแนวโน้มเป็นอย่างโร
ตอบ จำนวนลวดเสียบกระดาษที่ย้ายจากกลุ่ม A ไปกลุ่ม B ในแต่ละครั้งมีแนวโน้มลดลง

2. จำนวนลวดเสียบกระดาษที่ย้ายจากกลุ่ม Bไปกลุ่ม A ในแต่ละครั้งมีแนวโน้มเป็นอย่างไร


ตอบ จำนวนลวดเสียบกระดาษที่ย้ายจากกลุ่ม B ไปกลุ่ม A มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

3. เมื่อจำนวนลวดเสียบกระดาษที่ย้ายจากกลุ่ม A ไปกลุ่ม B เท่ากับจำนวนลวดเสียบกระดาษ


ที่ย้ายจากกลุ่ม B ไปกลุ่ม A จำนวนรวมของลวดเสียบกระดาษในแต่ละกลุ่มหลังการย้าย
ในครั้งต่อ ๆ ไป เป็นอย่างไร
ตอบ จำนวนรวมของลวดเสียบกระดาษในแต่ละกลุ่มหลังการย้ายในกลุ่ม A และ B จะคงที่
ตั้งแต่การทดลองที่ 4 กลุ่ม A จะมีลวดเสียบกระดาษรวม 13 ชิ้น และในกลุ่ม B มีลวดเสียบ
กระดาษ 27 ชิ้น

4. หากให้จำนวนลวดเสียบกระดาษในกลุ่ม A และกลุ่ม B เป็นปริมาณสาร A และสาร B และ


ให้จำนวนลวดเสียบกระดาษที่ย้ายจากแต่ละกลุ่มในแต่ละครั้งเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลง
ไปข้างหน้าจากสาร A ไปเป็นสาร B และอัตราการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับจากสาร B ไป
เป็นสาร A อาจสรุปได้ว่าปริมาณของสาร A และสาร B คงที่เมื่อใด
ตอบ สาร A และ สาร B คงที่ เมื่อจำนวนลวดเสียบกระดาษที่ย้ายจากกลุ่ม A ไปกลุ่ม B และ
จำนวนลวดเสียบกระดาษที่ย้ายจากกลุ่ม B มากลุ่ม A มีจำนวนเท่ากัน

วิเคราะห์ผลการทดลอง
จากการทดลองตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 จะเห็นว่าจำนวนลวดเสียบกระดาษที่ต้องย้ายจาก A ไป B
จะมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่จำนวนลวดเสียบกระดาษที่ต้องย้ายจาก B ไป A จะมีจำนวน
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่หลังจากครั้งที่ 4 ปริมาณลวดเสียบกระดาษของAและB จะมีจำนวนการย้าย
คงที่ปริมาณ หรือก็คืออัตราการย้ายไปและย้ายกลับมีอัตราที่เท่ากัน

สรุปผลการทดลอง
การผันกลับได้ของระบบนั้นศึกษาได้จากการทดสอบปฏิกิริยาไปข้างหน้าของสารตั้งต้น
ที่ทำปฏิกิริยากันว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรและศึกษาปฏิกิริยาย้อนกลับโดยการนำผลิตภัณฑ์
มาทำปฏิกิริยาเพื่อสังเกตว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารตั้งต้นหรือไม่ถ้ามีปฏิกิริยาทั้งสองแบบ
นี้ถึงจะมีการผันกลับได้

You might also like