Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 15

การทดลอง เรื่อง ปลุกก้อนปริศนา

จัดทำโดย
นางสาวกานติมา รัตนะ รหัสนิสิต 631031139
นางสาวนิวาริน ภูเก้าล้วน รหัสนิสิต 631031148
นางสาววนิชยา พืชผล รหัสนิสิต 631031154
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี

เสนอ
ผศ.ศิริพร จันทรคีรี
รายงานฉบับนี้เป็ นส่วนหนังของรายวิชาปฏิบัติการบูรณาการ
สำหรับครูเคมี (0221462)
ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2565
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
การทดลอง เรื่อง ปลุกก้อนปริศนา

บทนำ
กรดซัลฟิ วริก (Sulfuric acid)
กรดซัลฟิ วริก (Sulfuric acid) หรือกรดกำมะถัน เป็ นชื่อทางเคมีที่
รู้จักกันดีนอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น hydrogen sulfate, oil
of โมเลกุล 98.08 ลักษณะทั่วไปจะเป็ นของเหลวใสคล้ายน้ำมัน ไม่มีสี
ไม่มีกลิ่น virtriol, virtriol brown oil, dipping acid สูตรโมเลกุล คือ
H2SO4 น้ำหนักมีความหนืดจัดเป็ นกรดแร่อย่างแรง ละลายในน้ำได้ดี กรด
ซัลฟิ วริกเป็ นเคมีภัณฑ์พื้นฐานสำคัญที่มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเคมี
ต่างๆ เช่น ใช้ในการผลิตปุ๋ยเคมีภัณฑ์ปิ โตรเลียม การผลิตแร่ การ
สังเคราะห์สารเคมี และใช้ในการบำบัดน้ำเสียเป็ นต้น การผลิตกรดซัลฟิ ว
ริกถือว่าเป็ นการใช้ประโยชน์ปลายทางของธาตุกำมะถัน ปริมาณการใช้
กรดซัลฟิ วริกเป็ นดัชนีชี้วัดในการบอกถึงความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรม
ในประเทศอย่างหนึ่งนอกเหนือจากตัวชี้วัดด้านการใช้ลังงาน สำหรับ
อุตสาหกรรมกรดซัลฟิ วริกภายในประเทศไทยมีโรงงานผู้ผลิตหลายราย
กรดนี้มีขายในรูปของสารละลายกรดซัลฟิ วริกเข้มข้นหรือกรดซัลฟิ วริกที่มี
ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์อิสระละลายอยู่ เรียกว่า โอเลียม (oleum) โดยควร
มีคุณภาพเป็ นไปตาม มอก.41-2554 : กรดซัลฟิ วริกเข้มข้นและโอเลียม
สำหรับอุตสาหกรรม แม้ว่าในกระบวนการผลิตจะสามารถผลิตกรดซัลฟิ ว
ริกให้มีความเข้มข้นได้ใกล้เคียงร้อยละ 100 แต่จะมีการสูญเสียซัลเฟอร์
ไตรออกไซด์ที่จุดเดือดทำให้กรดซัลฟิ วริกที่ได้เหลือความเข้มข้นประมาณ
ร้อยละ 98.3 ซึ่งจะมีเสถียรภาพในการเก็บรักษา กรดซัลฟิ วริกที่ความข้ม
ข้นนี้จะเรียกว่า กรดซัลฟิ วริกเข้มข้นนอกจากนี้ยังมีการแบ่งชนิดตาม
ปริมาณเนื้อกรดดังนี้

สมบัติทางกายภาพ
จุดหลอมเหลว เท่ากับ 10.4 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 1
บรรยากาศ ความดันไอ เท่ากับ 0.001 mmHg ที่อุณหภูมิ 20 องศา
เซลเซียส จุดเดือดเท่ากับ 337 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 1 บรรยากาศ
แรงตึงผิว เท่ากับ 54.53 dynes/cm ความถ่วงจำเพาะ เท่ากับ 1.836 ที่
อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ความหนืด เท่ากับ 26.7 cP ที่อุณหภูมิ 20
องศาเซลเซียส ความหนาแน่นไอสัมพัทธ์ (อากาศ = 1) เท่ากับ 3.4 ค่า
สัมประสิทธิ์
การแพร่กระจายในน้ำ เท่ากับ 1.97 x 105 cm2/sec กรดซัลฟิ วริกจัด
เป็ นกรดที่มีขั้วมาก มีค่าคงที่ไดอิเล็กตริกประมาณ 100 มีค่าการนำไฟฟ้ า
สูง เนื่องจากมันสามารถแตกตัวให้โปรตอนภายในโมเลกุลแก่ตัวมันเองได้
เรียกขบวนการนี้ว่า auto protolysis ดังปฏิกิริยา
+ -
2H2SO4  H3SO4 +HSO4
สมบัติทางเคมี
กรดซัลฟิ วริกเป็ นกรดไดโปรติกมีสมบัติเป็ นกรดแก่ สามารถดูด
ความชื้น เป็ นสารออกดิไดซ์ เสถียรต่อความร้อน
ปฏิกิริยากับน้ำ
การทำปฏิกิริยากับน้ำของกรดซัลฟิ วริกเป็ นปฏิกิริยาคายความร้อน
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะรุนแรงโดยกรดซัลฟิ วริกเข้มข้นจะมีคุณสมบัติในการ
ขจัดโมเลกุลน้ำออกจากโมเลกุลของสารประกอบอื่น เช่น ปฏิกิริยาระหว่า
งกรดซัลฟิ วริกกับน้ำตาล

น้ำตาล (Sugar)
น้ำตาลที่ใส่ขนมและอาหารอื่น ๆ เป็ นอาหารสำคัญที่ให้พลังงาน ไม่
ว่าจะอยู่ในรูปของผลึกสีขาว หรือสีน้ำตาลแดงก็ตาม มีชื่อทาง
วิทยาศาสตร์ว่า ซูโครส ทางวิทยาศาสตร์มีน้ำตาลมากมาย เช่น กลูโคส
และฟรักโทส มีในพืชและสัตว์และผลไม้ แล็กโทสมีในน้ำนมของสัตว์เลี้ยง
ลูกด้วยนม พืชสีเขียวสร้างน้ำตาลได้ด้วยแสงแดด อากาศ และน้ำ ด้วยวิธี
ที่เรียกว่า การสังเคราะห์ด้วยแสง กลูโคสเป็ นน้ำตาลที่สำคัญที่สุด มีอยู่ใน
เลือดของสัตว์ และในน้ำเลี้ยงของพืช น้ำตาลทุกชนิดมีสารประกอบเคมี
จำพวกคาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และ
ออกซิเจน ถ้าเอากรดซัลฟิ วริก หรือกรดกำมะถันชนิดเข็มข้น ใส่ลงใน
น้ำตาลทรายสีขาว กรดจะดูดน้ำออกไปจากน้ำตาลทรายเหลือแต่ถ่านสี
ดำ สารบางชนิดไม่ใช่คาร์โบไฮเดรตแต่มีรสหวานจัด เช่น แซ็กคาริน และ
แอสพาร์แทม มีรสหวานราว 300 และ 200 เท่า ของน้ำตาลทรายตาม
ลำดับ ใช้แทนน้ำตาลได้เฉพาะในเรื่องของความหวาน เรียกสารพวกนี้ว่า
น้ำตาลเทียม ทุกวันนี้แอสพาร์แทม เป็ นที่นิยมมากกว่า แซ็กคาริน เพราะ
ยังไม่พบว่ามีอันตรายต่อคน มีของดื่มหลายอย่างที่ใส่อแสพาร์แทม เช่น
น้ำอัดลมบางชนิด น้ำผลไม้ผง ลูกกวาด
การคายน้ำของน้ำตาล
ปฏิกิริยาการคายน้ำของน้ำตาลเป็ นปฏิกิริยาประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้น
เมื่อซูโครส (น้ำตาลทราย) ถูกให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูง ทำให้มันแตกตัว
ออกเป็ นส่วนประกอบ ได้แก่ กลูโคสและฟรุกโตส กระบวนการนี้เรียกอีก
อย่างว่าคาราเมล ทำให้คาราเมลมีสีน้ำตาลและรสหวาน
กระบวนการคายน้ำของน้ำตาลเกี่ยวข้องกับการสูญเสียโมเลกุลของ
น้ำจากน้ำตาลซูโครส เมื่อน้ำตาลซูโครสถูกทำให้ร้อน โมเลกุลของน้ำ
ระหว่างโมเลกุลของกลูโคสและฟรุกโตสจะถูกกำจัดออก เกิดเป็ น
สารประกอบใหม่ที่เรียกว่า คาราเมล ในขณะที่ปฏิกิริยาดำเนินต่อไป
โมเลกุลของคาราเมลจะเริ่มทำปฏิกิริยาเพิ่มเติม ทำให้เกิดสารประกอบ
ต่างๆ มากมายที่มีรสชาติและกลิ่นที่เป็ นลักษณะเฉพาะของคาราเมล
การเกิดคาราเมลสามารถเกิดขึ้นได้กับอาหารและเครื่องดื่มหลาย
ชนิด รวมถึงลูกอม ซอส และขนมอบ ระดับของคาราเมลขึ้นอยู่กับ
อุณหภูมิและระยะเวลาการให้ความร้อน รวมถึงค่า pH ของส่วนผสม
ตัวอย่างเช่น สีคาราเมลที่เข้มขึ้นมักผลิตที่อุณหภูมิสูงกว่าและมีค่า pH ต่ำ
กว่า ส่งผลให้ได้รสชาติและกลิ่นที่เข้มข้นขึ้น

ปฏิกิริยาดีไฮเดรชัน (Dehydration Reaction)


ปฏิกิริยาดีไฮเดรชันเป็ นปฏิกิริยาการคายน้ำที่โมเลกุลของน้ำถูกกำจัด
ออกจากโมเลกุลหรือสารประกอบ ทำให้เกิดโมเลกุลใหม่ที่มีน้ำหนัก
โมเลกุลสูงขึ้น ปฏิกิริยานี้เรียกอีกอย่างว่าปฏิกิริยาการควบแน่นเนื่องจาก
โมเลกุลสองโมเลกุลรวมตัวกัน มักจะก่อตัวเป็ นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้นและ
ปล่อยโมเลกุลของน้ำออกมา ปฏิกิริยาการคายน้ำมีความสำคัญในการ
สร้างโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อน เช่น โปรตีน กรดนิวคลีอิก และ
คาร์โบไฮเดรต
ปฏิกิริยาเคมีจากการทดลอง
C12H22O11+H2SO4  12C+11H2O+mixture water and acid

ปั จจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี มีดังนี้
1. ธรรมชาติของสารตั้งต้น และผลิตภัณฑ์
ความเร็วหรือช้าของการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะขึ้นอยู่กับสภาพธรรมชาติของ
สารเหล่านั้น เช่น สารประเภทไอออนิกที่เข้าทำปฏิกิริยากันจะเกิด
ความเร็วของปฏิกิริยาได้ดีกว่าสารที่เป็ นโควาเลนท์ หรือสารทำปฏิกิริยาที่
เป็ นก๊าซจะทำปฏิกิริยาได้เร็วกว่าสารที่มีสถานะอื่น
2. ความเข้มข้นสารตั้งต้น และผลิตภัณฑ์
ความเร็วของปฏิกิริยาจะแปรผันตามความเข้มข้นของสารตั้งต้น และจะ
แปรผกผันกับความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ กล่าวคือ เมื่อปริมาณสารตั้ง
ต้นมีมากอัตราการเกิดปฏิกิริยาก็จะเร็ว และเมื่อเวลาผ่านไปปริมาณสาร
ตั้งต้นลดลง ปฏิกิริยาก็จะค่อยๆลดลงตามปริมาณผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น
3. พื้นที่ผิว
พื้นที่ผิวของสารจะเป็ นจุดของการเกิดปฏิกิริยา หากสารมีพื้นที่ผิวมากก็
จะทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น เช่น การทำปฏิกิริยาของหินปูนกับกรดไฮ
โดรคลอริกจะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หากหินปูนมีความละเอียดเป็ น
ผงขนาดเล็ก มีพื้นที่ผิวมากก็ย่อมทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริกได้
อย่างรวดเร็ว
4. อุณหภูมิ
อุณหภูมิถือเป็ นปั จจัยหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นความเร็วของการเกิดปฏิกิริยา
เช่น การอุ่นน้ำมันด้วยความร้อนเพียงน้อยนิดจะทำให้น้ำมันอุ่นเท่านั้น
แต่หากเพิ่มความร้อนจนทำให้น้ำมันกลายเป็ นไอก็สามารถลุกติดไฟได้
ง่าย
5. ความดัน
ความดันที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมักพบมากในสารที่เป็ น
ก๊าซ เพราะการเพิ่มความดันให้ก๊าซจะทำให้โมเลกุลของก๊าซเกิดการชน
กันมากขึ้น
จุดประสงค์การทดลอง
1. เพื่อศึกษาปฏิกิริยาดีไฮเดรชันระหว่างน้ำตาลกับกรดซัลฟิ วริก
2. เพื่อศึกษาปั จจัยที่ส่งผลต่อการเกิดปฏิกิริยาดีไฮเดรชันระหว่าง
น้ำตาลกับกรดซัลฟิ วริก
3. เพื่อศึกษาปฏิกิริยาคายความร้อนของกรดซัลฟิ วริกเมื่อทำปฏิกิริยา
กับน้ำตาล
4. เพื่อศึกษาโครงสร้างทางกายภาพของสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น
5. เพื่อศึกษาการเขียนสมการเคมีของปฏิกิริยาดีไฮเดรชันที่เกิดขึ้น
สมมุติฐาน
1. ถ้าการทำปฏิกิยาระหว่างกรดซัลฟิ วริกกับน้ำตาลเกิดปฏิกิยาดี
ไฮเดรชัน ดังนั้น น้ำตาลจะเปลี่ยนเป็ นก้อนคาร์บอนสีดำ
2. ถ้าความเข้มข้นของกรดซัลฟิ วริก กับน้ำตาล ส่งผลต่อการเกิด
ปฏิกิริยา ดังนั้นเมื่อความเข้มข้นสูงปฏิกิริยาจะเกิดได้ดี
3. ถ้ากรดซัลฟิ วริกเป็ นปฏิกิริยาคายความร้อนดังนั้นอุณหภูมิจึงสูงขึ้น
เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำตาล
4. ถ้าปฏิกิริยาดีไฮเดรชันของน้ำตาลซูโครสเกิดปฏิกิริยาได้ดีเมื่อมี
ความร้อนสูง ดังนั้นถ้าปฏิกิริยาเกิดการคายความร้อนได้สูงก็จะเกิด
ปฏิกิริยาได้อย่างรวดเร็ว
5. ถ้าสารผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเกิดปฏิกิริยาดีไฮเดรชันของน้ำตาลเป็ น
คาร์บอน ดังนั้น ลักษณะทางกายภาพของคาร์บอนที่ได้จะเป็ นก้อน
ของแข็งมีสีดำ
อุปกรณ์การทดลอง
1. กระบอกตวงขนาด 10 และ 25 mL
2. บีกเกอร์ขนาด 250 mL
3. น้ำเชื่อม 40 g/L 50 mL
4. น้ำตาลทรายขาว 50 g
5. กรดซัลฟิ วริก 1 M และ 18.3 M ปริมาตร 20 mL
6. เทอร์โมมิเตอร์
วิธีการทดลอง

1. ชั่งน้ำตาล 25 g ลงในบีกเกอร์ใบที่ 1 และตวงน้ำเชื่อมปริมาตร 25


mL ลงในบีกเกอร์ใบที่ 2
2. นำกรดซัลฟิ วริก 18.3 mol/L ปริมาตร 10 mL ใส่ลงในบีกเกอร์ทั้ง 2
ใบ
3. วัดอุณหภูมิและสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
4. ทำการทดซ้ำโดยเปลี่ยนความเข้มข้นของกรดซัลฟิ วริกเป็ น 1 mol/L
ตารางบันทึกผลการทดลอง

สารตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อุณหภูมิ

กรดซัลฟิ วริก 18.3


mol/L+น้ำตาล 67 ℃

ทรายขาว

กรดซัลฟิ วริก 18.3


59 ℃
mol/L+น้ำเชื่อม

กรดซัลฟิ วริก 1
mol/L+น้ำตาล 32 ℃

ทรายขาว

กรดซัลฟิ วริก 1
29 ℃
mol/L+น้ำเชื่อม
วิเคราะห์และวิจารณ์ผลการทดลอง
จากการทดลองเมื่อน้ำตาลผสมกับกรดซัลฟิ วริก จะเกิดปฏิกิริยาทาง
เคมีที่เรียกว่าการคายน้ำ (Dehydration reaction) ปฏิกิริยานี้จะกำจัด
โมเลกุลของน้ำออกจากโมเลกุลของน้ำตาลและโมเลกุลของคาร์บอนด้วย
ปฏิกิริยาคายความร้อนสูง ทำให้เกิดคาร์บอนในรูปของมวลสีดำและไอน้ำ
หากน้ำเชื่อมมีความเข้มข้นของน้ำตาลต่ำ ปฏิกิริยาการคายน้ำระหว่างน้ำ
เชื่อมกับกรดซัลฟิ วริกจะรุนแรงน้อยกว่าในกรณีที่มีความเข้มข้นของ
น้ำตาลสูง เนื่องจากน้ำตาลเป็ นสารประกอบหลักที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา
การคายน้ำ ดังนั้นหากความเข้มข้นของน้ำตาลต่ำ ก็จะมีโมเลกุลของ
น้ำตาลน้อยลงที่จะทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถันได้ แสดงว่า การจะเกิด
ปฏิกิริยาคายน้ำได้ดี ต้องมีความเข้มข้นของน้ำตาล 400g/l ขึ้นไป และ
ความเข้มข้นของกรดซัลฟิ วริกยังส่งผลต่อปฏิกิริยาการคายน้ำระหว่างก
รดซัลฟิ วริกกับน้ำตาลโดยเมื่อกรดซัลฟิ วริกเข้มข้นถูกเติมลงในน้ำตาลจะ
เกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดซัลฟิ วริกและน้ำตาลขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมี
โมเลกุลของกรดซัลฟิ วริกจำนวนมากที่สามารถเกิดปฏิกิริยาต่อโมเลกุล
ของน้ำตาลได้ นอกจากนี้ กรดซัลฟิ วริกเข้มข้นยังสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์
จากปฏิกิริยาคายน้ำได้เร็วขึ้น ทำให้เกิดคาร์บอนในปริมาณที่มากขึ้น ใน
ทางกลับกัน ถ้ากรดซัลฟิ วริกเจือจางด้วยน้ำ ความเข้มข้นของไฮโดรเจน
ไอออนที่มีอยู่ในสารละลายจะลดลง ซึ่งหมายความว่ามีไอออนน้อยที่จะ
เกิดปฏิกิริยากับโมเลกุลน้ำตาล ส่งผลให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาช้าลง ยิ่ง
ไปกว่านั้น กรดซัลฟิ วริกที่เจือจางอาจมีความสามารถในการขจัดน้ำออก
ไม่เพียงพอที่จะขจัดน้ำออกจากโมเลกุลของน้ำตาลได้ทั้งหมด ทำให้ผลิต
คาร์บอนได้น้อยลงอีกด้วย
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลอง เรื่อง ปลุกก้อนปริศนา พบว่า กรดซัลฟิ วริกทำให้
เกิดปฏิกิริยาดีไฮเดรชันของน้ำตาลซูโครส ซึ่งการเกิดก้อนสีดำมาจากการ
ระเหยของน้ำและ CO2 เนื่องจากความเข้มข้นของกรดซัลฟิ วริกส่งผลต่อ
ปฏิกิริยาการคายน้ำระหว่างกรดซัลฟิ วริกกับน้ำตาล ซึ่งปฏิกิริยานี้เป็ น
ปฏิกิริยาคายความร้อนซึ่งก่อให้เกิดความร้อนจำนวนมาก น้ำตาลจึงดูด
น้ำออกมา ดังสมการ
C12H22O11 + H2SO4  12C+11H2O+mixture water and acid
น้ำที่ถูกดึงออกจากน้ำตาลจะทำให้กรดซัลฟิ วริกเจือจางลง และเมื่อเกิด
พลังงานความร้อนจึงเผาไหม้คาร์บอนเป็ นสีน้ำตาล และเมื่อน้ำระเหยไป
น้ำตาลจึงเปลี่ยนแปลงกลายเป็ นก้อนสีดำ ซึ่งมาจากคาร์บอน และถ้าหาก
ความเข้มข้นของน้ำตาลน้อย จะส่งผลต่อโมเลกุลของน้ำตาลน้อยลงที่จะ
ทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถันได้ แสดงว่า ความเข้มข้นของกรดซัลฟิ วริก
กับน้ำตาล ส่งผลต่อการเกิดปฏิกิริยา ถ้าหากทั้งสองอย่างมีความเข้มข้น
สูง จะทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ดี

You might also like