Pitakpongm,+##default - Groups.name - Manager##,+02 Denpong JSSNU 15-1 2019

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 24

วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน, 2562): 37-60

© 2019 Journal of Social Sciences, Naresuan University: JSSNU


Recieved: 26 Jul. 2018; Revised: 1 Oct. 2018; Accepted: 29 Oct. 2018
doi: 10.14456/jssnu.2019.2

การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์

เด่นพงษ์ แสนคำ�
อัครยา สังขจันทร์

บทคัดย่อ
คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) นำ�เสนอทฤษฎีสังคมนิยมของเขาเพื่อพิจารณาปัญหาของ
ระบบทุนนิยม สังคมนิยมตามทรรศนะของคาร์ล มาร์กซ์ก็คือ ทฤษฎีที่อธิบายถึงความเสมอภาค
(equality) ในสังคมการเมือง เขามองว่าสำ�หรับอุตสาหกรรมที่ประสบความสำ�เร็จในระบบทุนนิยม
นั้น ค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่อหน่วยมีค่าต่ำ�กว่าราคาที่ขายออกไปต่อหน่วย ซึ่งความแตกต่างนี้
มาร์กซ์เรียกว่ามูลค่าส่วนเกิน ดังนั้น คาร์ล มาร์กซ์จึงเสนอว่า ทุนนิยมต้องถูกปฏิวัติโดยชนชั้น
กรรมาชีพสำ�หรับเปลีย่ นแปลงจากทุนนิยมไปสูส่ งั คมนิยม นอกจากนี้ เขายังนำ�เสนอว่าทฤษฎีสงั คมนิยม
ของเขาเป็นทฤษฎีที่เป็น “วิทยาศาสตร์สังคม” (science of the social) อย่างไรก็ตามในบทความ
นี้ได้เสนอข้อถกเถียงระหว่างคาร์ล มาร์กซ์กับคาร์ล ปอปเปอร์ (Karl Popper) เกี่ยวกับญาณวิทยา
ของทฤษฎีสังคมนิยม และระหว่างคาร์ล มาร์กซ์กับสำ�นักคิดของเสรีนิยม เช่น จอห์น ล็อก (John
Locke) เกีย่ วกับเรือ่ งทรัพย์สนิ ส่วนตัว ผูเ้ ขียนเห็นด้วยกับข้อเสนอของคาร์ล มาร์กซ์ทวี่ า่ ทฤษฎีของ
เขาเป็น “วิทยาศาสตร์สังคม” และเห็นว่าสังคมนิยมจะนำ�ไปสู่สังคมที่ดีกว่า

คำ�สำ�คัญ: คาร์ล มาร์กซ์, ความเสมอภาค, สังคมนิยม, วิทยาศาสตร์สังคม

เด่นพงษ์ แสนคำ� เป็นนักวิจยั ประจำ�ศูนย์วจิ ยั พหุลกั ษณ์สงั คมลุม่ น้�ำ โขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
40002, E-mail: <denpong.sankhum@gmail.com>
อัครยา สังขจันทร์ ปัจจุบนั ดำ�รงตำ�แหน่งเป็น ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ สาขาวิชามนุษยศาสตร์ (ปรัชญาและศาสนา) คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น E-mail: <akasan@kku.ac.th>
บทความนี้ได้รับทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนาผลงานทางวิชาการ ของศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำ�โขง คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

37
Journal of Social Sciences, Naresuan University, Volume 15 Number 1 (January-June, 2019): 37-60
© 2019 Journal of Social Sciences, Naresuan University: JSSNU
Recieved: 26 Jul. 2018; Revised: 1 Oct. 2018; Accepted: 29 Oct. 2018
doi: 10.14456/jssnu.2019.2

A Justification Supporting Karl Marx’s


Socialism Concept

Denpong Saenkum
Akarya Sangkachan

Abstract
Karl Marx presented his theories of socialism to consider problems of cap-
italism. Socialism according to Karl Marx, is a theory that explains about equality
in a political society. He observed that, for successful industry in capitalism, input
unit-costs are lower than output unit-prices. Marx termed this difference the “sur-
plus value.” Therefore, Karl Marx proposed that capitalism must be revolutionized
by the proletarian for a transition from capitalism into socialism. In addition, he
also proposed that his theories of socialism is the sciences of the social. However,
this article will present different perspectives on epistemology of socialism between
Karl Marx and Karl Popper, and on private property between Karl Marx and the
Liberalism of social theorists such as John Locke. In my opinion, I agree with Karl
Marx that his findings are “sciences of the social” and I would insist that socialism
will lead us to a better society.

Keywords: Equality, Karl Marx, Science of Social, Socialism.

Denpong Saenkum is a researcher at the Center for Research on Plurality in the Mekong Region (CERP),
Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University. E-mail: <denpong.sankhum@gmail.com>.
Akarya Sangkachan is Assistant Professor affiliated with Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon
Kaen University. E-mail: <akasan@kku.ac.th>.
This essay is written with the support by the Academic Development Fund, Center for Research on Plurality
in the Mekong Region (CERP), Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University.
38
การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์

บทนำ�
ความเสมอภาคเป็นปัญหาอย่างหนึ่งในทางจริยศาสตร์และปรัชญาการเมือง ที่มีการถกเถียง
ปัญหากันมาอย่างยาวนานแม้จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ในทางปรัชญาปัญหานี้เป็นปัญหาเชิงมโนทัศน์
ที่ไม่อาจจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่าความเสมอภาคไม่มีประโยชน์ในทาง
ปฏิบตั ิ ในแง่ของการนำ�เสนอปัญหาเกีย่ วกับมโนทัศน์เรือ่ งความเสมอภาคนัน้ มีนกั ปรัชญาคนสำ�คัญๆ
ทีเ่ สนอเอาไว้และมีอทิ ธิพลต่อการเปลีย่ นแปลงสังคมไปสูค่ วามเสมอภาคและเท่าเทียมกันได้ ตลอดจน
เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองสำ�หรับหลายประเทศที่นำ�ไปปฏิบัติในการปกครอง ซึ่งปัญหานี้ดูเหมือน
คาร์ล มาร์กซ์ จะเป็นนักปรัชญาทีส่ นใจความเสมอภาคอีกคนหนึง่ เพราะคาร์ล มาร์กซ์ เห็นว่าเสรีภาพ
จะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ถูกครอบงำ�จากระบบโครงสร้างทางชนชั้น แต่เสรีภาพจะเกิดขึ้นเมื่อเราปราศจาก
ระบบโครงสร้างทางชนชั้น หมายความว่าเสรีภาพในทัศนะของมาร์กซ์จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงเมื่อคน
มีความเสมอภาคกันอย่างไม่มีระบบชนชั้น ซึ่งครอบคลุมทั้งทางด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ
ไปพร้อมๆ กัน
ในการศึกษาความคิดของคาร์ล มาร์กซ์ เราสามารถเห็นได้ว่ามีสิ่งหนึ่งปรากฏออกมาจาก
งานเขียนของเขา นั่นคือโครงสร้างทางความคิดที่อยู่บนฐานรองรับของบรรทัดฐานบางอย่าง ซึ่งเมื่อ
ทำ�การวิเคราะห์ความคิดย้อนขึน้ ไปเป็นลำ�ดับก็จะพบว่า เค้าโครงทางความคิดของมาร์กซ์ วางอยูบ่ น
บรรทัดฐานของความเสมอภาค แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้นด้วยวิธีการอธิบายของมาร์กซ์ เขาไม่ได้ตั้งต้น
ด้วยการกล่าวว่าความเสมอภาคเป็นบรรทัดฐานของเขาแต่อย่างไร แต่เขานำ�เสนอโดยการชี้ให้เห็น
ด้วยสภาพความเป็นจริงของสังคมร่วมสมัยภายใต้ระบบทุนนิยมว่าได้ส่งผลกระทบอันรุนแรงต่อวิถี
การมีชีวิตของมนุษย์ที่มีความสัมพันธ์โดยธรรมชาติที่ซึ่งพวกเขามีต่อโลกได้ถูกทำ�ลายลงไปอย่างไร
มาร์กซ์วิพากษ์ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในระบบทุนนิยม ด้วยการชี้ให้เห็นว่ามีปัญหาความไม่เสมอภาค
เกิดขึน้ ภายในความสัมพันธ์ทางการผลิตโดยแสดงออกผ่านมโนทัศน์ทสี่ �ำ คัญคือ การเกิดกระบวนการ
กดขีข่ ดู รีดและมูลค่าส่วนเกิน (ชลดา 2558, 82-83) กระบวนการขูดรีดมูลค่าและส่วนเกินทีว่ า่ นีเ้ กิด
จากการทีช่ นชัน้ ผูป้ กครองทีถ่ อื ครองต้นทุนปัจจัยการผลิตสะสมทุนไว้มากและในขณะเดียวกันชนชัน้
กรรมาชีพก็จะใช้แรงงานของเขามาใช้เป็นส่วนหนึง่ ในขัน้ ตอนของการผลิต ความสัมพันธ์ระหว่างชนชัน้
ผูป้ กครองกับชนชัน้ กรรมาชีพคือ “การจ้างงาน” เมือ่ พิจารณางานเขียนของมาร์กซ์จะพบว่า มาร์กซ์
ให้ความสนใจในการวิพากษ์ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมบนพืน้ ฐานของจริยศาสตร์เป็นสำ�คัญ1 ทัง้ นีเ้ พราะ
1 การที่ผู้เขียนพยายามอธิบายว่ามาร์กซ์วิพากษ์ระบบทุนนิยมบนฐานของจริยศาสตร์นั้น ไม่ใช่ว่า
มาร์กซ์มองว่าทุนนิยมเป็นเรื่องดี/ชั่ว, ถูก/ผิด แต่การวิพากษ์ระบบทุนนิยมของมาร์กซ์ชี้ให้เห็น “ปัญหาเชิง
มนุษยธรรม” นั่นก็คือ การกดขี่และขูดรีดความเป็นมนุษย์ผ่านทุน ถึงแม้ว่ามาร์กซ์จะสื่อว่าปัญหาของระบบ
ทุนนิยมคือปัญหาที่วางอยู่บนฐานคิดของเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy) ก็ตาม แต่รากฐาน
ของปัญหาเหล่านัน้ คือความทุกข์ยากของมนุษย์ในระบบทุนนิยม ทัง้ นีป้ ญ ั หาทางจริยศาสตร์เองก็ไม่ใช่ปญ
ั หา
ทีจ่ ะมองแค่การกระทำ�ของมนุษย์ทสี่ อื่ ว่า สิง่ นัน้ ดีหรือชัว่ สิง่ นัน้ ถูกหรือผิด แต่ปญ
ั หาจริยศาสตร์จะครอบคลุม
ไปถึงปัญหาเชิงมนุษยธรรมต่างๆ ด้วย และพิจารณาว่าปัญหาเหล่านั้นควรทำ�หรือไม่ควรทำ� ด้วยทัศนะ
ของมาร์กซ์ เขามองว่าภายใต้ระบบทุนนิยมมันเป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ควรทำ�อย่างยิง่ ทีจ่ ะเปิดโอกาสให้ทกุ คนได้ครอบ-
ครองปัจจัยอย่างเสรี เพราะการครอบครองปัจจัยอย่างเสรีหรือเรียกว่าทรัพย์สินส่วนตัวนั้นมันจะนำ�ไปสู่การ
สะสมมูลค่าส่วนเกินและเป็นข้อต่อรองกับชนชัน้ กรรมาชีพได้ ดังนัน้ เมือ่ มาร์กซ์มองเช่นนี้ มันจึงนำ�ไปสูก่ าร
วิพากษ์ปัญหาของทุนนิยมบนฐานของเศรษฐศาสตร์การเมือง ฉะนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามาร์กซ์กำ�ลังวิพากษ์
39
เด่นพงษ์ แสนคำ� และ อัครยา สังขจันทร์

มาร์กซ์เชื่อว่า ปัญหาและวิกฤตการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในสังคมล้วนมีสาเหตุมาจากระบบเศรษฐกิจแบบ


ทุนนิยมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ ปัญหาความแปลกแยก
ปัญหาเรื่องการขูดรีด ฯลฯ (อัครยา 2538, 29)
ในการพูดถึงสิง่ ทีอ่ าจเป็นแนวคิดทฤษฎีพนื้ ฐานทีส่ ดุ ของมาร์กซ์ในการวิเคราะห์ลทั ธิทนุ นิยม
ว่าด้วยพลังของแรงงานนั้น จี. เอ. โคเฮน (G. A. Cohen) อธิบายไว้ว่า “ชนชั้นกรรมาชีพต้องขาย
กำ�ลังแรงงานของตนเพือ่ ให้ได้มาแค่พอประทังชีวติ ” (1978, 72, เน้นโดยผูอ้ า้ ง) เมือ่ ชนชัน้ กรรมาชีพ
ต้องขายแรงงานของตนให้กบั ชนชัน้ ผูป้ กครองทีถ่ อื ครองปัจจัยการผลิตอยูจ่ �ำ นวนมากนัน้ ก็ท�ำ ให้เกิด
มูลค่าส่วนเกินขึ้นในระบบของการจ้างงาน และชนชั้นผู้ปกครองก็จะเป็นผู้สะสมส่วนเกินนี้ไว้ต่อไป
เรื่อยๆ ในขณะที่ชนชั้นกรรมาชีพกลับยากจนและไม่สามารถสร้างตัวเองขึ้นมาเป็นชนชั้นผู้ปกครอง
ที่มีอำ�นาจถือครองปัจจัยการผลิตได้ (Laycock 1999, 121) ความสัมพันธ์ที่ตัวมูลค่าของแรงงาน
ไม่ได้รับการแลกเปลี่ยนอย่างเท่ากันเช่นนี้ เป็นสิ่งที่มาร์กซ์ชี้ให้เห็นว่ามันคือความไม่เสมอภาคที่เกิด
ขึ้นในสังคมทุนนิยม โดยจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางชนชั้น2 ทั้งหมดก็คือการปะทะกันระหว่าง
ชนชั้นกรรมาชีพที่เป็นผู้ขายแรงงานกับชนชั้นผู้ปกครองที่เป็นผู้ครอบครองปัจจัยการผลิตนั่นเอง
สิ่งที่มาร์กซ์ต้องการให้เกิดขึ้นก็คือสังคมนิยมซึ่งเป็นสังคมที่มีเสรีภาพอย่างแท้จริง และในสังคมนิยม
นีเ้ องความเสมอภาคของปัจเจกบุคคลก็จะเกิดขึน้ ตามมาด้วย เราจะเห็นสิง่ ทีซ่ อ่ นอยูภ่ ายในสังคมแบบ
ใหม่ที่มาร์กซ์เสนอขึ้นมาในสังคมนิยมหรือที่เรียกว่าคอมมิวนิสต์ก็คือ ปัจเจกบุคคลจะมีความเสมอ
ภาคและมีเสรีภาพอย่างแท้จริง ดังนั้นการพิจารณาปัญหาเรื่องความเสมอภาคตามทัศนะของมาร์กซ์
ผู้เขียนเห็นว่าไม่สามารถพิจารณาแยกจากแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของเขาได้ เพราะปัญหาความเสมอ
ภาคเริม่ จากทีม่ าร์กซ์วพิ ากษ์ระบบทุนนิยมในหนังสือว่าด้วยทุนของเขาและเสนอแนะวิธกี ารทีจ่ ะนำ�ไป
สู่ความเสมอภาคในแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของเขา
ถึงแม้ว่าแนวคิดสังคมนิยมของมาร์กซ์ต้องการที่จะปฏิวัติให้สังคมเกิดความเสมอภาคขึ้น
อย่างแท้จริงก็ตาม แต่แนวคิดของเขาเองก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อยู่ไม่ใช่น้อย ความเสมอภาคที่
มาร์กซ์นำ�เสนอขึ้นนั้นไม่ได้รับการยอมรับจากแนวคิดสายเสรีนิยมเพราะเห็นว่าเป็นทัศนะที่ไม่ได้ให้
สิทธิและเสรีภาพอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังมีขอ้ วิจารณ์ตอ่ ทัศนะของมาร์กซ์อกี หลายข้อวิจารณ์ดว้ ย
กัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการในการนำ�เสนอทฤษฎีสังคมนิยมของเขาเองซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นข้อเท็จจริงทาง
ประวัติศาสตร์และเป็นแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ เพราะเขาเองเป็นนักวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ แต่ก็มี
นักปรัชญาที่พยายามโต้แย้งทัศนะของมาร์กซ์ในเรื่องนี้ด้วย เนื่องจากเราจะไม่แยกพิจารณาระหว่าง
สังคมนิยมกับความเสมอภาคเป็นคนละเรือ่ งกันเพราะผูเ้ ขียนเชือ่ ว่าเป็นเรือ่ งทีส่ มั พันธ์กนั อย่างแยกไม่
ได้ระหว่างสังคมนิยมกับความเสมอภาค ดังนัน้ ข้อวิจารณ์ใดก็ตามทีม่ งุ่ วิจารณ์แนวคิดของมาร์กซ์ใน
ปัญหาเหล่านีใ้ นเชิงจริยศาสตร์ดว้ ย ตัวอย่างเช่น ในงานเขียนของมาร์กซ์เรือ่ ง “Economic and Philosophic
Manuscripts” เขากล่าวว่า คนงานนับวันยิง่ จนลง ในขณะทีท่ รัพย์สนิ ทีเ่ ขาผลิตกลับสะสมพอกพูนมากยิง่ ขึน้
นับวันคนงานก็ยิ่งเพิ่มพลังและปริมาณการผลิต แต่เขายิ่งผลิตสินค้าออกมาได้มากเท่าใด ตัวคนงานเองกลับ
ยิ่งกลายเป็นสินค้าที่ราคาถูกลงมากเท่านั้น (Marx 1988, 42–44)
2 มาร์กซ์ กล่าวว่าประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันทางชนชั้น ซึ่ง
จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัยแต่สิ่งที่เหมือนกันคือ จะเป็นการต่อสู้ระหว่างผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่
เสมอ (ชลดา 2558, 84)
40
การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์

เรือ่ งสังคมนิยมก็ดหี รือในเรือ่ งของความเสมอภาคก็ดี ผูเ้ ขียนจะพยายามแสดงทัศนะโต้แย้งข้อวิจารณ์


นัน้ ๆ เพือ่ ทีจ่ ะให้เหตุผลทางปรัชญาในการสนับสนุนแนวคิดเรือ่ งความเสมอภาคของคาร์ล มาร์กซ์ตอ่
ไป เพราะทัง้ นีผ้ เู้ ขียนเห็นว่าวัตถุนยิ มทางประวัตศิ าสตร์แบบทีม่ าร์กซ์เสนอขึน้ นัน้ เป็นปัญหาทีป่ ระสบ
พบเจอในสังคมไทยเวลานี้ และแน่นอนว่าเราจำ�เป็นที่จะสบับสนุนทฤษฎีของมาร์กซ์และปฏิวัติสังคม
ไปสู่ความเป็นสังคมนิยมเพื่อให้ความเสมอภาคและเสรีภาพเกิดขึ้นกับมนุษย์อย่างแท้จริง

การเปลี่ยนจากทุนนิยมไปสู่สังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์
แนวความคิดเรือ่ งเศรษฐศาสตร์การเมืองของมาร์กซ์ได้รบั อิทธิพลมาจากแนวคิดเรือ่ งวิภาษวิธี
ของเขาเอง และวิธกี ารทีเ่ รียกว่าวิภาษวิธขี องเขาเองก็ได้รบั อิทธิพลความคิดมาจากวิภาษวิธขี องเฮเกล
(Friedrich Hegel) อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวิภาษวิธีที่ว่านี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนก็คือ (1) ตั้งสมมติฐาน
หรือหาทฤษฎี (Thesis) (2) โต้แย้งสมมติฐานหรือทฤษฎี (Antithesis) และ (3) เป็นการสังเคราะห์
ทฤษฎีขนึ้ ใหม่จากการโต้แย้ง (Synthesis) จากวิธกี ารดังกล่าว มาร์กซ์น�ำ มาสร้างเป็นวิภาษวิธใี นการ
เปลีย่ นแปลงสังคม กล่าวคือ มาร์กซ์มองว่าประวัตศิ าสตร์ของมนุษย์ไม่ได้มาจากความจริงสมบูรณ์จาก
พระเจ้าหรือสวรรค์ตามทีเ่ ฮเกลหรือนักปรัชญาก่อนหน้านีเ้ สนอไว้ ซึง่ มาร์กซ์กไ็ ด้วจิ ารณ์แนวความคิด
ของเฮเกลไว้วา่ “เฮเกลเข้าใจธรรมชาติของการทำ�งานและเข้าใจวัตถุประสงค์ของมนุษย์จริงเพราะมนุษย์
เป็นเจ้าของผลงานของตัวเอง แต่ลักษณะเฉพาะของ Hegelian คือการมองว่ามนุษย์พัฒนาตนเอง
ในเรื่อง “จิตวิญญาณ” และสิ่งที่เป็นนามธรรมมากเกินไป” (Marx 1997, 324) แต่ประวัติศาสตร์
ของมนุษย์มาจากการทีม่ นุษย์เป็นผูก้ �ำ หนดและค้นพบมันได้ดว้ ยความสัมพันธ์ตา่ ง ๆ ในสังคมมนุษย์
มาร์กซ์อธิบายไว้วา่ “ประวัตศิ าสตร์มธี รรมชาติเป็นความจริงพืน้ ฐานก็จริง แต่ในขณะเดียวกันนัน้ ก็มี
การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติตามสายธารประวัติศาสตร์ด้วยการกระทำ�ของมนุษย์” (Marx 1970, 42,
เน้นโดยผูอ้ า้ ง) ซึง่ ไม่ใช่เรือ่ งของจิตวิญญาณและนามธรรมแต่อย่างใด นัน่ คือมาร์กซ์ได้น�ำ เอาวิภาษวิธี
มาอธิบายประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าในสังคมมนุษย์ก็มีลักษณะเหมือน
กับวิภาษวิธที มี่ าร์กซ์เสนอซึง่ ไม่ใช่สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ มาอย่างลอยๆ หรือเกิดขึน้ มาเพราะอำ�นาจของพระเจ้า
แต่ประวัตศิ าสตร์สงั คมมนุษย์กม็ ลี กั ษณะแบบวิภาษวิธี นัน่ คือมีการขัดแย้งและมีการตอบโต้กนั ระหว่าง
สิ่งสองสิ่ง ได้แก่การต่อสู้กันระหว่างชนชั้นของผู้ครอบครองปัจจัยการผลิตซึ่งก็คือชนชั้นปกครอง
กับผู้เป็นเจ้าของแรงงานคือชนชั้นกรรมาชีพ เมื่อมีการต่อสู้กันแล้ว ท้ายที่สุดนำ�ไปสู่สังคมที่สมบูรณ์
คือสังคมนิยม กระบวนการเปลีย่ นแปลงทางสังคมนีไ้ ม่ได้เกิดขึน้ จากความคิดอันสมบูรณ์3 แต่เกิดขึน้
จากความขัดแย้งภายในตัวของมันเองและมนุษย์ในสังคมก็จะเปลีย่ นแปลงไปตามกระแสสังคมเหล่านี้
ด้วย และการเปลี่ยนแปลงนี้ก็จะดำ�เนินไปจนถึงขั้นตอนที่ไม่มีความขัดแย้งต่อสู้กัน ในความหมาย
ของมาร์กซ์กค็ อื เปลีย่ นจากทุนนิยมไปเป็นสังคมนิยม และก่อนทีจ่ ะมาเป็นทุนนิยมนัน้ มาร์กซ์กม็ องว่า
เป็นสังคมศักดินามาก่อนและถูกปฏิวตั ลิ ม้ ล้างโดยกลุม่ นายทุน และชนชัน้ นายทุนเป็นหนึง่ ในนักปฏิวตั ิ

3 ความคิดอันสมบูรณ์หมายความว่า ความคิดทีไ่ ม่ขนึ้ กับปัจจัยอะไรมากำ�หนดอะไร เป็นความคิดที่


บริสทุ ธิท์ มี่ นุษย์เราเปลีย่ นแปลงไม่ได้หรือเป็นไปในลักษณะของความคิดทีพ่ ระเจ้าได้วางเอาไว้หรือมอบเอาไว้
ให้กบั มนุษย์ ซึง่ ลักษณะเช่นนีม้ าร์กซ์ไม่เห็นด้วย เพราะมาร์กซ์เห็นว่ามนุษย์สามารถเปลีย่ นแปลงสังคมได้เอง
41
เด่นพงษ์ แสนคำ� และ อัครยา สังขจันทร์

ในประวัตศิ าสตร์มากทีส่ ดุ เพราะได้ปรับปรุงวิธกี ารผลิตให้ดขี นึ้ กว่าชนชัน้ อืน่ ๆ ในประวัตศิ าสตร์และ


เป็นผูร้ บั ผิดชอบต่อการล้มล้างระบบศักดินา (Clark 1998) และใน Capital ทีเ่ ขียนโดยมาร์กซ์ระบบ
ทุนนิยมที่เกิดขึ้น คือความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นอันได้แก่ชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นนายทุนหรือ
ชนชั้นผู้ปกครอง มาร์กซ์ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสังคมที่เข้มข้นไปด้วยความขัดแย้งที่เกิด
ขึ้นมาจากการเอารัดเอาเปรียบของชนชั้นนายทุน แรงงานของกรรมกรในระบบทุนนิยมเป็นเสมือน
สิง่ ของทีม่ กี ารซือ้ ขายกันโดยทัว่ ไปตามตลาด มาร์กซ์ตอ้ งการทีจ่ ะชีใ้ ห้เห็นว่า การทีผ่ ใู้ ช้แรงงานถูกเอา
รัดเอาเปรียบได้รบั ค่าจ้างในราคาขัน้ ต่�ำ เป็นผลมาจากการทีน่ ายทุนสามารถผูกขาดปัจจัยการผลิตยึด
ครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เครื่องจักร และเครื่องมือต่างๆ (Marx 1971, 96-100) อันเกิดขึ้นมาจาก
การสะสมทุนในสังคมศักดินาก่อนหน้า
มาร์กซ์วพิ ากษ์วา่ สังคม “ทุนนิยม” เป็นสังคมทีเ่ ลวร้ายและสมควรทีจ่ ะถูกล้มล้างโดยการปฏิวตั ิ
ของชนชัน้ กรรมาชีพ4 การปฏิเสธสังคมทุนนิยมของมาร์กซ์ เป็นการนำ�ไปสูแ่ นวคิดเรือ่ งสังคมนิยมเพือ่
ให้มนุษย์เป็นผูม้ เี สรีภาพอย่างแท้จริง มาร์กซ์เห็นว่าระบบนายทุนเป็นระบบสุดท้ายทีจ่ ะมี “แรงงานทีล่ ด
คุณค่าความเป็นมนุษย์” ประวัตศิ าสตร์จะคลีค่ ลายไป จนในทีส่ ดุ การขัดแย้งระหว่างชนชัน้ กรรมาชีพ
กับชนชัน้ นายทุนจะทำ�ให้เกิดการปฏิวตั ยิ กเลิกระบบกรรมสิทธิส์ ว่ นตัว ก่อตัง้ ระบบคอมมิวนิสต์ทปี่ จั จัย
การผลิตถูกโอนเป็นของสังคม ในระบบคอมมิวนิสต์แรงงานจะไม่เป็น “แรงงานทีล่ ดคุณค่าความเป็น
มนุษย์” แรงงานจะเป็นของผู้ใช้แรงงานเอง และแม้กับธรรมชาติมนุษย์ก็จะไม่มีความรู้สึกว่าต่ำ�ต้อย
เป็นทาสหรือถูกลดคุณค่า เพราะสามารถพัฒนาการผลิตเอาชนะธรรมชาติได้แล้ว หมายความว่า ใน
ระบบคอมมิวนิสต์มนุษย์สามารถที่จะเป็นนายธรรมชาติและความสัมพันธ์ในการผลิตได้อย่างแท้จริง
(ฉัตรทิพย์ 2541, 164–165) นีค่ อื แนวคิดเบือ้ งต้นของมาร์กซ์ทปี่ ฏิเสธทุนนิยมและนำ�ไปสูส่ งั คมนิยม
ในทรรศนะของมาร์กซ์ ประวัติศาสตร์ คือ ประวัติการต่อสู้ของมนุษย์สู้กับธรรมชาติโดยการ
พัฒนาพลังการผลิต ต่อสูก้ บั ระบบเศรษฐกิจการเมืองทีม่ นุษย์สร้างขึน้ มาขูดรีดกันเอง ประวัตศิ าสตร์
เศรษฐกิจการเมืองของมนุษย์ไม่ใช่วิวัฒนาการโดยสันติ ที่มีความผสมกลมกลืนของทุกฝ่ายในสังคม
ความสัมพันธ์ในสังคมมิได้เป็นในลักษณะที่ผลประโยชน์ของทุกฝ่ายกลมกลืนกันเช่นความคิดของ
พวกเสรีนิยมยุคต้น (อาทิ อดัม สมิธ) ในทรรศนะของมาร์กซ์ ระบบเศรษฐกิจการเมืองที่ผ่านมาเป็น
ระบบที่คนส่วนน้อยผูกขาดเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตขูดรีดคนส่วนใหญ่ ทำ�ให้เกิดการต่อสู้ขัดแย้ง
ความเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์จึงเป็นการต่อสู้การปฏิวัติเพื่อขจัดการขูดรีด (ฉัตรทิพย์
2541, 159) ดังนั้นแล้ว สำ�หรับมาร์กซ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจึงเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่าง
ผลประโยชน์ของฝ่ายตรงข้ามทีข่ บั เคลือ่ นด้วยเบือ้ งหลังโดยแรงขับดันทางเศรษฐกิจ (Calhoun 2002,
120-123) ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นผู้ปกครองกับชนชั้นกรรมาชีพในระบบการจ้าง
งานของสังคมทุนนิยมทีม่ าร์กซ์ปฏิเสธนัน้ มาร์กซ์ได้อธิบายรายละเอียดเกีย่ วกับเรือ่ งนีเ้ อาไว้วา่ ระบบ

4 งานเขียนหลายชิน้ ของมาร์กซ์แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของการวิพากษ์สงั คมทุนนิยมในลักษณะ


ดังกล่าว งานเขียนแทบทุกชิ้นของมาร์กซ์ มีนัยของการประณามสังคมทุนนิยมปรากฏอยู่ งานเขียนที่มีราย
ละเอียดและนัยของการประณามดังกล่าวปรากฏอย่างโดดเด่นได้แก่งานเขียนเรื่อง The Communist Mani-
festo, Economic and Philosophical Manuscript, The German Ideology และ Grundrisse เป็นต้น
(พจมาน 2549, 2)
42
การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์

นายทุนนั้นจะมีลักษณะสำ�คัญอยู่ 3 ประการคือ 1) เป็นการผลิตเพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยน เป็นการ


ผลิตเพื่อตลาด (commodity production) ไม่ใช่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้เอง 2) มีการผูกขาดปัจจัยการ
ผลิตอยูใ่ นมือชนชัน้ ผูป้ กครอง (ชนชัน้ นายทุน) ซึง่ เป็นคนกลุม่ น้อย 3) พลังแรงงาน (labour power)
กลายเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง
สิง่ ทีซ่ อ่ นนัยของความไม่เสมอภาคทีม่ าร์กซ์กล่าวถึงนัน้ บ่งชีใ้ ห้เห็นได้จากลักษณะของระบบ
ทุนนิยมทัง้ 3 ประการข้างต้น หากถามว่าไม่เสมอภาคอย่างไร คำ�ตอบทีช่ ดั เจนทีส่ ดุ ก็คอื เมือ่ ระบบทุนนิยม
ให้ความสำ�คัญกับตลาดซึง่ ไม่ได้ค�ำ นึงถึงผลผลิตทีเ่ กิดขึน้ ว่าเป็นของผูผ้ ลิตเองแต่ผลผลิตนัน้ เกิดขึน้ เพือ่
การซือ้ ขายแลกเปลีย่ นสินค้าเดิมทีเดียวแล้วระบบการผลิตเพือ่ การค้าเช่นนีก้ ไ็ ม่ใช่ระบบแบบนายทุนเพราะ
ไม่ได้ประกอบด้วยนายทุน แต่ประกอบด้วยผูผ้ ลิตเล็กอิสระ (Petty commodity production) ซึง่ เป็น
เจ้าของในกรรมสิทธิแ์ ห่งปัจจัยการผลิตด้วยกันทัง้ สิน้ แต่การทีเ่ ปลีย่ นจากผูผ้ ลิตเล็กมาเป็นนายทุนเกิด
ขึน้ เมือ่ เหล่านายทุนมีการสะสมทุน หรือปัจจัยการผลิตจำ�กัดอยูใ่ นมือคนจำ�นวนน้อย ทำ�ให้สมาชิกอืน่ ใน
สังคมซึง่ ก็คอื ผูผ้ ลิตเล็กและชาวนาเสียปัจจัยการผลิตของตนไป กลายเป็นชนชัน้ กรรมกรหรือกรรมาชีพ
ทีม่ ชี วี ติ อยูก่ บั ค่าจ้างแรงงาน มาถึงตรงนีค้ วามไม่เสมอภาคเริม่ เกิดขึน้ จากระบบการจ้างงานทีช่ นชัน้
ผู้ปกครองถือครองปัจจัยการผลิตมาจากการสะสมทุนเพื่อจ้างแรงงานของชนชั้นกรรมาชีพ ลักษณะ
ของความไม่เสมอภาคทีเ่ ริม่ ปรากฏขึน้ นีด้ จู ะชัดเจนทีส่ ดุ เมือ่ มาร์กซ์อธิบายไว้ในปัจจัยของระบบทุนนิยม
ประการทีส่ ามคือ เรือ่ งของ “พลังแรงงานกลายเป็นสินค้าชนิดหนึง่ ” และนำ�ไปสูก่ ารกดขีข่ ดู รีด มาร์กซ์
อธิบายว่ากระบวนการกดขี่ขูดรีดในระบบทุนนิยมนำ�ไปสู่ความไม่เสมอภาคซึ่งเป็นปัญหาของการ
กดขี่ความเป็นมนุษย์ กระบวนการกดขี่ขูดรีดนี้มาร์กซ์เห็นว่าเป็นผลของการจ้างงานของแรงงานใน
ระบบทุนนิยม ที่ทำ�ให้นายทุนกอบโกยเอามูลค่าส่วนเกินของแรงงานไปเป็นทุนสะสมเพื่อผลิตต่อไป
อีก นี่คือความไม่เป็นธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เองในฐานะของผู้ผลิตร่วมกัน
ปัญหาของการกดขี่ขูดรีดของระบบทุนนิยมในศตวรรษที่ 195 มาร์กซ์ได้เขียนวิเคราะห์
ปัญหาของการเอาเปรียบแรงงานของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอย่างเป็นระบบ และเชื่อว่าสิ่งที่เขา
ค้นพบคือ การวิเคราะห์เรื่องเศรษฐกิจการเมืองอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ กล่าวคือมีหลักฐานพิสูจน์ได้
มีเหตุผลสอดคล้องกัน ไม่ใช่แค่การมองปัญหานี้เชิงมนุษยธรรมหรือในเชิงอุดมคติเท่านั้น มาร์กซ์
วิเคราะห์ว่าระบบทุนนิยมที่ต้องพึ่งพาการทำ�งานร่วมกันของคนส่วนใหญ่ แต่มีการกดขี่ขูดรีด
แรงงานสูงและมีการสะสมและขยายการลงทุนรวมความมั่งคั่งไว้ในมือนายทุนกลุ่มน้อย เป็นระบบ
ที่สร้างความขัดแย้งขึ้นมาภายในตัวของระบบเอง คนงานต้องรับจ้างโดยได้ค่าจ้างน้อยแค่พอยังชีพ
และทำ�งานต่อไปได้ แต่นายทุนได้รบั “มูลค่าส่วนเกิน” จากการขายสินค้าทีค่ นงานผลิตได้ทงั้ หมดไป
ขายและได้กำ�ไรมาก มาร์กซ์ตั้งข้อสังเกตว่าในอุตสาหกรรมที่ประสบความสำ�เร็จในทางปฏิบัติทุกๆ

5 ในแง่ของประวัตศิ าสตร์ มาร์กซ์ได้ศกึ ษาค้นคว้าข้อมูลจากรายงานผูต้ รวจการโรงงานของหน่วยงาน


รัฐของอังกฤษ ซึ่งสะท้อนความโหดร้ายของระบบทุนนิยมอังกฤษในสมัยนั้นแบบตรงไปตรงมาอย่างละเอียด
มากกว่านักวิชาการคนใดเคยทำ�มาก่อน ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมในอังกฤษยุคแรกๆ นัน้ ใช้แรงงานผูห้ ญิง
และเด็กอย่างทารุณ ไม่ต่างจากแรงงานสัตว์ เด็กเป็นแรงงานรับจ้างที่ป่วยตายด้วยโรควัณโรคและโรคจากการ
ทำ�งานอื่นๆ ในอัตราที่สูงมาก (วิทยากร 2558, 66–67) ซึ่งมาร์กซ์ (Marx 1990) ได้อธิบายเกี่ยวกับการ
จ้างงานเอาไว้ในหนังสือ Capital เล่ม I บทที่ 10 (ดูเพิ่มเติมได้ที่ Marx {1867} 1990)
43
เด่นพงษ์ แสนคำ� และ อัครยา สังขจันทร์

อุตสาหกรรมนัน้ การนำ�เข้า (input) ของทุนในราคาต่อหน่วยจะน้อยกว่าผลผลิตทีน่ �ำ ออก (output)


ในราคาต่อหน่วยเขาจึงเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่า “มูลค่าส่วนเกิน” และให้เหตุผลว่ามันขึ้นอยู่กับแรงงาน
ส่วนเกิน ซึง่ เป็นความแตกต่างระหว่างสิง่ ทีเ่ ขาได้รบั เพือ่ ประทังชีวติ กับสิง่ ทีเ่ ขาผลิตได้ (Zalta 2003)
เนือ่ งจากมาร์กซ์ได้พยายามชีใ้ ห้เห็นว่าระบบทุนนิยมเป็นการผลิตเพือ่ การตลาดของการแลก
เปลี่ยนผลผลิตกัน ดังนั้น สินค้าที่นำ�มาแลกเปลี่ยนกันต้องเป็นสินค้าที่แตกต่างกัน เมื่อเป็นสินค้าที่
แตกต่างกันจึงเป็นเรื่องจำ�เป็นที่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมต้องมีการแบ่งหน้าที่ของการทำ�งานขึ้น
ปัญหาของการแบ่งหน้าทีใ่ นการทำ�งานคือ ทำ�ให้คนงานไม่ได้ควบคุมกระบวนการผลิตจนผลิตสินค้า
เบ็ดเสร็จเป็นชิน้ เป็นอันเหมือนการทำ�งานการผลิตในยุคก่อนทุนนิยม การทีค่ นงานไม่ได้เป็นเจ้าของ
และเป็นผูค้ วบคุมปัจจัยการผลิตทีเ่ ป็นตัวกำ�หนดผลตอบแทนและกำ�หนดวิถชี วี ติ ของพวกเขา ทำ�ให้
คนงานต้องทำ�งานหนักแบบซ้ำ�ซากโดยได้ผลตอบแทนต่ำ� เกิดความแปลกแยกและความทุกข์ยาก
เพิ่มขึ้น นำ�ไปสู่ความขัดแย้งและการต่อสู้ทางชนชั้น ก็คือชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ
มาร์กซ์ แสดงให้เห็นว่าผู้มีบทบาทสำ�คัญในการผลิตก็คือ “นายทุน” กับ “กรรมกร” และ
สิ่งที่ก่อให้เกิดมูลค่าก็คือแรงงานของกรรมกรเป็นสำ�คัญ มาร์กซ์มีความกังวลเป็นพิเศษกับเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างคนงานกับแรงงานของพวกเขาเอง (Calhoun 2002, 22) เพราะเห็นว่าในสังคม
นายทุนนอกจากกรรมกรจะถูกกดขี่จากนายทุนแล้ว ฐานะของกรรมกรก็ยังตกต่ำ�ลงมาอีกด้วย นั่นก็
คือกรรมกรจะต้องขายแรงงานของตนเพื่อให้ได้มาซึ่ง “ค่าจ้าง” ที่ “น้อยกว่ามูลค่าของแรงงาน” ที่ใช้
ใน “การผลิต” ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้กับนายทุนได้แสวงหากำ�ไรจากสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยมี
ต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ� แต่มีมูลค่าขึ้นมาเพราะแรงงานของกรรมกร ในสภาวการณ์เช่นนี้ยิ่งการผลิต
ในระบบนายทุนพัฒนามากขึน้ เท่าใด สิง่ ทีก่ รรมกรผลิตขึน้ ก็จะสร้างความมัน่ คงให้กบั นายทุนมากขึน้
เท่านัน้ ในขณะเดียวกันกรรมกรผูข้ ายแรงงานกลับยากจนลงเรือ่ ยๆ จนกระทัง่ ในทีส่ ดุ กรรมกรก็จะถูก
ลดฐานะลงไปเป็นเพียงแค่สิ่งผลิตอย่างหนึ่ง และเป็นสิ่งผลิตที่มีมูลค่าต่�ำ ที่สุดด้วย ทั้งนี้ ก็เพราะว่า
นายทุนเองสามารถขูดรีดแรงงานจากกรรมกร โดยชำ�ระค่าตอบแทนในอัตราที่ต่ำ�ที่สุดเท่าที่กรรมกร
จะสามารถคงชีพอยู่ได้ ดังนั้น ในขณะที่มูลค่าของสิ่งผลิตได้เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ มูลค่าของมนุษย์ก็
ลดลงเป็นเงาตามไปด้วย (สุรยี ์ 2520, 69) ปัญหาทุนนิยมจึงเป็นตัวกลางความสัมพันธ์ทางสังคมใน
การผลิต (เช่นในหมูค่ นงานหรือระหว่างแรงงานกับนายทุน) ผ่านสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงแรงงานทีซ่ อื้
และขายในตลาด (Calhoun 2002, 22) นอกจากเรือ่ งของแรงงานของกรรมกรแล้ว มาร์กซ์ยงั อธิบาย
ต่อไปว่านายทุนมีทางเลือก 2 อย่างในการทำ�งานคือ อย่างแรกนายทุนจะเลือกใช้แรงงานกรรมกร และ
อย่างทีส่ องคือการใช้เครือ่ งจักร แต่ส�ำ หรับกรรมกรแล้วย่อมไม่มที างเลือก เพราะเขาต้องพึง่ นายทุนใน
การขายแรงงานของตนเองอยูแ่ ล้วเพือ่ การยังชีพ แต่ในสังคมทีอ่ ตุ สาหกรรมมีความก้าวหน้า ก็จะทำ�ให้
เทคโนโลยีของเครื่องจักรก็จะพัฒนาไปด้วย แน่นอนว่านายทุนจะต้องเลือกเครื่องจักรเพราะสามารถ
ลดต้นทุนในการจ้างงานได้ และยิ่งเครื่องจักรมีอิทธิพลต่อการผลิตของนายทุนมากขึ้นเท่าใด ฐานะ
ของกรรมกรก็จะตกต่ำ�ลงไปมากเท่านั้น กรรมกรจึงตกเป็นทาสของนายทุนและเครื่องจักรมากขึ้น
เท่านั้น
ทัง้ หมดคือภาพคร่าวๆ ทีม่ าร์กซ์พยายามแสดงให้เห็นถึงปัญหา “ความไม่เสมอภาค” ทีเ่ กิดขึน้

44
การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์

ในสังคมทุนนิยม อันเป็นผลมาจากระบบทีส่ ร้างให้นายทุนเป็นใหญ่มเี สรีภาพอย่างเต็มทีท่ จี่ ะกอบโกย


เอาปัจจัยการผลิตไปเป็นของตน ทั้งในแง่ของปัจจัยการผลิตที่มีอยู่แต่เดิมแล้วกับอีกอย่างคือปัจจัย
การผลิตทีข่ ดู รีดได้จากชนชัน้ กรรมาชีพหรือกรรมกรด้วย มาร์กซ์ไม่เห็นด้วยกับระบบเศรษฐกิจและ
การเมืองแบบเสรีนยิ มทีอ่ า้ งถึงสิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มทีเ่ พราะมันจะนำ�มาซึง่ ความไม่เสมอภาคกัน
ในแง่ของโอกาส และการเกิดความไม่เสมอภาคทางโอกาสนีน้ �ำ ไปสูป่ ญ ั หาอย่างหนึง่ คือการไม่มเี สรีภาพ
อย่างแท้จริง มาร์กซ์เสนอว่าการทีส่ งั คมจะมีเสรีภาพอย่างแท้จริงสังคมต้องพัฒนาไปสูค่ วามเสมอภาค
กันในทางโอกาส เพราะจะไม่มีใครแก่งแย่งกัน ตามความหมายของมาร์กซ์ก็คือการพัฒนาจากระบบ
เศรษฐกิจแบบทุนนิยมไปสูส่ งั คมนิยมนัน่ เอง เมือ่ เข้าไปสูส่ งั คมนิยมเมือ่ ใดเราก็จะพบว่าเมือ่ นัน้ เสรีภาพ
อย่างแท้จริงก็จะเกิดขึ้น
เพื่อที่จะเปลี่ยนสภาพจากสังคมนิยมชั้นต้นไปสู่สังคมนิยมชั้นสูง (Communist Society)
นั้น มาร์กซ์และเองเกลเสนอไว้ว่า ชนชั้นกรรมาชีพจะต้องปฏิบัติตามหลัก 10 ประการที่เขาเสนอเอา
ไว้ เช่น การล้มเลิกกรรมสิทธิใ์ นทีด่ นิ การรวมเครือ่ งมือในการผลิตและปัจจัยการผลิตไว้ให้กบั รัฐ การ
รวมอุตสาหกรรมและการเกษตรเข้าด้วยกัน การขจัดความแตกต่างระหว่างตัวเมืองกับชนบท การ
จัดการศึกษาโดยไม่เรียกค่าตอบแทน และการทำ�ลายระบบการใช้แรงงานเด็กในโรงงาน เป็นต้น เมื่อ
เผด็จการโดยชนชัน้ กรรมาชีพทำ�สิง่ เหล่านีส้ �ำ เร็จลงได้แล้ว ระบบนายทุนก็จะหมดสภาพไป รัฐในระบบ
สังคมนิยมเช่นนี้ซึ่งก็คือชนชั้นกรรมาชีพที่รวมกันเป็นผู้ปกครองก็จะสลายตัวลง6 (Wither Away)
ชนชัน้ และการต่อสูร้ ะหว่างชนชัน้ ก็จะไม่หลงเหลืออยูใ่ ห้เป็นทีป่ รากฏ และสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ก็คอื ความร่วม
มือกันของมนุษย์ในสังคมในรูปของสมาคม (สุรีย์ 2520, 64)
เราจะเห็นได้ว่าข้อถกเถียงที่นักสังคมนิยมโดยเฉพาะมาร์กซ์ ที่ได้ยกเอาข้ออ้างมาถกเถียง
กับระบบทุนนิยมก็คือว่า ในระบบทุนนิยมปัญหาสำ�คัญอยู่ที่การกระจายสิ่งของ (distribution
of material) หรือสินค้าทางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่เท่าเทียมกันหรือมีการแจกจ่ายที่ไม่เป็น
ธรรม มาร์กซ์เสนอแนวทางที่จะทำ�ให้เกิดความเป็นธรรมหรือความเสมอภาคให้เกิดขึ้นภายใน
สังคมการเมืองโดยเขากล่าวว่า “ให้แต่ละคนได้รับตามแต่ที่เขาจำ�เป็นต้องได้” ความหมายก็คือ
ว่า เมื่อแต่ละคนมีความสามารถที่จะผลิตได้อย่างไม่เท่าเทียมกัน บางคนผลิตได้มาก บางคนผลิต
ได้น้อยก็ให้แต่ละคนผลิตได้ตามที่แต่ละคนจะมีความสามารถที่จะทำ�ได้ หลักความเท่าเทียมของ
มาร์กซ์บอกว่าให้แต่ละคนได้รับผลประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณที่เท่าๆ กัน ในทัศนะของมาร์กซ์
ต้นตอของความไม่เสมอภาคกันในสังคมมาจากการอนุญาตให้ปจั เจกบุคคลมีสทิ ธิในการครอบครอง
ทรั พ ย์ สิ น ส่ ว นตั ว วิธีแก้ความไม่เ สมอภาคมีอ ยู่ท างเดียวคือต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

6 การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพที่มาร์กซ์เสนอนั้นประกอบด้วยสองขั้น ขั้นแรกเรียกว่าการปฏิวัติ
โดยชนชัน้ กรรมาชีพแบบ “เผด็จการโดยชนชัน้ กรรมาชีพ” ในขัน้ นีเ้ สรีภาพทีแ่ ท้จริงยังไม่เกิดขึน้ เพราะชนชัน้
กรรมาชีพจะต่อสู้กับชนชั้นผู้ปกครองจนตนเองได้รับชัยชนะแล้วรวบรวมเอาทรัพย์สินมาเป็นของชนชั้นผู้
ปกครอง (ชนชัน้ ผูป้ กครองโดยกรรมาชีพ) ซึง่ เป็นการเริม่ ต้นเปลีย่ นจากสังคมทุนนิยมไปสูค่ วามเป็นสังคมนิยม
ส่วนขัน้ ทีส่ องก็คอื ชนชัน้ กรรมาชีพทีป่ ฏิวตั แิ ล้วรวมตัวกันเป็นชนชัน้ ผูป้ กครองก็จะสลายตัวลงและไม่มชี นชัน้
ทางสังคมเกิดขึน้ สิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในขัน้ นีก้ ค็ อื ความร่วมมือกันของสังคมมนุษย์ทผี่ ลิตผลผลิตร่วมกันและได้รบั
การแบ่งสรรปันส่วนอย่างเป็นธรรมที่สุด
45
เด่นพงษ์ แสนคำ� และ อัครยา สังขจันทร์

ส่วนตัวที่เป็นเครื่องมือในการทำ�มาหากิน ทรัพย์สินเหล่านี้เมื่อถูกยกเลิกไปแล้วจะต้องตกเป็น
ส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อทุกคนมีโอกาสที่จะใช้สิ่งเหล่านี้ทำ�มาหากินเสมอกันแล้ว ทุกคนก็ย่อม
ที่จะมีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะทำ�มาหากินสร้างสรรค์งานเต็มความสามารถ (สมภาร 2540, 151)

โต้แย้งข้อวิจารณ์ที่มีต่อทัศนะของคาร์ล มาร์กซ์ เพื่อให้เหตุผลในการสนับสนุนแนวคิดเรื่อง


ความเสมอภาคของคาร์ล มาร์กซ์
ในการให้เหตุผลเพื่อสนับสนุนแนวคิดเรือ่ งความเสมอภาคของคาร์ล มาร์กซ์ นัน้ จำ�เป็นต้อง
พิจารณาจากการให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรือ่ งสังคมนิยมของมาร์กซ์ เพราะแนวคิดเรือ่ งความเสมอ
ภาคในทัศนะของมาร์กซ์ ซ่อนอยู่ในแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของเขา แต่สังคมนิยมของมาร์กซ์เขาไม่
ได้อธิบายไว้อย่างตรงไปตรงมา เขากลับวิพากษ์ระบบทุนนิยมแทน ถือได้วา่ การจะศึกษาแนวคิดของ
มาร์กซ์จงึ มุง่ ไปทีก่ ารวิพากษ์ทนุ นิยมเป็นหลักและทุนนิยมทีว่ า่ นีก้ อ็ ยูบ่ นแนวคิดวัตถุนยิ มวิภาษวิธขี อง
มาร์กซ์นนั่ เอง ดังนัน้ จึงจำ�เป็นทีจ่ ะต้องพิจารณาไปพร้อมๆ กัน การให้เหตุผลในการสนับสนุนแนวคิด
ดังกล่าวนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้นมาจากข้อวิจารณ์ของนักปรัชญาที่มีต่อทัศนะของมาร์กซ์ และนำ�
เอาข้อวิจารณ์นนั้ มาทำ�การโต้แย้งและถกเถียง เพือ่ ทีจ่ ะแสดงเหตุผลในการสนับสนุนทฤษฎีของคาร์ล
มาร์กซ์มากยิง่ ขึน้ โดยผูเ้ ขียนจะนำ�เสนอข้อวิจารณ์นนั้ ๆ ทีม่ ตี อ่ ทัศนะของมาร์กซ์พร้อมกันนัน้ ก็จะโต้
แย้งข้อวิจารณ์นั้นๆ ไปด้วย จากการรวบรวมเอกสารพอสรุปข้อวิจารณ์ได้ดังนี้

1. ข้อวิจารณ์/ข้อสนับสนุนสังคมนิยมของมาร์กซ์ในเชิงญาณวิทยา
ข้อวิจารณ์นเี้ ป็นข้อวิจารณ์จากนักปรัชญาวิทยาศาสตร์คนหนึง่ ทีช่ อื่ ว่า คาร์ล ปอปเปอร์ (Karl
Popper) ปอปเปอร์วเิ คราะห์ความคิดทางการเมืองของมาร์กซ์วา่ มาร์กซ์ได้รบั อิทธิพลความคิดจาก
เฮเกลในเรือ่ งแนวทางหรือวิวฒ ั นาการทางประวัตศิ าสตร์ทเี่ ป็นไปตามกฎความขัดแย้ง และได้แนวคิด
ทางวัตถุนยิ ม โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งของวิธกี ารทางวิทยาศาสตร์รวมเข้าด้วย ทำ�ให้มาร์กซ์วเิ คราะห์
ประวัตศิ าสตร์โดยเอาวัตถุมาเป็นพืน้ ฐานหรือเป็นการอธิบายประวัตศิ าสตร์ในแง่ของวัตถุ ปอปเปอร์
เห็นว่าวิธกี ารทีม่ าร์กซ์อา้ งว่าเป็นวิทยาศาสตร์นนั้ แท้จริงแล้วไม่ใช่วทิ ยาศาสตร์ เพราะโดยทัว่ ไปเรามัก
เข้าใจกันว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาข้อมูลจากอดีต แล้วนำ�มาอธิบายปรากฏการณ์ใน
ปัจจุบัน ตลอดจนทำ�นายปรากฏการณ์ในอนาคต ในทัศนะของปอปเปอร์เราไม่สามารถคาดการณ์ใน
อนาคตโดยอ้างข้อมูลจากอดีตได้เลย ซึง่ วิธกี ารข้างต้นทีม่ าร์กซ์ใช้ในการอธิบายวิวฒ ั นาการสูส่ งั คมนิยม
นัน้ ก็คอื วิธี “อุปนัย” ซึง่ นักวิทยาศาสตร์ทงั้ หลายต่างก็ตงั้ สมมติฐานของตนบนฐานคิดและการอธิบาย
แบบอุปนัยนี้เอง
เมือ่ ปอปเปอร์เห็นว่าวิธกี ารทางวิทยาศาสตร์ดงั กล่าวเป็นความเข้าใจผิด7 วิธกี ารของมาร์กซ์
7 การที่ปอปเปอร์มองว่าวิทยาศาสตร์ที่อาศัยอุปนัยเป็นสิ่งที่ผิดเพราะเขาคิดว่าตรรกวิทยาต้องเป็น
ตรรกวิทยาแบบนิรนัยเท่านั้น สำ�หรับวิทยาศาสตร์ ปอปเปอร์พยายามอ้างถึงแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์
ในสมัยศตวรรษที่ 20 คือไอน์สไตน์ ทัศนะของไอน์สไตน์กับปอปเปอร์มีความเหมือนกันก็คือว่า “ทฤษฎีไม่
สามารถสร้างขึ้นจากผลของการสังเกตทดลอง แต่มันเกิดจากการสร้างขึ้นมาในเหตุผลเท่านั้นเอง” สำ�หรับ
ปอปเปอร์ตรรกวิทยามีแบบเดียวคือตรรกวิทยานิรนัย ทฤษฎีในแง่ของนิรนัยจึงเป็นทฤษฎีที่สืบเนื่องหรือ
ขยายความทฤษฎีเก่า ส่วนตรรกวิทยาอุปนัยทีน่ กั วิทยาศาสตร์ทวั่ ไปถือเป็นตรรกวิทยาแห่งการสร้างสรรค์นนั้
46
การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์

ทีม่ พี นื้ ฐานอยูบ่ นวิธกี ารทางวิทยาศาสตร์ดงั กล่าวก็ยอ่ มเป็นการเข้าใจผิดด้วย วิทยาศาสตร์ยอมรับกฎ


ของเหตุและผล (Law of Cause and Effect) ว่าเป็นกฎธรรมชาติ และยอมรับในความสม่ำ�เสมอ
ของธรรมชาติ เมื่อคิดว่าพบสาเหตุแห่งปรากฏการณ์ในธรรมชาติแล้วก็นำ�ไปคาดการณ์อนาคตได้ว่า
เมื่อมีสาเหตุที่เพียงพอก็ย่อมมีปรากฏการณ์อันเป็นผลเกิดขึ้นตามนัยนี้ มาร์กซ์ได้ใช้วิธีการเดียวกัน
นีใ้ นการศึกษาข้อมูลจากประวัตศิ าสตร์พบว่า เศรษฐกิจหรือพลังเศรษฐกิจมีอทิ ธิพลต่อประวัตศิ าสตร์
ตลอดจนนิยามประวัตศิ าสตร์วา่ เป็นการต่อสูร้ ะหว่างชนชัน้ และปอปเปอร์ยงั แย้งว่า การต่อสูร้ ะหว่าง
ชนชั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เท่านั้นหาใช่เป็นประวัติศาสตร์ทั้งหมดไม่ (สุรีย์ 2520,
65) ปอปเปอร์สรุปว่า การคาดการณ์อนาคตของระบบเศรษฐกิจและการเมืองของมาร์กซ์ไม่สมเหตุ
สมผล เนื่องจากเราไม่อาจเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบันไปกำ�หนดล่วงหน้าว่าอนาคต
จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ดังนั้น จากแนวโน้มของเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปัจจุบัน
เป็นเครื่องแสดงว่าการคาดการณ์ของมาร์กซ์ผิดก็จริง แต่จุดสำ�คัญของการผิดพลาดในทัศนะของ
ปอปเปอร์ไม่ใช่อยูท่ ขี่ อ้ เท็จจริงเชิงประสบการณ์ไม่สนับสนุนทฤษฎีของเขา แต่อยูท่ กี่ ารคาดการณ์ของ
เขามีรากฐานอยู่บนลัทธิประวัติศาสตร์นิยม ซึ่งปอปเปอร์เห็นว่าไม่จ�ำ เป็นเลยที่เหตุการณ์ในอนาคต
จะต้องเป็นไปตามแนวโน้มทางประวัติศาสตร์ให้แก่เราในวันนี้ ข้อที่ไม่สมเหตุสมผลมันอยู่ที่มาร์กซ์
เป็นนักประวัติศาสตร์นิยม ทฤษฎีทางเศรษฐกิจการเมืองของเขายืนอยู่บนทฤษฎีทางประวัติศาสตร์
และทฤษฎี ท างประวัติศาสตร์ของเขายืนอยู่บนทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในการพิสูจน์แบบ
อุปนัย (ซึ่งเป็นเรื่องที่ปอบเปอร์ปฏิเสธ) อันเป็นการพิสูจน์ที่ไม่มีอยู่ในวิทยาศาสตร์ตามทัศนะของ
ปอปเปอร์ ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และการเมืองของมาร์กซ์ จึงเป็นการคาด
การณ์ที่ผิดด้วย ข้ออ้างของมาร์กซ์ที่ว่าทฤษฎีของเขาเป็นวิทยาศาสตร์จึงเป็นข้ออ้างที่ไร้น้ำ�หนักโดย
สิ้นเชิง (Popper 1966) การแย้งทฤษฎีของมาร์กซ์ตามทัศนะของปอปเปอร์นั้น ถึงแม้จะเป็นการ
เพ่งเล็งไปทีค่ วามเป็นวิทยาศาสตร์แบบอุปนัยก็ตาม แต่ทงั้ หมดก็คอื ว่าปอปเปอร์ตอ้ งการแสดงให้เห็น
ว่าสังคมนิยมในทัศนะของมาร์กซ์เป็นสิง่ ทีไ่ ม่อาจเกิดขึน้ จริงและเมือ่ สังคมนิยมไม่อาจเกิดขึน้ จริง ข้อ
เสนอเกี่ยวกับความเสมอภาคในทัศนะของมาร์กซ์ก็ย่อมเป็นเรื่องไร้สาระ ปอปเปอร์มองถึงความเป็น
วิทยาศาสตร์ในแนวคิดสังคมนิยมของมาร์กซ์เพื่อที่จะปฏิเสธแนวคิดทั้งหมดที่ซ่อนอยู่ในนั้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นตรงข้ามกับปอปเปอร์ ที่พยายามวิจารณ์ทฤษฎีของมาร์กซ์ สิ่งที่ผู้
เขียนไม่เห็นด้วยกับปอปเปอร์นนั้ แสดงออกมาในฐานคิด 2 อย่าง อย่างแรกคือทัศนะทางวิทยาศาสตร์
ของปอปเปอร์เป็นทัศนะแบบสุดโต่ง (มองวิทยาศาสตร์แบบนิรนัย) ส่วนอย่างที่สองก็คือ ทัศนะทาง
สังคมการเมืองของมาร์กซ์เป็นการเสนอข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการ
ปอปเปอร์เห็นว่าไม่มเี พราะการสร้างสรรค์ทฤษฎีมใิ ช่เกิดจากขบวนการของอุปนัย แต่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์
จากสมองของมนุษย์ สำ�หรับทฤษฎีทเี่ ป็นจุดเริม่ ต้นให้ทฤษฎีอนื่ ได้สบื เนือ่ งและขยายความนัน้ ปอปเปอร์กเ็ ห็น
ว่าไม่ใช่ได้จากการสังเกตเหมือนกัน ปอปเปอร์อธิบายต่อไปว่า จริงอยูท่ วี่ า่ ความเป็นจริงทัง้ หลายวิทยาศาสตร์
นำ�มาปรากฏแก่เรา แต่ก็มีอะไรอีกหลายอย่างที่เราสังเกตความจริงไม่ได้ เช่น พลังงานต่างๆ ที่มองไม่เห็น
คลืน่ ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า เป็นต้น และการประสานงานกันอย่างลึกลับซับซ้อนของมัน ซึง่ ล้วนแล้วแต่มโี ครงสร้าง
ในระดับที่ลึกซึ้งและเป็นสิ่งที่เราเองยังไม่สามารถศึกษาได้จนรู้แจ้งเห็นจริงทั้งหมด ยังมีความจริงอีกมากมาย
นับไม่ถ้วนที่อยู่รอบตัวเรา และกำ�ลังได้รับการศึกษาอยู่เรื่อยๆ ดังนั้น ปอปเปอร์จึงไม่เห็นด้วยกับมาร์กซ์ที่จะ
นำ�เอาสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตไปทำ�นายหรือคาดการณ์อนาคต
47
เด่นพงษ์ แสนคำ� และ อัครยา สังขจันทร์

ทางวิทยาศาสตร์และสามารถนำ�มาใช้ในการคาดการณ์และทำ�นายสังคมได้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่อยู่ตรง
ข้ามกับปอปเปอร์ที่พยายามแย้งมาร์กซ์
สำ�หรับผู้เขียนเห็นว่า ทฤษฎีสังคมนิยมของมาร์กซ์เป็นทฤษฎีที่สามารถอธิบายลักษณะของ
ความเสมอภาคของสังคมทุนนิยมได้ดที สี่ ดุ ทฤษฎีหนึง่ ประการแรก คือการวิพากษ์ทนุ นิยมของมาร์กซ์
เป็นการวิพากษ์เหตุการณ์เชิงประจักษ์ทสี่ อดคล้องกับสภาพของสังคมร่วมสมัยและสภาพสังคมทีม่ มี า
ก่อนหน้านัน้ และการทีม่ าร์กซ์อธิบายว่าแนวคิดของเขาเป็นวิทยาศาสตร์กเ็ ป็นอีกเรือ่ งหนึง่ ทีย่ อมรับได้
ในแง่ของวิธกี ารแสวงหาความรูแ้ บบวิทยาศาสตร์ ซึง่ แนวคิดการวิพากษ์ทนุ นิยมโดยใช้ประวัตศิ าสตร์
วิภาษวิธีก็จัดเป็นวิธีวิทยา (methodology) อย่างหนึ่งในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการให้เหตุผลแบบ
มาร์กซ์ท�ำ ให้ปอปเปอร์ไม่เห็นด้วยอย่างยิง่ และ ประการทีส่ อง ทีเ่ ราอาจสนับสนุนแนวคิดของมาร์กซ์
ได้กค็ อื แนวคิดของมาร์กซ์เป็นวิทยาศาสตร์สงั คมทีส่ อดคล้องกับแนวคิดของสำ�นักปฏิฐานนิยมและ
ยังสอดคล้องกับตัวอย่างของทุนนิยมที่กำ�ลังแพร่หลายในปัจจุบันนี้
ในลักษณะของการสนับสนุนแนวคิดของมาร์กซ์ในข้างต้นอาจอธิบายได้ดงั นีว้ า่ เราจะเห็นว่า
สิง่ ทีม่ าร์กซ์ยนื ยันในทฤษฎีของเขาก็คอื เขายืนยันว่า สิง่ ทีเ่ ขาค้นพบมีลกั ษณะเป็นวิทยาศาสตร์ กล่าว
คือ มีหลักฐานพิสูจน์ได้ มีเหตุผลสอดคล้องกัน ไม่ใช่แค่การมองปัญหานี้เชิงมนุษยธรรมหรือในเชิง
อุดมคติเท่านัน้ แต่ส�ำ หรับปอปเปอร์มองว่า การค้นพบของมาร์กซ์ ไม่ใช่การค้นพบทีเ่ ป็นวิทยาศาสตร์
เพราะความผิดพลาดของมาร์กซ์คอื การใช้ขอ้ มูลในอดีตมาคาดการณ์อนาคต และรวมถึงปัจจุบนั ด้วย
จากข้อวิจารณ์ของปอปเปอร์ที่มีต่อมาร์กซ์อาจแยกได้ 2 ลักษณะคือ 1) ปอปเปอร์ไม่ยอมรับวิธีการ
แบบมาร์กซ์ว่าเป็นวิทยาศาสตร์เนื่องจากวิธีการแบบมาร์กซ์เป็นวิธีอุปนัย และ 2) ปอปเปอร์เห็นว่า
แนวคิดของมาร์กซ์มีรากฐานอยู่บนลัทธิประวัติศาสตร์นิยม ไม่จำ�เป็นเลยที่เหตุการณ์ในอนาคตจะ
ต้องเป็นไปตามแนวโน้มทางประวัติศาสตร์ให้แก่เราในวันนี้ จากทัศนะสองประการที่ปอปเปอร์ให้ไว้
นี้ ผู้เขียนเห็นว่าปอปเปอร์เป็นนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่เห็นแย้งกับความเป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง
และปอปเปอร์ยังเห็นว่าวิธีการแบบประวัติศาสตร์นิยมไม่ใช่วิธีการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์
ได้ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าทั้งสองประการนี้ต่างเป็นแนวคิดที่ผิดพลาดทั้งสิ้น เพื่อที่จะสนับสนุนแนวคิด
ของมาร์กซ์ ผูเ้ ขียนจะทำ�การโต้แย้งแนวคิดทีป่ อปเปอร์เสนอไว้ ทัง้ นี้ ก็เพือ่ ทีจ่ ะชีใ้ ห้เห็นถึงความผิด
พลาดของปอปเปอร์และเป็นการสนับสนุนต่อทัศนะของมาร์กซ์ต่อไป
ปอปเปอร์มองวิทยาศาสตร์แบบนิรนัยว่าเป็นวิทยาศาสตร์แบบเดียวที่มีอยู่ ส่วนวิทยาศาสตร์
แบบอุปนัยเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง จึงเป็นเหตุผลนำ�ไปสู่การปฏิเสธแนวคิดของมาร์กซ์ เหตุผลของการ
มองวิทยาศาสตร์แบบปอปเปอร์ก็เพื่อที่จะแยกว่าอะไรคือวิทยาศาสตร์และอะไรที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
ปรัชญาวิทยาศาสตร์ทสี่ �ำ คัญทีส่ ดุ ของปอปเปอร์กค็ อื วิทยาศาสตร์ตอ้ งสามารถ “พิสจู น์ได้วา่ เป็นเท็จ”
แต่ปอปเปอร์กส็ ร้างทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ทขี่ ดั แย้งตัวเอง คือ ยอมรับในนิรนัยว่าเป็นรูปแบบเดียวที่
มีอยู่จริง ส่วนอุปนัยไม่มีอยู่จริง การยอมรับเช่นนี้คือความขัดแย้งในตัวเองของปอปเปอร์ เพราะโดย
ปกติแล้วนิรนัยเป็นการอ้างเหตุผลที่มีโอกาสผิดน้อยกว่าอุปนัย เพราะการอ้างเหตุผลแบบนิรนัยนั้น
เริ่มต้นด้วยข้ออ้างที่เป็นจริงและข้อสรุปที่เป็นจริงด้วย ดังนั้น การหาข้อโต้แย้งนิรนัยจึงทำ�ได้ยาก
เมือ่ ทำ�ได้ยากก็เป็นการขัดแย้งต่อแนวคิดของปอปเปอร์เองเพราะเขาต้องการทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์

48
การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์

ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเท็จ (แต่นิรนัยไม่มีข้ออ้างแย้งได้แนวคิดของปอปเปอร์จึงเป็นแนวคิดที่ขัด
แย้งในตัวเอง)
การทีค่ วามรูแ้ บบอุปนัยสามารถผิดได้นนั้ ก็มขี อ้ ดีอย่างหนึง่ ก็คอื อุปนัยนัน้ ยังมีเนือ้ หาสาระที่
เกีย่ วข้องกับโลกแห่งความจริงอยู่ สำ�หรับความรูท้ ไี่ ด้จากการนิรนัยนัน้ ถึงแม้วา่ จะไม่มที างผิดพลาดแต่
ก็เป็นความรู้แบบอุดมคติ คือ เป็นความรู้ที่ผูกติดอยู่ในจินตนาการของเรา อย่างไรก็ดี เวลาที่เราจะ
นำ�เอาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นนิรนัยอย่างหนึ่งมาอธิบายปรากฏการณ์ภายนอกที่ปรากฏต่อเรา เราจะพบ
ว่าคณิตศาสตร์จะมีความไม่แน่นอนอีกต่อไป นั่นหมายความว่า การใช้เหตุผลแบบนิรนัยยังถูกต้อง
อยูเ่ สมอตราบเท่าทีเ่ รายังไม่น�ำ เอาการใช้เหตุผลแบบนิรนัยนัน้ มาใช้กบั โลกแห่งความเป็นจริง และเมือ่
ใดทีน่ �ำ เอานิรนัยมาใช้กบั โลกแห่งความเป็นจริงนิรนัยก็ไม่สามารถแสดงได้วา่ มีความสมเหตุสมผลตาม
โลกแห่งความเป็นจริงได้ เราจะเห็นได้วา่ นิรนัยนัน้ ไม่จ�ำ เป็นทีจ่ ะต้องสอดคล้องกับโลกแห่งความเป็น
จริงก็ได้เพียงแค่การอ้างเหตุผลแบบนิรนัยนัน้ เป็นการเดินตามกฎและกฎนัน้ ก็เป็นจริงโดยตัวมันเองไม่
ขึ้นกับปรากฏการณ์ภายนอกแต่อย่างใด ที่ว่าการอ้างเหตุผลแบบนิรนัยนั้นไม่ขึ้นอยู่กับความเป็นจริง
ของโลกภายนอกแต่จะขึ้นกับความเป็นจริงที่เราตั้งเป็นข้อสมมติเริ่มต้น ในทางตรรกวิทยาก็คือข้อ
สรุปของนิรนัยจะเป็นจริงเสมอถ้าข้ออ้างเริ่มต้นและข้ออ้างทุกข้ออ้างเป็นจริง พิจารณาจากตัวอย่าง
ดังนี้

(1) นักเรียนทุกคนเป็นคนเรียบร้อย
เด่นพงษ์เป็นคนเรียบร้อย

ดังนั้น เด่นพงษ์เป็นนักเรียน

ตัวอย่าง (1) ถือว่าเป็นการอ้างเหตุผลแบบนิรนัยที่ไม่สมเหตุสมผลหรือ Invalid นั่นเอง ซึ่ง


สามารถอธิบายได้ว่า จากข้ออ้างที่ 1 เราจะสมมติให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของคนที่เป็นคนเรียบร้อย
และสมมติข้ออ้างที่ 2 ว่าเด่นพงษ์ก็เป็นส่วนหนึ่งของคนเรียบร้อยด้วย แต่เด่นพงษ์ก็ไม่จำ�เป็นที่จะ
ต้องเป็นนักเรียนก็ได้ ดังนัน้ โดยหลักของความสมเหตุสมผลแบบนิรนัยแล้วถ้าเราสมมติวา่ ข้ออ้างเป็น
จริงจึงไม่มีทางเป็นไปได้ว่าข้อสรุปจะเป็นเท็จ แต่ข้อสรุปนี้ก็ไม่อาจเป็นจริงเสมอไป ดังนั้น การอ้าง
เหตุผลนีจ้ งึ ไม่สมเหตุสมผล และในทางวิทยาศาสตร์การอ้างเหตุผลแบบนิรนัยจะไม่สามารถยืนยันข้อ
เท็จจริงกับวิทยาศาสตร์ได้เลย ผูเ้ ขียนขอให้เหตุผลว่าทำ�ไมเราถึงไม่สามารถใช้นริ นัยกับวิทยาศาสตร์
ได้ เพราะการจะยืนยันข้อสมมติฐานว่าจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ต้องให้ผลเชิงประจักษ์อย่างเป็นจริง
แต่การอ้างเหตุผลแบบนิรนัยไม่สนใจว่าผลเชิงประจักษ์จะจริงหรือเท็จอย่างไรเพียงแค่เราทำ�ตามกฎให้
สมเหตุสมผลตามหลักของนิรนัยก็เพียงพอแล้ว กล่าวโดยสรุปการจะทดสอบว่าข้อสมมติฐานทาง
วิทยาศาสตร์เป็นจริงนั้นสำ�หรับการอ้างเหตุผลแบบนิรนัยจะทำ�ไม่ได้เพราะจะไม่สมเหตุสมผล
ดังนั้น การที่มาร์กซ์นำ�เสนอแนวคิดของเขาโดยมีที่มาจากวิธีการแบบอุปนัยและเขาก็คิด
ว่าสิ่งที่เขาค้นพบนั้นเป็นวิทยาศาสตร์ จึงเป็นเรื่องที่ดูสมเหตุสมผลมากกว่าแนวคิดของปอปเปอร์ที่
พยายามวิจารณ์ข้อบกพร่องของมาร์กซ์ เพราะการสนับสนุนข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์สุดท้ายแล้ว

49
เด่นพงษ์ แสนคำ� และ อัครยา สังขจันทร์

ต้องสอดคล้องกับความจริงเชิงประจักษ์8 วิทยาศาสตร์จึงไม่อาจเลี่ยงอุปนัยไปได้ เพราะขอบเขตของ


นิรนัยจำ�กัดอยูเ่ พียงแค่กฎของความสมเหตุสมผลแต่ไม่ครอบคลุมถึงกฎของความเป็นจริงเชิงประจักษ์
ทฤษฎีของมาร์กซ์เป็นความจริงเชิงประจักษ์ที่เขาเห็นได้จากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมร่วมสมัยของ
เขา และความทุกข์ยากของผู้คนที่มีมาก่อนหน้านี้ ทำ�ให้มาร์กซ์นำ�เสนอเป็นทฤษฎีประวัติศาสตร์
แบบวัตถุนิยมโดยอาศัยวิภาษวิธีของเขาเอง มีอีกอย่างหนึ่งที่ ปอปเปอร์วิจารณ์มาร์กซ์ก็คือว่า สิ่งที่
ไม่สมเหตุสมผลและไม่ได้เป็นไปในทิศทางของทฤษฎีที่เป็นวิทยาศาสตร์นั้นก็เพราะว่า มาร์กซ์เป็น
นักประวัติศาสตร์นิยม ทฤษฎีทางเศรษฐกิจการเมืองของเขายืนอยู่บนทฤษฎีทางประวัติศาสตร์ และ
ทฤษฎีทางประวัตศิ าสตร์ของเขายืนอยูบ่ นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ทเี่ ชือ่ ในการพิสจู น์แบบอุปนัย ซึง่ เรา
ก็อภิปรายกันแล้วว่าอุปนัยเป็นการค้นหาองค์ความรู้อย่างหนึ่งที่จำ�เป็นต่อวิทยาศาสตร์
ส่ ว นข้ อ ความที่ว่า การที่มาร์ก ซ์เ ป็นนัก ประวัติศ าสตร์นิย มทำ�ให้ทฤษฎีข องเขาไม่เป็น
วิทยาศาสตร์นั้น ปอปเปอร์ก็อาศัยคำ�วิจารณ์จากส่วนแรกที่เขาไม่เห็นด้วยกับอุปนัย จึงทำ�ให้
ปอปเปอร์ปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมาว่าทฤษฎีที่ยืนอยู่บนฐานคิดแบบประวัติศาสตร์นิยมของมาร์กซ์
ไม่ใช่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ แต่ผู้เขียนเห็นว่าข้อนี้ปอบเปอร์ก็มองวิทยาศาสตร์ผิดเหมือนกัน อัน
ที่จริงประวัติศาสตร์และวิธีการแบบประวัติศาสตร์เป็นการค้นหาองค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์เช่น
กัน เพราะประวัติศาสตร์ก็เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบอุปนัยซึ่งก็เป็นสิ่งจำ�เป็นในการศึกษาแบบ
วิทยาศาสตร์ เหตุผลทีผ่ เู้ ขียนให้ไว้นสี้ อดคล้องกับคำ�อธิบายของนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ทชี่ อื่ ว่า คาร์ล
เฮมเพล ทีอ่ ธิบายไว้ในหนังสือ “Philosophy of Natural Science”9 ในหนังสือเล่มดังกล่าวเฮมเพล
ได้อธิบายไว้ว่า การจำ�แนกวิทยาศาสตร์นั้นสามารถจำ�แนกได้ 2 อย่างคือ วิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์
(empirical) และวิทยาศาสตร์เชิงอประจักษ์ (nonempirical) กลุ่มแรกมุ่งที่จะสำ�รวจ อธิบาย และ
ทำ�นายปรากฏการณ์ต่างๆ ในโลกที่เราอาศัยอยู่ ดังนั้นข้อความที่เป็นความรู้ของวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้
จึงต้องตรวจสอบได้ด้วยข้อเท็จจริงที่อยู่ในประสบการณ์ของเราและยอมรับได้บนพื้นฐานของพยาน
หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เหมาะสม วิธีการได้มาซึ่งพยานหลักฐานดังกล่าวมีหลายวิธี เช่น โดยการ
ทดลอง โดยการสังเกตอย่างเป็นระบบ โดยการสัมภาษณ์ โดยการสำ�รวจ โดยการตรวจสอบเอกสาร
จารึก วัตถุโบราณและอื่นๆ ที่กระทำ�อย่างระแวดระวัง การขึ้นตรงต่อหลักฐานเชิงประจักษ์นี้เอง
คือสิ่งที่แยกสาขาของวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ออกจากสาขาเชิงอประจักษ์ อันได้แก่ ตรรกวิทยา
และคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ ซึ่งความรู้ในทั้งสองสาขาหลังนี้จะประกอบด้วย ข้อความ หรือประพจน์
(proposition) ที่พิสูจน์ได้โดยไม่ต้องมีการอ้างอิงในสาระสำ�คัญถึงข้อค้นพบเชิงประจักษ์ใดๆ ใน
สาขาของวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์เอง ก็ยังแบ่งออกเป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์
สังคม ซึง่ มีเกณฑ์แบ่งแยกทีไ่ ม่ชดั เจนเหมือนการแยกระหว่างการค้นคว้าเชิงประจักษ์ และเชิงประจักษ์
และปราศจากความเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะขีดเส้นแบ่งที่ตรงไหน โดยปกติแล้วเป็นที่เข้าใจว่า

8 ถึงแม้ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์จะมีที่มาจากการใช้เหตุผลแบบนิรนัยก็ตามแต่ร้อยกว่า
ปีหลังจากนั้นทฤษฎีของเขาก็ได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงด้วยการตรวจจับสัญญาณคลื่นความโน้มถ่วงด้วย
สถานีรับสัญญาณของนักวิทยาศาสตร์ยุคนี้
9 Carl Hempel, Philosophy of Natural Science, (Prentice Hall, 1967) ฉบับแปลภาษาไทย
โดย เอกศักดิ์ ยุกตะนันทน์, ไฟล์นามสกุล .pdf สามารถเข้าถึงได้จาก https://issuu.com/eaksakyooktanan
50
การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติประกอบด้วย ฟิสกิ ส์ เคมี ชีววิทยา และสาขาวิชาอืน่ ๆ ทีแ่ วดล้อม ส่วนวิทยาศาสตร์


สังคมประกอบด้วย สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ ประวัตศิ าสตร์นพิ นธ์หรือวิธกี ารเขียน
ทางประวัติศาสตร์
วิธกี ารของมาร์กซ์จงึ เป็นวิทยาศาสตร์ในฐานะของวิทยาศาสตร์สงั คม ทีม่ วี ธิ กี ารแบบประวัตศิ าสตร์
วัตถุนิยม ข้อบกพร่องขอปอปเปอร์อยู่ตรงที่เขามองวิทยาศาสตร์แบบไอน์สไตน์ (วิทยาศาสตร์แบบ
นิรนัย) ซึง่ ก็ไม่ใช่สงิ่ ทีผ่ ดิ แต่ทว่าเป็นการนิยามวิทยาศาสตร์ทยี่ งั อิงอยูก่ บั คณิตศาสตร์มากเกินไป ทัง้ นี้
วิทยาศาสตร์จะต้องเป็นข้อความทีเ่ ป็นกฎทัว่ ไป นัน่ หมายความว่าเป็นข้อความสากลทีท่ กุ คนเข้าถึงได้
ข้อความที่ทุกคนจะเข้าถึงได้ทุกคนต้องเห็นพ้องต้องกันว่าสมเหตุสมผลในเรื่องนั้นๆ และตรวจสอบ
ได้อย่างตรงไปตรงมา การเข้าใจวิทยาศาสตร์แบบนิรนัยทีว่ างอยูบ่ นฐานของคณิตศาสตร์กเ็ ป็นอีกเรือ่ ง
หนึ่งที่เราก็ต้องยอมรับในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการคาดคะเนด้วยเหตุผลบริสุทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม
การคาดคะเนด้วยนิรนัยอาจเป็นการยากที่จะได้รับการยอมรับ ทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลที่มาสนับสนุนนั้น
ไม่ได้ให้ข้อเท็จจริงที่สมเหตุสมผลกับโลกเสมอไป วิทยาศาสตร์ต้องการอธิบายทั้งสิ่งที่เรารับรู้ได้ด้วย
ประสบการณ์และสิง่ ทีเ่ ราไม่อาจรับรูไ้ ด้ดว้ ยประสบการณ์ แต่ทงั้ นีว้ ทิ ยาศาสตร์จะได้รบั การยอมรับก็ตอ่
เมือ่ นำ�มาใช้งานได้จริง แนวคิดของปอปเปอร์ไม่ใช่แนวคิดทีเ่ ป็นวิทยาศาสตร์ทงั้ หมด เป็นแค่สว่ นหนึง่
ของวิทยาศาสตร์ ดังนัน้ ข้อวิจารณ์ทวี่ า่ แนวคิดเรือ่ งสังคมนิยมของมาร์กซ์วา่ ไม่ใช่วทิ ยาศาสตร์กไ็ ม่อาจ
เป็นข้อสรุปทีด่ แี ละสมเหตุสมผลได้ เพราะแนวคิดของมาร์กซ์สร้างขึน้ จากข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์และ
สามารถพิสจู น์และตรวจสอบได้อย่างตรงไปตรงมา จึงทำ�ให้แนวคิดของมาร์กซ์เป็นวิทยาศาสตร์สงั คม
การที่แนวคิดของมาร์กซ์เป็นวิทยาศาสตร์สังคมเป็นข้อดีตรงที่สามารถเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์
ในการศึกษาสังคมผ่านวิถีของการผลิตและเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี อนึ่งการที่เรามองสังคมผ่านการ
ให้เหตุผลแบบอุปนัยเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลมากกว่า เพราะสังคมในทัศนะของมาร์กซ์เป็นสิ่งที่มีอยู่
จริง ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างลอยๆ การใช้วิธีการอุปนัยในการศึกษาสังคมมนุษย์จึงเป็นการสร้าง
ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สังคมที่สามารถนำ�มาคาดคะเนและสำ�รวจตรวจสอบได้เป็นอย่างดี
จากคำ�อธิบายในข้อสนับสนุนทีผ่ า่ นมาแสดงให้เห็นแล้วว่าทฤษฎีสงั คมนิยมของมาร์กซ์ ทีเ่ ขา
เองเชือ่ ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ทสี่ ามารถพิสจู น์ขอ้ เท็จจริงได้นนั้ เป็นเรือ่ งทีย่ อมรับได้ กล่าวคือทฤษฎีของ
มาร์กซ์จดั เป็นวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ทอี่ ยูใ่ นกลุม่ ของวิทยาศาสตร์สงั คม แต่ปญ ั หาทีม่ าร์กซ์อาจจะ
ถูกถามต่อไปได้กค็ อื ว่า ถ้ามาร์กซ์ยอมรับว่าแนวคิดของเขาเป็นวิทยาศาสตร์แล้วสิง่ ทีเ่ ขาจะสนับสนุน
ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ได้จริงๆ ตามวิธีการอุปนัยก็คือทฤษฎีของเขาต้องมีความสอดคล้องกับข้อเท็จ
จริงของสังคมด้วยใช่หรือไม่ จากคำ�ถามนี้สิ่งที่จะสนับสนุนข้อเท็จจริงของทฤษฎีของมาร์กซ์ได้ก็คือ
การยืนยันด้วยรูปแบบของสังคมที่เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในลักษณะของวิภาษวิธีของ
มาร์กซ์ มาร์กซ์เองพยายามทีจ่ ะบอกว่าข้อเท็จจริงของสังคมก็คอื สิง่ ทีเ่ ขาค้นพบ เพราะโครงสร้างทาง
สังคมก็ถกู กำ�หนดด้วยระบบเศรษฐกิจทีเ่ ป็นการปะทะต่อสูก้ นั ระหว่างชนชัน้ และจะเป็นเช่นนีเ้ รือ่ ยไป
ข้อเท็จจริงของสังคมที่จะยืนยันว่าแนวคิดของมาร์กซ์เป็นวิทยาศาสตร์ได้นั้น เราอาจมองได้
หลายมุมด้วยกัน แต่การพิจารณาที่จะยืนยันว่าสิ่งที่มาร์กซ์ค้นพบมีความสมเหตุสมผลนั้น ซ่อนอยู่
ในแนวคิดทางปรัชญาสังคมและจริยศาสตร์ของเขา ดังนั้นถ้าเรายอมรับว่าแนวคิดของมาร์กซ์เป็น

51
เด่นพงษ์ แสนคำ� และ อัครยา สังขจันทร์

วิทยาศาสตร์และสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ ขั้นต่อไปคือการหาเหตุผลมาสนับสนุน ซึ่งเป็นเหตุผล


ในทางจริยศาสตร์และปรัชญาสังคมเพื่อที่จะยืนยันสภาพความจริงของสังคม นอกจากเหตุผลในทาง
จริยศาสตร์และปรัชญาสังคมจะเกี่ยวข้องกับความเป็นวิทยาศาสตร์ในแนวคิดของมาร์กซ์แล้วนั้น ยัง
เกี่ยวข้องกับข้อวิจารณ์และข้อสนับสนุนในทางจริยศาสตร์และปรัชญาสังคมด้วย เราจะอภิปรายเรื่อง
ดังกล่าวนี้ในหัวข้อต่อไปดังนี้

2. ข้อวิจารณ์/ข้อสนับสนุนสังคมนิยมของมาร์กซ์ในทางปรัชญาสังคม
เนื่องจากมาร์กซ์ให้ความสำ�คัญกับความเสมอภาคกันของผู้คนในสังคม แต่โดยความหมาย
แล้วเขาต้องการความเสมอภาคอย่างไรกันแน่? แน่นอนว่าเมือ่ มาร์กซ์พดู ถึงความเสมอภาคเขามองว่า
มันเป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องสัมพันธ์กนั ระหว่างผูค้ นในสังคมในเรือ่ งของการเป็นผูผ้ ลิตร่วมกัน และความ
สัมพันธ์ของผูค้ นในลักษณะดังกล่าวนีม้ าร์กซ์มองว่ามันคือข้อเท็จจริงของสังคม แต่สงั คมทุนนิยมได้
สร้างความไม่เสมอภาคให้เกิดขึ้นภายในสังคม สิ่งที่มาร์กซ์วิพากษ์อยู่ตรงนี้ คำ�ถามคือมันเกี่ยวข้อง
อย่างไรกับความมีอยูข่ องสังคม? คำ�ถามนีจ้ ะเป็นคำ�ถามทีเ่ ชือ่ มโยงมโนทัศน์ทางปรัชญาสังคมและข้อ
ถกเถียงมากมายทีเ่ ราพยายามเรียกร้องให้ความเสมอภาคเกิดขึน้ แน่นอนว่าสังคมคือสิง่ ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ
ของนักคิดในสายเสรีนิยมและสังคมนิยม แต่สังคมในทัศนะของนักคิดทั้งสองก็แตกต่างกันอย่างสิ้น
เชิง แต่สิ่งที่เหมือนกันคือสังคมต้องบรรลุซึ่งจุดมุ่งหมายของสังคม ในทัศนะของเสรีนิยมการที่สังคม
จะบรรลุจุดมุ่งหมายของสังคมและทำ�ให้มนุษย์ต้องไม่ตกอยู่ภายใต้พันธนาการของสิ่งทั้งปวงคือการ
ยอมรับทีจ่ ะอยูร่ ว่ มกันภายใต้ขอ้ ผูกพันสัญญาทีป่ จั เจกบุคคลสร้างขึน้ ร่วมกัน การสร้างข้อผูกพันสัญญา
นี้ก็เป็นไปเพื่อปกป้องประโยชน์ส่วนตนของปัจเจกบุคคลทั้งสิ้น แต่สำ�หรับมาร์กซ์แล้วจุดมุ่งหมาย
ของสังคมคือการที่แต่ละปัจเจกบุคคลมีเสรีภาพอย่างแท้จริงและผลิตสิ่งซึ่งตนเองพึงพอใจที่จะผลิต
ออกมา จะเห็นว่าการมีเสรีภาพในทัศนะของเสรีนิยมเป็นการเกิดขึ้นของเสรีภาพอย่างตรงไปตรงมา
ส่วนเสรีภาพในทัศนะของมาร์กซ์หรือสังคมนิยมจะเกิดขึ้นอย่างเป็นลำ�ดับขั้นตอน แต่อย่างไรก็ตาม
การให้เหตุผลเพียงเท่านีย้ งั ไม่พอทีจ่ ะบอกได้วา่ ทำ�ไมมาร์กซ์ไม่เห็นด้วยกับเสรีนยิ มและระบบนายทุน
ทั้งหลาย แต่นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างมาร์กซ์กับเสรีนิยมที่จะนำ�ไปสู่
ข้อถกเถียงต่อไป ซึง่ ผูเ้ ขียนจะขออภิปรายเกีย่ วกับทัศนะเรือ่ งความเสมอภาคทีด่ เู หมือนจะไม่เห็นด้วย
กับมาร์กซ์โดยเฉพาะทัศนะของเสรีนิยม
ความเสมอภาคสำ�หรับเสรีนยิ มคือความเสมอภาคทีม่ องว่ามนุษย์เป็นมนุษย์เหมือนกัน มีก�ำ ลัง
แรงกายเหมือนกัน ดังนั้นมนุษย์จึงมีโอกาสที่จะทำ�อะไรได้เท่ากันเพราะมนุษย์ก็คือผู้ที่มีกำ�ลังที่จะทำ�
อะไรได้ตามสะดวกสบายอยูแ่ ล้ว นักคิดสายเสรีนยิ มพวกพันธะสัญญาพยายามอธิบายว่าการทีม่ นุษย์
ทำ�อะไรได้อย่างสะดวกสบายนัน้ ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะทำ�ได้อย่างตามใจของตนทัง้ หมดเพราะ
เมื่อใดก็ตามที่เราไปล่วงละเมิดซึ่งสิทธิและเสรีภาพคนอื่นก็เป็นเรื่องที่ผิดเพราะสังคมเกิดขึ้นมาจาก
พันธะสัญญาทีเ่ ราร่วมกันตกลงว่าเราจะไม่ลว่ งละเมิดหรือก้าวก่ายซึง่ กันและกัน ดังนัน้ สังคมในทัศนะ
ของเสรีนยิ มจึงไม่ใช่อนื่ ใดนอกเสียจากการทีท่ กุ คนตกลงทีจ่ ะสร้างสังคมร่วมกันผ่านข้อผูกพันสัญญา
ทัง้ หลาย นักคิดเหล่านีพ้ ยายามอ้างถึงแนวคิดทีว่ า่ ด้วย “สิทธิตามธรรมชาติ” ทีม่ องว่าสิทธิของคนเรา

52
การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์

ทั้งหลายนั้นเริ่มต้นจากสิทธิตามธรรมชาติ สิทธิตามธรรมชาติที่ว่านี้เป็นอย่างไร? สิทธิโดยธรรมชาติ


อธิบายว่า เดิมทีเดียวก่อนมนุษย์อยูน่ อกสังคมการเมือง มนุษย์สามารถทีจ่ ะอ้างได้วา่ ตนมีสทิ ธิในการ
เป็นเจ้าของในการครอบครองสิ่งต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นเราย่อมมีสิทธิในธรรมชาติได้ทุก
อย่างเหมือนกัน แต่เมื่อมนุษย์เข้ามาอยู่ในสังคมการเมือง มนุษย์ก็ต้องยอมถูกจำ�กัดสิทธิบางอย่าง
ของตนลงไป แต่ไม่ใช่ว่าจะถูกจำ�กัดอย่างไร้ขอบเขต ขอบเขตที่ว่านี้ก็คือการตกลงร่วมกันว่าเราจะ
ไม่ใช้สิทธิของเราไปล่วงเกินสิทธิของคนอื่น ถามว่ามนุษย์มีสิทธิอะไรได้บ้างในสังคมการเมืองเช่นนี้
นักปรัชญาสายนี้อธิบายว่า มนุษย์เราเป็นเจ้าของแรงงานของตนอยู่แล้วและแรงงานทุกคนก็มีอยู่
เหมือนกัน แต่จะต่างกันก็คือใครจะใช้แรงงานของตนในการให้ได้มาซึ่งการเป็นเจ้าของแห่งทรัพย์สิน
ดังนั้น สิทธิที่จะตามมาอีกอย่างหนึ่งคือสิทธิในทรัพย์สินที่เราเองเป็นเจ้าของและมีสิทธิที่จะปกป้อง
ทรัพย์สินของเรา ซึ่งจอห์น ล็อก อธิบายไว้ว่า

“ถึงแม้วา่ ผืนแผ่นดินนีต้ ลอดจนสรรพสิง่ ทีพ่ ระเจ้าสร้างเอาไว้ จะเป็นสมบัตสิ ว่ นรวมของทุกคน กระนัน้


ก็ตาม คนแต่ละคนย่อมมีทรัพย์สินส่วนตัว ทรัพย์สินส่วนนี้นอกจากเจ้าของมันแล้วคนอื่นไม่มีสิทธิ
เราอาจกล่าวได้ว่าแรงงานจากร่างกายของใครและผลงานจากมือของใคร ย่อมเป็นทรัพย์สินของคน
ผู้นั้น.....ด้วยเหตุนี้ แรงงานย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของแรงงานโดยไม่ต้องสงสัย นอกจากเจ้าของ
แรงงานนี้แล้วคนอื่นก็ไม่มีสิทธิในสิ่งนี้ ถึงแม้ครั้งหนึ่งจะเคยเป็นสมบัติส่วนรวมของทุกคนก็ตาม”
(John 1955, chap. 5; อ้างใน สมภาร 2540, 47, เน้นโดยผู้อ้าง)

จากแนวคิดของล็อกข้างต้นนัน้ สิง่ ทีป่ รากฏออกมาให้เราได้เห็นก็คอื ทัศนะของเสรีนยิ มเริม่ ทีจ่ ะ


สนับสนุนความไม่เสมอภาคของแรงงานในแง่ของการเข้าครอบครองผลผลิตทีต่ นได้รบั แน่นอนว่าเรา
ใช้แรงงานของเราทำ�งานเก็บสะสมปัจจัยการผลิตต่างๆ ทีซ่ งึ่ ควรจะเป็นของเรามันก็เป็นเรือ่ งทีย่ อมรับ
ได้อยูแ่ ล้วเพราะต่างคนต่างก็มแี รงงานทีเ่ ป็นอิสระอย่างเสมอภาคกันอยูแ่ ล้ว อยูท่ วี่ า่ ใครจะสนใจทำ�ใน
สิง่ นัน้ ๆ เพือ่ ให้ได้มาครอบครองเท่านัน้ เอง การปกป้องคุม้ ครองสิทธิในทรัพย์สนิ จึงเป็นเรือ่ งทีส่ มเหตุ
สมผลสำ�หรับเสรีนยิ ม แต่ในแง่ของความจริงทางประวัตศิ าสตร์ มาร์กซ์ได้กล่าวถึงสังคมร่วมสมัยของ
เขาและสังคมก่อนหน้านั้นว่าเป็นการสร้างสังคมที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ในเรื่องของการผลิตร่วม
กัน ดังนัน้ การเปิดโอกาสให้คนทีม่ กี �ำ ลังมากครอบครองปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรีจงึ เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่เป็น
ธรรม เพราะมันจะนำ�ไปสู่อีกปัญหาหนึ่งก็คือการกดขี่ขูดรีดความเป็นมนุษย์ ฐานคิดของเสรีนิยมกับ
มาร์กซ์วางอยูบ่ นการให้เหตุผลทีต่ า่ งกัน นักคิดสายเสรีนยิ มจะใช้วธิ กี ารนิรนัยในการอธิบายทีม่ าของ
สังคมส่วนมาร์กซ์จะใช้วธิ กี ารอุปนัยในการอธิบายสังคม ทัง้ สองอย่างนีล้ ว้ นเป็นการอธิบายทีส่ �ำ คัญแต่
การมองสังคมมนุษย์เพียงแค่นิรนัยแบบนักคิดสายเสรีนิยมจึงไม่ใช่เรื่องที่จะยอมรับได้ เพราะความ
จริงของสังคมมักจะปรากฏออกมาในรูปแบบของสภาพของสังคมให้เราได้เห็นอยูเ่ สมอ ซึง่ เรือ่ งนีเ้ ราก็
อภิปรายผ่านมาแล้วในการให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดของมาร์กซ์ในแง่ของญาณวิทยา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่
ยอมรับได้ และเมือ่ เรายอมรับว่าการวิพากษ์สงั คมทุนนิยมของมาร์กซ์เป็นข้อเท็จจริงทางประวัตศิ าสตร์
แล้วนั้น หน้าที่ต่อไปคือการมองลึกลงไปในแง่ของสังคม ซึ่งนักคิดสายเสรีนิยมต่างก็ไม่เห็นด้วยกับ
มาร์กซ์ ข้อวิจารณ์มาร์กซ์ในเรื่องดังกล่าวพอสรุปได้ดังนี้
ข้อวิจารณ์ที่ว่าระบบการกระจายความเสมอภาคที่มาร์กซ์เสนอขัดกับธรรมชาติของคน ใน
53
เด่นพงษ์ แสนคำ� และ อัครยา สังขจันทร์

การกระจายรายได้มาร์กซ์ใช้หลักการทีว่ า่ จากแต่ละคนตามความสามารถ แก่แต่ละคนตามความจำ�เป็น


เสรีนยิ มเห็นว่า คนเรานัน้ เมือ่ ลงแรงทำ�อะไรลงไป เขาจะทำ�อย่างสุดกำ�ลังความสามารถหากเขารูว้ า่ สิง่ ที่
เขาทำ�ลงไปนัน้ จะเป็นของเขาไม่มตี กหล่น ตรงกันข้ามคนเราจะไม่ท�ำ อะไรอย่างทุม่ เท หากเขารูว้ า่ ผล
แห่งแรงงานทีเ่ ขาลงไปนัน้ ไม่เป็นของเขาทัง้ หมด ระบบการแบ่งปันผลประโยชน์ในสังคมคอมมิวนิสต์
ไม่ได้พจิ ารณาจากแรงงานหากแต่พจิ ารณาจากความจำ�เป็นของคนงาน นายดำ�กับนายแดงเป็นคนงาน
ทำ�งานในตำ�แหน่งเดียวกัน นายดำ�มีความสามารถมากกว่านายแดง สามารถทำ�งานได้อย่างมีคณ ุ ภาพ
กว่า ถ้าสองคนนี้เป็นคนงานในระบบเสรีนิยม แน่นอนนายดำ�ต้องได้ผลตอบแทนมากกว่านายแดง
แต่ในสังคมคอมมิวนิสต์ ทุกคนก็ได้เท่ากันเพราะไม่ได้พิจารณาจากผลงาน (สมภาร 2540, 155)
จากข้อวิจารณ์นี้มีจุดที่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับเสรีนิยมที่พยายามโต้แย้งทัศนะของมาร์กซ์
เพราะทัศนะที่เสรีนิยมกำ�ลังโต้แย้งมาร์กซ์อยู่นี้เป็นการมองแนวคิดของมาร์กซ์อย่างผิวเผิน และไม่
ได้วิเคราะห์สภาพปัญหาของสังคมอย่างแท้จริง10 เสรีนิยมมองสังคมเสมือนหนึ่งไม่มีปัญหาสะสมคั่ง
ค้าง หากแต่มองไปที่การที่จะได้รับผลตอบแทนอย่างไรในการทำ�งานเท่านั้น การให้ความสำ�คัญเช่น
นี้ก็คือการสะสมทุนในระบบนายทุนตามที่มาร์กซ์อธิบายไว้และเกิดระบบการจ้างงานที่ผูกติดกับการ
กดขีข่ ดู รีดความเป็นมนุษย์ตามมา ข้อความทีว่ า่ “คนเรานัน้ เมือ่ ลงแรงทำ�อะไรลงไป เขาจะทำ�อย่างสุด
กำ�ลังความสามารถหากเขารูว้ า่ สิง่ ทีเ่ ขาทำ�ลงไปนัน้ จะเป็นของเขาไม่มตี กหล่น ตรงกันข้ามคนเราจะไม่
ทำ�อะไรอย่างทุม่ เท หากเขารูว้ า่ ผลแห่งแรงงานทีเ่ ขาลงไปนัน้ ไม่เป็นของเขาทัง้ หมด” คำ�อธิบายนีข้ อง
เสรีนยิ มหากพิสจู น์ดว้ ยระบบทุนนิยม (ซึง่ ก็พฒ ั นามาจากเสรีนยิ ม) จะเป็นคำ�อธิบายทีไ่ ม่สมเหตุสมผล
เราจะเห็นว่าในระบบนายทุนแม้แรงงานในโรงงานจะทำ�งานหนักตามความสามารถของตนเท่าใดแต่สงิ่
ที่เขาได้รับกลับไม่เป็นไปตามแรงงานที่เขาทำ�ไป เพราะนายทุนได้ขายผลผลิตมากเกินกว่าแรงงานที่
ใช้ไป ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า ถ้าหากว่าเรายอมรับตามเสรีนิยมว่า แรงงานจะขายพลังแรงงานของเขา
ในสถานะสินค้า มูลค่าที่แรงงานได้รับจึงควรเทียบเท่ากับมูลค่าที่แรงงานเหล่านี้สามารถผลิตขึ้นมา
ได้ตามกฎพื้นฐานในการแลกเปลี่ยนสินค้าแต่ในความเป็นจริงไม่ใช่เช่นนั้น ภายในสังคมทุนนิยมเรา
จะเห็นได้ว่านายทุนไม่ได้เสนอมูลค่าของพลังแรงงานตามสิ่งที่พวกเขาควรได้รับแต่กลับใช้ประโยชน์
จากลักษณะพิเศษของสินค้าพลังแรงงานทีส่ ามารถสร้างมูลค่าใหม่ให้เกิดขึน้ ในการทีจ่ ะช่วงชิงเอามูลค่า
ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากมูลค่าของแรงงานจำ�เป็นเพื่อขยายความสามารถในการสะสมทุนของตนเอง
นี่คือต้นกำ�เนิดของสิ่งที่มาร์กซ์เรียกว่ามูลค่าส่วนเกินที่อยู่ในสังคมทุนนิยม บุคคลซึ่งปราศจากปัจจัย
การผลิตทีเ่ คยเป็นทาสมาก่อนในยุคศักดินา ก็ได้น�ำ สิง่ ทีเ่ หลืออยูค่ อื ความสามารถในการผลิตของตน
ออกขายเป็นสินค้าในตลาดแรงงานและด้วยลักษณะพิเศษของพลังแรงงานทีส่ ามารถสร้างมูลค่าใหม่ให้
เกิดขึ้น บรรดานายทุนต่างใช้คุณสมบัติพิเศษนี้ในการขยายการสะสมทุนของตนจากมูลค่าส่วนเกิน
ที่เกิดขึ้นจากพลังแรงงานนั่นเอง

10 สภาพปัญหาทีเ่ กิดขึน้ อย่างแท้จริงในสังคมร่วมสมัยของมาร์กซ์นนั้ เขาได้อธิบายไว้ใน Capital เล่ม


1 บทที่ 10 ว่าด้วยการจ้างงานในโรงงานและค่าจ้างที่ได้รับไม่เป็นไปตามการแลกเปลี่ยนในระบบตลาด
54
การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์

หากเรามองสังคมแบบสำ�นักเสรีนิยมเราก็จะพบว่าการมองสังคมเช่นนั้นเป็นการมองสังคม
อุดมคติที่มากยิ่งกว่าสังคมนิยมแบบมาร์กซ์เสียอีก สังคมแบบเสรีนิยมละเลยปัญหาความเสมอภาค
ในการกระจายปัจจัยการผลิตอย่างเป็นธรรม เพราะเสรีนิยมต้องการให้ปัจจัยการผลิตเป็นสิ่งที่แต่ละ
คนทำ�ขึ้นเองและใช้เองและแลกเปลี่ยนกันอย่างเท่าเทียม แต่ภาพที่เสรีนิยมต้องการไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ข้อเท็จจริงของสังคมอยู่ที่การร่วมกันผลิตและการร่วมกันผลิตนี้ทุกคนต้องทำ�งานตามความชอบ
เฉพาะของตนเองจึงจะมีศักยภาพของผลผลิตที่ดี ถามว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร คำ�ตอบง่ายๆ คือ
เมื่อระบบนายทุนจางหายไปและถูกแทนที่ด้วยสังคมนิยมนั่นเอง ข้ออ้างที่ว่าถ้าเราให้ทุกคนมีสิทธิใน
การครอบครองทรัพย์สินที่ตนเองหามาได้เป็นเรื่องเหมาะสมจริงหรือไม่ คำ�ตอบคือมันเป็นไปได้ แต่
การทีค่ นแต่ละคนพยายามครอบครองและแข่งขันกันมันก็เป็นไปได้เหมือนกันว่าคนทีไ่ ม่สามารถสูก้ บั
คนที่มีศักยภาพที่เข้มแข็งกว่าได้นั้น เขาก็ไม่อาจครอบครองสิ่งที่เป็นพื้นฐานของชีวิตที่มนุษย์จำ�เป็น
ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วเขาต้องทำ�อย่างไร คำ�ตอบก็คือเขาจำ�เป็นจะต้องขายแรงงานจากตัวของเขา
เองที่มีอยู่ แล้วเขามีสิทธิเรียกร้องค่าแรงงานหรือไม่ คำ�ตอบคือไม่เลย นายทุนหรือผู้ที่ก้าวขึ้นไปเป็น
นายทุน (ซึง่ แต่กอ่ นอาจเป็นกรรมาชีพเหมือนกัน) เท่านัน้ ทีจ่ ะกำ�หนดค่าแรงนี้ ซึง่ ค่าแรงนีโ้ ดยทัว่ ไป
แล้วต้องเป็นมูลค่าทีต่ �่ำ กว่าผลผลิตของแรงงาน นัน่ หมายความว่าเสรีนยิ มสร้างทฤษฎีขนึ้ มาว่าแรงงาน
กับมูลค่าต้องเท่ากัน แต่ภายใต้แนวคิดของเสรีนยิ มก็ได้สร้างกฎทีข่ ดั แย้งกับความเป็นจริงเพราะระบบ
นายทุนทีม่ าจากเสรีนยิ มได้เอารัดเอาเปรียบแรงงานในฐานของปัจจัยการผลิตอย่างหนึง่ นีค่ อื กฎทีข่ ดั
แย้งกันเองของเสรีนยิ มและกฎทีข่ ดั แย้งทีน่ กี้ ไ็ ม่สามารถทีจ่ ะเป็นเรือ่ งทีอ่ าจจะยอมรับได้ ดังนัน้ ทัศนะ
ของเสรีนิยมที่ปฏิเสธมาร์กซ์จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ด้วย
นอกจากนีก้ ารยืนยันข้อสนับสนุนแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ ทีผ่ เู้ ขียนเห็นว่าเป็นเรือ่ งทีจ่ �ำ เป็น
ก็คอื ว่า เป็นการสนับสนุนแนวคิดของมาร์กซ์ ผ่านแนวคิดของนักปรัชญาคนอืน่ ๆ ทีม่ คี วามเป็นเหตุ
เป็นผลในการยืนยันสิ่งที่เราจะสนับสนุนมาร์กซ์ได้ ผู้เขียนเห็นว่าแนวคิดทางปรัชญาของอิมมานูเอล
คานท์ เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่เราอาจจะหยิบยืมมาเป็นข้อสนับสนุนในการอธิบายแนวคิดของมาร์กซ์
ได้ เหตุผลที่เลือกเอาแนวคิดของคานท์มาเป็นข้อสนับสนุนแนวคิดของมาร์กซ์นั้นมีอยู่สองประการ
ประการแรกแนวคิดของคานท์เป็นแนวคิดที่สร้างขึ้นจากเหตุผลที่มีความสมเหตุสมผลโดยตัวมัน
เอง และประการที่สองในเรื่องของทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ส่วนตัวนั้นผู้เขียนเห็นว่าคานท์ก็ให้เหตุผล
ไว้ค่อนข้างจะใกล้เคียงกันกับมาร์กซ์
คานท์อธิบายว่า การทีม่ นุษย์รดู้ ว้ ยตนเองว่าเป็นสัตว์มเี หตุผลนัน้ ไม่ได้เกิดจากประสบการณ์
แต่เกิดจากการคิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์เอง มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการและ
แรงกระตุ้นแต่ก็เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล ชีวิตของสัตว์นั้นถูกกำ�หนดโดยธรรมชาติ แต่สิ่งที่มีเหตุผลไม่ใช่
ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์จึงควรถูกกำ�หนดโดยกฎแห่งเหตุผล ไม่ใช่กฎธรรมชาติ และ
การที่มนุษย์สามารถรู้และคิดได้ด้วยตนเองนี่แหละทำ�ให้ค้นพบหลักการของศีลธรรม กฎหมาย และ
การเมือง ตามอุดมคติของคานท์ คนทุกคนควรมีชวี ติ อยูใ่ นสังคมทีส่ มบูรณ์ ซึง่ ทุกคนต่างก็มเี หตุผล
สังคมดังกล่าวเรียกว่าเป็นสังคมหรืออาณาจักรสุดท้าย ในสังคมที่ว่านี้ทุกคนจะมีอิสรภาพในการกระ
ทำ�เท่ากันหมด เสรีภาพของคนใดคนหนึง่ จะกระทบกระเทือนเสรีภาพของคนอืน่ เพียงใดย่อมขึน้ อยูก่ บั

55
เด่นพงษ์ แสนคำ� และ อัครยา สังขจันทร์

ว่าเสรีภาพนัน้ ถูกขัดขวางโดยเสรีภาพของผูอ้ นื่ มากน้อยเพียงใด (ฟิงค์ 2534, 64–70) สำ�หรับในเรือ่ ง


ของกรรมสิทธิ์ส่วนตัวหรือสิทธิในทรัพย์สินของคานท์นั้น คานท์เห็นว่า มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล และ
ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของล็อกทีว่ า่ เพียงแต่ผสมแรงงานของตนเข้าไปคนจะสามารถเป็นเจ้าของสิง่ ใด
สิง่ หนึง่ ได้ สำ�หรับคานท์แล้วเรือ่ งเขาคิดว่าสิทธิในทรัพย์สนิ จะเกิดขึน้ ได้กต็ อ่ เมือ่ ได้มกี ารตกลงยินยอม
ให้มกี ารแบ่งแยกทรัพย์สนิ อันเป็นส่วนรวมได้ ทัง้ นีห้ มายความว่าในภาวะธรรมชาติทดี่ นิ ทัง้ หมดเป็น
ของส่วนรวม คานท์ไม่เห็นด้วยกับล็อกที่ว่าในภาวะธรรมชาติบุคคลมีสิทธิตามธรรมชาติที่จะลงโทษ
ผู้ที่ละเมิดทรัพย์สินของตน เพราะว่านั่นเป็นการแก้แค้นกันมากกว่าการลงโทษ เพราะฉะนั้นสังคมที่
ดีจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการที่จะใช้สิทธิตามธรรมชาติทำ�การลงโทษผู้ละเมิดเหมือนดังที่ล็อกกล่าว
ย่อมไม่ได้หรือแม้แต่จะมองว่านัน่ เป็นความพยายามทีจ่ ะใช้สทิ ธิตามธรรมชาติให้มปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้
ก็ไม่ได้เช่นกัน คานท์กล่าวว่าทรัพย์สินในลักษณะนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ยกเว้นในสังคมมนุษย์ที่ดีและจะ
ลงโทษกันก็ไม่ได้ การคิดว่าสังคมที่ดีตั้งอยู่บนฐานของการถ่ายเทสิทธินั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะ
ว่าภายนอกสังคมสิทธิจะไม่มีอยู่เลย คานท์เชื่อว่าสังคมเพิ่มเสรีภาพส่วนบุคคลมากกว่าลด สังคม
ช่วยให้มนุษย์มีโอกาสปรับความสัมพันธ์ได้อย่างมีเหตุผลแทนที่จะปล่อยไปตามธรรมชาติแบบสัตว์
คานท์พูดถึงสัญญาประชาคมว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสังคม แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่เตือนว่าการออกกฎหมาย
ใดๆ ก็ตามจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชน (ฟิงค์ 2534, 68)
เราจะเห็นได้วา่ ถึงแม้วา่ จุดเริม่ ต้นของมาร์กซ์และคานท์จะแตกต่างกัน กล่าวคือ มาร์กซ์มอง
ว่าสังคมมนุษย์นนั้ ถูกกำ�หนดด้วยความเป็นธรรมชาติภายใต้กฎของความขัดแย้ง แต่คานท์มองว่าการ
ประพฤติปฏิบัติต่างๆ ของมนุษย์และสังคมนั้นเป็นไปตามหลักเหตุผลไม่ใช่หลักที่เป็นกฎธรรมชาติ
แต่ถ้าหากพิจารณาแล้วก็จะพบว่าถึงแม้มาร์กซ์จะอธิบายสังคมด้วยหลักของประสบการณ์นิยม แต่
มาร์กซ์ก็อาศัยหลักเหตุผลอย่างหนึ่งคือหลักแห่งความขัดแย้งหรือวัตถุนิยมวิภาษวิธี ผู้เขียนคิดว่า
วัตถุนยิ มวิภาษวิธขี องมาร์กซ์เป็นการให้เหตุผลทีอ่ ยูเ่ หนือประสบการณ์กล่าวคือกฎความขัดแย้งบาง
อย่างไม่จำ�เป็นต้องสอดคล้องกับความจริงเชิงประจักษ์เสมอไปแต่จะสามารถเป็นกฎที่ดำ�เนินไปด้วย
หลักเหตุผลก็ได้ และนีเ่ องคือข้อแรกทีเ่ ราพอจะเห็นว่า มาร์กซ์ถงึ แม้เขาจะใช้วธิ กี ารทีผ่ า่ นประสบการณ์
แต่เขาก็ใช้วธิ กี ารทีเ่ ป็นเหตุผลทีไ่ ม่อาจเกีย่ วกับประสบการณ์ ดังนัน้ ข้อสรุปแรกก่อนทีจ่ ะนำ�เอาแนวคิด
ของคานท์มาอธิบายเกี่ยวกับมาร์กซ์นั้นผู้เขียนคิดว่ามาร์กซ์ก็ใช้วิธีการที่เป็นเหตุผลเช่นกันหากแต่
ไม่ใช่เหตุผลล้วนๆ แต่มาร์กซ์กใ็ ช้วธิ ปี ระสบการณ์เข้ามาด้วย ถึงแม้เราจะสรุปว่ามาร์กซ์ใช้วธิ เี ดียวกับ
คานท์หรือไม่กต็ ามนัน่ ไม่ใช่เหตุผลสำ�คัญเท่ากับว่าในเรือ่ งของกรรมสิทธิส์ ว่ นตัวนัน้ มาร์กซ์กบั คานท์
เขาอธิบายไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่
สำ�หรับผู้เขียน มาร์กซ์กับคานท์มองเรื่องกรรมสิทธ์ส่วนตัวหรือทรัพย์สินส่วนตัวเป็นไปใน
ทิศทางเดียวกัน กล่าวคือคานท์มองว่า “สิทธิในทรัพย์สนิ จะเกิดขึน้ ได้กต็ อ่ เมือ่ ได้มกี ารตกลงยินยอม
ให้มีการแบ่งแยกทรัพย์สินอันเป็นส่วนรวมได้ ทั้งนี้หมายความว่าในภาวะธรรมชาติที่ดินทั้งหมดเป็น
ของส่วนรวม” (เน้นโดยผูอ้ า้ ง) คานท์ปฏิเสธเสรีนยิ มเช่นเดียวกันกับมาร์กซ์กค็ อื คานท์บอกว่าเราจะ
ไม่สามารถอ้างได้เลยว่าแรงงานของเราทีผ่ สมเข้าไปในผลผลิตหนึง่ ๆ จะบ่งบอกได้วา่ ผลผลิตนัน้ เป็น
ของเราอย่างเต็มที่ คานท์บอกว่าหลักคิดเช่นนีเ้ ป็นหลักคิดทีอ่ า้ งขึน้ มาเพือ่ ความเห็นแก่ตวั เท่านัน้ เช่น

56
การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์

เดียวกับทีม่ าร์กซ์ไม่เห็นด้วยกับระบบทีว่ า่ มือใครยาวสาวได้สาวเอา ถึงแม้คานท์จะไม่ได้วจิ ารณ์ระบบ


ทุนนิยมอย่างตรงไปตรงมาเหมือนกับมาร์กซ์ แต่คานท์กป็ ฏิเสธการอ้างสิทธิตามธรรมชาติมาปกป้อง
ตนเองเพราะนัน่ หมายความว่ามนุษย์ก�ำ ลังใช้สทิ ธิของตนเองไปจำ�กัดสิทธิของผูอ้ นื่ แต่ส�ำ หรับมาร์กซ์
อาจมองไปทีจ่ ดุ ทีม่ ากกว่าคานท์ เพราะมาร์กซ์มองว่าการใช้สทิ ธิตามธรรมชาติตามทัศนะของเสรีนยิ ม
เป็นการกดขี่ขูดรีดแรงงานของมนุษย์ และนำ�ไปสู่ปัญหาของความไม่เสมอภาคด้วย เมื่อมองเช่นนี้
ในแง่ของวิธีการ คานท์มุ่งไปที่การนำ�เสนอตามหลักเหตุผลของจริยธรรม ในขณะที่มาร์กซ์มองไป
ที่ความเป็นจริงของสังคม ถึงแม้ว่าวิธีการที่อาจจะแตกต่างกันของทั้งสองคนนี้แต่สิ่งที่ทั้งคานท์และ
มาร์กซ์ตอ้ งการคือเสรีภาพสมบูรณ์ทไี่ ม่ใช่ทศั นะแบบเสรีนยิ ม ดังนัน้ ข้อสนับสนุนของคานท์ทมี่ ตี อ่ มาร์
กซ์เป็นอีกข้อสนับสนุนหนึง่ ทีจ่ ะทิง้ น้�ำ หนักความสมเหตุสมผลให้กบั มาร์กซ์ได้ และจุดสำ�คัญทีท่ งั้ สอง
ต่างเห็นคล้อยด้วยกันอยูต่ รงทีว่ า่ เสรีภาพทีส่ มบูรณ์นจี้ ะต้องไม่อา้ งผ่านทัศนะแบบเสรีนยิ มของสำ�นัก
สิทธิตามธรรมชาติตามที่จอห์น ล็อกเสนอขึ้นมา
สิง่ ทีส่ �ำ คัญสำ�หรับสังคมนิยมนัน้ ผูเ้ ขียนเห็นว่าเป้าหมายของสังคมนิยมนัน้ ต้องการทีจ่ ะพัฒนา
เศรษฐกิจให้ไปถึงจุดทีก่ ารผลิตเพือ่ ตอบสนองความต้องการของมนุษย์เข้าแทนทีก่ ารผลิตเพือ่ แสวงหา
ผลกำ�ไร มนุษย์ในสังคมนิยมจะไม่ผลิตเพียงเพื่อต้องการแลกเปลี่ยนผลผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งกำ�ไรใน
ระบบตลาดเท่านัน้ แต่การผลิตในระบบสังคมนิยมนีเ้ ป็นการผลิตเพือ่ ทีจ่ ะให้เกิดมูลค่าใช้สอยเพือ่ แจก
จ่ายสำ�หรับสมาชิกในสังคมและเป็นการผลิตเพือ่ ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคมเท่านัน้
เมื่อไม่มีการผลิตที่ตอบสนองกำ�ไรก็จะทำ�ให้สิ่งที่เรียกว่ามูลค่าส่วนเกินไม่เกิดขึ้นมา และเมื่อนั้นเอง
การเก็บเอาส่วนเกินนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ความสมบูรณ์ของความเสมอภาคในการกระจายผลผลิตก็จะ
ยังประโยชน์ให้กบั ทุกคนในสังคมและมีสนิ ค้าทีอ่ ดุ มสมบูรณ์อย่างทัว่ ถึงกัน การมีสนิ ค้าทีอ่ ดุ มสมบูรณ์
อย่างทัว่ ถึงกันนีไ้ ม่ใช่สงิ่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ มาอย่างลอยๆ หากแต่สงิ่ นีจ้ ะเกิดขึน้ แบบค่อยเป็นค่อยไปผ่านการ
สะสมทีละเล็กละน้อย โดยเริม่ จากการแบ่งสันปันส่วนสินค้าตามความต้องการของผูค้ นแต่ละคนอย่าง
เท่าเทียมกัน เมือ่ นัน้ ชนชัน้ ทีเ่ คยยากจนก็จะถูกปลดปล่อยจากความยากจนเหล่านัน้ และทุกคนก็จะรู้
ว่าอะไรคือความต้องการทีแ่ ท้จริงของตนเพราะว่าชนชัน้ ผูป้ กครองก็ไม่ได้ตอ้ งการผลิตเพือ่ กำ�ไรแล้ว
และชนชัน้ กรรมาชีพก็ไม่ได้ผลิตเพือ่ แลกค่าจ้างเพียงอย่างเดียวแล้ว นัน่ หมายความว่าทุกคนต่างผลิต
เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานของสังคมมากกว่าการผลิตเพื่อกำ�ไร มาถึงตรงนี้การกดขี่ขูดรีดก็จะ
หายไปความเสมอภาคก็จะเข้ามาแทนที่ นอกจากนีผ้ เู้ ขียนยังเห็นว่าสังคมนิยมไม่ใช่การละเมิดทรัพย์สนิ
ส่วนตัว แต่เป็นการสร้างมาตรการทางสังคมที่แข็งแกร่งมากขึ้น ถามว่าแข็งแกร่งอย่างไร คำ�ตอบ
ก็คือเมื่อทุกคนต่างร่วมกันผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการแล้วนั้นสิ่งที่เป็นปัญหาความขัดแย้งก็
จะไม่เกิดขึ้น กล่าวคือต่างคนต่างก็จะผลิตในส่วนที่ตนเองอยากผลิตและมีเวลาว่างที่จะสร้างสรรค์
สิ่งที่ตนอยากสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ สังคมนิยมไม่ใช่สังคมที่เลวร้ายว่าคนนั้นลงมือทำ� แต่ทำ�ไมได้
เท่ากับคนที่ไม่ลงมือทำ� นั่นเป็นการมองสังคมนิยมเพียงผิวเผิน แต่สังคมนิยมคือเป้าหมายที่แท้จริง
ของสังคมที่จะนำ�ไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ของผู้คน และความมั่นคงของสังคมการเมืองภายใต้ระบบ
เศรษฐกิจที่ทุกคนล้วนมีเสรีภาพที่จะทำ�หรือจะผลิตสิ่งที่ตนต้องการได้อย่างเต็มที่ ความเสมอภาค
ตามทัศนะของมาร์กซ์จึงเป็นความเสมอภาคที่สมเหตุสมผลทั้งในแง่ของตัวทฤษฎีความรู้เองและใน

57
เด่นพงษ์ แสนคำ� และ อัครยา สังขจันทร์

แง่ของตัวทฤษฎีทางสังคมที่ควรจะผลักดันให้เกิดรัฐแบบสังคมนิยมเช่นนี้

บทสรุป
ในบทความนีส้ งิ่ ทีผ่ เู้ ขียนต้องการนำ�เสนอก็คอื “การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรือ่ งความเสมอ
ภาคของคาร์ล มาร์กซ์” แต่การให้เหตุผลดังกล่าวนีผ้ เู้ ขียนไม่ได้เจาะจงไปทีป่ ระเด็นของความเสมอภาค
อย่างตรงไปตรงมา แต่พยายามสนับสนุนความเสมอภาคของมาร์กซ์ผ่านแนวคิดเรื่อง “สังคมนิยม”
ของเขา เพราะว่าแนวคิดเรื่องความเสมอภาคก็ซ่อนอยู่ในสังคมนิยมนั่นเอง ซึ่งก็เท่ากับว่าเมื่อเรา
ให้เหตุผลสนับสนุนความเป็นไปได้ของสังคมนิยมก็เป็นการสนับสนุนความเสมอภาคไปในตัวด้วย
ผู้เขียนเริ่มจากการนำ�เอาแนวคิดเรื่องสังคมนิยมในแง่ของญาณวิทยามาเป็นข้อถกเถียงเริ่มต้นก่อน
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความแค่ว่าจะบอกว่าทฤษฎีของมาร์กซ์เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่เท่านั้น แต่เพื่อชี้ให้
เห็นว่าวิธกี ารแบบมาร์กซ์ทเี่ ป็นวิทยาศาสตร์นเี้ ป็นการชีใ้ ห้เห็นข้อเท็จจริงของสังคมทีเ่ กิดขึน้ โดยยืนยัน
ว่าทฤษฎีสงั คมนิยมของมาร์กซ์เป็นวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์และเป็นวิทยาศาสตร์สงั คมทีส่ อดคล้องกับ
แนวคิดแบบปฏิฐานนิยมทีเ่ ป็นพืน้ ฐานของปรัชญาสังคมศาสตร์หลังสมัยใหม่ นัน่ หมายความว่าในแง่
ของทฤษฎีความรู้นั้นแนวคิดของมาร์กซ์เป็นองค์ความรู้ที่สามารถใช้สืบเสาะหาข้อเท็จจริงทางสังคม
ได้อย่างตรงไปตรงมา และการที่แนวคิดของมาร์กซ์เป็นวิทยาศาสตร์สังคมแล้วนั้นเมื่อพิจารณาในแง่
ของปรัชญาสังคมจะเป็นอย่างไร ในประเด็นหลังนีผ้ เู้ ขียนได้น�ำ เสนอบนข้อถกเถียงระหว่างเสรีนยิ มกับ
มาร์กซ์ และให้เหตุผลสนับสนุนโดยหยิบเอาแนวคิดของคานท์มาเปรียบเทียบด้วย จากการศึกษาใน
บทความนี้ชี้ให้เห็นว่าแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของมาร์กซ์เป็นแนวคิดที่มีความสมเหตุสมผลทั้งในแง่
ของญาณวิทยาและปรัชญาสังคม ในแง่ของปรัชญาสังคมนั้นมาร์กซ์ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนซึ่งปัญหา
ที่เกิดจากการกดขี่ขูดรีดในสังคมทุนนิยม และนำ�เสนอสังคมนิยมขึ้นมาเป็นสังคมที่มีการกระจาย
ผลผลิตอย่างเท่าเทียมกันและข้อสนับสนุนบนฐานคิดของคานท์ซึ่งเป็นจริยศาสตร์ที่วางอยู่บนหลัก
เหตุและผลก็เป็นเรื่องที่เข้ากันได้กับแนวคิดของมาร์กซ์เลยทีเดียวซึ่งมาร์กซ์และคานท์ต่างก็ปฏิเสธ
การมีสทิ ธิในทรัพย์สนิ ส่วนตัว อันจะนำ�ไปสูป่ ญ ั หาของความไม่เท่าเทียมกัน ท้ายทีส่ ดุ สังคมนิยมก็คอื
สังคมที่น่าปรารถนาสำ�หรับสร้างความมั่นคงให้กับสังคมการเมืองของมนุษย์นั่นเอง

รายการอ้างอิง

เอกสารภาษาต่างประเทศ
Calhoun, C.J. 2002. Classical Sociological Theory. Oxford: Wiley-Blackwell.
Clark, B. S. 1998. Political economy: A comparative approach. London: ABC-CLIO.
Hempel, C. 1967. Philosophy of Natural Science. New Jersey: Prentice Hall.
Cohen, G. A. 1978. Karl Marx’s Theory of History: A Defense. Oxford: Oxford University Press.
Lock, J. 1955. Two Treatises on Civil Government. Chicago: The Great Books Foundation.
Popper, K. 1966. The Open Society and Its Enemies: Volume II The High Tide of Prophecy:
Hegel, Marx and the Aftermath. Princeton: Princeton University Press.
Marx, K. and Engels, F. 1970. The German Ideology, Part One. London: Lawrence and Wishart.

58
การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดเรื่องสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์

Marx, K. 1971. Grundrisse. D. McLellan, Trans. New York: Harper & Row.
_________. 1988. “Economic and Philosophic Manuscripts” In Marx: Selections, ed. Allen W.
Wood. New York: Macmillan Publishing Company.
_________. 1990 [1867]. Capital, Volume I. Trans. Ben Fowkes. London: Penguin Books.
_________. 1997. Critique of Hegel’s dialectic and philosophy in general. Trans. LD Easton
& KH Guddat. Indianapolis: Hackett Publishing Company.
Laycock, H. 1999. “Exploitation via labour power in Marx.” The Journal of ethics, 3(2),
121-131.
Zalta, E.N. 2003. Karl Marx. Form https://plato.stanford.edu/entries/marx/#Aca [June, 20, 2018].

เอกสารภาษาไทย
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. 2541. ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำ�นักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลลดา นาคใหญ่. 2558. “แนวคิดความเสมอภาคในปรัชญาของคาร์ล มาร์กซ์.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร
มหาบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_________. 2558. “ทุนนิยม: ปัญหาความไม่เสมอภาคและวิถีแห่งการกดขี่ขูดรีด.” วารสารสมาคมปรัชญา
และศาสนาแห่งประเทศไทย, 10(1), 81 – 113.
พจมาน บุญไกรศรี. 2549. “ทรรศนะเรือ่ งเสรีภาพของคาร์ล มาร์กซ์.” วิทยานิพนธ์อกั ษรศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาปรัชญา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฟิงค์, ฮันส์. 2534. ปรัชญาสังคม [Social philosophy] แปลโดย พรพิไล ถมังรักษ์สัตว์, กรุงเทพมหานคร:
สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
วิทยากร เชียงกูล. 2558. ทำ�ไมควรอ่าน คาร์ล มาร์กซ์: Karl Marx. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.
สุรยี ์ สุวรรณปรีชา. 2520. “ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีความรูแ้ ละทฤษฎีการเมืองของปอบเปอร์.” วิทยานิพนธ์
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมภาร พรมทา. 2540. ปรัชญาสังคมและการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำ�นักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัครยา สังขจันทร์. 2538. “คาร์ล มาร์กซ์ปฏิเสธระบบตลาดหรือไม่.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาปรัชญา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Translated Thai References


Bunkraisri, P. 2006. “Karl Marx’s conception of freedom.” MA Thesis, Department of Phi-
losophy, Chulalongkorn University.
Chiengkul, W. 2015. Why Should Read Karl Marx: Karl Marx. Bangkok: Saengdaow.
Fink, H. 1991. Social Philosophy. Trans. Thamangraksat Pornpilai. Bangkok: National Re-
search Council of Thailand.
Natsupha, C. 1998. Political Economy. 4th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Nakyai, C. 2015. “The Concept of Equality in Karl Marx’s Philosophy.” MA Thesis, Depart-
ment of Philosophy, Chulalongkorn University.
________. 2015. “Capitalism: The Problem of Inequality and Ways of Exploitation.” Journal
of Philosophy and Religions Society of Thailand, 10(1), 81 – 113.
Promta, S. 1997. Social and Political Philosophy. 2nd Edition. Bangkok: Chulalongkorn
University Press.
Sangkachan, A. 1995. “Does Karl Marx Reject the Market System?” MA Thesis, Department
of Philosophy, Chulalongkorn University.
59
เด่นพงษ์ แสนคำ� และ อัครยา สังขจันทร์

Suwanpreecha, S. 1977. “The Relationship Between Popper’s Theory of Knowledge and


Political Theory.” MA Thesis, Department of Philosophy, Chulalongkorn University.

60

You might also like