Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 431

!

  กก  1

ก 
   
[ update   !  "#$%%$!ก&'()*)!
ก      (,#$#-* ./).2. 345/]

#7 )ก  89 ):;


2

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ภาค ๑

บททั่วไป

ลักษณะ ๑

บทวิเคราะห์ศัพท์

มาตรา ๑ ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้


แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

(๑) “ศาล” หมายความว่ า ศาลยุ ติ ธรรมหรื อผู้


พิพากษาที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง
3

(๒) “คดี ” หมายความว่ า กระบวนพิ จารณา


นับตั้งแต่เสนอคําฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้รับรอง คุ้มครองบังคับตาม
หรือเพื่อการใช้ซึ่งสิทธิหรือหน้าที่

(๓) “คําฟ้อง” หมายความว่า กระบวนพิจารณา


ใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทํา
เป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา
ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคําฟ้องหรือคําร้องขอหรือเสนอ
ในภายหลังโดยคําฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้งหรือโดยสอด
เข้ามาในคดีไม่ว่ าด้ว ยสมัครใจ หรือถู กบั งคั บ หรือโดยมีคําขอให้
พิจารณาใหม่

(๔) “คําให้การ” หมายความว่า กระบวนพิจารณา


ใด ๆ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คําฟ้องตามที่บัญญัติไว้
ในประมวลกฎหมายนี้ นอกจากคําแถลงการณ์

(๕) “คําคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคําฟ้อง


คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาลเพื่อตั้งประเด็นระหว่าง
คู่ความ

(๖) “คําแถลงการณ์” หมายความว่า คําแถลง


ด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งกระทําหรือยื่นต่อศาล
ด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาลในข้อความในประเด็นที่ได้
ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหาข้อใดที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือ
คําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่แสดง หรือกล่าว
4

ทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคําพยานหลักฐาน และ
ปั ญ หาข้ อ กฎหมายและข้ อ เท็ จ จริ ง ทั้ ง ปวง คํ า แถลงการณ์ อ าจ
รวมอยู่ในคําคู่ความ

(๗) “กระบวนพิจารณา” หมายความว่า การ


กระทําใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันเกี่ยวด้วยคดี
ซึ่งได้กระทําไปโดยคู่ความในคดีนั้นหรือโดยศาล หรือตามคําสั่งของ
ศาลไม่ว่าการนั้นจะเป็นโดยคู่ความฝ่ายใดทําต่อศาลหรือต่อคู่ความ
อีกฝ่ายหนึ่ง หรือศาลทําต่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่าย และ
รวมถึ ง การส่ ง คํ า คู่ ค วามและเอกสารอื่ น ๆ ตามที่ บั ญ ญั ติ ไ ว้ ใ น
ประมวลกฎหมายนี้

(๘) “การพิจารณา” หมายความว่า กระบวน


พิจารณาทั้ งหมดในศาลใดศาลหนึ่ งก่ อนศาลนั้ นชี้ขาดตัดสิน หรื อ
จําหน่ายคดีโดยคําพิพากษาหรือคําสั่ง

(๙) “การนั่งพิจารณา” หมายความว่า การที่ศาล


ออกนั่งเกี่ยวกับการพิจารณาคดีเช่น ชี้สองสถาน สืบพยาน ทําการ
ไต่สวน ฟังคําขอต่าง ๆ และฟังคําแถลงการณ์ด้วยวาจา

(๑๐) “วันสืบพยาน” หมายความว่า วันที่ศาล


เริ่มต้นทําการสืบพยาน

(๑๑) “คู่ความ” หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคํา


ฟ้ อ ง หรื อ ถู ก ฟ้ อ งต่ อ ศาล และเพื่ อ ประโยชน์ แ ห่ ง การดํ า เนิ น
กระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทําการแทนบุคคลนั้น
5

ๆ ตามกฎหมาย หรือในฐานะทนายความ

(๑๒) “บุคคลผู้ไร้ความสามารถ” หมายความว่า


บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มีความสามารถตามกฎหมายหรือความสามารถ
ถูกจํากัดโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่า
ด้วยความสามารถ

(๑๓) “ผู้แทนโดยชอบธรรม” หมายความว่ า


บุ ค คล ซึ่ ง ตามกฎ หมายมี สิ ท ธิ ที่ จ ะทํ า การแทนบุ ค คลผู้ ไ ร้
ความสามารถหรือเป็นบุคคลที่จะต้องให้คําอนุญาต หรือให้ความ
ยินยอมแก่ผู้ไร้ความสามารถในอันที่จะกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง

(๑๔)1[๗] เจ้าพนักงานบังคับคดี หมายความว่า


เจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีหรือพนักงานอื่นผู้มีอํานาจตาม
บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง กฎหมายที่ ใ ช้ อ ยู่ ในอั น ที่ จ ะปฏิ บั ติ ต ามวิ ธี ก ารที่
บัญญัติไว้ในภาค ๔ แห่งประมวลกฎหมายนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของ
คู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษาหรือ
คํ าสั่ งและให้ ห มายความรวมถึ งบุ คคลที่ ได้ รั บ มอบหมายจากเจ้ า
พนักงานบังคับคดีให้ปฏิบัติการแทน

1[๗] มาตรา ๑ (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๔๘
6

ลักษณะ ๒

ศาล

หมวด ๑

เขตอํานาจศาล

มาตรา ๒ ห้ามมิให้เสนอคําฟ้องต่อศาลใด เว้น


แต่

(๑) เมื่อได้พิจารณาถึงสภาพแห่งคําฟ้องและชั้น
ของศาลแล้ว ปรากฏว่า ศาลนั้นมีอํานาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดี
นั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
และ

(๒) เมื่อได้พิจารณาถึงคําฟ้องแล้ว ปรากฏว่าคดีนั้น


อยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยศาลที่
จะรับคําฟ้อง และตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กําหนดเขตศาลด้วย
7

มาตรา ๓2[๘] เพื่อประโยชน์ในการเสนอคําฟ้อง

(๑) ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศ
ยานไทยที ่อ ยู ่น อกราชอาณาจัก ร ให้ศ าลแพ่ง เป็น ศาลที ่ม ีเ ขต
อํานาจ

(๒) ในก รณี ที่ จํ าเล ยไม่ มี ภู มิ ลํ าเนา อยู่ ใ น


ราชอาณาจักร

(ก) ถ้ า จํ า เลยเคยมี ภู มิ ลํ า เนาอยู่ ณ ที่ ใ ดใน


ราชอาณาจักรภายในกําหนดสองปีก่อนวันที่มีการเสนอคําฟ้อง ให้
ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลําเนาของจําเลย

(ข) ถ้ า จํ า เลยประกอบหรื อ เคยประกอบ


กิจ การทั้ งหมดหรื อแต่บ างส่ว นในราชอาณาจักรไม่ว่ าโดยตนเอง
หรื อ ตั ว แทน หรื อ โดยมี บุ ค คลหนึ่ ง บุ ค คลใดเป็ น ผู้ ติ ด ต่ อ ในการ
ประกอบกิจการนั้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคย
ใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่
ของตัวแทนหรือของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคําฟ้องหรือภายใน
กําหนดสองปีก่อนนั้น เป็นภูมิลําเนาของจําเลย

2[๘] มาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
8

มาตรา ๔3[๙] เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่าง


อื่น

(๑) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่


ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมี
ภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่

(๒) คําร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นใน


เขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล

ม า ต ร า ๔ ท วิ 4[ ๑ ๐ ] คํ า ฟ้ อ ง เ กี่ ย ว ด้ ว ย
อ สั ง ห า ริ ม ท รั พ ย์ ห รื อ สิ ท ธิ ห รื อ ป ร ะ โ ย ช น์ อั น เ กี่ ย ว ด้ ว ย
อสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขต
ศาล ไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ หรือต่อ
ศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล

3[๙] มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔

4[๑๐] มาตรา ๔ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย


วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
9

มาตรา ๔ ตรี5[๑๑] คําฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติ


ไว้ในมาตรา ๔ ทวิ ซึ่งจําเลยมิ ได้มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร
และมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทย
หรือมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่ อศาลแพ่งหรือต่ อ
ศาลที่โจทก์มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล

คําฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจําเลยมีทรัพย์สินที่อาจ
ถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือ
ถาวร โจทก์จะเสนอคําฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้

มาตรา ๔ จัตวา6[๑๒] คําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการ


มรดก ให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลในขณะ
ถึงแก่ความตาย

ใ น ก ร ณี ที่ เ จ้ า ม ร ด ก ไ ม่ มี ภู มิ ลํ า เ น า อ ยู่ ใ น
ราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล

5[๑๑] มาตรา ๔ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย


วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔

6[๑๒] มาตรา ๔ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
10

มาตรา ๔ เบญจ7[๑๓] คําร้องขอเพิกถอนมติของที่


ประชุมหรือที่ประชุมใหญ่ของนิติบุคคล คําร้องขอเลิกนิติบุคคล คํา
ร้องขอตั้งหรือถอนผู้ชําระบัญชีของนิติบุคคล หรือคําร้องขออื่นใด
เกี่ยวกับนิติบุคคล ให้เสนอต่อศาลที่นิติบุคคลนั้นมีสํานักงานแห่ง
ใหญ่อยู่ในเขตศาล

มาตรา ๔ ฉ8[๑๔] คําร้องขอเกี่ยวกับทรัพย์สินที่


อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี คําร้องขอที่หากศาลมีคําสั่งตามคําร้องขอ
นั้ น จะเป็ น ผลให้ ต้ อ งจั ด การหรื อ เลิ ก จั ด การทรั พ ย์ สิ น ที่ อ ยู่ ใ น
ราชอาณาจักรก็ดี ซึ่งมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักรและผู้ร้องไม่
มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์สินดังกล่าว
อยู่ในเขตศาล

7[๑๓] มาตรา ๔ เบญจ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔

8[๑๔] มาตรา ๔ ฉ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย


วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
11

มาตรา ๕9[๑๕] คํ า ฟ้ องหรื อคํ าร้ องขอซึ่ ง อาจ


เสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้นไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลําเนา
ของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูล
คดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้อง
กัน โจทก์ห รือผู้ ร้องจะเสนอคํ าฟ้องหรือคําร้องขอต่อศาลใดศาล
หนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้

มาตรา ๖10[๑๖] ก่อนยื่นคําให้การ จําเลยชอบ


ที่จะยื่นคําร้องต่อศาลที่โจทก์ได้ยื่นคําฟ้องไว้ขอให้โอนคดีไปยังศาล
อื่นที่มีเขตอํานาจได้ คําร้องนั้นจําเลยต้องแสดงเหตุที่ยกขึ้นอ้างอิง
ว่าการพิ จารณาคดี ต่อไปในศาลนั้ นจะไม่ส ะดวก หรื อจําเลยอาจ
ไม่ได้รับความยุติธรรมเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคําสั่งอนุญาต
ตามคําร้องนั้นก็ได้

ห้ามมิให้ศาลออกคําสั่งอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เว้น
แต่ศาลที่จะรับโอนคดีไปนั้นได้ยินยอมเสียก่อน ถ้าศาลที่จะรับโอน
คดีไม่ยินยอม ก็ให้ศาลที่จะโอนคดีนั้นส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษา

9[๑๕] มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔

10[๑๖] มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ.๒๕๓๔
12

ศาลอุทธรณ์ชี้ขาด คําสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็น
ที่สุด

มาตรา ๖/๑11[๑๗] คดี ที่ ยื่ น ฟ้ อ งไว้ ต่ อ ศาล


ชั้นต้นซึ่งไม่ใช่ศาลแพ่ง ก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่
น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน หากศาลที่คดีนั้นอยู่
ระหว่ า งพิ จ ารณาเห็ น ว่ า ผลของคดี ดั ง กล่ า วอาจกระทบต่ อ การ
อนุรักษ์หรือการบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมการ
คุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนรวม หรือประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นที่
สําคัญ และการโอนคดีไปยังศาลแพ่งจะทําให้การพิจารณาพิพากษา
คดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก็ให้ศาลแจ้งคู่ความทราบและ
ทําความเห็นเสนอประธานศาลอุทธรณ์เพื่อมีคําสั่งให้โอนคดีนั้นไป
ยังศาลแพ่งได้ คําสั่งของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

การโอนคดีตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบกระเทือนถึง
กระบวนพิจารณาที่ได้ดําเนินการไปก่อนที่จะมีคําสั่งให้โอนคดี และ
ให้ ถือว่ าบรรดากระบวนพิ จ ารณาที่ ไ ด้ ดําเนิ น การไปแล้ ว นั้ น เป็ น
กระบวนพิจารณาของศาลแพ่งด้วย เว้นแต่ศาลแพ่งจะมีคําสั่งเป็น
อย่างอื่นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

11[๑๗] มาตรา ๖/๑ เพิ่ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ แ ก้ ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๘
13

มาตรา ๗12[๑๘] บทบัญญัติในมาตรา ๔ มาตรา


๔ ทวิ มาตรา ๔ ตรี มาตรา ๔ จัตวา มาตรา ๔ เบญจ มาตรา ๔ ฉ
มาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๖/๑ ต้ องอยู่ ภ ายใต้ บั งคั บ แห่ ง
บทบัญญัติดังต่อไปนี้

(๑) คํ า ฟ้ อ งหรื อ คํ า ร้ อ งขอที่ เ สนอภายหลั ง


เกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดให้เสนอต่อศาลนั้น

(๒)13[๑๙] คํ า ฟ้ อ งหรื อ คํ า ร้ อ งขอที่ เ สนอ


เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลซึ่งคํา
ฟ้องหรือคําร้องขอนั้นจําต้องมีคําวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับ
คดีจะได้ดําเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้น ให้เสนอต่อศาลที่
กําหนดไว้ในมาตรา ๒๗๑

(๓) คํ าร้องตามมาตรา ๑๐๑ ถ้าได้เสนอคําฟ้อง


หรือคําร้องขอต่อศาลใดแล้ว ให้เสนอต่อศาลนั้นในกรณีที่ยังไม่ได้

12[๑๘] มาตรา ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๘

13[๑๙]มาตรา ๗ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ.
๒๕๖๐
14

เสนอคําฟ้องหรือคําร้องขอต่อศาลใด ถ้าพยานหลักฐานซึ่งจะเรียก
มาสืบหรือบุคคลหรือทรัพย์หรือสถานที่ที่จะต้องตรวจอยู่ในเขตศาล
ใด ให้เสนอต่อศาลนั้น

( ๔ ) คํ า ร้ อ ง ที่ เ ส น อ ใ ห้ ศ า ล ถ อ น คื น ห รื อ
เปลี่ยนแปลงคําสั่งหรือการอนุญาตที่ศาลได้ให้ไว้ก็ดีคําร้องที่เสนอ
ให้ศาลถอดถอนบุคคลใดจากฐานะที่ศาลได้แต่งตั้งไว้ก็ดี คําร้องที่
เสนอให้ศาลมีคําสั่งใดที่เกี่ยวกับการถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคําสั่ง
หรือการอนุญาตหรือที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งเช่นว่านั้นก็ดีคําร้องขอ
หรือคําร้องอื่นใดที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ศาลได้มีคําพิพากษาหรือ
คําสั่งไปแล้วก็ดี ให้เสนอต่อศาลในคดีที่ได้มีคําสั่ง การอนุญาต การ
แต่งตั้ง หรือคําพิพากษานั้น

มาตรา ๘ ถ้ า คดี ส องเรื่ อ งซึ่ ง มี ป ระเด็ น อย่ า ง


เดียวกัน หรือเกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกันอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล
ชั้นต้นที่มีเขตอํานาจสองศาลต่างกัน และศาลทั้งสองนั้นได้ยกคํา
ร้องทั้งหลายที่ได้ยื่นต่อศาลขอให้คดีทั้งสองได้พิจ ารณาพิพากษา
รวมในศาลเดีย วกัน นั ้น เสีย ตราบใดที ่ศ าลใดศาลหนึ ่ง ยัง มิไ ด้
พิพากษาคดีนั้น ๆ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะยื่นคําขอโดยทําเป็นคํา
ร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เพื่อขอให้มีคําสั่งให้ศาลใดศาล
หนึ่งจําหน่ายคดีซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณานั้นออกเสียจากสารบบ
ความ หรือให้โอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งก็ได้แล้วแต่กรณี
15

คําสั่งใด ๆ ของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เช่น
ว่านี้ให้เป็นที่สุด

มาตรา ๙ ในกรณีดังกล่าวในมาตราก่อนนั้น ถ้า


ศาลใดศาลหนึ่งได้พิพากษาคดีแล้ว และได้มีการยื่นอุทธรณ์คัดค้าน
คําพิพากษานั้น คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคํา
ร้องต่อศาลอุทธรณ์ ขอให้มีคําสั่งให้งดการพิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์
นั้นไว้ก่อนจนกว่าอีกศาลหนึ่งจะได้พิพากษาคดีอีกเรื่องหนึ่งเสร็จ
แล้วก็ได้ และถ้าได้มีการอุทธรณ์คดีเรื่องหลังนี้ก็ให้ศาลอุทธรณ์รวม
วินิจฉัยคดีทั้งสองนั้นโดยคําพิพากษาเดียวกัน ถ้าคดีเรื่องหลังนั้นไม่
มีอุทธรณ์ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๔๖

มาตรา ๑๐ ถ้าไม่อาจดําเนินกระบวนพิจารณาใน
ศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย คู่ความฝ่ายที่
เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคําขอฝ่ายเดียวโดยทํา
เป็ น คํ าร้ องต่ อศาลชั้ นต้ น ซึ่ งตนมี ภู มิ ลํ าเนาหรื ออยู่ ในเขตศาลใน
ขณะนั้นก็ได้ และให้ศาลนั้นมีอํานาจทําคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่
เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

หมวด ๒
16

การคัดค้านผู้พิพากษา

มาตรา ๑๑ เมื่อคดีถึงศาล ผู้พิพากษาคนหนึ่งคน


ใดในศาลนั้นอาจถูกคัดค้านได้ในเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้

(๑) ถ้ า ผู้ พิ พ ากษานั้ น มี ผ ลประโยชน์ ไ ด้ เ สี ย


เกี่ยวข้องอยู่ในคดีนั้น

(๒) ถ้ าเป็ น ญาติ เกี่ย วข้ องกับ คู่ ความฝ่ายใดฝ่ าย


หนึ่ง คือว่าเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่
น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยว
พันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น

(๓) ถ้าเป็นผู้ที่ได้ถูกอ้างเป็นพยานโดยที่ได้รู้ได้เห็น
เหตุการณ์ หรือโดยเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความรู้เป็นพิเศษเกี่ยวข้องกับ
คดีนั้น

(๔) ถ้าได้ เป็น หรือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรื อ


ผู้แทนหรือได้เป็นทนายความของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาแล้ว

(๕) ถ้าได้เป็นผู้พิพากษานั่งพิจารณาคดีเดียวกัน
นั้นในศาลอื่นมาแล้ว หรือเป็นอนุญาโตตุลาการมาแล้ว
17

(๖) ถ้ามีคดีอีกเรื่องหนึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาซึ่ง
ผู้พิพากษานั้นเอง หรือภริยา หรือญาติทางสืบสายโลหิตตรงขึ้นไป
หรือตรงลงมาของผู้พิพากษานั้นฝ่ายหนึ่ง พิพาทกับคู่ความฝ่ายใดฝ่าย
หนึ่ง หรือภริยา หรือญาติทางสืบสายโลหิตตรงขึ้นไปหรือตรงลงมา
ของคู่ความฝ่ายนั้นอีกฝ่ายหนึ่ง

(๗) ถ้าผู้พิพากษานั้นเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือ


เป็นนายจ้างของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

มาตรา ๑๒ เมื่อศาลใดมีผู้พิพากษาแต่เพียงคน
เดี ย ว ผู้ พิ พ ากษานั้ น อาจถู ก คั ด ค้ า นด้ ว ยเหตุ ใ ดเหตุ ห นึ่ ง ตามที่
กําหนดไว้ในมาตราก่อนนั้นได้ หรือด้วยเหตุประการอื่นอันมีสภาพ
ร้ า ยแรงซึ่ ง อาจทํ า ให้ ก ารพิ จ ารณาหรื อ พิ พ ากษาคดี เ สี ย ความ
ยุติธรรมไป

มาตรา ๑๓ ถ้ามีเหตุที่จะคัดค้านได้อย่างใดอย่าง
หนึ่งดังที่กล่าวไว้ในสองมาตราก่อนเกิดขึ้นแก่ผู้พิพากษาคนใดที่นั่ง
ในศาล

(๑) ผู้พิพากษานั้นเองจะยื่นคําบอกกล่าวต่อศาล
แสดงเหตุ ที่ ต นอาจถู ก คั ด ค้ า น แล้ ว ขอถอนตั ว ออกจากการนั่ ง
พิจารณาคดีนั้นก็ได้
18

(๒) คู่ ความที่เกี่ย วข้องอาจยกข้อคั ดค้านขึ้นอ้าง


โดยทําเป็นคําร้องยื่นต่อศาลแต่ถ้าตนได้ทราบเหตุที่พึงคัดค้านได้
ก่อนวั น สืบ พยาน ก็ ให้ ยื่น คํ าร้ องคั ดค้ านเสีย ก่ อนวั นสื บพยานนั้ น
หรือถ้าทราบเหตุที่พึงคัดค้านได้ในระหว่างพิจารณา ก็ให้ยื่นคําร้อง
คั ด ค้ า นไม่ ช้ า กว่ า วั น นั ด สื บ พยานครั้ ง ต่ อ ไป แต่ ต้ อ งก่ อ นเริ่ ม
สืบพยานเช่นว่านั้น

เมื่อได้ยื่นคําร้องดังกล่าวแล้ว ให้ศาลงดกระบวน
พิจารณาทั้งปวงไว้ก่อนจนกว่าจะได้มีคําชี้ขาดในเรื่องที่คัดค้านนั้น
แล้ว แต่ความข้อนี้มิให้ใช้แก่กระบวนพิจารณาซึ่งจะต้องดําเนินโดยมิ
ชักช้า อนึ่ง กระบวนพิจารณาทั้งหลายที่ได้ดําเนินไปก่อนได้ยื่นคํา
ร้ อ งคั ด ค้ า นก็ ดี และกระบวนพิ จ ารณาทั้ ง หลายในคดี ที่ จ ะต้ อ ง
ดําเนินโดยมิชักช้า แม้ถึงว่าจะได้ดําเนินไปภายหลังที่ได้ยื่นคําร้อง
คัดค้านก็ดี เหล่านี้ย่อมสมบูรณ์ไม่เสียไป เพราะเหตุที่ศาลมีคําสั่ง
ยอมฟังคําคัดค้าน เว้นแต่ศาลจะได้กําหนดไว้ในคําสั่งเป็นอย่างอื่น

ถ้าศาลใดมีผู้พิพ ากษาคนเดีย ว และผู้พิพากษา


คนนั ้น ถูก คัด ค้า น หรือ ถ้า ศาลใดมีผู้ พิ พ ากษาหลายคน และผู้
พิ พ ากษาทั้ ง หมดถู ก คั ด ค้ า น ให้ ศ าลซึ่ ง มี อํ า นาจสู ง กว่ า ศาลนั้ น
ตามลําดับเป็นผู้ชี้ขาดคําคัดค้าน

ถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาที่
มิ ได้ ถูก คั ดค้ านรวมทั้ ง ข้ า หลวงยุ ติธ รรม ถ้ าได้ นั่ ง พิ จ ารณาด้ ว ยมี
จํานวนครบที่จะเป็นองค์คณะและมีเสียงข้างมากตามที่กฎหมาย
ต้องการ ให้ศาลเช่นว่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดคําคัดค้าน แต่ในกรณีที่อยู่ใน
19

อํ า นาจของผู ้พ ิพ ากษาคนเดีย วจะชี ้ข าดคํ า คั ด ค้ า น ห้ า มมิ ใ ห้ ผู้


พิพากษาคนนั้นมีคําสั่งให้ยกคําคัดค้าน โดยผู้พิพากษาอีกคนหนึ่ง
หรือข้าหลวงยุติธรรมมิได้เห็นพ้องด้วย

ถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาที่
มิได้ถูกคัดค้าน แม้จะนับรวมข้าหลวงยุติธรรมเข้าด้วย ยังมีจํานวน
ไม่ ค รบที่ จ ะเป็ น องค์ ค ณะและมี เ สี ย งข้ า งมากตามที่ ก ฎหมาย
ต้อ งการ หรือ ถ้า ผู้พิพ ากษาคนเดีย วไม่ส ามารถมีคํา สั่ง ให้ย กคํา
คัด ค้า นเสีย ด้ว ยความเห็น พ้อ งของผู้พิพ ากษาอี กคนหนึ่ ง หรื อ
ข้าหลวงยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อน ให้ศาลซึ่งมีอํานาจสูง
กว่าศาลนั้นตามลําดับเป็นผู้ชี้ขาดคําคัดค้าน

มาตรา ๑๔ เมื่ อได้ มีการร้ องคั ดค้ านขึ้ น และผู้


พิพากษาที่ถูกคัดค้านไม่ยอมถอนตัวออกจากการนั่งพิจารณาคดี ให้
ศาลฟังคําแถลงของคําคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องและของผู้พิพากษาที่
ถูกคัดค้าน กับทําการสืบพยานหลักฐานที่บุคคลเหล่านั้นได้นํามา
และพยานหลักฐานอื่นตามที่เห็นสมควร แล้วออกคําสั่งยอมรับหรือ
ยกเสียซึ่งคําคัดค้านนั้น คําสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด

เมื่อศาลที่ผู้พิพากษาแห่งศาลนั้น เองถูกคัดค้าน
จะต้องวินิจฉัยชี้ขาดคําคัดค้านห้ามมิให้ผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้านนั้น
นั่งหรือออกเสียงกับผู้พิพากษาอื่น ๆ ในการพิจารณาและชี้ขาดคํา
คัดค้านนั้น
20

ถ้าผู้พิพากษาคนใดได้ขอถอนตัวออกจากการนั่ง
พิจารณาคดีก็ดี หรือศาลได้ยอมรับคําคัดค้านผู้พิพากษาคนใดก็ดี
ให้ผู้พิพากษาคนอื่นทําการแทนตามบทบัญญัติในพระธรรมนูญศาล
ยุติธรรม

หมวด ๓

อํานาจและหน้าที่ของศาล

มาตรา ๑๕ ห้ามมิให้ศาลใช้อํานาจนอกเขตศาล
เว้นแต่

(๑) ถ้าบุคคลผู้ที่จะถูกซักถามหรือถูกตรวจ หรือ


บุคคลผู้เป็นเจ้าของทรัพย์หรือสถานที่ซึ่งจะถูกตรวจมิได้ยกเรื่องเขต
ศาลขึ้นคัดค้าน ศาลจะทําการซักถามหรือตรวจดังว่านั้นนอกเขต
ศาลก็ได้

(๒) ศาลจะออกหมายเรียกคู่ความหรือบุคคลนอก
เขตศาลก็ได้ ส่วนการที่จะนําบทบัญญัติมาตรา ๓๑, ๓๓, ๑๐๘,
๑๐๙ และ ๑๑๑ แห่งประมวลกฎหมายนี้และมาตรา ๑๔๗ แห่ง
21

กฎหมายลักษณะอาญามาใช้บังคับได้นั้น ต้องให้ศาลซึ่งมีอํานาจใน
เขตศาลนั้นสลักหลังหมายเสียก่อน

(๓)14[๒๐] หมายบังคับคดีและหมายของศาลที่
ออกให้ จั บ และกั ก ขั ง บุ ค คลผู้ ใ ดตามบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง ประมวล
กฎหมายนี้ อาจบังคับได้ไม่ว่าในที่ใด ๆ

ในกรณีที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลที่มีอํานาจใน
การบังคับ คดี ให้บั งคับตามมาตรา ๒๗๑ วรรคสาม วรรคสี่ และ
วรรคห้า15[๒๑]

คดีที่ศาลแพ่งได้รับไว้พิจารณาพิพากษาตามพระ
ธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือที่ได้โอนไปยังศาลแพ่งตามมาตรา ๖/๑
ให้ศาลแพ่งมีอํานาจดําเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกเขตศาลได้
ตามที่เห็นสมควร16[๒๒]

14[๒๐] มาตรา ๑๕ (๓) แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๔๒

15[๒๑] มาตรา ๑๕ วรรคสอง แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

16[๒๒] มาตรา ๑๕ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๘
22

มาตรา ๑๖ ถ้าจะต้องทําการซักถาม หรือตรวจ


หรือดําเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ

(๑) โดยศาลชั้นต้นศาลใด นอกเขตศาลนั้น หรือ

(๒) โดยศาลแพ่งหรือศาลอาญา นอกเขตจังหวัด


พระนครและธนบุรีหรือโดยศาลอุทธรณ์หรือฎีกา

ให้ศาลที่กล่าวแล้วมีอํานาจที่จะแต่งตั้งศาลอื่นที่
เป็นศาลชั้นต้นให้ทําการซักถามหรือตรวจภายในบังคับบทบัญญัติ
มาตรา ๑๐๒ หรือดําเนินกระบวนพิจารณาแทนได้

มาตรา ๑๗ คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ต่อศาลนั้น ให้ศาล


ดําเนินการไปตามลําดับเลขหมายสํานวนในสารบบความ เว้นแต่
ศาลจะกําหนดเป็นอย่างอื่นเมื่อมีเหตุผลพิเศษ

มาตรา ๑๘ ให้ศาลมีอํานาจที่จะตรวจคําคู่ความ
ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้เพื่อยื่นต่อศาล หรือส่งให้แก่
คู่ความ หรือบุคคลใด ๆ
23

ถ้าศาลเห็นว่าคําคู่ความที่ได้ยื่นไว้ดังกล่าวแล้วนั้น
อ่านไม่ออกหรืออ่ านไม่เข้ าใจหรือเขีย นฟุ่มเฟือยเกิ นไป หรื อไม่ มี
รายการ ไม่ มี ล ายมื อ ชื่ อ ไม่ แนบเอกสารต่ า ง ๆ ตามที่ ก ฎหมาย
ต้ อ งการ หรื อ มิ ไ ด้ ชํ า ระหรื อ วางค่ า ธรรมเนี ย มศาลโดยถู ก ต้ อ ง
ครบถ้ วน ศาลจะมีคําสั่งให้คืน คําคู่ ความนั้นไปให้ ทํามาใหม่ หรื อ
แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม หรื อ ชํ า ระหรื อ วางค่ า ธรรมเนี ย มศาลให้ ถู ก ต้ อ ง
ครบถ้วน ภายในระยะเวลาและกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ตลอดจนเรื่อง
ค่ าฤชาธรรมเนี ย มตามที่ ศาลเห็ น สมควรก็ ได้ ถ้ ามิ ได้ ป ฏิ บั ติ ตาม
ข้อกําหนดของศาลในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนดไว้ก็ให้มีคําสั่ง
ไม่รับคําคู่ความนั้น17[๒๓]

ถ้ า ศาลเห็ น ว่ า คํ า คู่ ค วามที่ ไ ด้ นํ า มายื่ น ดั ง กล่ า ว


ข้างต้น มิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับไว้ นอกจากที่
กล่าวมาในวรรคก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเห็นว่าสิทธิของ
คู่ความหรือบุคคลซึ่งยื่นคําคู่ความนั้นได้ถูกจํากัดห้ามโดยบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายเรื่องเขตอํานาจศาล ก็ให้ศาลมีคําสั่งไม่รับหรือคืนคํา
คู่ความนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอํานาจ

ถ้าไม่มีข้อขัดข้องดังกล่าวแล้ว ก็ให้ศาลจดแจ้ง
แสดงการรับคําคู่ความนั้นไว้บนคําคู่ความนั้นเองหรือในที่อื่น

คํ า สั่ ง ของศาลที่ ไ ม่ รั บ หรื อ ให้ คืน คํ า คู่ ค วามตาม

17[๒๓] มาตรา ๑๘ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๒๗
24

มาตรานี้ ให้ อุทธรณ์ และฎี กาได้ ตามที่ บั ญญั ติไว้ในมาตรา ๒๒๗,


๒๒๘ และ ๒๔๗

มาตรา ๑๙ ศาลมีอํานาจสั่งได้ตามที่เห็นสมควรให้
คู่ ความทุ กฝ่ าย หรื อฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่ งมาศาลด้ วยตนเอง ถึ งแม้ ว่ า
คู่ความนั้น ๆ จะได้มีทนายความว่าต่างแก้ต่างอยู่แล้วก็ดี อนึ่ง ถ้า
ศาลเห็นว่าการที่คู่ความมาศาลด้วยตนเองอาจยังให้เกิดความตกลง
หรือการประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ในมาตราต่อไปนี้ ก็
ให้ศาลสั่งให้คู่ความมาศาลด้วยตนเอง

มาตรา ๒๐18[๒๔] ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะได้


ดําเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลมีอํานาจที่จะไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตก
ลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาทนั้น

มาตรา ๒๐ ทวิ19[๒๕] เพื่อประโยชน์ในการไกล่


18[๒๔] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒

19[๒๕] มาตรา ๒๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
25

เกลี่ย เมื่อศาลเห็ นสมควรหรื อเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ


ศาลจะสั่งให้ดําเนินการเป็นการลับเฉพาะต่อหน้าตัวความทุกฝ่าย
หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยจะให้มีทนายความอยู่ด้วยหรือไม่ก็ได้

เมื่ อ ศาลเห็ น สมควรหรื อเมื่ อคู่ ค วามฝ่ า ยใดฝ่ า ย


หนึ่ ง ร้ อ งขอ ศาลอาจแต่ ง ตั้ ง บุ ค คลหรื อ คณะบุ ค คลเป็ น ผู้
ประนี ป ระนอม เพื่ อช่ ว ยเหลื อศาลในการไกล่ เกลี่ ยให้ คู่ ความได้
ประนีประนอมกัน

หลั กเกณฑ์ และวิ ธี การในการไกล่ เกลี่ ย ของศาล


การแต่ ง ตั้ ง ผู้ ป ระนี ป ระนอม รว มทั้ ง อํ า นาจหน้ า ที่ ข องผู้
ประนีประนอม ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดของประธาน
ศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา20[๒๖]

ข้ อกํ าหนดของประธานศาลฎี ก าตามวรรคสาม


เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้21[๒๗]

มาตรา ๒๑ เมื่อคู่ความฝ่ายใดเสนอคําขอหรือคํา

20[๒๖] มาตรา ๒๐ ทวิ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑

21[๒๗] มาตรา ๒๐ ทวิ วรรคสี่ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
26

แถลงต่อศาล

(๑) ถ้าประมวลกฎหมายนี้ มิได้ บัญญัติว่ า คํ าขอ


หรื อ คํ า แถลงจะต้ อ งทํ า เป็ น คํ า ร้ อ งหรื อ เป็ น หนั ง สื อ ก็ ใ ห้ ศ าลมี
อํานาจที่จ ะยอมรั บคํ าขอหรื อคําแถลงที่ คู่ความได้ ทําในศาลด้ ว ย
วาจาได้ แต่ ศ าลต้ อ งจดข้ อ ความนั้ น ลงไว้ ใ นรายงาน หรื อ จะ
กําหนดให้ คู่ความฝ่ ายนั้ น ยื่ น คํ าขอโดยทํ าเป็ น คํ าร้ อง หรื อยื่ น คํ า
แถลงเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

(๒) ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ว่า คําขอ


อันใดจะทําได้แต่ฝ่ายเดียวห้ามมิให้ศาลทําคําสั่งในเรื่องนั้น ๆ โดยมิ
ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ มีโอกาสคัดค้านก่อน แต่
ทั้งนี้ ต้องอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
การขาดนัด

(๓) ถ้าประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้ว่า คําขออัน


ใดอาจทําได้แต่ฝ่ายเดียวแล้ว ให้ศ าลมีอํานาจที่จ ะฟัง คู่ค วามอีก
ฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคําสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้ เว้น
แต่ในกรณีที่คําขอนั้นเป็นเรื่องขอหมายเรียกให้ให้การ หรือเพื่อยึด
หรืออายั ดทรัพย์ สินก่อนคําพิพากษาหรือเพื่อให้ ออกหมายบังคั บ
หรือเพื่อจับหรือกักขังจําเลยหรือลูกหนี้ตามคําพิพากษา

(๔) ถ้ าประมวลกฎหมายนี้ มิได้บั ญญัติไว้ ว่าศาล


ต้องออกคําสั่งอนุญาตตามคําขอที่ได้เสนอต่อศาลนั้นโดยไม่ต้องทํา
การไต่สวนแล้ว ก็ให้ศาลมีอํานาจทําการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควร
27

ก่อนมีคําสั่งตามคําขอนั้น

ในกรณี เ รื่ อ งใดที่ ศ าลอาจออกคํ า สั่ ง ได้ เ องหรื อ


ต่อเมื่อคู่ความมีคําขอ ให้ใช้บทบัญญัติอนุมาตรา (๒), (๓) และ (๔)
แห่งมาตรานี้บังคับ

ในกรณี เรื่ องใดที่ คู่ความไม่ มีอํา นาจขอให้ ศาลมี


คําสั่ง แต่หากศาลอาจมีคําสั่งในกรณีเรื่องนั้นได้เอง ให้ศาลมีอํานาจ
ภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๐๓ และ ๑๘๑ (๒) ที่จะงดฟัง
คู่ความหรืองดทําการไต่สวนก่อนออกคําสั่งได้

มาตรา ๒๒ กํ า หนดระยะเวลาทั้ ง ปวงไม่ ว่ า ที่


กฎหมายกําหนดไว้หรือที่ศาลเป็นผู้กําหนดก็ดี เพื่อให้ดําเนินหรือมิให้
ดํ า เนิ น กระบวนพิ จ ารณาใด ๆ ก่ อ นสิ้ น ระยะเวลานั้ น ให้ ศ าล
คํานวณตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่า
ด้วยระยะเวลา

มาตรา ๒๓ เมื่อศาลเห็นสมควรหรือมีคู่ความฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องได้ยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้อง ให้ศาลมีอํานาจที่จะออก
คําสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กําหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้
หรือตามที่ศาลได้กําหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณา
ความแพ่ ง อั น กํ า หนดไว้ ใ นกฎหมายอื่ น เพื่ อ ให้ ดํ า เนิ น หรื อ มิ ใ ห้
28

ดําเนินกระบวนวิธีพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นแต่การขยาย
หรือย่นเวลาเช่นว่านี้ให้พึงทําได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาล
ได้มีคําสั่งหรือคู่ความมีคําขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ใน
กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย

มาตรา ๒๔ เมื่ อ คู่ ค วามฝ่ า ยใดยกปั ญ หาข้ อ


กฎหมายขึ้นอ้าง ซึ่งถ้าหากได้วินิจฉัยให้เป็นคุณแก่ฝ่ายนั้นแล้ว จะ
ไม่ ต้องมี ก ารพิ จ ารณาคดี ต่อ ไปอี ก หรื อไม่ ต้อ งพิ จ ารณาประเด็ น
สําคัญแห่งคดีบางข้อ หรือถึงแม้จะดําเนินการพิจารณาประเด็นข้อ
สํ า คั ญ แห่ ง คดี ไ ป ก็ ไ ม่ ทํ า ให้ ไ ด้ ค วามชั ด ขึ้ น อี ก แล้ ว เมื่ อ ศาล
เห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอ ให้ศาลมีอํานาจ
ที่ จ ะมี คํา สั่ ง ให้ มีผ ลว่ า ก่ อ นดํ าเนิ น การพิ จ ารณาต่ อ ไป ศาลจะได้
พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายเช่นว่านี้แล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นใน
ปัญหานั้น

ถ้าศาลเห็นว่าคําวินิจฉัยชี้ขาดเช่นว่านี้จะทําให้คดี
เสร็ จ ไปได้ ทั้งเรื่ องหรื อเฉพาะแต่ ป ระเด็ น แห่ งคดี บ างข้ อ ศาลจะ
วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่กล่าวแล้วและพิพากษาคดีเรื่องนั้นหรือเฉพาะ
แต่ประเด็นที่เกี่ยวข้องไปโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งฉบับเดียวกันก็
ได้

คํ า สั่ ง ใด ๆ ของศาลที่ ไ ด้ อ อกตามมาตรานี้ ให้


อุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๒๗, ๒๒๘ และ
29

๒๔๗

มาตรา ๒๕ ถ้าคู่ความฝ่ายใดยื่นคําขอโดยทําเป็น
คําร้องให้ศาลสั่งกําหนดวิธีการอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในภาค ๔ เพื่อ
คุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่ อบังคั บ
ตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง ให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตหรือยกคําขอนั้น
เสียโดยไม่ชักช้า

ถ้าในเวลาที่ยื่นคําขอนั้นศาลจะชี้ขาดคดีได้อยู่แล้ว
ศาลจะวินิจฉัยคําขอนั้นในคําพิพากษา หรือในคําสั่งชี้ขาดคดีก็ได้

มาตรา ๒๖ ถ้าศาลได้ตั้งข้อถาม หรือออกคําสั่ง


หรือชี้ขาดเกี่ยวด้วยการดําเนินคดีเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และคู่ความฝ่าย
ใดฝ่ายหนึ่งในคดีเรื่องนั้นคัดค้านข้อถามหรือคําสั่งหรือคําชี้ขาดนั้น
ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก่อนที่ศาลจะดําเนินคดีต่อไป ให้ศาลจด
ข้ อ ถามหรื อ คํ า สั่ ง หรื อ คํ า ชี้ ข าดที่ ถู ก คั ด ค้ า นและสภาพแห่ ง การ
คัดค้านลงไว้ในรายงาน แต่ส่วนเหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างอิงนั้น
ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงาน หรือกําหนดให้คู่ความฝ่ายที่
คัดค้านยื่นคําแถลงเป็นหนังสือเพื่อรวมไว้ในสํานวน
30

มาตรา ๒๗ ในกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ
แห่ งประมวลกฎหมายนี้ ในข้ อที่ มุ่งหมายจะยั งให้ การเป็ นไปด้ ว ย
ความยุติธรรม หรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนใน
เรื่องการเขียน และการยื่นหรือการส่งคําคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ
หรือในการพิจารณาคดี การพิจารณาพยานหลักฐาน หรือการบังคับ
คดี เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการ
ที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้อง ให้ศาลมีอํานาจที่
จะสั่ ง ให้ เ พิ ก ถอนการพิ จ ารณาที่ ผิ ดระเบี ย บนั้ น เสี ย ทั้ งหมดหรื อ
บางส่ ว น หรื อ สั่ งแก้ ไขหรื อ มี คํา สั่ งในเรื่ อ งนั้ น อย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง
ตามที่ศาลเห็นสมควร

ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหาย
อาจยกขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคําพิพากษา แต่ต้องไม่ช้า
กว่ า แปดวั น นั บ แต่ วั น ที่ คู่ ค วามฝ่ า ยนั้ น ได้ ท ราบข้ อ ความหรื อ
พฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้
ดําเนิ น การอั นใดขึ้นใหม่ ห ลังจากที่ ได้ทราบเรื่องผิ ดระเบี ย บแล้ ว
หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ

ถ้ า ศาลสั่ ง ให้ เ พิ ก ถอนกระบวนพิ จ ารณาที่ ผิ ด


ระเบี ย บใด ๆ อั น มิ ใ ช่ เ รื่ อ งที่ คู่ ค วามละเลยไม่ ดํ า เนิ น กระบวน
พิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลาซึ่งกฎหมายหรือศาลกําหนดไว้
เพี ย งเท่ า นี้ ไ ม่ เ ป็ น การตั ด สิ ท ธิ คู่ ค วามฝ่ า ยนั้ น ในอั น ที่ จ ะดํ า เนิ น
กระบวนพิจารณานั้น ๆ ใหม่ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบังคับ
31

มาตรา ๒๘ ถ้ามีคดีหลายเรื่องค้างพิจารณาอยู่ใน
ศาลเดียวกันหรือในศาลชั้นต้นสองศาลต่างกัน และคู่ความทั้งหมด
หรื อแต่ บ างฝ่ ายเป็ น คู่ ความรายเดี ย วกั น กั บ ทั้ งการพิ จ ารณาคดี
เหล่านั้น ถ้าได้รวมกันแล้ว จะเป็นการสะดวก หากศาลนั้นหรือศาล
หนึ่ งศาลใดเหล่านั้ น เห็ นสมควรให้ พิจ ารณาคดี รวมกั น หรื อหาก
คู่ความทั้งหมดหรือแต่บางฝ่ายมีคําขอให้พิจารณาคดีรวมกันโดย
แถลงไว้ในคําให้การหรือทําเป็นคําร้องไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคํา
พิพากษา เมื่อศาลได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายแห่งคดีนั้น ๆ แล้ว ถ้าศาล
เป็ น ที่ พ อใจว่ า คดี เ หล่ านั้ น เกี่ ย วเนื่ องกั น ก็ ให้ ศาลมี อํานาจออก
คําสั่งให้พิจารณาคดีเหล่านั้นรวมกัน

ถ้าจะโอนคดีมาจากอีกศาลหนึ่งหรือโอนคดีไปยัง
อีกศาลหนึ่งที่มีเขตอํานาจเหนือคดีนั้น ศาลจะมีคําสั่งก่อนที่ได้รับ
ความยินยอมของอีกศาลหนึ่งนั้นไม่ได้ แต่ถ้าศาลที่จ ะรับโอนคดี
ไม่ยิน ยอม ก็ใ ห้ศ าลที่จ ะโอนคดีนั้น ส่ง เรื่อ งให้อ ธิบ ดีผู้พิพ ากษา
ศาลอุท ธรณ์ชี้ข าด คํ า สั ่ง ของอธิบ ดีผู ้พิพ ากษาศาลอุท ธรณ์ใ ห้
เป็นที่สุด

มาตรา ๒๙ ถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อ
ด้วยกันและศาลเห็นว่าข้อหาข้อหนึ่งข้อใดเหล่านั้น มิไ ด้เ กี่ย วข้อ ง
กัน กับ ข้อ อื่น ๆ เมื่อ ศาลเห็น สมควร หรือ เมื่อ คู่ค วามผู้มีส่ว นได้
เสีย ได้ยื่น คํา ขอโดยทํา เป็น คํ า ร้อ งให้ศ าลมีคํา สั่ง ให้แ ยกคดีเ สีย
โดยเร็ว ถ้าโจทก์ประสงค์จ ะให้พิจ ารณาข้อหาเช่นว่านั้น ต่อไป ก็
32

ให้ศาลดําเนินการพิจารณาคดีไปเสมือนหนึ่งว่าเป็นคดีอีกเรื่องหนึ่ง
ต่างหาก โดยมีเงื่อนไขที่ศาลจะกําหนดไว้ตามที่เห็นสมควร

ถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อ และศาลเห็น
ว่าหากแยกพิ จ ารณาข้ อหาทั้งหมดหรื อข้อใดข้ อหนึ่ งออกจากกั น
แล้ว จะทําให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ไม่ว่าเวลาใด ๆ
ก่อนมีคําพิพากษา เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความผู้มีส่วนได้
เสียยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้อง และเมื่อศาลได้ฟังคู่ความทุกฝ่าย
แล้ว ให้ศาลมีอํานาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อ
หนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไป

มาตรา ๓๐ ให้ศาลมีอํานาจออกข้อกําหนดใด ๆ
แก่ คู่ความฝ่ายใดฝ่ ายหนึ่ งหรือแก่ บุคคลภายนอกที่ อยู่ต่อหน้าศาล
ตามที่เห็นจําเป็น เพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้
กระบวนพิจารณาดําเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว อํานาจเช่นว่า
นี้ ให้รวมถึงการสั่งห้ามคู่ความมิให้ดําเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อ
ความรํ าคาญ หรื อในทางประวิ งให้ ชั กช้ าหรื อในทางฟุ่ มเฟื อยเกิ น
สมควร
33

มาตรา ๓๑22[๒๘] ผู้ ใ ดกระทํ าการอย่ างใด ๆ


ดังกล่าวต่อไปนี้ ให้ถือว่ากระทําผิดฐานละเมิดอํานาจศาล

(๑) ขั ดขืนไม่ ปฏิบัติตามข้อกําหนดของศาลตาม


มาตราก่อนอันว่าด้วยการรักษาความเรียบร้อย หรือประพฤติตนไม่
เรียบร้อยในบริเวณศาล

(๒)23[๒๙] เมื่อได้มีคําร้องและได้รับอนุญาตจาก
ศาลให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตามมาตรา ๑๕๖/๑ แล้ว ปรากฏ
ว่าได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเสนอพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล
ในการไต่สวนคําร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

(๓) เมื่อรู้ว่าจะมีการส่งคําคู่ความหรือส่งเอกสาร
อื่น ๆ ถึงตน แล้วจงใจไปเสียให้พ้น หรือหาทางหลีกเลี่ยงที่จะไม่
รับคําคู่ความหรือเอกสารนั้นโดยสถานอื่น

(๔) ตรวจเอกสารทั้งหมด หรือฉบับใดฉบับหนึ่ ง


ซึ่งอยู่ในสํานวนความ หรือคัดเอาสําเนาเอกสารเหล่านั้นไป โดยฝ่า
ฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา ๕๔

22[๒๘] มาตรา ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙

23[๒๙] มาตรา ๓๑ (๒) แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
34

(๕)24[๓๐] ขั ดขื น ไม่ มาศาล เมื่ อศาลได้ มีคําสั่ ง


ตามมาตรา ๑๙ หรือเมื่อมีหมายเรียกลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือ
บุคคลอื่นตามมาตรา ๒๗๗

มาตรา ๓๒ ผู้ ใ ดเป็ น ผู้ ป ระพั น ธ์ บรรณาธิ ก าร


หรือผู้พิมพ์โฆษณาซึ่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อ
ประชาชน ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้รู้ถึงซึ่งข้อความหรือการออก
โฆษณาแห่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่านั้นหรือไม่ ให้ถือว่าได้
กระทําผิดฐานละเมิดอํานาจศาลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งในสอง
อย่างดังจะกล่าวต่อไปนี้

(๑) ไม่ว่าเวลาใด ๆ ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์


เช่นว่ามานั้นได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งข้อความหรือ
ความเห็นอันเป็นการเปิดเผยข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์อื่น ๆ แห่ง
คดี หรือกระบวนพิจารณาใด ๆ แห่งคดี ซึ่งเพื่อความเหมาะสมหรือ
เพื่อคุ้มครองสาธารณประโยชน์ ศาลได้มีคําสั่งห้ามการออกโฆษณา
สิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าโดยวิธีเพียงแต่สั่งให้พิจารณาโดยไม่เปิดเผยหรือ
โดยวิธีห้ามการออกโฆษณาโดยชัดแจ้ง

24[๓๐] มาตรา ๓๑ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ.
๒๕๖๐
35

(๒) ถ้ า หนั ง สื อ พิ ม พ์ ห รื อ สิ่ ง พิ ม พ์ ได้ ก ล่ า วหรื อ


แสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ในระหว่างการพิจารณาแห่งคดีไปจนมีคํา
พิพากษาเป็นที่สุด ซึ่งข้อความหรือความเห็นโดยประสงค์จะให้มี
อิทธิ พลเหนือความรู้ สึกของประชาชน หรือเหนือศาลหรื อเหนื อ
คู่ความหรือเหนือพยานแห่งคดีซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทําให้การพิจารณา
คดีเสียความยุติธรรมไป เช่น

ก. เป็ น การแสดงผิ ดจากข้ อ เท็ จ จริ งแห่ งคดี


หรือ

ข. เป็ น รายงานหรื อ ย่ อ เรื่ อ งหรื อ วิ ภ าค ซึ่ ง


กระบวนพิจารณาแห่งคดีอย่างไม่เป็นกลางและไม่ถูกต้อง หรือ

ค. เป็ น การวิ ภ าคโดยไม่ เ ป็ น ธรรม ซึ่ ง การ


ดํ า เนิ น คดี ข องคู่ ค วาม หรื อ คํ า พยานหลั ก ฐาน หรื อ นิ สั ย ความ
ประพฤติของคู่ความหรือพยาน รวมทั้งการแถลงข้อความอันเป็น
การเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคู่ความหรือพยาน แม้ถึงว่าข้อความ
เหล่านั้นจะเป็นความจริง หรือ

ง. เป็นการชักจูงให้เกิดมีคําพยานเท็จ

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้นําวิเคราะห์ศัพท์
ทั้ ง ปวงในมาตรา ๔ แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ การพิ ม พ์ พุ ท ธศั ก ราช
๒๔๗๖ มาใช้บังคับ
36

มาตรา ๓๓ ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดกระทํา
ความผิดฐานละเมิดอํานาจศาลใด ให้ศาลนั้นมีอํานาจสั่งลงโทษโดย
วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือทั้งสองวิธีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(ก) ไล่ออกจากบริเวณศาล หรือ

(ข) ให้ลงโทษจําคุก หรือปรับ หรือทั้งจําทั้งปรับ

การไล่ อ อกจากบริ เ วณศาลนั้ น ให้ ก ระทํ า ได้ ชั่ ว


ระยะเวลาที่ศาลนั่งพิจารณาหรือภายในระยะเวลาใด ๆ ก็ได้ตามที่
ศาลเห็นสมควร เมื่อจําเป็นจะเรียกให้ตํารวจช่วยจัดการก็ได้

ในกรณีกําหนดโทษจําคุกและปรับนั้นให้จําคุกได้
ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

มาตรา ๓๔ ถ้าจะต้องดําเนินกระบวนพิจารณา
ทั้งเรื่องหรือแต่บางส่วน โดยทางอาศัยหรือโดยร้องขอต่อเจ้าหน้าที่
ในเมืองต่างประเทศ เมื่อไม่มีข้อตกลงระหว่า งประเทศอย่างใด
อย่างหนึ่ง หรือไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้สําหรับเรื่องนั้นแล้ว ให้ศาล
ปฏิบัติตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ
37

มาตรา ๓๔/๑25[๓๑] เพื่ อ ให้ ก ารพิ จ ารณา


พิพากษาคดี เป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ ว และเที่ ย งธรรมหรือเพื่ อ
ความเหมาะสมสําหรั บ คดี บางประเภท ให้ ประธานศาลฎีกาโดย
ความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีอํานาจออกข้อกําหนด
เกี่ยวกับการฟ้องคดี การสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐานการ
วินิจฉัยคดี ตลอดจนการดําเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ตามความ
จําเป็น

ข้อกําหนดตามวรรคหนึ่งเมื่อประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๔

การนั่งพิจารณา

มาตรา ๓๕ ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้

25[๓๑] มาตรา ๓๔/๑ เพิ่ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ แ ก้ ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๘
38

เป็นอย่างอื่น การนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลใดจะต้องกระทําใน
ศาลนั้นในวันที่ศาลเปิดทําการและตามเวลาทํางานที่ศาลได้กําหนด
ไว้ แต่ ใ นกรณี มี เ หตุ ฉุ ก เฉิ น หรื อ เป็ น การจํ า เป็ น ศาลจะมี คํ า สั่ ง
กําหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่น หรือในวันหยุดงาน หรือใน
เวลาใด ๆ ก็ได้

ให้ผู้พิพากษาและเจ้าพนักงานศาลซึ่งปฏิบัติงาน
ในวั น หยุ ด งาน หรื อ ในเวลาใด ๆนอกเวลาทํ า การปกติ ไ ด้ รั บ
ค่าตอบแทนเป็ นพิ เศษ ตามระเบี ย บที่กระทรวงยุ ติธรรมกําหนด
โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง26[๓๒]

มาตรา ๓๖ การนั่งพิจารณาคดีจะต้องกระทําใน
ศาลต่อหน้าคู่ความที่มาศาลและโดยเปิดเผย เว้นแต่

(๑) ในคดีเรื่องใดที่มีความจําเป็นเพื่อรักษาความ
เรี ย บร้ อยในศาล เมื่ อศาลได้ ขับไล่ คู่ความฝ่ ายใดออกไปเสี ย จาก
บริเวณศาลโดยที่ประพฤติไม่สมควร ศาลจะดําเนินการนั่งพิจารณา
คดีต่อไปลับหลังคู่ความฝ่ายนั้นก็ได้

(๒) ในคดีเรื่ องใด เพื่อความเหมาะสม หรื อเพื่ อ

26[๓๒] มาตรา ๓๕ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
39

คุ้มครองสาธารณประโยชน์ ถ้าศาลเห็นสมควรจะห้ามมิให้ มีการ


เปิ ด เผยซึ่ ง ข้ อ เท็ จ จริ ง หรื อ พฤติ ก ารณ์ ต่ า ง ๆ ทั้ ง หมด หรื อ แต่
บางส่ วนแห่ งคดี ซึ่งปรากฏจากคํ าคู่ ความหรือคําแถลงการณ์ของ
คู่ ความหรื อจากคํ าพยานหลั ก ฐานที่ ไ ด้ สื บ มาแล้ ว ศาลจะมี คํ าสั่ ง
ดังต่อไปนี้ก็ได้

(ก) ห้ า มประชาชนมิ ใ ห้ เ ข้ า ฟั ง การพิ จ ารณา


ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แล้วดําเนินการพิจารณาไปโดยไม่เปิดเผย
หรือ

(ข) ห้ า มมิ ใ ห้ อ อกโฆษณาข้ อ เท็ จ จริ ง หรื อ


พฤติการณ์ต่าง ๆ เช่นว่านั้น

ในบรรดาคดีทั้งปวงที่ฟ้องขอหย่าหรือฟ้องชายชู้
หรือฟ้องให้รับรองบุตร ให้ศาลห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริง
หรือพฤติการณ์ใด ๆ ที่ศาลเห็นเป็นการไม่สมควร หรือพอจะเห็นได้
ว่าจะทําให้เกิดการเสียหายอันไม่เป็นธรรมแก่คู่ความหรือบุคคลที่
เกี่ยวข้อง

ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งตามอนุมาตรา (๒) นี้หรือไม่


คําสั่ งหรือคําพิพากษาชี้ขาดคดี ของศาลนั้น ต้องอ่า นในศาลโดย
เปิดเผย และมิให้ถือว่าการออกโฆษณาทั้งหมดหรือแต่บ างส่ว น
แห่งคําพิพากษานั้นหรือย่อเรื่องแห่งคําพิพากษาโดยเป็นกลางและ
ถูกต้องนั้น เป็นผิดกฎหมาย
40

มาตรา ๓๗ ให้ ศ าลดํ าเนิ น การนั่ งพิ จ ารณาคดี


ติดต่อกันไปเท่าที่สามารถจะทําได้โดยไม่ต้องเลื่อนจนกว่าจะเสร็จ
การพิจารณาและพิพากษาคดี

มาตรา ๓๘ ถ้าในวันที่กําหนดนัดนั่งพิจารณาศาล
ไม่มีเวลาพอที่จะดําเนินการนั่งพิจารณา เนื่องจากกิจธุระของศาล
ศาลจะมีคําสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปในวันอื่นตามที่เห็นสมควร
ก็ได้

มาตรา ๓๙ ถ้าการที่จะชี้ขาดตัดสินคดีเรื่องใดที่
ค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดจําต้องอาศัยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งคํา
ชี้ขาดตัดสินบางข้อที่ศาลนั้นเองหรือศาลอื่นจะต้องกระทําเสียก่อน
หรือจําต้องรอให้เจ้าพนักงานฝ่ายธุรการวินิจฉัยชี้ขาดในข้อเช่นนั้น
เสียก่อน หรือถ้าปรากฏว่าได้มีการกระทําผิดอาญาเกิดขึ้นซึ่งอาจมี
การฟ้องร้องอันอาจกระทําให้การชี้ขาดตัดสินคดีที่พิจารณาอยู่นั้น
เปลี่ ย นแปลงไป หรื อ ในกรณี อื่นใดซึ่ งศาลเห็ น ว่ าถ้ าได้ เลื่ อนการ
พิ จ ารณาไปจั ก ทํ า ให้ ค วามยุ ติ ธ รรมดํ า เนิ น ไปด้ ว ยดี เมื่ อ ศาล
เห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคําสั่งเลื่อน
การนั่งพิจารณาต่อไปจนกว่าจะได้มีการพิพากษาหรือชี้ขาดในข้อ
นั้น ๆ แล้วหรือภายในระยะเวลาใด ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้

ถ้ าศาลมี คําสั่ งให้ เลื่ อนการนั่ งพิ จ ารณาดั งกล่ า ว


41

แล้วโดยไม่มีกําหนด เมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความที่เกี่ยวข้องร้อง
ขอ ศาลจะมีคําสั่ งให้เริ่มการนั่ งพิ จารณาต่ อไปในวั นใด ๆ ตามที่
เห็นสมควรก็ได้

มาตรา ๔๐27[๓๓] เมื่ อ ศาลได้ กํ า หนดวั น นั่ ง


พิจารณาและแจ้งให้คู่ความทราบแล้ว ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะ
ขอเลื่อนการนั่งพิจารณา คู่ความฝ่ายนั้นต้องเสนอคําขอเข้ามาก่อน
หรือในวันนัดและแสดงเหตุผลแห่งการขอเลื่อนนั้น ในกรณีเช่นว่านี้
ห้ามมิให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตตามคําขอ เว้นแต่การขอเลื่อนการนั่ง
พิจารณานั้นมีเหตุจําเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่
อนุญาตจะทําให้เสียความยุติธรรม

เมื่อศาลจะสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณา ศาลอาจสั่งให้
คู่ความฝ่ายนั้นเสียค่าป่วยการพยานซึ่งมาศาลตามหมายเรียกและเสีย
ค่าใช้จ่ายในการที่คู่ความฝ่ายอื่นมาศาล เช่น ค่าพาหนะเดินทางและ
ค่ า เช่ า ที่ พั ก ของตั ว ความ ทนายความ หรื อ พยาน เป็ น ต้ น ตาม
จํานวนที่ศาลเห็ นสมควร ถ้าคู่ ความฝ่ายที่ขอเลื่อนคดีไม่ชําระค่ า
ป่วยการหรือค่าใช้จ่ายตามที่ศาลกําหนด ให้ศาลยกคําขอเลื่อนคดี
นั้นเสีย

27[๓๓] มาตรา ๔๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
42

ค่าป่วยการหรือค่าใช้จ่ายที่จ่ายตามวรรคสองให้
ตกเป็นพับ

คํ า ขอเลื่ อ นคดี ต ามวรรคหนึ่ ง ถ้ า ไม่ ไ ด้ เ สนอต่ อ


หน้าศาลด้วยวาจา ก็ให้ทําเป็นคําร้องและจะทําฝ่ายเดียวโดยได้รับ
อนุญาตจากศาลก็ได้

มาตรา ๔๑28[๓๔] ถ้ า มี ก ารขอเลื่ อ นการนั่ ง


พิจารณาโดยอ้างว่าตัวความผู้แทนทนายความ พยาน หรือบุคคล
อื่นที่ถูกเรียกให้มาศาลไม่สามารถมาศาลได้เพราะป่วยเจ็บ เมื่อศาล
เห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอฝ่ายเดียว ศาลจะ
มีคําสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทําการตรวจก็ได้ และถ้าสามารถหาแพทย์
ได้ก็ให้ตั้งแพทย์ไปตรวจด้วย ถ้าผู้ที่ศาลตั้งให้ไปตรวจได้รายงานโดย
สาบานตนหรือกล่าวคําปฏิญาณแล้ว และศาลเชื่อว่าอาการของผู้ที่
อ้ า งว่ า ป่ ว ยนั้ น ไม่ ร้ า ยแรงถึ ง กั บ จะมาศาลไม่ ไ ด้ ให้ ศ าลดํ า เนิ น
กระบวนพิจ ารณาตามบทบัญญั ติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้ว ย
การขาดนัดหรือการไม่มาศาลของบุคคลที่อ้างว่าป่วยนั้น แล้วแต่
กรณี

ศาลอาจสั่ ง ให้ คู่ ค วามฝ่ า ยที่ ข อให้ ไ ปตรวจตาม

28[๓๔] มาตรา ๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๒๗
43

วรรคหนึ่ง หรือคู่ความใดไปกับผู้ที่ศาลตั้งให้ไปตรวจ คู่ความนั้นจะ


มอบให้ผู้ใดไปแทนตนก็ได้

ค่าพาหนะและค่ าป่วยการของเจ้าพนักงานและ
แพทย์ ให้ถือว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียม และให้นํามาตรา ๑๖๖ มาใช้
บังคับ

มาตรา ๔๒ ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้าง
พิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อน
การนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพ ย์
มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ จะ
ได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ โดยมีคําขอเข้ามาเอง หรือโดย
ที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอ
ฝ่ายเดียว คําขอเช่นว่านี้จะต้องยื่นภายในกําหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่
คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ

ถ้าไม่มีคําขอของบุคคลดังกล่าวมาแล้ว หรือไม่มี
คําขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งภายในเวลาที่กําหนดไว้ ให้ศาลมี
คําสั่งจําหน่ายคดีเรื่องนั้นเสียจากสารบบความ

มาตรา ๔๓ ถ้าทายาทของผู้มรณะ หรือผู้จัดการ


ทรั พย์ ม รดกของผู้ มรณะ หรื อบุ คคลอื่ นใดที่ ปกครองทรั พย์ มรดก
44

ประสงค์จะขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน ก็ให้ยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้อง
ต่อศาลเพื่อการนั้น

ในกรณีเช่นนี้ เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความ


ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอศาลอาจสั่งให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทน
นั้นแสดงพยานหลักฐานสนับ สนุนคําขอเช่นว่านั้นได้เมื่ อได้แสดง
พยานหลักฐานดังกล่าวนั้นแล้ว ให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต
ในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทน

มาตรา ๔๔ คําสั่งให้หมายเรียกบุคคลใดเข้ามา
แทนผู้มรณะนั้น จะต้องกําหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้บุคคล
นั้นมีโอกาสคัดค้านในศาลว่าตนมิได้เป็นทายาทของผู้มรณะ หรือ
มิได้เป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกนั้น

ทายาท ผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือบุคคลผู้ถูกเรียก


ไม่ จํ าต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามหมายเช่ น ว่ า นั้ น ก่ อ นระยะเวลาที่ ก ฎหมาย
กําหนดไว้เพื่อการยอมรับฐานะนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว

ถ้าบุคคลที่ถูกศาลหมายเรียกนั้น ยินยอมรับเข้า
มาเป็ น คู่ ค วามแทนผู้ ม รณะ ให้ ศ าลจดรายงานพิ ส ดารไว้ แ ละ
ดําเนินคดีต่อไป

ถ้าบุคคลนั้นไม่ยินยอมหรือไม่มาศาล ให้ศาลทํ า
การไต่สวนตามที่เห็นสมควร ถ้าศาลเห็นว่าหมายเรียกนั้นมีเหตุผล
45

ฟังได้ ก็ให้ออกคําสั่งตั้งบุคคลผู้ถูกเรียกเป็นคู่ความแทนผู้มรณะแล้ว
ดํ าเนิ น คดี ต่อไป ถ้ า ศาลเห็ น ว่ าข้ อคั ดค้ า นของบุ ค คลผู้ ถูก เรี ย กมี
เหตุผลฟังได้ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนหมายเรียกนั้นเสีย และถ้าคู่ความ
ฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง ไม่ ส ามารถเรี ย กทายาทอั น แท้ จ ริ งหรื อ ผู้ จั ด การ
ทรั พย์ มรดกหรื อบุ คคลที่ ปกครองทรั พย์ มรดกของผู้ มรณะเข้ ามา
เป็ น คู่ ความแทนผู้ มรณะได้ ภ ายในกําหนดเวลาหนึ่งปี ก็ ให้ ศาลมี
คําสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

มาตรา ๔๕ ถ้าปรากฏต่อศาลว่าคู่ความฝ่ายหนึ่ง
ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถก็ดี หรือผู้แทนโดยชอบธรรมของคู่ความ
ฝ่ายที่เป็นผู้ไร้ความสามารถได้มรณะหรือหมดอํานาจเป็นผู้แทนก็ดี
ให้ ศาลเลื่ อนการนั่ งพิจ ารณาไปภายในระยะเวลาอั น สมควรเพื่ อ
ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรมคนใหม่จะได้แจ้งให้
ทราบถึงการได้รับแต่งตั้งของตนโดยยื่นคําขอเป็นคําร้องต่อศาลเพื่อ
การนั้ น ถ้ า มิ ได้ ยื่ น คํ าขอดั ง กล่ าวมาแล้ ว ให้ นํ า มาตรา ๕๖ มาใช้
บังคับ

ถ้ า ผู้ แ ทนหรื อ ทนายความของคู่ ค วามได้ ม รณะ


หรือหมดอํานาจเป็นผู้แทน ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่า
ตั ว ความจะได้ ยื่ น คํ า ร้ อ งต่ อ ศาลแจ้ ง ให้ ท ราบถึ ง การที่ ไ ด้ แ ต่ ง ตั้ ง
ผู้แทนหรือทนายความขึ้นใหม่ หรือคู่ความฝ่ายนั้นมีความประสงค์
จะมาว่าคดีด้วยตนเอง แต่ถ้าศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความอีก
ฝ่ายหนึ่งมีคําขอฝ่ายเดียว ให้ศาลมีอํานาจสั่งกําหนดระยะเวลาไว้
46

พอสมควร เพื่อให้ตัวความมีโอกาสแจ้งให้ทราบถึงการแต่งตั้งหรือ
ความประสงค์ของตนนั้นก็ได้ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าตัวความมิได้แจ้งให้
ทราบภายในระยะเวลาที่ กําหนดไว้ ศาลจะมี คําสั่ งให้ เริ่ มการนั่ ง
พิจารณาต่อไปในวันใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้

บทบัญญัติแห่งวรรคก่อนนั้น ให้นํามาใช้บังคับแก่
กรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ ไร้ ความสามารถหมดอํ านาจลง
เพราะเหตุที่บุคคลนั้นได้มีความสามารถขึ้นแล้วด้วยโดยอนุโลม

หมวด ๕

รายงานและสํานวนความ

มาตรา ๔๖ บรรดากระบวนพิจารณาเกี่ยวด้วย
การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีแพ่งทั้งหลายซึ่งศาลเป็นผู้ทํา
นั้น ให้ทําเป็นภาษาไทย

บรรดาคําคู่ความและเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่
ว่าอย่างใด ๆ ที่ คู่ความหรือศาลหรือเจ้าพนักงานศาลได้ทําขึ้นซึ่ ง
ประกอบเป็นสํานวนของคดีนั้น ให้เขียนเป็นหนังสือไทยและเขียน
47

ด้วยหมึกหรือดีดพิมพ์หรือตีพิมพ์ ถ้ามีผิดตกที่ใดห้ามมิให้ขูดลบออก
แต่ ใ ห้ ขี ด ฆ่ า เสี ย แล้ ว เขี ย นลงใหม่ และผู้ เ ขี ย นต้ อ งลงชื่ อ ไว้ ที่ ริ ม
กระดาษ ถ้ามีข้อความตกเติมให้ผู้ตกเติมลงลายมือชื่อ หรือลงชื่อย่อ
ไว้เป็นสําคัญ

ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด
ๆ ที่ส่งต่อศาลได้ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ศาลสั่งคู่ความฝ่าย
ที่ส่งให้ทําคําแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสําคัญ โดยมีคํารับรอง
มายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับ

ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรื อบุคคลใดที่มาศาลไม่เข้าใจ
ภาษาไทยหรือเป็นใบ้หรือหูหนวกและอ่านเขียนหนังสือไม่ได้ ให้ให้
คู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องจัดหาล่าม

มาตรา ๔๗ ถ้ าคู่ความหรื อบุ คคลใดยื่ นใบมอบ


อํานาจต่อศาล ให้ศาลมีอํานาจที่จะสั่งให้คู่ความหรือบุคคลนั้น ให้
ถ้อยคําสาบานตัวว่าเป็นใบมอบอํานาจอันแท้จริง

ถ้าศาลมีเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอํานาจที่ยื่น
นั้นจะไม่ใช่ใบมอบอํานาจอันแท้จริงก็ดี หรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
ยื่นคําร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอํานาจนั้นจะมิใช่ใบมอบ
อํานาจอันแท้จริงก็ดี ให้ศาลมีอํานาจที่จะสั่งให้คู่ความหรือบุคคลที่
เกี่ยวข้องนั้นยื่นใบมอบอํานาจตามที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้
48

ถ้าใบมอบอํานาจนั้นได้ทําในราชอาณาจักรสยาม
ต้องให้นายอําเภอเป็นพยาน ถ้าได้ทําในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุล
สยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าได้ทําในเมืองต่างประเทศที่ไม่มี
กงสุลสยาม ต้องให้บุคคลเหล่านี้เป็นพยานคือเจ้าพนักงานโนตารี
ปับลิกหรือแมยิสเตร็ด หรือบุคคลอื่นซึ่งกฎหมายแห่งท้องถิ่นตั้งให้
เป็นผู้มีอํานาจเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านี้ และต้องมีใบสําคัญของ
รัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มี
อํานาจกระทําการได้

บทบั ญญั ติแห่ งมาตรานี้ ให้ ใช้ บั งคั บ แก่ ใบสํ าคั ญ
และเอกสารอื่น ๆ ทํานองเช่นว่ามานี้ ซึ่งคู่ความจะต้องยื่นต่อศาล

มาตรา ๔๘ ในคดีทุกเรื่อง ให้เป็นหน้าที่ของศาล


ต้องจดแจ้งรายงานการนั่ งพิจ ารณาหรือกระบวนพิ จ ารณาอื่ น ๆ
ของศาลไว้ทุกครั้ง

รายงานนั้นต้องมีรายการต่อไปนี้

(๑) เลขคดี

(๒) ชื่อคู่ความ

(๓) สถานที่ วัน และเวลาที่ศาลนั่งพิจารณาหรือ


ดําเนินกระบวนพิจารณา
49

(๔) ข้อความโดยย่อเกี่ยวด้วยเรื่องที่กระทําและ
รายการข้อสําคัญอื่น ๆ

(๕) ลายมือชื่อผู้พิพากษา

เมื ่อ มีก ฎหมายบัญ ญัติไ ว้ห รือ เมื ่อ ศาลเห็น เป็น


การจํา เป็น ก็ใ ห้ศาลจดบัน ทึก (โดยจดรวมไว้ใ นรายงานพิส ดาร
หรืออีกส่วนหนึ่งต่างหาก) ซึ่งคําแถลงหรือคําคัดค้านในข้อสําคัญ
ข้อตกลง คําชี้ขาด คําสั่ง หรือการอื่น ๆ หรือกระบวนพิจารณาที่
ทําด้วยวาจาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา ๔๙ ในส่ว นที่เกี่ยวด้ว ยคําแถลงหรื อคํ า


คัดค้านของคู่ความ หรือคําให้การของพยานหรือผู้เชี่ยวชาญหรือ
ข้อตกลงในการสละสิทธิของคู่ความนั้น ให้ถือว่ารายงานของศาล
เป็ น พยานหลั กฐานเบื้ องต้ นได้ ต่ อเมื่ อ ศาลได้ อ่า นให้ คู่ความหรื อ
บุคคลที่เกี่ยวข้องฟังและได้จดลงไว้ซึ่งข้อแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ขอร้อง
หรือที่ชี้แจงใหม่ ทั้งคู่ความหรือบุคคลนั้น ๆ ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็น
สําคัญ

มาตรา ๕๐ ถ้า คู ่ค วามฝ่า ยใด หรือ บุค คลใด


จะต้องลงลายมือชื่อในรายงานใดเพื่อแสดงรับรู้รายงานนั้น หรือ
จะต้องลงลายมือชื่อในเอกสารใดเพื่อรับรองการอ่านหรือการส่ง
50

เอกสารเช่นว่านั้น

(๑) การลงลายมื อ พิ ม พ์ นิ้ ว มื อ แกงได หรื อ


เครื่องหมายอย่างอื่นที่ได้ทําต่อหน้าศาลนั้น ไม่จําต้องมีลายมือชื่อ
ของพยานสองคนรับรอง

(๒) ถ้าคู่ความ หรือบุคคลที่จะต้องลงลายมือชื่อใน


รายงานดังกล่าวแล้ว ลงลายมือชื่อไม่ได้ หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ
ให้ศาลทํารายงานจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อเช่นนั้นไว้แทนการลง
ลายมือชื่อ

มาตรา ๕๑ ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะปฏิบัติดังนี้

(๑) ลงทะเบี ย นคดี ใ นสารบบความของศาล


ตามลําดับที่รับไว้ กล่าวคือ ตามวันและเวลาที่ยื่นหรือเสนอคําฟ้อง
เพื่อเริ่มคดีต่อศาล ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้

(๒) ลงทะเบี ย นคํา พิ พ ากษา หรื อ คํา สั่ ง ชี้ ข าด


คดี ทั้ ง หมดของศาลในสารบบคํา พิ พ ากษา

(๓) รวบรวมรายงานและเอกสารที ่ ส ่ ง ต่ อ
ศาลหรื อ ศาลทํา ขึ้ น กั บ คํา สั่ ง และคํา พิ พ ากษาของศาล ไว้ใ น
สํานวนความเรื่องนั้น แล้วเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย
51

(๔) คัดสําเนาคําพิพากษา คําสั่งชี้ขาดคดี แล้วเก็บ


รักษาไว้เรียงตามลําดับและในที่ปลอดภัย

(๕) เก็ บ รั ก ษาสารบบและสมุ ด ของศาล เช่ น


สารบบความและสารบบคําพิพากษาไว้ในที่ปลอดภัย

การจั ดทําสารบบความหรื อสารบบคํ าพิ พากษา


การรวบรวมเอกสารในสํานวนความ และการเก็บรักษาสําเนาคํา
พิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) (๔) และ
(๕) อาจกระทําในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และให้ถือว่ า
สิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวที่รับรองโดยวิธีการที่
ศาลกําหนดเป็นสําเนาสารบบความหรือสารบบคําพิพากษา หรือ
เป็ น สํ าเนาเอกสารในสํ านวนความ แล้ ว แต่ กรณี และให้ ใ ช้ แทน
ต้ น ฉบั บ ได้ ทั้ ง นี้ ตามหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารที่ กํ า หนดไว้ ใ น
ข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาโดยความเห็ นชอบของที่ ประชุ ม
ใหญ่ศาลฎีกา และเมื่อข้อกําหนดนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แล้วให้ใช้บังคับได้29[๓๕]

มาตรา ๕๒ เมื่ อคํ า พิ พากษาหรื อ คํ าสั่ งอั น เป็ น

29[๓๕]
มาตรา ๕๑ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ.
๒๕๕๘
52

เด็ดขาดถึงที่สุดแล้วเรื่องใดได้มีการปฏิบัติตาม หรือบังคับไปแล้ว
หรือระยะเวลาที่กําหนดไว้เพื่อการบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว ให้
ศาลที่เก็ บสํ านวนนั้ นไว้ จัดส่งสํานวนนั้นไปยังกระทรวงยุติธ รรม
เพื่อเก็บรักษาไว้หรือจัดการตามกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น

มาตรา ๕๓ ถ้ารายงาน คําพิพากษา คําสั่งหรือ


เอกสารอื่นใดที่รวมไว้ในสํานวนความซึ่งยังอยู่ในระหว่างพิจารณา
หรือรอการบังคับของศาลสูญหายไป หรือบุบสลายทั้งหมดหรือแต่
บางส่วน เป็นการขัดข้องต่อการชี้ขาดตัดสินหรือบังคับคดีเมื่อศาล
เห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องยื่นคําขอโดยทําเป็นคํา
ร้อง ให้ศาลสั่งคู่ความหรือบุคคลผู้ถือเอกสารนั้น นําสําเนาที่รับรอง
ถูกต้องมาส่งต่อศาล ถ้าหากสําเนาเช่นว่านั้นทั้งหมดหรือบางส่วน
หาไม่ได้ ให้ศาลมีคําสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ หรือมีคําสั่งอย่างอื่น
ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

มาตรา ๕๔ คู่ ค วามก็ ดี หรื อ พยานในส่ ว นที่


เกี่ยวกับคําให้การของตนในคดีนั้นก็ดีหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้
เสียโดยชอบหรือมีเหตุผลอันสมควรก็ดี อาจร้องขออนุญาตต่อศาล
ไม่ ว่ า เวลาใดในระหว่ า ง หรื อ ภายหลั ง การพิ จ ารณาเพื่ อ ตรวจ
เอกสารทั้ ง หมดหรื อ แต่ บ างฉบั บ ในสํ า นวนเรื่ อ งนั้ น หรื อ ขอคั ด
สําเนา หรือขอให้จ่าศาลคัดสําเนาและรับรอง แต่ทั้งนี้
53

(๑) ห้ า มมิ ใ ห้ อ นุ ญ าตเช่ น ว่ า นั้ น แก่ บุ ค คลอื่ น


นอกจากคู่ความหรือพยานในคดีที่พิจารณาโดยไม่เปิดเผย หรือใน
คดีที่ศาลได้มีคําสั่งห้ามการตรวจหรือคัดสําเนาเอกสารในสํานวน
ทั้ ง หมดหรื อ บางฉบั บ เพื่ อ รั ก ษาความสงบเรี ย บร้ อ ยหรื อ
ผลประโยชน์ ทั่ว ไปของประชาชน ถึ งแม้ ผู้ ขอจะเป็ น คู่ ความหรื อ
พยานก็ห้ามมิให้อนุญาตดุจกัน แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของคู่ความในการ
ที่จะตรวจหรือคัดสําเนาคําพิพากษาหรือคําสั่งในคดีนั้น หรือในการ
ที่จะขอสําเนาอันรับรองถูกต้อง

(๒) ห้ามมิ ให้อนุ ญาตให้คู่ความคัดถ้อยคํ าพยาน


ฝ่ า ยตนจนกว่ า จะได้ สื บ พยานฝ่ า ยตนเสร็ จ สิ้ น แล้ ว เว้ น แต่ จ ะมี
พฤติการณ์พิเศษที่จะให้อนุญาต

เมื่ อ ได้ ใ ห้ อ นุ ญ าตแล้ ว การตรวจ หรื อ การคั ด


สําเนานั้น ให้ผู้ขอหรือบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้ขอโดยชอบ
เป็นผู้คัดตามเวลาและเงื่อนไขซึ่งจ่าศาลจะได้กําหนดให้เพื่อความ
สะดวกของศาลหรือเพื่อความปลอดภัยของเอกสารนั้น

ห้ามมิให้คัดสําเนาคําพิพากษาหรือคําสั่ง ก่อนที่ได้
อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นและก่อนที่ได้ลงทะเบียนในสารบบคํา
พิพากษา

ในกรณีที่ศาลได้ ทําคํ าอธิบายเพิ่ มเติมกลัดไว้กับ


รายงานแห่ ง คํ า สั่ ง หรื อ คํ า พิ พ ากษาซึ่ ง กระทํ า ด้ ว ยวาจาตาม
บทบัญญัติมาตรา ๑๔๑ คําอธิบายเพิ่มเติมเช่นว่านั้นคู่ความจะขอ
54

ตรวจหรือขอคัดสําเนา หรือขอสําเนาเสมือนเป็นส่วนหนึ่งแห่งคําสั่ง
หรือคําพิพากษาก็ได้

สํ า เนาที่ รั บ รองนั้ น ให้ จ่ า ศาลเป็ น ผู้ รั บ รองโดย


เรียกค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดไว้ในอัตราท้ายประมวลกฎหมายนี้
ในกรณี ที่ผู้ ขอตรวจเอกสารหรื อขอคั ดสํ าเนาด้ ว ยตนเอง ไม่ ต้อ ง
เรียกค่าธรรมเนียม

ลักษณะ ๓

คู่ความ

มาตรา ๕๕ เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิ


หรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้
สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่
มี เ ขตอํ า นาจได้ ตามบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง กฎหมายแพ่ ง และประมวล
กฎหมายนี้
55

มาตรา ๕๖ ผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ทําการแทน
จะเสนอข้ อ หาต่ อ ศาลหรื อ ดํ า เนิ น กระบวนพิจ ารณาใด ๆ ได้
ต่อ เมื่อ ได้ป ฏิบัติต ามบทบัญ ญัติแ ห่ง ประมวลกฎหมายแพ่ง และ
พาณิช ย์ว ่า ด้ว ยความสามารถและตามบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง ประมวล
กฎหมายนี้ การให้อนุญาตหรือยินยอมตามบทบัญญัติเช่นว่านั้น ให้
ทําเป็นหนังสือยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสํานวนความ

ไม่ ว่ า เวลาใด ๆ ก่ อ นมี คํ า พิ พ ากษาเมื่ อ ศาล


เห็นสมควรหรือเมื่ อคู่ความฝ่ ายหนึ่งฝ่ ายใดยื่นคํ าขอโดยทําเป็นคํ า
ร้อง ให้ศาลมีอํานาจทําการสอบสวนในเรื่องความสามารถของผู้ขอ
หรือของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง และถ้าเป็นที่พอใจว่ามีการบกพร่องใน
เรื่องความสามารถ ศาลอาจมีคําสั่งกําหนดให้แก้ไขข้อบกพร่องนั้น
เสียให้บริบูรณ์ภายในกําหนดเวลาอันสมควรที่ศาลจะสั่ง

ถ้ า ศาลเห็ น ว่ า เพื่ อ ความยุ ติ ธ รรมไม่ ค วรให้


กระบวนพิ จ ารณาดํ า เนิ น เนิ่ น ช้ า ไป ศาลจะสั่ ง ให้ คู่ ค วามฝ่ า ยที่
บกพร่องในเรื่องความสามารถนั้นดําเนินคดีไปก่อนชั่วคราวก็ได้ แต่
ห้ามมิให้ศาลพิพากษาในประเด็นแห่งคดีจนกว่าข้อบกพร่องนั้นได้
แก้ไขโดยบริบูรณ์แล้ว

ถ้าผู้ไร้ความสามารถไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือ
ผู้ แ ทนโดยชอบธรรมทํ า หน้ า ที่ ไ ม่ ไ ด้ ศาลมี อํ า นาจออกคํ า สั่ ง ให้
อนุญาตหรือให้ความยินยอมตามที่ต้องการ หรือตั้งผู้แทนเฉพาะคดี
นั้นให้แก่ผู้ไร้ความสามารถ ถ้าไม่มีบุคคลอื่นใดให้ศาลมีอํานาจตั้ง
พนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองอื่นให้เป็นผู้แทนได้
56

มาตรา ๕๗ บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้า
มาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด

(๑) ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการ
จําเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิ
ของตนที่ มี อ ยู่ โดยยื่ น คํ า ร้ อ งขอต่ อ ศาลที่ ค ดี นั้ น อยู่ ใ นระหว่ า ง
พิจารณา หรือเมื่อตนมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตาม
คําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับ
คดีนั้น

(๒) ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสีย
ตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้นโดยยื่นคําร้องขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใด
ๆ ก่อนมีคําพิพากษา ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม
หรื อเข้ าแทนที่ คู่ความฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่ งเสี ย ที เดี ย วโดยได้ รั บ ความ
ยินยอมของคู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่
กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจําต้องผูกพันตนโดยคําพิพากษาของ
ศาลทุกประการเสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย

(๓) ด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี (ก) ตามคํา


ขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทําเป็นคําร้องแสดงเหตุว่าตนอาจฟ้อง
หรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อ
ใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี หรือ
(ข) โดยคําสั่งของศาลเมื่อศาลนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใด
57

ฝ่ายหนึ่งมีคําขอ ในกรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามา
ในคดี หรือศาลเห็นจําเป็นที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีเพื่อ
ประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเรียก
บุคคลภายนอกเข้ามาในคดีดังกล่าว แล้วให้เรียกด้วยวิธียื่นคําร้อง
เพื่อให้หมายเรียกพร้อมกับคําฟ้องหรือคําให้การ หรือในเวลาใด ๆ
ต่อมาก่อนมีคําพิพากษาโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อศาลเป็นที่
พอใจว่าคําร้องนั้นไม่อาจยื่นก่อนนั้นได้

การส่งหมายเรียกบุคคลภายนอกตามอนุมาตรานี้
ต้องมีสําเนาคําขอ หรือคําสั่งของศาล แล้วแต่กรณี และคําฟ้องตั้ง
ต้นคดีนั้นแนบไปด้วย

บทบั ญญั ติในประมวลกฎหมายนี้ ไม่ตัดสิ ทธิ ของ


เจ้าหนี้ ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้และที่จะเรียกลูกหนี้ให้
เข้ามาในคดีดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๕๘ ผู้ ร้ องสอดที่ ได้ เข้ าเป็น คู่ ความตาม


อนุมาตรา (๑) และ (๓) แห่งมาตราก่อนนี้ มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตน
ได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ซึ่งโดยเฉพาะผู้ร้องสอดอาจนํา
พยานหลักฐานใหม่ มาแสดง คัดค้ านเอกสารที่ ได้ ยื่ นไว้ ถามค้ าน
พยานที่ ไ ด้ สื บ มาแล้ ว และคั ด ค้ านพยานหลั ก ฐานที่ ไ ด้ สื บ ไปแล้ ว
ก่อนที่ตนได้ร้องสอด อาจอุทธรณ์ฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งของ
ศาลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และอาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่า
58

ฤชาธรรมเนียม

ห้ามมิให้ผู้ร้องสอดที่ได้เป็นคู่ความตามอนุมาตรา
(๒) แห่งมาตราก่อน ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความ
ฝ่ายซึ่งตนเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้อง
สอด และห้ามมิให้ใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์
หรือจําเลยเดิม และให้ผู้ร้องสอดเสียค่าฤชาธรรมเนียมอันเกิดแต่
การที่ร้องสอด แต่ถ้าศาลได้อนุญาตให้เข้าแทนที่โจทก์หรือจําเลยเดิม
ผู้ร้องสอดจึงมีฐานะเสมอด้วยคู่ความที่ตนเข้าแทน

เมื่ อ ได้ มี คํ า พิ พ ากษาหรื อ คํ า สั่ ง แล้ ว ถ้ า มี ข้ อ


เกี่ยวข้องกับคดี เป็นปัญหาจะต้องวินิจฉัยในระหว่างผู้ร้องสอดกับ
คู่ความฝ่ายที่ตนเข้ามาร่วม หรือที่ตนถูกหมายเรียกให้เข้ามาร่วม ผู้
ร้องสอดย่ อมต้องผู กพั นตามคําพิพากษาหรื อคํ าสั่ งนั้ น เว้ นแต่ใน
กรณีต่อไปนี้

(๑) เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของคู่ความ
นั้น ทําให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีช้าเกินสมควรที่จะแสดง
ข้อเถียงอันเป็นสาระสําคัญได้ หรือ

(๒) เมื่อคู่ความนั้นจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่าง
ร้ า ยแรงมิ ไ ด้ ย กขึ้ น ใช้ ซึ่ ง ข้ อ เถี ย งในปั ญ หาข้ อ กฎหมายหรื อ
ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญซึ่งผู้ร้องสอดมิได้รู้ว่ามีอยู่เช่นนั้น
59

มาตรา ๕๙ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็น


คู่ความในคดีเดียวกันได้ โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม ถ้าหาก
ปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี
แต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลแห่ง
ความคดีเป็นการชําระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมาย
บัญญัติไว้ดังนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้น
แทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้

(๑) บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทําโดย หรือทํา


ต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทําโดย หรือทําต่อ คู่ความร่วม
คนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทํา
ไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ

(๒) การเลื่ อ นคดี ห รื อ การงดพิ จ ารณาคดี ซึ่ ง


เกี่ยวกับคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้น ให้ใช้ถึงคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย

มาตรา ๖๐30[๓๖] คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ


ผู้แทนโดยชอบธรรมในกรณีที่คู่ความเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือ
ผู้แทนในกรณีที่คู่ความเป็นนิ ติบุคคล จะว่ าความด้ วยตนเองและ
ดําเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์

30[๓๖] มาตรา ๖๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙
60

ของตน หรือจะตั้งแต่งทนายความคนเดียวหรือหลายคนให้ว่าความ
และดําเนินกระบวนพิจารณาแทนตนก็ได้

ถ้ าคู่ ความ หรื อผู้ แทนโดยชอบธรรมหรื อผู้ แทน


ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ทําหนังสือมอบอํานาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทน
ตนในคดี ผู้รับมอบอํานาจเช่นว่านั้นจะว่าความอย่างทนายความ
ไม่ได้ แต่ย่อมตั้งทนายความเพื่อดําเนินกระบวนพิจารณาได้

มาตรา ๖๑ การตั้ งทนายความนั้น ต้องทําเป็ น


หนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความ แล้วยื่นต่อศาลเพื่อ
รวมไว้ในสํานวน ใบแต่งทนายนี้ให้ใช้ได้เฉพาะคดีเรื่องหนึ่ง ๆ ตามที่
ได้ ยื่ นไว้ เท่านั้ น เมื่ อทนายความผู้ ใดได้ รั บมอบอํ านาจทั่ ว ไปที่ จ ะ
แทนบุ คคลอื่ นไม่ว่ าในคดีใด ๆ ให้ ทนายความผู้นั้ น แสดงใบมอบ
อํ า นาจทั่ ว ไป แล้ ว คั ด สํ า เนายื่ น ต่ อ ศาลแทนใบแต่ ง ทนาย เพื่ อ
ดําเนินคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป ตามความในมาตรานี้

มาตรา ๖๒ ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมี
อํานาจว่าความและดําเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้
ตามที่ เ ห็ น สมควรเพื่ อ รั ก ษาผลประโยชน์ ข องคู่ ค วามนั้ น แต่ ถ้ า
กระบวนพิจ ารณาใดเป็ นไปในทางจํ าหน่ายสิ ทธิ ของคู่ ความ เช่ น
การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การ
ประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ หรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์
61

หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทนายความไม่มีอํานาจ


ที่จะดําเนินกระบวนพิจารณาเช่นว่านี้ได้ โดยมิได้รับอํานาจจากตัว
ความโดยชัดแจ้ง อํานาจโดยชัดแจ้งเช่นว่านี้จะระบุให้ไว้ในใบแต่ง
ทนายสํ าหรั บ คดี เรื่ อ งนั้ น หรื อทํ าเป็ นใบมอบอํ านาจต่ างหากใน
ภายหลั ง ใบเดี ย วหรื อ หลายใบก็ ไ ด้ และในกรณี ห ลั ง นี้ ใ ห้ ใ ช้
บทบัญญัติมาตรา ๖๑ บังคับ

กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ตัวความหรือผู้แทนจะ
ปฏิเสธหรือแก้ไขข้อเท็จจริงที่ทนายความของตนได้กล่าวด้วยวาจา
ต่อหน้าตนในศาลในขณะนั้นก็ได้ แม้ถึงว่าตัวความหรือผู้แทนนั้นจะ
มิได้สงวนสิทธิเช่นนั้นไว้ในใบแต่งทนายก็ดี

มาตรา ๖๓ บทบั ญญั ติแห่งมาตราก่อนนี้ไม่ ตัด


สิทธิตัว ความในอัน ที่จะตั้งแต่งผู้ แทนหรือทนายความโดยทําเป็ น
หนังสือยื่นต่อศาลเพื่อให้รับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งได้ชําระไว้ในศาล
หรือวางไว้ยังศาลเป็นเงินค่าธรรมเนียมหรืออย่างอื่น และศาลได้สั่ง
ให้จ่ายคืน หรือส่งมอบให้แก่ตัวความฝ่ายนั้น แต่ถ้าศาลนั้นมีความ
สงสัยในความสามารถหรือตัวบุคคลผู้แทน หรือทนายความซึ่งได้รับ
ตั้ ง แต่ ง ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ศาลมี อํ า นาจที่ จ ะสั่ ง ให้ ตั ว ความหรื อ
ทนายความหรือทั้งสองคนให้มาศาลโดยตนเองได้

มาตรา ๖๔ เว้นแต่ศาลจะได้สั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อ


62

คดี มี เ หตุ ผ ลพิ เ ศษอั น เกี่ ย วกั บ คู่ ค วามฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง หรื อ
ทนายความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ คู่ความหรือทนายความอาจ
ตั้งแต่งให้บุคคลใดทําการแทนได้ โดยยื่นใบมอบฉันทะต่อศาลทุก
ครั้ง เพื่อกระทํากิจการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือกําหนดวัน
นั่งพิจารณาหรือวันสืบพยาน หรือวันฟังคําสั่ง คําบังคับ หรือคําชี้
ขาดใด ๆ ของศาล มาฟังคําสั่ง คําบังคับ หรือคําชี้ขาดใด ๆ ของ
ศาลหรือสลักหลังรับรู้ซึ่งข้อความนั้น ๆ รับสําเนาแห่งคําให้การ คํา
ร้องหรือเอกสารอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๑ และ ๗๒ และ
แสดงการรับรู้สิ่งเหล่านั้น

มาตรา ๖๕31[๓๗] ทนายความที่ตัวความได้ตั้ง


แต่งให้เป็นทนายในคดีจะมีคําขอต่อศาลให้สั่งถอนตนจากการตั้ง
แต่งนั้นก็ได้ แต่ต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าทนายความผู้นั้น
ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้ว เว้นแต่จะหาตัวความไม่พบ

เมื่อศาลมีคําสั่งอนุญาตตามคําขอแล้ว ให้ศาลส่ง
คําสั่งนั้นให้ตัวความทราบโดยเร็วโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธี
อื่นแทนแล้วแต่จะเห็นสมควร

31[๓๗]
มาตรา ๖๕ แก้ไ ขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญั ติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.
๒๕๒๗
63

มาตรา ๖๖ ผู้ใดอ้างว่าเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม
ของตัวความหรือเป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อศาลเห็นสมควรหรือ
เมื่อคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องยื่นคําขอ โดยทําเป็นคําร้องในขณะที่ยื่น
คําฟ้องหรือคําให้การ ศาลจะทําการสอบสวนถึงอํานาจของผู้นั้นก็
ได้ และถ้ าเป็ น ที่ พ อใจว่ า ผู้ นั้ น ไม่ มีอํ า นาจ หรื อ อํ า นาจของผู้ นั้ น
บกพร่อง ศาลมี อํานาจยกฟ้องคดี นั้นเสีย หรื อมี คําพิ พากษาหรื อ
คําสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

ลักษณะ ๔

การยื่นและส่งคําคู่ความและเอกสาร

มาตรา ๖๗ เมื่อประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมาย
อื่น บัญญัติว่า เอกสารใดจะต้ องส่งให้แ ก่คู่ค วามฝ่า ยใดฝ่า ยหนึ ่ง
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง (เช่น คําคู่ความที่ทําโดยคําฟ้อง คําให้การ
หรือคําร้องหรือคําขอโดยทําเป็นคําร้อง หมายเรียกหรือหมายอื่น ๆ
สําเนาคําแถลงการณ์ หรือสําเนาพยานเอกสาร ฯลฯ) เอกสารนั้น
ต้ อ งทํ า ขึ้ น ให้ ป รากฏข้ อ ความแน่ ชั ด ถึ ง ตั ว บุ ค คลและมี ร ายการ
64

ต่อไปนี้

(๑) ชื่ อ ศาลที่ จ ะรั บ คํ า ฟ้ อ ง หรื อ ถ้ า คดี อ ยู่ ใ น


ระหว่างพิจารณา ชื่อของศาลนั้นและเลขหมายคดี

(๒) ชื่อคู่ความในคดี

(๓) ชื่ อ คู่ ค วามหรื อ บุ ค คล ซึ่ ง จะเป็ น ผู้ รั บ คํ า


คู่ความหรือเอกสารนั้น

(๔) ใจความ และเหตุผลถ้าจําเป็นแห่งคําคู่ความ


หรือเอกสาร

(๕) วัน เดือน ปี ของคําคู่ความ หรือเอกสารและ


ลายมือชื่อของเจ้าพนักงาน คู่ความ หรือบุคคลซึ่งเป็นผู้ยื่นหรือเป็น
ผู้ส่ง

ในการยื่นหรือส่งคําคู่ความ หรือเอกสารอื่นใดอัน
จะต้องทําตามแบบพิมพ์ที่จัดไว้ เจ้าพนักงาน คู่ความ หรือบุคคล
ผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์นั้น ส่วนราคากระดาษแบบ
พิ ม พ์ นั้ น ให้ เ รี ย กตามที่ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรมจะได้
กําหนดไว้

เพื่อประโยชน์แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้เรียกนิติ
บุคคลตามชื่อหรือตามชื่อที่จดทะเบียนและภูมิลําเนาหรือสํานักทํา
การงานของนิ ติบุคคลนั้น ให้ ถือเอาสํานักงานหรือสํานักงานแห่ ง
65

ใหญ่ซึ่งอยู่ภายในเขตศาลที่จะยื่นฟ้องคดีหรือที่คดีนั้นอยู่ในระหว่าง
พิจารณา32[๓๘]

มาตรา ๖๘33[๓๙] การยื่นและส่งคําคู่ความและ


เอกสารในลักษณะนี้ ไม่ว่ าการนั้นจะเป็นโดยคู่ความฝ่ายใดทําต่ อ
ศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือศาลทําต่อคู่ความฝ่ายใดฝ่าย
หนึ่ง หรือทุกฝ่าย รวมทั้งการแจ้งคําสั่งของศาลหรือข้อความอย่าง
อื่นไปยังคู่ความหรือบุคคลอื่นใด อาจดําเนินการโดยทางไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดของประธานศาล
ฎี ก าโดยความเห็ น ชอบของที่ ป ระชุ ม ใหญ่ ศ าลฎี ก า และเมื่ อ
ข้อกําหนดนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

32[๓๘] มาตรา ๖๗ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ.
๒๕๕๘

33[๓๙] มาตรา ๖๘ แก้ไ ขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญั ติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ.
๒๕๕๘
66

มาตรา ๖๙ การยื่นคําคู่ความ หรือเอกสารอื่นใด


ต่อศาลนั้น ให้กระทําได้โดยส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล หรือ
ยื่นต่อศาลในระหว่างนั่งพิจารณา

มาตรา ๗๐34[๔๐] บรรดาคําฟ้อง หมายเรีย ก


และหมายอื่น ๆ คําสั่ง คําบังคับของศาลในกรณีต้องส่งคําบังคับ ให้
เจ้ า พนั ก งานศาลเป็ น ผู้ ส่ ง ให้ แ ก่ คู่ ค วามหรื อ บุ ค คลภายนอกที่
เกี่ยวข้อง แต่ว่า

(๑) หมายเรียกพยาน ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างพยาน


นั้นเป็นผู้ส่งโดยตรง เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่นหรือพยานปฏิเสธ
ไม่ยอมรับหมาย ในกรณีเช่นว่านี้ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง

(๒) คํ า สั่ ง ของศาล รวมทั้ ง คํ า สั่ ง กํ า หนดวั น นั่ ง


พิ จ ารณาหรื อ สื บ พยาน แล้ ว แต่ ก รณี หรื อ คํ า สั่ ง ให้ เ ลื่ อ นคดี ถ้ า
คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นอยู่ในศาลในเวลาที่มีคําสั่งและได้
ลงลายมือชื่อรับรู้ไว้ ให้ถือว่าได้ส่งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

34[๔๐]
มาตรา ๗๐ แก้ไ ขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญั ติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ.
๒๕๖๐
67

คําฟ้ องนั้ น ให้ โ จทก์ เสี ยค่ าธรรมเนีย มในการส่ ง


ส่ ว นการนํ าส่ ง นั้ นโจทก์ จ ะนํ า ส่ งหรื อ ไม่ ก็ได้ เว้ น แต่ ศาลจะสั่ งให้
โจทก์มีหน้าที่จัดการนําส่ง ส่วนหมายเรียก หมายอื่น ๆ คําสั่งของ
ศาลที่ได้ออกตามคําขอของคู่ความฝ่ายใด ถ้าศาลมิได้สั่งให้จัดการ
นําส่งด้วย ก็ให้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมในการส่ง
ในกรณีอื่น ๆ ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะจัดการส่งให้แก่คู่ความหรือ
บุคคลที่เกี่ยวข้อง

มาตรา ๗๑ คํ า ให้ ก ารนั้ น ให้ ฝ่ า ยที่ ใ ห้ ก ารนํ า


ต้นฉบับยื่นไว้ต่อศาลพร้อมด้วยสําเนาสําหรับให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
หรือคู่ความอื่น ๆ รับไปโดยทางเจ้าพนักงานศาล

คํ า ร้ อ งเพื่ อ แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม คํ า ให้ ก ารนั้ น ให้ เ จ้ า


พนักงานศาลเป็นผู้ ส่งให้คู่ความอี กฝ่ ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ โดย
ฝ่ายที่ยื่นคําร้องเป็นผู้มีหน้าที่จัดการนําส่ง

มาตรา ๗๒ คําร้องและคําแถลงการณ์ซึ่งได้ยื่นต่อ
ศาลภายในเวลาที่กฎหมายหรือศาลกํา หนดไว้ หรือ โดยข้อตกลง
ของคู่ความตามที่ศาลจดลงไว้ในรายงานนั้น ให้ผู้ยื่น คําร้องหรือ
คํ า แถลงการณ์นํ า ต้ น ฉบั บ ยื่ นไว้ ต่อ ศาลพร้ อมด้ ว ยสํ า เนาเพื่ อให้
คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมารับไป
โดยทางเจ้าพนักงานศาล
68

บรรดาคํ า ร้ อ งอื่ น ๆ ให้ ยื่ น ต่ อ ศาลพร้ อ มด้ ว ย


สําเนา เพื่อส่งให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคล
ที่เกี่ยวข้อง และถ้าศาลกําหนดให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งสําเนา
เช่นว่านั้น ก็ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งโดยให้คู่ความฝ่ายที่ยื่นคํา
ร้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

บรรดาเอกสารอื่ น ๆ เช่ น สํ าเนาคํ าแถลงการณ์


หรื อ สํ า เนาพยานเอกสารนั้ น ให้ ส่ ง แก่ คู่ ค วามอี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง หรื อ
คู่ ค วามอื่ น ๆ หรื อบุ ค คลที่ เกี่ ย วข้ อง โดยวิ ธี ใดวิ ธี ห นึ่ ง ในสองวิ ธี
ดังต่อไปนี้

(๑) โดยคู่ความฝ่ายที่ต้องส่งนั้น ส่งสําเนาให้แก่


คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเอง แล้ว
ส่งใบรับต่อศาลพร้อมกับต้นฉบับนั้น ๆ ใบรับนั้นจะทําโดยวิธีลงไว้
ในต้นฉบับว่าได้รับสําเนาแล้ว และลงลายมือชื่อผู้รับกับวัน เดือน ปี
ที่ได้รับก็ได้ หรือ

(๒) โดยคู่ความฝ่ายที่ต้องส่งนั้นนําสําเนายื่นไว้ต่อ
ศาลพร้อมกับต้นฉบับ แล้วขอให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้นําส่งให้แก่
คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในกรณี
เช่นนี้ ผู้ขอต้องไปกับเจ้าพนักงานศาลและเสียค่าธรรมเนียมในการ
ส่งนั้นด้วย
69

มาตรา ๗๓ ถ้ า คํ า คู่ ค วามหรื อ เอกสารอื่ น ใด


จะต้องให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งเมื่อคู่ความผู้มีหน้าที่ต้องส่งได้
ร้องขอ ให้พนักงานเจ้ าหน้าที่ดําเนินการส่งโดยเร็วเท่าที่จะทําได้
เพื่ อ การนี้ พนั ก งานผู้ ส่ ง หมายจะให้ ผู้ ข อหรื อ บุ ค คลที่ ผู้ ข อ
เห็นสมควรไปด้วยเพื่ อชี้ตัวคู่ ความหรือบุคคลผู้รับ หรือเพื่ อค้นหา
ภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานของผู้รับก็ได้

ในกรณี ที่ต้องส่ งคํ าคู่ ความหรื อเอกสารอื่ นใดไป


ตามคํ า สั่ ง ของศาล ซึ่ ง บุ ค คลอื่ น หรื อ คู่ ค วามไม่ มี ห น้ า ที่ ต้ อ ง
รับผิดชอบในการส่งนั้น ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของ
ศาลจะดําเนินการส่ง

มาตรา ๗๓ ทวิ35[๔๑] คําคู่ความหรือเอกสารที่


เจ้ า พนั ก งานศาลเป็ น ผู้ ส่ ง ไม่ ว่ า การส่ ง นั้ น จะเป็ น หน้ า ที่ ของศาล
จัดการส่งเองหรือคู่ความมีหน้าที่จัดการนําส่งก็ตาม ศาลอาจสั่งให้
ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือโดยทางไปรษณีย์ด่วน
พิเศษในประเทศก็ได้ โดยให้คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นําส่งเป็นผู้เสีย
ค่าใช้ จ่ ายกรณี เช่ น นี้ ให้ ถือว่ าคําคู่ความหรือเอกสารที่ส่ งโดยเจ้ า
พนักงานไปรษณีย์ มีผลเสมือนเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งและให้นํา
บทบัญญัติมาตรา ๗๔ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๗๗ มาใช้บังคับโดย

35[๔๑] มาตรา ๗๓ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๘
70

อนุโลม

มาตรา ๗๔ การส่งคําคู่ความหรือเอกสารอื่นใด
โดยเจ้าพนักงานศาลนั้นให้ปฏิบัติ ดังนี้

(๑) ให้ส่งในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น
และพระอาทิตย์ตก และ

(๒) ให้ ส่ ง แก่ คู่ ค วามหรื อ บุ ค คลซึ่ ง ระบุ ไ ว้ ใ นคํ า


คู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานของคู่ความ
หรือบุคคลนั้น แต่ให้อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติหกมาตราต่อไปนี้

มาตรา ๗๕ การส่งคําคู่ความหรือเอกสารอื่นใด
ให้ แ ก่ ท นายความที่ คู่ ค วามตั้ ง แต่ ง ให้ ว่ า คดี หรื อ ให้ แ ก่ บุ ค คลที่
ทนายความเช่นว่านั้นได้ตั้งแต่ง เพื่อกระทํากิจการอย่างใด ๆ ที่ระบุ
ไว้ในมาตรา ๖๔ นั้น ให้ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา ๗๖ เมื่อเจ้ าพนักงานศาลไม่ พบคู่ความ


หรือบุคคลที่จะส่งคําคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลําเนาหรือสํานักทํา
การงานของบุคคลนั้น ๆ ถ้าได้ส่งคําคู่ความหรือเอกสารให้แก่บุคคล
71

ใด ๆ ที่มีอายุเกินยี่สิบปี ซึ่งอยู่หรือทํางานในบ้านเรือนหรือที่สํานัก
ทําการงานที่ปรากฏว่าเป็นของคู่ความหรือบุคคลนั้น หรือได้ส่งคํา
คู่ความหรือเอกสารนั้นตามข้อความในคําสั่งของศาลให้ถือว่าเป็น
การเพียงพอที่จะฟังว่าได้มีการส่งคําคู่ความหรือเอกสารถูกต้องตาม
กฎหมายแล้ว

ในกรณีเช่นว่ามานี้ การส่งคําคู่ความหรือเอกสาร
แก่คู่ความฝ่ายใด ห้ามมิให้ส่งแก่คู่ความฝ่ายปรปักษ์เป็นผู้รับไว้แทน

มาตรา ๗๗ การส่งคําคู่ความหรือเอกสารอื่นใด
โดยเจ้าพนักงานศาลไปยังที่อื่นนอกจากภูมิลําเนา หรือสํานักทําการ
งานของคู่ความหรือของบุคคลซึ่งระบุไว้ในคําคู่ความ หรือเอกสาร
นั้น ให้ถือว่าเป็นการถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อ

(๑) คู่ความหรือบุคคลนั้นยอมรับคําคู่ความหรือ
เอกสารนั้นไว้ หรือ

(๒) การส่งคําคู่ความหรือเอกสารนั้นได้กระทําใน
ศาล

มาตรา ๗๘ ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่ระบุไว้ในคํา
คู่ความหรือเอกสารปฏิเสธไม่ยอมรับคําคู่ความหรือเอกสารนั้นจาก
72

เจ้าพนักงานศาลโดยปราศจากเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงาน
นั้นชอบที่จะขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มีอํานาจหรือ
เจ้าพนักงานตํารวจไปด้วยเพื่อเป็นพยาน และถ้าคู่ความหรือบุคคล
นั้นยังคงปฏิเสธไม่ยอมรับอยู่อีก ก็ให้วางคําคู่ความหรือเอกสารไว้
ณ ที่นั้น เมื่อได้ทําดังนี้แล้วให้ถือว่าการส่งคําคู่ความหรือเอกสารนั้น
เป็นการถูกต้องตามกฎหมาย

มาตรา ๗๙36[๔๒] ถ้ า การส่ ง คํ า คู่ ค วามหรื อ


เอกสารนั้นไม่ สามารถจะทําได้ ดังที่ บัญญัติไว้ในมาตราก่อน ศาล
อาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือปิดคําคู่ความหรือเอกสารไว้
ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานของคู่ความ
หรือบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในคําคู่ความหรือเอกสาร หรือมอบหมายคํา
คู่ความหรือเอกสารไว้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในท้องถิ่นหรือ
เจ้ า พนั ก งานตํ า รวจ แล้ ว ปิ ด ประกาศแสดงการที่ ไ ด้ ม อบหมาย
ดังกล่าวแล้วนั้นไว้ดังกล่าวมาข้างต้น หรือลงโฆษณาหรือทําวิธีอื่นใด
ตามที่ศาลเห็นสมควร

การส่งคําคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีอื่น แทนนั้น
ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกําหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่า
นั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกําหนด ได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลา

36[๔๒] มาตรา ๗๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๒๒
73

ที่คําคู่ความหรือเอกสารหรือประกาศแสดงการมอบหมายนั้นได้ปิด
ไว้ หรือการโฆษณาหรือวิธีอื่นใดตามที่ศาลสั่งนั้นได้ทําหรือได้ตั้งต้น
แล้ว

มาตรา ๘๐ การส่งคําคู่ความหรือเอกสารโดยเจ้า
พนักงานศาลหรือทางเจ้าพนักงานศาลนั้น ให้เจ้าพนักงานศาลส่งใบ
รับ ลงลายมือชื่อคู่ ความ หรื อผู้ รั บคํ าคู่ ความหรือเอกสาร หรือส่ ง
รายงานการส่งคําคู่ความหรือเอกสารลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานศาล
ต่อศาล แล้วแต่กรณี เพื่อรวมไว้ในสํานวนความ

ใบรั บหรื อรายงานนั้ นต้ องลงข้อความให้ปรากฏ


แน่ชัดถึงตัวบุคคลและรายการต่อไปนี้

(๑) ชื่อเจ้าพนักงานผู้ส่งหมาย และชื่อผู้รับหมาย


ถ้าหากมี

(๒) วิธีส่ง วัน เดือน ปี และเวลาที่ส่ง

รายงานนั้ น ต้องลงวั น เดือนปี และลงลายมื อชื่ อ


ของเจ้าพนักงานผู้ทํารายงาน

ใบรับนั้นจะทําโดยวิธีจดลงไว้ที่ต้นฉบับซึ่งยื่นต่อ
ศาลก็ได้
74

มาตรา ๘๑ การส่งหมายเรียกพยานโดยคู่ความที่
เกี่ยวข้องนั้นให้ปฏิบัติดังนี้

(๑) ให้ส่งในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น
และพระอาทิตย์ตก และ

(๒) ให้ ส่ ง แก่ บุ ค คลซึ่ ง ระบุ ไ ว้ ใ นหมายเรี ย ก ณ


ภูมิลํ าเนาหรื อสํ านักทําการงานของบุคคลเช่ นว่ านั้น แต่ว่ าให้อยู่
ภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๗๖ และ ๗๗

มาตรา ๘๒ ถ้าจะต้องส่งคําคู่ความหรือเอกสาร
อื่นใดไปยังคู่ความหรือบุคคลหลายคน ให้ส่งสําเนาคําคู่ความหรือ
เอกสารที่จะต้องส่งไปให้ทุก ๆ คน ในกรณีที่ต้องส่งคําคู่ความหรือ
เอกสารโดยเจ้าพนักงานศาลหรือทางเจ้าพนักงานศาลนั้นให้คู่ความ
ฝ่ายซึ่งมีหน้าที่จัดการนําส่ง มอบสําเนาคําคู่ความหรือเอกสารต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ให้พอกับจํานวนคู่ความหรือบุคคลที่จะต้องส่งให้
นั้น

มาตรา ๘๓ ถ้ าคู่ความฝ่ายใดจะต้องยื่นต่อศาล
หรือจะต้องส่งให้แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอกซึ่ง
75

คําคู่ความหรือเอกสารอื่นใด ภายในเวลาหรือก่อนเวลาที่กฎหมาย
หรือศาลได้กําหนดไว้ และการส่งเช่นว่านี้จะต้องกระทําโดยทางเจ้า
พนักงานศาล ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นได้ปฏิบัติตามความมุ่งหมาย
ของกฎหมายหรือของศาลแล้ว เมื่อคู่ความฝ่ายนั้นได้ส่งคําคู่ความ
หรือเอกสารเช่นว่านั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลเพื่อให้ยื่นหรือ
ให้ ส่ งในเวลาหรื อก่ อ นเวลาที่ กําหนดนั้ น แล้ ว แม้ ถึงว่ าการรั บ คํ า
คู่ความหรือเอกสารหรือการขอให้ส่งคําคู่ความหรือเอกสาร หรือ
การส่ ง คํ า คู่ ค วามหรื อ เอกสารให้ แ ก่ คู่ ค วามอี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง หรื อ
บุคคลภายนอกนั้นจะได้เป็นไปภายหลังเวลาที่กําหนดนั้นก็ดี

ถ้ า ประมวลกฎหมายนี้ บั ญ ญั ติ ไ ว้ ว่ า การส่ ง คํ า
คู่ ค วามหรื อ เอกสารอื่ น ใด จะต้ อ งให้ คู่ ค วามอี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง หรื อ
บุคคลภายนอกทราบล่ วงหน้าตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ ก่อนวั น
เริ่มต้นนั่งพิจารณาหรือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายที่ต้องรับผิดใน
การส่งนั้นได้ปฏิบัติตามความมุ่งหมายของกฎหมายหรือของศาล
ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อนนั้นได้ต่อเมื่อคู่ความฝ่ายนั้นได้ยื่นคํา
คู่ความหรือเอกสารที่จะต้องส่งให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลไม่
ต่ํากว่าสามวันก่อนวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่กําหนดล่วงหน้าไว้นั้น

ในกรณีที่คู่ความอาจส่งคําคู่ความหรือเอกสารโดย
วิธีส่งสําเนาตรงไปยังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกได้นั้น
บทบัญญัติแห่งมาตรานี้มิได้ห้ามคู่ความที่มีหน้าที่ต้องส่งคําคู่ความ
หรือเอกสารดังกล่าวแล้วในอันที่จะใช้วิธีเช่นว่านี้ แต่คู่ความฝ่าย
นั้นจะต้องส่งใบรับของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกต่อ
ศาลในเวลาหรือก่อนเวลาที่กฎหมายหรือศาลได้กําหนดไว้
76

มาตรา ๘๓ ทวิ 37[๔๓] ในกรณี ที่ จํ า เลยไม่ มี


ภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรให้ส่งหมายเรียกและคําฟ้องตั้งต้นคดี
แก่ จํ า เลย ณ ภู มิ ลํ า เนาหรื อ สํ า นั ก ทํ า การงานของจํ า เลยนอก
ราชอาณาจั ก ร เว้ น แต่ ใ นกรณี ที่ จํ า เลยประกอบกิ จ การใน
ราชอาณาจักรด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนหรือในกรณีที่มีการตกลง
เป็นหนังสือว่าคําคู่ความและเอกสารที่จะต้องส่งให้แก่จําเลยนั้น ให้
ส่งแก่ตัวแทนซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรที่จําเลยได้แต่งตั้งไว้เพื่อ
การนี้ให้ส่งหมายเรียกและคําฟ้องตั้งต้นคดีแก่จําเลยหรือตัวแทนใน
การประกอบกิจการหรือตัวแทนในการรับคําคู่ความและเอกสาร ณ
สถานที่ที่จําเลยหรือตัวแทนใช้ประกอบกิจการหรือสถานที่อันเป็น
ถิ่นที่อยู่ของตัวแทนในการประกอบกิจการหรือของตัวแทนในการ
รับคําคู่ความและเอกสาร ซึ่งตั้งอยู่ในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี

ในกรณี ที่ มี ก ารเรี ย กบุ ค คลภายนอกซึ่ ง ไม่ มี


ภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา ๕๗ (๓)
ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

37[๔๓]มาตรา ๘๓ ทวิ เพิ่ มโดยพระราชบัญ ญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
77

มาตรา ๘๓ ตรี38[๔๔] การส่งคําคู่ความ คําร้อง


คําแถลง หรือเอกสารอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๓ ทวิ
ถ้ าผู้ รั บไม่ มีภู มิลํ าเนาอยู่ ในราชอาณาจั กรแต่ ป ระกอบกิ จ การใน
ราชอาณาจั กรด้ ว ยตนเองหรื อโดยตั ว แทน หรื อ มี ตัว แทนในการ
รับคํ าคู่ความและเอกสารหรือทนายความในการดําเนิน คดีอยู่ใน
ราชอาณาจักร ให้ส่งแก่ผู้รับหรือตัวแทนเช่นว่านั้นหรือทนายความ
ณ สถานที่ที่ผู้รับหรือตัวแทนใช้ประกอบกิจการ หรือสถานที่อันเป็น
ถิ่ น ที่ อ ยู่ ข องตั ว แทน หรื อ ภู มิ ลํ า เนา หรื อ สํ า นั ก ทํ า การงานของ
ทนายความซึ่งตั้งอยู่ในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้รับมิได้
ประกอบกิ จ การในราชอาณาจั ก รด้ ว ยตนเองหรื อ ไม่ มี ตั ว แทน
ดั ง กล่ า วหรื อ ทนายความอยู่ ใ นราชอาณาจั ก ร ให้ ส่ ง โดยวิ ธี ปิ ด
ประกาศไว้ที่ศาล

มาตรา ๘๓ จั ต วา39[๔๕] ในกรณี ที่ จ ะต้ องส่ ง


หมายเรียกและคําฟ้องตั้งต้นคดีตามมาตรา ๘๓ ทวิ แก่จําเลย ณ
ภูมิลํ าเนาหรื อสํ านั กทํ าการงานของจํ าเลยนอกราชอาณาจักรให้
โจทก์ยื่น คําร้องต่อศาลภายในกํ าหนดเจ็ดวันนับ แต่วันยื่ นคําฟ้อง

38[๔๔] มาตรา ๘๓ ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑

39[๔๕] มาตรา ๘๓ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
78

เพื่อให้ศาลจัดส่งหมายเรียกและคําฟ้องตั้งต้นคดีแก่จําเลย ในกรณี
เช่นว่านี้ ถ้าไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี
กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้โจทก์ทําคําแปลหมายเรียก คําฟ้องตั้งต้น
คดีและเอกสารอื่นใดที่จะส่งไปยังประเทศที่จําเลยมีภูมิลําเนาหรือ
สํานักทําการงานอยู่ เป็น ภาษาราชการของประเทศนั้น หรื อเป็ น
ภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคํารับรองคําแปลว่าถูกต้องยื่นต่อศาลพร้อม
กับคําร้องดังกล่าว และวางเงินค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาลตามจํานวนและ
ภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด

ในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคําสั่งให้โจทก์
จัดทําเอกสารอื่นเพิ่มเติมยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด
ก็ได้

ในกรณีที่โ จทก์เพิก เฉยไม่ดํา เนิน การตามวรรค


หนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามมาตรา ๑๗๔

ในกรณี ที่ มี ก ารเรี ย กบุ ค คลภายนอกซึ่ ง ไม่ มี


ภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา ๕๗ (๓)
ให้นําความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดย
อนุโลม
79

มาตรา ๘๓ เบญจ40[๔๖] การส่งหมายเรียกและ


คําฟ้องตั้งต้นคดีตามมาตรา ๘๓ ทวิ แก่จําเลยหรือบุคคลภายนอก
ณ ภู มิ ลํ า เนาหรื อ สํ า นั ก ทํ า การงานของบุ ค คลดั ง กล่ า วนอก
ราชอาณาจักร ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกําหนดเวลาหกสิบวันนับแต่
วันที่ได้มีการส่ง และในกรณีส่งโดยวิธีอื่นแทนการส่งให้แก่จําเลย
หรือบุคคลภายนอก ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกําหนดเวลาเจ็ดสิบห้า
วันนับแต่วันที่ได้มีการส่งโดยวิธีอื่น

มาตรา ๘๓ ฉ41[๔๗] การส่งหมายเรียกและคํา


ฟ้ อ งตั้ ง ต้ น คดี ต ามมาตรา ๘๓ ทวิ แก่ จํ า เลยหรือ ตัว แทนซึ ่ง
ประกอบกิจการในราชอาณาจักรหรือตัวแทนในการรับคําคู่ความ
และเอกสาร ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกําหนดเวลาสามสิบวันนับแต่
วันที่ได้มีการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย

การส่งคําคู่ความหรือเอกสารอื่นตามมาตรา ๘๓
ตรี แก่ ผู้ รั บ หรื อตั ว แทนหรื อทนายความ ให้ มีผ ลใช้ ได้ ต่อเมื่ อพ้ น
กําหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มีการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย

40[๔๖] มาตรา ๘๓ เบญจ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔

41[๔๗] มาตรา ๘๓ ฉ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
80

การปิดประกาศตามมาตรา ๘๓ ตรี ให้มีผลใช้ได้


ต่อเมื่อพ้นกําหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ และมิให้นํา
บทบัญญัติมาตรา ๗๙ มาใช้บังคับ

มาตรา ๘๓ สัตต42[๔๘] เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตาม


มาตรา ๘๓ จัตวา แล้ว ถ้าไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศ
ไทยเป็ น ภาคี กํ าหนดไว้ เป็ น อย่ า งอื่ น ให้ ศ าลดํ าเนิ น การส่ ง ให้ แ ก่
จํ า เลยหรื อ บุ คคลภายนอกโดยทางไปรษณี ย์ ด่ ว นพิ เ ศษระหว่ า ง
ประเทศหรือผู้ประกอบกิจการรับส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศหรือ
โดยผ่านสํานักงานศาลยุติธรรมและกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กําหนดไว้ในข้อกํ าหนดของประธาน
ศาลฎี กาโดยความเห็ น ชอบของที่ ป ระชุ มใหญ่ ศาลฎีกา และเมื่ อ
ข้อกําหนดนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

มาตรา ๘๓ อัฎ ฐ43[๔๙] ในกรณีที่จ ะต้อ งส่ง


หมายเรีย กและคํา ฟ้อ งตั ้ง ต้น คดีต ามมาตรา ๘๓ ทวิ แก่จํา เลย
42[๔๘] มาตรา ๘๓ สัตต แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๘

43[๔๙] มาตรา ๘๓ อัฎฐ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
81

หรือบุคคลภายนอก ณ ภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานของบุคคล
ดังกล่าวนอกราชอาณาจักรถ้าโจทก์ยื่นคําขอฝ่ายเดียวโดยทําเป็น
คําร้องและสามารถแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า การส่งตาม
มาตรา ๘๓ สัต ต ไม่อ าจกระทํา ได้เ พราะเหตุที่ภูมิลํา เนาและ
สํานักทําการงานของบุคคลดังกล่าวไม่ปรากฏหรือเพราะเหตุอื่น
ใด หรือเมื่อ ศาลได้ดํา เนิน การตามมาตรา ๘๓ สัต ต แล้ว แต่ไ ม่
อาจทราบผลการส่งได้ถ้าศาลเห็นสมควร ก็ให้ศาลอนุญาตให้ส่ง
โดยวิธีปิดประกาศไว้ที่ศาลแทน ในกรณีเช่นว่านี้ ศาลจะสั่งให้ส่ง
โดยวิธ ีป ระกาศโฆษณาในหนัง สือ พิม พ์ห รือ โดยวิธ ีอื่น ใดด้ว ยก็
ได้44[๕๐]

การส่ ง โดยวิ ธี ก ารตามวรรคหนึ่ ง ให้ มี ผ ลใช้ ไ ด้


ต่อเมื่อพ้ นกํ าหนดเวลาหกสิบ วั นนั บ แต่ วั นที่ ปิ ดประกาศไว้ ที่ศาล
และมิให้นําบทบัญญัติมาตรา ๗๙ มาใช้บังคับ

ลักษณะ ๕

พยานหลักฐาน

44[๕๐] มาตรา ๘๓ อัฏฐ วรรคหนึ่ง แก้ไ ขเพิ่มเติมโดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๘
82

หมวด ๑

หลักทั่วไป

มาตรา ๘๔45[๕๑] การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง


ในคดีใดจะต้ องกระทําโดยอาศั ยพยานหลักฐานในสํานวนคดีนั้ น
เว้นแต่

(๑) ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป

(๒) ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือ

(๓) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วใน
ศาล

45[๕๑] มาตรา ๘๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
83

มาตรา ๘๔/๑46[๕๒] คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง


ข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคําคู่ความของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระ
การพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมี
ข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของ
เหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียง
ว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อ
สันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว

มาตรา ๘๕ คู่ ค วามฝ่ า ยที่ มี ห น้ า ที่ ต้ อ งนํ า สื บ


ข้อเท็จจริงย่อมมีสิทธิที่จะนําพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้
บังคับแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟัง
พยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐาน

มาตรา ๘๖ เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดเป็น
พยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ก็ดีหรือเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้
แต่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ศาลปฏิเสธ

46[๕๒] มาตรา ๘๔/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
84

ไม่รับพยานหลักฐานนั้นไว้

เมื่ อ ศาลเห็ น ว่ า พยานหลั ก ฐานใดฟุ่ ม เฟื อ ยเกิ น


สมควร หรื อ ประวิ ง ให้ ชั ก ช้ า หรื อ ไม่ เ กี่ ย วแก่ ป ระเด็ น ให้ ศ าลมี
อํานาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่น
ต่อไป

เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เป็นการจําเป็นที่จะต้องนําพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นใน
คดีมาสืบ เพิ่ มเติ ม ให้ศาลทํ าการสื บพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจ
รวมทั้ งการที่จ ะเรี ยกพยานที่สืบ แล้วมาสืบใหม่ ด้วย โดยไม่ ต้องมี
ฝ่ายใดร้องขอ

มาตรา ๘๗ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด
เว้นแต่

(๑) พยานหลักฐานนั้นเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความ
ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนําสืบ และ

(๒) คู่ ค วามฝ่ า ยที่ อ้ า งพยานหลั ก ฐานได้ แ สดง


ความจํานงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๘๘ และ ๙๐ แต่ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
จําเป็นจะต้องสืบพยานหลั กฐานอันสําคัญซึ่งเกี่ยวกั บประเด็นข้ อ
สํ า คั ญ ในคดี โดยฝ่ า ฝื น ต่ อ บทบั ญ ญั ติ ข องอนุ ม าตรานี้ ให้ ศ าลมี
85

อํานาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้

มาตรา ๘๘47[๕๓] เมื่ อคู่ ค วามฝ่ ายใดมี ความ


จํานงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใดหรือคําเบิกความของพยานคนใด
หรือมีความจํานงที่จะให้ศาลตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรืออ้างอิง
ความเห็ น ของผู้ เ ชี่ ย วชาญที่ ศ าลตั้ ง หรื อความเห็ น ของผู้ มีค วามรู้
เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของ
ตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่
น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยแสดงเอกสารหรือสภาพของเอกสารที่จะอ้าง
และรายชื่อ ที่อยู่ของบุคคล ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ วัตถุ หรือสถานที่
ซึ่ งคู่ ความฝ่ ายนั้ น ระบุ อ้างเป็ น พยานหลั กฐาน หรื อขอให้ ศาลไป
ตรวจ หรือขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญแล้วแต่กรณี พร้อมทั้งสําเนาบัญชี
ระบุพยานดังกล่าวในจํานวนที่เพียงพอ เพื่อให้คู่ความฝ่ายอื่นมารับ
ไปจากเจ้าพนักงานศาล48[๕๔]

47[๕๓]
มาตรา ๘๘ แก้ไ ขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญั ติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ.
๒๕๓๘

48[๕๔] มาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ ง แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
86

ถ้ า คู่ ค วามฝ่ า ยใดมี ค วามจํ า นงจะยื่ น บั ญ ชี ร ะบุ


พยานเพิ่มเติม ให้ยื่นคําแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลพร้อมกับ
บัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและสําเนาบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าว
ได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสืบพยาน

เมื่อระยะเวลาที่กําหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตาม
วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ได้สิ้นสุดลงแล้ว ถ้าคู่ความ
ฝ่ายใดซึ่งได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว มีเหตุอันสมควรแสดงได้ว่า
ตนไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนําพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อ
ประโยชน์ของตน หรือไม่ทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่
หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใด หรือถ้าคู่ความฝ่ายใดซึ่งมิได้ยื่นบัญชีระบุ
พยานแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถ
ยื่นบัญชีระบุพยานตามกําหนดเวลาดังกล่าวได้ คู่ความฝ่ายนั้นอาจ
ยื่นคําร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นต่อศาลพร้อมกับ
บัญชีระบุพยานและสําเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวไม่ว่าเวลาใด ๆ
ก่อนพิ พากษาคดี และถ้าศาลเห็นว่ า เพื่ อให้ การวินิจฉั ยชี้ขาดข้ อ
สํ า คั ญ แห่ ง ประเด็ น เป็ น ไปโดยเที่ ย งธรรม จํ า เป็ น จะต้ อ งสื บ
พยานหลักฐานเช่นว่านั้น ก็ให้ศาลอนุญาตตามคําร้อง

มาตรา ๘๙49[๕๕] คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะนํา

49[๕๕] มาตรา ๘๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
87

สืบพยานหลักฐานของตนเพื่อพิสูจน์ต่อพยานของคู่ความฝ่ายอื่นใน
กรณีต่อไปนี้

(๑) หักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคําพยาน
ในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือ

(๒) พิสูจน์ข้อความอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวด้วย
การกระทํา ถ้อยคํา เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นใดซึ่งพยานเช่น
ว่านั้นได้กระทําขึ้น

ให้คู่ความฝ่ายนั้นถามค้ านพยานดังกล่ าวเสียในเวลาที่ พยานเบิ ก


ความ เพื่อให้พยานมีโอกาสอธิบายถึงข้อความเหล่านั้น แม้ว่าพยาน
นั้นจะมิได้เบิกความถึงข้อความดังกล่าวก็ตาม

ในกรณี ที่คู่ความฝ่ ายนั้น มิได้ถามค้ านพยานของ


คู่ความฝ่ายอื่นไว้ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ต่อมานําพยานหลักฐานมา
สืบถึงข้อความนั้น คู่ความฝ่ายอื่นที่สืบพยานนั้นไว้ชอบที่จะคัดค้าน
ได้ในขณะที่คู่ความฝ่ายนั้นนําพยานหลักฐานมาสืบ และในกรณีเช่น
ว่านี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่ามานั้น

ในก รณี ที่ คู่ คว าม ฝ่ า ยที่ ป ระ ส ง ค์ จ ะนํ าสื บ


พยานหลั กฐานเพื่ อพิ สู จ น์ ต่อพยานตามวรรคหนึ่งแสดงให้ เป็ น ที่
พอใจของศาลว่า เมื่อเวลาพยานเบิกความนั้นตนไม่รู้หรือไม่มีเหตุ
อั น ควรรู้ ถึ ง ข้ อ ความดั ง กล่ า วมาแล้ ว หรื อ ถ้ า ศาลเห็ น ว่ า เพื่ อ
ประโยชน์แห่งความยุติธรรมจําเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านี้
ศาลจะยอมรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ก็ได้ แต่ในกรณีเช่นนี้ คู่ความ
88

อีกฝ่ายหนึ่งจะขอให้เรียกพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาสืบอีกก็ได้
หรือเมื่อศาลเห็นสมควรจะเรียกมาสืบเองก็ได้

มาตรา ๙๐50[๕๖] ให้ คู่ ค วามฝ่ า ยที่ อ้ า งอิ ง


เอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน
ตามมาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่ง
สําเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดยื่นคําแถลงหรือคําร้องขอ
อนุญาตอ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานตามมาตรา ๘๘ วรรคสอง
หรื อ วรรคสาม ให้ ยื่ น ต่ อ ศาลและส่ ง ให้ คู่ ค วามฝ่ า ยอื่ น ซึ่ ง สํ า เนา
เอกสารนั้นพร้อมกับการยื่นคําแถลงหรือคําร้องดังกล่าว เว้นแต่ศาล
จะอนุญาตให้ยื่นสําเนาเอกสารภายหลังเมื่อมีเหตุอันสมควร

คู่ ค วามฝ่ า ยที่ อ้ า งอิ ง พยานหลั ก ฐานไม่ ต้ อ งยื่ น


สําเนาเอกสารต่อศาล และไม่ต้องส่งสําเนาเอกสารให้คู่ความฝ่าย
อื่นในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) เมื่ อคู่ ความฝ่ ายใดอ้ างอิ งเอกสารเป็ น ชุ ดซึ่ ง

50[๕๖]
มาตรา ๙๐ แก้ไ ขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญั ติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ.
๒๕๓๘
89

คู่ ความฝ่ ายอื่ น ทราบดี อยู่ แล้ ว หรื อสามารถตรวจตราให้ ทราบได้


โดยง่ า ยถึ ง ความมี อ ยู่ แ ละความแท้ จ ริ ง แห่ ง เอกสารนั้ น เช่ น
จดหมายโต้ตอบระหว่างคู่ความในคดี หรือสมุดบัญชีการค้า และ
สมุดบัญชีของธนาคารหรือเอกสารในสํานวนคดีเรื่องอื่น

(๒) เมื่อคู่ ความฝ่ ายใดอ้างอิ งเอกสารฉบั บ เดี ย ว


หรือหลายฉบับที่อยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือของ
บุคคลภายนอก

(๓) ถ้ าการคั ด สํ า เนาเอกสารจะทํ า ให้ ก ระบวน


พิจารณาล่าช้าเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความซึ่งอ้างอิงเอกสารนั้น หรือมี
เหตุผลแสดงว่าไม่อาจคัดสําเนาเอกสารให้เสร็จภายในกําหนดเวลา
ที่ให้ยื่นสําเนาเอกสารนั้น

กรณี ตาม (๑) หรื อ (๓) ให้ คู่ความฝ่ า ยที่ อ้างอิ ง


เอกสารยื่นคําขอฝ่ายเดียวโดยทําเป็นคําร้องต่อศาล ขออนุญาตงด
การยื่นสํ าเนาเอกสารนั้นและขอยื่ นต้ นฉบั บเอกสารแทน เพื่ อให้
ศาลหรือคู่ความฝ่ายอื่นตรวจดูตามเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรกําหนด

กรณี ต าม (๒) ให้ คู่ ค วามฝ่ า ยที่ อ้ า งอิ ง เอกสาร


ขอให้ศาลมีคําสั่งเรียกเอกสารนั้นมาจากผู้ครอบครองตามมาตรา
๑๒๓ โดยต้องยื่นคําร้องต่อศาลภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
หรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี และให้คู่ความฝ่ายนั้นมีหน้าที่ติดตาม
เพื่อให้ได้เอกสารดังกล่าวมาภายในเวลาที่ศาลกําหนด
90

มาตรา ๙๑ คู่ ความทั้ งสองฝ่ ายต่ า งมี สิ ทธิ ที่จ ะ


อ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกันได้

มาตรา ๙๒ ถ้ าคู่ ความหรื อบุ คคลใดจะต้ องเบิ ก


ความหรื อนํ าพยานหลักฐานชนิดใด ๆ มาแสดง และคํ าเบิกความ
หรือพยานหลักฐานนั้นอาจเปิดเผย

(๑) หนังสือราชการหรือข้อความอันเกี่ยวกับงาน
ของแผ่นดินซึ่งโดยสภาพจะต้องรักษาเป็นความลับไว้ชั่วคราวหรือ
ตลอดไป และคู่ความหรือบุคคลนั้นเป็นผู้รักษาไว้ หรือได้ทราบมา
โดยตําแหน่งราชการ หรือในหน้าที่ราชการ หรือกึ่งราชการอื่นใด

(๒) เอกสารหรือข้อความที่เป็นความลับใด ๆ ซึ่ง


ตนได้ รั บ มอบหมายหรื อบอกเล่ า จากลู กความในฐานะที่ ต นเป็ น
ทนายความ

(๓) การประดิ ษ ฐ์ แบบ หรื อ การงานอื่ น ๆ ซึ่ ง


ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่ให้เปิดเผย

คู่ความหรื อบุ คคลเช่ น ว่านั้ น ชอบที่ จ ะปฏิ เสธไม่


ยอมเบิกความหรือนําพยานหลักฐานนั้น ๆ มาแสดงได้ เว้นแต่จะ
ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้เปิดเผยได้

เมื่อคู่ความหรือบุคคลใดปฏิเสธไม่ยอมเบิกความ
91

หรือนําพยานหลักฐานมาแสดงดังกล่าวมาแล้ว ให้ศาลมีอํานาจที่จะ
หมายเรียกพนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มาศาลและ
ให้ชี้แจงข้อความตามที่ศาลต้องการเพื่อวินิจฉัยว่า การปฏิเสธนั้นชอบ
ด้วยเหตุผลหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่ า การปฏิเสธนั้นไม่มีเหตุผลฟังได้
ศาลมี อํ า นาจออกคํ า สั่ ง มิ ใ ห้ คู่ ค วามหรื อ บุ ค คลเช่ น ว่ า นั้ น ยก
ประโยชน์ แ ห่ ง มาตรานี้ ขึ้ น ใช้ และบั ง คั บ ให้ เ บิ ก ความหรื อ นํ า
พยานหลักฐานนั้นมาแสดงได้

มาตรา ๙๓51[๕๗] การอ้ า งเอกสารเป็ น


พยานหลักฐานให้ยอมรับฟังได้เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้น
แต่

(๑) เมื่ อ คู่ ค วามที่ เ กี่ ย วข้ อ งทุ ก ฝ่ า ยตกลงกั น ว่ า


สําเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วให้ศาลยอมรับฟังสําเนาเช่นว่านั้นเป็น
พยานหลักฐาน

(๒) ถ้ า ต้ น ฉบั บ เอกสารนํ า มาไม่ ไ ด้ เพราะถู ก


ทําลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือสูญหาย หรือไม่สามารถนํามาได้โดย
ประการอื่น อันมิใช่เกิดจากพฤติการณ์ที่ผู้อ้างต้องรับผิดชอบ หรือ
เมื่อศาลเห็นว่าเป็นกรณีจําเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

51[๕๗] มาตรา ๙๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
92

ที่จะต้องสืบสําเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับเอกสารที่
นํามาไม่ได้นั้น ศาลจะอนุญาตให้นําสําเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็
ได้

(๓) ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือใน
ความควบคุ มของทางราชการนั้ น จะนํ า มาแสดงได้ ต่ อ เมื่ อ ได้ รั บ
อนุญาตจากทางราชการที่เกี่ยวข้องเสียก่อน อนึ่ง สําเนาเอกสารซึ่ง
ผู้มีอํานาจหน้าที่ได้รับรองว่าถูกต้องแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพียงพอใน
การที่จะนํามาแสดง เว้นแต่ศาลจะได้กําหนดเป็นอย่างอื่น

(๔) เมื่อคู่ความฝ่ายที่ถูกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิง
เอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนมิได้คัดค้านการนําเอกสารนั้น
มาสืบตามมาตรา ๑๒๕ ให้ศาลรับฟังสําเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็น
พยานหลักฐานได้ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดอํานาจศาลตามมาตรา ๑๒๕ วรรค
สาม

มาตรา ๙๔ เมื่ อ ใดมี ก ฎหมายบั ง คั บ ให้ ต้ อ งมี


พยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณี
อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอม
ก็ดี

(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่


สามารถนําเอกสารมาแสดง
93

(ข) ขอสื บ พยานบุ คคลประกอบข้ ออ้ างอย่ างใด


อย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติม
ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก

แต่ ว่ า บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง มาตรานี้ มิ ใ ห้ ใ ช้ บั ง คั บ ใน


กรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (๒) แห่งมาตรา ๙๓ และมิให้ถือว่า
เป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนําพยานบุคคลมา
สืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม
หรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่น
ที่ ร ะบุ ไ ว้ ใ นเอกสารนั้ น ไม่ ส มบู ร ณ์ หรื อ คู่ ค วามอี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง
ตีความหมายผิด

มาตรา ๙๕ ห้ ามมิ ให้ ยอมรับฟั งพยานบุคคลใด


เว้นแต่บุคคลนั้น

(๑) สามารถเข้าใจและตอบคําถามได้ และ

(๒) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยว


ในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง แต่ความใน
ข้ อนี้ ให้ ใช้ ได้ ต่อเมื่ อไม่ มีบ ทบั ญญั ติแห่ งกฎหมายโดยชั ดแจ้ งหรื อ
คําสั่งของศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น

ถ้าศาลไม่ยอมรับไว้ซึ่งคําเบิกความของบุคคลใด
เพราะเห็นว่าบุคคลนั้นจะเป็นพยานหรือให้การดังกล่าวข้างต้นไม่ได้
94

และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องร้องคัดค้านก่อนที่ศาลจะดําเนินคดีต่อไป
ให้ศาลจดรายงานระบุนามพยาน เหตุผลที่ไม่ยอมรับและข้อคัดค้าน
ของคู่ ความฝ่ า ยที่ เกี่ ย วข้ องไว้ ส่ ว นเหตุ ผ ลที่ คู่ ค วามฝ่ า ยคั ด ค้ า น
ยกขึ้นอ้างนั้น ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงานหรือกําหนดให้
คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคําแถลงต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสํานวน

มาตรา ๙๕/๑52[๕๘] ข้อความซึ่งเป็นการบอก


เล่าที่พยานบุคคลใดนํามาเบิกความต่อศาลก็ดี หรือที่บันทึกไว้ใน
เอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลก็ดี หาก
นําเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอก
เล่า

ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่

(๑) ตามสภาพ ลั ก ษณะ แหล่ ง ที่ ม า แล ะ


ข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความ
จริงได้ หรือ

(๒) มีเหตุจําเป็นเนื่องจากไม่สามารถนําบุคคลซึ่ง
เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การ

52[๕๘] มาตรา ๙๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
95

เป็ น พยานนั้ น ด้ ว ยตนเองโดยตรงมาเป็ น พยานได้ และมี เหตุ ผ ล


สมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น

ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด
ให้นําความในมาตรา ๙๕ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๙๖ พยานที่เป็นคนหูหนวก หรือเป็นใบ้


หรือทั้งหูหนวกและเป็นใบ้นั้นอาจถูกถามหรือให้คําตอบโดยวิธีเขียน
หนังสือ หรือโดยวิธีอื่นใดที่สมควรได้ และคําเบิกความของบุคคลนั้น
ๆ ให้ถือว่าเป็นคําพยานบุคคลตามประมวลกฎหมายนี้

มาตรา ๙๗ คู่ ความฝ่ายหนึ่ง จะอ้ างคู่ความอี ก


ฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้

มาตรา ๙๘ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะอ้างบุคคล
ใดเป็นพยานของตนก็ได้เมื่อบุคคลนั้นเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญใน
ศิ ล ป วิ ท ยาศาสตร์ การฝี มื อ การค้ า หรื อ การงานที่ ทํ า หรื อ ใน
กฎหมายต่ า งประเทศ และซึ่ ง ความเห็ น ของพยานอาจเป็ น
ประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อความในประเด็น ทั้งนี้ ไม่ว่าพยาน
จะเป็นผู้มีอาชีพในการนั้นหรือไม่
96

มาตรา ๙๙ ถ้าศาลเห็นว่า จําเป็นที่จะต้องตรวจ


บุคคล วัตถุ สถานที่ห รือตั้งผู้ เชี่ ยวชาญตามที่บั ญญั ติไว้ในมาตรา
๑๒๙ และ ๑๓๐ เมื่อศาลเห็นสมควร ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะอยู่
ในชั้น ใด หรือ เมื ่อ มีคํา ขอของคู่ค วามฝ่า ยใดภายใต้บัง คับ แห่ง
บทบัญ ญัต ิม าตรา ๘๗ และ ๘๘ ให้ศ าลมี อํ า นาจออกคํ า สั่ ง
กําหนดการตรวจหรือการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเช่นว่านั้นได้

บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ไม่ตัดสิทธิของคู่ความใน
อันที่จะเรียกบุคคลผู้มีความรู้เชี่ยวชาญมาเป็นพยานฝ่ายตนได้

มาตรา ๑๐๐53[๕๙] คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่ง


ประสงค์จะอ้างอิงข้อเท็จจริงใดและขอให้คู่ความฝ่ายอื่นตอบว่าจะ
รับรองข้อเท็จจริงนั้นว่าถูกต้องหรือไม่ อาจส่งคําบอกกล่าวเป็น
หนังสือแจ้งรายการข้อเท็จจริงนั้นไปให้คู่ความฝ่ายอื่นก่อนวัน
สืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน54[๖๐]

53[๕๙] มาตรา ๑๐๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ.
๒๕๓๕

54[๖๐] มาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่ ง แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย


97

ถ้าคู่ความฝ่ายอื่นได้รับคําบอกกล่าวโดยชอบแล้ว
เมื่อคู่ความฝ่ายที่ส่งคําบอกกล่าวร้องขอต่อศาลในวันสืบพยาน ให้
ศาลสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นว่าจะยอมรับข้อเท็จจริงตามที่ได้รับคํา
บอกกล่าวนั้นว่าถูกต้องหรือไม่ แล้วให้ศาลจดคําตอบไว้ในรายงาน
กระบวนพิ จ ารณา ถ้ า คู่ ค วามฝ่ า ยนั้ น ไม่ ต อบคํ า ถามเกี่ ย วกั บ
ข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ
โดยชัดแจ้ง ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่ศาลจะเห็นว่า
คู่ความฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบหรือแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธ
โดยชัดแจ้งในขณะนั้น ศาลจะมีคําสั่งให้คู่ความฝ่ายนั้นทําคําแถลง
เกี่ ย วกั บ ข้ อ เท็ จ จริ ง นั้ น มายื่ น ต่ อ ศาลภายในระยะเวลาที่ ศ าล
เห็นสมควรก็ได้

บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง มาตรานี้ ใ ห้ ใ ช้ บั ง คั บ แก่ เ รื่ อ ง


เอกสารทั้งหมดหรือฉบับใดฉบับหนึ่งที่คู่ความแสดงความจํานงจะ
อ้างอิงด้วยโดยอนุโลม แต่ต้องส่งสําเนาเอกสารนั้นไปพร้อมกับคํา
บอกกล่าวและต้องมีต้นฉบับเอกสารนั้นให้คู่ความฝ่ายอื่นตรวจดูได้
เมื่อต้องการ เว้นแต่ต้นฉบับเอกสารนั้นอยู่ในความครอบครองของ
คู่ความฝ่ายอื่นหรือของบุคคลภายนอก

มาตรา ๑๐๑ ถ้าบุคคลใดเกรงว่า พยานหลักฐาน


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
98

ซึ่งตนอาจต้องอ้างอิงในภายหน้าจะสูญหายหรือยากแก่การนํามา
หรือถ้าคู่ความฝ่ ายใดในคดี เกรงว่ าพยานหลักฐานซึ่ งตนจํ านงจะ
อ้างอิงจะสูญหายเสียก่อนที่จะนํามาสืบ หรือเป็นการยากที่จะนํามา
สืบในภายหลังบุคคลนั้นหรือคู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคําขอต่อศาลโดย
ทําเป็นคําร้องขอหรือคําร้องให้ศาลมีคําสั่งให้สืบพยานหลักฐานนั้น
ไว้ทันที

เมื่อศาลได้รับคําขอเช่นว่านั้น ให้ศาลหมายเรียกผู้
ขอและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องมายังศาล
และเมื่อได้ฟังบุคคลเหล่านั้นแล้ว ให้ศาลสั่งคําขอตามที่เห็นสมควร
ถ้าศาลสั่งอนุญาตตามคําขอแล้ว ให้สืบพยานไปตามที่บัญญัติไว้ใน
ประมวลกฎหมายนี้ ส่วนรายงานและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การนั้นให้ศาลเก็บรักษาไว้

ในกรณีที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกที่
เกี่ยวข้องไม่มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรและยังมิได้เข้ามาในคดี
นั้น เมื่อศาลได้รับคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลสั่งคําขอนั้นอย่างคํา
ขออันอาจทําได้แต่ฝ่ายเดียว ถ้าศาลสั่งอนุ ญาตตามคําขอแล้วให้
สืบพยานไปฝ่ายเดียว55[๖๑]

55[๖ ๑ ]
ม า ต ร า ๑ ๐ ๑ ว ร ร ค ส า ม เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
99

มาตรา ๑๐๑/๑56[๖๒] ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินซึ่ง


จําเป็นต้องสืบพยานหลักฐานใดเป็นการเร่งด่วนและไม่สามารถแจ้ง
ให้คู่ความฝ่ายอื่นทราบก่อนได้ เมื่อมีการยื่นคําขอตามมาตรา ๑๐๑
พร้อมกับคําฟ้องหรือคําให้การหรือภายหลังจากนั้น คู่ความฝ่ายที่
ขอจะยื่นคําขอฝ่ายเดียวโดยทําเป็นคําร้องรวมไปด้วย เพื่อให้ศาลมี
คําสั่งโดยไม่ชักช้าก็ได้ และถ้าจําเป็นจะขอให้ศาลมีคําสั่งให้ยึดหรือ
ให้ส่งต่อศาลซึ่งเอกสารหรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานที่ขอสืบ
ไว้ก่อนด้วยก็ได้

คําร้องตามวรรคหนึ่งต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงที่
แสดงว่ามีเหตุฉุกเฉินซึ่งจําเป็นต้องสืบพยานหลักฐานใดโดยเร่งด่วน
และไม่ ส ามารถแจ้งให้คู่ความฝ่ ายอื่ นทราบก่ อนได้ รวมทั้ งความ
เสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการที่มิได้มีการสืบพยานหลักฐานดังกล่าว
ส่วนในกรณีที่จะขอให้ศาลมีคําสั่งให้ยึดหรือให้ส่งต่อศาลซึ่งเอกสาร
หรื อ วั ต ถุ ที่ จ ะใช้ เ ป็ น พยานหลั ก ฐาน คํ า ร้ อ งนั้ น ต้ อ งบรรยายถึ ง
ข้อเท็จจริงที่แสดงถึงความจําเป็นที่จะต้องยึดหรือให้ส่งเอกสารหรือ
วัตถุนั้นว่ามีอยู่อย่างไร ในการนี้ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคําร้องนั้น
เว้นแต่จะเป็นที่พอใจของศาลจากการไต่สวนว่ามีเหตุฉุกเฉินและมี
ความจําเป็นตามคําร้องนั้นจริง แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิคู่ความฝ่ายอื่นที่
จะขอให้ศาลออกหมายเรีย กพยานดังกล่ าวมาศาล เพื่ อถามค้าน
และดํ า เนิ น การตามมาตรา ๑๑๗ ในภายหลั ง หากไม่ อ าจ

56[๖๒] มาตรา ๑๐๑/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
100

ดําเนินการดังกล่าวได้ ศาลต้องใช้ความระมัดระวังในการชั่งน้ําหนัก
พยานหลักฐาน

มาตรา ๑๐๑/๒57[๖๓] ในกรณี ที่ ศ าลมี คํา สั่ ง


อนุ ญ าตตามคํ า ขอให้ ยึ ด หรื อ ให้ ส่ ง เอกสารหรื อ วั ต ถุ ที่ จ ะใช้ เ ป็ น
พยานหลักฐาน ศาลอาจกําหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควร
และจะสั่ ง ด้ ว ยว่ า ให้ ผู้ ข อนํ า เงิ น หรื อ หาประกั น ตามจํ า นวนที่
เห็นสมควรมาวางศาลเพื่อการชําระค่าสินไหมทดแทนสําหรับความ
เสี ย หายที่ อาจเกิ ด ขึ้ น แก่ บุ ค คลใด เนื่ องจากศาลได้ มีคํ าสั่ ง โดยมี
ความเห็นหลงไปว่ามีเหตุจําเป็นโดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอก็
ได้

ให้นําความในมาตรา ๒๖๑ มาตรา ๒๖๒ มาตรา


๒๖๓ มาตรา ๒๖๗ มาตรา ๒๖๘ และมาตรา ๒๖๙ มาใช้บังคับแก่
กรณีตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม และในกรณีที่ทรัพย์ซึ่งศาลสั่งยึดนั้น
เป็นของบุคคลที่สาม ให้บุคคลที่สามมีสิทธิเสมือนเป็นจําเลยในคดี
และเมื่ อ หมดความจํ า เป็ น ที่ จ ะใช้ เ อกสารหรื อ วั ต ถุ นั้ น เป็ น
พยานหลั กฐานต่ อไปแล้ ว เมื่ อศาลเห็ นสมควรหรื อเมื่ อผู้ มีสิ ทธิ จะ
ได้รับคืนร้องขอ ให้ศาลมีคําสั่งคืนเอกสารหรือวัตถุนั้นแก่ผู้ขอ

57[๖๓] มาตรา ๑๐๑/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
101

มาตรา ๑๐๒ ให้ ศ าลที่ พิ จ ารณาคดี เ ป็ น ผู้ สื บ


พยานหลั ก ฐาน โดยจะสื บ ในศาลหรื อ นอกศาล ณ ที่ ใ ด ๆ ก็ ไ ด้
แล้วแต่ศาลจะสั่งตามที่เห็นสมควรตามความจําเป็นแห่งสภาพของ
พยานหลักฐานนั้น

แต่ ถ้าศาลที่ พิ จารณาคดี เห็ นเป็ นการจํ าเป็ น ให้ มี


อํานาจมอบให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลนั้น หรือตั้งให้ศาลอื่น
สืบพยานหลักฐานแทนได้ ให้ผู้พิพากษาที่รับมอบหรือศาลที่ได้รับ
แต่งตั้งนั้นมีอํานาจและหน้าที่เช่นเดียวกับศาลที่พิจารณาคดีรวมทั้ง
อํานาจที่จะมอบให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลนั้นหรือตั้งศาลอื่น
ให้ทําการสืบพยานหลักฐานแทนต่อไปด้วย

ถ้า ศาลที ่พ ิจ ารณาคดีไ ด้แ ต่ง ตั ้ง ให้ศ าลอื ่น


สืบพยานแทน คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแถลงต่อศาลที่พิจารณา
คดีว่า ตนมีความจํานงจะไปฟังการพิจารณาก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้
ศาลที่ได้รับแต่งตั้งแจ้งวันกําหนดสืบพยานหลักฐานให้ผู้ขอทราบ
ล่ว งหน้าอย่างน้อยไม่ต่ํากว่าเจ็ดวัน คู่ความที่ไปฟังการพิจ ารณา
นั ้น ชอบที ่จ ะใช้ส ิท ธิไ ด้เ สมือ นหนึ ่ง ว่า กระบวนพิจ ารณานั ้น ได้
ดําเนินในศาลที่พิจารณาคดี

ให้ ส่ ง สํ า เนาคํ า ฟ้ อ งและคํ า ให้ ก ารพร้ อ มด้ ว ย


เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ อันจําเป็นเพื่อสืบพยานหลักฐานไปยัง
ศาลที่ ไ ด้ รั บ แต่ ง ตั้ ง ดั ง กล่ า วแล้ ว ถ้ า คู่ ค วามฝ่ า ยที่ อ้ า งอิ ง
พยานหลักฐานนั้นมิได้แถลงความจํานงที่จะไปฟังการพิจารณา ก็ให้
แจ้ งไปให้ ศาลที่ ได้ รั บแต่ งตั้ งทราบข้อประเด็ น ที่ จ ะสื บ เมื่อได้ สื บ
102

พยานหลักฐานเสร็จแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่รับแต่งตั้งจะต้อง
ส่งรายงานที่จําเป็นและเอกสารอื่น ๆ ทั้งหมดอันเกี่ยวข้องในการ
สืบพยานหลักฐานไปยังศาลที่พิจารณาคดี

มาตรา ๑๐๓ ภายใต้ บั ง คั บ บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง


ประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการขาดนัดการร้องสอด และการขับไล่
ออกนอกศาล ห้ า มมิ ใ ห้ ศ าลที่ พิ จ ารณาคดี หรื อ ผู้ พิ พ ากษาที่ รั บ
มอบหมาย หรื อ ศาลที่ ไ ด้ รั บ แต่ ง ตั้ ง ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ทํ า การสื บ
พยานหลักฐานใด โดยมิได้ให้โอกาสเต็มที่แก่คู่ความทุกฝ่ายในอันที่
จะมาฟังการพิจารณา และใช้สิทธิเกี่ยวด้วยกระบวนพิจารณาเช่น
ว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ ไม่ว่าพยานหลักฐาน
นั้นคู่ความฝ่ายใดจะเป็นผู้อ้างอิงหรือศาลเป็นผู้สั่งให้สืบ

มาตรา ๑๐๓/๑58[๖๔] ในกรณีที่คู่ความตกลง


กัน และศาลเห็น เป็ น การจํ าเป็ นและสมควร ศาลอาจแต่ งตั้ งเจ้ า
พนักงานศาลหรือเจ้าพนักงานอื่นซึ่งคู่ความเห็นชอบให้ทําการสืบ
พยานหลักฐานส่วนใดส่วนหนึ่งที่จะต้องกระทํานอกศาลแทนได้

58[๖๔] มาตรา ๑๐๓/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
103

ให้เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็น
เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้นําความในมาตรา
๑๐๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๑๐๓/๒59[๖๕] คู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้อง


อาจร้องขอต่อศาลให้ดําเนินการสืบพยานหลักฐานไปตามวิธีการที่
คู่ความตกลงกัน ถ้าศาลเห็นสมควรเพื่อให้การสืบพยานหลักฐาน
เป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว และเที่ยงธรรม ศาลจะอนุญาตตามคํา
ร้องขอนั้นก็ได้ เว้นแต่การสืบพยานหลักฐานนั้นจะเป็นการไม่ชอบ
ด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน

มา ต ร า ๑ ๐ ๓ / ๓ 60[ ๖ ๖ ] เ พื่ อ ใ ห้ ก า ร สื บ
พยานหลักฐานเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมประธาน
ศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกามีอํานาจ
ออกข้ อ กํ า หนดใด ๆ เพิ่ ม เติ ม เกี่ ย วกั บ แนวทางการนํ า สื บ
59[๖๕] มาตรา ๑๐๓/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐

60[๖๖] มาตรา ๑๐๓/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
104

พยานหลักฐานได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในกฎหมาย

ข้ อกํ าหนดของประธานศาลฎี ก าตามวรรคหนึ่ ง


เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

มาตรา ๑๐๔ ให้ ศาลมี อํ านาจเต็ มที่ ในอั น ที่ จ ะ


วินิจฉัยว่ าพยานหลักฐานที่คู่ความนํามาสื บนั้นจะเกี่ยวกับประเด็ น
และเป็นอันเพียงพอ ให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไป
ตามนั้น

ในการวินิจฉัยว่าพยานบอกเล่าตามมาตรา ๙๕/
๑ หรือบันทึกถ้อยคําที่ผู้ให้ถ้อยคํามิได้มาศาลตามมาตรา ๑๒๐/๑
วรรคสามและวรรคสี่ หรือบันทึกถ้อยคําตามมาตรา ๑๒๐/๒ จะมี
น้ําหนักให้เชื่อได้หรือไม่เพียงใดนั้น ศาลจะต้องกระทําด้วยความ
ระมัดระวั งโดยคํานึ งถึ งสภาพ ลั กษณะและแหล่ งที่ มาของพยาน
บอกเล่าหรือบันทึกถ้อยคํานั้นด้วย61[๖๗]

มาตรา ๑๐๕ คู ่ค วามฝ่า ยใดไม่ป ฏิบ ัต ิต าม


บทบัญ ญัต ิแ ห่ง ประมวลกฎหมายนี ้ ว่า ด้ว ยพยานหลัก ฐาน
61[๖๗] มาตรา ๑๐๔ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
105

กระทํ า ให้คู ่ค วามอีก ฝ่า ยหนึ ่ง ต้อ งเสีย ค่า ฤชาธรรมเนีย ม หรือ
ค่าธรรมเนียมเกินกว่าที่ควรเสีย ค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นนั้น ให้
ถือว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอันไม่จําเป็นตามความหมายแห่งมาตรา
๑๖๖ และให้คู่ความฝ่ายที่ก่อให้เกิดขึ้นนั้นเป็นผู้ออกใช้ให้

หมวด ๒

ว่าด้วยการมาศาลของพยานและการซักถามพยาน

มาตรา ๑๐๖62[๖๘] ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดไม่


สามารถนําพยานของตนมาศาลได้ เอง คู่ความฝ่ายนั้นอาจขอต่ อ
ศาลก่อนวันสืบพยานให้ออกหมายเรียกพยานนั้นมาศาลได้ โดยศาล
อาจให้ คู่ ค วามฝ่ า ยนั้ น แถลงถึ ง ความเกี่ ย วพั น ของพยานกั บ
ข้อเท็จจริงในคดีอันจําเป็นที่จะต้องออกหมายเรียกพยานดังกล่าว
ด้วยและต้องส่งหมายเรียกพร้อมสําเนาคําแถลงของผู้ขอให้พยานรู้
ล่วงหน้าอย่างน้อยสามวัน

62[๖๘] มาตรา ๑๐๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
106

หมายเรียกพยานต้องมีข้อความดังนี้

(๑) ชื่อและตําบลที่อยู่ของพยาน ชื่อคู่ความ ศาล


และทนายความฝ่ายผู้ขอ

(๒) สถานที่และวันเวลาซึ่งพยานจะต้องไป

(๓) กํ าหนดโทษที่ จ ะต้ องรั บในกรณี ที่ไม่ ไปตาม


หมายเรียกหรือเบิกความเท็จ

ถ้าศาลเห็นว่าพยานจะไม่สามารถเบิกความได้โดย
มิได้ตระเตรียม ศาลจะจดแจ้งข้อเท็จจริงซึ่งพยานอาจถูกซักถามลง
ไว้ในหมายเรียกด้วยก็ได้

มาตรา ๑๐๖/๑63[๖๙] ห้ามมิให้ออกหมายเรียก


พยานดังต่อไปนี้

(๑) พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท


หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ไม่ว่าในกรณีใด ๆ

(๒) พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา ไม่ว่าใน

63[๖๙] มาตรา ๑๐๖/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
107

กรณีใด ๆ

(๓) ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ เอกสิ ท ธิ์ ห รื อ ความคุ้ ม กั น ตาม


กฎหมาย

ในกรณีตาม (๒) และ (๓) ให้ศาลหรือผู้พิพากษาที่


รับมอบ หรือศาลที่ได้รับแต่งตั้งออกคําบอกกล่าวว่าจะสืบพยานนั้น
ณ สถานที่และวันเวลาใดแทนการออกหมายเรียก โดยในกรณีตาม
(๒) ให้ ส่ ง ไปยั ง พยาน ส่ ว นตาม (๓) ให้ ส่ ง คํ า บอกกล่ า วไปยั ง
สํานักงานศาลยุติธรรมเพื่อดําเนินการตามบทบัญญัติว่าด้วยการนั้น
หรือตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

มาตรา ๑๐๗ ถ้ าศาลเห็ น ว่ า ในการสื บ สวนหา


ความจริ ง จํ า เป็ น ต้ อ งไปสื บ พยาน ณ สถานที่ ซึ่ ง ข้ อ เท็ จ จริ ง อั น
ประสงค์จะให้พยานเบิกความนั้นได้เกิดขึ้น ให้ศาลหรือผู้พิพากษาที่
รั บ มอบ หรื อ ศาลที่ ไ ด้ รั บ แต่ ง ตั้ งเพื่ อ การนั้ น ส่ ง หมายเรี ย กไปยั ง
พยานระบุ สถานที่และวันเวลาที่จะไปสืบพยาน แล้วสื บพยานไป
ตามนั้น
108

มาตรา ๑๐๘64[๗๐] พยานที่ได้รั บหมายเรีย ก


โดยชอบดั ง ที่ บั ญ ญั ติ ไ ว้ ใ นมาตรา ๑๐๖ และมาตรา ๑๐๗ นั้ น
จํ าต้ อ งไป ณ สถานที่ แ ละตามวั น เวลาที่ กําหนดไว้ เว้ น แต่ มีเหตุ
เจ็บป่วยหรือมีข้อแก้ตัวอันจําเป็นอย่างอื่นโดยได้แจ้งเหตุนั้นให้ศาล
ทราบแล้ว และศาลเห็นว่าข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวนั้นฟังได้

มาตรา ๑๐๙ เมื่อพยานคนใดได้ เบิกความแล้ ว


ไม่ว่าพยานนั้นจะได้รับหมายเรียก หรือคู่ความนํามาเองก็ดี พยาน
นั้นย่อมหมดหน้าที่ ๆ จะอยู่ที่ศาลอีกต่อไป เว้นแต่ศาลจะได้สั่งให้
พยานนั้นรอคอยอยู่ตามระยะเวลาที่ศาลจะกําหนดไว้

มาตรา ๑๑๐ ถ้ า พยานคนใดที่ คู่ ค วามได้ บ อก


กล่าวความจํานงจะอ้างอิงคําเบิกความของพยานโดยชอบแล้ว ไม่
ไปศาลในวั น กํ า หนดนั บ สื บ พยานนั้ น ศาลชอบที่ จ ะดํ า เนิ น การ
พิจารณาต่อไป และชี้ขาดตัดสินคดีโดยไม่ต้องสืบพยานเช่นว่านั้นได้
แต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตราต่อไปนี้

64[๗๐] มาตรา ๑๐๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
109

มาตรา ๑๑๑65[๗๑] เมื ่อ ศาลเห็น ว่า คํ า เบิก


ความของพยานที่ไม่มาศาลเป็นข้อสําคัญในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี

(๑) แต่ศาลเห็นว่าข้ออ้างว่าพยานไม่สามารถมา
ศาลนั้นเป็นเพราะเหตุเจ็บป่วยของพยาน หรือพยานมีข้อแก้ตัวอัน
จําเป็นอย่างอื่นที่ฟังได้ ศาลจะเลื่อนการนั่งพิจารณาคดีไปเพื่อให้
พยานมาศาลหรือเพื่อสืบพยานนั้น ณ สถานที่และเวลาอันควรแก่
พฤติการณ์ก็ได้ หรือ

(๒) ศาลเห็น ว่ าพยานได้ รั บ หมายเรี ย กโดยชอบ


แล้ ว จงใจไม่ ไ ปยั ง ศาลหรื อ ไม่ ไ ป ณ สถานที่ แ ละตามวั น เวลาที่
กําหนดไว้ หรือได้รับคําสั่งศาลให้รอคอยอยู่แล้วจงใจหลบเสีย ศาล
จะเลื่อนการนั่งพิจารณาคดีไปและออกหมายจับและเอาตัวพยาน
กักขังไว้จนกว่าพยานจะได้เบิกความตามวันที่ศาลเห็นสมควรก็ได้
ทั้งนี้ ไม่ เป็น การลบล้างโทษตามที่บั ญญั ติไว้ ในประมวลกฎหมาย
อาญา

มาตรา ๑๑๒66[๗๒] ก่อนเบิกความพยานทุกคน


65[๗๑] มาตรา ๑๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐

66[๗๒] มาตรา ๑๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
110

ต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน
หรือกล่าวคําปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน เว้น
แต่

(๑) พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรั ชทายาท


หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์

(๒) บุคคลที่มีอายุต่ํากว่าสิบห้าปี หรือบุคคลที่ศาล


เห็นว่าหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ

(๓) พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา

(๔) บุคคลซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้อง
ให้สาบานหรือกล่าวคําปฏิญาณ

มาตรา ๑๑๓ พยานทุ ก คนต้ อ งเบิ ก ความด้ ว ย


วาจาและห้ามไม่ให้พยานอ่านข้อความที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับ
อนุญาตจากศาล หรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ

มาตรา ๑๑๔ ห้ามไม่ให้พยานเบิกความต่อหน้า


พยานอื่นที่จะเบิกความภายหลังและศาลมีอํานาจที่จะสั่งพยานอื่น
ที่อยู่ในห้องพิจารณาให้ออกไปเสียได้
111

แต่ถ้าพยานคนใดเบิกความโดยได้ฟังคําพยานคน
ก่อนเบิกความต่อหน้าตนมาแล้ว และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่าศาล
ไม่ควรฟังคําเบิกความเช่นว่านี้ เพราะเป็นการผิดระเบียบถ้าศาล
เห็นว่าคําเบิกความเช่นว่านี้เป็นที่เชื่อฟังได้ หรือมิได้เปลี่ยนแปลงไป
โดยได้ฟังคําเบิกความของพยานคนก่อน หรือไม่สามารถทําให้คํา
วิ นิ จ ฉั ย ชี้ ขาดของศาลเปลี่ ย นแปลงไปได้ ศาลจะไม่ ฟังว่ า คํ าเบิ ก
ความเช่นว่านี้เป็นผิดระเบียบก็ได้

มาตรา ๑๑๕67[๗๓] พระมหากษัตริย์ พระราชินี


พระรั ช ทายาท ผู้ สํ าเร็ จ ราชการแทนพระองค์ ห รื อพระภิ กษุ และ
สามเณรในพุทธศาสนา แม้มาเป็นพยานจะไม่ยอมเบิกความหรือ
ตอบคําถามใด ๆ ก็ได้สําหรับบุคคลที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน
ตามกฎหมายจะไม่ ย อมเบิ กความหรื อ ตอบคํ า ถามใด ๆ ภายใต้
เงื่อนไขที่กําหนดไว้ตามกฎหมายนั้น ๆ ก็ได้

มาตรา ๑๑๖ ในเบื้ อ งต้ นให้ พยานตอบคํ าถาม


เรื่อง นาม อายุ ตําแหน่ง หรืออาชีพภูมิลําเนาและความเกี่ยวพันกับ
คู่ความ

67[๗๓] มาตรา ๑๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
112

แล้วศาลอาจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

(๑) ศาลเป็ น ผู้ ถ ามพยานเอง กล่ า วคื อ แจ้ ง ให้


พยานทราบประเด็นและข้อเท็จจริง ซึ่งต้องการสืบแล้วให้พยานเบิก
ความในข้อนั้น ๆ โดยวิธีเล่าเรื่องตามลําพังหรือโดยวิธีตอบคําถาม
ของศาล หรือ

(๒) ให้ คู่ ค วามซั ก ถาม และถามค้ า นพยานไป


ทีเดียว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตราต่อไปนี้

มาตรา ๑๑๗68[๗๔] คู่ ค วามฝ่ า ยที่ อ้ า งพยาน


ชอบที่จะตั้งข้อซักถามพยานได้ในทันใดที่พยานได้สาบานตนและ
แสดงตนตามมาตรา ๑๑๒ และ ๑๑๖ แล้ ว หรื อ ถ้ า ศาลเป็ น ผู้
ซักถามพยานก่อน ก็ให้คู่ความซักถามได้ต่อเมื่อศาลได้ซักถามเสร็จ
แล้ว

เมื่ อคู่ ความฝ่ ายที่ ต้องอ้ างพยานได้ ซักถามพยาน


เสร็จแล้ว คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบที่จะถามค้านพยานนั้นได้

68[๗๔] มาตรา ๑๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ


แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม ประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความแพ่ ง (ฉบั บ ที่ ๕) พ.ศ.
๒๔๙๙
113

เมื่อได้ถามค้านพยานเสร็จแล้ว คู่ความฝ่ายที่อ้าง
พยานชอบที่จะถามติงได้

เมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้ว ห้ามมิให้คู่ความฝ่าย
ใดซักถามพยานอีก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล ถ้าคู่ความฝ่าย
ใดได้รับอนุญาตให้ถามพยานได้ดังกล่าวนี้ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งย่อม
ถามค้านพยานได้อีกในข้อที่เกี่ยวกับคําถามนั้น

คู่ความที่ระบุพยานคนใดไว้ จะไม่ติดใจสืบพยาน
คนนั้นก็ได้ ในเมื่อพยานคนนั้นยังมิได้เบิกความตามข้อถามของศาล
หรือของคู่ความฝ่ายที่อ้าง แต่ถ้าพยานได้เริ่มเบิกความแล้วพยาน
อาจถูกถามค้านหรือถามติงได้

ถ้าพยานเบิ กความเป็ น ปรปักษ์ แก่ คู่ความฝ่ ายที่


อ้างตนมา คู่ความฝ่ายนั้นอาจขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถามพยาน
นั้นเสมือนหนึ่งพยานนั้นเป็นพยานซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา

การซักถามพยานก็ ดี การซักค้านพยานก็ ดี การ


ถามติงพยานก็ดี ถ้าคู่ความคนใดได้ตั้งทนายความไว้หลายคน ให้
ทนายความคนเดียวเป็นผู้ถาม เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรเป็นอย่าง
อื่น

มาตรา ๑๑๘ ในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะ


ซักถามพยานก็ดี หรือถามติงพยานก็ดี ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้
114

คําถามนํา เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือได้รับอนุญาตจาก
ศาล

ในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะถามติงพยาน
ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้คําถามอื่นใดนอกจากคําถามที่เกี่ยวกับคํา
พยานเบิกความตอบคําถามค้าน

ไม่ ว่ าในกรณี ใด ๆ ห้ ามไม่ ให้ คู่ ความฝ่ ายใดฝ่ า ย


หนึ่งถามพยานด้วย

(๑) คําถามอันไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี

(๒) คําถามที่อาจทําให้พยาน หรือคู่ความอีกฝ่าย


หนึ่งหรือบุคคลภายนอกต้องรับโทษทางอาญา หรือคําถามที่เป็น
หมิ่นประมาทพยาน เว้นแต่คําถามเช่นว่านั้นเป็นข้อสาระสําคัญใน
อันที่จะชี้ขาดข้อพิพาท

ถ้ า คู่ ค วามฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง ถามพยานฝ่ า ฝื น ต่ อ


บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความอีกฝ่าย
หนึ่ ง ร้ อ งคั ดค้ าน ศาลมี อํา นาจที่ จ ะชี้ ข าดว่ าควรให้ ใช้ คํา ถามนั้ น
หรือไม่ ในกรณีเช่นนี้ ถ้าคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องคัดค้านคําชี้ขาดของ
ศาล ก่ อ นที่ ศ าลจะดํ า เนิ น คดี ต่ อ ไป ให้ ศ าลจดไว้ ใ นรายงานซึ่ ง
คําถามและข้อคัดค้าน ส่ วนเหตุที่คู่ความคัดค้านยกขึ้น อ้างนั้นให้
ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงาน หรือกําหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่น
คําแถลงเป็นหนังสือเพื่อรวมไว้ในสํานวน
115

มาตรา ๑๑๙ ไม่ว่าเวลาใด ๆ ในระหว่างที่พยาน


เบิ ก ความ หรื อ ภายหลั ง ที่ พ ยานได้ เ บิ ก ความแล้ ว แต่ ก่ อ นมี คํ า
พิพากษา ให้ศาลมี อํานาจที่ จะถามพยานด้วยคํ าถามใด ๆ ตามที่
เห็นว่าจําเป็น เพื่อให้คําเบิกความของพยานบริบูรณ์ หรือชัดเจน
ยิ่ ง ขึ้ น หรื อ เพื่ อ สอบสวนถึ ง พฤติ ก ารณ์ ที่ ทํ า ให้ พ ยานเบิ ก ความ
เช่นนั้น

ถ้าพยานสองคนหรือกว่านั้นเบิกความขัดกัน ใน
ข้อสําคัญแห่งประเด็น เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่งมีคําขอ ให้ศาลมีอํานาจเรียกพยานเหล่านั้นมาสอบถาม
ปากคําพร้อมกันได้

มาตรา ๑๒๐ ถ้ า คู่ ค วามฝ่ า ยใดอ้ า งว่ า คํ า เบิ ก


ความของพยานคนใดที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้าง หรือที่ศาลเรียกมา
ไม่ควรเชื่อฟัง โดยเหตุผลซึ่งศาลเห็นว่ามีมูล ศาลอาจยอมให้คู่ความ
ฝ่ายนั้นนําพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนได้แล้วแต่
จะเห็นควร
116

มาตรา ๑๒๐/๑69[๗๕] เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่าย


หนึ่งมีคําร้องและคู่ความอีกฝ่ายไม่คัดค้าน และศาลเห็นสมควรศาล
อาจอนุญาตให้คู่ความฝ่ายที่มีคําร้องเสนอบันทึกถ้อยคําทั้งหมดหรือ
แต่บางส่วนของผู้ที่ตนประสงค์จะอ้างเป็นพยานยืนยันข้อเท็จจริง
หรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคําต่อศาลแทนการซักถามผู้ให้ถ้อยคํา
เป็นพยานต่อหน้าศาลได้

คู่ความที่ประสงค์จะเสนอบันทึกถ้อยคําแทนการ
ซักถามพยานดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง จะต้องยื่นคําร้องแสดงความ
จํานงพร้อมเหตุผลต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยาน
ในกรณี ที่ ไ ม่ มี ก ารชี้ ส องสถาน และให้ ศ าลพิ จ ารณากํ า หนด
ระยะเวลาที่คู่ความจะต้องยื่นบันทึกถ้อยคําดังกล่าวต่อศาลและส่ง
สําเนาบันทึกถ้อยคํานั้นให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อย
กว่าเจ็ดวันก่อนวันสืบพยานคนนั้น เมื่อมีการยื่นบันทึกถ้อยคําต่อ
ศาลแล้วคู่ความที่ยื่นไม่อาจขอถอนบันทึกถ้อยคํานั้น บันทึกถ้อยคํา
นั้นเมื่อพยานเบิกความรับรองแล้วให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคําเบิก
ความตอบคําซักถาม

ให้ผู้ให้ถ้อยคํามาศาลเพื่อเบิกความตอบคําซักถาม
เพิ่มเติม ตอบคําถามค้าน และคําถามติงของคู่ความหากผู้ให้ถ้อยคํา
ไม่ ม าศาล ให้ ศ าลปฏิ เ สธที่ จ ะรั บ ฟั ง บั น ทึ ก ถ้ อ ยคํ า ของผู้ นั้ น เป็ น
พยานหลั กฐานในคดี แต่ ถ้าศาลเห็น ว่าเป็ นกรณี จําเป็ นหรือมีเหตุ

69[๗๕] มาตรา ๑๒๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
117

สุดวิสัยที่ผู้ให้ถ้อยคําไม่สามารถมาศาลได้ และเพื่อประโยชน์แห่ง
ความยุติธรรม จะรับฟังบันทึกถ้อยคําที่ผู้ให้ถ้อยคํามิได้มาศาลนั้น
ประกอบพยานหลักฐานอื่นก็ได้

ในกรณีที่คู่ความตกลงกันให้ผู้ให้ถ้อยคําไม่ต้องมา
ศาล หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือไม่ติดใจถามค้าน ให้ศาล
รับฟังบันทึกถ้อยคําดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้

มาตรา ๑๒๐/๒70[๗๖] เมื่ อ คู่ ค วามมี คํ า ร้ อ ง


ร่วมกัน และศาลเห็ นสมควร ศาลอาจอนุญาตให้เสนอบัน ทึกถ้อย
คํายืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคําซึ่งมีถิ่นที่อยู่ใน
ต่างประเทศต่อศาลแทนการนําพยานบุคคลมาเบิกความต่อหน้ า
ศาลได้ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิผู้ให้ถ้อยคําที่จะมาศาลเพื่อให้การเพิ่มเติม

สําหรับลายมือชื่อของผู้ให้ถ้อยคําให้นํามาตรา ๔๗
วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

70[๗๖] มาตรา ๑๒๐/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
118

มาตรา ๑๒๐/๓71[๗๗] บั น ทึ ก ถ้ อ ยคํ า ตาม


มาตรา ๑๒๐/๑ และมาตรา ๑๒๐/๒ ให้มีรายการดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อศาลและเลขคดี

(๒) วัน เดือน ปี และสถานที่ที่ทําบันทึกถ้อยคํา

(๓) ชื่อและสกุลของคู่ความ

(๔) ชื่ อ สกุ ล อายุ ที่ อ ยู่ และอาชี พ ของผู้ ใ ห้


ถ้อยคํา และความเกี่ยวพันกับคู่ความ

(๕) รายละเอี ยดแห่ งข้ อเท็ จจริง หรื อความเห็ น


ของผู้ให้ถ้อยคํา

(๖) ลายมือชื่อของผู้ให้ถ้อยคําและคู่ความฝ่ายผู้
เสนอบันทึกถ้อยคํา

ห้ามมิให้แก้ไขเพิ่มเติมบันทึกถ้อยคําที่ได้ยื่นไว้แล้ว
ต่อศาล เว้นแต่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย

71[๗๗] มาตรา ๑๒๐/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
119

มาตรา ๑๒๐/๔72[๗๘] คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง


อาจขอให้ศาลทําการสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการ
ประชุ ม ทางจอภาพได้ โดยคู่ ค วามฝ่ า ยที่ อ้ า งพยานต้ อ งเป็ น
ผู้รับผิ ดชอบในเรื่ องค่ าใช้จ่ าย หากศาลเห็ นว่าเพื่อประโยชน์แห่ ง
ความยุติธรรมศาลจะอนุญาตตามคําร้องนั้นก็ได้ โดยให้ศาลดําเนิน
กระบวนพิ จ ารณาไปตามข้ อ กํ า หนดแนวทางการสื บ พยานของ
ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา
ที่ออกตามมาตรา ๑๐๓/๓ รวมทั้ งระบุ วิ ธีการสื บพยาน สถานที่
และสักขีพยานในการสืบพยานตามข้อกําหนดของประธานศาลฎีกา
ดังกล่าว และไม่ ถือว่ าค่ าใช้ จ่ ายนั้ นเป็ นค่ าฤชาธรรมเนี ยมในการ
ดําเนินคดี

การเบิ กความตามวรรคหนึ่ งให้ ถือ ว่ าพยานเบิ ก


ความในห้องพิจารณาของศาล

มาตรา ๑๒๑ ในการนั่ ง พิ จ ารณาทุ ก ครั้ ง เมื่ อ


พยานคนใดเบิกความแล้ว ให้ศาลอ่านคําเบิกความนั้นให้พยานฟัง
และให้พยานลงลายมือชื่อไว้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๙ และ ๕๐

ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีที่มีการใช้

72[๗๘] มาตรา ๑๒๐/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
120

บัน ทึกถ้อยคํา แทนการเบิกความของพยานตามมาตรา ๑๒๐/๑


หรือมาตรา ๑๒๐/๒ หรือกรณีที่มีการสืบ พยานโดยใช้ระบบการ
ประชุมทางจอภาพตามมาตรา ๑๒๐/๔ หรือกรณีที่มีการบัน ทึก
การเบิกความของพยานโดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุซึ่งสามารถ
ถ่ายทอดออกเป็นภาพหรือเสียงหรือโดยใช้วิธีการอื่นใดซึ่งคู่ความ
และพยานสามารถตรวจสอบถึงความถูกต้องของบันทึกการเบิก
ความนั ้น ได้ แต่ถ้า คู ่ค วามฝ่า ยใดฝ่า ยหนึ ่ง หรือ พยานขอตรวจดู
บันทึกการเบิกความของพยานนั้น ให้ศาลจัดให้มีการตรวจดูบันทึก
การเบิกความนั้น73[๗๙]

หมวด ๓

การนําพยานเอกสารมาสืบ

มาตรา ๑๒๒ เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสาร


ฉบับใดเป็นพยานหลักฐานและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านเอกสาร
นั้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒๕ ถ้าต้นฉบับเอกสารอยู่ในความ
73[๗๙] มาตรา ๑๒๑ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
121

ครอบครองของคู่ ค วามฝ่ า ยที่ อ้ า งเอกสาร ให้ คู่ ค วามฝ่ า ยนั้ น นํ า


ต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยาน74[๘๐]

ไม่ ว่ า เวลาใด ๆ ก่ อ นมี คํ า พิ พ ากษา ถ้ า ศาลได้


กําหนดให้คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารส่งต้นฉบับต่อศาล โดยที่ศาล
เห็นสมควร หรือโดยที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคําขอ ให้คู่ความฝ่าย
นั้นส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาล เพื่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะ
ตรวจดูได้ตามเงื่อนไขซึ่งจะได้กําหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการ
นั้น หรือตามที่ศาลจะได้กําหนด แต่

(๑) ถ้าไม่สามารถจะนํามาหรือยื่นต้นฉบับเอกสาร
ดังกล่าวข้างต้น คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อ
ศาลในวันหรือก่อนวันที่กําหนดให้นํามาหรือให้ยื่นต้นฉบับเอกสาร
นั้น แถลงให้ทราบถึงความไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามได้พร้อมทั้ง
เหตุผ ล ถ้า ศาลเห็น ว่า ผู ้ยื่น คํ า ขอไม่ส ามารถที่ จ ะนํ ามาหรื อยื่ น
ต้นฉบับเอกสารได้ ศาลจะมีคําสั่งอนุญาตให้นําต้นฉบับเอกสารมา
ในวั น ต่อ ไป หรือ จะสั ่ง เป็น อย่า งอื ่น ตามที ่เ ห็น สมควรเพื ่อ
ประโยชน์แ ห่ง ความยุติธ รรมก็ไ ด้ ในกรณีที ่ผู ้ยื่น คํ า ขอมี ค วาม
ประสงค์ เพี ย งให้ ศาลขยายระยะเวลาที่ ต นจะต้ องนํ ามาหรื อ ยื่ น
ต้นฉบับเอกสารนั้น คําขอนั้นจะทําเป็นคําขอฝ่ายเดียวก็ได้

74[๘๐] มาตรา ๑๒๒ วรรคหนึ่ ง แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
122

(๒) ถ้ าการที่ จะนํ ามาหรื อยื่ นต้ นฉบั บเอกสารต่ อ


ศาลนั้น จะเป็นเหตุให้เกิดการสูญหาย หรือบุบสลายหรือมีข้อขัดข้อง
โดยอุ ป สรรคสํ าคั ญหรื อ ความลํ า บากยากยิ่ ง ใด ๆ คู่ ความฝ่ า ยที่
อ้างอิงเอกสารอาจยื่นคําขอฝ่ายเดียวโดยทําเป็นคําร้องต่อศาล ใน
วัน หรื อก่อนวั น สืบ พยานแถลงให้ทราบถึงเหตุ เสีย หาย อุ ป สรรค
หรือความลําบากเช่นว่านั้น ถ้าศาลเห็นว่าต้นฉบับเอกสารนั้นไม่อาจ
นํามาหรือยื่นต่อศาลได้ ศาลจะมีคําสั่งให้ยื่นต้นฉบับเอกสารนั้น ณ
สถานที่ ใดต่ อเจ้ าพนั กงานคนใด และภายในเงื่ อนไขใด ๆ ตามที่
เห็นสมควรก็ได้ หรือจะมีคําสั่งให้คัดสําเนาที่รับรองว่าถูกต้องทั้ ง
ฉบับหรือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวแก่เรื่องมายื่นแทนต้นฉบับก็ได้

มาตรา ๑๒๓75[๘๑] ถ้ า ต้ น ฉบั บ เอกสารซึ่ ง


คู่ ค วามฝ่ า ยหนึ่ ง อ้ า งอิ ง เป็ น พยานหลั ก ฐานนั้ น อยู่ ใ นความ
ครอบครองของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คู่ความฝ่ายที่อ้างจะยื่นคําขอ
โดยทํ าเป็น คํ าร้ องต่ อศาลขอให้ สั่ งคู่ความอี กฝ่ ายหนึ่ งส่ งต้ น ฉบั บ
เอกสารแทนการที่ตนจะต้องส่งสําเนาเอกสารนั้นก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่า
เอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานสําคัญ และคําร้องนั้นฟังได้ ให้ศาลมี
คําสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นต้นฉบับเอกสารต่อศาลภายในเวลา

75[๘๑] มาตรา ๑๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ


แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม ประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความแพ่ ง (ฉบั บ ที่ ๕) พ.ศ.
๒๔๙๙
123

อันสมควรแล้วแต่ศาลจะกําหนด ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีต้นฉบับ
เอกสารอยู่ ในครอบครองไม่ ป ฏิ บั ติตามคํ าสั่ งเช่ น ว่ านั้ น ให้ ถือว่ า
ข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่ผู้ขอจะต้องนําสืบโดยเอกสารนั้น คู่ความอีก
ฝ่ายหนึ่งได้ยอมรับแล้ว

ถ้ า ต้ น ฉบั บ เอกสารอยู่ ใ นความครอบครองของ


บุ ค คลภายนอก หรื อ ในครอบครองของทางราชการ หรื อ ของ
เจ้าหน้าที่ซึ่งคู่ความที่อ้างไม่อาจร้องขอโดยตรงให้ส่งเอกสารนั้นมา
ได้ ให้ นํ าบทบั ญ ญั ติใ นวรรคก่ อ นว่ า ด้ ว ยการที่ คู่ ค วามฝ่ า ยที่ อ้ า ง
เอกสารยื่นคําขอ และการที่ศาลมีคําสั่งมาใช้บังคับโดยอนุโ ลม แต่
ทั ้ง นี ้ฝ ่า ยที ่อ ้า งต้อ งส่ง คํ า สั ่ง ศาลแก่ผู ้ค รอบครองเอกสารนั ้น
ล่ว งหน้า อย่างน้อ ยเจ็ด วัน ถ้าไม่ได้เอกสารนั้นมาสืบตามกําหนด
เมื่ อ ศาลเห็ น สมควร ก็ ใ ห้ ศ าลสื บ พยานต่ อ ไปตามที่ บั ญ ญั ติไ ว้ ใ น
มาตรา ๙๓ (๒)

มาตรา ๑๒๔ ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารไม่ยอม


นํ า มาหรื อ ยื่ น ต้ น ฉบั บ เอกสาร หรื อ ถ้ า คู่ ค วามฝ่ า ยนั้ น ได้ ทํ า ให้
เสียหาย ทําลาย ปิดบัง หรือทําด้วยประการอื่นใด ให้เอกสารนั้นไร้
ประโยชน์โดยมุ่งหมายที่จะกีดกันไม่ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิง
เอกสารนั้น เป็น พยานหลั กฐาน ให้ ถือว่ าข้อเท็จ จริงแห่งข้ ออ้ างที่
คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องนําสืบโดยเอกสารนั้น คู่ความฝ่ ายที่ไม่
นํามาหรือยื่นเอกสารดังกล่าวข้างต้นนั้นได้ยอมรับแล้ว
124

มาตรา ๑๒๕76[๘๒] คู่ ความฝ่ ายที่ ถูก อี กฝ่ า ย


หนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนอาจคัดค้านการนํา
เอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้ง
ฉบับหรือบางส่วน หรือสําเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ โดยคัดค้าน
ต่อศาลก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จ

ถ้ า คู่ ค วามซึ่ ง ประสงค์ จ ะคั ด ค้ า นมี เ หตุ ผ ลอั น


สมควรที่ ไ ม่ อ าจทราบได้ ก่ อ นการสื บ พยานเอกสารนั้ น เสร็ จ ว่ า
ต้นฉบับเอกสารนั้นไม่มี หรือเอกสารนั้นปลอม หรือสําเนาไม่ถูกต้อง
คู่ความนั้นอาจยื่นคําร้องขออนุญาตคัดค้านการอ้างเอกสารมาสืบ
ดังกล่าวข้างต้นต่อศาล ไม่ว่าเวลาใดก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็น
ว่าคู่ความนั้นไม่อาจยกข้อคัดค้านได้ก่อนนั้น และคําขอนั้นมีเหตุผล
ฟังได้ ก็ให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตตามคําขอ

ถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านไม่คัดค้านการอ้าง
เอกสารเสียก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จ หรือศาลไม่อนุญาต
ให้คัดค้านภายหลังนั้ น ห้ ามมิให้ คู่ความนั้นคั ดค้านการมี อยู่ และ
ความแท้จริงของเอกสารนั้น หรือความถูกต้องแห่งสําเนาเอกสาร
นั้น แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดอํานาจของศาลในอัน ที่จะไต่สวนและชี้ ขาดใน
76[๘๒]
มาตรา ๑๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ.
๒๕๓๘
125

เรื่องการมีอยู่ ความแท้จริง หรือความถูกต้องเช่นว่านั้น ในเมื่อศาล


เห็นสมควร และไม่ตัดสิทธิของคู่ความนั้นที่จะอ้างว่าสัญญาหรือหนี้
ที่ ร ะบุ ไ ว้ ใ นเอกสารนั้ น ไม่ ส มบู ร ณ์ ห รื อ คู่ ค วามอี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง
ตีความหมายผิด

มาตรา ๑๒๖ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา


ต่ อ ไปนี้ ถ้ า คู่ ค วามที่ ถู ก อี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง อ้ า งอิ ง เอกสารมาเป็ น
พยานหลักฐานยันแก่ตน ปฏิเสธความแท้จริงของเอกสารนั้น หรือ
ความถู กต้ อ งแห่ ง สํ าเนาเอกสารนั้ น และคู่ ความฝ่ า ยที่ อ้า งยั งคง
ยืนยันความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสําเนาของเอกสาร ถ้าศาล
เห็ น สมควร ให้ ศ าลชี้ ขาดข้ อ โต้ เถี ย งนั้ น ได้ ทั น ที ใ นเมื่ อเห็ น ว่ า ไม่
จําเป็นต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป หรือมิฉะนั้นให้ชี้ขาดในเมื่อได้
สืบพยานตามวิธีต่อไปนี้ทั้งหมดหรือโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง คือ

(๑) ตรวจสอบบรรดาเอกสารที่มิได้ถูกคัดค้านแล้ว
จดลงไว้ซึ่งการมีอยู่หรือข้อความแห่งเอกสารที่ถูกคัดค้าน

(๒) ซักถามพยานที่ทราบการมีอยู่หรือข้อความ
แห่ง เอกสารที ่ถ ูก คัด ค้า น หรือ พยานผู ้ที ่ส ามารถเบิ ก ความใน
ข้อความแท้จริงแห่งเอกสาร หรือความถูกต้องแห่งสําเนา

(๓) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเอกสารที่ถูกคัดค้าน
นั้น
126

ในระหว่ า งที่ ยั ง มิ ไ ด้ ชี้ ข าดตั ด สิ น คดี ให้ ศ าลยึ ด


เอกสารที่สงสัยว่าปลอมหรือไม่ถูกต้องไว้ แต่ความข้อนี้ไม่บังคับถึง
เอกสารราชการซึ่งทางราชการเรียกคืนไป

มาตรา ๑๒๗ เอกสารมหาชนซึ่ ง พนั ก งาน


เจ้ าหน้าที่ ได้ทําขึ้ น หรื อรั บรอง หรื อสํ าเนาอัน รั บ รองถู กต้องแห่ ง
เอกสารนั้ น และเอกสารเอกชนที่ มีคําพิ พากษาแสดงว่ าเป็ น ของ
แท้จริงและถูกต้องนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและ
ถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายัน ต้อง
นําสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร

มาตรา ๑๒๗ ทวิ77[๘๓] ต้นฉบับพยานเอกสาร


ห รื อ พ ย า น วั ต ถุ อั น สํ า คั ญ ที่ คู่ ค ว า ม ไ ด้ ยื่ น ต่ อ ศ า ล ห รื อ ที่
บุคคลภายนอกได้ยื่นต่อศาล หากผู้ที่ยื่นต้องใช้เป็นประจําหรือตาม
ความจําเป็นหรือมีความสําคัญในการเก็บรักษา ศาลจะอนุญาตให้ผู้
ที่ยื่ นรั บ คืนไป โดยให้ คู่ความตรวจดู และให้ผู้ ที่ยื่น ส่งสํ าเนาหรื อ
ภาพถ่ายไว้แทน หรือจะมีคําสั่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรก็ได้

77[๘๓]
มาตรา ๑๒๗ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
127

หมวด ๔

การตรวจและการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญโดยศาล

มาตรา ๑๒๘78[๘๔] ถ้าพยานหลักฐานที่ศาลจะ


ทําการตรวจนั้นเป็นบุคคลหรือสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจนํามาศาลได้
ให้คู่ความฝ่ายที่ได้รับอนุญาตให้นําสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นนํา
บุคคลหรื อทรั พย์ นั้ น มาในวั นสื บ พยาน หรื อวั น อื่ นใดที่ ศาลจะได้
กําหนดให้นํามา

ถ้าการตรวจไม่สามารถกระทําได้ในศาล ให้ศาล
ทําการตรวจ ณ สถานที่ เวลา และภายในเงื่อนไข ตามที่ ศาลจะ
เห็นสมควร แล้วแต่สภาพแห่งการตรวจนั้น ๆ

78[๘๔] มาตรา ๑๒๘ วรรคหนึ่ ง แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
128

มาตรา ๑๒๘/๑79[๘๕] ในกรณีที่จําเป็นต้องใช้


พยานหลั ก ฐานทางวิ ท ยาศาสตร์ เ พื่ อ พิ สู จ น์ ข้ อ เท็ จ จริ ง ใดที่ เ ป็ น
ประเด็นสําคัญแห่งคดี เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลมีอํานาจสั่งให้ทําการตรวจพิสู จน์บุ คคล วัตถุ
หรือเอกสารใด ๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้

ในกรณี ที่ พ ยานหลั ก ฐานทางวิ ท ยาศาสตร์ จ ะ


สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ทําให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้
โดยไม่ต้องสื บพยานหลักฐานอื่นอีก เมื่ อศาลเห็นสมควรหรือเมื่ อ
คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลอาจสั่งให้ทําการตรวจพิสูจน์ตาม
วรรคหนึ่งโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันสืบพยานตามปกติก็ได้

ในกรณีที่การตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่งหรือวรรค
สองจําเป็นต้องเก็บตัวอย่าง เลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน
ปัสสาวะ อุจจาระ น้ําลายหรือสารคัดหลั่งอื่น สารพันธุกรรม หรือ
ส่ว นประกอบอื่ นของร่างกาย หรื อสิ่ งที่ อยู่ ในร่างกายจากคู่ ความ
หรือบุคคลใด ศาลอาจให้คู่ความหรือบุคคลใดรับการตรวจพิสูจน์
จากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นได้ แต่ต้องกระทําเพียงเท่าที่จําเป็น
และสมควร ทั้ ง นี้ ถื อ เป็ น สิ ท ธิ ข องคู่ ค วามหรื อ บุ ค คลนั้ น ที่ จ ะ
ยินยอมหรือไม่ก็ได้

ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดไม่ยินยอมหรือไม่ให้ความ

79[๘๕] มาตรา ๑๒๘/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
129

ร่วมมือต่อการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือไม่ให้
ความยินยอมหรือกระทําการขัดขวางมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความ
ยิ น ยอมต่ อการตรวจเก็ บ ตั ว อย่ า งส่ ว นประกอบของร่ างกายตาม
วรรคสาม ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่คู่ความ
ฝ่ายตรงข้ามกล่าวอ้าง

ค่ า ใช้ จ่ า ยในการตรวจพิ สู จ น์ ต ามมาตรานี้ ให้


คู่ความฝ่ายที่ร้องขอให้ตรวจพิสูจน์เป็นผู้รับผิดชอบโดยให้ถือว่าเป็น
ส่ ว นหนึ่ ง ของค่ า ฤชาธรรมเนี ย ม แต่ ถ้ า ผู้ ร้ อ งขอไม่ ส ามารถเสี ย
ค่าใช้จ่ายได้หรือเป็นกรณีที่ศาลเป็นผู้สั่งให้ตรวจพิสูจน์ ให้ศาลสั่ง
จ่ายตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกําหนด ส่วน
ความรับผิดในค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรา ๑๕๘ หรือ
มาตรา ๑๖๑

มาตรา ๑๒๙ ในการที่ ศาลจะมีคําสั่ งให้แต่งตั้ ง


ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวมาในมาตรา ๙๙ โดยที่ศาลเห็นสมควรหรือโดย
ที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอนั้น

(๑) การแต่ ง ตั้ ง ผู้ เ ชี่ ย วชาญเช่ น ว่ า นั้ น ให้ อ ยู่ ใ น


ดุลพินิจของศาล แต่ศาลจะเรียกคู่ความมาให้ตกลงกันกําหนดตัว
ผู้ เชี่ ย วชาญที่ จ ะแต่ งตั้ งนั้ น ก็ ได้ แต่ ศาลจะบั งคั บ บุ คคลใดให้ เป็ น
ผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ นอกจากบุคคลนั้นได้ยินยอมลงชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ไว้ในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญของศาลแล้ว
130

(๒) ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งอาจถูกคัดค้านได้และ
ต้องสาบานหรือปฏิญาณตน ทั้งมีสิทธิที่จะได้รับค่าธรรมเนียมและ
รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้ออกไปตามที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วย
การนั้น

มาตรา ๑๓๐ ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งอาจแสดง


ความเห็นด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะต้องการ ถ้า
ศาลยังไม่เป็นที่พอใจในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ทําเป็นหนังสือ
นั้น หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดเรียกร้องโดยทําเป็นคําร้อง ให้ศาลเรียก
ให้ผู้เชี่ยวชาญทําความเห็นเพิ่มเติมเป็นหนังสือ หรือเรียกให้มาศาล
เพื่ออธิบายด้วยวาจา หรือให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญคนอื่นอีก

ถ้าผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้งจะต้องแสดงความเห็นด้วย
วาจาหรื อ ต้ อ งมาศาลเพื่ อ อธิ บ ายด้ ว ยวาจา ให้ นํ า บทบั ญ ญั ติ ใ น
ลักษณะนี้ว่าด้วยพยานบุคคลมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ลักษณะ ๖

คําพิพากษาและคําสั่ง
131

หมวด ๑

หลักทั่วไปว่าด้วยการชี้ขาดตัดสินคดี

มาตรา ๑๓๑ คดี ที่ ยื่ น ฟ้ อ งต่ อ ศาลนั้ น ให้ ศ าล


ปฏิบัติดังนี้

(๑) ในเรื่ อ งคํ า ขอซึ่ ง คู่ ค วามยื่ น ในระหว่ า งการ


พิจารณาคดีนั้ น โดยทําเป็นคํ าร้ องหรือขอด้ว ยวาจาก็ดี ให้ศาลมี
คําสั่งอนุญาตหรือยกเสียซึ่งคําขอเช่นว่านั้น โดยทําเป็นหนังสือหรือ
ด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าศาลมีคําสั่งด้วยวาจาให้ศาลจดคําสั่งนั้นไว้ใน
รายงานพิสดาร

(๒) ในเรื่องประเด็นแห่งคดี ให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาด


โดยทําเป็ นคําพิพากษาหรือคําสั่ง หรื อให้จําหน่ ายคดีเสีย จากสา
รบบความตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะนี้

มาตรา ๑๓๒ ให้ศาลมีคําสั่งให้จําหน่ายคดีเสีย


132

จากสารบบความได้ โดยไม่ต้องมีคําวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่อง
นั้ น และให้ กํ า หนดเงื่ อ นไขในเรื่ อ งค่ า ฤชาธรรมเนี ย มตามที่
เห็นสมควร

(๑) 80[๘๖] เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้อง ถอนฟ้อง หรือไม่


มาศาลในวัน นั ดพิจ ารณา ดั งที่ บั ญญัติไว้ ในมาตรา ๑๗๔ มาตรา
๑๗๕ และมาตรา ๑๙๓ ทวิ

(๒)81[๘๗] เมื่ อ โจทก์ ไ ม่ ห าประกั น มาให้ ดั ง ที่


บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๓ และมาตรา ๓๒๓ หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใด
ฝ่ ายหนึ่ ง หรื อทั้ งสองฝ่ า ยขาดนั ดดั งที่ บั ญ ญั ติ ไว้ ในมาตรา ๑๙๘
มาตรา ๒๐๐ และมาตรา ๒๐๑

(๓) ถ้ า ความมรณะของคู่ ค วามฝ่ า ยใดฝ่ ายหนึ่ ง


ยังให้คดีนั้นไม่มีประโยชน์ต่อไป หรือถ้าไม่มีผู้ใดเข้ามาแทนที่คู่ความ
ฝ่ายที่มรณะดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๒

80[๘ ๖ ]
ม า ต ร า ๑ ๓ ๒ ( ๑ ) แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒

81[๘ ๗ ]
ม า ต ร า ๑ ๓ ๒ (๒ ) แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
133

(๔) เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันหรือ
ให้แยกกัน ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งดังที่บัญญัติไว้
ในมาตรา ๒๘ และ ๒๙

มาตรา ๑๓๓ เมื่อศาลมิได้จําหน่ายคดีออกจาก


สารบบความดังที่บัญญัติไว้ในมาตราก่อน ให้ศาลชี้ขาดคดีนั้นโดย
ทําเป็นคําพิพากษาหรือคําสั่งในวันที่สิ้นการพิจารณา แต่เพื่อการที่
จะพิเคราะห์คดีต่อไป ศาลจะเลื่อนการพิพากษาหรือการทําคําสั่ง
ต่ อ ไปในวั น หลั ง ก็ ไ ด้ ต ามที่ เ ห็ น สมควรเพื่ อ ประโยชน์ แ ห่ ง ความ
ยุติธรรม

มาตรา ๑๓๔ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลที่รับ


ฟ้องคดีไว้ ปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาหรือมีคําสั่งชี้ขาดคดีโดยอ้างว่า
ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดี หรือว่าบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับนั้นเคลือบคลุมหรือไม่บริบูรณ์

มาตรา ๑๓๕ 82[๘๘] ในคดีที่เรียกร้องให้ชําระ

82[๘๘] มาตรา ๑๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ


แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม ประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความแพ่ ง (ฉบั บ ที่ ๕) พ.ศ.
134

หนี้เป็นเงิน หรือมีการเรียกร้องให้ชําระหนี้เป็นเงินรวมอยู่ด้วย ไม่ว่า


เวลาใด ๆ ก่อนมีคําพิพากษา จําเลยจะนําเงินมาวางศาลเต็มจํานวน
ที่เรียกร้อง หรือแต่บางส่วน หรือตามจํานวนเท่าที่ตนคิดว่าพอแก่
จํ านวนที่ โ จทก์ มีสิ ทธิ เ รี ย กร้ องก็ ได้ ทั้ งนี้ โดยยอมรั บ ผิ ดหรื อไม่
ยอมรับผิดก็ได้

มาตรา ๑๓๖ 83[๘๙] ในกรณีที่จําเลยวางเงินต่อ


ศาลโดยยอมรับผิด ถ้าโจทก์พอใจยอมรับเงินที่จําเลยวางโดยไม่ติด
ใจเรียกร้องมากกว่านั้น และคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไป
อีก ให้ศาลพิพากษาคดีไปตามนั้น คําพิพากษานั้นเป็นที่สุด แต่ถ้า
โจทก์ไม่พอใจในจํานวนเงินที่จําเลยวาง และยังติดใจที่จะดําเนินคดี
เพื่ อ ให้ จํ า เลยต้ อ งรั บ ผิ ด ในจํ า นวนเงิ น ตามที่ เ รี ย กร้ อ งต่ อ ไปอี ก
จําเลยมีสิทธิถอนเงินที่วางไว้นั้นได้ โดยให้ถือเสมือนว่ามิได้มีการ
วางเงิน หรือจําเลยจะยอมให้โจทก์รับเงินนั้นไปก็ได้ ในกรณีหลังนี้
โจทก์จะรับเงินไปหรือไม่ก็ตาม จําเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในจํานวน
เงินที่วาง แม้ว่าจําเลยมีความรับผิดตามกฎหมายจะต้องเสีย ทั้งนี้
นับแต่วันที่จําเลยยอมให้โจทก์รับเงินไป

๒๔๙๙

83[๘๙]
มาตรา ๑๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙
135

ในกรณีที่จําเลยวางเงินต่อศาลโดยไม่ยอมรับผิด
จําเลยจะรับ เงิน นั้น คืนไปก่อนที่มีคําพิพากษาว่าจําเลยไม่ต้องรับ
ผิดไม่ได้ การวางเงินเช่นว่านี้ ไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ยหาก
จําเลยมีความรับผิดตามกฎหมายจะต้องเสีย

มาตรา ๑๓๗ ในคดีที่เรียกร้องให้ชําระหนี้อย่าง


อื่นนอกจากให้ชําระเงิน จําเลยชอบที่จะทําการชําระหนี้นั้นได้โดย
แจ้งให้ศาลทราบในคําให้การหรือแถลงโดยหนังสือเป็ นส่ว นหนึ่ ง
ต่างหากก็ได้

ถ้าโจทก์ยอมรับการชําระหนี้นั้นเป็นการพอใจเต็ม
ตามที่เรียกร้องแล้ว ให้ศาลพิพากษาคดีไปตามนั้น และคําพิพากษา
นั้นให้เป็นที่สุด

ถ้าโจทก์ไม่พอใจในการชําระหนี้เช่นว่านั้น โจทก์
ชอบที่จะดําเนินคดีนั้นต่อไปได้

มาตรา ๑๓๘ ในคดี ที่ คู่ ค วามตกลงกั น หรื อ


ประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอน
คําฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่
เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความ
แห่ งข้ อตกลงหรื อการประนี ป ระนอมยอมความเหล่ านั้ นไว้ แล้ ว
136

พิพากษาไปตามนั้น

ห้ามมิ ให้อุทธรณ์ คําพิพากษาเช่น ว่านี้ เว้น แต่ใน


เหตุต่อไปนี้

(๑) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ฉ้อฉล

(๒) เมื่ อคํ าพิ พากษานั้ นถู กกล่าวอ้ างว่ าเป็ น การ
ละเมิดต่อบทบัญญัติแห่ง

กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(๓) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไป
ตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความ

ถ้ า คู่ ค วามตกลงกั น เพี ย งแต่ ใ ห้ เ สนอคดี ต่ อ


อนุญาโตตุลาการ ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
อนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับ

มาตรา ๑๓๙ เมื่อคดีสองเรื่องหรือกว่านั้นขึ้นไป


ได้พิจารณารวมกันเพื่อสะดวกแก่การพิจารณา ศาลจะพิพากษาคดี
เหล่านั้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเสร็จการพิจารณาแล้วจึงพิพากษาเรื่อง
อื่น ๆ ต่อไปภายหลังก็ได้
137

หมวด ๒

ข้อความและผลแห่งคําพิพากษาและคําสั่ง

มาตรา ๑๔๐84[๙๐] การทํ า คํ า พิ พ ากษาหรื อ


คําสั่งของศาล ให้ดําเนินตามข้อบังคับต่อไปนี้

(๑) ศาลจะต้องประกอบครบถ้วนตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายว่าด้วยเขตอํานาจศาล และอํานาจผู้พิพากษา

(๒) ภายใต้บัง คับ บทบัญ ญัติม าตรา ๑๓ ถ้า คํา


พิพ ากษาหรือ คํ า สั ่ง จะต้อ งทํ า โดยผู ้พ ิพ ากษาหลายคน คํ า
พิพ ากษาหรือ คําสั่ง นั้น จะต้อ งบังคับ ตามความเห็น ของฝ่า ยข้า ง
มาก จํา นวนผู้พิพ ากษาฝ่า ยข้า งมากนั้น ในศาลชั้น ต้น หรือ ศาล
อุทธรณ์ต้องไม่น้อยกว่าสองคน และในศาลฎีกาไม่น้อยกว่าสามคน

84[๙๐] มาตรา ๑๔๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ


แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม ประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความแพ่ ง (ฉบั บ ที่ ๕) พ.ศ.
๒๔๙๙
138

ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ถ้าผู้พิพากษาคนใดมีความเห็นแย้งก็ให้ผู้
พิ พากษาคนนั้ นเขี ยนใจความแห่ งความเห็ นแย้ งของตนกลั ดไว้ ใน
สํานวน และจะแสดงเหตุผลแห่งข้อแย้งไว้ด้วยก็ได้

ในศาลอุ ท ธรณ์ ห รื อ ศาลฎี ก า ถ้ า อธิ บ ดี ผู้


พิ พ ากษาศาลอุ ท ธรณ์ หรื อ ประธานศาลฎี ก า แล้ ว แต่ ก รณี
เห็นสมควร จะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใด โดยที่ประชุม
ใหญ่ก็ได้ หรือถ้ามีกฎหมายกําหนดให้วินิจฉัยปัญหาใดหรือคดีเรื่อง
ใด โดยที่ประชุมใหญ่ ก็ให้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่85[๙๑]

ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๓ ที่ประชุมใหญ่
นั้ น สํ า หรั บ ศาลอุ ท ธรณ์ ใ ห้ ป ระกอบด้ว ยอย่า งน้อ ยผู ้พ ิพ ากษา
หัวหน้าคณะไม่น้อยกว่า ๑๐ คน สําหรับศาลฎีกาให้ประกอบด้วย
ผู้พิพากษาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ แต่ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งจํานวนผู้
พิพากษาแห่งศาลนั้น และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ หรือ
ประธานศาลฎีกา แล้วแต่กรณี หรือผู้ทําการแทน เป็นประธาน

คํ า วิ นิ จ ฉั ย ของที่ ป ระชุ ม ใหญ่ ใ ห้ เ ป็ น ไปตาม


เสียงข้างมาก และถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานแห่งที่ประชุม
ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

ในคดีซึ่งที่ ประชุ มใหญ่ได้วิ นิจ ฉัย ปัญหาแล้ ว

85[๙๑]มาตรา ๑๔๐ (๒) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตแิ ก้ไข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
139

คําพิพากษาหรือคําสั่งต้องเป็นไปตามคําวินิจ ฉัย ของที่ป ระชุมใหญ่


และต้องระบุไว้ด้ว ยว่า ปัญ หาข้อ ใดได้วินิจ ฉัย โดยที่ป ระชุม ใหญ่
ผู้พิพ ากษาที่เ ข้าประชุม แม้มิใ ช่เป็น ผู้นั่ง พิจ ารณา ก็ใ ห้มีอํา นาจ
พิพากษาหรือทําคําสั่งในคดีนั้นได้ และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ใ ห้
ทําความเห็นแย้งได้ด้วย

(๓) การอ่ า นคํ า พิ พ ากษาหรื อ คํ า สั่ ง ให้ อ่ า น


ข้ อ ความทั้ ง หมดในศาลโดยเปิ ด เผย ตามเวลาที่ กํ า หนดไว้ ใ น
ประมวลกฎหมายนี้ ต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลจดลงไว้ในคําพิพากษาหรือคําสั่ง หรือใน
รายงานซึ่งการอ่านนั้น และให้คู่ความที่มาศาลลงลายมือชื่อไว้เป็น
สําคัญ

ถ้ า คู่ ค วามไม่ ม าศาล ศาลจะงดการอ่ า นคํ า


พิพากษาหรือคําสั่งก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลจดแจ้งไว้ในรายงาน
และให้ถือว่าคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้อ่านตามกฎหมายแล้ว

เมื่อศาลที่พิพากษาคดี หรือที่ได้รับคําสั่งจาก
ศาลสูงให้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่ง ได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่ง
ตามบทบัญญัติในมาตรานี้วันใด ให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่พิพากษา
หรือมีคําสั่งคดีนั้น

มาตรา ๑๔๑ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทํา


เป็นหนังสือ และต้องกล่าวหรือแสดง
140

(๑) ชื่อศาลที่พิพากษาคดีนั้น

(๒) ชื่อคู่ ความทุ กฝ่ายและผู้ แทนโดยชอบธรรม


หรือผู้แทน ถ้าหากมี

(๓) รายการแห่งคดี

(๔) เหตุผลแห่งคําวินิจฉัยทั้งปวง

(๕) คําวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีตลอดทั้ง
ค่าฤชาธรรมเนียม

คํ า พิ พ ากษาหรื อ คํ า สั่ ง นั้ น ต้ อ งลงลายมื อ ชื่ อ ผู้


พิ พ ากษาที่ พิ พ ากษาหรื อ ทํ า คํ า สั่ ง หรื อ ถ้า ผู ้พ ิพ ากษาคนใดลง
ลายมือชื่อไม่ได้ ก็ให้ผู้พิพากษาอื่นที่พิพากษาหรือทําคําสั่งคดีนั้น
หรือ อธิบ ดีผู้พิพ ากษา แล้ว แต่ก รณี จดแจ้ง เหตุที่ผู้พิพ ากษาคน
นั้น มิไ ด้ล งลายมือ ชื่อ และมีค วามเห็น พ้อ งด้ว ยคํา พิพ ากษาหรือ
คําสั่งนั้น แล้วกลัดไว้ในสํานวนความ

ในกรณีที่ศาลมีอํานาจทําคําสั่งหรือพิพากษาคดีได้
ด้ ว ยวาจา การที่ ศ าลจะต้ อ งทํ า รายงานเกี่ ย วด้ ว ยคํ า สั่ ง หรื อ คํ า
พิพากษานั้ นไม่ จํ าต้ องจดแจ้ งรายการแห่ งคดี ห รื อเหตุ ผ ลแห่ งคํ า
วินิจฉัย แต่เมื่อคู่ความฝ่ายใดแจ้งความจํานงที่จะอุทธรณ์หรือได้ยื่น
อุทธรณ์ขึ้นมา ให้ศาลมีอํานาจทําคําชี้แจงแสดงรายการข้อสําคัญ
หรื อ เหตุ ผ ลแห่ ง คํ า วิ นิ จ ฉั ย กลั ด ไว้ กั บ บั น ทึ ก นั้ น ภายในเวลาอั น
สมควร
141

มาตรา ๑๔๒ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลที่ชี้


ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคําฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษา
หรือทําคําสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคําฟ้อง
เว้นแต่

(๑) ในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ให้พึงเข้าใจ


ว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จําเลย ถ้าศาลพิพากษาให้
โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะมีคําสั่งให้ขับไล่จําเลยก็ได้
คําสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของ
จําเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งไม่สามารถแสดงอํานาจพิเศษ
ให้ศาลเห็นได้

(๒) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตน


ทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาล
เห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้

(๓) ในคดี ที่โจทก์ ฟ้องขอให้ชํ าระเงิ นพร้ อมด้ ว ย


ดอกเบี้ ย จนถึ ง วั น ฟ้ อ ง เมื่ อ ศาลเห็ น สมควร ศาลจะพิ พ ากษาให้
จําเลยชําระดอกเบี้ยจนถึงวันที่ได้ชําระเสร็จตามคําพิพากษาก็ได้

(๔) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าหรือค่าเสียหาย
อันต่อเนื่องคํานวณถึงวันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษา
ให้ชําระค่าเช่าและค่าเสียหายเช่นว่านี้จนถึงวันที่ได้ชําระเสร็จตาม
คําพิพากษาก็ได้
142

(๕) ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความ
สงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น เมื่อศาลเห็นสมควร ศาล
จะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้

(๖)86[๙๒] ในคดี ที่ โ จทก์ ฟ้ อ งขอให้ ชํ า ระเงิ น


พร้ อมด้ว ยดอกเบี้ ย ซึ่ งมิ ได้ มีข้อตกลงกํ าหนดอั ตราดอกเบี้ย กั นไว้
เมื่อศาลเห็นสมควรโดยคํานึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้
ความหรือการดําเนินคดี ศาลจะพิพากษาให้จําเลยชําระดอกเบี้ยใน
อัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแต่ไม่เกินร้อยละ
สิบห้าต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องหรือวันอื่นหลังจากนั้นก็ได้

มาตรา ๑๔๓ ถ้าในคําพิพากษาหรื อคําสั่งใด มี


ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ และมิได้มีการ
อุ ทธรณ์ ห รื อฎี กาคั ดค้ านคํ า พิ พากษาหรื อคํ าสั่ งนั้ น เมื่ อศาลที่ ไ ด้
พิพากษาหรือมีคําสั่งนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้อง
ขอ ศาลจะมีคําสั่งเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาด หรือข้อผิดหลงเช่นว่า
นั้นให้ถูกก็ได้ แต่ถ้าได้มีการอุทธรณ์หรือฎี กาคัดค้านคําพิพากษา
หรือคําสั่งนั้น อํานาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ย่อม
อยู่ แ ก่ ศ าลอุ ท ธรณ์ ห รื อ ศาลฎี ก า แล้ ว แต่ ก รณี คํ า ขอให้ แ ก้ ไ ข
ข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ให้ยื่นต่อศาลดังกล่าวแล้ว โดยกล่าว
86[๙๒]
มาตรา ๑๔๒ (๖) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
143

ไว้ในฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา หรือโดยทําเป็นคําร้องส่วนหนึ่งต่างหาก

การทําคําสั่งเพิ่มเติมมาตรานี้ จะต้องไม่เป็นการ
กลับหรือแก้คําวินิจฉัยในคําพิพากษาหรือคําสั่งเดิม

เมื่อได้ทําคําสั่งเช่นว่านั้นแล้ว ห้ามไม่ให้คัดสําเนา
คําพิพากษาหรือคําสั่งเดิม เว้นแต่จะได้คัดสําเนาคําสั่งเพิ่มเติมนั้น
รวมไปด้วย

มาตรา ๑๔๔ เมื ่อ ศาลใดมีคํา พิพ ากษา หรือ


คําสั่งวินิจ ฉัย ชี้ขาดคดีห รือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้
ดําเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้
วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เว้นแต่กรณีจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง
ประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย

(๑) การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลง
เล็กน้อยอื่น ๆ ตามมาตรา ๑๔๓

(๒) การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้
ขาดตัดสินไปฝ่ายเดียว ตามมาตรา ๒๐๙ และคดีที่เอกสารได้สูญ
หายหรือบุบสลายตามมาตรา ๕๓

(๓) การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์


หรื อฎี กาตามมาตรา ๒๒๙ และ ๒๔๗ และการดํ าเนิ น วิ ธี บั งคั บ
144

ชั่วคราวในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ หรือฎีกาตามมาตรา ๒๕๔ วรรค


สุดท้าย

(๔) การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคืนไปยัง
ศาลล่างที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เพื่อให้พิพากษาใหม่
หรือพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา ๒๔๓

(๕)87[๙๓] การบั ง คั บ คดี ต ามคํ า พิ พ ากษาหรื อ


คําสั่งตามมาตรา ๒๗๑

ทั้ ง นี้ ไม่ เ ป็ น การตั ด สิ ท ธิ ใ นอั น ที่ จ ะบั ง คั บ ตาม


บทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๖ และ ๒๔๐ ว่าด้วยการดําเนินกระบวน
พิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง

มาตรา ๑๔๕ ภายใต้ บั ง คั บ บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง


ประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกา และการพิจารณาใหม่
คํ า พิ พ ากษาหรื อ คํ า สั่ ง ใด ๆ ให้ ถื อ ว่ า ผู ก พั น คู่ ค วามในกระบวน
พิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคําสั่ง นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษา
หรือมีคําสั่ง จนถึงวันที่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง

87[๙ ๓ ]
ม า ต ร า ๑ ๔ ๔ (๕ ) แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
145

แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี

ถึ ง แม้ ศ าลจะได้ ก ล่ า วไว้ โ ดยทั่ ว ไปว่ า ให้ ใ ช้ คํ า


พิพากษาบั งคั บ แก่ บุ คคลภายนอกซึ่ งมิ ได้ เป็น คู่ ความในกระบวน
พิจารณาของศาลด้วยก็ดี คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นย่อมไม่ผูกพัน
บุ ค คลภายนอก เว้ น แต่ ที่ บั ญญั ติ ไ ว้ ใ นมาตรา ๑๔๒ (๑) มาตรา
๒๔๕ และมาตรา ๓๖๖ และในข้อต่อไปนี้

(๑) คําพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถ
ของบุ ค คล หรื อคํ า พิ พ ากษาสั่ ง ให้ เ ลิ ก นิ ติ บุ ค คล หรื อ คํ าสั่ ง เรื่ อ ง
ล้มละลายเหล่านี้ บุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างอิงหรือจะใช้ยันแก่
บุคคลภายนอกก็ได้

(๒) คํ า พิ พ ากษาที่ วิ นิ จ ฉั ย ถึ ง กรรมสิ ท ธิ์ แ ห่ ง


ทรั พ ย์ สิ น ใด ๆ เป็ น คุ ณ แก่ คู่ ค วามฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง อาจใช้ ยั น แก่
บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิ
ดีกว่า88[๙๔]

มาตรา ๑๔๖ เมื่อมีคําพิพากษาหรือคําสั่งอันเป็น

88[๙๔]
มาตรา ๑๔๕ วรรคสอง แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
146

ที่สุดของสองศาลซึ่งต่างชั้นกัน ต่างกล่าวถึงการปฏิบัติชําระหนี้อัน
แบ่งแยกจากกันไม่ได้ และคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นขัดกัน ให้ถือ
ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลที่สูงกว่า

ถ้ าศาลชั้ น ต้ น ศาลเดี ย วกั น หรื อ ศาลชั้ น ต้ น สอง


ศาลในลําดับชั้นเดียวกัน หรือศาลอุทธรณ์ ได้พิพากษาหรือมีคําสั่ง
ดังกล่าวมาแล้ว คู่ความในกระบวนพิจารณาแห่งคดีที่มีคําพิพากษา
หรือคําสั่งนั้น ชอบที่จะยื่นคําร้องขอต่อศาลที่อยู่ในลําดับสูงขึ้นไป
ให้มีคําสั่งกําหนดว่าจะให้ถือ ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งใด คําสั่ง
เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด

มาตรา ๑๔๗ คําพิพากษาหรื อคําสั่ งใด ซึ่งตาม


กฎหมายจะอุทธรณ์หรือฎีกาหรือมีคําขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้นั้น
ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านเป็นต้นไป

คําพิพากษาหรือคําสั่งใด ซึ่งอาจอุทธรณ์ฎีกา หรือ


มีคําขอให้ พิจ ารณาใหม่ ได้ นั้ น ถ้ ามิ ได้ อุทธรณ์ ฎี กาหรื อร้องขอให้
พิ จ ารณาใหม่ ภ ายในเวลาที่ กํ า หนดไว้ ให้ ถื อ ว่ า เป็ น ที่ สุ ด ตั้ ง แต่
ระยะเวลาเช่ น ว่ านั้ นได้ สิ้ น สุ ด ลง ถ้ า ได้ มีอุท ธรณ์ ฎี กา หรื อ มี คํ า
ขอให้พิจารณาใหม่ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาหรือศาลชั้นต้นซึ่ง
พิ จ ารณาคดี เ รื่ อ งนั้ นใหม่ มี คํ าสั่ งให้ จํ า หน่ ายคดี เสี ย จากสารบบ
ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๒ คําพิพากษาหรือคําสั่งเช่นว่า
นั้นให้ถือว่าเป็ นที่สุดตั้ งแต่วัน ที่มีคําสั่งให้จํ าหน่ายคดีจากสารบบ
147

ความ

คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจยื่นคําขอต่อศาลชั้นต้น
ซึ่งพิจารณาคดีนั้น ให้ออกใบสําคัญแสดงว่าคําพิพากษาหรือคําสั่ง
ในคดีนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว

มาตรา ๑๔๘ คดีที่ได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึง


ที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดีย วกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่
ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้

(๑) เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคํา
พิพากษาหรือคําสั่งของศาล

(๒) เมื่ อคําพิพากษาหรือคําสั่ งได้กําหนดวิ ธีการ


ชั่วคราวให้อยู่ภายในบังคับที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเสียได้
ตามพฤติการณ์

(๓) เมื่อคําพิพากษาหรื อคําสั่ งนั้นให้ยกฟ้ องเสี ย


โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนําคําฟ้องมายื่นใหม่ ในศาลเดียวกันหรือใน
ศาลอื่น ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

หมวด ๓
148

ค่าฤชาธรรมเนียม

ส่วนที่ ๑

การกําหนดและการชําระค่าฤชาธรรมเนียม และการยกเว้น
ค่าธรรมเนียมศาล89[๙๕]

มาตรา ๑๔๙90[๙๖] ค่ าฤชาธรรมเนีย ม ได้แก่


ค่าธรรมเนียมศาล ค่าสืบพยานหลักฐานนอกศาล ค่ า ป่ ว ยการ ค่ า
89[๙๕] ชื่อส่ วนที่ ๑ การกําหนดและการชํา ระค่ าฤชา
ธรรมเนี ย ม และการยกเว้ น ค่ า ธรรมเนี ย มศาล แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑

90[๙๖]มาตรา ๑๔๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ.
๒๕๕๑
149

พาหนะเดิ น ทาง และค่ า เช่ า ที่ พั ก ของพยาน ผู้ เ ชี่ ย วชาญ ล่ า ม


และเจ้ า พนั ก งานศาล ค่าทนายความ ค่ าใช้จ่ ายในการดําเนินคดี
ตลอดจนค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับ
ให้ชําระ

ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
หรื อ ก ฎ หมา ยอื่ น ว่ า ด้ ว ยกา รยกเ ว้ น ค่ าธ รร มเนี ย มศา ล
ค่าธรรมเนียมศาลที่เป็นค่าขึ้นศาล ให้คู่ความผู้ยื่นคําฟ้องเป็นผู้ชําระ
เมื่อยื่นคําฟ้อง

ค่าธรรมเนียมศาลนั้น ให้ชําระหรือนํามาวางศาล
เป็นเงินสดหรือเช็คซึ่งธนาคารรับรอง โดยเจ้าพนักงานศาลออก
ใบรับ ให้ หรือ ตามวิธีการที่กําหนดไว้ใ นข้อ กํา หนดของประธาน
ศาลฎีกา

คําฟ้อง คําฟ้องอุทธรณ์ คําฟ้องฎีกา คําร้องสอด


คํ า ให้ การ หรื อ คํ า ร้ องคํ า ขออื่ น ซึ่ งได้ ยื่ น ต่ อ ศาลพร้ อ มคํ าร้ อ งขอ
ยกเว้ น ค่าธรรมเนี ย มศาลตามมาตรา ๑๕๖ ตลอดจนการดํ าเนิ น
กระบวนพิ จ ารณาในชั้ น ไต่ ส วนคํ า ร้ อ งดั ง กล่ า ว ไม่ ต้ อ งนํ า เงิ น
ค่าธรรมเนียมศาลและเงินวางศาลมาชําระ เว้นแต่ศาลจะได้ยกคํา
ร้องนั้นเสีย
150

มาตรา ๑๕๐91[๙๗] ในคดีที่คําขอให้ปลดเปลื้อง


ทุกข์นั้นอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาล
ชั้นต้นตามจํานวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท

ค่าขึ้ นศาลในชั้ นอุ ทธรณ์ห รือฎี กานั้น ถ้าจํานวน


ทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์
หรือฎีกาเป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้น ให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาเสีย
ตามจํานวนทุนทรัพย์หรือราคาเช่นเดียวกับในศาลชั้นต้น แต่ถ้าผู้
อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาได้รับความพอใจแต่บางส่วนตามคําพิพากษาหรือ
คํ า สั่ ง ของศาลล่ า งแล้ ว และจํ านวนทุ น ทรั พ ย์ ห รื อ ราคาทรั พ ย์ ที่
พิพาทในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่ํากว่าในศาลชั้นต้น ให้ผู้อุทธรณ์หรือ
ผู้ฎีกาเสียค่าขึ้นศาลตามจํานวนทุนทรัพย์หรือราคาต่ํานั้น

เมื่อได้ชําระค่าขึ้น ศาลแล้ว ถ้าทุน ทรัพย์แห่งคํา


ฟ้องหรือคําฟ้องอุทธรณ์หรือคําฟ้องฎีกาทวีขึ้นโดยการยื่นคําฟ้อง
เพิ ่ม เติม หรือ โดยประการอื ่น ให้เ รีย กค่า ขึ ้น ศาลเพิ ่ม ขึ ้น ตามที่
บัญญัติไว้ในตารางท้ายประมวลกฎหมายนี้เมื่อยื่นคําฟ้องเพิ่มเติม
หรือภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร แล้วแต่กรณี

ถ้าเนื่องจากศาลได้มีคําสั่งให้พิจารณาคดีรวมกัน
หรือให้แยกคดีกัน คําฟ้องใดหรือข้อหาอันมีอยู่ในคําฟ้องใดจะต้อง
91[๙๗]
มาตรา ๑๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ.
๒๕๕๑
151

โอนไปยังศาลอื่น หรือจะต้องกลับยื่นต่อศาลนั้นใหม่ หรือต่อศาล


อื่นเป็นคดีเรื่องหนึ่งต่างหาก ให้โจทก์ได้รับผ่อนผันไม่ต้องเสียค่าขึ้น
ศาลในการยื่ น หรื อกลั บ ยื่ น คํ าฟ้ องหรื อ ข้ อ หาเช่ น ว่ า นั้ น เว้ น แต่
จํานวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์แห่งคําฟ้อง หรือข้อหานั้นจะได้ทวี
ขึ้น ในกรณีเช่ น นี้ ค่ าขึ้ น ศาลเฉพาะที่ ทวี ขึ้นให้ คํานวณและชํ าระ
ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อน

ในกรณีที่บุคคลซึ่งเป็นคู่ความร่วมในคดีที่มูลความ
แห่งคดีเป็นการชําระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ต่างยื่นอุทธรณ์หรือ
ฎีกาแยกกัน โดยต่างได้เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาตาม
ความในวรรคสอง หากค่าขึ้นศาลดังกล่าวเมื่อรวมกันแล้วมีจํานวน
สูงกว่าค่าขึ้นศาลที่คู่ความเหล่านั้นต้องชําระในกรณีที่ยื่นอุทธรณ์
หรือฎีการ่วมกัน ให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี มีคําสั่ง
คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่คู่ความเหล่านั้นตามส่วนของค่าขึ้นศาลที่
คู่ความแต่ละคนได้ชําระไปในเวลาที่ศาลนั้นมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง

มาตรา ๑๕๑92[๙๘] ในกรณี ที่ ศ าลมี คํ า สั่ ง ไม่


รั บ คํ า ฟ้ อ งหรื อ ในกรณี ที่ มี ก ารอุ ท ธรณ์ หรื อ ฎี ก าหรื อ มี คํ า ขอให้
พิจารณาใหม่ ถ้าศาลไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกาหรือคําขอให้พิจารณา
92[๙๘]
มาตรา ๑๕๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ.
๒๕๕๑
152

ใหม่ หรือศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคําสั่งให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกา
โดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ให้ศาลมีคําสั่ง
ให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด

เมื่อได้มีการถอนคําฟ้อง หรือเมื่อศาลได้ตัดสินให้
ยกคําฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่ หรือเมื่อคดีนั้นได้
เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความหรือ
การพิพากษาตามคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ศาลมีอํานาจที่
จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด หรือบางส่วนแก่คู่ความซึ่งได้เสียไว้ได้
ตามที่เห็นสมควร

ในกรณีที่มีการทิ้งฟ้องหรือศาลสั่งจําหน่ายคดีใน
กรณี อื่ น ให้ ศ าลมี อํา นาจที่ จ ะสั่ ง คื น ค่ า ขึ้ น ศาลบางส่ ว นได้ ตามที่
เห็นสมควร

ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคําสั่งให้ส่งสํานวน
ความคืนไปยังศาลล่างเพื่อตัดสินใหม่หรือเพื่อพิจารณาใหม่ทั้งหมด
หรือแต่บางส่วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๓ ศาลอุทธรณ์หรือ
ศาลฎีกามีอํานาจที่จะยกเว้นมิให้คู่ความต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล
ในการดําเนินกระบวนพิจารณาใหม่ หรือในการที่จะยื่นอุทธรณ์หรือ
ฎีกาคัดค้านคําพิพากษาใหม่ของศาลล่างได้ตามที่เห็นสมควร
153

มาตรา ๑๕๒93[๙๙] ค่ า ฤชาธรรมเนี ย มอื่ น


นอกจากค่าขึ้นศาล ให้คู่ความผู้ดําเนินกระบวนพิจารณาเป็นผู้ชําระ
เมื่อมีการดําเนินกระบวนพิจารณานั้นหรือภายในเวลาที่กฎหมาย
กํ าหนดหรือ ที ่ศ าลมีคํา สั ่ง ถ้า ศาลเป็น ผู ้สั ่ง ให้ดํา เนิน กระบวน
พิจารณาใด ให้ศาลกําหนดผู้ซึ่งจะต้องชําระค่าฤชาธรรมเนียมใน
การดําเนินกระบวนพิจารณานั้น รวมทั้งระยะเวลาที่ต้องชําระไว้
ด้วย

ถ้าผู้ซึ่งจะต้องชําระค่าฤชาธรรมเนียมตามวรรค
หนึ่ง ไม่ชําระ ศาลจะสั่ง ให้ง ดหรือ เพิก ถอนกระบวนพิจารณานั้น
หรือจะสั่งให้คู่ความฝ่ายอื่นเป็นผู้ชําระค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวก็
ได้หากคู่ความฝ่ายนั้นยินยอม

มาตรา ๑๕๓94[๑๐๐] ค่าฤชาธรรมเนียมในการ


บั ง คั บ คดี ได้ แ ก่ ค่ า ธรรมเนี ย มในการบั ง คั บ คดี ค่ า ป่ ว ยการ ค่ า

93[๙๙]
มาตรา ๑๕๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ.
๒๕๕๑

94[๑๐๐] มาตรา ๑๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ.
๒๕๕๑
154

พาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของเจ้าพนักงานบังคับคดีตลอดจน
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการบังคับคดีบรรดาที่กฎหมายบังคับให้ชําระ

ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เจ้าหนี้ผู้ขอ
บังคับคดีนั้นเป็นผู้ชําระ

การชํ าระค่ า ธรรมเนี ย มในการบั งคั บ คดี ให้ เจ้ า


พนักงานบังคับคดีออกใบรับให้

ในกรณีที่มีการเข้าดําเนินการบั งคับคดีต่อไปตาม
มาตรา ๓๒๗ หรือมาตรา ๓๒๙ (๒) ให้เจ้าหนี้ผู้เข้าดําเนินการบังคับ
คดี ต่ อ ไปเป็ น ผู้ ชํ า ระค่ า ฤชาธรรมเนี ย มในการบั ง คั บ คดี เ ฉพาะ
ทรัพย์สินในส่วนที่ดําเนินการบังคับคดีต่อไป95[๑๐๑]

มาตรา ๑๕๓/๑96[๑๐๒] ค่าฤชาธรรมเนียมตาม


มาตรา ๑๔๙ และค่ าฤชาธรรมเนีย มในการบังคับ คดีตามมาตรา

95[๑๐๑] มาตรา ๑๕๓ วรรคสี่ แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

96[๑๐๒] มาตรา ๑๕๓/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
155

๑๕๓ ให้ชําระตามวิธีการและอัตราที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย
นี้หรือตามวิธีการและอัตราที่มีกฎหมายอื่นบังคับไว้

มาตรา ๑๕๔97[๑๐๓] เจ้าพนักงานบังคับคดีมี


อํานาจที่จะสั่งให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีวางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อปฏิบัติ
ตามวิ ธีการเพื่ อคุ้ มครองสิ ทธิ ของคู่ความในระหว่างการพิจ ารณา
หรือวางเงิน ค่า ใช้จ่า ยเพื่อ บัง คับ ให้เ ป็น ไปตามคํา พิพ ากษาหรือ
คําสั่งได้ตามจํานวนที่เห็น จําเป็น ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่า
จํานวนเงิ น ที่ ว างไว้ นั้ น จะไม่ พอ ก็ ให้ แจ้ งให้ เจ้ าหนี้ ผู้ ขอบั งคั บ คดี
วางเงินเพิ่มขึ้นอีกได้

ถ้า เจ้าหนี้ผู้ขอบัง คับ คดีเห็น ว่าการวางเงิน ตาม


วรรคหนึ่งไม่จําเป็นหรือมากเกินไป ก็อาจยื่นคําร้องต่อศาลภายใน
เจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งได้ คําสั่งดังกล่าว
ให้เป็นที่สุด

ถ้าเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับ คดีไม่ป ฏิบัติตามวรรคหนึ่ง


หรือไม่ป ฏิบัติตามคําสั่งศาลตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับ
คดีงดการบังคับคดีไว้จนกว่าเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีนั้นจะได้ปฏิบัติ

97[๑๐๓] มาตรา ๑๕๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ.
๒๕๕๑
156

ตามคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาล แล้วแต่กรณี

บทบัญ ญัติม าตรานี้ใ ห้ใ ช้บัง คับ แก่เ จ้า หนี้ผู้เ ข้า
ดําเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๓๒๗ และมาตรา ๓๒๙ (๒)
โดยอนุโลม98[๑๐๔]

มาตรา ๑๕๕99[๑๐๕] คู่ความซึ่งไม่สามารถเสีย


ค่าธรรมเนียมศาลอาจยื่นคําร้องต่อศาลขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม
ศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้ นหรือชั้นอุทธรณ์ห รือชั้ น
ฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๖ และมาตรา ๑๕๖/๑

มาตรา ๑๕๖100[๑๐๖] ผู้ใดมีความจํานงจะขอ

98[๑๐๔] มาตรา ๑๕๔ วรรคสี่ แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

99[๑๐๕] มาตรา ๑๕๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ.
๒๕๕๑

100[๑ ๐ ๖ ] ม า ต ร า ๑ ๕ ๖ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
157

ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดี ให้ยื่น คําร้องต่อ


ศาลชั้นต้นที่จะฟ้องหรือได้ฟ้องคดีไว้นั้นพร้อมกับคําฟ้อง คําฟ้อง
อุทธรณ์ คําฟ้องฎีกา คําร้องสอด หรือคําให้การ แล้วแต่กรณี แต่ถ้า
บุคคลนั้นตกเป็นผู้ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในภายหลัง จะ
ยื่นคําร้องในเวลาใด ๆ ก็ได้

การยื่ น คํ า ร้ อ งตามวรรคหนึ่ ง ผู้ ร้ อ งอาจเสนอ


พยานหลั ก ฐานไปพร้ อมคํ า ร้ อ งและหากศาลเห็ น สมควรไต่ ส วน
พยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ให้ดําเนินการไต่สวนโดยเร็วเท่าที่จําเป็น
ทั้ งนี้ ศาลจะมี คํ าสั่ งให้ งดการดํ า เนิ น กระบวนพิ จ ารณาคดี นั้ นไว้
ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราวจนกว่าการพิจารณาสั่งคํา
ร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะถึงที่สุดก็ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร

มาตรา ๑๕๖/๑101[๑๐๗] เมื่อศาลพิจารณาคํา


ร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเสร็จแล้วให้ศาลมีคําสั่งโดยเร็ว โดย
ศาลจะมีคําสั่งอนุญาตทั้งหมดหรือแต่เฉพาะบางส่วน หรือยกคําร้อง
นั้นเสียก็ได้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑

101[๑๐๗] มาตรา ๑๕๖/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
158

ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคําร้องเช่นว่านั้น เว้นแต่
จะเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ร้องไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล
หรื อ หากผู้ ร้ อ งไม่ ไ ด้ รั บ ยกเว้ น ค่ า ธรรมเนี ย มศาลจะได้ รั บ ความ
เดือดร้อนเกินสมควรเมื่อพิจารณาถึงสถานะของผู้ร้อง และในกรณี
ผู้ร้องเป็ นโจทก์ หรื อผู้อุทธรณ์ห รือฎีกา การฟ้ องร้องหรื ออุทธรณ์
หรือฎีกานั้นมีเหตุผลอันสมควรด้วย

เมื่อคู่ความคนใดได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลใน
การฟ้องหรื อต่ อสู้ คดีในศาลชั้ นต้ นแล้วยื่ นคํ าร้องเช่น ว่านั้ นในชั้ น
อุ ทธรณ์ ห รื อฎี กา แล้ ว แต่ กรณี อี ก ให้ ถือว่ าคู่ ความนั้ น ยั งคงไม่ มี
ทรั พย์ สิ น พอจะเสีย ค่า ธรรมเนีย มศาลหรือ หากไม่ไ ด้ร ับ ยกเว้น
ค่าธรรมเนียมศาลแล้วจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรอยู่ เว้น
แต่จะปรากฏต่อศาลเป็นอย่างอื่น

ใ น ก ร ณี ที่ ศ า ล มี คํ า สั่ ง อ นุ ญ า ต ใ ห้ ย ก เ ว้ น
ค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วน หรือมีคําสั่งให้ยกคําร้อง ผู้
ขออาจอุทธรณ์คําสั่งนั้นต่อศาลได้ภายในกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันมี
คําสั่ง คําสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด

มาตรา ๑๕๗102[๑๐๘] เมื่ อ ศาลอนุ ญ าตให้


102[๑ ๐ ๘ ]
ม า ต ร า ๑ ๕ ๗ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
159

บุคคลใดได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในศาลใด บุคคลนั้นไม่ต้อง
เสีย ค่าธรรมเนีย มศาลในการดําเนิน กระบวนพิ จารณาในศาลนั้ น
ค่าธรรมเนียมเช่นว่านี้ให้รวมถึงเงินวางศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์
หรือฎีกา ถ้าเป็นกรณีที่ศาลอนุญาตในระหว่างการพิจารณา การ
ยกเว้ น ไม่ ต้ อ งเสี ย ค่ า ธรรมเนี ย มศาลนั้ น ให้ ใ ช้ บั ง คั บ แต่ เ ฉพาะ
ค่าธรรมเนีย มศาลและเงิ นวางศาลที่จ ะต้องเสี ยหรื อวางภายหลั ง
คําสั่งอนุญาตเท่านั้น ส่วนค่าธรรมเนียมศาลหรือเงินวางศาลที่เสีย
หรือวางไว้ก่อนคําสั่งเช่นว่านั้นเป็นอันไม่ต้องคืน

มาตรา ๑๕๘103[๑๐๙] ถ้าศาลเห็นว่าคู่ความอีก


ฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่
บางส่ ว นของคู่ ความทั้ งสองฝ่ าย ให้ ศ าลพิ พากษาในเรื่ องค่ าฤชา
ธรรมเนียม โดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชําระต่อศาลในนามของ
ผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลซึ่งค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้นได้รับ
ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร

103[๑ ๐ ๙ ]
ม า ต ร า ๑ ๕ ๘ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
160

มาตรา ๑๕๙104[๑๑๐] ถ้าปรากฏต่อศาลว่าผู้ที่


ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั้นสามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้
ตั้ง แต่เ วลาที่ยื่น คํา ร้อ งตามมาตรา ๑๕๖ หรือ ในภายหลัง ก่อ น
ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี ให้ศาลมีคําสั่งให้บุคคลนั้นชําระค่าธรรมเนียม
ศาลที่ ไ ด้ รั บ ยกเว้ น ต่ อ ศาลภายในระยะเวลาที่ ศ าลเห็ น สมควร
กํ า หนดก็ ไ ด้ หากไม่ ป ฏิ บั ติ ต าม ให้ ศ าลมี คํ า สั่ ง ยึ ด หรื อ อายั ด
ทรัพย์สิน ของผู้ได้ รับยกเว้ นค่าธรรมเนียมศาลนั้นทั้ งหมดหรื อแต่
บางส่วนไว้รอคําวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม

ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าศาลเห็นว่า

(๑) ค่าฤชาธรรมเนียมจะเป็นพับแก่คู่ความทั้งสอง
ฝ่าย ให้ศาลมีคําสั่งให้เอาชําระค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้นได้รับยกเว้น
จากทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดดังที่กล่าวไว้ในวรรคหนึ่งตามจํานวนที่
ศาลเห็นสมควร

(๒) คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องชําระค่าฤชาธรรม
เนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแทนผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
ให้ศาลมีคําสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชําระค่าธรรมเนียมศาลต่อ
ศาลในนามของผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล แต่ถ้าคู่ความอีก
ฝ่ายหนึ่งนั้นไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง ให้ศาลเอาชําระค่าธรรมเนียมศาล
104[๑ ๑ ๐ ]
ม า ต ร า ๑ ๕ ๙ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
161

นั้ น จากทรั พ ย์ สิ น ที่ ยึ ด หรื อ อายั ด ดั ง ที่ ก ล่ า วไว้ ใ นวรรคหนึ่ ง ตาม


จํานวนที่ศาลเห็นสมควร หรือ

(๓) ผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะต้องชําระ
ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
ให้ศาลมีคําสั่งให้เอาชําระค่าฤชาธรรมเนียมนั้นจากทรัพย์สินที่ยึด
หรืออายัดดังที่กล่าวไว้ในวรรคหนึ่ง ส่วนค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้น
ได้รับยกเว้น ให้เอาชําระจากทรัพย์สินที่เหลือ ถ้าหากมี ตามจํานวน
ที่ศาลเห็นสมควร

มาตรา ๑๖๐105[๑๑๑] ถ้ า ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ ยกเว้ น


ค่าธรรมเนี ยมศาลประพฤติตนไม่ เรียบร้อย เช่น ดําเนินกระบวน
พิจารณาในทางก่อความรําคาญถึงขนาด หรือกระทําความผิดฐาน
ละเมิดอํานาจศาลหรือจงใจประวิงความเรื่องนั้น ศาลจะถอนการ
อนุญาตเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ และบุคคลเช่นว่านั้นจําต้องรับผิดเสีย
ค่าฤชาธรรมเนียมสําหรับกระบวนพิจารณาภายหลังที่ศาลได้ถอน
การอนุญาตนั้นแล้ว

105[๑ ๑ ๑ ]
ม า ต ร า ๑ ๖ ๐ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
162

ส่วนที่ ๒

ความรับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนียม106[๑๑๒]

มาตรา ๑๖๑107[๑๑๓] ภายใต้บังคับบทบัญญัติ


ห้ า มาตราต่ อ ไปนี้ ให้ คู่ ค วามฝ่ า ยที่ แพ้ ค ดี เ ป็ น ผู้ รั บ ผิ ด ในชั้ น ที่ สุ ด
สําหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดี
เต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วน ศาลมีอํานาจที่จะพิพากษาให้คู่ความ
ฝ่ายที่ชนะคดีนั้นรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้คู่ความ
แต่ละฝ่ายรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนของตนหรือตามส่วนแห่ง
ค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งคู่ความทุกฝ่ายได้เสียไปก่อนได้ตามที่ศาลจะใช้
ดุลพินิจ โดยคํานึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดําเนินคดี

106[๑๑๒]
ชื่ อ ส่ ว นที่ ๒ ความรั บ ผิ ด ชั้ น ที่ สุ ด ในค่ า ฤชา
ธรรมเนียม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑

107[๑ ๑ ๓ ]
ม า ต ร า ๑ ๖ ๑ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
163

คดีที่ไม่มีข้อพิพาทให้ฝ่ายเริ่มคดีเป็นผู้เสียค่าฤชา
ธรรมเนียม

มาตรา ๑๖๒ บุ ค คลที่ เ ป็ น โจทก์ ร่ ว มกั น หรื อ


จําเลยร่วมกันนั้น หาต้องรับผิดร่วมกันในค่าฤชาธรรมเนียมไม่ หาก
ต้ อ งรั บ ผิ ดเป็ น ส่ ว นเท่ า ๆ กั น เว้ น แต่ จ ะได้ เป็ น เจ้ า หนี้ ร่ ว มหรื อ
ลูกหนี้ร่วม หรือศาลได้มีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

มาตรา ๑๖๓ ถ้าคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยการตก


ลงหรือการประนีประนอมยอมความหรืออนุญาโตตุลาการ คู่ความ
แต่ ล ะฝ่ า ยย่ อ มรั บ ผิ ด ในค่ า ฤชาธรรมเนี ย มในส่ ว นการดํ า เนิ น
กระบวนพิจารณาของตน เว้นแต่คู่ความจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่าง
อื่น

มาตรา ๑๖๔ ในกรณีที่วางเงินต่อศาลตามมาตรา


๑๓๕, ๑๓๖ นั้น จําเลยไม่ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแห่ง
จํานวนเงินที่วางนั้นอันเกิดขึ้นภายหลัง

ถ้าโจทก์ยอมรับเงินที่วางต่อศาลเป็นการพอใจเต็ม
ตามที่เรียกร้องแล้ว จําเลยต้องเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
164

ถ้าโจทก์ยอมรับเงินที่วางต่อศาลนั้นเป็นการพอใจ
เพี ย งส่ ว นหนึ่ ง แห่ ง จํ า นวนเงิ น ที่ เ รี ย กร้ อ ง และดํ า เนิ น คดี ต่ อ ไป
จําเลยต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะได้พิพากษาให้
โจทก์ แพ้ คดี ในกรณี เ ช่ น นี้ โ จทก์ ต้ องเป็ น ผู้ รั บ ผิ ดในค่ าฤชาธรรม
เนียมทั้งสิ้นอันเกิดแต่การที่ตนไม่ยอมรับเงินที่วางต่อศาลเป็นการ
พอใจตามที่เรียกร้อง

มาตรา ๑๖๕ ในกรณีที่มีการชําระหนี้ ดังบัญญัติ


ไว้ในมาตรา ๑๓๗ ถ้าโจทก์ยอมรับการชําระหนี้นั้น เป็น การพอใจ
เต็ม ตามที่เ รีย กร้อ งแล้ว จํา เลยต้อ งเป็น ผู้รับ ผิด ในค่า ฤชาธรรม
เนียม เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

ถ้าโจทก์ไม่พอใจในการชําระหนี้เช่นว่านั้น และ
ดําเนินคดีต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้อยู่ในดุลพินิจของศาล แต่ถ้า
ศาลเห็นว่าการชําระหนี้นั้นเป็นการพอใจเต็มตามที่โจทก์เรียกร้อง
แล้ว ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสิ้นอันเกิดแต่การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับ
ชําระหนี้นั้น โจทก์ต้องเป็นผู้รับผิด

มาตรา ๑๖๖108[๑๑๔] คู่ความฝ่ายใดทําให้ต้อง

108[๑ ๑ ๔ ]
ม า ต ร า ๑ ๖ ๖ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
165

เสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดําเนินไปโดย
ไม่ จํ า เป็ น หรื อ มี ลั ก ษณะประวิ ง คดี หรื อ ที่ ต้ อ งดํ า เนิ น ไปเพราะ
ความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง คู่ความฝ่ายนั้น
ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยมิพักคํานึงว่าคู่ความฝ่ายนั้น
จักได้ชนะคดีหรือไม่

มาตรา ๑๖๗ คําสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้น


ไม่ว่าคู่ความทั้งปวงหรือแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จักมีคําขอหรือไม่ก็ดี ให้
ศาลสั่งลงไว้ในคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดคดีหรือในคําสั่งจําหน่าย
คดีออกสารบบความ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเพื่อชี้ขาดตัดสินคดีใด ศาล
ได้มีคําสั่งอย่างใดในระหว่างการพิจารณา ศาลจะมีคําสั่งเรื่องค่ า
ฤชาธรรมเนียมสําหรับกระบวนพิจารณาที่เสร็จไปในคําสั่งฉบับนั้น
หรือในคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดคดีก็ได้แล้วแต่จะเลือก

ในกรณีที่มีข้อพิพาทในเรื่องที่ไม่เป็นประเด็นในคดี
ให้ศาลมีคําสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมสําหรับข้อพิพาทเช่นว่านี้ใน
คําสั่งชี้ขาดข้อพิพาทนั้น

ในกรณีที่มีการพิจารณาใหม่ ให้ศาลมีอํานาจที่จะ
สั่งเรื่องค่ าฤชาธรรมเนีย มสําหรั บการพิจารณาครั้งแรก และการ
พิจารณาใหม่ในคําพิพากษาหรือคําสั่งได้

๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑


166

มาตรา ๑๖๘ ในกรณีคู่ความอาจอุ ทธรณ์ หรื อ


ฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลได้นั้น ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์
หรื อฎี กาในปั ญ หาเรื่ องค่ า ฤชาธรรมเนี ย มแต่ อ ย่ า งเดี ย ว เว้ น แต่
อุ ท ธรณ์ ห รื อ ฎี ก านั้ น จะได้ ย กเหตุ ว่ า ค่ า ฤชาธรรมเนี ย มนั้ น มิ ไ ด้
กําหนดหรือคํานวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย

มาตรา ๑๖๙109[๑๑๕] เมื่อมีคําวินิจฉัยชี้ขาดใน


เรื่ อ งค่ า ฤชาธรรมเนี ย มแล้ ว ให้ หั ว หน้ า สํ า นั ก งานประจํ า ศาล
ยุติธรรมชั้นต้นทําบัญชีแสดงค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความทุกฝ่ายได้
เสียไปโดยลําดับ และจํานวนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสอง
ฝ่ายจะต้องรับผิดตามคําวินิจฉัยชี้ขาดของศาล คู่ความหรือบุคคลที่
เกี่ยวข้องอาจขอสําเนาบัญชีเช่นว่านั้นได้

มาตรา ๑๖๙/๑110[๑๑๖] ถ้าบุคคลซึ่งต้องชําระ

109[๑ ๑ ๕ ]
ม า ต ร า ๑ ๖ ๙ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑

110[๑๑๖] มาตรา ๑๖๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไข


167

ค่าฤชาธรรมเนียมค้างชําระค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลก็ดี หรือต่อเจ้า
พนั ก งานบั ง คั บ คดี ก็ ดี หรื อ ต่ อ บุ ค คลอื่ น ที่ มิ ใ ช่ เ จ้ า หนี้ ต ามคํ า
พิพากษาก็ดี ศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือบุคคลเช่นว่านั้นอาจ
บังคับเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลนั้นเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตามคํา
พิพากษาเพื่อชําระค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้
ถื อว่ าหั ว หน้ าสํ า นั กงานประจํ าศาลยุ ติธ รรมชั้ น ต้ น เจ้ า พนั กงาน
บังคับ คดี หรือบุคคลที่ มีสิ ทธิ ได้ รับ ค่าฤชาธรรมเนี ยมนั้น แล้ว แต่
กรณี เป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา

การบั งคั บ คดี ต ามวรรคหนึ่ ง ให้ ได้ รั บ ยกเว้ น ค่ า


ฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีทั้งปวง แต่หากยังมีเงินที่ได้จากการ
บังคับคดีคงเหลือภายหลังชําระให้แก่ผู้ มีสิทธิได้รับ ให้หักค่าฤชา
ธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไว้จากเงินนั้น

มาตรา ๑๖๙/๒111[๑๑๗] ภายใต้ บั ง คั บ แห่ ง


บทบัญญัติมาตรา ๑๖๙/๓ ให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้รับผิดใน
ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี โดยให้หักออกจากเงินที่ได้จาก
การยึ ด อายั ด ขาย หรื อ จํ า หน่ า ยทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ต ามคํ า

เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑

111[๑๑๗] มาตรา ๑๖๙/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
168

พิพากษาหรือจากเงินที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้วางไว้

ในกรณี ที่มีการบั งคั บ คดี แก่ ผู้ ป ระกั นในศาล ค่ า


ฤชาธรรมเนียมในการบังคับ คดีในส่วนนั้ นให้หั กออกจากเงินที่ได้
จากการบังคับคดีตามสัญญาประกัน112[๑๑๘]

ในกรณี ที่มีการบังคับ คดีตามคําพิพากษาให้แบ่ ง


กรรมสิทธิ์รวมหรือมรดกให้เจ้าของรวมหรือทายาทผู้ได้รับส่วนแบ่ง
ทุกคนเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีโดยให้หัก
ออกจากเงิ น ที่ ไ ด้ จ ากการขายหรื อ จํ า หน่ า ยทรั พ ย์ สิ น อั น เป็ น
กรรมสิทธิ์รวมหรือทรัพย์มรดกนั้น

ในกรณี ที่มีก ารถอนการบั งคั บ คดี น อกจากกรณี


ตามมาตรา ๒๙๒ (๑) และ (๕) ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาผู้ขอยึด
หรืออายัดทรัพย์สินเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับ
คดี113[๑๑๙]

112[๑๑๘] มาตรา ๑๖๙/๒ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

113[๑๑๙] มาตรา ๑๖๙/๒ วรรคสี่ แก้ ไ ขเพิ่ มเติม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
169

มาตรา ๑๖๙/๓114[๑๒๐] บุคคลใดทําให้ต้อง


เสียค่าฤชาธรรมเนีย มในการบังคับคดีส่วนใดโดยไม่จําเป็นหรือมี
ลักษณะประวิงการบังคับคดี หรือที่ต้องดําเนินไปเพราะความผิด
หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเพราะบังคับคดีไปโดย
ไม่สุจริตก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง ผู้ที่ได้รับความเสียหาย หรือ
ลูกหนี้ตามคําพิพากษา แล้วแต่กรณี อาจยื่นคําร้องต่อศาลภายใน
เจ็ดวันนับแต่วันทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เพื่อให้
ศาลมีคําสั่งให้บุคคลเช่นว่านั้นรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว

คําสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ ไปยังศาล
อุทธรณ์ได้ และคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

ภาค ๒

วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น

114[๑๒๐] มาตรา ๑๖๙/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
170

ลักษณะ ๑

วิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น

มาตรา ๑๗๐ ห้ามมิให้ฟ้อง พิจารณาและชี้ขาด


ตัดสินคดีเป็นครั้ งแรกในศาลหรื อโดยศาลอื่นนอกจากศาลชั้นต้ น
เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น

ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในภาคนี้ว่าด้วยคดีไม่มี
ข้อพิพาท คดีมโนสาเร่ คดีขาดนัด และคดีที่มอบให้อนุญาโตตุลาการ
ชี้ ข าด การฟ้ อ ง การพิ จ ารณาและชี้ ข าดตั ด สิ น คดี ใ นศาลชั้ น ต้ น
นอกจากจะต้ องบั งคั บ ตามบทบั ญญั ติ ทั่ว ไปแห่ งภาค ๑ แล้ ว ให้
บังคับตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ด้วย

มาตรา ๑๗๑ คดีที่ประมวลกฎหมายนี้บัญญัติว่า


จะฟ้องยังศาลชั้นต้น หรือจะเสนอปัญหาต่อศาลชั้นต้นเพื่อชี้ขาด
ตัดสิน โดยทําเป็นคําร้องขอก็ได้นั้น ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวล
กฎหมายนี้ ว่ า ด้ ว ยสิ ท ธิ แ ละหน้ า ที่ ข องโจทก์ แ ละจํ า เลย และวิ ธี
171

พิ จ ารณาที่ ต่ อ จากการยื่ น คํ า ฟ้ อ งมาใช้ บั ง คั บ แก่ ผู้ ยื่ น คํ า ขอและ


คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าหากมี และบังคับแก่วิธีพิจารณาที่ต่อจากการ
ยื่นคําร้องขอด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๑๗๒ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๕๗


ให้โจทก์เสนอข้อหาของตนโดยทําเป็นคําฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาล
ชั้นต้น

คําฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา
ของโจทก์และคําขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่น
ว่านั้น

ให้ศาลตรวจคําฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยก
เสีย หรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘

มาตรา ๑๗๓ เมื่อศาลได้รับคําฟ้องแล้ว ให้ศาล


ออกหมายส่ ง สํ า เนาคํ า ฟ้ อ งให้ แ ก่ จํ า เลยเพื่ อ แก้ ค ดี และภายใน
กํ า หนดเจ็ ด วั น นั บ แต่ วั น ยื่ น คํ าฟ้ อ ง ให้ โ จทก์ ร้ อ งขอต่ อ พนั ก งาน
เจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น115[๑๒๑]

115[๑๒๑] มาตรา ๑๗๓ วรรคหนึ่ง แก้ ไ ขเพิ่ม เติม โดย


172

นั บ แต่ เ วลาที่ ไ ด้ ยื่ น คํ า ฟ้ อ งแล้ ว คดี นั้ น อยู่ ใ น


ระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้

(๑) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อ
ศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นและ

(๒) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อัน
เกี่ยวด้วยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้น เช่น การ
เปลี่ยนแปลงภูมิลําเนาของจําเลย การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้หาตัด
อํานาจศาลที่รับฟ้องคดีไว้ในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี
นั้นไม่

มาตรา ๑๗๔ ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าโจทก์ได้ทิ้ง


ฟ้อง คือ

(๑)116[๑๒๒] ภายหลั ง ที่ ไ ด้ เ สนอคํ า ฟ้ อ งแล้ ว

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๐) พ.ศ. ๒๕๒๗

116[๑๒๒] มาตรา ๑๗๔ (๑) แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๐) พ.ศ. ๒๕๒๗
173

โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้
แก้คดีแก่จําเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่า
นั้นภายในกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคําฟ้อง

(๒) โจทก์เพิกเฉยไม่ดําเนินคดีภายในเวลาตามที่
ศาลเห็นสมควรกําหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคําสั่งให้แก่โจทก์โดย
ชอบแล้ว

มาตรา ๑๗๕ ก่อนจําเลยยื่นคําให้การ โจทก์อาจ


ถอนคําฟ้องได้โดยยื่นคําบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล

ภายหลังจําเลยยื่นคําให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคํา
ขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนคําฟ้อง
ได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่
เห็นสมควรก็ได้ แต่

(๑) ห้ ามไม่ ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิ ได้ฟังจําเลย


หรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน

(๒) ในกรณี ที่ โ จทก์ ถ อนคํ า ฟ้ อ ง เนื่ อ งจากมี


ข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจําเลย ให้ศาลอนุญาตไป
ตามคําขอนั้น
174

มาตรา ๑๗๖ การทิ้งคําฟ้องหรือถอนคําฟ้องย่อม


ลบล้ างผลแห่ งการยื่น คําฟ้องนั้ น รวมทั้ งกระบวนพิ จารณาอื่ น ๆ
อันมีมาต่อภายหลังยื่นคําฟ้อง และกระทําให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่
ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย แต่ว่าคําฟ้องใด ๆ ที่ได้
ทิ้งหรือถอนแล้ว อาจยื่นใหม่ได้ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของ
กฎหมายว่าด้วยอายุความ

มาตรา ๑๗๗ เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคําฟ้องให้


จําเลยแล้ว ให้จําเลยทําคําให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบ
ห้าวัน117[๑๒๓]

ให้จําเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคําให้การว่า จําเลย
ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้ง
เหตุแห่งการนั้น

จําเลยจะฟ้องแย้งมาในคําให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้อง
แย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคําฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จําเลย
ฟ้องเป็นคดีต่างหาก

117[๑๒๓] มาตรา ๑๗๗ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมเพิ่มโดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
175

ให้ศาลตรวจดูคําให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้
คืนไปหรือสั่งไม่รับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘

บ ท บั ญ ญั ติ แ ห่ ง ม า ต ร า นี้ ใ ห้ ใ ช้ บั ง คั บ แ ก่
บุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตามมาตรา ๕๗ (๓)
โดยอนุโลม

มาตรา ๑๗๘118[๑๒๔] ถ้าจําเลยฟ้องแย้งรวม


มาในคําให้การ ให้โจทก์ทําคําให้การแก้ฟ้องแย้งยื่นต่อศาลภายใน
สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งคําให้การถึงโจทก์

บทบัญญัติแห่งมาตราก่อน ให้ใช้บังคับแก่
คําให้การแก้ฟ้องแย้งนี้โดยอนุโลม

มาตรา ๑๗๙ โจทก์หรือจําเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อ


ต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงอันกล่าวไว้ในคําฟ้องหรือคําให้การที่เสนอ
ต่อศาลแต่แรกก็ได้

118[๑๒๔] มาตรา ๑๗๘ วรรคหนึ่ง แก้ ไ ขเพิ่ม เติม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
176

การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อ
ต่อไปนี้

(๑) เพิ่ ม หรื อ ลด จํ า นวนทุ น ทรั พ ย์ หรื อ ราคา


ทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือ

(๒) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติม


ฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคําฟ้องเพิ่มเติม หรือเสนอคําฟ้อง
เพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่ อบังคั บ
ตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง หรือ

(๓) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม หรือที่


ยื่ น ภายหลั ง หรื อ เปลี่ ย นแปลงแก้ ไ ขข้ อ อ้ า ง หรื อ ข้ อ เถี ย งเพื่ อ
สนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคําฟ้องใดต่อศาล
ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคําฟ้องเดิม
ต่อศาลแล้ว เว้นแต่คําฟ้องเดิมและคําฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกัน
พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

มาตรา ๑๘๐119[๑๒๕] การแก้ไขคํ าฟ้องหรื อ

119[๑ ๒ ๕ ]
ม า ต ร า ๑ ๘ ๐ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
177

คําให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้ว ให้ทําเป็นคําร้องยื่นต่อศาล
ก่อนวัน ชี้สองสถาน หรือก่อนวัน สืบ พยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ใน
กรณีที่ไม่มีการชี้ส องสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคํา
ร้องได้ ก่อนนั้ น หรื อเป็น การขอแก้ ไขในเรื่ องที่ เกี่ ย วกั บ ความสงบ
เรี ยบร้อยของประชาชน หรื อเป็ นการแก้ ไขข้อผิดพลาดเล็ กน้ อย
หรือข้อผิดหลงเล็กน้อย

มาตรา ๑๘๑ เว้นแต่ในกรณีที่คําร้องนั้นอาจทํา


ได้แต่ฝ่ายเดียว

(๑) ห้ามไม่ให้มีคําสั่งยอมรับการแก้ไข เว้นแต่จะ


ได้ส่งสําเนาคําร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างน้อย
สามวัน ก่อนกําหนดนัดพิจารณาคําร้องนั้น

(๒) ห้ ามมิ ให้ ศาลพิ พากษาหรื อมี คํ าสั่ งชี้ ขาดใน


ประเด็นที่คู่ความได้แก้ไขคําฟ้อง หรือคําให้การ เว้นแต่คู่ความอีก
ฝ่ายหนึ่งจะได้มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้าง
ข้อหาหรือข้อต่อสู้ใหม่ หรือข้ออ้าง หรือข้อเถียงใหม่ที่กล่าวไว้ในคํา
ร้องขอแก้ไขนั้น

๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘


178

มาตรา ๑๘๒ 120[๑๒๖] เมื่ อ ได้ ยื่ น คํ า ฟ้ อ ง


คําให้การ และคําให้การแก้ฟ้องแย้งถ้าหากมีแล้ว ให้ศาลทําการชี้
สองสถานโดยแจ้งกําหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่
น้อยกว่าสิบห้าวัน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) จําเลยคนใดคนหนึ่งขาดนัดยื่นคําให้การ

(๒) คําให้การของจําเลยเป็ นการยอมรับโดยชั ด


แจ้งตามคําฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น

(๓) คํ า ให้ ก ารของจํ า เลยเป็ น คํ า ให้ ก ารปฏิ เ สธ


ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น โดยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ ซึ่งศาลเห็นว่า
ไม่จําเป็นต้องมีการชี้สองสถาน

(๔) ศาลเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เสร็จไปทั้ง
เรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน

(๕) คดีมโนสาเร่ตามมาตรา ๑๘๙ หรือคดีไม่มีข้อ


ยุ่งยากตามมาตรา ๑๙๖

(๖) คดีที่ศาลเห็นว่ามีประเด็นข้อพิพาทไม่ยุ่งยาก

120[๑ ๒ ๖ ]ม า ต ร า ๑ ๘ ๒ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
179

หรือไม่จําเป็นที่จะต้องชี้สองสถาน

ในกรณีที่ไม่ต้องมีการชี้สองสถาน ให้ศาลมีคําสั่ง
งดการชี้ ส องสถานและกํ าหนดวั น สื บ พยาน ถ้ าหากมี แล้ ว ให้ ส่ ง
คําสั่งดังกล่าวให้คู่ความทราบตามมาตรา ๑๘๔ เว้นแต่คู่ความฝ่าย
ใดจะได้ทราบหรือถือว่าได้ทราบคําสั่งดังกล่าวแล้ว

คู่ความอาจตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทโดยยื่น
คํ า แถลงร่ว มกัน ต่อ ศาลในกรณีเ ช่น ว่า นี ้ ให้ กํา หนดประเด็ น ข้ อ
พิพาทไปตามนั้น แต่ถ้าศาลเห็นว่าคําแถลงนั้นไม่ถูกต้อง ก็ให้ศาลมี
อํานาจที่จ ะมีคําสั่งยกคําแถลงนั้น แล้วดํ าเนิ นการชี้สองสถานไป
ตามมาตรา ๑๘๓

มาตรา ๑๘๒ ทวิ121[๑๒๗] (ยกเลิก)

มาตรา ๑๘๓122[๑๒๘] ในวั น ชี้ ส องสถาน ให้


121[๑๒๗]
มาตรา ๑๘๒ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ.
๒๕๓๘

122[๑๒๘] มาตรา ๑๘๓ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
180

คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจคําคู่ความและคําแถลงของคู่ความ
แล้ ว นํ าข้ อ อ้ าง ข้ อเถี ย ง ที่ ป รากฏในคํ า คู่ ความและคํ า แถลงของ
คู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ความทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง
และพยานหลั ก ฐานที่ จ ะยื่ น ต่ อ ศาลว่ าฝ่ ายใดยอมรั บ หรื อ โต้ แย้ ง
ข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใดที่คู่ความยอมรับกันก็เป็น
อันยุติไปตามนั้น ส่วนข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่ง
ยกขึ้ น อ้ า งแต่ คํ า คู่ ค วามฝ่ า ยอื่ น ไม่ รั บ และเกี่ ย วเนื่ อ งโดยตรงกั บ
ประเด็นข้อพิพาทตามคําคู่ความให้ศาลกําหนดไว้เป็นประเด็นข้อ
พิ พาท และกํ า หนดให้ คู่ความฝ่ ายใดนํ าพยานหลั กฐานมาสื บใน
ประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้

ในการสอบถามคู่ความตามวรรคหนึ่ง คู่ความแต่ละ
ฝ่ายต้องตอบคําถามที่ศาลถามเองหรือถามตามคําขอของคู่ความฝ่าย
อื่น เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกขึ้นเป็นข้ออ้าง ข้อเถียง
และพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความจะยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่
ตอบคําถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มี
เหตุผลอันสมควร ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่คู่ความ
ฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบหรือแสดงเหตุผลแห่งการปฏิเสธได้ใน
ขณะนั้น

คู่ค วามมีสิท ธิคัด ค้า นว่า ประเด็น ข้อ พิพ าทหรือ


หน้าที่นําสืบ ที่ศาลกําหนดไว้นั้นไม่ถูกต้อง โดยแถลงด้วยวาจาต่อ
ศาลในขณะนั้นหรือยื่นคําร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาล
สั่งกําหนดประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นําสืบ ให้ศาลชี้ขาดคําคัดค้าน
นั้นก่อนวันสืบพยาน คําชี้ขาดคําคัดค้านดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับ
181

มาตรา ๒๒๖

มาตรา ๑๘๓ ทวิ 123[๑๒๙] ในกรณีที่คู่ความ


ทุกฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ให้ศาลทํา
การชี้ส องสถานโดยให้ถือว่าคู่ความที่ไม่มาศาลได้ ทราบกระบวน
พิจารณาในวันนั้นแล้ว

คู่ความที่ไม่มาศาลนั้นไม่มีสิทธิคัดค้านว่าประเด็น
ข้อพิพาทและหน้าที่นําสืบที่ศาลกําหนดไว้นั้นไม่ถูกต้อง เว้นแต่เป็น
กรณีที่ไม่สามารถมาศาลได้ในวันชี้สองสถาน เพราะเหตุจําเป็นอัน
ไม่อาจก้าวล่วงได้ หรือเป็นการคัดค้านในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบ
เรียบร้อยของประชาชน ในกรณีเช่นนี้ให้นํามาตรา ๑๘๓ วรรคสาม
มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๑๘๓ ตรี124[๑๓๐] (ยกเลิก)

123[๑๒๙] มาตรา ๑๘๓ ทวิ แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘

124[๑๓๐]มาตรา ๑๘๓ ตรี ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ.
182

มาตรา ๑๘๓ จัตวา125[๑๓๑] (ยกเลิก)

มาตรา ๑๘๔126[๑๓๒] ในกรณี ที่มี การชี้ ส อง


สถาน ให้ศาลกําหนดวันสืบพยานซึ่งมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบวัน
นับแต่วันชี้สองสถาน

ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลออกหมาย
กําหนดวันสืบพยานส่งให้แก่คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน

มาตรา ๑๘๕ ในวั น นั ด สื บ พยาน เมื่ อ ศาล

๒๕๓๘

125[๑ ๓ ๑ ]ม า ต ร า ๑ ๘ ๓ จั ต ว า ย ก เ ลิ ก โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๓๘

126[๑ ๓ ๒ ]ม า ต ร า ๑ ๘ ๔ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
183

เห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอ ศาลจะอ่านให้


คู่ความฟังซึ่งคําฟ้อง คําให้การ และคําให้การแก้ฟ้องแย้ง ถ้าหากมี
หรือรายงานพิสดารแห่งการชี้สองสถาน แล้วแต่กรณี และคําร้อง
ขอแก้ไขเพิ่มเติม (ที่ ได้ ยื่นต่ อศาลและส่งไปให้แก่คู่ความแล้ว โดย
ชอบ) ก็ได้

ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติสามมาตราต่อไปนี้ ให้
ศาลสืบพยานตามประเด็นในข้อพิพาทตามบทบัญญัติแห่งประมวล
กฎหมายนี้ว่าด้วยพยานหลักฐาน และฟังคําแถลงการณ์ด้วยวาจา
ของคู่ความทั้งปวง

มาตรา ๑๘๖ เมื่ อ สื บ พยานเสร็ จ แล้ ว ให้ ศ าล


อนุ ญ าตให้ โ จทก์ แ ถลงการณ์ ด้ ว ยวาจาก่ อ น แล้ ว จึ ง ให้ จํ า เลย
แถลงการณ์ด้วยวาจาทบทวน ข้อเถียง แสดงผลแห่งพยานหลักฐาน
ในประเด็ น ที่ พิ พาท ต่ อ จากนี้ ใ ห้ ศ าลอนุ ญาตให้ โ จทก์ แ ถลงตอบ
จําเลยได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ห้ามไม่ให้คู่ความแถลงการณ์ด้วย
วาจาอย่างใดอีก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล

ก่ อ นพิ พ ากษาคดี ไม่ ว่ า คู่ ค วามฝ่ า ยใดจะได้


แถลงการณ์ ด้ ว ยวาจาแล้ ว หรื อ ไม่ คู่ ค วามฝ่ า ยนั้ น จะยื่ น คํ า
แถลงการณ์เป็นหนังสือต่อศาลก็ได้ แต่ต้องส่งสําเนานั้น ๆ ไปยั ง
คู่ความอื่น ๆ
184

มาตรา ๑๘๗ เมื่อได้สืบพยานตามที่จําเป็นและ


คู่ความได้แถลงการณ์ ถ้าหากมี เสร็จแล้ว ให้ถือว่าการพิจารณาเป็น
อั น สิ้ น สุ ด แต่ ต ราบใดที่ ยั ง มิ ไ ด้ มี คํ า พิ พ ากษา ศาลอาจทํ า การ
พิ จ ารณาต่ อ ไปอี ก ได้ ตามที่ เห็ น สมควร เพื่ อประโยชน์ แห่ ง ความ
ยุติธรรม

มาตรา ๑๘๘ ในคดี ที่ ไ ม่ มี ข้ อ พิ พ าท ให้ ใ ช้


ข้อบังคับต่อไปนี้

(๑) ให้เริ่มคดีโดยยื่นคําร้องขอต่อศาล

(๒) ศาลอาจเรี ย กพยานมาสื บ ได้ เ องตามที่ เห็ น


จําเป็น และวินิจฉัยชี้ขาดตามที่เห็นสมควรและยุติธรรม

(๓) ทางแก้แห่งคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลนั้น
ให้ใช้ได้แต่โดยวิธียื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้น และให้อุทธรณ์ฎีกาได้
แต่เฉพาะในสองกรณีต่อไปนี้

(ก) ถ้าศาลได้ยกคําร้องขอของคู่ความฝ่ายที่
เริ่มคดีเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือ

(ข) ในเหตุ ที่มิไ ด้ ป ฏิ บั ติ ตามบทบั ญญั ติ แห่ ง


ประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาหรือพิพากษาหรือคําสั่ง
185

(๔) ถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดี
อันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้
ถื อ ว่ า บุ ค คลเช่ น ว่ า มานี้ เ ป็ น คู่ ค วาม และให้ ดํ า เนิ น คดี ไ ปตาม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท แต่ใน
คดีที่ยื่นคําร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ให้คํา
อนุ ญ าตที่ ผู้ แ ทนโดยชอบธรรมได้ ป ฏิ เ สธเสี ย หรื อ ให้ ศ าลมี คํ า
พิ พ ากษาหรื อ คํ า สั่ ง ถอนคื น คํ า อนุ ญ าตอั น ได้ ใ ห้ ไ ว้ แ ก่ ผู้ ไ ร้
ความสามารถนั้น ให้ถือว่าเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท แม้ถึงว่าผู้แทนโดย
ชอบธรรมหรื อผู้ ไ ร้ ค วามสามารถนั้ น จะได้ ม าศาล และแสดงข้ อ
คัดค้านในการให้คําอนุญาตหรือถอนคืนคําอนุญาตเช่นว่านั้น

ลักษณะ ๒

วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น

หมวด ๑

วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่
186

มาตรา ๑๘๙127[๑๓๓] คดีมโนสาเร่ คือ

(๑)128[๑๓๔] คดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อัน
อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่
กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

(๒)129[๑๓๕] คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจาก


อสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่
เกิ น เดื อ นละสี่ พั น บาทหรื อ ไม่ เ กิ น จํ า นวนที่ กํ า หนดในพระราช
กฤษฎีกา

127[๑ ๓ ๓ ]ม า ต ร า ๑ ๘ ๙ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔

128[๑๓๔]
พระราชกฤษฎีก ากํา หนดจํา นวนเงิน ในคดี
มโนสาเร่ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กํา หนดขยายเป็น คดีที่มีคํา ขอให้ป ลดเปลื้อ ง
ทุกข์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท

129[๑๓๕] พระราชกฤษฎีก ากํา หนดจํา นวนเงิน ในคดี


มโนสาเร่ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กําหนดขยายเป็น คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออก
จากอสังหาริมทรัพย์อัน มีค่าเช่าหรือาจให้เช่าได้ใ นขณะยื่นคํา ฟ้องไม่เกิน
เดือนละสามหมื่นบาท
187

มาตรา ๑๙๐ จํ า นวนทุ น ทรั พ ย์ ห รื อ ราคาอั น


พิพาทกันในคดีนั้น ให้คํานวณดังนี้

(๑) จํานวนทุนทรัพย์หรือราคานั้นให้คํานวณตาม
คําเรียกร้องของโจทก์ ส่วนดอกผลอันมิถึงกําหนดเกิดขึ้นในเวลายื่น
คํ า ฟ้ อ งหรื อ ค่ า ธรรมเนี ย มศาลซึ่ ง อาจเป็ น อุ ป กรณ์ ร วมอยู่ ใ นคํ า
เรียกร้อง ห้ามไม่ให้คํานวณรวมเข้าด้วย

(๒) ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีข้อโต้แย้ง จํานวนทุน


ทรัพย์หรือราคานั้น ให้ศาลกะประมาณตามที่เป็นอยู่ในเวลายื่นฟ้อง
คดี

(๓)130[๑๓๖] คดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่มีข้อหา
หลายข้อ อันมีจํานวนทุนทรัพย์หรือราคาไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือไม่
เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ให้รวมจํานวนทุนทรัพย์
หรือราคาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน แต่ถ้าข้อหาเหล่านั้นจะต้องเรียกร้อง
เอาแก่จําเลยหลายคน ถึงแม้ว่าถ้ารวมความรับผิดของจําเลยหลาย
คนนั้นเข้าด้วยกันแล้วจะไม่เป็นคดีมโนสาเร่ก็ตาม ให้ถือเอาจํานวน
ที่เรียกร้องเอาจากจําเลยคนหนึ่ง ๆ นั้น เป็นประมาณแก่การที่จะ

130[๑๓๖] มาตรา ๑๙๐ (๓) แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
188

ถือว่าคดีนั้นเป็นคดีมโนสาเร่หรือไม่

มาตรา ๑๙๐ ทวิ131[๑๓๗] ในคดีมโนสาเร่ ให้


ศาลดําเนินกระบวนพิจารณาไปตามบทบัญญัติในหมวดนี้

มาตรา ๑๙๐ ตรี132[๑๓๘] ในคดีมโนสาเร่ ให้


ศาลมีอํานาจที่จะออกคําสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กําหนดไว้
ในประมวลกฎหมายนี้หรือตามที่ศาลได้กําหนดไว้ หรือระยะเวลาที่
เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกําหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้
ดําเนินหรือมิให้ดําเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น
ได้ เมื่อมีความจําเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

131[๑๓๗] มาตรา ๑๙๐ ทวิ เพิ่ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ.
๒๕๔๒

132[๑๓๘] มาตรา ๑๙๐ ตรี เพิ่ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ.
๒๕๔๒
189

มาตรา ๑๙๐ จั ตวา133[๑๓๙] ในคดี มโนสาเร่


ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามตาราง ๑ ท้ายประมวลกฎหมายนี้ แต่ค่า
ขึ้นศาลรวมกันแล้วไม่เกินหนึ่งพันบาท134[๑๔๐]

ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ให้ผู้อุทธรณ์
หรือผู้ฎีกาเสียตามจํานวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกัน
ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา แล้วแต่กรณี

มาตรา ๑๙๑135[๑๔๑] วิธีฟ้องคดีมโนสาเร่นั้น


โจทก์อาจยื่นคําฟ้องเป็นหนังสือหรือมาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อศาล
ก็ได้

133[๑๓๙]
มาตรา ๑๙๐ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ.
๒๕๔๒

134[๑๔๐]
มาตรา ๑๙๐ จัตวา วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติม
โดยโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑

135[๑ ๔ ๑ ]ม า ต ร า ๑ ๙ ๑ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
190

ในกรณี ที่โ จทก์ ยื่ น คํ าฟ้ องเป็ น หนั งสื อ หากศาล


เห็นว่าคําฟ้องดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือขาดสาระสําคัญบางเรื่อง ศาล
อาจมีคําสั่งให้โจทก์แก้ไขคําฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้น
ก็ได้

ถ้าโจทก์มาแถลงข้อหาด้วยวาจาดังกล่าวแล้ว ให้
ศาลบั นทึ กรายการแห่งข้ อหาเหล่านั้นไว้ อ่านให้ โ จทก์ฟัง แล้ว ให้
โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสําคัญ

มาตรา ๑๙๒ เมื่ อศาลเห็นว่ าคดีที่ฟ้องไม่ใช่คดี


มโนสาเร่ แ ละศาลนั้ น มี เ ขตอํ า นาจที่ จ ะพิ จ ารณาคดี นั้ น อย่ า งคดี
สามัญได้ ถ้าคดีนั้นได้ฟ้องโดยคําแถลงด้วยวาจา ก็ให้ศาลมีคําสั่งให้
โจทก์ ยื่นคําฟ้องเป็นหนั งสืออย่างคดีสามั ญ แต่ ถ้าคดี นั้นได้ ยื่นคํ า
ฟ้ อ งเป็ น หนั ง สื อ อยู่ แ ล้ ว ห้ า มมิ ใ ห้ ศ าลออกหมายเรี ย กอย่ า งอื่ น
นอกจากที่บัญญัติไว้สําหรับคดีสามัญ

ถ้าคดีนั้นไม่เป็นคดีมโนสาเร่ต่อไป เนื่องจากได้มี
คําฟ้องเพิ่มเติมยื่น เข้ ามาภายหลั ง และศาลนั้ นมี เขตอํานาจที่ จ ะ
พิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญได้ ก็ให้ศาลดําเนินการพิจารณาไป
อย่างคดีสามัญ

ในกรณีใดกรณีห นึ่ งดั งกล่ าวมาแล้ว ถ้ าศาลไม่ มี


เขตอํานาจพิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญ ให้ศาลมีคําสั่งคืนคําฟ้อง
นั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอํานาจ
191

ในกรณีที่จําเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคดีมโนสาเร่และ
ฟ้องแย้งนั้นมิใช่คดีมโนสาเร่ หรือในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้พิจารณา
คดี ส ามั ญ รวมกั บ คดี ม โนสาเร่ ให้ ศ าลดํ า เนิ น การพิ จ ารณาคดี
มโนสาเร่ไปอย่างคดีสามัญ แต่เมื่อศาลพิจารณาถึงจํานวนทุนทรัพย์
ลักษณะคดี สถานะของคู่ความ หรือเหตุสมควรประการอื่นแล้วเห็น
ว่า การนําบทบัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับแก่คดีในส่วนของฟ้อง
แย้งหรือคดีสามัญเช่นว่านั้นจะทําให้การดําเนินคดีเป็นไปด้วยความ
รวดเร็วและเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย ก็ให้ศาลมีอํานาจพิจารณา
คดีในส่วนของฟ้องแย้งหรือคดีสามัญนั้นอย่างคดีมโนสาเร่ได้136
[๑๔๒]

คํ าสั่ งอย่ างใดอย่ างหนึ่ งของศาลตามวรรคสี่ ไม่


กระทบถึงค่าขึ้นศาลที่คู่ความแต่ละฝ่ายต้องชําระอยู่ก่อนที่ศาลจะมี
คําสั่งเช่นว่านั้น137[๑๔๓]

136[๑๔๒] มาตรา ๑๙๒ วรรคสี่ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ.
๒๕๔๒

137[๑ ๔ ๓ ] ม า ต ร า ๑ ๙ ๒ ว ร ร ค ห้ า เ พิ่ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๒
192

มาตรา ๑๙๓138[๑๔๔] ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาล


กําหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็วและออกหมายเรียกไปยังจําเลย ใน
หมายนั้นให้จดแจ้งประเด็นแห่งคดีและจํานวนทุนทรัพย์หรือราคาที่
เรียกร้อง และข้อความว่าให้จําเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ
และสืบพยานในวันเดียวกัน และให้ศาลสั่งให้โจทก์มาศาลในวันนัด
พิจารณานั้นด้วย

ในวันนัดพิจารณา เมื่อโจทก์และจําเลยมาพร้อม
กันแล้ว ให้ศาลไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอม
ยอมความกันในข้อที่พิพาทนั้นก่อน

ถ้ า คู่ ค ว า ม ไ ม่ อ า จ ต ก ล ง กั น ห รื อ ไ ม่ อ า จ
ประนีประนอมยอมความกันได้และจําเลยยังไม่ได้ยื่นคําให้การให้
ศาลสอบถามคําให้การของจําเลย โดยจําเลยจะยื่นคําให้การเป็น
หนั ง สื อ หรื อ จะให้ ก ารด้ ว ยวาจาก็ ไ ด้ ในกรณี ยื่ น คํ า ให้ ก ารเป็ น
หนังสือให้ นํามาตรา ๑๙๑ วรรคสอง มาใช้บั งคั บโดยอนุโ ลม ใน
กรณีให้การด้วยวาจา ให้ศาลบันทึกคําให้การรวมทั้งเหตุการณ์นั้นไว้
อ่านให้จําเลยฟัง แล้วให้จําเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นสําคัญ

ถ้าจําเลยไม่ให้การตามวรรคสาม ให้ศาลมีอํานาจ
ใช้ดุลพินิจมีคําสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จําเลยยื่นคําให้การ โดยให้ถือ
138[๑๔๔]
มาตรา ๑๙๓ แก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ.
๒๕๔๒
193

ว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ และให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้
ขาดโดยนํามาตรา ๑๙๘ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ในกรณีที่
ศาลมีคําสั่งให้สืบพยาน ก็ให้ศาลดําเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๙๓
ตรี มาตรา ๑๙๓ จัตวา และมาตรา ๑๙๓ เบญจ139[๑๔๕]

มาตรา ๑๙๓ ทวิ140[๑๔๖] ในคดีมโนสาเร่ เมื่อ


โจทก์ได้ทราบคําสั่งให้มาศาลตามมาตรา ๑๙๓ แล้วไม่มาในวันนัด
พิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดีให้ถือว่าโจทก์ไม่
ประสงค์จะดําเนินคดีต่อไป ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีออกเสียจาก
สารบบความ

เมื่อจําเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา
๑๙๓ แล้วไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้
เลื่อนคดี ถ้าจําเลยไม่ได้ยื่นคําให้การไว้ให้ถือว่าจําเลยขาดนัดยื่ น
คําให้การและให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งโดยนํามาตรา ๑๙๘

139[๑๔๕] มาตรา ๑๙๓ วรรคสี่ แก้ ไ ขเพิ่ ม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑

140[๑ ๔ ๖ ]ม า ต ร า ๑ ๙ ๓ ท วิ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
194

ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าจําเลยได้ยื่นคําให้การไว้ก่อนหรือ


ในวันนัดดังกล่าว ให้ถือว่าจําเลยขาดนัดพิจารณา และให้บังคับตาม
มาตรา ๒๐๔ มาตรา ๒๐๕ มาตรา ๒๐๖ และมาตรา ๒๐๗ และไม่
ว่าจะเป็นกรณีใด ถ้าศาลมีคําสั่ง ให้สืบพยานก็ให้ศาลดําเนินการ
ต่อไปตามมาตรา ๑๙๓ ตรี มาตรา ๑๙๓ จัตวา และมาตรา ๑๙๓
เบญจ

มาตรา ๑๙๓ ตรี 141[๑๔๗] เมื่ อ ศาลได้ รั บ


คําให้การของจําเลยตามมาตรา ๑๙๓ วรรคสาม หรือศาลมีคําสั่งให้
สืบพยานตามมาตรา ๑๙๓ วรรคสี่ หรือมาตรา ๑๙๓ ทวิ วรรคสอง
ให้ศาลดําเนินการพิจารณาคดีต่อไปโดยเร็ว และให้ศาลสอบถาม
คู่ ค วามฝ่ า ยที่ จ ะต้ อ งนํ า พยานเข้ า สื บ ว่ า ประสงค์ จ ะอ้ า งอิ ง
พยานหลักฐานใดแล้วบันทึกไว้ หรือสั่งให้คู่ความจัดทําบัญชีระบุ
พยานยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควร โดยในกรณีที่
มิใช่การพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ศาลจะกําหนดให้คู่ความฝ่ายใดนํา
พยานหลักฐานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้

141[๑ ๔ ๗ ]ม า ต ร า ๑ ๙ ๓ ต รี แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
195

มาตรา ๑๙๓ จั ตวา142[๑๔๘] ในคดี มโนสาเร่


เพื่ อป ระ โ ย ช น์ แห่ ง คว าม ยุ ติ ธ ร รม ให้ ศ าล มี อํ าน าจ เรี ย ก
พยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร

ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใด
อ้างหรือที่ศาลเรียกมาเอง ให้ศาลเป็นผู้ซักถามพยานก่อน เสร็จแล้ว
จึงให้ตัวความหรือทนายความซักถามเพิ่มเติมได้

ให้ศาลมีอํานาจซักถามพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
ใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับคดี แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างก็ตาม

ในการบั น ทึ ก คํ า เบิ ก ความของพยาน เมื่ อ ศาล


เห็ น สมควร จะบั น ทึ ก ข้ อ ความแต่ โ ดยย่ อ ก็ ไ ด้ แล้ ว ให้ พ ยานลง
ลายมือชื่อไว้

มาตรา ๑๙๓ เบญจ143[๑๔๙] ในคดีมโนสาเร่


142[๑๔๘]
มาตรา ๑๙๓ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ.
๒๕๔๒

143[๑๔๙]
มาตรา ๑๙๓ เบญจ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ.
๒๕๔๒
196

ให้ ศาลนั่งพิจ ารณาคดี ติดต่ อกั นไปโดยไม่ ต้องเลื่ อน เว้ นแต่ มีเหตุ
จําเป็น ศาลจะมีคําสั่งเลื่อนได้ครั้งละไม่เกินเจ็ดวัน

มาตรา ๑๙๔ คดีมโนสาเร่ นั้ น ให้ศาลมี อํานาจ


ออกคําสั่งหรือคําพิพากษาด้วยวาจาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๑

มาตรา ๑๙๕144[๑๕๐] นอกจากที่ บั ญ ญั ติ


มาแล้ ว ให้ นําบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่
การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๑๙๖145[๑๕๑] ในคดี ส ามั ญซึ่ ง โจทก์

144[๑ ๕ ๐ ]ม า ต ร า ๑ ๙ ๕ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑

145[๑ ๕ ๑ ]ม า ต ร า ๑ ๙ ๖ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
197

ฟ้องเพียงขอให้ชําระเงินจํานวนแน่นอนตามตั๋ ว เงิ น ซึ่ ง การรั บ รอง


หรื อ การชํา ระเงิ น ตามตั๋ ว เงิ น นั้ น ได้ ถู ก ปฏิ เ สธ หรื อ ตามสั ญ ญา
เป็ น หนั ง สื อ ซึ่ ง ปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นสัญญาอันแท้จริงมีความ
สมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จะยื่นคําขอโดยทําเป็นคํา
ร้องต่อศาลพร้อมกับคําฟ้องขอให้ศาลพิจารณาคดีนั้นโดยรวบรัดก็
ได้

ถ้ า ศาลเห็ น ว่ า คดี ต ามวรรคหนึ่ ง นั้ น ปรากฏใน


เบื้องต้นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคําขอตามวรรค
หนึ่ ง หรื อไม่ ให้ ศาลมี คําสั่ งให้ นํ า บทบั ญญั ติใ นหมวดนี้ ว่ า ด้ ว ยวิ ธี
พิจารณาคดีมโนสาเร่ เว้นแต่มาตรา ๑๙๐ จัตวา มาใช้บังคับแก่คดี
เช่นว่านั้นได้

ถ้าในระหว่างการพิจารณาปรากฏว่าคดีไม่ตกอยู่
ภายใต้บังคับแห่งมาตรานี้ ศาลอาจมีคําสั่งเพิกถอนคําสั่งเดิมแล้ว
ดําเนินการพิจารณาต่อไปตามข้อบังคับแห่งคดีสามัญได้

หมวด ๒

การพิจารณาโดยขาดนัด146[๑๕๒]

146[๑๕๒]
หมวด ๒ การพิ จ ารณาโดยขาดนัด มาตรา
๑๙๗ ถึ ง มาตรา ๒๐๙ แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ แ ก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม
198

ส่วนที่ ๑

การขาดนัดยื่นคําให้การ

มาตรา ๑๙๗147[๑๕๓] เมื่ อ จํ า เลยได้ รั บ


หมายเรี ย กให้ ยื่ น คํ า ให้ ก ารแล้ ว จํ า เลยมิ ไ ด้ ยื่ น คํ า ให้ ก ารภายใน
ระยะเวลาที่ กําหนดไว้ตามกฎหมายหรื อตามคําสั่ งศาล ให้ถือว่ า
จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓

147[๑ ๕ ๓ ]
ม า ต ร า ๑ ๙ ๗ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
199

มาตรา ๑๙๘148[๑๕๔] ถ้า จํา เลยขาดนัด ยื่น


คํ า ให้ก าร ให้โ จทก์ม ีคํ า ขอต่อ ศาลภายในสิบ ห้า วัน นับ แต่
ระยะเวลาที่กําหนดให้จําเลยยื่นคําให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมี
คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด

ถ้ า โจทก์ ไ ม่ ยื่ น คํ า ขอต่ อ ศาลภายในกํ า หนด


ระยะเวลาดังกล่ าวแล้ว ให้ศาลมีคําสั่งจํ าหน่ายคดีนั้นเสี ยจากสา
รบบความ

ถ้าโจทก์ยื่นคําขอต่อศาลภายในกําหนดระยะเวลา
ดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดไป
ตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ แต่ถ้าศาลมีเหตุสงสัยว่าจํ าเลยจะไม่ทราบ
หมายเรียกให้ยื่นคําให้การ ก็ให้ศาลมีคําสั่งให้มีการส่งหมายเรียก
ใหม่ โดยวิ ธี ส่ ง หมายธรรมดาหรื อโดยวิ ธี อื่น แทนและจะกํ าหนด
เงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรเพื่อให้จําเลยได้ทราบหมายเรียก
นั้นก็ได้

มาตรา ๑๙๘ ทวิ 149[๑๕๕] ศาลจะมี คํ า

148[๑ ๕ ๔ ]ม า ต ร า ๑ ๙ ๘ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓

149[๑๕๕] มาตรา ๑๙๘ ทวิ เพิ่ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ


200

พิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจําเลยขาดนัด
ยื่นคําให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคําฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่
ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลําพังซึ่งข้อกฎหมาย
อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้

เพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือมี คําสั่งชี้ขาด
คดีตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือ
พยานหลักฐานอื่ นไปฝ่ ายเดี ยวตามที่เห็น ว่าจําเป็ นก็ ได้ แต่ในคดี
เกี่ ย วด้ ว ยสิ ทธิ แห่ งสภาพบุ คคล สิ ทธิ ในครอบครั ว หรื อคดี พิพาท
เกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ศาลสืบพยานหลักฐาน
โจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เอง
ตามที่เห็นว่าจําเป็น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

ในการกํ า หนดจํ า นวนเงิ น ตามคํ า ขอบั ง คั บ ของ


โจทก์ ให้ศาลปฏิบัติดังนี้

(๑) ในกรณีที่โจทก์มีคําขอบังคั บให้จํ าเลยชํ าระ


หนี้เป็นเงินจํานวนแน่นอนให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสาร
ตามที่ศาลเห็นว่าจําเป็นแทนการสืบพยาน

(๒) ในกรณีที่โจทก์มีคําขอบังคั บให้จํ าเลยชํ าระ


หนี้ เ ป็ น เงิ น อั น ไม่ อ าจกํ า หนดจํ า นวนได้ โ ดยแน่ น อน ให้ ศ าลสื บ

แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ.


๒๕๔๓
201

พยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐาน
อื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจําเป็น

ถ้ าจํ า เลยที่ ขาดนั ดยื่ น คํ าให้ การไม่ ม าศาลในวั น


สืบพยานตามมาตรานี้ มิให้ถือว่าจําเลยนั้นขาดนัดพิจารณา

ถ้าโจทก์ไม่นําพยานหลักฐานมาสืบตามความใน
มาตรานี้ภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด ให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มี
มูล และให้ศาลยกฟ้องของโจทก์

มาตรา ๑๙๘ ตรี150[๑๕๖] ในคดีที่จําเลยบาง


คนขาดนัดยื่นคําให้การ ให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดคดีโดย
ขาดนัดยื่นคําให้การระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การ
นั้นไปก่อนและดําเนินการพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ยื่น
คํ า ให้ ก ารต่ อ ไป แต่ ถ้ า มู ล ความแห่ ง คดี นั้ น เป็ น การชํ า ระหนี้ ซึ่ ง
แบ่งแยกจากกันมิได้ ให้ศาลรอการพิพากษาหรือมีคําสั่งชี้ขาดคดี
โดยขาดนัดยื่นคําให้การไว้ก่อน เมื่อศาลดําเนินการพิจารณาสําหรับ
จําเลยที่ยื่นคําให้การเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้
ขาดคดีไปตามรูปคดีสําหรับจําเลยทุกคน

150[๑๕๖]
มาตรา ๑๙๘ ตรี เพิ่ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ.
๒๕๔๓
202

ในกรณีที่จําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การไม่มาศาลใน
วันสืบพยานของคู่ความอื่นมิให้ถือว่าจําเลยนั้นขาดนัดพิจารณา

มาตรา ๑๙๙151[๑๕๗] ถ้าจําเลยที่ ขาดนัดยื่ น


คําให้การมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีและแจ้งต่อศาลในโอกาส
แรกว่ า ตนประสงค์ จ ะต่ อ สู้ ค ดี เมื่ อ ศาลเห็ น ว่ า การขาดนั ด ยื่ น
คํ าให้ การนั้ น มิ ไ ด้ เป็ นไปโดยจงใจหรื อมี เหตุ อัน สมควร ให้ ศาลมี
คําสั่งอนุญาตให้จําเลยยื่นคําให้การภายในกําหนดเวลาตามที่ศาล
เห็นสมควรและดําเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่เวลาที่จําเลยขาด
นัดยื่นคําให้การ

ในกรณี ต ามวรรคหนึ่ ง ถ้ า จํ า เลยที่ ข าดนั ด ยื่ น


คํ า ให้ ก ารมิ ไ ด้ แ จ้ ง ต่ อ ศาลก็ ดี หรื อ ศาลเห็ น ว่ า การขาดนั ด ยื่ น
คํ าให้ การนั้ น เป็ น ไปโดยจงใจหรื อ ไม่ มี เหตุ อัน สมควรก็ ดี ให้ ศาล
ดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ในกรณีเช่นนี้ จําเลยอาจถามค้าน
พยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบได้ แต่จะนําสืบพยานหลักฐานของ
ตนไม่ได้

ใน ก รณี ที ่ จํ า เ ล ย มิ ไ ด้ ยื ่ น คํ า ใ ห้ ก า ร ภ า ย ใ น

151[๑ ๕ ๗ ]
ม า ต ร า ๑ ๙ ๙ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
203

กํ า หนดเวลาตามวรรคหนึ ่ ง หรื อ ศาลไม่ อ นุ ญ าตให้ จํ าเลยยื่ น


คําให้ การตามวรรคสอง หรื อศาลเคยมี คําสั่ งให้ พิจ ารณาคดี ใหม่
ตามคําขอของจําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การตามมาตรา ๑๙๙ ตรี มา
ก่อน จําเลยนั้นจะขอยื่นคําให้การตามมาตรานี้อีกหรือจะร้องขอให้
พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้

มาตรา ๑๙๙ ทวิ152[๑๕๘] เมื่อศาลพิพากษาให้


จําเลยที่ ขาดนั ดยื่ นคํ าให้การแพ้ คดี ศาลอาจกํ าหนดการอย่างใด
ตามที่เห็นสมควรเพื่อส่งคําบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งให้แก่
จําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่น
แทน หรือศาลจะให้เลื่อนการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งเช่น
ว่านั้นไปภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรก็ได้

152[๑๕๘] มาตรา ๑๙๙ ทวิ เพิ่ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ


แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ.
๒๕๔๓
204

การบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งแก่จําเลยที่
ขาดนั ดยื่น คําให้การนั้ นให้บั งคับ ตามมาตรา ๒๗๓ มาตรา ๒๘๙
และมาตรา ๓๓๘153[๑๕๙]

มาตรา ๑๙๙ ตรี154[๑๖๐] จําเลยซึ่งศาลมีคํา


พิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคําให้การ ถ้ามิได้
ยื่ น อุ ท ธรณ์ คํ า พิ พ ากษาหรื อ คํ า สั่ ง นั้ น จํ า เลยนั้ น อาจมี คํ า ขอให้
พิจารณาคดีใหม่ได้ เว้นแต่

(๑) ศาลเคยมีคําสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่มาครั้ง
หนึ่งแล้ว

(๒) คํ า ขอให้ พิ จ ารณาคดี ใ หม่ นั้ น ต้ อ งห้ า มตาม


กฎหมาย

153[๑๕๙]
มาตรา ๑๙๙ ทวิ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

154[๑๖๐]
มาตรา ๑๙๙ ตรี เพิ่ ม โดยพระราชบั ญ ญั ติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ.
๒๕๔๓
205

มาตรา ๑๙๙ จัตวา155[๑๖๑] คําขอให้พิจารณา


คดีใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคําบังคับ
ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งให้แก่จําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การ แต่ถ้า
ศาลได้ กําหนดการอย่ างใด ๆ เพื่ อส่ งคํ าบั งคั บ เช่ น ว่ านี้ โ ดยวิ ธี ส่ ง
หมายธรรมดาหรื อ โดยวิ ธี อื่ น แทน จะต้ อ งได้ มี ก ารปฏิ บั ติ ต าม
ข้อกําหนดนั้นแล้ว ในกรณีที่จําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การไม่สามารถ
ยื่นคําขอภายในระยะเวลาที่กําหนดโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจ
บั ง คั บ ได้ จํ า เลยนั้ น อาจยื่ น คํ า ขอให้ พิ จ ารณาคดี ใ หม่ ไ ด้ ภ ายใน
กําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่กรณีจะ
เป็ น อย่ า งไรก็ ต าม ห้ ามมิ ใ ห้ ยื่ น คํ าขอเช่ น ว่ านี้ เ มื่ อ พ้ น กํ าหนดหก
เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคําพิพากษาหรือ
คําสั่งโดยวิธีอื่น

คําขอตามวรรคหนึ่งให้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุที่
จําเลยได้ขาดนัดยื่นคําให้การและข้อคัดค้านคําตัดสินชี้ขาดของศาล
ที่แสดงให้ เห็ นว่ าหากศาลได้พิจารณาคดี นั้นใหม่ ตนอาจเป็ นฝ่ าย
ชนะ และในกรณีที่ยื่นคําขอล่าช้า ให้แสดงเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้น
ด้วย

155[๑๖๑]
มาตรา ๑๙๙ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ.
๒๕๔๓
206

มาตรา ๑๙๙ เบญจ156[๑๖๒] เมื่อศาลได้รับคํา


ขอให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว หากเห็นสมควรศาลจะมีคําสั่งให้งดการ
บังคับคดีไว้ก่อนก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลแจ้งคําสั่งให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีทราบ

ในการพิจารณาคําขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถ้ามีเหตุ
ควรเชื่อว่าการขาดนัดยื่นคําให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุ
อันสมควร และศาลเห็นว่าเหตุผลที่อ้างมาในคําขอนั้นผู้ขออาจมี
ทางชนะคดี ไ ด้ ทั้ ง ในกรณี ที่ ยื่ น คํ า ขอล่ าช้ า นั้ น ผู้ ข อได้ ยื่ น ภายใน
ระยะเวลาที่กําหนด ให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตตามคําขอ ในกรณีเช่นนี้
ถ้ามีการอุทธรณ์หรือฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ให้คู่ความฝ่ายที่
ขาดนัดยื่นคําให้การแพ้คดี ให้ศาลแจ้งคําสั่งดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์
หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ทราบด้วย

เมื่อศาลได้มีคําสั่งอนุญาตตามคําขอให้พิจารณา
คดีใหม่ตามวรรคสอง คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลโดยจําเลยขาด
นัดยื่นคําให้การและคําพิพากษาหรือคําสั่งอื่น ๆ ของศาลอุทธรณ์
หรือศาลฎีกาในคดีเดียวกันนั้น และวิธีการบังคับคดีที่ได้ดําเนินไป

156[๑๖๒]
มาตรา ๑๙๙ เบญจ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไ ขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ.
๒๕๔๓
207

แล้ ว ให้ ถื อ ว่ า เป็ น อั น เพิ ก ถอนไปในตั ว และให้ ศ าลแจ้ ง ให้ เ จ้ า


พนั ก งานบั ง คั บ คดี ท ราบ แต่ ถ้ า เป็ น การพ้ น วิ สั ย ที่ จ ะให้ คู่ ค วาม
กลับคืนสู่ฐานะเดิมดังเช่นก่อนบังคับคดีได้ หรือเมื่อศาลเห็นว่าไม่
จํ า เป็ น ที่ จ ะบั ง คั บ เช่ น นั้ น เพื่ อ ประโยชน์ แ ก่ คู่ ค วามหรื อ
บุคคลภายนอก ให้ ศาลมี อํานาจสั่งอย่ างใด ๆ ตามที่ เห็ นสมควร
แล้ ว ให้ ศ าลพิ จ ารณาคดี นั้ น ใหม่ ตั้ ง แต่ เ วลาที่ จํ า เลยขาดนั ด ยื่ น
คําให้การ โดยให้จําเลยยื่นคําให้การภายในกําหนดเวลาตามที่ศาล
เห็นสมควร

คําสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด
แต่ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตผู้ขออาจอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวได้
คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

ถ้าจําเลยขาดนัดยื่น คําให้ การโดยจงใจหรื อไม่ มี


เหตุอันสมควรเป็นเหตุให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียค่าฤชาธรรม
เนียมมากกว่าที่ควรจะต้องเสีย ค่าฤชาธรรมที่เพิ่มขึ้นนั้นให้ถือว่า
เป็ น ค่ า ฤชาธรรมเนี ย มอั น ไม่ จํ าเป็ น ตามความหมายแห่ ง มาตรา
๑๖๖

มาตรา ๑๙๙ ฉ157[๑๖๓] ในกรณีที่โจทก์มิได้ให้

157[๑๖๓] มาตรา ๑๙๙ ฉ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
208

การแก้ ฟ้ อ งแย้ ง ของจํ า เลยภายในระยะเวลาที่ กํ า หนดไว้ ให้ นํ า


บทบัญญัติในส่วนที่ ๑ นี้มาใช้บังคับเพียงเท่าที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งเช่น
ว่านั้นโดยอนุโลม

ส่วนที่ ๒

การขาดนัดพิจารณา

มาตรา ๒๐๐158[๑๖๔] ภายใต้ บั ง คั บ มาตรา


๑๙๘ ทวิ และมาตรา ๑๙๘ ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาล
ในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่า
คู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา

ถ้าคู่ ความฝ่ายใดไม่ มาศาลในวัน นัดอื่ นที่ มิใช่วั น


สื บ พยาน ให้ ถื อว่ า คู่ ค วามฝ่ า ยนั้ น สละสิ ท ธิ ก ารดํ า เนิ น กระบวน

158[๑ ๖ ๔ ]ม า ต ร า ๒ ๐ ๐ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
209

พิจ ารณาของตนในนั ดนั้ น และทราบกระบวนพิ จ ารณาที่ ศาลได้


ดําเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว

มาตรา ๒๐๑159[๑๖๕] ถ้าคู่ความทั้ งสองฝ่าย


ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ

มาตรา ๒๐๒160[๑๖๖] ถ้า โจทก์ข าดนัด


พิจารณา ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ เว้น
แต่จําเลยจะได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดําเนินการพิจารณา
คดีต่อไป ก็ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว

159[๑ ๖ ๕ ]ม า ต ร า ๒ ๐ ๑ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓

160[๑ ๖ ๖ ]ม า ต ร า ๒ ๐ ๒ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
210

มาตรา ๒๐๓161[๑๖๗] ห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์


คําสั่งจํ าหน่ายคดีตามมาตรา ๒๐๑ และมาตรา ๒๐๒ แต่ ภายใต้
บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ คําสั่งเช่นว่านี้ไม่ตัด
สิทธิโจทก์ที่จะเสนอคําฟ้องของตนใหม่

มาตรา ๒๐๔162[๑๖๘] ถ้ า จํ า เลยขาดนั ด


พิจารณา ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว

มาตรา ๒๐๕163[๑๖๙] ในกรณีดังกล่าวมาใน

161[๑ ๖ ๗ ]ม า ต ร า ๒ ๐ ๓ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓

162[๑ ๖ ๘ ]ม า ต ร า ๒ ๐ ๔ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓

163[๑ ๖ ๙ ]ม า ต ร า ๒ ๐ ๕ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
211

มาตรา ๒๐๒ และมาตรา ๒๐๔ ถ้ายังไม่เป็นที่พอใจของศาลว่าได้


ส่งหมายกําหนดวัน นัดสืบ พยานไปให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดทราบ
โดยชอบแล้ว ให้ศ าลมีคํา สั่ง เลื่อ นวัน สืบ พยานไป และกํ า หนด
วิธีการอย่างใดตามที่เห็นสมควร เพื่อให้มีการส่งหมายกําหนดวัน
นัดสืบพยานใหม่แก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณาโดยวิธีส่งหมาย
ธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน ถ้าได้กระทําดังเช่นว่ามาแล้ว คู่ความ
ฝ่ายนั้น ยังไม่มาศาลก่อนเริ่มสืบพยานในวัน ที่กําหนดไว้ในหมาย
นั้น ก็ให้ศาลดําเนิน คดีนั้นไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐๒ หรือ
มาตรา ๒๐๔ แล้วแต่กรณี

มาตรา ๒๐๖164[๑๗๐] คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง


จะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ตนเป็นฝ่ายชนะโดยอาศัยเหตุ
แต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณานั้นหาได้ไม่ ให้ศาล
วินิจ ฉัยชี้ขาดคดีให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะต่อเมื่อศาลเห็นว่า
ข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ ศาล
จะยกขึ้ น อ้ า งโดยลํ า พั ง ซึ่ ง ข้ อ กฎหมายอั น เกี่ ย วด้ ว ยความสงบ
เรียบร้อยของประชาชนก็ได้

เพื่ อประโยชน์ ในการวิ นิจ ฉั ย ชี้ขาดคดี ตามวรรค


164[๑ ๗ ๐ ]ม า ต ร า ๒ ๐ ๖ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
212

หนึ่ง ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มา


ใช้บังคับแก่คดีของคู่ความฝ่ายที่มาศาลโดยอนุโลม

ในระหว่างการพิจารณาคดี ฝ่ายเดี ยว ถ้าคู่ความ


ฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณามาศาลภายหลังที่เริ่มต้นสืบพยานไปบ้างแล้ว
และแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะดําเนินคดี เมื่อศาล
เห็นว่ าการขาดนัดพิจารณานั้นมิ ได้เป็ นไปโดยจงใจหรื อมีเหตุอัน
สมควรและศาลไม่ เคยมี คํ าสั่ งให้ พิจ ารณาคดี ใหม่ ตามคํ าขอของ
คู่ความฝ่ายนั้นมาก่อนตามมาตรา ๑๙๙ ตรี ซึ่งให้นํามาใช้บังคับกับ
การขาดนั ด พิ จ ารณาตามมาตรา ๒๐๗ ด้ ว ย ให้ ศ าลมี คํ า สั่ ง ให้
พิจารณาคดีนั้นใหม่ ในกรณีเช่นนี้ หากคู่ความนั้นขาดนัดพิจารณา
อีก จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรานี้ไม่ได้

ในกรณี ตามวรรคสาม ถ้ า คู่ ค วามฝ่ า ยที่ ข าดนั ด


พิจารณามิได้แจ้งต่อศาลก็ดีหรือศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณานั้น
เป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี หรือคําขอให้พิจารณาคดี
ใหม่นั้นต้องห้ามตามกฎหมายก็ดี ให้ศาลดําเนินกระบวนพิจารณา
ต่อไป แต่

(๑) ห้ า มไม่ ใ ห้ ศ าลอนุ ญ าตให้ คู่ ค วามที่ ข าดนั ด


พิจารณานําพยานเข้าสืบถ้าคู่ความนั้นมาศาลเมื่อพ้นเวลาที่จะนํา
พยานของตนเข้าสืบแล้ว

(๒) ถ้ า คู่ ค วามที่ ข าดนั ด พิ จ ารณามาศาลเมื่ อ


คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้นํ าพยานหลักฐานเข้ าสืบไปแล้ว ห้ามไม่ให้
213

ศาลยอมให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาคัดค้านพยานหลักฐานเช่นว่า
นั้น โดยวิธีถามค้านพยานของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้สืบไปแล้วหรือ
โดยวิธีคัดค้านการระบุเอกสารหรือคัดค้านคําขอที่ให้ศาลไปทําการ
ตรวจหรือให้ตั้งผู้ เชี่ยวชาญของศาล แต่ ถ้าคู่ความอี กฝ่ายหนึ่งนํ า
พยานหลักฐานเข้าสืบยังไม่บริบูรณ์ ให้ศาลอนุญาตให้คู่ความที่ขาด
นัดพิจารณาหักล้างได้แต่เฉพาะพยานหลักฐานที่นําสืบภายหลังที่
ตนมาศาล

(๓) ในกรณีเช่นนี้ คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาไม่มี


สิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่

มาตรา ๒๐๗165[๑๗๑] เมื่ อ ศาลพิ พ ากษาให้


คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณาแพ้คดี ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๑๙๙
ทวิ มาใช้ บั ง คั บ โดยอนุ โ ลม และคู่ ค วามฝ่ า ยนั้ น อาจมี คํ า ขอให้
พิจารณาคดีใหม่ได้ ทั้งนี้ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๑๙๙ ตรี มาตรา
๑๙๙ จัตวา และมาตรา ๑๙๙ เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

165[๑ ๗ ๑ ]ม า ต ร า ๒ ๐ ๗ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
214

มาตรา ๒๐๘166[๑๗๒] (ยกเลิก)

มาตรา ๒๐๙167[๑๗๓] (ยกเลิก)

หมวด ๓

อนุญาโตตุลาการ

มาตรา ๒๑๐ บรรดาคดีทั้งปวงซึ่งอยู่ในระหว่าง


พิ จ ารณาของศาลชั้ น ต้ น คู่ ค วามจะตกลงกั น เสนอข้ อ พิ พ าทอั น
เกี่ยวกับประเด็นทั้งปวงหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง ให้อนุญาโตตุลาการ
คนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้ชี้ขาดก็ได้ โดยยื่นคําขอร่วมกันกล่าวถึง

166[๑๗๒] มาตรา ๒๐๘ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓

167[๑๗๓] มาตรา ๒๐๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๓
215

ข้อความแห่งข้อตกลงเช่นว่านั้นต่อศาล

ถ้าศาลเห็นว่าข้อตกลงนั้นไม่ผิดกฎหมาย ให้ศาล
อนุญาตตามคําขอนั้น

มาตรา ๒๑๑ ถ้าในข้อตกลงมิได้กําหนดข้อความ


ไว้เป็นอย่างอื่น การตั้งอนุญาโตตุลาการให้ใช้ข้อบังคับดังต่อไปนี้

(๑) คู่ความชอบที่จะตั้งอนุญาโตตุลาการได้ฝ่าย
ละคน แต่ ถ้ า คดี มี โ จทก์ ร่ ว มหรื อ จํ า เลยร่ ว มหลายคน ให้ ตั้ ง
อนุญาโตตุลาการเพียงคนหนึ่งแทนโจทก์ร่วมทั้งหมดและคนหนึ่ง
แทนจําเลยร่วมทั้งหมด

(๒) ถ้าคู่ความจะตั้งอนุญาโตตุลาการคนเดียวหรือ
หลายคน ด้ว ยความเห็นชอบพร้อมกัน การตั้งเช่นว่ านี้ให้ทําเป็ น
หนังสือ ลงวัน เดือน ปี และให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้เป็นสําคัญ

(๓) ถ้ า ตกลงกั น ให้ คู่ ค วามฝ่ า ยหนึ่ ง หรื อ


บุคคลภายนอกเป็นผู้ตั้งอนุญาโตตุลาการ การตั้งเช่นว่านี้ ให้ทําเป็น
หนั ง สื อ ลงวั น เดื อ น ปี และลงลายมื อ ชื่ อ ของคู่ ค วามหรื อ
บุคคลภายนอกนั้น แล้วส่งไปให้คู่ความอื่น ๆ

(๔) ถ้าศาลไม่เห็นชอบด้วยบุคคลที่คู่ความตั้งหรือ
ที่เสนอตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการให้ศาลสั่งให้คู่ความตั้งบุคคลอื่นหรือ
216

เสนอบุคคลอื่นตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการ ถ้าคู่ความมิได้ตั้งหรือเสนอ
ให้ตั้งบุคคลใดเป็นอนุญาโตตุลาการ ให้ศาลมีอํานาจตั้งบุคคลใดเป็น
อนุญาโตตุลาการได้ตามที่เห็นสมควร แล้วให้ศาลส่งคําสั่งเช่นว่านี้
ไปยังอนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้น และคู่ความที่เกี่ยวข้องโดยทางเจ้า
พนักงานศาล

มาตรา ๒๑๒ ข้อความในหมวดนี้มิได้ให้อํานาจ


ศาลที่จะตั้งบุคคลใดเป็นอนุญาโตตุลาการโดยมิได้รับความยินยอม
จากบุคคลนั้น

มาตรา ๒๑๓ เมื่อ บุค คลหรือ คู่ค วามที่มีสิท ธิ


ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นแล้ว ห้ามมิให้บุคคลหรือคู่ความนั้นถอน
การตั้งเสีย เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมด้วย

อนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้นโดยชอบนั้น ถ้าเป็นกรณี
ที่ ศ าลหรื อ บุ ค คลภายนอกเป็ น ผู้ ตั้ ง คู่ ค วามฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง จะ
คัดค้านก็ได้ หรือถ้าเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ตั้ง คู่ความอีก
ฝ่ายหนึ่งจะคัดค้านก็ได้ โดยอาศัยเหตุดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑
หรื อ เหตุ ที่ อ นุ ญ าโตตุ ล าการนั้ น เป็ น ผู้ ไ ร้ ค วามสามารถ หรื อ ไม่
สามารถทํ า หน้ า ที่ อ นุ ญ าโตตุ ล าการได้ ในกรณี ที่ มี ก ารคั ด ค้ า น
อนุ ญ าโตตุ ล าการดั ง ว่ า นี้ ให้ นํ า บทบั ญ ญั ติ ว่ า ด้ ว ยการคั ด ค้ า นผู้
พิพากษามาใช้บังคับโดยอนุโลม
217

ถ้าการคัดค้านอนุญาโตตุลาการนั้ นฟังขึ้น ให้ตั้ง


อนุญาโตตุลาการขึ้นใหม่

มาตรา ๒๑๔ ถ้ า ในข้ อ ตกลงมิ ไ ด้ กํ า หนด


ค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการไว้ อนุญาโตตุลาการชอบที่จะเสนอ
ความข้อนี้ต่อศาลโดยทําเป็นคําร้อง และให้ศาลมีอํานาจมีคําสั่งให้
ชําระค่าธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร

มาตรา ๒๑๕ เมื่อได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นแล้ว


ถ้าในข้อตกลงหรือในคําสั่งศาล แล้วแต่กรณี มิได้กําหนดประเด็น
ข้อพิพาทไว้ ให้อนุญาโตตุลาการกําหนดประเด็นข้อพิพาทเหล่านั้น
แล้วจดลงในรายงานพิสดารกลัดไว้ในสํานวนคดีอนุญาโตตุลาการ

ม า ต ร า ๒ ๑ ๖ ก่ อ น ที่ จ ะ ทํ า คํ า ชี้ ข า ด ใ ห้
อนุ ญาโตตุ ล าการฟั งคู่ความทั้ งปวงและอาจทํ าการไต่ ส วนตามที่
เห็นสมควรในข้อพิพาทอันเสนอมาให้พิจารณานั้น

อนุญาโตตุลาการ อาจตรวจเอกสารทั้งปวงที่ยื่น
ขึ้ น มาและฟั ง พยาน หรื อ ผู้ เ ชี่ ย วชาญซึ่ ง เต็ ม ใจมาให้ ก าร ถ้ า
อนุญาโตตุลาการขอให้ศาลส่งคําคู่ความ หรือบรรดาเอกสารอื่น ๆ
218

ในสํานวนเช่นว่านี้มาให้ตรวจดู ให้ศาลจัดการให้ตามคําร้องขอนั้น

ถ้าอนุญาโตตุลาการเห็นว่าจําต้องดําเนินกระบวน
พิ จ ารณาอย่ างใด ที่ ต้องดํ าเนิ น ทางศาล (เช่ น หมายเรี ย กพยาน
หรือให้พยานสาบานตน หรือให้ส่งเอกสาร) อนุญาโตตุลาการอาจ
ยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาล ให้ศาลดําเนินกระบวนพิจารณา
เช่นว่านั้น ถ้าศาลเห็นว่ากระบวนพิจารณานั้นอยู่ในอํานาจศาลและ
พึงรับทําให้ได้แล้ว ให้ศาลจัดการให้ตามคําขอเช่นว่านี้ โดยเรียก
ค่าธรรมเนียมศาลตามอัตราที่กําหนดไว้สําหรับกระบวนพิจารณาที่
ขอให้จัดการนั้นจากอนุญาโตตุลาการ

ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๒๑๕ และมาตรา


นี้ อนุญาโตตุลาการมีอํานาจที่จะดําเนินตามวิธีพิจารณาใด ๆ ตามที่
เห็นสมควรก็ได้ เว้นแต่ในข้อตกลงจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๒๑๗ ถ้าในข้อตกลงมิ ได้กําหนดไว้ เป็ น


อย่ า งอื่ น คํ า ชี้ ข าดของอนุ ญ าโตตุ ล าการนั้ น ให้ อ ยู่ ภ ายในบั ง คั บ
ต่อไปนี้

(๑) ในกรณี ที่มีอนุ ญาโตตุ ล าการหลายคน ให้ ชี้


ขาดตามคะแนนเสียงฝ่ายข้างมาก

(๒) ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้อนุญาโตตุลาการ


ตั้งบุคคลภายนอกเป็นประธานขึ้นคนหนึ่ง เพื่อออกคะแนนเสียงชี้
219

ขาด ถ้าอนุญาโตตุลาการไม่ตกลงกันในการตั้งประธาน ให้ยื่นคําขอ


โดยทําเป็นคําร้องต่อศาลให้มีคําสั่งตั้งประธาน

มาตรา ๒๑๘ ให้ นํ า บทบั ญ ญั ติ ม าตรา ๑๔๐,


๑๔๑ และ ๑๔๒ ว่าด้วยคําพิพากษาและคําสั่งของศาลมาใช้บังคับ
แก่คําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยอนุโลม

ให้ อนุ ญาโตตุ ล าการยื่ น คํ า ชี้ ขาดของตนต่ อศาล


และให้ศาลพิพากษาตามคําชี้ขาดนั้น

แต่ถ้าศาลเห็นว่า คําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ขัดต่อกฎหมายประการใดประการหนึ่ง ให้ศาลมีอํานาจทําคําสั่ ง
ปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคําชี้ขาดนั้น แต่ถ้าคําชี้ขาดนั้นอาจแก้ไข
ให้ถูกต้องได้ ศาลอาจให้อนุญาโตตุลาการหรือคู่ความที่เกี่ยวข้อง
แก้ไขเสียก่อนภายในเวลาอันสมควรที่ศาลจะกําหนดไว้

มาตรา ๒๑๙ ถ้าในข้อตกลงมิได้กําหนดข้อความ


ไว้เป็นอย่างอื่น ในกรณีที่ไม่อาจดําเนินตามข้อตกลง เสนอข้อพิพาท
ให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด เพราะบุคคลภายนอกซึ่งรับมอบหมายให้
เป็ น ผู้ ตั้ ง อนุ ญ าโตตุ ล าการมิ ไ ด้ ตั้ ง อนุ ญ าโตตุ ล าการขึ้ น หรื อ
อนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้นคนเดียวหรือหลายคนนั้นปฏิเสธไม่ยอมรับ
หน้าที่ หรือตายเสียก่อน หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือด้วย
220

เหตุประการอื่นไม่อาจที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ก่อนให้คําชี้ขาด
หรือปฏิเสธ หรือเพิกเฉยไม่กระทําตามหน้าที่ของตนภายในเวลาอัน
สมควร ถ้าคู่ความไม่สามารถทําความตกลงกันเป็นอย่างอื่น ให้ถือ
ว่าข้อตกลงนั้นเป็นอันสิ้นสุด

มาตรา ๒๒๐ ถ้ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นเนื่องจากการ


ดําเนินตามข้อตกลงเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด หรือมี
ข้อพิพาทกันว่า ข้อตกลงนั้นได้สิ้นสุดลงตามมาตราก่อนแล้วหรือหา
ไม่ ข้อพิพาทนั้นให้เสนอต่อศาลที่เห็นชอบด้วยข้อตกลงดังกล่าวแล้ว

มาตรา ๒๒๑168[๑๗๔] การเสนอข้อพิพาทให้


อนุ ญาโตตุ ล าการชี้ ขาดนอกศาล ให้ เ ป็ นไปตามกฎหมายว่ าด้ ว ย
อนุญาโตตุลาการ

มาตรา ๒๒๒ ห้ า มมิ ใ ห้ อุ ท ธรณ์ คํ า สั่ ง ศาลซึ่ ง


ปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคําสั่งชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ หรือ
คําพิพากษาของศาลตามคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เว้นแต่ใน
168[๑๗๔] มาตรา ๒๒๑ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๓๐
221

เหตุต่อไปนี้

(๑) เมื่ อมี ข้ออ้ างแสดงว่ าอนุ ญาโตตุ ลาการหรื อ


ประธานมิได้กระทําการโดยสุจริต หรือคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้กล
ฉ้อฉล

(๒) เมื่ อ คํ า สั่ ง หรื อ คํ า พิ พ ากษานั้ น ฝ่ า ฝื น ต่ อ บท


กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(๓) เมื่ อ คํ า พิ พ ากษานั้ น ไม่ ต รงกั บ คํ า ชี้ ขาดของ


อนุญาโตตุลาการ

หมวด ๔

การดําเนินคดีแบบกลุ่ม169[๑๗๕]

169[๑๗๕]
หมวด ๔ การดํ า เนิ น คดี แ บบกลุ่ ม มาตรา
๒๒๒/๑ ถึงมาตรา ๒๒๒/๔๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
222

ส่วนที่ ๑

บททั่วไป

มาตรา ๒๒๒/๑170[๑๗๖] ในหมวดนี้

“กลุ่มบุคคล” หมายความว่า บุคคลหลายคนที่มี


สิ ทธิ อย่ างเดี ย วกั น อั น เนื่ องมาจากข้ อเท็ จ จริ งและหลั กกฎหมาย
เดี ย วกั น และมี ลั ก ษณะเฉพาะของกลุ่ ม เหมื อ นกั น แม้ ว่ า จะมี
ลักษณะของความเสียหายที่แตกต่างกันก็ตาม

“สมาชิกกลุ่ม” หมายความว่า บุคคลใด ๆ ที่อยู่


ในกลุ่มบุคคล

“การดํ า เนิ น คดี แบบกลุ่ ม” หมายความว่ า การ


ดํ าเนิ นคดี ที่ ศาลอนุ ญาตให้ เสนอคํ าฟ้ องต่ อ ศาลเพื่ อ ให้ ศ าลมี คํ า
พิพากษาแสดงสิทธิของโจทก์และสมาชิกกลุ่ม

170[๑๗๖] มาตรา ๒๒๒/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
223

“เจ้าพนักงานคดีแบบกลุ่ม” หมายความว่า บุคคล


ที่เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งให้ทําหน้าที่ช่วยเหลือศาล
ในการดําเนินคดีแบบกลุ่ม

มาตรา ๒๒๒/๒171[๑๗๗] เพื่อความเหมาะสม


สําหรับคดีบางประเภท หรือเพื่อให้การดําเนินกระบวนพิจารณา
หรื อ การบั ง คั บ คดี เ ป็ น ไปโดยสะดวก รวดเร็ ว และเที่ ย งธรรม
ประธานศาลฎีกามีอํานาจออกข้อกําหนดใด ๆ ที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ
บทบัญญัติในหมวดนี้ได้ ดังนี้

(๑) กําหนดคุณสมบัติ ส่วนได้เสีย รวมตลอดทั้ง


การได้มาซึ่งสิทธิการเป็นสมาชิกกลุ่มของโจทก์ที่จะมีอํานาจฟ้องคดี
แบบกลุ่มได้

(๒) กํ าหนดเพิ่ มเติมเกี่ย วกับ หลั กเกณฑ์ วิธี การ


และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตให้ดําเนินคดีแบบกลุ่ม

(๓) กํ าหนดเพิ่ มเติ มเกี่ ยวกั บวิ ธี การแจ้ งเรื่ องการ


ดําเนินคดีแบบกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มทราบ

171[๑๗๗] มาตรา ๒๒๒/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
224

(๔) กําหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการนัดพร้อม การ


แก้ไขคําฟ้องและคําให้การ การดําเนินกระบวนพิจารณาและการรับ
ฟังพยานหลักฐาน ในการดําเนินคดีแบบกลุ่ม

(๕) กําหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบังคับคดีและเงิน
รางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์

(๖) ออกข้อกําหนดเกี่ยวกับเรื่องที่จําเป็นอื่น ๆ ใน
การดําเนินคดีแบบกลุ่ม

ข้ อ กํ า หนดนั้ น เมื่ อ ได้ รั บ ความเห็ น ชอบจากที่


ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้
บังคับได้

มาตรา ๒๒๒/๓172[๑๗๘] ศาลตามพระ


ธรรมนูญศาลยุติธรรมที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเว้นแต่
ศาลแขวง มีอํานาจในการดําเนินคดีแบบกลุ่ม

172[๑๗๘] มาตรา ๒๒๒/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
225

มาตรา ๒๒๒/๔173[๑๗๙] กระบวนพิจ ารณา


ส่ว นใดที่มิไ ด้บัญญัติไว้ในหมวดนี้โ ดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติใน
ภาค ๑ บททั่วไป และบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในหมวดนี้

ในกรณีที่มีการร้องขอให้ดําเนินคดีแบบกลุ่มในคดี
ซึ่งมีกฎหมายกําหนดวิธีพิจารณาความไว้เป็นการเฉพาะ ให้ศาลใน
คดี นั้ น มี อํานาจสั่ งให้ ดําเนิ น คดี แบบกลุ่ มและนํ าวิ ธี พิจารณาตาม
บทบัญญัติแห่งหมวดนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๒๒๒/๕174[๑๘๐] ให้มีเจ้าพนักงานคดี


แบบกลุ่มทําหน้าที่ช่วยเหลือศาลในการดําเนินคดีแบบกลุ่มตามที่
ศาลมอบหมาย ดังต่อไปนี้

(๑) ไกล่เกลี่ยคดีแบบกลุ่ม

(๒) ตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐาน

173[๑๗๙] มาตรา ๒๒๒/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘

174[๑๘๐] มาตรา ๒๒๒/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
226

(๓) บันทึกคําพยาน

(๔) ดําเนินการให้มีการคุ้มครองสิทธิของคู่ความ
และสมาชิกกลุ่มทั้งก่อนและระหว่างการพิจารณา

(๕) ปฏิ บั ติหน้ าที่ อื่นตามบทบั ญญั ติแห่ งหมวดนี้


หรือตามข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาในการทําหน้าที่ช่วยเหลือ
นั้น

ในการปฏิบัติห น้าที่ตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
ให้เจ้าพนักงานคดีแบบกลุ่มเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมาย
อาญาและให้มีอํานาจมีหนังสือเรียกบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาให้ข้อมูล
หรือให้จัดส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งตาม
อํานาจหน้าที่

หลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข องเจ้ า


พนักงานคดีแบบกลุ่มให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดของ
ประธานศาลฎีกา

ในกรณีที่กฎหมายวิธีพิจารณาความใดบัญญัติให้มี
เจ้าพนักงานคดีทําหน้าที่ช่วยเหลือศาลในการดําเนินคดีไว้เป็นการ
เฉพาะ ให้เจ้าพนักงานคดีดังกล่าวนอกจากมีหน้าที่ตามกฎหมายนั้น
แล้วมีหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ด้วย
227

มาตรา ๒๒๒/๖175[๑๘๑] ผู้ที่จะได้ รับ แต่ งตั้ ง


เป็ นเจ้าพนั กงานคดี แบบกลุ่ม ต้ องมีคุณสมบั ติอย่างหนึ่งอย่ างใด
ดังต่อไปนี้

(๑) สํ า เร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาโททาง


กฎหมายหรือปริญญาเอกทางกฎหมาย

(๒) สํ า เร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ท าง


กฎหมาย เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภาและได้ประกอบ
วิชาชีพทางกฎหมายตามที่คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมกําหนด
เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

(๓) สํ า เร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ท าง


กฎหมายและปริญญาในสาขาวิชาอื่นที่คณะกรรมการข้าราชการ
ศาลยุ ติ ธ รรมตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยระเบี ย บบริ ห ารราชการศาล
ยุ ติธ รรมกํ า หนดซึ่ งไม่ ต่ํ ากว่ าปริ ญญาตรี และได้ ป ระกอบวิ ช าชี พ
ตามที่คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมกําหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี

ให้ เ ลขาธิ ก ารสํ า นั ก งานศาลยุ ติ ธ รรมมี อํ า นาจ


พิจารณาแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งเป็นเจ้าพนักงาน

175[๑๘๑] มาตรา ๒๒๒/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
228

คดี แบบกลุ่ ม ทั้ งนี้ ตามระเบี ยบที่ คณะกรรมการข้ าราชการศาล


ยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
กําหนด

มาตรา ๒๒๒/๗176[๑๘๒] ในกรณีที่การฟ้องคดี


แบบกลุ่ มตามบทบั ญญั ติ แห่ งหมวดนี้ เป็ น คดี แพ่ งเกี่ ย วเนื่ อ งกั บ
คดี อ าญา แม้ ว่ า จะมี ก ารฟ้ อ งเป็ น คดี อ าญาแล้ ว ก็ ต าม ศาลที่
พิจารณาคดีแบบกลุ่มอาจพิจ ารณาคดีต่อ ไปโดยไม่ต้องรอให้ศาล
คดีอ าญามีคํา พิพ ากษาก่อ น และหากศาลในคดีอ าญาได้มีคํา
พิพากษาแล้ว

(๑) ในกรณี ที่ คํ า พิ พ ากษาคดี ส่ ว นอาญานั้ น ได้


วินิจฉัยว่าจําเลยได้กระทําความผิด ศาลที่พิจารณาคดีแบบกลุ่มต้อง
ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วนอาญา

(๒) ในกรณี ที่ คํ า พิ พ ากษาคดี ส่ ว นอาญานั้ น ได้


วิ นิ จ ฉั ย เป็ น อย่ า งอื่ น ศาลที่ พิ จ ารณาคดี แ บบกลุ่ ม ไม่ จํ า ต้ อ งถื อ
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วนอาญา

176[๑๘๒] มาตรา ๒๒๒/๗ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
229

ส่วนที่ ๒

การขออนุญาตให้ดําเนินคดีแบบกลุ่ม

มาตรา ๒๒๒/๘177[๑๘๓] คดี ที่มีส มาชิกกลุ่ ม


จํ า นวนมากดั ง ต่ อ ไปนี้ โจทก์ ซึ่ ง เป็ น สมาชิ ก กลุ่ ม อาจร้ อ งขอให้
ดําเนินคดีแบบกลุ่มได้

(๑) คดีละเมิด

(๒) คดีผิดสัญญา

(๓) คดี เ รี ย กร้ อ งสิ ท ธิ ตามกฎหมายต่ า ง ๆ เช่ น


กฎหมายเกี่ ย วกั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม การคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคแรงงาน
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ การแข่งขันทางการค้า

177[๑๘๓] มาตรา ๒๒๒/๘ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
230

มาตรา ๒๒๒/๙178[๑๘๔] ในการร้ อ งขอให้


ดําเนินคดีแบบกลุ่ม ให้โจทก์ยื่นคําร้องต่อศาลพร้อมกับคําฟ้องเริ่ม
คดีเพื่อขอให้ดําเนินคดีแบบกลุ่มได้ตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้

คํ า ร้ อ งขอให้ ดํ า เนิ น คดี แ บบกลุ่ ม ตามวรรคหนึ่ ง


โจทก์ต้องแสดงเหตุตามสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้ดําเนินคดีแบบ
กลุ่ม

มาตรา ๒๒๒/๑๐179[๑๘๕] คํ าฟ้องของโจทก์


ต้องทําเป็นหนังสือและแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคําขอ
บังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์และของ
กลุ่มบุคคลที่มีลักษณะเดียวกับโจทก์ด้วย และในกรณีที่โจทก์มีคํา
ขอบังคับให้จําเลยชําระหนี้เป็นเงิน คําขอบังคับของกลุ่มบุคคลต้อง
ระบุหลักการและวิธีการคํานวณเพื่อชําระเงินให้แก่สมาชิกกลุ่มเท่าที่
จะระบุได้ แต่ไม่จําเป็นต้องแสดงจํานวนเงินที่สมาชิกกลุ่มแต่ละราย
จะได้รับด้วย

178[๑๘๔] มาตรา ๒๒๒/๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘

179[๑๘๕] มาตรา ๒๒๒/๑๐ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
231

ในการดําเนินคดีแบบกลุ่ม ให้โจทก์ผู้เริ่มคดีเสียค่า
ขึ้นศาลตามคําขอบังคับเฉพาะในส่วนของโจทก์ผู้เริ่มคดีเท่านั้น

มาตรา ๒๒๒/๑๑180[๑๘๖] ในกรณีที่โจทก์ยื่น


คําร้องขอให้ดําเนินคดีแบบกลุ่ม หากศาลเห็นว่าคําฟ้องของโจทก์ไม่
มีข้อขัดข้องที่จะรับไว้ตามมาตรา ๑๘ หรือมีข้อขัดข้องแต่โจทก์ได้
แก้ไ ขให้ถ ูก ต้อ งแล้ว ก่ อ นที่ ศ าลจะมี คํ า สั่ ง รั บ คํ า ฟ้ อ ง ให้ ศ าล
พิจารณาคําร้องของโจทก์ตามมาตรา ๒๒๒/๑๒ แล้วมีคําสั่งอนุญาต
หรือไม่อนุญาตให้ดําเนินคดีแบบกลุ่มโดยไม่ชักช้า

มาตรา ๒๒๒/๑๒181[๑๘๗] ในการพิจารณาคํา


ร้องขออนุญาตให้ดําเนินคดีแบบกลุ่ม ให้ศ าลจัดส่ง สําเนาคําฟ้อ ง
และคําร้อ งเช่น ว่า นั้นไปให้จํา เลย เมื่อ ศาลได้ฟังคู่ค วามทุก ฝ่า ย
และทํ า การไต่ส วนตามที่ เ ห็ น สมควรแล้ ว ศาลจะอนุ ญ าตให้
ดําเนินคดีแบบกลุ่มได้ต่อเมื่อเป็นที่พอใจแก่ศาลว่า

180[๑๘๖] มาตรา ๒๒๒/๑๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘

181[๑๘๗] มาตรา ๒๒๒/๑๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
232

(๑) สภาพแห่ งข้อหา คําขอบังคับ และข้ ออ้างที่


อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์และของกลุ่มบุคคล มีลักษณะ
ตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๒๒๒/๑๐

(๒) โจทก์ ไ ด้ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง ลั ก ษณะเฉพาะที่


เหมือนกันของกลุ่มบุคคลที่ชัดเจนเพียงพอเพื่อให้รู้ได้ว่าเป็นกลุ่ม
บุคคลใด

(๓) กลุ่มบุคคลมีสมาชิกกลุ่มจํานวนมาก ซึ่งการ


ดําเนินคดีอย่างคดีสามัญจะทําให้เกิดความยุ่งยากและไม่สะดวก

(๔) การดํ าเนิ น คดี แบบกลุ่ ม จะเป็ น ธรรมและมี


ประสิทธิภาพมากกว่าการดําเนินคดีอย่างคดีสามัญ

(๕) โจทก์ได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นสมาชิกกลุ่มที่
มี คุ ณสมบั ติ ส่ ว นได้ เสี ย รวมตลอดทั้ ง การได้ ม าซึ่ ง สิ ท ธิ ก ารเป็ น
สมาชิกกลุ่ม ตามข้อกําหนดของประธานศาลฎีกา ถ้ามี และโจทก์
รวมทั้งทนายความที่โจทก์เสนอให้เป็นทนายความของกลุ่มสามารถ
ดําเนิ น คดี คุ้มครองสิ ทธิ ของกลุ่ มบุ คคลได้ อย่ างเพี ย งพอและเป็ น
ธรรม

คําสั่ งศาลที่ อนุ ญาตให้ ดําเนิ น คดี แบบกลุ่ ม ศาล


อาจจํากัดขอบเขตของกลุ่มบุคคลให้ชัดเจนเพียงพอเพื่อให้รู้ว่าเป็น
กลุ่มบุคคลใดก็ได้
233

คํ า สั่ ง อนุ ญ าตหรื อ ไม่ อ นุ ญ าตให้ ดํ าเนิ น คดี แ บบ


กลุ่มอาจอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ภายในกําหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่
วัน ที่ศาลมีคําสั่ ง และให้งดการพิ จารณาไว้จ นกว่าคําสั่งนั้น จะถึ ง
ที่สุด ทั้งนี้ ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว คําวินิจฉัยของศาล
อุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

ในกรณี ที่ ศ าลมี คํ า สั่ ง อนุ ญ าตให้ ดํา เนิ น คดี แ บบ


กลุ่ม ให้ศาลสั่งรับคําฟ้องไว้พิจารณาเมื่อได้ส่งหมายเรียกให้จําเลย
แล้ว ให้จําเลยทําคําให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในหนึ่งเดือน
และให้ถือว่าทนายความของโจทก์เป็นทนายความของกลุ่มด้วย

ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตให้ดําเนินคดีแบบ
กลุ่ม ให้ศาลดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างคดีสามัญ

มาตรา ๒๒๒/๑๓182[๑๘๘] ในกรณีที่มีการยื่น


คําร้องขอให้ดําเนินคดีแบบกลุ่มเกี่ยวกับสิทธิอย่างเดียวกันหลาย
รายในศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน ให้ศาลรวมการพิจารณาคําร้อง
ขอเหล่านั้น เข้า ด้ว ยกัน และมีคําสั่งให้ผู้ร้อ งรายหนึ่ง รายใดเป็น
โจทก์ใ นการดํ า เนิน คดีแ บบกลุ ่ม ทั้ง นี้ ตามหลักเกณฑ์ วิ ธีการ
และเงื่อนไขในข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาตามมาตรา ๒๒๒/๒

182[๑๘๘] มาตรา ๒๒๒/๑๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
234

คํ า สั่ ง ของศาลตามมาตรานี้ ให้ เป็ น ที่ สุ ด เว้ น แต่ จ ะเป็ น กรณี ต าม


มาตรา ๒๒๒/๑๒ วรรคสาม

ส่วนที่ ๓

การพิจารณาคดีแบบกลุ่ม

มาตรา ๒๒๒/๑๔183[๑๘๙] เมื่อคําสั่งอนุญาต


ให้ดําเนินคดีแบบกลุ่มถึงที่สุดแล้ว ให้ศาลสั่งให้โจทก์นําเงินค่าใช้จ่าย
ในการดํ าเนิ นคดี แบบกลุ่ มมาวางต่ อศาลตามจํ านวนที่ เห็ นสมควร
ภายในเจ็ ดวั นนั บ แต่ วั น ที่ ศ าลมี คํา สั่ ง ในกรณี ที่ โ จทก์ เ พิ ก เฉยไม่
ดําเนินการตามคําสั่งดังกล่าวและไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการ
เพิกเฉยเช่นว่านั้น ให้ศาลมีคําสั่งยกเลิกการดําเนินคดีแบบกลุ่มและ
ให้ดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างคดีสามัญ

หากต่อมาปรากฏว่าค่าใช้จ่ายที่วางไว้มีจํานวนไม่
เพียงพอ ศาลจะสั่งให้มีการวางเงินค่าใช้จ่ายดังกล่าวเพิ่มเติมตาม

183[๑๘๙] มาตรา ๒๒๒/๑๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
235

จํานวนที่เห็นสมควรก็ได้ ในกรณีที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดําเนินการตาม
คําสั่งดังกล่าวและไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น
ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง

มาตรา ๒๒๒/๑๕184[๑๙๐] ให้ศาลส่งคําบอก


กล่าวคําสั่งอนุญาตให้ดําเนินคดีแบบกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มเท่าที่ทราบ
และประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายเป็นเวลาสามวัน
ติดต่อกัน รวมทั้งทางสื่อมวลชนอื่นหรือวิธีการอื่นใดเพิ่มเติมตามที่
เห็นสมควร

คําบอกกล่าวและประกาศอย่างน้อยต้องมีรายการ
ดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อศาลและเลขคดี

(๒) ชื่อและที่อยู่ของคู่ความและทนายความฝ่าย
โจทก์

(๓) ข้อความโดยย่อของคําฟ้องและลักษณะของ
กลุ่มบุคคลที่ชัดเจน

184[๑๙๐] มาตรา ๒๒๒/๑๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
236

(๔) ข้อความที่แสดงว่าศาลอนุญาตให้ดําเนินคดี
แบบกลุ่ม และวันเดือนปีที่ศาลมีคําสั่ง

(๕) สิ ทธิ ของสมาชิ กกลุ่ มตามมาตรา ๒๒๒/๑๖


และมาตรา ๒๒๒/๑๗

(๖) กํ า หนดวั น เพื่ อ ให้ ส มาชิ ก กลุ่ ม แจ้ ง ความ


ประสงค์ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม ทั้งนี้ ตามที่ศาลเห็นสมควร
แต่ต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวัน

(๗) ผลของการออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม

(๘) ผลของคําพิพากษาที่จะผูกพันสมาชิกกลุ่ม

(๙) ชื่ อ และตํ า แหน่ ง ผู้ พิ พ ากษาผู้ อ อกคํ า บอก


กล่าวและประกาศ

มาตรา ๒๒๒/๑๖185[๑๙๑] สมาชิกกลุ่มมีสิทธิ


ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มได้โดยแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือ
ยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนดตามมาตรา ๒๒๒/๑๕ (๖)

185[๑๙๑] มาตรา ๒๒๒/๑๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
237

และให้ถือว่าสมาชิกกลุ่มดังกล่าวไม่เป็นสมาชิกกลุ่มนับแต่วันที่ได้
แจ้งความประสงค์นั้นต่อศาล

เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง สมาชิก
กลุ่มจะออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต
จากศาล และคําสั่งของศาลให้เป็นที่สุด

บุคคลที่ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มแล้ว จะร้อง
ขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มอีกไม่ได้

สมาชิกกลุ่มและบุคคลที่ออกจากการเป็นสมาชิก
กลุ่มจะร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในการดําเนินคดีแบบกลุ่มโดย
อาศัยสิทธิตามมาตรา ๕๗ ไม่ได้

มาตรา ๒๒๒/๑๗186[๑๙๒] สมาชิกกลุ่มที่ไม่ได้


ออกจากการเป็ น สมาชิ กกลุ่ ม ตามมาตรา ๒๒๒/๑๖ ย่ อ มมี สิ ท ธิ
ดังต่อไปนี้

(๑) เข้าฟังการพิจารณาคดี

186[๑๙๒] มาตรา ๒๒๒/๑๗ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
238

(๒) ร้ อ งขอให้ ศ าลสั่ ง แสดงว่ า โจทก์ มิ ไ ด้ มี


คุณสมบัติ ส่วนได้เสีย รวมตลอดทั้งการได้มาซึ่งสิทธิการเป็นสมาชิก
กลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๒๒/๑๒ (๕)

(๓) ขอตรวจเอกสารทั้ ง หมดหรื อ บางส่ ว นใน


สํานวนความหรือขอคัดสําเนาเอกสารเหล่านั้น

(๔) จัดหาทนายความคนใหม่ มาดํ าเนิ นคดีแทน


ทนายความของกลุ่มตามมาตรา ๒๒๒/๑๙ วรรคสอง

(๕) ร้ อ งขอเข้ า แทนที่ โ จทก์ โ ดยอาศั ย สิ ท ธิ ต าม


บทบัญญัติในส่วนนี้

(๖) คัดค้านการร้องขอเข้าแทนที่โจทก์ตามมาตรา
๒๒๒/๒๕ การที่โจทก์ขอถอนฟ้องตามมาตรา ๒๒๒/๒๘ การที่มีการ
ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีตาม
มาตรา ๒๒๒/๒๙ และการที่ คู่ ค วามตกลงกั น เสนอข้ อ พิ พ าทให้
อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดตามมาตรา ๒๒๒/๓๐

(๗) ตรวจและโต้แย้งคําขอรับชําระหนี้ตามมาตรา
๒๒๒/๔๐

สมาชิกกลุ่มจะแต่งตั้งทนายความเพื่อดําเนินการ
ตามวรรคหนึ่งก็ได้
239

มาตรา ๒๒๒/๑๘187[๑๙๓] ห้ า มมิ ให้ ส มาชิ ก


กลุ่มที่ไม่ได้ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มตามมาตรา ๒๒๒/๑๖ ยื่น
ฟ้องจําเลยในเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ได้ยื่นฟ้อง

ในกรณี ที่ ส มาชิ ก กลุ่ ม ที่ ไ ม่ ไ ด้ อ อกจากการเป็ น


สมาชิกกลุ่มได้ยื่นฟ้องคดีไว้ก่อนสิ้นกําหนดระยะเวลาของการออก
จากสมาชิกกลุ่ม ให้ศาลที่ได้รับฟ้องไว้นั้นมีคําสั่งจําหน่ายคดีออก
จากสารบบความ

มาตรา ๒๒๒/๑๙188[๑๙๔] ในกรณี ที่ ก าร


ดําเนิ นคดีแบบกลุ่มจะไม่ คุ้มครองหรือเป็ นประโยชน์ต่อ สมาชิก
กลุ่มอย่างเพียงพอ หรือไม่มีความจําเป็นที่จะดําเนินคดีแบบกลุ่ม
อีกต่อไป เมื่อความปรากฏต่อศาลเองหรือตามคําแถลงของคู่ความ
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ให้ศาลมีอํานาจที่จะสั่งยกเลิกการดําเนินคดีแบบ
กลุ่มและดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างคดีสามัญ โดยให้ถือว่า
กระบวนพิจารณาที่ได้กระทําไปแล้วมีผลผูกพันการดําเนินคดีสามัญ
ของโจทก์และจําเลยต่อไปด้วย

187[๑๙๓] มาตรา ๒๒๒/๑๘ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘

188[๑๙๔] มาตรา ๒๒๒/๑๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
240

หากความปรากฏต่อศาลในระหว่างการพิจารณา
ว่าทนายความฝ่ายโจทก์ไม่สามารถดําเนินคดีคุ้มครองสิทธิของกลุ่ม
บุคคลได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรม หรือทนายความฝ่ายโจทก์ขอ
ถอนตัวจากการดําเนินคดีแบบกลุ่ม ศาลอาจมีคําสั่งให้โจทก์และ
สมาชิ ก กลุ่ ม จั ด หาทนายความคนใหม่ ม าดํ า เนิ น คดี แ ทนภายใน
ระยะเวลาที่ ศ าลกํ า หนด หากโจทก์ แ ละสมาชิ ก กลุ่ ม เพิ ก เฉยไม่
ดําเนินการดังกล่าว ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

คําสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด

มาตรา ๒๒๒/๒๐189[๑๙๕] เมื่อศาลได้มีคําสั่ง


อนุญาตให้ดําเนินคดีแบบกลุ่มและจําเลยได้ ยื่นคําให้การแล้ว ให้
ศาลกํ า หนดวั น นั ด พร้ อ มโดยสั่ ง ให้ คู่ ค วามทุ ก ฝ่ า ยมาศาลเพื่ อ
ดําเนินการดังนี้

(๑) ไกล่ เกลี่ ย หรื อ นํ าวิ ธี อนุ ญาโตตุ ล าการมาใช้


เพื่อให้คดีเสร็จไปทั้งหมดหรือบางส่วน

(๒) ให้คู่ความนําต้นฉบับพยานเอกสารหรือพยาน
วัตถุทั้งหมดที่ประสงค์จะอ้างอิงและอยู่ในความครอบครองของตน

189[๑๙๕] มาตรา ๒๒๒/๒๐ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
241

ที่สามารถนํามาศาลได้มาแสดงต่อศาล เพื่อให้ศาลและคู่ความอีก
ฝ่ายหนึ่งตรวจดู

ถ้าพยานหลักฐานดังกล่าวอยู่ในความครอบครอง
ของคู่ความฝ่ายอื่นหรือของบุคคลภายนอก คู่ความฝ่ายที่ประสงค์
จะอ้า งอิงต้องขอให้ศาลมีคํา สั่งเรีย กพยานหลักฐานนั้น มาจากผู้
ครอบครอง โดยยื่นคําขอต่อศาลพร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยาน
เพื่อให้ได้พยานหลักฐานนั้นมาก่อนวันนัดพร้อม

ในกรณีที่มีเหตุขัดข้องทําให้คู่ความไม่สามารถนํา
พยานหลักฐานที่อยู่ในความครอบครองของตนมาหรือยังไม่ได้มาซึ่ง
พยานหลั ก ฐานที่ ศ าลออกคํ า สั่ ง เรี ย กจากคู่ ค วามฝ่ า ยอื่ น หรื อ
บุคคลภายนอก หรือมีเหตุจําเป็นอื่นใด ถ้าศาลเห็นสมควร ก็ให้ศาล
เลื่อนวันนัดพร้อมออกไปตามที่เห็นสมควร

หากคู่ความฝ่ายใดจงใจไม่ดําเนินการดังกล่าวใน
วันนัดพร้อมหรือวันอื่นที่ศาลได้เลื่อนไป คู่ความฝ่ายนั้นไม่มีสิทธิที่
จะนําพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบในภายหลัง แต่ถ้าศาลเห็นว่า
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจําเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอัน
สําคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสําคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ
แห่งอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอํานาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้

(๓) ให้ ศ าลตรวจคํ า คู่ ค วามและคํ า แถลงของ


คู่ความแล้วนําข้ออ้าง ข้อเถียง ที่ปรากฏในคําคู่ความและคําแถลง
ของคู่ ความเทีย บกั น ดูและสอบถามคู่ ความทุ กฝ่ ายถึ งข้ ออ้าง ข้ อ
242

เถียง และพยานหลักฐานที่ยื่นต่อศาล ว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้ง


ข้ออ้าง ข้อเถียง นั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใดที่คู่ความยอมรับกันก็เป็น
อันยุติไปตามนั้น ส่วนข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่ง
ยกขึ้นอ้างแต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็น
ข้อพิพาทตามคํ าคู่ ความ ให้ ศาลกําหนดไว้ เป็น ประเด็ นข้ อพิพาท
และกําหนดให้คู่ความฝ่ายใดนําพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อ
ใดก่อนหรือหลังก็ได้

ในการสอบถามคู่ความดังกล่าว คู่ความแต่ละฝ่าย
ต้องตอบคําถามที่ศาลถามเอง หรือถามตามคําขอของคู่ความฝ่าย
อื่น เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกเป็นข้ออ้าง ข้อเถียง และ
พยานหลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความได้ยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่
ตอบคําถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มี
เหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว
เว้นแต่ศาลจะเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบหรือแสดง
เหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งได้ในขณะนั้นและเป็นข้อเท็จจริงที่
จําเป็นต่อการกําหนดประเด็นข้อพิพาท ศาลจะมีคําสั่งให้เลื่อนวัน
นัดพร้อมเฉพาะส่วนที่ยังไม่เสร็จสิ้นออกไป และให้คู่ความฝ่ายนั้น
ทําคําแถลงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้นมายื่นต่อศาลภายในเวลาที่ศาล
เห็นสมควรก็ได้

(๔) กํ าหนดระยะเวลาทั้ งหมดในการดํ าเนิ น คดี


แบบกลุ่ม
243

(๕) กําหนดวัน เวลา วิธีการ และขั้นตอนในการ


ดําเนินคดีแบบกลุ่มที่จําเป็น เช่น จํานวนและรายละเอียดเกี่ยวกับ
พยานที่จะนํามาเบิกความ บันทึกถ้อยคําแทนการสืบพยานบุคคล
พยานผู้เชี่ยวชาญ พยานเอกสาร และพยานหลักฐานที่ต้องการให้
ศาลเรียกจากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอก รวมทั้งการ
พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ การเดินเผชิญสืบ และการส่งประเด็นไปสืบ
ยังศาลอื่น

ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวั น
นัดพร้อมหรือวันอื่นที่ศาลได้เลื่อนไป ให้ศาลดําเนินการตามมาตรา
นี้โดยให้ถือว่าคู่ความที่ไม่มาศาลได้ทราบการดําเนินการในวันนั้น
แล้ ว และคู่ ค วามที่ ไ ม่ ม าศาลไม่ มี สิ ท ธิ ข อเลื่ อ นกํ า หนดนั ด หรื อ
คัดค้านประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นําสืบที่ศาลกําหนด เว้นแต่เป็น
กรณีที่ไม่สามารถมาศาลได้ในวันนัดพร้อมหรือวันอื่นที่ศาลได้เลื่อน
ไปเพราะเหตุจําเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้หรือเป็นการคัดค้าน
ประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

เมื่อศาลได้ดําเนินการตามมาตรานี้เสร็จสิ้ นแล้ ว
ให้ศาลกําหนดวันสืบพยานซึ่งมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบวันนับแต่
วันนัดพร้อมวันสุดท้าย

ให้ถือว่าวันนัดพร้อมวันแรกตามมาตรานี้เป็นวันชี้
สองสถานตามประมวลกฎหมายนี้
244

มาตรา ๒๒๒/๒๑190[๑๙๖] ก่อนวัน นัดพร้อ ม


ตามมาตรา ๒๒๒/๒๐ ไม่น้อ ยกว่า สิบ ห้า วัน ให้คู่ความยื่นบัญชี
ระบุพยานต่อศาลพร้อมสําเนาในจํานวนที่เพียงพอเพื่อให้คู่ความ
ฝ่ายอื่นรับไปจากเจ้าพนักงานศาลและถ้าคู่ความฝ่ายใดมีความจํานง
จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ให้ยื่นต่อศาลก่อนกระบวนพิจารณา
ที่ต้องกระทําในวันนัดพร้อมเสร็จสิ้น

การยื่ น บั ญ ชี ร ะบุ พ ยานเพิ่ ม เติ ม เมื่ อ ล่ ว งพ้ น


ระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล
เมื่ อ ผู้ ร้ อ งขอแสดงเหตุ อั น ส มควรว่ า ไม่ ส ามารถทราบถึ ง
พยานหลั กฐานนั้ น หรื อเป็ น กรณี จํ าเป็ น เพื่ อประโยชน์ แห่ งความ
ยุติธรรม หรือเพื่อให้โอกาสแก่คู่ความในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่

มาตรา ๒๒๒/๒๒191[๑๙๗] ในกรณี ที่ จํ าเลย


ขาดนัดยื่นคําให้การหรือขาดนัดพิจารณาศาลจะมีคําพิพากษาหรือ
คําสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ
หรือขาดนัดพิจ ารณามิ ได้ ให้ ศาลสื บพยานหลักฐานโจทก์ ไปฝ่าย

190[๑๙๖] มาตรา ๒๒๒/๒๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘

191[๑๙๗] มาตรา ๒๒๒/๒๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
245

เดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่า
จําเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

ถ้าโจทก์ไม่นําพยานหลักฐานมาสืบตามความใน
วรรคหนึ่งภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด หรือในกรณีที่คู่ความทั้ง
สองฝ่ายหรือโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้บังคับตามบทบัญญัติมาตรา
๒๒๒/๒๕

นอกจากที่ บัญญั ติไว้ ในวรรคหนึ่ งและวรรคสอง


ให้ นํ าบทบั ญญั ติว่ าด้ ว ยการพิ จ ารณาโดยขาดนั ดมาใช้ บั งคั บโดย
อนุโลม

มาตรา ๒๒๒/๒๓192[๑๙๘] ในการพิ จ ารณา


พิ พ ากษาคดี เพื่ อ ประโยชน์ แ ห่ ง ความยุ ติ ธ รรมให้ ศ าลมี อํ า นาจ
แสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ ในการนี้ ศาลจะรับฟังพยานบุคคล
พยานเอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นนอกเหนือจากพยานหลักฐาน
ของคู่ ค วามก็ ไ ด้ แต่ ต้ อ งให้ คู่ ค วามทุ ก ฝ่ า ยทราบและไม่ ตั ด สิ ท ธิ
คู่ความในอันที่จะโต้แย้งพยานหลักฐานดังกล่าว

192[๑๙๘] มาตรา ๒๒๒/๒๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
246

ศาลอาจขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้
ความเห็ น เพื่ อ ประกอบการพิ จ ารณาพิ พ ากษาคดี ไ ด้ แต่ ต้ อ งให้
คู่ความทุ กฝ่ ายทราบและไม่ ตัดสิ ทธิคู่ความในอั น ที่จ ะขอให้เรี ย ก
ผู้ ทรงคุ ณวุ ฒิ ห รื อ ผู้ เ ชี่ ย วชาญฝ่ า ยตนมาให้ ความเห็ นโต้ แ ย้ ง หรื อ
เพิ่มเติมความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว

บุคคลที่ศาลขอให้มาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
มีสิทธิได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่ าที่พัก และการ
ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป ตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาโดย
ได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม และไม่
ถื อว่ าเงิ น ที่ ศ าลสั่ งจ่ ายตามวรรคนี้ เ ป็ น ค่ า ฤชาธรรมเนี ย มในการ
ดําเนินคดีแบบกลุ่มที่คู่ความจะต้องชําระ

มาตรา ๒๒๒/๒๔193[๑๙๙] ไม่ว่าการพิจารณา


คดีจ ะได้ดําเนิ นไปแล้ วเพี ยงใด ศาลอาจมี คําสั่ งให้มีการแบ่งกลุ่ ม
ย่อยเนื่ องจากมี ลั กษณะของความเสี ย หายที่ แตกต่ างกั น ระหว่ าง
บุคคลในกลุ่ม และในกรณีเช่นนี้ศาลอาจสั่งให้มีการนําสืบถึงความ
เสียหายของกลุ่มย่อยให้ชัดเจนด้วยก็ได้ คําสั่งของศาลให้เป็นที่สุด

193[๑๙๙] มาตรา ๒๒๒/๒๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
247

มาตรา ๒๒๒/๒๕194[๒๐๐] ในกรณีดังต่อไปนี้


ให้ศาลกําหนดวันตามที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่น้อ ยกว่าสี่สิบ ห้าวัน
เพื่อให้สมาชิกกลุ่มยื่นคําขอเข้าแทนที่โจทก์ รวมทั้งกําหนดวันยื่น
คําคัดค้าน คําขอเข้าแทนที่โจทก์วันนัดไต่สวนคําขอเข้าแทนที่โจทก์
และส่งคําบอกกล่าวให้สมาชิกกลุ่มเท่าที่ทราบ กับ ประกาศโดยใช้
วิธีการตามที่เห็นสมควร

(๑) เมื่อโจทก์มิได้มีคุณสมบัติตามที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา ๒๒๒/๑๒ (๕)

(๒) เมื่อโจทก์มรณะหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ

(๓) เมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์

(๔) เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้อง

(๕) เมื่ อ คู่ ค วามทั้ ง สองฝ่ า ยหรื อ โจทก์ ข าดนั ด


พิจารณา

(๖) เมื่ อ โจทก์ ไ ม่ นํ า พยานหลั ก ฐานมาสื บ ตาม


มาตรา ๒๒๒/๒๒

194[๒๐๐] มาตรา ๒๒๒/๒๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
248

(๗) เมื่ อโจทก์ ร้ องขอต่ อศาลว่ าไม่ ป ระสงค์ ที่จ ะ


เป็นโจทก์ดําเนินคดีแทนกลุ่มอีกต่อไป

ในกรณีตาม (๒) นอกจากสมาชิกกลุ่มแล้ว บุคคล


ตามมาตรา ๔๒ หรื อมาตรา ๔๕ แล้ว แต่ก รณี อาจร้อ งขอเข้า
แทนที ่โ จทก์ไ ด้ด ้ว ย โดยให้นํ า มาตรา ๒๒๒/๒๖ และมาตรา
๒๒๒/๒๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๒๒๒/๒๖195[๒๐๑] ในการพิ จ ารณา


อนุญาตให้สมาชิกกลุ่มคนใดเข้าแทนที่โจทก์ต้องเป็นที่พอใจแก่ศาล
ว่าสมาชิกกลุ่มคนนั้นมีคุณสมบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๒๒/
๑๒ (๕)

ถ้าศาลอนุญาตให้สมาชิกกลุ่มเข้าแทนที่โจทก์ ให้
โจทก์เดิมยังคงมีฐานะเป็นสมาชิกกลุ่มคนหนึ่งและทนายความของ
โจทก์เดิมยังคงเป็นทนายความของกลุ่มต่อไป ในกรณีตามมาตรา
๒๒๒/๒๕ (๕) และ (๖) ให้ศาลกําหนดวันสืบพยานใหม่โดยเร็ว ถ้า
ศาลไม่อนุญาตให้สมาชิกกลุ่มเข้าแทนที่โจทก์หรือไม่มีการร้องขอ
เข้าแทนที่โจทก์ ให้ศาลมีคําสั่งยกเลิกการดําเนินคดีแบบกลุ่มและให้
ดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างคดีสามัญ โดยให้ถือว่ากระบวน

195[๒๐๑] มาตรา ๒๒๒/๒๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
249

พิ จ ารณาที่ ได้ กระทํ าไปแล้ ว มี ผ ลผู กพั น การดํ าเนิ น คดี ส ามั ญของ
โจทก์ต่อไปด้วย

คําสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด

มาตรา ๒๒๒/๒๗196[๒๐๒] ห้ า มมิ ให้ ส มาชิ ก


กลุ่ ม ที่ เ ข้ า แทนที่ โ จทก์ ต ามมาตรา ๒๒๒/๒๕ ใช้ สิ ท ธิ อย่ างอื่ น
นอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่โจทก์ในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้องขอเข้าแทนที่
โจทก์ และห้ามมิให้ใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์
เดิ ม เว้ น แต่ เป็ น ที่ พอใจแก่ ศาลตามคํ าร้ องของสมาชิ กกลุ่ มที่ เข้ า
แทนที่โจทก์ว่าการดําเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์ที่ได้ทําไปแล้ว
ซึ่งก่อให้เกิดความเสีย หายแก่ส มาชิกกลุ่มนั้น เกิดจากความจงใจ
หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ ในกรณีเช่นว่านี้ เพื่อ
ประโยชน์ แห่ งความยุ ติ ธ รรม ศาลอาจมี คํ าสั่ งอย่ างใด ๆ ตามที่
เห็นสมควรก็ได้

196[๒๐๒] มาตรา ๒๒๒/๒๗ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
250

มาตรา ๒๒๒/๒๘197[๒๐๓] เมื่ อ ศาลมี คํ า สั่ ง


อนุญาตให้ดําเนินคดีแบบกลุ่มแล้วโจทก์จะถอนคําฟ้องไม่ได้ เว้นแต่
ศาลจะอนุญาต

ในกรณีที่จําเลยยื่นคําให้การแล้ว ห้ามไม่ให้ศาล
อนุญาตให้ถอนฟ้องโดยมิได้ฟังจําเลยก่อน

ในกรณี ที่ ได้ มี การส่ งคํ าบอกกล่ าวกั บประกาศให้


สมาชิกกลุ่มตามมาตรา ๒๒๒/๑๕ แล้ว หากศาลจะมีคําสั่งอนุญาต
ให้ถอนคําฟ้อง ให้ศาลกําหนดวันตามที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่น้อย
กว่าสี่สิบห้าวันเพื่อให้สมาชิกกลุ่มคัดค้านโดยทําเป็นหนังสือยื่นต่อ
ศาล และสั่งให้โจทก์นําเงินค่าใช้จ่ายมาวางศาล รวมทั้งแจ้งเรื่อง
การถอนฟ้องให้สมาชิกกลุ่มทราบตามวิธีการเช่นเดียวกับที่กําหนด
ไว้ในมาตรา ๒๒๒/๑๕ วรรคหนึ่ง

ในกรณีที่โจทก์เพิกเฉยไม่นําเงินค่าใช้จ่ายมาวาง
ศาลตามวรรคสามโดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่น
ว่านั้น ให้ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตให้ถอนคําฟ้อง

197[๒๐๓] มาตรา ๒๒๒/๒๘ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
251

มาตรา ๒๒๒/๒๙198[๒๐๔] เมื่ อ ศาลมี คํ า สั่ ง


อนุญาตให้ดําเนินคดีแบบกลุ่มและพ้นระยะเวลาตามมาตรา ๒๒๒/
๑๕ (๖) แล้ ว ก่ อ นที่ ศ าลจะอนุ ญ าตให้ มี ก ารตกลงกั น หรื อ
ประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี ให้ศาลกําหนดวัน
ตามที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันเพื่อให้สมาชิกกลุ่ม
คัดค้านหรือแจ้งความประสงค์ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มโดยทํา
เป็นหนังสือยื่นต่อศาล และสั่งให้โจทก์นําเงินค่าใช้จ่ายมาวางศาล
เพื่ อ แจ้ ง เรื่ อ งการตกลงกั น หรื อ ประนี ป ระนอมยอมความกั นใน
ประเด็นแห่งคดีให้สมาชิกกลุ่มทราบตามวิธีการเช่นเดียวกับที่กําหนด
ไว้ในมาตรา ๒๒๒/๑๕ วรรคหนึ่ง เมื่อศาลมีคําสั่งอนุญาตให้มีการ
ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีแล้ว
ให้ ถื อ ว่ า สมาชิ ก กลุ่ ม รายที่ แ จ้ ง ความประสงค์ อ อกจากการเป็ น
สมาชิกกลุ่มและมิได้ขอถอนความประสงค์ดังกล่าวก่อนศาลมีคําสั่ง
อนุญาต ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งอนุญาต

ในกรณีที่โจทก์เพิกเฉยไม่นําเงินค่าใช้จ่ายมาวาง
ศาลตามวรรคหนึ่งโดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่น
ว่ า นั้ น ใ ห้ ศ า ล มี คํ า สั่ ง ไ ม่ อ นุ ญ า ต ใ ห้ มี ก า ร ต ก ล ง กั น ห รื อ
ประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี

198[๒๐๔] มาตรา ๒๒๒/๒๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
252

มาตรา ๒๒๒/๓๐199[๒๐๕] เมื่ อ ศาลมี คํ า สั่ ง


อนุญาตให้ดําเนินคดีแบบกลุ่มและพ้นระยะเวลาตามมาตรา ๒๒๒/
๑๕ (๖) แล้ ว ก่ อ นที่ ศ าลจะอนุ ญ าตให้ มี ก ารเสนอข้ อ พิ พ าทให้
อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ให้นําความในมาตรา ๒๒๒/๒๙ มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม

มาตรา ๒๒๒/๓๑200[๒๐๖] คํ าบอกกล่ าวและ


ประกาศตามมาตรา ๒๒๒/๒๘ มาตรา ๒๒๒/๒๙ และมาตรา ๒๒๒/
๓๐ อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อศาลและเลขคดี

(๒) ชื่อและที่อยู่ของคู่ความ

(๓) ข้อความโดยย่อของคําฟ้องและลักษณะของ
กลุ่มบุคคลที่ชัดเจน

199[๒๐๕] มาตรา ๒๒๒/๓๐ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘

200[๒๐๖] มาตรา ๒๒๒/๓๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
253

(๔) ข้ อ ความโดยย่ อ ของการดํ า เนิ น กระบวน


พิ จ ารณาที่ ไ ด้ ก ระทํ า ไปแล้ ว และเหตุ ที่ ต้ อ งมี คํ า บอกกล่ า วและ
ประกาศ

(๕) สิทธิของสมาชิกกลุ่มและผลของคําสั่งอนุญาต
ของศาลตามมาตรา ๒๒๒/๒๘ มาตรา ๒๒๒/๒๙ หรื อ มาตรา
๒๒๒/๓๐ แล้วแต่กรณี

(๖) ผลของการออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มตาม
มาตรา ๒๒๒/๒๙ หรือมาตรา ๒๒๒/๓๐ แล้วแต่กรณี

(๗) ชื่ อ และตํ า แหน่ ง ผู้ พิ พ ากษาผู้ อ อกคํ า บอก


กล่าวและประกาศ

มาตรา ๒๒๒/๓๒201[๒๐๗] ในการพิจารณามี


คําสั่งตามมาตรา ๒๒๒/๒๘ มาตรา ๒๒๒/๒๙ หรือมาตรา ๒๒๒/
๓๐ ให้ศาลคํานึงถึง

(๑) ความจําเป็นในการดําเนินคดีแบบกลุ่มต่อไป

(๒) ความคุ้มครองหรือประโยชน์ของสมาชิกกลุ่ม

201[๒๐๗] มาตรา ๒๒๒/๓๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
254

(๓) ความยุ่ ง ยากหรื อ ความสะดวกในการ


ดําเนินคดีแบบกลุ่มต่อไป

(๔) ความเป็น ธรรมและความมีประสิทธิภาพใน


การดําเนินคดีแบบกลุ่มต่อไป

(๕) จํานวนของสมาชิกกลุ่มที่คัดค้าน

(๖) ความสามารถของจํ า เลยในการชดใช้


ค่าเสียหายในกรณีมีการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน
ในประเด็นแห่งคดี

(๗) การตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน
ในประเด็นแห่งคดีของคู่ความมีความเป็นธรรมและเป็นประโยชน์
กับสมาชิกกลุ่ม

มาตรา ๒๒๒/๓๓202[๒๐๘] ในกรณี ที่ ศ าลมี


คําสั่งถึงที่สุดอนุญาตให้ดําเนินคดีแบบกลุ่มให้อายุความในการฟ้อง
คดี ข องสมาชิ ก กลุ่ ม สะดุ ด หยุ ด ลงนั บ แต่ วั น ที่ โ จทก์ ยื่ น คํ า ร้ อ งขอ
อนุญาตให้ดําเนินคดีแบบกลุ่ม

202[๒๐๘] มาตรา ๒๒๒/๓๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
255

ในกรณี ที่ ศ าลมี คํ า สั่ ง ถึ ง ที่ สุ ด ไม่ อ นุ ญ าตให้


ดําเนินคดีแบบกลุ่ม หากปรากฏว่าอายุความการฟ้องคดีของสมาชิก
กลุ่มครบกําหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณาคําร้องขออนุญาต
ให้ดําเนินคดีแบบกลุ่ม หรือจะครบกําหนดภายในกําหนดเวลาหก
สิบวันนับ แต่วันที่ศาลมีคําสั่งถึงที่สุด ให้สมาชิกกลุ่มมีสิทธิฟ้องคดี
เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชําระหนี้ภายในหกสิบวัน
นับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งถึงที่สุด

มาตรา ๒๒๒/๓๔203[๒๐๙] ในกรณี ที่อายุความ


สะดุดหยุดลงเพราะเหตุตามมาตรา ๒๒๒/๓๓ หากมีกรณีดังต่อไปนี้
ให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง

(๑) ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง

(๒) ศาลมีคําสั่งยกเลิกการดําเนินคดีแบบกลุ่ม

(๓) ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้อง

(๔) ศาลยกคําฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอํานาจ
ศาลหรือโดยไม่ตัดสิทธิสมาชิกกลุ่มที่จะฟ้องคดีใหม่

203[๒๐๙] มาตรา ๒๒๒/๓๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
256

(๕) สมาชิกกลุ่มออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มตาม
มาตรา ๒๒๒/๑๖ มาตรา ๒๒๒/๒๙ หรือมาตรา ๒๒๒/๓๐

ในกรณีตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) หากปรากฏว่า


อายุความการฟ้องคดีของสมาชิกกลุ่มครบกําหนดไปแล้วในระหว่าง
การพิจารณา หรือจะครบกําหนดภายในกําหนดเวลาหกสิบวันนับ
แต่วันที่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นถึงที่สุด ให้สมาชิกกลุ่มมีสิทธิฟ้อง
คดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชําระหนี้ภายในหกสิบ
วันนับแต่วันที่คําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดหรือนับแต่วันที่สมาชิก
กลุ่มไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม แล้วแต่กรณี

ความในวรรคสองให้ ใ ช้ บั ง คั บ ในกรณี ที่ ส มาชิ ก


กลุ่มผู้ใดถูกปฏิเสธคําขอรับชําระหนี้โดยอ้างเหตุว่าไม่เป็นสมาชิก
กลุ่ มตามคํ าพิ พากษา เนื่ องจากศาลได้ มีคําพิ พากษาโดยกํ าหนด
ลักษณะเฉพาะของกลุ่มแตกต่างจากลักษณะเฉพาะของกลุ่มตามที่
ศาลได้มีคําสั่งอนุญาตให้ดําเนินคดีแบบกลุ่มตามมาตรา ๒๒๒/๑๒
วรรคสอง โดยให้ มีสิ ทธิ ฟ้องคดี นั บ แต่ วั น ที่ คําสั่ งปฏิ เสธคํ าขอรั บ
ชําระหนี้ถึงที่สุด

ส่วนที่ ๔

คําพิพากษาและการบังคับคดี
257

มาตรา ๒๒๒/๓๕204[๒๑๐] คํ าพิ พากษาของ


ศาลมีผลเป็นการผูกพันคู่ความและสมาชิกกลุ่มและในกรณีที่ศาลมี
คําพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ให้โจทก์หรือทนายความฝ่ายโจทก์มี
อํานาจดําเนินการบังคับคดีแทนโจทก์และสมาชิกกลุ่ม

สมาชิกกลุ่มมีสิทธิที่จะยื่นคําขอรับชําระหนี้ แต่ไม่
มีสิทธิที่จะดําเนินการบังคับคดีตามส่วนนี้ด้วยตนเอง

หากความปรากฏต่อศาลว่าทนายความฝ่ายโจทก์
ไม่สามารถดําเนินการบังคับคดีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของสมาชิก
กลุ่มได้อย่างเพีย งพอและเป็นธรรม ศาลอาจมีคําสั่งให้โจทก์และ
สมาชิกกลุ่มจัดหาทนายความคนใหม่มาดําเนินการบังคับคดีต่อไป
ได้

มาตรา ๒๒๒/๓๖205[๒๑๑] คํ าพิ พากษาของ


ศาลต้องกล่าวหรือแสดงรายการดังต่อไปนี้

204[๒๑๐] มาตรา ๒๒๒/๓๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘

205[๒๑๑] มาตรา ๒๒๒/๓๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
258

(๑) รายการตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๑๔๑

(๒) ลั กษณะโดยชั ดเจนของกลุ่ มบุ คคลหรื อกลุ่ ม


ย่อยที่จะต้องถูกผูกพันตามคําพิพากษา

(๓) ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้เป็น
เงิน ต้องระบุจํานวนเงินที่จําเลยจะต้องชําระให้แก่โจทก์ รวมทั้ ง
หลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณในการชําระเงินให้สมาชิกกลุ่ม

(๔) จํานวนเงินรางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์
ตามมาตรา ๒๒๒/๓๗

มาตรา ๒๒๒/๓๗206[๒๑๒] ในกรณีที่ศาลมีคํา


พิพากษาให้จํ าเลยกระทํ าการหรืองดเว้ นกระทําการหรือส่งมอบ
ทรั พย์ สิ น ให้ ศาลกํ าหนดจํ านวนเงิ น รางวั ล ที่ จํ าเลยจะต้ องชํ าระ
ให้แก่ทนายความฝ่ายโจทก์ตามที่เห็นสมควร โดยคํานึงถึงความยาก
ง่ายของคดีประกอบกับระยะเวลาและการทํางานของทนายความ
ฝ่ายโจทก์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดําเนินคดีแบบกลุ่ม ซึ่งมิใช่
ค่ า ฤชาธรรมเนี ย มที่ ท นายความฝ่ า ยโจทก์ ไ ด้ เ สี ย ไป และเพื่ อ
ประโยชน์แห่งการนี้ เมื่อการพิจารณาสิ้นสุดลงให้ทนายความฝ่าย

206[๒๑๒] มาตรา ๒๒๒/๓๗ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
259

โจทก์ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายดังกล่าวต่อศาลโดยให้ส่งสําเนาแก่จําเลย
ด้วย

ถ้าคําพิพากษากําหนดให้จําเลยใช้เงิน นอกจาก
ศาลต้ อ งคํ านึ งถึ งหลั กเกณฑ์ ต ามวรรคหนึ่ งแล้ ว ให้ ศาลคํ านึ งถึ ง
จํานวนเงินที่โจทก์และสมาชิกกลุ่มมีสิทธิได้รับประกอบด้วย โดย
กําหนดเป็นจํานวนร้อยละของจํานวนเงินดังกล่าว แต่จํานวนเงิน
รางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์ดังกล่าวต้องไม่เกินร้อยละสามสิบ
ของจํานวนเงินนั้น

ถ้าคําพิพากษากําหนดให้จําเลยกระทําการหรืองด
เว้นกระทําการหรือส่งมอบทรัพย์สินและให้ใช้เงินรวมอยู่ด้วย ให้นํา
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ในการกําหนดจํานวนเงินรางวัลของทนายความ
ฝ่ายโจทก์ตามมาตรานี้ หากมีการเปลี่ยนทนายความฝ่ายโจทก์ ให้
ศาลกําหนดจํานวนเงินรางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์ตามสัดส่วน
ของการทํางานและค่าใช้จ่ายที่ทนายความแต่ละคนเสียไป

ให้ถือว่าทนายความฝ่ายโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคํา
พิ พ ากษาและจํ า เลยเป็ น ลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาในส่ ว นของเงิ น
รางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์ด้วย และเงินรางวัลดังกล่าวมิใช่ค่า
ฤชาธรรมเนียม
260

มาตรา ๒๒๒/๓๘207[๒๑๓] ในกรณีที่ศาลมีคํา


พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ให้ศาลมีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการปฏิบัติตามคําพิพากษา โดยจะกําหนดไว้ในคํา
พิพากษาหรือโดยคําสั่งในภายหลังก็ได้ และในระหว่างการบังคับคดี
ให้ศาลมีอํานาจออกคําบังคับเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามคําพิพากษา
ได้ตามที่เห็นสมควร

ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจพิจารณาสั่งคําร้องขอทุเลา
การบังคับตามคําพิพากษาคําสั่งของศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด

มาตรา ๒๒๒/๓๙208[๒๑๔] ให้ ศ าลแจ้ ง คํ า


พิพากษาให้สมาชิกกลุ่มทราบตามวิธีการเช่นเดียวกับที่กําหนดไว้ใน
มาตรา ๒๒๒/๑๕ วรรคหนึ่ง และให้แจ้งอธิบดีกรมบังคับคดีทราบ
ด้วย

ในกรณีที่ศาลมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้เป็น
เงินหรือชําระหนี้เป็นเงินรวมอยู่ด้วย ให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี
เพื่อดําเนินการต่อไป รวมทั้งกําหนดวันตามที่เห็นสมควรในคําบอก
207[๒๑๓] มาตรา ๒๒๒/๓๘ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘

208[๒๑๔] มาตรา ๒๒๒/๓๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
261

กล่าวและประกาศตามวรรคหนึ่ง เพื่อให้สมาชิกกลุ่มยื่นคําขอรับ
ชํ า ระหนี ้ต ่อ เจ้า พนัก งานบัง คับ คดี แต่ ถ้ าเป็ น กรณี ที่ ศาลมี คํ า
พิพากษาให้จําเลยชําระหนี้อย่างอื่นและจําเป็นจะต้องมีการดําเนินการ
อย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อประโยชน์แก่การบังคับตามคําพิพากษา โจทก์
อาจยื่นคําขอต่อศาลเพื่อตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการได้

เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาตามวรรคสอง สมาชิก
กลุ่มที่ไม่ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์สินหรือเงิน
ในการบังคับคดีตามส่วนนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย สมาชิก
กลุ่มที่ไม่ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ภายในกําหนดระยะเวลา อาจยื่น
คําขอรับชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ภายในสามสิบวันนับ
แต่วันพ้นกําหนดระยะเวลา

มาตรา ๒๒๒/๔๐209[๒๑๕] คู่ความในคดีและ


สมาชิกกลุ่มรายอื่นอาจขอตรวจและโต้แย้งคําขอรับชําระหนี้ของ
สมาชิกกลุ่มผู้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ได้ แต่ต้องกระทําภายในกําหนด
สามสิบวันนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลายื่นคําขอรับชําระหนี้ เว้นแต่
ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย อาจขอขยายระยะเวลาออกไปอีกได้ไม่เกิน
สามสิบวัน

209[๒๑๕] มาตรา ๒๒๒/๔๐ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
262

มาตรา ๒๒๒/๔๑210[๒๑๖] ให้ เ จ้ า พนั ก งาน


บังคับคดีมีอํานาจเรียกคู่ความในคดี สมาชิกกลุ่ม ผู้มีส่วนได้เสียใน
การบังคับคดี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง มาสอบสวนในเรื่องคําขอรับ
ชําระหนี้ของสมาชิกกลุ่มเพื่อพิจารณามีคําสั่งต่อไปได้

มาตรา ๒๒๒/๔๒211[๒๑๗] คําขอรับชําระหนี้


ของสมาชิกกลุ่มรายใด ถ้าคู่ความในคดีและสมาชิกกลุ่มรายอื่นไม่
โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจสั่งอนุญาตให้รับชําระหนี้ได้
เว้นแต่มีเหตุอันสมควรสั่งเป็นอย่างอื่นโดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
แจ้งให้ศาลทราบถึงการดําเนินการดังกล่าวด้วย

คําขอรั บ ชําระหนี้ ของสมาชิ กกลุ่ มรายใด ถ้ ามี ผู้


โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ยกคําขอรับชําระหนี้

210[๒๑๖] มาตรา ๒๒๒/๔๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘

211[๒๑๗] มาตรา ๒๒๒/๔๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
263

(๒) อนุญาตให้ได้รับชําระหนี้เต็มจํานวน

(๓) อนุญาตให้ได้รับชําระหนี้บางส่วน

สมาชิ ก กลุ่ ม ที่ ยื่ น คํ า ขอรั บ ชํ า ระหนี้ แ ละไม่ มี ผู้


โต้ แย้ งตามวรรคหนึ่ง สมาชิ กกลุ่มที่ยื่ น คําขอรับ ชําระหนี้และมี ผู้
โต้แย้งตามวรรคสอง หรือผู้โต้แย้ง อาจยื่นคําร้องคัดค้านคําสั่งของ
เจ้าพนักงานบังคับคดีต่อศาลได้ภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่
ทราบคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คําสั่งของศาลตามวรรคสามให้อุทธรณ์และฎีกาได้
ภายใต้บทบัญญัติในภาค ๓ อุทธรณ์และฎีกา

มาตรา ๒๒๒/๔๓212[๒๑๘] เมื่ อเจ้ าพนั กงาน


บั ง คั บ คดี ไ ด้ ยึ ด หรื อ อายั ด ทรั พ ย์ สิ น อย่ า งใดของลู ก หนี้ ต ามคํ า
พิ พ ากษาในคดี อื่ น ไว้ แ ทนเจ้ า หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาแล้ ว ให้
ทนายความฝ่ายโจทก์ในคดีแบบกลุ่มมีอํานาจยื่นคําขอโดยทําเป็น
คําร้องต่อศาลที่ออกหมายบั งคับคดี ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้ น

212[๒๑๘]
มาตรา ๒๒๒/๔๓ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
264

เพื่ อให้ ศาลมี คําสั่งให้เฉลี่ ยทรั พย์แก่ ทนายความฝ่ายโจทก์ โจทก์


และสมาชิกกลุ่มตามมาตรา ๓๒๖ ตามจํานวนที่มีสิทธิได้รับ

ในกรณีที่จํานวนเงินที่สมาชิกกลุ่มได้ยื่นคําขอรับ
ชํา ระหนี้ตามมาตรา ๒๒๒/๔๒ ยัง ไม่เป็นที่ยุติ ให้ศาลที่ได้รับคํา
ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามวรรคหนึ่งรอการมีคําสั่งให้เฉลี่ยทรัพย์ไว้ก่อน
และเมื่ อได้ ข้อยุ ติในจํ านวนเงิ น ดั งกล่ าวแล้ ว ให้ ทนายความฝ่ า ย
โจทก์แจ้งให้ศาลนั้นทราบ

เมื่ อ ศาลได้ มี คํ า สั่ ง ให้ เ ฉลี่ ย ทรั พ ย์ แ ล้ ว ให้ เ จ้ า


พนั กงานบั งคับ คดีในคดี นั้ นส่ งเงิ นให้ เจ้ าพนั กงานบังคั บคดี ในคดี
แบบกลุ่มเพื่อจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิตามมาตรา ๒๒๒/๔๔

มาตรา ๒๒๒/๔๔213[๒๑๙] เมื่อจําเลยนําเงิ น


หรื อ ทรั พ ย์ สิ น มาวางต่ อ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ห รื อ เมื่ อ ได้ ข าย
ทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินของจําเลย หรือเมื่อ
เจ้ าพนั กงานบั งคับ คดี ได้ร วบรวมทรัพย์ สิน อื่ นใดของจํ าเลยเสร็ จ
และได้หักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิตามลําดับ ดังนี้

213[๒๑๙] มาตรา ๒๒๒/๔๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
265

(๑)214[๒๒๐] ผู้ มี สิ ท ธิ ไ ด้ รั บ ชํ า ระหนี้ ก่ อ นตาม


มาตรา ๓๒๒ และมาตรา ๓๒๔

(๒) เงิ น รางวั ล ของทนายความฝ่ า ยโจทก์ ต าม


มาตรา ๒๒๒/๓๗

(๓) ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนโจทก์

(๔)215[๒๒๑] โจทก์ สมาชิกกลุ่ม และเจ้าหนี้อื่น


ที่มีสิทธิได้รับเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา ๓๒๖

ส่วนที่ ๕

อุทธรณ์และฎีกา

214[๒๒๐] มาตรา ๒๒๒/๔๔ (๑ ) แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

215[๒๒๑] มาตรา ๒๒๒/๔๔ (๔ ) แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
266

มาตรา ๒๒๒/๔๕216[๒๒๒] ให้ คู่ความมี สิ ท ธิ


อุทธรณ์และฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล โดยไม่นําข้อจํากัด
สิ ทธิ เรื่ อ งทุ น ทรั พย์ ข องการอุ ทธรณ์ แ ละฎี กาในข้ อเท็ จ จริ งมาใช้
บังคับ

มาตรา ๒๒๒/๔๖217[๒๒๓] สมาชิกกลุ่มไม่มีสิทธิ


อุทธรณ์และฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล ยกเว้นในกรณีตาม
มาตรา ๒๒๒/๔๒

มาตรา ๒๒๒/๔๗218[๒๒๔] ในกรณีที่จําเลยยื่น


คําร้องอุทธรณ์คําสั่งไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกาให้จําเลยนําค่าฤชาธรรม
เนียมทั้งปวงมาวางศาลและนําเงินมาชําระตามคําพิพากษาหรือหา
216[๒๒๒] มาตรา ๒๒๒/๔๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘

217[๒๒๓] มาตรา ๒๒๒/๔๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘

218[๒๒๔] มาตรา ๒๒๒/๔๗ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
267

ประกันให้ไว้ต่อศาลเฉพาะในส่วนที่จําเลยต้องรับผิดชําระหนี้ให้แก่
โจทก์ แต่ไม่ต้องนําเงินมาชําระหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลสําหรับ
เงินรางวัลของทนายความฝ่ายโจทก์

มาตรา ๒๒๒/๔๘219[๒๒๕] คดีที่ศาลชั้นต้น มี


คําสั่งรับอุทธรณ์หรือฎีกาส่งมาให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา หาก
ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณีพิจารณาเห็นว่าอุทธรณ์หรือ
ฎีกานั้นต้องห้ามอุทธรณ์หรือห้ามฎีกา ให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกา โดย
ไม่จําต้องวินิจฉัยประเด็นที่อุทธรณ์หรือฎีกา แต่ถ้าศาลอุทธรณ์หรือ
ศาลฎีกา แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความ
ยุติธรรมจําเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดจะรับพิจารณาพิพากษาคดีที่
ต้องห้ามอุทธรณ์หรือห้ามฎีกาดังกล่าวนั้นก็ได้

ส่วนที่ ๖

ค่าธรรมเนียม

219[๒๒๕] มาตรา ๒๒๒/๔๘ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
268

มาตรา ๒๒๒/๔๙220[๒๒๖] ให้คิดค่าธรรมเนียม


ตามอัตราดังต่อไปนี้

(๑) ค่ายื่นคําขอรับชําระหนี้สองร้อยบาท แต่การ


ขอรับชําระหนี้ที่ไม่เกินสองหมื่นบาทไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

(๒) ค่าคั ดค้านคําสั่ งของเจ้าพนักงานบั งคับคดีต่อ


ศาลในเรื่องการขอรับชําระหนี้เรื่องละสองร้อยบาท

(๓) ค่ าขึ้ น ศาลในกรณี ที่มี การอุ ท ธรณ์ เรื่ อ งการ


ขอรั บ ชํ าระหนี้ หรื อการอุ ทธรณ์ เรื่ องเงิ น รางวั ล ของทนายความ
เรื่องละสองร้อยบาท

(๔) ค่าธรรมเนียมอื่นนอกจาก (๑) (๒) และ (๓)


ให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามตารางท้ายประมวลกฎหมาย
นี้

ภาค ๓

220[๒๒๖] มาตรา ๒๒๒/๔๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
269

อุทธรณ์และฎีกา

ลักษณะ ๑

อุทธรณ์

มาตรา ๒๒๓ ภายใต้ บั ง คั บ บทบั ญ ญั ติ ม าตรา


๑๓๘, ๑๖๘, ๑๘๘ และ ๒๒๒ และในลักษณะนี้ คําพิพากษาหรือ
คําสั่งของศาลชั้นต้ นนั้น ให้ยื่นอุ ทธรณ์ ต่อศาลอุทธรณ์ เว้ นแต่คํา
พิพากษาหรือคําสั่งนั้นประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้
บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด

มาตรา ๒๒๓ ทวิ221[๒๒๗] (ยกเลิก)

221[๒๒๗] มาตรา ๒๒๓ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘
270

มาตรา ๒๒๔222[๒๒๘] ในคดีที่ราคาทรัพย์สิน


หรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความ
อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาล
ชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้
หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาต
ให้ อุ ท ธรณ์ เ ป็ น หนั ง สื อ จากอธิ บ ดี ผู้ พิ พ ากษาชั้ น ต้ น หรื อ อธิ บ ดี ผู้
พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

บทบั ญญั ติในวรรคหนึ่ งมิได้ ให้บั งคั บในคดีเกี่ ย ว


ด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวและคดีฟ้องขอให้
ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้อง
ขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้
เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจํานวน
ที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

การขอให้ ผู้ พิพากษาที่ นั่ งพิ จ ารณาในคดี ในศาล


ชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคําร้องถึงผู้
พิ พ ากษานั้ น พร้ อ มกั บ คํ า ฟ้ อ งอุ ท ธรณ์ ต่ อ ศาลชั้ น ต้ น เมื่ อศาลได้
รับคําร้องเช่นว่านั้น ให้ศาลส่งคําร้องพร้อมด้วยสํานวนความไปยังผู้

222[๒๒๘] มาตรา ๒๒๔ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
271

พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณารับรอง

มาตรา ๒๒๕223[๒๒๙] ข้ อ เท็ จ จริ ง หรื อ ข้ อ


กฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้
โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดย
ชอบในศาลชั้ น ต้ น ทั้ ง จะต้ อ งเป็ น สาระแก่ ค ดี อั น ควรได้ รั บ การ
วินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วย
ความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือคู่ความ
ฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้น
เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่
ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามบทบั ญ ญั ติ ว่ า ด้ ว ยกระบวนพิ จ ารณาชั้ น อุ ท ธรณ์
คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้

มาตรา ๒๒๖ ก่ อนศาลชั้ น ต้ นได้ มี คําพิ พากษา


หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสิ นคดี ถ้าศาลนั้นได้ มีคําสั่ งอย่างใดอย่ างหนึ่ ง
นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๒๗ และ ๒๒๘

223[๒๒๙] มาตรา ๒๒๕ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
272

(๑) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(๒) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อ


โต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงานคู่ความที่โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้น
ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ ศาลได้ มีคําพิ พากษา หรื อ
คําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้นเป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่ง
ให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งของศาล
นับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๒๗
และ ๒๒๘ เป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา224[๒๓๐]

มาตรา ๒๒๗ คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้


คืนคําคู่ความตามมาตรา ๑๘หรือคําสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตาม
มาตรา ๒๔ ซึ่งทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคําสั่งใน
ระหว่ างพิ จ ารณา และให้ อยู่ ภ ายในข้ อบั งคั บ ของการอุ ทธรณ์ คํา
พิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี

224[๒๓๐] มาตรา ๒๒๖ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
273

มาตรา ๒๒๘225[๒๓๑] ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี


ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

(๑) ให้กักขัง หรือปรับไหม หรือจําขัง ผู้ใด ตาม


ประมวลกฎหมายนี้

(๒) มี คํ า สั่ ง อั น เกี่ ย วด้ ว ยคํ า ขอเพื่ อ คุ้ ม ครอง


ประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือมีคําสั่งอันเกี่ยว
ด้วยคําขอเพื่อจะบังคับคดีตามคําพิพากษาต่อไป หรือ

(๓) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา ๑๘ หรือ


วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ตามมาตรา ๒๔ ซึ่งมิ ได้ทําให้คดีเสร็จไปทั้ ง
เรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนด
หนึ่งเดือน นับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป

แม้ถึงว่าจะมีอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณา ให้ศาล
ดําเนินคดีต่อไป และมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น แต่
ถ้าในระหว่างพิจารณา คู่ความอุทธรณ์คําสั่งชนิดที่ระบุไว้ในอนุมาตรา
(๓) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกลับหรือแก้ไขคําสั่งที่คู่ความอุทธรณ์
นั้น จะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อใดที่

225[๒๓๑] มาตรา ๒๒๘ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙
274

ศาลล่างมิได้วินิจฉัยไว้ ให้ศาลอุทธรณ์มีอํานาจทําคําสั่งให้ศาลล่าง
งดการพิ จ ารณาไว้ ใ นระหว่ า งอุ ท ธรณ์ หรื อ งดการวิ นิ จ ฉั ย คดี ไ ว้
จนกว่าศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์นั้น

ถ้าคู่ความมิได้ อุทธรณ์คําสั่งในระหว่างพิ จารณา


ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ก็ให้อุทธรณ์ได้ในเมื่อศาลพิพากษาคดี
แล้วตามความในมาตรา ๒๒๓

มาตรา ๒๒๙ การอุทธรณ์นั้นให้ทําเป็นหนังสื อ


ยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคําพิพากษาหรือคําสั่งภายในกําหนดหนึ่งเดือน
นับแต่วันที่ได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนํา
เงิ น ค่ า ธรรมเนี ย มซึ่ ง จะต้ อ งใช้ แ ก่ คู่ ค วามอี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง ตามคํ า
พิ พ ากษาหรื อ คํ า สั่ ง มาวางศาลพร้ อ มกั บ อุ ท ธรณ์ นั้ น ด้ ว ย ให้ ผู้
อุทธรณ์ยื่นสําเนาอุทธรณ์ต่อศาล เพื่อส่งให้แก่จําเลยอุทธรณ์ (คือ
ฝ่ายโจทก์หรือจําเลยความเดิมซึ่งเป็นฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์ความนั้น)
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓๕ และ ๒๓๖

มาตรา ๒๓๐226[๒๓๒] คดีตามมาตรา ๒๒๔ ถ้า

226[๒๓๒] มาตรา ๒๓๐ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙
275

คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ให้ศาลชั้ นต้นตรวจเสี ยก่อนว่าฟ้อง


อุทธรณ์นั้นจะรับไว้พิจารณาได้หรือไม่

ถ้าผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาคดีนั้นมีความเห็นแย้ง
หรือได้รับรองไว้แล้ว หรือรับรองในเวลาที่ตรวจอุทธรณ์นั้นว่ามีเหตุ
อั น ควรอุ ท ธรณ์ ใ นปั ญ หาข้ อ เท็ จ จริ ง นั้ น ได้ ก็ ใ ห้ ศ าลมี คํ า สั่ ง รั บ
อุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว

ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านั้น ให้
ศาลมีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่กล่าวแล้ว ในกรณี
เช่นนี้ ถ้าอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคมิได้เป็นคณะใน
คําสั่งนั้น ผู้อุทธรณ์ชอบที่จะยื่นคําร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษา
หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคภายในเจ็ดวัน เมื่อศาลได้รับคําร้องเช่นว่า
นั้ น ให้ ศ าลส่ ง คํ า ร้ อ งนั้ น พร้ อ มด้ ว ยสํ า นวนความไปยั ง อธิ บ ดี ผู้
พิ พากษาหรื อ อธิ บ ดี ผู้ พิพากษาภาคเพื่ อมี คํ าสั่ ง ยื น ตามหรื อ กลั บ
คําสั่งของศาลนั้น คําสั่งของอธิบดีผู้พิพากษา หรืออธิบดีผู้พิพากษา
ภาค เช่นว่านี้ ให้เป็นที่สุด

บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ไม่ห้ามศาลในอันที่จะมี
คําสั่งตามมาตรา ๒๓๒ ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ในเหตุอื่น หรือในอันที่
ศาลจะมีคําสั่งให้ส่งอุทธรณ์นั้นไปเท่าที่เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย

มาตรา ๒๓๑ การยื่ น อุ ท ธรณ์ ย่ อ มไม่ เ ป็ น การ


ทุเลาการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้น แต่คู่ความ
276

ที่ ยื่ น อุ ท ธรณ์ อ าจยื่ น คํ า ขอต่ อ ศาลอุ ท ธรณ์ ไ ม่ ว่ า เวลาใด ๆ ก่ อ น


พิพากษา โดยทําเป็นคําร้องชี้แจงเหตุผลอันสมควรแห่งการขอ ให้
ศาลอุทธรณ์ทุเลาการบังคับไว้

คําขอเช่นว่านั้น ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นต่อศาลชั้นต้นได้
จนถึ งเวลาที่ ศาลมี คําสั่ งอนุ ญาตให้ อุทธรณ์ ถ้ าภายหลั งศาลได้ มี
คําสั่งเช่นว่านี้แล้ว ให้ยื่นตรงต่อศาลอุทธรณ์ ถ้าได้ยื่นคําขอต่อศาล
ชั้ น ต้ น ก็ ให้ ศ าลรี บ ส่ งคํ า ขอนั้ น ไปยั งศาลอุ ทธรณ์ ในกรณี ที่ มีเหตุ
ฉุกเฉินอย่างยิ่ง เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคําขอไว้ ก็ให้มีอํานาจทําคําสั่ง
ให้ทุเลาการบังคับไว้รอคําวินิจฉัยชี้ขาดของศาลอุทธรณ์ในคําขอเช่น
ว่านั้น

ถ้าผู้อุทธรณ์วางเงินต่อศาลชั้นต้นเป็นจํานวนพอ
ชําระหนี้ตามคําพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้อง
และการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาให้สําหรับเงินจํานวนเช่นว่านี้
จนเป็นที่พอใจของศาลให้ศาลที่กล่าวมาแล้วงดการบังคับคดีไว้ดังที่
บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๒ (๑)227[๒๓๓]

เมื่อได้รับคําขอเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้
ทุเลาการบังคับไว้ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินก็ได้ โดยมิต้องฟังคู่ความอีก
ฝ่ า ยหนึ่ ง แต่ ใ นกรณี เ ช่ น ว่ า นี้ ให้ ถื อ ว่ า คํ า สั่ ง นี้ เ ป็ น การชั่ ว คราว
227[๒๓๓]
มาตรา ๒๓๑ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
277

จนกว่าศาลจะได้ฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในภายหลัง ถ้าศาลมีคําสั่งให้
ทุเลาการบังคับไว้ตามที่ขอ คําสั่งนี้อาจอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขใด ๆ
หรือไม่ก็ได้ ศาลจะมีคําสั่งให้ผู้อุทธรณ์ทําทัณฑ์บนว่าจะไม่ยักย้าย
จําหน่ายทรัพย์สินของตนในระหว่างอุทธรณ์ หรือให้หาประกันมา
ให้ ศ าลให้ พ อกั บ เงิ น ที่ ต้ อ งใช้ ต ามคํ า พิ พ ากษาหรื อ จะให้ ว างเงิ น
จํานวนนั้นต่อศาลก็ได้ ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งนั้น ศาลจะ
สั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้อุทธรณ์นั้นก็ได้ และถ้าทรัพย์สิน
เช่นว่านั้น หรือส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ ศาลอาจมีคําสั่ง
ให้ เอาออกขายทอดตลาดก็ ได้ ถ้ าปรากฏว่ าการขายนั้ น เป็ น การ
จําเป็นและสมควร เพราะทรัพย์สินนั้นมีสภาพเป็นของเสียได้ง่าย
หรือว่าการเก็บรักษาไว้ในระหว่างอุทธรณ์น่าจะนําไปสู่ความยุ่งยาก
หรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจํานวนมาก

มาตรา ๒๓๒ เมื่ อ ได้ รั บ อุ ท ธรณ์ แ ล้ ว ให้ ศ าล


ชั้นต้นตรวจอุทธรณ์และมีคําสั่งให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นไป
ยั ง ศาลอุ ท ธรณ์ ต ามบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง ประมวลกฎหมายนี้ ถ้ า ศาล
ปฏิเสธไม่ส่ง ให้ศาลแสดงเหตุที่ไม่ส่งนั้นไว้ในคําสั่งทุกเรื่องไป ถ้า
คู่ความทั้งสองฝ่ายได้ยื่นอุทธรณ์ ศาลจะวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับ
นั้นในคําสั่งฉบับเดียวกันก็ได้

มาตรา ๒๓๓ ถ้ า ศาลยอมรั บ อุ ท ธรณ์ แ ละมี


278

ความเห็นว่าการอุทธรณ์นั้นคู่ความที่ศาลพิพากษาให้ชนะจะต้อง
เสียค่าฤชาธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ให้ศาลมีอํานาจกําหนดไว้ในคําสั่งให้ผู้
อุทธรณ์นําเงินมาวางศาลอีกให้พอกับจํานวนค่าฤชาธรรมเนียมซึ่ง
จะต้องเสียดังกล่าวแล้ว ตามอัตราที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น ก่อนสิ้น
ระยะเวลาอุทธรณ์หรือภายในระยะเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควร
อนุญาต หรือตามแต่ผู้อุทธรณ์จะมีคําขอขึ้นมาไม่เกินสิบวันนับแต่
สิ้ น ระยะเวลาอุ ท ธรณ์ นั้ น ถ้ า ผู้ อุ ท ธรณ์ ไ ม่ นํ า เงิ น จํ า นวนที่ ก ล่ า ว
ข้ า งต้ น มาวางศาลภายในกํ า หนดเวลาที่ อ นุ ญ าตไว้ ก็ ใ ห้ ศ าลยก
อุทธรณ์นั้นเสีย

มาตรา ๒๓๔228[๒๓๔] ถ้ า ศาลชั้ น ต้ น ไม่ รั บ


อุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คําสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดย
ยื่นคําขอเป็นคําร้องต่อศาลชั้นต้น และนําค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง
มาวางศาลและนําเงินมาชําระตามคําพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้
ต่อศาลภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคําสั่ง

มาตรา ๒๓๕ เมื่อศาลชั้นต้นได้รับอุทธรณ์แล้วให้


ส่งสําเนาอุทธรณ์นั้นให้แก่จําเลยอุทธรณ์ภายในกําหนดเจ็ดวัน นับ

228[๒๓๔] มาตรา ๒๓๔ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
279

แต่วันที่จําเลยอุทธรณ์ยื่นคําแก้อุทธรณ์ หรือถ้าจําเลยอุทธรณ์ไม่ยื่น
คําแก้อุทธรณ์ ภายในกําหนดเจ็ดวันนับแต่ระยะเวลาที่กําหนดไว้ใน
มาตรา ๒๓๗ สําหรับการยื่นคําแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ให้ศาลส่ ง
อุทธรณ์และคําแก้อุทธรณ์ถ้าหากมี พร้อมทั้งสํานวนและหลักฐาน
ต่าง ๆ ไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุ ทธรณ์ได้ รับฟ้องอุ ทธรณ์และ
สํานวนความไว้แล้ว ให้นําคดีลงสารบบความของศาลอุทธรณ์โดย
พลัน

มาตรา ๒๓๖ เมื่อคู่ความยื่นคําร้องอุทธรณ์คําสั่ง


ศาลที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ให้ศาลส่งคําร้องเช่นว่านั้นไปยังศาล
อุทธรณ์โดยไม่ชักช้าพร้อมด้วยคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดคดีของ
ศาลชั้นต้นและฟ้ องอุทธรณ์ ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจําเป็น ที่
จะต้ องตรวจสํานวน ให้มีคําสั่งให้ศาลชั้น ต้น ส่งสํานวนไปยังศาล
อุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาคําร้อง แล้วมีคําสั่ง
ยืนตามคําปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคําสั่งให้รับอุทธรณ์ คําสั่งนี้ให้
เป็นที่สุด แล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่าน

เมื่อได้อ่านคําสั่งศาลอุทธรณ์ให้รับอุทธรณ์แล้ว ให้
ศาลชั้นต้นส่งสําเนาอุทธรณ์แก่จําเลยอุทธรณ์ และภายในกําหนด
เจ็ ด วั น นั บ แต่ วั น ที่ จํ า เลยอุ ท ธรณ์ ยื่ น คํ า แก้ อุ ท ธรณ์ หรื อ นั บ แต่
ระยะเวลาที่กําหนดไว้ในมาตรา ๒๓๗ สําหรับการยื่นคําแก้อุทธรณ์
ได้สิ้นสุดลง ให้ศาลส่งคําแก้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หรือแจ้งให้
ทราบว่าไม่มีคําแก้อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับคําแก้อุทธรณ์หรือ
280

แจ้งความเช่นว่าแล้ว ให้นําคดีลงสารบบความของศาลอุทธรณ์โดย
พลัน

มาตรา ๒๓๗ จํ า เลยอุ ท ธรณ์ อ าจยื่ น คํ า แก้


อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสําเนา
อุทธรณ์

ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ ามมิให้ ศาลแสดงว่า จําเลย


อุทธรณ์ขาดนัดเพราะไม่ยื่นคําแก้อุทธรณ์

มาตรา ๒๓๘229[๒๓๕] ภายใต้ บั ง คั บ มาตรา


๒๔๓ (๓) ในคดีที่อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายนั้น การ
วินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จําต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาล
ชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสํานวน

229[๒๓๕] มาตรา ๒๓๘ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙
281

มาตรา ๒๓๙230[๒๓๖] อุทธรณ์คําสั่งนั้นจะต้อง


พิจารณาก่อนอุทธรณ์คําพิพากษาเท่าที่สามารถจะทําได้ แม้ถึงว่า
อุทธรณ์คําพิพากษานั้นจะได้ลงไว้ในสารบบความของศาลอุทธรณ์
ก่อนอุทธรณ์คําสั่งนั้นก็ดี

มาตรา ๒๔๐231[๒๓๗] ศาลอุทธรณ์มีอํานาจที่


จะวิ นิ จ ฉั ย คดี โ ดยเพี ย งแต่ พิ จ ารณาฟ้ อ งอุ ท ธรณ์ คํ า แก้ อุ ท ธรณ์
เอกสารและหลักฐานทั้งปวง ในสํานวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมา
เว้นแต่

(๑) ศาลอุท ธรณ์ไ ด้น ัด ฟัง คํ า แถลงการณ์ด ้ว ย


วาจาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๑ แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือทั้ง
สองฝ่ายไม่มาศาลในวันกําหนดนัด ศาลอุทธรณ์อาจดําเนินคดีไปได้
และคํ า พิ พ ากษาหรื อ คํ า สั่ ง ของศาลอุ ทธรณ์ นั้ น ไม่ ใ ห้ ถื อ เป็ น คํ า
พิพากษาโดยขาดนัด

(๒) ถ้ า ศาลอุ ท ธรณ์ ยั ง ไม่ เ ป็ น ที่ พ อใจในการ


พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คําแก้อุทธรณ์ และพยานหลักฐาน ที่ปรากฏ
230[๒๓๖] มาตรา ๒๓๙ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙

231[๒๓๗] มาตรา ๒๔๐ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙
282

ในสํานวน ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๒๓๘ และเฉพาะในปัญหาที่


อุทธรณ์ ให้ศาลมีอํานาจที่จะกําหนดประเด็นทําการสืบพยานที่สืบ
มาแล้ว หรือพยานที่เห็นควรสืบต่อไป และพิจารณาคดีโดยทั่ว ๆ ไป
ดังที่บั ญญั ติไว้ในประมวลกฎหมายนี้สํ าหรับ การพิ จารณาในศาล
ชั้ น ต้ น และให้ นํ า บทบั ญญั ติ แห่ ง ประมวลกฎหมายนี้ ว่ า ด้ ว ยการ
พิจารณาในศาลชั้นต้น มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

(๓) ในคดีที่คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย
ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหา
ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญในประเด็น ให้ศาลอุทธรณ์มีอํานาจ
ทําคํ าสั่ งให้ ศาลชั้ น ต้น พิ จารณาปั ญหาข้ อเท็ จจริ งเช่ น ว่านั้ น แล้ ว
พิพากษาไปตามรูปความ

มาตรา ๒๔๑232[๒๓๘] ถ้ า คู่ ค วามฝ่ า ยใด


ประสงค์จะมาแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ ให้ขอมาใน
ตอนท้ายคําฟ้องอุทธรณ์ หรือคําแก้อุทธรณ์ แล้วแต่กรณี และให้
ศาลอุทธรณ์กําหนดนัดฟังคําแถลงการณ์ด้วยวาจานั้น เว้นแต่ศาล
อุทธรณ์จะพิจารณาเห็นว่าการแถลงการณ์ด้วยวาจาไม่จําเป็นแก่คดี
จะสั่งงดฟังคําแถลงการณ์เสียก็ได้ ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์นัดฟังคํา
แถลงการณ์ด้วยวาจา คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบที่จะไปแถลงการณ์

232[๒๓๘] มาตรา ๒๔๑ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙
283

ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ด้วย ถึงแม้ว่าตนจะมิได้แสดงความ
ประสงค์ไว้

การแถลงการณ์ด้วยวาจา ผู้ขอแถลง เป็นผู้แถลง


ก่อน แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแถลงแก้ แล้วผู้ขอแถลง แถลงได้อีกครั้งหนึ่ง
ถ้ า ขอแถลงทั้ ง สองฝ่ า ย ให้ ผู้ อุ ท ธรณ์ แ ถลงก่ อ น ถ้ า ทั้ ง สองฝ่ า ย
อุทธรณ์และต่างขอแถลง ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง

มาตรา ๒๔๒233[๒๓๙] เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ตรวจ


สํานวนความและฟังคู่ความทั้งปวง หรือสืบพยานต่อไปดังบัญญัติไว้
ในมาตรา ๒๔๐ เสร็จแล้ว ให้ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์โดย
ประการใดประการหนึ่งในสี่ประการนี้

(๑) ถ้ าศาลอุ ทธรณ์ เห็ นว่ า อุ ทธรณ์ นั้ นต้ องห้ าม


ตามกฎหมาย ก็ให้ยกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็น
แห่งอุทธรณ์

(๒) ถ้ า ศาลอุ ท ธรณ์ เ ห็ น ว่ า คํ า วิ นิ จ ฉั ย ของศาล


ชั้นต้นถูกต้อง ไม่ว่าโดยเหตุเดียวกันหรือเหตุอื่น ก็ให้พิพากษายืน
ตามศาลชั้นต้นนั้น

233[๒๓๙] มาตรา ๒๔๒ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๘
284

(๓) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า คําชี้ขาดของศาลชั้นต้น


ไม่ถูกต้อง ให้กลับคําพิพากษาของศาลชั้นต้นเสีย และพิพากษาใน
ปัญหาเหล่านั้นใหม่

(๔) ถ้ า ศาลอุ ท ธรณ์ เ ห็ น ว่ า คํ า วิ นิ จ ฉั ย ของศาล


ชั้ น ต้ น ถู ก แต่ บ างส่ ว น และผิ ด บางส่ ว น ก็ ให้ แ ก้ คํ า พิ พากษาศาล
ชั้นต้นไปตามนั้น โดยพิพากษายืนบางส่วน กลับบางส่วน และมีคํา
พิพากษาใหม่แทนส่วนที่กลับนั้น

มาตรา ๒๔๓234[๒๔๐] ให้ศาลอุทธรณ์มีอํานาจ


ดังต่อไปนี้ด้วย คือ

(๑ ) เ มื ่อ คดีป ร าก ฏ เ หตุที ่ม ิไ ด้ป ฏ ิบ ัต ิต า ม


บทบัญญัติแ ห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้ว ยคํ าพิพากษาและคําสั่ ง
และศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีเหตุอันสมควร ก็ให้ศาลอุทธรณ์มีคําสั่งยก
คําพิพากษาหรือคํา สั่งศาลชั้น ต้น นั้น เสีย แล้ว ส่งสํา นวนคืนไปยัง
ศาลชั้น ต้น เพื่อ ให้พิพ ากษาหรือ มีคํา สั่ง ใหม่ ในกรณีเ ช่น นี้ศ าล
ชั้นต้นอาจประกอบด้วยผู้พิพากษาอื่นนอกจากที่ได้พิพากษาหรือ
มีคําสั่งมาแล้ว และคําพิพากษาหรือคําสั่งใหม่นี้อาจวินิจฉัยชี้ขาด
คดีเป็นอย่างอื่นนอกจากคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ถูกยกได้

234[๒๔๐] มาตรา ๒๔๓ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙
285

(๒) เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ
แห่ ง ประมวลกฎหมายนี้ ว่ า ด้ ว ยการพิ จ ารณาหรื อ มี เ หตุ ที่ ศาลได้
ปฏิเสธไม่สืบพยานตามที่ผู้อุทธรณ์ร้องขอ และศาลอุทธรณ์เห็นว่ามี
เหตุ อัน สมควร ก็ให้ศาลอุ ทธรณ์ มีคําสั่ งยกคําพิพากษาหรื อคํ าสั่ ง
ศาลชั้นต้นนั้นแล้วกําหนดให้ศาลชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษา
คณะเดิมหรือผู้พิพากษาอื่น หรือศาลชั้นต้นอื่นใดตามที่ศาลอุทธรณ์
จะเห็ น สมควร พิ จ ารณาคดี นั้ น ใหม่ ทั้ ง หมดหรื อ บางส่ ว น และ
พิพากษาหรือมีคําสั่งใหม่

(๓) ในกรณี ที่ ศ าล อุ ท ธ รณ์ จํ า ต้ อ งถื อ ตา ม


ข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น ถ้าปรากฏว่า

(ก) การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นผิด
ต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์อาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของ
ศาลชั้นต้น แล้วมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น
หรือ

(ข) ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาไม่พอแก่การ
วินิ จ ฉัย ข้ อกฎหมาย ศาลอุ ทธรณ์ อาจทํา คํ า สั่ง ให้ย กคํา พิพากษา
หรือ คํ า สั ่ง ศาลชั ้น ต้น นั ้น เสีย แล้ว กํ า หนดให้ศ าลชั ้น ต้น ซึ ่ง
ประกอบด้ว ยผู ้พ ิพ ากษาคณะเดิ ม หรื อ ผู้ พิ พากษาอื่ น หรื อศาล
ชั้น ต้ น อื่ นใด ตามที่ ศาลอุ ทธรณ์ เห็ น สมควร พิ จ ารณาคดี นั้ นใหม่
ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยดําเนินตามคําชี้ขาดของศาลอุทธรณ์แล้วมี
คําพิพากษาหรือคําสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามรูปความ ทั้งนี้ ไม่ว่า
จะปรากฏจากการอุทธรณ์หรือไม่
286

ในคดี ทั้ ง ปวงที่ ศ าลชั้ น ต้ น ได้ มี คํ า พิ พ ากษาหรื อ


คําสั่งใหม่ตามมาตรานี้ คู่ความชอบที่จะอุทธรณ์คําพิพากษาหรือ
คําสั่งใหม่เช่นว่านี้ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้

มาตรา ๒๔๔ ศาลอุ ท ธรณ์ จ ะอ่ านคํ าพิ พ ากษา


นั้นเอง หรือจะส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่านก็ได้ ในกรณีเหล่านี้ให้ศาลที่
อ่านคําพิพากษามีคําสั่งกําหนดนัดวันอ่านส่งให้แก่คู่ความอุทธรณ์
ทุกฝ่าย

มาตรา ๒๔๔/๑235[๒๔๑] ภายใต้บังคับมาตรา


๒๔๗ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

มาตรา ๒๔๕ คํ า พิพ ากษาหรือ คํ า สั ่ง ชั ้น


อุทธรณ์ให้มีผ ลเฉพาะระหว่างคู่ความชั้น อุทธรณ์ เว้นแต่ในกรณี
ต่อไปนี้

(๑) ถ้าคํ าพิ พากษาหรื อคําสั่งที่ อุทธรณ์ นั้น เกี่ ย ว

235[๒๔๑] มาตรา ๒๔๔/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘
287

ด้วยการชําระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ และคู่ความแต่บางฝ่ายเป็นผู้
อุ ทธรณ์ ซึ่งทํ าให้ คําพิ พากษาหรื อคํ าสั่ งนั้ น มี ผ ลเป็ น ที่ สุ ดระหว่ า ง
คู่ความอื่น ๆ ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรกลับคําพิพากษาหรือคําสั่ง
ที่อุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์มีอํานาจชี้ขาดว่าคําพิพากษาหรือคําสั่ง
ศาลอุทธรณ์ ให้มีผลระหว่างคู่ความทุกฝ่ายในคดีในศาลชั้นต้นด้วย

(๒) ถ้าได้มีการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดี
แทนคู่ ค วามฝ่ า ยใด คํ า พิ พ ากษาศาลอุ ท ธรณ์ ย่ อ มมี ผ ลบั ง คั บ แก่
คู่ความฝ่ายนั้นด้วย

มาตรา ๒๔๖ เว้ น แต่ ที่ได้ บั ญญั ติไว้ ดังกล่ าวมา


ข้างต้น บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาและ
การชี้ ขาดตั ดสินคดีในศาลชั้น ต้นนั้น ให้ใช้บังคั บแก่การพิจ ารณา
และการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม

ลักษณะ ๒

ฎีกา
288

มาตรา ๒๔๗236[๒๔๒] การฎี ก าคํ าพิ พากษา


หรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล
ฎีกา

การขออนุญาตฎีกา ให้ยื่นคําร้องพร้อมกับคําฟ้อง
ฎีกาต่อศาลชั้นต้นที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งในคดีนั้นภายในกําหนด
หนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์
แล้วให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องพร้อมคําฟ้องฎีกาดังกล่าวไปยังศาล
ฎีกา และให้ศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยคําร้องให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

มาตรา ๒๔๘237[๒๔๓] คําร้องตามมาตรา ๒๔๗


ให้พิจารณาและวินิจฉัยโดยองค์คณะผู้พิพากษาที่ประธานศาลฎีกา
แต่งตั้ง ซึ่งประกอบด้วยรองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาในศาล
ฎีกาซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาอีกอย่างน้อยสาม
คน

236[๒๔๒] มาตรา ๒๔๗ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘

237[๒๔๓] มาตรา ๒๔๘ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘
289

การวินิจฉัยให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ถ้าคะแนน
เสียงเท่ากั นให้ บังคับ ตามความเห็นของฝ่ายที่เห็นควรอนุญาตให้
ฎีกา

มาตรา ๒๔๙238[๒๔๔] ให้ ศ าลฎี ก าพิ จ ารณา


อนุญาตให้ฎีกาตามมาตรา ๒๔๗ ได้ เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้น
เป็นปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย

ปั ญ หาสํ า คั ญ ตามวรรคหนึ่ ง ให้ ร วมถึ ง กรณี


ดังต่อไปนี้

(๑) ปัญหาที่เกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ หรือ


ความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(๒) เมื่อคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ได้
วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สําคัญขัดกันหรือขัดกับแนวบรรทัดฐานของคํา
พิพากษาหรือคําสั่งของศาลฎีกา

(๓) คํ า พิ พ ากษาหรื อ คํ า สั่ ง ของศาลอุ ท ธรณ์ ไ ด้


วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สําคัญซึ่งยังไม่มีแนวคําพิพากษาหรือคําสั่งของ
ศาลฎีกามาก่อน
238[๒๔๔] มาตรา ๒๔๙ แก้ไขเพิม่ เติมเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘
290

(๔) เมื่อคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ขัด
กับคําพิพากษาหรือคําสั่งอันถึงที่สุดของศาลอื่น

(๕) เพื่อเป็นการพัฒนาการตีความกฎหมาย

(๖) ปัญหาสําคัญอื่นตามข้อกําหนดของประธาน
ศาลฎีกา

ข้ อ กํ า หนดของประธานศาลฎี ก าตามวรรคสอง
(๖) เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ในกรณีที่ศาลฎีกามีคําสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา ให้คํา
พิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านคํา
พิพากษาหรือคําสั่งนั้น

มาตรา ๒๕๐239[๒๔๕] หลักเกณฑ์และวิธีการ


ในการยื่ น คํ า ร้ อ ง การพิ จ ารณาวิ นิ จ ฉั ย และระยะเวลาในการ
พิจ ารณาคําร้องตามมาตรา ๒๔๗ การตรวจรั บฎี กา การแก้ ฎีกา
การพิจารณา และการพิพากษาคดี รวมทั้งการสั่งคืนค่าฤชาธรรม
เนียม ให้เป็นไปตามข้อกําหนดของประธานศาลฎีกา

239[๒๔๕] มาตรา ๒๕๐ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘
291

ข้ อกํ าหนดของประธานศาลฎี ก าตามวรรคหนึ่ ง


เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

มาตรา ๒๕๑240[๒๔๖] ในคดีที่ได้รับอนุญาตให้


ฎี ก าที่ มี แ ต่ เ ฉพาะปั ญ หาข้ อ กฎหมาย หากศาลฎี ก าเห็ น ว่ า คํ า
พิ พากษาหรื อ คํ า สั่ ง ของศาลอุ ท ธรณ์ ไม่ ถูก ต้ อ งไม่ ว่ าทั้ งหมดหรื อ
บางส่วน ศาลฎีกาจะมีคําวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายนั้นและยกคํา
พิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์หรือศาลชั้นต้น แล้วมีคําสั่งให้
ศาลอุทธรณ์หรือศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี ทําคําพิพากษาหรือคําสั่ง
ใหม่ภายใต้กรอบคําวินิจฉัยของศาลฎีกาก็ได้

มาตรา ๒๕๒241[๒๔๗] ในกรณีที่ไม่มีข้อกําหนด


ของประธานศาลฎีกาตามมาตรา ๒๕๐ กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้
นําบทบัญญัติในลักษณะ ๑ ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลม

240[๒๔๖] มาตรา ๒๕๑ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘

241[๒๔๗] มาตรา ๒๕๒ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘
292

ภาค ๔

วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับตามคําพิพากษาหรือ
คําสั่ง

ลักษณะ ๑

วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา

หมวด ๑

หลักทั่วไป
293

มาตรา ๒๕๓242[๒๔๘] ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลําเนา


หรือสํานักทําการงานอยู่ในราชอาณาจักรและไม่มีทรัพย์สินที่อาจ
ถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์
แพ้ คดี แล้ ว จะหลี กเลี่ ย งไม่ ชํ าระค่าฤชาธรรมเนี ย มและค่ าใช้ จ่ าย
จําเลยอาจยื่นคําร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาล
มีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชําระค่า
ฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้

ถ้าศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันสมควรหรือมี
เหตุเป็นที่เชื่อได้ แล้วแต่กรณี ก็ให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อ
ศาลหรือหาประกันมาให้ตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่กําหนด
โดยจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้

ถ้าโจทก์ มิได้ปฏิ บัติตามคําสั่ งศาลตามวรรคสอง


ให้ศาลมี คําสั่งจํ าหน่ ายคดีออกจากสารบบความ เว้นแต่จํ าเลยจะ
ขอให้ ดําเนิ นการพิ จารณาต่ อไป หรื อมี การอุ ทธรณ์ คําสั่ งศาลตาม
วรรคสอง

242[๒๔๘] มาตรา ๒๕๓ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
294

มาตรา ๒๕๓ ทวิ 243[๒๔๙] ในกรณีที่โจทก์ ได้


ยื่น อุ ทธรณ์ หรื อฎี กาคั ดค้ านคํ าพิ พากษาถ้ ามีเหตุ ใดเหตุ ห นึ่ งตาม
มาตรา ๒๕๓ วรรคหนึ่ง จําเลยอาจยื่นคําร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือ
ศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ขอให้ศาลมี
คําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชําระค่า
ฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้

ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสํานวนความไป
ยังศาลอุ ทธรณ์ ห รื อศาลฎี กา คํ าร้ องตามวรรคหนึ่ งให้ ยื่ น ต่ อศาล
ชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นทําการไต่สวน แล้วส่งคําร้องนั้นพร้อมด้วย
สํานวนความไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง

ให้นําความในมาตรา ๒๕๓ วรรคสองและวรรค


สาม มาใช้บังคับแก่การพิจารณาในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยอนุโลม

มาตรา ๒๕๔244[๒๕๐] ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดี


มโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้องหรือในเวลาใด
ๆ ก่อนพิ พากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดี ยว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่ งภายใน
243[๒๔๙] มาตรา ๒๕๓ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘

244[๒๕๐] มาตรา ๒๕๔ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
295

บังคั บแห่ งเงื่ อนไขซึ่ งจะกล่าวต่ อไป เพื่ อจั ดให้ มีวิ ธี คุ้มครองใด ๆ
ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ ยึ ด หรื อ อายั ด ทรั พ ย์ สิ น ที่ พิ พ าทหรื อ


ทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้ง
จํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่
จําเลย

(๒) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทํา
ซ้ํ า หรื อ กระทํ า ต่ อ ไป ซึ่ ง การละเมิ ด หรื อ การผิ ด สั ญ ญาหรื อ การ
กระทํ า ที่ ถู ก ฟ้ อ งร้ อ ง หรื อ มี คํ า สั่ ง อื่ นใดในอั น ที่ จ ะบรรเทาความ
เดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทําของ
จําเลยหรือมี คําสั่ งห้ ามชั่ ว คราวมิ ให้จํ าเลยโอน ขาย ยั กย้ ายหรื อ
จําหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่ง
ให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สิน
ดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(๓) ให้ ศ าลมี คํ า สั่ ง ให้ น ายทะเบี ย น พนั ก งาน


เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการ
จดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอน
การจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย
หรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึง
ที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อ
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
296

(๔) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว

ในระหว่ างระยะเวลานับ แต่ ศาลชั้ นต้ นหรือศาล


อุทธรณ์ได้อ่านคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไป
จนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยัง
ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อ
ศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจที่จะสั่งอนุญาตหรือยกคําขอเช่น
ว่านี้

มาตรา ๒๕๕245[๒๕๑] ในการพิจารณาอนุญาต


ตามคําขอที่ยื่นไว้ตามมาตรา ๒๕๔ ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า
คําฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่ จะนําวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมา
ใช้ได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่ยื่นคําขอให้ศาลมีคําสั่งตามมาตรา
๒๕๔ (๑) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า

(ก) จํ าเลยตั้ งใจจะยั กย้ ายทรั พย์สิ น ที่พิพาท


หรือทรัพย์สินของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปให้พ้นจากอํานาจ
ศาล หรื อจะโอน ขายหรื อจํ าหน่ายทรัพย์สิ นดั งกล่าวเพื่อประวิ ง

245[๒๕๑] มาตรา ๒๕๕ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
297

หรือขัดขวางต่อการบังคับตามคําบังคับใด ๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับ
เอาแก่จําเลยหรือเพื่อจะทําให้โจทก์เสียเปรียบ หรือ

(ข) มีเหตุจําเป็นอื่นใดตามที่ศาลจะพิเคราะห์
เห็นเป็นการยุติธรรมและสมควร

(๒) ในกรณีที่ยื่นคําขอให้ศาลมีคําสั่งตามมาตรา
๒๕๔ (๒) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า

(ก) จําเลยตั้งใจจะกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป
ซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง

(ข) โจทก์ จ ะได้ รั บ ความเดื อ ดร้ อ นเสี ย หาย


ต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลย

(ค) ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย
นั้นมีพฤติการณ์ว่าจะมีการกระทําให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลาย
หรือโอนไปยังผู้อื่น หรือ

(ง) มีเหตุตาม (๑) (ก) หรือ (ข)

(๓) ในกรณีที่ยื่นคําขอให้ศาลมีคําสั่งตามมาตรา
๒๕๔ (๓) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า

(ก) เป็นที่เกรงว่าจําเลยจะดําเนินการให้มีการ
จดทะเบียน แก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจด
298

ทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่
เกี่ ย วกั บ การกระทํ า ที่ ถู กฟ้ องร้ อ ง ซึ่ งการดํ า เนิ น การดั ง กล่ าวจะ
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ หรือ

(ข) มีเหตุตาม (๑) (ข)

(๔) ในกรณีที่ยื่นคําขอให้ศาลมีคําสั่งตามมาตรา
๒๕๔ (๔) ต้ อ งให้ เ ป็ น ที่ พ อใจของศาลว่ า เพื่ อ ที่ จ ะประวิ ง หรื อ
ขัดขวางต่ อการพิจารณาคดีหรื อการบังคั บตามคําบังคับใด ๆ ซึ่ ง
อาจจะออกบังคับเอาแก่จําเลย หรือเพื่อจะทําให้โจทก์เสียเปรียบ

(ก) จําเลยซ่อนตัวเพื่อจะไม่รับหมายเรียกหรือ
คําสั่งของศาล

(ข) จําเลยได้ยักย้ายไปให้พ้นอํานาจศาลหรือ
ซุกซ่อนเอกสารใด ๆ ซึ่งพอจะเห็นได้ว่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานยัน
จําเลยในคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณา หรือทรัพย์สินที่พิพาท หรือ
ทรั พย์ สิ น ของจํ า เลยทั้ งหมดหรื อ แต่ บ างส่ ว น หรื อเป็ น ที่ เกรงว่ า
จําเลยจะจําหน่ายหรือทําลายเอกสารหรือทรัพย์สินเช่นว่านั้น หรือ

(ค) ปรากฏตามกิ ริ ย าหรื อ ตามวิ ธี ที่ จํ า เลย


ประกอบการงานหรือการค้าของตนว่าจําเลยจะหลีกหนีหรือพอเห็น
ได้ว่าจะหลีกหนีไปให้พ้นอํานาจศาล
299

มาตรา ๒๕๖246[๒๕๒] ในกรณี ที่ ยื่ น คํ าขอให้


ศาลมีคําสั่งตามมาตรา ๒๕๔ (๒) หรือ (๓) ถ้าศาลเห็นว่าหากให้
โอกาสจํ า เลยคั ด ค้ า นก่ อ นจะไม่ เ สี ย หายแก่ โ จทก์ ก็ ใ ห้ ศ าลแจ้ ง
กําหนดวันนั่งพิจารณาพร้อมทั้งส่งสําเนาคําขอให้แก่จําเลยโดยทาง
เจ้าพนักงานศาล จําเลยจะเสนอข้อคัดค้านของตนในการที่ศาลนั่ง
พิจารณาคําขอนั้นก็ได้

มาตรา ๒๕๗247[๒๕๓] ให้ศาลมีอํานาจที่จะสั่ง


อนุญาตตามคําขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ ได้ภายในขอบเขตหรือ
โดยมีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควร

ในกรณี ที่ศ าลมี คํา สั่ ง อนุ ญ าตตามคํ า ขอที่ ไ ด้ ยื่ น


ตามมาตรา ๒๕๔ (๒) ให้ศาลแจ้งคําสั่งนั้นให้จําเลยทราบ

ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน
ขาย ยักย้าย หรือจําหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของ
จําเลย ศาลจะกําหนดวิธีการโฆษณาตามที่เห็นสมควรเพื่อป้องกัน
การฉ้อฉลก็ได้
246[๒๕๒] มาตรา ๒๕๖ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘

247[๒๕๓] มาตรา ๒๕๗ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
300

ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน
ขาย ยักย้าย หรือจําหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของ
จํ า เลยที่ ก ฎหมายกํ า หนดไว้ ใ ห้ จ ดทะเบี ย น หรื อ มี คํ า สั่ ง ให้ น าย
ทะเบีย น พนักงานเจ้ าหน้าที่ หรือบุคคลอื่ นผู้มีอํานาจหน้ าที่ตาม
กฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวหรือที่
เกี่ ย วกั บ การกระทํ า ที่ ถู ก ฟ้ อ งร้ อ ง ให้ ศ าลแจ้ ง คํ า สั่ ง นั้ น ให้ น าย
ทะเบีย น พนักงานเจ้ าหน้าที่ หรือบุคคลอื่ นผู้มีอํานาจหน้ าที่ตาม
กฎหมายทราบ และให้ บุ คคลดั ง กล่ าวบั น ทึ กคํ าสั่ งของศาลไว้ ใ น
ทะเบียน

ไม่ ว่ า ในกรณี ใ ด ๆ ก่ อ นที่ ศ าลจะออกหมายยึ ด


หมายอายัด หมายห้ามชั่วคราวหมายจับ หรือคําสั่งใด ๆ ศาลจะสั่ง
ให้ผู้ขอนําเงินหรือหาประกันตามจํานวนที่เห็นสมควรมาวางศาล
เพื่ อ การชํ า ระค่ า สิ น ไหมทดแทนซึ่ ง จํ า เลยอาจได้ รั บ ตามมาตรา
๒๖๓ ก็ได้

มาตรา ๒๕๘248[๒๕๔] คํ าสั่ ง ศาลซึ่ งอนุ ญ าต


ตามคําขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๑) นั้น ให้บังคับจําเลยได้ทันที
แล้ ว แจ้ ง คํ า สั่ ง นั้ น ให้ จํ า เลยทราบโดยไม่ ชั ก ช้ า แต่ จ ะใช้ บั ง คั บ

248[๒๕๔] มาตรา ๒๕๘ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
301

บุคคลภายนอก ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้รับโอนสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ก่อนการแจ้งคําสั่งให้จําเลยทราบมิได้

คําสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคําขอที่ได้ยื่นตามมาตรา
๒๕๔ (๒) นั้น ให้บังคับจําเลยได้ทันที ถึงแม้ว่าจําเลยจะยังมิได้รับ
แจ้งคําสั่งเช่นว่านั้นก็ตาม เว้นแต่ศาลจะได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่ง
คดีแล้วเห็นสมควรให้คําสั่งมีผลบังคับเมื่อจําเลยได้รับแจ้งคําสั่งเช่น
ว่านั้นแล้ว

คําสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคําขอที่ได้ยื่นตามมาตรา
๒๕๔ (๓) ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย นั้น
ให้มีผลใช้บังคับได้ทันที ถึงแม้ว่านายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่
หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายจะยังมิได้รับแจ้งคําสั่ง
เช่นว่านั้นก็ตาม เว้นแต่ศาลจะได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
เห็นสมควรให้คําสั่งมีผลบังคับเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคําสั่งเช่น
ว่านั้นแล้ว

คําสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคําขอที่ได้ยื่นตามมาตรา
๒๕๔ (๓) ที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องให้มีผลใช้บังคับแก่นาย
ทะเบีย น พนักงานเจ้ าหน้าที่ หรือบุคคลอื่ นผู้มีอํานาจหน้ าที่ตาม
กฎหมายต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคําสั่งเช่นว่านั้นแล้ว

หมายจั บ จํ า เลยที่ ศ าลได้ ออกตามคํ าขอที่ ได้ ยื่ น


ตามมาตรา ๒๕๔ (๔) ให้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร การกักขังตาม
หมายจับเช่นว่านี้ ห้ามมิให้กระทําเกินหกเดือนนับแต่วันจับ
302

มาตรา ๒๕๘ ทวิ 249[๒๕๕] การที่ จํ า เลยได้


ก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่พิพาท หรือ
ทรัพย์สินของจําเลยภายหลังที่คําสั่งของศาลที่ห้ามโอน ขาย ยักย้าย
หรือจําหน่าย ซึ่งออกตามคําขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๒) มีผล
ใช้บังคับแล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
ไม่ ถึงแม้ว่าราคาแห่งทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่าจํานวนหนี้และค่าฤชา
ธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี และจําเลยได้จําหน่าย
ทรัพย์สินเพียงส่วนที่เกินจํานวนนั้นก็ตาม

การที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคล


อื่ น ผู้ มี อํ า นาจหน้ า ที่ ต ามกฎหมายรั บ จดทะเบี ย นหรื อ แก้ ไ ข
เปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับ
ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยภายหลังที่คําสั่งของศาล
ซึ่งออกตามคําขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๓) มีผลใช้บังคับแล้วนั้น
หาอาจใช้ยันแก่โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ เว้นแต่ผู้รับ
โอนจะพิสูจน์ได้ว่าได้รับโอนโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก่อนที่
นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่น ผู้มีอํานาจหน้าที่
ตามกฎหมายจะได้รับแจ้งคําสั่ง

การที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคล

249[๒๕๕] มาตรา ๒๕๘ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
303

อื่ น ผู้ มี อํ า นาจหน้ า ที่ ต ามกฎหมายรั บ จดทะเบี ย น หรื อ แก้ ไ ข


เปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับ
การกระทําที่ถูกฟ้องร้องภายหลังที่บุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคําสั่ง
ของศาลซึ่งออกตามคําขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๓) แล้วนั้น ยัง
ไม่ มี ผ ลใช้ บั งคั บ ตามกฎหมายในระหว่ า งใช้ วิ ธี ก ารชั่ ว คราวก่ อ น
พิพากษา

มาตรา ๒๕๙250[๒๕๖] ให้ นํ า บทบั ญ ญั ติ ใ น


ลักษณะ ๒ แห่ งภาคนี้ ว่ าด้ ว ยการบั งคั บ คดี ตามคํ าพิ พากษาหรื อ
คําสั่งมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๒๖๐251[๒๕๗] ในกรณี ที่คําพิ พากษา


หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
ที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา

(๑) ถ้าคดีนั้นศาลตัดสินให้จําเลยเป็นฝ่ายชนะคดี

250[๒๕๖] มาตรา ๒๕๙ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘

251[๒๕๗] มาตรา ๒๖๐ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
304

เต็มตามข้อหาหรือบางส่วนคําสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวใน
ส่วนที่จําเลยชนะคดีนั้น ให้ถือว่าเป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นกําหนดเจ็ด
วันนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง เว้นแต่โจทก์จะได้ยื่นคํา
ขอฝ่ายเดียวต่อศาลชั้นต้นภายในกําหนดเวลาดังกล่าว แสดงว่าตน
ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น และมีเหตุ
อันสมควรที่ศาลจะมีคําสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้
บังคับต่อไปในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้ยกคําขอของ
โจทก์ คํ าสั่ งของศาลให้ เป็ น ที่ สุ ด ถ้ าศาลชั้ น ต้ น มี คํา สั่ งให้ วิ ธี การ
ชั่ว คราวยังคงมีผ ลใช้ บั งคั บ ต่ อไป คํ าสั่ งของศาลชั้ น ต้ นให้ มีผ ลใช้
บังคับต่อไปจนกว่าจะครบกําหนดยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาหรือศาลมี
คําสั่งถึงที่สุดไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี เมื่อมีการอุทธรณ์
หรือฎีกาแล้ว คําสั่งของศาลชั้นต้นให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าศาล
อุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(๒) ถ้าคดีนั้นศาลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี
คําสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่
จําเป็นเพื่อปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล
305

ม า ต ร า ๒ ๖ ๑ 252[ ๒ ๕ ๘ ] จํ า เ ล ย ห รื อ
บุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึด หมายอายัด หรือคําสั่งตามมาตรา
๒๕๔ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือจะต้องเสียหายเพราะหมายยึด หมาย
อายัด หรือคําสั่งดังกล่าว อาจมีคําขอต่อศาลให้ถอนหมาย เพิกถอน
คําสั่ง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่ง หมายยึด หรือหมายอายัด ซึ่ง
ออกตามคํ า สั่ งดั ง กล่ าวได้ แต่ ถ้าบุ คคลภายนอกเช่ น ว่ านั้ น ขอให้
ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคัดค้านคําสั่งอายัดให้นํามาตรา ๓๒๓ หรือ
มาตรา ๓๒๕ แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม

จําเลยซึ่งถูกศาลออกคําสั่งจับกุมตามมาตรา ๒๕๔
(๔) อาจมีคําขอต่อศาลให้เพิกถอนคําสั่งถอนหมาย หรือให้ปล่อยตัว
ไปโดยไม่มีเงื่อนไขหรือให้ปล่อยตัวไปชั่วคราวโดยมีหลักประกันตาม
จํานวนที่ศาลเห็นสมควรหรือไม่ก็ได้

ถ้าปรากฏว่าวิธีการที่กําหนดไว้ตามมาตรา ๒๕๔
นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ศาลจะมีคําสั่ง
อนุญาตตามคําขอหรือมีคําสั่งอื่นใดตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์
แห่งความยุติธรรมก็ได้ ทั้งนี้ ศาลจะกําหนดให้ผู้ขอวางเงินต่อศาล
หรือหาประกันมาให้ตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร
หรือจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้แต่ในกรณีที่เป็น

252[๒๕๘] มาตรา ๒๖๑ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย


พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
306

การฟ้องเรียกเงิน ห้ามไม่ให้ศาลเรียกประกันเกินกว่าจํานวนเงินที่
ฟ้องรวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียม

มาตรา ๒๖๒253[๒๕๙] ถ้ า ข้ อ เท็ จ จริ ง หรื อ


พฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลักในการมีคําสั่งอนุญาตตามคําขอใน
วิ ธี ก ารชั่ ว คราวอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง นั้ น เปลี่ ย นแปลงไป เมื่ อ ศาล
เห็นสมควร หรือเมื่อจําเลยหรือบุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา ๒๖๑ มีคําขอศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาจะมีคําสั่ง
แก้ไขหรือยกเลิกวิธีการเช่นว่านั้นเสียก็ได้

ในระหว่ างระยะเวลานับ แต่ ศาลชั้ นต้ นหรือศาล


อุทธรณ์ได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไป
จนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสํานวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยัง
ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คําขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อ
ศาลชั้นต้นและให้เป็นอํานาจของศาลชั้นต้นที่จะมีคําสั่งคําขอเช่นว่า
นั้น

253[๒๕๙] มาตรา ๒๖๒ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
307

มาตรา ๒๖๓254[๒๖๐] ในกรณีที่ศาลได้มีคําสั่ง


อนุญาตตามคําขอในวิธีการชั่วคราวตามลักษณะนี้ จําเลยซึ่งต้องถูก
บังคับโดยวิธีการนั้นอาจยื่นคําขอต่อศาลชั้นต้นภายในสามสิบวันนับ
แต่วันที่มีคําพิพากษาของศาลที่มีคําสั่งตามวิธีการชั่วคราวนั้น ขอให้
มีคําสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) คดีนั้นศาลตัดสินใจให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้ และ


ปรากฏว่าศาลมีคําสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่าสิทธิเรียกร้องของผู้
ขอมีมูล โดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอ

(๒) ไม่ว่าคดีนั้นศาลจะชี้ขาดตัดสินให้โจทก์ชนะ
หรือแพ้คดี ถ้าปรากฏว่าศาลมีคําสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่าวิธีการ
เช่นว่านี้มีเหตุผลเพียงพอ โดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอ

เมื่อได้รับคําขอตามวรรคหนึ่ง ศาลมีอํานาจสั่งให้
แยกการพิจารณาเป็นสํานวนต่างหากจากคดีเดิม และเมื่อศาลทํา
การไต่สวนแล้วเห็นว่าคําขอนั้นรับฟังได้ก็ให้มีคําสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่า
สินไหมทดแทนให้แก่จําเลยได้ตามจํานวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าศาล
ที่มีคําสั่งตามวิธีการชั่วคราวเป็นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา เมื่อศาล
ชั้นต้นทําการไต่สวนแล้ว ให้ส่งสํานวนให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา
แล้ ว แต่ กรณี เป็ น ผู้ สั่ งคํ าขอนั้ น ถ้ าโจทก์ ไม่ ป ฏิ บั ติตามคํ าสั่ งศาล
ศาลมีอํานาจบังคับโจทก์เสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา

254[๒๖๐] มาตรา ๒๖๓ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
308

แต่ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม (๑) ให้


งดการบังคับคดีไว้จนกว่าศาลจะมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์แพ้
คดี

คําสั่ งของศาลชั้น ต้ น หรือศาลอุทธรณ์ ตามวรรค


สอง ให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์หรือ
ฎีกา

มาตรา ๒๖๔255[๒๖๑] นอกจากกรณี ที่


บั ญญั ติไว้ ในมาตรา ๒๕๓ และมาตรา ๒๕๔ คู่ความชอบที่จะยื่น
คําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์
ของผู้ ขอในระหว่ างการพิจ ารณาหรื อเพื่อบั งคั บตามคํ าพิ พากษา
เช่ น ให้ นํ า ทรั พ ย์ สิ น หรื อ เงิ น ที่ พิ พ าทมาวางต่ อ ศาลหรื อ ต่ อ
บุคคลภายนอก หรื อให้ตั้งผู้จัดการหรื อผู้รักษาทรัพย์สินของห้าง
ร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ใน
ความปกครองของบุคคลภายนอก

คํ า ขอตามวรรคหนึ่ ง ให้ บั ง คั บ ตามมาตรา ๒๑


มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๒๗ มาตรา ๒๒๘ มาตรา ๒๖๐ และมาตรา
๒๖๒

255[๒๖๑] มาตรา ๒๖๔ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
309

มาตรา ๒๖๕256[๒๖๒] ในกรณี ที่ศาลยอมรั บ


เอาบุคคลเป็นประกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ และ
บุคคลนั้ นแสดงกิ ริยาซึ่งพอจะเห็ นได้ ว่าจะทําให้ โจทก์เสีย เปรีย บ
หรือจะหลีกเลี่ยง ขัดขวาง หรือกระทําให้เนิ่นช้าซึ่งการปฏิบัติตาม
หน้าที่ของตน ให้นําบทบัญญัติแห่งหมวดนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๒

คําขอในเหตุฉุกเฉิน

มาตรา ๒๖๖257[๒๖๓] ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน


เมื่อโจทก์ยื่นคําขอตามมาตรา ๒๕๔ โจทก์จะยื่นคําร้องรวมไปด้วย

256[๒๖๒] มาตรา ๒๖๕ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘

257[๒๖๓] มาตรา ๒๖๖ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
310

เพื่อให้ศาลมีคําสั่งหรือออกหมายตามที่ขอโดยไม่ชักช้าก็ได้

เมื่ อ ได้ ยื่ น คํ า ร้ องเช่ น ว่ า มานี้ วิ ธี พิ จ ารณาและชี้


ขาดคําขอนั้น ให้อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๒๖๗ มาตรา
๒๖๘ และมาตรา ๒๖๙

มาตรา ๒๖๗258[๒๖๔] ให้ศาลพิจารณาคําขอ


เป็ น การด่ ว น ถ้ า เป็ น ที่ พ อใจจากคํ า แถลงของโจทก์ ห รื อ
พยานหลักฐานที่โจทก์ได้นํามาสืบ หรือที่ศาลได้เรียกมาสืบเองว่าคดี
นั้นเป็นคดีมีเหตุฉุกเฉินและคําขอนั้นมีเหตุผลสมควรอันแท้จริง ให้
ศาลมีคําสั่งหรือออกหมายตามที่ขอภายในขอบเขตและเงื่อนไขไป
ตามที่เห็นจําเป็นทันที ถ้าศาลมีคําสั่งให้ยกคําขอ คําสั่งเช่นว่านี้ให้
เป็นที่สุด

จําเลยอาจยื่นคําขอโดยพลัน ให้ศาลยกเลิกคําสั่ง
หรือหมายนั้นเสีย และให้นําบทบัญญัติแห่งวรรคก่อนมาใช้บังคับ
โดยอนุ โ ลม คํ าขอเช่ น ว่ า นี้ อ าจทํ าเป็ น คํ า ขอฝ่ า ยเดี ย วโดยได้ รั บ
อนุญาตจากศาล ถ้าศาลมีคําสั่งยกเลิกคําสั่งเดิมตามคําขอคําสั่งเช่น
ว่านี้ให้เป็นที่สุด

258[๒๖๔] มาตรา ๒๖๗ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
311

การที่ศาลยกคําขอในเหตุฉุกเฉินหรือยกเลิกคําสั่ง
ที่ได้ออกตามคําขอในเหตุฉุกเฉินนั้น ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอ
คําขอตามมาตรา ๒๕๔ นั้นใหม่

มาตรา ๒๖๘259[๒๖๕] ในกรณีที่มีคําขอในเหตุ


ฉุกเฉิน ให้ศาลมีอํานาจที่จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าคดีนั้นมีเหตุฉุกเฉิน
หรือไม่ ส่วนวิธีการที่ศาลจะกําหนดนั้น หากจําเป็นต้องเสื่อมเสียแก่
สิทธิของคู่ความในประเด็ นแห่งคดี ก็ให้เสื่อมเสียเท่าที่จําเป็นแก่
กรณี

มาตรา ๒๖๙260[๒๖๖] คํ าสั่ ง ศาลซึ่ งอนุ ญ าต


ตามคําขอในเหตุฉุกเฉินนั้น ให้มีผลบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๒๕๘ และมาตรา ๒๕๘ ทวิ อนึ่ง ศาลจะสั่งให้โจทก์รอการบังคับไว้
จนกว่ า ศาลจะได้ วิ นิ จ ฉั ย ชี้ ข าดคํ า ขอให้ ย กเลิ ก คํ า สั่ งหรื อ จนกว่ า
โจทก์จะได้วางประกันก็ได้

259[๒๖๕] มาตรา ๒๖๘ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘

260[๒๖๖] มาตรา ๒๖๙ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
312

มาตรา ๒๗๐261[๒๖๗] บทบัญญั ติในหมวดนี้


ให้ ใ ช้ บั ง คั บ แก่ คํ า ขออื่ น ๆ นอกจากคํ า ขอตามมาตรา ๒๕๔ ได้
ต่อเมื่อประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง

ลักษณะ ๒

การบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง262[๒๖๘]

หมวด ๑

หลักทั่วไป

261[๒๖๗] มาตรา ๒๗๐ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๘

262[๒๖๘] ลักษณะ ๒ การบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือ


คําสั่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
313

ส่วนที่ ๑

ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี

มาตรา ๒๗๑263[๒๖๙] ศาลที่ มีอํานาจในการ


บังคับคดีซึ่งมีอํานาจกําหนดวิธีการบังคับคดีตามมาตรา ๒๗๖ และ
มีอํานาจทําคําวินิจฉัยชี้ขาดหรือทําคําสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วย
การบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้
ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัติ

ถ้ า ศาลอุ ท ธรณ์ ห รื อ ศาลฎี ก าได้ ส่ งคดี ไปยั งศาล


ชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งที่อุทธรณ์หรือฎีกานั้น
เพื่อการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา ๒๔๓ (๒) และ (๓)
ให้ศาลที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งใหม่นั้นเป็นศาลที่มีอํานาจในการ

263[๒ ๖ ๙ ]ม า ต ร า ๒ ๗ ๑ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
314

บั ง คั บ คดี เว้ น แต่ ศ าลอุ ท ธรณ์ ห รื อ ศาลฎี ก า แล้ ว แต่ ก รณี จะได้
กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น

ในกรณีที่จะต้องบังคับคดีนอกเขตศาล ให้ศาลที่มี
อํานาจในการบังคับคดีมีอํานาจตั้งให้ศาลอื่นบังคับคดีแทนได้ หรือ
เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําแถลงหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี
รายงานให้ ศ าลที่ จ ะมี ก ารบั ง คั บ คดี แ ทนทราบพร้ อ มด้ ว ยสํ า เนา
หมายบังคับคดีหรือสําเนาคําสั่งกําหนดวิธีการบังคับคดี ในกรณีเช่น
ว่านี้ ให้ศาลดังกล่าวแจ้งให้ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีทราบโดย
ไม่ชักช้า และให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีแทนตั้งเจ้าพนักงานบังคับ
คดีหรือมีคําสั่งอื่นใดเพื่อดําเนินการบังคับคดีต่อไป

ถ้าเป็นการยึ ดทรั พย์สิ นหรื ออายัดสิ ทธิเรียกร้อง


ให้ศาลที่บังคับคดีแทนส่งทรัพย์สินที่ได้จากการยึดหรืออายัดหรือ
เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินนั้น แล้วแต่กรณี ไปยังศาลที่มีอํานาจ
ในการบังคับคดีเพื่อดําเนินการไปตามกฎหมาย

ในกรณีที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลโดยบกพร่อง
ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมาย ให้ศาลที่บังคับคดีแทนมีอํานาจสั่ง
เพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงหรือวิธีการบังคับ
คดี ใ ด ๆ โดยเฉพาะ หรื อ มี คํ า สั่ ง กํ า หนดวิ ธี ก ารอย่ า งใดแก่ เ จ้ า
พนั ก งานบั ง คั บ คดี เ พื่ อ แก้ ไ ขข้ อ บกพร่ อ ง ผิ ด พลาด หรื อ ฝ่ า ฝื น
กฎหมายนั้น รวมถึงดําเนินกระบวนพิจารณาอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องได้
เว้นแต่เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นและแจ้งผลการบังคับคดีไปยัง
315

ศาลที่ มี อํ า นาจในการบั ง คั บ คดี แ ล้ ว ให้ เ ป็ น อํ า นาจของศาลที่ มี


อํานาจในการบังคับคดีเท่านั้น

ส่วนที่ ๒

คําบังคับ

มาตรา ๒๗๒264[๒๗๐] ถ้าศาลได้มีคําพิพากษา


หรือคําสั่งอย่างใดซึ่งต้องมีการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาก็
ให้ศาลออกคําบังคับทันทีที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือ
คําสั่งนั้น และให้ถือว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ทราบคําบังคับแล้ว
ในวันนั้น

ในคดี ที่ ลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาขาดนั ด ยื่ น


คํ า ให้ ก ารหรื อ ขาดนั ด พิ จ ารณา และลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษา
ทนายความ หรือผู้รับมอบฉันทะจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังกล่าวให้

264[๒ ๗ ๐ ]ม า ต ร า ๒ ๗ ๒ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
316

มาฟังคําพิพากษาหรือคําสั่ง มิได้อยู่ในศาลในเวลาที่ออกคําบังคับ
ให้บังคับตามมาตรา ๑๙๙ ทวิ หรือมาตรา ๒๐๗ แล้วแต่กรณี

มาตรา ๒๗๓265[๒๗๑] ถ้ า ในคํ า บั ง คั บ ได้


กําหนดให้ใช้เงิน หรือให้ส่งทรัพย์สิน หรือให้กระทําการหรืองดเว้น
กระทําการอย่างใด ๆ ให้ศาลระบุไว้ในคําบังคับนั้นโดยชัดแจ้ง ซึ่ง
ระยะเวลาและเงื ่อ นไขอื ่น ๆ อัน จะต้อ งใช้เ งิน ส่ง ทรัพ ย์ส ิน
กระทํ า การ หรือ งดเว้น กระทํ า การใด ๆ นั ้น แต่ถ ้า เป็ น คดี
มโนสาเร่ศาลไม่จําต้องให้เวลาแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาเกินกว่าสิบ
ห้าวันในอันที่จะปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น

ในคดีที่มีเหตุตามมาตรา ๒๗๒ วรรคสอง ให้ศาล


ให้เวลาแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาในอันที่จะปฏิบัติตามคําพิพากษา
หรือคําสั่งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เริ่มนับ
แต่วันที่ถือว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ทราบคําบังคับแล้ว เว้นแต่
ศาลจะได้ กํ า หนดไว้ โ ดยชั ด แจ้ ง ในเวลาที่ อ อกคํ า บั ง คั บ หรื อ ใน

265[๒ ๗ ๑ ]ม า ต ร า ๒ ๗ ๓ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
317

ภายหลั ง ว่ า ให้ นั บ แต่ วั น ใดวั น หนึ่ ง ตามที่ ศ าลเห็ น สมควรเพื่ อ


ประโยชน์แห่งความยุติธรรม

ในระหว่ า งที่ ร ะยะเวลาตามคํ าบั ง คั บ ยั ง ไม่ ค รบ


กําหนดหรือการปฏิบัติตามวิธีการหรือเงื่อนไขในคําบังคับยังไม่เสร็จ
สิ้น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําขอฝ่ายเดียวต่อศาลให้มีคําสั่ง
กําหนดวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนก็ได้

ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามวรรคสี่
แล้ ว คํ า สั่ ง นั้ น ยั ง คงมี ผ ลต่ อ ไปเท่ า ที่ จํ า เป็ น เพื่ อ ปฏิ บั ติ ต ามคํ า
พิพากษาหรือคําสั่งของศาล แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามิได้ขอ
บังคับคดีภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กําหนดไว้ใน
คําบังคับเพื่อให้ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง ให้ถือว่าคําสั่งนั้น
เป็นอันยกเลิกเมื่อสิ้นระยะเวลาเช่นว่านั้น

ส่วนที่ ๓

การขอบังคับคดี
318

มาตรา ๒๗๔266[๒๗๒] ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่ง


เป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ชําระหนี้
(ลู กหนี้ ต ามคํ าพิ พ ากษา) มิ ได้ ป ฏิ บั ติต ามคํ าบั ง คั บ ที่ อ อกตามคํ า
พิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่ง
เป็ นฝ่ ายชนะคดี หรื อบุ คคลที่ ศาลมี คํ าพิ พากษาหรื อ คํ า สั่ งให้ ไ ด้ รั บ
ชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับ
คดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่น
ตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือ
คําสั่ง และถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับ
คดี ยึ ด ทรั พ ย์ สิ น หรื อ อายั ด สิ ท ธิ เ รี ย กร้ อ งใดไว้ ห รื อได้ ดํ า เนิ น การ
บังคับคดีโดยวิธีอื่นไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้
ดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดี
โดยวิธีอื่นนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้

ถ้าคําพิพากษาหรือคําสั่งกําหนดให้ชําระหนี้เป็น
งวด เป็นรายเดือน หรือเป็นรายปี หรือกําหนดให้ชําระหนี้อย่างใด
ในอนาคต ให้นับ ระยะเวลาสิบ ปีต ามวรรคหนึ่ง ตั้ง แต่ว ัน ที่ห นี้
ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นอาจบังคับให้ชําระได้

266[๒ ๗ ๒ ]
ม า ต ร า ๒ ๗ ๔ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
319

ถ้าสิ ทธิเรี ย กร้ องตามคํ าพิ พากษาหรือคํ าสั่งเป็ น


การให้ชําระเงิน ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับ
โอนหรือรับช่วงสิทธิตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นมีอํานาจบังคับคดี
ตามความในหมวด ๒ การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือหมวด
๓ การบั งคั บ คดี ในกรณี ที่ ให้ ส่ งคื น หรือ ส่ง มอบทรัพ ย์เ ฉพาะสิ ่ง
แล้วแต่กรณี โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็น เจ้าหนี้
ตามคําพิพากษาต่อไป

มาตรา ๒๗๕267[๒๗๓] ถ้า เจ้า หนี ้ต ามคํ า


พิพากษาจะขอให้มีการบังคับคดี ให้ยื่น คําขอฝ่ายเดียวต่อศาลให้
บังคับคดีโดยระบุให้ชัดแจ้งซึ่ง

(๑) หนี้ที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษายังมิได้ปฏิบัติตาม
คําบังคับ

(๒) วิธีการที่ขอให้ศาลบังคับคดีนั้น

ในระหว่ างที่ ศาลยั งมิ ได้กําหนดวิธี การบังคับ คดี


ตามที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีคําขอตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีเหตุจําเป็น

267[๒ ๗ ๓ ]ม า ต ร า ๒ ๗ ๕ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
320

เจ้ า หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาจะยื่ น คํ า ขอฝ่ า ยเดี ย วต่ อ ศาลให้ มี คํ า สั่ ง


กําหนดวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนไว้
ก่อนก็ได้ และถ้าศาลเห็นสมควร จะมีคําสั่งอนุญาตโดยไม่ต้องไต่
สวนก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําขอโดย
พลันให้ศาลยกเลิกคําสั่งอนุญาตดังกล่าวได้ คําขอเช่นว่านี้อาจทํา
เป็ น คํ า ขอฝ่ า ยเดี ย วโดยได้ รั บ อนุ ญ าตจากศาล และถ้ า ศาล
เห็นสมควรจะมีคําสั่งยกเลิกคําสั่งอนุญาตนั้นโดยไม่ต้องไต่สวนก็ได้
คําสั่งของศาลตามวรรคนี้ให้เป็นที่สุด

ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าหนี้
ตามคําพิพากษาตามวรรคสองแล้ว คําสั่งนั้นยังคงมีผลต่อไปเท่าที่
จําเป็นเพื่อปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล

ส่วนที่ ๔

การพิจารณาคําขอบังคับคดี
321

มาตรา ๒๗๖268[๒๗๔] เมื่ อ เจ้ า หนี้ ต ามคํ า


พิพากษาขอให้บังคับคดี ถ้าศาลเห็นว่าลูกหนี้ตามคํา พิพ ากษาได้
ทราบหรือถือว่าได้ทราบคําบังคับ แล้ว ทั้งระยะเวลาที่กําหนดไว้
เพื่อ ให้ป ฏิบัติต ามคําบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว และคําขอได้ระบุ
ข้อความไว้ครบถ้วน ให้ศาลกําหนดวิธีการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้
ในประมวลกฎหมายนี้และตามมาตรา ๒๑๓ แห่งประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ ดังต่อไปนี้

(๑) ถ้าการบังคับคดีต้องทําโดยทางเจ้าพนักงาน
บังคับคดี ให้ศาลออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและ
แจ้ ง ให้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ท ราบเพื่ อ ดํ า เนิ น การต่ อ ไปตามที่
กําหนดไว้ในหมายนั้น

(๒) ถ้ าการบังคั บคดี อาจทําได้โ ดยไม่ ต้องตั้งเจ้ า


พนักงานบังคับคดี ให้ศาลมีคําสั่งกําหนดวิธีการตามที่เห็นสมควร
เท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้กระทําได้

(๓) ถ้ า เป็ น การขอให้ ศ าลสั่ ง จั บ กุ ม และกั ก ขั ง


ลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษา ให้ ดํ า เนิ น กระบวนพิ จ ารณาต่ อ ไปตาม
บทบัญญัติว่าด้วยการนั้น

268[๒ ๗ ๔ ]
ม า ต ร า ๒ ๗ ๖ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
322

ในคดีมโนสาเร่ ก่อนออกหมายบังคับคดี หากศาล


เห็นเป็นการสมควร ศาลจะออกหมายเรียกลูกหนี้ตามคําพิพากษา
หรือบุคคลอื่นมาสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคําพิพากษาเพื่อ
พิจารณาว่าสมควรจะออกหมายบังคับคดีหรือไม่ก็ได้

ในกรณีที่ผู้ขอบังคับคดีขอให้ดําเนินการอย่างหนึ่ง
อย่างใดเกี่ยวกับการบังคับคดี หากมีเหตุสงสัยว่าไม่สมควรบังคับคดี
แก่ ท รั พย์ สิ น ใด ห รื อมี เ ห ตุ ส ม ค ว ร อ ย่ าง อื่ น เพื่ อ คุ้ มค ร อ ง
บุ ค คลภายนอกที่ อ าจได้ รั บ ความเสี ย หายจากการดํ า เนิ น การ
ดังกล่าว ก่อนที่ศาลจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําขอ ศาลมีอํานาจสั่งให้
ผู้ขอบังคับคดีวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจํานวนและภายใน
ระยะเวลาที่ศาลเห็ น สมควรเพื่ อเป็น ประกั น การชํ าระค่ าสินไหม
ทดแทนสํ า หรั บ ความเสี ย หายอั น จะพึ ง เกิ ด ขึ้ น เนื่ อ งจากการ
ดําเนินการบังคั บคดีดังกล่ าวถ้ าผู้ ขอบั งคั บคดี ไม่ ปฏิบั ติตามคํ าสั่ ง
ศาล ให้ศาลมีคําสั่งยกคําขอให้ดําเนินการบังคับคดีนั้นเสียส่วนเงิน
หรือหลักประกันที่วางไว้ต่อศาลดังกล่าว เมื่อศาลเห็นว่าไม่มีความ
จํ า เป็ น ที่ จ ะต้ อ งวางไว้ ต่อ ไปจะสั่ ง คื น หรื อ ยกเลิ ก ประกั น นั้ น ก็ ไ ด้
คําสั่งของศาลตามวรรคนี้ให้เป็นที่สุด

ในกรณีตามวรรคสาม ถ้าเกิ ดความเสี ยหายจาก


การบังคับคดีโดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอบังคับคดี ผู้ที่ได้รับ
ความเสียหายอาจยื่นคําร้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มี
การดําเนินการบังคับคดีเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ผู้ขอบังคับคดีชดใช้ค่า
สินไหมทดแทนสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตนได้ ในกรณีเช่น
ว่านี้ ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสํานวนต่างหากจาก
323

คดี เดิ ม และเมื่ อศาลไต่ ส วนแล้ วเห็ น ว่ าคํ าร้ องนั้ น ฟั งได้ ให้ ศาลมี
คําสั่ งให้ ผู้ขอบังคับคดีช ดใช้ ค่าสินไหมทดแทนตามจํ า นวนที ่ศ าล
เห็น สมควรถ้า บุค คลดัง กล่า วไม่ป ฏิบัติต ามคํ า สั่ง ศาล ผู้ที่ไ ด้ร ับ
ความเสียหายอาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่บุคคลนั้นเสมือนหนึ่ง
ว่าเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา

ส่วนที่ ๕

การขอให้ศาลไต่สวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคํา
พิพากษา

มาตรา ๒๗๗269[๒๗๕] ในการบั ง คั บ คดี ถ้ า


เจ้ า หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษามี เ หตุ อั น สมควรเชื่ อ ได้ ว่ า ลู ก หนี้ ต ามคํ า
พิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีมากกว่าที่ตนทราบ หรือมี
ทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีแต่ไม่ทราบว่าทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่หรือ
เก็ บรั กษาไว้ ที่ใด หรื อมีเหตุ อัน ควรสงสัย ว่ าทรัพย์สิ นใดเป็น ของ
269[๒ ๗ ๕ ]
ม า ต ร า ๒ ๗ ๗ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
324

ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือไม่ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่น คํา


ขอฝ่ายเดียวโดยทําเป็นคําร้องเพื่อให้ศาลทําการไต่สวนได้

เ มื่ อ มี คํ า ข อ ต า ม ว ร ร ค ห นึ่ ง ห รื อ เ มื่ อ ศ า ล


เห็ น สมควรเพื่ อประโยชน์ แก่ การบั งคั บ คดี ในคดี มโนสาเร่ ศาลมี
อํานาจออกหมายเรียกลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่า
อยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคําอันจะเป็นประโยชน์มาศาลด้วยตนเอง
เพื่ อ การไต่ ส วนเช่ น ว่ า นั้ น ได้ และมี อํา นาจสั่ งให้ บุ ค คลนั้ น ๆ ส่ ง
เอกสารหรือวัตถุพยานซึ่งอยู่ในความยึดถือหรืออํานาจของผู้นั้นอัน
เกี่ย วกั บทรัพย์ สิน ของลู กหนี้ ตามคํ าพิ พากษา ทั้งนี้ ตามกําหนด
และเงื่อนไขใด ๆ ที่เห็นสมควร

ส่วนที่ ๖

อํานาจทั่วไปของเจ้าพนักงานบังคับคดี
325

มาตรา ๒๗๘270[๒๗๖] เมื่อศาลได้ออกหมาย


บังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับ คดีแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับ คดี
มีอํานาจในฐานะเป็นเจ้าพนักงานศาลในการดําเนินการบังคับคดีให้
เป็นไปตามที่ศาลได้กําหนดไว้ในหมายบังคับคดีและตามบทบัญญัติ
ในลักษณะ ๒ แห่งภาคนี้ ทั้งนี้ จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา
ช่วยเหลือก็ ได้ คําสั่งของเจ้ าพนั กงานบั งคั บคดี ในการดําเนิน การ
บังคับคดีต้องกล่าวหรือแสดงเหตุผลไว้ด้วย

ให้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี มี อํ า นาจในฐานะเป็ น


ผู้ แ ทนของเจ้ า หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาในอั น ที่ จ ะรั บ ชํ า ระหนี้ ห รื อ
ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลภายนอกนํามาวางและ
ออกใบรับให้

เงินที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลภายนอก
นํามาวางโดยมิได้เป็นผลมาจากการยึดหรืออายัด ให้นํามาชําระหนี้
แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาผู้ขอบังคับคดี เว้นแต่ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ผู้
ขอเฉลี่ยตามมาตรา ๓๒๖ อยู่ก่อนแล้วในขณะที่มีการวางเงินนั้น ก็
ให้ถือว่าเป็นเงินที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ตามบทบัญญัติในลักษณะ ๒
แห่งภาคนี้ แต่ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี

270[๒ ๗ ๖ ]
ม า ต ร า ๒ ๗ ๘ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
326

ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทําบันทึกวิธีการบังคับคดี
ทั้งหลายที่ได้จัดทําไปและเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย แล้วรายงาน
ต่อศาลเป็นระยะ ๆ ไป

ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้า
พนั กงานบั งคั บ คดี จ ะมอบหมายให้ บุ คคลอื่ น ปฏิบั ติการแทนก็ ได้
ทั้งนี้ ตามคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดใน
กฎกระทรวง

ให้ หั ก ค่ า ธรรมเนี ย มเจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ต าม


ตาราง ๕ ท้ายประมวลกฎหมายนี้ เพื่อให้กรมบังคับคดีพิจารณา
จ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคห้าโดยไม่ต้อง
นําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ยุติธรรมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

มาตรา ๒๗๙271[๒๗๗] ให้เจ้าพนั กงานบังคั บ


คดีรักษาไว้โดยปลอดภัยซึ่งเงิน ทรัพย์สิน และเอกสารที่ได้มาตาม
อํานาจหน้าที่ของตน รวมทั้งให้มีอํานาจขัดขวางมิให้บุคคลใดสอด
เข้ า เกี่ ย วข้ อ งโดยมิ ช อบด้ ว ยกฎหมายกั บ เงิ น หรื อ ทรั พ ย์ สิ น หรื อ

271[๒ ๗ ๗ ]
ม า ต ร า ๒ ๗ ๙ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
327

เอกสารเช่นว่านั้น ตลอดจนมีอํานาจติดตามและเอาคืนซึ่งเงินหรือ
ทรัพย์สินหรือเอกสารดังกล่าวจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือเอาไว้

ในการดํ า เนิ น การตามวรรคหนึ่ ง เมื่ อ มี ค วาม


จําเป็น เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครอง
หรือตํารวจช่วยเหลือได้ ในกรณีเช่นนี้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือ
ตํารวจมีอํานาจจับกุมและควบคุมตัวผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องหรือผู้ไม่มี
สิทธิจะยึดถือตามวรรคหนึ่งได้เท่าที่จําเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ของ
เจ้าพนักงานบังคับคดี

มาตรา ๒๘๐272[๒๗๘] ให้เจ้าพนั กงานบังคั บ


คดีมีอํานาจส่งเอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือ
คําสั่งตามบทบัญญัติในลักษณะ ๒ แห่งภาคนี้ และให้รายงานการ
ส่ งเอกสารนั้ น รวมไว้ใ นสํ า นวนการบัง คับ คดีด ้ว ย ทั ้ง นี ้ ให้นํ า
บทบัญ ญัต ิม าตรา ๖๘ มาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ มาตรา ๗๖
มาตรา ๗๗ มาตรา ๗๘ และมาตรา ๘๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

นอกจากการส่ ง เอกสารตามวรรคหนึ่ ง ให้ เ จ้ า


พนั กงานบั งคั บคดีมีอํานาจสั่ งให้ส่ งโดยทางไปรษณี ย์ล งทะเบี ย น

272[๒ ๗ ๘ ]ม า ต ร า ๒ ๘ ๐ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
328

ตอบรับหรือโดยทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศก็ได้ โดยให้ผู้มี
หน้าที่นําส่งเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย กรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าเอกสารที่ส่งโดย
เจ้าพนักงานไปรษณีย์มีผลเสมือนเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ส่งและ
ให้ นํ าบทบั ญญั ติม าตรา ๗๔ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๗๗ มาใช้
บังคับโดยอนุโลม

ถ้า การส่ง เอกสารไม่ส ามารถจะทํ า ได้ด ัง ที่


บัญ ญัติไ ว้ต ามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง เจ้า พนักงานบังคับคดีมี
อํานาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือ ปิดเอกสารไว้ในที่แลเห็น
ได้ง่าย ณ ภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานของบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ใน
เอกสารหรือมอบหมายเอกสารไว้ แก่พนั กงานฝ่า ยปกครองหรือ
ตํารวจแล้วปิดประกาศแสดงการที่ได้มอบหมายดังกล่าวแล้ว หรือ
ลงโฆษณา หรือทําวิธีอื่น ใดตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้มีผลใช้ได้
ต่อเมื่อกําหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่เจ้า
พนักงานบังคับคดีเห็นสมควรกําหนดไว้ล่วงพ้นไปแล้ว นับแต่เวลาที่
เอกสารหรื อ ประกาศแสดงการมอบหมายนั้ น ได้ ปิ ด ไว้ ห รื อ การ
โฆษณาหรือวิธีอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งนั้นได้ทําหรือได้
ตั้งต้นแล้ว

การส่ งเอกสารให้แก่คู่ความและบุ คคลภายนอก


ณ ภู มิ ลํ า เนาหรื อ สํ า นั ก ทํ า การงานของบุ ค คลดั ง กล่ า วนอก
ราชอาณาจักร ถ้าไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็น
ภาคีกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจสั่งให้ส่ง
โดยทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศหรือผู้ประกอบกิจการ
รับส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศ หรือโดยผ่านกระทรวงยุติธรรม
329

และกระทรวงการต่างประเทศ หากไม่อาจกระทําได้เพราะเหตุที่
ภูมิลําเนาและสํานักทําการงานของบุคคลดังกล่าวไม่ปรากฏหรือ
เพราะเหตุ อื่ น ใดหรื อ เมื่ อ ได้ ดํ า เนิ น การส่ ง ให้ แ ก่ คู่ ค วามหรื อ
บุคคลภายนอกแล้ว แต่ไม่อาจทราบผลการส่งได้ ถ้าเจ้าพนักงาน
บังคับคดีเห็นสมควร ให้มีอํานาจสั่งให้ส่งเอกสารโดยวิธีอื่นแทนได้
กล่าวคือ ปิดเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ สํานักงานที่ตั้งของเจ้า
พนักงานบังคับคดี หรือลงโฆษณา หรือทําวิธีอื่นใดตามที่เห็นสมควร

มาตรา ๒๘๑273[๒๗๙] เจ้าพนักงานบังคับคดี


จะต้องดําเนินการบังคับคดีในวันทําการงานปกติในเวลาระหว่าง
พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ถ้ายังไม่แล้วเสร็จประกอบกับมี
ความจําเป็นและสมควรจะกระทําต่อไปในเวลาหลังพระอาทิตย์ตก
ก็ได้

ในกรณีที ่ม ีค วามจํ า เป็น และสมควร ศาลจะ


อนุญาตให้ดําเนินการบังคับคดีนอกวันทําการงานปกติหรือในเวลา
หลังพระอาทิตย์ตกก็ได้

273[๒ ๗ ๙ ]
ม า ต ร า ๒ ๘ ๑ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
330

ในการดํ า เนิ น การบั ง คั บ คดี แ ก่ ลู ก หนี้ ต ามคํ า


พิพากษา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแสดงหมายบัง คับ คดีใ ห้ลูก หนี้
ตามคําพิพากษา ผู้ครอบครองหรือผู้ดูแลทรัพย์สิน ที่จ ะถูกบังคับ
คดีทราบ ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่อยู่หรือไม่อาจแสดงหมายบังคับคดีแก่
บุคคลดั งกล่าวได้ ด้วยเหตุใด ๆ ให้เจ้ าพนั กงานบั งคั บ คดี ปิ ดสําเนา
หมายบังคับคดีไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ดําเนินการบังคับ
คดีนั้น ในกรณี เช่น ว่านี้ ให้ ถือว่ าเป็น การแสดงหมายบั งคับ คดีให้
บุคคลดังกล่าวทราบแล้ว

มาตรา ๒๘๒274[๒๘๐] ในกรณีที่มีเหตุอันควร


เชื่ อว่ ามี ทรั พย์ สิ น ของลู กหนี้ ตามคํ าพิ พากษาหรื อมีบั ญชี เอกสาร
จดหมาย หรือวัตถุ อื่นใดเกี่ ยวกับทรั พย์สินหรื อกิจการของลูกหนี้
ตามคํ า พิ พ ากษาอยู่ ใ นสถานที่ ใ ด ๆ ที่ ลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษา
ครอบครองหรือครอบครองร่วมกับผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมี
อํ า นาจค้ น สถานที่ ดั ง กล่ า ว ทั้ ง มี อํ า นาจตรวจสอบและยึ ด บั ญ ชี
เอกสาร จดหมาย หรือวัตถุอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการ
ของลูกหนี้ตามคําพิพากษามาเพื่อตรวจสอบได้ และมีอํานาจกระทํา

274[๒ ๘ ๐ ]ม า ต ร า ๒ ๘ ๒ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
331

การใด ๆ ตามที่จําเป็น เพื่อเปิดสถานที่ดังกล่าวรวมทั้งตู้นิรภัย ตู้


หรือที่เก็บของอื่น ๆ

มาตรา ๒๘๓275[๒๘๑] ในกรณีที่มีเหตุอันควร


เชื่ อว่ามี ทรั พย์สิ น ของลู กหนี้ ตามคํ าพิ พากษาหรื อมีบั ญชี เอกสาร
จดหมาย หรือวัตถุอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้
ตามคําพิพากษาอยู่ในสถานที่ที่บุคคลอื่นครอบครองอยู่ เจ้าหนี้ตาม
คํ าพิ พากษาอาจยื่ นคํ าขอฝ่ ายเดี ยวโดยทํ าเป็ นคํ าร้ องต่อ ศาลเพื ่อ
ขอให้ศาลออกหมายค้น สถานที่นั้น เมื่อได้รับ คําร้องเช่น ว่านี้ ให้
ศาลไต่สวนโดยไม่ชักช้า ถ้าเป็นที่พอใจจากพยานหลักฐานที่เจ้าหนี้
ตามคําพิพากษาได้นํามาสืบหรือที่ศาลได้เรียกมาสืบเองว่ามีเหตุอัน
ควรเชื่ อตามที่ ร้ อ งขอ ให้ ศ าลมี อํ า นาจออกหมายค้ น สถานที่ นั้ น
เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบและยึดทรัพย์สินหรือสิ่งต่าง
ๆ ดังกล่าวภายในขอบเขตและเงื่อนไขตามที่ศาลเห็นว่าจําเป็น ถ้า
ศาลมีคําสั่งยกคําขอคําสั่งเช่นว่านั้นให้เป็นที่สุด

275[๒ ๘ ๑ ]ม า ต ร า ๒ ๘ ๓ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
332

มาตรา ๒๘๔276[๒๘๒] ให้เจ้าพนั กงานบังคั บ


คดี มี อํ า นาจดํ า เนิ น การไปตามความจํ า เป็ น และสมควรแห่ ง
พฤติการณ์เพื่อดําเนินการบังคับคดีจนได้ ในกรณีที่มีผู้ขัดขวางหรือ
มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะมีผู้ขัดขวาง เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจ
แจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจช่ว ยเหลือได้ ในการนี้ให้
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจมีอํานาจจับกุมและควบคุมตัวผู้
ขัดขวางได้เท่าที่จําเป็นแก่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับ
คดี

มาตรา ๒๘๕277[๒๘๓] ความรับผิดทางละเมิด


ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อลูกหนี้ตามคําพิพากษา
หรือต่อบุคคลภายนอกเพื่อความเสียหายที่เกิดจากหรือเกี่ยวเนื่อง
กับการยึด อายัด หรือขายทรัพย์สินโดยมิชอบหรือเกินกว่าที่จําเป็น
แก่การบังคับคดี หรือการบังคับคดีโดยมิชอบในกรณีอื่น ย่อมไม่ตก
แก่เ จ้า พนัก งานบัง คับ คดี แต่ต กอยู่แ ก่เ จ้า หนี้ต ามคํา พิพ ากษา
276[๒ ๘ ๒ ]ม า ต ร า ๒ ๘ ๔ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

277[๒ ๘ ๓ ]ม า ต ร า ๒ ๘ ๕ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
333

เว้น แต่ใ นกรณีเ จ้า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ไ ด้ ก ระทํ า การฝ่ า ฝื น ต่ อ


บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

ในกรณีที่ความรับผิดตกแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี
ตามวรรคหนึ่ง และเป็นเรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ใน
การปฏิบัติหน้าที่ การใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามกฎหมายว่าด้ว ย
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่หรือตามกฎหมายอื่นไม่ว่าโดย
บุคคลใด ให้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรม

ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์สินหรืออายัด
สิทธิเรียกร้องอันจะต้องยึดหรืออายัด หรือไม่ขายทรัพย์สิน หรือไม่
ดําเนินการบังคับคดีในกรณีอื่น หรือไม่กระทําการดังกล่าวภายใน
เวลาอันควรโดยจงใจหรือปราศจากความระมัดระวังหรือโดยสมรู้
เป็น ใจกับ ลูก หนี ้ต ามคํ า พิพ ากษาเป็น เหตุใ ห้เ จ้ า หนี้ ต ามคํ า
พิพากษาได้รับความเสียหาย ให้นําความในวรรคสองมาใช้บังคับ
โดยอนุโลม

มาตรา ๒๘๖278[๒๘๔] ในกรณี ที่ มี ก ฎหมาย


บัญญัติให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

278[๒ ๘ ๔ ]ม า ต ร า ๒ ๘ ๖ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
334

ไปใช้บังคับโดยอนุโลมกับการดําเนินการบังคับคดีตามคําพิพากษา
หรือคําสั่งของศาลอื่นที่ไม่ใช่ศาลยุติธรรม คําว่า ศาลยุติธรรม ตาม
มาตรา ๒๘๕ วรรคสอง ให้หมายถึงศาลนั้น

ส่วนที่ ๗

ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี

มาตรา ๒๘๗279[๒๘๕] บุคคลผู้มีส่วนได้เสียใน


การบังคับคดี ได้แก่

(๑) เจ้ า หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษา ลู ก หนี้ ต ามคํ า


พิพากษา และในกรณีที่มีการอายัดสิทธิเรียกร้อง ให้รวมถึงลูกหนี้
แห่งสิทธิเรียกร้อง ผู้ทรงสิทธิเรียกร้อง หรือผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง
นั้นด้วย

279[๒ ๘ ๕ ]ม า ต ร า ๒ ๘ ๗ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
335

(๒) บุ คคลผู้ มีทรั พยสิ ทธิ หรื อได้ จดทะเบี ยนสิ ทธิ
ของตนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี

(๓) บุ คคลซึ่ ง ได้ ยื่ น คํ า ร้ องขอตามมาตรา ๓๒๓


มาตรา ๓๒๔ มาตรา ๓๒๖ และมาตรา ๓๒๙ เกี่ ยวกับทรัพย์สิ น
หรือสิทธิเรียกร้องที่ถูกบังคับคดี

(๔) บุ ค คลผู้ เ ป็ น เจ้ า ของรวมหรื อ บุ ค คลผู้ มี


บุริ มสิ ทธิ สิ ทธิ ยึ ดหน่ ว ง หรื อสิ ทธิ อื่น ตามมาตรา ๓๒๒ เกี่ ย วกั บ
ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่ถูกบังคับคดี

(๕) บุคคลอื่นใดซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุแห่งการ
ดําเนินการบังคับคดีนั้น

มาตรา ๒๘๘280[๒๘๖] นอกจากสิท ธิอื ่น


ตามที่บัญญัติไว้ใ นประมวลกฎหมายนี้แล้ว ให้ผู้มีส่ว นได้เ สีย ใน
การบังคับคดีมีสิทธิดังต่อไปนี้

280[๒ ๘ ๖ ]ม า ต ร า ๒ ๘ ๘ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
336

(๑) อยู่รู้เห็นด้วยในการดําเนินการบังคับคดีที่ตนมี
ส่ ว นได้ เ สี ย แต่ ต้ อ งไม่ ทํ า การป้ อ งกั น หรื อ ขั ด ขวางการบั ง คั บ คดี
รวมทั้งเข้าสู้ราคาหรือหาบุคคลอื่นเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด

(๒) ขออนุญาตตรวจหรือ คัด สํา เนาเอกสารอัน


เกี ่ย วด้ว ยการบัง คับ คดีทั้ง หมดหรือ แต่บ างฉบับ หรื อขอให้ เจ้ า
พนั ก งานบั ง คั บ คดี คั ด หรื อ รั บ รองสํ า เนาเอกสารนั้ น โดยเสี ย
ค่าธรรมเนียมตามที่ระบุไว้ในตาราง ๒ ท้ายประมวลกฎหมายนี้

ส่วนที่ ๘

การงดการบังคับคดี

มาตรา ๒๘๙281[๒๘๗] ให้เจ้าพนั กงานบังคั บ


คดีงดการบังคับคดีในกรณีดังต่อไปนี้

281[๒ ๘ ๗ ]
ม า ต ร า ๒ ๘ ๙ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
337

(๑) เมื่อศาลได้ มีคําสั่ งให้ งดการบั งคับ คดี เพราะ


เหตุมีการยื่นคําขอให้พิจารณาคดีใหม่แ ละได้แ จ้ง ให้เ จ้า พนัก งาน
บังคับคดีทราบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคหนึ่ง
หรือมาตรา ๒๐๗

ในกรณีดังกล่าว ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายื่นคํา
ร้องว่าตนอาจได้รับความเสียหายจากการยื่นคําขอดังกล่าวและมี
พยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคําขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อ
ประวิ ง การบั ง คั บ คดี ศาลมี อํ า นาจสั่ ง ให้ ลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษา
วางเงินหรือหาประกันตามที่ศาลเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่ศาล
จะกําหนด เพื่อเป็นประกันการชําระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้
ตามคําพิพากษาสําหรับความเสียหายที่อาจได้รับเนื่องจากเหตุเนิ่น
ช้าในการบังคับคดีอันเกิดจากการยื่นคําขอนั้น หรือกําหนดวิธีการ
ชั่วคราวเพื่อคุ้มครองอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ ถ้าลูกหนี้ตาม
คําพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล ให้ศาลสั่งเพิกถอนคําสั่งที่ให้งด
การบังคับคดี

(๒) เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้งดการบังคับคดี และได้


ส่งคํ าสั่ งนั้ นไปให้เจ้ าพนักงานบั งคับ คดี ทราบในกรณี เช่ นนี้ ให้ เจ้ า
พนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ภายในระยะเวลาหรือเงื่อนไข
ตามที่ศาลกําหนด

(๓) เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือ
ไปยั ง เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ว่ า ตนตกลงงดการบั ง คั บ คดี ไ ว้ ชั่ ว
ระยะเวลาที่ กําหนดไว้ ห รื อภายในเงื่ อนไขอย่ างใดอย่ างหนึ่ งโดย
338

ได้ รั บ ความยิ น ยอมเป็ น หนั ง สื อ จากลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาและ


บุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี

(๔) เมื่อเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๑๕๔

ให้ เจ้าพนักงานบั งคั บ คดีส่ งคําบอกกล่าวงดการ


บังคับคดีให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาและบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้
เสียทราบโดยไม่ชักช้า เว้นแต่จะได้งดการบังคับคดีตามคําขอของ
บุคคลนั้นเอง

มาตรา ๒๙๐282[๒๘๘] ลูกหนี้ตามคําพิพากษา


อาจยื่นคําร้องต่อศาลให้งดการบังคับคดีไว้ โดยเหตุที่ตนได้ยื่นฟ้อง
เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกันนั้นไว้แล้ว ซึ่ง
ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดและถ้าหากตนเป็นฝ่ายชนะจะไม่ต้องมีการ
ยึด อายัด ขายทอดตลาด หรือจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคํา
พิพากษาโดยวิธีอื่น เพราะสามารถจะหักกลบลบหนี้กันได้

282[๒ ๘ ๘ ]ม า ต ร า ๒ ๙ ๐ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
339

ถ้าศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคําพิพากษามี
เหตุ ฟั ง ได้ ศาลอาจมี คํ า สั่ ง ให้ ง ดการบั ง คั บ คดี ไ ว้ คํ า สั่ ง นี้ อ าจอยู่
ภายใต้บังคับเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาใด ๆ หรือไม่ก็ได้ และศาลจะมี
คําสั่งให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตาม
จํานวนที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อเป็นประกันการ
ชําระหนี้ตามคําพิพากษาและค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคํา
พิพากษาสําหรับความเสียหายที่อาจได้รับเนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการ
บังคับคดีอันเกิดจากการยื่นคําร้องนั้นด้วยก็ได้

คําสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด

มาตรา ๒๙๑283[๒๘๙] ในกรณีที่เจ้าพนักงาน


บังคับคดีได้งดการบังคับคดีไว้ตามคําสั่งของศาล ให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีดําเนินการบังคับคดีต่อไปเมื่อได้รับคําสั่งจากศาล โดยศาล
เป็นผู้ออกคําสั่งนั้นเองหรือโดยเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้ยื่นคํา
ขอให้ศาลออกคําสั่ง เนื่องจากระยะเวลาที่ให้งดการบังคับคดีนั้นได้
ล่วงพ้นไปแล้ว หรือมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ศาลได้กําหนดไว้ หรือ
คดีนั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้พิพากษายืนหรือไม่มีความจําเป็น
ที่จะต้องงดการบังคับคดีอีกต่อไปแล้ว

283[๒ ๘ ๙ ]
ม า ต ร า ๒ ๙ ๑ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
340

ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้งดการบังคับคดี
ไว้ ต ามมาตรา ๒๘๙ (๓) หรื อ (๔) ให้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
ดําเนินการบังคับคดีต่อไปเมื่อระยะเวลาที่ให้งดการบังคับคดีได้ล่วง
พ้นไปแล้ว หรือมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้
กําหนดไว้ หรือเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีได้ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕๔ แล้ว

ส่วนที่ ๙

การถอนการบังคับคดี

มาตรา ๒๙๒284[๒๙๐] ให้เจ้าพนั กงานบังคั บ


คดีถอนการบังคับคดีในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) เมื่ อ ศาลได้ มี คํ า สั่ ง ให้ ถ อนการบั ง คั บ คดี


เนื่องจากลูกหนี้ตามคําพิพากษายื่นอุทธรณ์หรือฎีกาและได้วางเงิน
ต่อศาลเป็นจํานวนพอชําระหนี้ตามคําพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรม

284[๒ ๙ ๐ ]ม า ต ร า ๒ ๙ ๒ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
341

เนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาให้
จนเป็นที่พอใจของศาลสําหรับจํานวนเงินเช่นว่านี้

(๒) เมื่ อ ศาลได้ มี คํ า สั่ ง ให้ ถ อนการบั ง คั บ คดี


เนื่องจากคําพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับหรือถูกยก หรือ
หมายบังคับคดีได้ถูกเพิกถอน แต่ถ้าคําพิพากษาในระหว่างบังคับ
คดี นั้ น ได้ ถูก กลั บ แต่ เพี ย งบางส่ ว น การบั ง คั บ คดี อาจดํ าเนิ น การ
ต่ อ ไปจนกว่ า เงิ น ที่ ร วบรวมได้ นั้ น จะพอชํ า ระแก่ เ จ้ า หนี้ ต ามคํ า
พิพากษา

(๓) เมื่อศาลได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ
ว่าศาลมีคําสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา ๑๙๙ เบญจ
วรรคสาม หรือมาตรา ๒๐๗

(๔) เมื่ อศาลได้ มีคําสั่ งให้ ถอนการบั งคั บ คดี ตาม


มาตรา ๒๙๓

(๕) เมื่อลูกหนี้ตามคําพิ พากษาได้วางเงินต่อเจ้ า


พนักงานบังคับคดี เพื่อเป็นการชําระหนี้ตามคําพิพากษาพร้อมทั้ง
ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี

(๖) เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือ
ไปยั ง เจ้ า พนั ก งานบั งคั บ คดี ว่ าตนสละสิท ธิใ นการบัง คับ คดี ใน
กรณีเ ช่น ว่า นี้ เจ้า หนี้ต ามคํา พิพ ากษานั้น จะบัง คับ คดีแ ก่ลูก หนี้
ตามคําพิพากษาสําหรับหนี้นั้นอีกมิได้
342

(๗) เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือ
ไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนขอถอนการบังคับคดี

มาตรา ๒๙๓285[๒๙๑] ถ้ า เจ้ า หนี้ ต ามคํ า


พิ พากษาเพิ กเฉยไม่ ดํ าเนิ น การบั งคั บ คดี ภ ายในระยะเวลาที่ เจ้ า
พนักงานบังคับคดีกําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาล
ขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดีนั้นเสีย

มาตรา ๒๙๔286[๒๙๒] ในกรณี ที่ มี ก ารยึ ด


ทรั พย์ สิ นซึ่ งมิ ใช่ ตั วเงิ น หรื อในกรณี ยึ ดหรื ออายั ดเงิ น หรื อ อายั ด
ทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจําหน่ายเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับ
คดีถอนการบังคับคดีนั้นเองหรือถอนโดยคําสั่งศาล และผู้ขอให้ยึด
หรื อ อายั ด ไม่ ชํ า ระค่ า ฤชาธรรมเนี ย มในการบั ง คั บ คดี ให้ เ จ้ า

285[๒ ๙ ๑ ]
ม า ต ร า ๒ ๙ ๓ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

286[๒ ๙ ๒ ]
ม า ต ร า ๒ ๙ ๔ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
343

พนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาลขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของผู้
นั้นเพื่อชําระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ในกรณีเช่นว่านี้ ให้
ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา และผู้ขอให้
ยึดหรืออายัดเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับค่าฤชา
ธรรมเนียมในการบังคับคดีนั้น และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับ
คดีได้เอง โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวง

ส่วนที่ ๑๐

การเพิกถอนหรือแก้ไขการบังคับคดีที่ผิดระเบียบ

มาตรา ๒๙๕287[๒๙๓] ในกรณี ที่ คํ า บั ง คั บ


หมายบังคั บคดี หรื อคําสั่งศาลในชั้น บังคับคดี บกพร่อง ผิดพลาด
หรือฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจําเป็นจะต้อง
เพิกถอนหรือแก้ไขคําบังคับ หมายบังคับคดี หรือคําสั่งดังกล่าวนั้น
เมื่ อศาลเห็ น สมควรไม่ ว่ าในเวลาใดก่ อนการบั งคั บ คดี ได้ เสร็ จ ลง
287[๒ ๙ ๓ ]ม า ต ร า ๒ ๙ ๕ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
344

หรือเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาล หรือเมื่อเจ้าหนี้ตาม
คําพิพากษา ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้
เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าว ยื่นคําร้องต่อ
ศาลให้ศาลมีอํานาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขคําบังคับ หมายบังคับคดี
หรือคําสั่งดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีคําสั่งอย่างใดตามที่
ศาลเห็นสมควร

ภายใต้ บั ง คั บ มาตรา ๓๓๑ วรรคสาม ถ้ า เจ้ า


พนักงานบังคับคดีได้ดําเนินการบังคับคดีบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่า
ฝืนกฎหมาย เมื่อศาลเห็นสมควรไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้
เสร็จลง หรือเมื่อเจ้ าหนี้ตามคํ าพิ พากษา ลูกหนี้ตามคําพิพากษา
หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหาย
เพราะเหตุดังกล่าว ยื่นคําร้องต่อศาล ให้ศาลมีอํานาจสั่งเพิกถอน
หรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดี ทั้งปวงหรือวิธีการบังคั บใด ๆ
โดยเฉพาะหรือมีคําสั่งกําหนดวิธีการอย่างใดแก่เจ้าพนักงานบังคับ
คดีตามที่ศาลเห็นสมควร

การยื่ น คํ าร้ องตามวรรคหนึ่ งหรื อวรรคสองอาจ


กระทําได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้า
กว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูล
แห่งข้ออ้างนั้น ทั้งนี้ ผู้ยื่นคําร้องต้องมิได้ดําเนินการอันใดขึ้นใหม่
หลังจากได้ทราบเรื่องบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้น
แล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การกระทํานั้น และในกรณีเช่นว่า
นี้ ผู้ ยื่ น คํ า ร้ อ งจะขอต่ อ ศาลในขณะเดี ย วกั น นั้ น ให้ มี คํ า สั่ ง งดการ
บังคับคดีไว้ในระหว่างวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้
345

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้ถือว่าการบังคับคดี
ได้เสร็จลงเมื่อได้มีการดําเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณี ที่ คํ า บั ง คั บ กํ า หนดให้ ส่ ง ทรั พ ย์ สิ น


กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างใด เมื่อได้มีการปฏิบัติตาม
คําบังคับที่ให้ส่งทรัพย์สิน กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่าง
นั้นแล้ว แต่ถ้าการปฏิบัติตามคําบังคับดังกล่าวอาจแยกเป็นส่วน ๆ
ได้ เมื่ อ ได้ มีก ารปฏิ บั ติ ตามคํ าบั งคั บในส่ ว นใดแล้ ว ให้ ถือ ว่ า การ
บังคับคดีได้เสร็จลงเฉพาะในส่วนนั้น

(๒) ในกรณีที่คําบังคับ กําหนดให้ ใช้ เงิน เมื่อเจ้ า


พนักงานบังคับคดีได้จ่ายเงินตามมาตรา ๓๓๙ มาตรา ๓๔๐ มาตรา
๓๔๒ มาตรา ๓๔๓ หรื อมาตรา ๓๔๔ แล้ ว แต่ ก รณี แล้ ว แต่ ถ้ า
ทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดีมีหลายรายการ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินรายการใดแล้ว ให้ถือ
ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงเฉพาะทรัพย์สินรายการนั้น

ในการยื่นคําร้องต่อศาลตามวรรคหนึ่งหรือวรรค
สอง หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคําร้องนั้นไม่มีมูลและยื่น
เข้ามาเพื่ อประวิงให้ชักช้า ศาลมีอํานาจสั่ งให้ ผู้ยื่นคํ าร้องวางเงิ น
หรื อ หาประกั น ต่ อ ศาลตามจํ า นวนและภายในระยะเวลาที่ ศ าล
เห็นสมควรเพื่อเป็นประกันการชําระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้
ตามคําพิพากษาหรือบุคคลนั้นสําหรับความเสียหายที่อาจได้รับจาก
การยื่นคําร้องนั้น ถ้าผู้ยื่นคําร้องไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล ให้ศาลมี
คําสั่งยกคําร้องนั้นเสีย ส่วนเงินหรือประกันที่วางไว้ต่อศาลดังกล่าว
346

เมื่อศาลเห็นว่าไม่มีความจําเป็นต่อไป จะสั่งคืนหรือยกเลิกประกัน
นั้นก็ได้ คําสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด

ในกรณีที่ศาลได้มีคําสั่งยกคําร้องที่ยื่นไว้ตามวรรค
หนึ่งหรือวรรคสอง ถ้าบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่น
คําร้องดังกล่าวเห็นว่าคําร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้
ชักช้า บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคําร้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่
วันที่มีคําสั่งยกคําร้อง เพื่อขอให้ศาลสั่งให้ผู้ยื่นคําร้องนั้นชดใช้ค่า
สิ นไหมทดแทน ในกรณี เ ช่ น ว่ า นี้ ให้ ศาลมี อํา นาจสั่ งให้ แ ยกการ
พิจารณาเป็นสํานวนต่างหากจากคดีเดิม และเมื่อศาลไต่สวนแล้ว
เห็ น ว่ าคํ า ร้ องนั้ น ฟั งได้ ให้ ศาลมี คําสั่ งให้ ผู้ ยื่ น คํ าร้ องนั้ น ชดใช้ ค่ า
สิ น ไหมทดแทนให้ แ ก่ บุ ค คลที่ ไ ด้ รั บ ความเสี ย หายดั ง กล่ า วตาม
จํานวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าผู้ยื่นคําร้องนั้นไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล
บุคคลที่ได้รับความเสียหายอาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่ผู้ยื่นคํา
ร้องนั้นเสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา

หมวด ๒

การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน
347

ส่วนที่ ๑

อํานาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี

มาตรา ๒๙๖288[๒๙๔] ในกรณีที่คําพิพากษา


หรือคําสั่งของศาลกําหนดให้ชําระเงิน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมี
อํานาจบังคับคดีโดยวิธีดังต่อไปนี้

(๑) ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา

(๒) อายั ด สิ ท ธิ เ รี ย กร้ อ งของลู ก หนี้ ต ามคํ า


พิพากษาที่จะเรียกให้บุคคลภายนอกชําระเงินหรือส่งมอบหรือโอน
ทรัพย์สิน

(๓) อายั ด สิ ท ธิ เ รี ย กร้ อ งของลู ก หนี้ ต ามคํ า


พิพากษาที่จะเรียกให้บุคคลภายนอกชําระหนี้อย่างอื่นนอกจากที่
กล่าวมาแล้วใน (๒)

288[๒ ๙ ๔ ]ม า ต ร า ๒ ๙ ๖ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
348

(๔) ขายทอดตลาดหรื อ จํ า หน่ า ยโดยวิ ธี อื่ น ซึ่ ง


ทรัพย์สินที่ได้มาจากการยึดหรือการอายัดหรือซึ่งสิทธิเรียกร้องที่ได้
อายัดไว้

ในกรณี ที่ ยั ง ไม่ อ าจยึ ด ทรั พ ย์ สิ น หรื อ อายั ด สิ ท ธิ


เรี ยกร้องของลู กหนี้ตามคํ าพิ พากษาเนื่ องจากมีเหตุ ขัดข้ องอย่ าง
หนึ่งอย่างใดที่ทําให้ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ทันที เมื่อเจ้าพนักงาน
บั ง คั บ คดี เ ห็น เองหรือ เจ้า หนี ้ต ามคํ า พิพ ากษาร้อ งขอ ให้เ จ้า
พนัก งานบัง คับ คดีมีอํา นาจสั่ง ห้า มมิใ ห้ล ูก หนี้ต ามคํา พิพากษา
โอน ขาย ยักย้าย หรือจําหน่ายซึ่งทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นไว้
เป็นการชั่วคราวไว้ก่อนได้เท่าที่จําเป็น และถ้าทรัพย์สินหรือสิทธิ
เรียกร้องนั้นเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่บุคคลภายนอกมีส่วน
เกี่ยวข้ องด้ว ย ให้เจ้าพนั กงานบั งคับคดีแจ้งคํ าสั่งห้ ามดังกล่าวให้
บุ ค คลที่ มีส่ ว นเกี ่ย วข้อ งนั ้น ทราบ หรือ หากทรัพ ย์ส ิน หรือ สิท ธิ
เรียกร้องนั้นเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่จ ะต้องจดทะเบียน
หรือได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย ให้เจ้ าพนั กงานบังคับคดีแจ้ ง
คําสั่งห้ามดังกล่าวให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจ
หน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นทราบ ถ้าได้มีการจด
ทะเบียนไว้แล้ว ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกคําสั่ง
ของเจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ในทะเบียน และให้นําบทบัญญัติมาตรา
๓๑๕ (๑) และมาตรา ๓๒๐ (๑) และ (๒) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีมีเหตุอันสมควร เจ้าพนั กงานบังคับคดีอาจมีคําสั่งยกเลิ ก
หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งดังกล่าวได้ โดยให้นําบทบัญญัติมาตรา
๒๖๑ และมาตรา ๒๖๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
349

ในกรณี เ หตุ ขั ด ข้ อ งสิ้ น สุ ด ลงหรื อ ไม่ มี ค วาม


จําเป็นต้องบั งคับคดีต่อไป หรือเจ้าหนี้ ตามคํา พิพากษาเพิกเฉยไม่
ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด ให้
เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งยกเลิกคําสั่งห้ามดังกล่าวให้บุคคลที่มีส่วน
เกี่ยวข้องทราบ

มาตรา ๒๙๗289[๒๙๕] ให้เจ้าพนั กงานบังคั บ


คดีมีอํานาจบั งคั บคดีเอากับ ทรั พย์ สิน ดังต่อไปนี้ได้เช่น เดี ยวกับ ที่
บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๖

(๑) สิน สมรสของคู ่ส มรสของลูก หนี ้ต ามคํ า


พิพากษา เฉพาะในกรณีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและคู่สมรสเป็น
ลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา ๑๔๙๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ หรือทรัพย์สิน ของคู่ส มรสของลูกหนี้ตามคําพิพากษาซึ่ง
ตามกฎหมายอาจบังคับเอาชําระหนี้ตามคําพิพากษาได้

(๒) ทรั พย์ สิ นของบุ คคลอื่ นซึ่ งตามกฎหมายอาจ


บังคับเอาชําระหนี้ตามคําพิพากษาได้

289[๒ ๙ ๕ ]ม า ต ร า ๒ ๙ ๗ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
350

ให้นํ า บทบัญ ญัต ิใ นลัก ษณะ ๒ แห่ง ภาคนี ้ที่


เกี่ยวกับการบังคับ คดีแก่ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ตามคําพิพากษามา
ใช้บังคับในการบังคับคดี แก่ทรัพย์สินของบุคคลตามมาตรานี้โดย
อนุโลม

มาตรา ๒๙๘290[๒๙๖] ในกรณีที่ทรัพย์สินหรือ


สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคํา
พิ พากษามี ชื่ อ บุ คคลอื่ น เป็ น เจ้ าของในทะเบี ย นหรื อปรากฏตาม
หลักฐานอย่างอื่นว่าเป็นของบุคคลอื่น หากเจ้าพนักงานบังคับคดี
สงสัยว่าทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นไม่ใช่เป็นของลูกหนี้ตามคํา
พิพากษาและไม่ยอมทําการยึดหรืออายัด ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา
ยืนยันให้ยึดหรืออายัดเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทําการยึดทรัพย์สิน
หรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้น หรือจะสั่งงดการยึดหรือการอายัดก็ได้
ในกรณีที่สั่งงด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งห้ามการโอน ขาย
ยักย้าย จําหน่าย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่าหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิใน
ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นไว้ก่อน

คําสั่งห้ามของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง
ให้มีผลใช้บังคับได้ทันที และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งคําสั่งห้าม
290[๒ ๙ ๖ ]ม า ต ร า ๒ ๙ ๘ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
351

ให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา และบุ คคลผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สิ น


หรือสิทธิเรียกร้องตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือหลักฐานอย่างอื่น
ทราบโดยเร็ว ในกรณีที่ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่จะต้องจด
ทะเบียนหรือได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานบังคับ
คดีแจ้งคําสั่งห้ามดังกล่าวให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มี
อํานาจหน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นทราบด้วยถ้า
ได้มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
บันทึกคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ในทะเบียน ทั้งนี้ ให้นํ า
บทบัญญัติมาตรา ๓๑๕ (๑) และมาตรา ๓๒๐ (๑) มาใช้บังคับโดย
อนุโลม

เจ้ า หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาอาจยื่ น คํ า ร้ อ งต่ อ ศาล


ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งงดการยึด
หรือการอายัดตามวรรคหนึ่ง เพื่อขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับ
คดีทําการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้
ศาลส่งสําเนาคําร้องแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและบุคคลผู้มีชื่อเป็น
เจ้าของทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือ
หลักฐานอย่างอื่นทราบและบุคคลดังกล่าวอาจคัดค้านว่าทรัพย์สิน
หรือสิทธิเรียกร้องนั้นไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ โดยยื่นคํา
คัดค้านต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับสําเนาคําร้อง และให้
นําบทบัญญัติมาตรา ๓๒๓ หรือมาตรา ๓๒๕ แล้วแต่กรณี มาใช้
บังคับโดยอนุโลม โดยหากศาลมีคําสั่งให้ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิ
เรียกร้องแล้ว บุคคลดังกล่าวที่ได้ยื่นคําคัดค้านตามวรรคนี้จะใช้สิทธิ
ตามมาตรา ๓๒๓ หรือมาตรา ๓๒๕ แล้วแต่กรณี อีกหาได้ไม่
352

ในกรณี ที่เจ้ าหนี้ ต ามคํ า พิ พากษามิ ไ ด้ ยื่ น คํ าร้ อ ง


ภายในกําหนดเวลาตามวรรคสามหรือศาลมีคําสั่งยกคําร้องดังกล่าว
หรือในกรณีที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องในวรรคสาม แต่เจ้าหนี้
ตามคํ า พิ พ ากษาไม่ ดํ า เนิ น การบั ง คั บ คดี แ ก่ ท รั พ ย์ สิ น หรื อ สิ ท ธิ
เรียกร้องดังกล่าวภายในสิ บห้าวันนับ แต่วันที่ศาลมีคําสั่ งให้คําสั่ ง
ห้ามตามวรรคหนึ่งเป็นอันยกเลิกไป และให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
แจ้งการยกเลิกคําสั่งห้ามดังกล่าวให้บุคคลตามวรรคสองทราบด้วย

มาตรา ๒๙๙291[๒๙๗] ในกรณีที่เจ้าพนักงาน


บังคับคดีมีคําสั่งห้ามตามมาตรา ๒๙๘ วรรคหนึ่ง บุคคลผู้มีชื่อเป็น
เจ้าของทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือ
หลักฐานอย่างอื่น หรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง
นั ้น จะร้อ งขอต่อ เจ้า พนัก งานบัง คับ คดีใ ห้เ พิก ถอนคํ า สั ่ง ห้า ม
ดังกล่าวโดยวางเงิน หรือหาประกัน มาให้แทนทรัพย์สิน หรือสิทธิ
เรียกร้องนั้นก็ได้ ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีพอใจในเงินหรือประกัน
ก็ให้เพิกถอนคําสั่งห้ามดังกล่าวและรับเงินหรือประกันนั้นไว้

ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เพิกถอนคําสั่ง
ห้ามตามวรรคหนึ่ง ผู้ร้องนั้นจะยื่นคําร้องต่อศาลภายในสิบห้าวัน
291[๒ ๙ ๗ ]
ม า ต ร า ๒ ๙ ๙ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
353

นับแต่วันที่ทราบคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อขอให้เพิกถอน
คําสั่งห้ามโดยวางเงินหรือหาประกันมาให้ก็ได้ ให้ศาลส่งสําเนาคํา
ร้องแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพื่อทําการ
ไต่สวนเป็นการด่วน คําสั่งของศาลให้เป็นที่สุด

ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิ
เรี ยกร้ องตามมาตรา ๒๙๘ วรรคสาม ถ้ า ไม่ อาจยึ ดทรั พ ย์ สิ น หรื อ
อายั ดสิทธิเรี ยกร้ องนั้ นได้ แต่ได้ มีการวางเงินหรือประกั นไว้ แทน
ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจขอให้
ศาลดําเนินการบังคับคดีแก่เงินหรือประกันที่รับไว้หรือแก่ผู้ประกัน
ได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่

ในกรณี ที่เจ้ าหนี้ ต ามคํ า พิ พากษามิ ไ ด้ ยื่ น คํ าร้ อ ง


หรื อ ศาลมี คํ า สั่ ง ยกคํ า ร้ อ งตามมาตรา ๒๙๘ วรรคสาม ให้ เ จ้ า
พนักงานบังคับคดีคืนเงินหรือประกันที่รับไว้แก่ผู้วางเงินหรือประกัน
นั้นหรือยกเลิกการประกัน

มาตรา ๓๐๐292[๒๙๘] เว้ น แต่ จ ะมี กฎหมาย


บัญญัติไว้หรือศาลมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ห้ามไม่ให้เจ้าพนักงานบังคับ

292[๒ ๙ ๘ ]
ม า ต ร า ๓ ๐ ๐ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
354

คดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษา
หรื อขายทอดตลาดหรื อจําหน่ ายโดยวิธี อื่น ซึ่งทรั พย์ สิ น หรื อสิ ทธิ
เรี ย กร้ องที่ ได้ มาจากการยึ ดหรื ออายั ดหลายรายเกิ นกว่ าที่ พอจะ
ชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ตามคํ าพิ พากษา พร้ อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียม
และค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี

ในกรณี ที่ มี ค วามจํ า เป็ น ต้ อ งยึ ด ทรั พ ย์ สิ น หรื อ


อายัดสิทธิเรียกร้องรายใดที่มีราคาสูงเกินกว่าที่พอจะชําระหนี้ให้แก่
เจ้ าหนี้ ตามคําพิ พากษา ถ้าทรั พย์ สิ น หรื อสิ ทธิ เรี ย กร้ องนั้ น อยู่ ใน
สภาพที่จะแบ่งยึดหรืออายัดได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ให้เจ้า
พนักงานบังคับคดีมีอํานาจแบ่งยึดหรือแบ่งอายัดทรัพย์สินหรือสิทธิ
เรียกร้องรายใดแต่เพียงบางส่วนหรือเฉพาะส่วนแห่งกรรมสิทธิ์เท่าที่
พอจะชําระหนี้ให้ แก่เจ้าหนี้ตามคํ าพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรม
เนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี

บุ คคลผู้ มี ส่ วนได้ เสี ยในการบั งคั บคดี อาจคั ดค้ าน


คําสั่งหรือการดําเนินการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองของเจ้าพนักงาน
บังคับคดี โดยยื่นคําร้องต่อศาลก่อนวันขายทอดตลาดหรือจําหน่าย
โดยวิธีอื่นแต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบคําสั่งหรือการ
ดําเนินการนั้น คําสั่งของศาลให้เป็นที่สุด

ส่วนที่ ๒

ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
355

มาตรา ๓๐๑293[๒๙๙] ทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม


คําพิพากษาต่อไปนี้ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

(๑) เครื่องนุ่งห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรือน


หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว โดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินประเภท
ละสองหมื่นบาท แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร เจ้า
พนักงานบังคับคดีจะกําหนดให้ทรัพย์สินแต่ละประเภทดังกล่าวที่มี
ราคารวมกันเกินสองหมื่นบาทเป็นทรัพย์สินที่ไม่ต้องอยู่ในความรับ
ผิดแห่งการบังคับคดีก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นตามฐานะ
ของลูกหนี้ตามคําพิพากษา

(๒) สั ต ว์ สิ่ ง ของ เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ ในการ


ประกอบอาชีพหรือประกอบวิชาชีพเท่าที่จําเป็นในการเลี้ยงชีพของ
ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ราคารวมกันโดยประมาณไม่เกินหนึ่งแสน
บาท แต่ถ้าลูกหนี้ตามคําพิพากษามีความจําเป็นในการเลี้ย งชีพก็
อาจร้อ งขอต่อ เจ้า พนัก งานบัง คับ คดีข ออนุญ าตใช้สัตว์ สิ่งของ
เครื่องมือ เครื่องใช้เท่าที่จําเป็นในการประกอบอาชีพหรือประกอบ

293[๒ ๙ ๙ ]ม า ต ร า ๓ ๐ ๑ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
356

วิชาชีพในกิจ การดัง กล่า วของลูก หนี้ต ามคํา พิพ ากษาอัน มีร าคา
รวมกัน เกิน กว่า จํา นวนราคาที่กํา หนดนั้น ในกรณีเ ช่น นี้ ให้เจ้ า
พนั ก งานบั ง คั บ คดี มี อํา นาจใช้ ดุล พิ นิ จ ไม่ อนุ ญาตหรื ออนุ ญาตได้
เท่าที่จําเป็นภายในบังคับแห่งเงื่อนไขตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดี
เห็นสมควร

(๓) สั ต ว์ สิ่ ง ของ เครื่ อ งใช้ และอุ ป กรณ์ ที่


จํ า เป็ น ต้ อ งใช้ ทํ า หน้ า ที่ ช่ ว ยหรื อ แทนอวั ย วะของลู ก หนี้ ต ามคํ า
พิพากษา

(๔) ทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาอั น มี


ลักษณะเป็ น ของส่ ว นตั ว โดยแท้ เช่ น หนั งสื อสํ าหรั บ วงศ์ ตระกู ล
โดยเฉพาะ จดหมาย หรือสมุดบัญชีต่าง ๆ

(๕) ทรัพย์สินอย่างใดที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย
หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

ทรัพย์สินหรือจํานวนราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงาน
บังคับคดีกําหนดตามวรรคหนึ่ง ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือเจ้าหนี้
ตามคําพิพากษาอาจร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งกําหนด
ใหม่ได้ คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวนั้น ลูกหนี้ตามคํา
พิพากษาหรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจร้อ งคัด ค้า นต่อ ศาลได้
ภายในสิบ ห้า วัน นับ แต่ว ัน ที ่ไ ด้ท ราบคํ า สั ่ง ของเจ้า พนัก งาน
บังคับคดี ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลมีคําสั่งตามที่เห็นสมควร
357

ในกรณีที่พ ฤติก ารณ์ไ ด้เ ปลี่ย นแปลงไป ลูก หนี้


ตามคํ า พิพ ากษาหรือ เจ้า หนี ้ต ามคํ า พิพ ากษาอาจยื่ น คํ าร้ องให้
ศาลมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินหรือจํานวนราคาทรัพย์สินที่ศาล
กําหนดไว้เดิมได้

ประโยชน์แห่งข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ให้
ขยายไปถึงทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งอันเป็นของคู่สมรสของลูกหนี้ตาม
คําพิพากษาหรือของบุคคลอื่น ซึ่งทรัพย์สินเช่นว่านี้ตามกฎหมาย
อาจบังคับเอาชําระหนี้ตามคําพิพากษาได้

มาตรา ๓๐๒294[๓๐๐] ภายใต้บังคับบทบัญญัติ


แห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคํา
พิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

(๑) เบี้ ยเลี้ยงชี พซึ่งกฎหมายกําหนดไว้ ส่วนเงิ น


รายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพนั้น ให้มี
จํานวนไม่เกินเดือนละสองหมื่นบาทหรือตามจํานวนที่เจ้าพนักงาน
บังคับคดีเห็นสมควร

294[๓ ๐ ๐ ]ม า ต ร า ๓ ๐ ๒ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
358

(๒) เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จ เบี้ยหวัด


หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือ
ลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บํานาญ หรือบําเหน็จที่
หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมี ชีวิตของบุคคล
เหล่านั้น

(๓) เงิ น เดื อ น ค่ า จ้ า ง บํ า นาญ ค่ า ชดใช้ เงิ น


สงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง
หรือคนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (๒) ที่นายจ้างหรือบุคคลอื่นใดได้
จ่ า ยให้ แ ก่ บุ ค คลเหล่ านั้ น หรื อ คู่ ส มรส หรื อ ญาติ ที่ ยั งมี ชี วิ ต ของ
บุคคลเหล่านั้น เป็นจํานวนรวมกันไม่เกินเดือนละสองหมื่นบาทหรือ
ตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร

(๔) บํ า เหน็จ หรือ ค่า ชดเชยหรือ รายได้อื ่น ใน


ลักษณะเดีย วกัน ของบุคคลตาม (๓) เป็น จํานวนไม่เกินสามแสน
บาทหรือตามจํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร

(๕) เงิ น ฌาปนกิ จ สงเคราะห์ ที่ ลู ก หนี้ ต ามคํ า


พิพากษาได้ รับ อั น เนื่ องมาแต่ ความตายของบุ คคลอื่นเป็ นจํ านวน
ตามที่จําเป็นในการดําเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายที่เจ้า
พนักงานบังคับคดีเห็นสมควร

ในกรณีที ่เ จ้า พนัก งานบัง คับ คดีเ ป็น ผู ้กํ า หนด


จํ า นวนเงิน ตาม (๑) (๓) และ (๔) ให้เ จ้า พนัก งานบั ง คั บ คดี
คํ า นึ ง ถึ ง ฐานะในทางครอบครั ว ของลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาและ
359

จํานวนบุพการีและผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้
ตามคําพิพากษาด้วย และสําหรับในกรณีตาม (๑) และ (๓) ให้เจ้า
พนักงานบังคับคดีกําหนดให้ไม่น้อยกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ําสุดของ
ข้าราชการพลเรือนในขณะนั้นและไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด
ของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น

ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ลูกหนี้ตามคําพิพากษา
หรือบุคคลภายนอกผู้ มีส่ว นได้เสี ยในการบังคับคดีไม่เห็ นด้ว ยกั บ
จํานวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคํา
ร้ อ งต่ อ ศาลภายในสิ บ ห้ า วั น นั บ แต่ วั น ที่ ไ ด้ ท ราบถึ ง การกํ า หนด
จํานวนเงินเช่นว่านั้น เพื่อขอให้ศาลกําหนดจํานวนเงินใหม่ได้

ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการดํารงชีพของลูกหนี้
ตามคําพิพากษาได้เปลี่ยนแปลงไป บุคคลตามวรรคสามจะยื่นคํา
ร้องให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี กําหนดจํานวน
เงินตาม (๑) และ (๓) ใหม่ก็ได้

ส่วนที่ ๓

การยึดทรัพย์สิน
360

มาตรา ๓๐๓295[๓๐๑] การยึดสังหาริมทรัพย์มี


รู ป ร่ า งของลู ก หนี้ ต ามคํ าพิ พ ากษานั้ น ให้ เ จ้ า พนั กงานบั ง คั บ คดี
กระทําโดย

(๑) นําทรัพย์นั้นมาเก็บรักษาไว้ หรือฝากทรัพย์


นั้นไว้ ณ สถานที่ใดหรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควรหรือมอบให้
ลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้รักษาทรัพย์นั้นโดยได้รับความยินยอม
จากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา

(๒) แจ้ ง รายการทรั พ ย์ ที่ ยึ ด ให้ ลู ก หนี้ ต ามคํ า


พิพากษาและผู้ครอบครองหรือผู้ดูแลทรัพย์นั้นทราบ ถ้าไม่สามารถ
กระทํ าได้ ให้ ปิ ดประกาศแจ้งรายการทรัพย์ที่ยึ ดไว้ ณ สถานที่ ที่
กระทําการยึด หรือแจ้งโดยวิ ธีอื่นใดตามที่เจ้าพนั กงานบั งคั บคดี
เห็นสมควร

(๓) แสดงให้เห็นประจักษ์แจ้ งโดยการประทั บตรา


หรือโดยวิธีอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรว่าได้มีการ
ยึดทรัพย์นั้นแล้ว

295[๓ ๐ ๑ ]
ม า ต ร า ๓ ๐ ๓ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
361

มาตรา ๓๐๔296[๓๐๒] การยึ ด เรื อ แพ สั ตว์


พาหนะ หรื อ สั ง หาริ ม ทรั พ ย์ มีรู ป ร่ า งอย่ า งอื่ น ของลู ก หนี้ ตามคํ า
พิ พ ากษาซึ่ ง จะต้ อ งจดทะเบี ย นกรรมสิ ท ธิ์ ห รื อ ได้ จ ดทะเบี ย น
กรรมสิทธิ์ไว้แล้วตามกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดย

(๑) ดํ าเนิน การตามวิ ธีการที่บั ญญัติไว้ ในมาตรา


๓๐๓

(๒) แจ้งให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้
มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นทราบ ถ้าได้
มีการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ไว้แล้ว ให้นายทะเบียนหรือพนักงาน
เจ้าหน้าที่บันทึกการยึดไว้ในทะเบียน

296[๓ ๐ ๒ ]
ม า ต ร า ๓ ๐ ๔ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
362

มาตรา ๓๐๕297[๓๐๓] การยึดหลักทรัพย์ที่เป็น


หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของ
ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดย

(๑) ในกรณีที่ยั งไม่ มีการออกใบตราสาร ให้ เจ้ า


พนักงานบังคับคดีแจ้งรายการและจํานวนหลักทรัพย์ที่ยึดให้ลูกหนี้
ตามคํ า พิ พ ากษาและผู้ อ อกหลั ก ทรั พ ย์ นั้ น ทราบ และเมื่ อ ได้
ดําเนินการยึดหลักทรัพย์ดังกล่าวเสร็จแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
สั่งให้ผู้ออกหลักทรัพย์ออกใบตราสารส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี

(๒) ในกรณี ที่ มี ก ารออกใบตราสารแล้ ว ให้ เ จ้ า


พนักงานบังคับคดีแจ้งรายการและจํานวนหลักทรัพย์ที่ยึดให้ลูกหนี้
ตามคําพิพากษา ผู้ออกหลักทรัพย์ และผู้ครอบครองตราสารเท่าที่
ทราบ รวมทั้งบุคคลซึ่งต้องชําระหนี้ตามตราสารนั้น ทราบ และเมื่อ
ได้ดําเนินการยึดหลักทรัพย์ดังกล่าวเสร็จแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับ
คดีนําตราสารนั้นมาเก็บรักษาไว้หากสามารถนํามาได้

(๓) ในกรณีที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งฝากไว้กับศูนย์รับ
ฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งรายการและจํานวนหลักทรัพย์ที่ยึดให้
ลูก หนี้ตามคํา พิพ ากษา ผู้อ อกหลัก ทรัพ ย์ ผู้ฝ ากหลัก ทรัพ ย์แ ละ
297[๓ ๐ ๓ ]ม า ต ร า ๓ ๐ ๕ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
363

ศูน ย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ ทราบ เพื่อปฏิบัติตามที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานบังคับ
คดี

(๔) ในกรณีที่เป็นหลักทรัพย์ที่ไม่มีการออกใบตรา
สาร ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งรายการและจํานวนหลักทรัพย์ที่
ยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและผู้ออกหลักทรัพย์ทราบ เพื่อปฏิบัติ
ตามที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานบังคับคดี

ในกรณี ที่ไม่สามารถแจ้งบุคคลตามวรรคหนึ่งได้
ให้ปิดประกาศแจ้งรายการและจํานวนหลักทรัพย์ที่ยึดไว้ในที่แลเห็น
ได้ง่าย ณ ภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานของบุคคลเช่นว่านั้น หรือ
แจ้งโดยวิธีอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร และให้มี
ผลใช้ได้นับแต่เวลาที่ประกาศนั้นได้ปิดไว้หรือการแจ้งโดยวิธีอื่นใด
ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรนั้นได้ทําหรือได้ตั้งต้นแล้ว

มาตรา ๓๐๖298[๓๐๔] การยึดตั๋วเงินหรือตรา


สารเปลี่ ยนมื ออื่นใดของลู กหนี้ ตามคําพิ พากษา ให้นํ าบทบัญญั ติ
มาตรา ๓๐๕ วรรคหนึ่ง (๒) และวรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

298[๓ ๐ ๔ ]ม า ต ร า ๓ ๐ ๖ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
364

และให้มีผลเป็นการอายัดสิทธิเรียกร้องตามตั๋วเงินหรือตราสารนั้น
ด้วย

ในกรณี ที่เ ห็ น สมควรเจ้ าพนั กงานบั ง คั บ คดี อาจ


ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้จําหน่ายตามราคาที่ปรากฏในตั๋ว
เงินหรือตราสารหรือราคาต่ํากว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควร ถ้าศาล
สั่งยกคําร้อง ให้นําตั๋วเงินหรือตราสารนั้นออกขายทอดตลาด

มาตรา ๓๐๗299[๓๐๕] การยึ ดหุ้ น ของลู กหนี้


ตามคํ า พิ พ ากษาซึ่ ง เป็ น หุ้ น ส่ ว นจํ าพวกจํ า กั ด ความรั บ ผิ ด ในห้ า ง
หุ้นส่วนจํากัด หรือผู้ถือหุ้นในบริษัทจํากัด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
กระทําโดย

(๑) แจ้งการยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและห้าง
หุ้นส่วนจํากัดหรือบริษัทจํากัดที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นหุ้นส่วน
หรือผู้ถือหุ้นอยู่ทราบ ถ้าไม่สามารถกระทําได้ ให้ดําเนินการตาม
วิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๕ วรรคสอง

299[๓ ๐ ๕ ]
ม า ต ร า ๓ ๐ ๗ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
365

(๒) แจ้งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทนั้นบันทึก
การยึดไว้ในทะเบียน

มา ตร า ๓ ๐๘ 300[ ๓๐ ๖] ก าร ยึด สิท ธิใ น


สิทธิบัตร สิทธิในเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิอย่างอื่นของลูกหนี้
ตามคําพิ พากษาที่มีลั กษณะคล้ายคลึ งกัน หรื อที่เกี่ยวเนื่ องกั นกั บ
สิ ท ธิ ดั ง กล่ า ว ซึ่ ง ได้ จ ดทะเบี ย นหรื อ ขึ้ น ทะเบี ย นไว้ แ ล้ ว ให้ เ จ้ า
พนักงานบังคับคดีกระทําโดย

(๑) แจ้ง รายการสิท ธิที ่ย ึด ให้ล ูก หนี ้ต ามคํ า


พิพากษาทราบ ถ้าไม่สามารถกระทําได้ ให้ดําเนินการตามวิธีการ
ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๕ วรรคสอง

(๒) แจ้งให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้
มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นบันทึกการ
ยึดไว้ในทะเบียน

300[๓ ๐ ๖ ]
ม า ต ร า ๓ ๐ ๘ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
366

ม า ต ร า ๓ ๐ ๙ 301[๓๐๗] ก า ร ยึด สิท ธิใ น


เครื ่อ งหมายการค้า ซึ ่ง ยัง มิไ ด้จ ดทะเบีย น ลิข สิท ธิ์ สิท ธิข อรับ
สิ ทธิ บั ตร สิ ทธิ ใ นชื่ อทางการค้ า หรื อยี่ ห้ อ หรื อสิ ทธิ อย่ า งอื่ น ของ
ลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือที่เกี่ยวเนื่องกัน
กับสิทธิดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดยแจ้งรายการ
สิทธิที่ยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาทราบ ถ้าไม่สามารถกระทําได้
ให้ดําเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๕ วรรคสอง

มาตรา ๓๑๐302[๓๐๘] การยึ ด สิ ท ธิ ก ารเช่ า


ทรัพย์สินหรือสิทธิที่จะได้ใช้บริการต่าง ๆ ซึ่งอาจมีราคาและถือเอา
ได้ ข องลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษา เช่ น บริ ก ารโทรศั พ ท์ ห รื อ
โทรคมนาคม หรือบริการอื่นใดที่อาจได้รับจากทรัพย์สินหรือบริการ
ของผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดย

301[๓ ๐ ๗ ]
ม า ต ร า ๓ ๐ ๙ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

302[๓ ๐ ๘ ]
ม า ต ร า ๓ ๑ ๐ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
367

(๑) แจ้ ง รายการสิ ท ธิ ที่ ยึ ด ให้ ลู ก หนี้ ต ามคํ า


พิพากษาและผู้ ให้ เช่ าหรือผู้ให้บ ริ การ แล้ว แต่ก รณี ทราบ ถ้า ไม่
สามารถกระทําได้ ให้ดําเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๓๐๕ วรรคสอง

(๒) ในกรณีที่ได้มีการจดทะเบียนการเช่าทรัพย์สิน
หรื อ การให้ บ ริ ก ารดั ง กล่ า ว ให้ แ จ้ ง นายทะเบี ย นหรื อ พนั ก งาน
เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นบันทึกการยึด
ไว้ในทะเบียนด้วย

มาตรา ๓๑๑303[๓๐๙] การยึดสิทธิของลูกหนี้


ตามคํ า พิ พ ากษาตามใบอนุ ญ าต ประทานบั ต ร อาชญาบั ต ร
สัมปทาน หรือสิทธิอย่างอื่นของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงกันหรือที่เกี่ยวเนื่องกันกับสิทธิดังกล่าว ให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีกระทําโดย

(๑) แจ้ง รายการสิท ธิที ่ย ึด ให้ล ูก หนี ้ต ามคํ า


พิพากษาทราบ ถ้าไม่สามารถกระทําได้ ให้ดําเนินการตามวิธีการ
ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๕ วรรคสอง

303[๓ ๐ ๙ ]ม า ต ร า ๓ ๑ ๑ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
368

(๒) แจ้งให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้
มี อํ า นาจหน้ า ที่ ต ามกฎหมายว่ า ด้ ว ยการนั้ น บั น ทึ ก การยึ ด ไว้ ใ น
ทะเบียน

มาตรา ๓๑๒304[๓๑๐] การยึดอสังหาริมทรัพย์


ของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดย

(๑) นํ า หนั ง สื อ สํ า คั ญ สํ า หรั บ ทรั พ ย์ นั้ น มาเก็ บ


รักษาไว้ หรือฝากไว้แก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร เว้นแต่ทรัพย์นั้น
ยังไม่มีหนังสือสําคัญหรือนําหนังสือสําคัญมาไม่ได้

(๒) แสดงให้เห็นประจักษ์แจ้งโดยการปิดประกาศ
ไว้ที่ทรัพย์นั้นว่า ได้มีการยึดทรัพย์นั้นแล้ว

(๓) แจ้ งรายการทรั พ ย์ ที่ยึ ดให้ บุ ค คลดั งต่ อ ไปนี้


ทราบ

(ก) ลูกหนี้ตามคําพิพากษา

304[๓ ๑ ๐ ]
ม า ต ร า ๓ ๑ ๒ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
369

(ข) บุ ค คลอื่ น ซึ่ ง มี ชื่ อ ในทะเบี ย นว่ า เป็ น


เจ้าของทรัพย์นั้น

(ค) เจ้าพนักงานที่ดินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้มีอํานาจหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์นั้น ถ้า
ทรัพย์ นั้นมีทะเบีย น ให้ เจ้าพนักงานที่ดิน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่
บันทึกการยึดไว้ในทะเบียน

ในกรณี ที่ไม่ ส ามารถแจ้ งตามวรรคหนึ่ ง (๓) (ก)


หรือ (ข) ได้ ให้ปิดประกาศแจ้งรายการทรัพย์ที่ยึดไว้ในที่แลเห็นได้
ง่าย ณ ภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานของบุคคลเช่นว่านั้น หรือ
แจ้งโดยวิธีอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร และให้มี
ผลใช้ได้นับแต่เวลาที่ประกาศนั้นได้ปิดไว้หรือการแจ้งโดยวิธีอื่นใด
ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรนั้นได้ทําหรือได้ตั้งต้นแล้ว

เมื่อได้แจ้ งการยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและ
เจ้ า พนั ก งานที่ ดิ น หรื อ พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ผู้ มี อํ า นาจหน้ า ที่ จ ด
ทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์นั้นแล้ว ให้ถือว่าเป็นการ
ยึดตามกฎหมาย
370

มาตรา ๓๑๓305[๓๑๑] การยึ ดทรั พยสิ ทธิ อัน


เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําโดย
ดําเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๑๒ โดยอนุโลม

มาตรา ๓๑๔306[๓๑๒] การยึดสังหาริมทรัพย์มี


รูปร่างของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นให้มีผลเป็นการยึดครอบไปถึง
ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัยของทรัพย์นั้นด้วย

การยึ ด อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ข องลู ก หนี้ ต ามคํ า


พิพากษานั้นให้มีผลเป็นการยึดครอบไปถึง

(๑) เครื่องอุปกรณ์และดอกผลนิตินัยของทรัพย์
นั้น

305[๓ ๑ ๑ ]ม า ต ร า ๓ ๑ ๓ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

306[๓ ๑ ๒ ]ม า ต ร า ๓ ๑ ๔ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
371

(๒) ดอกผลธรรมดาของทรัพย์นั้น ที่ลูกหนี้ต าม


คําพิพากษามีสิทธิเก็บ เกี่ย ว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งหรือ
ปิดประกาศให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและผู้ครอบครองหรือผู้ดูแล
ทรัพย์นั้นทราบในขณะทําการยึดว่าได้ยึดดอกผลด้วยแล้ว

มาตรา ๓๑๕307[๓๑๓] การยึ ดทรั พ ย์ สิ น ของ


ลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นให้มีผลดังต่อไปนี้

(๑) การที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ก่อให้เกิด โอน


หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สิน ที่ถูกยึด ภายหลังที่ได้ทําการ
ยึด ไว้แ ล้ว นั้น หาอาจใช้ยัน แก่เ จ้า หนี้ต ามคํา พิพ ากษาหรือ เจ้า
พนักงานบังคับคดีได้ไม่ถึงแม้ว่าราคาแห่งทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่า
จํานวนหนี้ตามคําพิพากษากับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรม
เนี ย มในการบั งคั บ คดี และลู กหนี้ ตามคํ าพิ พากษาได้ กระทํ าการ
ดังกล่าวแก่ทรัพย์สินที่ถูกยึดเพียงส่วนที่มีราคาเกินจํานวนนั้นก็ตาม

(๒) ถ้ าลู กหนี้ ตามคํ าพิ พากษาได้ รั บมอบให้ เป็ น


ผู้ รั ก ษาทรั พ ย์ สิ น ที่ ถู ก ยึ ด ลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาชอบที่ จ ะใช้
ทรัพย์สินเช่นว่านั้นได้ตามสมควร แต่ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็น

307[๓ ๑ ๓ ]
ม า ต ร า ๓ ๑ ๕ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
372

ว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษาจะทําให้ทรัพย์สินนั้นเสียหายหรือเกรงว่า
จะเสียหาย โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นเองหรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคํา
พิพากษาหรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้น
ร้องขอ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะรักษาทรัพย์สินนั้นเสียเองหรือตั้งให้
ผู้ใดเป็นผู้รักษาทรัพย์สินนั้นก็ได้

ส่วนที่ ๔

การอายัดสิทธิเรียกร้อง

มาตรา ๓๑๖308[๓๑๔] การอายัดสิทธิเรียกร้อง


ของลู กหนี้ตามคําพิพากษาที่ จะเรี ยกให้ บุคคลภายนอกชํ าระเงิ น
หรือส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินก็ดี หรือที่จะเรียกให้บุคคลภายนอก
ชําระหนี้อย่างอื่ นนอกจากการชําระเงิน หรือการส่งมอบหรื อการ
โอนทรั พย์ สิ นก็ ดี ให้ ศาลหรื อเจ้ าพนั กงานบั งคั บ คดีกระทํ าโดยมี

308[๓ ๑ ๔ ]ม า ต ร า ๓ ๑ ๖ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
373

คํ า สั่ ง อายั ด และแจ้ ง คํ า สั่ ง นั้ น ให้ ลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาและ


บุคคลภายนอกทราบ

คํ า สั่ ง อายั ดตามวรรคหนึ่ ง ต้ องมี ข้อ ห้ า มลู ก หนี้


ตามคํ า พิ พ ากษาไม่ ใ ห้ จํ า หน่ า ยสิ ท ธิ เ รี ย กร้ อ งและมี ข้ อ ห้ า ม
บุ ค คลภายนอกไม่ ใ ห้ ป ฏิ บั ติ ก ารชํ า ระหนี้ นั้ น แก่ ลู ก หนี้ ต ามคํ า
พิพากษา แต่ให้ชําระเงินหรือส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินหรือชําระ
หนี้อย่างอื่นให้แก่ศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือบุคคลอื่น หรือให้
ดํ า เนิ น การโดยวิ ธี อื่ น ใดตามที่ ศ าลหรื อ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
เห็นสมควร ณ เวลาหรือภายในเวลา หรือเงื่อนไขตามที่กําหนดให้
แล้วแต่กรณี

คําสั่งอายัดนั้นให้บังคับได้ไม่ว่าที่ใด ๆ

มาตรา ๓๑๗309[๓๑๕] การอายั ดตามมาตรา


๓๑๖ อาจกระทําได้ไม่ว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นจะมีข้อโต้แย้ง ข้อจํากัด
เงื่อนไข หรือว่าได้กําหนดจํานวนไว้แน่นอนหรือไม่ก็ตาม

309[๓ ๑ ๕ ]
ม า ต ร า ๓ ๑ ๗ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
374

มาตรา ๓๑๘310[๓๑๖] การอายัดสิทธิเรียกร้อง


ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่มีสิทธิได้รับชําระหนี้เป็นคราว ๆ ให้มี
ผลเป็นการอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่มีสิทธิ
ได้รับชําระหนี้ภายหลังการอายัดนั้นด้วย

มาตรา ๓๑๙311[๓๑๗] การอายัดสิทธิเรียกร้อง


ของลูกหนี้ตามคํ าพิพากษาที่มีจํานองหรื อจํานําเป็นประกัน ให้ มี
ผลรวมตลอดถึ งการจํ านองหรื อการจํ านํ านั้น ด้ วย ถ้ าทรั พย์สิ น ที่
จํานองนั้นมีทะเบียน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งคําสั่งอายัดไปยัง
ผู้มีอํานาจหน้าที่เพื่อให้จดแจ้งไว้ในทะเบียน

ในกรณี ผู้จํ านองหรือผู้ จํานํ ามิ ใช่ ลู กหนี้ตามสิ ทธิ


เรียกร้อง เมื่อได้ดําเนินการอายัดแล้ว ให้แจ้งผู้จํานองหรือผู้จํานํา
เพื่อทราบด้วย

310[๓ ๑ ๖ ]ม า ต ร า ๓ ๑ ๘ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

311[๓ ๑ ๗ ]ม า ต ร า ๓ ๑ ๙ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
375

มาตรา ๓๒๐312[๓๑๘] การอายัดสิทธิเรียกร้อง


นั้นให้มีผลดังต่อไปนี้

(๑) การที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ก่อให้เกิดสิทธิ
แก่ บุ ค คลภายนอกเหนื อ สิ ท ธิ เ รี ย กร้ อ งที่ ไ ด้ ถู ก อายั ด โอน
เปลี่ยนแปลง หรือระงับซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายหลังที่ได้ทํา
การอายัดไว้แล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือเจ้า
พนักงานบังคับคดีได้ไม่ถึงแม้ว่าราคาแห่งสิทธิเรียกร้องนั้นจะเกิน
กว่าจํานวนหนี้ตามคํ าพิพากษากั บค่าฤชาธรรมเนีย มและค่าฤชา
ธรรมเนียมในการบังคับคดี และลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้กระทํา
การดั ง กล่ า วแก่ สิ ท ธิ เ รี ย กร้ อ งที่ ถู ก อายั ด เพี ย งส่ ว นที่ มี ร าคาเกิ น
จํานวนนั้นก็ตาม

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้จํานองหรือผู้
จํานําซึ่งมิใช่ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องตามมาตรา ๓๑๙ วรรคสอง
หากผู้ จํ า นองหรื อ ผู้ จํ า นํ า พิ สู จ น์ ไ ด้ ว่ า ความระงั บ สิ้ น ไปแห่ ง การ
จํานองหรือการจํานําเกิดขึ้นโดยผู้จํานองหรือผู้จํานํากระทําการโดย
สุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการแจ้งการอายัดไปยังผู้จํานอง
หรือผู้จํานําเพื่อทราบ
312[๓ ๑ ๘ ]
ม า ต ร า ๓ ๒ ๐ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
376

(๒) ถ้ าค่ าแห่ งสิ ทธิ เ รี ย กร้ อ งซึ่ งอายั ด ไว้ นั้ น ต้ อ ง
เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา เจ้าหนี้ตาม
คํ าพิ พากษาต้ องรั บผิ ดชดใช้ ค่ าสิ นไหมทดแทนให้ แก่ ลู กหนี้ ตามคํ า
พิ พ ากษาเพื่ อ ความเสี ย หายใด ๆ ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น แก่ ลู ก หนี้ ต ามคํ า
พิพากษานั้น

(๓) การชําระหนี้โดยบุคคลภายนอกตามที่ระบุไว้
ในคําสั่งอายัดนั้นให้ถือว่าเป็นการชําระหนี้ตามกฎหมาย

ส่วนที่ ๕

การขอให้ศาลบังคับบุคคลภายนอกชําระหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง

มาตรา ๓๒๑313[๓๑๙] ถ้าบุค คลภายนอกไม่


ชําระหนี้ตามคําสั่งอายัดของศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับ คดีตาม
มาตรา ๓๑๖ ให้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี แ จ้ ง ให้ เ จ้ า หนี้ ต ามคํ า

313[๓ ๑ ๙ ]
ม า ต ร า ๓ ๒ ๑ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
377

พิพากษาทราบ ในกรณีเช่นว่านี้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคํา


ร้องต่อศาลให้บังคับบุคคลภายนอกนั้นปฏิบัติการชํา ระหนี้ต ามที่
เจ้า พนัก งานบัง คับ คดีมีคํา สั่ง หรือ ชํา ระค่า สิน ไหมทดแทนเพื่อ
การไม่ชํา ระหนี้แ ก่เ จ้า พนัก งานบัง คับ คดีก็ไ ด้ เมื่อศาลทําการไต่
สวนแล้วถ้าเป็นที่พอใจว่าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษา
นั ้น มีอ ยู ่จ ริง และอาจบัง คับ ได้จ ะมีคํ า สั ่ง ให้บ ุค คลภายนอก
ปฏิบัติก ารชํ า ระหนี ้ต ามที ่เ จ้า พนั ก งานบั ง คั บ คดี มีคําสั่ ง หรื อให้
ชํ า ระค่ า สิ น ไหมทดแทนตามจํ า นวนที่ เ ห็ น สมควรก็ ไ ด้ ถ้ า
บุ คคลภายนอกนั้ น มิ ได้ ป ฏิ บั ติ ตามคํ า สั่ ง ของศาล เจ้ า หนี้ ตามคํ า
พิพากษาอาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้นเสมือน
หนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาก็ได้

ส่วนที่ ๖

สิทธิของบุคคลภายนอกและผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูก
บังคับคดี
378

มาตรา ๓๒๒314[๓๒๐] ภายใต้ บั ง คั บ มาตรา


๓๒๓ และมาตรา ๓๒๔ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
การบั ง คั บ คดี แ ก่ ท รั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาย่ อ มไม่
กระทบกระทั่งถึงทรัพยสิทธิ บุริมสิทธิ สิทธิยึดหน่วง หรือสิทธิอื่น
ซึ ่ง บุค คลภายนอกมีอ ยู ่เ หนือ ทรัพ ย์ส ิน หรือ อาจร้อ งขอให้บั งคั บ
เหนือทรัพย์สินนั้นตามกฎหมาย

มาตรา ๓๒๓315[๓๒๑] ภายใต้บังคับมาตรา ๕๕


บุคคลใดกล่าวอ้างว่าจําเลยหรือลูกหนี้ตามคําพิพากษาไม่ใช่เจ้าของ
ทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือตนเป็นเจ้าของรวมซึ่ง
มี กรรมสิ ทธิ์ หรื อสิ ทธิ ครอบครองในทรั พย์ สิ นนั้ นซึ่ งเป็ น
อสั งหาริ มทรัพย์ ที่ได้ แบ่ งการครอบครองเป็ นส่ วนสั ด หรื อตนเป็ น
เจ้าของรวมในทรัพย์สินนั้นซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทรัพย์แบ่งได้
หรื อ ตนเป็ น ผู้ อ ยู่ ใ นฐานะอั น จะให้ จ ดทะเบี ย นสิ ท ธิ ข องตนใน
ทรัพย์สินนั้นได้อยู่ก่อน บุคคลนั้นอาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินนั้น
314[๓ ๒ ๐ ]
ม า ต ร า ๓ ๒ ๒ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

315[๓ ๒ ๑ ]
ม า ต ร า ๓ ๒ ๓ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
379

ทั้งหมดหรือบางส่วนหรือเฉพาะส่วนของตน แล้วแต่กรณี โดยยื่นคํา


ร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มี
การยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคําร้องขอภายในระยะเวลา
ดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคําร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็
ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและได้ยื่นคําร้องขอไม่ช้ากว่าเจ็ดวันก่อน
วันที่ เจ้าพนักงานบังคั บคดี กําหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดหรือ
จําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก เว้นแต่ในกรณีที่มี
เหตุสุดวิสัย บุค คลนั้น จะยื่น คําร้องขอในภายหลังก็ได้ แต่จะต้อง
ยื่นเสียก่อนขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น

ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินตามมาตรา ๓๓๒ ผู้กล่าว


อ้างอาจยื่นคําร้องขอต่อศาลภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการยึด
ทรั พ ย์ สิ น นั้ น แต่ ถ้ า ไม่ ส ามารถยื่ น คํ า ร้ อ งขอภายในระยะเวลา
ดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคําร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็
ต่ อ เมื่ อ มี พ ฤติ ก ารณ์ พิ เ ศษ แต่ จ ะต้ อ งยื่ น เสี ย ก่ อ นที่ เ จ้ า พนั ก งาน
บังคับคดีจะจ่ายเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าหนี้ตามคํา
พิพากษาตามมาตรา ๓๓๙ หรือก่อนที่บัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจํานวน
เงินที่ขายทรัพย์สินนั้นเป็นที่สุดตามมาตรา ๓๔๐ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ให้ถือว่าเงินจํานวนสุทธิที่ได้จากการขายนั้นเป็นเสมือนทรัพย์สินที่
ขอให้ปล่อย

เมื่อ ศาลสั่ง รับ คํา ร้อ งขอไว้แ ล้ว ให้ส่ง สํา เนาคํา
ร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจําเลยหรือลูกหนี้ตาม
คําพิพากษา และเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี
ได้ รั บ คํ า ร้ อ งขอเช่ น ว่ า นี้ ถ้ า ทรั พ ย์ สิ น ที่ ยึ ด นั้ นไม่ ใช่ ท รั พ ย์ สิ น ตาม
380

มาตรา ๓๓๒ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไว้


ในระหว่างรอคําวินิจฉัยชี้ขาด และให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสิน
คดีนั้นเหมือนอย่างคดีธรรมดา

โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําร้องว่า
คําร้องขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อ ประวิง การบัง คับ คดี เมื่อ
ปรากฏพยานหลักฐานเบื้อ งต้น ว่าคําร้องนั้น ฟังได้ ศาลมีอํานาจ
สั่ง ให้ผู ้ก ล่า วอ้า งวางเงิ น หรื อหาประกั น ต่อศาลตามจํ านวนและ
ภายในระยะเวลาที่ ศาลเห็นสมควร เพื่ อเป็น ประกันการชําระค่ า
สินไหมทดแทนแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาสําหรับความ
เสียหายที่อาจได้รับจากการยื่นคําร้องขอนั้น ถ้าผู้กล่าวอ้างไม่ปฏิบัติ
ตามคํ าสั่ งศาล ให้ ศาลมี คําสั่ งจํ าหน่ ายคดี ออกจากสารบบความ
ส่ว นเงิน หรื อประกัน ที่ วางไว้ต่อศาลดังกล่ าว เมื่ อศาลเห็ นว่ าไม่ มี
ความจํ าเป็น ต่อไป จะสั่งคืน หรื อยกเลิ กประกัน นั้นก็ ได้ คําสั่งของ
ศาลตามวรรคนี้ให้เป็นที่สุด

ในกรณี ที่ศาลได้มีคําสั่งยกคํ าร้องขอที่ยื่นไว้ตาม


วรรคหนึ่ ง หรื อ วรรคสอง ถ้ า โจทก์ ห รื อ เจ้ า หนี้ ตามคํ า พิ พากษาที่
ได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่นคําร้องขอดังกล่าวเห็นว่าคําร้อง
ขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงการบังคับคดี บุคคลดังกล่าว
อาจยื่นคําร้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคําสั่งยก
คําร้องขอเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ผู้ กล่าวอ้างชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน
สําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตนได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลมี
อํานาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสํานวนต่างหากจากคดีเดิม และ
เมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าคําร้องนั้นฟังได้ ให้ศาลมีคําสั่งให้ผู้กล่าว
381

อ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจํานวนที่ศาลเห็นสมควรถ้าบุคคล
ดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา
อาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่บุคคลนั้นเสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตาม
คําพิพากษา

มาตรา ๓๒๔316[๓๒๒] บุ ค คลใดมี สิ ท ธิ ที่ จ ะ


ได้ รั บ ชํ า ระหนี้ ห รื อ ได้ รั บ ส่ ว นแบ่ ง จากเงิ น ที่ ไ ด้ จ ากการขาย
ทอดตลาดหรื อจํ าหน่ ายโดยวิ ธี อื่น ซึ่งทรั พย์สิ น ของลู กหนี้ตามคํ า
พิ พ ากษาที่ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ไ ด้ ยึ ด ไว้ โ ดยอาศั ย อํ า นาจแห่ ง
ทรัพยสิทธิ บุริมสิทธิ สิทธิยึดหน่วง หรือสิทธิอื่นซึ่งบุคคลนั้นมีอยู่
เหนื อ ทรั พ ย์ สิ น หรื อ อาจร้ อ งขอให้ บั ง คั บ เหนื อ ทรั พ ย์ สิ น นั้ น ตาม
กฎหมาย ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่เป็นผู้รับจํานองทรัพย์สินหรือเป็นผู้
ทรงบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้จดทะเบียนไว้ บุคคลนั้น
อาจยื่นคําร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีก่อนเอาทรัพย์สินนั้น
ออกขายหรือจําหน่าย ขอให้มีคําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

316[๓๒๒]
มาตรา ๓๒๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
382

(ก) ในกรณี ที่ อ าจบั ง คั บ เอาทรั พ ย์ สิ น ซึ่ ง


จํานองหลุด ขอให้เอาทรั พย์สิน ซึ่งจํานองนั้น หลุด ถ้ าศาลมีคําสั่ ง
อนุญาต การยึดทรัพย์ที่จํานองนั้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว

(ข) ในกรณีอื่น ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี


นําเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้นมาชําระหนี้แก่ตน
ก่อนเจ้ าหนี้ อื่น ทั้ งนี้ ตามบทบั ญญั ติแห่ งประมวลกฎหมายแพ่ ง
และพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น

(๒) ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่า
ทรั พ ย์ สิ น ซึ่ ง ขายหรื อ จํ า หน่ า ยนั้ น เป็ น ของเจ้ า ของรวมอั น ได้ จ ด
ทะเบียนไว้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินส่วนของเจ้าของรวมอื่น
นอกจากส่วนของลูกหนี้ตามคําพิพากษาออกจากเงินที่ได้จากการ
ขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้นตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๓๔๐

(๓) ในกรณี ที่ เ ป็ น ผู้ ท รงสิ ท ธิ ยึ ด หน่ ว งซึ่ ง ไม่ มี


บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ขายหรือจําหน่าย บุคคลนั้นอาจยื่นคําร้อง
ขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันขายหรือ
จําหน่ายทรัพย์สินนั้นขอให้นําเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายมา
ชําระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นซึ่งไม่มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น

(๔) ในกรณีอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (๑) (๒) และ


(๓) ผู้ ทรงสิทธิ นั้น อาจยื่ นคํ าร้องขอต่อศาลที่ ออกหมายบั งคับ คดี
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้น ขอให้ตน
ได้รับส่วนแบ่งในเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายหรือขอให้นําเงิน
383

ดังกล่าวมาชําระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่ง


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น

มาตรา ๓๒๕317[๓๒๓] เมื่ อได้ แจ้ งคํ าสั่ งอายั ด


สิ ทธิ เรี ยกร้ องให้ บุ คคลภายนอกตามมาตรา ๓๑๖ แ ล้ ว
บุ ค คลภายนอกนั้ น อาจยื่ น คํ า ร้ อ งคั ด ค้ า นคํ า สั่ ง อายั ด ต่ อ ศาลได้
ภายในสิบห้าวัน

บุคคลผู้จะต้องเสียหายเพราะคําสั่งอายัดอาจยื่น
คําร้องคัดค้านคําสั่งดังกล่าวได้ภายในกําหนดเวลา ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้
ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันทราบคําสั่งอายัด

(๑) ถ้าสิทธิเรียกร้องนั้นเป็นการให้ชําระเงิน ให้ยื่น


คําร้องต่อศาลก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินดังกล่าวทั้งหมด
หรือแต่บางส่วนแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา

(๒) ถ้ าสิ ทธิ เรี ยกร้ องนั้ น เป็ น การให้ ส่ งมอบหรื อ


โอนทรัพย์สิน ให้ยื่นคําร้องต่อศาลก่อนขายทอดตลาดหรือจําหน่าย
โดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น

317[๓๒๓]มาตรา ๓๒๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
384

(๓) ถ้า สิท ธิเ รีย กร้อ งนั ้น เป็น การให้ชํ า ระหนี้
อย่า งอื ่น นอกจาก (๑) และ (๒) ให้ยื ่น คํ า ร้ อ งต่ อ ศาลก่ อ นที่
บุคคลภายนอกจะปฏิบัติการชําระหนี้

เมื่ อศาลสั่ งรับ คําร้ องคั ดค้ านตามวรรคหนึ่ งหรื อ


วรรคสองแล้ว ให้ส่งสําเนาคําร้องแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ลูกหนี้
ตามคําพิพากษา และเจ้าพนั กงานบั งคั บคดี และให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีงดการบังคับตามคําสั่งอายัดไว้ในระหว่างรอคําวินิจฉัยชี้
ขาด เมื่อศาลทําการไต่สวนแล้ว ถ้าเป็นที่พอใจว่าสิทธิเรียกร้องของ
ลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นมีอยู่จริงและอาจบังคับได้ ก็ให้ยกคําร้อง
นั้นเสียและมีคํา สั่ง ให้บุค คลภายนอกปฏิบัติต ามคํา สั่ง อายัด แต่
ถ้าเป็น ที่พอใจว่าคําร้องคัดค้านรับ ฟังได้ ให้ศาลมีคําสั่งถอนการ
อายัดสิทธิเรียกร้อง

ในระหว่างการพิจารณาคําร้องคัดค้านตามวรรค
สาม เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําร้องว่าคําร้องคัดค้านนั้นไม่มี
มู ล แล ะยื่ นเ ข้ า มา เ พื่ อ ปร ะวิ งก าร บั ง คั บค ดี เมื่ อป รา ก ฏ
พยานหลักฐานเบื้องต้นว่าคําร้องนั้นฟังได้ ศาลมีอํานาจสั่งให้ผู้ร้อง
คั ด ค้ า นวางเงิ น หรื อ หาประกั น ต่ อ ศาลตามจํ า นวนและภายใน
ระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร เพื่อเป็นประกันการชําระเงินค่าสินไหม
ทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาสําหรับความเสียหายที่อาจได้รับ
จากการยื่นคําร้องคัดค้านนั้น ถ้าผู้ร้องคัดค้านไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง
ศาลให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคําร้องคัดค้าน ส่วนเงินหรือประกันที่วาง
ไว้ต่อศาลดังกล่าว เมื่อศาลเห็นว่าไม่มีความจําเป็นต่อไป จะสั่งคืน
หรือยกเลิกประกันนั้นก็ได้
385

ถ้ า ศาลได้ มี คํ า สั่ ง ให้ บุ ค คลภายนอกปฏิ บั ติ ต าม


คําสั่งอายัด และบุคคลนั้นมิได้ปฏิบัติตามคําสั่งศาลเจ้าหนี้ตามคํา
พิพากษาอาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกเสมือนหนึ่ง
ว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา

ในกรณีที่คําร้องคัดค้านตามวรรคหนึ่งหรือวรรค
สองไม่ มีมูล และยื่น เข้ ามาเพื่อประวิงการบั งคั บ คดี เจ้ าหนี้ ตามคํ า
พิพากษาอาจยื่นคําร้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลได้มี
คําสั่งยกคํ าร้องคัดค้ านเพื่อขอให้ ศาลสั่งให้ผู้ ร้ องคั ดค้ านชดใช้ ค่า
สินไหมทดแทนสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตนได้ ในกรณีเช่น
ว่านี้ ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสํานวนต่างหากจาก
คดี เดิม และเมื่อศาลไต่ สวนแล้ ว เห็น ว่ าคํ าร้ องนั้ นฟั งได้ ให้ศาลมี
คํ าสั่ งให้ ผู้ ร้ อ งคั ด ค้ า นชดใช้ ค่ าสิ น ไหมทดแทนตามจํ า นวนที่ ศาล
เห็นสมควรถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามคําสั่งศาล เจ้าหนี้ตามคํา
พิพากษาอาจร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่บุคคลนั้นเสมือนหนึ่งว่าเป็น
ลูกหนี้ตามคําพิพากษา

ส่วนที่ ๗

การขอเฉลี่ยและการเข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไป
386

มาตรา ๓๒๖318[๓๒๔] เมื่อมีการยึดทรัพย์สิน


หรืออายัดสิทธิเรียกร้องอย่างใดของลูกหนี้ตามคําพิพากษาเพื่อเอา
ชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษารายหนึ่งแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้
ตามคําพิพากษาอื่นดําเนินการให้มีการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิ
เรียกร้องนั้นซ้ําอีก แต่ให้มีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับ
คดี ขอให้มีคําสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์ สินหรื อเงิน ที่ได้จ ากการ
ขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินจากการยึดหรืออายัดนั้นได้ตามส่วนแห่ง
จํานวนหนี้ตามคําพิพากษา

ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคําร้องเช่นว่านี้ เว้นแต่
ศาลเห็นว่าผู้ ยื่นคําร้องไม่ สามารถเอาชําระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ
ของลูกหนี้ตามคําพิพากษา

ถ้ า เจ้ าพนั ก งานผู้ มี อํา นาจตามกฎหมายว่ า ด้ ว ย


ภาษี อ ากรหรื อ กฎหมายอื่ น ที่ จ ะสั่ ง ยึ ด ทรั พ ย์ สิ น หรื อ อายั ด สิ ท ธิ
เรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษา เพื่อบังคับชําระหนี้ที่ค้างชําระ
ตามกฎหมายนั้น ๆ ได้เองได้ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้อง
ตามวรรคหนึ่งไว้ก่อนแล้ว ให้มีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยได้โดยไม่อยู่ภายใน
บังคับของบทบัญญัติวรรคสอง แต่ถ้าเจ้าพนักงานดังกล่าวมิได้ยึด
หรืออายัดไว้ก่อน ให้มีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยได้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคํา
พิพากษาอื่น

318[๓๒๔]มาตรา ๓๒๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
387

ในกรณี ที่ ยึ ด ทรั พ ย์ สิ น เพื่ อ ขายทอดตลาดหรื อ


จําหน่ายโดยวิธีอื่น คําร้องเช่นว่านี้ให้ยื่นก่อนสิ้นระยะเวลาสิบห้าวัน
นั บ แต่ วั น ที่ มี ก ารขายทอดตลาดหรื อ จํ า หน่ า ยทรั พ ย์ สิ น ที่ ข าย
ทอดตลาดหรือจําหน่ายได้ในครั้งนั้น ๆ

ในกรณี ที่ อ ายั ด สิ ท ธิ เ รี ย กร้ อ ง ให้ ยื่ น คํ า ร้ อ ง


เสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันชําระเงินหรือวันที่มีการ
ขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งสิทธิเรียกร้องตามที่อายัด
นั้นได้

ในกรณี ที่ ยึ ด เงิ น ให้ ยื่ น คํ า ร้ อ งเช่ น ว่ า นี้ ก่ อ นสิ้ น


ระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันยึด

เมื่ อ ได้ ส่ ง สํ า เนาคํ า ร้ อ งดั งกล่ า วให้ เจ้ า พนั ก งาน


บังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการจ่ายเงินหรือทรัพย์สิน
ตามคําบังคับตั้งแต่การขาย การจําหน่าย หรือการชําระเงินตามที่ได้
อายั ดในครั้ งที่ขอเฉลี่ย นั้ น แล้ ว แต่ กรณี ไว้จ นกว่ าศาลจะได้ มีคํา
วินิจฉัยชี้ขาด เมื่อศาลได้มีคําสั่งประการใดและส่งให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีทราบแล้ว ก็ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามคําสั่ง
เช่นว่านั้น
388

มาตรา ๓๒๗319[๓๒๕] ในกรณีที่มีก ารถอน


การบังคับ คดี ให้เ จ้า พนัก งานบังคับ คดีส่ง คํา บอกกล่าวถอนการ
บั ง คั บ คดี ให้ ผู้ ยื่ น คํ าร้ อ งขอซึ่ ง ได้ รั บ อนุ ญ าตจากศาลตามมาตรา
๓๒๔ หรือเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๒๖ ทราบ
โดยไม่ ชั กช้ า โดยบุ คคลดั งกล่ าวอาจขอเข้ าดํ าเนิ น การบั งคั บ คดี
ต่อไปจากเจ้าหนี้ผู้ขอยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้อง โดยยื่น
คําร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันส่งคําบอก
กล่ า วถึ ง บุ ค คลเช่ น ว่ า นั้ น ถ้ า มี ผู้ ยื่ น คํ า ร้ อ งภายในกํ า หนดเวลา
ดังกล่าว ให้ผู้นั้นเป็นผู้ขอดําเนินการบังคับคดีต่อไป ถ้าไม่มีผู้ยื่นคํา
ร้องภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการ
ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้น

ในกรณีที่มีผู้ยื่นคําร้องหลายคน ให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีออกหมายเรียกให้ผู้ยื่นคําร้องทุกคนมาทําความตกลงกัน
เลือกคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีต่อไป แต่ต้องแจ้งให้
ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ให้ผู้ยื่น
คํ า ร้ อ งซึ่ ง มาตามหมายเรี ย กและมี จํ า นวนหนี้ ม ากที่ สุ ด เป็ น
ผู้ดําเนินการบังคับคดีต่อไป ถ้าผู้ยื่นคําร้องดังกล่าวมีจํานวนหนี้มาก
ที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ผู้ยื่นคําร้องซึ่งมีหนี้รายเก่าที่สุดเป็นผู้เข้า
ดําเนิ นการบังคั บคดีต่อไป ในกรณี ที่ผู้ ยื่น คําร้องรายใดไม่มาตาม

319[๓๒๕]
มาตรา ๓๒๗ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
389

หมายเรี ย กให้ ถื อ ว่ า ผู้ ยื่ น คํ า ร้ อ งรายนั้ น สละสิ ท ธิ ที่ จ ะเป็ น ผู้ เ ข้ า


ดําเนินการบังคับคดีต่อไป

ในกรณีที่มีการเข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไป ให้
ถือว่าผู้ขอเข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไปเป็นเจ้าหนี้ผู้ขอยึดทรัพย์สิน
หรืออายัดสิทธิเรียกร้อง และให้ศาลที่ออกหมายบังคับคดีในคดีที่มี
การถอนการบังคับคดีเป็นศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้
ผู้เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไปจะขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่ถูก
บังคับคดีไว้เดิมแต่เพียงบางส่วน ซึ่งเพียงพอแก่การชําระหนี้ของ
บรรดาเจ้าหนี้ตามวรรคหนึ่งพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชา
ธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้ยื่นคําร้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงาน
บังคับคดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไป ใน
กรณี เ ช่ น ว่ า นี้ ให้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี มี คํ า สั่ ง อนุ ญ าตหรื อ ไม่
อนุญาตตามคําร้องหรือมีคําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เจ้าพนักงาน
บังคับคดีเห็นสมควรโดยคํานึงถึงส่วนได้เสียของบรรดาเจ้าหนี้ตาม
วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ผู้เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไปอาจร้องคัดค้าน
คําสั่ งของเจ้ าพนักงานบั งคั บคดีต่อศาลได้ ภายในสิ บห้ าวั นนั บแต่
วันที่ได้ทราบคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี

สํ า หรั บ เจ้ าหนี้ ผู้ ข อยึ ด ทรั พ ย์ สิ น หรื อ อายั ด สิ ท ธิ


เรียกร้องที่มีการถอนการบังคับคดีนั้น

(๑) ถ้าเป็นการถอนการบังคับคดีเพราะตนได้สละ
สิทธิในการบังคับคดีตามมาตรา ๒๙๒ (๖) ไม่มีสิทธิได้รับส่วนเฉลี่ย
390

ในทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินในการ
บังคับคดี

(๒) ถ้ า เป็ น การถอนการบั ง คั บ คดี ต ามมาตรา


๒๙๒ (๔) แต่ ยั ง มี ห นี้ ตามคํ า พิ พากษาอยู ่อ าจยื ่น คํ า ร้อ งต่อ ศาล
ขอให้มีคําสั่งให้ตนได้รับ ชําระจากเงิน ที่เหลือภายหลังที่ได้ชําระ
ให้แ ก่เ จ้า หนี ้ผู ้ข อเฉลี ่ย แล้ ว ในฐานะเดี ย วกั น กั บผู้ ยื่ น คํ าร้ องตาม
มาตรา ๓๒๙ (๑)

(๓) ถ้ า เป็ น การถอนการบั ง คั บ คดี เ พราะหมาย


บังคับคดีได้ถูกเพิกถอนหรือในกรณีอื่นนอกจาก (๑) และ (๒) แต่ยัง
มีหนี้ตามคําพิพากษาอยู่ อาจยื่นคําร้องต่อศาลขอให้มีคําสั่งให้ตนมี
สิ ท ธิ ไ ด้ รั บ ส่ ว นเฉลี่ ย ในทรั พ ย์ สิ น หรื อ เงิ น ที่ ไ ด้ จ ากการขายหรื อ
จํ า หน่ า ยทรั พ ย์ สิ น ในการบั ง คั บ คดี ค รั้ ง นี้ ก่ อ นการจ่ า ยเงิ น ตาม
มาตรา ๓๓๙ หรื อ ก่ อ นส่ ง คํ า บอกกล่ า วตามมาตรา ๓๔๐ (๓)
แล้วแต่กรณี

ม า ต ร า ๓ ๒ ๘ 320[ ๓ ๒ ๖ ] เ จ ้า ห นี ้ผู ้เ ข ้า
ดํา เนิน การบัง คับ คดีต่อ ไปตามมาตรา ๓๒๗ อาจยื่น คํา ร้องต่อ
ศาลที่ มี อํ า นาจในการบั ง คั บ คดี ใ ห้ โ อนการบั ง คั บ คดี ไ ปยั ง ศาลที่

320[๓๒๖]
มาตรา ๓๒๘ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
391

พิ พ ากษาคดี ซึ่ ง ตนเป็ น เจ้ า หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาได้ แ ละเมื่ อ ได้


พิจารณาคําร้องดังกล่าวแล้ว ถ้าศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีเห็น
ว่าการบังคับคดีในศาลที่จะรับโอนการบังคับคดีจะเป็นการสะดวก
แก่ทุกฝ่ายและได้รับความยินยอมของศาลที่จะรับโอนแล้ว ให้ศาลมี
คําสั่งอนุญาตให้โอนการบังคับคดีไปได้ คําสั่งของศาลตามมาตรานี้
ให้เป็นที่สุด

ในกรณีที่มีการโอนการบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้
ถือว่าศาลที่รับโอนเป็นศาลตามมาตรา ๒๗๑ วรรคหนึ่ง

มาตรา ๓๒๙321[๓๒๗] ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคํา


พิ พ ากษามิ ได้ ยื่ น คํ า ร้ องขอเฉลี่ ย ภายในกํ าหนดเวลาตามมาตรา
๓๒๖ หรื อ ศาลได้ ย กคํ า ร้ อ งขอเฉลี่ ย เพราะเหตุ ที่ ยื่ น ไม่ ทั น
กําหนดเวลาดังกล่าว เจ้าหนี้ตามคําพิพากษานั้นอาจยื่นคําร้องต่อ
ศาลเพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(๑) ให้ ต นมี สิ ท ธิ ไ ด้ รั บ ชํ า ระจากเงิ น ที่ เ หลื อ


ภายหลั ง ที่ ไ ด้ ชํ า ระให้ แ ก่ เ จ้ า หนี้ ผู้ ข อยึ ด ทรั พย์ สิ นหรื ออายั ดสิ ทธิ
เรียกร้องนั้นและเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยตามมาตรา ๓๒๖ หรือมาตรา ๓๒๗
แล้วแต่กรณี

321[๓๒๗]
มาตรา ๓๒๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
392

(๒) ในกรณี ที่มี การถอนการบั ง คั บ คดี และไม่ มี


เจ้าหนี้เข้าดําเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๓๒๗ ให้ถือว่าตน
เป็นเจ้าหนี้ผู้ดําเนินการบังคับคดีต่อไปจากเจ้าหนี้ผู้ขอยึดทรัพย์สิน
หรืออายัดสิทธิเรียกร้องที่มีการถอนการบังคับคดีตั้งแต่วันที่มีการ
ถอนการบังคับคดี

คําร้องตาม (๑) ให้ยื่นก่อนการจ่ายเงินตามมาตรา


๓๓๙ หรือก่อนส่งคําบอกกล่าวตามมาตรา ๓๔๐ (๓) แล้วแต่กรณี

คําร้องตาม (๒) ให้ยื่นก่อนมีการถอนการบังคับคดี

ในกรณีที่มีผู้ยื่นคําร้องตาม (๒) ให้นําบทบัญญัติ


มาตรา ๓๒๗ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้ บั งคั บโดย
อนุโลม ถ้ามีผู้ยื่นคําร้องตาม (๒) หลายคน ให้ถือว่าผู้ยื่นคําร้องราย
อื่นนอกจากผู้ยื่นคําร้องซึ่งได้รับเลือกหรือกฎหมายกําหนดให้เป็น
ผู้ ดําเนิ น การบั งคั บ คดี ต่ อไป และเจ้ าหนี้ ซึ่งมิ ไ ด้ ยื่ น คํ าร้ องขอเข้ า
ดํ าเนิ น การบั งคั บ คดี ต่ อไปตามมาตรา ๓๒๗ เป็ น เจ้ าหนี้ ที่มีสิ ท ธิ
ได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการขายหรือจําหน่าย
ทรัพย์สินในคดีนั้นด้วย
393

มาตรา ๓๓๐322[๓๒๘] คําสั่งของศาลตามมาตรา


๓๒๗ วรรคสามและวรรคสี่ และมาตรา ๓๒๙ ให้เป็นที่สุด

ส่วนที่ ๘

การขายหรือจําหน่าย

มาตรา ๓๓๑323[๓๒๙] ภายใต้ บั ง คั บ มาตรา


๓๓๒ และมาตรา ๓๓๖ เมื่อได้ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้อง
ทั้งหมดหรือบางส่ วนของลูกหนี้ตามคําพิ พากษา หรือได้มีการส่ ง
มอบทรัพย์สินตามสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี
แล้ ว ถ้ า ไม่ มี เหตุ ส มควรงดการบั งคั บ คดี ไ ว้ ก่อ น ให้ เ จ้ า พนั กงาน
บังคับคดีดําเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎกระทรวงว่าด้วยการ

322[๓๒๘]มาตรา ๓๓๐ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

323[๓๒๙]มาตรา ๓๓๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
394

นั้ น หรื อ ตามที่ ศ าลมี คํ า สั่ ง กํ า หนด หรื อ ขายโดยวิ ธี ก ารทาง


อิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

ก่ อ นการขายทอดตลาดทรั พ ย์ สิ น หรื อ สิ ท ธิ
เรียกร้องตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งกําหนดวัน
เวลา และสถานที่ซึ่งจะทําการขายทอดตลาดให้บรรดาผู้มีส่วนได้
เสียในการบังคับคดีซึ่งปรากฏตามทะเบียนหรือประการอื่นได้ทราบ
ด้วย โดยจะทําการขายทอดตลาดในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ
นอกเวลาทําการปกติก็ได้ ทั้งนี้ กําหนดวันและเวลาขายดังกล่าว
จะต้ อ งไม่ น้ อ ยกว่ า หกสิ บ วั น นั บ แต่ วั น ยึ ด อายั ด หรื อ ส่ ง มอบ
ทรัพย์สินนั้น

เพื่อให้การขายทอดตลาดเป็นไปด้วยความเที่ยง
ธรรม บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีมีสิทธิเต็มที่ในการเข้าสู้
ราคาเองหรื อ หาบุ ค คลอื่ น เข้ า สู้ ร าคาเพื่ อ ให้ ไ ด้ ร าคาตามที่ ต น
ต้องการ และเมื่ อเจ้ าพนักงานบั งคั บคดีเคาะไม้ ขายให้แก่ผู้ เสนอ
ราคาสู ง สุ ด แล้ ว ห้ า มมิ ใ ห้ บุ ค คลผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ในการบั ง คั บ คดี
ทั้งหลายหยิบยกเรื่องราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดมีจํานวนต่ํา
เกินสมควรมาเป็นเหตุขอให้มีการเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นอีก
395

มาตรา ๓๓๒324[๓๓๐] ในกรณีที่ทรัพย์สินหรือ


สิทธิเรียกร้องที่จะขายหรือจําหน่ายมีสภาพเป็นของสดของเสียได้
หรือถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายจะ
เกินส่วนแห่งค่าของทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้น ให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีขายหรือจําหน่ายได้ทันทีโดยวิธีขายทอดตลาดหรือวิธีอื่นที่
สมควร

ในกรณีที่การขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินที่ถูกยึด
หรือที่ได้มีการส่งมอบตามคําสั่งอายัดกระทําได้โดยยาก หรือการ
ขายหรือจําหน่ายสิทธิเรียกร้องนั้นกระทําได้โดยยากเนื่องจากการ
ชํ าระหนี้ นั้ น ต้ องอาศั ย การชํ าระหนี้ ตอบแทนหรื อด้ ว ยเหตุ อื่นใด
และการบังคับคดีอาจล่าช้าเป็นการเสียหายแก่คู่ความทุกฝ่ายหรือ
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือแก่บุคคลผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับ
คดีเห็นสมควรหรือคู่ความหรือบุคคลเช่นว่านั้นร้องขอ เจ้าพนักงาน
บังคับคดีจะมีคําสั่งกําหนดให้จําหน่ายโดยวิธีการอื่นใดที่สมควรก็ได้
ทั้งนี้ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอาจคัดค้านคําสั่งหรือการ
ดําเนินการของเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยยื่นคําร้องต่อศาลภายใน
สองวันนับแต่วันที่ได้ทราบคําสั่งหรือการดําเนินการนั้น คําสั่งของ
ศาลให้เป็นที่สุด

324[๓๓๐] มาตรา ๓๓๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
396

มาตรา ๓๓๓325[๓๓๑] ในการขายทอดตลาด


ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
ปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) ในการขายทรัพย์สิ นที่มีหลายสิ่ งด้วยกัน ให้


แยกขายทีละสิ่งต่อเนื่องกันไป แต่

(ก) เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี มี อํ า นาจจั ด


สังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาเล็กน้อยรวมขายเป็นกอง ๆ ได้เสมอ

(ข) เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี มี อํ า นาจจั ด


สังหาริ มทรัพย์ หรืออสั งหาริมทรัพย์ สองสิ่งหรือกว่ านั้นขึ้นไปรวม
ขายไปด้วยกันได้ ในเมื่อเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ในการขาย
จะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น

(๒) ในการขายอสังหาริมทรั พย์ซึ่งอาจแบ่ งแยก


ออกได้เป็นส่วน ๆ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจขายทรัพย์สินนั้น
เป็นส่วน ๆ ได้ ในเมื่อเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ในการขาย
ทรั พย์ สิน บางส่ วนจะเพี ยงพอแก่ การบังคับ คดี หรือว่าเงิ นรายได้
ทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น

325[๓๓๑] มาตรา ๓๓๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
397

(๓) ในการขายทรั พ ย์ สิ น หลายสิ่ ง ด้ ว ยกั น เจ้ า


พนักงานบังคับคดีมีอํานาจกําหนดลําดับที่จะขายทรัพย์สินนั้น

บุค ค ล ผู ้ม ีส ่ว น ไ ด้เ สีย ใ น ก า ร บัง คับ ค ดีแ ก่


ทรัพย์สิน ซึ่ง จะต้อ งขาย อาจร้องขอให้เ จ้าพนักงานบังคับคดีรวม
หรือแยกทรัพย์สิน หรือขอให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลําดับที่กําหนด
ไว้ หรือจะร้องคัดค้านคําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สั่งตามวรรค
หนึ่งก็ได้ การยื่นคําร้องตามมาตรานี้ต้องกระทําก่อนวันทําการขาย
ทอดตลาดแต่ต้องไม่ช้ากว่าสามวันนับแต่ทราบวิธีการขาย ในกรณีที่
เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคําร้องขอหรือคําคัดค้าน
เช่นว่านั้น ผู้ร้องจะยื่นคําร้องต่อศาลภายในสองวันนับแต่วันปฏิเสธ
เพื่อขอให้ มีคําสั่งชี้ขาดในเรื่องนั้ นก็ ได้ คําสั่งของศาลให้เป็น ที่สุ ด
และให้เจ้าพนั กงานบั งคั บคดีเลื่ อนการขายไปจนกว่าศาลจะได้ มี
คําสั่ง หรือจนกว่าจะได้พ้นระยะเวลาซึ่งให้นําเรื่องขึ้นสู่ศาลได้

มาตรา ๓๓๔326[๓๓๒] เมื่อเจ้าพนักงานบังคับ


คดีโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ หากทรัพย์สินที่โอนนั้นมี
ลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาหรื อ บริ ว ารอยู่ อ าศั ย และลู ก หนี้ ต ามคํ า
พิพากษาหรือบริวารไม่ย อมออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ซื้อ
ชอบที่จะยื่นคําขอฝ่ายเดียวต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ใน
326[๓๓๒]มาตรา ๓๓๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
398

เขตศาลให้ออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา
หรื อ บริ ว ารออกไปจากอสั งหาริ มทรั พย์ นั้ นโดยให้ นํ า บทบั ญ ญั ติ
มาตรา ๒๗๑ มาตรา ๒๗๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๕๑ มาตรา ๓๕๒
มาตรา ๓๕๓ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง มาตรา ๓๕๔ มาตรา
๓๖๑ มาตรา ๓๖๒ มาตรา ๓๖๓ และมาตรา ๓๖๔ มาใช้บังคับโดย
อนุโลม ทั้งนี้ ให้ถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา และลูกหนี้
ตามคําพิพากษาหรือบริวารที่อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็น
ลูกหนี้ตามคําพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าว

มาตรา ๓๓๕327[๓๓๓] เมื่อทําการขายทอดตลาด


ทรัพย์สินที่มีกฎหมายกําหนดไว้ให้จดทะเบียนให้เจ้าพนักงานบังคับ
คดีแจ้งนายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจ
หน้าที่ตามกฎหมายให้ดําเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
ทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ซื้อ

ถ้าทรัพย์ สินที่จะขายทอดตลาดเป็นห้องชุดตาม
กฎหมายว่ า ด้ ว ยอาคารชุ ด ก่ อ นทํ า การขายทอดตลาด ให้ เ จ้ า
พนักงานบังคับคดีบอกกล่าวให้นิติบุคคลอาคารชุดแจ้งรายการหนี้
ค่าใช้จ่ายที่ต้องชําระเพื่อการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตาม
กฎหมายว่าด้วยอาคารชุดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในสามสิบ
327[๓๓๓] มาตรา ๓๓๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
399

วั น นั บ แต่ วั น ที่ ได้ รั บ คํ า บอกกล่ าว เมื่ อ ขายทอดตลาดแล้ ว ให้ เจ้ า


พนักงานบังคับคดีกัน เงิน ที่ได้จ ากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชําระ
หนี ้ที ่ค ้า งชํ า ระดัง กล่า วจนถึง วัน ขายทอดตลาดแก่น ิต ิบ ุค คล
อาคารชุด ก่อ นเจ้า หนี ้จํ า นอง และให้พ นัก งานเจ้า หน้า ที ่จ ด
ทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการ
ปลอดหนี้

หากนิติบุคคลอาคารชุดไม่แจ้งรายการหนี้ที่ค้าง
ชําระดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในกําหนดเวลาตามวรรค
สองหรือแจ้งว่าไม่มีหนี้ที่ค้างชําระ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียน
โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการปลอดหนี้

ถ้าทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดเป็นที่ดินจัดสรร
ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ก่อนทําการขายทอดตลาด ให้
เจ้ าพนั กงานบั งคั บ คดี บ อกกล่ าวให้ นิ ติบุ คคลหมู่ บ้ านจั ดสรรแจ้ ง
รายการหนี้ ค่ า บํ า รุ ง รั ก ษาและการจั ด การสาธารณู ป โภคพร้ อ ม
ค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินต่อเจ้าพนักงานบังคับ
คดีภ ายในสามสิบ วัน นับ แต่ว ัน ที ่ไ ด้ร ับ คํ า บอกกล่า ว เมื ่อ ขาย
ทอดตลาดแล้ว ให้เ จ้า พนักงานบั งคับคดีกันเงิ นที่ได้ จากการขาย
ทอดตลาดไว้ เ พื่ อ ชํ า ระหนี้ ที่ ค้ า งชํ า ระดั ง กล่ า วจนถึ ง วั น ขาย
ทอดตลาดแก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก่อนเจ้าหนี้จํานอง และให้
พนั กงานเจ้ าหน้ าที่ จ ดทะเบี ย นโอนสิ ทธิ ในที่ ดินให้ แก่ ผู้ ซื้อ ทั้ งนี้
หากมีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไว้ ให้การระงับ
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็นอันยกเลิกไป
400

หากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่แจ้งรายการหนี้ที่
ค้างชําระดังกล่ าวต่อเจ้ าพนักงานบัง คับ คดีภ ายในกํา หนดเวลา
ตามวรรคสี่ห รือแจ้ง ว่าไม่มีห นี้ที่ค้า งชํา ระ หรือในกรณีที่ยังมิไ ด้
จัด ตั้ง นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียน
โอนสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งนี้ หากมีการระงับการจดทะเบียนสิทธิ
และนิติกรรมไว้ ให้การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็น
อันยกเลิกไป

การจ่ายเงินที่กันไว้ตามวรรคสองและวรรคสี่ ให้
เป็นไปตามบทบัญญัติในส่วนที่ ๑๐ การทําบัญชีส่วนเฉลี่ย และส่วน
ที่ ๑๑ เงินค้างจ่าย ของหมวดนี้

ส่วนที่ ๙

การตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการ
ขายหรือจําหน่าย
401

ม า ต ร า ๓ ๓ ๖ 328[๓๓๔] ถ้า ร า ย ไ ด้จ า ก


อสัง หาริม ทรัพ ย์ห รือ การประกอบอุต สาหกรรม พาณิช ยกรรม
เกษตรกรรม หรื อ การประกอบกิ จ การอื่ น ใดของลู ก หนี้ ต ามคํ า
พิพากษาอาจเพียงพอที่จะชําระหนี้ตามคําพิพากษาพร้อมด้วยค่า
ฤชาธรรมเนียม และค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ภายในเวลา
อันสมควรเมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อลูกหนี้ตามคําพิพากษาร้อง
ขอ และไม่มีข้อเท็จจริงว่าจะเป็นการประวิงการชําระหนี้ ศาลอาจมี
คําสั่งตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือผู้จัดการกิจการเหล่านั้น โดย
มอบเงิน รายได้ ทั้งหมดหรือแต่ บางส่ วนแก่ เจ้าพนั กงานบังคั บ คดี
ภายในเวลาและเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรกําหนดแทนการขายหรือ
จําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้

ส่วนที่ ๑๐

การทําบัญชีส่วนเฉลี่ย

328[๓๓๔] มาตรา ๓๓๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
402

มาตรา ๓๓๗329[๓๓๕] ให้เจ้าพนั กงานบังคั บ


คดีทําบัญชีรายละเอียดแสดงจํานวนเงินทั้งหมดที่ได้มาจากการยึด
อายัด ขาย หรือจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือที่
ได้วางไว้แก่ตน นอกจากนี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทําบัญชีพิเศษ
สําหรับจํานวนเงินที่ได้มาจากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินแต่ละ
รายซึ่งอยู่ในบังคับแห่งทรัพยสิทธิ บุริมสิทธิ สิทธิยึดหน่วง หรือสิทธิ
อื่นซึ่งได้มีการแจ้งให้ทราบหรือปรากฏแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว
ตามมาตรา ๓๒๔

ถ้ า ประมวลกฎหมายนี้ ห รื อ กฎหมายอื่ น มิ ไ ด้
บัญญั ติไว้ เป็น อย่างอื่ น ให้เจ้ าพนั กงานบั งคั บ คดีจั ดสรรหรือแบ่ ง
เฉลี่ยเงินตามวรรคหนึ่งดังบัญญัติไว้ในมาตราต่อไปนี้

มาตรา ๓๓๘330[๓๓๖] ในกรณีที่จะต้องบังคับ


คดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งซึ่งได้พิพากษาหรือสั่งโดยจําเลยขาด
นัดนั้น ห้ามมิให้จัดสรรหรือแบ่งเฉลี่ยเงินที่ได้มาจนกว่าระยะเวลา
หกเดือนนับ แต่วันยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้

329[๓๓๕] มาตรา ๓๓๗ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

330[๓๓๖] มาตรา ๓๓๘ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
403

ตามคําพิพากษาจะได้ล่วงพ้นไปแล้ว เว้นแต่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา
จะแสดงให้เ ป็น ที่พ อใจแก่ศ าลได้ว่า ลูก หนี ้ต ามคํ า พิพ ากษาได้
ทราบถึงการที่ถูกฟ้องนั้นแล้ว

มาตรา ๓๓๙331[๓๓๗] ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตาม


คําพิพากษาคนเดียวร้องขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม
คําพิพากษาและไม่มีกรณีตามมาตรา ๓๒๔ เมื่อได้ขายทอดตลาด
หรือจําหน่ ายโดยวิ ธีอื่นซึ่งทรั พย์ สินนั้นเสร็จและได้ หักค่าฤชาธรรม
เนี ยมในการบังคั บคดีไว้แล้ ว ให้ เจ้าพนั กงานบั งคั บ คดี จ่ายเงิ นตาม
จํานวนหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมตามคําพิพากษาให้แก่เจ้าหนี้ตาม
คําพิพากษาเท่าที่เงินรายได้จํานวนสุทธิจะพอแก่การที่จะจ่ายให้ได้

มาตรา ๓๔๐332[๓๓๘] ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตาม


คําพิพากษาหลายคนร้องขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม
คําพิพากษาหรือในกรณีตามมาตรา ๓๒๔ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับ

331[๓๓๗] มาตรา ๓๓๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

332[๓๓๘] มาตรา ๓๔๐ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
404

คดีได้ ขายทอดตลาดหรื อจําหน่ายโดยวิธี อื่นซึ่ งทรั พย์สิ นนั้น เสร็ จ


แล้ว ให้ดําเนินการดังนี้

(๑) หักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีไว้ แต่ถ้า


ทรัพย์สินนั้นเป็นของเจ้าของรวม ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงิน
ส่วนของเจ้าของรวมอื่นนอกจากส่วนของลูกหนี้ตามคําพิ พากษา
ออกจากเงิ นที่ ได้จ ากการขายหรือจํ าหน่ ายทรัพย์ สิน นั้ นเสี ยก่ อน
แล้วจึงหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีจากเงินเฉพาะส่วนของ
ลูกหนี้ตามคําพิพากษา

(๒) จัดทําบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจํานวนเงินที่จ่าย
ให้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือผู้ทรงสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้นแต่
ละคนจากเงิ น จํ า นวนสุ ท ธิ ที่ พ อแก่ ก ารที่ จ ะจ่ า ยให้ ต ามสิ ทธิ ข อง
บุ ค คลเช่ น ว่ านั้ น ตามบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง ประมวลกฎหมายแพ่ ง และ
พาณิชย์ ประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นโดยให้แสดงจํานวน
เงินที่กันส่วนให้แก่เจ้าของรวมไว้ในบัญชีดังกล่าวด้วย

(๓) ส่งคําบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ตามคําพิพากษา
เจ้าของรวม และบุคคลตาม (๒) ขอให้ตรวจสอบบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้น
และให้ ยื่ นคํ าแถลงคั ดค้ านได้ ภายในสิ บห้ าวั นนั บแต่ วั นส่ งคํ าบอก
กล่าว

ถ้าไม่ มีคําแถลงคั ดค้านภายในกํ าหนดเวลาตาม


(๓) ให้ถือว่าบัญชีส่วนเฉลี่ยดังกล่าวเป็นที่สุดและให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีจ่ายเงินให้แก่บุคคลตามบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้น
405

มาตรา ๓๔๑333[๓๓๙] ในกรณีที่มีผู้ยื่นคําแถลง


คัดค้านตามมาตรา ๓๔๐ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายเรีย ก
เจ้า หนี ้ต ามคํ า พิพ ากษาทุก คน ผู ้ท รงสิท ธิเ หนือ ทรัพ ย์ส ิน นั ้น
เจ้าของรวม และลูกหนี้ตามคําพิพากษา มาชี้แจงในเวลาและ ณ
สถานที่ที่กําหนด โดยต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน
บุคคลดังกล่าวจะไปตามหมายเรียกด้วยตนเองหรือจะมอบให้ผู้รับ
มอบอํานาจไปกระทําการแทนก็ได้

เมื่อได้ตรวจพิจารณาคําแถลงคัดค้านและได้ฟังคํา
ชี้แจงของผู้ซึ่งมาตามหมายเรียกแล้ ว ให้ เจ้าพนั กงานบั งคับ คดี ทํา
คําสั่งยืนตามหรือแก้ไขบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้นแล้วอ่านคําสั่งดังกล่าวให้ผู้
ซึ่งมาตามหมายเรียกฟังและให้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้

ในกรณีที่ไม่อาจทําคําสั่งได้ภายในวันที่กําหนด ให้
เจ้ าพนั กงานบั งคั บ คดี แจ้ ง ให้ ผู้ ซึ่งมาตามหมายเรี ย กหรื อตามนั ด
ทราบวันนัดฟังคําสั่งที่เลื่อนไปและให้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้

ถ้าบุคคลตามวรรคหนึ่งมิได้ไปตามหมายเรียกหรือ
ตามนัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ถือว่าได้ทราบวันนัดและคําสั่ง
ของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว

333[๓๓๙] มาตรา ๓๔๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
406

มาตรา ๓๔๒334[๓๔๐] ในกรณีที่เจ้าพนักงาน


บังคับคดีมีคําสั่งยืนตามบัญชีส่วนเฉลี่ย ผู้ซึ่งได้ยื่นคําแถลงคัดค้าน
ตามมาตรา ๓๔๐ อาจยื่น คําร้องคั ดค้ านคําสั่งดังกล่ าวต่อศาลได้
ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้อ่านคําสั่ง

ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งแก้ไขบัญชี
ส่ ว นเฉลี่ ย บุ ค คลตามมาตรา ๓๔๑ อาจยื่ น คํ า ร้ อ งคั ดค้ านคํ า สั่ ง
ดังกล่าวต่อศาลได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้อ่านคําสั่ง

ในกรณีที่มีผู้ยื่นคําร้องคัดค้านตามวรรคหนึ่งหรือ
วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการจ่ายส่วนเฉลี่ยไปก่อน
จนกว่าศาลจะได้มีคําสั่งหรือทําการจ่ายส่วนเฉลี่ยชั่วคราวตามมาตรา
๓๔๓

ถ้าไม่มีผู้ยื่นคําร้องคัดค้านตามวรรคหนึ่งหรือวรรค
สองให้ถือว่าบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้นเป็นที่สุด และให้เจ้าพนักงานบังคับ
คดีจ่ายเงินให้แก่บุคคลตามบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้น

คําสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด

334[๓๔๐] มาตรา ๓๔๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
407

มาตรา ๓๔๓335[๓๔๑] เมื่อเจ้าพนักงานบังคับ


คดี เ ห็ น ว่ า ถ้ า จะเลื่ อ นการจ่ า ยส่ ว นเฉลี่ ย ไปจนกว่ า ได้ จํ า หน่ า ย
ทรั พ ย์ สิ น ที่ ป ระสงค์ จ ะบั ง คั บ ทั้ ง หมดหรื อ จนกว่ า การเรี ย กร้ อ ง
ทั้งหมดที่มาสู่ศาลได้เสร็จเด็ดขาดแล้วจะทําให้บุคคลผู้มีส่วนเฉลี่ย
ในเงินรายได้แห่งทรัพย์สินที่บังคับนั้นทุกคนหรือคนใดคนหนึ่งได้รับ
ความเสียหายเจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิที่จะแบ่งเงินรายได้เท่าที่
พอแก่การที่จะจ่ายให้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๔๐ มาตรา ๓๔๑
และมาตรา ๓๔๒ ได้ ในเมื่ อ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ไ ด้ กั น เงิ น ไว้
สําหรับชําระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีทั้งหมดที่เกิดขึ้นหรือ
จะเกิ ด ขึ้ น ต่ อ ไป และสํ า หรั บ ชํ า ระการเรี ย กร้ อ งใด ๆ ที่ ยั ง มี ข้ อ
โต้แย้งไว้แล้ว

มาตรา ๓๔๔336[๓๔๒] เมื่ อผู้ มีส่ ว นได้ เสี ยใน


การบังคับคดีทุกคนได้รับส่วนแบ่งเป็นที่พอใจแล้ว ถ้ายังมีเงินที่ได้
จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินเหลืออยู่หลังจากที่ได้หักค่าฤชา

335[๓๔๑]มาตรา ๓๔๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

336[๓๔๒]มาตรา ๓๔๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
408

ธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้วและเงินเช่นว่านั้นอยู่ในบังคับที่จะต้อง
จ่ายแก่ เจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาตามมาตรา ๓๒๙ หรื อถู กอายัดโดย
ประการอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินส่วนที่เหลือนั้นตาม
มาตรา ๓๒๙ หรือตามคําสั่งอายัดสิทธิเรียกร้อง แล้วแต่กรณี

ถ้ า เงิ น รายได้ จํ า นวนสุ ทธิ ที่ ได้ จ ากการขายหรื อ


จําหน่ายทรัพย์สินนั้ นไม่ต้องการใช้สํ าหรับการบังคับคดีต่อไปก็ ดี
หรือมีเงินได้จากการขายหรือจําหน่ายทรัพย์สินเหลืออยู่หลังจากที่
ได้หักชําระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีและจ่ายให้แก่เจ้าหนี้
ทุกคนเป็นที่พอใจแล้วก็ดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินรายได้
จํานวนสุทธิหรือส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา และถ้า
ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกต้องถูกจําหน่ายไปเพื่อประโยชน์แก่
ลูกหนี้ ตามคํ าพิ พากษา ให้ จ่ ายเงิ น รายได้ จํ านวนสุ ทธิ ห รื อส่ ว นที่
เหลืออยู่แก่บุคคลภายนอกนั้น

ถ้าได้มีการขายทรัพย์สินรายใดตามมาตรา ๓๒๓
ไปแล้ว และได้มีคําพิพากษาถึงที่ สุดเป็นคุณแก่ผู้เรียกร้อง ให้เจ้ า
พนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่ได้จากการขายแก่ผู้เรียกร้องไป

ส่วนที่ ๑๑

เงินค้างจ่าย
409

มาตรา ๓๔๕337[๓๔๓] บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้าง


จ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอา
ภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน

หมวด ๓

การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง

มาตรา ๓๔๖338[๓๔๔] การบังคับคดีในกรณีที่


คําพิ พากษาหรื อคําสั่ งของศาลกํ าหนดให้ ลู กหนี้ ตามคํ าพิ พากษา
ส่งคื น หรื อส่ งมอบทรั พย์ เฉพาะสิ่ งแก่ เจ้ าหนี้ ตามคํ าพิ พากษา ถ้ า
บทบัญญัติในหมวดนี้มิได้กําหนดวิธีการบังคับคดีไว้โดยเฉพาะ ให้

337[๓๔๓] มาตรา ๓๔๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

338[๓๔๔] มาตรา ๓๔๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
410

นําบทบัญญัติในหมวด ๒ การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงินมาใช้
บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๓๔๗339[๓๔๕] ในกรณีที่คําพิพากษา


หรือ คํา สั่งของศาลกํา หนดให้ลูกหนี้ต ามคําพิพากษาส่งคืนทรัพย์
เฉพาะสิ่งแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งเพื่อ
ชํ า ระหนี้ ต ามสิ ท ธิ เ รี ย กร้ อ งแก่ เ จ้ า หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษา ให้ เ จ้ า
พนักงานบังคั บคดี มีอํานาจยึดทรัพย์นั้น เพื่อดําเนินการให้เป็ นไป
ตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง

ถ้าทรัพย์เฉพาะสิ่งของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่ต้อง
ส่งมอบแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพื่อชําระหนี้ตามสิทธิเรีย กร้องได้
ถูกยึดหรืออายัดไว้เพื่อเอาชําระหนี้เงินในคดีอื่นแล้ว เจ้าหนี้ตาม
คําพิพากษาชอบที่จะยื่นคําร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีก่อนมี
การขายทอดตลาดหรื อ จํ า หน่ า ยโดยวิ ธี อื่ น ขอให้ มี คํ า สั่ ง ให้ เ จ้ า
พนักงานบังคับคดีส่งมอบทรัพย์นั้นให้แก่ตน โดยต้องแสดงให้เป็นที่
พอใจแก่ศาลได้ว่า เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์
ในคดีอื่นนั้นสามารถบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคํา
พิ พากษาได้ เ พี ย งพอ ทั้ ง นี้ ให้ ศาลแจ้ งให้ เ จ้ าพนั ก งานบั งคั บ คดี
ทราบและอาจมีคําสั่งงดการบังคับคดีไว้ในระหว่างพิจารณาก็ได้ ใน
339[๓๔๕]
มาตรา ๓๔๗ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
411

กรณีเช่นว่านี้ ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจาก
การยึดหรืออายัดทรัพย์แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาผู้ขอยึดหรืออายัด
ทรัพย์ใ นคดี อื่ น นั้ น และให้ เ จ้ า หนี้ ต ามคํา พิ พ ากษาในคดี อื่ น นั้ น
ได้ รั บ ยกเว้ นไม่ ต้องเสี ย ค่ าธรรมเนี ย มเจ้ าพนั กงานบั งคั บ คดี

ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่สามารถแสดงให้เป็น
ที่ พอใจแก่ ศาลได้ ตามวรรคสอง ให้ ศาลมี คํา สั่ งให้ เ จ้ าหนี้ ตามคํ า
พิ พ ากษามี สิ ท ธิ เ ข้ า เฉลี่ ย ในเงิ น ที่ ไ ด้ จ ากการขายหรื อ จํ า หน่ า ย
ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาในคดีอื่นนั้น ในกรณีเช่นว่านี้
ให้นํามาตรา ๓๒๖ และมาตรา ๓๒๙ มาใช้บังคับ

มาตรา ๓๔๘340[๓๔๖] การบังคับคดีในกรณีที่


ศาลพิ พากษาให้ ลู กหนี้ ตามคํ าพิ พากษาส่ งคื น หรื อส่ งมอบทรั พ ย์
เฉพาะสิ่ ง ที่ มี ท ะเบี ย นกรรมสิ ท ธิ์ ห รื อ มี ห นั ง สื อ รั บ รองการทํ า
ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับ คดี
แจ้ง ให้พ นัก งานเจ้า หน้า ที ่ห รือ นายทะเบีย นดํ า เนิน การจด
ทะเบียนต่อไป

การบังคับคดีในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ตาม
คําพิพากษาส่งคืนหรือส่งมอบอสังหาริมทรัพย์เฉพาะสิ่ง ถ้ามีเหตุ

340[๓๔๖]มาตรา ๓๔๘ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
412

ขัดขวางหรือเหตุขัดข้องในการส่งคืนหรือส่งมอบอสังหาริมทรัพย์นั้น
แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ให้นําบทบัญญัติในหมวด ๔ การบังคับ
คดีในกรณีที่ให้ขับไล่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๓๔๙341[๓๔๗] การบั ง คั บ คดี ที่ข อให้


ลูกหนี้ตามคําพิพากษาส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ให้เจ้าหนี้
ตามคําพิพากษาได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี

ให้ ลู กหนี้ ตามคํ าพิ พากษาเป็ น ผู้รั บ ผิ ดในค่ าฤชา


ธรรมเนียมในการบังคับคดีที่เจ้าหนี้ต ามคํา พิ พ ากษาต้ อ งเสี ย ไปใน
คดี ที่มีคํา พิ พากษาให้ ส่ ง คื น หรื อ ส่ ง มอบทรั พ ย์ เ ฉพาะสิ่ ง รวมทั้ ง
ค่ า ฤชาธรรมเนี ย มและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีที่เจ้าหนี้
ตามคํ าพิพากษาต้องเสียไปในคดีอื่นตามมาตรา ๓๔๗ วรรคสอง
โดยให้ถือว่ าเป็น ค่าฤชาธรรมเนี ยมและค่ าฤชาธรรมเนีย มในการ
บั ง คั บ คดี ที่ ต้ อ งใช้ แ ทนแก่ เ จ้ า หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาในคดี ที่ มี คํ า
พิพากษาให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งนั้น

หมวด ๔

341[๓๔๗]
มาตรา ๓๔๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
413

การบังคับคดีในกรณีที่ให้ขับไล่

มาตรา ๓๕๐342[๓๔๘] การบังคับคดีในกรณีที่


คํ า พิ พ ากษาหรื อ คํ า สั่ ง ของศาลให้ ขั บ ไล่ ลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษา
ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง ให้
เจ้าพนักงานบังคับ คดีดําเนิ นการตามมาตรา ๓๕๑ มาตรา ๓๕๒
มาตรา ๓๕๓ และมาตรา ๓๕๔

การบังคับคดีในกรณีที่คําพิพากษาหรือคําสั่งให้
ลูก หนี้ต ามคํา พิพ ากษารื้อ ถอนสิ่ง ปลูก สร้า ง ไม้ยืน ต้น ไม้ล้ม ลุก
หรือ ธัญ ชาติ หรือ ขนย้า ยทรัพ ย์สิน ออกไปจากอสัง หาริม ทรัพ ย์
ที ่อ ยู ่อ าศัย หรื อ ทรั พ ย์ ที่ ค รอบครอง ให้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
ดําเนินการตามมาตรา ๓๕๕

ส่วนที่ ๑

342[๓๔๘]มาตรา ๓๕๐ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
414

การบังคับคดีในกรณีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาต้องออกไปจาก
อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย

หรือทรัพย์ที่ครอบครอง

มาตรา ๓๕๑343[๓๔๙] ในกรณีที่คําพิพากษาหรือ


คํ า สั่ ง ของศาลให้ ขั บ ไล่ ลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาออกไปจาก
อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง

(๑) ถ้า ทรัพ ย์นั ้น ไม่ม ีบ ุค คลใดอยู ่แ ล้ว ให้เ จ้า


พนักงานบังคับคดีดําเนินการตามมาตรา ๓๕๒

(๒) ถ้ า ลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาหรื อ บริ ว ารไม่


ออกไปจากทรั พ ย์ นั้ น ให้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ดํ า เนิ น การตาม
มาตรา ๓๕๓

343[๓๔๙] มาตรา ๓๕๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
415

มาตรา ๓๕๒344[๓๕๐] ในกรณี ต ามมาตรา


๓๕๑ (๑) ให้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี มี อํ า นาจส่ ง มอบทรั พ ย์ นั้ น
ทั้งหมดหรือบางส่วนให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเข้าครอบครองได้
ทันที ถ้ามีสิ่งกีดขวางอันเป็นอุปสรรคต่อการส่งมอบ ให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีมีอํานาจทําลายสิ่งกีดขวางดังกล่าวได้ตามความจําเป็น

ถ้า ยัง มีสิ่ง ของของลูก หนี้ต ามคํา พิพ ากษาหรือ


ของบุค คลใดอยู่ใ นทรัพ ย์นั้น ให้เ จ้า พนัก งานบังคับคดี ทําบัญชี
สิ่งของนั้นไว้ และมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ถ้ าสิ่ งของนั้น มี ส ภาพเป็ น ของสดของเสี ยได้


หรือมีสภาพอันจะก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็น
การเสี่ยงความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายจะเกินส่วนแห่งค่าของสิ่งของ
นั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจจําหน่ายสิ่งของนั้นได้ทันทีโดย
วิธีขายทอดตลาดหรือวิธีอื่นที่เห็นสมควร และเก็บรั กษาเงินสุทธิ
หลังจากหักค่าใช้จ่ายไว้แทนสิ่งของนั้น หรือทําลายสิ่งของนั้น หรือ
ดําเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงสภาพแห่ง
สิ่งของ ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย และประโยชน์สาธารณะ

(๒) ถ้าสิ่งของนั้นมิใช่สิ่งของตามที่ระบุไว้ใน (๑)


ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจนําสิ่งของนั้นมาเก็บรักษาไว้ หรือ
มอบให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้รักษา หรือฝากไว้ ณ สถานที่
344[๓๕๐] มาตรา ๓๕๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
416

ใด หรื อ แก่ บุ คคลใดตามที่ เ ห็ น สมควร แล้ ว แจ้ ง หรื อ ประกาศให้


ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือเจ้าของสิ่งของมารับคืนไปภายในเวลาที่
เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด ถ้าลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือเจ้าของ
สิ่งของไม่มารับหรือไม่ยอมรับสิ่งของนั้นคืนไปภายในเวลาที่กําหนด
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการตาม (๑) โดยอนุโลม

เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้มาจากการจําหน่าย
สิ่งของตามวรรคสอง (๑) หรือ (๒) ถ้าลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือ
เจ้าของสิ่งของไม่มาขอรับคืนภายในกําหนดห้าปีนับแต่ได้รับแจ้ง
จากเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน

ในกรณีที่สิ่งของตามวรรคสองถูกยึด อายัด หรือ


ห้ามโอน ยักย้าย หรือจําหน่ายตามวิธี การชั่วคราวก่อนพิพากษา
หรือเพื่อการบังคับคดีในคดีอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจ
ย้ ายสิ่ งของดั งกล่ าวไปเก็ บไว้ ณ สถานที่ อื่นได้ ตามที่ เห็ น สมควร
ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีใน
คดีอื่นทราบด้วย

ให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายที่เกิด
จากการดํ า เนิ น การตามมาตรานี้ และให้ ถื อ ว่ า เป็ น หนี้ ต ามคํ า
พิพากษาที่จะบังคับคดีกันต่อไป
417

มาตรา ๓๕๓345[๓๕๑] ในกรณี ต ามมาตรา


๓๕๑ (๒) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) รายงานต่ อศาลเพื่อมีคําสั่ งจับ กุมและกั กขั ง


ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบริว าร และให้ ศาลมีอํานาจสั่งจั บกุ ม
และกักขังได้ทันที ในกรณีเช่นว่านี้ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๖๓
มาใช้บังคับโดยอนุโลม

(๒) ปิ ด ประกาศให้ บุ ค คล ที่ อ ยู่ อ าศั ย หรื อ


ครอบครองทรั พย์ นั้ น ซึ่ งอ้ างว่ ามิ ได้ เป็ น บริ ว ารของลู กหนี้ ตามคํ า
พิพากษา ยื่นคําร้องต่อศาลภายในกําหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วัน
ปิ ด ประกาศแสดงว่ า ตนมี อํ า นาจพิ เ ศษในการอยู่ อ าศั ย หรื อ
ครอบครองทรัพย์นั้น

เมื่อมีการจับกุมลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบริวาร
ตาม (๑) แล้ว หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวหลบหนีไปจากทรัพย์นั้น
แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการตามมาตรา ๓๕๒

345[๓๕๑] มาตรา ๓๕๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
418

มาตรา ๓๕๔346[๓๕๒] เพื่อประโยชน์ในการ


บัง คับ คดีต ามที ่บ ัญ ญัต ิไ ว้ใ นมาตรา ๓๕๑ ให้ถ ือ ว่า บุ ค คล
ดังต่อไปนี้เป็นบริวารของลูกหนี้ตามคําพิพากษา

(๑) บุ คคลที่ อยู่ อ าศั ย หรื อครอบครองทรั พย์ นั้ น


และมิได้ยื่นคําร้องต่อศาลภายในกําหนดเวลาตามมาตรา ๓๕๓ (๒)
หรือยื่นคําร้องต่อศาลแล้วแต่แสดงต่อศาลไม่ได้ว่าตนมีอํานาจพิเศษ
ในการอยู่อาศัยหรือครอบครองทรัพย์นั้น

(๒) บุคคลที่เข้ามาอยู่ในทรัพย์นั้นในระหว่างเวลา
ที่เจ้ าพนั กงานบั งคั บคดี ดําเนิน การให้ เจ้าหนี้ตามคําพิ พากษาเข้ า
ครอบครองทรัพย์นั้น

ส่วนที่ ๒

การบังคับคดีในกรณีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูก
สร้าง

ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติ หรือขนย้ายทรัพย์สิน ออกไปจาก


อสังหาริมทรัพย์

346[๓๕๒] มาตรา ๓๕๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
419

ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง

มาตรา ๓๕๕347[๓๕๓] ในกรณีที่คําพิพากษา


หรือ คํา สั่ง ของศาลกํา หนดให้ลูก หนี้ต ามคํา พิพากษาต้องรื้อถอน
สิ่งปลูกสร้าง ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติ หรือขนย้ายทรัพย์สิน
ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง ให้
เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี มี อํ า นาจดํ า เนิ น การรื้ อ ถอน และขนย้ า ย
ทรัพย์สินออกจากทรัพย์นั้นได้โดยให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้
เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนหรือขนย้ายทรัพย์สินนั้น และให้ถือว่า
เป็นหนี้ตามคําพิพากษาที่จะบังคับคดีกันต่อไป

กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิด
ประกาศกําหนดการรื้อถอนหรือขนย้ายทรัพย์สินไว้ ณ บริเวณนั้น
ไม่ น้ อ ยกว่ า สิ บ ห้ า วั น และให้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ใ ช้ ค วาม
ระมั ด ระวั งตามสมควรแก่ พฤติ การณ์ ในการรื้ อ ถอนหรื อขนย้ า ย
ทรัพย์สินนั้น

347[๓๕๓]มาตรา ๓๕๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
420

ในการจัดการกับวัสดุที่ถูกรื้อถอนและทรัพย์สินที่
ถู ก ขนย้ า ยออกจากอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ที่ อ ยู่ อ าศั ย หรื อ ทรั พ ย์ ที่
ครอบครองนั้น ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๕๒ วรรคสอง วรรคสาม
และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๕

การบังคับคดีในกรณีที่ให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ

มาตรา ๓๕๖348[๓๕๔] การบังคับคดีในกรณีที่


คําพิ พากษาหรื อคําสั่ งของศาลกํ าหนดให้ ลู กหนี้ ตามคํ าพิ พากษา
กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดนอกจากกรณีที่
คําพิ พากษาหรื อคําสั่ งของศาลกํ าหนดให้ ลู กหนี้ ตามคํ าพิ พากษา
ส่ ง คื น หรื อ ส่ ง มอบทรั พ ย์ เ ฉพาะสิ่ ง หรื อ ให้ ขั บ ไล่ ลู ก หนี้ ต ามคํ า
พิ พ ากษาตามที่ บั ญ ญั ติไ ว้ ใ นหมวด ๓ การบั ง คั บ คดี ในกรณี ที่ ใ ห้
ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง และหมวด ๔ การบังคับคดีใน
กรณี ที่ ใ ห้ ขั บ ไล่ ให้ ศ าลมี อํ า นาจกํ า หนดวิ ธี ก ารบั ง คั บ คดี ต ามที่
348[๓๕๔]
มาตรา ๓๕๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
421

บัญญัติไว้ในส่วนที่ ๑ หรือส่วนที่ ๒ แห่งหมวดนี้ เว้นแต่ในกรณีที่


ศาลเห็นว่าวิธีการบังคับคดีดังกล่าวไม่อาจบรรลุผลตามคําพิพากษา
หรื อ คํ า สั่ ง ของศาลได้ ก็ ใ ห้ ศ าลมี อํ านาจกํ าหนดวิ ธี การบั งคั บ คดี
ตามที่ศาลเห็นสมควรเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้
กระทําได้

ส่วนที่ ๑

การบังคับคดีในกรณีที่ให้กระทําการ

มาตรา ๓๕๗349[๓๕๕] การบังคับคดีในกรณีที่


คําพิ พากษาหรื อคําสั่ งของศาลกํ าหนดให้ ลู กหนี้ ตามคํ าพิ พากษา
กระทํานิติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจถือเอาคําพิพากษาของศาล
แทนการแสดงเจตนาของลูก หนี ้ต ามคํ า พิพ ากษาได้ และคํ า
พิพากษาหรือคําสั่งของศาลไม่ได้กําหนดให้ถือเอาคําพิพากษาแทน
การแสดงเจตนาของลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาไว้ เจ้ า หนี้ ต ามคํ า

349[๓๕๕]มาตรา ๓๕๗ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
422

พิพากษาอาจมีคําขอให้ศาลมีคําสั่งให้ถือเอาคําพิพากษาหรือคําสั่ง
ของศาลแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นได้

ถ้าการแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคําพิพากษาจะ
บริบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนพนั กงานเจ้าหน้าที่
หรื อ บุ ค คลอื่ น ผู้ มี อํ า นาจหน้ า ที่ ต ามกฎหมาย เจ้ า หนี้ ต ามคํ า
พิพากษาอาจมีคําขอให้ศาลสั่งให้ดําเนินการจดทะเบียนให้ก็ได้ ใน
กรณีเช่นนี้ ให้บุคคลดังกล่าวนั้นจดทะเบียนไปตามคําสั่งศาล

ถ้าหนั งสือสํ าคั ญ เช่ น โฉนดที่ ดิน ใบจอง หนังสื อ


รับรองการทําประโยชน์ ใบทะเบียน หรือเอกสารสิทธิที่จะต้องใช้เพื่อ
การจดทะเบียนสูญหาย บุบสลาย หรือนํามาไม่ได้เพราะเหตุอื่นใด
ศาลจะสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลผู้มีอํานาจ
หน้าที่ตามกฎหมายออกใบแทนหนังสือสําคัญดังกล่าวก็ได้ เมื่อได้
ออกใบแทนแล้ว หนังสือสําคัญเดิมเป็นอันยกเลิก

มาตรา ๓๕๘350[๓๕๖] การบังคับคดีในกรณีที่


คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลกําหนดให้ลูกหนี้ต ามคํา พิพ ากษา
กระทํ า การอย่า งหนึ ่ง อย่า งใดซึ ่ง ไม่ใ ช่ก รณีต ามมาตรา ๓๕๗
นอกจากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจมีคําขอตามมาตรา ๓๖๑ แล้ว

350[๓๕๖] มาตรา ๓๕๘ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
423

ถ้าการกระทํานั้นเป็นกรณีที่อาจให้บุคคลภายนอกกระทําการแทน
ได้ เ จ้ า หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาอาจมี คํ า ขอฝ่ า ยเดี ย วให้ ศ าลมี คํ า สั่ ง
อนุ ญ าตให้ บุ ค คลภายนอกกระทํ า การนั้ น แทนลู ก หนี้ ต ามคํ า
พิพากษา โดยลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย

ค่ า ใช้ จ่ า ยที่ เสี ย ไปในกรณี ข อให้ บุ ค คลภายนอก


กระทําการแทนตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นหนี้ตามคําพิพากษาที่จะ
บังคับคดีกันต่อไป

ส่วนที่ ๒

การบังคับคดีในกรณีที่ให้งดเว้นกระทําการ

มาตรา ๓๕๙351[๓๕๗] การบังคับคดีในกรณีที่


คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลกําหนดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษางด
เว้นกระทําการ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจขอให้ศาลมีคําสั่งจับกุม

351[๓๕๗]
มาตรา ๓๕๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
424

และกักขังลูกหนี้ตามคําพิพากษาตามมาตรา ๓๖๑ และขอให้ศาลมี


คําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ได้ด้วย

(๑) ให้ ลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาชํ า ระค่ า สิ น ไหม


ทดแทนสําหรับความเสียหายอันเกิดจากการไม่งดเว้นกระทําการ
นั้น

(๒) รื้อถอนหรือทําลายทรัพย์สินอันเกิดจากการ
ไม่งดเว้นกระทําการนั้น เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยการนั้นได้
กําหนดวิธีการจัดการกับทรัพย์สินดังกล่าวไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว

ในกรณีตาม (๑) เมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าคําขอ


นั้นฟังได้ ให้ศาลมีคําสั่งให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนตามจํานวนที่ศาลเห็นสมควร

ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งตาม (๒) ให้ศาลแจ้งคําสั่งให้


เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ท ราบ แล้ ว ให้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
ดําเนินการให้เป็นไปตามคําสั่งศาล โดยลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็น
ผู้รับผิดในค่าใช้จ่าย

การขอและการดําเนิ นการตามมาตรานี้ ไม่ ต้อง


เสี ยค่ าธรรมเนีย มศาล ส่ วนค่ าสิ นไหมทดแทนที่ศาลกํ าหนดตาม
วรรคสองและค่ า ใช้ จ่ า ยตามวรรคสาม ให้ ถื อ ว่ า เป็ น หนี้ ต ามคํ า
พิพากษาที่จะบังคับคดีกันต่อไป
425

หมวด ๖

การบังคับคดีในกรณีได้มาซึ่งทรัพย์สินที่มีทะเบียน

มาตรา ๓๖๐352[๓๕๘] การบังคับคดีในกรณีที่


ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้หรือแสดงว่าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา
หรือบุคคลใดได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ ทรัพยสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ เกี่ยวกับ
ทรัพย์สิน หากทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์ที่มีทะเบียนและมีเหตุขัดข้อง
ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา
หรือบุคคลดังกล่าวอาจมีคําขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียน พนักงาน
เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายดําเนินการจด
ทะเบียนให้ผู้มีสิทธิมีชื่อในทะเบียนให้เป็นไปตามคําสั่งศาล

ให้ นํ า บทบั ญญั ติม าตรา ๓๕๗ วรรคสาม มาใช้


บังคับโดยอนุโลม

352[๓๕๘] มาตรา ๓๖๐ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
426

หมวด ๗

การบังคับคดีในกรณีที่ขอให้ศาลสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคํา
พิพากษา

มาตรา ๓๖๑353[๓๕๙] ภายใต้บังคับบทบัญญัติ


หมวด ๔ การบังคับคดี ในกรณีที่ให้ ขับไล่ ในกรณีที่ลู กหนี้ตามคํ า
พิพากษาจงใจขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ และไม่มีวิธีการบังคับ
อื่ น ใดที่ เ จ้ า หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาจะใช้ บั ง คั บ ได้ เจ้ า หนี้ ต ามคํ า
พิพากษาอาจมีคําขอฝ่ายเดียว ให้ศาลมีคําสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้
ตามคําพิพากษาก็ได้

เมื่อได้รับคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลพิจารณาคํา
ขอโดยเร็ ว หากเป็ น ที่ พอใจจากพยานหลักฐานซึ่ งเจ้าหนี้ ตามคํ า
พิพากษานํามาสืบหรือที่ศาลเรียกมาสืบว่า ลูกหนี้ตามคําพิพากษา
สามารถที่จะปฏิบัติตามคําบังคับได้ถ้าได้กระทําการโดยสุจริต และ
เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่มีวิธีการบังคับอื่นใดที่จะใช้บั งคับได้ให้
ศาลออกหมายจับลูกหนี้ตามคําพิพากษา

353[๓๕๙]
มาตรา ๓๖๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
427

ถ้าลูกหนี้ตามคําพิพากษามาศาลหรือถูกจับตัวมา
แต่ ลูกหนี้ตามคํ าพิ พากษาไม่ อาจแสดงเหตุ อันสมควรในการที่ ไม่
ปฏิบัติตามคําบังคับได้ ศาลมีอํานาจสั่งกักขังลูกหนี้ตามคําพิพากษา
ทันทีหรือในวันหนึ่งวันใดที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษายังคงขัดขืนอยู่ก็
ได้ หากลู ก หนี้ ต ามคํ า พิ พ ากษาแสดงเหตุ อั น สมควรในการที่ ไ ม่
ปฏิ บั ติ ต ามคํ า บั ง คั บ ได้ หรื อ ตกลงที่ จ ะปฏิ บั ติ ต ามคํ า บั ง คั บ ทุ ก
ประการ ศาลจะมีคําสั่งให้ยกคําขอ หรือมีคําสั่งเป็นอย่างอื่นตามที่
เห็นสมควรก็ได้

มาตรา ๓๖๒354[๓๖๐] เมื่ อ ศาลได้ อ อก


หมายจับลูกหนี้ตามคําพิพากษาตามมาตรา ๓๖๑ แล้ว ถ้าลูกหนี้
ตามคําพิพากษามาศาลหรือถูกจับกุมตัวมา ให้ศาลมีอํานาจกักขัง
ลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นไว้ในระหว่างการพิจารณาคําขอจนกว่า
จะมี ป ระกั น หรื อ มี ป ระกั น และหลั ก ประกั น ก็ ไ ด้ ต ามที่ ศ าล
เห็นสมควร

ในกรณีที่ผิดสัญญาประกันตามวรรคหนึ่ง ศาลมี
อํ า นาจสั่ ง บั ง คั บ ตามสั ญ ญาประกั น หรื อ ตามจํ า นวนเงิ น ที่ ศ าล
เห็นสมควรโดยมิต้องฟ้องผู้ทําสัญญาประกันเป็นคดีใหม่

354[๓๖๐]
มาตรา ๓๖๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
428

มาตรา ๓๖๓355[๓๖๑] ในกรณีที่ศาลสั่งกักขัง


ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลใดตามมาตรา ๓๕๓ หรือมาตรา
๓๖๑ บุคคลนั้นจะต้องถูกกักขังไว้จนกว่าจะมีประกัน หรือมีประกัน
และหลัก ประกัน ตามจํ า นวนที ่ศ าลเห็น สมควรกํ า หนดว่า ตน
ยิน ยอมที่จ ะปฏิบัติตามคําบังคับ ทุกประการ แต่ทั้งนี้ ห้ามไม่ให้
กักขังแต่ละครั้งเกินกว่าหกเดือนนับแต่วันจับกุมหรือวันเริ่มกักขัง
แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ผิดสัญญาประกั นตามวรรคหนึ่ ง ให้นํ า


บทบัญญัติมาตรา ๓๖๒ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๓๖๔356[๓๖๒] ในกรณี ที่ศาลยอมรั บ


บุคคลเป็ นประกั น และบุคคลนั้ นจงใจขัดขวางการบั งคั บคดี หรื อ
ร่วมกับลูกหนี้ตามคําพิพากษาขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ ให้นํา

355[๓๖๑] มาตรา ๓๖๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

356[๓๖๒] มาตรา ๓๖๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
429

บทบั ญญั ติ ม าตรา ๓๖๑ มาตรา ๓๖๒ และมาตรา ๓๖๓ มาใช้


บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๓๖๕357[๓๖๓] การจับกุมและควบคุม


ตัวบุคคลหนึ่งบุคคลใดตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ ให้พนักงานฝ่าย
ปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามี
หน้าที่ปฏิบัติตามคําสั่งหรือหมายของศาล หรือตามที่ได้รับแจ้งจาก
เจ้าพนักงานบังคับคดี

การจับกุม ควบคุมตัว หรือกักขังบุคคลหนึ่งบุคคล


ใดตามมาตรา ๒๗๙ วรรคสอง มาตรา ๒๘๔ มาตรา ๓๕๓ มาตรา
๓๖๑ และมาตรา ๓๖๔ ไม่ตัดสิทธิที่จะดําเนินคดีในความผิดอาญา

หมวด ๘

การบังคับในกรณีมีการประกันในศาล

357[๓๖๓] มาตรา ๓๖๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
430

มาตรา ๓๖๖358[๓๖๔] ถ้าบุคคลใดได้เข้าเป็น


ผู้ประกันในศาลโดยทําเป็นหนังสือหรือโดยวิธีอื่น เพื่อการชําระหนี้
ตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งคําพิพากษา
หรือคําสั่งนั้น คําพิพากษาหรือคําสั่งเช่นว่านั้นย่อมใช้บังคับแก่การ
ประกันได้ โดยให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิร้องขอให้ศาลบังคับ
คดีแก่ผู้ประกันเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาโดยไม่ต้อง
ฟ้องผู้ประกันเป็นคดีใหม่

ให้นํ าบทบัญญัติในวรรคหนึ่งมาใช้บั งคั บแก่ การ


ประกันการปฏิบัติตามคําสั่งศาลในกรณีอื่นด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๓๖๗359[๓๖๕] ในกรณี ที่คู่ความหรื อ


บุคคลใดนํ าเงิ น สมุ ดบั ญชี เงิ น ฝากธนาคาร หนัง สือ ประกัน ของ
ธนาคาร หรือหลักประกันอย่างอื่นซึ่งอาจจ่ายเป็นเงินแทนได้ มา
วางต่อศาลตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือตามคําสั่ง

358[๓๖๔] มาตรา ๓๖๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐

359[๓๖๕] มาตรา ๓๖๗ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไ ข


เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๖๐
431

ของศาล เช่น คํา สั่ง เกี่ย วกับ วิธีก ารชั่ว คราวก่อ นพิพ ากษาหรือ
ทุเ ลาการบังคับ คดีใ นระหว่า งอุท ธรณ์ห รือ ฎีก า หรือ ในกรณีอื่น
ใด เจ้า หนี้ต ามคํา พิพ ากษาในคดีนั้นชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่ง
จ่ายเงินหรือดําเนินการเรียกเงินมาจ่ายให้แก่ตนได้

การขอและการดําเนิ นการตามมาตรานี้ ไม่ ต้อง


เสียค่าธรรมเนียมศาล

You might also like