Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 200

บทที่ 2

การทบทวนการศึกษา ข้อมูลผลการศึกษา แผนงานโครงการต่าง ๆ


ที่เกี่ยวข้อง ในระดับพืน้ ที่ศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทเมืองใหม่

2.1 ศึกษาหลักการพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน (TOR ข้อ 4.1.1)


ในการศึกษาหลักการพัฒ นาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงสร้างสำคัญที่ส่งผลต่อ
กระบวนการพัฒนาพื้นที่ เพื่อนํามาเป็นหลักเกณฑ์หรือแนวทางการออกแบบพัฒนาเมืองใหม่ นครราชสีม า
ได้ทำการรวบรวม ทบทวน และสรุปนิยามของ “เมืองใหม่ (New Town)” รวมถึงทฤษฎีและแนวคิดที่สำคัญ
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ อาทิ แนวคิดเมืองชาญฉลาด (Smart City) และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่ง
มวลชน (Transit-Oriented Development หรือ TOD) นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาระบบโครงข่ายเมือง (Urban
Network) และข้อกำหนดรายละเอี ย ดอาคารและสภาพแวดล้อม (Form-Based Codes) เพื่อสร้างสรรค์
สภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนเมือง โดยเน้นคุณภาพทางด้านสุนทรียภาพ คุณภาพชีวิตของสังคมเมือง
และคุณภาพของสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.1.1 คำนิยาม
“แผน” “แผนแม่บท” “ผัง” และ “เมืองใหม่” ถือเป็นคำศัพท์ที่มักพบในการวางผังภาคและเมือง
ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งแต่ละการศึกษาและงานวิจัยได้ให้นิยามเมืองใหม่ไว้หลากหลาย ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความชัดเจนเรื่องคำนิยามของแนวคิดดังกล่าวในการศึกษาแผนแม่บทเมืองใหม่นครราชสีมา จึงได้
ศึกษารวบรวมคำนิยามจากงานศึกษาและงานวิจัยที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและมีแนวคิดที่ตรงกัน
1) นิยามของคำว่า “แผน”
ความหมายตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษของสหรัฐอเมริกา เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ (Merriam-
Webster) ได้ให้ความหมายของ แผน ในภาษาอังกฤษ โดยใช้คำว่า Planning ซึง่ มีความหมายว่า “การกระทำ
หรือกระบวนการที่สร้างหรือดำเนินการตามแผน (Plans)” ส่วนอีกหนึ่งความหมายที่มีความเฉพาะเจาะจง
หมายถึง “การตั้งเป้าหมาย (Goals) นโยบาย (Policies) และกระบวนการ (Procedures) สำหรับหน่วยทาง
สั ง คมหรื อ หน่ ว ยทางเศรษฐกิ จ เช่ น การวางแผนเมื อ ง (City planning) การวางแผนธุ ร กิ จ (Business
planning)”
ในประเทศไทยนั้น กล่าวถึงในลักษณะเดียวกัน คือ “การวางแผน (Planning)” หมายถึง
“กระบวนการวิเคราะห์และการตัดสินใจของผู้บริหารที่จะกำหนดวิธีการไว้ล่ว งหน้าอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้เป็น
แนวทางปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเอาข้อมูล
ข่าวสาร (Information) ในอดีตมากำหนดหรือพยากรณ์อนาคต” ดังนั้น แนวคิดของการวางแผนจึงมีลักษณะ
เป็น “ศาสตร์” ที่ต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Information) ที่มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ และต้อง
ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ชัดเจนและมีความต่อเนื่องกันตามลำดับ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ใช้แผน มีความรู้ และความ
เข้าใจที่สามารถนำแผนไปปฏิบัติ ให้บรรลุผลสำเร็จได้

2-1
2) นิยามของคำว่า “แผนแม่บท”
ตามความหมายของแผนแม่บทในพจนานุกรมภาษาอังกฤษของสหรัฐอเมริกา เมอร์เรียม-
เว็บ สเตอร์ (Merriam-Webster) ใช้คำว่า Master Plan ซึ่ง มีความหมายว่า แผนที่ที่แสดงถึงการชี้นำใน
ภาพรวม
ในประเทศไทย คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ได้ให้ความหมายของคำว่า
แผนแม่บท (Master Plan) ไว้ว่า “แผนระยะปานกลางถึงระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ มีลักษณะ
เป็นพลวัต การวางแผนแม่บทจะต้องมีการวิเคราะห์ครอบคลุมทุกสภาพแวดล้อม” โดยแผนแม่บทมักเป็นแผน
ระยะปานกลางที่ครอบคลุมระยะเวลา 4-6 ปี เพื่อบูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
นโยบายดังกล่าว โดยแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือนโยบายรัฐบาลเฉพาะด้านให้เป็น
แนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้นและมีองค์ประกอบที่สำคัญเช่นเดียวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้จำแนกระดับของแผนออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
(1) ระดับที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติ หมายถึง ยุทธศาสตร์ชาติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดทำ
ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบใน
การจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
(รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 65)
(2) ระดับที่ 2 ประกอบด้วย 4 แผน ดังนี้
(2.1) “แผนแม่บ ทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ” หมายความว่า แผนแม่บทเพื่อบรรลุ
เป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ (พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 3)
(2.2) “แผนปฏิรูปประเทศ” หมายถึง แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ
ตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560
(2.3) “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” หมายความว่า แผนสำหรับถ่ายทอด
ยุทธศาสตร์ชาติสู่กรอบและแนวทางในการพัฒนาประเทศในแต่ละช่วงระยะเวลา 5 ปี
(2.4) “แผนความมั่นคง” หมายถึง “นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่ นคง
แห่งชาติ” ตามกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อดำเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัย
คุกคามเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ
(3) ระดับที่ 3 หมายถึง แผนที่จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของแผนระดับที่ 1
และระดับ ที่ 2 ให้บ รรลุเป้าหมายที่ กำหนดไว้ห รือจัดทำขึ้นตามกฎหมายกำหนดหรือตามพันธกรณีหรือ
อนุสัญญาระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น แผนแม่บท แผนพัฒนา แผนปฏิบัติการ และแผนอื่น ๆ
ความเชื่อมโยงแผนสู่การปฏิบัติ
ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับที ่ 1) เป็นเป้าหมายใหญ่ในการขับเคลื่ อนประเทศ
ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่ยุทธศาสตร์ชาติกำหนดด้วยแผนระดับที่ 2 ซึง่ เป็นแนวทางในการขับเคลื่อน
ประเทศให้บรรลุตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ โดยอาจกำหนดประเด็นการพัฒนาและถ่ายทอดไปสู่แนวทางใน
การปฏิบัติในแผนระดับที่ 3 ซึ่งเป็นแผนเชิงปฏิบัติที่มีความชัดเจนตามภารกิจและสอดคล้องกับแผนแม่บท
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและ/หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (รูปที่ 2.1-1)

2-2
ที่มา : กองพัฒนายุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), 2560.
รูปที่ 2.1-1 ความเชื่อมโยงแผนสู่การปฏิบัติ
3) นิยามของคำว่า “ผัง”
ในต่างประเทศ ผัง ตามความหมายในพจนานุกรมภาษาอังกฤษของสหรัฐอเมริกา เมอร์เรียม-
เว็บสเตอร์ (Merriam-Webster) ใช้คำว่า Plan มีความหมายว่า “วิธีการในการบรรลุเป้าหมาย การกำหนด
รายละเอียดของงบประมาณ รายละเอียดการออกแบบ”
ในประเทศไทยไม่มีการอธิบายความหมายของคำว่า ผัง โดยตรง แต่อาจอ้างอิงตามความหมาย
ของคำที่เกี่ยวข้องที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ได้แก่ “การผังเมือง” “ผังเมืองรวม” และ
“ผังเมืองเฉพาะ” ดังนี้
“การผังเมือง” มีความหมายว่า การวาง จัดทำ และการดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองใน
ระดับต่าง ๆ สำหรับเป็นกรอบชี้นำการพัฒนาทางด้านกายภาพในระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัด
ระดับเมือง ระดับชนบท และพื้นที่เฉพาะควบคู่กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเมือง
บริเวณที่เกี่ยวข้อง หรือชนบทให้มีหรือทำให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสุขลักษณะ ความสะดวกสบาย ความเป็นระเบียบความ
สวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง ความปลอดภัยของประชาชนสวัสดิภาพของ
สังคม การป้องกันภัยพิบัติ และการป้องกันความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อส่งเสริมการ เศรษฐกิจ
สังคม และสภาพแวดล้อม เพื่อดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม
สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี หรือบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศ
ที่งดงามหรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ
“ผังเมืองรวม” มีความหมายว่า แผนผัง นโยบาย และโครงการ รวมทั้งมาตรการควบคุม
โดยทั่วไปในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเมืองและการดำรงรักษาเมือง บริเวณที่เกี่ยวข้อง
หรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและขนส่ง การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมือง

2-3
“ผังเมืองเฉพาะ” หมายความว่า แผนผังและโครงการดำเนินการเพื่อพัฒนาหรือดำรงรักษา
บริเวณเฉพาะแห่งหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในเมือง บริเวณที่เกี่ยวข้อง หรือชนบท เพื่อประโยชน์ในการสร้าง
เมืองใหม่ การพัฒนาเมือง การอนุรักษ์เมือง หรือการฟื้นฟูเมือง
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาระบบการวางผังเมืองสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่
(1) ผังนโยบาย (Policy Plan/Structural Plan) เป็นผังที่วางกรอบพัฒนาในเชิงนโยบาย
ซึ่งครอบคลุมระดับประเทศ ระดับภาค และระดับกลุ่มจังหวัด (ภาคย่อย) ช่วยให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทาง
เดียวกันและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ผังประเทศไทย ปี พ.ศ. 2600 ผังภาค
ผังอนุภาค
(2) ผังเมือง (Urban Plan) เป็นผังที่มีการบังคับใช้ทางกฎหมายและเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 โดยผังชนิดนี้มักคุ้นเคยกันดี เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรง เนื้อหาของ
ผังจะวางกรอบการพัฒนา กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน การควบคุมอาคารหรือพื้นที่ก่อสร้าง การอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม เช่น ผังเมืองรวมจังหวัด ผังเมืองรวมชุมชน
(3) ผังปฏิบัติการ (Action Plan) เป็นผังที่มีระดับเล็กที่สุด เป็นผังการออกแบบพื้นที่ในเชิง
รายละเอียด มีกรอบระยะเวลาและมีแผนการดำเนินการที่ชัดเจน เช่น ผังเมืองเฉพาะ ผังการจัดรูปที่ดิน
เมื่อพิจารณาการรวบรวมความหมายและคำนิยามของ ”แผน” และ “ผัง” ข้างต้น จะเห็นได้
ว่าความสอดคล้องของแผนและผัง คือ เป็นการกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และรายละเอียดขั้นตอนเพื่อทำให้
เมืองหรือหน่วยการพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ในอนาคตและมีความสอดคล้องกันในแต่ละระดับ กล่าวคือ
แผนระดับนโยบายมีความคล้ายคลึงกับผังนโยบาย เป็นการวางแผนในระดับกว้างและถือเป็นกรอบการกำหนด
เป้าหมายให้แก่แผนและผังในระดับที่ต่ำกว่า แผนกลยุทธ์และผังเมืองมักจะสอดคล้องกับแผนหรือผังนโยบายใน
ระดับ สูงกว่า ส่ว นแผนปฏิบ ัติการและผังปฏิบัติการที่เป็นการวางแผนและผังในระดับเล็กที่ส ุด จะระบุ
รายละเอียดให้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายอย่างชัดเจน ส่วนประเด็นที่แตกต่างกัน ได้แก่ รายละเอียด
ของนโยบายที่ระบุไว้ในแผนนั้นจะไม่ลงรายละเอียดเชิงกายภาพเช่นรายละเอียดในผัง และแผนหรือผังระดับ
นโยบายที่เป็นการกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์อย่างกว้าง ๆ จะไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย ขณะที่ ผังเมืองรวม
และผังเมืองเฉพาะจะมีผลบังคับทางกฎหมาย
4) นิยามของคำว่า “เมืองใหม่”
ในต่างประเทศมีการให้คำนิยามเรื่องเมืองใหม่ ไว้หลายแหล่ง โดยพจนานุกรมภาษาอังกฤษ
เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ (Merriam-Webster) ได้ใช้คำว่า New Town ซึ่งมีความหมายว่า “การพัฒนาเมืองที่มี
ขนาดเล็ ก และขนาดกลาง โดยมี ก ารพั ฒ นาที ่ อ ยู ่ อ าศั ย การวางแผนอุ ต สาหกรรม พาณิ ช ยกรรม และ
สวนสาธารณะ”
ส่วนฐานข้อมูลสำหรับการศึกษาและวิจัยด้านการพัฒนาเมืองใหม่นานาชาติ (International
New Town Institute (INTI)) (2020) ได้อธิบายความหมายของคำว่า เมืองใหม่ (New Town) ไว้ว่า “เป็น
พื้นที่เมืองหรือชุมชนที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งถูกออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญตามแผนแม่บท
บนพื้นที่ที่ไม่เคยพัฒนาเป็นเมืองมาก่อน เมืองใหม่ที่พัฒนาขึ้นมานี้จะแตกต่างจากการพัฒนาเมืองปกติทั่วไปที่
พัฒนาขึ้นจากการเติบโตหรือพัฒนาขึ้นตามกาลเวลา ทว่า เมืองใหม่นี้จะเป็นผลลัพธ์ของนโยบายการพัฒนา

2-4
เมืองแบบบนลงล่าง (Top-Down) หรือการพัฒนาเมืองที่เกิดจากการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง การพัฒนา
เมืองใหม่นี้จะถูกวางแผนตั้งแต่เริ่มแรก ซึง่ จะสร้างความท้าทายแก่สถาปนิกหรือนักผังเมืองในการค้นหาแนวคิด
ในการวางแผนเมือง ดังนั้น เมืองใหม่จึงสามารถสะท้อนถึงแนวคิดของนักวางแผนในช่วงเวลาหนึ่งเสมอ”
ขณะที่ Ervin Y. Galantay สถาปนิกผู้มีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบเมือง ได้ให้คำนิยาม
ไว้ว่า “เมืองใหม่ คือ ชุมชนที่ได้รับการวางแผนและจัดสร้างขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ตอบรับกับขั้นตอนต่าง ๆ
ของวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน” ส่วน Carlos C. Campbell ผู้มีความชำนาญในการออกแบบเมืองและเป็นผู้ เขียน
หนั ง สื อ Newtown: Another Way to Live. ได้ ใ ห้ ค ำอธิ บ ายเรื ่ อ งเมื อ งใหม่ ที่ ช ั ด เจนว่ า “เมื อ งใหม่ คื อ
กระบวนการพัฒนา (Development) ที่ได้รับการวางแผนตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อเตรียมพร้อมที่จะรองรับกิจกรรม
ทางด้านสังคม เศรษฐกิจและกายภาพ ในระยะยาวภายในพื้นที่ดินจำกัด และภายในระยะเวลาที่กำหนด”
นอกจากนี้ คำว่า “เมืองใหม่ (New town)” ได้ปรากฏเป็นหลักฐานชัดเจนที่ประเทศอังกฤษ
โดยมีความหมายว่า “การปรับปรุงที่ดินที่ว่างหรือที่เป็นชุมชนอยู่แล้ว” ทั้งยังมีกฎหมายพระราชบัญญัติเมืองใหม่
พ.ศ. 2489 (New Town Act 1946) ที่ให้อำนาจรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม (Department of Environment: DOE)
แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อเวนคืนที่ดินที่รัฐมนตรีเห็นสมควรและปรับปรุงให้เป็นเมืองขึ้นมา โดยรัฐจะเป็น
ผู้ช่วยจัดให้มีการบังคับซื้อที่ดิน (Compulsory Purchase of Land) และจัดให้มีเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อ
ปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว คณะกรรมการจะมีกี่คณะก็ได้แล้วแต่จำนวนเมืองใหม่ที่เกิดขึ้นและเมืองใหม่นี้จะเป็น
องค์กรที่มีความเอกเทศไม่ขึ้น กับส่วนราชการท้องถิ่นหรือเทศบาลใด จนกระทั่งเมืองใหม่เป็นรูป เป็นร่าง
มีสภาพเป็นเมืองแล้วจึงให้โอนองค์กรเอกเทศนี้ไปขึ้นกับบรรษัทเมืองใหม่ (New Town Corporation) ซึ่งเป็น
องค์กรกลางที่ไม่ขึ้นกับเทศบาลใดเทศบาลหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารจัดการเมืองใหม่ที่พัฒนาโดยสมบูรณ์แล้ว
สำหรับเมืองใหม่ในประเทศไทย ยังไม่มี การจำกัดความหรือระบุข้อกำหนดที่มีความชัดเจนถึง
ความจำเป็นในการสร้างว่า จะต้องสร้างในระยะเวลาใด จำเป็นต้องมีประชากรเท่า ใด จำเป็นต้องมีขนาดพื้นที่
เท่าใด หรือจะต้องมีส่วนประกอบและโครงสร้างของเมืองอะไรบ้าง ปุณณภา ไกรสินธุ์ (2536) ได้ทบทวน
ความหมายและระบุว่า เมืองใหม่ แปลมาจากคำว่า New Town ซึ่งแต่ละประเทศมีความหมายแตกต่างกัน
ออกไป ความหมายกว้าง ๆ คือ “การจัดหาที่อยู่อาศัยให้เพียงพอกับความต้องการ เพื่อแก้ปัญหาในการขยายตัว
ของชุมชนในเมืองหลักและในเมืองหลวง ในอดีตที่ผ่านมาการสร้างเมืองใหม่นั้น รัฐบาลจะเป็นผู้อุปถัมภ์ทั้งหมด
โดยจัดหาที่ดิน เงินลงทุน ตลอดจนจัดเตรียมสาธารณูปโภค สาธารณูปการทั้งหมด” ต่อมาจิราภรณ์ ปิณฑวิรุจน์
(2538) กล่าวไว้ว่า “เมืองใหม่ (New town หรือ New communities) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ทั้งสมัย อีย ิป ต์ กรีก และโรมัน และยังคงหลงเหลือเป็นโบราณสถานให้เห็นได้ทุกวันนี้ ” โดยในความหมาย
กว้างขวางนั้นอาจหมายถึงราชธานีใหม่ เช่น กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น อีกประการหนึ่งอาจหมายถึง
เมืองใหม่ที่ตั้งบนที่ดินใหม่ ซึ่งผิดกับความหมายของต่างประเทศ เพราะเมืองใหม่ (New Town) อาจหมายถึง
เมืองหรือหมู่บ้านเก่าที่ขยายพื้นที่ออกมาเป็นเมืองก็ได้ หรืออาจเป็นชุมชนเมืองที่ได้รับการวางผัง วางแผน และ
จัดสร้างโดยมีกระบวนการพัฒนา (Development) ที่มีระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อเตรียมรองรับกิจ กรรม
ทางด้านกายภาพ สังคม และเศรษฐกิจในระยะยาวที่กำหนดช่วงเวลาในพื้นที่ใดพื้ นที่หนึ่งที่เป็นที่ว่าง ที่โล่ง
หรือเป็นชุมชนอยู่แล้ว โดยคำนึง ถึงการใช้ที่ดิน ระบบถนน ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ กฎหมาย
กฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยมีคณะทำงาน งบประมาณ และที่ดินเพื่อพัฒนา และต้องมีกฎหมายเมืองใหม่

2-5
(New Town Acts) รองรับการพัฒนาตามความเห็นของวรพล อยู่สุข (2545) ส่วนสมศักดิ์ วงศ์ราษฎร์ (2549)
กล่าวว่า การพัฒนาเมืองใหม่ (New Town) เป็นกระบวนการวางแผนพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของ
ประชากรจากการเติบโตของเมืองหรือ อาจเป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับประชากรที่จะเข้ามาอยู่อาศัยตาม
นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล ซึ่งโดยปกติมีวัตถุประสงค์หลากหลายขึ้นอยู่กับแต่ละ
ประเทศแต่ละชุมชนเหล่านั้น เช่น เพื่อเป็นเมืองบริวารและแบ่งเบาภาระด้านที่อยู่อาศัยของเมืองที่เ ป็น
มหานคร (Satellite town) เพื่อเป็นเมืองที่มีกิจกรรมเฉพาะเรื่องไปจากเดิม เช่น เพื่อเป็นเมืองอุตสาหกรรม
เพื่อเป็นเมืองศูนย์ราชการ เพื่อเป็นเมืองอากาศยาน (Aerotropolis) หรือเพื่อเป็นเมืองตัวอย่างในการพัฒนา
ต่ า ง ๆ เช่น ตัว อย่างของเมืองอนุร ั กษ์ส ิ ่งแวดล้ อ ม เมืองตัว อย่างของอุตสาหกรรมที่ ใช้เทคนิ คสูง เมือ ง
มหาวิทยาลัย เป็นต้น
เมืองใหม่ คือ เมืองที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่บนพื้นที่ที่ตั้งอยู่ห่างออกไปจากเมืองเดิม โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อกระจายประชากร เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมที่แออัดในเมืองเดิม และส่งเสริมการพัฒนาที่
ประสานกันระหว่างเมืองเดิมและภูมิภาคโดยรอบ การพัฒนาเมืองใหม่มีพื้นฐานมาจากการมองเห็นปัญหาหรือ
ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในเมืองเดิมแล้วหาทางแก้ไขปัญหานั้น ๆ บนพื้นที่ใหม่ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า เมืองใหม่ คือ
เมืองที่ได้รับ การออกแบบและจัดการตั้งแต่เริ่มต้นและสร้างขึ้นในช่ว งเวลาอันสั้น ด้วยการออกแบบโดย
ผู้เชี่ยวชาญตามแผนแม่บทบนพื้นที่ที่ไม่เคยมีเมืองมาก่อน เมืองใหม่จึ งแตกต่างจากเมือง "ปกติ" ที่ค่อย ๆ
เติบโตและพัฒนาไปตามกาลเวลา
จากการทบทวนนิยาม “เมืองใหม่” ตามการศึกษาและวิจัยที่ผ่านมาทั้งในประเทศไทยและ
ต่างประเทศ จึงสามารถสรุปใจความสำคัญของการศึกษาที่ผ่านมาและกำหนดคำนิยามเมืองใหม่ที่จะนำมาใช้
อธิบายในการศึกษาแผนแม่บทเมืองใหม่นครราชสีมาได้ดังนี้
เมืองใหม่ คือ พื้นที่ที่มีการวางแผนตั้งแต่เริ่มต้น ออกแบบ และก่อสร้างอย่างเป็นระบบ เพื่อให้
เกิดเมือง อาจพัฒนาขึ้นใหม่บนพื้นที่ที่ตั้งอยู่ห่างออกไปจากเมืองเดิม โดยจะเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาเมืองตาม
แผนงานหรือแนวคิดที่กำหนดโดยรัฐบาลหรือผู้บริหารระดับสูง (Top-Down) ต่างจากการวางแผนเพื่อรองรับ
การขยายตัวเช่นเมืองโดยปกติทั่วไป คือ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายประชากร เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมที่
แออัดและหนาแน่นในเมืองเดิม และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ประสานกันระหว่างเมืองเดิมและภูมิภาคโดยรอบ
หรือมีพื้นฐานมาจากการมองเห็นปัญหาหรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในเมืองเดิมแล้วหาทางแก้ไขปัญหานั้นๆ บนพื้นที่
ใหม่ ซึ่งมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของเมืองแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ อาทิ เมืองศูนย์ราชการ
ภายในพื้นที่เมืองใหม่จะเตรียมความพร้อมในทุกมิติทั้งกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม โดยมีการวางแผน
ที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการรองรับการใช้บริการของประชาชนที่จะเข้ามายังพื้นที่
ทั้งนี้ การพัฒนาเมืองใหม่อาจมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อบริหารจัดการโครงการ รวมทั้งบัญญัติกฎหมาย
เมืองใหม่เพื่อรองรับการพัฒนาและช่วยให้เมืองใหม่เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวโดยสรุปได้ว่า เมืองใหม่คือเมืองที่ได้รับการออกแบบ และจัดการตั้งแต่เริ่มต้นและ
สร้างขึ้นในช่วงเวลาอันสั้น มีพื้นฐานมาจากการมองเห็นปัญหาหรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในเมืองเดิมแล้ว
หาทางแก้ไขปัญหานั้นๆ บนพื้นที่ใหม่ ด้วยการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญตามแผนแม่บทบนพื้นที่ ใหม่ ซึ่ง
เมืองใหม่จะแตกต่างจากเมือง "ปกติ" ที่ค่อยๆ เติบโตและพัฒนาไปตามกาลเวลา แต่จะเป็นพื้นที่ที่มีการ
พัฒนาเมืองตามแผนงานหรือแนวคิดที่กำหนดโดยรัฐบาลหรือผู้บริหารระดับสูง (Top-Down)

2-6
2.1.2 เมืองใหม่ (New Town)
1) เมืองใหม่ภายใต้แนวคิดอุทยานนคร
แนวคิดการพัฒนาเมืองใหม่มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1898 กระทั่ง ค.ศ. 1902 เซอร์ เอเบเนเซอร์ ฮาเวิร์ด
(Sir Ebenezer Howard) เสนอแนวคิดในการออกแบบชุมชนเมืองที่มีชื่อว่า “อุทยานนคร” (Garden City)
โดยกำหนดให้แต่ละเมืองซึ่งมีจำนวนประชากรประมาณ 30,000 คน โดยมีพื้นที่ใช้สอยประเภทต่าง ๆ ที่จำเป็น
อย่างครบถ้วน ได้แก่ ที่พักอาศัย พื้นที่อุตสาหกรรมซึ่งเป็นแหล่งงาน และพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เมืองทั้งหมด
ถูกล้อมรอบด้วยแถบพื้นที่สีเขียวที่ทำหน้าที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง แนวคิดนี้
สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของฮาเวิร์ดในความพยายามที่ลดการอพยพสู่เมืองของผู้คนจากพื้นที่ชนบทและ
เมืองเล็ก ๆ ไปยังศูนย์กลางเมืองหลัก ซึ่งกำลังมีประชากรมากเกินไปและประสบปัญหาต่าง ๆ ในหลายมิติ ที่
สำคัญคือ ฮาเวิร์ดต้องการเปิดโอกาสให้พื้นที่ในชนบทมีโอกาสทางเศรษฐกิจและได้รั บการพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเช่นเดียวกับเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ในทางปฏิบัติ ฮาเวิร์ดนำแนวคิดดังกล่าวนี้ไปใช้ในการวางรากฐานเมืองใหม่ในประเทศอังกฤษ
จำนวน 2 เมือง คือ อุทยานนครเลทช์เวิร์ท (Letchworth Garden City) และอุทยานนครเวลวีน (Welwyn
Garden City) การวางผังออกแบบทั้งสองเมืองนี้นับว่าประสบความสำเร็จได้ยาวนานและเป็นชุมชนที่สมบูรณ์
แม้ไม่บรรลุอุดมคติทั้งหมดของฮาเวิร์ดก็ตาม ในเวลาต่อมาแนวคิดอุทยานนครนี้ ได้ส่งอิทธิพลอย่างมากต่อ
การวางผังเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป

ที่มา : Howard, 1989


รูปที่ 2.1-2 หลักการของอุทยานนครที่นำเสนอโดย Sir Ebenezer Howard
2) ประเภทของเมืองใหม่
นั บ ตั ้ ง แต่ แ นวความคิ ด เรื ่ อ งเมื อ งใหม่ เกิ ด ขึ ้ นเป็ นครั ้ ง แรกในรู ปแบบของการพั ฒ นา
“อุทยานนคร” การพัฒนาเมืองใหม่ในช่วงระยะเวลากว่า 1 ศตวรรษที่ผ่านสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่
1) เมืองใหม่ที่เป็นอิสระจากเมืองเดิม (Independent New Town): เป็นเมืองที่ได้รับการ
พัฒนาขึ้นใหม่โดยมีทำเลที่ตั้งที่ห่างไกลออกไปจากเมืองศูนย์กลางเดิม สามารถทำหน้าที่ด้วยตัวเองได้อย่างสมบูรณ์
2) เมืองใหม่ที่ตั้งอยู่บริเวณรอบนอกของเมืองศูนย์กลางเดิม (New Town/Satellite
Town): เป็นเมืองที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่บริเวณรอบนอกของเมื องศูนย์กลางเดิม มีขนาดเล็กกว่า และ
สามารถเข้าถึงเมืองศูนย์กลางเดิมได้ด้วยระยะเวลาอันสั้น มีระบบเศรษฐกิจที่อ้างอิงกับเมืองศูนย์กลางเดิม โดย
ทำงานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์

2-7
3) เมืองฝาแฝด (Twin City): เป็นเมืองที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ข้างเคี ยงกับเมืองศูนย์กลางเดิม
มีบทบาทหน้าที่ทุกอย่างเหมือนกัน
4) เบดทาวน์ (Bedroom City/Bed Town): เป็นพื้นที่ชุมชนเมืองที่พัฒนาขึ้นบริเวณ
พื้นที่ชายขอบของเมืองศูนย์กลางเดิม ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นเพียงพื้นที่พักอาศัย ไม่สามารถทำหน้าที่โดยตัวเอง
ได้อย่างสมบูรณ์ ยังต้องพึ่งพาเมืองเดิม
5) เมืองใหม่ในเมือง (New Town in Town): เป็นการปรับปรุงพื้นที่ในบริเวณเมืองเดิม
ซึ่งอาจจะเป็นพื้นที่ว่างเปล่า หรือพื้นที่ที่พัฒนาแล้ว แต่ใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า โดยจัดให้มีที่อยู่อาศัย และส่วน
บริการชุมชน เช่น ตลาด ศูนย์การค้า สถานที่ทำงาน โรงเรียน และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

ที่มา : Tan, 2010 และปรับปรุงเพิ่มเติมโดยบริษัทที่ปรึกษา


รูปที่ 2.1-3 ประเภทของเมืองใหม่
3) การพัฒนาเมืองใหม่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และยุคศตวรรษที่ 21
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พบว่า มีการพัฒนาเมืองใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก สืบเนื่องจาก
ความเสียหายของอาคารบ้านเรือนจากภาวะสงคราม การพัฒนาเมืองใหม่ในช่วงเวลานั้นให้ความสำคัญต่อ
การแยกที่ทำงานกับที่อยู่อาศัยและส่วนสนับสนุนของเมืองออกจากกัน การเดินทางของผู้คนพึ่งพารถยนต์ส่วนบุคคล
มากกว่าระบบขนส่งมวลชน เมื่อผู้คนใช้ร ถยนต์มากขึ้นส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรที่ติดขัดและปัญหา
มลภาวะที่ตามมา แนวคิดการออกแบบเมืองใหม่ในยุคต่อมาจึงหวนกลับมาให้ความสำคัญต่อแนวคิดการพัฒนา
เมืองที่ผสมผสานการใช้ประโยชน์ที่ดิน และลดการเดินทางที่ไม่จำเป็นด้วยการดึงที่ทำงาน ที่พักอาศัย และ
ส่วนสนับสนุนของเมืองมาใกล้กันขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญต่อ “คน” ในฐานะศูนย์กลางของการวางแผนและ
ออกแบบผ่านมิติต่าง ๆ อาทิ
(1) มีโอกาสในการทำงานและสร้างรายได้
(2) มีโอกาสในการอยู่อาศัยใกล้แหล่งงาน
(3) มีกิจกรรมเกิดขึ้นอย่างหลากหลายและผสมผสาน ทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
(4) มีระบบขนส่งมวลชนที่มีคุณภาพ เข้าถึงได้สะดวก และทั่วถึง
(5) มีระบบถนนและทางเดินเท้าที่ปลอดภัย สวยงาม และมีชีวิตชีวา
(6) มีพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพ มีชีวิตชีวา และทั่วถึง
(7) มีแหล่งดึงดูดผู้คนและสถานที่ท่องเที่ยวที่เพียงพอและหลากหลายสำหรับผู้มาเยือน

2-8
ตารางที่ 2.1-1 จำนวนเมืองใหม่/เมืองบริวารที่เกิดขึ้นโดยรอบเมืองหลวงทั่วโลกตั้งแต่หลัง WW2
จำนวนเมืองใหม่ จำนวนเมืองบริวาร
ปีเริ่มต้น (Initial Year) ประเทศ (Countries) เมืองหลัก (Large cities)
(แห่ง) (แห่ง)
1946 (พ.ศ. 2489) UK (สหราชอาณาจักร) 28 London 11
1965 (พ.ศ. 2508) France (ฝรั่งเศส) 9 Paris 5
1950 (พ.ศ. 2493) Sweden (สวีเดน) 11 Stockholm 6
1955 (พ.ศ. 2498) Holland (ฮอลแลนด์) 15 Randstad 13
1952 (พ.ศ. 2495) Japan (ญี่ปุ่น) 39 Tokyo 7
1962 (พ.ศ. 2505) Korea (เกาหลีใต้) 24 Seoul 13
United States
1960 (พ.ศ. 2503) 36 - -
(สหรัฐอเมริกา)
1964 (พ.ศ. 2507) Singapore (สิงคโปร์) 15 - -
ช่วงทศวรรษที่ 1950 Malaysia (มาเลเซีย) 11 - -
1957 (พ.ศ. 2500) China (จีน) 50 Beijing 11
ที่มา : Tan, 2010
ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 พบว่า การพัฒนาเมืองใหม่ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือทาง
ยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและภูมิภาคภายใต้ภาวการณ์แข่งขันระดับ
นานาชาติ โดยเมืองใหม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการกระจายความหนาแน่นและความเจริญที่มักกระจุกตัวอยู่แต่
ในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองเดิม การพัฒนาเมืองเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้มักถูกกำหนดบทบาทหน้าที่ของเมืองที่
ชัดเจนขึ้น เช่น เมืองท่องเที่ยวด้านนันทนาการและบันเทิง เมืองอุตสาหกรรม เมืองศูนย์ราชการ เมืองการศึกษา
เมืองศูนย์กลางคมนาคมขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ เป็นต้น อีกทั้งมักจะนำแนวคิดในการพัฒนาเมืองร่วมสมัย
มาสนับสนุนในมิติต่าง ๆ เช่น Green City Smart City Resilient City Sustainable City เป็นต้น

ที่มา : https://redchalksketch.wordpress.com/2010/10/17/new-songdo-city-by-kpf/
รูปที่ 2.1- 4 เมืองใหม่ซงโด ประเทศเกาหลี (New Songdo City)
ที่ได้รับการออกแบบตามแนวคิดเมืองอัจฉริยะ
2-9
4) องค์ประกอบของการพัฒนาพื้นที่เมืองใหม่
การพัฒนาพื้นที่เมืองใหม่จำเป็นต้องคำนึงถึงมิติต่าง ๆ อย่างรอบด้านและควรสร้างการพัฒนา
ที่สมดุลระหว่างเป้าหมายในมิติต่าง ๆ ซึ่งมีด้วยกัน 4 ด้าน ได้แก่
(1) การพัฒนามิติทางกายภาพ
(1.1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เข้าถึงได้อย่างเสมอภาค มีคุณภาพ และตอบรับภาวะวิกฤต
(1.2) การออกแบบพื้นที่สาธารณะและสถาปัตยกรรมอย่างมีคุณภาพ
(2) การพัฒนามิติทางสิ่งแวดล้อม
(2.1) การสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนากับระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ
(2.2) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
(2.3) การลดภาระที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสู่สภาพแวดล้อม
(3) การพัฒนามิติทางเศรษฐกิจ
(3.1) การเปิดโอกาสให้ระบบเศรษฐกิจใหม่ได้มีบทบาทควบคู่ไปกับระบบเศรษฐกิจ
ดั้งเดิม เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของเมืองในระดับภาพรวม
(3.2) การสร้างโอกาสของการจ้างงานใหม่
(3.3) การเชื้อเชิญให้เกิดการลงทุนใหม่
(3.4) การสร้างแรงดึงดูดกลุ่มประชากรสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และนวัตกรรม
(3.5) โอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มจากการท่องเที่ยว
(4) การพัฒนามิติทางสังคม
(4.1) การพัฒนาเพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีและสร้างความปลอดภัยของทุกคนการ
พัฒนาที่อยู่อาศัย
(4.2) รวมถึงสาธารณูปการทางการศึกษาและสาธารณสุขที่เข้าถึงได้สำหรับคนทุกกลุ่ม
(4.3) การพัฒนาเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันของคนทุกกลุ่มในสังคม

รูปที่ 2.1-5 องค์ประกอบของมิติการพัฒนาเมืองใหม่

2-10
2.1.3 เมืองชาญฉลาด (Smart City)
แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาเมืองชาญฉลาด (Smart City) คือ แนวคิดการพัฒนาเมืองให้
น่าอยู่ (Livability) และยั่งยืน (Sustainability) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการดํารงชีวิตที่ดี
ทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการมีส่วนร่วมและการบริหารจัดการที่ดี โดยมี
ทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อรักษาสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมให้สามารถตอบสนอง
ความต้องการของผู้คนภายในเมืองทั้งปัจจุบันและอนาคต ทำให้แนวคิดเมืองชาญฉลาดหรือ “Smart City” เป็น
กระแสการพัฒนาเมืองที่ถูกพูดถึงอย่างมากในปัจจุบัน โดยเป้าหมายของการพัฒนาเมืองชาญฉลาด ได้แก่
• การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนภายในเมือง (Livability) ให้ได้รับบริการโครงสร้างพื้นฐานที่
สะดวกสบาย สะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพที่ดี
• การพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในเมือง (Workability) ให้ผู้คนภายในเมืองใช้ได้อย่างทั่วถึง เช่น
ระบบสารสนเทศ ระบบขนส่งมวลชน ระบบไฟฟ้าพลังงาน การศึกษาและสาธารณสุข เป็นต้น
• การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างยั่งยืน (Sustainability) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
1) เกณฑ์และตัวชี้วัดในการพัฒนาโครงการ “Smart City”
ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์ ตัวชี้วัด และค่ามาตรฐานความเป็น Smart City ที่ได้รับ
การยอมรับ อย่างสากล ทำให้หลายประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส พยายามพัฒ นาและผลักดันตัวชี้วั ด
ความเป็นเมืองชาญฉลาดของตนให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อสร้างมาตรฐานในการพัฒนาโครงการและเอื้อประโยชน์
ต่อการส่งออกเทคโนโลยี เมืองชาญฉลาดสู่ตลาดนานาชาติ ทั้งนี้ สถาบันอาคารเขียวไทยได้สรุปหลักเกณฑ์
การประเมินการออกแบบเมืองชาญฉลาด เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาตัวอย่างเมืองที่จะนำมาใช้เป็นข้อมูล
ในการออกแบบวางผัง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ตารางที่ 2.1- 2 หลักเกณฑ์การประเมินการออกแบบเมืองชาญฉลาด (Smart City)


ประเด็น หลักเกณฑ์การประเมินการออกแบบเมือง Smart City
Smart community 1) การรวมกลุ่มทางสังคม และระบบการจัดบริการสังคม (Social Inclusion and Welfare)
2) การศึกษา (Education)
3) ความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัย (Safety and Security)
4) สุขภาพและสุขภาวะ (Health and Well-being)
Smart Environment 1) สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural Environment)
(1) การอนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Preservation and protection)
(2) การจัดให้มีเส้นทางธรรมชาติ (Nature trails)
(3) การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (Sustainable use of natural resources)
2) สิ่งแวดล้อมทางการเกษตร (Agricultural Environment)
(1) การฟื้นฟูพื้นที่เชื่อมต่อเมืองและชนบท (Recovery of peri urban area)
(2) ระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม (Eco friendly production)
(3) อุตสาหกรรมปุ๋ยหมัก (Industrial composting
(4) ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำ (System of constructed wetland))

2-11
ตารางที่ 2.1-2 หลักเกณฑ์การประเมินการออกแบบเมืองชาญฉลาด (Smart City) (ต่อ)
ประเด็น หลักเกณฑ์การประเมินการออกแบบเมือง Smart City
(5) นวัตกรรมระบบเพื่อการผลิต เก็บรักษา และขนส่งผลิตผล (Innovative system of production,
collection and transport of product)
3) สิ่งแวดล้อมในเมือง (Urban Environment)
(1) การจัดการขยะ (Waste management)
(2) การจัดการน้ำ (Water management)
(3) พื้นที่ส ีเขี ยว พื้นที่สาธารณะ พื้นที่ที่ผ ่ านการใช้ งานแล้ ว (Green area, public open space, and
brownfield site)
(4) การอนุรักษ์และสร้างมรดกทางวัฒนธรรม (Preservation and production of cultural heritage)
(5) การลดมลพิษและผลกระทบจากปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมือง (Reduction of pollution and
urban heat island effect)
Smart Mobility 1) โครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ (Physical Infrastructure)
(1) การวางผังเมือง (Passive Urban Planning)
(2) ระบบให้บริการพลังงานและสาธารณูปโภค (Energy and Water Distribution Facility)
(3) ระบบคมนาคมขนส่ง (Transportation)
(4) ระบบบริการสาธารณสุข (Healthcare Facility)
2) โครงสร้างพื้นฐานด้าน Digital (Digital Infrastructure)
(1) ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (ICT Infrastructure and Broadband
Internet)
(2) ระบบเครือข่ายเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อการบริหารจัดการเมือง (IoT Network)
3) เทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการ (Operation Technology)
(1) ระบบบริหารจัดการน้ำประปา (Water Management)
(2) ระบบบริหารจัดการการคมนาคมขนส่ง (Transport System)
(3) ระบบบริหารความปลอดภัยและบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน (Public Safety and Emergency System)
(4) ระบบบริหารการศึกษาและข้อมูลการท่องเที่ยว (Education and Tourism)
(5) ระบบการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (E Service)
Smart Energy 1) ค่าดัชนีการใช้พลังงาน (Specific Energy Consumption, SEC)
2) การผลิตพลังงาน (Energy Generation)
(1) การผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy)
(2) การผลิตพลังงานในพื้นที่ (Onsite power generation)
(3) การจัดเก็บพลังงาน (Energy storage)
3) การส่งจ่ายพลังงาน (Energy distribution)
(1) ระบบส่งความเย็นและ/หรือความร้อนในพื้นที่ (District cooling/heating system)
(2) การส่งเสริมการใช้รถยนต์รักษาสิ่งแวดล้อม (Eco vehicle)
4) การเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน (Grid System)
Smart Building 1) การออกแบบอาคารเขียว (Green Building) ที่ประหยัดพลังงานด้วยการออกแบบและบริหารจัด การ
อาคารด้วยเทคโนโลยีที่มีรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งานในบริบทพื้นถิ่นตามเกณฑ์ของสถาบันอาคาร
เขียวไทยและเกณฑ์การใช้พลังงานเฉพาะ
2) การออกแบบอาคารที่มีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building)
Smart Economy 1) แบบจำลองทางธุรกิจในการสร้างมูลค่าของ Smart city
2) การมีส่วนร่วม และความร่วมมือของภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาโมเดลทางธุรกิจ นวัตกรรม
รูปแบบการลงทุน ที่สร้างความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตของเมือง
Smart Governance โครงสร้างองค์กรที่ โปร่งใสและมีส่วนร่วมโดยบุคคลากรที่มีค วามรู้เข้าใจในระบบบริหารจัดการเมืองและ
การวัดผลสำเร็จ
ที่มา : สถาบันอาคารเขียวไทย, 2559

2-12
2) หลักการออกแบบเมืองอัจฉริยะ
แนวคิดเมืองอัจฉริยะเป็นแนวคิดที่มีความสำคัญระดับ Mega trend และถูกนำไปประยุกต์ใช้
ในการพัฒนาเมืองสำคัญทั่วโลก ประกอบไปด้วยหลักการสำคัญ 6 ด้าน ได้แก่
(1) ด้านการบริหารจัดการเมือง (Governance)
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง ความโปร่งใส และความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลด้าน
การพัฒนาเมือง การให้บริการสาธารณะและสังคม และการบูรณาการด้านการบริหารจัดการร่วมกันหลายระดับ
(2) ด้านเศรษฐกิจ (Economy)
การสร้างนวัตกรรม ความเป็นผู้ประกอบการของชาวเมือง ความเชื่อมโยงธุรกิจระหว่าง
ระดับท้องถิ่นกับระดับโลกาภิวัตน์ ศักยภาพในการผลิต และความยืดหยุ่นให้กับตลาดแรงงาน
(3) ด้านการคมนาคมขนส่ง (Mobility)
การบริห ารจัดการการจราจร ขนส่งสาธารณะ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
การสื่อสารของการเดิน ทาง ระบบโลจิส ติกส์ ความสามารถในการเข้าถึงระบบการเดินทางภายในเมือง
ทางเลือกในการเดินทางเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือการไม่เลือกเดินทางด้วยยานยนต์ รวมถึง มีรูปแบบ
การเดินทางที่หลากหลายภายในเมืองที่มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน
(4) ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment)
เครือข่ายด้านการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การวางแผนเพื่อการพัฒนาใหม่ของเมือง การซ่อมแซมกลุ่มอาคารภายในเมืองเพื่อการเป็นอาคารอัจฉริยะ
การบริหารจัดการทรัพยากร และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
(5) ด้านชาวเมือง (People)
การศึกษาด้านดิจิ ตอล ความสามารถในการสร้างสรรค์ของชาวเมือง การทำงานผ่าน
เทคโนโลยีการสื่อสารของชาวเมือง การบริหารจัดการชีวิตชาวเมืองและการสร้างความเป็นชุมชน และการสร้าง
สังคมมีส่วนร่วม
(6) ด้านการอยู่อาศัย (Living)
พื้นที่การท่องเที่ยวของเมือง ความชัดเจนด้านวัฒนธรรม และการเดินทางเข้าเมืองเพื่อ
พักผ่อน การดูแลสุขภาพให้กับชาวเมือง ความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี
สวัสดิการและการมีส่วนร่วมทางสังคม และการบริหารจัดการให้เกิดพื้นที่สาธารณะให้เกิดขึ้น
3) ข้อดีของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
การพัฒนาเมืองใหม่ตามแนวคิดเมืองอัจฉริยะนำมาซึ่งประโยชน์ในหลากหลายมิติ อาทิ
การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในเวทีระดับประเทศและระดับนานาชาติ การกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบ
เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการทำให้เมืองเป็นห้องทดลอง (City as
a lab) การวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ใน
เมือง และการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาข้อมูล และมีส่วนร่วมในกระบวนการบริห าร
จัดการตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและครอบคลุมความต้องการของคนทุกกลุ่ม (Inclusive)

2-13
2.1.4 เมืองยืดหยุ่น (Resilient City)
1) การออกแบบเมืองเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤต
แนวความคิดเรื่องการออกแบบเมืองยืดหยุ่นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพของเมืองให้
สามารถรองรับวิกฤตการณ์หลากหลายรูปแบบในอนาคต โดยพัฒนาเมืองให้มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับตัว
ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและอาจเกิด
เหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ส่งผลกระทบต่อเมืองได้ตลอดเวลา เช่น สภาวการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและ
สิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่ปัญหาภัยพิบัติประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย ปัญหาการขาดแคลน
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำสะอาดหรือน้ำเพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งอาจส่งผลต่อการขาดแคลนอาหารในอนาคต
โดยเฉพาะปัญหาอุทกภัยจากเหตุการณ์ฝนตกหนักผิดปกติ ซึง่ ถือเป็นปัจจัยความเสี่ยงร่วมที่ทุกเมืองใหญ่ทั่วโลก
ต่างต้องเผชิญปัญหาร่วมกัน ทั้งยังส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย รายได้ และเกิดการขาดแคลน
อาหาร

ที่มา : https://www.prachachat.net/general/news-12907
รูปที่ 2.1-6 เหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดนครราชสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2560
นอกจากปัญหาภัย พิบ ัติจ ากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมแล้ว ปัญหา
ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงเหตุการณ์หรือปัจจัยไม่คาดฝัน เช่น โรคระบาดอุบัติใหม่ ยังถือ
เป็นปัจจัยที่ทำให้เมืองมีความเปราะบางและไม่สามารถปรับตัวทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาถือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นว่าแนวคิดการพัฒนาเมืองที่ผ่านมายังมีจุดด้อย
ในเรื่องการออกแบบเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตที่ไม่คาดฝันเช่นนี้และปัญหาที่เกิดขึ้นก็มีความสัมพันธ์
เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ สถานการณ์โ รคระบาดทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกและเมืองต้องหยุดชะงัก
โดยฉับพลัน ปัจจัยดังกล่าวนี้ทำให้ระบบอุตสาหกรรมภายในประเทศไทยที่เน้นการผลิตเพื่อการส่งออกชะลอตัว
นอกจากนี้ มาตรการงดเว้นการเดินทางเพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคอุบัติใหม่ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม
การท่องเที่ยวของประเทศที่เคยเป็นรายได้หลัก การชะลอตัวทางเศรษฐกิจส่งผลทำให้เกิดการเลิกจ้างงาน เกิด
ปัญหาการตกงานและไร้รายได้ของประชากร ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ สถานการณ์โรคระบาดยังส่งผลกระทบต่อ
แนวคิดเรื่องความหนาแน่นของเมืองและปฏิสัม พันธ์ของผู้คน ความจำเป็นที่จะต้องละเว้นระยะห่างทาง
กายภาพส่งผลทำให้ผู้คนต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและวิถีชีวิต ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของ
ประชากร รวมถึงปัญหาความมั่นคงในการเข้าถึงอาหาร สินค้า และการบริการ ประเด็นปัญหาดังกล่าวนี้
กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาความมั่นคงทางสังคมและการเมืองในระดับต่อไป
2-14
2) กรอบแนวคิดการออกแบบเมืองยืดหยุ่น
เพื่อให้เมืองเกิดความสามารถในการดูดซับ ฟื้นฟู และกลับสู่ภาวะเทียบเคียงปกติเมื่อเกิดแรง
กระแทกจากปั จ จัย ที ่ ไม่ค าดฝัน ในอนาคต จึงมีการพัฒ นากรอบแนวคิ ด การออกแบบเมื องยืดหยุ่ น ด้ ว ย
การสนับสนุนจากมูลนิธิ Rockefeller ซึง่ ให้ความสำคัญกับ 4 มิติ 12 ปัจจัยขับเคลื่อน ดังต่อไปนี้
ตารางที่ 2.1-3 มิติและปัจจัยขับเคลื่อนเมืองยืดหยุ่น (Resilient City) ที่พัฒนาขึ้นโดย Arup

ที่มา : www.resilientcity.org
3) องค์ประกอบของการออกแบบชุมชนเมืองยืดหยุ่น
(1) การสร้างความหนาแน่น หลากหลาย และผสมผสาน
(2) การให้ความสำคัญต่อการเดินเท้าและรูปแบบการเคลื่อนที่ที่ไม่พึ่งพาพลังงานตามแนวคิด TOD
(3) การพัฒนาการบริการพื้นฐานในชีวิตประจำวันให้อยู่ในระยะเดินเท้า 500 เมตร
(4) การสร้างคุณภาพของสภาพแวดล้อมตามแนวคิด Place-making
(5) การรักษา ส่งเสริม และจัดการระบบนิเวศทางธรรมชาติรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
(6) การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสำรองที่มีประสิทธิภาพ
(7) การจัดสรรให้เกิดการเข้าถึงทรัพยากรโดยพึ่งพาตนเองและพื้นที่บริการที่มีระยะใกล้ที่สุด
(8) การนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการจัดการ
(9) การเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและดำเนินการ

2.1.5 เมืองนวัตกรรมอาหาร (Foodinnopolis)


FOODINNOPOLIS มาจาก Food + Innovation + Polis = Special Areas of food Innovation
เป็นการพัฒนาพื้นที่ให้เอื้อต่อการผลิตและพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารครบกระบวนการ ออกแบบ
สภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการรองรับกิจกรรมที่เกี่ย วข้องในห่วงโซ่อุปทานด้า นอาหาร (Food
Supply Chain) ทั้งระบบ

2-15
รูปที่ 2.1-7 แสดงองค์ประกอบและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในเมืองนวัตกรรมอาหาร (FOODINNOPOLIS)

1) หลักการเลือกพื้นที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาเมืองนวัตกรรมอาหาร
หลักการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเมืองนวัตกรรมอาหาร ประกอบด้วย แหล่งผลิต
ต้นทางของอาหาร คือ แหล่งเลี้ยง เพาะปลูก เพาะเลี้ยง เป็นเมืองที่มีระบบขนส่งที่สะดวกสบายในการขนส่งทั้ง
รวบรวมและกระจาย มีบุคลากรทั้งในภาคสถาบันทางการศึกษา การปกครองส่วนท่องถิ่น และอุตสาหกรรม
อาหาร มีพื้นที่ที่พร้อมด้านองค์ความรู้และมีอุปกรณ์เครื่องมือและเทคโนโลยีสนับสนุน รวมถึงมีแหล่งเงินทุนใน
การสนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจขนาดเล็ก Startup และ SMEs
2) ภาคีที่มีบทบาทในการร่วมพัฒนาเมืองนวัตกรรมอาหาร
การพัฒนาเมืองนวัตกรรมอาหารต้องการความร่วมมือของ 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคสถาบันทาง
การศึกษา ภาคการปกครองส่วนท่องถิ่น และภาคอุตสาหกรรมอาหารในพื้นที่ โดยแต่ละภาคส่วนมีบทบาทใน
การร่วมพัฒนาเมือง ดังรูปที่ 2.1-8

รูปที่ 2.1-8 ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนหลักเพื่อการพัฒนาเมืองนวัตกรรมอาหาร

2-16
2.1.6 แนวคิดการพัฒนาการเกษตรในเมือง (Urban Agriculture)
การเกษตรในเมือง (Urban Agriculture) หมายถึง การเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำใน
พื้นที่เมืองและบริเวณโดยรอบ รวมถึงการจัดการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ยาที่ได้จากพืช
และสัตว์ เส้นใย และเชื้อเพลิง ด้วยวิธีการเกษตรแบบเข้มข้น โดยรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ใช้วิธีนำกลับมาใช้ใหม่
และรีไซเคิลขยะในพื้นที่เมือง (สมิทและอื่น ๆ, 2539; เพียร์สันและอื่น ๆ, 2554 อ้างถึงใน อริสา, 2560) การทำ
การเกษตรในพื้นที่เมืองและรอบ ๆ เขตพื้นที่เมือง (UPA) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจและ
สังคมและระบบนิเวศของพื้นที่เมือง อาศัยทรัพยากรในพื้นที่เมือง (ที่ดิน แรงงาน และขยะมูลฝอยในเขตเมือง)
และเงื่อนไขต่าง ๆ ในการรักษาความมั่นคงด้านอาหารให้กับประชากรในเขตเมือง รวมถึงบรรเทาความยากจน
และผลกระทบต่อนิเวศวิทยาและสุขภาพ (Mougeot, 2543)
การทำเกษตรในเมืองมีหลายระดับ ตั้ งแต่การทำเกษตรในเมืองขนาดเล็กที่มุ่งเน้นการดำรงชีวิต
การทำสวนและการเลี้ย งปศุส ัตว์กึ่งพาณิชย์ขนาดเล็ก ไปจนถึงธุรกิจพาณิชย์ขนาดกลาง และขนาดใหญ่
ในหลายเมืองของประเทศกำลังพัฒนามีการเพาะปลูกสำหรับบริโภคในครอบครัวด้วยวิธีเกษตรในเมืองเป็น
จำนวนมาก โดยชาวบ้านที่ยากจนหลายครัวเรือนปลูกพืชไว้บริโภคเองและนำไปขายที่ตลาดเพื่อเพิ่มรายได้
กล่าวโดยสรุปคือ การทำการเกษตรในพื้นที่เมืองและรอบ ๆ เขตพื้นที่เมือง (UPA) เป็นกลไกการพัฒนาพื้นที่
เมืองที่ส ำคัญ ที่เรียกว่า การพัฒนาเมืองระบบหลายศูนย์กลาง (Hall & Pain, 2552) ซึ่งหมายถึง รูปแบบ
การพัฒนาพื้นที่และเศรษฐกิจของพื้นที่เขตเมือง มุ่งเน้นเรื่องระบบเขตเมือง ซึ่งส่งเสริมโครงการต่างๆ รวมถึง
โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ประเภทสำคัญของการเกษตรในเมืองสามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1) กลุ่มการทำเกษตรในเมืองระดับจุลภาค คือ การประกอบเกษตรกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการพัฒนาอาคารรวมทั้งพื้นที่เปิดโล่งที่ไม่มี ผู้ใช้ประโยชน์ เช่น การปลูกพืชในละแวกบ้าน การทำสวนใน
บ้าน โรงเรียนและชุมชน และการเลี้ยงสัตว์ตามทางรถไฟหรือใต้ทางสายไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำให้เกิดการเข้าถึง
อาคารและความมั่นคงด้านอาหารสำหรับผู้ยากไร้ได้
2) กลุ่มการเกษตรเขตชุมชนชานเมืองและเกษตรในทางเชื่อมสีเขียว (Green Corridors)
คือ การทำเกษตรกรรมหลายบทบาทขนาดเล็กบริเวณชุมชนชานเมืองหรือบริเวณพื้นที่เชื่อมต่อ (Green links)
ของเขตพื้นที่เมืองและบริเวณโดยรอบ โดยใช้ดินเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินไหว พื้นที่
ลาดชัน และพื้นที่ในระบบนิเวศที่มีความพิเศษหรือคุณค่าเชิงทิวทัศน์ นำไปสู่การผลิตอาหาร การนำขยะใน
เมืองที่ผ่านการหมักกลับมาใช้ใหม่ การกักเก็บน้ำฝน นันทนาการ และความหลากหลายทางชีวภาพ
3) กลุ่มการเกษตรที่นำการปลูกมาไว้บนดาดฟ้า มี 3 ลักษณะ ได้แก่
(1) หลังคาสีเขียวประเภทปล่อย (Extensive) เป็นหลังคาสีเขียวที่ใช้ปลู กหญ้า
เกือบทั้งหมดปลูกหญ้าปกคลุมบนหลังคา โดยที่แทบจะไม่ต้องขึ้นไปดูแล จะมีบ้างก็แค่ขึ้นไปตัด 1-2 ครั้งต่อปี
(2) หลังคาสีเขียวประเภทกึ่งดูแล (Semi-intensive) ส่วนใหญ่เป็นหลังคาที่ปลูกไม้ดอก
หรือหญ้าที่ตัดเรียบ คล้ายกับแบบปล่อย แต่จำเป็นต้องดูแลรักษาและให้ความสวยงามมากกว่า
(3) หลั ง คาสี เ ขี ย วประเภทดู แ ลมาก (Intensive) เป็ น หลั ง คาสี เ ขี ย วที ่ ใ ห้ ทั้ ง
ความสวยงามและสามารถใช้ประโยชน์ได้ เป็นทั้งที่พักผ่อนหย่อนใจและแหล่งผลิตอาหารของคนเมือง

2-17
4) กลุ่มการเกษตรแบบเข้มข้นและการเกษตรเทคโนโลยีขั้นสูง คือ การทำเกษตรกรรมที่
ไม่ได้ใช้ดินเป็นหลักและการทำเกษตรกรรมแบบเข้มข้นในเรือนกระจกที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเกี่ยวข้องกับ
อุตสาหกรรมเกษตร การทำเกษตรในระดับนี้มักจะประสานประโยชน์ของส่วนประกอบของกลุ่มโดยการนำ
ผลิตภัณฑ์พลอยได้กลับมาใช้

การทำเกษตรในระดับจุลภาค การทำเกษตรกรรมที่นำการปลูกมาไว้บนดาดฟ้า

การทำเกษตรกรรมแบบเข้มข้นและเทคโนโลยีขั้นสูง
การทำเกษตรบริเวณชุมชนชานเมือง
ที่มา : อริสา รอดอ่วม, 2560
รูปที่ 2.1-9 ประเภทการทำเกษตรกรรมในเมือง

2.1.7 แนวคิดระบบเมืองอุตสาหกรรมสีเขียว
อุตสาหกรรมสีเขียวเป็นการริเริ่มของดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 1 มุ่งเน้น
การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
นอกจากนี้ การจะเป็นระบบเมืองที่สมบูรณ์ได้ต้องเน้นการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ที่ดีภ ายในชุมชน เริ่มจาก
การปรับปรุงพื้นที่หรือผังเมืองให้เหมาะสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ จัดระบบ
แรงงานทั้งไทยและต่างด้าว เมื่อจัดการกับระบบอุตสาหกรรมแล้วจะทำให้เกิดการสร้างงานและการจ้างงานที่
คำนึงสิ่งแวดล้อม แรงงานจะมีความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีควบคู่กัน ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมในละแวกบ้าน

1กระทรวงอุตสาหกรรม (2556). คู่มือแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาสู่อุตสาหกรรมสีเขียว. กรุงเทพฯ: สำนักงาน

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม.

2-18
ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในละแวกบ้าน เพื่อให้ทั้งอุตสาหกรรมและละแวกบ้านพัฒนาไปพร้อมๆกัน
แต่ข้อจำกัด คือ ชุมชนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสีเขียว จึงไม่สามารถบริหารให้ครอบคลุม
ไปยังชุมชนโดยรอบ

ที่มา : คู่มืออุตสาหกรรมสีเขียว กระทรวงอุตสาหกรรม, พิมพ์ครั้งที่ 8, 2560


รูปที่ 2.1-10 ระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว

2.1.8 การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development หรือ TOD)


แนวคิด การพัฒ นาพื้น ที่ร อบสถานีระบบขนส่งมวลชน หรือ Transit-Oriented Development
(TOD) เป็นแนวคิดในการสร้างรูปแบบการใช้ที่ดินที่มีความสอดคล้องกับระบบการขนส่ง อาศัยการควบคุม
ความหนาแน่นของที่อยู่อาศัย และพื้นที่พาณิชยกรรมให้มีความเหมาะสมต่อขนาดของพื้นที่ ด้วยการวางแผน
ไม่ให้เกิดการกระจายตัวและอยู่ในแนวเส้นทางของระบบการคมนาคมสายหลัก โดยเฉพาะพื้นที่ โดยรอบของ
สถานีโดยสารหรือจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร เชื่อมต่อกันผ่านถนนและทางเดินเท้า ซึง่ องค์ประกอบการออกแบบ
พื้นฐาน ประกอบด้วย รูปแบบการขนส่งภายในพื้นที่จุดรับและส่งผู้โดยสาร การควบคุมลักษณะความหนาแน่น
ของที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม และทางคนเดินเท้าที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม สิ่งสำคัญ คือ การพัฒนาจุดเปลี่ยนถ่าย
การสัญจรหลักให้เชื่อมต่อกับจุดเปลี่ยนถ่ายย่อยด้วยการพัฒนาระบบขนส่งระยะยาว รวมทั้งควรมีการพัฒนา
ระบบขนส่งทางน้ำร่วมด้วย โดยจัดกลุ่มพื้นที่พาณิชยกรรมและสำนักงานหรือพื้นที่การจ้างงานให้อยู่บริเวณ
จุดศูนย์กลางรอบเส้นทางหลักและจุดบริการรถโดยสาร นอกจากนี้ ให้จัดพื้นที่ที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นสูง
ล้อมรอบพื้นที่ศูนย์กลางและที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นปานกลางในพื้นที่ถัดไปจนถึงนอกพื้นที่ชุมชน โดยให้
มีระยะการเดินเท้าภายใน 10 นาที หรือไม่เกิน 800 เมตรจากสถานีโดยสารหรือพื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร
ซึ่งพื้นที่ที่เหมาะสมกับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชน ได้แก่
1) พื้นที่สำหรับการบูรณะฟื้นฟูและการเพิ่มการใช้ประโยชน์เข้าไปในพื้นที่ ซึ่งสามารถดำเนินการ
ได้ในพื้นที่ที่ไม่มีเจ้าของหรือพื้นที่เดิมที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ และอาจเป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นต่ำ
2) พื้นที่ที่เกิดการพัฒนาขึ้นมาใหม่ นับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพมาก โดยเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณขอบ
ของพื้นที่ชุมชนเดิม (Edge of Existing Communities) หรืออยู่ในพื้นที่ชานเมือง (Suburban) ซึ่งการวางแผน
พัฒนาในดังกล่าวควรควบคู่ไปกับการขยายตัวของระบบโครงข่ายการขนส่งบริเวณโดยรอบพื้นที่ด้วย

2-19
ที่มา : ปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563.
รูปที่ 2.1-11 รูปแบบการพัฒนาพื้นที่แบบ Transit-Oriented Development (TOD)

การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชนทำให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ชุมชนและเมือง
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเป็นชุมชนให้เพิ่มมากขึ้น (Sense of Community) เนื่องจากการจัดให้มีที่อยู่อาศัย
สถานที่ทำงาน ร้านค้า และพื้นที่นันทนาการอยู่ในพื้นที่เดียวกัน (Live, Work, and Play) ทำให้เกิดกิจกรรม
และปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยการลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนและการเดินเท้าในระยะโดยรอบสถานี 400-800 เมตร (เวลาประมาณ 5-10
นาที) และการใช้จักรยานในการเดินทางหรือการใช้จุดรับส่งย่อยในชุมชนเพื่อเดินทางไปสู่พื้นที่จุดเปลี่ยนถ่าย
การสัญจรหลัก ชุมชนจึงมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบ
เศรษฐกิจชุมชนภายในพื้นที่ เนื่องจากมีการใช้ทางเดินเท้ามากขึ้นประกอบกับการควบคุมการใช้ ประโยชน์ที่ดิน
ริมทางเดินเท้าให้เป็นที่พักอาศัยกึ่งพาณิชยกรรม สร้างแรงดึงดูดให้ผู้คนเกิดการจับจ่ายใช้สอย กิจกรรมต่าง ๆ
ภายในพื้นที่ เช่น การจ้างงาน การพักอาศัย เป็นต้น นอกจากนี้ หากสร้างเอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะที่มี
ความแตกต่างให้กับพื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร เช่น Harbour city Airport city หรือ Station neighborhood
เป็นต้น จะทำให้เห็นถึงความเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรกับพื้นที่เมืองใหม่ได้เป็นอย่างดี
เนื่องจาก TOD สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาแปลงที่ดินโดยรอบสถานีให้กระชับ มีประสิทธิภาพ
และมีความผสมผสาน จึงนำมาซึ่งประโยชน์ของการพัฒนา 3 ประการหลัก ได้แก่
(1) เพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางที่มีมูลค่าสูงด้วยการเพิ่ม
จำนวนผู้โดยสารในระบบขนส่งมวลชน
(2) ลดต้นทุนในการพัฒนาสาธารณูปโภค ด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูง
(3) ทำให้มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ ที่พักอาศัย และสำนักงานที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสูงขึ้น
ด้วยการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนที่สะดวกสบายและการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ดีขึ้น เนื่องจากมี
ปริมาณผู้สัญจรทางเท้ามากขึ้น
นอกจากนี้ TOD ยัง สนับ สนุนระบบการสัญจรที่ล ดการพึ่งพารถยนต์ ให้ความสำคัญต่ อ
การเดินเท้าและจักรยาน นักวางแผนและพัฒนาเมืองจึงต้องให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบอันได้แก่ ความหนาแน่น
(Density) ความหลากหลาย (Diversity) การออกแบบที่ส่งเสริมการเดินเท้า การขี่จักรยาน (Design) ระยะทาง
ถึงสถานีที่สะดวก (Distance to Transit) และการเข้าถึงจุดหมายปลายทางที่สะดวก (Distance Accessibility)
2-20
ที่มา: https://www.wallpaper.com/architecture/nendo-cofufun-station-plaza-tenri-nara-japan
รูปที่ 2.1-12 ลานสาธารณะหน้าสถานีรถไฟเทนริ (Tenri Station) จังหวัดนารา (Nara) ประเทศญี่ปุ่น

2.1.9 โครงข่ายเมือง (The Urban Network)


ระบบโครงข่ายถนนที่เสนอโดย Peter Calthorpe สถาปนิกและนักผังเมืองชาวอเมริกัน เป็นแนวคิด
ในการขยายตัวของเมือง ซึ่งคำนึงถึงการสร้างเนื้อเมืองไปพร้อมกับการตัดถนนเพื่อแก้ปัญหาการจราจรและ
การขยายตัวอย่างไร้ทิศทางในเขตชานเมือง ระบบโครงข่ายถนนใหม่ นี้เรียกว่า โครงข่ายเมือง (The Urban
Network) ระบบโครงข่ายเมืองจึงอาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการออกแบบวางผัง เนื่องจากการขยายตัวของ
เมื อ งในประเทศไทยส่ ว นมากเป็ น การขยายตั ว ในย่ า นชานเมื อ งลั ก ษณะแนวยาว (Strip Commercial
Development) เกาะไปตามถนนสายหลัก ทำให้เกิดการขยายตัวของเนื้อเมืองอย่างไม่เป็นระเบียบ ดังนั้น
เพื่อสร้างเนื้อเมืองใหม่ที่สามารถควบคุมการขยายตัวในย่านชานเมืองได้จึงต้องวางแผนการขยายตัวตามแนวตั้ง
ในเขตเมืองชั้นในตามเส้นทางระบบขนส่งมวลชนแบบรางมากขึ้น แต่การพัฒนาโครงการที่มีความหนาแน่นสูง
ตามเส้นทางรถไฟฟ้านั้นช่วยแก้ปัญหาเพียงบางส่วนของการขยายตัวเท่านั้น เนื่องจากระบบถนนของเมืองใน
ประเทศไทยเป็นการตัดถนนเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการกำหนดรูปแบบการขยายตัวใน
พื้นที่ที่ยังไม่มีการพัฒนา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงการตามแนวระบบขนส่งมวลชนและพื้นที่ที่ยังพัฒนาได้ไม่
เต็มศักยภาพในเขตเมืองชั้นใน อีกทั้งต้องเป็นการออกแบบวางผังที่เหมาะสมกับระบบการสัญจรแบบใหม่ควบคู่
ไปกับรูปแบบของการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกระแสนิยมเมืองใหม่ (New Urbanism) และกระแสการขยายตัว
อย่างชาญฉลาด (Smart Growth)
โดยรูปแบบการพัฒนาเมืองตามแนวคิดโครงข่ายเมือง (The Urban Network) ของ Peter Calthorpe
เป็นแนวคิดที่สร้างทางเลือกของโครงข่ายการคมนาคมแบบใหม่เพื่อส่งเสริมการเดินเท้า โดยรวมเอาระบบขนส่ง
มวลชนไว้เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึง่ รูปแบบถนนของโครงข่ายเมืองใหม่ที่จะมาทดแทน
ระบบโครงข่ายแบบเดิม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
(1) Transit Boulevards คือ รวมการสัญจรกึ่งท้องถิ่นโดยรถยนต์กับเขตทางของระบบขนส่ง
มวลชนเข้าไว้ด้วยกัน ประกอบด้วย พื้นที่ส่วนกลางสำหรับช่องทางสัญจรผ่านและเขตทางของระบบขนส่ ง
มวลชนร่วมไปกับ Frontage Roads หรือถนนคู่ขนานสำหรับ การเข้าออกอาคารและจอดรถทั้งสองฝั่งถนน

2-21
ซึ่งเป็นร้านค้า ร้านอาหาร สำนักงานขนาดเล็ก อาคารอยู่อาศัยรวม ที่จอดรถ ระบบขนส่งมวลชน และการ
สัญจรปะปนอยู่ด้วยกัน จึงควรมีการพัฒนาโครงการที่มีความหนาแน่นสูงเรียงรายไปทั้งสองฟากถนนและควร
จะตัดผ่านศูนย์กลางระดับเมือง (Town Center) โดยประมาณทุก ๆ 6 กิโลเมตร ทั้งนี้ ระบบขนส่งมวลชนที่วิ่ง
ผ่านเมืองสามารถเป็นได้ตั้งแต่รถไฟฟ้ารางเบา รถราง และรถเมล์ด่วน (Bus Rapid Transit) เนื่องจากต้องเดิน
รถด้วยความถี่ค่อนข้างสูง แต่ระบบที่นำมาใช้ควรมีราคาถูก รถเมล์ด่วนจึงน่าจะเหมาะสมที่สุด
(2) Throughways คื อ ถนนที ่ จ ำกั ด การต่ อ เชื ่ อ มเข้ า ออกและสงวนไว้ ส ำหรั บ การเดิ น ทาง
ระยะไกล สำหรับ รถบรรทุกและกิจ กรรมที่ต้องพึ่งพารถยนต์ เช่น โกดังเก็บของ โรงงานขนาดเล็ก และ
อุตสาหกรรมเบา ซึ่งควรต้องห่างไกลจากระบบขนส่งมวลชนและชุมชน โดยในบางช่วงของถนน Throughways
อาจมีพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งทอดตัวขนานไปกับถนนเพื่อเป็นทางเผื่อเลือกหรือทางฉุกเฉิน
(3) Local Arterials คือ ถนนที่มุ่งไปสู่ย่านพาณิชยกรรม ตัดผ่านทั้งถนน Throughways และ
ถนน Transit Boulevards เกิดเป็นทางแยกทุก ๆ 1.6 กิโลเมตร (1 ไมล์) ซึง่ ควรสนับสนุนให้เกิดเป็นศูนย์กลาง
ระดับหมู่บ้าน (Village Center) ที่มีถนนคู่ขนานเดินรถทางเดียวขนาดไม่เกิน 2 ช่องทางเดินรถ คล้ายกับ
บริเวณศูนย์กลางระดับเมือง (Town Center) แต่มีขนาดเล็กกว่า
ถนนทั้ง 3 ประเภททำให้เกิดจุดตัดและทางแยกที่ แตกต่างกัน ได้แก่ วงเวียนประเภทต่าง ๆ
และทางแยกที่เกิดจากถนนคู่ขนานเดินรถทางเดียว (One way Couplets) มาตัดกัน ทดแทนทางแยกเดิมที่มี
ขนาดใหญ่เกินไปและทำให้รถผ่านไปได้ช้า โดยวงเวียนใช้เพื่อเพิ่มความคล่องตัวของการจราจรบนถนนทั่วไป
ส่วนถนนคู่ขนานเดินรถทางเดียวใช้เพื่อให้การพัฒนาย่านพาณิชยกรรมหรือศูนย์ชุมชน ที่เกิดขึ้นติดกับหรือ
ครอบทับไปบนสี่แยกขนาดใหญ่ทยี่ ังคงสัดส่วนมนุษย์อยู่ (Human Scale) ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้จริงของผู้คน
ทั้งนี้ บริเวณศูนย์กลางเมืองระดับย่านเป็นจุดที่ถนน Transit Boulevards แยกตัวออกเป็น
ถนนคู่ขนานเดินรถทางเดียว 2 สายที่ห่างกันหนึ่งช่วงถนน (One Block) เพื่อสร้างระบบตารางของถนนที่
เหมาะสมกับสัดส่วนมนุษย์ โดยมีขนาดของช่วงถนนที่มีความยาวประมาณ 200 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่พอดีต่อ
ระยะการเดินเท้าและการเชื่อมต่อทั่วบริเ วณ ศูนย์กลางระดับย่านประกอบด้วยสาธารณูปการที่จำเป็น ได้แก่
พาณิชยกรรม สวนสาธารณะ ศูนย์การเรียนรู้ สถานศึกษา สถานพยาบาล สถานีตำรวจ เป็นต้น ซึง่ ตามแนวคิด
พื้นที่ศูนย์กลางเมืองเหมาะสมสำหรับการเป็นสวนสาธารณะให้บริการระดับเมือง เพื่อเสริมสร้างทั้งสุขภาพคน
เมืองและสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับเมือง จึงควรมีศูนย์การเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-library) ตั้งอยู่ติดกับพื้นที่
สวนสาธารณะเพื่อเสริมสร้างแหล่งการเรียนรู้ให้แก่เด็กและผู้ใหญ่ไปพร้อมกัน บริเวณโดยรอบถนนคู่ขนานเดิน
รถทางเดียวซึ่งเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญ ควรมีการพัฒนาโครงการที่มีความหนาแน่นสูงและอาคารสาธารณูปการที่
สำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะพาณิชยกรรมเรียงรายไปภายในช่วงถนน รวมถึงสถานศึกษาและสถานพยาบาลซึ่งมี
ระยะบริการครอบคลุมศูนย์ระดับย่านนี้ โดยสถานพยาบาลควรอยู่ติดถนนสายหลักเพื่อให้เข้าถึงได้สะดวกและ
รวดเร็วในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น เดียวกันกับสถานีตำรวจและสถานีดับเพลิง โดยในบริเวณรอบศูนย์กลาง
เมืองที่มีถนนสายหลักตัดผ่านเป็นโครงข่ายที่เข้าถึงได้ง่ายควรเป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
รองรับการอยู่อาศัยของคนเมืองเพื่อสร้างความกระชับ (Compact City) ให้กับเมืองและความคุ้มค่า ของ
สาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างเต็มที่ ก่อนจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยในบริเวณถัด ออกมารอบ
ศูนย์กลางเมือง ซึ่งสามารถเข้าถึงได้โดยถนนสายรองและถนนสายย่อยโดยรอบ

2-22
ขณะที่ศูนย์กลางระดับชุมชน (Village Center) ควรตั้งอยู่ในบริเวณจุดตัดของถนน Local
Arterials กับถนน Connecter Street และ Throughways หรือ Transit Boulevards โดยห่างจากศูนย์กลาง
ระดับย่าน (Town center) ในระยะ 1.6 กิโลเมตร (1 ไมล์) และประกอบไปด้วยสาธารณูปการที่จำเป็น ได้แก่
พาณิชยกรรม สวนสาธารณะ ศูนย์การเรียนรู้ สถานศึกษา สถานพยาบาล สถานีตำรวจ เป็นต้น

ที่มา : ปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563.


รูปที่ 2.1-13 แผนผังองค์ประกอบของโครงข่ายเมือง (Urban Network Diagram)

ที่มา : ปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563. ที่มา : ปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563.


รูปที่ 2.1-14 แผนผังองค์ประกอบของศูนย์กลางเมือง รูปที่ 2.1-15 แผนผังองค์ประกอบของศูนย์กลางระดับ
ระดับย่าน (Town Center Diagram) ชุมชน (Village Center Diagram)

2.1.10 ข้อกำหนดรายละเอียดอาคารและสภาพแวดล้อม (Form-based Codes)


การกำหนดข้อกำหนดรายละเอียดอาคารและสภาพแวดล้อ ม (Form-Based Code: FBC) เป็น
เครื่องมือในการกำหนดแนวทางการออกแบบโดยรอบสถานี ขนส่งมวลชนและเหมาะที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับ
บริบทชานเมืองของไทยภายใต้กรอบโครงสร้างด้านกฎหมายและข้อจำกัดต่าง ๆ

2-23
1) ระเบียบข้อกำหนดรหัส Form-Based Code: FBC
รหัส Form-Based Code (FBC) คือ ข้อกำหนดในการพัฒนาที่ดินเพื่อกำหนดรูปแบบอาคาร
และสร้างคุณภาพอาคารที่ดีจากลักษณะทางกายภาพ รหัส FBC ไม่ได้เป็นเพียงแนวทางการออกแบบเท่านั้น
แต่ยังเป็นกฎระเบียบที่นำไปใช้ในเมืองหรือเขตและกฎหมายของประเทศ รหัส FBC จึงเป็นทางเลือกที่ มี
ศักยภาพในการควบคุมเขตการควบคุมผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน (zoning) แบบเดิมและเป็น หนึ่งในแนวทาง
การปฏิบัติที่ดีที่สุดในขั้นพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน
(mixed-use places) โดยองค์ประกอบหลัก 5 ประการของ FBC ประกอบด้วย 1) แผนการกำกับดูแล 2)
มาตรฐานสาธารณะ 3) รูปแบบอาคารมาตรฐาน 4) การบริหาร และ 5) คำจำกัดความ
2) ตัวอย่างแผนการควบคุมสำหรับ FBC
สำหรับตัวอย่างแผนการควบคุมสำหรับ FBC ที่ปรึกษาได้ศึกษาโครงการการพัฒนาพื้นที่รอบ
สถานีขนส่งมวลชนเวสต์ เลค (West Lake TOD) มลรัฐอินเดียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่ง มีวัตถุประสงค์
เพื่อให้ประชาชนและนักพัฒนาได้มองเห็นถึงวิสัยทัศน์ระยะยาวของแต่ละชุมชนและใช้เป็นภาพรวมการอ้างอิง
ประเภทอาคารที่ได้รับอนุญาต จากรูปที่ 2.1-16 ตารางด้านขวาอธิบายถึงรูปแบบอาคารที่ได้รับอนุญาตใน
ที่ดินประเภทต่าง ๆ เช่น หากผู้พัฒนาต้องการสร้างสิ่งปลูกสร้างในที่ดินประเภทการใช้งานแบบผสมผสาน
ผู้พัฒนาสามารถดูจากพื้นที่ที่กำหนดว่า MX-R/MX-C/MX-F หรือ MX-P ว่ามีอาคารรูปแบบใดบ้างที่ได้รับ
อนุญาตให้สร้างได้ในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ แต่ละพื้นที่ของโครงการ West Lake TOD ยังได้กำหนดกรอบ
การควบคุมในแผนผังสี เพื่อแสดงถึงการใช้งานของรูปแบบอาคารและการใช้ประโยชน์ตามข้อกำหนดที่ได้
กำหนดไว้ในตาราง ซึ่งจะช่วยให้ท้องถิ่นสามารถควบคุมประเภทและคุณภาพของการพัฒนารอบสถานีใหม่ ทั้งนี้
แต่ละชุมชนทีม่ ีการบังคับใช้รหัส FBC จะต้องผ่านกระบวนการทำประชาพิจารณ์

2-24
ที่มา : http://westlaketod.civicpage.com
รูปที่ 2.1-16 การกำหนดรูปแบบอาคารและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี
เวสต์ เลค (West Lake TOD) มลรัฐอินเดียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา
ตารางที่ 2.1-4 รหัส Form-Based Code ของรูปแบบอาคารและการใช้งานเฉพาะในพื้นที่โครงการพัฒนา
พื้นที่รอบสถานีเวสต์ เลค (West Lake TOD)
รูปแบบอาคาร รายละเอียด
หน่วยอาคาร (หน่วย) 25 - 35
ขนาด -
ระยะถอยร่น ด้านหน้า : 0-1.5 เมตร
ด้านข้าง : 1.5 เมตร
การใช้ประโยชน์อาคาร ร้านค้าปลีก, พาณิชยกรรม, สำนักงาน
รูปแบบหน่วยพักอาศัย คอนโดมิเนียม/อะพาร์ตเมนต์ : soft loft
Mixed-use (Retail, Commercial) การเข้าถึงของยานพาหนะ จากซอย : ถ้าไม่มีซอย ให้กำหนด 1 ถนนจากถนนหลัก
หน่วยอาคาร (หน่วย) 30 – 35
ขนาด -
ระยะถอยร่น ด้านหน้า : 0-1.5 เมตร
ด้านข้าง : 1.5 เมตร
การใช้ประโยชน์อาคาร มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน, ที่อยู่อาศัย
รูปแบบหน่วยพักอาศัย คอนโดมิเนียม/อะพาร์ตเมนต์ : soft loft
Mixed-use (Flex, Residential) การเข้าถึงของยานพาหนะ จากซอย : ถ้าไม่มีซอย ให้กำหนด 1 ถนนจากถนนหลัก

2-25
ตารางที่ 2.1-4 รหัส Form-Based Code ของรูปแบบอาคารและการใช้งานเฉพาะในพื้นที่โครงการพัฒนา
พื้นที่รอบสถานีเวสต์ เลค (West Lake TOD) (ต่อ)
รูปแบบอาคาร รายละเอียด
หน่วยอาคาร (หน่วย) 0
ขนาด -
ระยะถอยร่น ด้านหน้า : 0-1.5 เมตร
ด้านข้าง : 1.5 เมตร
การใช้ประโยชน์อาคาร ร้านค้าปลีก, สำนักงาน
One-storey retail การเข้าถึงของยานพาหนะ จากซอย : ถ้าไม่มีซอย ให้กำหนด 1 ถนนจากถนนหลัก
ตารางที่ 2 หน่วยอาคาร (หน่วย) 30 – 35
ขนาด 36.5+ เมตร
ระยะถอยร่น ด้านหน้า : 0 เมตร
ด้านข้าง : 3 เมตร
การใช้ประโยชน์อาคาร ที่อยู่อาศัย
การเข้าถึงของยานพาหนะ จากซอย : ถ้าไม่มีซอย ให้กำหนด 1 ถนนจากถนนหลัก
Midrise & Courtyard
หน่วยอาคาร (หน่วย) 6-8
ขนาด 15.3 เมตร x 33.5 เมตร
ระยะถอยร่น ด้านหน้า : 1.5-4.5 เมตร
ด้านข้าง : 1.5 เมตร
การใช้ประโยชน์อาคาร ที่อยู่อาศัย
การเข้าถึงของยานพาหนะ จากซอย : ถ้าไม่มีซอย ให้กำหนด 1 ถนนจากถนนหลัก
Live-Work
หน่วยอาคาร (หน่วย) 20 - 30
ขนาด 15.3 เมตร x 33.5 เมตร
ระยะถอยร่น ด้านหน้า : 0 เมตร
ด้านข้าง : 3 เมตร
การใช้ประโยชน์อาคาร ที่อยู่อาศัย
การเข้าถึงของยานพาหนะ จากซอย : ถ้าไม่มีซอย ให้กำหนด 1 ถนนจากถนนหลัก
4-8 Unit Building
หน่วยอาคาร (หน่วย) 20 - 30
ขนาด 20 เมตร x 33.5 เมตร
ระยะถอยร่น ด้านหน้า : 1.5-4.5 เมตร
ด้านข้าง : 1.5 เมตร
การใช้ประโยชน์อาคาร ที่อยู่อาศัย
การเข้าถึงของยานพาหนะ จากซอย : ถ้าไม่มีซอย ให้กำหนด 1 ถนนจากถนนหลัก
Townhome
หน่วยอาคาร (หน่วย) 20 - 30
ขนาด 15.3 เมตร x 33.5 เมตร
ระยะถอยร่น ด้านหน้า : 1.5-4.5 เมตร
ด้านข้าง : 1.5 เมตร
การใช้ประโยชน์อาคาร ที่อยู่อาศัย
การเข้าถึงของยานพาหนะ จากซอย : ถ้าไม่มีซอย ให้กำหนด 1 ถนนจากถนนหลัก
Duplex/Stacked duplex
ที่มา : ปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563.

2-26
ที่มา : http://westlaketod.civicpage.com
รูปที่ 2.1-17 แผนผังกำหนดขอบเขตการควบคุม FBC ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีเวสต์ เลค
(West Lake TOD) สถานี Hammond Gateway
จะเห็นได้ว่า นอกจากการพัฒนาพื้นที่ของสถานีระบบขนส่งมวลชน (Transit-Oriented
Development: TOD) แล้ว ในต่างประเทศยังมีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาบริเวณโดยรอบสถานีใน
ลักษณะการควบคุมรูปแบบอาคารที่เรียกว่า Form-Based Code ซึ่งเป็นรายละเอียดของการควบคุมการใช้
ประโยชน์ที่ดินที่ปรับปรุงจากการใช้การควบคุมความหนาแน่น เช่น พื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area
Ratio) พื ้ น ที ่ โ ล่ ง ระยะถอยร่ น ฯลฯ มาเป็ น การกำหนดขนาดมวลอาคาร รู ป แบบอาคารโดยตรง โดย
การประยุกต์ใช้ FBC จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจของสังคมเป็นอย่างมาก การให้ความรู้กับสาธารณชนเพื่ อ
ปูพื้นฐานความเข้าใจจึงเป็นการเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การใช้ FBC อย่างเต็มรูปแบบ

2.1.11 สรุปสาระสำคัญหลักการพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดทำ
แผนแม่บทเมืองใหม่
จากการทบทวนหลักการและแนวคิดการพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาแผน
แม่บทเมืองใหม่นครราชสีมาจะนำหลักการและแนวคิดผสมผสานและเชื่อมโยงกันไปสู่การวางแผน แม่บท
เมืองใหม่นครราชสีมา โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ
1) ความเชื่อมโยงของคำนิยามและแนวคิดกับการพิจารณารอบด้านในการพัฒนาเมืองใหม่
กล่าวคือ คำนิยามและแนวคิดเรื่องเมืองใหม่จะเป็นการพัฒนาเมืองโดยมีแนวคิดมาจากรัฐบาลหรือผู้บริหาร
ระดับสูง (top-down) แตกต่างจากการวางแผนรองรับการขยายตัวตามแนวโน้มเสมือนกับการเติบโตของเมือง
ปกติ โดยแนวคิดเรื่องเมืองใหม่ (New Town) จะมีส่วนช่วยในการพิจารณาทั้งตำแหน่งของการพัฒนาเมืองที่
ไม่จำเป็นต้องตั้งติดกับตำแหน่งเมืองเดิม แต่สามารถตั้งอยู่ตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากคำนิยามแ ละ
แนวคิดเมืองใหม่ (New Town) ยังตอกย้ำถึงการคำนึงประเด็นการวางแผนในทุกมิติครอบคลุมทั้งกายภาพ
เศรษฐกิจ และสังคมที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์ในเมืองมาก ทั้งกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาอยู่อาศัยและการลด
ความเหลื่อมล้ำภายในเมืองที่จะช่วยให้เมืองใหม่นั้นประสบความสำเร็จ

2-27
2) ความเชื่อมโยงของคำนิยามและแนวคิดกับการพิจารณาบทบาทการพัฒนาเมืองใหม่ กล่าวคือ
การนำแนวคิดที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดบทบาทบนพื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนา
เมืองใหม่ในอนาคต อาทิ แนวคิดเมืองชาญฉลาด เมืองนวัตกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสีเขียว หรือการเกษตรใน
เมือง โดยแนวคิดต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นแนวคิดใหม่ที่ช่วยแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งยังมีส่วนในการดึงดูด
การลงทุน อาทิ การพัฒนาบทบาทเมืองให้เป็นเกษตรกรรมผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่จากแนวคิดเมืองชาญฉลาด
3) ความเชื่อมโยงของคำนิยามและแนวคิดกับการพิจารณารายละเอียดการออกแบบพัฒนาเมืองใหม่
กล่าวคือ ตามคำนิยามและแนวคิดเรื่องเมืองใหม่ (New Town) เป็นการวางแนวคิดการพัฒนาเมืองใหม่ในทุกมิติ
ซึ่งรวมถึงมิติการออกแบบ ซึ่งแนวคิดเรื่องเมืองยืดหยุ่น การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชน และ
โครงข่ายเมือง เมื่อนำมาพิจารณาในการออกแบบจะช่วยส่งเสริมและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มี
การลงทุน ในพื้นที่ อย่างคุ้มค่า รวมทั้งยังเพื่อลดระดับความรุนแรงของปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
การรับมือทางโครงสร้าง อาทิ การนำแนวคิดเมืองยืดหยุ่นมาออกแบบเพื่อให้เมืองใหม่พร้อมรับกับสถานการณ์
การเกิดภัยพิบัติในเมืองได้
อย่างไรก็ตาม หลักการและแนวคิดเหล่านี้ย่อมมีการพิจารณาพร้อมกัน เพื่อให้ครบถ้วนในมิติของการ
วางแผนแม่บท อาทิ การพิจารณาแนวคิดเมืองใหม่ควบคู่ไปกับแนวคิดเมืองชาญฉลาดและแนวคิดการพัฒนา
พื้นที่รอบสถานี ฯ ซึ่งจะทำให้แผนเมืองใหม่ที่กำหนดลงไปนั้นครอบคลุมและมีความรอบด้านมากยิ่งขึ้น

2.2 ศึ กษา รวบรวม และวิ เคราะห์ กฎหมาย ระเบี ยบ ข้ อบั งคั บ และมาตรการต่ าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (TOR ข้อ 4.1.2)
2.2.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน
1) พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 มีการกำหนดให้เริ่มใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน
นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับเดิม ซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติ
การผังเมือง พ.ศ. 2518 และฉบับแก้ไขที่ใช้บังคับมา 44 ปี โดยพระราชบัญญัติการผังเมืองฉบับใหม่นี้มีการเพิ่ม
ประเภทของผังเมืองขึ้นอีก 3 ประเภท นอกเหนือจากผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ (มาตรา 8 (2)) ซึ่งเป็นผัง
สำหรับกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ยังเพิ่ม ผังนโยบายระดับประเทศ
ผังนโยบายระดับภาค และผังนโยบายระดับจังหวัด ซึ่งเป็นผังนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน (มาตรา 8 (1))
โดยกำหนดให้การวางและจั ดทำผังเมืองทุกระดับต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ช าติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ สภาพเศรษฐกิจและ
สังคม รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือ
การพัฒนาของพื้นที่ (มาตรา 6) และกำหนดนิยามของประเภทผังต่าง ๆ ซึ่ง ประเภทของผังที่เกี่ยวข้องกับ
โครงการ ได้แก่ “ผังเมืองเฉพาะ” หมายความว่า แผนผังและโครงการดำเนินการเพื่อพัฒนาหรือดำรงรักษา
บริเวณเฉพาะแห่งหรือกิจการที่เกี่ยวข้องในเมือง บริเวณที่เกี่ยวข้อง หรือชนบท เพื่อประโยชน์ในการสร้างเมือง
ใหม่ การพัฒนาเมือง การอนุรักษ์เมือง หรือการฟื้นฟูเมือง มีองค์ประกอบตามมาตรา 40 ประกอบด้วย

2-28
(1) วัตถุประสงค์ในการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะ
(2) แผนที่แสดงเขตของผังเมืองเฉพาะ
(3) แผนผังที่ทำขึ้นเป็นฉบับเดียวหรือหลายฉบับ โดยมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
(ก) แผนผังแสดงการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งจำแนกเป็นประเภทกิจการ
พร้อมทั้งแนวเขตการแบ่งที่ดินออกเป็นประเภทและย่าน
(ข) แผนผั ง แสดงโครงการการคมนาคมและการขนส่ ง โดยแสดงการเชื ่ อ มต่ อ
โครงข่ายการคมนาคมและการขนส่งไว้ด้วย พร้อมทั้งรายละเอียดแสดงแนวและขนาดทางสาธารณะ
(ค) แผนผังแสดงรายละเอียดของกิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการ
สาธารณะ ตามโครงสร้างพื้นฐาน
(ง) แผนผังแสดงที่โล่ง
(จ) แผนผังแสดงการกำหนดระดับพื้นดิน
(ฉ) แผนผังแสดงบริเวณที่ตั้งของสถานที่หรือวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทาง
ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี ที่จะพึงส่งเสริมดำรงรักษาหรือบูรณะ
(ช) แผนผังแสดงบริเวณที่มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือภูมิประเทศที่
งดงาม หรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ รวมทั้งต้นไม้เดี่ยวหรือต้นไม้หมู่ที่จะพึงส่งเสริมหรือบำรุงรักษา
(ซ) แผนผังแสดงพื้นที่สีเขียวและพื้นที่อนุรักษ์
ในกรณีที่ผังเมืองเฉพาะไม่มีสาระสำคัญประการใดตาม (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ
(ซ) จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผังเมือง โดยมีเหตุผลอันสมควร และให้ระบุเหตุผลดังกล่าวไว้
ในผังเมืองเฉพาะนั้นด้วย
(4) รายการและคำอธิบายประกอบแผนผังตาม (3) รวมทั้งประเภทและชนิดของอาคารที่
จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง
(5) ข้อกำหนดที่จะให้ปฏิบัติหรือไม่ให้ปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผังเมืองเฉพาะ
ดังต่อไปนี้
(ก) แนวเขตของทางและขนาดของที่ดินของเอกชนเพื่อใช้เป็นที่อุปกรณ์
(ข) ประเภท ชนิด ลักษณะ ขนาด ความสูง และจำนวนของอาคารที่จะอนุญาตหรือ
ไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง
(ค) ประเภทและขนาดของกิจการที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ดำเนินการ
(ง) ประเภท ชนิด ขนาด จำนวนและลักษณะของอาคารที่ชำรุดทรุดโทรม หรืออยู่
ในสภาพอัน เป็น ที่น ่ารังเกี ย จ หรือน่าจะเป็นอันตรายแก่ผ ู้อาศัยหรือสัญจรไปมา ซึ่งจะถูกสั่งให้รื้อหรื อ
เคลื่อนย้ายตามคำสั่งของคณะกรรมการบริหารการผังเมืองส่วนท้องถิ่นตามมาตรา 57
(จ) การใช้ ป ระโยชน์ ข องอาคารที ่ อ นุ ญ าตให้ ก ่ อ สร้ า งขึ ้ น ใหม่ ห รื อ อนุ ญ าตให้
เปลี่ยนแปลง อันผิดไปจากการใช้ประโยชน์ตามที่ ได้ขอไว้เมื่อขออนุญาตก่อสร้าง ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจาก
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
(ฉ) ขนาดและแปลงที่ดินที่จะอนุญาตให้เป็นที่ก่อสร้างอาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ
ตามที่ได้ระบุไว้ในผังเมืองเฉพาะ รวมทั้งบริเวณของที่ดินที่กำหนดให้เป็นที่โล่งเพื่อประโยชน์ตามที่ระบุไว้
2-29
(ช) การส่งเสริมดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่หรือวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุ ณค่า
ในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี
(ซ) การดำรงรักษาที่โล่ง
(ฌ) การส่งเสริมหรือบำรุงรักษาต้นไม้เดี่ยวหรือต้นไม้หมู่
(ญ) การดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
(ฎ) การอื่นที่จำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผังเมืองเฉพาะ
ในกรณีที่ผังเมืองเฉพาะไม่มีข้อกำหนดประการใดตาม (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ)
(ฌ) (ญ) หรือ (ฎ) จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผังเมืองโดยมีเหตุ ผลอันสมควรและให้ระบุ
เหตุผลดังกล่าวไว้ในผังเมืองเฉพาะนั้นด้วย
(6) รายละเอียดที่ดินของเอกชนเพื่อใช้เป็นที่อุปกรณ์เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตาม
ผังเมืองเฉพาะ
(7) รายละเอียดและแผนที่ระบุที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
ของแผ่น ดิน หรือซึ่ง กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด องค์กรปกครองส่ว นท้ อ งถิ่ น หรือหน่ว ยงานของรั ฐ
เป็นเจ้าของผู้ครอบครอง หรือผู้ดูแลรักษา ซึ่งจะนำมาใช้เพื่อประโยชน์แก่การผังเมือง
(8) แผนที่ แผนผัง หรือรายละเอียดอื่น ๆ ตามความจำเป็น
ในกรณีที่จะมีการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะในพื้นที่ใด ถ้าพื้นที่นั้นไม่มีการวางและจัดทำ
ผังเมืองรวมหรือมีการวางและจัดทำผังเมืองรวม แต่ไม่ได้มีการกำหนดสาระสำคัญตามมาตรา 22 (5) (ค) (ง) (จ)
หรือ (ฉ) ไว้ ถ้ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะ จะกำหนดสาระสำคัญตาม
มาตรา 22 (5) (ค) (ง) (จ) หรือ (ฉ) ไว้ด้วยก็ได้
พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 39 อาจกำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจออก
กฎกระทรวงกำหนดรายละเอียดแห่งข้อกำหนดตาม (5) รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามผังเมือง
เฉพาะด้วยก็ได้
ตามมาตรา 41 เมื่อได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นให้ใช้บังคับผังเมือง
รวม ณ ท้องที่ใดแล้ว ถ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของท้องที่นั้นเห็นสมควรจะจัดให้มีการวางและจัดทำผังเมือง
เฉพาะในท้องที่ของตนขี้น หรือจะขอให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทำผังเมืองเฉพาะก็ได้
ในท้องที่ใดไม่ว่าจะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
หรือไม่ก็ตาม หากรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการผังเมืองจังหวัดพิจารณาเห็นว่ามีเหตุจำเป็นที่จะต้องมี
การวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะขึ้น อาจสั่งให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นวางและ
จัดทำผังเมืองเฉพาะก็ได้
ในกรณีที่เป็นการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะที่ไม่มีองค์ประกอบตามมาตรา 40 (5) (ก) (ง) และ
(ญ) (6) และ (7) หากคณะกรรมการผังเมืองเห็นสมควรอาจสั่งให้กรมโยธาธิการและผังเมืองวางและจัดทำผังเมือง
เฉพาะในบริเวณนั้นก็ได้

2-30
การวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะ กำหนดให้เป็นบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และกรมโยธาธิ ก ารและผั ง เมื อ งในการพั ฒ นาเมื อ ง (Urban Development) การอนุ ร ั ก ษ์ เ มื อ ง (Urban
Conservation) การฟื้นฟูเมือง (Urban Rehabilitation and Redevelopment) ตลอดจนการสร้างเมืองใหม่
(New Town Development) จึงย่อมมีแผนผังและข้อกำหนดที่มีรายละเอียดและใช้เป็นการควบคุมเขตพื้นที่
ซ้อนทับ (Overlay Zoning) เพิ่มขึ้นจากแผนผังและข้อกำหนดของผังเมืองรวมในบริเวณพื้นที่นั้น ๆ
ทั้งนี้ ตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 กำหนดให้การวางและจัดทำ
ผังเมืองเฉพาะต้องสอดคล้องกับผังเมืองรวม และคำนึงถึงความคิดเห็นของเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรือผู้
มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายในที่ดินของผู้อื่น อีกด้วย
2) พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543
พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 ได้กำหนดนิยามของการขุดดิน การถมดิน
และให้อำนาจรัฐ มนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการออกกฎหมายที่
เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดพื้นที่ห้ามขุดดินหรือถมดิน และหลักเกณฑ์ในการขุดดินหรือถมดิน ทั้งนี้ รัฐมนตรีโดย
คำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนด
(1) บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน
(2) ความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินตามชนิดของดิน ความลึกและ
ขนาดของบ่อดินที่จะขุดดิน ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน และระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดิน
ถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น
(3) วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
(4) วิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
(5) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นในการขุดดินหรือถมดิน
3) พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปัญหาความเสื่อมโทรมของดินโดยการอนุรักษ์ดินและน้ำ
ไม่ให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ
สามารถเข้าไปดำเนินการป้องกันรักษาสภาพพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มและเกิดการชะล้ าง
พังทลายของดินอย่างรุนแรง และเพื่อให้การใช้ที่ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดย
กำหนดนิยามที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
“การพัฒนาที่ดิน” หมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อดินหรือที่ดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ
คุณภาพของดินหรือที่ดิน หรือเพื่อเพิ่มผลผลิ ตทางการเกษตรให้สูงขึ้น และหมายความรวมถึงการปรับปรุงดิน
หรือที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูร ณ์ตามธรรมชาติหรือขาดความอุดมสมบูรณ์เพราะการใช้ประโยชน์ และ
การอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อรักษาดุลธรรมชาติหรือเพื่อความเหมาะสมในการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
“การวางนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน ” หมายความว่า การวางนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
ให้เหมาะสมกับสภาพของดินและสอดคล้องกับประเภทของที่ดินที่ได้จำแนกไว้ (มาตรา 4)

2-31
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน มีอำนาจและหน้าที่กำหนดการจำแนก
ประเภทที่ดินและเสนอขอรับความเห็ นชอบต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับไป
ปฏิบัติ วางแผนการใช้ที่ดิน การพัฒนาที่ดิน การกำหนดบริเวณการใช้ที่ดินและการกำหนดเขตการอนุรักษ์ดิน
และน้ ำ ประกาศกำหนดเขตสำรวจที ่ ด ิ น และประกาศกำหนดเขตสำรวจการอนุ ร ั ก ษ์ ด ิ น และน้ ำ เสนอ
คณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ในการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาความเดือดร้อนหรือความเสียหายที่
อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ครอบครองที่ดินตามความเหมาะสมจากการกำหนดบริเวณการใช้ที่ดินหรือการกำหนดเขต
หรือการกำหนดมาตรการต่าง ๆ และรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการฯ ยังมีอำนาจประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา เพื่อกำหนด “เขตอนุรักษ์ดินและน้ำ” และ “ควบคุมการใช้ที่ดิน” ดังนี้
กำหนด “เขตอนุรักษ์ดินและน้ำ” สำหรับพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดชันเสี่ยงต่อการชะล้าง
พังทลายของดิน หรือเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม อันเกิดจากการกระทำของผู้เข้า ไปครอบครองทำประโยชน์ใน
บริเวณพื้นที่ดังกล่าวโดยไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ หากปล่อยไว้ไม่ดำเนินการจะเกิด
การชะล้างพังทลายของดิน อย่างรุนแรงจนถึงขั้นเกิดดินถล่มสร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ของ
ประชาชน
การ “ควบคุมการใช้ที่ดิน” สำหรับพื้นที่ที่มีการใช้หรือทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีหรือ
วัตถุอื่นใดที่จะทำให้ที่ดินเกิดความเสื่อมโทรมต่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรบริเวณนั้น
4) พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. 2547
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดินหลายแปลงโดยการวางผังจัดรูปที่ดินใหม่ ปรับปรุง
หรือจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการร่วมรับภาระและกระจายผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม โดยความร่วมมือ
ระหว่างเอกชนกับเอกชนหรือเอกชนกับรัฐ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เหมาะสมยิ่งขึ้นทั้งในด้าน
คมนาคม เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชนและสอดคล้ องกับการผังเมือง โดยมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริม
ให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการจัดรูปที่ดิน กำหนดให้มีคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบ
กำหนดมาตรการ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินและให้มีคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดในแต่ละจังหวัด
โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ซึ่งในการจัดทำโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่จะต้องสอดคล้องกับ
หลักการผังเมืองหรือผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองแล้วแต่กรณี นอกจากนี้ ผู้ริเริ่มโครงการจะต้องจัด
ประชุมเจ้าของที่ดินเพื่อปรึกษาหารือและรับฟังความเห็นนำมาปรับปรุงโครงการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรวบรวม
และแสดงหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของที่ดินที่สมัครใจไว้ให้ชัดเจน ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่าสองในสามของ
เจ้าของที่ดินทั้งหมดและเป็นเจ้าของที่ดินมีเนื้อที่รวมกันไม่น้อยกว่าสองในสามของที่ดินในบริเวณนั้น ทั้งนี้
ยังได้กำหนดนิยามที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
“การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่” หมายความว่า การดำเนินการพัฒนาที่ดินหลายแปลงโดย
การวางผังจั ดรู ป ที่ ดิ น ใหม่ ปรับ ปรุงหรื อจัดสร้ างโครงสร้ างพื้ นฐาน และการร่ว มรั บภาระและกระจาย
ผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยความร่วมมือระหว่างเอกชนกับเอกชนหรือเอกชนกับรัฐ เพื่อให้เกิดการใช้
ประโยชน์ในที่ดินที่เหมาะสมยิ่งขึ้นในด้านการคมนาคม เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชน และเป็น
การสอดคล้องกับการผังเมือง

2-32
“โครงการจัดรูปที่ดิน” หมายความว่า โครงการที่จัดทำขึ้นสำหรับการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนา
พื้นที่ (มาตรา 3)
5) พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนให้ท ำเพียงเท่าที่จ ำเป็นต้องใช้เพื่อการอันเป็น
สาธารณูปโภค หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น จึงมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่อย่างปกติของ
ประชาชนในสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของตน ซึ่งรัฐได้ตระหนักถึงผลกระทบ ปัญหา อุปสรรค
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ กรณีที่หน่วยงานที่เวนคืนไม่ใช้อสังหาริมทรัพย์ตาม
วัตถุประสงค์ที่เวนคืนภายในกำหนดระยะเวลาหรือมีที่ดินเหลือจากการใช้ประโยชน์ หากเจ้าของเดิมหรือ
ทายาทประสงค์จะได้คืน ต้องคืนให้แก่บุคคลดังกล่าวโดยระยะเวลา การขอคืน การคืน และการเรียกคืน
ค่าทดแทนให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
6) พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562
เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด
ยกเว้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน อสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล
และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการของส่วนราชการเป็นหลัก เช่น
เป็นที่ตั้งที่ทำการ บ้านพักข้าราชการ หรือดำเนินกิจกรรมอื่นตามภารกิจของส่วนราชการ ส่วนที่เหลือจาก
การใช้ราชการสามารถมาจัดให้เช่าได้ พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็น การปรับปรุงจากพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ
พ.ศ. 2518 ที่มีการใช้บังคับมาเป็นเวลานานจึงมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
มีการกำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน
กรรมการ และให้กรมธนารักษ์เรียกคืนที่ราชพัสดุจากส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ (มาตรา
22) ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เลิกใช้ที่ราชพัสดุ
(2) ครอบครองที่ราชพัสดุโดยมิได้รับอนุญาต
(3) ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21
(4) ไม่ใช้ที่ราชพัสดุภายในระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ทำความตกลงกับกรมธนารักษ์
นอกจากนี้ การจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุจากบุคคลที่มิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
ต้องเป็นไปเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการ โดยต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (มาตรา 27)
(1) วัตถุประสงค์ในการจัดหาประโยชน์
(2) สภาวะและที่ตั้งของที่ราชพัสดุนั้น
(3) อัตราค่าเช่าตามปกติในท้องตลาด
(4) ผลประโยชน์ตอบแทนอื่นนอกเหนือจากค่าเช่าที่ได้รับ
(5) มูลค่าอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินที่ตกหรือจะตกเป็นของกระทรวงการคลัง อันเป็นมูลค่า
ในเวลาที่สัญญาสิ้นสุด
ทั้งนี้ การจั ดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 27 ซึ่งมีราคาที่ราชพัสดุเกินกว่า 500 ล้านบาท
ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (มาตรา 28)

2-33
2.2.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาคาร
1) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
เป็นกฎหมายว่าด้วยการกำหนดลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรม วิศวกรรม ความปลอดภัย
สภาพแวดล้อมของอาคาร ซึ่งมีความสำคัญต่อการก่อสร้างและใช้สอยอาคารที่เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อ
ประกอบกิจการตามข้อกำหนดผังเมืองรวม ปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารฉบับแก้ไขทั้งหมด 4 ฉบับ
ได้แก่ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558
ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมเพื่อกำหนดให้เรื่องที่เป็นรายละเอียดทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน
หรือเคลื่อนย้ายอาคารที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อใช้เป็นข้อปฏิบัติ ในการ
ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามมาตรฐานสากลซึ่งมีการ
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามพัฒนาการของเทคโนโลยีเกี่ยวกับการก่อสร้าง รวมถึงกำหนดให้เจ้าของอาคาร ผู้
ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการสำหรับอาคารบางชนิดหรือประเภทต้องจัดให้มีการประกันภัย ความรับผิด
ตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เพื่อให้บุคคลดังกล่าวได้รับการชดใช้ค่าเสียหายใน
เบื้องต้นในกรณีที่บุคคลนั้นได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินจากอาคารนั้น และปรับปรุง
กระบวนการเกี่ยวกับการแจ้งการก่อสร้างดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุ ญาต ให้มีความ
เหมาะสมกับการพัฒนาบุคลากรและองค์กรวิชาชีพด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
2) พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522
เนื ่ องจากปั ญ หาในด้ านที ่ อยู ่ อ าศั ยภายในเมื อ งได้ เพิ ่ ม มากขึ ้ น และระบบกรรมสิ ทธิ ์ ใ น
อสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่อาจสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งต้องอยู่อาศัย
ในอาคารเดียวกันโดยร่วมกันมีกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารนั้นแยกจากกันเป็นสัดส่วนได้ กฎหมายฉบับนี้จึงได้วาง
ระบบกรรมสิทธิ์ห้องชุดขึ้นเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในอาคารเดียวกันสามารถถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารส่วนที่เป็นของตน
แยกจากกันเป็นสัดส่วนและสามารถจัดระบบค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอาคารร่วมกันได้ โดยวางมาตรการควบคุม
การจัดตั้งอาคารชุดให้เหมาะสมเพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ผู้ที่จะมาซื้อห้องชุดเพื่ออยู่อาศัย เช่น กำหนดให้
กรรมสิทธิ์ในห้องชุดแบ่งแยกมิได้ (มาตรา 12) โดยที่เจ้าของห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลที่เป็นของ
ตนเองและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินส่วนกลาง สำหรับพื้นห้อง ผนังกั้นห้องที่แบ่งระหว่างห้องชุดใดให้เป็น
กรรมสิทธิ์ร่วมของเจ้าของร่วมระหว่างห้องชุดนั้น ดังนั้น เจ้าของห้องชุดจะกระทำการใด ๆ ต่อทรัพย์สินบุคคลของ
ตนที่อาจกระทบกระเทือนต่อโครงสร้าง ความมั่นคง การป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารหรือการอื่นตามที่
กำหนดในข้อบังคับมิได้ (มาตรา 13) กรรมสิทธิ์ส ่วนที่เป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์ส ินส่วนกลางให้เป็นไปตาม
อัตราส่วนระหว่างราคาห้องชุดแต่ละห้อง กับราคารวมของห้องชุดทั้งหมดในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุด
(มาตรา 14) เป็นต้น
นอกจากนี ้ การกำหนดให้ คนต่ างด้ าวหรื อนิ ต ิ บ ุ คคลที ่ ม ี ส ิ ทธิ ในที ่ ด ิ นเสมื อนคนต่ างด้ าว
บางประเภทอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุดนั้น โดยกำหนดอัตราส่วนการถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดในแต่ละอาคารชุด
ของคนต่างด้าวและนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 49 ของเนื้อ
ที่ของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้น (มาตรา 19 ทวิ) ทัง้ นี้ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนอันจะก่อให้เกิด
ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ

2-34
2.2.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมและขนส่ง
1) พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540
การดำเนินการตามโครงการระบบขนส่งมวลชนอาจมีทั้งส่วนที่ต้องสร้างไปบน เหนือ หรือใต้
พื้นดินหรือพื้นน้ำ รัฐอาจมีความจำเป็นต้องเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เป็นแดนกรรมสิทธิ์
บน เหนือ หรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำซึ่งมิใช่กรณีเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยกำหนดนิยามที่เกี่ยวข้องดังนี้
“กิจการขนส่งมวลชน” หมายความว่า การจัดสร้าง ขยาย บูรณะ ปรับปรุง ซ่อมแซม และ
บำรุงรักษาระบบขนส่งมวลชน การให้บริการหรือการอำนวยความสะดวกแก่สาธารณชนผู้ใช้หรือจะใช้ระบบ
ขนส่งมวลชน และการดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการดังกล่าว
“ระบบขนส่งมวลชน” หมายความว่า รถขนส่งมวลชน ทางรถขนส่งมวลชน สถานีรถขนส่ง
ที่จอดรถขนส่งมวลชน ศูนย์ซ่อมบำรุง โรงเก็บของการเดินรถขนส่งมวลชน การจัดให้มีสถานีที่จอดยานพาหนะ
ของผู้โดยสาร ระบบพลังงาน ระบบควบคุม ระบบสัญญาณ ระบบจัดจำหน่ายและเก็บค่าโดยสาร ระบบความ
ปลอดภั ย ระบบระบายอากาศ ระบบระบายน้ ำ และระบบสื ่ อ สารที ่ ใ ช้ ใ นกิ จ การขนส่ ง มวลชน และให้
หมายความรวมถึงอาคารและอุปกรณ์ของระบบดังกล่าวด้วย
“ทางรถขนส่งมวลชน” หมายความว่า รางหรือทางที่จัดสร้างขึ้นโดยเฉพาะ สำหรับรถขนส่ง
มวลชนไม่ว่าจะจัดสร้างอยู่บน เหนือ หรือใต้พื้นดิน หรือพื้นน้ำ หรือผ่านไปในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ก็ตาม
ในกรณีที่หน่วยงานใดมีความจำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการ
ขนส่งมวลชนโดยไม่จ ำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นให้ด ำเนินการตาม
บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ แต่ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ให้ด ำเนินการตาม
กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
2) พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543
พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ได้ให้รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงคมนาคมมีอำนาจประกาศเขตระบบรถไฟฟ้าและประกาศกำหนดบริเวณใกล้เคียงกับเขตระบบ
รถไฟฟ้าเป็นเขตปลอดภัยระบบรถไฟฟ้า และให้การรถไฟฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีอำนาจ
ประกาศกำหนดเงื่อนไขในการรก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่จะมีผลกระทบ
ต่อระบบรถไฟฟ้าและให้ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ การดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวได้อาศัยอำนาจตามมาตรา
38 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดปลูก
สร้างอาคาร โรงเรือน ต้นไม้หรือสิ่งอื่นใด ติดตั้งสิ่งใด ขุดหรือเจาะพื้นดิน ถมดิน ทิ้งสิ่งของ หรือกระทำการใด ๆ
ที่อาจทำให้เกิดอันตรายหรือเป็นอุปสรรคแก่ระบบขนส่งมวลชน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
และในการอนุญาตนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่จะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดด้ว ยหรือไม่ก็ได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า
การควบคุมความปลอดภัยระบบรถไฟฟ้าเป็นการควบคุม
การดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินและการก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้าง ซึ่งรวมถึงการปลูกต้นไม้
ในบริเวณพื้นที่ข้างเคียงกับระบบรถไฟฟ้า หรืออีกนัยหนึ่งคือการควบคุมให้เป็นที่โล่งเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในที่นี้
อาจนำมาพิจารณาปรับใช้เป็นมาตรการการควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับประกอบการพัฒนาพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการ
สัญจร (Transit Oriented Development : TOD) บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทางราง

2-35
3) พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535
เป็นกฎหมายที่แก้ไขข้อกฎหมายเดิมที่ใช้ในการควบคุมดูและรักษาทางหลวงที่มีการใช้บังคับ
มาเป็นเวลานาน โดยปรับปรุงข้อกำหนดเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปั จจุบัน เพื่อเป็น
การควบคุม รักษา และสงวนเขตทางหลวง โดยกำหนดประเภทของทางหลวงไว้ดังนี้
(1) ทางหลวงพิเศษ คือ ทางหลวงที่มีการออกแบบเพื่อให้การจราจรสามารถผ่านได้ตลอด
และรวดเร็วเป็นพิเศษ ซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศกำหนดใหเป็นทางหลวงพิเศษและกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการ
ก่อสร้าง ขยายบูรณะและบำรุงรักษา รวมทั้งควบคุมให้มีการเข้าออกได้เฉพาะโดยทางเสริมที่เป็นส่วนหนึ่งของ
ทางหลวงพิเศษที่กรมทางหลวงจัดทำขึ้นไว้เท่านั้น
(2) ทางหลวงแผ่นดิน คือ ทางหลวงสายหลักที่ เป็นโครงข่ายเชื่อมระหว่างภาค จังหวัด
อำเภอ ตลอดจนสถานที่ที่สำคัญ ที่กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการกอสร้างขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และได้
ลงทะเบียนไวเป็นทางหลวงแผ่นดิน
(3) ทางหลวงชนบท คือ ทางหลวงที่กรมทางหลวงชนบท เป็นผู้ดำเนินการกอสร้างขยาย
บูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงชนบท
(4) ทางหลวงท้องถิ่น คือ ทางหลวงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง
ขยาย บูรณะ และบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงท้องถิ่น
(5) ทางหลวงสัมปทาน คือ ทางหลวงที่รัฐบาลได้ใหสัมปทานตามกฎหมายวาด้วยทางหลวง
ทีไ่ ด้รับสัมปทาน และได้ลงทะเบียนไวเป็นทางหลวงสัมปทาน
นอกจากนี้ กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุม การรักษา การขยายและสงวนเขตทางหลวง
ได้แก่ การควบคุมทางหลวงและการควบคุมทางหลวงพิเศษ การรักษาทางหลวง และการขยายและสงวนเขต
ทางหลวง และได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับ ตรวจตรา และควบคุมทางหลวง
และงานทาง
4) พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ได้มีการใช้บังคับมาเป็น
เวลา ไม่มีเหมาะสมกับ สภาพการณ์ปัจจุบัน จึงมีการปรับปรุง จัดทำกฎหมายฉบับนี้ขึ้นเพื่อเป็นการควบคุม
เกี่ยวกับการประกอบการขนส่งทางบก เช่น การประกอบการขนส่ง การชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่ ง
การรับจัดการขนส่ง รถ ผู้โดยสาร เป็นต้น โดยกำหนดให้มี “คณะกรรมการนโยบายการขนส่ง ทางบก”
“คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก” และ “ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกอบการขนส่ง”

2.2.4 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
1) พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
มีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขในด้านต่าง ๆ
เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของมนุษย์อย่างใกล้ชิด จัดให้มีการกระจาย
อำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่น โดยให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการออก “ข้อกำหนดของ
ท้องถิ่น ” และให้อำนาจแก่เจ้า พนัก งานท้ องถิ่ นในการควบคุ ม ดูแ ลโดยการออกคำสั่ งให้ แก้ ไขปรั บ ปรุ ง
การอนุญาต หรือไม่อนุญาต การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งการเปรียบเทียบคดี เป็นต้น

2-36
นอกจากนี้ ยังกำหนดประเภทหรือขนาดของกิจการในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งอาศัยอำนาจของ
รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญหรื อผลกระทบต่อสภาวะ
ความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อม และกำหนดหลักเกณฑ์ใน
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ผู้ขออนุญาตจะต้อง
ดำเนินการก่อนการพิจารณาออกใบอนุญาต
2) พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งการประปาส่วนภูมิภาค เพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับ
การผลิตจัดส่งและจำหน่ายน้ำประปาในส่วนภูมิภาค รวมถึงการบัญญัติขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการทำกิจการ
ต่าง ๆ โดยปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยการประปาส่วนภูมิภาคฉบับแก้ไขจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติ
การประปาส่วนภูมิภาค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550
ซึ่งปรับปรุงแก้ไขในการให้การประปาส่วนภูมิภาคสามารถขยายโครงการเดิมหรือริเริ่มโครงการใหม่ กำหนด
อัตราจำหน่ายน้ำ ประปา และจำหน่ายทรัพ ย์ส ินจากบั ญชี เป็ น สู ญ โดยไม่ต้องได้รั บความเห็นชอบจาก
คณะรัฐมนตรีก่อน แต่ยังคงสาระสำคัญการให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เป็นนิติบุคคลทีม่ ีวัตถุประสงค์ใน
การประกอบและส่งเสริมธุรกิจการประปาโดยการสำรวจและให้อำนาจในการจัดหาแหล่งน้ำดิบและจัดหาน้ำดิบ
เพื่อใช้ในการผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปา รวมทั้งการดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับธุรกิจ
การประปา เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การให้บริการสาธารณูปโภคโดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและสุขภาพ
อนามัยของประชาชนเป็นสำคัญ โดยการประปาส่วนภูมิภาคมีอำนาจเดินท่อน้ำและติดตั้งอุปกรณ์ไปใต้ เหนือ
ตามหรือข้ามพืน้ ดินของบุคคลใด ๆ ในเมื่อที่ดินนั้นมิใช่ที่ตั้งโรงเรือนสำหรับอยู่อาศัยและห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้าง
โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ปลูกต้นไม้ หรือกระทำการใด ๆ อันอาจทำให้เกิดอันตรายหรือเป็นอุปสรรค
ในบริเวณดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากการประปาส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ หากการประปาส่วนภูมิภาคมี
ความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในการวางหรือจัดสร้างระบบการผลิตน้ำประปา ถ้าไม่
สามารถตกลงในเรื่องการโอนกันได้ ให้ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
3) พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินการผลิตจัดส่งและ
จำหน่ายพลังงานไฟฟ้า รวมถึงบัญญัติขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการทำกิจการต่าง ๆ จึงตรากฎหมายฉบับนี้เพื่อ
ประโยชน์ของประชาชนทุกท้องถิ่น ในการสร้าง บำรุงรักษาระบบการส่งไฟฟ้า และเพื่อความรวดเร็ว ใน
การดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า โดยปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคฉบับ
แก้ ไ ขเพิ ่ ม เติ ม อี ก 3 ฉบั บ (พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2542) ซึ ่ ง เป็ น การแก้ ไ ขบทบั ญ ญั ต ิ จ าก
พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่ วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 ในส่วนของการขยายอำนาจการดำเนินการของการไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาค ในเรื่องการออกพันธบัตรเพื่อการลงทุนจัดตั้งบริษัท รวมทั้งปรับปรุงอำนาจในการเข้าดำเนินการ
ในที่ดินหรือทรัพย์สินของบุคคลใด เพื่อประโยชน์แก่การสร้างและบำรุงรักษาซึ่งระบบการส่งไฟฟ้า โดย จัดตั้ง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิต จัดให้ได้มา จัดส่ง และจำหน่ายพลังงาน
ไฟฟ้า รวมถึงดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหาก
การไฟฟ้าสวนภูมิภาคมีความจำเป็นที่จะตองได้ มาซึ่งอสังหาริมทรัพ ย์เพื่อใชในการก่อสร้างโรงผลิตพลังงาน
ไฟฟ้าหรือตั้งสถานีไฟฟา ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไวเป็นอย่างอื่น ใหดำเนินการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วย
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
2-37
4) กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560
กฎกระทรวงฉบั บ นี ้ อ อกตามพระราชบั ญ ญั ต ิ ก ารสาธารณสุ ข พ.ศ. 2535 ว่ า ด้ ว ยเรื ่ อ ง
การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการการควบคุมหรือกำกับดูแลการกําจัดมูลฝอยทั่วไปให้ถูกสุขลักษณะ
รวมทั้งกำหนดมาตรฐานความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนและวิธีดำเนินการเพื่อตรวจสอบ
ควบคุมหรือแก้ไขสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน โดย
กำหนดนิยามของ “มูลฝอยทั่วไป” ว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุถุงพลาสติก ภาชนะ
ที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาดที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น แต่ไม่
หมายความรวมถึง มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน และสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสีย
ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน ดังนั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารอยู่อาศัยรวมที่มีจำนวน
ห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไปหรือมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือผู้ครอบครองอาคาร
โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีปริมาณมูลฝอยทั่วไปตั้งแต่ 2 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ต้องจัดให้มี
ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้

2.2.5 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
1) พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
เป็นกฎหมายว่าการดำเนินงานนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการปรับปรุงจาก
ประกาศของคณะปฏิว ัติ ว่าด้ว ยการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การจัดตั้ง การเปลี่ยนแปลงเขตและการยุบนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงการประกอบกิจการ ประโยชน์ และ
ข้อห้ามในเขตนิคมอุตสาหกรรม ปัจจุบัน มีพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยฉบับแก้ไข
เพิ่มเติมจำนวน 4 ฉบับ (พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2558 และ พ.ศ. 2562) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมให้ครอบคลุม
กิจการที่จำเป็นหรือเป็นประโยชน์แก่การดำเนินงาน กำหนดให้มี บทบัญญัติเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่
ได้มาจากการตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินที่ชัดเจน รวมทั้งกำหนดให้
การพิจารณาอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ หรือรับจดทะเบียน หรือรับแจ้งตามกฎหมาย
บางฉบับที่จำเป็นให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวก
แก่ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม และกำหนดให้การนำของหรือวัตถุดิบเข้าไปในเขตประกอบการเสรีเพื่อ
พาณิชยกรรมได้รับความสะดวกมากขึ้น และได้กำหนดนิยามของ “นิคมอุตสาหกรรม” หมายถึง เขตพื้นที่ดิน
ซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่ง
อำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง
ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ นอกจากนั้นยังประกอบด้วย บริการอื่นที่จำเป็น อาทิ ที่ทำ
การไปรษณีย์โทรเลข ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับคนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งมี 2
ประเภท ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมทั่วไปและเขตประกอบการเสรี ผู้ที่จะประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม
จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้ว่าการหรือผู้ที่ผู้ว่าการมอบหมาย โดยผู้ประกอบกิจการดังกล่าวจะได้รับ
การยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

2-38
2) พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และแก้ไขฉบับเพิ่มเติม
เป็นกฎหมายที่ดูแลการประกอบกิจการโรงงานภายใต้ระบบการกำกับหรือการอนุญาต และ
กำหนดขอบเขตการประกอบกิจการโรงงาน ตลอดจนขั้นตอนการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออก
คำสั่งเพื่อบังคับให้โรงงานปฏิบัติตามกฎหมาย มีการแบ่งโรงงานออกเป็น 3 จำพวกตามความจำเป็นใน
การควบคุมดูแล การป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ การป้องกันความเสียหาย และการป้องกันอันตรายตาม
ระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมี
บทบัญญัติที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการวางและจัดทำผังเมือง ได้แก่
“โรงงาน” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 50
แรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็
ตาม สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือ
ทำลายสิ่งใด ๆ ทั้งนี้ ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง
โดยให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้โรงงานตามประเภทชนิดหรื อขนาดใดเป็น
โรงงานจำพวกที่ 1 โรงงานจำพวกที่ 2 หรือโรงงานจำพวกที่ 3 แล้วแต่กรณี โดยแบ่งออกเป็นดังนี้
• โรงงานจำพวกที่ 1 ได้แก่โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่ส ามารถประกอบกิจ การ
โรงงานได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการโรงงาน
• โรงงานจำพวกที่ 2 ได้แก่โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงาน
ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน
• โรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่การตั้งโรงงานจะต้องได้รับ
ใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้
ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งในท้องที่ใดจะตั้งหรือขยายโรงงานจำพวก ประเภท
หรือชนิดใดได้หรือไม่จะต้องเป็นตามที่รัฐ มนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐ มนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจา
นุเบกษา โรงงานแต่ละจำพวกต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ตั้งของโรงงาน สภาพแวดล้อมของโรงงาน
ลักษณะอาคารของโรงงานหรือลักษณะภายในของโรงงาน และมาตรฐานและวิธีการควบคุ มการปล่อยของเสีย
มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงานตามที่กำหนดไว้ใน
กฎกระทรวง
รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งเป็น “เขตประกอบการอุตสาหกรรม” ได้ และ
อาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้บริเวณโดยรอบเขตประกอบการอุตสาหกรรมหรือนิคมอุตสาหกรรม ซึ่ง“เขต
ประกอบการอุตสาหกรรม” เป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรม โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับคือ ยกเว้น
ไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายโรงงาน นอกจากนี้ ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการพัฒนาพื้นที่
เพื่อรองรับอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง นโยบายชุมชนอุตสาหกรรม วันที่ 8 สิงหาคม
2539 โดยการพิ จ ารณาและกำหนดเขตชุ ม ชนอุ ต สาหกรรม จากกรมโรงงานอุ ต สาหกรรม กระทรวง
อุตสาหกรรม สิทธิประโยชน์ที่ได้รับคือ การพิจารณาอนุญาตตามกฎหมายโรงงาน จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากได้มีการพิจารณาพื้นที่โดยรวมและประเภทอุตสาหกรรมที่จะประกอบกิจการในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว

2-39
2.2.6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไข
เพิ่มเติม
เป็นกฎหมายที่ให้รัฐมนตรีว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคำแนะนำของ
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ออกกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมทาง
ธรรมชาติ หรือเขตพื้นที่คุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านศิลปกรรม หรือกรณีพื้นที่ใดที่ได้มีการกำหนดให้เป็น
เขตอนุรักษ์ เขตผังเมืองรวม เขตผังเมืองเฉพาะ เขตควบคุมอาคาร เขตนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตควบคุม
มลพิษไว้แล้ว แต่ปรากฏว่ามีสภาพปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมรุนแรงเข้าขั้นวิกฤตซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการ
แก้ไขโดยทันทีและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไม่มีอำนาจตามกฎหมายหรือ ไม่สามารถที่จะทำการแก้ไขปัญหาได้
ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีขออนุมัติเข้ า
ดำเนินการเพื่อใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และเป็นการกำหนดนิยามที่
เกี่ยวข้อง ได้แก่ “คุณภาพสิ่งแวดล้อม” “มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม” “มลพิษ” “แหล่งกำเนิดมลพิษ”
“เขตอนุรักษ์” และ “วัตถุอันตราย” เป็นต้น ปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา
คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นฉบับปรับปรุงแก้ไขในส่วนของการจัดทำรายงาน
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA/EHIA) เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและ
ปรับปรุงหลักเกณฑ์การปฏิบัติให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
2) พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562
เป็นกฎหมายฉบับล่าสุดที่แก้ไขและยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับเดิมที่ใช้มาเป็นเวลานาน เพื่อ
สงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง และบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ และ
บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุล
และยั่งยืน สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศตามพันธกรณี รวมถึงเพื่อประโยชน์ของประเทศในการเป็น
แหล่งศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติหรือนันทนาการของประชาชน โดยพื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
ต้องไม่เป็นที่ดินที่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่นของ
บุคคลใด เว้นแต่เป็นที่ดินของหน่วยงานของรัฐในส่วนของการกำหนดให้พื้นที่บริเวณใดเป็นอุทยานแห่งชาติ
การขยายอุทยานแห่งชาติ หรือการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้มีการรับฟังความคิดเห็น
และการมีส ่ว นร่ว มของผู้มีส ่วนได้เสีย ชุมชนที่ เกี่ยวข้อง และประชาชน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา
ดำเนินการ รวมถึงการห้ามเพิกถอนอุทยานแห่งชาติไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อนำมากำหนดเป็นวนอุทยาน
สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ รวมทั้งห้ามยึดถือหรือครอบครองที่ดินหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้
เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ไปจากเดิม รวมถึงห้ามเข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์
ผู้ที่กระทำความเสียหายให้กับทรัพยากรในพื้นที่ดังกล่าวจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
จากการฟื้นฟูจากการบุกรุกและเสียหาย
3) พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
เป็นกฎหมายว่าด้วยการประกาศกำหนดพื้นที่เป็นป่าสงวนหรือเป็นป่าคุ้มครอง เพื่อลดและ
ป้องกันการทำลายป่าและช่องทางให้มีการบุกรุกทำลายป่า เพื่อให้สามารถดำเนินการคุ้มครองป้องกัน เพื่อรักษาไว้

2-40
ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าของชาติ และมิให้อาชีพเกษตรกรรมของประชาชนส่วนใหญ่และเศรษฐกิจของประเทศ
ถูกกระทบกระเทือนจากผลของการทำลายป่า ปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติฉบับแก้ไขทั้งหมด 3 ฉบับ
(พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2559) โดยบรรดาป่าที่เป็นป่าสงวนอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและ
สงวนป่าก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควร
กำหนดป่าอื่นใดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ให้กระทำได้โดยออกกฎกระทรวงซึ่งต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตป่าที่กำหนด
เป็นป่าสงวนแห่งชาตินั้นแนบท้ายกฎกระทรวงด้วย ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเขตหรือการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าใด ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กระทำได้โดยออกกฎกระทรวงและในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอน
บางส่วนให้มีแผนที่แสดงแนวเขตแนบท้ายกฎกระทรวงด้วย
4) พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
เป็นกฎหมายที่สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่าเพื่อการค้าในที่ดินของรัฐและ
เอกชนให้กว้างขวางขึ้น มีบทบัญญัติรองรับและคุ้มครองสิทธิการทำไม้หวงห้ามที่ได้จากการปลูกสวนป่า เพื่อ
สนับสนุนให้มีการปลูกสวนป่าและส่งเสริมอาชีพใหประชาชนมีงานทำและผลิตไม้เพื่อเป็นสินค้าตลอดจนเพิ่ม
พื้นที่ทําไมใหมีปริมาณมากขึ้น โดยปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยสวนป่าที่ใช้บังคับอยู่จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย
พ.ร.บ. สวนป่า พ.ศ. 2535 และพ.ร.บ. สวนป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นฉบับแก้ไข โดยแก้ไขหลักเกณฑ์
การขึ้นทะเบียนสวนป่า การแปรรูปไม้ในสวนป่า ตลอดจนการเก็บหา ค้า มีไว้ในครอบครอง หรือนำเคลื่อนที่ซึ่ง
ของป่าในสวนป่า การออกใบสำคัญรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและปรับปรุงมาตรการในการกำกับดูแล
และแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมและจูงใจให้มีการปลูกสร้างสวนป่าควบคู่ไปกับ
การบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ของประเทศให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยมีการแก้ไขและเพิ่มเติมนิยามบางคำ
เช่น “สวนป่า” “ของป่า” เป็นต้น
5) พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520
เป็นกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำบาดาลและปัญหาแผ่นดินทรุด เนื่องจากมีการเจาะน้ำ
บาดาลใช้กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตและยังไม่มีการควบคุมให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
ตามหลักวิชาการ จึงอาจเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและสุขภาพของประชาชน โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการน้ำบาดาล
ทำหน้าทีใ่ ห้คำแนะนำแก่คณะรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงหรือประกาศที่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หรือเรื่องอื่นที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล (กพน.) เพื่อใช้จ่ายใน
การศึกษา วิจัย พัฒนา และอนุรักษ์แหล่งน้ำบาดาลและสิ่ งแวดล้อม ช่วยเหลือและอุดหนุนกิจการที่เกี่ยวกับ
การทดแทนและอนุรักษ์แหล่งน้ำบาดาล รวมถึงการกำหนดเขตน้ำบาดาล การเปลี่ยนแปลงเขตน้ำบาดาลหรือ
เขตห้ า มสู บ น้ ำ บาดาล หรื อ การยกเลิ ก เขตน้ ำ บาดาล ให้ ร ั ฐ มนตรี ม ี อ ำนาจกำหนดโดยคำแนะนำของ
คณะกรรมการและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาพิจ ารณาจากเขตท้องที่ที่มีการสูบน้ำบาดาลมากจนทำให้
ชั้นน้ำบาดาลเสียหายหรือเสื่อมสภาพ หรืออาจเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรของชาติ หรือทําให้สิ่งแวดล้อม
เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายแก่ทรัพย์สินหรือสุขภาพของประชาชน หรือทําให้แผ่นดินทรุด โดยกำหนดหลักเกณฑ์
และมาตรการทางวิชาการและกำหนดวิธีการในการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก
นอกจากนี้ ยังกำหนดการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล ห้าม
ไม่ให้ผู้ใดประกอบกิจการน้ำบาดาลในเขตน้ำบาดาลใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินใน
เขตน้ำบาดาลนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตตามหลักวิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนด

2-41
6) พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
เป็นกฎหมายที่บูรณาการการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ บำรุงรักษา การฟื้นฟู รวมทั้ง
การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องกัน
โดยให้มี “คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.)” “คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด” “สำนักงาน
ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ” ในแต่ละภาค รวมทั้งกำหนดลุ่มน้ำ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยคำนึงถึงสภาพ
อุทกวิทยา สภาพภูมิศาสตร์ ระบบนิเวศการตั้งถิ่นฐาน การผังเมือง ผังน้ำ และเขตการปกครอง ประกอบด้วย
โดยจะต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตลุ่มน้ำแนบท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น และจัดตั้งให้มี “คณะกรรมการลุ่มน้ำ ”
มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตภาวะน้ำแล้ง โดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี และจัดตั้ง
ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ ในกรณีเกิดปัญหาวิกฤติน้ำจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคน สัตว์
หรือพืช หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐอย่างรุนแรง โดยนายกรัฐมนตรี
มีอำนาจในการจัดตั้งและเป็นผู้บัญชาการ อำนวยการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำเป็นการชั่วคราว จนกว่าปัญหาวิกฤติ
น้ำจะผ่านพ้นไป ทั้งนี้ ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ เพื่อเป็น
ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและสนับสนุนการปฏิบัติงาน
7) พระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
เป็นกฎหมายเพื่อคุ้มครอง รักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รวมถึง
การควบคุมการผลิตและการค้าสิ่งเทียมศิลปวัตถุให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดนิยามของ
โบราณสถาน หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐาน
เกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี โดยให้
รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์
ในการดูแลรักษาและการควบคุมโบราณสถานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้อธิบดี กรมศิลปากรมี
อำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนโบราณสถานใด ๆ ตามที่เห็นสมควรได้ และให้มีอำนาจกำหนด
เขตที่ดินตามที่เห็นสมควรเป็นเขตของโบราณสถาน โดยให้ถือว่าเป็นโบราณสถานด้วยก็ได้ ภายในเขตของ
โบราณสถานซึ่งได้ประกาศขึ้นทะเบียน จะห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม
การก่อสร้างอาคาร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปากร
2.2.7 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
1) พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
เป็นกฎหมายว่าด้วยการระบุถึงแนวทางในการกำหนดเขตปฏิรูปที่ ดินในท้องที่และการจัดตั้ง
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และคณะกรรมการปฏิรูป
ที่ดินจังหวัดเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือก
เกษตรกร กำหนดกิจการและระเบียบการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินและ
ใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์มากที่สุดพร้อมกับการจัดระบบการผลิตและจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม เพื่อให้ความ
เป็นธรรมแก่เกษตรกร ปัจจุบันมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2519 และพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 เพื่อขยายขอบเขตการ
จัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินให้กว้างขวางขึ้นให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสงค์จะเป็นเกษตรกร รวมถึงการปรับปรุง
แนวทางในการปฏิรูปที่ดินเพื่อแก้ไขความไม่ชัดเจนในการนำที่ดินมาใช้ปฏิรูป พระราชบัญญัตินี้ เป็นการ
กำหนดพื้นที่ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ที่ดินไว้เพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น ดังนั้น ข้อกำหนดการใช้ที่ดินใน
มาตรการทางผังเมืองระดับต่าง ๆ จึงต้องสอดคล้องกับพระราชบัญญัตินี้

2-42
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คือ การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรม รวมถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐหรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือ
เวนคืนจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพและ
สถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่า หรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม
การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิตตลอดจนการผลิตและการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น โดยการปฏิรูป
ที่ดินในท้องที่ใดจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีแผนที่แสดงเขตและระบุท้องที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินด้วย
และกฎหมายปฏิรูปทีด่ ินมีบทบัญญัติให้อำนาจแก่ ส.ป.ก. ในการนำเอาที่ดินของรัฐประเภทที่สาธารณะ ที่ราชพัสดุ
ที่รกร้างว่างเปล่า และที่ป่าสงวนเสื่อมสภาพ มาดำเนินการปฏิรูปที่ดินและยังกำหนดยกเว้นให้การนำเอาที่ดิน
มานั้นไม่ต้องเพิกถอนสภาพตามกฎหมายอื่นเสียก่อน เพราะการปฏิรูปที่ดินต้องการความรวดเร็วที่จะช่วยเหลือ
ผู้ไร้ที่ทำกินจึงตัดขั้นตอนที่จะทำให้ล่าช้าออกไป อย่างไรก็ ดี ส.ป.ก. จะมีอำนาจนำเอาที่ดินมาก็ต่อเมื่อได้
ประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว
2.2.8 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
1) พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
เป็นกฎหมายเพื่อจะเร่งรัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างงาน การเพิ่มรายได้ และ
การกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน ให้ความมั่นใจแก่ผู้ลงทุนโดยกำหนดระบบการให้สิทธิและประโยชน์ที่
เหมาะสมสำหรับการจูงใจให้มีการลงทุนในกิจการที่รัฐให้ความสำคัญและประสงค์จะส่งเสริม คุ้มครองกิจการที่
รัฐให้การส่งเสริม มีกลไกการบริหารงานส่งเสริมการลงทุนที่สามารถอำนวยความสะดวก และขจัดอุปสรรคใน
การลงทุน ตลอดจนเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ดังนั้น เพื่อส่งเสริม
การลงทุนในท้องที่หรือเขตพื้นที่ใด คณะกรรมการจะกำหนดท้องที่หรือเขตพื้นที่นั้นเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนก็
ได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้ผู้ได้รับการส่งเสริมที่ประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมในท้องที่หรือ
เขตพื้นที่ที่กำหนด ได้รับสิทธิและประโยชน์พิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติ
บุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุน การอนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปาสองเท่าของจำนวน
เงินที่ผู้ได้รับการส่งเสริมได้เสียไปเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม อนุญาตให้หักเงินที่ผู้ได้รับ
การส่งเสริมการลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตาม
หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณากำหนดจากกำไรสุทธิ ซึง่ ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้มีการประกาศเขตเพื่อส่งเสริม
การลงทุน แบ่งเป็น “เขตส่งเสริมการลงทุน” และ “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” กล่าวคือ
(1) เขตส่งเสริมการลงทุน
แบ่งเขตการส่งเสริมการลงทุนออกเป็น 3 เขต สำหรับจังหวัดนครราชสีมา อยู่ในเขตการ
ส่งเสริมการลงทุนเขต 3 ซึ่งประกอบด้วย 58 จังหวัด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 36 จังหวัด และ 22 จังหวัดรายได้ต่ำ
โดยจังหวัดนครราชสีมาอยู่ในโครงการที่ตั้งสถานประกอบการในท้องที่ 36 จังหวัด ซึ่งนโยบายของคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้กำหนดให้จังหวัดในเขตส่งเสริมการลงทุนที่ 3 มีสิทธิประโยชน์สรุปได้ดังนี้
(1.1) ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
(1.2) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี
(1.3) ให้ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับ วัตถุดิบ หรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่
ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 5 ปี

2-43
(1.4) ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตรา
ร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
(1.5) อนุญาตให้หักค่าขนส่ ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า เป็นระยะเวลา 10 ปี
นับตัง้ แต่วันที่เริ่มมีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
(1.6) อนุญาตให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิร้อยละ
25 ของเงินที่ลงทุนแล้วในการนั้นในกิจการที่ได้รับส่งเสริม
(1.7) ให้ได้รับการลดหย่อนอากรขาเข้า สำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 75 เป็นระยะเวลา 5 ปี (จะอนุมัติให้คราวละ 1 ปี)
(2) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
เพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนทั้งในและ
นอกนิคมอุตสาหกรรม เกิดการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน และรองรับการรวมกลุ่มประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 4/2557 เรื่อง นโยบายส่งเสริมการลงทุนใน
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่ที่อยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะได้รับทั้งสิทธิประโยชน์จากหลากหลาย
หน่วยงาน อาทิ สิทธิประโยชน์ตั้งแต่การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าว รวมถึง
การให้สินเชื่อเพื่อการลงทุนใหม่ และการขยายกิจการในระยะยาว พร้อมทั้งรัฐได้ใช้กลไกของมาตรา 44 เพื่อ
จัดการปัญหาและเงื่อนไขอุปสรรคต่าง ๆ โดยเฉพาะการละเว้นกลไกทางกฎหมาย กลไกการมีส่วนร่วมของคน
ในพื้นที่ และกลไกการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยพืน้ ที่ที่ถูกประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจ
พิเศษมีทั้งหมด 10 จังหวัด เป็นจังหวัดชายแดนเชื่อมต่อภูมิภาคอาเซียน แต่จังหวัดนครราชสีมาไม่ได้ถูก
ประกาศให้เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
2) พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562
การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐเพื่อให้มีการกำหนดนโยบายของรัฐที่ชัดเจนและ
แน่นอนในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะโดยมุ่งเน้นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่
ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน มีมาตรการส่งเสริมการร่วมทุนให้แก่โครงการร่วม
ทุนอย่างเหมาะสม ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลัง ซึ่งโครงการที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามจะต้องพิจารณาจาก
นิยามของ “โครงการ” คือ เป็นโครงการลงทุนของรัฐในกิจการที่หน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
หรือหลายหน่วยงานรวมกันมีหน้าที่และอำนาจต้องทำตามกฎหมาย หรือ กฎ หรือที่มีหน้าที่และอำนาจต้องทำ
ตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง และ “ร่วมลงทุน” คือ ร่วมลงทุนกับเอกชนไม่ว่าโดยวิธีใดหรือมอบให้เอกชน
ลงทุนแต่ฝ่ายเดียว โดยวิธีการอนุญาต หรือให้สัมปทาน หรือให้สิทธิไม่ว่าในลักษณะใด โดยโครงการที่จะจัดทำ
โครงการร่วมลงทุนต้องเป็นกิจการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะต่าง ๆ หรือกิจการอื่นตามที่
กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ทั้งยังต้องจัดทำแผนโครงการร่วมลงทุนที่สอดคล้องกับแผนแม่บทด้านการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานและด้านสังคมที่ส ำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทำขึ้น โดยอย่างน้อย
ต้องประกอบด้วยรายการโครงการที่รัฐประสงค์จะร่วมลงทุนกับเอกชนตามเป้าหมาย นโยบายและทิศทางที่
กำหนดไว้ในแผนแม่บทด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสังคม

2.2.9 การวางผังเมืองระดับต่าง ๆ
เป็นมาตรการทางผังเมืองที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบการพัฒนาพื้นที่โดยรวม เพื่อชี้นำแน วทาง
การพัฒนาพื้นที่ระดับต่าง ๆ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่ให้แก่ผู้นำท้องถิ่นหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยพื้นที่จังหวัดนครราชสีมามีมาตรการทางผังเมืองทีเ่ กี่ยวข้องในพื้นที่ ดังนี้
2-44
1) ผังประเทศ พ.ศ. 2600
ผังประเทศอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการและผังเมือง มีการคำนึงถึงการใช้
ศักยภาพของประเทศพร้อม ๆ ไปกับการแก้ปัญหาข้อจำกัด และจุดอ่อน เพื่อให้ประเทศมีความแข็งแกร่ง โดยมี
เอกลักษณ์สังคมวัฒนธรรมของตนเอง และอยู่ร่วมกันในสังคมโลกอย่างมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิ จ และมี
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงการพัฒนาอย่างเป็นปึกแผ่นกับเพื่อนบ้านประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย และทุกกลุ่มประเทศ
บทบาท และวิสัยทัศน์ของผังประเทศทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ได้จัดทำขึ้นมาจากผลการ
วิเคราะห์จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ
ผู้แทนองค์กร และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคมในทุกภาคของประเทศ โดยบทบาทและวิสัยทัศน์
ของประเทศไทยในอนาคตในช่วงระยะเวลา 50 ปีข้างหน้าว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนำของโลกในด้าน
การเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และเทคโนโลยีด้านอาหาร การบริการด้านสุขภาพ และการท่องเที่ยว
ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ ประเทศชาติมั่นคง และมีการพัฒนาที่ยั่งยืน”
นอกจากนี้ การวางผังพัฒนาพื้นที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นบูรณาการของมิติ
ต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมรวมถึงการพัฒนาเมือง การพัฒนาชนบท
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้การพัฒ นาเป็นไปตาม
ผังนโยบายการพัฒนาพื้นที่โดยรวม (50 ปี) จึงได้มีการกำหนดผังนโยบายแต่ล ะรายสาขาที่ส ำคัญ ได้แก่
ผังนโยบายการใช้ ป ระโยชน์ ที ่ด ิน ผังนโยบายพื้ นที่ เ กษตรกรรม ผังนโยบายการพัฒ นาเมื องและชนบท
ผังนโยบายพื้นที่อุตสาหกรรม ผังนโยบายการท่องเที่ยว ผังนโยบายการบริ การสังคม ผังนโยบายการคมนาคม
ขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน และพลังงาน ผังนโยบายการป้องกันภัยพิบัติ
ส่วนผังนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับกิจกรรม
ต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อความยั่งยืนและสงวนรักษาไว้ให้เป็น
มรดกของชาติสืบไป จึงจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ พื้นที่พัฒนา (พื้นที่ชุมชนเมือง
พื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรม) และพื้นที่สงวน อนุรักษ์ (เช่น พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่แหล่งน้ำ เป็นต้น)
ทั้งนี้ ผังประเทศ พ.ศ. 2600 ได้กำหนดกรอบแนวคิดโครงสร้างการพัฒนาพื้นที่ ประกอบด้วย
(1) การพัฒนาพื้นที่ศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ (2) การกระจายความเจริญไปยังทุกภูมิภาคของ
ประเทศ และ (3) การเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย โดยได้กำหนดให้จังหวัดนครราชสีมา
เป็นเมืองลำดับที่ 1 ที่มีความสำคัญระดับประเทศและภาค มีบทบาทเป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญรองจาก
เมืองมหานคร โดยมีน โยบายการพัฒ นาเมืองและการเชื่อมโยงของเมื องโดยใช้ระบบกลุ่มเมื อง (Urban
Cluster) ซึง่ มีแนวทางการพัฒนากลุ่มเมือง นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ให้เป็นศูนย์กระจายสินค้า
ตอนล่างของประเทศเพื่อนบ้าน ศูนย์กลางด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และการวิจัยและพัฒนาด้านชิ้ นส่วน
ยานยนต์ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเชื่อมโยงกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิปลอดสารพิษคุณภาพสูง
ผังนโยบายการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2600
ผังนโยบายการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2600 เน้นการเพิ่มศักยภาพและ
โอกาสในการพัฒนาพื้นที่ภาคและการวางแผนอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินที่
เหมาะสม เช่น พื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เหมาะสมต่อการเกษตร พื้นที่ชุมชนเมืองและพื้ นที่ชุมชนชนบท
รวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม ครอบคลุม 19 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น
ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร
สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี มีสาระสำคัญดังนี้

2-45
(1) นโยบายพัฒนาด้านพื้นที่
ส่งเสริมมาตรการการควบคุมและอนุรักษ์ในการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้สิ่งแวดล้อมและ
ระบบนิเวศมีความสมดุล อย่างยั่งยืน โดยกำหนดให้เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ส่งเสริมเกษตรกรรมและพัฒ นาพื้ น ที่
อุตสาหกรรมให้เป็นอุตสาหกรรมปลอดมลพิษ กำหนดขอบเขตพื้นที่สงวนและอนุรักษ์พื้นที่ลุ่มน้ำทั้ง 3 ลุ่มน้ำ
คือ ลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ และแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงอนุรักษ์พื้นที่มรดกโลก
(2) นโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน
จำแนกการใช้ป ระโยชน์ที่ดินประเภทหลัก ได้แก่ ประเภทการพัฒ นาชุมชนเมือง
ประเภทชนบทและเกษตรกรรม ประเภทอุตสาหกรรม ประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ ประเภทที่โล่งเพื่อรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมและการประมง
(3) นโยบายการพัฒนาระบบเมืองและชุมชน
ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเมืองในลักษณะการกระจายความเจริญจากเมืองศูนย์กลาง
(Decentralization) ไปยังเมืองหลักที่สำคัญของภาค เพื่อให้เกิดความสมดุลและการเกื้อกูลกันของเมืองแต่ละ
ลำดับ โดยการพัฒนาในอนาคตได้กำหนดให้เทศบาลนครราชสีมาเป็นเมืองลำดับ หนึ่งหรือเมืองศูนย์กลางใน
ระดับภาค ซึ่งการพัฒนาเมืองนั้นจะให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ
การศึกษา การบริการทางสังคม และระบบสาธารณสุข ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ
(4) นโยบายการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง
การพัฒนาระบบคมนาคมต้องสอดคล้องกับผังนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน จึงเสนอ
ให้มีการเพิ่มระบบถนนและระบบรางในอนาคต โดยจังหวัดนครราชสีมามีการกำหนดพื้นที่ศูนย์กลางขนส่ง
หลายรูปแบบ (Multimodal Terminals) พื้นที่ศูนย์การขนส่งและบริการ (Hub) พื้นที่ศูนย์กลางรวบรวมและ
กระจายสินค้า (ICD) และพื้นที่ลานขนถ่ายสินค้าทางรถไฟ
ทั้งนี้ ผังนโยบายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2600 ได้กำหนดให้ จังหวัดนครราชสีมาเป็น
ศูนย์กลางการเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลักในภาคต่าง ๆ และกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง ICT และยังมีบทบาทสำคัญ
ด้านการบริหารราชการ การขนส่ง อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การศึกษาและสาธารณสุข การค้า พาณิชยกรรมและ
การบริการ เป็นศูนย์กลางหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งได้กำหนดให้
เทศบาลนครนครราชสีมา เป็นเมืองลำดับที่ 1 เป็นศูนย์ กลางในระดับภาค มีบทบาทด้านอุตสาหกรรมส่งออก
ชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การค้า และการขนส่ง

2-46
ที่มา : กรมโยธาธิการและผังเมือง
รูปที่ 2.2-1 แนวคิดโครงสร้างเพื่อการพัฒนาพื้นที่ประเทศไทย

2-47
ที่มา : กรมโยธาธิการและผังเมือง
รูปที่ 2.2-2 ผังการใช้ประโยชน์ที่ดินประเทศไทย พ.ศ. 2600

2-48
ที่มา : กรมโยธาธิการและผังเมือง
รูปที่ 2.2-3 ผังนโยบายการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2600
2-49
2) ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา
(1) ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560 บังคับใช้ในท้องที่
จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้อง
หรือชนบท ในด้านการใช้ป ระโยชน์ในทรัพย์ส ิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริ การ
สาธารณะ และสภาพแวดล้อมในบริเวณแนวเขตท้องที่จังหวัดนครราชสีมา ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบ
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้ ผังเมืองรวมจังหวัดฉบับนี้มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบชุมชน การใช้
ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างพื้น ฐานเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดมาตรการ
และวิธีดำเนินการเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนงาน โครงการ การพัฒนาพื้นที่และบริการสาธารณะต่าง ๆ
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา โดยรายละเอียดลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินของ
ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา เป็นไปดังนี้
ตารางที่ 2.2-1 ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินจำแนกตามท้ายกฎกระทรวงผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา
ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ที่ดินประเภทชุมชน (สีชมพู) • ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย พาณิชยกรรม เกษตรกรรม สถาบันการศึกษา สถาบัน
ศาสนา สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและ • ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมหรือเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม คลังสินค้า สถาบันราชการ
คลังสินค้า (สีม่วง) การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม • ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การอยู่อาศัย พาณิชยกรรม
(สีเขียว) สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและ • ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การอยู่อาศัย การอนุรักษ์และ
เกษตรกรรม ส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ ่ ง แวดล้ อ ม สถาบั น การศึ ก ษา สถาบั น ศาสนา สถาบั น ราชการ และ
(สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและ • ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเฉพาะที่ หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
ดินซึ่งเป็นของรัฐ (สีเขียวอ่อน)
ที่ดินประเภทอนุรักษ์ปา่ ไม้ • ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบํารุงป่าไม้ สัตว์ป่าต้นน้ ำ ลำธาร
(สีเขียวอ่อนเส้นทแยงสีขาว) และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวน
และคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเท่านั้น
• ที่ดินประเภทนี้ซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การอยู่อาศัย หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา • ให้ ใ ช้ ป ระโยชน์ ท ี ่ ด ิ น เพื ่ อ การศึ ก ษาหรื อ เกี ่ ย วข้ อ งกั บ การศึ ก ษา สถาบั น ราชการ หรื อ
(สีเขียวมะกอก) สาธารณประโยชน์เท่านั้น
ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษา • ให้ใช้ป ระโยชน์ที่ดินเพื่อ การรัก ษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือ เกี่ยวข้อ งกับการรักษาคุณภาพ
คุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีฟ้า) สิ่งแวดล้อม การประมงหรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
ที่มา : กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2560.

2-50
ที่มา : กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2560.
รูปที่ 2.2-4 ผังเมืองรวมนครราชสีมา พ.ศ. 2560

2-51
(2) (ร่าง) ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
เป็ น การวางและจั ด ทำผั ง เมื อ งรวมจั ง หวั ด นครราชสี ม าให้ ส อดคล้ อ งกั บ บทบาท
ศักยภาพ การพัฒนาพื้นที่จังหวัด และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในปัจจุบันและเป็นที่ยอมรับ
ของประชาชนทุกภาคส่วน เนื่องจากกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560
ใช้ระยะเวลา 5 ปีในการจัดทำและทบทวนใหม่ จึงควรพิจารณาบางประเด็นในสาระสำคัญของผังเมืองรวมใหม่
ทั้งนี้ การวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดฉบับ ปรับปรุงครั้งที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนา
จังหวัดนครราชสีมาให้เป็นเมืองศูนย์กลางการบริหาร การปกครอง การค้าและบริการของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนล่าง และศูน ย์กลางของการพัฒ นาอุตสาหกรรมต่อเนื่องทางการเกษตร ตลอดจนสนับสนุนการเป็น
ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ และการทองเที่ยวเชิงอนุรักษควบคูไปกับการดูแลสิ่งแวดลอม โดย
มีรายละเอียดลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นไปดังนี้

ตารางที่ 2.2-2 ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินจำแนกตามแผนผังแสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต


ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ที่ดินประเภทพัฒนาเมือง (สีชมพูอ่อน) : ม.1 - ม.3
ที่ดินประเภท ม.1 • ให้ ใช้ ประโยชน์ ท ี ่ ด ิ นเพื ่ อการพั ฒนาเมื องให้ เป็ นศู นย์ กลางการบริ หาร การปกครอง การพาณิ ชยกรรม การค้ าและบริ การ
ศูนย์การขนส่งโลจิสติกส์ การอยู่อาศัย การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ที่ดินประเภท ม.2 • ให้ ใ ช้ ป ระโยชน์ ท ี ่ ด ิ น เพื ่ อ การพั ฒ นาเมื อ งให้ ม ี บ ทบาทเป็ น ศู น ย์ ก ลางการปกครอง การพาณิ ช ยกรรม การค้ า และบริ ก าร
การอยู่อาศัย การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในระดับอำเภอ
ที่ดินประเภท ม.3 • ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการพัฒนาเมืองศูนย์กลางบริการด้านพาณิชยกรรม การค้าและการบริการ การอยู่อาศัยสำหรับชุมชนชนบท
ที่มุ่งรักษาสภาพแวดล้อม
ที่ดินประเภทพัฒนาเมืองตามกฎกระทรวงผังเมืองรวมเมืองหรือชุมชนบังคับใช้ (สีน้ำตาลมีเส้นทแยงสีขาว) : กผ.
• ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการพัฒนาเมืองตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองผังเมืองรวมเมืองหรือชุมชนที่ประกาศบังคับใช้
ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) : อ.
• ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและคลังสินคาที่สนับสนุนการแปรรูปวัตถุดิบในพื้ นที่และอุตสาหกรรมทั่วไปตาม
ศักยภาพของจังหวัด
ที่ดินประเภทพัฒนาเกษตรกรรมและการตั้งถิ่นฐาน (สีฟางข้าว) : ก.1-ก.2
ที่ดินประเภท ก.1 • ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง ส่งเสริมการพัฒนาเกษตรกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพ และอุตสาหกรรมเกษตร
ที่ดินประเภท ก.2 • ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่ออนุรักษ์ชุมชนเกษตรกรรม การรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชนบท และการท่องเที่ยวชุมชน
ที่ดินประเภทอนุรักษชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเสนทแยงสีเขียว) : อก.
• ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่ออนุรักษการเกษตรกรรมและรักษาสภาพแวดลอมในพื้นที่สิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร การเกษตรกรรมในเขต
ชลประทาน และการปองกันอุทกภัย
ที่ดินประเภท ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล) : ปก.
• ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ที่ดินประเภทอนุรักษสภาพแวดลอมเพื่อการทองเที่ยว (สีเขียวมีกรอบและเสนทแยงสีขาว) : กท.
• ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสงเสริมการอยูอาศัยที่มีสภาพแวดลอมที่ดีร่วมกับการทองเที่ยวเชิงอนุรักษ สงเสริมการพัฒนาเกษตรกรรม
ทางเลือกและการรักษาแหล่งน้ำ
ที่ดินประเภทที่โลงเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม : ล.1 - ล.2
ที่ดินประเภท ล.1 (สีเขียวออน) • ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม
ที่ดินประเภท ล.2 (สีฟ้า) • ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม การประมง การทองเที่ยวเชิงอนุรักษ
ที่ดินประเภทอนุรักษปาไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว) : อป.
• ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ มครองดูแลรักษา หรือบํารุงปาไม สัตวปา ตนน้ำลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ตาม
มติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการปาไม้ การสงวนและคุมครองสัตวปา และการสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ
ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2563.

2-52
ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2563.
รูปที่ 2.2-5 (ร่าง) ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1)

2-53
(3) เปรียบเทียบผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560 กับ (ร่าง) ผังเมืองรวม
จังหวัดนครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560 ประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560 ซึ่งจากการประเมินผลผังเมืองรวมจังหวัดฯ มีมติเห็นชอบ
ให้มีการปรับปรุงผังฯ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยได้มี
การดำเนินการวางและจัดทำร่างผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนที่ 2
การประชุมเพื่อพิจารณาร่างผังเมืองรวม ดังนั้น กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.
2560 จึงเป็นกฎหมายผังเมืองที่ใช้บังคับในท้องที่จังหวัดนครราชสีมาอยู่ในปัจจุบันจนกว่าการดำเนินการวาง
ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1) จะแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้ทำการเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวง
ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560 กับร่างผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1) พบว่า
มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ ดังนี้
• การแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินตามเจตนารมณ์
โดยประเภทการใช้ ป ระโยชน์ ท ี ่ ด ิ น ตามกฎกระทรวงผั ง เมื อ งรวมจั ง หวั ด
นครราชสีมา พ.ศ. 2560 แบ่งออกเป็น 7 ประเภทหลัก ส่วนร่างผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
ได้ปรับปรุงโดยการกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความละเอียดมากขึ้น โดยแบ่งประเภทการใช้
ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 10 ประเภท ซึ่งได้มีการแบ่งประเภทของที่ดินประเภทชุมชน ออกเป็น 2 ประเภทย่อย
ได้แก่ ที่ดินประเภทพัฒนาเมือง (ม.) และที่ดินประเภทพัฒนาเมืองตามกฎกระทรวงผังเมืองเมืองหรือผังเมืองรวม
ชุมชนใช้บังคับ (กผ.) และเพิ่มเติมประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ปก.) และ
ที่ดินประเภทอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว (กท.) โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 2.2-3
• การปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินบางบริเวณ
เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาท ศักยภาพ การพัฒนาพื้นที่จังหวัด และสอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา
ให้เป็นเมืองศูนย์กลางการบริหาร การปกครอง การค้าและบริการของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ
ศูนย์กลางของการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องทางการเกษตร ตลอดจนสนับสนุนการเป็นศูนย์ กลางการ
คมนาคมขนส่ งและโลจิ ส ติก ส์ และการทองเที ่ยวเชิ ง อนุรั ก ษควบคู ไปกับ การดู แลสิ ่ง แวดลอม โดยการ
ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินพิจารณาจากเหตุผลหลัก 2 ประการ คือ การเปลี่ยนแปลงตามการตรวจสอบ
กรรมสิทธิ์ของหน่วยงาน และการเปลี่ยนแปลงตามวิสัยทัศน์และแนวคิดของการวางผัง
• การปรับเปลี่ยนข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เพื่อให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาพื้นที่และเป็นเครื่องมือใน
การจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินและรักษาสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน
• การปรับเปลี่ยนตารางบัญชีท้ายข้อกำหนด
เพื่อกำหนดประเภท และชนิดของโรงงานที่อนุญาตให้ประกอบกิจการได้ในที่ดิน
ประเภทต่าง ๆ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึง
นโยบายการพัฒนาของจังหวัดในปัจจุบัน

2-54
ตารางที่ 2.2-3 เปรียบเทียบประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560
กับ (ร่าง) ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ตามผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560 ตาม (ร่าง) ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
ที่ดินประเภทชุมชน : ที่ดินประเภทพัฒนาเมือง (ม.) :
ครอบคลุมเขตผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน/ ครอบคลุมพื้นที่เมือง/ศูนย์กลางชุมชน
เทศบาล ที่ดินประเภทพัฒนาเมืองตามกฎกระทรวงผังเมืองรวมเมืองหรือ
ผังเมืองรวมชุมชนบังคับใช้ (กผ.) :
ครอบคลุมเขตผังเมืองรวมเมือง/ชุมชนที่มีการประกาศบังคับใช้
ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า : ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (อ.) :
ครอบคลุมพื้นที่อุตสาหกรรมปัจจุบัน ครอบคลุมพื้นที่ย่านอุตสาหกรรมปัจจุบันและที่มีศักยภาพในอนาคต
ตามนโยบายและการวิเคราะห์ความเหมาะสมเชิงกายภาพ สอดคล้อง
กับขนาดการขยายตัวการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม : ที่ดินประเภทพัฒนาเกษตรกรรมและการตั้งถิ่นฐาน (ก.) :
ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนชนบทและพื้นที่ ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนชนบทและพื้นที่เกษตรกรรม
เกษตรกรรม
ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและ ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (อก.) :
เกษตรกรรม : พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ออุทกภัย พื้นที่เพื่อการระบายน้ำ และกักเก็บ
ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนชนบทและพื้นที่ น้ำ รวมถึงพื้นที่ที่เหมาะสมในการอนุรักษ์เกษตรกรรมเพื่อความ
เกษตรกรรม พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย พื้นที่แหล่ง มั่นคงทางอาหาร
ท่องเที่ยว
ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ปก.) :
ครอบคลุมพื้นที่เขตปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราช
กฤษฎีกาที่กำหนดเขตที่ดินในท้องที่จังหวัดนครราชสีมาให้เป็น
ไม่มี เขตปฏิรูปที่ดิน
ที่ดินประเภทอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพือ่ การท่องเที่ยว (กท.) :
ครอบคลุมในพืน้ ที่อำเภอปากช่องและพื้นทีอ่ ำเภอวังน้ำเขียว จังหวัด
นครราชสีมา
ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและ ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพ
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม (ล.1)
ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ : ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (อป.) :
ครอบคลุ ม พื ้ น ที ่ ป ่ า ไม้ ต ามกฎหมายของ ครอบคลุมพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายของจังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่ า และอุทยานแห่งชาติ
และอุทยานแห่งชาติ
ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพ ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาะสิ่งแวดล้อม (ล.2) :
สิ่งแวดล้อม : ครอบคลุมพื้นที่แหล่งน้ำที่สำคัญที่มีความจุในการกักเก็บน้ำเฉลีย่
ครอบคลุมพื้นที่แหล่งน้ำสำคัญ ต่อปีมากที่สุดของแต่ละอำเภอ
ที่มา: บริษัทที่ปรึกษา, 2563.

2-55
แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560 แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตาม (ร่าง) ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
รูปที่ 2.2-6 เปรียบเทียบประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560 กับ (ร่าง) ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1)

2-56
3) ผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน
จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมเมือง โดยประกาศเป็น
กฎกระทรวงบังคับใช้แล้วทั้งสิ้น จำนวน 3 บริเวณ ดังนี้
(1) ผังเมืองรวมเมืองเมืองปัก จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2562
ให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลธงชัยเหนือ ตำบลตะคุ ตำบลเมืองปัก ตำบล
นกออก และตำบลงิ้ว อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา มีสาระสำคัญดังนี้
(1.1) ส่งเสริมและพัฒ นาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริห าร การปกครอง
การค้า การบริการ และการศึกษาของอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
(1.2) ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และการคมนาคมขนส่ง ให้
สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน
(1.3) ส่งเสริมการพัฒนาการบริการสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้
เพียงพอและได้มาตรฐาน
(1.4) อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมในชุมชนเมืองและ
ชนบท โดยเฉพาะแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และพื้นที่รับประโยชน์ในโครงการชลประทาน
(2) ผังเมืองรวมเมืองโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2562
ให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหลุมข้าว ตำบลลำคอหงษ์ ตำบลโนนสูง ตำบล
เมืองปราสาท ตำบลด่านคล้า และตำบลใหม่ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา มีสาระสำคัญดังนี้
(2.1) ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา และ
การคมนาคมและขนส่งของอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
(2.2) สงวนและรักษาพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์
(2.3) ส่งเสริมการพัฒ นาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิช ยกรรมให้ส อดคล้องกับการ
ขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ
(2.4) พัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต
(2.5) ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ให้บริการแก่ชุมชน
(2.6) ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
(2.7) อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) ผังเมืองรวมเมืองบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2559
ให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลด่านช้าง ตำบลบัวใหญ่ ตำบลหนองแจ้งใหญ่
ตำบลโนนทองหลาง และตำบลเสมาใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา มีสาระสำคัญดังนี้

2-57
(3.1) ส่งเสริมหรือสนับสนุน การใช้ที่ดินในเขตพื้นที่เมืองของอำเภอบัวใหญ่ สำหรับ
รองรับการเติบโตและการพัฒนาด้านการขนส่งให้มีความสมดุล
(3.2) ส่งเสริมให้มีการวางแผนควบคุมการพัฒนาด้านการอยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ให้สอดคล้องกับกิจกรรมในการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ
(3.3) เพื่อสนับสนุนการจัดการและปรับปรุงสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเพื่อเพิ่ม
คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้เหมาะสมกับรูปแบบและการพัฒนาเมือง
(3.4) สนับสนุนการพัฒนาอย่างสมดุลและสอดคล้องกับการรักษาสภาพแวดล้อม เพื่อ
ส่งเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยว
(3.5) อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นอกจากผังเมืองรวมทั้ง 3 พื้นที่ซึ่งประกาศบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ภายในพื้นที่จังหวัด
นครราชสีมายังมีผังเมืองรวมอื่นๆ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 2.2-4

ตารางที่ 2.2-4 ผังเมืองรวมเมืองในจังหวัดนครราชสีมา


ผังเมืองรวมเมือง สถานะของผัง
ผังที่ประกาศกฎกระทรวงผังเมืองรวม
ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560
- ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 134 ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 19 มกราคม 2560
ผังเมืองรวมเมืองโนนสูง กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2562
ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 136 ตอนที่ 126 ก ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562
ผังเมืองรวมเมืองเมืองปัก กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองเมืองปัก จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2562
- ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 136 ตอนที่ 121 ก ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562
ผังเมืองรวมเมืองบัวใหญ่ กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2559
- ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม 113 ตอนที่ 31 ก ลงวันที่ 7 เมษายน 2559
ผังที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ
ผังเมืองรวมเมืองนครราชสีมา** ขั้นตอนที่ 8 การออกข้อบัญญัติทอ้ งถิ่น และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(ปรับปรุงครั้งที่ 3)
ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา* ขั้นตอนที่ 3.3 ปิดประกาศ 15 วัน และขั้นตอนที่ 3.4 ประชุมคณะกรรมการทีป่ รึกษาผังเมืองรวม
(ปรับปรุงครั้งที่ 1)
ผังเมืองรวมเมืองบัวใหญ่** เตรียมการปรับปรุงผังครั้งที่ 2
(ปรับปรุงครั้งที่ 1)
ผังเมืองรวมเมืองโนนสูง** การติดตามสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลงรายปี
(ปรับปรุงครั้งที่ 2)
ผังเมืองรวมเมืองเมืองปัก การติดตามสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลงรายปี
ผังเมืองรวมเมืองปากช่อง ขั้นตอนที่ 8 การเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผังเมืองรวมเมืองสีคิ้ว ขั้นตอนที่ 7.2 เตรียมยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
ผังเมืองรวมชุมชนพิมาย ขั้นตอนที่ 8 การเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผังเมืองรวมชุมชนโชคชัย ขั้นตอนที่ 7.2 เตรียมยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย

2-58
ตารางที่ 2.2-4 ผังเมืองรวมเมืองในจังหวัดนครราชสีมา (ต่อ)
ผังเมืองรวมเมือง สถานะของผัง
ผังเมืองรวมชุมชนด่านเกวียน ขั้นตอนที่ 7.2 เตรียมยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
ผังเมืองรวมชุมชนด่านขุนทด ขั้นตอนที่ 3 ปิดประกาศ 15 วัน
ผังเมืองรวมชุมชนประทาย ขั้นตอนที่ 3 ปิดประกาศ 15 วัน
(เดิมส่วนกลางดำเนินการ) (ขอเสนอให้ส่วนภูมภิ าคดำเนินการ)
ผังเมืองรวมชุมชนสูงเนิน ขั้นตอนที่ 2.2 ประชุมให้ความเห็นกรมฯ
ผังเมืองรวมชุมชนโนนไทย ขั้นตอนที่ 2.2 ประชุมให้ความเห็นกรมฯ
ผังเมืองรวมชุมชนขามสะแกแสง ขั้นตอนที่ 2.2 ประชุมให้ความเห็นกรมฯ
ผังเมืองรวมชุมชนครบุรี ขั้นตอนที่ 2.2 ประชุมให้ความเห็นกรมฯ
ผังเมืองรวมชุมชนสีดา ขั้นตอนที่ 2.2 ประชุมให้ความเห็นกรมฯ
ผังเมืองรวมชุมชนบัวลาย ขั้นตอนที่ 2.2 ประชุมให้ความเห็นกรมฯ
ผังเมืองรวมชุมชนขามทะเลสอ ขั้นตอนที่ 1-3
ผังเมืองรวมชุมชนพระทองคำ ขั้นตอนที่ 1-3
ที่มา : สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครราชสีมา (ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564)
หมายเหตุ : * หมายถึง กรมจัดจ้างที่ปรึกษาปรับปรุงผัง
** หมายถึง ผังถ่ายโอนภารกิจให้ทอ้ งถิน่

2-59
ที่มา: บริษัทที่ปรึกษา, 2563.
รูปที่ 2.2-7 ผังเมืองรวมที่ประกาศบังคับใช้ในปัจจุบันและผังเมืองรวมที่อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา

2-60
2.2.10 เทศบัญญัติและข้อบัญญัติ
ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของจังหวัดนครราชสีมา ได้ มีดำเนินการจัดทำเทศบัญญัติและ
ข้อบัญญัติท้องถิ่น เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด หรือบางประเภท
ในท้องที่เทศบาลนคร เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล จำนวน 4 บริเวณ และท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบล
จำนวน 3 บริเวณ ดังนี้
1) เทศบัญญัติเทศบาลนครนครราชสีมา พ.ศ. 2557
บังคับใช้ในท้องที่เทศบาลนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่ง
พื้นที่เป็น 4 บริเวณ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 2.2-5 ประเภทอาคารที่ห้ามก่อสร้างในเทศบัญญัติเทศบาลนครนครราชสีมา
ประเภท บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2 บริเวณที่ 3 บริเวณที่ 4
อาคารอยูอ่ าศัยประเภทอาคารขนาดใหญ่ X
ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว X
โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานตามประเภท หรือชนิด
และจำพวกที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีแนบท้ายเทศบัญญัตนิ ี้ และ X X X
โรงงานบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน
สถานที่บรรจุก๊าซ สถานที่เก็บก๊าซและห้องบรรจุก๊าซตามกฎหมายว่าด้วย
การควบคุมน้ำมันเชือ้ เพลิง แต่ไม่หมายรวมถึงสถานีบริการ ร้านจำหน่ายก๊าซ X X X
สถานที่ใช้ก๊าซและสถานทีจ่ ำหน่ายอาหารทีใ่ ช้ก๊าซ
สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชือ้ เพลิงเพื่อจำหน่ายที่ต้องขออนุญาตตาม
กฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชือ้ เพลิง เว้นแต่เป็นสถานีบริการน้ำมัน X X X
เชื้อเพลิง
อาคารหรือสถานทีท่ ี่ใช้ในการเลีย้ งสัตว์เพื่อการค้าที่อาจก่อเหตุรำคาญตาม
X X X
กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
สุสานและฌาปนสถาน ตามกฎหมายว่าด้วยสุสานและฌาปนสถาน X X X
อาคารที่ใช้ประโยชน์เพือ่ การสงเคราะห์หรือรับเลีย้ งสัตว์ X X X X
โรงฆ่าสัตว์ X X X
ไซโลเก็บผลิตผลทางการเกษตร X
อาคารที่ใช้ประโยชน์เพือ่ การแข่งรถ X X
โรงกำจัดขยะมูลฝอย X X X
โรงซื้อขายเศษวัสดุ X X X
ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง และปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563.
หมายเหตุ: x คือ ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบัญญัติเทศบาลนครนครราชสีมา

2)
เทศบัญญัติเทศบาลตำบลเมืองใหม่โคกกรวด พ.ศ. 2557
บังคับใช้ในบางส่วนของเทศบาลตำบลเมืองใหม่โคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด
นครราชสีมา โดยแบ่งพื้นที่เป็น 7 บริเวณ สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

2-61
ตารางที่ 2.2-6 ประเภทอาคารที่ห้ามก่อสร้างในเทศบัญญัติเทศบาลตำบลเมืองใหม่โคกกรวด
บริเวณที่
ประเภท
1 2 3 4 5 6 7
อาคารอยูอ่ าศัยประเภทอาคารขนาดใหญ่ X X
อาคารพาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่
X
อาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่ง
ห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว X X
หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก X X X
อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด X X X
โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม X X X
โรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร X X
สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ X X
สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงเด็ก X X
สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงคนชรา X X
สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงคนพิการ X X
สถาบันการศึกษาหรือโรงเรียนตามกฎหมายฯ X X
โรงพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล X X
โรงงานตามกฎหมายฯ เว้นแต่โรงงานที่กำหนดให้
ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายฯ และโรงงานบำบัดน้ำเสีย X X X X
รวมชุมชน
สถานที่บรรจุก๊าซ สถานที่เก็บก๊าซและห้องบรรจุก๊าซ
X X X X
ตามกฎหมายฯ
สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเพือ่ จำหน่ายที่ ยกเว้น
ต้องขออนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมัน สถานี
ยกเว้นสถานีบริการ
เชื้อเพลิง X บริการ
น้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมัน
เชื้อเพลิง
อาคารหรือสถานที่ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าที่อาจก่อ
X X X X
เหตุรำคาญ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
สุสานและฌาปนสถานตามกฎหมายฯ X X X X X
อาคารที่ใช้ประโยชน์เพือ่ การสงเคราะห์หรือรับเลี้ยง
X X
สัตว์
โรงฆ่าสัตว์ X X X
อาคารที่ใช้ประโยชน์เพือ่ การแข่งรถ X X
โรงกำจัดขยะมูลฝอย X X X
โรงซื้อขายเศษวัสดุ X X X
ไซโลเก็บผลผลิตทางการเกษตร X
ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง และปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563.
หมายเหตุ: x คือ ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบัญญัติเทศบาลตำบลเมืองใหม่โคกกรวด

3)
เทศบัญญัติเทศบาลตำบลโพธิ์กลาง พ.ศ. 2556
บังคับใช้ในเขตพื้นที่บางส่วนของเทศบาลตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด
นครราชสีมา โดยแบ่งพื้นที่เป็น 2 บริเวณ สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

2-62
ตารางที่ 2.2-7 ประเภทอาคารที่ห้ามก่อสร้างในเทศบัญญัติเทศบาลตำบลโพธิ์กลาง
ประเภท บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2
อาคารอยูอ่ าศัยประเภทอาคารขนาดใหญ่ X
ห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว X
โรงงานทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานตามประเภท หรือชนิดและจำพวกทีก่ ำหนดให้ดำเนินการได้
X
ตามบัญชีท้ายเทศบัญญัตินี้ และโรงงานบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน
สถานที่บรรจุก๊าซ สถานที่เก็บก๊าซและห้องบรรจุก๊าซ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง X
สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชือ้ เพลิงเพื่อจำหน่ายที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชือ้ เพลิง เว้นแต่
X
เป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
อาคารหรือสถานทีท่ ี่ใช้ในการเลีย้ งสัตว์เพื่อการค้าที่อาจก่อเหตุรำคาญ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข X X
สุสานและฌาปนสถานตามกฎหมายว่าด้วยสุสานและฌาปนสถาน X
อาคารที่ใช้ประโยชน์เพือ่ การสงเคราะห์หรือรับเลีย้ งสัตว์ X
โรงฆ่าสัตว์ X
อาคารที่ใช้ประโยชน์เพือ่ การแข่งรถ X
โรงกำจัดขยะมูลฝอย X
โรงซื้อขายเศษวัสดุ X
ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง และปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563.
หมายเหตุ: x คือ ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบัญญัติเทศบาลตำบลโพธิ์กลาง

4)ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี พ.ศ. 2555


บังคับใช้ในเขตท้องที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่งพื้นที่เป็น 4 บริเวณ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 2.2-8 ประเภทอาคารที่ห้ามก่อสร้างในข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี


ประเภท บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2 บริเวณที่ 3 บริเวณที่ 4
ห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว X X
อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด X
หอพัก ตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก X
อาคารอยูอ่ าศัยประเภทอาคารอยู่ขนาดใหญ่ X X
โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม X
อาคารพาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่อาคารพาณิชยกรรม
X
ประเภทค้าปลีกค้าส่ง
โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้
X X X
ตามบัญชีท้ายข้อบัญญัตินแี้ ละโรงงานบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน
สถานที่บรรจุก๊าซ สถานที่เก็บก๊าซและห้องบรรจุก๊าซ ตามกฎหมายฯ X X
สถานที่บรรจุก๊าซและสถานทีเ่ ก็บก๊าซตามกฎหมายฯ X
สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชือ้ เพลิงเพื่อจำหน่ายที่ต้องขออนุญาต ตาม
X X X
กฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชือ้ เพลิง
อาคารหรือสถานทีท่ ี่ใช้ในการเลีย้ งสัตว์เพื่อการค้าที่อาจก่อเหตุรำคาญ ตาม
X X X
กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
สุสานและฌาปนสถาน ตามกฎหมายว่าด้วยสุสานและฌาปนสถาน X X
อาคารที่ใช้ประโยชน์เพือ่ การสงเคราะห์หรือรับเลีย้ งสัตว์ X X
โรงฆ่าสัตว์ X X
อาคารที่ใช้ประโยชน์เพือ่ การแข่งรถ X X
โรงกำจัดมูลฝอย X X
โรงซื้อขายเศษวัสดุ X X
ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง และปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563.
หมายเหตุ: x คือ ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างในเขตข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี

2-63
5)
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ พ.ศ. 2557
บั ง คั บ ใช้ ใ นเขตองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลบ้ า นเกาะ อำเภอเมื อ งนครราชสี ม า จั ง หวั ด
นครราชสีมา โดยแบ่งพื้นที่เป็น 4 บริเวณ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 2.2-9 ประเภทอาคารที่ห้ามก่อสร้างในข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ
ประเภท บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2 บริเวณที่ 3 บริเวณที่ 4
ห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว X
อาคารอยูอ่ าศัยประเภทอาคารอยู่ขนาดใหญ่ X
โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานตามประเภท หรือ
ชนิดและประเภทที่กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายข้อบัญญัตินี้ X X X
และโรงงานบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน
สถานที่บรรจุก๊าซ สถานที่เก็บก๊าซและห้องบรรจุก๊าซ ตามกฎหมายว่า
ด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ไม่หมายความรวมถึงสถานี ร้าน X X X
จำหน่ายก๊าซ สถานที่ใช้กา๊ ซและสถานทีจ่ ำหน่ายอาหารที่ใช้กา๊ ซ
สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเพือ่ จำหน่ายที่ต้องขออนุญาต ยกเว้นสถานีบริการน้ำมัน
X
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง เชื้อเพลิง
อาคารหรือสถานที่ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าทีอ่ าจก่อเหตุรำคาญ
X X X X
ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
สุสานและฌาปนสถาน ตามกฎหมายว่าด้วยสุสานและฌาปนสถาน X X X
อาคารที่ใช้ประโยชน์เพือ่ การสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงสัตว์ X X
โรงฆ่าสัตว์ X X X
อาคารที่ใช้ประโยชน์เพือ่ การแข่งรถ X X
โรงกำจัดมูลฝอย X X X
โรงซื้อขายเศษวัสดุ X X X
ไซโลเก็บผลิตผลทางการเกษตร X
ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง และปรับปรุงโดยที่ปรึกษา, 2563.
หมายเหตุ: x คือ ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างในเขตข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ

6)
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย พ.ศ. 2560
บั ง คั บ ใช้ ใ นเขตองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลหมื ่ น ไวย อำเภอเมื อ งนครราชสี ม า จั ง หวั ด
นครราชสีมา โดยแบ่งพื้นที่เป็น 5 บริเวณ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 2.2-10 ประเภทอาคารที่ห้ามก่อสร้างในเทศบัญญัติเทศบาลเมืองบัวใหญ่
ประเภท บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2 บริเวณที่ 3 บริเวณที่ 4 บริเวณที่ 5
อาคารหรือสถานทีท่ ี่ใช้ในการอยูอ่ าศัยหรือประกอบพาณิชยกรรม
ประเภทห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว เว้นแต่เป็นการดำเนินการ ห้ามเฉพาะ
X
ในโครงการจัดสรรทีด่ ินเพือ่ การอยูอ่ าศัยและมีพื้นที่ไม่เกินร้อยละ การอยูอ่ าศัย
ห้าของพื้นที่โครงการทั้งหมด
อาคารหรือสถานทีท่ ี่ใช้ในการอยู่อาศัยประเภทห้องชุด อาคารชุด
X
หรือหอพัก
อาคารหรือสถานทีท่ ี่ใช้ในการอยู่อาศัยหรือประกอบ ห้ามเฉพาะ
X
พาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ่ การอยูอ่ าศัย
โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม X
โรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่โรงงานที่ X X X X
กำหนดให้ดำเนินการได้ตามบัญชีท้ายข้อบัญญัตินี้ และโรงงาน
บำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน

2-64
ตารางที่ 2.2-10 ประเภทอาคารที่ห้ามก่อสร้างในเทศบัญญัติเทศบาลเมืองบัวใหญ่ (ต่อ)
ประเภท บริเวณที่ 1 บริเวณที่ 2 บริเวณที่ 3 บริเวณที่ 4 บริเวณที่ 5
สถานที่บรรจุก๊าซ สถานที่เก็บก๊าซและห้องบรรจุก๊าซ ตาม X X X X
กฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชือ้ เพลิงเพื่อจำหน่ายที่ต้อง X ยกเว้นสถานี
ยกเว้นสถานีบริการน้ำมัน
ขออนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชือ้ เพลิง บริการน้ำมัน
เชื้อเพลิง
เชื้อเพลิง
อาคารที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์เพือ่ การค้าทีอ่ าจก่อเหตุรำคาญตาม
X X X X
กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
ไซโลเก็บผลิตผลทางการเกษตร X
สุสานและฌาปนสถานตามกฎหมายฯ X X X
โรงฆ่าสัตว์ X X X
อาคารหรือสถานทีท่ ี่ใช้ในการกำจัดขยะมูลฝอย X X X
อาคารหรือสถานทีท่ ี่ใช้ในการซือ้ ขายเศษวัสดุ X X X
สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงสัตว์ X X
สนามแข่งรถ X X
ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง และปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563.
หมายเหตุ: x คือ ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบัญญัติเทศบาลเมืองบัวใหญ่

2-65
ที่มา: บริษัทที่ปรึกษา, 2563.
รูปที่ 2.2-8 เทศบัญญัติและข้อบัญญัติในจังหวัดนครราชสีมา
2-66
2.2.11 สรุปสาระสำคัญกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
การสรุปสาระสำคัญกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
โดยสามารถสรุปข้อจำกัดและความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงการเมืองใหม่
เป็น 2 ประเด็น คือ
1) ความต่อเนื่องของการวางผังเมืองระดับต่าง ๆ
จากการวิเคราะห์แผนและผังในระดับประเทศที่ถ่ายลงมาสู่ระดับภาค ระดับจังหวัด และ
ระดับเมืองและชุมชน สามารถสรุปทิศทางที่เห็นได้ชัดของยุทธศาสตร์ นโยบาย วิสัยทัศน์ เป้าหมายของ
ประเทศไทยและจังหวัดนครราชสีมาในอนาคตได้ว่า การพัฒนาต้องควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ของประเทศมีความสมบูร ณ์เพีย งพอถ้าได้รับการปกป้องคุ้มครองให้มีการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิ ภ าพ
ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตจะต้องเอื้อให้ประชาชนทุกกลุ่มได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ต้องอาศัยเทคโนโลยีทั้ง
ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม อีกทั้งยังต้องคงอยู่คู่กันได้อย่างสมดุล
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของผังทุกระดับที่มีอยู่ขณะนี้ ส่วนใหญ่ยังขาดข้อมูลการดำเนิน
โครงการโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบคมนาคมขนส่ง เช่น ตำแหน่งของ
สถานีรถไฟความเร็วสูง ตำแหน่งของท่าเรือบก ตำแหน่งทางขึ้นลงทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ฯลฯ ดังนั้น
การดำเนินการพัฒนาเมืองใหม่จึงมีความจำเป็นต้องทบทวนรายละเอียดของผังที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเมื่อ
โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการอยู่ขณะนี้เสร็จสิ้นจะถูกนับให้เป็น ปีเริ่มต้น หรือ ปีศูนย์ (T0) ที่ใช้เป็นปี
ฐานในการคำนวณตัวเลขในการคาดการณ์โครงการศึกษาแผนแม่บทเมืองใหม่นครราชสีมา การพัฒนาเมือง
ใหม่จึงต้องทำงานสอดประสานกับผังปัจจุบันและผังที่อยู่ระหว่างการแก้ไขปรับปรุงและที่จะมีการแก้ไ ข
ปรับปรุงในอนาคตด้วย
นอกจากนี้ การพัฒนาเมืองใหม่ยังเป็นการดำเนินนโยบายเชิงรุก ในการสร้างเมืองที่ต้อง
ดึงดูดประชากรเข้ามาทำงานและพักอาศัยในเมืองใหม่ การขยายตัวลักษณะนี้ไม่ใช่ การขยายตัวปกติของ
เมือง (Incremental Growth) ที่สามารถรองรับได้ด้วยการคาดการณ์ประชากร (Forecast Method)
และกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้นในผังเมืองรวม (Rezoning) แต่เป็นการขยายตัวแบบชักนำให้เกิด
การขยายตัว (Induced Growth) ซึ่งต้องวางแผนรองรับจำนวนประชากรที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต้องมี
ความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับเศรษฐกิจช่วงขาลงที่การเพิ่มขึ้นของประชากรอาจจะชะลอตัวสลับกันไป
ดังนั้น ผังในระดับจังหวัดและระดับเมืองและชุมชนที่มีผลใช้บังคับในปัจจุบันอาจไม่สอดคล้อง
กั บ จำนวนประชากรจากการคาดการณ์ ผ ่ า นกระบวนการสร้ า งภาพอนาคต (Foresight Method) และ
เศรษฐมิติได้ (Econometrics) ที่การขยายตัวในรูปแบบของเมืองใหม่ที่จะเกิดจากการชักนำหรือการกระตุ้น
โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานนำการพัฒนาและใช้มาตรการสร้างแรงจูงใจควบคู่กันไป ทั้งนี้ ในระยะแรกการพัฒนา
เมืองใหม่จะสามารถดำเนินการตามผังเมืองรวมที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบันได้ก่อน โดยมุ่งเน้นการพัฒนา
ที่ยังคงมีความหนาแน่นน้อยและใช้โครงสร้างชั่วคราว ในอนาคตหากการพัฒนาเมืองใหม่มีความชัดเจน
ของโครงการ มีการพัฒนาพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และมีการประเมินผลผังฯ และปรับปรุงผังเมืองรวมที่สามารถ
ตอบสนองการขยายตัวของเมืองใหม่แล้ว จึงจะสามารถพัฒนาเมืองใหม่ที่มีความหนาแน่นและการใช้
ประโยชน์ที่ดินและอาคารอย่างเต็มศักยภาพต่อไป

2-67
ประเด็ น สำคัญที่จ ะต้องกล่ าวถึง และอาจนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทั้ง ด้ า น
กฎหมาย สังคมและการตั้งถิ่นฐาน สิ่งแวดล้อม และเกษตรกรรม คือ ที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำ
ประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ออกตามพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม โดยสำนักงานการปฏิรูป
ที่ดินเพื่อการเกษตร (ส.ป.ก.) เนื่องจากจังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ป่าสงวนอยู่มาก แต่ป่าสงวนเหล่านี้ก็มีสภาพ
เป็นป่าเสื่อมโทรม จึงมีการยกเลิกป่าสงวนและประกาศเป็นที่ดิน ส.ป.ก. ทั้งนี้ ยกเว้นป่าสงวนที่อยู่รอบอุทยาน
แห่งชาติที่ใช้เป็นป่ากันชนที่ยังคงมีสภาพดี แต่ในบริเวณที่ได้ประกาศเป็น ส.ป.ก. แล้วมีการเข้าครอบครองใช้
สิทธิทำกินไปบ้างแล้วในบางบริเวณที่เป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับเมืองที่มีศักยภาพสูงกว่าการใช้ประโยชน์ด้าน
เกษตรกรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุ บัน บางบริเวณอยู่ติดกับมหาวิทยาลัย นิคมอุตสาหกรรม หรือใกล้กับสนามบิน
ทำเลเหล่านี้ถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพสูง พร้อมรองรับการขยายตัวของเมือง มีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ถ้าสามารถพิจารณาใช้เป็นพื้นที่เมืองใหม่จะทำให้รัฐมีทรัพยากรด้านอสังหาริมทรัพย์อยู่ในครอบค รองเพื่อ
พิจารณาใช้ประโยชน์เป็นสาธารณะ หรือให้เช่า หรือสัมปทาน อันจะก่อให้เกิดผลตอบแทนที่จะเป็นเงินทุน
หมุนเวียนในการพัฒนาเมืองใหม่ต่อไปได้
ดังนั้น การพิจารณาคัดเลือกพื้นที่เมืองใหม่จึงพิจารณาที่ดินที่มีการครอบครองทั้งโดยรัฐและ
เอกชนผสมกัน การครอบครองที่หลากหลายจะทำให้เมืองใหม่มีรูปแบบการลงทุนย่อยหลากหลายเช่นกัน ต้นทุน
ที่ดินสามารถเป็นไปได้ทั้งการซื้อขายขาด การเช่า และการสัมปทาน ช่วยให้การพัฒนาอสังหาริมทรั พย์ มี
ทางเลือก สร้างการถ่วงดุลของกลไกราคาที่ดิน เปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยหรือผู้ที่ย้ายเข้ามาใหม่มีโอกาสเช่ า
ที่อยู่อาศัยในราคาที่เหมาะสม อีกทั้งยังสามารถจัดให้มีที่ดิน สำหรับการใช้งานของส่วนรวมได้ง่าย เช่น ถนน
สถานีรถไฟฟ้า สวนสาธารณะ อ่างเก็บน้ำ คูคลองระบายน้ำ ที่อุปกรณ์ประกอบเมืองในอนาคต ฯลฯ ผ่าน
กฎหมายจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาในครั้งนี้จึงไม่ได้ตัดที่ ดิน ส.ป.ก. ที่มี
ศักยภาพสูงออกจากปัจจัยในการคัดเลือกพื้นที่ แต่จะมุ่งไปที่การพิจารณาศักยภาพที่ดิน และการแก้ไขปรับปรุง
กฎหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส.ป.ก. ต่อไป
2) กฎหมายและมาตรการอื่น ๆ ในการดำเนินการพัฒนาเมืองใหม่
จากการศึกษา ทบทวนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่อาจสามารถ
นำเสนอแนวทางการผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองใหม่อย่างเป็นรูปธรรมในเบื้องต้นได้ดังนี้
(1) การผลักดันตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562
ในกรณีผัง การพัฒนาเมืองใหม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ต่อเนื่องกับเนื้อเมืองเดิมและอาจมี ก าร
ประกาศใช้บังคับผังเมืองรวมอยู่แล้ว การพัฒนาเมืองใหม่ในระยะแรกควรดำเนินการให้สอดคล้องตามผังเมือง
รวมที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบันก่อน เนื่องจากการพัฒนาเมืองใหม่ระยะแรกเมืองยัง คงมีความหนาแน่นน้อย
โดยในอนาคตหากการพัฒนาเมืองใหม่มีความชัดเจนของโครงการ สภาพของพื้นที่เมืองมีการเปลี่ยนแปลงและ
มีความหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น นำมาสู่การประเมินผลผังฯ และปรับปรุงผังเมืองรวมที่สามารถตอบสนองการ
ขยายตัวของเมืองใหม่แล้ว ในระยะต่อมาจะสามารถพัฒนาเมืองใหม่ที่มีความหนาแน่นและการใช้ประโยชน์
ที่ดินและอาคารอย่างเต็มศักยภาพต่อไปในอนาคต

2-68
(2) การผลักดันตามกฎหมายและมาตรการอื่นที่พึงมีในการดำเนินการพัฒนาเมืองใหม่
ปัจ จุบ ัน ในประเทศไทยยังไม่มีการดำเนินโครงการพัฒ นาเมืองใหม่มากนัก ดังนั้น
นอกจากกฎหมายที่ได้กล่าวไปตามหัวข้อ 2.2 แล้วยังจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางกฎหมายด้านอื่น ๆ ซึ่งสามารถ
ช่ว ยให้การพัฒ นาเมืองใหม่มีความเป็น ไปได้เพิ่มขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และมีความเป็นธรรมมากขึ้น
กฎหมายที่น่าสนใจสมควรจัดทำร่างขึ้นเพื่อศึกษาต่อไป มีดังนี้
(2.1) พระราชบัญญัติการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคชั้น
พื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของรัฐ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ภาษีลาภลอย”
(2.2) พระราชบัญญัติบรรษัทพัฒนาเมืองเพื่อจัดตั้งองค์กรบริหารเมืองใหม่
(2.3) พระราชบั ญญั ต ิ กองทุ นเมื องใหม่ เพื ่ อจั ดสรรเงิ นทุ นและรู ปแบบการลงทุ นใน
การพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการสำหรับเมืองใหม่
(2.4) การแก้ไขปรั บปรุงพระราชบั ญญัต ิจ ัดรู ปที่ ดิ นเพื่ อให้การจัดรู ปที่ ดิ นทางตั ้ งมี
ประสิทธิภาพขึ้น
(2.5) แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อเพิ่มสิทธิ
ประโยชน์ในการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขยายประเภทของอุตสาหกรรมให้ครอบคลุมอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม
• ข้อบัญญัติเชิงรูปทรง (Form-Based Code : FBC) ที่อาจมานำมาใช้ แทน
ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกี่ยวข้องกับความหนาแน่นหรือมาตรการทางผังเมืองที่ช่วยกระตุ้นการพัฒนา
ได้แก่ มาตรการโอนสิทธิในการพัฒนา (Transfer of Development Rights: TDR) มาตรการเพิ่มอัตราส่ว น
พื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) มาตรการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ (Planned Unit Development:
PUD) และมาตรการลดจำนวนที่จอดรถยนต์ในเขตที่มีการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
ทั้งนี้ การพัฒนาเมืองใหม่นครราชสีมาในอนาคตที่กรมโยธาธิการและผังเมือง
ได้รับมอบหมายให้ ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเกิดเมื องใหม่ตามที่คณะรัฐมนตรีสัญจรจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่
7-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ได้เห็นชอบกับข้อเสนอของภาคเอกชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนื อ
ตอนล่างและหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ให้มีการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาเมืองใหม่นครราชสีมา โดยเมื่อ
มี ก ารศึ ก ษาแล้ ว เสร็ จ คาดว่ า หน่ ว ยงานที ่ จะมารั บ ช่ ว งดำเนิ นการพั ฒ นาต่อ ในอนาคต เช่ น สำนั ก งาน
คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2565 พล.อ.ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒ นาเขตเศรษฐกิจพิ เศษ
(กพศ.) ครั้งที่ 1/2565 มีมติเห็นชอบการประกาศพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี
และหนองคาย เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรัฐสภาสามารถออกพระราชบัญญัติ
ใกล้เคียงกับพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มีการยกเว้นกฎหมายบางอย่างเพื่อให้ก าร
ขับเคลื่อนไม่ติดข้อจำกัด เช่น การยกเว้นกฎหมายผังเมืองในการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและ
แผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค หรือการยกเว้นกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เพื่อให้นำที่ดินของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรมาใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้
ยังมี กฎหมายว่าด้ว ยการเวนคืน และการได้มาซึ่ งอสังหาริม ทรั พย์ ขึ้นมาแทน พ.ร.บ.ว่าด้ว ยการเวนคื น
อสังหาริมทรัพย์ ฉบับปี 2530 โดยกำหนดให้ "การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ" เป็นกิจการ "เพื่อประโยชน์
สาธารณะ” และให้ อ ำนาจรั ฐ สามารถเวนคื น ที ่ ด ิ น ในเขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษ ทั ้ ง ยั ง สามารถ เวนคื น ที ่ ดิ น
สาธารณประโยชน์ ที่ดินป่าสงวนหวงห้าม และที่ดินสงวนหวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุหรือตาม
ประมวลกฎหมายที่ดินได้อีกด้วย

2-69
2.3 ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์นโยบาย แผนงาน โครงการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน
ที่เกี่ยวข้อง (TOR ข้อ 4.1.3)
2.3.1 นโยบายความร่วมมือระหว่างประเทศ
1) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
ประเทศไทยและประเทศสมาชิก ในองค์การสหประชาชาติ (United Nations) รวม 189
ประเทศ ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาร่วมกันทั้งในระดับชาติและระดับสากลหรือ 8 เป้าหมายการพัฒนาแห่ง
สหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) และวาระการพัฒนาภายหลัง พ.ศ. 2558 (Post-
2015 Development Agenda) ขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนา
เป็นมิติ (Dimensions) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ เกิดความเชื่อมโยงกัน เรียกว่า เป้าหมาย
การพัฒ นาที่ย ั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และใช้เป็นกรอบในการกำหนดทิศ ทาง
การพัฒนาร่วมกันตั้งแต่ พ.ศ. 2558-2573 ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย ดังรูปที่ 2.3-1

ที่มา: United Nations (2015)


รูปที่ 2.3-1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
ของ United Nations ปี ค.ศ. 2015-2030
โดยเป้าหมายที่ส่งผลต่อการพัฒนาด้านผังเมือง ได้แก่ เป้าหมายที่ 11 เมืองและชุมชนยั่งยืน
(Sustainable Cities and Communities) ส่งเสริมให้เมืองปลอดภัยและยั่งยืนเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้น
ของประชากรในพื้นที่ โดยเน้นการเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสม ด้วยการลงทุนด้านการขนส่ง
สาธารณะ การสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียว และการปรับปรุงการวางผังเมืองแบบมีส่วนร่วม โดยกำหนด
เป้าหมายให้มีการเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่มีความปลอดภัยและราคาถูก ในปี ค.ศ. 2030 โดยมีตัวชี้วัดเป็นอัตราส่วน
ประชากรเมืองที่อาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรมและความสามารถในการจัดให้มีที่อยู่อาศัยที่เพียง พอต่อจำนวน
ประชากรที่เพิ่มขึ้นจากการอพยพย้ายถิ่นจากชนบทเข้าสู่เมือง
2) วาระใหม่แห่งการพัฒนาเมือง (New Urban Agenda)
“New Urban Agenda” เป็นแนวทางและพันธกิจฉบับใหม่จากการประชุม The World
Urban Forum จัดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติเพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (UN-Habitat) ซึ่งเป็นการประชุม
ระดับโลกเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาเมืองต่าง ๆ จากทั่วโลกที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองได้
แบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและการจัดการเมือง โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยรัฐบาลระดับชาติ

2-70
ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น องค์กร NGO องค์กรท้องถิ่น สถาบันการวิจัย ภาคเอกชน สถาบันการเงิน สื่อ
หน่ ว ยงานสหประชาชาติ และผู ้ ม ี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย อื ่ น ๆ โดยวาระใหม่ แ ห่ ง การพั ฒ นาเ มื อ งจะนำไปสู่
การสนับสนุนรูปแบบการพัฒนา 4 หลัก (เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม) ที่เป็นเครื่องมือและ
องค์ประกอบสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มาเป็น
ขอบเขตสำหรับ การบูร ณาการวัฒนธรรมของเมืองในการพัฒนาอย่างยั่ งยืนในอนาคต ภายใต้มติ “2030
Agenda for Sustainable Development and the Sustainable Development Goals” ห ร ื อ แ ผ น
ดำเนินการ 15 ปีที่มุ่งหวังจะขจัดความยากจน การต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำและอยุติธรรม และการพิทักษ์โลก
หลักการสำคัญของ “Agenda 2030” คือ “Sustainable Development Goals” (SDGs)
มีประกาศ “QUITO DECLARATION ON SUSTAINABLE CITIES AND HUMAN SETTLEMENTS FOR ALL”
ที่ส ำคัญโดยสรุป คือ ในประมาณปี ค.ศ. 2050 คาดว่าประชากรเมืองของโลกจะเพิ่มขึ้นอีกสองเท่า เกิด
ภาวะการขยายตัวของเมืองที่นำไปสู่ประเด็นปัญหาท้า ทายในเรื่องต่าง ๆ เช่น ที่อยู่อาศัย ระบบสาธารณูปโภค
สาธารณูปการ อาหาร ความปลอดภัย สุขอนามัย การศึกษา การมีงานทำ และทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้ง
ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การเสื่อมค่าของทรัพยากรธรรมชาติทั่วโลกที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
อย่างยั่งยืน ของโลก New Urban Agenda จะช่ว ยให้ภ าวะความยากจนและหิว โหยสิ้นสุดลง ลดปัญ หา
ความเหลื่อมล้ำ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน บรรลุถึงความเท่าเทียมกันทางเพศ และ
การมีบทบาทอำนาจของสตรี ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของประชาชน รวมทั้งการส่งเสริมและ
พิทักษ์สภาพแวดล้อม จึงนับเป็นก้าวสำคัญในการช่วยให้ตระหนักถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในรูปแบบของ
การรวมประสานและการประสานงานกันทั้งในระดับโลก ภูมิภาค ประเทศ เขตพื้นที่ และในระดับท้องถิ่นด้วย
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
New Urban Agenda (NUA) ถือได้ว่าเป็นโอกาสอันดีในการในการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา
เมืองใหม่นครราชสีมา ซึ่งเป็นเมืองที่มีประวัติการตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนาน ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิม
และความทันสมัยเพื่อให้ชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเป็นเมืองวัฒนธรรมที่ยั่งยืนต่อไป
3) การประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26
(COP26)
การประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26
หรื อ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) จั ดขึ ้ นระหว่ างวั นที ่ 31 ตุ ลาคม –12
พฤศจิกายน 2564 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร โดยมีประเด็นการเจราที่สำคัญในการประชุม COP26 ดังนี้
• การกำหนดกลไกความร่วมมือสำหรับการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ
• การกำหนดกรอบระยะเวลา (Timeframe) ในการดำเนินงานตามเป้ามายการมีส่วนร่วมที่
ประเทศกำหนด (NDC)
• การกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องให้การสนับสนุนแก่ประเทศ
กำลังพัฒนา เพื่อดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
• การกำหนดรูปแบบการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก (GHG Inventory)
• การรายงานความก้าวหน้าด้านการดำเนินงานของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด

2-71
สำหรับบทบาทของประเทศไทยในเวที COP26 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใน
ฐานะหัวหน้าผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) ในห้วงการประชุม COP26 ได้
แสดงเจตจำนงของกระเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประชาคมโลกตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (Long-term Low Greenhouse Gas
Emission Development Strategies : LT-LEDS) ของประเทศไทย รวมถึงประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทาง
คาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) หากได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินและ
เทคโนโลยีอย่างเต็มที่และเท่าเทียม รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถจากความร่วมมือระหว่างประเทศและ
กลไกอื่น ๆ ภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ประเทศไทยจะสามารถยกระดับเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด
(NDC) เป็นร้อยละ 40 ได้และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของไทยเป็นศูนย์ได้ภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่ง
ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรก ๆ ของโลกที่สามารถดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งเป็นประเทศแรก
ในอาเซียนที่มีกรอบมาตรการในการดำเนินงานที่ชัดเจน
4) ความตกลงปารีส (Paris Agreement)
ความตกลงปารี ส (Paris Agreement) คือความพยายามครั้ ง ใหญ่ ข องมนุ ษยชาติ ใ นการ
แก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายที่ท้าทายคือ
• รักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เหนืออุณหภูมิในช่วงก่อนการ
พัฒนาอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดให้อุณภูมิโลกต่ำกว่านั้นประมาณ 1.5 องศาเซลเซียส
• จำกัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ให้อยู่ในระดับเดียวกับที่ต้นไม้
ดิน และมหาสมุทรสามารถดูดซับได้ โดยจะเริ่มในช่วงเวลาระหว่างปี ค.ศ. 2050 และ ค.ศ. 2100
• ทบทวนการมีส่วนร่วมของแต่ละประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุก ๆ 5 ปี
เพื่อกระตุ้นให้เกิดความพยายามยิ่งขึ้น
• เปิดโอกาสให้ประเทศร่ำรวยสามารถช่วยเหลือประเทศที่ฐานะด้อยกว่าได้ ผ่าน “เงินทุน
สนับสนุนด้านภูมิอากาศ” เพื่อปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และหันไปใช้พลังงานทดแทน
ความตกลงปารีสเกิดขึ้นจากการประชุม COP ครั้งที่ 21 ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12
ธันวาคม 2558 เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(United Nations Framework Convention on Climate Change หรือย่อเป็น UNFCCC หรือ FCCC) ฉบับ
ล่ า สุ ด ซึ ่ ง เป็ น ส่ ว นขยายและเพิ ่ ม เติ ม (Supplementary Agreement) ต่ อ จาก พิ ธ ี ส ารเกี ย วโต (Kyoto
Protocol–KP) ปี พ.ศ. 2540 เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากพิธีสารเกียวโต
นั ้ น มี ข ้ อ จำกัด ไม่ ส ามารถแก้ป ัญ หาการเปลี ่ย นแปลงสภาพภูม ิ อ ากาศได้ อ ย่า งเต็ม ที ่ เนื ่ อ งจากประเทศ
สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคี
ของพิธีสารฯ ดังกล่าว ต่อมาในสมัย โจ ไบเดน หลังจากได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง และหลังจากดำรง
ตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 46 ได้ลงนามในคำสั่งพิเศษ เมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2564 นำสหรัฐฯ
กลับเข้าเป็นภาคีในความตกลงปารีสอีกครั้ง เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเร่งด่วน โดยคาดว่าจะสามารถผลักดัน
แผนเศรษฐกิจมูลค่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อเดินหน้ากระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด ลดการ
ปล่อยคาร์บอนจากโรงไฟฟ้าภายในปี พ.ศ. 2578 และบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net
Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2593
2-72
สำหรับประเทศไทยนั้นได้เข้าร่วม “ความตกลงปารีส” เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 โดย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 71 ที่
นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และได้มอบสัตยาบันสารเข้าเป็นภาคีความตกลงปารีสของไทยให้กับนายบัน คีมูน
เลขาธิการสหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ โดยประเทศไทยได้ให้ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของ
ประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับประชาคมโลก
(National Determined Contribution – NDC) โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ร้อยละ
20–25 ภายในปี พ.ศ. 2573 ตามร่างแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573
(Thailand’s Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021–2030 หรื อ NDC
Roadmap on Mitigation 2021–2030) ผ่านการดำเนินการในสาขาต่าง ๆ อาทิ สาขาพลังงานและขนส่ง
สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และสาขาการจัดการของเสีย
5) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนประกอบด้ว ยสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาค
อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งเพื่อขยายความร่วมมือและการค้า
ระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยมีแผนแม่บทการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน 3 ด้าน ได้แก่ การเชื่อมโยงทาง
กายภาพ (Physical Connectivity) การเชื่อมโยงทางสถาบัน (Institutional Connectivity) และการเชื่อมโยง
ในระดั บ ประชาชน (People-to-People Connectivity) ภายใต้ แ นวทางการพั ฒ นา ประกอบด้ ว ย
8 ยุทธศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตและสวัสดิการ
ของประชาชนที่ดีขนึ้ รวมทั้งสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความมั่นคง ดังนี้
1) การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสินค้า บริการ การค้า และการลงทุน
2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการคุ้มครองทางสังคม
3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์
4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
5) การพัฒนากฎหมาย กฎ และระเบียบ
6) การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักถึงความสำคัญของอาเซียน
7) การเสริมสร้างความมั่นคง
8) การเพิ่มศักยภาพของเมืองเพื่อเชื่อมโยงโอกาสจาก
ความสำคัญเชิงพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาต่อ AEC
แม้ว่าจังหวัดนครราชสีมาจะไม่ได้เป็นจังหวัดประตูการค้าชายแดนกับประเทศกลุ่มอาเซียน
โดยตรง แต่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของตำแหน่งที่ตั้ง เนื่องจากเป็นหนึ่งในจังหวัดที่อยู่ บนเส้นทาง
การขนส่งทางรางสายกรุงเทพ-หนองคาย-เวียงจันทน์-ฮานอย-หนานหนิง และเป็นเส้นทางผ่านที่ใกล้ที่สุดของ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการขนส่งสินค้าทางรางไปยังเส้นทางเดินเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ทำให้
จังหวัดนครราชสีมาเป็น ประตูส ำคัญต่อการรวบรวมและกระจายสิน ค้าและบริ การต่าง ๆ ระหว่างภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือกับภูมิภาคอื่น ๆ จึงมีบทบาทด้านโลจิสติกส์ ที่สำคัญต่อ AEC ในด้านศูนย์กลางของ
การคมนาคมขนส่งสินค้าและการขนส่งมวลชนของภูมิภาค

2-73
ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
รูปที่ 2.3-2 แนวเส้นทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
6) ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI)
ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) หรือ ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เดิมคือ
ยุทธศาสตร์ One Belt One Road (OBOR) (โครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21) เป็นยุทธศาสตร์การ
พัฒนาหลักที่จีนริเริ่มดำเนินการ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มการเชื่อมโยงด้านการค้าและการคมนาคม
ขนส่งระหว่างประเทศจีนกับภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียกลาง ตะวันออก
กลาง ยุโรป และแอฟริกา ซึ่งจะครอบคลุมมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก รวมไปถึง
การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการร้อยละ 25 ของการค้าโลกทั้งหมด ผ่านมาตรการสนับสนุนการลงทุนใ น
ต่างประเทศของรัฐบาลจีน โดยประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ การพัฒนาเส้นทาง Silk Road Economic Belt
และ Maritime Silk Road โดยสนับสนุนการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงข่ายเส้นทางบก ท่าเรือ พลังงาน และการ
พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ เพื่อลดช่องว่างและสามารถเชื่อมโยงภูมิภาคได้อย่างเป็นเอกภาพ

2-74
จังหวัดนครราชสีมาเป็นหนึ่งในจังหวัดที่อยู่ในเส้นทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะเกิดขึ้น
ในประเทศไทย ได้แก่ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ
ประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิ ภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย
(โครงการรถไฟไทย - จีน) ซึ่งเป็นแนวเส้นทางที่จะเชื่อมต่ อกับโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายนครหลวง
เวียงจันทน์ (สปป. ลาว) - คุนหมิง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
รูปที่ 2.3-3 เส้นทางสายไหมใหม่ในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative - BRI)
ความสำคัญเชิงพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาต่อ BRI

7) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปเอเชียและยุโรปในการเชื่อมโยงโครงข่าย
ถนนเพื่อเชื่อมโยงการเดินทาง
เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปเอเชียและยุโรป รวมถึงคณะกรรมการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิค (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP -
เอสแคป) ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าคณะกรรมการส่วนภูมิภาคของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
วางแผนร่วมมือปรับปรุงระบบทางหลวงในเอเชียตามเสาหลักการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางบก
ชองทวีปเอเชีย โดยได้จัดทำข้อตกลงร่วมกัน 32 ประเทศ เพื่อให้เกิดเส้นทางเชื่อมต่อกันภายในทวีปเอเชียและ
ข้ามไปยังทวีปยุโรป กำหนดให้เรียกทางหลวงที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศนี้ ว่า ทางหลวงสายเอเชีย (Asian
Highway: AH) โดยประเทศไทยมีเส้นทางที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการดังกล่าวรวม 5,112 กิโลเมตร (ตาม
โครงข่ายที่วางแผนไว้) สำหรับในพื้นที่ศึกษาจังหวัดนครราชสีมามีโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางถนนสาย
ประธานและสายหลักที่สำคัญ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพ เชื่อมโยงการเดินทางจาก

2-75
กรุงเทพมหานครผ่านพื้นที่ภาคกลางไปยังพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวเส้นทางบางช่วงผ่านจังหวัด
นครราชสีมา โดยตั้งแต่ช่วงจังหวัดสระบุรีถึงจังหวัดหนองคายเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายเอเชียสาย 12
(AH12) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปสู่ประตูการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว สหภาพเมียนมา รวมไปถึง
บริเวณตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้ ยังมีทางหลวงหมายเลข 304 หรือเส้นทางสายเอเชีย 19
(AH19) เชื่อมต่อการเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมาผ่านพื้นที่จังหวัดทางภาคตะวันออกไปยังท่าเรือแหลมฉบัง
และประเทศกัมพูชา จะเห็นได้ว่า พื้นที่จังหวัดนครราชสีมาตั้งอยู่บนโครงข่ายเส้นทางที่มีความเชื่อมโยงระดับ
ภูมิภาคที่สำคัญ ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์รวมไปถึงการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจใน
อนาคตของพื้นที่

ที่มา: Wikimedia Commons, United Nations-ESCAP


รูปที่ 2.3-4 โครงข่ายถนนสายเอเชียทั่วโลกและในประเทศไทย
8) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาค
ลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregion: GMS)
เป็นกรอบความร่วมมือประเทศในอนุภาคลุ่มน้ำโขงของ 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย สหภาพเมียนมา
ลาว กัมพูชา เวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีปัจจัยสำคัญ ได้แก่ กำลังซื้อมหาศาลของประชากร
กว่า 250 ล้านคน ทั้งยังมีขนาดพื้นที่รวมกัน 2.3 ล้านตารางกิโลเมตร มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ และมีความ
ได้เปรียบทางด้านที่ตั้ง ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคเอเชีย จึงถือเป็น อีกหนึ่งความ
พยายามที่ต้องการยกระดับการพัฒนาการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสริมสร้างศักยภาพของกลุ่ม GMS ในเวที

2-76
การค้าโลก มุ่งเน้นการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานหลายแขนง โดยเฉพาะเส้นทางคมนาคม ระบบ
ไฟฟ้า โทรคมนาคม สิ่งแวดล้อม และกฎหมาย สำหรับใช้เป็นเส้นทางกระจายสินค้า ลำเลียงวัตถุดิบ และ
รองรับตลาดการท่องเที่ยว โดยมีธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เป็น
ผู้สนับสนุนหลักด้านการเงิน โดยเส้นทางเศรษฐกิจสายอาเซียนหรือ GMS Economic Corridors แบ่งตามภูมิภาค
ออกเป็น 3 เส้นทางหลัก ได้แก่
(1) แนวตะวัน ออก-ตะวัน ตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เชื่อมโยง
พม่า -ไทย-ลาว-เวีย ดนาม ระยะทาง 1,500 กิโ ลเมตร ได้แก่ เมาะละแหม่ง -เมียวดี/ แม่ส อด-พิษณุโ ลก-
ขอนแก่น-กาฬสินธุ์-มุกดาหาร/สะหวันนะเขต-ดองฮา-ดานัง เรียกได้ว่าเป็นเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างทะเลจีนใต้
กับทะเลอันดามัน พาดผ่านประเทศไทย 7 จังหวัด
(2) แนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) 2 เส้นทางหลัก ได้แก่
เส้นทางเชื่อมโยงจีน-พม่า/ ลาว-ไทย ระยะทางประมาณ 1,280 กิโลเมตร และเส้นทางเชื่อมโยงจีน-เวียดนาม
โดยเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างไทย-พม่า-ลาว-จีน พาดผ่านประเทศไทย 13 จังหวัด
(3) แนวตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) เชื ่ อ มโยงไทย-กั ม พู ช า-
เวียดนาม 3 เส้นทาง ได้แก่ 1) กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ/ปอยเปต-พนมเปญ-โฮจิมินห์ ซิตี้-วังเตา 2) กรุงเทพฯ-
ตราด/เกาะกง-สแรแอมปึล-กัมปอต-ฮาเตียน-กามู-นำเชา และ 3) กรุงเทพฯ-เสียมราฐ-สะตรึงเตร็ง-รัตนคีรี-
OYadav-PlayKu-QuyNhon พาดผ่านประเทศไทย 8 จังหวัด
สำหรับในพื้นที่ศึกษาจังหวัดนครราชสีมามีโครงข่ายคมนาคมขนส่งทีเ่ ป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง
แนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ -ใต้ (North-South Economic Corridor) ซึ่งเชื่อมต่อการเดินทางตั้งแต่ บริเวณ
ตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านสหภาพเมียนมาและ สปป.ลาว ผ่านเมืองเวียงจันทน์เข้าสู่จังหวัด
หนองคาย จังหวัดอุดรธานี ผ่านจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเข้าสู่แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก
(ตอนใต้) ไปยังท่าเรือแหลมฉบังหรือเชื่อมโยงเข้าสู่ประเทศกัมพูชา ทั้งนี้ หากการพัฒนาแกนเศรษฐกิจดังกล่ าว
มีความครบถ้วนสมบูรณ์จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวกทำให้เป็น
ทางเลือกหนึ่งสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจากฝั่งสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังประเทศไทย รวมถึง
ประเทศอื่น ๆ เช่น อินเดีย หรือประเทศในแถบยุโรปและแอฟริกา

2-77
ที่มา: Asian Development Bank
รูปที่ 2.3-5 แนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มน้ำโขง
(Economic Corridors in the Greater Mekong Subregion)

2-78
2.3.2 แผนพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับประเทศและภาค
1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาใน
ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์
โดยยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ “ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม” ได้ระบุถึงการพัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มุ่งเน้นความเป็น
เมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมี “ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน”
ซึ ่ ง กำหนดให้ ม ี ก ารพั ฒ นาเศรษฐกิ จ บนพื ้ น ฐานผู ้ ป ระกอบการยุ ค ใหม่ ท ี ่ ม ี ท ั ก ษะและจิ ต วิ ญ ญาณของ
ผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการแข่งขันและมีอัตลักษณ์ชัดเจน รวมไปถึง “ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้าง
โอกาสและความเสมอภาคทางสังคม” ด้วยการจัดระบบเมืองที่เอื้อต่อการสร้างชีวิตและสังคมที่มีคุณภาพและ
ปลอดภัย สามารถตอบสนองต่อสังคมสูงวัยและแนวโน้มการขยายตัวของเมืองในอนาคต โดยพัฒนาระบบ
ผังเมืองของประเทศและระดับพื้นที่ พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการเมืองและสิ่งอำนวยความสะดวกให้
เป็นเมืองอัจฉริยะ ปลอดภัย สะดวกสำหรับคนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ถึงแนวนโยบายในการพัฒนาพื้นที่เมืองที่ให้ความสำคัญกับ
ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและโอกาสของเมืองด้วยการมีส่วนร่วมและการลงทุนของภาคเอกชน ชุมชนและ
ภาคประชาสังคม รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดูแลคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในเมือง ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มประชากรที่อาศัยใน
เขตเมือง การสร้างความสามารถในการแข่งขันโดยการพั ฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่ และ
การพัฒนาระบบผังเมืองของประเทศและผังเมืองระดับพื้นที่อย่างชัดเจน

รูปที่ 2.3-6 ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กับนโยบายอื่น ๆ

2-79
2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
เป็นแผนพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี บนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 -
2580) ทิศทางการพัฒนามุ่งเตรียมความพร้อมและวางรากฐานในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศ
ที่พัฒนาแล้ว อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง
การปรับโครงสร้างประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 10 ด้าน โดยยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่อง
กับการพัฒนาเมืองใหม่ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภูมิภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ฐานเศรษฐกิจหลักให้ขยายตัวอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มคุณภาพชีวิต และสร้าง
รายได้แก่ คนในชุมชน เกิดการพัฒนาเมืองอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการขับเคลื ่ อน
การพัฒนาเมืองให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจังหวัดนครราชสีมามีแนวทางการพัฒนาในแต่ละระดับ ดังนี้
(1) การพัฒนาระดับภาค
(1.1) เพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรไปสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และอาหาร
ปลอดภัย ส่งเสริมโคนมในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
(1.2) พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง สนับสนุนและ
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
และอาหารแบบครบวงจร สร้างเครือข่ายระหว่างภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคราชการเพื่อก่อให้เกิด
การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล เทคโนโลยี นวัตกรรมในการแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นผลิตภัณฑ์
สำเร็จรูปที่มีมูลค่าสูงและตรงตามความต้องการของตลาด ยกระดับมาตรฐานสินค้ากลุ่มสิ่งทอและส่งเสริมพื้นที่ที่มี
ศักยภาพสู่การเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในระดับภูมิภาค
(1.3) ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงประเพณีวัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา
(1.4) ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ให้คงความอุดมสมบูรณ์และรักษาความหลากหลายทาง
ชีวภาพ กำหนดและทำเครื่องหมายแนวเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์และพื้นที่ป่านอกเขตอนุรักษ์ให้ชัดเจน เน้นให้
ประชาชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู ปลูกป่า และป้องกันการบุกรุก
(2) การพัฒนาระดับเมือง
พัฒนาเมืองนครราชสีมาให้เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าการลงทุนการบริการสุขภาพ
และศูนย์กลางการศึกษา โดยพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงกับระบบโครงสร้างพื้นฐานที่
เชื่อมโยงระหว่างภาค ส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะในเมืองให้เชื่อมโยงระหว่างเมืองและระบบขนส่งอื่น ๆ
3) แนวคิด Thailand 4.0
Thailand 4.0 เป็นแนวคิดที่มุ่งนำพาประเทศไทยให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง
กับดักความเหลื่อมล้ำ และกับดักความไม่สมดุล พร้อมกับเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ประเทศในโลกที่หนึ่งที่มี
ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในบริบทของโลกยุค The Fourth Industrial Revolution ด้วยการปรับโครงสร้าง
อุตสาหกรรมและปรับเปลี่ยนแรงงานให้สอดคล้องกับ Industry 4.0 ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการ
Reskilling Upskilling และ Multiskilling ในแรงงานปัจจุบัน โดยเน้นการพัฒนาทักษะเพื่อรองรับงานที่เป็น Non-
Routine/Task Special/ Project- Based Jobs มากขึ้น

2-80
สำหรับกรอบแนวคิดในการพัฒนา Thailand 4.0 ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องและส่งผลต่อการพัฒนา
อุตสาหกรรมในพื้นที่เมืองใหม่จะบรรจุอยู่ในวาระที่ 2: พัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
ที่เน้นให้ประเทศไทยมี “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ของความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรม และ
สร้าง “ความได้เปรียบเชิงแข่งขัน” ผ่านการเติมเต็มองค์ความรู้ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์โดยได้กำหนดให้
มีการพัฒนา 5 กลุ่มเทคโนโลยี/อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต
4) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)
ประกอบด้ วยวิ ส ั ย ทั ศน์ “มุ ่ งสู ่ การขนส่ งที ่ ย ั ่ งยื น ” มี ระบบคมนาคมขนส่ งที ่ ท ั นสมั ย มี
ประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนา
ระบบขนส่งสาธารณะและระบบขนส่งมวลชนให้ครอบคลุม ทั่วถึง และเท่าเทียมทั้งในด้านการลงทุนพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานและการให้บริการ เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการการเดินทาง ขนส่งสินค้า และการพัฒนาประเทศสู่
ประเทศไทย 4.0 โดยได้วางยุทธศาสตร์ไว้ 5 ด้าน ได้แก่
• ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบูรณาการระบบคมนาคมขนส่ง
• ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริการของภาคคมนาคมขนส่ง
• ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนา ปรับปรุงกฎหมาย กำกับดูแล และปฏิรูปองค์กร
• ยุทธศาสตร์ที่ 4 การผลิตและพัฒนาบุคลากร
• ยุทธศาสตร์ที่ 5 การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง
จากยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ ดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งต่ อ
จังหวัดนครราชสีมาอย่างครอบคลุมในทุกมิติทั้งในด้านการคมนาคมขนส่งทางถนน ทางราง และระบบขนส่ ง
สาธารณะ รวมถึงการเข้าถึงการเดินทางทุกรูปแบบอย่างสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และปลอดภัย ส่งผลให้
การเดินทางในพื้นที่เมืองและชุมชน รวมถึงการเดินทางระหว่างพื้นที่มีประสิทธิภาพและสามารถยกระดับคุณภาพ
ชีวิตของประชาชนได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา: เแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579), สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร


กระทรวงคมนาคม
รูปที่ 2.3-7 ตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี
2-81
5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 - 2565
จากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มอบนโยบายให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัด
แก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่ บริหารพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นเส้นทางใช้ประโยชน์สาธารณะ
และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางถนน ราง น้ำ และอากาศ เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างแหล่งผลิต
เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เชื่อมโยงอาเซียน ระหว่างภูมิภาค และรูปแบบการขนส่งต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นสร้าง
รากฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม ความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง และเป็นปัจจัยสนับสนุน
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าที่มีความหลากหลายและมีต้นทุ นต่อหน่วยต่ำกว่าปัจจุบัน รวมทั้ง
เชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งทั้งในประเทศและภูมิภาค โดยประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนา 5 ด้าน
ได้แก่ แผนงานการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง แผนงานการพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะ แผนงาน
การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวง แผนงานการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ และแผนงานการเพิ่มขีด
ความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ โดยในแต่ล ะยุทธศาสตร์หลักในการพัฒ นาจะมีแผนงาน
การพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในแต่ละด้าน แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา สรุปได้ดังนี้
ระยะที่ 1: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในระยะเร่งด่วน (พ.ศ. 2557-
2558) เพื่อผลักดันแผนงาน/โครงการที่จะเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมกับเมืองหลักในภูมิภาค รวมทั้งการแก้ไข
ปัญหาการจราจรจากเมืองหลักในภูมิภาคสู่ปริมณฑลให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
ระยะที่ 2: การเพิ่มขีดความสามารถเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศและกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน (พ.ศ. 2559-2560) เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง
ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้เกิดระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จะสามารถรองรับการค้า การ
ลงทุนที่จะสูงขึน้ จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ระยะที่ 3: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อ
สนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค (พ.ศ. 2561 - 2562) เน้นการเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบการขนส่งต่าง ๆ
มาตรฐานและความปลอดภัยในการขนส่งและจราจร
จากยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ ดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งต่อ
จังหวัดนครราชสีมาเกิดความเชื่อมโยงกับโครงข่ายการเดินทางในภาพรวมระดับประเทศได้อย่างครบสมบูรณ์
และช่วยแก้ไขปัญหาสภาพการจราจรของโครงข่ายสายทางต่าง ๆ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบ
การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบขึ้นในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้าไปยังฐานการผลิตและ
ประตูการค้าที่สำคัญ

2-82
ที่มา : http://it-programmer.doh.go.th:8080/economic2/index.php/2013-04-25-13-47-44/project5
รูปที่ 2.3-8 โครงการบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค 12 สายทาง

2-83
6) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor
: NeEC – Bioeconomy)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2564 ซึ่งประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ
พิเศษ หรือ กพศ. เป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการ กำกับติดตาม และสนับสนุนการดำเนินงานเขตเศรษฐกิจ
พิเศษของประเทศให้เป็นไปอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการดำเนินงานตามระเบียบดังกล่าวจะ
ครอบคลุมทั้งในส่วนของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนทั้ง 10 แห่ง ที่อยู่ระหว่างดำเนินการในปัจจุบัน
และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษใน 4 ภาคของประเทศ ประกอบด้วย
(1) พื้น ที่ร ะเบีย งเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor : NEC –
Creative LANNA)
(2) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic
Corridor : NeEC – Bioeconomy)
(3) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (Central – Western Economic
Corridor: CWEC)
(4) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC)
การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ NeEC ประกอบด้วย จังหวัด
นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย โดยปัจจุบัน สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
อยู่ระหว่างจัดทำกรอบแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Northeastern
Economic Corridor: NeEC) โดยได้จัดให้มีการสัมมนา เรื่อง "ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนื อ
หรือ Northeastern Economic Corridor: NeEC – Bioeconomy : ศักยภาพ โอกาส และความท้าทาย”
ไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้แทน
จากหน่ ว ยงานราชการ สถาบั น การศึ ก ษา และภาคเอกชน สรุ ป ได้ ว ่ า พื้นที่ระเบี ยงเศรษฐกิจพิ เศษภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ NeEC มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจชีวภาพ หรือ NeEC -
Bioeconomy ของประเทศ เนื่องจากความได้เปรียบในด้านที่ตั้งซึ่งสามารถพัฒนาเชื่อมโยงไปยังประเทศใน
ภูมิภาคอื่นๆ ของโลก (เช่น การพัฒนาตามแนวระเบียงเศรษฐกิจในภูมิภาคซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังจีน) พื้นที่มี
ความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งสามารถนำมาใช้ต่อยอดสู่อุตสาหกรรมชีวภาพด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอด
ห่วงโซ่การผลิต ซึ่งรวมถึงการต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรสู่พลังงานหมุนเวียน ความพร้อมของภาคการศึกษา
ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่จะถ่ายทอดองค์
ความรู้สู่ผู้ประกอบการ และความก้าวหน้าของการก่อสร้างระบบคมนาคมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่ง
เชื่อมโยงกับโครงข่ายหลักของประเทศและประเทศในภูมิภาค รวมทั้งสิทธิประโยชน์ที่ส่งเสริมการล งทุนที่
เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจฐานชีวภาพในปัจจุบันและแนวทางการให้สิทธิประโยชน์ในระยะต่อไปที่จะสนับสนุนการ
เชื่อมโยงกิจกรรมในลักษณะคลัสเตอร์และห่วงโซ่มูลค่า
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ
พิ เ ศษ (กพศ.) ครั ้ ง ที ่ 1/2565 มี ส รุ ป สาระสำคั ญ ว่ า จากแนวโน้ ม การฟื ้ น ตั ว ทางเศรษฐกิ จ และสั ง คม
หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยจะต้องเร่งรัดการพัฒนาเพื่อฟื้นฟู ประเทศให้

2-84
ก้าวไปข้างหน้าผ่านการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่งและระเบียงเศรษฐกิจ
พิเศษใน 4 ภาค ที่จะช่วยพัฒนาฐานเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ให้เติบโต เพื่อสนับสนุนการจ้างงานและสร้างรายได้
กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และสนับสนุนการพลิกโฉมประเทศไทย ซึ่งมีจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา
อุดรธานี และ หนองคายเป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Northeastern Economic
Corridor : NeEC – Bioeconomy เพื่อพัฒ นาให้เป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศ ด้ว ย
เทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดห่วงโซ่การผลิตเชื่อมโยงการเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ
2.3.3 นโยบายและยุทธศาสตร์ระดับกลุ่มจังหวัด จังหวัด และพื้นที่ศึกษา
1) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565)
ฉบับทบทวน 2564
ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ เป็นแผนการ
กำหนดทิศทางการพัฒนาระดับกลุ่มจังหวัดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยกำหนดทิศทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับแผนในระดับต่าง ๆ มุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายร่ว มกัน
เพื่อให้แผนพัฒนาระดับกลุ่มจังหวัดสามารถขับเคลื่อนไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งแก้ไขปัญหาร่วมกันให้เหมาะสมกับโอกาสและศักยภาพของกลุ่มจังหวัด เพื่อ
กระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างรายได้ให้กลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนล่าง 1 มีเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางของเกษตรอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ไหม ท่องเที่ยวอารยธรรมขอม และ
สังคมเป็นสุข
2) แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2561 - 2565 ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
เป็นแผนกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัดที่พิจารณาด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง
สามารถขับเคลื่อนจังหวัดไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาร่วมกันให้
เหมาะสมกับ โอกาสและศักยภาพ กระตุ้น ให้เกิดการลงทุน และสร้างรายได้ให้จังหวัดนครราชสีมา โดย
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
นโยบายรัฐบาล และข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี รวมทั้งทิศทางการพัฒนาภาค แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และปัญหา
ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ว่า “ศูนย์กลางโครงข่ายคมนาคมและการท่องเที่ยว
ของภูมิภาค นวัตกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรม สังคมคุณภาพสูง” และกำหนดเป้าประสงค์รวม ดังนี้
(1) สร้างเสริมระบบโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงต่อโครงข่ายคมนาคมแห่งอนาคต เพื่อเพิ่ม
ขีดความสามารถการค้า การลงทุนและเศรษฐกิจ
(2) ยกระดับการท่องเที่ยว ที่หลากหลายเชื่อมต่อภาคและภูมิภาค
(3) พัฒนานวัตกรรมการผลิต การแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัยและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
(4) เสริมสร้างความมั่นคงในการพัฒนาคนและชุมชนอย่างมีคุณภาพตามหลักปรัช ญา
เศรษฐกิจพอเพียง
(5) ยกระดับบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดสมดุลและยั่งยืน
(6) ยกระดั บ การบริ ห ารจั ด การภาครั ฐ รองรั บ การพั ฒ นาเมื อ งและสั ง คมคุ ณ ภาพสู ง
(SMART City/MICE City/Art City/Safe City)

2-85
3) แผนผังยุทธศาสตร์แ ละผังกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัด จาก (ร่าง) ผังเมืองรวมจั ง หวัด
นครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
แผนผั ง ยุ ท ธศาสตร์ แ ละผั ง กลยุ ท ธ์ ก ารพั ฒ นาจั ง หวั ด สามารถอ้ า งอิ ง ได้ จ ากผั ง นโยบาย
การพัฒนาพื้นที่จังหวัดตาม (ร่าง) ผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา (ปรับปรุงครั้งที่ 1) ซึ่งเป็นผลการวิเคราะห์
และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดนครราชสีมาที่พิจารณาทั้งศักยภาพและข้อจำกัด ในด้านต่าง ๆ ภายใต้
วิสัยทัศน์ “นครราชสีมา: ประชาคมแห่งการพัฒนาสีเขียว หรือ Green Community” ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง
ของระบบโลกที่มุ่งไปสู่การพัฒ นาเพื่อรับ มือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมการพัฒ นา
ทางเลือกที่เน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ได้มีการจัดกลุ่มเมืองในการพัฒนาออกเป็น 8 คลัสเตอร์หลัก (Cluster)
แบ่งตามตำแหน่งและบทบาทหน้าที่ เพื่อเป็นโครงสร้างหลักของการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Structure of Spatial
Development) ตามแนวคิ ด ผั ง ทางเลื อ กการพั ฒ นาแบบระบบเมื อ งหลายศู น ย์ ก ลางหลายบทบาท
(Polycentric Urban Regions) ที่เกื้อหนุนกันและกัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ในกลุ่ม และลดอุปสรรคด้าน
ระยะเวลาเดินทาง ได้แก่
(1) กลุ่มเมืองนครราชสีมา มุ่งหมายให้เป็นเขตพัฒนาเมือง ย่านการค้า การอยู่อาศัย และ
แหล่งงาน ประกอบด้วยอำเภอตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) เชื่อมโยงกันโดยโครงการ
วงแหวนรอบเมือง กำหนดให้เมืองหลัก คือ อำเภอเมืองนครราชสีมา เมืองรอง คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
อำเภอขามทะเลสอ
(2) กลุ่มสีคิ้ว-สูงเนิน มีศักยภาพด้านทำเลที่ตั้งดีที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดและมีการพัฒนา
อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี ประกอบด้วยอำเภอตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 กำหนดให้เมืองหลัก คือ อำเภอสีคิ้ว เมืองรอง คือ อำเภอสูงเนิน
(3) กลุ่มด่านขุนทด มีความสัมพันธ์เชิงพึ่งพากับกลุ่มสีคิ้ว -สูงเนินที่มีขอบเขตการให้บริการ
ด้านการค้าและแหล่งงานที่หลากหลายกว่า โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วยอำเภอที่เชื่อมโยงกันด้วย
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 และทางหลวงชนบทหมายเลข นม.3012 กำหนดให้เมืองหลัก คือ อำเภอ
ด่านขุนทด เมืองรอง คือ อำเภอเทพารักษ์
(4) กลุ่มบัวใหญ่ มีการทำเกษตรน้ำฝนนอกเขตชลประทานร่วมกับการปศุสัตว์ และยังมี
ศักยภาพของการเป็น จุดตัดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 และ 202 ที่เชื่อมโยงจังหวัดในกลุ่มภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เช่น จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และมีสถานีชุมทางบัวใหญ่ที่เป็น
จุดเชื่อมเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (ชุมทางจิระ-หนองคาย) กับชุมทางแก่งคอย-ชุมทางบัวใหญ่
โดยกำหนดเมืองหลัก คือ อำเภอบัวใหญ่ เมืองรอง คือ อำเภอบัวลาย สีดา แก้งสนามนาง บ้านเหลื่อม และคง
(5) กลุ่มพิมาย เป็นที่ราบลุ่มในทุ่งสัมฤทธิ์ มีการทำนาข้าวหอมมะลิและพืชไร่ในพื้นที่ดอน
ประกอบด้วยอำเภอที่เชื่อมโยงกันด้วยทางหลวงชนบทหมายเลข นม.2175 เป็นแกนเชื่อมโยงหลัก กำหนดเมืองหลัก
คือ อำเภอพิมาย กำหนดเมืองรอง คือ อำเภอชุมพวง ลำทะเมนชัย เมืองยาง โนนแดง จักราช และห้วยแถลง
(6) กลุ ่ ม โนนสู ง เป็ น พื ้ น ที ่ แ ห้ ง แล้ ง นอกเขตชลประทาน จึ ง มี ก ารปรั บ ตั ว ในการทำ
เกษตรกรรมที่หลากหลายเพิ่มเติมจากการปลูกข้าวและทำไร่ ประกอบด้วยเมืองที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนกลาง
กำหนดเมืองหลัก คือ อำเภอโนนสูง เมืองรอง คือ อำเภอขามสะแกแสงและพระทองคำ

2-86
(8) กลุ่มโชคชัย-ปักธงชัย เป็นพื้นที่เทือกเขาต้นน้ำลำธารและพื้นที่ราบริมแม่น้ำที่เหมาะสม
ในการปลูกข้าว สลับกับที่ลาดดอนที่มีความเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ (ซึ่งเดิมมีสภาพพื้นที่เป็นป่าไม้ คือ ป่าดง
อีจาน) ประกอบด้วยอำเภอที่เชื่อมโยงกันด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 และ 224 กำหนดเมืองหลัก คือ
อำเภอโชคชัยและปักธงชัย กำหนดเมืองรอง คือ อำเภอครบุรี เสิงสาง และหนองบุญมาก
(9) กลุ่มปากช่อง เป็นพื้นที่เส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งพักผ่อนตาก
อากาศที่มีการเติบโตสูงที่สุดของจังหวัด มีการยกระดับเกษตรกรรมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกที่มีมูลค่าสูง เป็น
ศูนย์กลางของการทำปศุสัตว์และศูนย์การพัฒนาและวิจัยทางการเกษตร ประกอบด้วยอำเภอที่เชื่อมกันด้วย
ทางหลวงชนบทหมายเลข นม. 3052 และ นม. 2090 กำหนดเมืองหลัก คือ อำเภอปากช่อง กำหนดเมืองรอง
คือ อำเภอวังน้ำเขียว (รูปที่ 2.3-9)

2-87
ที่มา : โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมาและปรับปรุงโดยทีป่ รึกษา, 2563
รูปที่ 2.3-9 กลุ่มการพัฒนาเมืองตามแผนผังยุทธศาสตร์และผังกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัด ฯ
2-88
ที่มา : โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา, 2556.
รูปที่ 2.3-10 แผนผังนโยบายการพัฒนาพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
2-89
2.3.4 โครงการพัฒนาเมืองที่สำคัญ
1) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 (M6) สายบางปะอิน - นครราชสีมา
(1) ความเป็นมาโครงการ
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน - นครราชสีมา หรือ
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข M6 เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายเส้นทางในแผนแม่บทระบบทางหลวง
พิเศษระหว่างเมือง ได้รับการบรรจุในแผนมาตรการเร่งรัดการลงทุน (Action plan) ของกระทรวงคมนาคม
และมาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track) ของกระทรวงการคลัง
เพื่อเร่งรัดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยกรมทางหลวงเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วม
ลงทุนและบริหารจัดการในรูปแบบ PPP Gross Cost ในส่วนของการลงทุนก่อสร้างงานระบบและจัดเก็บ
รายได้ทั้งหมดส่งมอบให้แก่ภาครัฐ แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ตอน คือ ตอน 1 จากอำเภอบางปะอิน - อำเภอ
ปากช่อง ระยะทาง 103 กิโลเมตร และตอน 2 จากอำเภอปากช่อง -จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง 93 กิโลเมตร
ผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด 12 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครราชสีมา รวม
ระยะทางอยู่ที่ 196 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2559 ปัจจุบันโครงการแล้วเสร็จและเปิด
ทดลองให้บริการไปแล้วเมื่อต้นปี พ.ศ. 2565
(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ
(2.1) เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านคมนาคมขนส่งทางถนนและระบบโลจิสติกส์
(2.2) เพื่อสร้างการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร (ภาคกลาง) กับศูนย์กลางของภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ
(2.3) เพื่อแก้ไขการจราจรติดขัดของถนนพหลโยธินและถนนมิตรภาพ
(3) ลักษณะและที่ตั้งของโครงการ
จุดเริ่มต้น : จุดเชื่อมต่อกับถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก
(ถนนกาญจนาภิเษก) อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จุดสิ้นสุด : ทางเลี่ยงเมืองจังหวัดนครราชสีมาด้านตะวันตก อำเภอเมือง จังหวัด
นครราชสีมา บริเวณกิโลเมตรที่ 2
ผ่านพื้นที่ : อ.บางปะอิน อ.วังน้อย และอ.อุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ.หนองแค
อ.เมืองสระบุรี อ.แก่งคอย และอ.มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ และ
อ.เมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ตลอดแนวเส้นทางจะมีทางแยกต่างระดับ (Interchange) เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการกับ
ทางหลวงสายสําคัญทั้งหมด 10 แห่ง ด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 9 แห่ง ที่พักริมทาง (Rest Area) และ
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทาง จำนวน 8 แห่ง โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ จุดพักรถ (Rest Stop)
สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) และศูนย์บริการทางหลวง (Service Center)

2-90
ที่มา : http://www.doh-motorway.com/motorway-project/northeastern-route/m6/
รูปที่ 2.3-11 แนวเส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (M6) สายบางปะอิน - นครราชสีมา
2) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 (M6) สายนครราชสีมา - ขอนแก่น
(1) ความเป็นมาโครงการ
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายนครราชสีมา - ขอนแก่น เป็นโครงการตาม
แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง พ.ศ. 2560 – 2579 ภายใต้โครงการศึกษาจัดทำ
แผนกลยุทธ์การพัฒนาทางหลวงพิเศษและเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข
M6 สายบางปะอิน–หนองคาย เชื่อมต่อกับสายบางปะอิน –นครราชสีมา ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินงาน
ก่อสร้างและกำหนดแผนเปิดให้บริการในปี 2563 มีลักษณะโครงข่ายวางตัวในแนวเหนือ -ใต้ และสิ้นสุดแนว
สายทางที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะเป็นทางเลือกที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาระบบทางหลวงที่อำนวยความสะดวก
รวดเร็วในการขนส่ง เนื่องจากเป็นทางหลวงที่มีมาตรฐานสูงและมีการควบคุมการเข้า -ออกอย่างสมบูรณ์
สามารถเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างกับตอนบนได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งจะ
เป็นโครงข่ายหลักสำหรับการคมนาคมขนส่งทางถนนของประเทศที่รองรับ การเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่าง
ประเทศ ตลอดจนการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับภูมิภาคอินโดจีน ช่วยลดปัญหาจราจรที่คับคั่งบนทางหลวง
แผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และเขตเมืองนครราชสีมาในอนาคต อีกทั้งจะช่วยกระจายการพัฒนาจาก
กรุงเทพมหานครไปสู่ภูมิภาค

2-91
(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ
(2.1) เพื่อศึกษาโครงข่ายและกำหนดรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมของโครงการทาง
หลวงพิเศษระหว่างเมือง สายนครราชสีมา – ขอนแก่น ตลอดจนคัดเลือกแนวเส้นทางและรูปแบบทางเลือก
ที่เหมาะสม
(2.2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และจัดทำแผนการพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายทางหลวง
โดยรอบ เพื่อรองรับการจราจรเข้าและออกจากโครงการ
(2.3) เพื่อศึกษาและออกแบบเบื้องต้นของโครงการ
(2.4) เพื ่ อ ศึ ก ษาความเหมาะสมทางด้ า นเศรษฐกิ จ วิ ศ วกรรม และผลกระทบ
สิ่งแวดล้อมของโครงการ
(2.5) เพื ่ อ ศึ ก ษาและวิ เ คราะห์ ผ ลกระทบทางสั ง คมและสิ ่ ง แวดล้ อ มที ่ จะเกิ ด ขึ้น
เนื่องจากการพัฒนาโครงการ พร้อมทั้งเสนอมาตรการป้องกัน แก้ ไข ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและติดตาม
ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งแผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
(2.6) เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการแสดง
ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาโครงการ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน
เจ้าหน้าภาครัฐ องค์การเอกชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
(3) ลักษณะและที่ตั้งของโครงการ
จุดเริ่มต้น : จุดเริ่มต้นแยกออกจากแนวทางหลวงพิเศษบางปะอิน -นครราชสีมา
บริเวณ กม.183+000 จุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2068 ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
จุดสิ้นสุด : ทางเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 203 (ถนน วงแหวนรอบเมือง
ขอนแก่น) ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
ผ่ า นพื ้ น ที ่ : 16 อำเภอ ของจั ง หวั ด นครราชสี ม า จั ง หวั ด ขอนแก่ น และจั ง หวัด
มหาสารคาม
ตลอดแนวเส้นทางจะมีทางแยกต่างระดับ (Interchange) เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการกับ
ทางหลวงสายสําคัญทั้งหมด 10 แห่ง ด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 11 แห่ง ที่พักริมทาง (Rest Area) และ
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทาง จำนวน 7 แห่ง
3) โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วง กรุงเทพมหานคร -
หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา)
(1) ความเป็นมาโครงการ
เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐ บาลไทยกับรัฐ บาลจีน เพื่อเชื่อมโยงภูม ิภ าค
อาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) และ
สอดคล้องกับนโยบายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมถึงแผนนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน
คมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ โดยประเทศไทยรับผิดชอบด้านการลงทุนโครงการทั้งหมดและดำเนินการ
ก่อสร้างงานโยธา ซึ่งการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงมีการพัฒนาทั้งหมด 4 สายทาง โดยพื้นที่ศึกษาอยู่
ในช่วงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา ของโครงการพัฒนาสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

2-92
กรุงเทพฯ - หนองคาย (รวมระยะทางทั้งหมด 606.4 กิโลเมตร) มีงบการก่อสร้างประมาณ 179,413 ล้านบาท
ระยะทาง 253 กิโลเมตร ซึ่งได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และคาดว่าจะแล้วเสร็จ
ในปี พ.ศ. 2566
(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ
(2.1) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ
(2.2) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งในภูมิภาค
(2.3) เพื ่ อ กระตุ ้ น การพั ฒ นาด้ า นเศรษฐกิ จ การค้ า การท่ อ งเที ่ ย ว และเพิ ่ ม ขี ด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(3) ลักษณะและที่ตั้งของโครงการ
จุดเริ่มต้น : สถานีกลางบางซื่อ
จุดสิ้นสุด : สถานีนครราชสีมา
ผ่านพื้นที่ : 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี พระนครศรีอยุ ธ ยา
สระบุรี และนครราชสีมา
สถานีรถไฟ : 6 สถานี ตามลำดับ ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานี
อยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสิ้นสุดที่สถานีนครราชสีมา
ซึ่งมีระยะทางรวม 251.9 กิโลเมตร และมีศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมการเดินรถตั้งอยู่
บริเวณสถานีรถไฟเชียงรากน้อย ระยะเวลาการเดินทางจากสถานีกลางบางซื่อถึงสถานีนครราชสีมา ประมาณ
1 ชั่วโมง 30 นาที ระบบรถไฟ ใช้เป็นประเภทรถโดยสาร EMU: (Electric Multiple Unit) กำลังขับเคลื่อน
สูงสุด 5,200 กิโลวัตต์ มีความจุของขบวนรถ 600 ที่นั่ง/ขบวน ที่ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชม. และมี
ลักษณะทางวิ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ ทางยกระดับ 190 กิโลเมตร ทางระดับดิน 53.9 กิโลเมตร และ
อุโมงค์ 8 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร นครราชสีมา (ช่วงที่ 1 กลางดง -
ปางอโศก กม.150+500 154+000 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร) แล้วเสร็จ

ที่มา: การรถไฟแห่งประเทศไทย, 2561.


รูปที่ 2.3-12 แนวเส้นทางโครงการรถไฟไทย - จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา
2-93
4) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ
(1) ความเป็นมาโครงการ
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เป็นโครงการที่สนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการขนส่ง
สินค้าและบริการ ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2551 และมอบหมายให้
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งดำเนินการศึกษาและออกแบบโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดทาง
มาตรฐาน ต่อมาได้รับการบรรจุไว้ในแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย
(รฟท.) ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2553 - 2557 และกระทรวงคมนาคมได้เสนอแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 - 2565 ซึ่งรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม
ขนส่งทางรางที่ให้ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานรถไฟทางคู่ในเส้นทางรถไฟเดิมช่วงที่มีปัญหาความคับคั่งของ
การเดินรถ เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าและสำหรับขบวนรถไฟท้องถิ่น ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สาย
ตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ ช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น และช่วงชุมทางถนนจิระ -
อุบลราชธานี เป็นเส้นทางรถไฟที่อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ฯ เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ
(2.1) เพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่งทางระบบรางให้สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารและ
ปริมาณการขนส่งสินค้าที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
(2.2) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับประเทศและภูมิภาค
(2.3) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งของประเทศและเป็นส่ว นหนึ่งของ
เส้นทางหลักที่เชื่อมโยงโครงข่ายโลจิสติกส์ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

ที่มา : โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ (https://www.srt-csmj.com/) , 2561.


รูปที่ 2.3-13 แผนที่โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ
ช่วงมาบตะเบา - ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 134 กิโลเมตร
2-94
ที่มา : การรถไฟแห่งประเทศไทย
รูปที่ 2.3-14 แผนที่โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ
ช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร

ที่มา : การรถไฟแห่งประเทศไทย
รูปที่ 2.3-15 แผนที่โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ
ช่วงชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กิโลเมตร

2-95
5) แผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560 - 2569)
การดำเนินการศึกษารวบรวมแผนปฏิบัติการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงให้ครอบคลุมพื้นที่
จังหวัดนครราชสีมา เพื่อนำมาพิจารณาหาแนวทางการศึกษาแผนแม่บทเมืองใหม่นครราชสีมาให้มีความ
เหมาะสมต่อบริบทของการพัฒนาและการเชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวง โดยภายในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมามี
แผนพัฒนาโครงการในอนาคต ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงทางหลวงให้มีการเชื่อมต่อทั้งภายในและระหว่าง
จังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่ต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่งทางถนนที่มีความ
สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น รายละเอียดแผนงานแสดงดังรูปที่ 2.3-16

ที่มา : การศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569), กรมทางหลวง


รูปที่ 2.3-16 แผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560 - 2569) พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

2-96
6) โครงการถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ทล. 290
ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมาระยะทางตลอดสายทั้งหมด 110 กิโลเมตร เป็นถนน
วงแหวนรอบเมืองที่มีขนาดใหญ่และมีระยะทางยาวเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทยรองจากถนนวงแหวนรอบ
นอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) โดยจะสามารถระบายการจราจรที่คับคั่ง อำนวยความสะดวกให้
ผู้ใช้เส้นทางและประชาชนในพื้นที่โดยรอบ ส่งเสริมศักยภาพทางด้านการคมนาคม การค้า การขนส่งโดยรวม
ของภาคอีสาน และสามารถรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต แบ่งออกเป็น 7 ช่วง ดังรูปที่ 2.3-17

ที่มา : https://www.skyscrapercity.com/threads/korat-nakhon-ratchasima-gateway-to-isan.351003/page-2222#post-144940487
รูปที่ 2.3-17 แนวเส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา
7) โครงการแผนแม่ บ ทจราจรและแผนแม่ บ ทพั ฒ นาระบบขนส่ ง สาธารณะในเขตเมื อง
นครราชสีมา (Light Rail Transit หรือ Tramway)
(1) ความเป็นมาของโครงการ
การขยายตัวของพื้นที่ธุรกิจและพาณิชยกรรมออกไปรอบนอกเขตศูนย์กลางเดิม ส่งผล
ให้ย่านเศรษฐกิจการค้าดั้งเดิมของเมืองประสบปัญหาความซบเซา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูเมือง

2-97
อย่ างเร่งด่ว น เพื่อให้พื้น ที ่ “ย่ านเมืองเก่ า” และ “ย่ า นการค้าดั้ งเดิม ” กลับมามีช ีว ิตชีว า อีกทั้ง เมื อ ง
นครราชสีมากำลังประสบปัญหาการจราจรที่ต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วนเป็นลำดับต้น ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวก
และความปลอดภัยในการเดินทาง ทั้งนี้ แนวโน้มการเจริญเติบโตของเมืองในอนาคต โดยเฉพาะบทบาท
การเป็นจุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟความเร็วสูง ระบบรถไฟทางคู่ ระบบรถโดยสารสาธารณะ และระบบการสัญจร
ของเมืองด้วยยานพาหนะต่าง ๆ ทำให้เมืองนครราชสีมาต้องมีโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะที่สามารถรองรับ
ความต้องการเดินทางที่จะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
(2) วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
การศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะใน
เขตเมืองนครราชสีมา รวมทั้งแผนพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องต่อการบูรณาการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะ
เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเมืองนครราชสีมาเพื่อให้เกิดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาและการจัดการ
จราจร รวมทั้งสร้างความมีชีวิตชีว าให้กับพื้นที่ย่ านเมืองเก่ าและย่านการค้าดั้งเดิมอย่ างครบวงจร โดยมี
เป้าหมายสำคัญของโครงการศึกษา (รูปที่ 2.3-18) ดังนี้
(2.1) กระตุ้น ให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในเขตเมืองนครราชสีม าและเพิ่ม
ความมีชีวิตชีวา (Livelihood) ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ เอื้อต่อการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ
(2.2) ลดปัญหาการจราจรติดขัดของพื้นที่เมืองชั้นในและตามแนวถนนสายหลักต่าง ๆ
เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง และเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนในการสัญจรที่สะดวกสบาย
และตรงต่อเวลามากขึ้น รวมถึงเพิ่มการเคลื่อนตัวของการจราจร (Mobility) ให้แก่เมืองนครราชสีมา
(2.3) พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและมีระดับบริการที่ดี เข้าถึงได้ง่าย
(Accessibility) และสามารถเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน

ที่มา: โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา, 2560.


รูปที่ 2.3-18 เป้าหมายที่สำคัญของการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนา
ระบบขนส่งสาธารณะ ในเขตเมืองนครราชสีมา

2-98
(3)การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา
ใช้หลักการกำหนดลำดับชั้น (Hierarchy) ของเส้นทางที่สำคัญ คือ เส้นทางสายหลัก
เป็นเส้นทางที่มีคุณภาพและความถี่ในการให้บริการสูง เส้นทางสายรอง เชื่อมต่อพื้นที่ความหนาแน่นน้อยกว่า
กับพื้นที่ใจกลางเมือง และ เส้นทางสายย่อย เชื่อมต่อพื้นที่ด้านนอกที่มีความหนาแน่นน้อย โดยวางแผนระยะยาว
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของเมืองนครราชสีมา สามารถกำหนดแนวคิดในการพัฒนาระบบ
การขนส่งสาธารณะหลักของเมืองนครราชสีมาได้ดังนี้
ตารางที่ 2.3-1 โครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะหลักที่เสนอให้ดำเนินการ
ระยะทาง
ลำดับ สาย เส้นทาง
(กิโลเมตร)
1 สีสม้ แยกประโดก-ถนนช้างเผือก-คูเมืองเก่า 9.81
2 สีเขียว ตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.17
3 สีม่วง ตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 7.142
สีส้ม (ส่วนต่อขยาย) โรงเรียนเทศบาล1-หัวทะเล-ดูโฮม 5.37
เส้นทางส่วน

สีเขียว (ส่วนต่อขยาย) สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3 (ห้วยบ้านยาง)-ตลาดเซฟวัน และสถานคุ้มครองและ 12.12


ต่อขยาย1

พัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์-สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สาขา 2
สีม่วง (ส่วนต่อขยาย) มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล-แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์ 4.48
รวม 50.09
หมายเหตุ : 1 เส้นทางส่วนต่อขยายทั้ง 3 เส้นทาง เสนอแนะให้ดำเนินการภายหลังจากเส้นทางสายสีส้ม สายสีเขียว สายสีม่วง เปิดให้บริการแล้ว
2 ระยะทางที่ก่อสร้างทิศทางเดียว

ที่มา : โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา, 2560.

ระบบขนส่งสาธารณะหลัก โครงข่ ายระบบขนส่งสาธารณะหลัก และเส้นทางส่ ว น


ต่อขยายในอนาคตที่เสนอให้ดำเนินการมีทั้งหมด 3 เส้นทาง ซึ่งมีแนวเส้นทางผ่านแหล่งชุมชน ห้างสรรพสินค้า
สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟ และสถานที่ราชการต่าง ๆ ตลอดจนสามารถ
เชื่อมต่อชุมชนรอบเขตเมืองนครราชสีมาให้เดินทางมายังชุมชนในเขตเมืองและภายในเขตคูเมืองเก่าได้สะดวก
รวดเร็วมากขึ้นและสามารถเชื่อมต่อเส้นทางดังรูปที่ 2.3-19 ส่วน ระบบขนส่งรอง ทำหน้าที่รับ-ส่งผู้โดยสาร
เพื่อเข้าสู่หรือออกจากระบบขนส่งสาธารณะหลัก โดยปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 1 เป็นระบบ
ขนส่งรอง และปรับเส้นทางและจุดจอดรถโดยสารประจำทาง หมวด 4 ดังรูปที่ 2.3-20

2-99
ที่มา: โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา, 2560.
รูปที่ 2.3-19 จุดเชื่อมต่อของระบบขนส่งสาธารณะหลักทั้ง 3 สาย

2-100
ที่มา: โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา, 2560.
รูปที่ 2.3-20 โครงข่ายเส้นทางระบบขนส่งรอง

2-101
ที่มา: โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา, 2560.
รูปที่ 2.3-21 ทัศนียภาพผังแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ (TOD)
บริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมา หรือ “ย่านสถานีรถไฟโคราช”

ที่มา: โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา, 2560.


รูปที่ 2.3-22 ทัศนียภาพผังแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ (TOD)
ย่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 2 หรือ “ย่านสถานีขนส่งฯ 2”

8) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน - สถาน


คุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)
(1) ความเป็นมาโครงการ
จากผลการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขต
เมืองนครราชสีมาโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และคณะกรรมการจัดระบบ
การจราจรทางบก (คจร.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีมติรับทราบ
ผลการศึ ก ษาและจั ด ทำแผนแม่ บ ทจราจรและแผนแม่ บ ทการพั ฒ นาระบบขนส่ ง สาธารณะในเขตเมื อ ง

2-102
นครราชสีมา ตามที่ สนข. เสนอและมอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนิน
โครงการและจัดทำแผนดำเนินการร่วมกับ สนข. โดยมีความเห็นให้ดำเนินการก่อสร้างครั้งละ 1 เส้นทาง
ตามลำดับความสำคัญ ต่อมา สนข. ได้มีหนังสือจัดส่งข้อมูลการจัดการลำดับความสำคัญในการดำเนินการโดยมี
ข้อเสนอแนะว่าควรดำเนินการก่อสร้างเส้นทางสายสีเขียวก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นจึงก่อสร้างเส้นทางสายสีส้ม
ในระยะถัดไปโดยต่อเนื่องและเร่งด่วน หลังจากนั้นจึงพัฒนาเส้นทางสายสีม่วงและส่วนต่อขยายตลอดจน
แผนพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องต่อการบูรณาการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะตามผลการศึกษาฯ ซึ่งจาก
การศึกษาของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในปัจจุบัน โดยได้คาดการณ์ว่าโครงการจะ
แล้วเสร็จและสามารถเปิดให้บริการได้ใน ปี พ.ศ. 2569
(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ
(2.1) เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
(2.2) เพื่อสร้างทางเลือก ในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน
(2.3) เพื่อลดมลพิษ จากการเดินทาง และการคมนาคม ขนส่ง
(2.4) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา
(3) ลักษณะและที่ตั้งของโครงการ
จุดเริ่มต้น : ตลาดเซฟวัน (สถานีมิตรภาพ 1)
จุดสิ้นสุด : บ้านนารีสวัสดิ์ (สถานีบ้านนารีสวัสดิ์)
สถานีรถไฟ : 21 สถานี
โดยระบบรถไฟรางเบาสายสีเขียวมีโครงสร้างทางวิ่งระดับพื้นดิน (At Grade) และ
มีบ างช่ว งที่เป็น ทางลอดใต้ด ิน (Underpass) รวมระยะทางประมาณ 11 กิโ ลเมตร ซึ่งแนวเส้นทางเป็ น
การเชื่อมต่อการเดินทางของชุมชนด้านทิศตะวันตกไปยังชุมชนด้านทิศตะวันออกของเมือง

ที่มา : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)


รูปที่ 2.3-23 แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งภาพรวมโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา
สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)
2-103
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟนครราชสีมา (สถานีหัวรถไฟ)
ภายใต้แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development: TOD) ซึ่งสถานี
หัวรถไฟเป็นจุดเชื่อมต่อกับ รถไฟทางคู่และรถไฟฟ้าความเร็วสูง ทำให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักของจังหวั ด
นครราชสีมาและเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรของเมืองในระดับภูมิภาคและระดับประเทศในอนาคต จึงทำให้
เป็นพื้นที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ (Commercial & Transit Hub) และเป็นเมืองไมซ์
โคราช (MICE City)

ที่มา : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)


รูปที่ 2.3-24 ตัวอย่างแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟนครราชสีมา (สถานีหัวรถไฟ)
และพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณโดยรอบสถานีสวนภูมิรักษ์ ในลักษณะ Transit Oriented Development (TOD)

ที่มา : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)


รูปที่ 2.3-25 ตัวอย่างทัศนียภาพการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟนครราชสีมา (สถานีหัวรถไฟ)
และพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณโดยรอบสถานีสวนภูมิรักษ์

2-104
9) โครงการศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดนครราชสีมา
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ศึกษาความเหมาะสมของการจัดตั้ง นิค ม
อุตสาหกรรมสี เขีย วในพื้ น ที่ภ าคตะวัน ออกเฉีย งเหนื อตามนโยบายของรัฐ บาลที่ ต้ อ งการเพิ ่ ม พื้ น ที ่ เ พื่ อ
อุตสาหกรรมรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ด้วยความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงกับประเทศ
เพื่อนบ้านในอนุภาคลุ่มน้ำโขง มีจำนวนประชากร แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสม และเอื้อต่อการลงทุน
ภาคอุตสาหกรรม การค้า และการบริการ ประกอบกับ การเป็นพื้นที่ที่มีการเชื่อมโยงกับระเบียงเศรษฐกิจ
ตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งจากการศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมได้พิจารณาเลือก 4 จังหวัด
เป็นจังหวัดนำร่องในการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และ
นครพนม เบื้องต้นมีแนวโน้มความเป็นไปได้ที่จะก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นแห่งแรก
ระยะเวลาโครงการ 3 ปี งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ลงทุน
ทั้งหมดหรือร่วมลงทุนกับภาคเอกชน ซึ่งหากประสบความสำเร็จจะเกิดการจ้างงานกว่า 20,000 คน มูลค่าการ
ลงทุนปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งพื้นที่ที่ได้คัดเลือกนั้น ได้แก่ ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน เนื้อที่ 2,092 ไร่
เป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับโรงงานคัดแยกขยะมูลฝอยของเทศบาลนครนครราชสีมา เนื่องจากอำเภอสูงเนินเป็นพื้นที่ที่
รองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมตามผังเมืองรวมจังหวัดนครราชสีมา มีถนนมิตรภาพและใกล้แหล่งน้ำลำตะคอง

ที่มา: TERRABKK, 2557.


รูปที่ 2.3-26 ทัศนียภาพนิคมโคราชในอนาคต
10) โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port)
(1) ความเป็นมาของโครงการ
ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังมีปริมาณตู้สินค้าผ่านเข้า-ออกท่าเรือเป็นจำนวนมาก ส่งผล
กระทบโดยตรงต่อปริมาณการจราจรบนถนนบริเวณโดยรอบท่าเรือแหลมฉบังและโครงข่ายเชื่อมโยง ภาครัฐจึง
จำเป็นต้องพัฒนาโครงข่ายการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือแหลมฉบังกับจุดต้นทาง-ปลายทางการขนส่ง
สิน ค้ าในประเทศและประตูก ารค้าชายแดนที่ส ำคัญ ประกอบกับนโยบายประเทศที่มุ่งเน้นการยกระดับ
โลจิสติกส์ไปสู่ก ารเป็นศูนย์กลางทางการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภ าค สำนักงานนโยบายและ

2-105
แผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จึงเห็นควรให้มีการศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อเป็น
กลไกสำคั ญ ในการส่ ง เสริ ม การปรั บ เปลี ่ ย นรู ป แบบขนส่ ง สิ น ค้ า ผ่ า นการขนส่ ง ทางราง นำไปสู ่ ก ารเป็ น
ศู น ย์ ก ลางโลจิ ส ติ ก ส์ข องภู ม ิ ภ าคในอนาคต ปั จ จุ บ ั น สำนั ก งานปลัด กระทรวงคมนาคมได้ น ำเรื ่ อ งเสนอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณารับทราบผลการศึกษา ก่อนส่งเรื่องให้สำนักงานสภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติบรรจุเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและ
บริการของประเทศต่อไป
(2) วัตถุประสงค์โครงการ
(2.1) เพื่อจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือบกให้เป็นกลไกสำคัญในการตอบสนอง
การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของไทย รวมไปถึงสินค้าของประเทศเพื่อนบ้านผ่านประตูการค้าหลัก (ท่าเรือ
แหลมฉบัง) ของประเทศไทยเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค (กลุ่มประเทศ CLMV)
(2.2) กำหนดแนวทางการพัฒนาและพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นท่าเรือบก
(3) นิยามของ Dry Port
Dry Port หมายถึ ง บริ เ วณพื ้ นที่ ต อนในของประเทศที่ ม ีก ารดำเนิน งานเป็น ศูนย์
โลจิสติกส์ ทำหน้าที่เสมือนท่าเรือ รองรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในระบบตู้สินค้า (คอนเทนเนอร์) มี
การเชื่อมต่อการขนส่งได้ตั้งแต่ 2 รูปแบบขึ้นไป โดยมีการขนส่งทางรางเป็นหลัก จากผลการศึกษา Dry Port
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ UNESCAP พบว่า รูปแบบการขนส่งที่เหมาะสมระหว่าง Dry Port กับ
แหล่งผลิตสินค้า คือ การขนส่งด้วยรถบรรทุก ซึ่งมีพิสัยการขนส่งไม่เกิน 50 กิโลเมตร ส่วนการขนส่งระหว่าง
Dry Port กับท่าเรือจะขนส่งด้วยระบบราง ซึ่งมีพิสัยการขนส่งในช่วง 100-300 กิโลเมตร

ที่มา: งานศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค, 2561.


รูปที่ 2.3-27 นิยามของ Dry Port

2-106
(4) กิจกรรมหลักของ Dry Port

ที่มา : งานศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค, 2561.


รูปที่ 2.3-28 กิจกรรมหลักของ Dry Port

(5)
การพิจารณาและคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในระดับที่ตั้ง
เป็นการพิจารณาและคัดเลือกจากการให้คะเนนความเหมาะสมในแต่ละบริเวณที่ตั้ง
ตามเกณฑ์ที่ได้จากแนวคิดและการออกแบบ Dry Port โดยเกณฑ์การให้คะแนนประกอบด้วยเกณฑ์ห ลั ก
จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ การเชื่อมต่อการขนส่งกับระบบราง การผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ ความเหมาะสมด้าน
สิ่งแวดล้อม ขนาดพื้นที่และรูปแปลงที่ดิน และต้นทุนการจัดหาและพัฒนาที่ดิน ซึ่งแต่ละเกณฑ์มีสัดส่วน
น้ำหนักต่อคะแนนรวมเท่า ๆ กัน ส่วนแต่ละเกณฑ์หลักประกอบด้วยเกณฑ์ย่อยอาจมีสัดส่วนน้ำหนัก ที่แตกต่าง
กันตามความสำคัญ ซึ่งพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการพัฒนา Dry Port เพื่อนำไปทำการจัดลำดับความสำคัญ
และการวิเคราะห์ความเป็นไปได้เบื้องต้นของพื้นที่ที่เหมาะสม โดยพื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมาที่ได้รับคัดเลือก
คือ พื้นที่บริเวณตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน

2-107
ที่มา : งานศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมภิ าค, 2561.
รูปที่ 2.3-29 ผลการคัดกรองพื้นที่ที่มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในระดับจังหวัด
11) แผนการพัฒนาสถานีขนส่งผู้โดยสาร
(1) ความเป็นมาของโครงการ
กรมการขนส่งทางบกเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาโครงข่ายสถานีขนส่งผู้โดยสาร
เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบขนส่งสาธารณะและเพิ่มพื้นที่การให้บริการและการเข้าถึงรถโดยสารสาธารณะให้
สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งร่างแผนแม่บทการพัฒนาสถานีขนส่งคนโดยสารระยะ 20 ปี แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ
สั้น 1-5 ปี (2561-2565) ระยะกลาง 6-10 ปี (2566-2570) ระยะยาว 11-20 ปี (2571-2580) และได้คัดเลือก
สถานีขนส่งคนโดยสารในชุมชนเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาคจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สถานี
ขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสงขลา สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา และสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่
(2) วัตถุประสงค์โครงการ
เพื่อเป็นพื้นที่ศึกษานำร่องในการจัดทำแผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วน 5 ปี เพื่อพัฒนาให้
เป็นต้นแบบการพัฒนาสถานีขนส่งคนโดยสารในอนาคต ซึ่ งการพัฒนาสถานีขนส่งผู้โดยสารในพื้นที่จังหวัด
นครราชสีมา เป็นการจัดให้มีสถานีแห่งใหม่เพื่อทดแทนสถานีเอกชนที่เลิกกิจการ
ตารางที่ 2.3-2 แผนงานจัดให้มีสถานีแห่งใหม่เพื่อทดแทนสถานีเอกชนที่เลิกกิจการ
ลำดับ พื้นที่พัฒนาสถานีขนส่งคนโดยสาร ปีดำเนินการ
แผนงานเตรียมการจัดให้มีสถานีเพื่อทดแทนสถานีจัดตั้งโดยเอกชนที่จะหมดสัญญาในอนาคต 2564-2575
1 สถานีขนส่งผู้โดยสาร แห่งที่ 2 อำเภอเมือง จ.นครราชสีมา 2568
2 สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพิมาย จ.นครราชสีมา 2575
ที่มา: กรมการขนส่งทางบก

2-108
12) โครงการความร่วมมือพัฒนาเมืองโคราชสมาร์ทซิตี้ (Korat Smart City)
(1) ความเป็นมาโครงการ
เป็ น โครงการภายใต้ ค วามร่ ว มมื อ ของเทศบาลนครนครราชสี ม า มหาวิ ท ยาลั ย
เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) และบริษัท มัลติ อินโนเวชั่น เอนยิเนียริ่ง จำกัด ภายใต้แนวคิด "เมือง
อัจฉริยะ เมืองปลอดภัย สู่มหานครแห่งความสุข" มุ่งพัฒนาให้ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมามีคุณภาพชีวิตที่ดี
มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จึงมีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ยกระดั บ การให้ บ ริก าร และอำนวยความสะดวกแก่ป ระชาชนภายในเขตเทศบาลนครนครราชสี ม า ซึ่ ง
การร่วมมือกับเทศบาลนครนครราชสีมามุ่งพัฒนาเบื้องต้นใน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการคมนาคมอัจฉริยะ
(Smart Mobility) ด้วยการศึกษาวิจัย ทดสอบ ออกแบบ เสนอแนะรูปแบบการจัดการ การแก้ไขปัญหา
การจราจร ผ่านแนวทางการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลกล้องวงจรปิดชั้นสูง (Surveillance Big Data and
Advanced Analytic) เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และดำเนินการติดตั้งกล้อง
วงจรปิดจำนวน 200-300 ตัว รวมถึงพัฒนาระบบให้มีความเชื่อมโยงกับการควบคุมสัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะ
ในเขตเมืองนครราชสีมา และ 2) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ผ่านระบบ
จัดการการเก็บขยะ เซนเซอร์ตรวจจับละอองฝุ่น ค่าน้ำเสีย และป้องกันน้ำท่วม ที่สำคัญคือ การมุ่งเน้นไปที่
ความร่วมมือของบุคลากรในจังหวัด ได้แก่ ภาครัฐ บริษัทผู้ที่ดำเนินการเรื่องซอฟต์แวร์ และนักศึกษาใน
มหาวิทยาลัย ซึ่งมีบุคลากรจำนวนมากที่สามารถต่อยอดแนวความคิดเมืองอัจฉริยะ ซึ่งจะทำให้เมืองอัจฉริยะ
(Smart City) เกิดจากประชาชนในจังหวัดเอง
(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ
(2.1) เพื ่ อ พั ฒ นาเมื อ งนครราชสี ม าและเพิ ่ ม คุ ณ ภาพชี ว ิ ต ให้ ป ระชาชน ทั ้ ง ด้ า น
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
(2.2) เพื่อแก้ไขปัญหาในด้านการจราจร การรักษาความปลอดภัยบนถนนและความ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
(2.3) ต้องการให้ประชาชนทุกภาคส่วนตระหนักเรื่องเทคโนโลยีที่ เกี่ยวข้องกับชีวิต
และการพัฒนาโคราช
(3) ลักษณะและที่ตั้งของโครงการ
พื้นที่ถนนมิตรภาพช่วงระหว่างแยก โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา บริเวณแยกสถานี
บริการน้ำมัน ปตท. และแยกขอนแก่น - อุดร (แยกTerminal 21 / Big C)
13) โครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
(1) ความเป็นมาโครงการ
เป็นโครงการภายใต้ ความรับผิดชอบของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและ
จราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เป็นการศึกษาพื้นที่ เมือง หรือชุมชน ตามแนวโครงข่ายรถไฟทั่วประเทศที่มี
แนวโน้มเป็นจุดเปลี่ ยนถ่ายการเดินทางที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาเมืองให้มีการเติบโตอย่างประสิทธิภาพและ
สามารถจัดสรรที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างด้านคมนาคม ตามหลักการพัฒนา
พื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง Transit Oriented Development หรือ TOD

2-109
(2)
วัตถุประสงค์
เป็นการศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง /
สถานีรถไฟทางคู่ / ศูนย์คมนาคมขนส่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 20 ปี และ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(3) ที่ตั้งโครงการ
พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา TOD โดยรอบสถานีระบบรางระบบหลัก รวม 177
สถานี โดยแบ่ ง ตามสายทางรถไฟ 4 สายทาง ได้ แ ก่ 1) สายเหนื อ จำนวน 53 สถานี 2) สาย
ตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 33 สถานี 3) สายตะวันออก จำนวน 22 สถานี 4) สายตะวันตกและสายใต้
จำนวน 69 สถานี โดยสถานีในจังหวัดนครราชสีมาอยู่ในสายตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนสถานีทั้งหมด 10
สาย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ตารางที่ 2.3-3 สถานีที่มีศักยภาพในการพัฒนา TOD ในจังหวัดนครราชสีมา
ลักษณะ TOD ผู้โดยสารเป้าหมาย
พื้นที่อิทธิพล ประชากรเป้าหมาย อปท.ในพื้นที่
ชื่อสถานี ตำบล / อำเภอ ปี พ.ศ. 2580
(ม.) ในรัศมี 3 กม. (คน) อิทธิพล
ประเภท ขนาด (คน/เที่ยวต่อวัน)
1. ปากช่อง (เดิม) ปากช่อง / Neighborhood SS 500 5,328 683 ทม.ปากช่อง
ปากช่อง Center
2. ปากช่อง HSR หนองสาหร่าย / New Town S 500 2,963 4,552 อบต.หนองสาหร่าย
ปากช่อง อบต.จันทึก
3. สีคิ้ว สีคิ้ว / สีคิ้ว Urban Center S 500 25,398 529 ทม.สีคิ้ว
4. โคกกรวด โคกกรวด / Neighborhood SS 500 30,845 259 ทต.โคกกรวด
เมืองนครราชสีมา Center ทต.เมืองใหม่โคกกรวด
5. ภูเขาลาด บ้านใหม่ / Neighborhood SS 500 31,450 2,291 ทต.บ้านใหม่
เมืองนครราชสีมา Center
6. นครราชสีมา HSR ในเมือง / Regional LL 1,000 110,673 110,673 ทน.นครราชสีมา
เมืองนครราชสีมา Center ทต.หนองไผ่ล้อม
7. ชุมทางถนนจิระ ในเมือง / Urban Center M 500 94,495 2,038 ทน.นครราชสีมา
เมืองนครราชสีมา ทต.หนองไผ่ล้อม
8. บ้านเกาะ บ้านเกาะ / Neighborhood SS 500 31,406 5,839 ทน.นครราชสีมา
เมืองนครราชสีมา Center ทต.ตลาด
อบต.บ้านเกาะ
9. โนนสูง โนนสูง / โนนสูง Neighborhood SS 500 14,560 1,026 ทต.โนนสูง
Center
10. ชุมทางบัวใหญ่ บัวใหญ่ / บัวใหญ่ Urban Center M 500 17,473 17,473 ทม.บัวใหญ่
ที่มา: บริษัทที่ปรึกษา, 2565

(4)นโยบายรัฐที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับการพัฒนา TOD
นโยบาย แผนงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านคมนาคมขนส่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทุกระดับตั้งแต่ระดับประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ
20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่มุ่งเน้นให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สามารถพัฒนาคุ ณภาพชีวิตของ
ประชาชนให้มีรายได้ระดับสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจผ่านยุทธศาตร์
ที่เกี่ยวข้อง คือ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อม
ไทย เชื่อมโลก แบบไร้รอยต่อ รวมทั้งการสร้างและพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา
เศรษฐกิจและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
ด้วยการกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี และจัดทำผังเมืองและผังภาคเพื่อ

2-110
การจัดโรงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค แหล่งงาน แหล่งน้ำและการใช้ที่ดิน ให้สามารถพึ่งตนเองได้ภายในกลุ่ม
จังหวัด และยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริม
ระบบโลจิสติกส์และการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเมืองน่าอยู่ในภูมิภาค ซึ่งสอดค ล้องกับ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ
โดยเมื่อถ่ายทอดลงมาสู่แผนแม่บทภายใตยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 23 แผน มีประเด็นที่สอด
คลองกับการพัฒนา TOD คือ ประเด็นที่ 7 โครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์และดิจิทัล เน้นพัฒนาระบบขนส่ง
สาธารณะในเขตเมืองและเมืองหลักในภูมิภาคและพื้ นที่พิเศษ ประเด็นที่ 6 พื้นที่และเมืองน่ าอยู่อัจฉริยะ
ประเด็นที่ 18 การเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่ 9 เขต
เศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ EEC SEC และ SEZ และประเด็นที่ 5 การท่องเที่ยว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ
เส้นทางเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งล้วนมีส่งสำคัญในการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนา
อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ โดยเฉพาะ ระบบขนส่งทางราง
ให้เป็น โครงข่ายหลักของประเทศ ทั้งรถไฟความเร็ว สูง รถไฟทางคู่ และรถไฟสายใหม่ และระบบขนส่ ง
สาธารณะในเขตเมือง ซึ่งสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.
2561-2580) ที่เน้นการบูรณาการระบบคมนาคมขนส่ง ให้ความสำคัญและพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งตรง
กับเป้าหมายของแผนที่นำทางการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDC Roadmap) พ.ศ.
2564-2573 ที่รัฐบาลเสนอต่อองค์การสหประชาชาติ ภายใต้ความตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยตรง ที่
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development : TOD)
ตามระดับการพัฒนาและความสามารถในการบริหารจัดการของพื้นที่ และยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภาค
เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจเพื่อกระจายความเจริญ และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาค เพิ่มจำนวนเมือง
ศูนย์กลางที่เป็นเมืองน่าอยู่ โดยกำหนดให้เมืองเชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา ภูเก็ต และหาดใหญ่
เป็นเมืองสำคัญของภาค
สำหรับระดับกระทรวง มีนโยบายที่ถ่ายทอดลงมาผ่านการกำหนดแผนงานโครงการที่
เกี่ยวข้องกับการพัฒนา TOD เช่นด้านคมนาคม ผ่านแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายสนับสนุนเศรษฐกิจพิเศษ
การท่องเที่ยว และการพัฒนาเมือง (พ.ศ. 2560) โดยเน้นโครงการก่อสร้สงรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ และ
รถไฟสายใหม่ ทั่วประเทศ ด้านผังเมืองและการพัฒนาเมืองผ่านการจัดทำ ผังประเทศ ผังภาค และผังเมืองรวม
จังหวัด ผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน และด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยผ่านแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20
ปี (พ.ศ. 2560-2579)

2-111
ตารางที่ 2.3- 4 สถานะโครงการพัฒนาเมืองที่สำคัญ ในจังหวัดนครราชสีมา
โครงการ สถานะ/ความคืบหน้า
1) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน - - กำลังดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2564 เปิดให้ใช้งาน 2565
นครราชสีมา (M6) และปี 2566 เปิดเต็มระบบ
2) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายนครราชสีมา - - ดำเนินการศึกษาและออกแบบแล้วเสร็จ และอยู่ในแผนงานการศึกษา
ขอนแก่น (M6) ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ในปี พ.ศ. 2563-2565 และศึกษา
รูปแบบการร่วมทุนกับเอกชน PPP ในปี พ.ศ. 2565 คาดว่าจะขออนุมัติ
โครงการปี พ.ศ. 2566 เริ่มเวนคืนและประมูลก่อสร้างปี พ.ศ. 2567-
2568 และเปิดบริการได้ในปี พ.ศ. 2571
3) โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค - ก่อสร้างไปได้เพียง 3.5 กิโลเมตร คือ การสร้างทางสำหรับวางราง มี
ช่วง กรุงเทพมหานคร - หนองคาย กำหนดเสร็จ และเปิดบริการปี 2569
(ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา)
4) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ - อยูร่ ะหว่างการดำเนินการก่อสร้าง สำหรับช่วงที่ผ่านตัว อำเภอสีคิ้ว และ
ตัวเมืองนครราชสีมา อยูร่ ะหว่างปรับรูปแบบการก่อสร้าง
5) แผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในระยะ 10 ปี - ดำเนินการก่อสร้างทางหลวง M6 ช่วงบางปะอิน-นครราชสีมา
(พ.ศ. 2560 - 2569) - ศึกษาความเหมาะสมทางหลวง M6 ช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่น
6) โครงการถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ทล. 290 - ก่อสร้างและเสร็จ ช่วงด้านใต้ของเมืองนครราชสีมา และเปิดให้บริการ
แล้ว
- ดำเนินการก่อสร้างวงแหวนรอบเมืองช่วงตอนบนและด้านตะวันออกของ
เมืองนครราชสีมา
7) โครงการแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ - จัดทำแผนแม่บทฯ แล้วเสร็จ (สนข.)
ในเขตเมืองนครราชสีมา (Light Rail Transit หรือ Tramway)
8) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน - ทาง รฟม. ดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการแล้วเสร็จ
- สถานคุม้ ครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)
9) โครงการความเหมาะสมการจั ด ตั ้ ง นิ ค มอุ ต สาหกรรมในจั ง หวั ด - เลือกพื้นที่ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน ให้เป็นสถานที่ศึกษาความ
นครราชสีมา เป็นไปได้ในการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ เนื้อที่
2,092 ไร่
- ปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรมสุรนารี และเขตอุตสาหกรรม นวนคร
10) โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) - ดำเนินการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จ (สนข.)
11) โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทในการดำเนินการและการพัฒนา - ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2561 โดย กรมการขนส่งทางบก
สถานีขนส่งคนโดยสาร - แผนฯ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น 1-5 ปี (2561-2565) ระยะกลาง
6-10 ปี (2566-2570) ระยะยาว 11-20 ปี (2571-2580)
12) โครงการความร่วมมือพัฒนาเมืองโคราชสมาร์ทซิตี้ (Korat Smart City) - depa ร่วมกับ Smart City Alliance ผลักโคราช เป็นเมืองอัจฉริยะด้าน
Mobility และ Environment
- เทศบาลนครนครราชสีมาและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
(มทร.อีสาน)และบริษัท มัลติ อินโนเวชั่น เอนยิเนียริ่ง จำกัด ร่วมกันลง
นามบันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือพัฒนาเมือง โคราชสมาร์ท ซิตี้
(Korat Smart City)
13) โครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง - อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและ
จราจร (สนข.)
- ในจังหวัดนครราชสีมามีพนื้ ที่ศักยภาพทั้งหมด 10 สถานี
ที่มา: บริษัทที่ปรึกษา, 2563

2-112
2-113
2.3.5 สรุปสาระสำคัญนโยบาย แผนงาน โครงการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการ
จัดทำแผนแม่บทเมืองใหม่
การศึกษานโยบาย แผนงาน และโครงการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนจะสามารถนำไปเชื่อมโยง
กับการจัดทำแผนแม่บทเมืองใหม่ได้ในประเด็นการกำหนดปีฐานในการคำนวณและการกำหนดปัจจัย
การวิเคราะห์พื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการพัฒนา ดังที่กล่าวไปในหัวข้อ 2.2.10 การพัฒนาเมืองใหม่ย่อม
ต้องสอดคล้องกับผังในแต่ละระดับ เช่นเดียวกั บนโยบาย การทบทวนนโยบาย แผนงาน โครงการจึงจะมีส่วน
ทำให้แผนแม่บทเมืองใหม่มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ความทันสมัยของผังที่กล่าวคือ การนำนโยบาย แผนงาน
และโครงการเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในการกำหนดปีฐาน หรือ T0 ที่จะเป็นปีเริ่มต้นในการสร้างสมมติฐานการ
คำนวณความต้องการในสาขาต่าง ๆ ในอนาคต หรือประมาณ 20 ปีต่อไป ความสำคัญของการกำหนดปีฐานให้
ตรงตามปีที่นโยบาย แผนงาน และโครงการเหล่านี้เสร็จสิ้น จะทำให้จำนวนความต้องการรายสาขาที่คาด
ประมาณใกล้เคียงกับสถานการณ์ที่ผันผวนในอนาคตที่อาจจะมีความต้องการมากกว่าการคำนวณที่ใช้ปีปัจจุบัน
(พ.ศ. 2563) เป็นปีฐาน ซึ่งจำนวนความต้องการที่ได้นั้นย่อมส่งผลโดยตรงกับการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานไว้
รองรับได้อย่างเพียงพอ เสมือนเป็นการคำนึงถึงหลักการป้องกันและเฝ้าระวังไว้ล่วงหน้า (Precautionary
Principle) เช่นกัน (พิจารณารายละเอียดปีฐานและการคาดประมาณ ได้ในภาคผนวก ฉ. การคาดประมาณ
ความต้องการในอนาคตของการพัฒนาเมืองใหม่นครราชสีมา)
ทั้งนี้ การทบทวนนโยบาย แผนงาน และโครงการของภาครัฐและเอกชนสามารถนำไปเป็นหนึ่งใน
ปัจจัยการวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่พัฒนาเมืองใหม่ โดยใช้ตำแหน่งที่ตั้งของนโยบายหรือโครงการ
ไปใช้ในการวิเคราะห์เป็นปัจจัยพื้นที่พึงประสงค์ ซึ่งจะส่งผลต่อคะแนนที่ใช้คำนวณให้บริเวณดังกล่ าวและ
บริเวณใกล้เคียงมีผลคะแนนสูงขึ้น ซึ่งจะสะท้อนถึงศักยภาพที่สูงขึ้น สอดคล้องกับแนวคิด ภูมิทัศ น์ของ
การสะสมทุนที่บริเวณใดมีการลงทุนไว้มากย่อมมีศักยภาพในการพัฒนาและสามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้าง
พื้นฐานนั้นในการลดต้นทุนในการพัฒนาเมืองใหม่ในอนาคต (พิจารณารายละเอียดได้ใน หัวข้อ 2.5 สรุปการ
วิ เคราะห์ นโยบายและโครงการพั ฒนาที ่จะส่งผลต่อการเปลี ่ยนแปลงครั้ งใหญ่ ในภาพรวมของจังหวัด
นครราชสีมา) การวิเคราะห์พื้นที่ที่มีศักยภาพจะวิเคราะห์ตามภาพอนาคตที่ได้มีการวางแนวคิดไว้ จะสะท้อนให้
เห็นถึงทางเลือกตามภาพอนาคตที่บางโครงสร้างพื้นฐานอาจจะเป็นผลบวกในภาพอนาคตหนึ่ง แต่อาจไม่ได้มี
ศักยภาพโดดเด่นในอีกภาพอนาคต ทำให้มีโอกาสในการพิจารณาวางแผนได้หลากหลายมิติมากขึ้ น (พิจารณา
รายละเอียดเกณฑ์การวิเคราะห์พื้นที่มีศักยภาพในการพัฒนาเมืองใหม่ได้ในบทที่ 4 หัวข้อ 4.4 การวิเคราะห์
และคัดเลือกพื้นที่จัดทำผังแม่บทการพัฒนาเมืองใหม่นครราชสีมา)

2.4 ศึกษาตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่เมืองใหม่ (TOR ข้อ 4.1.4)


ในการศึกษาแผนแม่บทเมืองใหม่นครราชสีมาจะมีการทบทวนกรณีศึกษาการพัฒนาเมืองใหม่ เพื่อให้
ทราบถึงแนวทางการพัฒนาเมืองใหม่ที่ผ่านมา ทั้งยังเพื่อนำมาถอดบทเรียนก่อนจะนำมาปรับใช้กับการศึกษา
แผนแม่บทเมืองใหม่นครราชสีมาด้วย ซึ่งกรณีศึกษาที่นำมาพิจารณาแบ่งออกเป็นกรณีศึกษาในประเทศไทยและ
กรณีศึกษาต่างประเทศ มีรายละเอียดดังนี้

2-114
2.4.1 กรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่เมืองใหม่ในประเทศไทย
การพัฒนาเมืองใหม่ภายในประเทศไทยมีการนำแนวคิดเรื่องเมืองใหม่มาใช้ในการพัฒนาโครงการ
แต่ยังไม่มีโครงการใดประสบความสำเร็จในระดับที่สามารถเรียกว่าเป็นเมืองใหม่ได้ แต่บทเรียนที่มีความสำคัญ
จากโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมา คือ การบริหารจัดการ ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน การลงทุนโครงสร้าง
พื้นฐาน ความเสี่ยงจากภายนอก เป็นต้น ดังนั้น กรณีศึกษาภายในประเทศไทยจึงจะพิจารณาตามเกณฑ์ที่
กำหนดพอสังเขปได้ ดังนี้
1) เป็นการวางผังการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่มากกว่าหนึ่งร้อยไร่
2) มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไปแล้วอย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้ว่าจำนวนประชากรที่ย้ายเข้าไป
อยู่ในพื้นที่จะไม่มากหรือไม่มีเลย
3) เป็นโครงการที่พัฒนาผ่านมามากกว่า 10 ปี
4) หากเป็นโครงการที่พัฒนาต่ำกว่า 10 ปี หรือเป็นโครงการออกแบบวางผังเมืองใหม่ ควรเป็น
โครงการที่มีรูปแบบผังที่น่าสนใจ
ซึ่งในการศึกษาได้พิจารณาทั้งโครงการที่เป็นการพัฒนาโดยภาคเอกชน และโครงการที่เป็นการ
พัฒนาโดยภาครัฐ โดยกรณีศึกษาที่นำมาทบทวนตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ได้แก่
โครงการพัฒนาโดยภาครัฐ ประกอบด้วย
1) โครงการเมืองใหม่มาบตาพุดและเมืองใหม่แหลมฉบัง
2) โครงการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
3) 3) โครงการสํารวจออกแบบและจัดทำรายละเอียดเบื้องต้นการพัฒนาเมืองใหม่ รอบสนามบิน
อู่ตะเภาพร้อมการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและคัดเลือกเอกชน เข้าร่วมลงทุนในพื้นที่เมืองใหม่นําร่อง
ของมหานครการบินภาคตะวันออก
4) โครงการเมืองใหม่นครนายก
5) โครงการศูนย์ราชการและเมืองใหม่ท่าตะเกียบ
6) การจัดทำแผนภูมิเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เมืองใหม่ฉะเชิงเทรา ภายใต้ โครงการศึกษา
เพื่อพัฒนาเมืองใหม่ (New City) ในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2560
7) เมืองต้นแบบ TODพระนครศรีอยุธยา ภายใต้ โครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้าง
พื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
โครงการพัฒนาโดยภาคเอกชน ประกอบด้วย
1) โครงการเมืองทองธานี
2) โครงการนิคมอุตสาหกรรมนวนคร
3) โครงการวังจันทร์วัลเลย์
4) โครงการเมืองใหม่บางพลี

2-115
2.4.1.1 โครงการพัฒนาโดยภาครัฐบาล
1) เมืองใหม่มาบตาพุดและเมืองใหม่แหลมฉบัง
(1) ความเป็นมาโครงการ
การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นพื้นที่พัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์
การพัฒ นาพื้น ที่บ ริเวณชายฝั่งทะเลตะวัน ออกที่ได้วางแผนและปฏิบัติอย่างจริงจังมาตั้งแต่ พ.ศ. 2524
โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่เพื่อสนับสนุนการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
และอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาคอย่างเป็นระบบ เป็นศูนย์อุตสาหกรรมหลักและอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ
อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะให้ชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นประตูทางออกให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ โดยไม่ต้องผ่านกรุงเทพมหานคร ขณะเดียวกันจะจัดให้มีบริการ
ด้านสังคมที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการลงทุนของเอกชนในพื้นที่นี้ โดยเฉพาะการพัฒนาฝีมือแรงงาน การให้
การศึกษา สาธารณสุข และการควบคุมสภาวะสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเขตการพัฒนาเป็น 2 เขต คือ พื้นที่
บริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง และพื้นที่บริเวณแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
พื้นที่บริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง เนื้อที่ประมาณ 20,000 ไร่ กำหนดให้เป็นเมือง
อุ ต สาหกรรมทั น สมั ย และเป็ น แหล่ ง ที ่ ต ั ้ ง ของอุ ต สาหกรรมที ่ ส ำคั ญ ได้ แ ก่ โรงแยกก๊ า ซ อุ ต สาหกรรม
ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี โดยอุตสาหกรรมหลักที่มีการนำเข้าและส่ งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อการส่งออก
นั้นควรตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือน้ำลึก ส่วนพื้นที่บริเวณแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ กำหนดให้
เป็นแหล่งที่ตั้งท่าเรือพาณิชย์และอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่มีปัญหาด้านมลพิษ
(2) กลยุทธ์การพัฒนา
การพัฒนามีล ั กษณะเป็นแผนรุ กตามเป้ าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิ จและสั งคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 5 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 เพื่อสร้าง
โอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจสำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต จากที่เคยพึ่งพาผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลักเข้าสู่
การพัฒนาอุตสาหกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งกำหนดดำเนินการในลักษณะแผนงานแบบผสมผสาน (Integrated
Program) ระหว่างโครงการต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในความรับผิดชอบของภาครัฐที่เป็นผู้นำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ต่าง ๆ สำหรับอุตสาหกรรมโดยตรงและภาคเอกชนที่จะเป็นผู้นำการลงทุนด้านอุตสาหกรรม นอกจากนี้ รัฐยังเป็น
ผู้ดำเนินการจัดเตรียมส่วนสนับสนุนอื่น ๆ เช่น แหล่งที่ตั้ง การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมการลงทุน การควบคุม
ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและแข่งขั นกับตลาดโลกได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ซึ่งการพัฒนาในลักษณะนี้ความสอดคล้องระหว่างแผนงาน แผนการเงิน และการประสานงานกัน
ระหว่างหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นับเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ
(3) การลงทุน
ประกอบด้วย การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรัฐเป็นผู้รับภาระหลัก และการลงทุน
ด้านอุตสาหกรรมโดยภาคเอกชน ซึ่งในส่วนของการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระยะแรกได้จัดเตรียมเงินกู้และ
เงินสมทบสำหรับก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักไว้แล้ว เช่น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ท่าเรือมาบตาพุด นิคม
อุตสาหกรรม และท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งโครงการสนับสนุนอื่น ๆ ส่วนการลงทุนด้านอุตสาหกรรม ซึ่งภาคเอกชน
เป็นผู้ลงทุนหลักนั้น ระยะแรกรัฐบาลได้ร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บางโครงการที่เหมาะสมและคุ้มค่าทั้ง
ในเชิงเศรษฐกิจและพาณิชย์ เช่น อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นอกจากนี้ มีนักลงทุนหลายราย
ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศแสดงความประสงค์ที่จะมาลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องในพื้นที่เป้าหมาย

2-116
(4) ผลประโยชน์ที่คาดว่าเกิดขึ้น
แผนงานการพัฒนาระยะแรกคาดว่าจะก่อให้เกิดการจ้างงานแรงงานทั้งทางตรงและ
ทางอ้อมในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 300,000 คน ซึ่งยังไม่รวมถึงแรงงานที่จะเกิดขึ้นเนื่องจาก
กิจกรรมต่อเนื่องทางด้านพาณิชย์และบริการอื่น ๆ ที่จะติดตามมาอีก อุตสาหกรรมที่พัฒนาขึ้นมาในระยะแรก
จะเป็นอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่และจะช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศได้ประมาณปีละ
40,000 ล้านบาท สำหรับชุมชนในอนาคตที่จะเป็นผลผลิตตามมา อาจคาดการณ์ได้ว่า มาบตาพุด จะเป็นเมือง
อุตสาหกรรมสมัยใหม่ของประเทศ ส่วน แหลมฉบัง จะเป็นเมืองท่าสมัยใหม่ของประเทศ
ทั้งนี้ ไม่รวมผลประโยชน์ทางอ้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จาก
การพัฒนา เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งทางทะเล การลดปัญหาอัตราการขยายตัวของประชากรใน
กรุงเทพฯ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัย ปัญหาน้ำท่วม และปัญหาภัยสังคม
(5) ระบบการตัดสินใจ
แผนงานนี้เป็นแผนงานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก ต้องเกี่ยวข้องทั้ง
กับภาครัฐบาลและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมตลอดทั้งสถาบันการเงินระหว่างประเทศต่าง ๆ
ดังนั้นจึงมีการวางกลไกเพื่อปฏิบัติงานตามแผนมาโดยลำดับจนถึงปัจจุบัน ในระยะแรกได้กำหนดระเบียบสำนัก
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก พ.ศ. 2528 เพื่อกำหนดกรอบนโยบายและ
แนวทางการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามแผนงาน มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล
ตะวันออก ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการพัฒ นาการเศรษฐกิจและสั งคมแห่งชาติ รับผิดชอบเป็นหน่ว ย
ประสานการปฏิบัติงาน
(6) การดำเนินการตามแผนงาน
โครงการสำคัญในพื้นที่เป้าหมาย สามารถแบ่งประเภทโครงการออกเป็น 2 ประเภท
คือ โครงการอุตสาหกรรมและโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
พื้นที่เป้าหมายมาบตาพุด
โครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ ลักษณะโครงการ ประมาณการลงทุน
นิคมอุตสาหกรรมและชุมชน การนิคมอุตสาหกรรม - นิคมอุตสาหกรรม เนื้อที่ประมาณ 6,000 ไร่ ค่าก่อสร้างโครงสร้าง
มาบตาพุด แห่งประเทศไทย และชุมชนใหม่ เนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ พื้นฐานและ
- เมื่อพัฒนาแล้วเป็นที่ดินอุตสาหกรรมเข้าใช้ สาธารณูปโภค
พื้นที่ได้ 4,200 ไร่ ประมาณ 476 ล้าน
บาท
ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตา การนิ ค มอุ ต สาหกรรม - ก่ อสร้ างท่ าเรื ออุตสาหกรรมน้ ำลึก รั บเรือ 1,714 ล้านบาท
พุด แห่งประเทศไทย ขนาด 60,000 ตัน สำหรับขนถ่ายสินค้ากองที่
นำเข้าและส่ งออก ประกอบด้วย ท่าสินค้ า
ทั่วไป 1 ท่า และท่าสินค้าเหลว 2 ท่า

2-117
โครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ ลักษณะโครงการ ประมาณการลงทุน
ท่อส่งน้ำดอกกราย-มาบตา กรมชลประทาน - ก่ อสร้ างท่ อเหล็ กส่ งน้ ำ ขนาด Ø 1.35 ม. 645 ล้านบาท
พุด ระยะทาง 24 กิโลเมตร
- สามารถส่งน้ำได้ 75 ล้าน ลบ.ม./ปี
ท่อส่งน้ำมาบตาพุด-สัตหีบ กรมชลประทาน - ก่อสร้างท่อเหล็กส่งน้ำ ขนาด Ø 0.60 - 0.80 365 ล้านบาท
ม. ระยะทาง 26 กิโลเมตร
- สามารถส่งน้ำได้ 17 ล้าน ลบ.ม./ปี
ทางรถไฟสายมาบตาพุด-สัต การรถไฟแห่ งประเทศ - ก่ อสร้ างทางรถไฟทางเดี ่ ยวแยกจากสาย 628 ล้านบาท
หีบ (เขาชีจรรย์) ไทย เชื่อมโยงฉะเชิงเทรา-สัตหีบ จากสถานีเขาชี
จรรย์มายังบริเวณแหล่งอุตสาหกรรมมาบตา
พุด ระยะทาง 24 กิโลเมตร
ระบบสื่อสารและ องค์การโทรศัพท์แห่ง - บริการโทรศัพท์
โทรคมนาคมมาบตาพุด ประเทศไทย (ทศท.) - บริการอื่น ๆ ของกสท.
และ
การสื่อสารแห่งประเทศ
ไทย (กสท.)
ระบบไฟฟ้ามาบตาพุด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง - ดำเนินการก่อสร้างระบบไฟฟ้า ขนาด 230
ประเทศไทย เควี จากอ่ า วไผ่ ม ายั งจั งหวั ด ระยองและ
สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โรงแยกก๊าซ
เรียบร้อยแล้ว
เคหะชุมชนและสวัสดิการ การเคหะแห่งชาติ - เป็นการก่อสร้างแหล่งชุมชน สำหรับแรงงานที่
ชุมชน จะเกิดขึ้นในบริเวณแหล่งอุตสาหกรรมมาบตา
พุด พร้อมจัดสวัสดิการชุมชน เช่น โรงเรียน
โรงพยาบาล สถานีอนามัย สถานีตำรวจ เป็น
ต้น

พื้นที่เป้าหมายแหลมฉบัง
โครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ ลักษณะโครงการ ประมาณการลงทุน
ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศ - ก่ อ สร้ า งท่ า เรื อ เที ย บเรื อ ระยะแรก 2,029 ล้านบาท
ไทย ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ 2
ท่ า ท่ า เที ย บเรื อ สิ น ค้ า เกษตร 2 ท่ า ท่ า
เทียบเรือสินค้าทั่วไป 1 ท่า ท่าเทียบเรือ
ชายฝั่ง 1 ท่า
- ขุดลอกร่องน้ำลึก 14 เมตร ระยะทาง 2.5
กิโลเมตร
- ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นยาว 1,300 เมตร
- ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เช่น โรงพัก
สินค้า พื้นลานสินค้ากลางแจ้ง อาคารที่ทำ
การถนน ทางรถไฟ และสาธารณูปโภคอื่น

2-118
โครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ ลักษณะโครงการ ประมาณการลงทุน
นิคมอุตสาหกรรมแหลม การนิคมอุตสาหกรรม - เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 1,400 ไร่ 1,410 ล้านบาท
ฉบัง แห่งประเทศไทย - เขตอุตสาหกรรมส่งออก 700 ไร่
- เขตพาณิชยกรรม 200 ไร่
- โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
และสาธารณูปการ เมื่อพัฒนาแล้วเป็นที่ดิน
ที่สามารถใช้ประโยชน์ในธุรกิจอุตสาหกรรม
ได้ 1,587 ไร่ ประกอบด้วย
- เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 942 ไร่
- เขตอุตสาหกรรมส่งออก 520 ไร่
- เขตพาณิชยกรรม 125 ไร่
ท่อส่งน้ำหนองอ้อ - แหลม กรมโยธาธิการและผัง - ก่อสร้างท่อเหล็กส่งน้ำขนาด Ø 0.90 เมตร 120 ล้านบาท
ฉบัง เมือง ระยะทาง 14 กิโลเมตร สามารถส่งน้ำดับได้
16 ล้าน ลบ.ม./ปี
ทางรถไฟสายศรีราชา- การรถไฟแห่งประเทศ - ก่ อ สร้ า งทางรถไฟสายแยกจากสาย 290 ล้านบาท
แหลมฉบัง ไทย ฉะเชิ งเทรา-สั ตหี บที ่สถานศรีร าชามายัง
แหลมฉบั ง ระยะทางประมาณ 9.3
กิโลเมตร

พื้นที่เป้าหมายแหลมฉบัง
โครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ ลักษณะโครงการ ประมาณการลงทุน
ระบบสื่อสารและ องค์การโทรศัพท์แห่ง - บริการโทรศัพท์
โทรคมนาคมแหลมฉบัง ประเทศไทย (ทศท.) - บริการอื่น ๆ ของกสท.
การสื่อสาร แห่งประเทศ
ไทย (กสท.)
โครงการระบบไฟฟ้าแหลม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง - การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต ฯ ติ ด ตั ้ ง ระบบหม้ อ
ฉบัง ประเทศไทยและการ แปลงไฟฟ้าจาก 230 เควี เป็น 115 เควี
ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มายั ง บริ เ วณแหลมฉบั ง การไฟฟ้ า ส่ ว น
ภูมิภาคปรับปรุงเสริมระบบ จำหน่ายเพื่อ
รับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ฯ
และลดแรงดันลงเป็น 22 เควี
โครงการก่อสร้างถนนสาย กรมทางหลวง - ก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร สายชลบุรี - 826 ล้านบาท
ชลบุรี - พัทยาสายใหม่ พัทยาสายใหม่ พร้อมถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี
และทางแยกเข้าแหลมฉบังรวมระยะทาง
65 กิโลเมตร
(7) มาตรการด้านควบคุมสิ่งแวดล้อม
คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกได้มอบหมายให้สำนักงาน
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมดำเนินการตั้งแต่ต้น กล่าวคือ

2-119
(7.1) สำนักผังเมือง ดำเนินการออกกฎหมายผังเมืองรวม เพื่อควบคุมการใช้พื้นที่
ไม่ให้ปะปนระหว่างเขตอุตสาหกรรมท่าเรือและชุมชน
(7.2) สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่
• วางแผนแม่บทการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
• จัดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอากาศ
• ตรวจสอบเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา
• กำหนดให้โครงการขนาดใหญ่ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม
จัดทำรายงานศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(7.3) กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการออกเทศบัญญัติ การควบคุมบำบัดและกำจัด
ของเสียทั้งในรูปน้ำเสีย อากาศ ขยะ ในบริเวณมาบตาพุดและแหลมฉบัง
(7.4) สถานีว ิจ ัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ ฝ ึ กนิส ิตเกาะสีช ังของจุ ฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ร่วมดำเนินการติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในบริเวณแหลมฉบัง ชลบุรี พัทยา
(8) บทสรุป
แผนงานนี้เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การดำเนินงานจะ
สำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับการลงทุนของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ โดยภาคเอกชนจะต้องเชื่อมั่น
ในนโยบายการพัฒนาตามแผนงานจึงจะเกิดการลงทุนของอุตสาหกรรมตามเป้าหมาย ซึ่งเมื่อพิจารณาโครงการ
พัฒนาของภาคเอกชนนี้กับนโยบายของภาครัฐแล้ว แสดงให้เห็นว่าความต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐและ
ข้อจำกัดด้านกฎหมายจะมีส่วนช่วยให้การพัฒนาเมืองใหม่นั้นประสบความสำเร็จและเกิดขึ้นจริงได้เร็วขึ้น
ในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม รวมถึงชุมชน
บริเวณโดยรอบ จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการหาข้อตกลงร่วมกันเพื่อที่จะพัฒนาพื้นที่
และอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน โดยอาจชดเชยแลกเปลี่ยนที่ดินตามความเหมาะสม โครงการขนาดใหญ่ที่ภาครัฐ
ดำเนินการมักมีเจ้าภาพในการดำเนินการอยู่หลายภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานทางด้านสาธารณูปโภค ดังนั้น
จึงจำเป็นที่จะต้องมีแผนแม่บทร่วมกันในการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ รวมถึงกำหนดระยะเวลาในการพัฒนาที่
สอดคล้องกัน เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่ไม่ติดขัดและไม่สิ้นเปลืองงบประมาณจนเกินไป ซึ่งจากบทเรียนใน
การพัฒนาโครงการดังกล่าวพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพทางกายภาพของพื้นที่จังหวัดเป็นวงกว้าง
ขณะเดียวกันสภาพทางสังคมก็มีความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงาน
นอกพื้นที่จำนวนมาก ส่งผลต่อความต้องการพื้นที่พักอาศัยที่อยู่ใกล้กับแหล่งงาน ทำให้เกิดที่อยู่อาศัย ที่
ค่อนข้างแออัดและไม่ถูกสุขลักษณะ ขาดมาตรฐานการอยู่อาศัยที่ดีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแรงงานมีรายได้
ค่อนข้างน้อยไม่สามารถที่จะอยู่อาศัยในที่พักอาศัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ดังนั้น ในการเตรียมความพร้อม
ทางด้านที่อยู่อาศัยหรือสิ่งอำนวยความสะดวกรวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานของแรงงานหรือผู้คนจ ากนอก
พื้นที่ที่จะเข้ามาพักพิงในพื้นที่จึงมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับชุมชนที่อยู่อาศัยเดิมในพื้นที่

2-120
2) โครงการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(1) ความเป็นมาโครงการ
เมืองสุวรรณภูมิเป็นผลสืบเนื่องจากการที่รัฐบาลได้ก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เพื่อให้เ ป็น ศูน ย์กลางการบินในระดับ ภูมิภาค ส่งผลให้พื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิมีความ
เจริญเติบโตขึ้นตามมา จากการขยายตัวของเมืองในทุก ๆ ด้าน ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน
โครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมขนส่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องจึงจำเป็นต้องดำเนินการวางแล ะจัดทำผังเมือง
เฉพาะพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้มีการพัฒนาธุรกิจการค้า การบริการ การท่องเที่ยวและ
อุตสาหกรรมที่เชื่อมต่อกับ ท่าอากาศยานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของพื้นที่ชุมชนและสถาปัตยกรรมพื ้น ถิ่น
เพื่อควบคุมและกำหนดรูปแบบการพัฒนาให้เมืองสุวรรณภูมิเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไปในอนาคต
(2) วัตถุประสงค์โครงการ
(2.1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และประชากร จาก
การพัฒนาโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและพื้นที่บริเวณโดยรอบ
(2.2) เพื่อวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารในอนาคตที่ส่งเสริมการพัฒนาชุมชน
ให้เป็นศูนย์กลางการเดินทาง และสามารถอยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมของเมืองที่เป็นลุ่มน้ำท่วมถึงอย่างยั่งยืน
(2.3) เพื่อวางผังโครงข่ายการคมนาคมและขนส่งสามารถเชื่อมโยงกับการคมนาคม
ทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2.4) เพื่อวางผังระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ โดยมีศูนย์ชุมชนเมือง การ
บริการสังคม สาธารณูปโภค สาธารณูปการที่พอเพียงและมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ประชนชน
(2.5) เพื่อเป็นแนวทางในการวางผังพัฒนาทางด้านกายภาพที่ลงรายละเอียดโครงการ
พัฒนาในแต่ละย่านให้มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
(2.6) เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติก าร (Action Plan) และกรอบการจัดทำงบประมาณ
โครงการพัฒนาที่มีการจัดลำดับความสำคัญและขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบทั้ง
ภาครัฐและเอกชนให้มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง
(3) รูปแบบของชุมชน
โครงการนี้เป็นการวางกรอบการพันาในบริเวณพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
โดยกำหนดจำนวนประชากรตามเป้าหมายในปี พ.ศ. 2578 ประมาณ 1 ล้านคน เพื่อเป็นแนวทางในการ
กำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาเมืองสุวรรณภูมิ โดยมีขอบเขตที่ครอบคลุมชุมชนย่อยทั้งหมด แบ่ง
ออกเป็น 6 ชุมชน ได้แก่
(3.1) แนวทางการพัฒนาชุมชนศูนย์กลางนคร กำหนดเป็น “เมืองศูนย์กลางธุรกิจ
การค้า” มีพื้นที่ประมาณ 34 ตร.กม. รองรับประชากร 300,000 คน
(3.2) แนวทางการพัฒนาชุมชนบางพลีใหญ่ กำหนดเป็น “เมืองวัฒนธรรมและสวน
อุตสาหกรรม” มีพื้นที่ประมาณ 24 ตร.กม. รองรับประชากร 100,000 คน

2-121
(3.3) แนวทางการพัฒนาชุมชนลาดกระบัง -วัดศรีวารีน้อย กำหนดเป็น “เมืองค้นคิด
นวัตกรรมและแปรรูปสินค้าเกษตร” มีพื้นที่ประมาณ 37 ตร.กม. รองรับประชากร 230,000 คน
(3.4) แนวทางการพัฒนาชุมชนจระเข้ใหญ่ กำหนดเป็น “เมืองน้ำ เมืองท่องเที่ยวน้ำ”
มีพื้นที่ประมาณ 18 ตร.กม. รองรับประชากร 70,000 คน
(3.5) แนวทางการพั ฒ นาชุ ม ชนบางปลา-บางเสาธง กำหนดเป็ น “เมื อ งคลอง
อุตสาหกรรม และพิพิธภัณฑ์ทางทะเล” มีพื้นที่ประมาณ 30 ตร.กม. รองรับประชากร 200,000 คน
(3.6) แนวทางการพั ฒ นาชุ ม ชนบางบ่ อ กำหนดเป็ น “เมื อ งธุ ร กิ จ ประตู ส ู ่ ภ าค
ตะวันออก” มีพื้นที่ประมาณ 19 ตร.กม. รองรับประชากร 100,000 คน

(ที่มา : กรมโยธาธิการและผังเมือง , 2547)


รูปที่ 2.4-1 ผังแม่บทโครงการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

2-122
(ที่มา : กรมโยธาธิการและผังเมือง , 2547)
รูปที่ 2.4-2 ทัศนียภาพการพัฒนาตามผังแม่บทโครงการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่บริเวณโดยรอบ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(4)
ขั้นตอนในการพัฒนาและระยะเวลาในการดำเนินงาน
ในแผนระยะเวลาของการพัฒ นานั้น กำหนดช่ว งระยะเวลาในการพัฒ นาไว้ 30 ปี
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2578 โดยแบ่งระยะเวลาการออกเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 10 ปี ดังนี้
(4.1) ระยะการพั ฒ นาที ่ 1 เป็ น การพั ฒ นาโครงการด้ า นการคมนาคมขนส่ ง ใน
ระยะแรก เป็นการพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายถนนสายหลักเดิม / เสนอแนะใหม่ / สายหลักที่เชื่อมโยง
ระหว่างชุมชน โครงการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ฯลฯ
(4.2) ระยะการพัฒนาที่ 2 เป็นการพัฒนาโครงการด้านการคมนาคมขนส่งในระยะ
กลาง เป็นการพัฒนาโครงข่ายถนนสายรองภายในชุมชนเป้าหมาย และโครงการวางผังสวนสาธารณะและพื้นที่
เปิดโล่ง
(4.3) ระยะการพัฒนาที่ 3 เป็นการพัฒนาโครงการด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อเพิ่ม
ศักยภาพและแก้ปัญหาในการรองรับปริมาณการจราจรในบริเวณพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(5) มาตรการด้านภาษีและการเงิน
แหล่งเงินทุนด้านภาษีที่นำมากระตุ้น ชักจูง และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าร่ว มการ
พัฒนาอย่างจริงจัง ได้แก่
(5.1) มาตรการด้านภาษี เช่น การลดหย่อนภาษีให้กับภาคเอกชนที่ร่วมดำเนินการ
พัฒนา การประเมินภาษีให้มีความยุติธรรม หรือลดหย่อนจากความเป็นจริงให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์
ที่ดินในแต่ละย่าน การเพิ่มมาตรการด้านภาษี หรือเพิ่มภาษีที่ดินแก่เจ้าของที่ดินที่ได้รับประโยชน์ เพื่อนำภาษี
ส่วนเพิ่มนี้มาช่วยในการบำรุงรักษาต่อไป
(5.2) มาตรการด้านการเงิน รัฐสมควรเป็นผู้สนับสนุนเงินกู้หรือช่วยจัดหาแหล่งเงินกู้
แก่เอกชนผู้ลงทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ การชำระหนี้ระยะยาว หรือมีระยะเวลาปลอดหนี้เป็นช่วง ๆ

2-123
(6) บทสรุป
แผนงานนี้เป็นแผนงานขนาดใหญ่ที่ต้องการความร่วมมือจากทางภาครัฐและเอกชน
เพื่อให้เกิดการลงทุนเพื่อช่วยผลักดันให้โครงการดังกล่าวมีความเป็นไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากพื้นที่
บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองในทุก ๆ ด้านอย่าง
รวดเร็ว การพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้เป็นเมืองใหม่ที่สามารถรองรับประชากรได้ถึง 1 ล้านคน จึงต้องการพึ่งพา
ภาคเอกชนให้เข้ามาดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ภาครัฐจึงจำเป็นที่จะต้องอำนวยความสะดวก รวมถึงมีส่วนร่วม
ในการตั้งรับและแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ร่วมกับภาคเอกชน โดยปัจจุบัน บริเวณพื้นที่โดยรอบสุวรรณ
ภูมิมีการพัฒนาในเรื่องการคมนาคมและขนส่งให้มีการเชื่อมโยงกับการคมนาคมทางอากาศได้สะดวกยิ่งขึ้น
รวมถึงการพัฒนาโครงการอื่น ๆ ตามแผนงานเพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานและข้อจำกัด
ในการเป็นแนวรับน้ำหลากจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาตามกำหนดระยะเวลาพัฒนาแผนงาน 30 ปี
3) โครงการสํารวจออกแบบและจัดทำรายละเอียดเบื้องต้นการพัฒนาเมืองใหม่ รอบสนามบิน
อู่ตะเภาพร้อมการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและคัดเลือกเอกชน เข้าร่วมลงทุนในพื้นที่เมืองใหม่นํา
ร่องของมหานครการบินภาคตะวันออก
(1) ความเป็นมาของโครงการ
นโยบายสำคัญของรัฐบาลนโยบายหนึ่งคือการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(Eastern Economic Corridor: EEC) เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างสมบูรณ์แบบ โดยใน
แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาค
ตะวันออก ("กพอ.") ได้ให้ความ เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 2/2561 วันที่ 10 สิงหาคม 2561 ได้กําหนดให้มี
โครงการโครงสร้างพื้นฐานทั้งในส่วน ของภาครัฐและการร่วมลงทุนของภาครัฐและเอกชน ได้แก่ การพัฒนา
สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา การพัฒนาท่าเรือ แหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด โครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟ
ทางคู่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เขตส่งเสริม อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษและเขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษ
การส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve Targeted industries) และการพัฒนาเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
รองรับประชาชนที่จะเข้ามาอยู่ในพื้นที่ตามการ ขยายตัวของเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นแผนงาน
โครงการสำคัญ
มติคณะ กพอ. ครั้ งที่ 1/2560 วันที่ 5 เมษายน 2560 ให้สำนักงานเพื่อการพัฒ นา
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (สกรศ. หรือปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา
พิเศษภาคตะวันออก ("สกพอ.") ศึกษารูปแบบการพัฒนาของเขตเศรษฐกิจอากาศยานนครเจิ้งโจว ซึ่งเป็น
ต้นแบบของเขตเศรษฐกิจพิเ ศษที่ประยุกต์ การเชื่อมต่อการขนส่งทางอากาศเข้ากับการขนส่งรูปแบบอื่น และ
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาพื้นที่โดยรอบ สนามบินอู่ตะเภาให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด
สกพอ. จึงได้ศึกษาและจัดทำแผนงานเชิงกลยุทธ์การพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก
(Strategic Roadmap for the EEC Aerotropolis) เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการพัฒนาธุรกิจศูนย์กลาง
การบินของสนามบิน นานาชาติอู่ตะเภา เมืองอากาศยาน และเมืองการบินภาคตะวันออก รวมถึงได้ศึกษา

2-124
แนวทางพัฒนาและออกแบบ เชิงหลักการในการพัฒนาเมืองใหม่รอบสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ท่าเรือแหลม
ฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือ สัตหีบ ประโยชน์ที่ดิน แนวคิดการวางแผนผังโครงสร้างพื้นฐานและระบบ
สาธารณูปโภค รอบสนามบิน อู่ตะเภาและเมืองรอบสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้ สกพอ. และกรมโยธาธิการและ
ผังเมือง นําไปใช้ประกอบการจัดทำแผนผังที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 29 และ 30 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนา
พิเศษภาคตะวัน ออก ("พ.ร.บ. เขตพัฒนา พิเ ศษภาคตะวัน ออก") นอกจากนั้นผลการศึกษาพบว่าต้ อ ง
ดำเนินการเพื่อชักชวนนักลงทุนด้านเมืองการบินควบคู่ไปด้วย จึงจะทราบข้อมูลความต้องการของนักลงทุนซึ่ง
เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงมากขึ้น รวมถึงการพัฒนา ของเมืองการบินภาคตะวันออกจะทำ
ให้เกิดการขยายตัวของประชากร และพื้นที่เมืองเพิ่มขึ้น ขอบเขตเชิงพื้นที่ของ มหานครการบินภาคตะวันออก
(EEC Aerotropolis) ในรัศมี 30 กม.
(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื ่ อ จั ด ทำแผนแม่ บ ทมหานครการบิ น ภาคตะวั น ออกแบบบู ร ณาการ
(Comprehensive Plan for the Middle EEC Aerotropolis) ภายในพื้นที่รัศมี 30 กม. และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง
โดยรอบสนามบินอู่ตะเภา และออกแบบ เบื้องต้น (Preliminary Design) ในพื้นที่เป้าหมาย
2) เพื่อกำหนดพื้นที่นําร่องสำหรับการพัฒนามหานครการบินภาคตะวันออกที่
เหมาะสมและศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) พร้อมทั้งเสนอแนะโครงการขับเคลื่อน
เร่งด่วน (Flagship Projects) แผนการ ดำเนินงาน และรูปแบบการลงทุนของพื้นที่นําร่อง
3) เพื่อให้เกิดการลงทุนจากนักลงทุนเป้าหมายในมหานครการบินภาคตะวันออก
4) เพื่อศึกษาและเสนอแนะรูปแบบการบริหารจัดการและโครงสร้างขององค์กร
บริหารและขับเคลื่อน มหานครการบินภาคตะวันออกให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน
5) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ สกพอ. ในการพัฒนาพื้นที่นำร่องของโครงการ
พัฒนามหานครการบินภาคตะวันออกให้สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
(3) เป้าหมายของโครงการ
1) มีการจัดทำแผนแม่บทมหานครการบินภาคตะวันออก (ภายในระยะรัศมี30กม.)
แบบบูรณาการ รายงานการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่น ำร่อง และแผนปฏิบัติการการพัฒนาภายในพื้นที่
มหานครการบินภาค ตะวันออกในพื้นที่รัศมี 30 กม. และพื้นที่เกี่ยวเนื่องรอบสนามบินอู่ตะเภา เพื่อเป็นแนว
ทางการขับเคลื่อนการพัฒนามหานครการบินภาคตะวันออกครอบคลุมพื้นที่สามจังหวัด ได้แก่ ระยอง ชลบุรี
และฉะเชิงเทรา ที่สอดคล้องกับ ความต้องการของนักลงทุนและภาคเอกชน
2) เกิดการลงทุนจริงจากนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายชั้นนำระดับโลกในพื้นที่นำร่องของ
มหานครการบินภาค ตะวันออก เพื่อยกระดับให้ภาคตะวันออกของประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางมหา
นครการบินของภูมิภาค และรองรับ การเติบโตของ EEC ในอีก 20 ปีข้างหน้า รวมถึงสามารถดึงดูดการลงทุน
ของภาคเอกชน เพื่อรองรับการเติบโตที่สามารถ แข่งขันได้อย่างยั่งยืน

2-125
3) เกิดการจัดตั้งสถาบันมหานครการบินของประเทศไทย (Thailand Aerotropolis
Institute : ThAI) ที่เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนและบริหารจัดการการพัฒนามหานครการบินภาคตะวันออก
ของ EEC แบบบูรณาการ ที่มีความเหมาะสมด้านการเงิน ประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืน
(4) รายละเอียดโครงการ
โครงการพัฒนาได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาเมืองมหานครการบินภาคตะวันออก
และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะฯ ที่มีอัตลักษณ์ไทยและพัฒนาแบบยั่งยืน ประกอบด้วย 5 ศูนย์กิจกรรมหลัก
1) ศูนย์ธุรกิจนวัตกรรมและสร้างสรรค์ (Innovative Business Center (IBC))
2) ศูน ย์การเงิน นานาชาติและย่านธุรกิจใจกลางเมือง (ASEAN International
Financial Center (AIFC))
3) ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและกีฬา (Wellness and Sport Center (WSC))
4) ศูนย์ธุรกิจเศรษฐกิจเน้นคุณค่า (High Valued Economy Business Center (HEC)
5) ศูนย์รวมสินค้าไทยมูลค่าสูงและศูนย์โลจิสติกส์ระดับภูมิภาค (Valued Thai
Products and Regional Logistics Hub (VLH))
การศึกษาออกแบบกรอบรายละเอียดและการจัดทำข้ อ กำหนดการออกแบบของ
โครงการ ขับเคลื่อนเร่งด่วน และเตรียมความพร้อมในด้านเอกสารสำหรับการดำเนินการศึกษาแนวทางการร่วม
ลงทุนกับ เอกชนในอนาคตและเอกสารการจัดตั้งเขตส่งเสริมกิจการพิเศษเพื่อให้ สกพอ. ออกประกาศและเชิญ
ชวนเอกชนที่มี ศักยภาพมาร่วมลงทุน ตลอดจนเสนอโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของเมืองใหม่ที่อยู่ใน
พื้นที่นอกเมืองให้ สกพอ. นําไปประสานให้หน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบดำเนินการศึกษา ออกแบบ และ
ก่อสร้าง แต่ด้วยข้อจำกัด ในด้านความพร้อมของที่ดินเพื่อนำมาพัฒนา ทำให้จำเป็นต้องกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่
สามารถนำมาพัฒนาได้ทันที โดยการเข้าใช้ที่ดินของ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อการ
พัฒนา “โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ” (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม
2565) เพื่อเป็น โครงการขับ เคลื่ อนเร่ งด่ว น ครอบคลุมพื้นที่ 14,990 ไร่ เป็นพื้นที่กลุ่มศู นย์ การเงิน ซึ่ง
ประกอบด้วย ศูนย์การเงินฯ ศูนย์ราชการ ศูนย์ประชุมและแหล่งบันเทิง และชุมชนอยู่อาศัย พื้นที่รวม 3,020
ไร่ ย่านศูนย์สุขภาพที่ พัฒนาก่อน พื้นที่ 665 ไร่ ย่านศูนย์ความรู้นานาชาติ พื้นที่ 245 ไร่ และศูนย์ธุรกิจเฉพาะ
ด้าน พื้นที่ 778 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่รวม 5,095 ไร่

2-126
(ที่มา : สกพอ. ,2564)
รูปที่ 2.4-3 ผังการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โครงการขับเคลื่อนเร่งด่วน

(ที่มา : สกพอ. ,2564)


รูปที่ 2.4-4 การออกแบบเชิงพื้นที่ในพื้นที่โครงการขับเคลื่อนเร่งด่วน

2-127
โดยการดำเนินงานในครั้งนี้ได้มีกระบวนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ของ
พื้นที่นําร่องเป็นการประเมินผลกระทบ การเปลี่ยนแปลงและ ประเมินศักยภาพและขีดจำกัดการรองรับตาม
ระยะการพัฒนาของโครงการของมิติต่างๆ ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม มิติ เศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติเทคโนโลยี ซึ่ง
มีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนและเป็นเมือง อัจฉริยะ โดยกำหนดขอบเขตการศึกษา
ตามแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) ของ
พื้นที่นำร่องซึ่งเป็นการประเมินผลกระทบการเปลี่ยนแปลงตามระยะ การพัฒนาโครงการ เพื่อเป็นข้อมูลให้ทราบ
ถึงความสามารถในการรองรับการพัฒนาของพื้นที่นำร่องในมิติต่างๆ จาก การพัฒนาโครงการ สรุปได้ดังนี้
1) มิติสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาโครงการที่มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
ทั้งโครงข่ายถนน ระบบขนส่งสาธารณะ อาคารจอดและจร ศูนย์ซ่อมบำรุง ศูนย์ เปลี่ยนถ่ายการขนส่ง รวมทั้ง
การก่อสร้างอาคาร สำนักงาน ที่พักอาศัย และโรงแรม จะเกิดผลกระทบสำคัญในด้านการเปลี่ยนแปลงการใช้
ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่ การเกษตรเป็นพื้นที่พัฒนาเมืองและระบบบริการสาธารณะ เช่น การฟุ้งกระจายของ
ฝุ่นละอองจากการขนส่งวัสดุ ก่อสร้างมายังพื้นที่ ผลกระทบต่อคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำและปัญหาจัดการน้ำ
เสียและขยะมูลฝอยที่เกิดจากการ ก่อสร้างโครงการ และเมื่อการพัฒนาศูนย์กลางกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่แล้ว
เสร็จ อาจมีผลกระทบจากกลุ่มคนต่างๆ และ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ซึ่งจะมีการใช้ระบบสาธารณูปโภค
ต่างๆ ของโครงการ เช่น ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดขยะมูลฝอย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากทางโครงการได้จัดเตรียมระบบสาธารณูปโภค ระบบบริการสาธารณะ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการ
ที่เพียงพอ ดังนั้นจะสามารถรองรับการพัฒนาเมืองใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อชุมชนใกล้เคียง
2) มิติเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจของการพัฒนาเมืองใหม่ฯ พบว่า
ในช่วง 10 ปีของการลงทุน สร้างเมือง จะก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจในเชิงบวกเป็นมูลค่า 438,808 ล้าน
บาท ในระบบเศรษฐกิจ และ เมื่อวิเคราะห์โดยอาศัยแบบจำลองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบพลวัตที่
อาศัยสัมประสิทธิ์อ้างอิงจากเมือง อัจฉริยะของสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า นวัตกรรมและการสะสมของ
ทุนมนุษย์ที่เริ่มเข้ามาในเมืองตั้งแต่ปีที่ 3 จะก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจในเชิงบวกถึงปีที่ 20 รวมมูลค่า
3.326 ล้านล้านบาท
3) มิติสังคม ในการดำเนินโครงการช่วงแรกที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
จะเป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน อย่างไรก็ตามการเตรียมพร้อมพื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต
และอาชีพดั้งเดิมของคนในชุมชน และยังมีความเสี่ยงด้านการยอมรับโครงการของประชาชนทั่วไปที่ไม่มีส่วน
ได้รับประโยชน์ทางตรงจากโครงการ เช่น กลุ่มประชาสังคม NGOs และนักการเมืองทั้งในระดับพื้นที่และ
ระดับชาติ เป็นต้น นอกจากนี้การ ก่อสร้างองค์ประกอบต่างๆ และการดำเนินโครงการ จะส่งผลให้มีจำนวน
ประชากรแฝงเพิ่มขึ้นทั้งจากการเข้ามา ทำงานก่อสร้าง และประกอบธุรกิจ ทำให้เ กิดการแย่งใช้ทรัพยากรต่าง
ๆ รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคจากประชากร ต่างถิ่น และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้าง ความไม่สะดวก
ในการได้รับบริการสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ในบางช่วงเวลาที่มีการก่อสร้าง การพัฒนาจะส่งผลให้เกิด
การยอมรับของนักธุรกิจ นักลงทุน และผู้อยู่ อาศัยมากขึ้น จากการพัฒนาของกิจกรรมต่างๆ จะมีสถานศึกษา/
ฝึ ก ทั ก ษะอาชี พ เข้ า มาตั ้ ง ในพื ้ น ที ่ เ พื ่ อ ผลิ ต กํ า ลั ง แรงงานรองรั บ ความต้ อ งการกํ า ลั ง แรงงานของสถาน
ประกอบการในพื้นที่

2-128
4) มิติเทคโนโลยี ในการพัฒนาพื้นที่นําร่องเนื้อที่ 14,990 ไร่ มีการออกแบบผัง
เมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาเมือง โดยเน้นใช้
อุตสาหกรรมสีเขียวเชิงนิเวศ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมี
ข้อเสนอแนะสำหรับโครงการที่จำเป็นต้องเตรี ยมความพร้อมสำหรับการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1)
การจั ด เตรี ย มแผนการศึ ก ษาและจั ด ทำรายงานการประเมิ น ผลกระทบสิ ่ ง แวดล้ อ ม ( EIA) , (2) การ
ประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงาน ,(3) การจัดการระบบสาธารณูปโภคของโครงการ
และ (4) การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(5) บทสรุปการพัฒนา
การได้มาซึ่งที่ดินในการพัฒนาโครงการประเภทเมืองใหม่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ
จึงได้มีการขอเข้าใช้ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อการพัฒนา “โครงการศูนย์ธุรกิจ
EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ” (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565) เพื่อเป็นพื้นที่นำร่อง
และสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ที่จะส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน อย่างไรก็ตามนอกจากการได้มา
ซึ่งที่ดินแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ในอนาคต โดยเฉพาะการแปลงแผนและผังสู่การปฏิบัติ
ของงานด้านต่างๆ ที่ได้จากการศึกษา ที่จะส่งมอบให้ สกพอ. เพื่อที่จะนำไป ดำเนินการต่อได้อย่างเป็นรูปธรรม
และบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ประกอบด้วย
1) กรอบการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่และเมืองแบบบูรณาการ
2) แผนพัฒนาเชิงพื้นที่มหานครการบินภาคตะวันออก (รัศมี 30 กม.)
3) แผนองค์กรสำหรับการพัฒนาบริหารและจัดการเมือง
4) แผนธุรกิจและมาตรการส่งเสริมการลงทุน
5) แผนการลงทุนและแผนการเงิน
6) แผนด้านกฎหมายและข้อระเบียบต่างๆ
7) แผนด้านสิ่งแวดล้อม
8) แผนความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ
9) กรอบโครงสร้างการบริหารจัดการเมืองดิจิทัลและระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์ (GIS)
10) กรอบโครงสร้างระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนา บริหาร และจัด
การเมือง
11) ข้อเสนอการแปลงแผนและผังสู่การปฏิบัติในการพัฒนาแต่ละพื้นที่ประกอบด้วย
แผนแม่บทของการพัฒนาพื้นที่มหานครการบินภาคตะวันออก (รัศมี 30 กม.) แบบบูรณาการ , แผนแม่บทของ
การพัฒนาเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะในพื้นที่เป้าหมาย , แผนปฏิบัติการของการพัฒนาพื้นที่นําร่องในเมืองใหม่น่า
อยู่อัจฉริยะ และแผนปฏิบัติการของการพัฒนาพื้นที่โครงการขับเคลื่อนเร่งด่วนในพื้นที่นําร่อง

2-129
4) โครงการเมืองใหม่นครนายก
(1) ความเป็นมาของโครงการ
จังหวัดนครนายก ได้รับการพิจารณาเป็นเมืองหลวงใหม่ของประเทศไทย รวมทั้งยังมี
โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช -นครนายก-สระบุรี ซึ่งตามแผนงานจะเริ่มการก่อสร้างในปี 2567 และเปิดใช้
งานในปี 2569 (ดำเนินการโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย) และยังมีโครงการถนนวงแหวนกรุงเทพ รอบที่
3 ซึ่งจะตัดผ่านถนนรามอินทรา ไปถึงถนนรังสิต-นครนายก บริเวณคลอง 11
นโยบายให้ก่อสร้างเมืองใหม่บริเวณตอนเหนือของอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
และทางตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี มีเป้าหมายประชากรในเบื้องต้น จำนวน 2.0
- 2.5 แสนคน และมีพื้นที่โครงการในเบื้องต้นประมาณ 1.5 - 1.6 แสนไร่ เป็นเมืองที่ทันสมัย มีสภาพแวดล้อม
ที่ดี ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในกิจกรรมต่างๆของเมือง ทั้งพาณิชยกรรม การศึกษา สุขอนามัย อุตสาหกรรมสะอาด
การคมนาคมและขนส่งขนาดใหญ่ที่มีความเร็วสูง เป็นต้น และจะพัฒนาให้เป็นเมืองต้นแบบ ในการลดภาระ
ของกรุงเทพมหานคร ในการพัฒนาเมืองใหม่นครนายกดังกล่าว ปัจจัยที่สำคัญด้านหนึ่งก็คือ การสาธารณูปโภค
และสาธารณูปการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ทั้งด้านอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และท่องเที่ยว
ของเมืองใหม่ และด้านการเกษตรของชุมชนและราษฎรที่อาศัยอยู่ ในพื้นที่ดั้งเดิม จากการทบทวนเบื้องต้น
เมืองใหม่นครนายกต้องการน้ำประมาณ 100 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี และหากพัฒนาเต็มที่อาจจำเป็นต้องใช้น้ำถึง
150 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี นอกจากนั้นในบริเวณพื้นที่โครงการ ปัจจุบันมีความต้องการใช้น้ำทั้งด้านอุปโภคบริโภค
และด้านการเกษตรของชุมชนเดิมอยู่แล้ว จึงนับว่าการพัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของเมือง
ใหม่ และการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ ในปัจจุบันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณา และอาจเป็นข้อจำกัด
ด้านหนึ่งของการพัฒนาเมืองใหม่นครนายกในอนาคตได้
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานศึกษาและอนุรักษ์แม่น้ำ
เจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับแหล่งน้ำที่จะ
นำมาใช้ในโครงการเมืองใหม่ จังหวัดนครนายก ซึ่งจะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ สอดคล้อง และพัฒนา
แหล่งเก็บกักน้ำและกระจายน้ำควบคู่ไปกั บการพัฒนาเมืองใหม่ในด้านต่างๆ จึงได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับ
เรื่องดังกล่าว เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะความเป็นไปได้ในการจัดหาพัฒนาแหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ใน
เมืองใหม่นครนายก ตลอดจนความคิดเห็นทั่วไปในประเด็นนโยบาย เป้าหมาย แผนงาน แผนงบประมาณ ของ
โครงการเมืองใหม่ จังหวัดนครนายก รวมทั้งความก้าวหน้าที่ทางภาครัฐได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อนำเสนอสภาที่
ปรึกษาฯ และคณะรัฐมนตรีต่อไป
(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ
ระดับประเทศไทย
• เป็นการส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ระดับประเทศ
• สร้างบทบาทของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน
• สร้างความเจริญและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ
• ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

2-130
• มีศูนย์ช่วยพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจและส่งเสริมการเปิดตลาดการค้ากับ
ต่างประเทศ
• มีองค์ความรู้และการเผยแพร่วิธีการดำเนินเศรษฐกิจและรูปแบบการลงทุนสมัยใหม่
• ช่วยพัฒนาวงการอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงสำหรับประเทศไทย
• มีสถาบันการศึกษาที่ได้มาตรฐานระดับสากล
ระดับโครงการ
• มีฐานเศรษฐกิจใหม่เกิดขึ้นในพื้นที่ ช่วยสร้างงานและยกระดับรายได้ของประชาชน
• สาธารณูปโภคและสาธารณูปการได้รับการพัฒนาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
• การคมนาคมเข้าออกพื้นที่สะดวกขึ้น
• ประชาชนได้ อ ยู ่ อ าศั ย ในเมื อ งที ่ น ่ า อยู ่ สะดวกสบาย มี ส ภาพแวดล้ อ มที ่ ดี
มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตระดับสูง
• ประชาชนได้รับโอกาสในการพั ฒนาศักยภาพให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพและ
เทคโนโลยีขั้นสูง
(3) เป้าหมายของโครงการ
เป้าหมายในการพัฒนาเมืองใหม่นครนายก คือ มีประชากรเป้าหมายจำนวน 2 – 2.5
แสนคน ประชาชนมี ค ุ ณ ภาพชี ว ิ ต ที ่ ด ี เ ป็ น เมื อ งทั น สมั ย มี ส ิ ่ ง อำนวยความสะดวก สวนสาธารณะ และ
สาธารณูปการที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในโครงการเป็นอย่างดี มีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและ
ทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัยใกล้กับแหล่งงาน สภาพแวดล้อมดี ปลอดมลพิษ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในกิจกรรมเมืองด้าน
ต่างๆ อาทิ ธุรกิจและพาณิชยกรรม การศึกษา สุขอนามัย อุตสาหกรรม สะอาด มีระบบการสื่อสารทันสมัยและ
ระบบคมนาคมขนส่งมวลชน สะดวก รวดเร็ว ประชาชนสามารถเข้าถึงสาธารณูปการต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้
ด้วยการเดินเท้าหรือ จักรยานและระบบขนส่งมวลชนเป็นหลัก มีบรรยากาศแบบสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย
มิติด้านเศรษฐกิจของเมืองใหม่ มุ่งพัฒนาภาคธุรกิจ การค้า และอุตสาหกรรมต้นแบบที่
ใช้ความรู้ความชำนาญทางวิชาชีพและเทคโนโลยีระดับสูง รับบทบาทเป็นศูนย์กลางพัฒนาผลิตภัณฑ์และ
เชื่อมโยงตลาด ผู้ซื้อ กับผู้ผลิต มุ่งเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจไทยในระดับภูมิภาคเอเชียและ
ระดับโลก ซึ่งจะเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่เข้มแข็งให้กับประเทศอีกแหล่งหนึ่งตำแหน่งที่ตั้งเมืองใหม่ เป็นจุด
ยุทธศาสตร์ที่เชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ในภาคกลาง และภาคตะวันออกได้เป็นอย่างดี อีกทั้งพื้นที่เอง
มีสภาพภูมิประเทศที่โอบล้อมด้วยภูเขาและอากาศดี จึงมี ศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวใน
ภูมิภาคนี้เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยพัฒนาให้เป็นแหล่งโรงแรมที่พักตากอากาศชั้นดี มีบริการนำเที่ยวระยะสั้น
ภายใน 1 วัน ไปยังจุดท่องเที่ยวต่างๆ โดยรอบซึ่งนักท่องเที่ยวจะกลับมาพักค้างคืนและใช้บริการเพื่อการ
พักผ่อนในโครงการเมืองใหม่ ในขณะเดียวกั นสามารถสร้างให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านการโรงแรม การ
อาหาร และการท่องเที่ยว ระดับประเทศและ ระดับภูมิภาคเอเชีย

2-131
นอกจากนี้ โครงการยังมีศักยภาพในการพัฒนาบทบาทให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา
ระดับสูงของภูมิภาคเอเชีย โดยมุ่งพัฒนาให้มีมาตรฐานการศึกษาระดับนานาชาติ สามารถดึงดูดนักศึกษาและ
นักวิจัยจากต่างประเทศ มีการแลกเปลี่ยนด้านวิทยาการ และสร้างรายได้ให้ประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลาง
การวิจัยที่เข้มแข็ง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของ
ประเทศไทยให้มีมาตรฐานสูงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล อีกทั้งมีบริการทางการศึกษาอย่างเพียงพอและ ทั่วถึง
สำหรับประชากรทุกวัยในโครงการ ตั้งแต่วัยอนุบาล จนถึงระดับผู้ที่ประกอบอาชีพแล้วแต่มีความประสงค์จะ
พัฒนาความรู้และทักษะเพิ่มเติมด้านต่างๆ
(4) รายละเอียดโครงการ
ที ่ ตั้ ง โครงการเมื อ งใหม่ นครนายก มี ร ะยะทางประมาณ 93 กิ โ ลเมตรจาก
กรุงเทพมหานคร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยมีถนนทางเข้าหลักจากกรุงเทพมหานคร2
เส้นทางคือถนนสายรังสิต -นครนายก และถนนพหลโยธินเลี้ยวขวาเข้าถนนสุวรรณศรมีทางรถไฟ 2 สาย คือ
สายท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ไปชุมทางแก่งคอยสระบุรี และ สายกรุงเทพฯ-คลอง 19-อรัญประเทศ-สระแก้วซึ่ง
ในระยะต่อไปจะมีการก่อสร้างเชื่อมโยงกับแก่งคอยและนครราชสีมามีรถไฟรางคู่ เชื่อมโยงสนามบินสุวรรณภูมิ
กับเมืองใหม่ และรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครนายก และ เชื่อมโยงกับสนามบินสุวรรณภูมิ โดยขอบเขต
พื้นที่โครงการ 17 ตำบล 4 อำเภอ และ 2 จังหวัด ได้แก่
• จังหวัดนครนายก อำเภอบ้านนา ตำบลเขาเพิ่ม ตำบลศรีกะอาง ตำบลบ้านพริก
ตำบลป่าขะ ตำบลบ้านนา ตำบลบ้านพร้าว ตำบลพิกุลออก
• จังหวัดสระบุรี อำเภอแก่งคอย ตำบลชำผักแพว ตำบลท่ามะปราง ตำบลชะอม
ตำบลห้วยแห้ง , อำเภอมวกเหล็ก ตำบลมิตรภาพ , อำเภอวิหารแดง ตำบลเจริญธรรม ตำบลคลองเรือ ตำบล
บ้านลำ ตำบลหนองสรวง ตำบลวิหารแดง

ที่มา : http://nakhonnayok.go.th/yota/data/plan.html
รูปที่ 2.4-5 ที่ตั้งโครงการเมืองใหม่ นครนายก

2-132
ในแผนการของรัฐบาลมีนโยบายเบื้องต้นโดยการจัดตั้ง “บรรษัทพัฒนาเมือง” มา
ดำเนินโครงการเมืองใหม่ให้เป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นรูปแบบองค์กร รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือองค์กร
พิเศษ เหมือนกับ บสท.โดยมีอำนาจในการซื้อที่ดิน เวนคืน รวบรวมที่ดิน จัดรูปที่ดิน ร่วมทุนกับภาคเอกชน
ออกพันธบัตร กู้ยืมทุน ฯลฯ ส่วนการได้มาซึ่งที่ดินจะมีรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การจัดซื้อ การเวนคืน การสมัครใจ
เข้าร่วมโครงการเมืองใหม่ การแลกเปลี่ยนที่ดิน การจัดรูปที่ดิน ที่ดินของรัฐ (ที่ทหาร ที่ราชพัสดุ สปก.ที่สา
ธารณสมบัติของแผ่นดิน) เป็นต้นโดยมีแผนงานโครงการเมืองใหม่ นครนายก
• แผนงานโครงการพัฒนาเมืองใหม่ นครนายก
1) ปีงบประมาณ 2547-2549 จัดทำผังแม่บทและแบบรายละเอียด
2) ปีงบประมาณ 2548-2551 ขั้นตอนการเวนคืนที่ดินเพื่อเตรียมพัฒนาพื้นที
3) ปีงบประมาณ 2550-2554 ขั้นตอนการจัดทำรายละเอียดแบบก่อสร้างอาคาร
4) ปีงบประมาณ 2549-2554 ขั้นตอนการก่อสร้าง (ระยะที่ 1)
• แผนงานผังเมื องรวม อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และอำเภอวิห ารแดง
จังหวัดสระบุรี
1) ปีงบประมาณ 2547 ขั้นตอนการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำผังร่าง
2) ปีงบประมาณ 2548 ขั้นตอนกฎหมาย เพื่อออกกฎกระทรวงผังเมืองรวม
ทั้ง 2 แห่ง

(ที่มา : http://nakhonnayok.go.th/yota/data/plan.html

รูปที่ 2.4-6 ตารางแผนงานโครงการเมืองใหม่ นครนายก

2-133
(5) บทสรุปการพัฒนา
การลงทุนในโครงการเมืองใหม่นครนายกจะเกิดประโยชน์ต่อในระดับประเทศเนื่องจาก
เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะสามารถสร้างบทบาทของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
อาเซียน และในมุมมองด้านเศรษฐกิจทั้งในพื้นที่และระดับภูมมิภาคจะขยายตัวมากขึ้นจากการเป็นพื้นที่ที่ดึงดูด
นักลงทุนทั้งในไทยและต่างประเทศจากการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพ นอกจากนี้จะเกิดศูนย์
ช่วยพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจและส่งเสริมการเปิดตลาดการค้ากับต่างประเทศทำให้โอกาสในการแข่งขัน
ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศมีสูงขึ้น
การลงทุนโครงการเมืองใหม่นครนายกไม่เพียงแต่มอบประโยชน์ในระดับประเทศแต่ใน
ระดับชุมชนในพื้นที่โครงการเมืองใหม่นครนายกจะมีฐานเศรษฐกิจใหม่ในพื้นที่ เพิ่มแหล่งงานและยกระดับ
รายได้ของประชาชน นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งจากเศรษฐกิจที่เติบโตและจากโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนา
สามารถเชื่อมต่อการเข้าถึงในพื้นที่ต่างๆได้สะดวกมายิ่งขึ้น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จะมีสภาพแวดล้อมที่ดี
มีมาตรฐาน และประชาชนยังมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพให้มีประสิทธิภาพและมีความเชี่ยวชาญพร้อมรับ
การเปลี่ยนแปลงสู่โลกเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นทุกวัน
อย่างไรก็ตามโครงการเมืองใหม่นครนายก ก็ไม่ได้รับการนำนโยบายและแผนงานไปสู่
การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากมี กระแสต่อต้านจาก ภาคประชาชน และภาควิชาการ ที่เชื่อมโยงไปถึง
ความมั่นคงระหว่างประเทศ ที่ถูกมองว่าพื้นที่ดังกล่าว อยู่ไม่ไกลจากประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับ ความไม่
ต่อเนื่องของนโยบายในกรณีที่มีการเปลี่ยน รัฐบาล ทำให้นโยบายแผนงานและโครงการขาดความต่อเนื่อง และ
ไม่ได้ถูกนำมาสู่การปฏิบัติ อย่างแท้จริง
5) โครงการศูนย์ราชการและเมืองใหม่ ท่าตะเกียบ
(1) ความเป็นมาของโครงการ
คณะรัฐมนตรีได้มีการประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 253 ลงมติว่า ให้เห็นชอบ
เลือกสถานที่ที่บริเวณอำเภอท่าตะเกียบ และบางส่วนของอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสถานที่
ทำโครงการศูนย์ราชการและเมืองใหม่ และให้กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักผังเมือง (กรมโยธาธิการและผัง
เมือง ในปัจจุบัน) รับผิดชอบในการดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำการศึกษาขั้นตอนรายละเอียด ประเภท
หน่วยงานราชการที่จะย้ายไป และศึกษารายละเอียดด้านผังแม่บทการใช้ที่ดิน และระบบคมนาคม ตลอดจน
รูปแบบ วิธีการมาตรการด้านการจัดการ การบริหาร และการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในโครงการศูนย์
ราชการและเมืองใหม่ และให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการดำเนินการ
ของสำนักผังเมือง ให้หน่วยราชการในกรุงเทพมหานคร ที่มีโครงการย้ายสถานที่ทำงาน ชะลอการก่อสร้างหรือ
ย้าย จนกว่าผลการพิจารณาและศึกษาของกระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการ จัดระบบสถานที่ราชการจะ
แล้วเสร็จ โดยโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่ไม่ใช่การย้ายเมืองหลวง แต่เป็นการย้ายหน่วยราชการเพียง
บางส่วน เท่านั้น
โดยพื้นที่บริเวณที่จะดำเนินการจัดตั้งศูนย์ราชการและเมืองใหม่ เป็นบริเวณที่ประกาศ
เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอพนมสารคาม และอำเภอ
สนามชัยเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.2520

2-134
รูปที่ 2.4-7 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอพนมสารคาม และอำเภอสนามชัยเขต
จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.2520
ต่อมา (ปี 2550) คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม
2536 เรื่องโครงการศูนย์ราชการและเมืองใหม่ อำเภอท่าตะเกียบและอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์
ต่อเกษตรกรต่อไปกระทรวงมหาดไทยขอยืนยันการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 โดย
รายงานว่า (ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550)
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขอให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการขอ
ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 เพื่อให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถนำที่ดินในเขต
ปฏิรูปที่ดินป่าสงวนแห่งชาติป่าแควระบมสียัด อำเภอท่าตะเกียบและอำเภอสนามชัยเขต ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่
กำหนดให้เป็นศูนย์ราชการและเมืองใหม่ มาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับ
เกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินดังกล่าว ซึ่งได้จดทะเบียน
แก้ปัญหาสังคมและความยากจนด้านอื่น ๆ (สย.8) ตามนโยบายรัฐบาล แจ้งว่าได้รับความเดือดร้อนยังไม่มี
เอกสารสิทธิ์ที่ดิน และขอให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังไม่
สามารถแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรเหล่านั้นได้ เนื่องจากที่ดินอยู่ในเขตพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นศูนย์ราชการและเมือง
ใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536
2. กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ทำการศึกษาโครงการศูนย์ราชการและเมืองใหม่จน
แล้วเสร็จ ผลของการศึกษาไม่ได้รับการพิจารณาให้ดำเนินการต่อ ต่อมาได้มีดำริจากรองนายกรัฐมนตรีใน
ขณะนั้นให้ทบทวนการดำเนินโครงการดังกล่าว จนถึงปัจจุบันจึงยังไม่มีการดำเนินการใดใดในพื้นที่โครงการฯ ต่อ
ในช่วงปีงบประมาณ 2548 2552 กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงยังไม่มีแผนงานการดำเนินการของโครงการฯ

2-135
3. เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอำเภอสนามชัยเขตและอำเภอท่า
ตะเกียบ (แยกจากอำเภอสนามชัยเขตเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2534) ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อ พ.ศ. 2520
ก่อนที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2536 แต่เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการศูนย์
ราชการและเมืองใหม่ อำเภอท่าตะเกียบและอำเภอสนามชัยเขต สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึง
ได้ชะลอการนำที่ดินตามโครงการศูนย์ราชการและเมืองใหม่ ที่อยู่ในเขตโครงการปฏิรูปที่ดินประมาณ 200,000
ไร่ ซึ่งจะใช้ในการปฏิรูปที่ดินไว้ก่อน เพื่อให้สำนักผังเมือง (เดิม) นำพื้นที่บริเวณดังกล่าวมาจัดทำโครงการศูนย์
ราชการและเมืองใหม่ได้ แต่เนื่องจากช่วงระยะเวลาตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้มี มติเมื่อปี 2536 จนถึงปัจจุบันเป็น
ระยะเวลายาวนานก็ยังมิได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับโครงการศูนย์ราชการและเมืองใหม่ในพื้นที่นี้ให้เป็น
รูปธรรมแต่อย่างใด อีกทั้งสภาพพื้นที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก อันอาจเป็นปัญหาอุปสรรคในการที่
จะนำโครงการดังกล่าวกลับมาดำเนินการอีก
(2) บทสรุปการพัฒนา
จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
หรืออีอีซีครั้งที่ 2/2560 ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560
ที่ผ่านมา กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้รายงานถึงความคืบหน้าในการพัฒนาเมืองใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ที่
ประชุมรับทราบ โดยได้เปิดเผยถึงผลการศึกษาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาเมืองใหม่ แบ่งเป็น 3 ส่วน
ได้แก่ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง จะอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอบ้านโพธิ์ และอำเภอพนมสารคามส่วนพื้นที่ความ
เหมาะสมปานกลางจะอยู่ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยวและพื้นที่ที่มีความเหมาะสมตํ่าจะอยู่ในอำเภอสนามชัยเขต
อำเภอท่าตะเกียบ
ต่อมา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2560 ทางคณะอนุกรรมการพัฒนาเมืองใหม่ อีอีซี ได้มี
การประชุมหารือถึงพื้นที่ตั้งเมืองใหม่ทั้ง 3 ส่วน มีการพิจารณา คัดเลือกพื้นที่ตั้งเมืองใหม่แล้ว ซึ่งจะต้องอยู่ใกล้
แหล่งงาน ระบบขนส่งมวลชน ใช้เวลาเดินทางไม่เกินครึ่งชั่วโมงมองว่าที่ดินที่เหมาะสมควรมีเอกสารสิทธิและเป็น
ที่ดินเอกชนเพราะผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยต้องการกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส่วนขนาดพื้นที่ เมืองใหม่ คำนวณจา
ประชากร 10-20 คนต่อไร่ ต้องมีสวนสาธารณะสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์การค้า พาณิชยกรรมโรงพยาบาล
โรงเรียน รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ แต่การพิจารณายังไม่เป็นที่ยุติความจะเลือกพื้นที่ใด เนื่องจากต้องนำข้อหารือ
เสนอเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
กรมโยธาธิการและผังเมือง ในฐานะประธานอนุกรรมการพัฒนาเมืองใหม่ ได้ศึกษาพื้นที่
ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาเป็นเมืองใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในจำนวน 6 พื้นที่ พบว่าพื้นที่ที่เหมาะสมสูงมี 3 อำเภอ
ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบ้านโพธิ์และอำเภอพนมสารคาม แต่อำเภอเมืองจะมีความพร้อมมากที่สุด เนื่องจากมี
แนวรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเข้าถึงพื้นที่ ในขณะที่อีก 2 พื้นที่จะต้องสร้างระบบเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน
เพิ่ม โดยพื้นที่ที่เหมาะสม จะต้องอยู่ในแนวรถไฟความเร็วสูงแต่กรมไม่ต้องการให้เกิดการปรับขึ้นราคาที่ดินหรือ
ซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรเพราะหากไม่ใช่พื้นที่ที่รัฐเลือก ก็จะเกิดความผิดหวังและเดือดร้อนตามมาที่สำคัญ เมื่อ
ทราบว่าพื้นที่ตั้งอยู่บริเวณไหน ราคาที่ดินจะขยับขึ้นสูงจนกระทั่งโครงการเกิดไม่ได้

2-136
ส่วนที่ดินที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จำนวน 3,000-4,000 ไร่ มี
ปัญหาเรื่องที่ดินมีผู้บุกรุก ซึ่งกรมธนารักษ์ ต้องแก้ปัญหาให้จบก่อนและอาจนำไปพัฒนา ด้านสาธารณูปโภค
รองรับในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์ราชการเป็นต้นโดยหลังจากนี้ไปได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปศึ กษา
รายละเอียดของพื้นที่เพิ่มเติมก่อนที่จะเสนอคณะกรรมการอีอีซี พิจารณาความเหมาะสม ซึ่งการได้มาของที่ดินที่
เปิดใหม่กำหนด 2 รูปแบบ คือกรณีที่ดินรัฐจะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอและบิสิเนสโมเดล ประมูลพื้นที่พัฒนา
และกรณีที่ดินเอกชนต้องศึกษาพื้นที่พร้อมขอสิทธิประโยชน์ โดยออกแบบเมืองในลักษณะสมาร์ทซิตีซึ่งผู้ลงทุน
และพัฒนาเมืองจะอยู่ภายใต้ การบริหารโดยบริษัทพัฒนาเมือง ซึ่งถือหุ้นโดยหน่วยงานของรัฐ ท้องถิ่น และ
เอกชน เป็นต้น (ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,279 วันที่ 16 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560)
6) การจัดทำแผนภูมิเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เมืองใหม่ฉะเชิงเทรา ภายใต้ โครงการ
ศึกษาเพื่อพัฒนาเมืองใหม่ (New City) ในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2560
(1) ความเป็นมาของโครงการ
ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบหลักการโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
ภาคตะวั น ออก (Eastern Economic Corridor Development)เมื ่ อ วั น ที่ 28 มิ ถ ุ น ายน 2559 ให้ เ ป็ น เขต
เศรษฐกิจชั้นนาของอาเซียนเพื่อ ส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อ
อนาคต (New Engine of Growth) โดย ดำเนินการใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก คือ จังหวัดชลบุรี จังหวัด
ระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา และแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 9 การ
พัฒนาภาคเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ซึ่งหนึ่งในแนว ทางการพัฒนา คือ การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่
ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสอดคล้อง กับศักยภาพพื้นที่ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทาง
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตประชาชน และรองรับการเป็น
ฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศ
ต่อมามติการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาค
ตะวันออก (กนศ.) ครั้งที่ 1 /2560 วันที่ 6 เมษายน 2560 เห็นชอบร่างกรอบแนวการพัฒนาพื้นที่ระเบียง
เศรษฐกิจภาคตะวันออก และ แนวทาง การพัฒนาเมืองฉะเชิงเทรา ให้เป็นเมืองใหม่ในลักษณะเมืองทันสมัย
เมืองอัจฉริยะ โดยมอบหมายกระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง และสำนักเพื่อการพัฒนา
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ร่วมกัน ดำเนินการวางแผนและผังการพัฒนาเมืองใหม่ในพื้นที่
จังหวัดฉะเชิงเทรา
(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ
แผนภูมิเมืองอัจฉริยะ (Smart City) สำหรับพื้นที่ เมืองใหม่ฉะเชิงเทรา มุ่งเน้นการ
ออกแบบเมืองน่าอยู่ และ ยั่งยืน แผนภูมิได้นำเอานวัตกรรมอันทันสมัยและชาญฉลาดมาใช้ในการพัฒนา
คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานและการ บริหารจัดการเมือง รวมถึงการออกแบบเมืองให้สอดคล้องและผสานกับ
บริบทแวดล้อมของพื้นที่เมืองเดิม แผนภูมินี้จึ ง ตั้งใจนาเสนอเป็นรูปแบบทั่วไป (Typical Diagram) ที่สามารถ
นำไปดัดแปลงลงในบริเวณใดของจังหวัดฉะเชิงเทราก็ ได้ ทั้งนี้เนื่องจากสถานที่ตั้งที่แน่นอนยังต้องคำนึงถึงการ
เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทราด้วย แต่ในขณะ ที่ทำการศึกษาอยู่ โครงการรถไฟความเร็ว สูง
สายตะวันออกยังไม่ได้เริ่มดาเนินการ จึงยังไม่มีตำแหน่งสถานีที่แน่นอน

2-137
ที่ตั้งของแผนภูมิเมืองใหม่ฉะเชิงเทรา สมมติให้สะท้อนสภาพแวดล้อมของฉะเชิงเทรา ดังนี้
1) อยู่บนที่ราบน้ำท่วมถึงทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ มีโครงข่ายคูคลองไหลผ่าน
และได้รับอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง
2) มีชุมชนเดิมที่เป็น ชุมชนริมน้ำอายุหลายสิบปีตั้งอยู่ตามแนวแม่น้ำและลำคลอง
3) เป็นพื้นที่เกษตรกรรมหลากหลายประเภททั้งนาข้าว สวนแบบยกร่อง และ
บ่อปลานากุ้ง
4) มีแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและสถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่ในพื้นที่และมีแนว
เส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองและสถานีระบบขนส่งมวลชนรองหลายสถานีอยู่ในพื้นที่
(3) เป้าหมายของโครงการ
ได้แนวความคิดในการจัดทำแผนภมิเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เมืองใหม่ฉะเชิงเทรา
ที่ประกอบด้วย แนวความคิดในการกําหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและความหนาแน่น แนวความคิดในการวาง
ระบบคมนาคมขนส่งและโครงข่ายารสัญจร แนวความคิดในการจัดให้มีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
แนวความคิดในการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการนันทนาการและการรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม
แนวความคิดในการวางระบบบริหารจัดการน้ำ แนวความคิดในการกำหนดรูปแบบอาคารทั่วไป (Building
Typology) และแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมในบริเวณสำคัญในพื้นที่เมืองใหม่ฉะเชิงเทรา
(4) รายละเอียดโครงการ
จากแผนภูมิเมืองอัจฉริยะที่ได้จัดทำขึ้นเป็นรูปแบบทั่วไปที่สามารถนาไปดัดแปลงใช้กับ
ที่ตั้งจริงบริเวณ ฉะเชิงเทราได้ในภายหลังนั้น มีขนาดพื้นที่ประมาณ 12,500 ไร่ รองรับประชากรได้ประมาณ
80,000 – 150,000 คน ประกอบด้วยการใช้ประโยชน์พื้นที่หลัก ดังนี้
1) พื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินความหนาแน่นปานกลางรับพลังงานจาก
COMBINED COOLING, HEAT & POWER Z หรือ CCHP พื้นที่รวม 3,613 ไร่
2) พื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินความหนาแน่นน้อย ใช้พลังงานทางเลือกเป็นหลัก
พื้นที่รวม 5,835 ไร่
3) พื้นที่สาธารณูปการ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีดับเพลิง รวม 660 ไร่
4) พื้นที่สาธารณูปโภค เช่น บ่อบาบัดน้าเสีย โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่ว ม
(CCHP Plant) รวม 85 ไร่
5) พื้นที่ถนน รวม 2,352 ไร่
6) พื้นที่สีเขียว แบ่งได้ดังนี้
• สวนสาธารณะระดับย่านและระดับเมือง (Urban Park) รวม 532 ไร่
• สวนสาธารณะระดั บ ละแวกบ้ า นและสนามเด็ ก เล่ น (Neighborhood
Park) รวม 115 ไร่
• พื้นที่สีเขียวริมน้า รวม 505 ไร่
• พื้นที่สีเขียวตามแนวสัญจรเฉพาะทางสายหลัก สายรอง รวม 40 ไร่

2-138
พื้นที่สีเขียวในข้อ 6) สามารถคิดเป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้ยืนต้นประมาณ 576 ไร่ลดก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ประมาณ 65,000 ตันต่อไร่ต่อปี และ เพิ่มออกซิเจน (O2) ได้ประมาณ 49,000
ตันต่อไร่ต่อปี นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas reduction
target) จาก โครงการนี้อย่างน้อยร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้พลังงานและปริมาณก๊าซเรือน
กระจกจากการออกแบบ ใช้งานทั่วไปตามปกติในปี พ.ศ.2553 (Business As Usual, BAU) โดยแบ่งออกเป็น
มาตรการอนุรักษ์พลังงานหรือ มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในด้านต่าง ๆ
ในอนาคตการเชื่อมต่อสาธารณูปโภคภายนอก นอกจากความจำเป็นพื้นฐานเช่น
ประปา ไฟฟ้า ท่อระบายน้า เสีย แล้วนั้นอาคารก็ยังมีการเชื่อมต่อกับเมือง เสมือนอาคารมีปลั๊กอีกอันที่จะ
เชื่อมต่อกับเมืองได้ โดยอาคารมีอิสระใน การบริหารอาคารเองโดยใช้ Building OS และเมืองจะทำ Smart
City API ให้เชื่อมต่อกับศูนย์กลางบริหารเมืองอีกที ประโยชน์ที่ได้รับก็จะเป็นผลดีต่อทั้งเมืองในภาพรวม และ
ผู้พัฒนาโครงการก็จะมีการลงทุนและค่าบริหารจัดการและ บารุงรักษาเมืองที่น้อยลง สุดท้ายผู้ใช้บริการก็จะอยู่
ดี ปลอดภัย ประหยัดพลังงาน กลายเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน เมื่อควบรวมกับ Smart Economy และ
Smart Energy อาคารที่สามารถผลิตพลังงานได้เองก็สามารถที่จะ ขายพลังงานผ่าน micro-grid ไปยังเพื่อน
บ้านโดยอาศัย micro-finance หรือ cashless technology หรือ Cryptocurrencies เป็นตัวกลางสาหรับ
การซื้อขายผ่านระบบ Digital Economy นั่นหมายถึงระบบบริห ารจัดการ อาคารก็ไม่ใช่เพียงแค่บริหาร
สินทรัพย์ (asset) หรือ การป้องกันการชำรุดเสียหาย (preventive maintenance) เท่านั้น หากแต่ต้องมี
ความสามารถในการมีส่วนร่วมในการจัดความสมดุลของพลังงาน (Load balancing) โดยใช้ smart contracts
ไมโครกริด (micro-grids) หรือ โรงไฟฟ้าเสมือน (virtual power plants) ได้อีกด้วย

รูปที่ 2.4-8 การใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงข่ายการคานาคม แผนภูมิเมืองใหม่ฉะเชิงเทรา

2-139
(ที่มา : สกพอ. ,2560)
รูปที่ 2.4-8 การใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงข่ายการคานาคม แผนภูมิเมืองใหม่ฉะเชิงเทรา (ต่อ)
(5) บทสรุปการพัฒนา
งานที่ต้องทำต่อจากการวางแผนภูมิเมืองอัจฉริยะ (Smart City) สำหรับพื้นที่เมืองใหม่
ฉะเชิงเทราเพื่อให้เกิดเมืองใหม่อย่างเป็นรูปธรรม คือ ศึกษา ออกแบบ และจัดทำผังแม่บทเมืองใหม่บนที่ตั้งจริง
เพื่อให้กรมโยธาธิการและผัง เมืองนำไปใช้ในการปรับปรุงผังเมืองรวม
• ศึกษา ออกแบบ และจัดทาแบบก่อสร้างและราคากลาง ของงานโครงสร้ า ง
พื้นฐาน ประเภทต่าง ๆ
• ศึกษาการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองใหม่
เพื่อ จัดตั้งบรรษัทพัฒนาเมืองให้เป็นหน่วยงานในการพัฒนาและบริหารจัดการเมือง
• ศึกษาการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหรือข้อบั งคับที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ
ข้อมูลของ เมืองและพลเมือง (Big Data)
• ศึกษาการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืนที่ดินเพื่อ
การผัง เมืองและด้านอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้เอกชนดำเนินกิจการโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เมืองใหม่ และเพื่อให้
เอกชนร่วมลงทุนในการบริหารจัดการเมืองใหม่ หรือ เพื่อให้รัฐดำเนินการด้านอสังหาริมทรัพย์แทนเอกชน
• จัดตั้งคณะกรรมการกำกับการพัฒนาและบริหารจัดการเมืองใหม่
• จัดตั้งงองค์กรหรือหน่วยงานภายในเพื่อทาหน้าที่พัฒนาและบริหารจัดการเมือง
ใหม่โดยตรง หรือ ตั้งเป็นบรรษัทพัฒนาเมืองตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
7) เมืองต้น แบบ TOD พระนครศรีอยุธ ยา ภายใต้ โครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับ ระบบ
โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง (สนข., 2563)
(1) ความเป็นมาของโครงการ
เมืองต้นแบบ TOD พระนครศรีอยุธยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับ
ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ที่ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ แผนแม่บทการพัฒนาเมืองกับ
ระบบ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง และ เมืองต้นแบบการพัฒนา TOD 3 เมือง โดยพื้นที่สถานีอยุธยา

2-140
เป็นหนึ่ง ใน 3 พื้นที่ (พระนครศรีอยุธยา, ขอนแก่น, และพัทยา) ที่ผ่านการพิจารณาว่ามีศักยภาพและความ
เหมาะสมใน การดำเนิน การศึกษาและเสนอแนวทางการจั ดทาผั งเฉพาะ (Specific Plan) และออกแบบ
รายละเอียดการพัฒนา พื้นที่ (Urban Design Development) ตามหลักการ TOD เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนา
TOD ให้กับพื้นที่อื่นๆ ซึ่ง ถือเป็นการดำเนินการขั้นต้นเพื่อวางกรอบแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี
รถไฟอยุธยา (ในอนาคตจะเป็น สถานีที่มีความสำคัญในการเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางของรถไฟความเร็ว
สูงสายเหนือและสาย ตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นจุดจอดรถไฟทางคู่แ ละรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง) ให้
มีการใช้ป ระโยชน์ที่ดิน เต็มศักยภาพ มีองค์ประกอบที่ส ำคัญตามหลักการ TOD (การใช้ประโยชน์ที่ดิน
ผสมผสานหนาแน่นสูง การ เชื่อมต่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และการเปลี่ยนถ่ายที่ลดการใช้พาหนะที่ใช้
เครื่องยนต์) เพื่ออำนวยความสะดวก ในการเดินทางรองรับประชากรและนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นจานวนมาก
ในอนาคต แต่ในขณะเดียวกัน ยังคงให้ ความสำคัญกับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า
ระดับโลก เพื่อให้เกิดความสมดุลของการ อนุรักษ์และพัฒนา
“สถานีอยุธยา” เป็นสถานีที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นสถานี ที่มีศักยภาพและเหมาะสม
ในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีตามหลักการของ TOD เนื่องจากมีความเหมาะสมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม
ประชากร และด้าน กายภาพของพื้นที่โดยรอบสถานีที่สามารถรองรับการพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในอนาคต โดยมี
บทบาทเป็นสถานีประเภท ศูนย์กลางเมือง (Urban Center : UC) ซึ่งมีลักษณะเป็นสถานีที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลาง
ของจังหวัด และเป็นสถานีที่มี บทบาทในการเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทาง (Destination) โดยเฉพาะ
นักท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก และ เป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สามารถเดินทางเชื่อมโยงต่อไปยัง
ภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ด้วยรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ โดยมี
“สถานีบ้านม้า” ที่ตั้งอยู่ถัดจากสถานีอยุธยา ไปทางด้านทิศเหนือระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นพื้นที่
รองรับการขยายตัวของกิจกรรม TOD ในอนาคต ซึ่งตามแผนแม่บทฯ ถูกจัดเป็นสถานีประเภท ศูนย์เมืองใหม่
(New Town – NT)
(2) วัตถุประสงค์โครงการ
กำหนดพื้นที่และเสนอแนะแนวทางการจัดทำผังเฉพาะ (Specific Plan) ในพื้นที่ท ี่ มี
ศักยภาพเพื่อเป็น กรอบชี้นําการพัฒนาเมืองที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน
คมนาคมขนส่ง ของประเทศตามแนวคิด Transit-Oriented Development (TOD) ในการกระจายความเจริญไป
ยัง ภูมิภาคและสนับสนุนการพัฒนาเมืองใหม่ในภูมิภาค และจัดทำพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาเมืองในรูปแบบ Urban
Design และออกแบบต้นแบบให้มีรายละเอียดการพัฒนาครอบคลุมทุกมิติท่ีเกี่ยวข้องในการพัฒนาเมือง
(3) เป้าหมายโครงการ
เพื่อให้ได้ เสนอแผนปฏิ บัต ิก าร (Action Plan) ซึ่งประกอบด้ว ยแผนงานโครงการ
งบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ การแบ่งระยะเวลาพัฒนา ที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาเมือง
กับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง (ครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา TOD ทั่วประเทศ) เพื่อให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถขับเคลื่อนและ ผลักดันอย่างจริงจังทั้งในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ ให้พื้นที่
เมืองต้นแบบ TOD พระนครศรีอยุธยาสามารถ นาไปสู่การปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรมได้จริงต่อไป
(4) รายละเอียดโครงการ
“Future of History” เป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบชุมชนเมือง ซึ่งได้เล็ งเห็ น
คุณค่าและ ความสำคัญของความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีความพร้อมต่อการพัฒนาเมืองที่สอดคล้องต่อความ
เป็น เมือง มรดกโลกได้อย่ า งยั ่งยืน เป็น การเตรียมความพร้ อมต่ อ การพั ฒ นาเมื อ งเพื ่อ เสริ มเร่ื องราวใน
ประวัติศาสตร์ที่ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเมืองในอนาคต ด้วยการพัฒนารูปแบบการเดินทางให้สามารถ

2-141
เชื่อมโยงพื้นที่ที่ยังคงเหลืออยู่ในอดีตกับพื้นที่ที่กาลังจะพัฒนาในอนาคต ยังคงเก็บรักษาเรื่องราวที่ ผ่านมาและ
พร้อมจะเติมเรื่องราว ใหม่ใ่นอนาคตให้มีความสมบูรณ์และได้มาตรฐานความเป็นเมืองน่าอยู่อาศัยน่าลงทุน
รองรับการท่องเที่ยวเมือง มรดกโลกเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ พร้อมจะเป็นส่วนหนึ่ง
ของเรื่องราวในประวัติศาสตร์ และกาลังจะถูกบอกเล่าผ่านเร่ืองราวของการพัฒนา TOD นี้ในอนาคต นอกจาก
กรอบแนวคิดการพัฒนาเพื่อให้เห็นเป้าหมายของการพัฒนาเมืองต้นแบบ TOD พระนครศรีอยุธยาร่วมกันใน
ข้างต้นแล้ว การพัฒนาเมืองให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบการ พัฒนา TOD ที่ครบถ้วนทั้ง 4
องค์ประกอบ เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่ งของเร่ืองราวในประวัติศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการ พัฒนาเมืองต้นแบบ TOD
พระนครศรีอยุธยาในอนาคต ดังนี้
• High - Density and Mixed Use กำหนดย่านการพัฒนาให้สอดคล้องกับ
ข้อเสนอแนะการใช้ ประโยชน์ที่ดิน สนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสานในแต่ละย่านการพัฒนา และ
การใช้ ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพภายใต้เงื่อนไขตามข้อจำกัดทางกฎหมายและความเป็นเมือง
มรดกโลก เน้นย่านการพัฒนารอบสถานีและย่านผสมผสานการค้าและบริการบริเวณถนนโรจนะ เพื่อให้การ
พัฒนา TOD ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและคงความเป็นเมืองมรดกโลกอย่างยั่งยืน
• Linkage สถานีอยุธยาคือหัวใจหลักของศูนย์กลางการพัฒนา TOD เป็นการ
เชื่อมโยงโครงข่ายจาก ระดับภูมิภาคด้วยรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าชานเมือง และรถไฟทางคู่ นอกจากนี้การ
เชื ่ อ มโยง ระดั บ พื ้ น ที ่ ม ี ร ะบบขนส่ ง รองเชื ่ อ มต่ อ ทั ้ ง 3 ฝั ่ ง พร้ อ มกั บ อาคาร ITF (Intermodal Transfer
Facilities) สาหรับศูนย์รวมรถโดยสารสาธารณะท้องถิ่นใกล้ย่านสถานี สามารถเดินทางเชื่อมต่อ ระบบต่างๆ
ด้วยการเดินเท้า การใช้จักรยาน ไปยังจุดจอดรถรับ -ส่งระบบขนส่งมวลชนรอง และรถ โดยสารต่างๆ ได้ 3 จุด
ทั้งฝั่งตะวันออก ฝั่งตะวันตก และข้ามแม่น้าป่าสักในเกาะเมืองเก่าอยุธยา
• Amenities การพัฒนาสิ่งอานวยความสะดวกที่จำเป็น และให้ได้มาตรฐาน
ตามแนวทางการพัฒนา เมือง TOD โดยการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการที่เป็นโครงสร้าง
พื้นฐานการพัฒนา เมือง TOD ให้เพียงพอ โดยเฉพาะพื้ นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการของเมือง จำเป็นต้องได้
มาตรฐาน และ กระจายตัวเพื่อให้บริการด้านนันทนาการที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ส่วนหนึ่งเป็นการฟื้นฟูและ
ปรับปรุง ภูมิทัศน์พื้นที่โบราณสถาน สร้างแนวทางการอนุรักษ์ควบคู่กับการปรับปรุงพื้นที่โบราณสถานให้ใช้
งาน ด้านนันทนาการ และส่งเสริมภูมิทัศน์ของเมือง นอกจากนี้สิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นองค์ประกอบ ถนน
เพื่อให้การเดินทางเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆได้อย่างสะดวก สบาย ต่อเนื่อง และมีกิจกรรมนันทนาการ ระหว่างการ
เดินทางเป็นสิ่งจำเป็น
• Non-Motorized Transport สนับสนุนการพัฒนาเป็นย่านส่ งเสริมการเดิน
ให้เกิดการเดินทาง เชื่อมต่อด้วยการเดินเท้าที่ต่อเนื่องจากฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตก ส่งเสริมกิจกรรม
การค้าและ บริการในพื้นที่พร้อมสวนสาธารณะเชื่อมโยงกับพื้นที่อนุรักษ์คลองประวัติศาสตร์กับลานพลาซ่า
หน้า สถานี สนับสนุนการเดินทางแบบไม่ใช้พึ่งพารถยนต์ส่วนตัวจากอาคารสถานีเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ต่างๆ ซึ่ง
เป็ น จุ ด จอดระบบขนส่ ง รองและรถโดยสารท้ อ งถิ ่ น ดั ง นี้ (1) จุ ด จอดรั บ -ส่ ง ลานทางเดิ น พลาซ่ า
(PedestrianPlaza)เชื่อมกับ ลานพลาซ่าหน้าสถานี (StationPlaza)ในฝั่งตะวันออก (2) พื้นที่ อาคาร ITF
รองรับรถโดยสารท้องถิ่นพร้อมที่จอดรถสาธารณะ ด้านหน้าอาคารเป็นจุดจอดสำหรับรถ ระบบขนส่งรอง
(Feeder) และจุดจอดรถทัวร์โดยสารสาธารณะระหว่างจังหวัด และ (3) เชื่อมจากชั้นซื้อตั๋วไปยังอาคารศูนย์
เปลี่ยนถ่ายการเดินทาง (ITF) ไปยังสะพานคนเดินข้ามแม่น้าป่าสัก และเป็นจุด จอดรับ-ส่งรถระบบขนส่ง
มวลชนรองบริเวณถนนอู่ทองในฝั่งเกาะเมืองเก่าอยุธยา

2-142
(ที่มา : สนข.,2563)
รูปที่ 2.4-9 การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ TOD อยุธยา พ.ศ.2580
(5) บทสรุปการพัฒนา
เมืองต้นแบบ TODพระนครศรีอยุธยา ดังกล่าวเป็นเพียง ข้อเสนอแนะ ที่ใช้ในการ
พัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี เพื่อการเรียนรู้การพัฒนาร่วมกันระหว่าง หน่วยงานส่วนกลางองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น และภาคประชาชน ซึ่งในการที่จะ ดำเนินการนำ ผลการศึกษาไปสู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม จำเป็น
ที่จะต้องมีการ ใช้กฎหมายผังเมืองเฉพาะ โดยละเอียด ในอนาคต
อย่างไรก็ตามจากองค์ประกอบของการพัฒนา ที่ได้จากโครงการดังกล่าว สามารถ
นำไปใช้กับพื้นที่ ที่มีศักยภาพบริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน หรือศูนย์คมนาคม ซึ่งปัจจุบันได้มี การ
ดำเนินการก่อสร้างรวมถึงแผนงานโครงการ พัฒนาโครงข่ายคมนาคมในลักษณะดังกล่าวอยู่เป็นจำนวนมาก ที่
สามารถนำไปต่อยอด และ อ้างอิงดำเนินการ วางผังพัฒนา ต่อไป

2-143
2.4.1.2 โครงการพัฒนาโดยภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ
1) โครงการเมืองทองธานี
(1) ความเป็นมาโครงการ
โครงการเมืองทองธานี เป็นโครงการพัฒนาของเอกชนในลักษณะ “เมืองใหม่ในเมืองเดิม”
โดยพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้เป็นเมือง Self-contained and balance community ระหว่างที่พักอาศัย
และการทำงาน ประกอบด้วย โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ และ
อาคารชุดพักอาศัย ย่านการค้าและสำนักงาน คอนโดมิเนียม อุตสาหกรรม หน่วยงานราชการ นอกจากนี้ ยังมี
การพัฒนาศูนย์การประชุมนานาชาติ (Impact Arena) เพื่อรองรับการประชุมสัมมนา การจัดนิทรรศการ
งานแสดงสินค้า และจัดสร้างสนามกีฬาเพื่อรองรับการเป็น เจ้าภาพแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่
กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ บนพื้นที่ 4,000 ไร่ ริมถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา
ที่ดินย่านชานเมืองเพื่อการอยู่อาศัยและประกอบอุตสาหกรรมขนาดเบาด้วยเงินทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 200 ล้านบาท
โดยทยอยซื้อที่ดินบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร สะสมไว้ทีละแปลง เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้
สนามบินดอนเมืองและเป็นจุดผ่านทางที่ผู้คนจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวงด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นักลงทุน
จากต่างชาติได้ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ
ไทยก็ประสบความสำเร็จในการขยายตัวจนกระทั่งเศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลก ผู้บริหาร
บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด จึงริเริ่มพัฒนาโครงการเมืองทองธานี จากแปลงที่ดิน ที่สะสมไว้ โดยกำหนด
แนวความคิดของโครงการที่ให้เป็นชุมชนแห่งใหม่ (New Community) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสมบูรณ์แบบ
เพื่อรองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานคร ก่อนประกาศพัฒนาโครงการเมืองทองธานีในวันที่ 14 พฤษภาคม
พ.ศ. 2533 บางกอกแลนด์จึงประกาศพัฒนาโครงการเมืองทองธานี โครงการพักอาศัยที่มีมูลค่าโครงการรวม
ทั้งสิ้นกว่าหมื่นล้านบาท ใกล้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 15 ปี ประกอบด้วยโครงการย่อยหลายโครงการและ
คาดว่าจะสามารถดึงดูดผู้คนให้เข้ามาอาศัยภายในโครงการในอนาคตไม่น้อยกว่า 360,000 คน
(2) วัตถุประสงค์โครงการ
เพื่อสร้างชุมชนเมืองใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของกรุงเทพฯ โดยเมืองทองธานีไม่
เป็ น เพี ย งเมื อ งเพื ่ อ การอยู ่ อ าศั ย (Dormitory Town) ทว่ า ยั ง เป็ น เมื อ งที ่ ส ามารถเลี ้ ย งตั ว เองได้ (Self-
Contained) ในระดับหนึ่ง ประกอบด้วย พื้นที่อยู่อาศัย แหล่งพาณิชยกรรม และแหล่งอุตสาหกรรมรวมอยู่ในย่าน
เดียวกัน แตกต่างจากแนวคิดในการสร้างเมืองบริวารในแถบเอเชียที่ต้องการขยายเนื้อเมืองออกมาสู่รอบนอก เพื่อให้
เป็นที่พักอาศัยโดยปราศจากมลภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
จากแนวคิดข้างต้น รูปแบบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จึงได้รับการออกแบบและ
ก่อสร้างขึ้นในลักษณะสินค้ามวลชน (Mass Product) ซึ่งกระบวนการขั้นตอนทุกอย่างคล้ายคลึงกับสินค้า
อุปโภคบริโภค กล่าวคือ ราคาสินค้าต้องต่ำที่สุดด้วยคุณภาพสูงสุด การออกแบบตรงกับรสนิยมของผู้ซื้อ
โครงการอยู่ในทำเลที่ดี บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ส่งผลให้รูปแบบอาคารที่เกิดขึ้นในพื้นที่
โครงการมีราคาถูกและปานกลางเป็นหลัก จำนวนชั้นของอาคารไม่สูงมากนัก การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ภายใน
ระยะเวลาอันสั้น ซึ่งผู้ซื้อสามารถเข้าอยู่อาศัยได้ทันทีและชุมชนภายในโครงการก็ไม่หนาแน่นมากจนเกินไป

2-144
ที่มา: วุฒินันท์ นันทประยูร, 2539 และปรับปรุงโดยที่ปรึกษา, 2563.
รูปที่ 2.4-10 แผนผังโครงการเมืองทองธานี
(3) เป้าหมายโครงการ
(3.1) ประชากรพักอาศัยภายในโครงการ
พื้น ที่อาคารของโครงการป็ อปปูล าร์ค อนโดมิ เนีย ม (ครูเมืองทอง) ซึ่งเป็ น
โครงการพักอาศัยราคาถูก จัดอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย 41.3 ตารางเมตรต่อครัว เรือน หรือพื้นที่ใช้ส อยสำหรับ
โครงการเลควิวคอนโดมิเนียมของผู้มีรายได้สูง อยู่ที่ 125.4 ตารางเมตรต่อครัวเรือน เป็นต้น ทั้งนี้ การกำหนด
พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารต่อครัวเรือนของโครงการใดโครงการหนึ่งอาจมีขนาดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารต่อ
การใช้งานและความต้องการของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก
ผลการคาดประมาณการประชากรที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ในโครงการเมือง
ทองธานีจำแนกตามประเภทของโครงการ ระหว่างปี พ.ศ. 2535 - 2550 คาดว่าจะมีจำนวนประชากรอยู่อาศัย
ทั้งหมด 360,312 คน เมื่อสิ้นสุดปี พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยประชากรส่วนใหญ่
จะพักอาศัยอยู่ในโครงการป็อปปูลาร์คอนโดมิเนียมต่าง ๆ และเมื่อพิจารณาจากตัวเลขจำนวนประชากรใน
โครงการย่อยต่าง ๆ (ตารางที่ 2.4-1) สะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิดของผู้ลงทุนในการจัดทำโครงการพักอาศัย
ขนาดใหญ่ที่มุ่งเน้นรูป แบบสิ่งปลูกสร้ างเชิงปริมาณ (Large-scale development) ตลอดจนกลยุทธ์ ทาง
การตลาดที่เฉพาะเจาะจงกลุ่มลูกค้าพักอาศัยได้เป็นอย่างดี เช่น โครงการป็อปปูลาร์คอนโดมิเนียมสำหรับ
ประชาชนทั่วไป (โครงการไพลินสแควร์) โครงการ 1 และ 2 รองรับประชาชนทั่วไปสำหรับผู้มีรายได้น้อยจนถึง
รายได้ปานกลาง (ราคาขายยูนิตละ 376,000 บาทขึ้นไป) ขณะที่โครงการครูเมืองทองธานีที่มีการระบุถึงกลุ่ม
ลูกค้าอย่างชัดเจนว่าต้องเป็นผู้มีอาชีพครูหรือลูกจ้างในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น
(3.2) การจ้างงานในโครงการเมืองทองธานี
แต่ละโครงการภายในเมืองทองธานีสามารถก่อให้เกิดจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม
สำนักงาน และธุรกิจค้าปลีกบริการมากน้อยแตกต่างกัน ผลของการจ้างงานในแต่ละโครงการสามารถบ่งบอก
ถึงวัตถุประสงค์ของอาคารแต่ละประเภทว่าจัดสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งจ้างงานในธุรกิจอุตสาหกรรม สำนักงาน

2-145
หรือธุรกิจค้าปลีกบริการ จากการศึกษาการจ้างงานทุกประเภทรวมกันพบว่า โครงการคอมเมอร์เชียลคอมเพล็กซ์
มีการจ้างงานสูงมากเป็นอันดับหนึ่งเช่นเดียวกับโครงการออฟฟิศคอมเพล็กซ์ซึ่ง มีผู้ใช้แรงงานจำนวนทั้งสิ้น
78,333 คน เท่ากับร้อยละ 18.65 ของการจ้างงานทั้งหมด โดยทั้งสองโครงการต่างประกอบด้วยการจ้างงาน
ประเภทสำนักงานเป็นส่วนใหญ่ 73,333 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93.62 ของการจ้างงานภายในโครงการ
นอกจากนั้นเป็นการจ้างงานในธุรกิจค้าปลีกและบริก าร ทำให้มองเห็นภาพของโครงการว่าเป็นการผสมผสาน
กันระหว่างแหล่งพักอาศัย ซึ่งโดยทั่วไป ธุรกิจค้าปลีกและบริการไม่อาจถือว่าเป็นการจ้างงานหลัก ยกเว้น
โครงการศูนย์สรรพสินค้าขนาดใหญ่ แต่เป็นการจ้างงานเสริม (Supplementary employment) เพื่ออำนวย
ความสะดวกแก่ผู้คนที่เข้ ามาพักอาศัยและผู้ทำงานในแต่ละโครงการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากธุรกิจ
ดังกล่าวเป็นร้านค้าขนาดเล็ก พื้นที่ใช้สอยน้อย ประกอบกับงบประมาณในการลงทุนมีจำกัดจึงไม่สามารถ
แข่งขันกับโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่
ตารางที่ 2.4-1 จำนวนประชากรพักอาศัยในโครงการเมืองทองธานี
พื้นที่ต่อหน่วย
หมายเลข พื้นที่ใช้สอยสุทธิ จำนวนประชากร
ชื่อโครงการ ครัวเรือน
โครงการ (ตารางเมตร) พักอาศัย (คน)
(ตารางเมตร)
2 เลควิวคอนโดมิเนียม 436,000 125.43 13,904
3 วิลล่าออฟฟิศ 0 0 376
4 ป็อปปูลาร์คอนโดมิเนียม: ครูเมืองทอง 511,000 41.29 49,504
5 ป็อปปูลาร์คอนโดมิเนียม: ข้าราชการ 421,000 41.27 40,800
7 ยูนิเวอร์ซิตี้คอนโดมิเนียม 238,900 58.38 16,368
8 ป็อปปูลาร์คอนโดมิเนียม: ไพลินสแควร์ 3/1
498,000 249 8,000
9 คอนโดมิเนียมทรงหรูหรา / โรงเรียนนานาชาติ
10 ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ 275,000 87.5 12,572
11 เรสซิเด้นท์คอมเพล็กซ์ 975,000 70 55,716
12 เวนิชคอนโดมิเนียม 1,343,000 175 30,696
17 ป็อปปูลาร์คอนโดมิเนียม: ไพลินสแควร์ 3/2 613,000 40.87 60,000
19 โครงการในปัจจุบัน 0 0 11,176
ที่มา: บริษัท สิทธุไพค์โบเดล จำกัด
ตารางที่ 2.4-2 จำนวนการจ้างงานในโครงการเมืองทองธานี
หมายเลข พื้นที่ใช้สอยสุทธิ จำนวน
ชื่อโครงการ ประเภทธุรกิจ
โครงการ (ตารางเมตร) ประชากรจ้างงาน
ร้านค้าปลีก 28,800 192
1 คอนโดมิเนียมอุตสาหกรรม โครงการ 1
อุตสาหกรรม 537,600 43,008
ร้านค้าปลีก 2,520 168
1.1 คอนโดมิเนียมอุตสาหกรรม โครงการ 2
อุตสาหกรรม 470,400 37,632
2 เลควิวคอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า 22,000 1,100
ศูนย์การค้า 18,800 940
3 วิลล่าออฟฟิศ
สำนักงาน 122,000 8,133
3.1 ซิตี้แบงค์ออฟฟิศ สำนักงาน 10,600 133
4 ป็อปปูลาร์คอนโดมิเนียม: ครูเมืองทองธานี ร้านค้าปลีก 35,280 2,352
5 ป็อปปูลาร์คอนโดมิเนียม: ข้าราชการ ร้านค้าปลีก 25,200 1,680

2-146
ตารางที่ 2.4-2 จำนวนการจ้างงานในโครงการเมืองทองธานี (ต่อ)
หมายเลข พื้นที่ใช้สอยสุทธิ จำนวน
ชื่อโครงการ ประเภทธุรกิจ
โครงการ (ตารางเมตร) ประชากรจ้างงาน
ศูนย์การค้า 97,600 4,880
6 พาร์คเลนพลาซ่า
สำนักงาน 61,900 4,127
7 ยูนิเวอร์ซิตี้คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า 10,150 508
8 ป็อปปูลาร์คอนโดมิเนียม : ไพลินสแควร์ 3/1 ร้านค้าปลีก 37,800 2,520
9 คอนโดมิเนียมทรงหรูหรา / โรงเรียนนานาชาติ ศูนย์การค้า 2,000 100
ศูนย์การค้า 412,500 20,625
10 ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์
สำนักงาน 412,500 27,500
5,000 250
11 ช้อปปิ้ง / เรสซิเด้นท์คอมเพล็กซ์ ศูนย์การค้า
420,000 28,000
12 เวนิชคอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า 7,000 350
ศูนย์การค้า 100,000 5,000
13 คอมเมอร์เชียลคอมเพล็กซ์
สำนักงาน 1,100,000 73,333
ศูนย์การค้า 100,000 5,000
14 ออฟฟิศคอมเพล็กซ์
สำนักงาน 1,100,000 73,333
ศูนย์การค้า 1,000 50
14.1 อาคารทางออก
สำนักงาน 74,000 4,933
ศูนย์การค้า 1,000 50
14.2 อาคารบริการ
สำนักงาน 74,000 4,933
ศูนย์การค้า 1,000 50
15 ไธแองเกิ้ลคอมเพล็กซ์
สำนักงาน 79,000 5,267
ร้านค้าปลีก 2,880 192
16 คอนโดมิเนียมอุตสาหกรรม โครงการ 1
อุตสาหกรรม 747,000 59,760
17 ป็อปปูลาร์คอนโดมิเนียม: ไพลินสแควร์ 3\2 ร้านค้าปลีก 37,000 2,467
18 ป็อปปูลาร์คอนโดมิเนียม: ไพลินสแควร์ 3d.2 (ยกเลิก) 0 0
19 โครงการในปัจจุบัน ร้านค้าปลีก 21,710 1,447
รวม 420,013
ที่มา: บริษัท สิทธุไพค์โบเดล จำกัด
(4) รายละเอียดโครงการ
จากแนวคิ ด หลั ก ที ่ ต ้ อ งการสร้ า งชุ ม ชนขนาดใหญ่ ใ ห้ เ ป็ น เมื อ งที ่ ส ามารถรองรั บ
การขยายตัวของกรุงเทพฯ สภาพพื้นที่ภายในโครงการจึงประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ รวมเข้าด้วยกันเพื่อเป็น
การอำนวยประโยชน์ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เมืองสามารถเติบโตขึ้นได้ในอนาคต มีการใช้ประโยชน์อย่า ง
คุ้มค่า เหมาะสมกับการลงทุนและการดำเนินชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ภายในและภายนอกโครงการอย่างราบรื่น
รวมทั้งมีการจัดหาบริการด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ไม่ว่าจะเป็น ถนน โรงเรียน สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล ฯลฯ โดยโครงการย่อยที่สำคัญ ซึ่งเริ่มต้นโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ได้แก่

2-147
ที่มา: บริษัท บริหารสินทรัพย์ทวี จำกัด, 2563
รูปที่ 2.4-11 โครงการคอนโดมิเนียมอุตสาหกรรมขั้นแรก ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2563)
(4.1) โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย
• โครงการเลควิวคอนโดมิเนียม เป็นโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้สูง
จำนวน 8 อาคาร ความสูง 27 ชั้น รวมทั้งสิ้น 3,476 หน่วย มีขนาดพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่พื้นที่หน่วยละ 59 ตร.ม.
86.5 ตร.ม. และ 117 ตร.ม. ตั้งอยู่บนพื้นที่ 30.5 ไร่ ภายในโครงการมีสิ่งอำนวยสะดวกต่าง ๆ เพิ่มเติมนอกจาก
สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น สระว่ายน้ำ สนามเทนนิส จุดเด่นของโครงการคือ ได้รับความสะดวกจาก
การขึ้น-ลงทางด่วนและทัศนียภาพที่ตกแต่งด้วยสวนหย่อม นอกจากนี้ ชั้นบนสุดของอาคารสามารถใช้เป็น
สถานที่ชมความงามของทะเลสาบจำลองบนพื้นที่ 300 ไร่ รวมทั้งน้ำพุที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อดึงดูดใจแก่ผู้อาศัย

ที่มา: hipflat.co.th, 2563.


รูปที่ 2.4-12 โครงการเลควิวคอนโดมิเนียมและวิลลาออฟฟิศ ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2563)

• โครงการครูเมืองทองธานี เป็นโครงการแรกที่มุ่งตลาดเฉพาะลูกค้าผู้มี
รายได้น้อยอย่างจริงจัง เพื่อรองรับกับความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้มีอาชีพครู ข้าราชการ และลูกจ้างของ
กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารเท่ า นั ้ น ได้ ร ั บ การสนั บ สนุ น จากคณะกรรมการส่ ง เสริ ม การลงทุ น ประกอบด้ ว ย
คอนโดมิเนียม 13 ชั้น พื้นที่รวม 546,280 ตร.ม. จำนวน 12,376 หน่วย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 114 ไร่
• โครงการเมืองทองธานีเพื่อข้าราชการ เปิดตัวอย่างเป็นทางการหลังจาก
โครงการครูเมืองทอง 2 เดือน มีรูปแบบโครงการคล้ายคลึงกับโครงการครูเมืองทอง เป็นขยายฐานกลุ่มลูกค้าให้
กว้างขึ้นกว่ าเดิม โดยคุณสมบัติของผู้ซื้อต้องเป็นข้าราชการที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัด
สวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2530 กำหนดไว้ เป็นอาคารสูง 16 ชั้น จำนวน 10 อาคาร รวมทั้งสิ้น
9,540 หน่วย นอกจากนี้ ยังมีร้านค้าย่อยอีก 400 หน่วย รวมพื้นที่ใช้สอยทั้งสิ้น 446,200 ตร.ม. บนเนื้อที่
65 ไร่ ตั้งอยู่ติดด้านหลังโครงการคอนโดมิเนียมอุตสาหกรรมขั้นแรก

2-148
• โครงการไพลินสแควร์ เป็นคอนโดมิเนียมราคาปานกลางสำหรับประชาชน
ทั่วไป เน้นกลุ่มเป้าหมายคนทำงานและแม่บ้านเป็นหลัก ภายในโครงการประกอบด้วย ห้อ งชุด 15,300 หน่วย
ร้านค้า 444 หน่วย จำนวน 4 อาคาร บนพื้นที่ 40 ไร่ รวมพื้นที่โครงการทั้งหมด 665,100 ตร.ม.

ที่มา: การเคหะแห่งชาติ, 2563.


รูปที่ 2.4-13 โครงการเมืองทองธานีเพื่อข้าราชการและครูเมืองทองธานี ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2563)
(4.2) โครงการพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรม
โครงการพาร์คแลนด์พลาซาเป็นโครงการศูนย์การค้าแห่งแรกในพื้นที่เมืองทองธานี
แจ้งวัฒนะ ตั้งอยู่บริเวณปากทางเข้า -ออกถนนติวานนท์ บนเนื้อที่ 20.5 ไร่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก
เป็นศูนย์รวมห้างสรรพสิ นค้าและความบันเทิ งต่าง ๆ สูง 5 ชั้น เนื้อที่รวมกว่า 97,600 ตารางเมตร ภายใน
ประกอบด้วยร้านค้า 200 ร้าน ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ และสวนสนุกขนาดใหญ่ และอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่
อาคารสำนักงานซึ่งตั้งอยู่ชั้นที่ 6-30 จำนวน 2 อาคาร พื้นที่รวมประมาณ 61,900 ตารางเมตร แต่ปัจจุบันได้มี
การลดพื้นที่การขายลงเหลือเพียง 52,180 ตารางเมตร ทำให้มูลค่าการขายลดลงด้วยเช่นกัน
(4.3) โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นแรก
โครงการคอนโดมิเนียมอุตสาหกรรมขั้นแรกเป็นโครงการแรกที่ดำเนินภายใต้
บริษัท บางกอกแอร์พอร์ทอินดัสทรี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกันกับบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด และได้รับ
การสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ภายในโครงการประกอบด้วยอาคารจำนวน 8 หลัง
ความสูง 10 ชั้น พื้นที่การใช้สอยแต่ละชั้นถูกแบ่งออกเป็นขนาดพื้นที่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของธุรกิจแต่ละ
ประเภทตั้งแต่ 336 - 1,102 ตารางเมตร บนที่ดิน 70 ไร่ รวมทั้งสิ้น 576 หน่วย รูปแบบของอาคารคล้ายคลึง
กับ อาคารสำนัก งานทั น สมั ย มากกว่ าโรงงานอุ ตสาหกรรม ตัว อย่างอาคารอุ ต สาหกรรมเบาที่ม ีล ั ก ษณะ
เช่นเดียวกันนี้ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งกลุ่มลูกค้าหลักในโครงการนี้ ได้แก่
นักธุรกิจจากประเทศชั้นนำต่าง ๆ ที่สนใจเข้ามาดำเนินการลงทุนประเภทอุตสาหกรรมเบาที่ไม่ก่อให้เกิด
มลภาวะเป็นพิษ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ของเล่นเด็ก เป็นต้น
(4.4) ระบบคมนาคม
ประกอบด้วยถนนประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อรองรับความแออัด
คับคั่งของการจราจรในอีก 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2543) โดยทางเข้า -ออกสามารถเชื่อมกับถนนภายนอกได้
3 เส้นทาง ได้แก่ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนติวานนท์ และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กว้างประมาณ 4-6 ช่อง
จราจร คาดว่าจะสามารถรองรับปริมาณรถยนต์รวมทั้งสิ้นเฉลี่ย 20,000 คันต่อวัน ทั้งนี้ ยังมีแผนการขยายและ
ก่อสร้างถนนใหม่ของจังหวัดนนทบุรีที่จะมีถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด (เชื่อมระหว่างถนนแจ้งวัฒนะและถนนติวานนท์)
ตัดผ่านโครงการเมืองทองธานี เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณห้าแยกปากเกร็ด รวมทั้งโครงการทางด่วน
ขั้นที่สอง (บางโคล่-แจ้งวัฒนะ) ที่เชื่อมต่อกับถนนเข้าสู่โครงการเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร

2-149
(4.5) การกำจัดขยะมูลฝอย
โครงการเมืองทองธานีมีแผนการกำจัดขยะมูลฝอยเฉลี่ยปริมาณวันละ 470 ตัน
ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่และมีการจับจ่ายใช้สอยกันภายในโครงการจำนวนมาก โดยจะนำ
ขยะมูลฝอยทั้งหมดในโครงการไปรวมกันไว้ที่สถานีขนถ่าย ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงบำบัดน้ำเสีย จากนั้น
ขยะเหล่านี้จะถูกอัดเป็นแท่งเพื่อลดการสูญเสียพื้นที่ในการรองรับขยะได้มากถึง 5 เท่า ทั้งยังสะดวกในการขนย้าย
โดยทางโครงการยินดีที่จะจ่ายค่าที่ดินเพื่อใช้ในการกำจัดขยะมูลฝอยบนเนื้อที่ 40 ไร่ คิดเป็นเงินลงทุนประมาณ
12-20 ล้านบาท ทั้งนี้ เทศบาลตำบลปากเกร็ดจะเป็นผู้ดำเนินการรับผิดชอบในการจัดหาที่ดินและควบคุมดูแล
บริหารงานเกี่ยวกับการจัดเก็บขยะมูลฝอยทั้งหมด โดยหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นยังคงได้รับการชำระ
ค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บขยะมูลฝอย ซึ่งได้ระบุไว้ในเทศบัญญัติขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
(4.6) ระบบน้ำประปา
การประปานครหลวงมีแผนงานวางท่อส่งน้ำสายหลักบริเวณถนนติวานนท์ และ
ถนนแจ้งวัฒนะ (ผ่านโครงการเมืองทองธานี) ให้แล้วเสร็จปลายปี พ.ศ. 2537 ดังนั้น ทางโครงการฯ จึงได้จัดทำ
แผนผังระบบน้ำประปาภายในโครงการให้สอดคล้องกับแผนงานของการประปานครหลวงที่กำลังดำเนินการ
โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการติดตั้งท่อประปาขนาด 300 มิลลิเมตรเข้ากับท่อเดิมที่มีอยู่เพื่อ
จ่ายน้ำเข้าสู่โครงการคอนโดมิเนียมอุตสาหกรรมขั้นแรก ส่วนขั้นตอนที่สองจะเป็นการก่อสร้างท่อประปาขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 800 มิลลิเมตร จากโรงกรองน้ำบางเขนเลียบคลองประปาเข้าสู่พื้นที่โครงการ
(4.7) ระบบระบายน้ำและการบำบัดน้ำเสีย
โครงการเมืองทองธานีได้มีการจัดทำระบบท่อน้ำและอุโมงค์ใต้ดินเพื่อป้องกัน
การเกิดปัญหาน้ำท่วมภายในพื้นที่โครงการ โดยฝนที่ตกลงมาจะไหลผ่านท่อน้ำใต้ดินและอุโมงค์ระบายน้ำ
จากนั้นจึงไหลต่อลงสู่ทะเลสาบและคลองต่าง ๆ ได้แก่ คลองบางพุด คลองวัดช่องลม และคลองส่วย นอกจากนี้
การสร้างทะเลสาบขึ้นยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อโครงการ คือ ทำหน้าที่คล้ายอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติและสร้าง
ความสมดุลของน้ำที่ไหลลงสู่คลองต่าง ๆ โดยมีที่ตั้งของทะเลสาบอยู่ทางทิศเหนือของโครงการถึง 2 แห่ง พื้นที่
สามารถเชื่อมโยงติดต่อกัน 370,000 ตารางเมตร ทั้งนี้ ระดับน้ำในทะเลสาบและคลองต่าง ๆ จะถูกกักเก็บไว้
ไม่เกินความสูง 0.7 เมตร ณ ระดับเฉลี่ยของน้ำทะเล
(5) บทสรุปการพัฒนา
โครงการเมืองทองธานี ถือเป็นโครงการที่แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองใหม่ นั้น
อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการประสบความสำเร็จนั้นค่อนข้างนาน โดยเมืองทองธานีใช้ระยะเวลากว่า 30 ปี
จนถึงปัจจุบันที่ทำให้พื้นที่เมืองใหม่ที่วางแผนไว้นั้นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ค่อย ๆ พัฒนาเติมเต็มพื้นที่ภายใน
โครงการ อีกทั้งโครงการเมืองทองธานีได้เผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ. 2540 จึงทำให้โครงการเติบโตได้
ช้ายิ่งขึ้น ในการพิจารณาการพัฒนาเมืองใหม่ที่ต้องการพึ่งพาภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการให้เป็นรูปธรรม
ภาครัฐจึงจำเป็นที่จะต้องอำนวยความสะดวก รวมถึงมีส่วนร่วมในการตั้งรับและแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ต่าง ๆ
รวมกับภาคเอกชน ถือเป็นการแบกรับความเสี่ยงกันไว้คนละครึ่ง ซึ่งสามารถนำไปสู่เครื่องมือการพัฒนาที่มีอยู่
ในปัจจุบัน เช่น เครื่องมือการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership: PPP)

2-150
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนเองต้องมีความพร้อมในการตั้งรับวิกฤตการณ์ในทุกรูปแบบที่
อาจทำให้การพัฒนาโครงการหยุดชะงักหรือขาดสภาพคล่อง รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจของผู้ลงทุนอื่น ๆ
หรือแม้แต่ผู้ที่จะเข้าไปประกอบกิจการหรืออยู่อาศัยในพื้นที่ที่กำลังจะพัฒนาเมืองใหม่ในอนาคต
2) โครงการนิคมอุตสาหกรรมนวนคร
(1) ความเป็นมาโครงการ
นวนคร คือหนึ่งในนิคมฯ ที่มีประวัติยาวนานที่สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.
ปทุมธานี ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมเนื้อที่ 6,575 ไร่ ในด้านความสะดวกของการเดินทางมี ทั้ง ทางด่วน, ถนนวง
แหวน, สถานีรถไฟและ สถานีรถบัส ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งสร้างความคล่องตัว และความสะดวกในการ
เดินทางไปทั่วทุกส่วนภาคของประเทศ
นิคมนวนคร ปทุมธานีถือ เป็นแหล่งรวมแรงงานที่มีฝีมือ จำนวนมาก โดยในปี 2514
นวนครเป็นบริษัททีป่ ระกอบกิจการทางด้านเขตอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในบริษัทที่
ดำเนินการมาเป็นเวลายาวนานกว่า 37 ปี ซึ่งในปี 2545 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย ภายใต้ชื่อ บริษัท นวนคร จำกัด มหาชน และบริษัทนวนครจำกัดมหาชนเป็นที่ยอมรับของทั้งนัก
ลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศซึ่งมีบริษัทรวมกันอยู่ภ ายในโครงการมากกว่า 200 บริษัท ไม่ว่าจะเป็น
ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไต้หวัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และอื่นๆ โดยธุรกิจส่วนใหญ่ในเขต
อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และ
อุตสาหกรรมสนับสนุน เป็นต้น
(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ
• เพื่อพัฒนาเขตอุตสาหกรรม จะทำให้เกิดการขยายตัวขึ้นของเศรษฐกิจจากสิทธิ
ประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินภายในโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร และผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร
ตามประกาศกรมศุลกากร
• พัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม และพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ทั้งเส้นทางคมนาคม ระบบจัดการน้ำ ระบบไฟฟ้า รวมถึงระบบจัดการมูลฝอย
(3) เป้าหมายของโครงการ
เพื่อพัฒนาและส่งเสริมที่ดินในเขตอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจบริเวณโครงการให้มีมูลค่า และ
สร้างแรงจูงใจในการลงทุนในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมนวนคร
(4) รายละเอียดโครงการ
ตัวโครงการ สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯได้ในเวลา 1 ชั่วโมง ห่างจากสนามบิน
สุวรรณภูมิ 55 กิโลเมตร ซึ่งนวนครเองจะจัดให้มีโครงการ เดอะนวไพรเวซี่ เพื่อสำหรับรองรับการโตของชุมชน
ภายในโครงการ เป็นคอนโดมิเนียมและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ สำหรับผู้บริหารและพนักงานภายในโครงการ
อีกด้วย โดยการพัฒนาโครงการในเขตอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานี จะสามารถแบ่งได้เป็น 4 เขต ดังนี้
• เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม บริษัทฯ มีพื้นที่ที่เป็นอุตสาหกรรมทั่วไปประมาณ
4,148 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมด (ปัจจุบันมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่กว่า 203 โรงงาน) และมี
พื้นที่ขายคงเหลือทั้งส่วนอุตสาหกรรมอีกประมาณ 116 ไร่

2-151
• เขตพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย บริษัทฯได้มีการจัดแบ่งพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นเขต
พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย บนพื้นที่ประมาณ 641 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด (ปัจจุบันมีผู้
อยู่อาศัยในพื้นที่ประมาณ 5,000 ครัวเรือน) และมีพื้นที่ขายคงเหลือประมาณ 92 ไร่
• เขตปลอดอากร บริษัทฯ ได้จัดแบ่งมีพื้นที่ประมาณ 137 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4
ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโครงการ ผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนในเขตปลอด
อากรจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีตามกฎหมายทุกประการซึ่งปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวได้ขายหมดและปิดเฟส
เรียบร้อยแล้ว
• เขตระบบสาธารณูปโภคและพื้นที่สีเขียว เขตระบบสาธารณูปโภคและพื้นที่สีเขียว
มีพื้นที่ประมาณ 2,279 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งหมด

(ที่มา : เว็บไซต์ Nava Nakorn Industrial Zone)


รูปที่ 2.4-14 ที่ตั้งและแผนผังเขตอุตสาหกรรม
(5) บทสรุปการพัฒนา
โครงการดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จในเชิงของการพัฒนาพื้นที่
นิคมอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่อยู่อาศัย รวมอยู่ในพื้นที่เดียวกัน รวมถึงสาธารณูประการและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ
แบบผสมผสาน โดยการพัฒนาโครงการ สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเนื่องจากมีมาตรการสร้างแรงจูงใจ
ในการส่งเสริมการลงทุน ด้วยการมอบสิทธิประโยชน์กับผู้ซื้อที่ดินภายในโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมน
วนคร ดังต่อไปนี้

2-152
▪ ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลา
ที่ได้รับการส่งเสริม
▪ ได้รับการยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี
▪ ได้รับการยกเว้น อากรขาเข้า สำหรับเครื่องจักร
ส่วนสิทธิพิเศษของพื้นที่ในเขตโครงการปลอดอากร (ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร
ตามประกาศกรมศุลกากร) จะมีดังต่อไปนี้
- ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อนำเข้าในเขต
ปลอดอากรในกรณี ดังต่อไปนี้
1. ของที่เป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้รวมทั้งส่วนประกอบของ
ดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การ
เศรษฐกิจของประเทศ
2. ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและนำเข้าไปในเขตปลอดอากร สำหรับใช้ใน
การประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ
- ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบ ที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก
- ได้ ร ั บ ยกเว้ นอากรขาออก สำหรั บ ของที ่ป ลอดไปจากเขตปลอดอากร
เพื่อการส่งออก
- ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิต
- ไม่กำหนดอัตราส่วนหรือปริมาณและระยะเวลาในการส่งออก
นอกจากการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม และองค์ประกอบอื่นๆภายในพื้นที่ จะ
ประสบความสำเร็จ ในตัวของโครงการเองแล้ว ยังขอให้เกิด การพัฒนาบริเวณโดยรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
อีกเป็นบริเวณกว้าง มีกิจกรรมประเภทที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรม รวมถึงสาธารณูประกันต่างๆเกิดขึ้น
มากมาย ภายหลังการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว ที่พัฒนาบนพื้นที่ ในระยะแรก ที่ยังมีความเป็น
ชนบทและเกษตรกรรมอยู่มาก จนกลายมาเป็นเนื้อเมืองในปัจจุบัน
3) โครงการวังจันทร์วัลเลย์
(1) ความเป็นมาโครงการ
โครงการวังจันทร์วัลเลย์ ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 3,500 ไร่ ของกลุ่ม ปตท. ณ ต.ป่ายุบใน อ.
วังจัน ทร์ จ.ระยอง ซึ่ง ปตท. ได้ร ับ ความไว้วางใจจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และ
นวัตกรรม โดยเข้าร่วมเป็นพันธมิตรหลักกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ใน
การวางแผน พัฒนา และบริหารพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ขึ้นเป็นฐานที่ตั้งสำคัญของ เขตนวัตกรรมระเบียง
เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม
ทุกภาคส่วนของประเทศ รองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามนโยบายประเทศไทย 4.0

2-153
(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ
สร้าง “วังจันทร์วัลเลย์” ให้เป็น Smart Natural Innovation Platform เมืองนวัตกรรม
แห่งอนาคตของประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์ สามารถรองรับการดำเนินงานของภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้ง
ประชาชนที่จะมาใช้บริการในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นส่วนสำคัญในการนำพาประเทศให้เข้าสู่ยุค
Thailand 4.0 อย่างมั่นคง และยั่งยืน สนับสนุนการขยายบทบาทของประเทศไทยในการเป็นประตูสู่สากลได้
ต่อไปในอนาคต
(3) เป้าหมายของโครงการ
ปตท. ในบทบาทผู้พัฒนาพื้นที่ มีเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่ วังจันทร์วัลเลย์ ให้เป็น
เมืองวิจัยนวัตกรรมของประเทศ ในรูปแบบ Smart Natural Innovation Platform โดยมีระบบนิเวศ
นวัตกรรมที่เป็นเลิศ (Smart Innovation EcoSystem)
(4) รายละเอียดโครงการ
โครงการวังจันทร์วัลเลย์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เพียบพร้อม รองรับการ
ทำงานและการอยู่อาศัย ตอบสนองการใช้งานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม ที่จะพัฒนาพื้นที่โครงการฯ
ให้มีระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ในระดับชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมี
การนำแนวคิดเมืองอัจ ฉริย ะ 7 ด้าน ซึ่งได้รับการรับรอง จาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
(Smart Environment, Smart Mobility, Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart
Governance, Smart Energy) เข้ามาใช้ในการออกแบบพัฒนาโครงการฯ โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันพัฒนา
ผู้ประกอบการไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจแห่งอนาคตและอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) เพื่อเป็น
กลไกในพัฒนาเศรษฐกิจ และเพิ่มคุณภาพชีวิตความเป็ นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นด้วยนวัตกรรม องค์ความรู้
และเทคโนโลยี ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ ปตท. ที่ต้องการจะขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต
(Powering Life with Future Energy and Beyond) โดยการออกแบบในเชิงพื้นที่ของโครงการวังจันทร์
วัลเลย์ จะมีพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เปิดโล่ง (Green Area & Open Space) ประมาณ 60% ของโครงการ โดย
ภายในโครงการ ปตท. ได้ แ บ่ ง โซนการพั ฒ นาพื ้ น ที ่ อ อกเป็ น 3 โซนหลั ก ตามแนวคิ ด Smart Natural
Innovation Platform ดังนี้
• Education Zone การพัฒนาพื้นที่เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ เสริมสร้าง
ความเข้มแข็งให้การวิจัย ในโซนนี้ ปัจจุบันได้เป็นที่ตั้งของสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) โรงเรียนกำเนิดวิทย์
(KVIS) และศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ซึ่งได้เปิดดำเนินการแล้ว
• Innovation Zone การพั ฒ นาพื ้ น ที ่ ส ำหรั บ งานวิ จ ั ย และนวั ต กรรมของ
ประเทศ ในโซนนี้จะเป็นที่ตั้งของกลุ่มอาคารกลุ่มนวัตกรรม EECi ของ สวทช. ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา 4 เมือง
นวัตกรรม ได้แก่ BIOPOLIS, ARIPOLIS, SPACE INNOPOLIS และ FOOD INNOPOLIS รวมถึงหน่วยงานจาก
ภาครัฐ (เช่น สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เป็นต้ น) บริษัทในกลุ่ม ปตท. และภาคเอกชนอื่น ๆ เข้าร่วมพัฒนา
พื้นที่ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่บางส่วนที่ยังรอการพัฒนาในอนาคตร่วมกับพันธมิตรอื่น ๆ ที่สนใจดำเนินกิจกรรมที่
เกี่ยวข้องกับด้านวิจัยและนวัตกรรมอีกด้วย
• Community Zone การพัฒนาพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัยและสันทนาการเพื่อ
ตอบสนองความต้องการให้กับนักวิจัยและครอบครัว รวมถึงชุมชนที่อยู่บริเวณโดยรอบและประชาชนทั่วไป

2-154
รูปที่ 2.4-15 การออกแบบในเชิงพื้นที่ของโครงการวังจันทร์วัลเลย์
โดยผู้ออกแบบและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการใช้งานในโซน
ต่างๆ ของ EECi ปตท.เน้นการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้พลังงานและ
ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักการ Smart City + Natural Innovation Park เป็นกรอบแนวคิดในการ
ออกแบบพื้นที่และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ
(5) บทสรุปการพัฒนา
โครงการวังจันทร์วัลเลย์ ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จ เป็นอย่างมาก แม้ว่า
จะเป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ ในการพัฒนา แต่เนื่องจากการได้มาซึ่งที่ดิน เป็นที่ดินที่สามารถพัฒนาได้โดยไม่ติดเงื่อนไข
ใดๆในเชิงกฎหมาย รวมถึงมีแหล่งเงินทุน และพันธมิตร ที่คอยสนับสนุนและขับเคลื่อน ประกอบกับสอดคล้องกับ
นโยบายการพัฒนาในระดับชาติ ทำให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาได้ อยากเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน โดยรูปแบบการ
ลงทุน มีความชัดเจน ประกอบด้วย
ปตท. ได้ ล งทุ น ระบบโครงสร้ างพื ้ นฐาน ระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศ และระบบ
สาธารณูปโภค รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่รองรับการอยู่อาศัยของประชากรภายในโครงการฯ นอกจากนี้
โครงการฯยังจัดให้มีพื้นที่สีเขียวมากถึง 60% เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของกลุ่มนักวิจัยที่เป็น
กำลังสำคัญในการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งใช้ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ตามนโยบาย Thailand 4.0

2-155
ปตท. สวทช. และกลุ่มพันธมิตร มีความพร้อมที่ จะให้การสนับสนุนในด้านงานวิจัยกับ
บริษัทเอกชน Start-up ผู้ประกอบการ และกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ เพื่อต่อ
ยอดและแก้ปัญญา หรือ Pain Point ในการดำเนินธุรกิจ
4) โครงการเคหะชุมชนเมืองใหม่บางพลี
(1) ความเป็นมาโครงการ
การเคหะแห่งชาติได้ดำเนินการพัฒนาโครงการเมืองใหม่บางพลี หรือเคหะชุมชนเมืองใหม่
บางพลี จากเหตุผลและความจำเป็นที่ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีการเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง และเป็น
ศูนย์กลางในทุกๆ ด้าน ระบบขนส่งและพลังงานมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เกิดความแออัดของประชากรและ
กิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหามลภาวะเป็นพิษ ปัญหาสาธารณูปโภค
และสาธารณูปการไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นต้น รัฐจึงมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยส่งเสริมการ
กระจายความเจริญสู่ภูมิภาคโดยพยายามสนับสนุนให้มีเมืองหลักและเมืองรองในแต่ละภูมิภาค และให้สิทธิพิเศษ
ต่างๆ เพื่อดึงดูดให้ภาคเอกชนไปลงทุนเพื่อสร้างความเจริญขึ้นมาโดยรัฐจัดเตรียมสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ไว้พร้อม แต่ยังมีปัญหาเกิดขึ้น เมื่อรัฐไปลงทุนต่างจังหวัดแต่เอกชนก็ยังสนใจที่จะลงทุนในกรุงเทพฯอยู่ดี ซึ่งทำให้
นโยบายนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เอกชนไม่สนใจที่จะไปลงทุนเพราะ ไม่คุ้มค่า รัฐบาลจึงหันกลับมาสนใจที่
จะพัฒนาพื้นที่ใกล้กรุงเทพมหานคร และจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ได้เน้น การพัฒนากรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น
จึงทำให้แนวคิดในการสร้างเมืองใหม่ดังกล่าวให้มีความสำคัญขึ้นมา
(2) วัตถุประสงค์ของโครงการ
• เพื่อกระจายความเจริญและลดอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานคร
• เพื่อบรรเทาความขาดแคลนที่อยู่อาศัยภายในกรุงเทพมหานคร
• เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาการใช้ที่ดินผิดประเภท
• เพื่อสร้างแหล่งงานให้แก่ประชาชน
• เพื่อสร้างระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการที่เหมาะสมกับการขยายตัวของ
เมือง และจะเป็นตัวช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเครือข่ายสาธารณูปโภคในเขตชานเมืองได้

2-156
ที่มา : การประเมินความสำเร็จของโครงการเมืองใหม่บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

รูปที่ 2.4-16 แผนผังโครงการเมืองใหม่บางพลี และสภาพปัจจุบันของพื้นที่

(3) เป้าหมายของโครงการ
โครงการเมืองใหม่บางพลีมีเป้าหมายคือการเป็นเมืองที่สมบูรณ์ได้ในตัว เอง (Self
Contained) โดยคาดว่าประชากรครึ่งหนึ่งของประชากรในเมืองจะสามารถประกอบอาชีพในแหล่งงานต่างๆ
ได้แก่ ย่านอุตสาหกรรม ย่านธุรกิจการค้า สถานที่ราชการ สถานศึกษที่อยู่ในเมือง ส่วนของประชากรที่ เหลือก็
จะยังมีแหล่งงานบริเวณใกล้เคียง คาดว่าจะมีประชากรทั้งสิ้น 25,000ครอบครัว หรือประมาณ 125,000 คน
เป็นประชากรในวัยทำงานประมาณ 40,000 คนปัจจุบันมีประชากรประมาณ 5,205 ครอบครัว หรือประมาณ
25,000 คน โดยความหนาแน่นของประชากรประมาณ 16 คนต่อไร่ หรือ 300 ครอบครัวต่อไร่
(4) รายละเอียดโครงการ
การดูแลโครงการเคหะชุมชนเมืองใหม่บางพลี อยู่ในความรับผิดชอบของผู้อำนวยการ
เคหะชุมชนเมืองใหม่ ซึ่งจัดให้มีสำนักงานบริการชุมชน คือ สำนักงานดูแลเคหะชุมชนเมืองใหม่บางพลี (ตัวแทน
ของการเคหะแห่งชาติ) โดยจะมีการแบ่งโซนการพัฒนา ดังนี้
• โซนที่อยู่อาศัยรายได้น้อย บริเวณด้านหน้าโครงการ ใกล้กับส่วนบริการชุมชน ใน
เขตวาระที่ 2 ส่วนที่ 2 เป็นที่อยู่อาศัยแบบอาคารชุดสูง 5 ชั้น จำนวน 1,728 หน่วย และอีกบริเวณคือ ด้านใน
สุด ของโครงการเมืองใหม่บางพลี เป็นโครงการอาคารเช่าแบบแฟลต 5 ชั้น จำนวน 6,320 หน่วย
• โซนที่อยู่อาศัยรายได้ปานกลาง อยู่ถัดจากโซนรายได้น้อย เป็นอาคารพักอาศัย
แบบบ้านแฝด มีขอบเขตและที่จอดรถ

2-157
• โซนที่อยู่อาศัยรายได้สูง ถูกแยกจากโซนที่อยู่อาศัยรายได้ปานกลาง เป็นพื้นที่
สิ้นสุดในวาระที่ 1 เงียบสงบ มีความเป็นส่วนตัว
• ย่านพาณิชยกรรม แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ย่านการค้าระดับชุมชน และย่าน
ศูนย์การค้าหลักบริเวณด้านหน้าโครงการ (เนื้อที่ 27 ไร่)
• ย่านอุตสาหกรรม อยู่ทางฝั่งตะวันออกของถนนสายประธาน ปัจจุบันมีโรงงาน 126 โรง
• สถานที่ราชการ พื้นที่ 55.28 ไร่
• สถานศึกษา พื้นที่ 43 ไร่
• คลอง คูน้ำ คลอง 21.17 ไร่ คูน้ำและเขื่อนดินรอบโครงการ 105.20 ไร่ เพื่อเป็น
แนวป้องกันน้ำท่วม
(5) บทสรุปการพัฒนา
ปัจจุบันส่วนสาธารณูปโภคและการใช้ที่ดินในเมืองใหม่บางพลี มีการพัฒนาพื้นที่ไป
เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังคงมีพื้นที่ว่างที่ยังไม่ได้พัฒนาตามแผนแม่บทอยู่อีก เป็นจำนวนมาก เหตุผลสำคัญเกิด
จาก งบประมาณ ที่ต้องใช้เป็นจำนวนมาก กับผลตอบรับในเชิงเศรษฐกิจ และการเงิน ที่จะกลับเข้ามาดูแลพื้นที่
รวมถึงพัฒนาพื้นที่ในเฟสต่อไป ไม่เป็นไปดั่งเป้าหมายที่คาดหวังไว้ เนื่องจากผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้
น้อย และมีการเปลี่ยนมือจาก เจ้าของอาคารเดิม เป็นการแบ่งเช่าเป็นจำนวนมาก ประกอบกับความชำรุดทรุด
โทรม ตามกาลเวลาของอาคารที่พักอาศัยรวมถึงสาธารณูปโภคและสาธารณูประการต่างๆ ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจ
ในการเข้าอยู่อาศัย ในปัจจุ บัน นอกจากนี้ในพื้นที่บริเวณโดยรอบ โครงการยังมีการพัฒนาพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น
จำนวนมาก ซึ่งมีความทันสมัย และมีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูอาการที่ เพียบพร้อมเช่นเดียวกัน การ
พัฒนาพื้นที่ให้เป็นไปตาม ผังแม่บทที่วางไว้ จึงอาจจะต้องปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบัน

2.4.2 กรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่เมืองใหม่ในต่างประเทศ
การพัฒนาเมืองใหม่ในต่างประเทศได้มีการนำแนวคิดเรื่องเมืองใหม่มาใช้ในการพัฒนามาค่อนข้าง
ยาวนาน โดยมีบทบาทและบริบทเมืองใหม่ที่พัฒ นาขึ้นแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ในการพัฒนา ซึ่ง
กรณีศึกษาในต่างประเทศนั้นควรพิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนดพอสังเขปได้ดังนี้
1) เป็นโครงการจริงที่มีการพัฒนาไปแล้ว
2) มีขนาดจำนวนประชากรใกล้เคียงกันกับจังหวัดนครราชสีมา
3) มีลักษณะทางกายภาพที่ตั้งอยู่บนที่ราบเนินเขาเล็กน้อย ห่างไกลจากชายฝั่ง และไม่มีแม่น้ำ
ขนาดใหญ่ไหลผ่าน
4) มีระบบขนส่งมวลชนที่พัฒนาร่วมกับการพัฒนา TOD อย่างสมบูรณ์
5) มีระบบรถไฟความเร็วสูงตัดผ่าน
อย่างไรก็ตาม หากโครงการใดที่แม้จะไม่ได้อยู่ในขอบข่ายของเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นนั้น แต่มีกระบวนการ
วางแผนและจัดทำผังที่น่าสนใจหรือมีกระบวนการนำไปสู่การปฏิบัติที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงก็จะ
นำมาใช้เป็นกรณีศึกษาเช่นเดียวกัน โดยกรณีศึกษาในต่างประเทศที่นำมาทบทวน ได้แก่

2-158
1) เมืองใหม่มิวล์ตัน คีนส์ ประเทศอังกฤษ (Milton Keynes, England)
(1) ความเป็นมาโครงการ
เมืองมิว ล์ตัน คีน ส์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนื อของลอนดอน ในปี ค.ศ. 1967
(พ.ศ. 2510) กระทรวงเคหการและรัฐบาลท้องถิ่นได้กำหนดเขตพื้นที่ที่จะพัฒนาใหม่ขึ้น มีเนื้อที่เกือบ 9,000
เฮกตาร์ (ประมาณ 90 ตารางกิโลเมตร หรือ 56,250 ไร่) โดยเขตพื้นที่พัฒนานี้จะรวมพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐาน
ปัจจุบันของเมืองเบ็ทซ์ลีย์ (Bletchley) สโตนี สเตรทฟอร์ด (Stony Stratford) วูฟเวอร์ตัน (Wolverton) และ
นิวแบรดเวลล์ (New Bradwell) รวมถึงหมู่บ้าน 13 แห่ง และเขตก่อสร้างทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง
เบ็ทซ์ลีย์ (Bletchley) ด้วย
เมืองนิวพอร์ต แพกเนลล์ (Newport Pagnell) ในขณะนั้นเป็นเพียงเมืองขนาดเล็กที่มี
ประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 6,300 ครัวเรือน ตั้งอยู่ติดทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองมิวล์ตัน คีนส์
(Milton Keynes) และถูกแบ่งแยกพื้นที่เมืองออกจากเมืองมิวล์ตั น คีนส์ โดยมีถนนมอเตอร์เวย์ M1 พาดผ่าน
นอกจากนี้ ยังมีลักษณะทางกายภาพเด่นชัด เหมาะที่จะใช้เป็นเส้นกำหนดแนวเขตของเมือง เช่น ทางรถไฟจาก
เมืองเบดฟอร์ด (Bedford) ไปยังเมืองเบ็ทซ์ลีย์ เป็นแนวแบ่งเขตทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แม่น้ำเกรทอูส
(Great Ouse) แบ่งเขตทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และถนนสายประธานสั้น ๆ เช่น ถนนสาย A5 และ A421
แบ่งเขตทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ ขณะที่พื้นที่ที่ห่างจากชุมชนเมืองเดิมออกไปจะเป็นแนวเขตแดน
ของเมืองใหม่ซึ่งรายล้อมไปด้วยพื้นที่เกษตรกรรมและมีถนนสายประธานตัดผ่าน 1 สาย คือ ถนนสาย A5
(วัตลิงค์ สตรีท WALTING STREET)

ที่มา : architectsjournal.co.uk, 2017


รูปที่ 2.4-17 ขอบเขตพื้นที่วางผังพัฒนาเมือง (ค.ศ. 1967)
2-159
(2) ผังแม่บท
ในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) ได้มีการจัดทำผังสำหรับโครงการมิวล์ตัน คีนส์ (Milton
Keynes) โดยคณะที่ปรึกษาของบรรษัท ซึ่งประกอบด้วย ลีเวลน์ เดวีส์ (Llewelyn-Davies) วีคส์ (Weeks)
โฟเรสเทียร์-วอล์คเกอร์ (Forestier-walker) และบอร์ (Bor) ต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “ผังแม่บท” ซึ่งเป็น
ความพยายามที่จะสร้างเมืองและสิ่งอำนวยความสะดวกในรูปแบบการพัฒนาที่ดี เน้นให้มีการเชื่อมโยงระหว่าง
ระบบขนส่ง การใช้ที่ดิน และความจำเป็นในการรวมองค์ประกอบพื้นฐานทั้ง 2 นี้เข้าด้วยกัน โดยผังแม่บทนี้
ถือเป็นแผนกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
(3) เป้าหมายของแผน กำหนดไว้ 6 ประการ ได้แก่
(3.1) โอกาสและความอิสระในการเลือก
(3.2) เส้นทางสัญจรและทางเข้าออกที่สะดวก
(3.3) ความสมดุลและความหลากหลาย
(3.4) การสร้างสรรค์เมืองให้สวยงาม น่าดึงดูดใจ
(3.5) การรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชนในสังคม
(3.6) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
(4) หลักเกณฑ์ของโครงสร้างเมือง
เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ ในผังแม่บทได้ระบุหลักเกณฑ์ของโครงสร้างเพื่อใช้กำหนด
รูปแบบ ลักษณะของเมือง ตลอดจนโครงร่างของการพัฒนา โดยลักษณะเด่นที่นำมาใช้ คือ รูปแบบ “ตาราง”
(Grid) เพื่อตอบสนองการใช้ที่ดินกระจายตลอดทั่วเมือง โดยรูปแบบตารางของถนนคู่ขนาน 2 เส้นที่ใช้ตัดผ่าน
การใช้ที่ดินแบบผสมเป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตรทั่วพื้นที่ มีการกระจายที่อยู่อาศัยและแหล่งงาน
ตลอดจนระบบการจราจรและถนน เพื่อป้องกันปัญหาจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน โดยสอดคล้องกับผังเมืองแบบ
รัศมี (Radial) และช่วยแยกการจราจรออกจาก “ตาตาราง” (Grid square) ซึ่งล้อมด้วยถนนสายหลักของเมือง
(5) ผังกลยุทธ์
ในการก่อสร้างเมืองจะมีการประสานกับผังที่ออกแบบโดยใช้ผังแม่บท (Master Plan)
เป็นเกณฑ์ หากจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงบางส่วนจะต้องได้รับความเห็นชอบและเป็นไปตาม
ความต้องการของชุมชนนั้น ๆ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนของผังแม่บทนี้นับว่าเป็นจุดแข็ง เนื่องจากสามารถ
ยืดหยุ่นได้ ดังนั้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป ผังแม่บทจะมีการเปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์และความต้องการอยู่เสมอ
ในปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) บรรษัทได้ใช้ผังกลยุทธ์ (Strategic Plan) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
(5.1) โครงข่ายถนนและเส้นทางอื่น ๆ
• โครงข่ายถนน
เมื่อพิจ ารณาจากผังแม่บท โครงข่ายถนนหรือช่วงตัดถนนประมาณ 1
ตารางกิโลเมตร จะมีการจัดเขตพาณิชยกรรม แหล่งงาน และเขตธุรกิจการค้ากระจายไปอย่างเหมาะสม ทำให้
ไม่เกิดการจราจรติดขัดในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน จึงมีประโยชน์ต่อทางเลือกในการเดินทางและวางแผนการใช้
ประโยชน์จากที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
• การสำรองถนนสายหลักของเมือง มีหน้าที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่

2-160
- เพื่อขยายช่องทางคู่ขนาน (Dual carriageways) ในอนาคตเมื่อจำเป็น
- เพื่อเตรียมไว้สำหรับสาธารณูปโภคต่าง ๆ
- เพื่อพัฒนาให้เป็นเขตพื้นที่ภูมิสถาปัตย์ ซึ่งช่วยป้องกันการรบกวนจาก
เสียงหรือการจราจร และพัฒนาให้เป็นถนนที่มีสวนรื่นรมย์สวยงาม (Parkway)
- เพื่อเตรียมไว้สำหรับการพัฒนาการคมนาคมรูปแบบอื่นในอนาคต
• การจราจร
ในทางปฏิบัติ พบว่า ถนนบางสายจะมีการจราจรคับคั่งมากกว่าถนนสายอื่น
เช่น สาย M1 ที่เชื่อมต่อกับถนนรอบ ๆ ศูนย์กลางมิวล์ตัน คีนส์ (CMK) จะมีการจราจรที่คับคั่งมาก จึงได้
ปรับเปลี่ยนเป็นเส้นทางคู่ขนาน (Carriageways) เชื่อมทางแนวเหนือ-ใต้ ได้สร้างสาย A5 ขึ้นใหม่ เพื่อบรรเทา
การจราจรที่แออัดในถนนวัตลิงค์
• ระบบขนส่งมวลชน
ในปี ค.ศ. 1970 ผั ง แม่ บ ทได้ ร ะบุ แ ละให้ ค วามสำคั ญ กั บ ระบบขนส่ ง
สาธารณะและได้ทำการออกแบบ โดยความคิดเห็นจากประชาชนและผู้ใช้รถใช้ถนน ดังนี้
- รถประจำทาง จะมีเส้นทางบนถนนสายหลั กของเมื อ งในตาตาราง
(Grid square)
- ช่องทางที่จอดรถประจำทาง (Lay-Bys) บนถนนสายหลักของเมือง
(City Road) ใกล้กับสะพานลอยข้ามทางหรือทางลอดใต้ดิน เพื่อความปลอดภัยของคนเดินเท้า นอกจากนี้ ยังมี
ที่พักผู้โดยสารพร้อมตารางเวลาเดินรถ และข้อมูลทุก ๆ ป้ายจอดรถ
- การไม่ ม ี จ ุ ด จอดรถอย่ า งเป็ น ทางการ ทำให้ ถ นนสามารถรองรั บ
รถโดยสารขนาดเล็กและมีความกว้างเพียงพอกับยานพาหนะอื่น ๆ เช่น รถขยะ และรถฉุกเฉิน
- ศูนย์กลางมิวล์ตัน คีนส์ (CMK) คือ ศูนย์กลางสำหรับเส้นทางรถประจำ
ทางของเมืองและเส้นทางของรถระหว่างเมือง รองรับเขตเมืองรอบนอก เส้นทางรถประจำทางในเมืองและจาก
เมืองต่าง ๆ ตามแนวถนนมิดซัมเมอร์ บูเลอร์วาร์ด (Midsummer Boulevard) ซึ่งมีสถานีจอดรถที่อยู่ในรัศมี
ไม่เกิน 500 เมตรจากทุกจุดของศูนย์กลางมิวล์ตัน คีนส์ (CMK) จึงง่ายต่อผู้เดินทาง
- บริษัทรถประจำทางประจำเมือง (City bus) เป็นผู้ดำเนินกิจการสถานี
จอดรถประจำทางในเมืองวินเตอร์ฮิลล์ (Winterhill) ด้านสถานีจอดรถจะรองรับรถประจำทางที่มาจากท้องถิ่น
อื่น (Rural Bus) และเป็นจุดจอดรถประจำทางที่มาจากระยะไกล รวมทั้งรถใหญ่อื่น ๆ
- สถานีจอดรถในเมืองเบ็ทช์ลีย์ (Bletchley) ดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว
เพราะมีถนนควีนเวย์ (Queenways) ที่เต็มไปด้วยร้านค้า เหมาะสมกับคนเดินเท้าที่สามารถใช้เวลาจับจ่ายได้
• เส้นทางสำหรับรถจักรยาน
เส้นทางหลักสำหรับเดินเท้าและจักรยานกำหนดให้มีความกว้างอย่างน้อย
3 เมตร โดยสร้างในระบบเรดเวย์ (Redway) ทีเ่ ชื่อมต่อกับแหล่งสำคัญต่าง ๆ ของเมืองและแบ่งเส้นทางออกมา
จากถนนตาราง (Grid Road) เชื่อมต่อทั้งในแนวตั้งและแนวนอนกับถนนสายหลักของเมือง (City Road)
เส้นทางส่วนมากจะมุ่งตรงไปยังถนนทางหลวง (Highway) เพื่อให้เส้นทางเดินทางเป็นแนวตรงและสะดวกต่อ
ผู้ใช้เส้นทาง ดังนั้น โดยปกติการออกแบบจึงวางเส้นทางเรดเวย์ให้เชื่อมต่อกับถนนสายหลักของเมือง

2-161
ที่มา: Llewelyn Davies และปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563.
รูปที่ 2.4-18 ผังแม่บทพัฒนามิวล์ตัน คีนส์ ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513)

ที่มา: Llewelyn Davies, 2020


รูปที่ 2.4-19 โครงข่ายถนนภายในเมืองมิวล์ตัน คีนส์

2-162
(5.2) การใช้ที่ดิน
ในผังแม่บทมีวัตถุประสงค์ที่จะรักษาสมดุลระหว่างเขตที่อยู่อาศัยและแหล่งงาน
เพื่อให้เป็นเมืองที่สมบูรณ์ในตัวเอง ประชาชนไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเข้าออกจากเมืองทุกวัน เพราะมีแหล่งงาน
ประเภทต่าง ๆ และมีโอกาสของการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการบริหารด้านสาธารณูปโภคและ
สาธารณูปการที่สอดคล้องกับ จำนวนผู้อยู่อาศัย ซึ่งคาดว่าจะมีประชากรประมาณ 200,000 คน จำนวน
ครัวเรือน 80,000 หลังคาเรือน
ตารางที่ 2.4-3 สัดส่วนการใช้ที่ดินตามผังกลยุทธ์ เมืองมิวล์ตัน คีนส์
การใช้ทดี่ ิน พื้นที่ (เฮกตาร์) ร้อยละ
ที่อยู่อาศัย (รวมโรงเรียนประถม เขตใจกลางเมืองระดับรอง และพื้นที่กลางแจ้ง) 3,690 41.5
แหล่งงานรวม 1,060 12.0
ศูนย์กลางเมืองมิวล์ตัน คีนส์ (CMK) 160 2.0
อื่น ๆ (สาธารณูปโภคและสาธารณูปการนอกเขต CMK) 475 5.5
บริคฟิวส์ (Brickfield) 275 3.0
ถนนและพื้นที่สำรอง 1,250 14.0
สวนสาธารณะและพื้นที่ว่างโล่ง 1,970 22.0
รวม 8,880 100
ที่มา : เอกสารแปลคู่มือการวางแผน/วางผังเมืองใหม่มิวล์ตัน คีนส์ ประเทศอังกฤษ สมาคมนักผังเมืองไทย กองผังเมืองและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายโครงการ
เมืองใหม่ การเคหะแห่งชาติ, 2541.

(5.3) การผสมผสานการตั้งถิ่นฐานใหม่กับโบราณสถาน
ในผังแม่บทมีวัตถุประสงค์เพื่อบำรุงรักษาเมืองและหมู่บ้านให้เป็นเอกลักษณ์
ของเมืองใหม่ให้มากที่สุด บทบาทของเมืองเดิมต่าง ๆ และหมู่บ้าน 13 แห่งจึงได้รับการขยายและพัฒนา
รวมทั้งหมู่บ้านรอบ ๆ บริเวณที่มีการวางผังไว้ โดยถนนสายเดิมมีไว้เพื่อรองรับโครงการพัฒนาใหม่อย่ างจำกัด
เพื่อรักษาขนาดและรูปแบบเดิมของหมู่บ้านนั้น ๆ ไว้ และไม่ให้ถนนผ่านกลางหมู่บ้านต่าง ๆ เหล่านี้ ส่วน
โบราณสถานและวัตถุที่มีความสำคัญทางด้านโบราณคดีจะต้องรักษาไว้และจัดให้เป็นพื้นที่ร่วมกับที่ว่างโล่ง
(5.4) การพัฒนาที่อยู่อาศัย
ผังแม่บทคำนึงถึงความต้องการที่ อยู่อาศัยที่หลากหลายเพื่อตอบรับความพอใจ
และสนองความต้องการด้านพื้นที่ที่มากขึ้น เนื่องมาจากการคาดการณ์ว่ารายได้ของประชากรจะเพิ่มขึ้นโดย
เฉลี่ยความหนาแน่นสุทธิในบริเวณที่อยู่อาศัยจะเท่ากับ 20 หลังคาเรือนต่อเฮกตาร์ (de/ha) โดยประมาณ ซึ่ง
จะแตกต่างกันในแต่ละโครงการและพบว่ามักจะมากกว่าค่าความหนาแน่นที่ตั้งเป้าไว้โดยเฉลี่ยประมาณ 27
หลังคาเรือนต่อเฮกตาร์ เนื่องจากขนาดที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มเล็กลง
(5.5) การพัฒนาแหล่งงาน
ในการออกแบบครั้งแรกได้เตรียมพื้นที่เพื่อรองรับแรงงานจำนวน 18,350
ตำแหน่งภายในเขตเบ็ทช์ลีย์ของเมืองมิวล์ตั น คีนส์ ก่อนที่เขตวูฟเวอร์ตัน (Wolverton) จะเริ่มพัฒนาขึ้นมา
เป็นเขตแรงงานทางวิศวกรรมของการรถไฟแห่งอังกฤษ (British Rail) จนมีจำนวนแรงงานเพิ่มขึ้นเป็น 83,540
ตำแหน่ง ดังนั้น ในการวางผังครั้งนี้จึงกำหนดพื้นที่สำหรับแหล่งงานไว้ 1,060 เฮกตาร์ (ยกเว้นในศูนย์กลาง
เมืองมิว ล์ตัน คีน ส์ (CMK)) รวมทั้งบริการที่เ กี่ยวเนื่อ งต่ าง ๆ ที่จำเป็น (เช่น ร้านค้าปลีก สถานศึ ก ษา

2-163
ศูนย์สุขภาพ) ที่สามารถรองรับการจ้างงานได้ทั้งหมด 125,000 - 130,000 ตำแหน่ง ส่วนสำนักงานที่เขต
ศูนย์กลางเมืองมิวล์ตัน คีนส์ (CMK) และสวนสาธารณะแคมป์เบลล์ (Campbell park) ที่มีร้านค้า ที่อยู่อาศัย
สถานบันเทิง จะสามารถรองรับการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีก 31,000 ตำแหน่ง
(5.6) สาธารณูปโภค
การระบายน้ำแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ การระบายน้ำฝนจากผิวดินและการนำน้ำเสีย
มาผ่านกระบวนการบำบัดก่อนระบายน้ำทิ้ง ในเขตมิ วล์ตัน คีนส์มีท่อรองรับน้ำผิวดินแยกต่างหากและนับเป็น
ส่วนหนึ่งของท่อระบายน้ำ สำหรับน้ำเสียดำเนินการจัดเก็บและบำบัดภายใต้การดูแลของกรมบำบัดการระบาย
น้ำประจำภูมิภาค
ด้านการให้บริการน้ำประปาอยู่ภายใต้การจำหน่ายน้ำของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
2 แห่ง ส่งน้ำผ่านท่อจากการประปาไปยังท่อหลักของเมือง โดยวิธีไหลตามธรรมชาติ โครงข่ายถนนที่สำรองไว้
จะมีเส้นทางสำหรับท่อประปาหลักด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถให้บริการได้ทุกพื้นที่
ด้านการให้บริการกระแสไฟฟ้ามีการจำหน่ายไฟที่สำคัญ 2 แห่ง คือ เมืองเบ็ทช์ลีย์
เรดมูร์ (Bletchley Redmoor) และเมืองแบรดเวลล์ เอ็บบีย์ (Bradwell Abbey) ส่งไฟฟ้าผ่านสายไฟฟ้าใต้ดิน
ขนาด 33 KV ไปยังสถานีหลัก 11 แห่ง และจ่ายกำลังไฟไปยังสถานีรอง ขนาด 11 KV จำนวน 600 แห่ง เพื่อ
แปลงกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานตามอาคารบ้านเรือนและบริเวณที่มีการขยายตัวในการพัฒนาเมือง
ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ช่วงก่อนการวางแผนพัฒนาได้ให้บริการด้วย
การปักเสาพาดสายในอากาศไปตามเส้นทางของถนนสายต่าง ๆ ในการวางแผนครั้งนี้เส้นทางหลักของย่านที่อยู่
อาศัยแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นในเมืองจะใช้การร้อยสายในท่อใต้ดิน ส่วนบริการสายโทรศัพท์ยังคงใช้วิธีปักเสาพาด
สายในอากาศ
(5.7) สาธารณูปการ
ศูนย์การค้า ศูนย์บันเทิง ศูนย์กีฬา ล้วนอยู่ในเขตศูนย์กลางเมืองมิวล์ตัน คีนส์
(CMK) ขณะที่เมืองเก่า เช่น เบ็ทซ์ลีย์ (Bletchley) สโตนี สเตรทฟอร์ด (Stony Stratford) และวูฟเวอร์ตัน
(Wolverton) จะได้รับการส่งเสริมออกแบบและพัฒนาให้เป็นทำเลที่ดึงดูดบริเวณรอบ ๆ ศูนย์กลางเมืองที่
สร้างขึ้นใหม่ ส่วนสาธารณูปการระดับท้องถิ่น เช่น ร้านค้าย่อย ผับ โรงเรียน สถานีอนามัย จะจัดไว้เป็นบริเวณ
สันทนาการกลางแจ้ง (Outdoor Leisure Facilities)
(5.8) โครงข่ายพื้นที่สีเขียว
สวนธรรมชาติตามเนินเขามีการเชื่อมต่อเนื่องกันของเมืองมุ่งสู่บริเวณรอบนอก
นอกจากนี้ ยังมีทะเลสาบไว้เพื่อความสมดุลและควบคุมภาวะน้ำท่วมเป็นลักษณะที่สำคัญ ส่วนสวนป่าละเมาะ
โดยรอบ (Outlying Wood) และสนามกอล์ ฟจะเชื่อมต่อกับระบบสวนสาธารณะหลักโดยใช้ล ักษณะภู มิ
สถาปัตยกรรมเป็นทางสำหรับม้าและทางเดินเท้าด้วย
(5.9) ศูนย์กลางเมืองมิวล์ตัน คีนส์
ศูนย์กลางเมืองมิวล์ตัน คีนส์ (CMK) เป็นศูนย์กลางธุรกิจ พาณิชยกรรม สังคม
และงานบริหารของเมือง ทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางระดับท้องถิ่นสำหรับประชาชนในเมืองมิวล์ตัน คีนส์ และเป็น
ศูนย์กลางระดับภาคสำหรับพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองมิวลตัน คีนส์

2-164
ที่มา : Llewelyn Davies, 2020 ปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563. ที่มา: Llewelyn Davies, 2020 ปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา, 2563.
รูปที่ 2.4-20 โครงข่ายพื้นที่สีเขียวตามผังกลยุทธ์ เมืองมิวล์ตัน คีนส์ รูปที่ 2.4-21 ผังกลยุทธ์ (Strategic Plan) ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532)

2-165
(6) แนวทางการนำไปสู่การปฏิบัติ
การวางแผนและการดำเนินงานในกระบวนการต่าง ๆ ของโครงการในเมืองมิวล์ตัน
คี น ส์ เป็ น หน้ า ที ่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบของบรรษั ท พั ฒ นาเมื อ งโดยอาศั ย ประสบการณ์ แ ละตอบสนองต่ อ
การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐและสภาวะทางเศรษฐกิจ ข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เป็นกฎหมายในการพัฒนาเมืองใหม่
ถูกตราขึ้นจากพระราชบัญญัติพัฒนาเมืองใหม่ ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524) และพระราชกำหนดพัฒนาเมืองใหม่
ฉบับผังเฉพาะ ค.ศ. 1977 (พ.ศ. 2520) และ ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528) ซึ่งในพระราชบัญญัติพัฒนาเมืองใหม่
กำหนดให้ก่อตั้งบรรษัทพัฒนาเมืองสิทธิ์เมืองใหม่แต่ละเมืองซึ่งจะระบุไว้ว่า งานพัฒนาวางผังและออกแบบเมืองจะ
อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของบรรษัทพัฒนาเมือง (Development Corporation) ส่วนพระราชบัญญัติระบุให้
มีสิทธิและอำนาจเต็มที่ในการดูแลการพัฒนาของตนเองหรือในที่เอกชน
บรรษัทพัฒนาเมืองใหม่ (New Town Development Corporation) มีอำนาจจัดหา
ที่ดินราคาถูก โดยในเมืองมิวล์ตัน คีนส์ (Milton Keynes) การได้ที่ดินที่ผ่านมาจะใช้วิธีตกลงราคาเป็นส่วนใหญ่
บรรษัทจะเตรีย มข้อเสนอการใช้ที่ดิน ในแต่ล ะพื้นที่แก่ห น่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม (Department of the
Environment (DoE)) เพื่อให้หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมได้พิจารณาหลักเกณฑ์และผลกระทบตามเงื่อนไขหรือ
ข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตราที่ 7 (1) ของพระราชบัญญัติพัฒนาเมืองใหม่ ค.ศ. 1981 การนำเสนอการใช้พื้นที่
ประเภทต่าง ๆ ตามแผนการลงทุนทางเข้าออกและการคืนทุนโดยใช้แผนที่มาตราส่วน 1 : 2,500 แสดงการใช้
พื้นที่ประเภทต่าง ๆ ส่วนข้อมูลเพิ่มเติมจะแยกไว้ต่างหาก ดังตัวอย่างผังการใช้ที่ดินเมืองมิวล์ตัน คีนส์ (Milton
Keynes) นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการเมืองใหม่ (The Commission of the New Town) ซึ่งมีหน้าที่ใน
การดูแลทรัพย์สิน มรดก และหนี้สินของบรรษัท ดำเนินการต่อสัญญาดำเนินการตามสั ญญาและข้อตกลงใน
การพัฒนาต่าง ๆ ของบรรษัท และดูแลการพัฒนาเมืองจนกว่าการพัฒนาเมืองจะเสร็จสมบูรณ์และได้มาตรฐาน
ตามแผน แต่คณะกรรมการเมืองใหม่จะไม่มีอำนาจในการวางแผนทั้งหมดแต่อย่างใด
2) การพัฒนาพื้น ที่ย่า นสเตเปิ ลตัน เมืองเดนเวอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (Stapleton,
Denver, USA)
(1) ความเป็นมาโครงการ
ย่านสเตเปิลตัน (Stapleton) เป็นย่านทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเดนเวอร์
(Denver) มลรัฐโคโลราโด (Colorado) ประเทศสหรัฐอเมริกา มีขนาดพื้นที่ประมาณ 4,700 เอเคอร์ (ประมาณ
19 ตารางกิโลเมตร) ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองเดนเวอร์ประมาณ 6 ไมล์ (ประมาณ 9 กิโลเมตร) โดยย่านสเตเปิลตัน
เป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติสเตเปิลตัน (Stapleton International Airport) สนามบินขนาดเล็กที่เปิด
ทำการในช่ว งปี ค.ศ. 1929-1930 และเป็นสนามบินหลักของเมื องเดนเวอร์มาเป็นระยะเวลากว่า 65 ปี
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ของทางราชการ คือ คลังอาวุธและพื้นที่ฝึกทหาร (Rocky Mountain Arsenal) และพื้นที่
ธุรกิจการบิน (Stapleton and Lowry Air Force) อันเป็นพื้นที่หลักในการเป็นที่พักฟื้นของสัตว์ป่า พื้ นที่
พาณิชยกรรม พื้นที่ศึกษาและฝึกทหาร

2-166
ที่มา: stapletondenver.com, 1999.
รูปที่ 2.4-22 ขอบเขตย่านสเตเปิลตัน: พื้นที่สีแดง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเดนเวอร์ (ซ้าย)
ขอบเขตพื้นที่พัฒนาย่านสเตเปิลตัน (ขวา)
การปิดสนามบินสเตเปิลตันถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เกิดกรอบการพัฒนาทาง
กายภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และกฎหมาย เพื่อชี้นำการเปลี่ยนแปลงในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า
ทั้งยังเป็นแนวทางการพัฒนาแบบใหม่ที่มุ่งให้เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนของ โลก
การพัฒนาโครงข่ายชุมชน การจ้างงาน การให้ความสำคัญกับพื้นที่สีเขียว การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ และ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การวางแผนพัฒนาย่านสเตเปิลตันเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า
Stapleton Tomorrow เป็นความร่วมมือจากทั้งหน่วยงานภายในย่ านสเตเปิลตัน หน่วยงานเมืองเดนเวอร์
และหน่ว ยงานเพื่ อ การฟื ้น ฟูเ มื องสเตเปิล ตัน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการให้ เป็น ที ่ปรึ ก ษาของประชาชน
ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี ผู้เชี่ยวชาญ และเปิดให้มีการมีส่วนร่วมของชุมชนมากกว่า 100 ชุมชน โดยให้
ความสำคัญกับความต้องการของชุมชนที่เกิ ดจากการเปลี่ยนฐานการจ้างงาน การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร
และแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ภายในเมืองและพื้นที่ใกล้เคียง โดยแยกออกจากโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ
ภายในเมืองและภายในประเทศ เช่น โครงการพัฒนาอาคารผู้โดยสารภายในสนามบิน (Airport Gateway)
(2) วัตถุประสงค์ของการพัฒนา ประกอบด้วย 8 ประการ ได้แก่
(2.1) มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
(2.2) สร้างผลกระทบเชิงบวกในชุมชนและภาคธุรกิจที่มีในปัจจุบัน
(2.3) เพิ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่และบริเวณโดยรอบ
(2.4) พัฒนาพื้นที่ให้สามารถเป็นเอกลักษณ์ที่ดีให้แก่เมืองเดนเวอร์และภูมิภาคโดยรอบ
(2.5) ส่งเสริมการออกแบบเมืองที่มีมาตรฐานสูง
(2.6) สร้างรายได้ผ่านการจัดสรรทรัพย์สินด้วยกองทุน
(2.7) สร้างความยั่งยืนของการศึกษาและโอกาสทางวัฒนธรรมและระบบสนับสนุน
(2.8) สร้างความสมดุลของตัวเลือกการคมนาคม สวนสาธารณะขนาดใหญ่ พื้นที่โล่ง
และพื้นที่สีเขียว

2-167
(3) เป้าหมายในการพัฒนา
(3.1) โอกาสทางเศรษฐกิจ สเตเปิลตันจะเป็นศูนย์กลางของการสร้างความหลากหลาย
ของงานด้วยการเน้นเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมใหม่ เมื่อพัฒนาพื้นที่เมืองแล้วเสร็จ สเตเปิลตันจะสามารถรองรับ
จำนวนประชากร 10,000 ครัวเรือน (ความหนาแน่น 12 หน่วยต่อเอเคอร์) การจ้างงานมากกว่า 30,000 อัตรา
และการพักอาศัยกว่า 25,000 หน่วย กลายเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญในระยะยาวของเศรษฐกิจให้กับเมือง
(3.2) ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สเตเปิลตันจะมุ่งแสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์
ทางเศรษฐกิจและชุมชน มุ่งลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรม
ของมนุษย์จะดำเนินการในรูปแบบที่ยอมรับและเคารพความสำคัญของระบบธรรมชาติ
(3.3) ความเท่าเทียมกันทางสังคม สเตเปิลตันจะช่วยให้ชุมชนเข้าถึงโอกาสทางสังคม
วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เมื่อการพัฒนาแล้วเสร็จจะเป็นตัวกระตุ้นในการปรับปรุงชุมชนขนาดใหญ่
(4) รายละเอียดโครงการ
โครงการพัฒ นาย่านสเตเปิล ตันถือเป็นโครงการพัฒ นาเมืองแบบแทนที่พื้นที่เดิม
(Urban Infill Project) คือ ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีสิ่งปลูกสร้างแล้วและพัฒนาเพิ่มเติมให้เต็มประสิทธิภาพหรือฟื้นฟู
สภาพภายในเมือง มุ่งเน้นให้เป็นชุมชนที่มีการใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน สามารถรองรับการจ้างงาน ที่อยู่อาศัย
ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสามของแหล่งที่อยู่อาศัยจะสามารถเข้าถึงสวนสาธารณะ พื้น ที่นันทนาการ และพื้นที่โล่งได้
อย่างสะดวกในระยะเดิน สร้างความกระชับ (compact) รองรับประชากรในพื้นที่ได้สูงสุด 10,000 ครัวเรือน
โดยค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นที่อยู่ที่ 12 หน่วยต่อเอเคอร์ และเพียงพอต่อการรองรับการบริการขนส่ง
สาธารณะอย่างสมเหตุสมผล โดยให้พื้นที่ ที่มีความหนาแน่นสูงสุดอยู่ใกล้กับศูนย์กลางชุมชน จุดเปลี่ยนการ
สัญจร และสิ่งอำนวยความสะดวกหลักของเมือง สนับสนุนสุขภาวะโดยมีพื้นที่โล่งภายในพื้นที่ขนาดรวมกว่า
1,600 เอเคอร์ (6.47 ตารางกิโลเมตร) ประกอบด้ว ย สวนสาธารณะ (Parks) เส้นทางพื้นที่สีเขียว (Trail)
โครงสร้างพื้นฐานทางนัน ทนาการ (Recreation Facilities) และพื้นที่ทางธรรมชาติ (Natural Areas) ซึ่ง
เชื่อมโยงไปจนถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าร็อคกี้ (Rocky Mountain Arsenal National Wildlife Area) และ
ทำหน้าที่เป็นพื้นที่ระบายน้ำด้วย นอกจากนี้ ยังมุ่งหวังให้สเตเปิลตั นพัฒนาเป็นศูนย์กลางระดับชาติสำหรับ
การพัฒ นาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และการบริการทางสิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์ศูนย์พัฒ นาเทคโนโลยี
สิ่งแวดล้อมที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ (Start Up firms) โดยเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และ
ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ประกอบการและเยาวชนในพื้นที่
โครงการพัฒนาย่านสเตเปิลตันเป็นการสะท้อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลากหลาย
แง่มุม ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินและการออกแบบชุมชนให้กระชับ การผสมผสานชุมชนให้
อยู่ในระยะเดินและเข้าถึงระบบขนส่ง ลดการใช้งานรถยนต์ส่วนบุคคลและเพิ่มศักยภาพการให้บริการของขนส่ง
ด้วย มุ่งเน้นเทคโนโลยีทางคมนาคมทั้งรถโดยสารสาธารณะ รถไฟ จักรยาน ทางเท้า และยานพาหนะทางเลือก
นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้ชุมชนสามารถใช้น้ำซ้ำได้ ( Water Reuse) ด้วย
นวัตกรรมในการจัดการปริมาณน้ำฝนให้สามารถอยู่ในระบบชลประทานและให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้
มากที่สุด อีกทั้งมีแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยที่มุ่งหวังให้เกิดขยะเป็นศูนย์ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์การลด
ปริมาณขยะ ด้วยการสร้าง “หมู่บ้านฟื้นฟูทรัพยากร (Resource recovery village)” ในชุมชนเพื่อสนับสนุนให้
เกิดขยะจำนวนน้อยที่สุด เกิดการรีไซเคิล (Recycle) และการใช้ซ้ำ (Reuse)

2-168
ที่มา : stapletondenver.com, 1999. ที่มา : stapletondenver.com, 1999.
รูปที่ 2.4-23 ผังการพัฒนาพื้นที่ย่านสเตเปิลตัน (Stapleton) (ค.ศ. 1999) รูปที่ 2.4-24 ผังพื้นที่สาธารณะและโครงข่ายสาธารณะย่านสเตเปิลตัน (Stapleton)
(ค.ศ. 1999)

2-169
(5) แนวทางการนำไปสู่การปฏิบัติ
(5.1) การจัดการโครงการ
การปรับใช้แผนพัฒนาพื้นที่ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการฟื้นฟูเมือง แต่ขั้นตอนที่มี
ความสำคัญอีกประการคือ การพัฒนาโครงสร้างการจัดการเพื่อชี้นำการจัดการและการพัฒนาผ่านการพิจารณา
ด้วยกลุ่มคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากคณะบริหารของเขต (the City and Country Administration)
สภาเมือง (City council) องค์กรปรับปรุงเมืองสเตเปิลตัน (the Stapleton Redevelopment Foundation)
คณะที่ปรึกษาของประชาชน (the Citizens Advisory Board) และองค์กรฟื้นฟูเมืองเดนเวอร์ (the Denver
Renewal Authority: DURA) อี ก หนึ ่ ง ในคณะทำงานคื อ องค์ ก รพั ฒ นาที่ ไ ม่ แ สวงผลกำไร (a nonprofit
development corporation) ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการพื้นที่และปรับปรุงเมือง ภายใต้การควบคุมของ
กลุ่มคณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้งโดยนายกเทศมนตรี คณะกรรมการของ DURA และต้องได้รับการยอมรับจาก
สภาเมืองเดนเวอร์
(5.2) การจัดหางบประมาณและเงินทุน
งบประมาณในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งสิ้นประมาณ 288 ล้านเหรียญ
ดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินในปี ค.ศ. 1994) การระดมเงินทุนโครงการได้มาจากหลากหลายช่องทาง ขึ้นอยู่กับ
ประเภทของโครงการพัฒนาและความสัมพันธ์กับผลประโยชน์ของชุมชนและพื้นที่โดยรอบ การจัดหาเงินทุน
ให้กับโครงการจะได้มาจากค่าธรรมเนียมของโครงสร้างพื้นฐาน ภาษีท้องถิ่นภายในชุมชนและพื้นที่ต่าง ๆ
ทุนเอกชน เงินทุนระบบคมนาคมจากรัฐส่วนกลาง เงินอุดหนุน รายได้เทศบาล การจัดหาเงินทุนเพื่อเพิ่มภาษี
รายได้จากระบบคมนาคมทางอากาศ ค่าธรรมเนียมการเชื่อมต่อและเขตพิเศษ
3) การพัฒนาเมืองซงโด ประเทศเกาหลีใต้ (Songdo International City, Republic of Korea)
(1) ความเป็นมาของโครงการ
เขตเศรษฐกิจพิเศษอินชอน (Incheon Free Economic Zone: IFEZ) เป็นการพัฒนา
พื้นที่จากการถมทะเลเพื่อพัฒนาเมืองใหม่ลดความแออัดที่อยู่ในกรุงโซลซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ 3 เขต คือ เมือง
ซงโด (Songdo) เมืองยองจง (Yeongjong) และ เมืองชองนา (Cheongna) มีขนาดพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ
123.6 ตารางกิโลเมตร (77,250 ไร่) โดยในแต่ละพื้นที่จะกำหนดให้มีบทบาทในการพัฒนาเมืองที่แตกต่างกัน
เมืองซงโด (Songdo City) เป็นศูนย์กลางสำคั ญ ของการพัฒ นาพื้น ที่ IFEZ โดยมี
วัตถุประสงค์ให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างระหว่างประเทศหรือ Global Business Hub ควบคู่ไปกับการเป็น
ศูนย์กลางเทคโนโลยีล้ำสมัย ตั้งอยู่ห่างจากกรุงโซลประมาณ 40 กิโลเมตร Songdo IBD เกิดขึ้นจากการถม
ทะเลเหลืองในปี ค.ศ. 1995 มีพื้นที่ประมาณ 53.4 ตารางกิโลเมตร หลังจากนั้นทาง IFEZ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่
ทางรัฐบาลเกาหลีใต้กำหนดขึ้นมาให้ทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้จัดจ้างให้ Kohn
Pedersen Fox Associates (KPF) เป็นผู้ออกแบบวางผังแม่บทให้กับเมือง อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1997 ได้
เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้แนวทางการพัฒนาเมืองดังกล่าวหยุดชะงักลง ต่อมาใน ค.ศ. 2001 IFEZ
ได้ให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จากประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทในการลงทุนพัฒนาพื้นที่เมืองใหม่
พร้อมทั้งให้ออกแบบวางผังแม่บทร่วมกับ KPF รวมทัง้ ได้กำหนดและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยที่
เรียกว่า “U-City” ให้กับเมืองไว้ด้วย

2-170
ที่มา : http://progcity.maynoothuniversity.ie/tag/ifez/
รูปที่ 2.4-25 ตำแหน่งที่ตั้งพร้อมรายละเอียดโครงการในเขตเศรษฐกิจพิเศษอินชอน (IFEZ)

รูปที่ 2.4-26 เมืองซงโด (Songdo) ในพื้นที่ International Business District

(2) เป้าหมายการพัฒนา
เมืองซงโด เป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ สร้างขึ้นจากการสนับสนุน
ของภาครัฐ แต่การบริหารจัดการดูแลภายในเมืองเป็นของภาคเอกชน โดย Gale Corporation บริษัทพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้นกว่า 40,000 ล้านดอลลาร์
รองรับจำนวนประชากรประมาณ 270,000 คน ก่อสร้างระบบโครงข่ายการสัญจรและระบบสาธารณูปโภคแล้ว
เสร็จพร้อมทั้งให้ประชาชนย้ายเข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ใน ค.ศ. 2012
(3) รายละเอียดการพัฒนา แบ่งออกเป็น 9 ย่าน ประกอบด้วย
(3.1) International Business District (Songdo IBD) ขนาดพื้นที่ 5.77 ตารางกิโลเมตร
ภายในพื้นที่มีทั้งอาคารสำนักงาน ย่านการค้าและการบริการ ย่านที่อยู่อาศัยแบบผสมผสาน ย่านที่อยู่อาศัย พื้นที่
โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล ศูนย์ประชุมสัมมนา ศูนย์วัฒนธรรม และสวนสาธารณะ Central Park และ
สนามกอล์ฟ
(3.2) Knowledge and Information Industrial Complex ขนาดพื้นที่ 2.04 ตารางกิโลเมตร
(3.3) Town Complex ขนาดพื้นที่ 1.29 ตารางกิโลเมตร
2-171
(3.4) Bio-Complex ขนาดพื้นที่ 1.31 ตารางกิโลเมตร
(3.5) International Complex ขนาดพื้นที่ 1.42 ตารางกิโลเมตร
(3.6) High-tech Industrial Cluster ขนาดพื้นที่ 14.65 ตารางกิโลเมตร
(3.7) Landmark City ขนาดพื้นที่ 5.83 ตารางกิโลเมตร
(3.8) New Port Logistic Complex ขนาดพื้นที่ 12.54 ตารางกิโลเมตร
(3.9) A-am Logistics ขนาดพื้นที่ 3.89 ตารางกิโลเมตร

ที่มา: Presentation of Incheon Free Economic Zone, Dr. Soleiman Dias, Ph.D
รูปที่ 2.4-27 การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารในเขต Songdo IBD

ที่มา : Presentation of Incheon Free Economic Zone, Dr. Soleiman Dias, Ph.D
รูปที่ 2.4-28 การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขต Songdo IBD
2-172
ปั จ จุ บ ั น IFEZ ยั ง คงพั ฒ นาระบบโครงสร้ า งพื ้ น ฐานอย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง เพื ่ อ รองรั บ
การขยายตัวของจำนวนประชากรและให้บริการในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ครอบคลุมในการใช้ชีวิตของประชากรให้
มากขึ้น โดยรูปแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ใช้ภายใน Songdo IBD และประเทศเกาหลีใต้ เรียกว่า ระบบ
U-City หลักการของ U-City คือ ระบบโครงสร้างพื้นฐานไร้สายที่ทุกคน (Anyone) สามารถเข้าถึงและได้รับ
บริการได้จากทุก ๆ อุปกรณ์ (Any Device) และในทุก ๆ ที่ของเมือง (Anywhere) โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
หลัก ประกอบด้วย
• Public Service เป็นการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) มาใช้ในการจัดการ
กับระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในเมือง ประกอบด้วย
- U-Traffic ระบบการจัดการจราจรภายในเมือง
- U-Crime Prevention ตรวจสอบความปลอดภัยและป้องกันอาชญากรรม
- U-Facility Management การจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ภายในเมือง
- U-Disaster Prevention ตรวจสอบความปลอดภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ
- U-Environment ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
- U-Providing information to Citizens ระบบการบริการข้อมูลให้กับประชาชน
• Private Service เป็ น การนำระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศ (ICT) มาใช้ ใ นการ
ให้บริการธุรกรรมส่วนบุคคล ประกอบด้วย
- U-Home ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในที่พักอาศัย
- U-Store หรือระบบ E-Commerce
- U-Learning หรือระบบ E-Learning
- U-Money หรือระบบ E-Banking
- U-Health ระบบการดูแลสุขภาพผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- U-Car ส่งเสริมการใช้รถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่มา: International Case Studies of Smart Cities, Inter-American Development Bank


รูปที่ 2.4-29 ตำแหน่งกล้อง CCTV ในเมือง Songdo
2-173
ที่มา: International Case Studies of Smart Cities, Inter-American Development Bank
รูปที่ 2.4-30 ตำแหน่งจุด Wireless Service ในเมือง Songdo
จากรูป แบบของ U-City เมืองซงโด (Songdo IBD) นำมาใช้ในการบริ ห ารจั ด การ
ภายในเมืองในระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านต่าง ๆ ตามเกณฑ์ชี้วัด Smart Cities ดังนี้
• Smart Community
- วางแผนการจัดระบบการศึกษาที่ดีที่สุดโดยเน้นตั้งแต่การจัดสภาพแวดล้อมที่
เอื้ออำนวยต่อการศึกษาไปจนถึงเนื้อหาหลักสูตรที่ตอบโจทย์แห่งโลกอนาคต
- พัฒนาพื้นที่ให้กับมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่งของเกาหลี เช่น มหาวิทยาลัย
ยอนเซ (Yonsei University) วิทยาลัยอินชอนมาเปิดวิทยาเขตใหม่ในเมือง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนเกาหลีย้ายเข้า
มาใช้ชีวิตในเมือง
- ติ ดตั ้ งกล้ อง CCTV ในทุ กระยะ 400-500 เมตรของถนนภายในเมื อง เพื่ อ
ตรวจสอบความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์บนถนน โดยข้อมูลที่ตรวจจับได้จากป้ายทะเบียน ข้อมูลผู้ขับขี่แบบ
Real-time จะนำส่งไปยังสถานีตำรวจและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังช่วยตรวจสอบเหตุร้ายต่าง ๆ ใน
พื้นที่ หากพบบุคคลที่มีพฤติกรรมที่เป็นที่ต้องสงสัยหรือเป็นอันตราย ข้อมูลบุคคลดังกล่าวจะนำส่งไปยังสถานี
ตำรวจในทันที
- ติดตั้งระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติธรรมชาติและกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ เช่น ไฟไหม้
ปัญหาอุทกภัย หรือแผ่นดินไหว เป็นต้น โดยข้อมูลเหตุการณ์แบบ Real-time จะถูกรวบรวมผ่านระบบดาวเทียม
ศูนย์ข้อมูลของเมือง ระบบเตือนภัยในแต่ละอาคารและถูกส่งมายังศูนย์กลางจัดการของเมือง (U-Emergency
Service) และจะถูกส่งต่อไปยังระบบแจ้งเตือน เพื่อแจ้งข้อมูลให้กับประชาชนที่อยู่ภายในเมืองให้รับทราบ

2-174
ที่มา : International Case Studies of Smart Cities, Inter-American Development Bank
รูปที่ 2.4-31 ขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้ถนน

ที่มา : International Case Studies of Smart Cities, Inter-American Development Bank


รูปที่ 2.4-32 ระบบปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยภายในเมือง
• Smart Environment
- ออกแบบให้มีพื้นที่โล่งว่างภายในเมืองมากกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อ
ลดความแออัดในการใช้พื้นที่ และมีพื้นที่สีเขียวภายในเมืองไม่น้อยกว่าร้อยละ 32 ของพื้นที่เมืองทั้งหมด สร้าง
แนวแกนสีเขียวหลักเชื่อมต่อพื้นที่ย่านต่าง ๆ ของเมือง

2-175
- ออกแบบระบบการจัดการขยะและของเสียในแต่ละครัวเรือนให้มีท่อสำหรับ
กำจัดของเสียจากภายในแต่ละหลังคาเรือนและกำจัดขยะผ่านท่อระบบรวมขยะและของเสียที่ถูกกำจัดมาจาก
ที่อยู่อาศัยที่มารวมกันในจุดรวมใต้ดิน เพื่อนำมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์
- ออกแบบระบบการจัดการน้ำโดยให้น้ำผิวดินและน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว
กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้

ที่มา: Presentation of Incheon Free Economic Zone, Dr. Soleiman Dias, Ph.D
รูปที่ 2.4-33 พื้นที่โล่งว่างและพื้นที่สีเขียวภายในเมืองซงโด (Songdo)

2-176
ที่มา : https://www.kpf.com/projects/new-songdo-city
รูปที่ 2.4-34 ภูมิทัศน์ถนน (Streetscape) ภายในเมืองซงโด (Songdo)

ที่มา : Presentation of Incheon Free Economic Zone, Dr. Soleiman Dias, Ph.D
รูปที่ 2.4-35 ระบบการจัดการของเสียภายในเมืองซงโด (Songdo)

2-177
ที่มา : Presentation of Incheon Free Economic Zone, Dr. Soleiman Dias, Ph.D
รูปที่ 2.4-36 ระบบการจัดการน้ำที่ใช้แล้วนำกลับมาภายในเมืองซงโด (Songdo)
• Smart Energy
เน้นการใช้พลังงานจากธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าภายในเมือง รวมทั้งเน้นการใช้
พลังงานจากก๊าซธรรมชาติแทนการใช้น้ำมัน

ที่มา: https://www.kpf.com/projects/new-songdo-city
รูปที่ 2.4-37 การจัดการการใช้พลังงานภายในเมืองซงโด (Songdo)
• Smart Mobility
- สร้างรูปแบบการเดินทางที่หลากหลาย ง่ายต่อการเข้าถึงแต่ละพื้นที่ และ
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เส้นทางจักรยานเชื่อมต่อกันภายในเมืองระยะทาง 25 กิโลเมตร เพิ่มเส้นทาง
การสัญจรทางน้ำบริเวณคลองใน Central Park รวมทั้งมีระบบขนส่งมวลชนรองรับในแต่พื้นที่

2-178
ที่มา: https://www.kpf.com/projects/new-songdo-city

รูปที่ 2.4-38 รูปแบบการเดินทางภายในเมืองซงโด (Songdo)


- นำระบบ ICT มาใช้ในการให้ข้อมูลในการเดินทางระบบขนส่งมวลชนบริเวณ
จุดจอดหรือสถานี อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับศูนย์ให้บริการผ่านปุ่ม Calling บริเวณจุดจอดนั้น ๆ ได้ในทันที
ขณะเดียวกันข้อมูลการเดินทางยังสามารถเชื่อมต่อไปยังเครื่องมืออุปกรณ์สื่อสารผ่านระบบ Wireless ได้อีกด้วย
- นำระบบ ICT มาควบคุมการจอดรถยนต์ในที่ห้ามจอดผ่านระบบกล้อง CCTV
โดยข้อมูลที่ตรวจจับได้จากป้ายทะเบียน ข้อมูลผู้ขับขี่แบบ Real-time จะนำส่งไปยังสถานีตำรวจ สำนักสรรพากร
ในแต่ละพื้นที่ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาระบบ COSMOS (Cycle Offset Split Model of Seoul) เพื่อควบคุ ม
และจัดการระบบจราจรภายในเมือง โดยสามารถปรับเปลี่ยนสัญญาณไฟจราจร ช่องทางการเดินรถให้เหมาะสมใน
ช่วงเวลาเร่งด่วน (Peak Hours) ช่วงเวลาปกติ (Non-Peak Hours) และในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม

ที่มา : International Case Studies of Smart Cities, Inter-American Development Bank


รูปที่ 2.4-39 การให้ข้อมูลในการเดินทางระบบขนส่งมวลชนบริเวณจุดจอดรถโดยสารประจำทาง

2-179
• Smart Building
- ออกแบบให้อาคารภายในเมืองให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานตามมาตรฐานของ
LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) โดยได้รับ LEED Certificate ไม่น้อยกว่า 8 อาคาร
ภายในเมือง โดยเป็นทั้งอาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุมสัมมนา โรงแรม โรงเรียน และอาคารอยู่อาศัยรวม
- ในปัจจุบันเมืองซงโดได้พัฒนาในพื้นที่ส่วนของ Songdo IBD, Knowledge and
Information Industrial Complex, Town Complex, Bio-Complex, International Complex และพื้นทีบ่ างส่วน
ของพื้นที่ High-tech Industrial Cluster มีประชากรย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยภายในเมืองแล้วไม่น้อยกว่ า
90,000 คน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(4) บทเรียน
การพัฒนาเมืองใหม่ซองโดถูกวิพากษ์วิจารณ์ใน 2 ประเด็นหลัก คือ เป็นการพัฒนาเพื่อ
เน้นตอบสนองความต้องการของนักลงทุนชาวต่างหลักมากกว่าปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยภายในประเทศ
ผู้พัฒนาโครงการจึงจัดให้มีสาธารณูปการ เช่น โรงเรียนนานาชาติและสถานพยาบาลระดับนานาชาติ รวมถึงให้
สิทธิพิเศษทางภาษีและอื่น ๆ มากมายเพื่อดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนและอยู่อาศัยในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม
ในความเป็นจริงนั้น กรุงโซลและประเทศเกาหลีใต้ยังคงมีปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย โครงการพัฒนาเมืองใหม่
จึงสะท้อนให้เห็นถึงความไม่สมดุลของการพัฒนาเพื่อคนท้องถิ่นและคนต่างถิ่น
เนื่องจากเมืองใหม่ซงโดได้รับการวางแผนให้เป็นเมืองต้นแบบอัจฉริยะจึงมีก ารนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาช่วยในการบริหารจัดการเมืองในมิติต่าง ๆ รวมถึงเพื่อเฝ้าระวังและรักษา
ความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในเมือง แม้ว่าจะสามารถสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยสูงขึ้นได้จริง แต่ก็ส่งผล
กระทบต่อความรู้ส ึกเป็น ส่ว นตัว ผู้อยู่อาศัยเกิดความรู้ส ึกเหมือนถูกเฝ้ามองหรือติดตามอยู่ตลอดเวลา
โดยเฉพาะในระหว่างผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติที่มาจากประเทศทางแถบตะวันตก สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการใช้
เทคโนโลยีอันชาญฉลาดที่เกินความเหมาะสมและการพัฒนาเมืองที่ไม่มีความยืดหยุ่นและดูเหมือนจะควบคุม
ทุกอย่าง ประกอบกับความทันสมัยที่ มักมาพร้อมกับต้นทุนราคาแพง เมืองใหม่ซงโดจึงไม่ใช่เมืองที่สามารถ
เปิดรับผู้คนที่หลากหลายได้ จึงสามารถสรุปได้ว่า การนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้ในการพัฒนาและบริหาร
จัดการเมืองจะไม่สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์การพัฒนาที่ประสบผลสำเร็จได้เลย หากเทคโนโลยีดังกล่าวถูกนำมาใช้
เพื่อการควบคุมมากกว่าเพื่อเปิดโอกาสให้เกิดความยืดหยุ่น การริเริ่ม ความโปร่งใส และความหลากหลาย
4) การพัฒนาพื้นที่ย่านจูหล่ง ประเทศสิงคโปร์ (Jurong Lake District, Republic of Singapore)
(1) ความเป็นมาของโครงการ
Jurong Lake District (JLD) เป็นโครงการพัฒนาเขตที่อยู่อาศัยและย่านธุรกิจใหม่ของ
ประเทศสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงใกล้กับย่านอุตสาหกรรมมูลค่าสูง ท่าเรือ Tuas มหาวิทยาลัย
วิจัยระดับโลก 2 แห่ง และสะดวกต่อการเชื่อมต่อไปยังตัวเมืองและประเทศมาเลเซีย เนื่องจากตั้งอยู่บนเส้นทาง
รถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมระหว่างประเทศสิงคโปร์กับกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งถือเป็นการเปิด
ตลาดใหม่และสร้างโอกาสให้กับคนภายในภูมิภาคมากกว่า 10 ล้านคน อีกทั้งจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนทาง
ธุรกิจและวัฒนธรรม เขตทะเลสาบจูหล่งจึงเหมาะแก่การพัฒนาเป็นย่านพาณิชยกรรมที่เชื่อมต่อพื้นที่ภายใน
ด้ว ยการคมนาคมที ่ท ัน สมัย และสะดวกสบาย แบ่งออกเป็ น 2 พื้นที่ ได้แก่ เขต Jurong Gateway เป็น

2-180
ห้างสรรพสินค้าที่มีการรวมกลุ่มกันของบริษัทและหน่วยงานสาธารณะ ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำหรับบริษัทพัฒนา
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์กลางด้านการค้า นอกจากนี้ ยังมีสถานที่ที่ดึงดูดภาคบริการการเดิน เรื อ
เนื่องจากโครงการอยู่ใกล้กับท่าเรือใหม่และล้อมรอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ และเขต Lakeside
ประกอบด้วย ย่านที่อยู่อาศัยรวมกับย่านธุรกิจและการค้า พื้นที่นันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจ แทรกด้วย
พื้นที่สีเขียว เชื่อมพื้นที่ภายในย่านด้วยโครงข่ายทางเดินเท้า และเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังรถไฟความเร็วสูงที่วิ่ง
ระหว่างกัวลาลัมเปอร์กับสิงคโปร์ (Kuala Lumpur-Singapore High-Speed Rail: HSR)
(2) วัตถุประสงค์โครงการ
(2.1) เพื่อพัฒ นาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งที่ส องของประเทศสิง คโปร์ ผลักดัน
การเติบโตของเศรษฐกิจสิงคโปร์ในอนาคต
(2.2) เพื่อขยายพื้นที่ธุรกิจและลดปัญหาความแออัดในเมือง และสร้างแหล่งงาน
สิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่นันทนาการที่มีคุณภาพ
(2.3) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายด้านธุรกิจและสร้างโอกาสให้กับ
ประชาชนในการมีแหล่งงานใกล้กับที่พักอาศัย
(2.4) เพื่อเป็นพื้นที่นำร่องในการก้าวเข้าสู่ "Smart City" ของประเทศสิงคโปร์

ที่มา: https://www.jld.gov.sg/, 2020.


รูปที่ 2.4-40 ทัศนียภาพในอนาคตภายในโครงการ Jurong Lake District (JLD)

2-181
ที่มา: https://www.jld.gov.sg/, 2020.
รูปที่ 2.4-41 การเชื่อมต่อระหว่างเขตทะเลสาบจูหล่งและพื้นที่ใกล้เคียง
(3) เป้าหมายโครงการ
โครงการพัฒนาพื้นที่ทะเลสาบจูหล่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 360 เฮกตาร์ (ประมาณ
3.6 ตารางกิโลเมตรหรือ 2,250 ไร่) มีพื้นที่เฉพาะการเดินทาง (transit-only zone) 45 เฮกตาร์ (0.45 ตาราง
กิโลเมตร หรือ 281.25 ไร่) และพื้นที่ริมน้ำ (waterfront space) ยาว 17 กิโลเมตร ภายใต้แผนแม่บทสำหรับ
เขตทะเลสาบจูหล่งมีการตั้งเป้าหมายด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยขยายและสร้างที่อยู่อาศัยใหม่จำนวน
20,000 แห่ง และมีการสร้าง BTO flats (แฟลต Build-to-Order) ในบริเวณเมืองใหม่ Tengah จำนวน 1,620 แห่ง
ในส่ว นแรงงานและการจ้างงาน เขตทะเลสาบจูห ล่งมีเป้าหมายในการสร้างพื้นที่
พาณิชยกรรมที่สนับสนุนการสร้างงานมากกว่า 100,000 อัตรา รับกลุ่มแรงงานขนาดใหญ่และกลุ่มลูกค้าจาก
เมืองใกล้เคียงมากกว่า 1,000,000 คน และเกิดกลุ่มธุรกิจข้ามชาติและธุรกิจระดับโลกมากกว่า 3,000 บริษัท
(4) แนวคิดการพัฒนาโครงการ
โครงการพัฒนาเขตทะเลสาบจูหล่งพัฒนาเมืองภายใต้แ นวคิดเมืองแห่งเทคโนโลยี
“Smart City” ที่จะเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืนและการเป็นจุดเชื่อมต่อ
รถไฟความเร็ว สูง (HSR) ซึ่งเป็น การทดลองโครงการ Smart City ภายใต้นโยบาย Smart Nation อีกทั้ ง
สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและนำเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและ
กลายเป็นเมืองน่าอยู่ เช่น การใช้ระบบทำความเย็นรวมที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดความสิ้นเปลืองจากการใช้
พลังงาน และยังมีการคงไว้ซึ่งแนวคิด ‘City in the Garden’ หรือ แนวคิดเมืองในสวน ซึ่งเป็นนโยบายที่อยู่ใน
แผนแม่บทพัฒนาเมือง พ.ศ. 2557-2573 และแผนแม่บทการลงทุนของสิงคโปร์ พ.ศ. 2573 โดยมีแนวทางใน
การเพิ่มพื้นที่สีเขียวแนวตั้งภายใต้แนวคิดเมืองแนวตั้งและสร้างเครือข่ายภูมิทัศน์ถนน (streetscape) เพื่อให้
เกิดเมืองที่เดินได้อย่างสะดวกและพื้นที่ปฏิสัมพันธ์สาธารณะ ซึ่งจากแนวคิด ที่กล่าวมาทำให้มีกรอบการพัฒนา
โครงการที่ยึด 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

2-182
(4.1) A Hub for the Future Economy ศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งอนาคต คือ เขต
ธุรกิจแบบผสมผสานที่พื้นที่มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ในอนาคต เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทาง
เศรษฐกิจที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบกริดที่เรียกว่า ‘white zoning’ สามารถช่วยให้นักพัฒนาและ
นักธุรกิจสามารถกำหนดรูปแปลงที่ดินและพื้นที่อาคารที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่ได้ดี
ที่สุด ใช้การสร้างพื้นที่ชั้นล่างที่มีลักษณะเป็นพื้นที่เปิดโล่งต่างระดับ/เล่นระดับ (Flexible Podium Typology)
ลานสนามและบล็อกทางเดินขนาดใหญ่เป็นกุญแจสำคัญในการรองรับการใช้งานที่หลากหลาย

ที่มา : https://www.jld.gov.sg/, 2020.


รูปที่ 2.4-42 รูปแบบพื้นที่โล่งต่างระดับ/เล่นระดับ
(4.2) A New Paradigm for Mobility กระบวนทัศน์ใหม่ส ำหรั บการเดิน ทาง คื อ
ย่านที่มีโครงข่ายการคมนาคมสาธารณะที่ครอบคลุม มีพื้นที่เพียงพอ และสามารถอำนวยความสะดวกแก่
คนเดินเท้าและคนปั่นจักรยาน อีกทั้งมีบริการ Car-sharing และ On-demand autonomous vehicles เป็น
ตัวเลือกที่ทำให้มีการใช้รถยนต์ส่วนตัวเมื่อเวลาจำเป็นเท่านั้นและมีที่จอดรถอยู่ใต้ดินบริเวณของเขตการพัฒนา
(4.3) A District of Gardens and Water เขตสวนและแหล่งน้ำ คือ เขตริมทะเลสาบ
ที่โดดเด่น มีพื้นที่สีเขียวอย่างแพร่หลาย พื้นที่สาธารณะ และกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชน

2-183
ที่มา: https://www.jld.gov.sg/, 2020.
รูปที่ 2.4-43 ทัศนียภาพบริเวณพื้นที่ทางเท้าภายในทะเลสาบจูหล่ง
(4.4) A Smart and Sustainable District of the Future เขตเทคโนโลยีและความ
ยั่งยืนแห่งอนาคต คือ พื้นที่ต้นแบบในการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนด้วยการผสมผสาน
ระหว่างโครงสร้างพื้นฐานระดับย่าน รูปแบบการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และนโยบายคาดการณ์
ล่วงหน้า เช่น การลดความสิ้นเปลืองของพลังงานด้วยระบบทำความเย็นรวมและมาตรฐานระบบการจัดอันดับ
อาคารสีเขียว (Green Mark) สำหรับอาคาร การรวบรวมขยะด้วยระบบท่อแรงดัน และการจัดทำระบบข้อมูล
การใช้งานพื้นที่แบบเรียลไทม์เพื่อการวางแผนการพัฒนาได้ทันต่อสถานการณ์ เป็นต้น

ที่มา: https://www.jld.gov.sg/, 2020.


รูปที่ 2.4-44 รูปแบบการพัฒนาเมืองตามแนวคิดเขตเทคโนโลยีและความยั่งยืนแห่งอนาคต
2-184
(5) รายละเอียดโครงการ
ผังแม่บทการพัฒนาเขตทะเลสาบจูหล่งมีลักษณะเป็น Neighborhood Plan เปิดตัว
ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 โดยประกาศเป็นเขตพัฒนาเมืองใหม่ ตั้งอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางของสิงคโปร์ราว 40
นาที เขตทะเลสาบจูหล่งถูกเลือกให้เป็นเขตนำร่องในการก้าวเข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
วางแผนและออกแบบเป็นเขตที่มีความหนาแน่นสูงอย่างยั่งยืน คำนึงถึงสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
พร้อมกัน ตามที่ร ะบุไว้ในแผนความยั่งยืน ของสิงคโปร์ (Sustainable Singapore Blueprint) โดยภายใน
แผนพัฒนามีการแบ่งเขตการพัฒนาออกเป็น 2 เขต ได้แก่

ที่มา: https://www.jld.gov.sg/, 2020.


รูปที่ 2.4-45 แนวคิดการเปลี่ยนแปลงเขตทะเลสาบจูหล่ง

ที่มา : https://www.jld.gov.sg/, 2020.


รูปที่ 2.4-46 Blueprint for Jurong 2008.
2-185
(5.1) Jurong Gateway ศูนย์กลางพาณิชยกรรม
ตั้งอยู่บริเวณโดยรอบ Jurong East MRT station ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 70
เฮกตาร์ (0.7 กิโลเมตร) ถูกวางแผนให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่นอกเขตเมือง มีการผสมผสานของอาคาร
ที่หลากหลาย ได้แก่ อาคารสำนักงาน พื้นที่ค้าปลีก โรงแรม รวมถึงที่พักอาศัย สร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่เพื่อ
ดึงดูดบริษัทจากภาคธุรกิจและการบริการ ภาควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการจัดตั้งสำนักงานใหญ่
บริเวณโดยรอบสถานี Jurong East MRT ออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนเดินเท้าด้ว ยการสร้ า ง
ทางเดินยกระดับ (Elevated covered walkways) เปิดให้สัมผัสกับความร่มรื่นและภูมิทัศน์ที่สวยงามได้ด้วย
พื้นที่เปิดโล่งและสวนสาธารณะ รวมถึงยังสนับสนุนสวนหย่อมขนาดเล็กในตัวอาคารสูง (skyrise greenery)
และสวนหย่อมบนหลังคาตึก (rooftop garden) ในอาคารอีกหลายหลัง

ที่มา: https://www.jld.gov.sg/, 2020.


รูปที่ 2.4-47 ภาพตัดการพัฒนาในพื้นที่จูหล่ง (Jurong Gateway)
(5.2) Lakeside พื้นที่สำหรับกิจกรรมนันทนาการและการพักผ่อนหย่อนใจ
ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 290 เฮกตาร์ (2.9 ตารางกิโ ลเมตร) แบ่งเป็นพื้นที่
พัฒนา 220 เฮกตาร์ (2.2 ตารางกิโลเมตร) และพื้นที่แหล่งน้ำ 70 เฮกตาร์ (0.7 ตารางกิโลเมตร) ถูกออกแบบ
ให้เป็นจุดหมายปลายทางเพื่อการพักผ่อน ภายในพื้นที่มีการเพิ่มสวนสาธารณะแห่งใหม่ ปรับปรุงทางเท้า เพิ่ม
กิจกรรมทางน้ำ และสร้างสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงเอกลักษณ์ของการเป็นริมทะเลสาบมาใช้ ประ กอบด้ว ย
Lakeside Village Future Attraction Jurong Lake Garden หรื อ อุ ท ยานทะเลสาบจู ห ล่ ง และ Jurong
Country Club (JCC)

ที่มา: https://www.jld.gov.sg/, 2020.


รูปที่ 2.4-48 ภาพตัดการพัฒนาเขต Lakeside

2-186
โครงการต่าง ๆ ที่อยู่ในโครงการพัฒนาเมืองใหม่ เช่น โครงการพัฒนาถนน โครงการ
พัฒนาระบบระบายน้ำ โครงการพัฒนาเส้นทางจักรยาน โครงการพัฒนาสวนสาธารณะ ดังต่อไปนี้
• Singapore-Kuala Lumpur High Speed Rail (HSR) terminus โครงการรถไฟ
ความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์
• Cross-Island Line (CRL) โครงการพัฒนารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของประเทศสิงคโปร์
• Jurong Region Line (JRL) โครงการพัฒนารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนฝั่งตะวันตกของ
ประเทศสิงคโปร์
(6) แนวทางการนำไปสู่การปฏิบัติ
(6.1) การกำหนดมาตรการในการดึงดูดคนเข้ามาในพื้นที่ (Incentive Schemes)
องค์ ก รพั ฒ นาเมื อ งสิ ง คโปร์ (Urban Redevelopment Authority: URA)
ได้แบ่งที่ดินขนาดใหญ่มาขายให้กับเอกชนผ่านโครงการของรัฐบาลเพื่อตอบสนองความต้องการของนักพัฒนา
และสร้างความยืดหยุ่นในการพัฒนาบนสภาพตลาดที่ไม่แน่นอน ซึ่งที่ดินเหล่านี้เรียกว่า "white zoned" หรือ
เขตสีขาว มีวัตถุประสงค์เพื่อการพาณิชยกรรม ที่พักอาศัย และการพักผ่อนหย่อนใจ ทำให้ผู้พัฒนาที่ดินมีอิสระ
ในการพัฒนาที่ดินมากขึ้น อาจมีการก่อสร้างตั้งแต่อพาร์ตเมนต์ไปจนถึงพิพิธภัณฑ์ โดยการพัฒนาต้องอยู่
ภายใต้เงื่อนไขบางอย่างของรัฐบาล เช่น พื้นที่อาคารรวมสูงสุดอย่างน้อยร้อยละ 40 ต้องถูดจัดสรรให้เป็น
สำนักงาน ส่วนที่เหลือจะถูกสงวนไว้สำหรับการพัฒนาเชิงพาณิชยกรรม โรงแรม หรือที่อยู่อาศัย ทาง URA จะ
เปิดโอกาสให้นักพัฒนาเสนอราคาและรายละเอียดในการพัฒนาสำหรับพื้นที่ ดังกล่าว ผู้ชนะประมูลจะถูก
พิจารณาจากรูปแบบการพัฒนาที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมต่อพื้นที่
(6.2) การกำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อมาดูแลผัง
องค์กรพัฒนาเมืองสิงคโปร์ (Urban Redevelopment Authority: URA) เป็น
หน่วยงานตามกฎหมายภายใต้กระทรวงการพัฒนาแห่งชาติ (MND) มีหน้าที่ดูแลแผนการพัฒนากายภาพเมือง
ทั้งหมดจึงเป็นผู้ดูแลผังโครงการพัฒนาทะเลสาบจูหล่ง ซึ่งเริ่มเปิดตัวแผนการพัฒนาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551
ก่อนที่ได้ประกาศแผนแม่บทเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
5) การพัฒนาย่านอูร ัสตาด (Ørestad) เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก (Ørestad,
Copenhagen, Denmark)
(1) ความเป็นมาของโครงการ
ย่านอูรัสตาด (Ørestad) เป็นย่านที่ได้รับการพัฒนาใหม่ขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของ
เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มีขนาด 3.1 ตารางกิโลเมตร (1,937.5 ไร่) ตั้งอยู่ห่างจากสนามบิน
โคเปนเฮเกนไปทางตะวันตก 4.5 กิโลเมตร และห่างจากใจกลางเมืองโคเปนเฮเกนไปทางทิศใต้ 5 กิโลเมตร
(2) แนวคิดการพัฒนา
การพัฒนาย่านอูรัสตาด (Ørestad) เกิดขึ้นตามผังแม่บทเมืองโคเปนเฮเกนที่มีชื่อว่า
“The Finger Plan” ซึ่งแสดงให้เห็นแนวโน้มการพัฒนาเมืองใหม่ออกไปยังพื้นที่ชนบทด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
นำไปสู่โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับกลุ่มชนชั้นกลางถึงสูงที่ต้องการหลีกหนีจากปัญหาความเสื่อมโทรม
และแออัดของตัวเมืองชั้นใน โดยคาดว่าจะดึงดูดนักเรียนนักศึกษาได้ถึง 20,000 คน แรงงาน 80,000 คน

2-187
โครงสร้างผังแม่บ ทของอูร ัสตาดแบ่งเป็น 4 ส่ว นหลัก ได้แก่ พื้นที่ส ่ว นเหนือ (Ørestad North) ตัว เมือง
(Ørestad City) พื้นที่ธรรมชาติ (The nature reserve Amager Fælled) และพื้นที่ส่วนใต้ (Ørestad South)
โดยพื้นที่ส่วนเหนือคือพื้นที่ได้รับ การพัฒนาอย่างมีชีวิตชีวามากที่สุดเนื่องจากเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
หอพักนักศึกษา และที่อยู่อาศัย รองมาคือ พื้นที่ตัวเมืองที่เป็นย่านธุรกิจการค้า เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน
ศูนย์ประชุม โรงแรม และย่านพักอาศัยที่มีความหนาแน่นสูง ส่วนบรรยากาศของพื้นที่ทางใต้ค่อนข้างเงียบเหงา
ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ สำนักงาน และอาคารพักอาศัยที่มีความหนาแน่นปานกลาง-สูง ร้านค้า คาเฟ่
ห้างสรรพสินค้า และสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ในระหว่างพื้นที่ทั้ง 3 ส่วนนี้มีพื้นที่ธรรมชาติ ได้แก่ ทะเลสาบ
คู ค ลอง หรื อ พื ้ น ที ่ เ ก็ บ น้ ำ แทรกอยู ่ เ ป็ น ระยะ แต่ ล ะส่ ว นเชื ่ อ มต่ อ กั น ด้ ว ยระบบขนส่ ง ทางราง (Metro)
ที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของย่านและเชื่อมต่อเข้าตัวเมืองโคเปนเฮเกน นอกจากนี้ ในระดับสถาปัตยกรรม
การพั ฒ นาย่ า นเมื อ งใหม่ อ ู ร ั ส ตาดให้ ค วามสำคั ญ ต่ อ รู ป แบบทางสถาปั ต ยกรรมภายใต้ แ นวคิ ด Artistic
Freedom โดยต้องการให้งานศิลปะสอดแทรกเข้าไปในงานสถาปัตยกรรม (Architecture Form) คาดหวังว่า
สถาปัตยกรรมของเมืองที่มีความแปลกแหวกแนวและได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกที่มีชื่อเสียงจำนวนมากจะ
เป็นสิ่งดึงดูดผู้คนให้มาเยี่ยมเยือนพื้นที่

รูปที่ 2.4-49 เมือง Ørestad, Copenhagen, Denmark

ที่มา: https://adaymagazine.com/urban-orestad-world-architectural-city/
รูปที่ 2.4-50 ผังแม่บทเมืองโคเปนเฮเกนในรูปแบบ The Finger Plan

2-188
รูปที่ 2.4-51 การเชื่อมต่อระหว่างย่านเมืองใหม่อูรัสตาด (Ørestad) กับเมืองโคเปนเฮเกน
และผังย่านเมืองใหม่อูรัสตาด (Ørestad)
(3) บทเรียนปัญหา “เมืองไร้ชีวิต” และแนวทางการแก้ไข
เมืองใหม่อูรัสตาด (Ørestad) ที่มีสถาปัตยกรรมฝีมือสถาปนิกระดับโลกเป็นจำนวนมาก
ไม่ได้ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ เนื่องจากผลงานการออกแบบหน้าตาแปลก ล้ำสมัย และใหญ่โต
ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความรู้สึกของคน ทั้งในรูปแบบอาคาร ขนาด หรือประโยชน์ใช้สอย พื้นที่ว่างระหว่าง
อาคารก็ไม่ได้รับการออกแบบให้มีคุณภาพ ทำให้ไม่สามารถสร้างความรู้สึกเชื้อเชิญให้เกิดการใช้งาน ส่งผลให้
โครงการล้มเหลวและขาดทุน โดยในปี ค.ศ. 2008 มีรายงานว่าโครงการที่อยู่อาศัยและสำนักงานสามารถขายได้
เพียงร้อยละ 53 เท่านั้น ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนภาครัฐและเอกชนโดยถ้วนหน้า ผู้บริห ารเมืองจึงตัดสินใจ
จัดสรรที่ดินขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาเป็นห้างสรรพสินค้าและนำรายได้นั้นมาชดเชยหนี้สินที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะเกิด
รายได้ แต่ก็ถือว่าขัดกับแนวคิดการวางผังเมืองที่ต้องการสร้างชีวิตในเมืองใหม่ให้เกิดความมีชีวิตชีวา เนื่องจาก
การพัฒนาห้างสรรพสินค้าส่งผลให้ บริบทของพื้นที่รอบข้างถูกออกแบบเพื่อบังคับให้ผู้ใช้บริการระบบขนส่ง
มวลชนต้องเดินทางเข้าสู่ห้างสรรพสินค้าโดยไม่ออกมาใช้บริการทางเดินเท้าบริเวณโดยรอบ เมื่อทางเดินเท้า
ไม่เกิดการใช้ประโยชน์และความมีชีวิตชีวา ระบบเศรษฐกิจและชีวิตคนเมืองที่เชื่อมโยงกับระบบทางเดิ นเท้าก็
ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่นพื้นที่เมืองดั้งเดิมที่พบเห็นได้ทั่วไปในทวีปยุโรป เพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับ
อูรัสตาดจึงนำไปสู่แนวคิดการฟื้นฟูเมืองผ่านกลยุทธ์สำคัญต่าง ๆ ดังนี้
(3.1) Mixed-Use Development – เพิ่มมิติของความหลากหลายในกิจกรรมเพื่อ
สร้างทางเลือกในการใช้ชีวิตประจำวันให้มากขึ้น
(3.2) Human Scale – ลดขนาดสิ่งก่อสร้างให้เข้ากับการใช้งานของคน
(3.3) Visual Experience – สร้างประสบการณ์ที่ดีในการมองเห็นของคนเวลาทำกิจกรรม
(3.4) Meeting Platform – สร้างโอกาสการพบปะกันในพื้นที่สาธารณะ เพื่อลด
ช่องว่างและเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในชุมชน

2-189
(3.5) Co-Create – ออกแบบร่วมกับคนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความรู้สึกมีส่วนรวมและ
ผูกพันกับพื้นที่
(3.6) Connection – สร้างความเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างรถเมโทร โดยเพิ่ม
กิจกรรมในพื้นที่ว่างข้างใต้ของเมโทรให้มากขึ้น
(3.7) Place Identity – ค้นหาเอกลักษณ์ในพื้นที่ เช่น พื้นที่ธรรมชาติเดิม นำมา
สร้างให้เกิดเป็น Natural Center ให้สามารถเป็นจุดแข็งของพื้นที่ได้

รูปที่ 2.4-52 รูปย่านเมืองใหม่อูรัสตาด (Ørestad) ก่อนการพัฒนาเมืองเพื่อแก้ปัญหาเมืองไร้ชีวิต

รูปที่ 2.4-53 รูปแนวคิดการพัฒนาย่านเมืองใหม่อูรัสตาด (Ørestad) หลังการแก้ปัญหาเมืองไร้ชีวิต


6) การพัฒนาเมืองสงอัน มณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน (Xiong An, Baoding, Hebei, China)
(1) ความเป็นมาของโครงการ
เมืองใหม่ “สงอัน” (Xiong An) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่ง เป็นหนึ่งใน
เมืองหลักของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศจีน และเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) สำหรับภาคธุรกิจและ
เศรษฐกิจทางตอนเหนือของจีนโดยเฉพาะ เมืองสงอันตั้งอยู่ใจกลางเขตสามเหลี่ยมเมืองใหญ่ของจีนล้อมรอบ
ด้วยกรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน และเมืองเป่าติ้ง มณฑลเหอเป่ย เชื่อมต่อด้วยเส้นทางรถไฟสายพิเศษสามารถ
เดินทางไปถึงปักกิ่งได้ภายใน 30 นาที มีสายการบินสำหรับเดินทางไปที่นครเทียนจินและมณฑลเหอเป่ย ซึ่ง
เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อของพื้นที่เศรษฐกิจทางตอนเหนือของจีนยุคใหม่
ชื่อเมืองใหม่สงอั นเกิดจากการรวมชื่ออำเภอสงเซี่ยนและอำเภออันซิน โดย“สง” และ
“อัน” มีความหมายว่า “ใหญ่โต” และ “สงบสุข” ทั้งนี้ รัฐบาลจีนมีความต้องการสร้างเขตเมืองใหม่ส งอัน
เพื่อให้เป็นต้นแบบการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงของจีนในเชิงรูปธรรม เป้าหมายการพัฒนาเมืองใหม่สงอัน คือ
“เมืองล้ำสมัยสังคมนิยมระดับสูงแบบสีเขียวคาร์บอนต่ำ เป็น Smart City เหมาะกับที่อยู่อาศัยและประกอบ
ธุรกิจ มีศักยภาพในการแข่งขันและมีอิทธิพล รวมทั้งเป็นเมืองที่มนุษย์กับธรรมชาติสามารถอยู่กันอย่า ง
กลมกลืนในปี 2578 ตลอดจนเป็นเมืองสำคัญในกลุ่มเมืองระดับโลก กรุงปักกิ่ง-นครเทียนจิน-มณฑลเหอเป่ยใน
กลางศตวรรษที่ 21”

2-190
รูปที่ 2.4-54 เมือง Xiong An, Baoding, Hebei, China

รูปที่ 2.4-55 การเชื่อมโยงพื้นที่เมืองใหม่สงอันกับกรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน และเมืองเป่าติ้ง มณฑลเหอเป่ย

รูปที่ 2.4-56 พื้นที่ของเมืองใหม่สงอัน

2-191
(2) องค์ประกอบและแนวคิดการพัฒนาของโครงการ
การพัฒนาเขตเมืองใหม่สงอันแบ่งเป็น 3 ระยะ รองรับประชากรกว่า 5,000,000 คน
บทบาทหน้าที่ของเมืองใหม่สงอัน คือ การเป็นเมืองเพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ถูกโอนย้ายออกมาจาก
กรุงปักกิ่ง ประกอบด้วย สถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย องค์กรทางการแพทย์ สถาบันการเงิน ธุร กิจบริการ
ระดับสูง และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง หลังจากที่จีนประกาศจัดตั้งเขตเมืองใหม่สงอันอย่างเป็นทางการ
รัฐบาลมณฑลเหอเป่ยได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า การพัฒนาของเขตเมืองใหม่สงอันจะไม่พึ่งพาการขายที่ดิน
และตลาดอสังหาริมทรัพย์ แต่จะมุ่งพัฒนาธุรกิจ 5 สาขา ได้แก่
(2.1) อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่
(2.2) อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
(2.3) อุตสาหกรรมวัสดุใหม่
(2.4) อุตสาหกรรมบริการที่ทันสมัยระดับ high-end
(2.5) อุตสาหกรรมการเกษตรสีเขียว
ในด้านการคมนาคม เมืองใหม่สงอันได้รับการวางแผนให้เป็นพื้นที่ที่มีสถานีรถไฟ
ความเร็วสูงหนาแน่นที่สุดเพื่อเชื่อมโยงสู่กรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน และมณฑลเหอเป่ย รวมทั้งทั่วประเทศจีน โดย
มีสถานีรถไฟหลักจำนวน 2 สถานี ทำหน้าที่เป็นสถานีเชื่อมโยงกับเครือข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีน
ได้แก่ สถานีรถไฟสงอันและสถานีรถไฟระหว่างเมืองสงอัน และมีสถานีสนับสนุนอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานี
รถไฟป๋ายหยางเตี้ยนและสถานีรถไฟป๋ายโก ซึ่งเน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก
7) การพัฒนาเมืองใหม่ทะมะ เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (TAMA, Tokyo, Japan)
(1) ความเป็นมาของโครงการ
เมืองใหม่ทะมะตั้งอยู่ห่างจากสถานีโตเกียวไปทางตะวันตกประมาณ 30 กิโลเมตร เป็น
เมืองใหม่ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ โดย
แนวคิดหลักของเมืองทะมะ คือ เป็นย่านที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุที่ตั้งอยู่ ไม่ไกลจากเมืองใหญ่ มี
สภาพแวดล้อมที่ดีและการเดินทางที่สะดวก คาดประมาณจำนวนประชากรอยู่ที่ 342,200 คน ขนาดพื้นที่
พัฒนาประมาณ 28.92 ตารางกิโลเมตร หรือ 18,075.63 ไร่

รูปที่ 2.4-57 เมืองทะมะ ประเทศญี่ปุ่น รูปที่ 2.4-58 พื้นที่ของ TAMA NEW TOWN และ
TAMA, Tokyo, Japan การเชื่อมต่อของเมือง

2-192
(2) องค์ประกอบและแนวคิดการพัฒนาโครงการ
โครงการเมืองใหม่ทะมะได้รับการพัฒนาตามหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟ
หรือ TOD พื้นที่โครงการมีสถานีรถไฟเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนา องค์ประกอบของพื้นที่ ประกอบไปด้วย
ศูนย์การค้า ที่พักอาศัย โรงเรียน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทอดตัวไปตามภูมิประเทศ โดยมีบันไดทางลาด
และสะพานลอยเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ที่มีระดับที่แตกต่างกัน จุดเด่นในเชิงกายภาพ คือ การมีพื้นที่สีเขียวใน
โครงการมากมาย ทั้งที่เป็นพื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติดั้งเดิมและพื้นที่สีเขียวใหม่
(3) ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข
การพัฒนาโครงการเมืองใหม่ทะมะแม้จะได้รั บการดำเนินการตามแนวคิด TOD แต่
เนื่องจากสภาพพื้นที่จริงเป็นเนินเขาที่มีระดับและความชันแตกต่างกันไป การพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างความ
หนาแน่นจึงไม่ปรากฏผลในเชิงประจักษ์มากนัก ทั้งยังต้องมีการสร้างบันไดทางลาดและสะพานลอยเพื่ อ
เชื่อมต่อพื้นที่ที่มีระดับที่แตกต่างกันเป็นจำนวนมาก การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุและผู้พิการในพื้นที่เมืองใหม่ทะมะ
จึงเกิดความยากลำบากและไม่สามารถเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุออกมาใช้พื้นที่ภายนอกอาคารได้อย่างเป็นอิสระ
เมืองทะมะจึงได้พยายามแก้ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวโดยเปลี่ยนแนวคิดจากการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับสั งคม
ผู้สูงอายุเป็นหลัก เป็นการเปิดกว้างรับกลุ่มคนช่วงวัยอื่น ๆ นอกจากผู้สูงอายุ สร้างแรงจูงใจให้คนมาอาศัยใน
เมือง และส่งเสริมระบบขนส่งขนาดย่อยในพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุระประจำวันของผู้สูงอายุ
และผู้พิการ

รูปที่ 2.4-59 ตำแหน่งและความสูงของอาคารในพื้นที่เมืองใหม่ทะมะ

2-193
รูปที่ 2.4-60 เส้นทางและระดับความชันของพื้นที่ในเมืองใหม่ทะมะ อันเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต
ของผู้สูงอายุ

รูปที่ 2.4-61 สวนและพื้นที่สีเขียวในเมืองใหม่ทะมะ


2.4.3 สรุปบทเรียนและแนวคิดที่ได้จากตัวอย่างการพัฒนาเมือง
จากการศึกษาถึงแนวคิดและรูปแบบในการออกแบบวางผังเมือง รวมถึงรูปแบบเทคโนโลยี และ
นวัตกรรมที่แต่ละตัวอย่างเมืองนำมาใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองใหม่ สามารถสรุปรายละเอียดของเมื อง
ตัวอย่าง เพื่อนำมาปรับใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเมืองใหม่นครราชสีมาในอนาคตได้ดังนี้

2-194
ตารางที่ 2.4-4 สรุปรายละเอียดที่ได้ดำเนินการศึกษาจากกรณีศึกษา
กรณีศึกษาภายในประเทศ กรณีศึกษาในต่างประเทศ
รายละเอียด โครงการเมืองใหม่มาบตาพุด การพัฒนาเมืองใหม่มิวล์ตัน คีนส์ การพัฒนาพื้นที่ย่านสเตเปิลตัน การพัฒนาเมืองซงโด ประเทศ การพัฒนาพื้นที่ย่านจูหล่ง การพัฒนาย่านอูรัสตาด (Ørestad) การพัฒนาเมืองสงอัน มณฑลเหอเป่ย การพัฒนาเมืองใหม่ทะมะ
โครงการเมืองทองธานี
และเมืองใหม่แหลมฉบัง ประเทศอังกฤษ เมืองเดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ประเทศสิงคโปร์ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ประเทศจีน เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ขนาดพื้นที่ เมืองใหม่มาบตาพุด 32 ตารางกิโลเมตร
6.4 ตารางกิโลเมตร 90 ตารางกิโลเมตร 19 ตารางกิโลเมตร 123.6 ตารางกิโลเมตร (77,250 ไร่) 3.6 ตารางกิโลเมตร 3.1 ตารางกิโลเมตร 2,000 ตารางกิโลเมตร 28.92 ตารางกิโลเมตร
โครงการ เมืองใหม่แหลมฉบัง 16 ตารางกิโลเมตร
หน่วยงาน/องค์กร การพัฒนาของภาคเอกชน การพัฒนาของภาครัฐ การพัฒนาของภาครัฐ การพัฒนาของภาครัฐ การพัฒนาของรัฐและเอกชน การพัฒนาของรัฐ การพัฒนาของรัฐ การพัฒนาของรัฐ การพัฒนาของรัฐ
ผู้พัฒนาโครงการ (บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด) (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (กระทรวงเคหการและรัฐบาลท้องถิ่น (หน่วยงานท้องถิ่นเมืองเดนเวอร์) (ภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษอินชอน) (องค์กรพัฒนาเมืองสิงคโปร์)
ฉบับที่ 5 และ ฉบับที่ 6) เมืองมิวล์ตัน คีนส์)
ความเป็นมาของ ภาคเอกชนเจ้าของที่ดินต้องการขยายธุรกิจ เป็นพื้นที่พัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงเคหการและท้องถิ่นกำหนดเขต อดีตเคยเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษภายใต้รัฐบาล ตั้งอยู่บนโครงข่ายเส้นทางรถไฟความเร็ว เป็นการพัฒนาย่านใหม่ตามผังแม่บทเมือง การพัฒนาตามยุทธศาสตร์การพัฒนา การพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อการ
โครงการ ไปสู่การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งตะวันออก พื้นที่ให้มีการพัฒนาเมืองใหม่ โดยพัฒนา เมื่อสนามบินปิดตัวลง จึงนำพื้นที่ดังกล่าว เกาหลี และมีบริษัทอสังหาริมทรัพย์ สูงที่เชื่อมระหว่างประเทศสิงคโปร์และ โคเปนเฮเกน ประเทศจีน เปลี่ยนแปลงลักษณะสังคม
และปรับปรุงแผนแม่บทจำนวน 2 ครั้ง และพื้นที่เมืองเดิมมาวางแผนเป็นเมืองใหม่ เข้ามารับช่วงพัฒนาต่อหลังเกิดวิกฤต มาเลเซีย
เศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์ของ เพื่อเป็นแหล่งงาน ที่พักอาศัย รองรับ เพื่อเป็นศูนย์อุตสาหกรรมหลักและ เพื่อสร้างเมืองและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าที่คำนึงถึง เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางระหว่าง เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจ ลดปัญหา เพื่อรองรับกลุ่มชนชั้นกลางถึงสูงที่หลีก เพื่อเป็นเมืองอัจฉริยะสำหรับภาคธุรกิจ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคม
โครงการ ความแออัดจากประชากรที่เพิ่มขึ้นของ อุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ อย่างสมบูรณ์ โดยเน้นการเชื่อมโยงระบบขนส่งและการ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและความเท่า ประเทศควบคู่ไปกับการเป็น ความแออัดในเมือง และสร้างโอกาสแหล่ง หนีจากปัญหาความเสื่อมโทรมและแออัด และเศรษฐกิจทางตอนเหนือของจีน ผู้สูงอายุ
กรุงเทพมหานคร แห่งใหม่ ใช้ที่ดิน เทียมทางสังคม ศูนย์กลางเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย งานให้กับประชาชน ของตัวเมืองชั้นใน
เป้าหมายการ - การอยู่อาศัยของประชากร 360,312 คน - การจ้างงานแรงงาน 300,000 คน - การอยู่อาศัยของประชากร - การอยู่อาศัยของประชากร 10,000 - รองรับประชาชนจำนวน - รองรับประชากรจากกลุ่มแรงงาน - คาดว่าจะสามารถดึดดูดนักเรียน - คาดว่าจะสามารถรองรับประชากรได้ - คาดว่าจะสามารถรองรับประชากรได้
พัฒนาโครงการ - การจ้างงานแรงงาน 420,013 คน (เฉพาะภาคอุตสาหกรรม) 200,000 คน ครัวเรือน 270,000 คน และลูกค้ากว่า 1,000,000 คน นักศึกษาได้ถึง 20,000 คน และ กว่า 5,000,000 คน 342,200 คน
(รวมทุกภาคการจ้างงาน) - ช่วยอุดหนุนเงินตราต่างประเทศได้ - การจ้างงานแรงงาน 156,000 - - การจ้างงานมากกว่า 30,000 อัตรา - สร้างงานกว่า 100,000 อัตรา แรงงาน 80,000 คน
ประมาณปีละ 40,000 ล้านบาท 161,000 คน
ลักษณะการพัฒนา เมืองทองธานี เป็นเมืองเพื่อการอยู่อาศัย เมื อ งใหม่ ม าบตาพุด กำหนดให้ เ ป็ น เมือ ง เมืองมิวล์ตัน คีนส์ พยายามรักษาสมดุล ย่านสเตเปิลตัน ถือเป็นโครงการพัฒนาใน เมืองซงโดเป็นการพัฒนาเมืองบน ย่านจูหล่งเป็นการพัฒนาในพื้นที่เมืองใหม่ การพัฒนาผังแม่บทของอูรัสตาด แบ่งเป็น - การพัฒนาให้เป็นเมืองล้ำสมัยสังคม การพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการเป็นย่าน
และรูปแบบ (Dormitory Town) และเป็นเมืองที่ อุ ต สาหกรรมทั น สมั ย และแหล่ ง ที ่ ต ั ้ ง ของ ระหว่างที่อยู่อาศัยและแหล่งงาน รวมทั้ง พื้นที่ที่มีสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้วให้มี พื้นที่ใหม่ที่เกิดจากการถมทะเล การ ใกล้กับศูนย์กลางเมืองเดิมของสิงคโปร์ 4 ส่วนหลัก ได้แก่ นิยมระดับสูง เหมาะกับที่อยู่อาศัยและ ผู้สูงอายุ ที่ผสมผสานการใช้แนวคิดการ
กิจกรรม สามารถเลี้ยงตัวเอง (Self-Contained) อุตสาหกรรมสำคัญ ประกอบด้วย กระจายสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ประสิทธิภาพมากขึ้น มุ่งเน้นให้เป็นชุมชนที่ พัฒนาเมืองประกอบไปด้วยการ แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ ได้แก่ - พื้นที่ส่วนเหนือ: ที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ประกอบธุรกิจ มีศักยภาพในการแข้งขัน พัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี (TOD) ซึ่ง
ประกอบด้วย - โครงสร้างพื้นฐาน อาทิ นิคมอุตสาหกรรมและ เพื่อให้เป็นเมืองที่ประชาชนสามารถใช้ มีการใช้ประโยชน์แบบผสม สามารถรองรับ พัฒนาย่านธุรกิจ 9 พื้นที่ และพัฒนา - เขต Jurong Gateway: ศูนย์กลาง หอพักนักศึกษา และที่อยู่อาศัย รวมทั้งคำนึงถึงการอยู่รวมกันของมนุษย์ พื้นที่โครงการจะใช้ประโยชน์จาก
- โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่รองรับกลุ่ม ชุมชน ท่าเรืออุตสาหกรรม ชีวิตอย่างเบ็ดเสร็จภายในเมือง เช่น การจ้างงงาน ที่อยู่อาศัย และสามารถเข้าถึง ระบบโครงข่ายการสัญจรและระบบ สำหรับบริษัทพัฒนาด้านโครงสร้าง - ตัวเมือง: ที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ศูนย์ และธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว โดยมี
คนที่หลากหลาย คือ กลุ่มผู้รายได้ปานกลาง - อุตสาหกรรม อาทิ โรงแยกก๊าซ - การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่จะมีความ พื้นที่นันทนาการและพื้นที่โล่งได้สะดวก ทั้ง สาธารณูปโภค ที่ครอบคุลมการใช้ พื้นฐานและศูนย์กลางด้านการค้า ประชุม โรงแรม และย่านพักอาศัย - ใช้ศักยภาพการตั้งอยู่ระหว่างศูนย์กลาง องค์ประกอบการพัฒนาคือ ศูนย์การค้า ที่
ข้าราชการ และผู้มีรายได้สูง อุตสาหกรรมปิโตรเคมี หนาแน่นแตกต่างไปในแต่ละตาตาราง ยังสนับสนุนให้มีแนวพื้นที่สีเขียวที่เชื่อมโยง ชีวิตของประชาชนและใช้รูปแบบ - เขต Lakeside: จุดเชื่อมต่อไปยังรถไฟ หนาแน่นสูง เมืองใหญ่ในการพัฒนาเป็นศูนย์การ พักอาศัย โรงเรียน และสิ่งอำนวยความ
- โครงการพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมที่มีทั้ง เมือ งใหม่แหลมฉบัง กำหนดให้เป็น แหล่ ง (Grid square) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า นวัตกรรมและเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ความเร็วสูงที่วิ่งระหว่างมาเลเซียและ - พื้นที่ส่วนใต้: ที่ตั้งของอาคารพาณิชย์ ขนส่งทั้งทางการบินและทางรางสามารถ สะดวกทอดตัวตามภูมิประเทศ ทั้งยังมี
ห้างสรรพสินค้าและความบันเทิง ที่ตั้งท่าเรือพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่ ไม่มี - การพัฒนาแหล่งงานให้สอดคล้องกับ ร็อคกี้ (Rocky Mountain Arsenal ซึ่งเรียกว่า ระบบ U-City หลักการ สิงคโปร์ ย่านรวมธุรกิจและการค้า พื้นที่ สำนักงาน อาคารพักอาศัยหนาแน่น ดึงดูดการลงทุน พื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติและการพัฒนา
- โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นแรกที่มี ปัญหามลพิษ ประกอบด้วย ลักษณะภูมิประเทศ อาทิ พื้นที่ราบ Wildlife Refuge) และวิทยาลัยลอวรี คือ ระบบโครงสร้างพื้นฐานไร้สาย นันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจที่แทรก ปานกลาง-สูง ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ใหม่
อาคารสำนักงานทันสมัยรองรับ - โครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ท่าเรือพาณิชย์ นิคม ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (Lowry education campus) สำหรับทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในทุก ด้วยพื้นที่สีเขียว เชื่อมภายในพื้นที่ด้วย สวนสาธารณะขนาดใหญ่
- การพัฒนาศูนย์กลางเมืองที่เป็นย่าน ที่ของเมืองและทุกอุปกรณ์ โครงข่ายทางเดินเท้า
อุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรม ทางรถไฟศรีราชา-แหลมฉบัง - พื้นที่ธรรมชาติ: อยู่ระหว่างพื้นที่ทั้ง 3
- โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับ - อุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมแปรรูป ธุรกิจ พาณิชยกรรมของเมือง และ ส่วน ได้แก่ ทะเลสาบ คูคลอง พื้นที่เก็บ
โครงการของรัฐ อาหาร อุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปยาง กระจายให้เกิดศูนย์กลางในแต่ละย่าน น้ำ
รูปแบบการ เนื่องจากเป็นโครงการลงทุนของเอกชนจึง หน่ ว ยงานรั ฐ ทำหน้ า ที ่ ใ นการพั ฒ นา การพัฒนาหลักในแผนแม่บทการพัฒนา - การพ ั ฒนาโครงสร ้ างการจ ั ดการ เกิดจากการสนับสนุนของรัฐ (กำหนด องค์กรพัฒนาเมืองสิ งคโปร์ (URA) เป็น การวางแผนย่านอูรัสตาด มีการประสาน การวางแผนเมื อ งสงอั น อยู ่ ภ ายใต้ การวางผังพื้นที่เมืองใหม่ทะมะนี้ จะมีการ
ประสานงาน/ ไม่มีการประสานงาน กับ หน่วยงานภาครั ฐ โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และควบคุมและ ระยะแรกอยู่ภายใต้การดูแลของบรรษัท ประกอบด้วย ผู้แทนจากคณะบริหารของ เป็ น เขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษ) แต่ ก าร หน่วยงานที่มีหน้าที่ตามกฎหมายในการ การวางโดยหน่ ว ยงานรั ฐ และมี ก าร ยุทธศาสตร์ประเทศจีน กำหนดโดยตรง คำนึงมิติมนุษย์เข้าไปในการวางแผน อันจะ
ความร่วมมือของ การพัฒนาส่วนใหญ่เป็นการคาดการณ์ด้าน ดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม พั ฒ นาเมื อ งใหม่ ระยะที ่ ส องอยู ่ภ ายใต้ บริหารจัดการและดูแลภายในเมือง ดู แ ลด้ า นการพั ฒ นากายภาพทั ้ ง หมด ประสานร่ ว มกั บ สถาปนิ ก ชื ่ อ ดั ง ในการ มาจากรัฐบาลจีน การการประสานงานกับ สังเกตได้จาก การที่วิถีชีวิต (Life style) ของ
เขต สภาเมื อง องค์ กรปรั บปรุ ง เมื อง
หน่วยงานต่าง ๆ ลงทุนของเจ้าของโครงการ คณะกรรมาธิการเมืองใหม่ แต่การพัฒนา จะเป็นขอ’ภาคเอกชน (บริษัทพัฒนา รวมถึ ง เป็ น ผู ้ ด ู แ ลผั ง โครงการพั ฒ นา ออกแบบสถาปัตยกรรม หน่วยงานอื่น ๆ จึงมีเพียงรัฐบาลกับนัก ผู้สูงอายุไม่สอดคล้องกับลักษณะผังแม่บทใน
คณะที่ปรึกษาของประชาชน และองค์กร
ของโครงกาจะต้ อ งมี ก ารตรวจสอบ ฟื้นฟูเมืองเดนเวอร์ อสังหาริมทรัพย์ประเทศ ทะเลสาปจูหล่ง ลงทุ น การรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น จาก การออกแบบครั ้ งแรก ทำให้ ต ้ อ งมี การ
ผลกระทบโดยหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม สหรัฐอเมริกาที่ลงทุนโครงข่า ยการ ประชาชนจึงอาจระบุได้ยาก ปรับปรุงผังแม่บทเพื่อให้ตอบรับการวิถีชีวิต
- องค์กรพัฒนาที่ไม่แสวงหาผลกำไรรับผิดชอบ สัญจรและสาธารณูปโภค) ของประชาชนในพื้นที่มากขึ้น
การจัดการพื้นที่และปรับปรุงเมือง
บทเรียนที่สามารถ เมื อ งทองธานี เป็ นต้ นแบบของการพั ฒ นา - การจั ด ทำแผนงานแบบผสมผสาน - การก่ อ ตั ้ งบรรษั ท พั ฒ นาเมื อ ง โดย การจั ด ตั ้ ง องค์ ก รที ่ ถ ู ก คั ด เลื อ กมาด้ ว ย ก า ร ร ่ ว ม ท ุ น ก ั บ บ ร ิ ษ ั ท พ ั ฒ นา การกำหนดเขตสีขาว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ - การนำสถาปนิกระดับโลกมาออกแบบ กรณี ศ ึ กษานี ้ จ ะเป็ น ตั วอย่ า งที ่ รั ฐ บาล กรณี ศ ึ ก ษานี ้ จ ะเป็ น ตั ว อย่ า งการนำ
นำไปปรับใช้กับการ เมืองใหม่ที่ทำให้เห็นว่าการพัฒนาเมือ งใหม่ (Integrated Program) ระหว่างภาครัฐ อาศัยอำนาจ พ.ร.บ. พัฒนาเมืองใหม่ ประชาชน อาทิ คณะที่ปรึกษาของประชาชน อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ จ ากต่ า งประเทศ เพื่อการพาณิชยกรรม ที่พักอาศัย ที่เปิด จะได้ ส ถาปั ตยกรรมที ่ส วยงาม หาก ลงทุ น พั ฒ นาโครงสร้ า งพื ้ น ฐานภายใน ประชาชนในพื ้ น ที ่ ม าพิ จ ารณาในการ
พัฒนาแผนแม่บท จะต้ อ งใช้ เวลา รวมทั ้ งความต่ อ เนื ่ อ งของ และภาคเอกชน (ประเทศไทยยังไม่มี) เข้ามาพิจารณารายละเอียดในการพัฒนา สหรัฐอเมริกา โอกาสให้ น ั ก พั ฒ นาเสนอราคาและ ทว่าขาดการคำนึงถึงมิติมนุษย์เข้า ไป เมือ งทั้งหมด โดยไม่พึ่งพาการขายที่ดิน ออกแบบและวางผังในพื้นที่เมืองใหม่ ให้
เมืองใหม่ นโยบายรัฐที่จะช่วยเอื้อให้โครงการพั ฒนา รายละเอี ย ดในกา รพั ฒ นา ได ้ เพื่ อ ในงานวางผั ง จึ ง ทำให้ ไ ม่ ด ึ ง ดู ด และตลาดอสังหาริมทรัพย์ หากนำมาใช้ ต อ บ ร ั บ ก ั บ ว ิ ถ ี ช ี ว ิ ต ม า ก ข ึ ้ น เ ช่ น
- มาตรการส่ ง เสริ ม การลงทุ น /สิ ท ธิ - การจัดตั้งคณะกรรมาธิการเมืองใหม่ที่
เมืองใหม่นั้นประสบความสำเร็จได้ ตอบสนองความไม่ แ น่ น อนของการ ประชากรเข้าไปใช้งานพื้นที่ย่า นใหม่ กับกรณีแผนแม่บทเมืองใหม่น่าสนใจใน การพัฒนาให้มีทางลาดตามลักษณะภูมิ
ประโยชน์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดเข้ามาลงทุน มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเรื่อ งต่าง ๆ ที่
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลต่อไปยังการขาดการลงทุนใน การใช้ ท ี ่ ด ิ น ของรั ฐ ในการพั ฒ นาที ่ จ ะ ประเทศเพื่อ ตอบรับผู้สูงอายุ หรือ การ
ของเอกชน ถูกแบ่งมาจากบรรษัทพัฒนาเมือง
พื้นที่ย่านนี้ สามารถลดต้นทุนในการพัฒนาเมืองใหม่ เพิ่มโครงข่ายคมนาคมสาธารณะให้เข้าถึง
ได้ ทุ ก พื ้ น ที ่ ท ี ่ จ ะสามารถทำกิ จ กรรมของ
- ปัจจุบันมีความพยายามในการแก้ไข
ผู้สูงอายุได้
ปัญหาด้วยการฟื้นฟูย่านให้กลั บมามี
ชีวิตอีกครั้ง
ที่มา: บริษัทที่ปรึกษา, 2563.

2-195
2.5 การบูรณาการข้อมูลเพื่อสรุปและสะท้อนถึงภาพรวมของจังหวัดนครราชสีม าถึ ง
ศักยภาพในการจัดทำแผนแม่บทเมืองใหม่ (TOR ข้อ 4.1.5)
ในภาพรวมประเด็น ท้าทายที่จ ะต้องคำนึงถึงในการดำเนินงานโครงการในครั้งนี้คือคำถามที่ว่า
“ทำไมจังหวัดนครราชสีมาจะต้องมีการพัฒนาเมืองใหม่” คำตอบที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบโครงสร้าง
พื้นฐานต่าง ๆ ภายในตัวจังหวัดเองพอจะมีน้ำหนักที่จะตอบคำถามดังกล่าวได้ ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม
การตอบคำถามนี้เป็นการบูรณาการเชิงโครงสร้างของวิธีการศึกษาซึ่งให้ความสำคัญกับศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
นอกเหนือจากการออกแบบวางผังเมือง โดยได้พิจารณาเทคนิคในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการวางผังเมืองใหม่ไว้
4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐมิติ (Econometrics) มุ่งไปที่การสะสมทุนเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว
(รายละเอีย ดในบทที่ 3) 2) ด้า นการสร้า งภาพอนาคต (Foresight Method) หาภาพอนาคตที่ยืดหยุ่น
(Resilient) เป็นทางเลือกของการพัฒนา (รายละเอียดในบทที่ 4) 3) ด้า นภูมิสารสนเทศ (GIS) ใช้ภ าพ
อนาคตเป็น กรอบในการหาพื้น ที่ที่มีศักยภาพ (Potential Space Analysis: PSA) ในการพัฒ นาเมืองใหม่
(รายละเอียดในบทที่ 4) และ 4) ด้านวิศวกรรมระบบประกอบเมือง เพื่อตอบโจทย์ของการพัฒนาเป็นเมือง
อัจฉริยะที่สอดคล้องกับเกณฑ์ของ SDGs ซึ่งรายละเอียดจะได้นำเสนอในรายงานเมื่อได้มีการเลือกพื้นที่
ในด้านเศรษฐมิติ ภายใต้ทิศทางของยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เมื่อผนวกกับปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและ
เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ การสร้ า งสภาพแวดล้อ มทางเศรษฐกิจ ใหม่ (New Ecosystem) ให้ ส อดรั บ กั บ
โครงสร้างพื้นฐานใหม่ (Physical Infrastructure) และการเชื่อมโยงด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่มี
ชายแดนติดต่อกันทางบกได้สะดวก (CLMV) หรือประเทศที่ไม่สามารถติดต่อกันทางบก ประเทศหมู่เกาะ และ
ประเทศที่มีปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ได้แก่ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย เนปาล ภูฏาน บังคลาเทศ ไหหลำ (จีน)
รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของคนชั้น กลางในประเทศจีนและอินเดีย ล้วนถือเป็นปัจจัยกำหนดการเคลื่อนที่ ของ
เศรษฐกิจประเทศไทยและจังหวัดนครราชสีมาในอนาคต ในแง่ของการสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการ
สร้างผลิตภาพใหม่ (Knowledge Infrastructure) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างพื้นที่พัฒนาใหม่เพื่อเป็น
ปัจจัยดึงดูดการลงทุนและการพัฒนาใหม่ใ นอนาคตและเพื่อพิจารณา “ภูมิทัศน์ของการสะสมทุน (Capital
Accumulation Landscape)” ทั้งในปัจจุบันและอนาคตของภาครัฐและเอกชน
แนวโน้มการเคลื่อนที่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคตจะยึดโยงกับโครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่ โดย
อาศัยเทคโนโลยีเป็นปัจจัยขับเคลื่อน การออกแบบเมืองและการใช้ประโยชน์จากที่ดินจะต้องคำนึงประสิทธิภาพ
ที่จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในระดับสูง เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว ทั้งนี้ เมื่อ
พิจารณาปัจจัยการผลิตทั้งการสะสมทุนและแรงงาน ความพร้อมด้านโครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลทั้ งภาค
เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เมื่อรวมกับทุนทางวัฒนธรรมและ
ทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ “นครราชสีมา” มีความได้เปรียบทางเศรษฐกิจเชิงเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ใน
ระดับที่สูง โดยมีรายละเอียดด้านเศรษฐกิจในบทที่ 3
จังหวัดนครราชสีมามีศักยภาพในการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่กับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่
จะเกิดขึ้นในอนาคต สามารถเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) และพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(EEC) ทำให้นครราชสีมาเป็นพื้นที่แห่งโอกาสที่จะสามารถดึงดูดแรงงานทักษะได้จากทั้งในและต่างประเทศ

2-196
หมายความว่า ภาคบริการอีกจำนวนมากจะถูกสร้างขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ โรงพยาบาล โรงเรียน
หรือศูนย์การค้าสมัยใหม่ ดังนั้น การสร้าง “เมืองใหม่นครราชสีมา” จึงถือเป็น ศูนย์กลางของการเจริญเติบโตที่
เหมาะสมในอนาคตที่จะสามารถเพิ่มการจ้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ใหม่ และช่วยลดภาระของ
กรุงเทพมหานครด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งเพื่อรองรับการทำงานใหม่ อาชีพใหม่ วิถี
ปฏิบัติใหม่ หลังจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส (Covid-19)

ที่มา: สถาบันวิจยั โนบายเศรษฐกิจการคลัง, 2561.


รูปที่ 2.5-1 ตำแหน่งของจังหวัดนครราชสีมาที่สามารถเชื่อมโยงกับระเบียงการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
ด้านกระบวนการมองภาพอนาคต (Foresight Method) มีประเด็นที่สำคัญ คือ กระบวนการดำเนินการ
พัฒนาเมืองใหม่เป็นการดำเนินนโยบายเชิงรุกที่ต้องดึงดูดประชากรเข้ามาทำงานและพักอาศัยในเมืองใหม่ ซึ่ง
การขยายตั วลั กษณะนี ้ ไม่ ใช่ การขยายตั วปกติ ของเมื อง (Incremental Growth) ที ่ สามารถรองรั บได้ ด ้ ว ย
การประมาณการจำนวนประชากร (Forecast Method) และกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้นในผังเมืองรวม
(Rezoning) แต่เป็นการขยายตัวแบบชักนำ (Induced Growth/Induced Demands) ซึ่งต้องวางแผนรองรั บ
จำนวนประชากรที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและยืดหยุ่นพอที่จะรองรับเศรษฐกิจช่วงขาลงที่การเพิ่มขึ้ นของ
ประชากรอาจจะชะลอตัวสลับกันไป ดังนั้น ผังในระดับจังหวัด เมือง และชุมชนที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันจึงไม่
สอดคล้องกับจำนวนประชากรที่จะชักนำเข้ามาด้วยมาตรการส่งเสริมประเภทต่าง ๆ กระบวนการมองภาพอนาคต
หรือ Foresight เป็นเทคนิคสำคัญที่จะช่วยในการคาดการณ์ประชากรและเศรษฐกิจในอนาคตผ่านกระบวนการ
สร้างภาพอนาคต (Foresight Method) และเศรษฐมิติ (Econometrics) ท้ายที่ส ุดจึงจำเป็นต้องมีการแก้ไข
ปรับปรุงผังเมืองรวมให้สามารถตอบสนองกับการขยายตัวในรูปแบบของเมืองใหม่ที่จะเกิดจากการชักนำหรือ
กระตุ้นโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานและใช้มาตรการสร้างแรงจูงใจควบคู่กันไป รายละเอียดของมาตรการสร้างแรงจูงใจ
จะกล่าวถึงต่อไป

2-197
สำหรับการใช้เทคนิคภูมิสารสนเทศ (GIS) ในการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเมืองใหม่
เริ่มจากการพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานที่จะชี้นำการพัฒนาเมืองใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้าน
คมนาคมขนส่งที่กำลังอยู่ในช่วงการก่อสร้าง เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ทางหลวงพิเศษระหว่างจังหวัด
ทางหลวงระหว่างอำเภอ ท่าเรือบก เป็นต้น ดังนั้น การคำนวณอัตราการขยายตัวของประชากรและเศรษฐกิจจึงจะ
เริ่มคำนวณจากปีที่โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้สร้างเสร็จ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้เป็นปัจจัยในการดึงดูด
การพัฒนาหรือชักนำให้มีการย้ายเข้าของประชากรแฝงได้ เรียกปีเริ่มต้นดังกล่าวว่า ปีทศี่ ูนย์ หรือ T0 ซึ่งจะใช้เป็น
ฐานในการคำนวณแบบจำลองด้านอื่นต่อไป
จะเห็นได้ว่า นอกจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้จังหวัดนครราชสีมามีศักยภาพการเป็นที่ตั้งของเมืองใหม่
ยังมีทิศทางของการลงทุนหรือสะสมทุนทางกายภาพเดิมที่ช่วยชี้นำอยู่แล้ว ในการหาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกพื้นที่
พัฒนาเมืองใหม่โครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้เกิดการสะสมทุนเหล่านี้จึงได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ตัวอย่าง ได้แก่
ตำแหน่ งสถานี ร ถไฟความเร็ วสู ง ตำแหน่ งทางขึ ้ นลงทางหลวงพิ เศษระหว่ างเมื อ ง สนามบิ น ท่ าเรื อ บก
สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ย่านที่เป็นภาคบริการของเอกชน ศูนย์ราชการ เป็นต้น การพิจารณาศักยภาพ
ในการจัดทำแผนแม่บทเมืองใหม่จะทบทวนการสะสมทุนในพื้นที่ที่มีอยู่เดิมเป็นหลักและยังพิจารณาการลงทุนใน
โครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ ที่ช่วยในการสะสมทุนต่อไปในระยะยาวด้วย รายละเอียดของกระบวนการกรอง (Sieve
Process) โดยใช้เทคนิคด้านภูมิสารสนเทศ (GIS) เพื่อหาพื้นที่ที่มีศักยภาพจะปรากฏอยู่ในบทที่ 4
อนึ่ง สถานการณ์ในปัจจุบันที่คุกคามอารยธรรมมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะอากาศแปรปรวน (Climate
Change) โรคระบาด (Pandemic) มลภาวะจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในยุค Anthropocene ได้สร้างแรงผลักดันใน
การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เมืองจึงมีบทบาทมากขึ้น
โดยเฉพาะแนวคิดเมืองอัจฉริยะ (Smart City) แต่เมืองในปัจจุบันของประเทศไทยไม่พร้อมรองรับเทคโนโลยีใน
อนาคตได้ในทันที เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาซ้อนทับอยู่บนโครงสร้างเมืองเก่าเป็นเวลานาน ข้อจำกัด
ดังกล่าวทำให้เมืองใหม่อาจต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ชานเมืองที่มีความหนาแน่นน้อยและเนื้อที่กว้างเพียงพอต่อการสร้าง
อุปสงค์ของงานวิศวกรรมระบบประกอบเมือง เช่น ระบบผลิตไฟฟ้าและความเย็นร่วม (Co-generation) ระบบ
ขนส่งขยะทางท่อสุญญากาศ ฯลฯ เพื่อให้เกิดขนาดที่ประหยัด (Economy of Scale) ที่ต้องมีขนาดที่เล็กพอแก่
การลงทุน แต่ใหญ่พอจะเป็นสนามทดลอง (Sandbox) ให้กับอุปกรณ์ของงานวิศวกรรมระบบประกอบเมื อง
ซึ่งรายละเอียดของระบบวิศวกรรมประกอบเมืองจะนำเสนอในรายงานเล่มต่อ ๆ ไปหลังจากได้คัดเลือกพื้นที่
พัฒนาเมืองใหม่แล้ว
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะใช้เป็นกรอบหลักของการดำเนินการศึกษาในบทต่อไป โดยการวิเคราะห์
ข้อมูลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคม คมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
สิ่งแวดล้อม ฯลฯ จะยังมีตามปกติ แต่การศึกษานี้จะมุ่งเน้นให้การพัฒนาเมืองใหม่นครราชสีมาเป็นเครื่องจักรใน
การขั บเคลื ่ อนเพื ่ อยกระดั บคุ ณภาพชี ว ิ ตของประชากรทั ้ งในท้ องถิ ่นและในระดั บภูม ิ ภาคให้ ท ัดเที ยมกับ
มาตรฐานสากลต่อไป อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาและทบทวนกรณีศึกษาการพัฒนาเมืองใหม่ทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ รวมถึงการศึกษา เครื่องมือทางกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อ
การพัฒนาเมืองใหม่ที่ไม่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยและรวมถึงในต่างประเทศด้วยนั้นมักเป็นเรื่องของ
ความต่อเนื่องของนโยบายจากทางภาครัฐ เนื่องจากเป็นการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เม็ดเงิน
การลงทุนมหาศาล จำเป็นที่จะต้องมีความต่อเนื่องทางนโยบายและการเมืองอย่ างแข็งแกร่ง ประกอบกับ

2-198
ความพร้อมในการรับมือต่อวิกฤตการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจซึ่งอาจส่งผลกระทบ
อย่างมากในการพัฒนาเมืองใหม่หรือพัฒนาพื้นที่ในระดับอื่น ๆ หากไม่มีแผนการรับมือที่รัดกุม การพัฒนาอาจ
หยุดชะงักหรือหยุดดำเนินการพัฒนาไปเลยก็เป็นได้
อีกประการหนึ่ง คือ เครื่องมือทางกฎหมายสำหรับการพัฒ นาเมืองใหม่ที่อาจจำเป็นจะต้องมี
การสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่นอกเหนือจากที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่ ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาพื้นที่ รวมถึง
สามารถสร้างแรงจูงใจภาคเอกชนในการเข้ามาร่วมพัฒนาในพื้นที่เมืองใหม่ โดยต้องเป็นการออกกฎหมายใน
ลักษณะของมาตรการเชิงบวก ซึ่ งกรมโยธาธิการและผังเมืองถือเป็นหน่วยงานกลางที่สามารถผลักดันกฎหมาย
การพัฒนาเมืองต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสามารถที่ จะใช้เครื่องมือดังกล่าวกระตุ้นให้
เกิดการพัฒนาให้เป็นไปตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองใหม่นครราชสีมาต่อไป

ELECTRIC VEHICLE (EV) หรือ ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้า Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์


(ที่มา: https://www.sanook.com) (ที่มา: https://www.merlinssolutions.com)

Personal Mobility Devices (PMD) หรือ ยานพาหนะสำหรับคนเดียว พลังงานสะอาด


(ที่มา: http://www.digitalagemag.com) (ที่มา: https://www.istockphoto.com)

Autonomous Cars หรือ รถยนต์ไร้คนขับ Drones หรือ อากาศยานไร้คนขับ


(ที่มา: https://www.caradvice.com.au) (ที่มา: https://gbr.pepperdine.edu)
รูปที่ 2.5-2 ตัวอย่างการลงทุนด้านเทคโนโลยีของเมืองอัจฉริยะ

2-199
2-200

You might also like