Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 22

สงครามโลกครั้งที่ 1

World War I
(ค.ศ.1914 -1918)
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

ความเจริญก้ าวหน้าทางวิ ทยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยี จึงท าให้ เกิด การปฏิวั ติอุต สาหกรรมใน
ศตวรรษที่ 18 มหาอานาจยุโรป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน จึงออกล่าอาณานิคม เพื่อหาแหล่ง
ทรัพยากรและตลาดในการกระจายสินค้า จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งในทางผลประโยชน์ เช่น
1. ผลสืบเนื่องมาจากสงครามฟรังโก-ปรัสเซีย (The Franco – Prussian War) ที่เกิดขึ้นใน
ระหว่างปี (ค.ศ. 1870-1871) ซึ่งฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้ มีผลทาให้เกิดการรวมประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศสต้องจ่าย
ค่าปฏิกรรมสงคราม จานวน 5 พันล้านฟรังก์ ต้องยกแคว้นอัลซัล-ลอเรน (Alsace Larraine) ให้กับเยอรมนี
และฝรั่งเศสต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว 23 ปี จึงสร้างความโกรธแค้นให้กับฝรั่งเศส, ฝรั่งเศสต้อ งการแก้แค้ น
เยอรมนี
Otto von Bismarck หรือที่รู้จักกันดีคือ “บิสมาร์ก”
เสนาบดีปรัสเซียผู้มีบทบาทสาคัญในการรวมชาติเยอรมัน
(ภาพจาก www.britannica.com)
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

2. ความไม่มั่นคงทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน
(Balkan)
ดินแดนในแถบทะเลเมดิ เตอร์เรเนียนและทะเลดา ปัจจุบัน
เป็นดินแดนบางส่วนของประเทศยูโกสลาเวีย แอลเบเนีย บัลแกเรีย และ
กรีซ ที่เรียกรวมกันว่าคาบสมุทรบอลข่ าน ประกอบด้วยชุมชนที่มีความ
แตกต่า งกันทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่วนใหญ่เป็ นชาวสลาฟ กรีก
และเติร์ก การตื่นตัวของพลังชาตินิยมทาให้การเคลื่อนไหวเพื่อรวมกาลังตั้ง
ชาติใหม่ แต่มีอุปสรรคเพราะต่างนับถือศาสนาไม่เหมือนกันและที่สาคัญ
ประเทศใหญ่ๆ ที่มีพรมแดนใกล้ชิดกับคาบสมุทรบอลข่าน ได้แก่ ออสเตรีย
– ฮังการี รัสเซีย และอิตาลีต่างพยายามรักษาอานาจของตนไว้ คือ
เขตแดนบนคาบสมุทรบอลข่าน
หลังสงครามบอลข่านครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

ออสเตรีย – ฮังการี ได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี ซึ่งต้องการรักษาคาบสมุทรบอลข่านไว้เป็นตลาดการค้าและ


เขตอิทธิพลทางการเมือง
อิตาลี ไม่ต้องการให้ออสเตรีย- ฮังการีขยายเขตอิทธิพลให้กว้างออกไปอีก
รัสเซีย ซึ่งหวังขยายอิทธิพลเข้ามาในคาบสมุทรบอลข่านอยู่แล้วจึงได้สนับสนุนขบวนการสร้างชาติของชนชาติ
สลาฟ ด้ว ยเหตุผล 3 ประการคือ 1. เพื่ อ ทาให้อ าณาจั ก รออตโตมันอ่อ นแอลง 2. สร้า งพั นธมิ ตรกับ ชนชาติสลาฟ และ
3. ได้ครอบครองช่องแคบบอสฟอรัสและดาร์ดาแนลส์ ซึ่งเป็นทางออกสู่ทะเลในดินแดนอาณาจักร ออตโตมัน เพื่อประโยชน์
ทางด้านเศรษฐกิจและการค้า
อังกฤษและฝรั่งเศส ในฐานะมหาอานาจไม่ต้องการให้ทั้งรัสเซียและออสเตรีย – ฮังการี ขยายอิทธิพลไปมากกว่า
ที่เป็นอยู่ในเวลานั้น
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

เมื่อชนเผ่าสลาฟภายใต้การนาของแคว้นเซอร์เบีย ซึ่งเป็นรัฐเล็กๆ ได้


เอกราชและแยกตัวออกจากจัก รวรรดิออตโตมันเติ ร์ก ใน ค.ศ. 1878 เซอร์เบี ย
มีนโยบายที่จะรวมชนเผ่าสลาฟทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี
เข้าด้วยกัน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย
ต่อมาเซอร์เบีย บัลแกเรีย กรีซ และมอนเตนิโกร ได้รวมกลุ่มพันธมิตร
ทางทหาร เรีย กว่า สันนิบ าตบอลข่ า น (League of BalKan) เพื่ อยึดแคว้น
มาซิ โ ดเนี ย และคอโซโวและเกาะครี ต จากตุ ร กี ซึ่ ง มี รั ส เซี ย เป็ น ผู้ ส นั บ สนุ น
เกิดสงครามบอลข่าน ครั้งที่ 1 ( ค.ศ. 1912 – พฤษภาคม ค.ศ. 1913) ตุรกีเป็นฝ่าย
พ่ายแพ้และต้องลงนามในสนธิสัญญาลอนดอน (Treaty of London ค.ศ. 1913)
ตุรกีต้องยกเมืองเอเดรียนโนเบิลให้บัลแกเรีย ยกเกาะสกุตาริในทะเลเอเดรียติกให้
เซอร์เบีย ส่วนแอลเบเนียได้เป็นอิสระ ซึ่งทาให้เซอร์เบียไม่พอใจเพราะว่าเซอร์เบีย เขตแดนบนคาบสมุทรบอลข่าน
หลังสงครามบอลข่านครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง
ต้องการแอลเบเนียไว้เป็นทางออกทางทะเล
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

ปัญหาความขัดแย้งในการแบ่งแยกดินแดนนาไปสู่สงครามระหว่าง
บัลแกเรียกับเซอร์เบียและกรีซ (สงครามบอลข่านครั้งที่ 2 มิถุนายน – กรกฎาคม
ค.ศ. 1913) โดยตุรกีและโรมาเนียสนับสนุนเซอร์เบียและกรีซ ผลคือ บัลแกเรีย
แพ้สงคราม และต้องลงนามในสนธิสัญญาบูคาเรสต์ (Treaty of Bucharest)
โดยต้องยกมาซิโดเนียและแคว้นเทรซให้แก่เซอร์เบียและกรีซ ยกเซาเทิร์นคอบนู
จาให้แ ก่โรมาเนีย ดังนั้น บัลแกเรียต้องสูญเสียอิทธิพลในคาบสมุทรบอลข่า น
ส่งผลให้เซอร์เบียกลายเป็นมหาอานาจแทน
วิกฤตการณ์บอลข่าน สะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งอันเป็นผล
จากการแข่งขันด้านผลประโยชน์จากการแสวงหาอาณานิคมและการสร้างความ
แข็งแกร่งทางการทหาร
เขตแดนบนคาบสมุทรบอลข่าน
หลังสงครามบอลข่านครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

3. ปัญหาลัทธิชาตินิยม ก่อให้เกิดการแข่งขันระหว่างมหาอานาจ คือ ชาตินิยมเยอรมนีให้การสนับสนุน


ออสเตรีย – ฮังการี กับชาตินิยมสลาฟที่รัสเซียเป็นผู้นาโดยรัสเซียสนับสนุนชนชาติสลาฟในจักรวรรดิตุรกี เพื่อตนจะได้
เข้าไปแทนที่และสลาฟเองก็ต้องการเป็นเอกราช
การแข่งขันและการสนับสนุนของมหาอานาจก่อให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม(Nationalism) พลังแห่งการ
รักชาติหรือความภูมิใจในชาติตนเอง ทาให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะในคาบสมุทรบอลข่าน
- ขบวนการขยายอิทธิพลสลาฟ (Pan Slavism) ชาวสลาฟต้องการแยกตัวออกจากการปกครองของตุรกี
- ประชาชนในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาไม่ต้องการอยู่ใต้อานาจการปกครองของออสเตรีย-ฮังการี
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

4. การแข่งขันทางด้านแสนยานุภาพ เป็นผลมาจากความขัดแย้งระหว่างประเทศอันมีสาเหตุมาจาก
การเมือง และเศรษฐกิจรวมทั้งการแข่งขันทางด้านอาณานิคม ทาให้ประเทศต่างๆ ส่งเสริมการสร้างกาลังทหาร และ
กองทัพที่มีประสิทธิภาพ
ความขัดแย้งทางการทหาร และการสะสมอาวุธ ทั้งบางบกและทางทะเล โดยประเทศต่างๆ ต้อ งการ
พยายามสร้างอาวุธให้ทัดเทียมชาติศัตรู อันมาเนื่องจากความระแวง สงสัย หวาดกลัวซึ่งกันและกัน เช่น เยอรมนีแข่ง
ขัดกันด้านอาวุธทางทะเล เยอรมนีแข่งขันกันขยายกาลังพลทางบกกับฝรั่งเศส
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

5. การแบ่ ง ฝ่ า ยมหาอ านาจก่ อ นสงครามโลกครั้ ง ที่ 1


มหาอานาจในยุโรป แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
➢ ฝ่ายไตรภาคี (Triple Alliance) หรือกลุ่ม
มหาอานาจกลาง ซึ่งประกอยด้วย เยอรมนี ออสเตรีย
– ฮังการี อิตาลี ออตโตมานเติร์ก
➢ ฝ่ายข้อตกลงไตรภาคี หรือ กลุ่มสัมพันธมิตร
(Triple Entente) ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส
และรัสเซีย ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างมีผลประโยชน์และ
ข้อตกลงในการให้ความช่วยเหลือร่วมกันก่อนเกิด
สงคราม
เกิ ด การแบ่ ง กลุ่ ม ประเทศออกเป็ น 2 กลุ่ ม สมาชิ ก ของ
แต่ละกลุ่มจะต้องช่วยเหลือกันในยามที่เกิดวิกฤติการณ์ระหว่างประเทศ
ชนวนที่นาไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1
ความไม่พอใจของประเทศเซอร์เบีย (Serbia) ที่ประเทศออสเตรีย - ฮังการี ผนวกดินแดนบอสเนีย -
เฮอร์เชโกวีนา (Bosnia - Herzegovena) ซึ่งมีประชาชนเป็นชาวสลาฟ (Slavs) เช่นเดียวกับเซอร์เบีย และ
เซอร์เบียต้องการผนวกดินแดนดังกล่าวเข้ากับเซอร์เบีย
เพื่อเป็นการเอาใจประชาชนที่อาศัยอยู่ในบอสเนีย - เฮอร์เชโกวีนา อาร์ชดุ๊กฟรานซิส เฟอร์ดินาน
(Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี จึงเสด็จไปเยือนซาราเจโว
(Sarajevo) ซี่งเป็นเมืองหลวงของบอสเนีย - เฮอร์เชโกวีนา
อาร์ค ดยุค ฟรานซิส เฟอร์ดินัลด์ (Archduke Francis Ferdinand)
มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย -ฮังการีและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเจโว
ในแคว้นบอสเนีย ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 โดยเป็นฝีมือของ กาฟริโล ปรินซิบ
นักศึกษาชาตินิยมชาวเซอร์เบีย
23 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีจึงยื่นคาขาดให้แก่
เซอร์เบีย 10 ข้อ ซึ่งมีอยู่ 1 ข้อที่เซอร์เบียไม่อาจยอมรับได้ จึงปฏิเสธ

ภาพถ่ายของอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ขณะเสด็จออกจากหอประชุมไม่นานก่อนที่พระองค์พร้อมพระชายาจะถูกลอบปลงพระชนม์


ในกรุงซาราเยโว เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1914 อันเป็นเหตุนาไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
เซอร์เบียจึงเสนอให้มีการตั้งศาลพิเศษระหว่างประเทศ
หรื อ ให้ ม หาอ านาจที่ ไ ม่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ เรื่ อ งนี้ เ ป็ น ผู้ วิ นิ จ ฉั ย
เพื่อหาข้อยุติ รัฐบาลออสเตรีย - ฮังการี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก
เยอรมนี หากแต่ อ อสเตรี ย - ฮั ง การี ไ ม่ ย อมรั บ ค าตอบนี้ จึ ง ได้
ประกาศสงครามกับ เซอร์เบี ย ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914
สถานการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 1
วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914
ออสเตรีย – ฮังการี ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย รัสเซียสนับสนุนเซอร์เบีย ทาให้
วันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914
เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซีย ในขณะเดียวกันเยอรมนีก็เรียกร้องให้ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพันธมิตรของ
รัสเซียทาตัวเป็นกลางไม่เข้ามาแทรกแซงเรื่องนี้
วันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1914
เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศส แล้วส่งกองทัพบุกเบลเยียมซึ่งได้รับการประกันความเป็นกลางและ
การไม่ละเมิดความเป็ นกลางมาตั้ งแต่ ค.ศ. 1839 เมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม เพื่ อ มุ่ง เผด็จ ศึก ฝรั่งเศสตามแผนชลีฟ เฟิ น
(Schlieffen Plan) ให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 6 สัปดาห์ อังกฤษได้ยื่นคาขาดให้เยอรมนีถอนทหารออกจากเบลเยียม แต่เมื่อ
เยอรมนีปฏิเสธ
วันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 อังกฤษจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี เพราะความเห็นใจเบลเยียมและ
เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาลอนดอน ปี ค.ศ. 1839
วันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1914 มอนเตนิโกรประกาศสงครามกับออสเตรีย - ฮังการี
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1914 ตุรกีเข้าร่วมกับฝ่ายมหาอานาจกลางและประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร
14 ตุลาคม ค.ศ. 1915 บัลแกเรียเข้าร่วมกับฝ่ายมหาอานาจกลาง
ในส่วนของอิตาลีนั้น ตอนแรกทาเหมือนว่าจะเป็นพันธมิตรกับฝ่ายมหาอานาจกลาง คือ เยอรมนี และ
ออสเตรีย - ฮังการี อยู่ช่วงหนึ่ง แต่สุดท้ายก็หันไปเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี ค.ศ. 1915 เพราะสนใจส่วนแบ่งดินแดน
ที่จะได้จากออสเตรีย – ฮังการี
ช่วงเริ่มต้นสงครามสหรัฐอเมริกาได้ประกาศดารงสถานะเป็นกลาง แต่เมื่อเยอรมันใช้เรือดาน้าโจมตีเรือ
ของฝ่ายสัมพันธมิตรโดยไม่มีขอบเขต จุดประสงค์ก็เพื่อกาจัดเสบียงของฝ่ายตรงข้าม จนกระทั่งมีการโจมตีเรือโยสารที่
ไม่ติดอาวุธของอังกฤษ ซึ่งมีผู้โดยสารชาวอเมริกันเดินทางมาด้วยถึง 124 คน จมลงใกล้ฝั่งทะเลของไอแลนด์ ในวันที่
7 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 หลังจากนั้นก็มีการโจมตีเรือพาณิชย์ของอเมริกาไปอีก 7 ลา รวมทั้งสหรัฐอเมริกาทราบข่าว
ว่ารัฐบาลเยอรมนีได้ไปเสนอตัวเป็นพันธมิตรกับเม็กซิโก เพื่อช่วยต่อต้านสหรัฐอเมริกา ทาให้สหรัฐอเมริกาไม่สามารถ
ทนเฉยได้อีกต่อไป
6 เมษายน ค.ศ. 1917 สหรัฐอเมริกาจึงออกมาประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร
ในปี ค .ศ. 1917 รั ส เซี ย ได้ ถ อนตั ว ออกจากสงครามครั้ ง นี้ เนื่ อ งจากเลนิ น ผู้ น ากลุ่ ม บอลเชวิ ค (กลุ่ ม
คอมมิวนิสต์)ทาการปฏิวัติในประเทศรัสเซียของพวกบอลเซวิค (Bolsheviks) เพื่อล้มล้างอานาจการปกครองของพระ
เจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1917 ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1918 เลนิน (Lenin) ผู้นาของโซเวียตรัสเซีย
(Soviet Russia) ทาสัญญาสงบศึกเบรสท์ – ลิตอฟ (Brest – Litovsk) กับเยอรมนี เป็นการถอนตัวออกจากสงคราม
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เยอรมนีประกาศยอมแพ้สงคราม สงครามโลก ครั้งที่ 1 จึงสิ้นสุดลง
เหตุการณ์สาคัญที่ส่งผลให้สถานการณ์สงครามเปลี่ยนแปลงไป คือ
6 เมษายน ค.ศ. 1917 สหรัฐอเมริกาออกมาประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรพร้อมกับส่งอาวุธ
ยุทโธปกรณ์และกาลังพลเกือบ 5 ล้านคน ทาให้พันธมิตรกลับมาได้เปรียบมากขึ้น ฝ่ายมหาอานาจกลางเริ่มตกเป็นฝ่าย
เพลี้ยงพล้าในที่สุด เมื่อฝ่ายมหาอานาจกลางยอมแพ้ส่วนฝ่าย พันธมิตรเอาชนะฝ่ายมหาอานาจกลางได้ อย่างเด็ดขาดใน
สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่สุดเยอรมนีต้องยอมเจรจาสงบศึกและลงนามในสัญญาสงบศึก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ.
1918
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1
1. มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภ าพหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญาแวร์ซายส์ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้ระบุให้
เยอรมนีต้อ งรับผิดชอบจ่า ยค่าปฏิก รรมสงครามจ านวนมาก ถู กลดก าลังทหารและอาวุธ ถู กยึดดินแดนอาณานิคม ทาให้
เศรษฐกิจเยอรมันตกต่า ประชาชนตกงาน เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงทั่วประเทศ ชาวเยอรมันโกรธแค้นมาก ฮิต เลอร์ (Adolf
Hitler)ได้ก้า วขึ้นสู่อานาจในช่ว งนี้ สร้า งกระแสชาตินิยม ฉีกสนธิสัญ ญาแวร์ซายส์ และพัฒนาอุตสาหกรรมและการทหาร
จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ในอีก 20 ปีต่อมา
สนธิสัญญาสันติภาพที่สัมพันธมิตรทากับประเทศผู้แพ้สงคราม 5 ประเทศ ได้แก่
- สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty) ทากับเยอรมัน เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919
- สนธิสัญญาแซงต์แยร์แมง (Treaty of St.Germain) ทากับออสเตรีย
- สนธิสัญญาเนยยี (Treaty of Neuilly) ทากับบัลแกเรีย
- สนธิสัญญาตริอานอง (Treaty of Trianon) ทากับฮังการี
- สนธิสัญญาแซฟส์ (Treaty of Servres) ทากับตุรกี (ภายหลังตุรกีขอแก้ไขสัญญาใหม่เป็นสนธิสัญญาโลซานน์)
บรรดาผู้นายุโรปร่วมกันเซ็นสนธิสัญญาเพื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในห้องกระจกแห่งพระราชวังแวร์ซาย
ภาพถ่ายโดย BETTMANN, GETTY
https://ngthai.com/history/22347/versaillestreaty/
2. เกิดประเทศเอกราชใหม่ๆ เกิดประเทศขึ้นใหม่ เช่น
- ยูโกสลาเวีย (Yugoslavia)
- เชคโกสโลวาเกีย (Czechoslovakia)
- โปแลนด์ (Poland)
- แลตเวีย (Latvia)
- ลิธวั เนีย (Lituania)
3. เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในหลายประเทศ
- แยกฮังการี ออกจาก ออสเตรี ย
- เยอรมนี ออสเตรี ย และตุรกี เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบบสาธารณรัฐ
(ยกเลิกระบบกษัตริ ย)์
4. สภาพเศรษฐกิจตกต่าทั่วโลก (Great Depression) (ประเทศในยุโรปทั้งที่เป็นฝ่ายผู้แพ้ (มหาอานาจกลาง)
และฝ่ายชนะ (พันธมิตร) รวมถึงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างได้รับผลกกระทบทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลมาจากสงคราม
ระบบการเงินทั่วโลกกระทบกระเทือน)
5. มีทหารเสียชีวิตไปประมาณ 8 ล้านคน บาดเจ็บประมาณ 20 ล้านคน
6. ความพ่ายแพ้ของมหาอานาจกลางและความหายนะของมนุษยชาติ ทาให้ประเทศต่างๆ แนวคิดร่วมมือกัน
ระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ โดยมีการจัดตั้งองค์กรสันนิบาตชาติ(League Of Nations) เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทาง
การเมืองระหว่างประเทศ
7. ความสูญเสียทางสังคมและทางจิตวิทยา

You might also like