บทความข้อมูลยาต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 17

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน:

molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

บทความวิชาการเพื่อการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
3.0 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
ภก. พงศกร เจริญวิวัฒนกิจ1 และ ผศ.ภญ. โชติรัตน์ นครานุรักษ์2
รหัส 1001-1-000-001-06-2566 1
วันที่รับรอง 20 มิถุนายน 2566
เภสัชกรประจำบ้านชั้นปีที่ 2 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2
วันที่หมดอายุ 19 มิถุนายน 2567 ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบตั ิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
หลังจากศึกษาบทความนี้จบแล้ว ผู้อ่านสามารถ
1. มีความรู้ ความเข้าใจกับยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทาน
2. นำข้อมูลไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยเฉพาะราย
3. ทราบถึงข้อพึงระวังในการใช้ยาและอันตรกิริยาระหว่างยาที่สำคัญ

บทคัดย่อ
ในสถานการณ์ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด -19 เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้โรงพยาบาลและหน่วยงาน
ต่าง ๆ ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยให้เข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลและได้รับยาฉีดได้ทุกราย ยาต้าน
โควิด-19 ในรูปแบบรับประทานจึงมีบทบาทที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่จำเป็นต้อง
เข้ามารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน
ยาต้ า นโควิ ด -19 ชนิ ด รั บ ประทานที ่ ใ ช้ ใ นปั จ จุ บ ั น มี ห ลายชนิ ด เช่ น ยา molnupiravir และยา
nirmatrelvir/ritonavir โดยยา molnupiravir สามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลหรืออัตราการเสียชีวิต
ภายใน 29 วั น ในกลุ ่ ม ผู ้ ป ่ ว ยที ่ ย ั ง ไม่ ไ ด้ ร ั บ วั ค ซี น ได้ ร ้ อ ยละ 31 ร่ ว มกั บ มี ผ ลข้ า งเคี ย งน้ อ ย ส่ ว นยา
nirmatrelvir/ritonavir นั้นสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลและอัตราการตายของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ใน
กลุ ่ ม ผู ้ ป ่ ว ยที ่ ย ั ง ไม่ ไ ด้ ร ับ วัค ซี น สู ง ถึ ง ร้อ ยละ 88.9 และสำหรั บ ผู ้ ป ่ ว ยที ่ เคยได้ ร ั บวั ค ซีน มาแล้ว พบว่ายา
nirmatrelvir/ritonavir มี ป ระโยชน์ เ ฉพาะในผู ้ ป ่ ว ยที ่ ม ี อ ายุ ม ากกว่ า หรื อ เท่ า กั บ 65 ปี ข ึ ้ น ไป โดยยา

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 1 จาก 17
มีผลข้างเคียงน้อยเช่นเดียวกับยา molnupiravir แต่อย่างไรก็ตามยา nirmatrelvir/ritonavir มีอันตรกิริยา
ต่อยาอื่นเป็นจำนวนมากจึงควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาอื่นๆ ของผู้ป่วย นอกจากนี้ข้อมูลการศึกษาระยะ
หลั ง พบว่ า ยาทั ้ ง สองชนิ ด มี ร ายงานการเกิ ด ภาวะ COVID-19 rebound โดยเป็ น ภาวะที ่ พ บหลั ง จากที่
รับประทานยาครบแล้ว ซึ่งสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรับประทานยาซ้ำ
ปัจจุบันผู้ป่วยส่วนมากมักได้รับวัคซีนโควิด-19 มาก่อนหน้าแล้ว ทำให้อาการของโรคโควิด-19 มีความ
รุนแรงลดลง จึงไม่จำเป็นที่ต้องรับการรักษาเป็นผู้ป่วยในและสามารถให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ ส่งผลให้
บทบาทของการได้รับยาต้านโควิด-19 ชนิดรับประทานมีความสำคัญมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เภสัชกรต้องมี
ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาต้านโควิด-19 ชนิดรับประทาน เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อมูลยา
ที่ถูกต้องทั้งกับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19

คำสำคัญ:
Molnupiravir, nirmatrelvir/ritonavir, COVID-19, SARS-CoV-2, COVID-19 rebound

บทนำ
ในสถานการณ์ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นจำนวนมาก จากข้อมูลของกรมการแพทย์ประเทศ
ไทยในช่วงเดือน มกราคม 2565 จนถึงตุลาคม 2565 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลจำนวน
2,463,846 รายและมีผ ู้เสี ย ชีว ิ ต 11,184 ราย โดยคาดว่าจะพบจำนวนผู้ต ิด เชื้ อสูง ขึ ้น ในขณะที่จํ า นวน
ผู้เสียชีวิตอาจเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยหรือคงที่ และจะมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 สายพันธ์ุโอไมครอนอย่าง
ต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกจังหวัดของประเทศ 1-2 ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนายาเพื่อรักษาและลดความรุนแรงของ
การติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ซึ่งมีทั้งรูปแบบฉีดและรูปแบบรับประทาน โดยพิจารณาการรักษาตามอาการทาง
คลินิกของผู้ป่วย เนื่องจากสถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด -19 ส่งผลให้มีประชากรติดเชื้อเป็น
จำนวนมาก ส่งผลให้โรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆไม่สามารถรองรับผู้ป่วยให้เข้ารับ การรักษาตัวเป็นผู้ป่วย
ในโรงพยาบาลและได้รับยาฉีดได้ทุกราย ยาต้านไวรัสโควิด-19 ในรูปแบบรับประทานจึงมีบทบาทสำคัญในการ
รักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ปัจจุบันจากแนวทางการรักษา
IDSA Guidelines on the Treatment and Management of Patients with COVID-19 ปี 20233 แ ล ะ
NIH COVID-19 treatment guideline 20234 แนะนำยาต้านไวรัสโควิด-19 ในรูปแบบรับประทาน ได้แก่ ยา
nirmatrelvir/ritonavir ในผู้ใหญ่ที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่มีความเสี่ยงในการเกิดอาการโควิดรุนแรง
และยา molnupiravir เป็นทางเลือกรอง สำหรับประเทศไทย ยาต้านโควิด-19 ในรูปแบบรับประทานที่มีการ
สั่งใช้ตามแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ของกรมการแพทย์ฉบับที่ 27 (18 เมษายน 2566)5
แนะนำให้ใช้ยา molnupiravir หรือยา nirmatrelvir/ritonavir ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง
ต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสําคัญ หรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบ (pneumonia)
ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 2 จาก 17
เล็กน้อยถึงปานกลาง ที่ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน โดยยา molnupiravir และยา nirmatrelvir/ritonavir นั้นเป็น
ยารูปแบบรับประทานที่เริ่มนำมาใช้ในประเทศไทยได้ไม่นาน แต่มีแนวโน้มที่จะมีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น
ในฐานะเภสัชกรจึงควรทราบถึงข้อมูลกลไกการออกฤทธิ์ของยา เภสัชจลนศาสตร์ของยา การปรับขนาดยาตาม
การทำงานของไตและการบริหารยา อาการข้างเคียงของยา อันตรกิริยาของยาที่สำคัญ รวมถึงข้อห้ามของการ
ใช้ยาดังกล่าว เพื่อผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์ในการรักษาและความปลอดภัยสูงสุด
Molnupiravir
กลไกการออกฤทธิ์

รูปที่ 1 molnupiravir ถูกเปลี่ยนเป็น EIDD-1931 (NHC) ในกระแสเลือดและถูกเปลี่ยนเป็น EIDD-


1931-5’-triphosphate (NHC-TP) โดย host kinase6

Molnupiravir มีโครงสร้างทางเคมีเลียนแบบ ribonucleoside ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างไวรัส


(ribonucleoside analog) เมื่อยาเข้าสู่เซลล์จะถูกเอนไซม์ esterase เปลี่ยนเป็น N-hydroxycytidine (NHC)
จากนั ้ น NHC จะผ่ า นกระบวนการเติ ม หมู ่ ฟ อสเฟต (phosphorylation) กลายเป็ น active form
NHC-triphosphate (ร ู ป ที่ 1) ซ ึ ่ ง ม ี โ ค ร ง ส ร ้ า ง เ ห ม ื อ น adenosine แ ล ะ guanosine analogs โ ด ย
NHC-triphosphate จะไปแทนที่ในสาย RNA ของไวรัส SARS-CoV-2 ส่งผลให้เกิดการยับยั้งกระบวนการ
RNA-dependent RNA polymerase (RdRp) ในตำแหน่งต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในกระบวนการ
แบ่งตัวทำให้เชื้อไม่สามารถเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมและแพร่กระจายได้

ข้อบ่งใช้
จากแนวทางการรักษาการติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ของกรมการแพทย์ฉบับที่ 27 (18 เมษายน 2566)5
แนะนำให้ใช้ยา molnupiravir ภายใน 5 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ ในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่และมีอาการไม่รุนแรงแต่มี
ปั จ จั ย เสี ่ ย งต่ อ การเป็ น โรครุ น แรงหรื อ มี โ รคร่ ว มสำคั ญ หรื อ ผู ้ ป ่ ว ยที ่ ไ ม่ มี ป ั จ จั ย เสี ่ ย งแต่ ม ี ป อดอั ก เสบ
(pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางที่ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 3 จาก 17
1) อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป
2) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ
3) โรคไตเรื้อรัง (CKD) (stage 3 ขึ้นไป)
4) โรคหัวใจและหลอดเลือด
5) โรคหลอดเลือดสมอง
6) โรคมะเร็ง (ไม่รวมมะเร็งที่รักษาหายแล้ว)
7) โรคเบาหวาน
8) ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม หรือ BMI ≥30 กิโลกรัม/ตรางเมตร)
9) ตับแข็ง (Child-Pugh class B ขึ้นไป)
10) ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ (เป็นโรคที่อยู่ในระหว่างได้รับยาเคมีบําบัดหรือยากดภูมิหรือ corticosteroid
เทียบเท่ากับprednisolone 15 มิลลิกรัม/วัน นาน 15 วันขึ้นไป)
11) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มี CD4 cell count น้อยกว่า 200 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร

วิธีการบริหารยา7
Molnupiravir เป็นยาในรูปแบบแคปซูลขนาด 200 มิลลิกรัม ให้รับประทานครั้งละ 4 แคปซูล (ขนาดยา 800
มิลลิกรัม) ทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 วัน (10 โดส) ยา molnupiravir สามารถรับประทานได้ทั้งก่อนหรือหลัง
อาหาร แต่ไม่แนะนำให้เปิดหรือแกะแคปซูลเพื่อนำผงยาออก ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถกลืนยาทั้งแคปซูลได้อาจ
พิจารณาเปลี่ยนรูปแบบยาให้เป็นรูปแบบสารละลาย โดยมีขั้นตอนดังนี้7
1. แกะแคปซูล ยา molnupiravir 4 แคปซูล ลงในถ้ว ยหรือ syringe และทิ้งแคปซูล เปล่าในขยะ
อันตราย
2. เติมน้ำลงในถ้วยหรือ syringe ปริมาตร 40 มิลลิลิตร
3. คนหรือผสมผงยากับน้ำเป็นเวลา 3 นาที โดยตัวผงยากับน้ำที่ผสมอาจจะไม่ละลายเข้ากันจนหมด
และยังคงสามารถมองเห็นผงยาที่ไม่ละลายน้ำได้ ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นที่ยอมรับได้ในการ
บริหารยา
4. ควรบริหารยาให้กับผู้ป่วยทันทีหลังเตรียมยา โดยไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมงหลังเตรียมยา
แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามการบริ ห ารยาในรู ป แบบสารละลายยั ง มี ข ้ อ มู ล จำกั ด และไม่ ไ ด้ ม ี ก ารประเมิ น
ประสิทธิภาพในการรักษา จึงต้องมีการติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ในกรณีที่ลืมรับประทานยามาไม่เกิน 10 ชั่วโมง สามารถรับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ในกรณีที่ลืม
รับประทานยามาเกิน 10 ชั่วโมงแล้ว ให้ข้ามยามื้อนั้นไปแล้วรับประทานยามื้อถัดไปตามเวลาปกติ

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 4 จาก 17
การปรับขนาดยา7
- การปรับขนาดยาตามการทำงานของไต :
สามารถให้ขนาดยาปกติโดยไม่ต้องปรับขนาดยา เนื่องจากยาไม่ได้ถูกขับออกทางไตเป็นหลัก ใน
ประชากรที่มีการทำงานของไตบกพร่องเล็กน้อยถึงปานกลางจึงอาจไม่ส่งผลต่อระดับ NHC อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาระดับยาในผู้ป่วยที่มี eGFR < 30 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตาราง
มิลลิเมตร หรือผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไต
- การปรับขนาดยาตามการทำงานของตับ:
ยังไม่มีการศึกษาข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ของยา molnupiravir และ NHC ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของ
ตับบกพร่องระดับปานกลางถึงรุนแรง อย่างไรก็ตาม NHC ไม่ได้ขจัดผ่านทางตับเป็นหลั ก การทำงานของตับที่
บกพร่องจึงอาจจะไม่ส่งผลต่อระดับ NHC อาจไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับบกพร่อง

เภสัชจลนศาสตร์7
- การดูดซึม
ข้อมูลการศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีที่ได้รับ molnupiravir ขนาด 800 มิลลิกรัมร่วมกับอาหาร
ไขมันสูง พบว่าสามารถลดระดับความเข้มข้นยาในเลือดสูงสุด (Cmax) ร้อยละ 35 แต่ไม่ส่งผลต่อค่า Area
under the curve (AUC) อย่ า งมี น ั ย สำคั ญ ทางสถิ ติ ในขณะที ่ ก ารได้ ร ั บ ยา molnupiravir ขนาด 800
มิลลิกรัมจะใช้เวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง (Tmax) จึงจะถึงระดับความเข้มข้นยาในเลือดสูงสุด (Cmax)
- การกระจายตัวของยา
NHC มีปริมาตรการกระจายตัว (Vd) 142 ลิตรและไม่จับกับโปรตีนในกระแสเลือด
- การขจัดยา
NHC มีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 3.3 ชั่วโมง และถูกขับออกในปัสสาวะรูปแบบ NHC < ร้อยละ 3 ใน
อาสาสมัครสุขภาพดี

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 5 จาก 17
ตารางที่ 1 เภสัชจลนศาสตร์ของ NHC ในยา molnupiravir ขนาด 800 มิลลิกรัมทุก 12 ชั่วโมง8
การดูดซึมยา
เวลาที่ระดับความเข้มข้นยาในเลือดสูงสุด (Tmax) (ชั่วโมง) 1.5 [1.00-2.02]
ผลกระทบจากอาหาร ลดระดั บ ความเข้ ม ข้ น ยาในเลื อ ดสู ง สุ ด (Cmax)
ร้ อ ยละ 35 แต่ ไ ม่ ส ่ ง ผลต่ อ ค่ า Area under the
curve (AUC)
การกระจายตัวของยา
การจับกับโปรตีนในพลาสมา (ร้อยละ) 0
ปริมาตรการกระจายตัว (Vd) (ลิตร) 142
ค่าครึ่งชีวิต (t1/2) (ชั่วโมง) 3.3
ค่าการขจัดของยา (Apparent clearance) (ลิตร/ชั่วโมง) 76.9

ผลข้างเคียงจากยา7
พบรายงานการเกิดอาการท้องเสีย (ร้อยละ 2) คลื่นไส้ (ร้อยละ 1) เวียนศีรษะ (ร้อยละ 1)

หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร7
การศึกษาในสัตว์ทดลองมีรายงานการก่อให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ แต่ยังไม่มีข้อมูล
การศึกษาในมนุษย์ จึงไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ทุกไตรมาสรวมถึงหญิงให้นมบุตร และควรแนะนำหญิง
วัยเจริญพันธุ์ทุกคนควรคุมกำเนิดด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพในระหว่างที่ได้รับยา molnupiravir จนกระทั่งได้รับ
ยาครบแล้วต่อเนื่องไปอีก 4 วัน

เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี7
ยังไม่แนะนำให้ใช้ยา molnupiravir ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาในประชากร
กลุ่มนี้

อันตรกิริยาระหว่างยา7
ในการศึกษาทางหลอดทดลองพบว่า molnupiravir และ NHC ไม่มีการเมแทบอลิซึมผ่าน CYP หรือ
P-glycoprotein และไม่ยับยั้งหรือเพิ่มการทำงานของ CYP จึงทำให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาน้อยมาก

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 6 จาก 17
การศึกษาข้อมูลทางคลินิกของ MOVe-OUT trial9 เป็นการศึกษาทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม
(Randomized Controlled Trial) ในผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่มีอาการน้อยถึงปานกลางและมี
ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง และผู้ป่วยต้องไม่เคยได้รับวัคซีนโควิดรวมทั้งมีอาการมาไม่เกิน 5 วัน โดย
จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 1,433 ราย แบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มที่ได้รับ molnupiravir 716 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่
ได้รับยาหลอก 717 ราย พบว่าการได้รับยา molnupiravir ขนาด 800 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งเป็นระยะเวลา
5 วัน สามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลหรืออัตราการเสียชีวิตภายใน 29 วันได้ร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับยา
หลอก (ร้อยละ 6.8 เทียบกับ ร้อยละ 9.7; point reduction ร้อยละ 3; 95% CI, -5.9 ถึง -0.1) โดยพบผู้ป่วย
เสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา molnupiravir 1 รายและผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก 9 ราย ส่วนผลข้างเคียงพบว่า
เกิดในทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน โดยอาการข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ ท้องเสียและเวียนศีรษะ
ในการศึกษาระยะที่ 2 ของการศึกษา MOVe-IN trial10 เป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและ
ความปลอดภัยของยา molnupiravir กับยาหลอกเช่นเดียวกับในการศึกษา MOVe-OUT trial แต่ทำการศึกษา
ในผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีอาการมาไม่เกิน 10 วัน พบว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นและอัตราการหาย
จากโรคในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน จึงทำให้การศึกษาระยะที่ 3 ของ MOVe-IN trial ได้ยุติลง
เนื่องจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลมักมีอาการมาเกิน 5 วันและอาจไม่ได้ประโยชน์จาก
การรับประทานยา molnupiravir
นอกจากนี้ในการศึกษาในหลอดทดลองพบว่ายา molnupiravir มีความสามารถในการยับยั้งการ
แบ่งตัวของเชื้อ SARS-CoV-2 ชนิด Omicron11 เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการศึกษาทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่ม
ควบคุมที่ศึกษาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดชนิดโอไมครอนที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง โดยศึกษาผลลัพธ์หลักเป็น
การขจัดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 พบว่าในกลุ่มที่ได้ยา molnupiravir สามารถขจัดเชื้อได้เร็วกว่า (ระยะเวลา
เฉลี่ย 9 วัน) กลุ่มที่ได้รับยาหลอก (ระยะเวลาเฉลี่ย 10 วัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.0092)12 นอกจากนี้
ยังมีการศึกษาอื่นๆ ที่ผลการศึกษาพบว่ายา molnupiravir มีประโยชน์ในผลการรักษาอื่นๆ นอกเหนือจากการ
ลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลหรืออัตราการตาย โดยในการศึกษาของ Johnson และคณะ13 เป็นการศึกษา
ทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยา molnupiravir จะมีค่า C-Reactive Protein (CRP)
และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) กลับมาเป็นปกติในวันที่ 3 ได้เร็วกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก
และสามารถลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ (relative risk reduction [RRR], ร้อยละ 34.3 [95% CI,
ร้อยละ 4.3, ร้อยละ 54.9]) ลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยประชากรในการศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเชื้อ
ชาติละตินอเมริกา มีความรุนแรงของโรคโควิด-19 เล็กน้อยน้อยถึงปานกลางและมีค่า Body mass index
(BMI) > 30 กิโลกรัม/ตารางมิลลิเมตร ประมาณร้อยละ 75 ของประชากรในการศึกษาทั้งหมด จึงจำเป็นต้อง
พิจารณาปัจจัยข้างต้นก่อนนำมาปรับใช้กับผู้ป่วยในประเทศไทย

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 7 จาก 17
Nirmatrelvir/ritonavir (PaxlovidTM)
กลไกการออกฤทธิ์14
Nirmatrelvir เป็ นยาต้านโควิ ด-19 รู ปแบบยารั บประทาน โดยตั วยามีเป้ าหมายการออกฤทธิ ์หลั กที ่ บริเวณ3-
chymotrypsin-like cysteine protease enzyme (Mpro) ของเชื้อ SARS-CoV-2 โดย Mpro เป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทที่สำคัญใน
กระบวนการ transcription และ translation ของ SARS-CoV-2 และไม่พบเอนไซม์นี้ในมนุษย์จึงทำให้ยา nirmatrelvir เป็นยาที่มี
ประสิทธิภาพดีและมีผลข้างเคียงน้อย

รูปที่ 2 โครงสร้างของยา nirmatrelvir14

ข้อบ่งใช้
จากแนวทางการรักษาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของกรมการแพทย์ฉบับที่ 27 (18 เมษายน 2566)5 แนะนำให้
ยา nirmatrelvir/ritonavir ภายใน 5 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ ในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่และมีอาการไม่รุนแรงแต่มีปัจจัยเสี่ยง
ต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญหรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปาน
กลางที่ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่
1) อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป
2) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ
3) โรคไตเรื้อรัง (CKD) (stage 3 ขึ้นไป)
4) โรคหัวใจและหลอดเลือด
5) โรคหลอดเลือดสมอง
6) โรคมะเร็ง (ไม่รวมมะเร็งที่รักษาหายแล้ว)
7) โรคเบาหวาน
8) ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม หรือ BMI ≥30 กิโลกรัม/ตารางเมตร)
9) ตับแข็ง (Child-Pugh class B ขึ้นไป)

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 8 จาก 17
10) ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ (เป็นโรคที่อยู่ในระหว่างได้รับยาเคมีบําบัดหรือยากดภูมิหรือ corticosteroid
เทียบเท่ากับprednisolone 15 มิลลิกรัม/วัน นาน 15 วันขึ้นไป)
11) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มี CD4 cell count น้อยกว่า 200 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร

วิธีการบริหารยา14
PaxlovidTM เป็นยาในรูปแบบเม็ด โดยในแผงยาจะแยกเป็น 2 ส่วนโดยจะแบ่งเป็นมื้อเช้าและมื้อเย็น
แต่ละส่วนจะประกอบไปด้วยตัวยา nirmatrelvir ขนาด 150 มิลลิกรัม 2 เม็ดและ ritonavir 100 มิลลิกรัม
1 เม็ด ซึ่งขนาดยาของผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตปกติจะรับประทาน nirmatrelvir 300 มิลลิกรัม ควบคู่ไปกับ
ritonavir 100 มิลลิกรัม (รวม 3 เม็ดต่อ 1 มื้อ) เป็นระยะเวลา 5 วันและในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาต้านเอช
ไอวีสูตรที่มี ritonavir ประกอบอยู่ในสูตร ไม่จำเป็นต้องปรับลดขนาดยาและสามารถรับประทานยาคู่กันได้
ยา nirmatrelvir/ritonavir สามารถรับประทานได้ทั้งพร้อมอาหารหรือตอนท้องว่าง โดยแนะนำให้
กลืนยาทั้งเม็ด ไม่ควรเคี้ยวหรือหักบดเม็ดยา
หากผู้ป่วยลืมรับประทานยาไม่เกิน 8 ชั่วโมงของเวลาตามตารางสามารถรับประทานยาทันทีที่นึกได้
และรับประทานยามื้อถัดไปตามปกติ แต่ถ้าลืมรับประทานยาเกิน 8 ชั่วโมงของเวลาตามตาราง ให้ข้ามมื้อที่ลืม
และรับประทานยามื้อถัดไปตามปกติ

การปรับขนาดยา14-15
- การปรับขนาดยาตามการทำงานของไต: การปรับขนาดยา nirmatrelvir/ritonavir ตามการทำงาน
ของไตจะปรับขนาดยาตาม eGFR (มิลลิลิตร/นาที) จากสูตร CKD-EPI โดยแนะนำปรับขนาดยาตามตารางที่ 2
ในส่วนการปรับขนาดยา nirmatrelvir/ritonavir ในผู้ป่วยที่มี eGFR < 30 มิลลิลิตร/นาที นั้นยังมีข้อมูลจำกัด
จึงยังไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่อย่างไรก็ตามมีบางการศึกษาที่แนะนำให้ใช้ modified lower dose ใน
ผู้ป่วยที่มี eGFR < 30 มิลลิลิตร/นาที และผู้ป่วยที่ฟอกไต เนื่องจากมีข้อมูลกรณีศึกษาที่แนะนำการปรับขนาด
ยาตาม modified lower dose ในผู้ป่วยที่ฟอกไต 15 ราย พบว่าผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นโดยที่ไม่พบอาการ
ข้างเคียงที่รุนแรง

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 9 จาก 17
ตารางที่ 2 การปรับยา nirmatrelvir/ritonavir ในผู้ปว่ ยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
eGFR ตามสูตร CKD-EPI
การปรับขนาดยาตามเอกสารกำกับยา14
> 60 มิลลิลติ ร/นาที ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยา
> 30 - < 60 มิลลิลิตร/นาที Nirmatrelvir 150 มิลลิกรัม/ritonavir 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
< 30 มิลลิลติ ร/นาที หรือ dialysis ไม่แนะนำการใช้ยา
การปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มี eGFR < 30 มิลลิลิตร/นาที โดยใช้ modified lower dose15
< 30 มิลลิลติ ร/นาที หรือ dialysis* Nirmatrelvir 300 มิลลิกรัม/ritonavir 100 มิลลิกรัม วันละครั้ง ในวันที่ 1
(น้ำหนัก > 40 กิโลกรัม) Nirmatrelvir 150 มิลลิกรัม/ritonavir 100 มิลลิกรัม วันละครั้ง ในวันที่ 2-5
Dialysis* (น้ำหนัก < 40 กิโลกรัม) Nirmatrelvir 150 มิลลิกรัม/ritonavir 100 มิลลิกรัม วันละครั้ง ในวันที่ 1
Nirmatrelvir 150 มิลลิกรัม/ritonavir 100 มิลลิกรัม ทุก 48 hr ในวันที่ 2-5
*ในกรณีที่ผู้ป่วยล้างไต ควรให้รับประทานยาหลังล้างไต

การปรับขนาดยาตามการทำงานของตับ: ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับบกพร่องเล็กน้อยถึงปานกลาง (Child-Pugh


class A หรือ B) ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยา สำหรับผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับบกพร่องรุนแรง (Child-Pugh C) ไม่
แนะนำให้รับประทานยา nirmatrelvir/ritonavir เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาความปลอดภัยในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว

ตารางที่ 3 เภสัชจลนศาสตร์ของยา nirmatrelvir/ritonavir ในอาสาสมัครสุขภาพดี14


Nirmatrelvir/ritonavir Ritonavir

การดูดซึมยา
เวลาที่ระดับความเข้มข้นยาในเลือดสูงสุด (Tmax) (ชั่วโมง) 3.00 3.98

ผลกระทบจากอาหารไขมันสูง ระดั บ ความเข้ ม ข้ น ยาในเลื อ ด -


สูงสุด (Cmax) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15
แ ล ะ Area under the curve
(AUC) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 10 จาก 17
Nirmatrelvir/ritonavir Ritonavir

การกระจายตัวของยา
การจับกับโปรตีนในพลาสมา (ร้อยละ) 69 98-99
ปริมาตรการกระจายตัว (Vd) (ลิตร) 104.7 112.4
การขจัดยา
ค่าครึ่งชีวิต (t1/2) (ชั่วโมง) 6.05 6.15
ค่าการขจัดของยา (Apparent clearance) (ลิตร/ 8.99 13.92
ชั่วโมง)
เมแทบอลิซึม
วิถีเมแทบอลิซึม Nirmatrelvir ถูกกำจัดผ่าน ส่วนใหญ่ถูกกำจัดผ่าน
CYP3A4 แต่เมื่อให้คู่กับ CYP3A4 ส่วนน้อยผ่าน
ritonavir จะลดการถูกกำจัดออก CYP2D6
การขับออกของยา
ขับออกผ่านทางอุจจาระ (ร้อยละ) 35.3 86.4
ขับออกผ่านทางปัสสาวะ (ร้อยละ) 49.6 11.3

ผลข้างเคียงจากยา14
พบรายงานการเกิดอาการรับรสผิดปกติ (dysgeusia) ร้อยละ 6, ท้องเสีย (diarrhea) ร้อยละ 3, ความ
ดันโลหิตสูง (hypertension) ร้อยละ 1 และ อาการปวดกล้ามเนื้อ (myalgia) ร้อยละ 1

หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร14,16
ในปัจจุบัน พบว่ามี case series ที่รวบรวมหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยา nirmatrelvir/ritonavir จำนวน
47 รายโดยมีผู้ป่วยทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ พบว่าไม่เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงกับมารดาและบุตร จึงอาจ
พิจารณาการใช้ยานี้ในผู้ป่วยตั้งครรภ์ได้ สำหรับหญิงให้นมบุตรนั้น ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาในมนุษย์ พบข้อมูล
ในหนูทดลองที่แสดงว่าการได้รับยา nirmatrelvir/ritonavir ในลูกหนูทดลองที่มีขนาดยาสูงกว่าขนาดยาใน
มนุษย์ 5 เท่านั้นไม่ทำให้ลูกหนูทดลองน้ำหนักลดลง โดยยาที่ผ่านทางน้ำนมบุตรในมนุษย์มีขนาดยาที่ต่ำกว่าที่
ลูกหนูได้รับมาก แนะนำให้เทียบความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับในหญิงให้นมบุตร
ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 11 จาก 17
ข้อมูลยาในเด็ก14
ยังไม่แนะนำให้ใช้ยา nirmatrelvir/ritonavir ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 40
กิโลกรัมเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพละความปลอดภัยในประชากรกลุ่มนี้

ตารางที่ 4 คู่อันตรกิริยาระหว่างยาที่ห้ามให้ร่วมกับยา nirmatrelvir/ritonavir14


อันตรกิริยาที่ส่งผลให้ความเข้มข้นของ nirmatrelvir/ritonavir เพิ่มขึ้น
ยาต้านภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยากันชัก อนุพันธ์ ergot
• Amiodarone • Carbamazepine • Dihydroergotamine
• Dronedarone • Phenobarbital • Ergonovine
• Flecainide • Primidone • Ergotamine
• Propafenone • Phenytoin • Methylergonovine
• Quinidine
ยาบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก ยานอนหลับ Alpha-1-adrenoreceptor antagonist
• Ranolazine • Triazolam • Alfuzosin
• Midazolam • Silodosin
Vasopressin receptor antagonist ยาลดไขมันในกลุม่ HMG-CoA reductase กลุ่มยาต้านอาการทางจิต
• Tolvaptan inhibitors • Lurasidone
• Lovastatin • Pimozide
• Simvastatin
กลุ่มยาโรคหัวใจ ยาแก้ปวดไมเกรน ยารักษาโรคเกาต์
• Eplerenone • Eletriptan • Colchicine
• Ivabradine
อันตรกิริยาที่ส่งผลให้ความเข้มข้นของ nirmatrelvir/ritonavir ลดลง
กลุ่มยากันชัก กลุ่มยาต้านไมโครแบคทีเรีย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
• Carbamazepine • Rifampin • St.John’s wort (Hypericum
• Phenobarbital perforatum)
• Phenytoin

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 12 จาก 17
ข้อมูลการศึกษาทางคลินิกของยา nirmatrelvir เปลี่ยนแปลงผ่าน CYP3A4 เป็นหลัก จึงมีการให้ยา
ritonavir ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 โดยให้ยาในขนาดต่ำ (100 มิลลิกรัม) เพื่อทำ
ให้ระดับของยา nirmatrelvir สูงขึ้น จากการศึกษาระยะที่ 117 ศึกษาระดับยา nirmatrelvir ในขนาดยาต่าง ๆ
รวมถึงระดับยาเมื่อได้รับ nirmatrelvir ร่วมกับ ritonavir โดยในการศึกษาพบว่าการให้ยา nirmatrelvir 300
มิ ล ลิ ก รั ม /ritonavir 100 มิ ล ลิ ก รั ม จะทำให้ ม ี ร ะดั บ ยาในเลื อ ดสู ง กว่ า 90% maximal effective
concentration (EC90), (EC90 = 292 นาโนกรัม/มิลลิลิตร) 5-6 เท่า จึงเป็นที่มาของขนาดการใช้ยาในปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังพบว่ายามีความปลอดภัยสูง โดยการศึกษาในอาสาสมัครที่ได้รับยาขนาดที่สูงกว่าระดับการรักษา
(nirmatrelvir 2,250 มิลลิกรัม/ritonavir 100 มิลลิกรัม) ไม่พบอาการข้างเคียงต่อผู้ป่วย
การศึกษา EPIC-HR18 เป็นการศึกษาทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial)
เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา nirmatrelvir/ritonavir กับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกในผู้ป่วยที่ไม่
เคยได้รับวัคซีนโควิดและมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง โดยมีจำนวนผู้ป่วยในการศึกษา 2,246 ราย
แบ่งเป็น 1,120 รายที่ได้รับ nirmatrelvir/ritonavir และ 1,126 รายที่ได้รับยาหลอก พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ
nirmatrelvir/ritonavir สามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลและอัตราการตายของผู้ป่วยโรคโควิด -19 ที่มี
อาการน้อยถึงปานกลางได้สูงถึงร้อยละ 88.9 เมื่อเทียบกับยาหลอก ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอาการมาภายใน 3 วันหรือ
5 วันก่อนรักษา นอกจากนี้ยังไม่พบผู้ป่วยที่เสียชีวิตในกลุ่มที่ได้รับยา nirmatrelvir/ritonavir สำหรับข้อมูล
ด้านความปลอดภัย พบผลข้างเคียงของยา nirmatrelvir/ritonavir นั้นไม่แตกต่างกับยาหลอก โดยอาการ
ข้างเคียงที่เกิดขึ้นมักไม่รุนแรง ได้แก่ การรับรสที่ผิดปกติ (dysgeusia) และท้องเสีย (diarrhea) ซึ่งสามารถ
หายได้เองเมื่อหยุดยา
การศึกษาต่อมาคือ EPIC-SR เป็นการศึกษาระยะที่ 2/3 ศึกษาอัตราการนอนโรงพยาบาลและอัตรา
การเสียชีวิตเช่นเดียวกับในการศึกษา EPIC-HR แต่ทำในประชากรที่มีความเสี่ยงปกติ เช่น ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง
ในการเกิด อัต ราการนอนโรงพยาบาล (hospitalization) หรืออัตราการเสี ยชีว ิต (mortality) ต่ ำ โดยใน
การศึกษาต้องหยุดการทดลองไปก่อนจบการศึกษาเนื่องจากในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปกตินั้นมีผู้ป่วยที่กลับมา
นอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตน้อยมากในทั้ง 2 กลุ่มจึงไม่สามารถศึกษาความแตกต่างของผลลัพธ์ได้ แม้ว่า
nirmatrelvir/ritonavir จะมีแนวโน้มที่ดีกว่าแต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงไม่สามารถ
บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของยาในผู้ป่วยความเสี่ยงปกติได้19
การศึ ก ษาที ่ ก ล่ า วไปข้ า งต้ น เป็ น การศึ ก ษาที ่ ป ระเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพและผลข้ า งเคี ย งของยา
nirmatrelvir/ritonavir แต่ ศ ึ ก ษาในผู ้ ป ่ ว ยที ่ ย ั ง ไม่ ไ ด้ ร ั บ วั ค ซี น โควิ ด จึ ง ได้ ม ี ก ารทำการศึ ก ษาการใช้ ย า
nirmatrelvir/ritonavir ในผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนแล้วในช่วงที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนระบาด โดยศึกษาใน
ประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและวัดผลลัพธ์การศึกษาเป็นอัตราการนอนโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิต
เช่นเดียวกันการศึกษาก่อนหน้า พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา nirmatrelvir/ritonavir นั้นสามารถลดอัตราการนอน

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 13 จาก 17
โรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตในประชากรที่ได้รับวัคซีนและมีอายุเท่ากับหรือมากกว่า 65 ปีขึ้นไป (HR
0.32, 95% CI: 0.17-0.63) แต่ไม่พบประโยชน์ดังกล่าวในประชากรที่ได้รับวัคซีนแต่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี (HR
1.13, 0.5-2.58)20 อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดหลายๆอย่าง เช่น ผู้ป่วยที่เข้ามาในการศึกษามีเพียง
ส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นผู้ป่วยความเสี่ยงสูงเหมือนใน EPIC-HR จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 65
ปีแต่มีความเสี่ยงสูงจะได้รับประโยชน์หรือไม่ รวมถึงยังไม่มีผลการศึกษาในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี จึง
จำเป็นต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต
นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยบางรายที่ได้รับยา nirmatrelvir/ritonavir จนครบ 5 วันและมีผลยืนยันว่า
หายจากการติดเชื้อ แล้วมีอาการกลับมาเป็นซ้ำใน 2-8 วันหลังจากอาการดีขึ้น (COVID-19 rebound) แม้ว่า
ผู้ป่วยจะได้รับวัคซีนแล้วก็ตาม21-22 ซึ่งในผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำส่วนใหญ่จะมีผลการตรวจ antigen และ RT-
PCR เป็นลบ หลังจากรับประทานยา nirmatrelvir/ritonavir ครบระยะเวลาในการรักษา และกลับมามีผลเป็น
บวกอีกครั้งในเวลาต่อมา ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นเองในระยะเวลาประมาณ 3 วัน โดยไม่ต้องได้รับยาต้านโควิด 19
เพิ่มเติม จากข้อมูลพบว่าภาวะ COVID-19 rebound ไม่ใช่การติดเชื้อซ้ำ (reinfection) หรือเกิดการดื้อยา
(resistance) ต่อยา nirmatrelvir/ritonavir แต่เป็นภาวะที่กลับมาเป็นซ้ำ20 โดยในการศึกษาของ Wang L.
และคณะ23 พบว่าการเกิด COVID-19 rebound ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ใช้ยา nirmatrelvir/ritonavir แต่ยังพบ
ในยา molnupiravir ด้วย ซึ่งในการศึกษาดังกล่าววัดผลการกลับมาเป็นซ้ำในวันที่ 7 และ 30 วัน โดยผู้ป่วยที่
ได้รับยา nirmatrelvir/ritonavir พบการกลับมาเป็นซ้ำที่ร้อยละ 3.53 และร้อยละ 5.40 และในผู้ป่วยที่ได้รับ
ยา molnupiravir พบการกลับมาเป็นซ้ำที่ร้อยละ 5.86 และร้อยละ 8.59 ในวันที่ 7 และ 30 วันตามลำดับ และ
เมื่อเปรียบเทียบการกลับมาเป็นซ้ำของยาทั้ง 2 กลุ่มพบว่าอัตราการเกิดไม่แตกต่างกัน (HR 0.90, 95% CI:
0.73-1.11) แต่พบว่ากลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิด COVID-19 rebound ได้มากขึ้น คือกลุ่มคนที่มีโรคเรื้อรัง

สรุป
ในสถานการณ์ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด -19 เป็นจำนวนมาก ในขณะที่บุคลากรและจำนวน
เตียงมีจำกัด การรับผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาลเพื่อให้ยาและติดตามอาการอาจไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วยทุกราย
จึ ง มี บ ทบาทของการให้ ย าต้ า นเชื ้ อ โควิ ด -19 ชนิ ด รั บ ประทาน เช่ น ยา molnupiravir และยา
nirmatrelvir/ritonavir ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด -19 แบบอาการไม่รุนแรงแต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการ
รุนแรงในอนาคต โดยยาทั้ง 2 ชนิดมีการศึกษาที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดีและสามารถ
ใช้ได้ในเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ทำให้มีการใช้ยาอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งอาจทำให้พบ
ปัญหาจากการใช้ยาได้เพิ่มมากขึ้น เภสัชกรจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการให้ความรู้ และอธิบายข้อมูลยา
ให้กับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ให้เข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมยาด้วยวิธีเฉพาะ เช่นการให้ยา
molnupiravir ผ่านทางสายยางให้อาหารในผู้ป่วยที่ไม่สามารถกลืนเม็ดยาได้ หรือยา nirmatrelvir/ritonavir
ที่จำเป็นต้องปรับขนาดยาตามการทำงานของไต และต้องระวังการเกิดอันตรกิริยากับยาอื่นจากยา ritonavir ที่
ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 14 จาก 17
มีคุณสมบัติยับยั้งการทำงานของ CYP3A4 ที่รุนแรง จึงเป็นหน้าที่เภสัชกรในการปรับยาตามการทำงานของไต
ให้ถูกต้องและตรวจสอบยาที่ผู้ป่วยได้รับทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรกิริยาหรืออาการข้างเคียงที่อาจก่อให้เกิด
อันตรายต่อผู้ป่วย

เอกสารอ้างอิง
1. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [Internet]. กรม
ควบคุ มโรค กระทรวงสาธารณสุ ข ; 2022 [cited 2023 May 20]. Available from: https://ddc.moph.go.th/
viralpneumonia/file/ situation/ situation-no731-070165.pdf
2. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. DDC covid-19 interactive dashboard: 1-dash-week [Internet].
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2022 [cited 2023 May 20]. Available from:
https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/
3. Bhimraj A, Morgan RL, Shumaker AH, Baden L, et al. Infectious Diseases Society of America Guidelines on
the Treatment and Management of Patients with COVID-19 [Internet]. Infectious Diseases Society of
America 2023; Version 10.2.1 [cited 2023 May 20]. Available at https://www.idsociety.org/practice-
guideline/covid-19-guideline-treatment-and-management/.
4. COVID-19 Treatment Guidelines Panel. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Treatment Guidelines
[Internet]. National Institutes of Health [cited 2023 May 20]. Available
at https://www.covid19treatmentguidelines.nih.gov/.
5. คณะทํางานด้านการรักษาพยาบาลและการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.
แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 27 วันที่ 18 เมษายน 2566
[Internet].แพทย์ 2566[cited2023May20].Availableat:https://covid19.dms.go.th/ backend/// Content//
Content_File/Covid_Health/Attach/25660418 150721PM _CPG_COVID-19_v.27_n_18042023.pdf
6. Painter WP, Holman W, Bush JA, Almazedi F, et al. Human Safety, Tolerability, and Pharmacokinetics of
Molnupiravir, a Novel Broad-Spectrum Oral Antiviral Agent with Activity Against SARS-CoV-2. Antimicrob
Agents Chemother. 2021 May 1;65(5):e02428-20.
7. FACT SHEET FOR HEALTHCARE PROVIDERS: EMERGENCY USE AUTHORIZATION FOR LAGEVRIOTM
(molnupiravir)CAPSULES[Internet].Fda.gov.2022[cited20September2022].Availablefrom:
https://www.fda.gov/media/155054/download

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 15 จาก 17
8. DRUG GUIDELINE - MOLNUPIRAVIR (LAGEVRIO®) [Internet]. Government of Western
Australia Department of health 2023 [cited 20 September 2022] Available at:
https://ww2.health.wa.gov.au/~/media/Corp/Documents/Health-for/Infectious-disease/
COVID19/WA-guidelines-for-use-of-molnupiravir.pdf
9. Jayk Bernal A, Gomes da Silva MM, Musungaie DB, Kovalchuk E et al. Molnupiravir for Oral
Treatment of Covid-19 in Nonhospitalized Patients. N Engl J Med. 2022 Feb 10;386(6):509-
520.
10. Arribas J, Bhagani S, Lobo S, Khaertynova I, et al., Randomized Trial of Molnupiravir or Placebo in
Patients Hospitalized with Covid-19. NEJM Evidence. 2022;1(2).
11. Vangeel L, Chiu W, De Jonghe S, Maes P, Slechten B, et al. Remdesivir, Molnupiravir and Nirmatrelvir
remain active against SARS-CoV-2 Omicron and other variants of concern. Antiviral Res. 2022
Feb;198:105252.
12. Zou R, Peng L, Shu D, Zhao L, et al., Antiviral Efficacy and Safety of Molnupiravir Against Omicron
Variant Infection: A Randomized Controlled Clinical Trial. Front Pharmacol. 2022 Jun 15;13:939573.
13. Johnson MG, Puenpatom A, Moncada PA, Burgess L, et al. Effect of Molnupiravir on Biomarkers,
Respiratory Interventions, and Medical Services in COVID-19 : A Randomized, Placebo-Controlled Trial.
Ann Intern Med. 2022 Aug;175(8):1126-1134.
14. FACT SHEET FOR HEALTHCARE PROVIDERS: EMERGENCY USE AUTHORIZATION FOR PAXLOVIDTM
[Internet]. Fda.gov. 2022 [cited 20 September 2022]. Available from:
https://www.fda.gov/media/155050/download.
15. Hiremath S, McGuinty M, Argyropoulos C, Brimble K, Brown P, Chagla Z et al. Prescribing
Nirmatrelvir/Ritonavir for COVID-19 in Advanced CKD. Clinical Journal of the American Society of
Nephrology. 2022;17(8):1247-1250.
16. Garneau WM, Jones-Beatty K, Ufua MO, et al. Analysis of Clinical Outcomes of Pregnant Patients
TreatedWithNirmatrelvir and Ritonavir for Acute SARS-CoV-2 Infection. JAMA Netw
Open. 2022;5(11):e2244141.
17. Singh RSP, Toussi SS, Hackman F, Chan PL, et al. Innovative Randomized Phase I Study and Dosing
Regimen Selection to Accelerate and Inform Pivotal COVID-19 Trial of Nirmatrelvir. Clin Pharmacol
Ther. 2022 Jul;112(1):101-111.

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 16 จาก 17
18. Hammond J, Leister-Tebbe H, Gardner A, Abreu P, Bao W, Wisemandle W et al. Oral Nirmatrelvir
for High-Risk, Nonhospitalized Adults with Covid-19. New England Journal of Medicine.
2022;386(15):1397-1408.
19. Pfizer Reports Additional Data on PAXLOVIDTM Supporting Upcoming New Drug
Application Submission to U.S. FDA [Internet]. 2022 [cited 2023 May 20]. Available from:
https://www.pfizer.com/news/press-release/press-release-detail/pfizer-reports-
additional-data-paxlovidtm-supporting.
20. Arbel R, Wolff Sagy Y, Hoshen M, Battat E, et al. Nirmatrelvir Use and Severe Covid-19
Outcomes during the Omicron Surge. N Engl J Med. 2022 Sep 1;387(9):790-798.
21. Coulson JM, Adams A, Gray LA, Evans A. COVID-19 "Rebound" associated with
nirmatrelvir/ritonavir pre-hospital therapy. J Infect. 2022 Oct;85(4):436-480.
22. Carlin AF, Clark AE, Chaillon A, et al. Virologic and Immunologic Characterization of COVID-
19 Recrudescence after Nirmatrelvir/Ritonavir Treatment. Preprint. Res Sq. 2022;rs.3.rs-
1662783.
23. Wang L, Berger NA, Davis PB, Kaelber DC, Volkow ND, Xu R. COVID-19 rebound after
Paxlovid and Molnupiravir during January-June 2022. medRxiv : the preprint server for health
sciences, 2022.06.21.22276724.

ข้อมูลยาต้านโควิด 19 ชนิดรับประทานในปัจจุบัน: molnupiravir และ nirmatrelvir/ritonavir

หน้า 17 จาก 17

You might also like