228 32+40 การศึกษาที่มาของผู้พิพากษาในระบบศาลยุติธรรมเชิงเปรียบเทียบ

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 34

การศึกษาที่มาของผู้พิพากษาในระบบศาลยุติธรรมเชิง

เปรียบเทียบ

โดย

นายกิตติศักดิ์ พิริยะธัญญากรม
นายอชิระ ศุกร์สวัสดีรตั น์
ใบรองปกหน้า
การศึกษาที่มาของผู้พิพากษาในระบบศาลยุติธรรมเชิง
เปรียบเทียบ

โดย

นายกิตติศักดิ์ พิริยะธัญญากรม เลขที่ 32


นายอชิระ ศุกร์สวัสดีรตั น์ เลขที่ 40

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 228

รายงานประกอบรายวิชา ง30288 การทารายงานการศึกษาค้นคว้า


กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

คานา

อาชีพผู้พิพากษานั้นถือได้ว่าเป็นอาชีพที่มีค วามสาคัญเป็นอย่างมากต่อสังคม เพราะว่าเมื่อ


มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมแล้ว ก็ย่อมมีความขัดแย้งเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา ดังนั้นแล้ว อาชีพผู้พิพากษา
ที่มาเป็นคนกลางคอยตัดสินผิดถูกและไกล่เกลี่ยให้ทุกคนเข้าใจกันได้จึงมีความสาคัญและมีเกียรติอย่าง
ยิ่ง การคัดเลือกคนให้เข้ามาเป็นผู้พิพากษานั้นจึงควรจะต้องมีความรอบคอบเหมาะสม ที่จะเลือกผู้ที่มี
ประสบการณ์และความสามารถทั้งด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิเข้ามาดารงตาแหน่งเป็นตุลาการคอยตัดสิน
ถูกผิดในอรรถคดีต่าง ๆ
รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมวิธีในการคัดเลือกผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมในประเทศต่าง ๆ เอาไว้
เพื่อที่จะได้อธิบายซึ่งที่มาของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม และนามาเปรียบเทียบกันได้อย่างถูกต้อง รวมถึง
ยังสามารถใช้ในการศึกษาระบบยุติธรรมในประเทศต่าง ๆ ที่นาเสนอมาได้
ผู้จัดทาคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทาเอกสารฉบับนี้จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ
ศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี
นายกิตติศักดิ์ พิริยะธัญญากรม
นายอชิระ ศุกร์สวัสดีรัตน์
1 กันยายน 2565

สารบัญ

เรื่อง หน้า
คานา............................................................................................................................................... ก
สารบัญ............................................................................................................................................ ข
บทที่ 1 บทนา ................................................................................................................................... 1
บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชีพผู้พิพากษา..................................................................................... 2
2.1 นิยามของผู้พิพากษา ................................................................................................................ 2
2.2 พัฒนาการของอาชีพผู้พิพากษาในประวัติศาสตร์โลก ...................................................................... 2

2.3 พัฒนาการของอาชีพผู้พิพากษาในประวัติศาสตร์ไทย ..................................................................... 2


บทที่ 3 ระบบการคัดเลือกผู้พิพากษา .................................................................................................... 4
3.1 ราชอาณาจักรไทย ................................................................................................................... 4
3.2 ญี่ปุ่น ..................................................................................................................................... 7
3.3 สหรัฐอเมริกา .......................................................................................................................... 8
3.4 สหราชอาณาจักร..................................................................................................................... 9
3.5 สหพันธรัฐเยอรมนี ................................................................................................................. 10
3.6 สาธารณรัฐฝรั่งเศส ................................................................................................................ 11
3.7 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ................................................................................................... 12
บทที่ 4 การนามาปรับใช้ในระบบศาลยุติธรรมไทย................................................................................. 13
4.1 ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการคัดเลือกผู้พิพากษาของประเทศไทย ..................................................... 13
4.2 แนวทางการปรับปรุงวิธีการคัดเลือกโดยองค์กรตุลาการ................................................................ 16
บทที่ 5 สรุป ................................................................................................................................... 17
บรรณานุกรม .................................................................................................................................. 18
ภาคผนวก ..................................................................................................................................... 20
1

บทที่ 1 บทนา

อาชีพผู้พิพากษานั้นเป็นอาชีพที่มีความสาคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าผู้พิพากษานั้นทาหน้าที่
เป็นผู้ตัดสินประเด็นปัญหาข้อพิพาท ทั้งทางกฎหมายและข้อเท็จจริง รวมไปถึงยังมีบทบาทในการ
ตีความกฎหมายต่าง ๆ ที่ถูกร่างโดยสภานิติบัญญัติเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ด้วยหน้าที่เช่นนี้เอง
จึ ง ท าให้ ก ารคั ด เลื อ กผู้ พิ พ ากษานั้ น มี ค วามส าคั ญ เป็ น อย่ า งยิ่ ง หากผู้ พิ พ ากษาได้ รั บ เลื อ กมาจาก
กระบวนการที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและมี คุ ณ สมบั ติ ค รบถ้ ว นเหมาะสมตามที่ ก ฎหมายได้ ก าหนดเป็ น
หลั กเกณฑ์ ย่ อมน ามาซึ่งผลลั พ ธ์ ที่ดี ใ นการปฏิ บัติ ห น้ า ที่ที่ ส ามารถใช้วิจ ารณญาณของตนได้ อ ย่ า ง
เหมาะสมและเชี่ยวชาญในการพิจารณาคดีต่าง ๆ ในทางกลับกัน หากเป็นผู้พิพากษาที่ขึ้นสู่ตาแหน่งจาก
การอานวยของพวกพ้องโดยไม่ได้มีความสามารถหรือความยุติธรรมในจิตใจ ก็จะตัดสินอย่างไม่เป็น
กลางและขาดความน่าเชื่อถือ เสื่อมไปซึ่งประโยชน์แห่งความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้ การวางระบบการ
คัดเลือกบุคคลขึ้นสู่ตาแหน่งผู้พิพากษาจึงมีความสาคัญอย่างยิ่ง
เพื่อที่จะทาให้เกิดความมั่นใจว่าผู้ที่ถูกเลื อกมาให้เป็นผู้พิพากษาจะมีคุณสมบัติเหมาะสม มี
ความรู้ด้านกฎหมายเป็นอย่างดี และเข้าใจบริบทของสั งคมเพื่อให้ตัดสินคดีไปอย่างถูกต้องและเป็น
ธรรมนั้น ต้องเริ่มพิจารณาจากระบบการคัดเลือกที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ตาแหน่งว่ามีการกาหนด
คุณสมัติอย่างไร วิธีการทาสอบเหมาะสมหรือไม่
ด้วยเหตุนี้การศึกษาที่มาของผู้พิพากษา ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการคัดเลือกจึงไม่
ควรถูกมองข้าม และควรถูกนามาพิจารณาเพื่อประโยชน์สูงสุดของวงการนิติศาสตร์ และประโยชน์แห่ง
ความยุ ติธ รรมต่อไป โดยจะมีการน าข้อมูล ของระบบการคัดเลื อกผู้ พิพากษาในประเทศต่าง ๆ มา
เปรียบเทียบกับระบบการคัดเลือกของประเทศไทย และจะนาข้อดีของแต่ละระบบมาปรับใช้อย่างไรให้
สอดคล้องกับสังคมไทย
2

บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชีพผู้พิพากษา
2.1 นิยามของผู้พิพากษา
ผู้พิพากษาหรือตุลาการนั้นเป็นผู้ที่มีอานาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี แต่
โบราณนั้นเรียกว่า “ตระลาการ” โดยผู้พิพากษาจะทาหน้าที่เป็นตัวกลางในการตัดสินคดีข้อพิพาท
ระหว่างคนในสังคม เพื่อให้เกิดความยุติธรรมที่สุดโดยไม่มีความลาเอียง ซึ่งคาว่า “ตุลาการ” มาจากคา
ว่า “ตุลา” ที่แปลว่าคันชั่ง และ “การ” ที่แปลว่าการกระทาหรือผู้กระทา อุปมาว่าเป็นผู้กระทาการ
ตัดสินคดีด้วยความเที่ยงธรรมไม่เอนเอียงเหมือนกับคันชั่ง คาว่าตุลาการ จึงแปลว่า “ผู้กระทาความ
เที่ยงตรง” นั่นเอง

2.2 พัฒนาการของอาชีพผู้พิพากษาในประวัติศาสตร์โลก
ในประวัติศาสตร์โลกนั้น ผู้พิพากษาทาหน้าที่ตัดสินคดีต่าง ๆ แทนพระมหากษัตริย์ โดยระบบ
กฎหมายที่แตกต่างกัน จะทาให้หน้าที่ของผู้พิพากษาแตกต่างกันออกไปด้วย
ในระบบ Common Law หรือกฎหมายจารีตประเพณีนั้น ส่วนใหญ่ผู้พิพากษาจะทาหน้าที่ใน
การเป็นผู้กาหนดโทษและพิจารณาอธิบายเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายเท่านั้น โดยจะพิพากษาเองแค่ในคดี
แพ่ง แต่ในคดีอาญา จะใช้ลูกขุนซึ่งเป็นขุนนางหรือประชาชนที่ถูกคัดเลือกมาทาหน้าที่ตัดสินถูกผิด โดย
ผู้พิพากษาจะทาหน้าที่เพียงกาหนดโทษเท่านั้น แต่ในระบบ Civil Law `หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์
อักษร ผู้พิพากษาเพียงผู้เดียวที่จะตัดสินถูกผิดโดยไม่จาเป็นต้องอาศัยลูกขุน

2.3 พัฒนาการของอาชีพผู้พิพากษาในประวัติศาสตร์ไทย
ในอดีตสมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อานาจอธิปไตยล้วนแล้วแต่เป็นของพระมหากษัตริย์
อานาจตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอานาจอธิปไตยจึงเป็นพระราชอานาจของพระมหากษัตริย์โดยตรง
ด้วย ในสมัยสุโขทัยนั้น นอกจากกษัตริย์จะทรงปกครองเมืองแล้ว ยังต้องทรงชาระคดีความของราษฎร
ด้วยพระองค์เอง ตามแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือ เมื่อราษฎรมีทุกข์ร้อนประการใด ก็ต้องมาร้องทุกข์
ต่อพ่อเมืองโดยตรง1 แต่ก็มีตาแหน่งขุนนางทีเ่ รียกว่าขุนศาลตระลาการขึ้น มีหน้าที่ช่วยวินิจฉัยอรรถคดี
ต่าง ๆ โดยมีกษัตริย์ทรงควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

1 ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2511). การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิ

ยะมหาราช. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.หน้า 33


3

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา สังคมมีความสลับซับซ้อนขึ้นและจานวนพลเมืองเยอะขึ้น กษัตริย์


จึงมิอาจวินิจฉัยอรรถคดีด้วยตนเองได้ ทั่วถึงอีกต่อไปเหมือนในสมัยสุโขทัย กษัตริย์จึงได้มอบอานาจ
ชาระคดีให้ กับ พระราชครูปโรหิ ตาพฤฒาจารย์ ซึงเป็นมหาอามาตย์พราหมณ์ในราชส านัก 2 เพราะ
พราหมณ์เหล่านี้เป็นผู้รู้หนังสือและกฎหมาย จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รักษานิติราชประเพณีและเป็น
ผู้ พิพากษาตระลาการ ต่อมาเสนาอามาตย์ ฝ่ ายไทยได้เข้ารับหน้าที่นี้แทนฝ่ ายพราหมณ์ รวมไปถึง
ตาแหน่งลูกขุน ณ ศาลหลวงด้วย3
จนกระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ แม้จะมอบหมายให้พราหมณ์และอามาตย์ทาหน้าที่ชาระความ
แต่เพราะกฎหมายบางฉบับถูกทาลายและไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ คดีเหล่านั้นกษัตริย์จึงทาหน้าที่ตัดสินเพื่อ
เป็นรากฐานให้คดีต่อ ๆ ไปในลักษณะเดียวกัน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฏิรูปการศาลขึ้น ทาให้อานาจ
หน้าที่ในการพิจารณาอรรถคดีต่าง ๆ รวมไปถึงการกาหนดโทษตกอยู่กั บผู้พิพากษา ซึ่งต้องผ่านการ
เรียนกฎหมายจากโรงเรียนกฎหมายหรือเนติบัณฑิตและการคัดเลือกดังเช่นในปัจจุบันนั่นเอง

ภาพที่ 1 ภาพถ่ายเนติบณ
ั ฑิตไทยรุ่นแรก ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440)
หมายเหตุ. จาก ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ,์
https://www.facebook.com/TULawLibrary/photos/a.665444986897175/2920750498033268/

2 ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2511). การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิ


ยะมหาราช. หน้า 33
3 อ้างแล้ว. หน้า 34
4

บทที่ 3 ระบบการคัดเลือกผู้พิพากษา
ในโลกนี้นั้นแต่ละประเทศก็ล้วนแล้วแต่มีระบบกฎหมายที่แตกต่างกันไป ดังนั้นแล้ว ขั้นตอน
วิธีการในการคัดเลือกผู้พิพากษาก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย ในบางประเทศจะใช้ระบบการสอบคัดเลือก
บางประเทศจะเป็นการเลือกตั้ง บางประเทศใช้การแต่งตั้ง หรือบางประเทศจะใช้การอบรมจากอาชีพ
อื่น ๆ ด้านกฎหมาย ในบทนี้จึงได้รวบรวมระบบการคัดเลือกต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ เพื่อให้ได้ศึกษา
และเปรียบเทียบอย่างชัดเจน

3.1 ราชอาณาจักรไทย
การคั ด เลื อ กผู้ พิ พ ากษาของประเทศไทยนั้น จะต้ อ งเป็ นไปตามที่ พ ระราชบัญ ญั ติ ระเบียบ
ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ซึ่งได้กาหนดในมาตรา 14 ไว้ว่า
“การบรรจุข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ให้ประธานศาล
ฎีกาเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้หรือการคัดเลือกพิเศษตามที่
บัญญัติไว้ในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้” ("พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
2543," 2543)
โดยการสอบคัดเลือกตามมาตรา 14 นั้นไม่ใช่การสอบคัดเลือกมาเป็นผู้พิพากษาโดยทันที แต่
การสอบคัดเลือกดังกล่าวนั้นคือการสอบคัดเลือกเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา เนื่องจากผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษาได้
นั้นต้องเคยดารงตาแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษามาก่อนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ดังที่กาหนดไว้ใน
มาตรา 15 วรรคแรก ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
การสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตาแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษานั้นเป็นที่รู้จักกัน
ดีในชื่อ “สนามใหญ่” “สนามเล็ก” และ “สนามจิ๋ว” โดยสนามเล็กและสนามจิ๋วจะใช้คาว่า “ทดสอบ
ความรู้” มิใช่ “การสอบคัดเลือก” ซึ่งคุณสมบัติในการสมัครนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ คุณสมบัติ
ทั่วไป และ คุณสมบัติเฉพาะของผู้เข้าสอบในสนามต่าง ๆ
คุณสมบัติทั่วไป คือคุณสมบัติที่ใช้ในการสอบทุกสนาม ซึ่งหนึ่งในคุณสมบัติที่สาคัญ คือ ผู้สมัคร
ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดและอายุไม่ต่ากว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์4 ส่วนผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
ต้องมีอายุไม่ต่ากว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ และ คุณสมบัติเฉพาะซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ใช้ในการเข้าสอบสนาม
ต่าง ๆ ที่จะแยกออกไปตามวุฒิการศึกษา ดังนี้

4 มาตรา 26 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543


5

3.1.1 การสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตาแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา หรือ


เรียกว่า “สนามใหญ่”
ผู้สอบสนามใหญ่จะต้องสาเร็จการศึกษาในชั้นปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต สอบไล่ได้
ตามหลักสูตรของสานักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (เนติบัณฑิตไทย) และเคยประกอบอาชีพ
เกี่ยวกับกฎหมายตามที่กรรมการตุลาการกาหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี หรือเป็นทนายความว่า
ความมาไม่น้อยกว่ายี่สิบคดี5

3.2.2 การทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตาแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
เฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 28 (2) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือเรียกว่า “สนามเล็ก”
ผู้สอบสนามเล็กจะต้องเป็นผู้สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสานักอบรมกฎหมายแห่งเนติ
บัณฑิตยสภา (เนติบัณฑิตไทย) ต้องจบปริญญาโทกฎหมาย และมีประสบการณ์ประกอบอาชีพด้าน
กฎหมายไม่ต่ากว่าหนึ่งปี หรือ เป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ 5 ปี หรือ เป็นข้าราชการทางานในศาล 6
ปี หรือ สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือเอกในสาขาวิชาที่กรรมการตุลาการกาหนด และเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต
ที่ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายไม่น้อยกว่าสามปี6

3.3.3 การทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตาแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
เฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 28 (2) (ก) (ข) หรือเรียกว่า “สนามจิ๋ว”
ผู้สอบสนามเล็กจะต้องเป็นผู้สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสานักอบรมกฎหมายแห่งเนติ
บั ณฑิตยสภา (เนติบั ณฑิตไทย) และส าเร็จการศึกษาปริญญาในด้านกฎหมายจากต่างประเทศที่มี
หลักสูตรไม่ต่ากว่า 3 ปี ซึ่งเทียบไม่ต่ากว่าปริญญาตรี หรือถ้าเป็นหลักสูตร 2 ปี ต้องมีประสบการณ์การ
ทางานด้านกฎหมายอย่างน้อย 1 ปี ประกอบกัน หรือเป็นผู้จบปริญญาเอกกฎหมายในไทย7

ชื่อของสนามใหญ่ สนามเล็ก และสนามจิ๋วนั้น ก็ถูกตั้งขึ้นมาจากจานวนของผู้เข้าสอบในแต่ละ


สนามนั่นเอง โดยสนามใหญ่จะมีคนสมัครมากที่สุด ตามมาด้วยสนามเล็กและสนามจิ๋วตามลาดับ
การสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้นั้นจะใช้เวลาทั้งหมด 3 วัน และวิชาที่ใช้จะแตกต่างกันไป
ตามประเภทการสมัคร ดังนี้

5 มาตรา 27 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543


6 มาตรา 28 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543

7 มาตรา 29 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543


6

3.4.1 การทดสอบสนามใหญ่
ในวันแรกของสนามใหญ่จะมีการสอบวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 6 ข้อ และกฎหมายอาญา
4 ข้อ เวลา 4 ชั่วโมง 10 นาที คะแนนเต็ม 100 คะแนน
วั น ที่ ส องจะมี ก ารสอบวิ ช ากฎหมายลั ก ษณะพยาน 3 ข้ อ พระธรรมนู ญ ศาลยุติ ธ รรมและ
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลแขวง 1 ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ 1
ข้อ และให้เลือกสอบกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน
และครอบครัว กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ หรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จานวน 2 ข้อ เวลา 2 ชั่วโมง 55
นาที คะแนนเต็ม 70 คะแนน และสอบภาษาอังกฤษโดยจานวนข้อตามแต่คณะกรรมการกาหนด เวลา
1 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 10 คะแนน
วันสุดท้าย สอบวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 6 ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
4 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน เวลา 4 ชั่วโมง 10 นาที8

3.4.2 การทาสอบสนามเล็ก
วันแรกของสนามเล็กจะมีการสอบวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 3 ข้อ และกฎหมายอาญา 2
ข้อ เวลา 2 ชั่วโมง 5 นาที คะแนนเต็ม 50 คะแนน
วันที่สองจะมีการสอบวิชากฎหมายลักษณะพยาน พระธรรมนูญศาลยุติธรรมและกฎหมายว่า
ด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลแขวง กฎหมายรัฐธรรมนูญหรือภาษาอังกฤษ
อย่างละ 1 ข้อ และให้เลือกสอบกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา
คดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมาย
ล้มละลาย กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ หรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จานวน 1 ข้อ เวลา 1
ชั่วโมง 40 นาที คะแนนเต็ม 40 คะแนน และสอบภาษาอังกฤษอีก 2 ข้อ เวลา 1 ชั่วโมง คะแนนเต็ม
20 คะแนน
วันสุดท้าย สอบวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อย่าง
ละ 3 ข้อ คะแนนเต็ม 60 คะแนน เวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที9

8 ข้อ 11 ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัคร การสอบคัดเลือก และการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็น


ข้าราชการตุลาการ ในตาแหน่งผู้ช่วยผูพ้ ิพากษา พ.ศ. 2558
9 ข้อ 24 ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัคร การสอบคัดเลือก และการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็น

ข้าราชการตุลาการ ในตาแหน่งผู้ช่วยผูพ้ ิพากษา พ.ศ. 2558


7

3.4.3 การทดสอบสนามจิ๋ว
วันแรกของสนามจิ๋วจะมีการสอบวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 3 ข้อ และกฎหมายอาญา 2
ข้อ เวลา 2 ชั่วโมง 5 นาที คะแนนเต็ม 50 คะแนน
วันที่สองจะมีการสอบวิชากฎหมายลักษณะพยาน 1 ข้อ และให้เลือกสอบกฎหมายว่าด้วยการ
จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายทรัพย์สิ นทาง
ปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ หรือ
กฎหมายวิธีพิจ ารณาคดีผู้ บริ โภค จ านวน 1 ข้อ เวลา 50 นาที คะแนนเต็ม 40 คะแนน และสอบ
ภาษาอังกฤษอีก 3 ข้อ เวลา 3 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 60 คะแนน
วันสุดท้าย สอบวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อย่าง
ละ 2 ข้อ คะแนนเต็ม 40 คะแนน เวลา 1 ชั่วโมง 40 นาที10

3.2 ญี่ปุ่น
บุคคลที่จะสามารถเป็นผู้พิพากษาได้นั้น จะต้องผ่านขั้นตอนตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันกาหนดว่า
ต้องผ่านการศึกษากฎหมาย จากคณะนิติศาสตร์หรือโรงเรียนกฎหมาย และจะต้องผ่านการทดสอบของ
เนติบัณฑิตแห่งชาติ11 จากนั้นจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมเป็นเวลา 1 ปี ที่ สถาบันวิจัยและฝึกอบรม
กฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ขั้นตอนสุดท้ายคือการผ่านการทดสอบสุดท้าย สาหรับผู้ที่ผ่านการทดสอบ
ดังกล่าวนั้นจะได้เป็นสมาชิกเนติบัณฑิตแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น โดยจะมีการทดสอบดังนี้
การทดสอบของเนติบัณฑิตแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่นนั้นมี 2 ครั้ง แบ่งออกเป็นการทดสอบ
แรกและการทดสอบครั้งที่ 2 โดยการทดสอบแรกนั้นจะเป็นการทดสอบเพื่อที่จะได้รู้ ว่าผู้เข้ารับการ
ทดสอบมีคุณสมบัติที่จะเข้ารับการทดสอบครั้งสุดท้ายหรือไม่ และ การทดสอบครั้งที่ 2 หรือการทดสอบ
สุดท้าย ประกอบไปด้วยข้อสอบข้อเขียน เรียงความและการสอบปากเปล่า โดยข้อเขียนจะมีวิชาหลัก 3
วิชาคือรัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่น กฎหมายแพ่ง และกฎหมายอาญา การสอบเรียงความและการ
สอบปากเปล่ านั้ น จะมี 6 วิช าได้แก่ รัฐ ธรรมนูญแห่ งประเทศญี่ปุ่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา
กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (The Secretariat
of the Judicial Reform Council, 1999)
โดยเมื่อเป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตแห่งชาติแล้วก็จะสามารถประกอบอาชีพทางกฎหมายได้
โดยผู้พิพากษานั้นจะถูกคัดเลือกมาจากผู้ช่วยผู้พิพากษา อัยการ และทนายความ ที่มีอายุงานอย่างน้อย

10 ข้อ 28 ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัคร การสอบคัดเลือก และการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็น


ข้าราชการตุลาการ ในตาแหน่งผู้ช่วยผูพ้ ิพากษา พ.ศ. 2558
11 Japan Federation of Bar Associations
8

10 ปี จึงจะได้มีโอกาสเข้ารับการคัดเลือก ซึ่งโดยส่วนมากแล้วผู้พิพากษาจะมาจากผู้ช่วยผู้ พิพากษา แต่


ก็มีอัยการหรือทนายความที่ได้รับเลือกด้วยเช่นกัน

3.3 สหรัฐอเมริกา
เกณฑ์การคัดเลือกผู้พิพากษาในสหรัฐอเมริกาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่า เป็นผู้พิพากษา
รัฐบาลกลาง หรือเป็นผู้พิพากษาในระดับมลรัฐ ซึ่งผู้พิพากษารัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาอาจมาจาก
การเสนอชื่อจากประธานาธิบดี โดยอิงจากความเห็นและความยินยอมของสมาชิกสภาสูง หรืออาจได้รับ
การเสนอแนะจากพรรคการเมืองในระดับมลรัฐหรือสภาสูงที่มาจากมลรัฐนั้น ๆ และสังกัดพรรคเดียวกัน
กับประธานาธิบดี ในขณะที่ผู้พิพากษาในระดับมลรัฐจะมีวิธีการคัดเลือกที่แตกต่างกันไปในแต่ละมลรัฐ
ด้วยการคัดเลือกผู้พิพากษาในระดับมลรัฐจะมี 3 วิธี หลักได้แก่ การแต่งตั้งโดยผู้ว่าการรัฐ การเลือกตั้ง
และการใช้วิธีผสมแบบแต่งตั้งและเลือกตั้ง
สหรัฐอเมริกาไม่ได้มีการกาหนดคุณสมบัติของผู้พิพากษาส่วนรัฐบาลกลางไว้12 กล่าวคือผู้ที่ถูก
เสนอชื่อให้เป็นผู้พิพากษาอาจไม่จาเป็นต้องมีความรู้ด้านกฎหมายก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติผู้ที่ได้รับการ
เสนอชื่อส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีประสบการณ์ทางด้านกฎหมาย ส่วนคุณสมบัติของผู้พิพากษาในระดับมลรัฐ
จะมีการกาหนดคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปในแต่ล ะรัฐ เช่น รัฐแมรี่แลนด์ ได้กาหนดอายุขั้นต่าของผู้
พิพากษาไว้ที่ 30 ปี ส่วนรัฐเท็กซัสก็ได้กาหนดอายุขั้นต่าของผู้พิพากษาชั้นต้น ไว้ที่ 25 ปีเช่นเดียวกันกับ
ประเทศไทย ต่างกันตรงที่รัฐเท็กซัสมีการกาหนดไว้ด้วยว่าผู้ที่จะถูกแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาได้นั้น ต้องเป็น
ผู้มีประสบการณ์ทางด้านกฎหมายโดยการเป็นผู้พิพากษาหรือทนายความมาก่อนเป็นระยะเวลาถึง 4 ปี
ซึ่งประเทศไทยกาหนดให้ผู้ส มัครสอบต้องมีประสบการณ์ทางกฎหมายเพียง 1-2 ปีเท่านั้น และไม่
จาเป็นต้องประกอบอาชีพทนายความมาก่อนก็ได้
นอกจากนี้การประเมินคุณสมบัติของผู้พิ พากษาในสหรัฐอเมริกา ยังมีการประเมินคุณสมบัติที่
ไม่เป็นรูปธรรมด้วยเช่นสภาวะทางอารมณ์ การใช้เหตุผล ความสุขุมรอบคอบ มารยาท ความอดทน
ความไม่ลาเอียง หรือแม้กระทั่งชื่อเสียงในการประกอบอาชีพทางกฎหมายที่ผ่านมา และถึงแม้จะมีการ
กาหนดว่าผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาจะต้องมีประสบการณ์ถึง 4 ปีแล้ว แต่บันทึกข้อความ
ระหว่างสมาชิกคณะกรรมการร่างกฎหมายคัดเลือกผู้พิพากษารัฐเท็กซัส13 ในปีค.ศ. 2020 ยังได้กล่าวถึง
ความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษา โดยจะขยาย
ระยะเวลาการทางานเป็นทนายความหรือผู้พิพากษาให้นานมากยิ่งขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประสบการณ์
ทางานมีผลต่อการประกอบอาชีพผู้พิพากษาเป็นอย่างมาก

12 The Constitution of United States Article 3


13 Texas Legislature’s Judicial 2020 Selection Commission
9

3.4 สหราชอาณาจักร
ในสหราชอาณาจักร ผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้พิพากษานั้นจะมาจากการแต่งตั้งผ่านการรับสมัครโดย
คณะกรรมการแต่งตั้งผู้พิพากษา 14 ซึ่งผู้สมัครต้องส่งใบสมัครให้แก่คณะกรรมการ และทาการทดสอบ
เพื่อประเมิณคุณสมบัติ ว่าด้วยเรื่องของการคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจในแต่ละสถานการณ์ โดยใบ
สมัครจะต้องประกอบไปด้ว ยการประเมินตนเองที่ต้ องแสดงให้ เห็ นว่าผู้ ส มัครมีประสบการณ์ แ ละ
ความสามารถในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี สามารถเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ ได้ และมีความ
เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ส่วนการทดสอบจะเป็นการทดสอบเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล การชี้แจงปัญห่า
และความเข้าใจในกฎหมาย ซึ่งมีทั้งแบบทดสอบที่เป็นปรนัยและอัตนัย โดยในส่วนของอัตนัยนั้นจะเป็น
การจาลองสถานการณ์และจะถูกประเมินโดยผู้พิพากษา
เมื่อผ่านการทดสอบแล้วจะได้รับการพิจารณาใบสมัคร โดยคณะกรรมการฯ จะทาการปรึกษา
กับบุคคลที่ปฏิบัติงานในตาแหน่งที่สมัคร หรือบุคคลอื่น เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลาย ยุติธรรม
และโปร่ ง ใส โดยถ้ า ได้ รั บ การคั ด เลื อ ก ในวั น คั ด เลื อ กผู้ ส มั ค รจะต้ อ งท าการสั ม ภาษณ์ กั บ คณะผู้
สัมภาษณ์15 โดยผู้สมัครจะต้องทาการตอบคาถามเกี่ยวกับแหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งต้องแสดง
บทบาทสมมุติที่จ ะแสดงให้ เห็ น ถึงการทางานจริงในศาล โดยที่ห ากผู้ ส มัครผ่านการคัดเลื อก คณะ
กรรมการฯ จะทาการส่งคาแนะนาผู้สมัครให้ผู้ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น หัวหน้าองค์คณะอาวุโส16 ทาการ
ตัดสินต่อไป และเมื่อดาเนินการทุกอย่างเสร็จสิ้น ผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็น
ผู้พิพากษา โดยรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม17
โดยทั่ ว ไปแล้ ว แม้ จ ะไม่ ไ ด้ มี ก ารก าหนดอายุ ขั้ น ต่ า แต่ ผู้ ส มั ค รผู้ พิ พ ากษาส่ ว นใหญ่ จ ะมี
ประสบการณ์ด้านกฎหมายเฉลี่ย 17 ปีในการสมัครผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และเฉลี่ย 27 ปี ในการสมัคร
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยอายุที่ได้รับการคัดเลือกมากที่สุดจะอยู่ที่ช่วงอายุ 50 ปี18

14 Judicial Appointments Commission


15 Interview panels
16 Senior President of Tribunals

17 Lord Chancellor

18 Justice, T. M. (2020). Diversity of the judiciary: Legal professions, new appointments, and current post

holders, London: Ministry of Justice.


10

3.5 สหพันธรัฐเยอรมนี
ส าหรั บ ประเทศเยอรมนี จ ะมีการกาหนดให้ ผู้ ที่จะมาเป็นผู้ พิ พากษาต้องจบการศึ กษาจาก
มหาวิทยาลัยทางกฎหมาย19 โดยจะต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรตามที่ German Judiciary Act
กาหนด ผู้ที่ต้องการสมัครเป็นผู้พิพากษาต้องผ่านการฝึกงานเพื่อเตรียมความพร้อมเป็นเวลาถึง 2 ปี
การฝึกงานนั้นต้องฝึกที่ศาลที่มีการดาเนินคดีแพ่งและคดีอาญา รวมทั้งต้องฝึกงานกับที่ปรึกษากฎหมาย
และหน่วยงานของรัฐด้วย 20 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศเยอรมนีต้องการให้ผู้พิพากษามีค วามเข้าใจถึง
การใช้กฎหมายในมิติที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังต้องผ่านการทดสอบ 2 ครั้ง ได้แก่การทดสอบที่เป็น
ข้อเขียนโดยมหาวิทยาลัยเมื่อสาเร็จการศึกษา และการทดสอบของรัฐที่เป็นการสอบข้อเขียนและการ
สอบปากเปล่า21 ซึ่งการสอบดังกล่าวนี้เป็นเพียงการสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณสมบัติที่จะประกอบวิชาชีพ
ทางกฎหมายเท่านั้น มีใช่หมายความว่าเมื่อสอบผ่านแล้วจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาโดยทันที ผู้ที่
สอบผ่านจะต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกผู้พิพากษาอีกครั้ง22
ซึ่งขั้นตอนการคัดเลือกผู้พิพากษา จะเริ่มต้นเมื่อมีการประกาศรับสมัครผู้พิพากษาซึ่ง ประกาศ
โดยกระทรวงที่รับผิดชอบการศาลนั้น กระบวนการคัดเลือกจะเริ่มโดยการประกาศรับสมัครสาธารณะ
โดยผู้ที่ประสงค์จะต้องยื่นใบสมัคร หน่วยงานที่รับผิดชอบการคัดเลือกจะรวบรวมข้อมูลต่างๆและส่งให้
ผู้มีอานาจพิจารณา ซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้สมัครอันได้แก่ ใบสมัคร ผลการทดสอบแห่งรัฐครั้งที่ 2 ผลการ
ประเมินการปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างฝึกงาน และในบางศาลอาจมีการเรียกผู้สมัครมาทาการสัมภาษณ์
และมีการจัดให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ในตาแหน่งผู้พิพากษาหรือทดสอบการจัดการเอกสารต่างๆ และให้
ผู้สมัครพิจารณาและคาสั่งว่าจะสั่งการอย่างไร
ในการประเมินความสามารถในการทางาน จะพิจารณาจากทักษะในการใช้กฎหมายและนิติวิธี
ความเป็ น กลาง และความสามารถในการควบคุมและกากับการพิจารณาคดีในศาล นอกจากนี้ยั ง
พิจารณาในความสามารถส่วนตัว เช่น ความสามารถในการตัดสินใจ การใช้อานาจ ควบคุมตนเอง ความ
รับผิดชอบ การสื่อสาร การจัดการกับความขัดแย้งและการทางานร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น ผู้ที่ผ่านการ
คัดเลือกจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาทดลองปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปีแต่ไม่
เกิน 5 ปี หากผลการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่น่าพอใจก็จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาเต็มตัว

19 Deutsches Richtergesetz section 5a


20 Deutsches Richtergesetz section 5b
21 Deutsches Richtergesetz section 5d

22 ฤทธิภัฏ กัลยาณภัทรศิษฏ์. (2558). การถ่วงดุลและตรวจสอบตุลาการในระบบกฎหมายไทย, กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
11

3.6 สาธารณรัฐฝรั่งเศส
ในการเข้าสู่ตาแหน่งผู้พิพากษาทั่วไปของฝรั่งเศสนั้น แม้ว่าจะไม่ได้มีการกาหนดอายุขั้นต่า แต่
การเข้าสู่ตาแหน่งของผู้พิพากษาในประเทศฝรั่งเศสจะเน้นไปที่การอบรมเป็นหลัก เนื่องจากก่อนจะเข้า
สู่ตาแหน่งได้ ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้พิพากษาฝึกหัดทั่วไปที่ผ่านการอบรมจากวิทยาลัยตุลาการแห่งชาติ
และในการที่จะเป็นผู้พิพากษาฝึกหัดได้นั้นมีวิธีในการเข้าสู่ตาแหน่งดังกล่าวได้ 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่ การ
สอบแข่งขัน สอบแข่งขันพิเศษ หรือการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาฝึกหัดทั่วไป โดยผู้ที่เข้ามาโดยวิธี
ดังกล่าวอาจไม่จาเป็นต้องจบการศึกษาคณะนิติศาสตร์หรือมีประสบการณ์ทางานทางด้านกฎหมายก็ได้
ในส่วนของคุณสมบัติของผู้พิพากษาที่มีการกาหนดอายุงานและประสบการณ์การทางานเป็น
สาระสาคัญนั้น จะปรากฏในวิธีของการสอบแข่งขันและการสอบแข่งขันพิเศษ
หากเป็นการสอบแข่งขันทั่วไปจะไม่มีการกาหนดอายุขั้นต่าของผู้สมัครสอบ แต่จะมีการ
กาหนดอายุขั้นสูงและวุฒิการศึกษาไว้ โดยผู้สมัครจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้ ประเภทแรก ผู้ที่
จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและมีอายุไม่เกิน 31 ปี ประเภทที่ 2 ผู้ที่เป็นข้าราชการที่ปฏิบัติงาน
มาแล้วอย่างน้อย 4 ปีและมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับบุคคลประเภทที่ 1 โดยที่มีอายุไม่เกิน 46 ปี 5 เดือน
และประเภทสุดท้าย คือผู้ที่มีประสบการณ์งานพิเศษมาแล้ว 8 ปีโดยที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี โดยเมื่อ
ผู้สมัครได้ผ่านการทดสอบดังกล่าวแล้วจะต้องได้รับการฝึกอบรมเป็นเวลา 2 ปี 7 เดือน ทั้งในทางทฤษฎี
และทางปฏิบัติจริง ทั้ง คณะกรรมการอิสระอาจพิจารณาให้ผู้ผ่านการทดสอบฝึกอบรมเพิ่มเติมจากเดิม
อีก 1 ปีหากเห็นว่าเป็นการเหมาะสม รวมทั้งจะให้คาแนะนาเรื่องสถานที่ของการดารงตาแหน่งครั้งแรก
ให้แก่ผู้พิพากษาฝึกหัด ซึ่งถ้าหากได้เลื่อนตาแหน่งแล้วผู้พิพากษาฝึกหัดจะต้องเข้ารับการฝึกงานในศาล
แห่งใหม่เป็นระยะเวลาอีก 4 เดือนด้วย
ตรงกันข้ามกับการสอบแข่งขันทั่วไป ในการสอบแข่งขันพิเศษของประเทศฝรั่งเศสนั้นได้มีการ
กาหนดอายุขั้นต่าและประสบการณ์ทางานของผู้สมัครสอบไว้ เนื่องจากเป็นช่องทางในการทาให้
สามารถเข้าสู่ตาแหน่งตุลาการชั้นสองหรือตุลาการชั้นหนึ่งเลยได้ โดยผู้สมัครสอบเพื่อเป็นตุลาการชั้น
สองจะต้องมีอายุ 35 ปีขึ้นไป และมีประสบการณ์ในการทางานด้านกฎหมาย การปกครอง
เศรษฐศาสตร์ หรือสังคมเป็นเวลาถึง 10 ปี ส่วนผู้ที่จะสอบแข่งขันเป็นตุลาการชั้นหนึ่งจะต้องมีอายุ
อย่างน้อย 50 ปี และมีประสบการณ์ทางานเช่นเดียวกับผู้สมัครตุลาการชั้นสองเป็นระยะเวลา 15 ปีเป็น
อย่างน้อย ทั้งนี้เมื่อผู้สมัครผ่านการทดสอบ ก็ต้องผ่านการอบรมในวิทยาลัยตุลาการเช่นเดียวกัน23

23ฤทธิภัฏ กัลยาณภัทรศิษฏ์. (2558). การถ่วงดุลและตรวจสอบตุลาการในระบบกฎหมายไทย, กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12

3.7 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ภาพที่ 2 ห้องพิจารณาของศาลยุตธิ รรมระหว่างประเทศ


หมายเหตุ. จาก International Court of Justice (ICJ), https://shorturl.at/euwz0

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกมีผู้พิพากษาทั้งสิ้นจานวน 15 คน โดยจะต้องเป็นผู้
ได้รับการเลือกมาจากที่ประชุมของสมัชชาสหประชาชาติ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
โดยมีวาระการดารงตาแหน่ง 9 ปี
ในการคัดเลือกผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้นจะเริ่มจากการเสนอชื่อผู้ที่
เหมาะสม โดยรัฐสมาชิกขององค์การสหประชาชาติที่ต้องการเสนอชื่อบุคคลโดยตรงโดยไม่ตั้ง
คณะกรรมการคัดเลือก หรือหากรัฐสมาชิกสหประชาชาติใดมีนักกฎหมายจานวน 4 คน ซึ่งมีคุณสมบัติ
สามารถที่จะเป็นอนุญาโตตุลาการของศาลประจาอนุญาโตตุลาการ ก็อาจมอบหมายให้นักกฎหมายทั้ง
4 คนนั้นทาการเสนอชื่อผู้สมัครเข้าดารงตาแหน่งผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในนามของรัฐ
ตนได้ หรือรัฐสมาชิกสหประชาชาติจะแต่งตั้งคณะกรรมการหมู่ธงประจาชาติ24ของตนขึ้นเพื่อหาผู้ที่
เหมาะสมเป็นผู้สมัครดารงตาแหน่งผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็ได้ โดยสามารถเสนอ
รายชื่อผู้ที่รับผู้เสนอเหตุว่าเหมาะสมได้ 4 ชื่อ
ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนทั้งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่ง
สหประชาชาติและในสมัชชาสหประชาชาติด้วยคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด

24National Flag Committee


13

บทที่ 4 การนามาปรับใช้ในระบบศาลยุติธรรมไทย

4.1 ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการคัดเลือกผู้พิพากษาของประเทศไทย
ในระบบการคัดเลือกของประเทศไทยนั้น ได้มีปัญหาที่เห็นได้ชัดอยู่หลายประการด้วยกันหาก
เทียบกับระบบการคัดเลือกของประเทศอื่น โดยจะมีประเด็นสาคัญที่ต้องพิจารณา 3 ประเด็นหลัก คือ
4.1.1 ความไม่เหมาะสมของเกณฑ์อายุในการสมัครสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้
การกาหนดให้ผู้สมัครสอบมีอายุเพียงแค่ 25 ปีก็สามารถสมัครสอบได้ ทาให้เกิดข้อสงสัยว่าผู้ที่
จะมาเป็นผู้พิพากษาในอนาคตนั้ นมีความรู้และประสบการณ์มากพอที่จะเข้าใจบริบทในสังคมและ
เหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยอายุดังกล่าวหรือไม่
เนื่องมาจากว่าโดยปกติ ในประเทศไทยนั้นผู้ที่จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิตจะมีอายุประมาณ
22 ปี และการที่จะมีสิทธิสอบผู้ช่วยผู้ พิพากษานั้นก็จาเป็นต้องสอบไล่ได้ เนติบัณฑิต ซึ่งใช้เวลาอีกอย่าง
น้อยที่สุด 1 ปี กล่าวคืออายุ 23 ปี
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วผู้สมัครก็อาจมีเพียงแค่มุมมองทางกฎหมายเท่านั้น เพราะมีประสบการณ์
เพียงแค่ด้านกฎหมาย แม้จะกาหนดว่าต้องทางานก่อน 1-2 ปี แต่ก็ไม่อาจวั ดได้ว่าบุคคลดังกล่ าวมี
ประสบการณ์ชีวิตเพียงใด มากพอที่นามาใช้ในการวินิจฉัยคดีที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพราะในบางกรณีการ
มองด้วยมุมมองที่คับแคบของนิติศาสตร์ก็ไม่อาจไขคาตอบได้
4.1.2 ความไม่เหมาะสมของการกาหนดให้ผู้เข้าสมัครสอบมีประสบการณ์การทางานด้าน
กฎหมายเพียง 1-2 ปี
ถึงแม้ว่าเมื่อ ผ่านการทดสอบแล้ว ผู้ที่สอบผ่านต้องดารงตาแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาก่อนเป็น
ระยะเวลา 1 ปี แต่หากรวมระยะเวลาทั้งหมดแล้ว จะเห็ นได้ว่าผู้พิพากษาบางคนอาจมีประสบการณ์
ทางานด้านกฎหมายเพียงแค่ 2 – 3 ปีเท่านั้นก่อนจะมาเป็นผู้พิพากษา จึง นามาสู่ข้อสงสัยที่ว่า หากผู้
พิพากษาที่มีประสบการณ์การทางานแค่ 2 – 3 ปี และมีเพียงความรู้ด้านกฎหมายอย่างเดียวจะสามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะในศาลชั้นต้นนั้น ผู้พิพากษาเพียงคนเดี ยวก็มีอานาจ
ในการไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคาร้องหรือคาขอที่ยื่นต่อศาลทั้งหมด อานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา
และโดยเฉพาะการพิจารณาคดีที่ใช้ ผู้พิพากษาคนเดียว ซึ่งไม่มีผู้ พิพากษาคนอื่นเข้ามาร่วมพิจารณา
ด้วย25

25 มาตรา 25 พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2543


14

ในกรณีดังกล่าวนั้น คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะที่ 7 ได้ให้ความคิดเห็นไปใน


ทานองเดียวกันในเรื่องของศาลและกระบวนการยุติธรรม โดยเสนอว่าควรกาหนดให้ผู้ที่มาทาหน้าที่เป็น
ผู้พิพากษาต้องมีอายุ 35 ปีขึ้นไป จากเดิมที่กาหนดไว้เพียง 25 ปี เพราะเห็นว่าอายุ 25 ปีนั้นวุฒิภาวะ
ยังไม่สมบูรณ์ แต่ก็มีผู้พิพากษาบางท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่าอายุไม่ใช่ปัจจัย ในการพิจารณาถึงวุฒิภาวะ
และถ้ากาหนดให้ผู้พิพากษาต้องมีอายุ 35 ปีขึ้นไปแล้ว กว่า จะได้เป็นผู้พิพากษาก็อาจจะมีอายุ 37-40
กันแล้ว (กำหนดอำยุผู้พิพำกษำ, 2557)
นอกจากนี้ การที่กาหนดให้ผู้สมัครสอบคัดเลือกซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นทนายความ จะต้องได้ว่า
ความในศาล โดยทาหน้าที่หรือมีส่วนร่วมกับทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณาคดีมาไม่น้อยกว่า
20 เรื่อง ทาให้เกิดการใช้วิธีขอแต่งเป็น “ทนายร่วม” ในคดี และให้ผู้พิพากษาลงนามว่าได้ปฏิบัติหน้าที่
ทนายความในคดี หรือที่เรียกกันว่าการ “เก็บคดี”26 ซึ่งโดยปกติจะเน้นคดีมรดกที่สามารถจบได้ภายใน
วันเดียว จึงเป็นเรื่องน่าพิจารณาว่าทนายความที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติจะมีความรู้และประสบการณ์เพียง
พอที่จะเป็นผู้พิพากษาจริงหรือไม่
4.1.3 ความไม่เหมาะสมของวิชาที่ใช้ในการสอบสนามเล็กและสนามจิ๋วเมื่อเปรียบเทียบกับ
สนามใหญ่
สนามสอบแต่ละสนามนั้น นอกจากจะมีการแบ่งโดยใช้วุ ฒิที่แตกต่างกันแล้วนั้น ก็ยังมีสัดส่วน
ของข้อสอบและคะแนนที่แตกต่างออกไปด้วย ซึ่งในจุดนี้ก็อาจก่อให้เกิดความเหลื่อมล้าและไม่เท่าเทียม
กับระหว่างผู้เข้าสอบได้
โดยในสนามใหญ่ จะมีวิช ากฎหมาย 27 ข้อ รวม 270 คะแนน และวิช าภาษาอังกฤษ 10
คะแนน สนามเล็กมีวิชากฎหมาย 15 ข้อ รวม 150 คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ 2 ข้อ 20 คะแนน
และสนามจิ๋ ว ที่มี ข้อสอบกฎหมายเพียงแค่ 11 ข้อ 110 คะแนน และวิช าภาษาอังกฤษ 3 ข้อ 60
คะแนน (เส้นทำงเหลื่อมลำของกำรสอบเป็นผู้พิพำกษำ – อัยกำร, 2564)
ซึ่งผู้ที่จะได้สิทธิสอบปากเปล่าและได้รับการคัดเลือกนั้นจะต้องสอบข้อเขียนได้กึ่งหนึ่ง ของ
คะแนนทั้งหมด ดังนั้นจะสังเกตได้ว่าสนามจิ๋วที่เป็นสนามของผู้ที่จบปริญญาโทจากต่างประเทศหรือจบ
ปริญญาเอกมีวิชากฎหมายเพียงแค่ 11 ข้อเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยกว่าสนามใหญ่เป็นเท่าตัว และคะแนน
วิชาภาษาอังกฤษที่มากถึง 60 คะแนน ซึ่งเทียบกับคะแนนผ่ านเกณฑ์คือ 85 คะแนน จะเห็นได้ว่า
ผู้สมัครไม่จาเป็นต้องทาคะแนนด้านกฎหมายมากเลยก็ได้ ขอแค่ทาคะแนนภาษาอังกฤษซึ่งเน้นหนักได้ดี
ก็เพียงพอ และการให้คนที่จบปริญญาจากต่างประเทศมาทาข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษก็คงไม่ต่างอะไร
กับการให้คะแนนฟรี และอาจเป็นเหตุให้ผู้พิพากษาสนามจิ๋วมีอัตราการสอบได้มากที่สุด

26กิตตินันท์ นาคทอง. (17 มิ.ย. 2563). “ผู้ช่วยผู้พิพากษา” อายุ 25 ปี เร็วเกินไปหรือไม่.


https://mgronline.com/columnist/detail/9630000062399
15

ภาพที่ 3 อัตราส่วนคะแนนและวิชาในการคัดเลือกผู้พิพากษาแยกตามสนามต่าง ๆ
หมายเหตุ. จาก iLaw, https://ilaw.or.th/node/5877

ภาพที่ 4 สถิติผสู้ อบผ่านการคัดเลือกผู้พิพากษาแยกตามสนามต่าง ๆ


หมายเหตุ. จาก iLaw, https://ilaw.or.th/node/5877
16

4.2 แนวทางการปรับปรุงวิธีการคัดเลือกโดยองค์กรตุลาการ
เมื่อเปรียบเทียบการกาหนดคุณสมบัติของการเป็นผู้พิพากษาในประเทศต่าง ๆ กับประเทศไทย
แล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศอื่น ๆ นั้นได้ให้ความสาคั ญกับประสบการณ์การทางานเป็นอย่างมาก เช่น
สหราชอาณาจักรที่คัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์การทางานอย่างยาวนาน ทาให้ได้ผู้ที่มีความสามารถ
เป็นเลิศ และเมื่อประกอบกับวัยวุฒิของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว ก็ย่อมทาให้ได้รับความน่าเชื่อถือเป็น
อย่างดี ประเทศญี่ปุ่นที่ผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษาได้นั้นต้องเป็นอัยการ ทนายความ หรือผู้ช่วยผู้พิพากษาเป็น
เวลา 10 ปีจึงจะได้รับการพิจารณา หรือแม้กระทั่งฝรั่งเศสที่ไม่ได้กาหนดประสบการณ์ทางานยาวนาน
เท่าสองประเทศข้างต้น แต่ก็ยังกาหนดระยะเวลาการทางานนานกว่าประเทศไทย และมีการฝึกอบรมที่
ใช้ระยะเวลานานกว่าประเทศไทยอีกด้วย ดังนั้นการคัดเลือกผู้พิพากษาในไทยจึงควรดูจากอายุและ
ประสบการณ์ให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยกาหนดอายุขึ้นต่าและประสบการณ์ทางานให้มากขึ้น รวมทั้งควร
ให้ความสาคัญกับการอบรมและฝึกงานผู้พิพากษาให้มากขึ้นเช่นกัน
การคัดเลือกผู้พิพากษาในต่างประเทศไม่ได้เน้นแค่ความรู้ทางกฎหมายเพียงอย่ างเดียว แต่
พิจารณารวมไปถึงทักษะการคิดวิเคราะห์ ความเข้ าใจในข้อเท็จจริงและปัญหาแห่งคดี อีกทั้งยังเป็น
องค์ ป ระกอบที่ ส าคั ญ ในการคั ด เลื อ กผู้ พิ พ ากษาในหลาย ๆ ประเทศ ในขณะที่ ป ระเทศไทยให้
ความสาคัญเพียงแค่ความรู้ทางกฎหมายเท่านั้น ดังนั้นจึงควรให้ความสาคัญกับทักษะอื่นนอกเหนือจาก
ด้านกฎหมาย ก็อาจส่งผลให้ผู้พิพากษาที่ถูกคัดเลือกนั้นมีทั้งความรู้ความสามารถด้านกฎหมายและการ
ปรั บ ใช้กฎหมายเข้าสู่ ข้อ เท็จ จริ ง รวมทั้งยังเข้าใจบริบทที่ แตกต่า งออกไปของสั ง คม ซึ่งส่ งผลเป็ น
ประโยชน์ต่อความยุติธรรม
และสุดท้าย การแยกออกเป็นสนามเล็กและสนามจิ๋วนั้นควรจะใช้เฉพาะในกรณีที่ต้องการผู้
พิพากษาที่มีความรู้เฉพาะด้านจากปริญญาโทหรือมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น กฎหมายพาณิชย์นาวี
กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายภาษี กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายอวกาศ และให้ไปปฏิบัติ
หน้าที่ในส่วนของศาลชานัญพิเศษหรือแผนกคดีเฉพาะในศาลฎีกามากกว่าศาลยุติธรรมทั่วไป เนื่องจาก
ความรู้เฉพาะด้านที่กล่ าวมานั้ น ไม่ค่อยมีความจาเป็นในศาลยุติธรรมทั่ว ไป เพราะศาลชั้นต้น ทั่ว ไป
ส่วนมากจะพิจารณาคดีแพ่งสามัญหรือคดีอาญาสามัญมากกว่า การให้ผู้ที่มีความสามารถเฉพาะทางไป
ทางานทั่วไปก็เสื่อมซึ่งประโยชน์ที่อาจสร้างได้เสียเปล่า รวมถึงการทดสอบที่ใช้ความรู้ด้านกฎหมาย
สามัญเพียงแค่ 15 และ 11 ข้อตามลาดับเท่านั้น
17

บทที่ 5 สรุป

การที่กระบวนการเข้าสู่ตาแหน่งผู้พิพากษาในประเทศไทยได้ให้ความสาคัญกับความรู้ทางด้าน
กฎหมายเป็นอย่างมาก และผู้ที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ที่กาหนดไว้ในแต่ล ะสนามเท่านั้นจึงจะได้ดารง
ตาแหน่ งผู้ ช่ว ยผู้ พิพากษา แสดงให้ เห็ นว่าประเทศไทยให้ ความส าคัญกับความรู้ความสามารถทาง
กฎหมาย ซึ่งนับได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีแล้ว
แต่กระนั้นก็ยังมีข้อบกพร่องอีกมากหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่ต้อง
ประกอบอาชีพทนายความ อัยการ หรือผู้ช่วยผู้พิพากษาถึง 10 ปี ประเทศฝรั่งเศสที่ให้ความสาคัญกับ
การอบรมผู้ พิ พ ากษาใหม่ ใ ห้ เ ข้ า ใจถึ ง บริ บ ททั้ ง ในด้ า นกฎหมายและชี วิ ต จริ ง โดยให้ ไ ปฝึ ก งานใน
หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งรัฐและเอกชนก่อน สหราชอาณาจักรที่ให้ความสาคัญกับประสบการณ์เป็นอย่าง
มาก และทาให้ได้ผู้พิพากษาที่พร้ อมทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ ประเทศเยอรมนีที่ให้ ความสาคัญกั บการ
ฝึกงานเช่นเดียวกับฝรั่งเศส แต่ก็มีการทดสอบด้านอื่น ๆ เช่น การตัดสินใจ การปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น
ดังนั้นแล้ว ก็นับว่าเป็นเรื่องดี หากประเทศไทยจะเรียนรู้จากการคัดเลือกของประเทศอื่น ๆ
เหล่านี้ และมีการทดสอบหรือพิจารณาศักยภาพอื่น ๆ เพิ่มเติมดังที่กล่าวไปข้างต้น หรือมีการเพิ่มเกณฑ์
คุณสมบัติอายุและประสบการณ์ให้มากกว่าเดิม รวมไปถึงการจัดการกับสนามเล็กและสนามจิ๋ว ที่ไม่ได้
สร้างประโยชน์มากหากยังใช้ระบบแบบเดิมที่ให้ไปทางานที่เดียวกับคนที่สอบเข้ามาด้วยสนามใหญ่ซึ่ง
เน้ น คะแนนกฎหมาย ให้ ไปทางานด้านกฎหมายเฉพาะในศาลช าคัญ พิเ ศษหรื อแผนกคดีต่าง ๆ ที่
ต้องการความรู้ความสามารถเฉพาะทางแทน การทาเช่น อาจจะทาให้ คุณสมบัติในการคัดเลื อกนั้น
เป็นไปได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น และส่งผลต่อเนื่องไปยังการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพภายหลัง
การเข้าสู่ตาแหน่งด้วยนั่นเอง
18

บรรณานุกรม

กำรเข้ำสู่ตำแหน่งของผู้พิพำกษำศำลยุติธรรมในสหรัฐอเมริกำมำใช้ในประเทศไทย. (ม.ป.ป.). กรุงเทพฯ:


สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2511). กำรปฏิรูประบบกฎหมำยและกำรศำลในรัชสมัยพระบำทสมเด็จฯ พระ
จุลจอมเกล้ำเจ้ำอยู่หัว พระปิยะมหำรำช. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.
ธีรทัย เจริญวงศ์. (2560). ระบบศำล Saiban-in ของประเทศญี่ปุ่นกับกำรเสริมสร้ำงกำรมีส่วนร่วมภำค
ประชำชนให้แก่ศำลยุติธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สานักงานศาลยุติธรรม.
นพดล คชรินทร. (2560). ระบบกฎหมำยประเทศญี่ปุ่นเปรียบเทียบกับของประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
สานักงานศาลยุติธรรม.
ฤทธิภัฏ กัลยาณภัทรศิษฏ์. (2015). การถ่วงดุลและตรวจสอบฝ่ายตุลาการในระบบกฎหมายไทย.
กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
น้าแท้ มีบุญสล้าง. (2552). กำรใช้อำนำจตุลำกำรโดยประชำชน. กรุงเทพฯ: สานักงานเลขาธิการ
วุฒิสภา.
ประสิทธิ์ เอกบุตร. (ม.ป.ป.). ศำลโลก. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ฤทธิภัฏ กัลยาณภัทรศิษฏ์. (2558). กำรถ่วงดุลและตรวจสอบตุลำกำรในระบบกฎหมำยไทย.
กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สานักการต่างประเทศ ศาลยุติธรรม. (ม.ป.ป.). ควำมรู้เบืองต้นเกี่ยวกับกฎหมำยของประเทศสหรำช
อำณำจักร. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
เอ็ม. และ ยิ่งรัก อัชฌานนท์ ดา ลอซโซ. (ม.ป.ป.). กำรเปรียบเทียบระบบศำลไทยและฝรั่งเศส
ประสบกำรณ์กำรฝึกงำนที่ศำลยุติธรรมไทย 3 สัปดำห์. กรุงเทพฯ: สานักงานศาลยุติธรรม.
กิตตินันท์ นาคทอง. (17 มิ.ย. 2563). “ผู้ช่วยผู้พิพำกษำ” อำยุ 25 ปี เร็วเกินไปหรือไม่. เข้าถึงได้จาก
https://mgronline.com/columnist/detail/9630000062399
iLaw. (2564). เส้นทำงเหลื่อมลำของกำรสอบเป็นผู้พิพำกษำ – อัยกำร. เข้าถึงได้จาก
https://ilaw.or.th/node/5877
T. M. Justice. (2020). Diversity of the judiciary: Legal professions, new appointments,
and current post holders. London: Ministry of Justice.
19

บรรณานุกรม (ต่อ)

The Secretariat of the Judicial Reform Council. (1999). The Japanese Judicial System.
เข้าถึงได้จาก https://japan.kantei.go.jp/judiciary/0620system.html
20

ภาคผนวก
21
22
23
24
25
26
27
ใบรองปกหลัง
ปกหลัง

You might also like