แผน4

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 26

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง สภาพละลายได้ของสาร รายวิชา วิทยาศาสตร์


พื้นฐาน 3 รหัสวิชา ว 22101 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 2
ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชื่อหน่วยการเรียนรู้
สารละลาย รวม 14 ชั่วโมง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2
สาระที่ 2 ชื่อสาระ วิทยาศาสตร์กายภาพ
มาตรฐาน ว 2.1

1. มาตรฐานการเรียนรู้
ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์
ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค
หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิด
สารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ตัวชี้วัด
ว 2.1 ม.2/4 ออกแบบการทดลองและทดลองในการอธิบายผลของ
ชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลายอุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร
รวมทั้งอธิบายผลของความดันที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร โดยใช้
สารสนเทศ

2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
1) สารชนิดหนึ่ง ๆ มีสภาพละลายได้แตกต่างกันในตัวทำละลายที่
แตกต่างกัน และสารต่างชนิดกัน
มีสภาพละลายได้ในตัวทำละลายหนึ่ง ๆ ไม่เท่ากัน
2) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สารส่วนมาก สภาพละลายได้ของสารจะเพิ่ม
ขึ้น ยกเว้นแก๊ส เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สภาพละลายได้จะลดลง ส่วนความดัน
มีผลต่อแก๊ส โดยเมื่อความดันเพิ่มขึ้น สภาพละลายได้จะสูงขึ้น

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

1) ด้านความรู้ (K) นักเรียนสามารถอธิบายผลของชนิดตัว


ละลายและตัวทำละลายที่มีผลต่อ สภาพละลาย
ของสารได้
2) ด้านทักษะ (P) นักเรียนมีทักษะการจัดกระทำและสื่อความ
หมายข้อมูลตารางบันทึกการทดลอง เรื่อง ผลของ
ชนิดตัวละลายและตัวทำละลายที่มีผลต่อสภาพ
ละลายได้ของสาร
3) ด้านเจตคติ (A) นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ร่วมกับผู้อื่นได้

4. คุณลักษณะผู้เรียน
4.1 คุณลักษณะที่พึงประสงค์
 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์  อยู่อย่างพอเพียง  ซื่อสัตย์
สุจริต  มุ่งมั่นในการทำงาน
 มีวินัย  รักความเป็ นไทย  ใฝ่ เรียนรู้
 มีจิตสาธารณะ

5. ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
 ความสามารถในการคิด: นักเรียนสามารถคิด วิเคราะห์ สังเกต
ลักษณะของชนิดตัวละลายและ
ตัวทำละลายที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร
 ความสามารถในการสื่อสาร: นักเรียนสามารถคิด ออกแบบสื่อสาร
ข้อมูลการทดลองได้

6. สาระการเรียนรู้
ความสามารถในการละลายของสาร ณ อุณหภูมิเดียวกัน สารแต่ละ
ชนิดละลายไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปั จจัยดังนี้คือ 1) ชนิดของตัวทำละลาย
2) ชนิดของตัวถูกละลาย 3) ความดัน ในกรณีที่ตัวถูกละลายมีสถานะเป็ น
ก๊าซ ถ้าความดันเพิ่มจะละลายได้มากขึ้น และ 4) อุณหภูมิความสามารถใน
การละลายของสารบางชนิดเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิเพิ่ม แต่บางชนิดละลายได้
น้อยลง (ตกตะกอนผลึกออกมา) เมื่ออุณหภูมิเพิ่ม ดังกราฟปริมาณตัวถูก
ละลายกับอุณหภูมิ
การละลายได้ (solubility) ในสารละลายของเหลว ที่อุณหภูมิหนึ่งๆ
ปริมาณของตัวถูกละลายที่สามารถละลายในตัวทำละลายได้ จะมีปริมาณ
จำกัด โดยเรียกสารละลายที่ตัวถูกละลายไม่สามารถละลายเพิ่มได้อีกว่า
สารละลายอิ่มตัว (saturated solution)
โดยปริมาณของตัวถูกละลายที่ละลายได้ในสารละลายอิ่มตัว ณ ที่
อุณหภูมิหนึ่ง ๆ เรียกว่า การละลายได้ (solubility) เช่น เกลือแกง (NaCl)
o
ละลายในน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 100 C สามารถละลาย
ได้ 39.1 กรัม แต่ถ้าใส่เกลือไปมากกว่านี้ ส่วนที่เหลือก็จะไม่ละลายใน
สารละลายที่อิ่มตัว ตัวถูกละลายจะมีอัตราการละลายจะเท่ากับอัตราการก
ลับคืนมาเป็ นของแข็ง เพราะฉะนั้น ความเข้มข้นของสารละลายของ
สารละลายที่อิ่มตัวจะคงที่ ตัวถูกละลายที่ไม่สามารถละลายจะไม่ทำให้
ความเข้มข้นของสารละลายเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ถ้าตัวทำละลายเป็ น
น้ำ โดยทั่วไปนิยมบอกหน่วย หรือปริมาณของการละลายได้ของตัวถูก
ละลายเป็ นกรัม (g) ในตัวทำละลายน้ำ 100 กรัม นอกจากนั้น การละลาย
ได้ของตัวถูกละลายจะขึ้นอยู่กับปั จจัยหลายประการ เช่น ธรรมชาติของตัว
ทำละลายและตัวถูกละลาย อุณหภูมิ และความดัน เป็ นต้น
ความสามารถในการละลายของน้ำ น้ำเป็ นตัวทำละลายที่ดีมาก น้ำ
สามารถละลายสารเกือบทุกชนิดได้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าน้ำทะเลหรือ
ของเหลวอื่น ๆ ในธรรมชาติ แม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตจะมีน้ำเป็ นองค์ประกอบ
หลัก คำว่าสารละลายจะประกอบด้วยองค์ประกอบสองส่วนด้วย
กัน คือตัวทำละลาย(solvent)ซึ่งเป็ นของเหลวและ มีสัดส่วนใน
ปริมาณมากกว่า องค์ประกอบอีกตัวหนึ่ง คือตัวถูกละลาย(solute) ซึ่งมัก
จะเป็ นของเหลวหรือก๊าซ ในสารละลายใด ๆ ที่มีการผสมเป็ นเนื้อเดียวกัน
หมายถึงตัวถูกละลายแพร่กระจายไปใน ตัวทำละลายได้อย่างทั่วถึง มี
คุณสมบัติเดียวกันทุกส่วน ต่างจากของผสม (mixture) ซึ่งตัวทำละลาย
และตัวถูกละลาย จะไม่ผสมเป็ นเนื้อเดียวกัน คุณสมบัติในแต่ละส่วนอาจไม่
เหมือนกัน
ดังนั้น สารต่าง ๆ เช่น น้ำตาล จุนสี ไอโอดีน ละลายได้แตกต่างกัน
ในตัวทำละลายที่ต่างกัน น้ำตาลทรายและจุนสีละลายได้มากในน้ำ ขณะที่
ไอโอดีนละลายได้น้อยมากในน้ำ แต่ละลายได้มากในเอทานอลชนิดตัว
ละลาย และตัวทำละลายจึงเป็ นปั จจัยที่ส่งผลต่อสภาพละลายได้ของสาร
การเตรียมสารละลายจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมระหว่างตัวละลายและ
ตัวทำละลายสารหลายชนิด ละลายได้ดีในน้ำ การนำสารมาใช้ประโยชน์ใน
รูปสารละลาย จึงใช้น้ำเป็ นตัวทำละลายรวมทั้งการทำความสะอาดก็มี
การนำน้ำมาละลายสิ่งปนเปื้ อนออกจากพื้นผิววัตถุต่าง ๆ ด้วย แต่สารบาง
ชนิด เช่น สีทาเล็บละลายน้ำได้น้อยมาก แต่ละลายได้ดี ในน้ำยาล้างเล็บ
ดังนั้นการทำความสะอาดสีทาเล็บจึงใช้น้ำยาล้างเล็บแทนน้ำ
(อ้างอิงข้อมูลจาก: เว็บไซด์คลังความรู้ SciMath สถาบันส่งเสริมการสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
กระทรวงศึกษาธิการ
https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7178-
solubility)

7. กิจกรรมการเรียนรู้
ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry
Cycles: 5Es) (2 ชั่วโมง; 120 นาที)
ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engagement) (10 นาที)
1) ครูกระตุ้นความสนใจ โดยใช้ประเด็นคำถามว่า ถ้าเปลี่ยนตัว
ทำละลายจากน้ำเป็ นสารอื่น เช่น เอทานอล สภาพละลายได้ของสารแต่ละ
ชนิดในสารนั้นจะเท่ากับสภาพละลายได้ของสารในน้ำหรือไม่ อย่างไร (ไม่
เหมือน เพราะคุณสมบัติของน้ำและเอทานอลต่างกัน)
2) ครูแสดงบัตรภาพ การล้างสีทาเล็บด้วยน้ำยาล้างเล็บ (แนบ
ท้ายแผนการจัดการเรียนรู้) หรือในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการ
ศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท.
กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 21 และชวนถามด้วยข้อสนทนาว่า
- สีทาเล็บละลายได้ดีในสารชนิดใด (ละลายได้ดีในน้ำยาล้าง
เล็บ)
- ทำไมจึงไม่ใช้น้ำ ทำละลายสีทาเล็บ (สีทาเล็บละลายได้น้อย
มากในน้ำ)
ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) (20 นาที)
3) ให้นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม จุดประสงค์ และวิธีดำเนิน
กิจกรรม และตรวจสอบความเข้าใจการอ่านโดยใช้คำถาม ดังต่อไปนี้
- กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ชนิดของตัวละลายและตัวทำ
ละลายที่ส่งผลต่อสภาพละลายได้ของสาร)
- ตัวละลายที่ใช้ในกิจกรรมนี้คืออะไร (ดีเกลือและพิมเสน)
- ตัวทำละลายที่ใช้ในกิจกรรมนี้คืออะไร (น้ำและเอทานอล)
- กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (ทดลองและอธิบายผลของชนิด
ตัวละลายและตัวทำละลายที่มีต่อสภาพละลายได้ ของสาร)

- วิธีดำเนินกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (ละลายดีเกลือ
ในน้ำ เขย่าและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของดีเกลือ เติมดีเกลือลงไปอีกทีละ
ช้อนจนเริ่มไม่ละลาย นับจำนวนช้อนของสารที่ใช้ทั้งหมด บันทึกผล จาก
นั้นตรวจสอบ สภาพละลายได้ของดีเกลือในเอทานอล และสภาพการ
ละลายได้ของพิมเสนในน้ำและเอทานอลด้วยวิธีการ เดียวกัน)
- ตารางบันทึกผลการทำกิจกรรมควรเป็ นอย่างไร (ตาราง
บันทึกผลการทำกิจกรรม ควรแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณของตัว
ละลายในตัวทำละลายแต่ละชนิด)
- ข้อควรระวังในการทำกิจกรรมมีอะไรบ้าง (เอทานอลติดไฟ
ง่าย ไม่ให้นำเข้าใกล้ไฟ เพราะอาจเป็ นอันตรายได้)
- นักเรียนต้องสังเกตหรือรวบรวมอะไรบ้าง (สังเกตการ
เปลี่ยนแปลงของตัวละลายใน ตัวทำละลาย และปริมาณตัว
ละลายที่เติมลงในตัวทำละลายแต่ละชนิด)
4) ครูเน้นให้นักเรียนละลายตัวละลายจนหมดก่อน แล้วจึงเติม
ตัวละลายลงไปอีกทีละช้อน จนสารเริ่มไม่ละลาย จึงหยุดเติม
บันทึกจำนวนช้อนที่ตวงสารทั้งหมด ลงในตารางบันทึกผล
ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) (40 นาที)
5) นักเรียนเตรียมนำเสนอข้อมูลผลการทำกิจกรรม โดย
ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง และบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลอง
ลงในตารางที่ออกแบบ และร่วมกันภายในกลุ่มตรวจสอบผล อภิปรายผล
การทดลอง และหาสาเหตุที่ทำให้ผลการทำกิจกรรมคลาดเคลื่อน เช่น วิธี
การสังเกตการละลายของสาร การนับจำนวนช้อนที่ตวงสารแต่ละชนิด
การบันทึกผลการทำกิจกรรม และตอบคำถามท้าย
6) นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม โดยครูควร
เขียนผลการทำกิจกรรมของกลุ่มไว้บนกระดานเพื่อใช้ประกอบการ
อภิปรายและตอบคำถามท้ายกิจกรรม ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม
และร่วมกันสรุปผลของกิจกรรม โดยใช้คำถามท้ายกิจกรรมเป็ นแนวทาง
เพื่อให้ได้ข้อสรุปจากกิจกรรมว่า ดีเกลือมีสภาพละลายได้ในน้ำ มากกว่าใน
เอทานอล ส่วนพิมเสน มีสภาพละลายได้ในเอทานอลมากกว่าในน้ำ ชนิด
ของตัวละลาย และตัวทำละลายมีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) (30 นาที)
7) ครูให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลของตัวละลายและ
ตัวทำละลายที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร โดยอ่านเนื้อหาและดูภาพ
2.4 (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 21) ประกอบ
การอภิปราย เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า สารบางชนิดละลายได้ดีใน ตัวทำละลาย
หนึ่งแต่ไม่ละลายในตัวทำละลายอื่น ชนิดของตัวละลายและตัวทำละลายมี
ผลต่อสภาพละลายได้ของสาร การเตรียมสารละลายจึงต้องคำนึงถึงความ
เหมาะสมระหว่างตัวละลายและตัวทำละลาย สารหลายชนิดละลายได้ดีใน
น้ำ จึงใช้น้ำเป็ นตัวทำละลาย แต่สารบางชนิด เช่น สีทาเล็บ ละลายในน้ำ
ได้น้อยมาก แต่ละลายได้ดีในน้ำยาล้างเล็บ ซึ่งมีส่วนผสมหลักเป็ นแอซีโตน
การล้างสีทาเล็บจึงใช้น้ำยาล้างเล็บแทนน้ำ

ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) (20 นาที)


8) ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนเรื่อง ผลของตัวละลาย
และตัวทำละลายที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร โดยให้นักเรียนตอบ
คำถามท้ายกิจกรรมในหนังสือเรียน (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 20) จำนวน 5 ข้อ (เฉลยแนบท้าย
แผนการจัดการเรียนรู้)

8. สื่อการเรียนรู้
8.1 บัตรภาพ: แสดงการล้างสีทาเล็บด้วยน้ำยาล้างเล็บ
8.2 ใบกิจกรรม: ใบกิจกรรมหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2
เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวง
ศึกษาธิการ หน้า 20
8.3 วัสดุอุปกรณ์การทดลอง: ดีเกลือ (แมกนีเซียมซัลเฟต), พิมเสน,
น้ำกลั่น, เอทานอล,
ช้อนตักสารเบอร์สอง, หลอดทดลองขนาด
ใหญ่,
3
กระบอกตวงขนาด 10 cm

9. การวัดและการประเมิน

ตัวชี้วัด/ผลการ วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์ที่ใช้ในการ


เรียนรู้ ประเมิน
1. อธิบายผลของ - ตรวจการตอบ - คำถามท้าย ได้ไม่น้อยกว่า 2
ชนิดตัวละลาย คำถามท้าย กิจกรรมที่ 2.3 คะแนน
และตัวทำละลาย กิจกรรมที่ 2.3 จำนวน 5 ข้อ ระดับคุณภาพดี
ที่มีผลต่อ สภาพ ถือว่าผ่าน
ละลายของสาร การประเมินด้าน
ได้ (ด้านความรู้: ความรู้
K)
2. ทักษะการจัด - ตรวจการ - แบบประเมินการ ได้ไม่น้อยกว่า 2
กระทำและสื่อ ออกแบบ ตาราง จัดกระทำและสื่อ คะแนน
ความหมาย บันทึกผลการ ความหมายตาราง ระดับคุณภาพดี
ข้อมูล ทดลอง เรื่อง ผล บันทึกผลการ ถือว่าผ่าน
(ด้าน ของชนิดตัว ทดลอง การประเมินด้าน
กระบวนการ: P) ละลายและตัวทำ กระบวนการ
ละลายที่มีผลต่อ
สภาพละลายของ
สาร
3. ให้ความร่วม - สังเกตความ - แบบสังเกตความ ได้ไม่น้อยกว่า 2
มือในการ ร่วมมือในการทำ ร่วมมือในการทำ คะแนน
ทำกิจกรรมร่วม กิจกรรมของ กิจกรรมร่วมกับผู้ ระดับคุณภาพดี
กับผู้อื่นได้ นักเรียน อื่น ถือว่าผ่าน
(ด้านเจตคติ: A) การประเมินด้าน
เจตคติ
9.1 เกณฑ์การประเมินผลงานนักเรียน เกณฑ์การประเมิน
(Rubrics Score)

ค่าน้ำ
ประเด็นการ
หนัก แนวทางการให้คะแนน
ประเมิน
คะแนน
การให้คะแนน 3 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมและคำถามระหว่างเรียน
ตอบ ถูกต้อง จำนวน 5-4 ข้อ
คำตอบหลังทำ 2 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมและคำถามระหว่างเรียน
กิจกรรม ถูกต้อง จำนวน 3-2 ข้อ
1 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมและคำถามระหว่างเรียน
ถูกต้อง จำนวน 1-0 ข้อ
การให้คะแนน 3 ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองได้ดี มีการนำ
การจัดกระทำ เสนอข้อมูลเข้าใจง่าย
และสื่อความ มีลำดับขั้นตอน ระบุชื่อตารางบันทึกผลการ
หมายตาราง ทดลอง หัวเรื่องตารางบันทึกผลและบันทึกผลการ
บันทึกผล ทดลองได้ถูกต้อง ครบถ้วน
การทดลอง 2 ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองได้ มีการนำ
เสนอข้อมูลเข้าใจง่าย
มีลำดับขั้นตอน ระบุชื่อตารางบันทึกผลการ
ทดลอง หัวเรื่องตารางบันทึกผลแต่บันทึกผลการ
ทดลองไม่ถูกต้อง
1 ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองได้ แต่การนำ
เสนอข้อมูลเข้าใจยาก
ไม่มีลำดับขั้นตอน ไม่ระบุชื่อตารางบันทึกผลการ
ทดลอง ไม่มีหัวเรื่องตารางบันทึกผล และบันทึก
ผลการทดลองไม่ถูกต้อง
ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นตลอด
ทั้งคาบเรียน ไม่ก่อความวุ่นวายหรือปั ญหาที่
3 รบกวนการเรียนของผู้อื่น เช่น พูดเสียงดังโวยวาย
การให้คะแนน ลุกเดินไปมา หรือชวนผู้อื่นคุยเล่น ขณะครูทำการ
ความร่วมมือใน สอน
การทำกิจกรรม ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นเป็ นบาง
ร่วมกับผู้อื่น ครั้งในคาบเรียน และ
2 ก่อความวุ่นวายหรือปั ญหาที่รบกวนการเรียนของ
ผู้อื่น เช่น พูดเสียงดังโวยวาย ลุกเดินไปมา หรือ
ชวนผู้อื่นคุยเล่น ขณะครูสอน
ไม่ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ทำให้เกิดความวุ่นวายหรือปั ญหาที่รบกวนการ
1
เรียนของผู้อื่น เช่น พูดเสียงดังโวยวาย ลุกเดินไป
มา หรือ ชวนผู้อื่นคุยเล่น ขณะครูทำการสอน

9.2 ระดับคุณภาพ (โดยนำคะแนนรวมทุกด้าน K P A แล้วหาค่า


เฉลี่ย)
คะแนนรวมเฉลี่ย 3.00 หมายถึง ดีมาก
คะแนนรวมเฉลี่ย 2.00 - 2.99 หมายถึง ดี
คะแนนรวมเฉลี่ย 0.01 - 1.99 หมายถึง พอใช้
ดังนั้น นักเรียนต้องได้คะแนนเฉลี่ยทุกประเด็นการประเมิน
ไม่ต่ำกว่า 2.00 คะแนน แสดงระดับคุณภาพดี ถือว่าผ่านเกณฑ์การ
ประเมินในแผนการจัดการเรียนที่ 4

บันทึกหลังการสอน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สารละลาย.......... ...


...
แผนการสอนเรื่อง 4 สภาพละลายได้ของสาร.......
.. .........
วัน
ที่...............................เดือน...............................................................พ.ศ.
2563
1. สรุปผลการเรียนการสอน
1. นักเรียนจำนวน....................คน ผ่านจุดประสงค์การ
เรียนรู้...........คน คิดเป็ นร้อยละ.............
ไม่ผ่านจุด
ประสงค์.......................คน คิดเป็ นร้อยละ.............

ได้แก่...................................................................................
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ( K)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………..
3. นักเรียนมีความรู้เกิดกระบวนการ (P)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..………
4. นักเรียนมีเจตคติ (A)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…
5. ข้อเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………

(นางชนิสรา พักตะไชย) (นาง


เย็นใจ เคนทวาย)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ หัวหน้า
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(นางอุษณีย์ สุริยะเดช) (นายณัฐ
วุฒิ แก้วอุดมแสน)
หัวหน้างานวิชาการ รองผู้อำนวยการ
โรงเรียนกุดเรือคำพิทยาคาร

(นายสุริยงค์ ทะแพงพันธ์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดเรือคำพิทยาคาร
สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4:
บัตรภาพ

บัตรภาพแสดง การล้างสีทาเล็บด้วยน้ำยาล้างเล็บ

การล้างสีทาเล็บด้วย
น้ำยาล้างเล็บ(อ้างอิง
จาก:
https://www.jeab.co
m/style-beauty/nail/
7-item-for-
emergency-nail-
polish-removers)
สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4: ใบ
กิจกรรมที่ 2.3

ใบกิจกรรมที่ 2.3 ผลของชนิดตัวละลายและตัวทำละลายที่มีผลต่อ


สภาพละลายได้ของสาร

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตาม


หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 20

กิจกรรมที่ ผลของชนิดตัวละลายและตัวทำละลายที่มีผลต่อสภาพ
2.3 ละลายได้ของสาร?
จุดประสงค์ ทดลองและอธิบายผลของชนิดตัวละลายและตัวทำ
ละลาย ที่มีต่อสภาพละลายได้
ของดีเกลือและพิมเสนในตัวทำละลาย ที่เป็ นน้ำและเอ
ทานอล
วัสดุอุปกรณ์ ปริมาณ/กลุ่ม
1. ดีเกลือ (แมกนีเซียมซัลเฟต) 12 กรัม (ประมาณ 20
ช้อนชาเบอร์สอง)
2. พิมเสน 7 กรัม (ประมาณ 20
ช้อนชาเบอร์สอง)
3. น้ำกลั่น 10 ลูกบาศก์
เซนติเมตร
4. เอทานอล 10 ลูกบาศก์
เซนติเมตร
5. ช้อนตักสารเบอร์สอง 2 คัน
6. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 4 หลอด
3
7. กระบอกตวงขนาด 10 cm 1 ใบ
8. แท่งแก้วคนสาร 4 อัน
วิธีดำเนิน 1. สังเกตลักษณะของดีเกลือ บันทึกผล
กิจกรรม 2. ใส่น้ำกลั่น 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในหลอดทดลอง
ขนาดใหญ่
3. เติมดีเกลือครั้งละ 1 ช้อนเบอร์สอง เขย่า สังเกต และ
บันทึกผล
เติมดีเกลือจนกระทั่งสารเริ่มไม่ละลายนับจำนวนช้อน
ของสารที่ใช้ทั้งหมด บันทึกผล
4. ทำเช่นเดียวกับข้อ 1-3 แต่ใช้พิมเสนแทนดีเกลือ
5. ทำเช่นเดียวกับข้อ 1-3 แต่ใช้เอทานอลแทนน้ำกลั่น
6. ทำเช่นเดียวกับข้อ 1-3 แต่ใช้พิมเสนแทนดีเกลือ และ
เอทานอลแทนน้ำกลั่น
หมายเหตุ การเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับครู
- ดีเกลือที่ใช้ในกิจกรรมคือแมกนีเซียมซัลเฟตหรือ
ดีเกลือฝรั่ง ส่วนเอทานอลที่ใช้มีความเข้มข้น 95% สาร
ทั้งสองชนิดหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายสารเคมีและ
อุปกรณ์วิทยาศาสตร์
- พิมเสนที่ใช้เป็ นของแข็ง หาซื้อได้จากร้านขายยาแผน
โบราณหรือร้านสมุนไพร
- ถ้าไม่มีหลอดทดลองขนาดใหญ่ อาจใช้ถ้วยพลาสติกใส
ขนาดเล็กแทนได้
- ถ้าไม่มีกระบอกตวง อาจใช้กระบอกฉีดยาแทนได้
ข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรม
- เอทานอลติดไฟง่าย ครูควรเตือนนักเรียนให้ระมัดระวัง
ไม่ให้นำเข้าใกล้ไฟ เพราะอาจเป็ นอันตรายได้
- ครูควรแนะนำให้นักเรียนละลายตัวละลายจนหมดก่อน
แล้วจึงเติมตัวละลายลงไปอีกทีละช้อนจนเริ่มละลายไม่
หมดจึงหยุดเติม
- การนับจำนวนช้อนตัวละลายที่ใช้ในแต่ละครั้ง ใช้วิธี
การเดียวกับกิจกรรม 2.2

คำถามท้ายกิจกรรม

เฉลยคำถามท้ายกิจกรรม
1. สภาพละลายได้ของดีเกลือ มีค่าประมาณกี่กรัม ในน้ำ 100 กรัม
(ดีเกลือ 1 ช้อนเบอร์สองมีมวล
0.61 กรัม และน้ำ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีมวล 1 กรัม)
2. สภาพละลายได้ของพิมเสน มีค่าประมาณกี่กรัม ในน้ำ 100 กรัม
(พิมเสน 1 ช้อนเบอร์สองมีมวล
0.34 กรัม และน้ำ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีมวล 1 กรัม)
3. ชนิดของตัวละลายมีผลต่อสภาพละลายได้ของสารในตัวทำละลาย
หนึ่ง ๆ หรือไม่ ทราบได้อย่างไร
4. เมื่อเปลี่ยนตัวทำละลายจากน้ำกลั่นเป็ นเอทานอล สภาพละลาย
ได้ของดีเกลือและพิมเสนเปลี่ยนแปลง หรือไม่อย่างไร
5. จากกิจกรรมสรุปได้อย่างไร
สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4: ใบ
กิจกรรมที่ 2.3

เฉลยใบกิจกรรมที่ 2.3 ผลของชนิดตัวละลายและตัวทำละลายที่มีผลต่อ


สภาพละลายได้ของสาร

คำถามท้ายกิจกรรม

เฉลยคำถามท้ายกิจกรรม
1. สภาพละลายได้ของดีเกลือมีค่าประมาณกี่กรัมในน้ำ 100 กรัม
(ดีเกลือ 1 ช้อนเบอร์สองมีมวล 0.61 กรัม และน้ำ 1 ลูกบาศก์
เซนติเมตรมีมวล 1 กรัม)
แนวคำตอบ สภาพละลายได้ของดีเกลือจากกิจกรรม คำนวณได้ดังนี้
มวลของดีเกลือ 6 ช้อนเบอร์สอง เท่ากับ 6 ช้อน x 0.61 กรัม เท่ากับ 3.66
กรัม ในน้ำ 5 กรัม (กำหนดให้น้ำ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตรหนัก 1 กรัม) ดัง
นั้น สภาพละลายได้ของดีเกลือ เท่ากับ (3.66 กรัม x 100 กรัม)/5 กรัม
เท่ากับ 73.2 กรัม ในน้ำ 100 กรัม
2. สภาพละลายได้ของพิมเสนมีค่าประมาณกี่กรัมในน้ำ 100 กรัม
(พิมเสน 1 ช้อนเบอร์สองมีมวล 0.34 กรัม และน้ำ 1 ลูกบาศก์
เซนติเมตรมีมวล 1 กรัม)
แนวคำตอบ สภาพละลายได้ของพิมเสนจากกิจกรรม คำนวณได้ดังนี้
มวลของพิมเสน 1 ช้อนเบอร์สอง เท่ากับ 1 ช้อน x 0.34 กรัม เท่ากับ
0.34 กรัม ในน้ำ 5 กรัม (กำหนดให้น้ำ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตรหนัก 1 กรัม)
ดังนั้น สภาพละลายได้ของพิมเสน เท่ากับ (0.34 กรัม x 100 กรัม)/5 กรัม
เท่ากับ 6.8 กรัม ในน้ำ 100 กรัม จากผลการทำกิจกรรม พิมเสนละลายได้
น้อยกว่า 1 ช้อนเบอร์สอง ดังนั้นสภาพละลายได้ของพิมเสนมีค่าน้อย กว่า
6.8 กรัมในน้ำ 100 กรัม
3. ชนิดของตัวละลายมีผลต่อสภาพละลายได้ของสารในตัวทำ
ละลายหนึ่ง ๆ หรือไม่ ทราบได้อย่างไร
แนวคำตอบ ชนิดของตัวละลายมีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร
เพราะดีเกลือมีสภาพละลายได้ในน้ำมากกว่าพิมเสน เนื่องจากใช้ดีเกลือ
ปริมาณมากกว่า ในการทำให้สารละลายกลายเป็ นสารละลายอิ่มตัว
4. เมื่อเปลี่ยนตัวทำละลายจากน้ำกลั่นเป็ นเอทานอล สภาพละลาย
ได้ของดีเกลือและพิมเสนเปลี่ยนแปลง หรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ เมื่อเปลี่ยนตัวทำละลายจากน้ำกลั่นเป็ นเอทานอล
สภาพละลายได้ของดีเกลือและพิมเสน เปลี่ยนแปลง โดยสภาพละลายได้
ของดีเกลือในเอทานอลมีค่าลดลงจากสภาพละลายได้ในน้ำ ส่วนสภาพ
ละลายได้ของพิมเสนในเอทานอลมีค่าเพิ่มขึ้นจากสภาพละลายได้ในน้ำ
5. จากกิจกรรม สรุปได้อย่างไร
แนวคำตอบ จากกิจกรรม สรุปได้ว่า ดีเกลือมีสภาพละลายได้ในน้ำ
มากกว่าในเอทานอล ส่วนพิมเสน
มีสภาพละลายได้ในเอทานอลมากกว่าในน้ำ
สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4: ใบ
กิจกรรมที่ 2.3

ตัวอย่างการออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง
ชื่อตาราง: ตารางแสดงผลของชนิดตัวละลายและตัวทำละลายที่มีผลต่อ
สภาพละลายได้ของสาร
แนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4: VDO ปฏิบัติการทาง
วิทยาศาสตร์สำหรับครูผู้สอน

อ้างอิงจาก

เว็บไซต์คลังความรู้ SciMath สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ


เทคโนโลยี (สสวท.)
กระทรวงศึกษาธิการ เผยแพร่เมื่อ : วันพฤหัสบดี 28 กุมภาพันธ์ 2561

สาธิตการทดลองเรื่อง ชนิดของตัวละลายและตัวทำละลายส่งผลต่อ
สภาพละลายได้ของสสารอย่างไร
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียน
หาคำตอบว่าชนิดของตัวละลายและตัวทำละลายส่งผลต่อการละลายของ
สารได้อย่างไร โดยให้ทำกิจกรรมละลายสารแต่ละชนิดในตัวทำละลายที่
แตกต่างกันแล้วสังเกตการละลายของสาร กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับ
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ลิขสิทธิ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)


ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น ม.2
กลุ่มเป้ าหมาย ครู

You might also like

  • แผน5
    แผน5
    Document27 pages
    แผน5
    ศรัญญา ผลวาด
    No ratings yet
  • แผน3
    แผน3
    Document28 pages
    แผน3
    ศรัญญา ผลวาด
    100% (1)
  • แผน1
    แผน1
    Document23 pages
    แผน1
    ศรัญญา ผลวาด
    No ratings yet
  • แผน2
    แผน2
    Document31 pages
    แผน2
    ศรัญญา ผลวาด
    No ratings yet