แผน5

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 27

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

เรื่อง อุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร รายวิชา วิทยาศาสตร์


พื้นฐาน 3 รหัสวิชา ว 22101 2 ภาคเรียนที่ 1
เวลา 2 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สารละลาย รวม 14
ชั่วโมง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่
สาระที่ 2 ชื่อสาระ วิทยาศาสตร์กายภาพ
มาตรฐาน ว 2.1

1. มาตรฐานการเรียนรู้
ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์
ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค
หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิด
สารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ตัวชี้วัด
ว 2.1 ม.2/4 ออกแบบการทดลองและทดลองในการอธิบายผลของ
ชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลายอุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร
รวมทั้งอธิบายผลของความดันที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร โดยใช้
สารสนเทศ

2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
1) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สารส่วนมาก สภาพละลายได้ของสารจะเพิ่ม
ขึ้น ยกเว้นแก๊ส เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สภาพละลายได้จะลดลง ส่วนความดัน
มีผลต่อแก๊ส โดยเมื่อความดันเพิ่มขึ้น สภาพละลายได้จะสูงขึ้น
2) ความรู้เกี่ยวกับสภาพละลายได้ของสาร เมื่อเปลี่ยนแปลงชนิดตัว
ละลาย ตัวทำละลาย และอุณหภูมิ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิต
ประจำวันเช่น การทำน้ำเชื่อมเข้มข้น การสกัดสารออกจากสมุนไพรให้ได้
ปริมาณมากที่สุด

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

1) ด้านความรู้ (K) นักเรียนสามารถอธิบายผลของอุณหภูมิ


ที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร
2) ด้านทักษะ (P) นักเรียนมีทักษะการจัดกระทำและสื่อความ
หมายข้อมูลตารางบันทึกการทดลอง เรื่อง ผลของ
อุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร
3) ด้านเจตคติ (A) นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ร่วมกับผู้อื่นได้
4. คุณลักษณะผู้เรียน
4.1 คุณลักษณะที่พึงประสงค์
 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์  อยู่อย่างพอเพียง  ซื่อสัตย์
สุจริต  มุ่งมั่นในการทำงาน
 มีวินัย  รักความเป็ นไทย  ใฝ่ เรียนรู้
 มีจิตสาธารณะ

5. ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
 ความสามารถในการคิด: นักเรียนสามารถคิด วิเคราะห์ สังเกตผล
ของอุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพ
ละลายได้ของสาร
 ความสามารถในการสื่อสาร: นักเรียนสามารถคิด ออกแบบสื่อสาร
ข้อมูลการทดลองได้

6. สาระการเรียนรู้
ความสามารถในการละลายของสาร ณ อุณหภูมิเดียวกัน สารแต่ละ
ชนิดละลายไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปั จจัยดังนี้คือ 1) ชนิดของตัวทำละลาย
2) ชนิดของตัวถูกละลาย 3) ความดัน ในกรณีที่ตัวถูกละลายมีสถานะเป็ น
ก๊าซ ถ้าความดันเพิ่มจะละลายได้มากขึ้น 4) อุณหภูมิความสามารถในการ
ละลายของสารบางชนิดเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิเพิ่ม แต่บางชนิดละลายได้
น้อยลง (ตกตะกอนผลึกออกมา) เมื่ออุณหภูมิเพิ่ม ดังกราฟปริมาณตัวถูก
ละลายกับอุณหภูมิ
อิทธิพลของอุณหภูมิที่มีต่อการละลายได้ ถ้าการละลายของสาร
เป็ นการ ดูดความร้อน ดังปฏิกิริยา
ตัวถูกละลาย (s) + ตัวทำละลาย (l) + ความร้อน <-------> สารละลาย (l)
เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น โดยทั่วไป การละลายได้ของสารจะเพิ่มขึ้น

ภาพแสดง กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพละลายได้ของสารในน้ำ
100 กรัม ที่อุณหภูมิต่างๆ
(อ้างอิงจาก: ภาพที่ 2.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวง
ศึกษาธิการ
หน้า 23)
จากภาพแสดงสภาพละลายได้ของสารบางชนิดในน้ำ 100 กรัม
ที่อุณหภูมิต่าง ๆ จะพบว่า เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นสารละลายได้
ของสารส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น เช่น ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสโซเดียมคลอ
ไรด์ มีสภาพละลายได้ 36 กรัมต่อน้ำ 100 กรัมเมื่อเพิ่มอุณหภูมิ
เป็ น 90 องศาเซลเซียสโซเดียมคลอไรด์มีสภาพละลายได้ 40 กรัมต่อน้ำ
100 กรัม แต่สารบางชนิดมีสภาพละลายได้ลดลง เช่น ซีเรียมซัลเฟต

อิทธิพลของความดันที่มีต่อการละลายได้

ภาพแสดง กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพละลายได้ของสารในน้ำ
100 กรัม ที่อุณหภูมิต่างๆ
(อ้างอิงจาก: ภาพที่ 2.6 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวง
ศึกษาธิการ
หน้า 24)
ส่วนสารที่มีสถานะแก๊สอุณหภูมิมีผลต่อสภาพละลายได้ ดัง
ภาพ 2.6 สภาพละลายได้ของแก๊สในน้ำ 100 กรัม ที่อุณหภูมิต่าง ๆ พบว่า
เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นสภาพละลายได้ของแก๊สจะลดลง เช่น
แก๊สออกซิเจน มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเมื่อโลกประสบ
ปั ญหาภาวะโลกร้อนซึ่งเป็ นภาวะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นอย่าง
รวดเร็ว นอกจากจะส่งผลกระทบต่าง ๆ ต่อโลกแล้ว ยังพบว่า ปริมาณแก๊ส
ออกซิเจนที่ละลายในทะเลและมหาสมุทรลดลงด้วย ซึ่งเป็ นสาเหตุหนึ่ง ที่
ทำให้พืชและสัตว์ทะเลบางชนิด ไม่สามารถดำรงชีวิตได้
นอกจากอุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสารแล้ว ความ
ดันยังมีผลต่อสภาพละลายได้ ของสาร โดยเฉพาะสารใน
สถานะแก๊ส น้ำอัดลมเป็ นเครื่องดื่มที่หลายคนนิยมดื่ม เพื่อดับกระหายและ
มีหลายยี่ห้อให้เลือกดื่ม นักเรียนรู้หรือไม่ว่าน้ำอัดลมแต่ละยี่ห้อประกอบ
ด้วยอะไรบ้าง ส่วนประกอบหลักของน้ำอัดลมคือ น้ำ น้ำตาล หรือสารให้
ความหวานอื่น ๆ สารปรุงแต่งรส สี และกลิ่น ซึ่งสารนี้ จะทำให้น้ำอัดลม
แต่ละยี่ห้อ มีรสชาติแตกต่างกัน ส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้
น้ำอัดลมมีความซ่า คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในภาวะ ความดันปกติ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายในน้ำได้น้อยมาก การผลิตน้ำอัดลมจึงต้อง
ใช้ความดันสูง โดยเฉพาะความดันในการอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้
ละลายในน้ำได้มากขึ้น เมื่อเปิ ดขวดน้ำอัดลมเราจะเห็นฟองแก๊สฟู่ เพราะ
ความดันภายในขวดลดลงเท่ากับความดันภายนอกขวด ทำให้แก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ละลายน้ำได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์บางส่วน จึงแยก
ตัวออกจากน้ำ ดังนั้นความดัน จึงเป็ นปั จจัยหนึ่งที่มีผลต่อสภาพละลายได้
ของสารที่สถานะแก๊ส โดยเมื่อความดันสูงขึ้น สภาพละลายได้ของแก๊สจะ
เพิ่มขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น สภาพละลายได้ของแก๊ส
จะลดลง แต่ความดันมีผลต่อสภาพละลายได้ของสารที่มีสถานะของเหลว
และของแข็งน้อยมาก
(อ้างอิงข้อมูลจาก: เว็บไซด์คลังความรู้ SciMath สถาบันส่งเสริมการสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
กระทรวงศึกษาธิการ
https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7178-
solubility)

7. กิจกรรมการเรียนรู้
ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry
Cycles: 5Es) (2 ชั่วโมง; 120 นาที)
ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engagement) (10 นาที)
1) ครูกระตุ้นโดยใช้ประเด็นคำถาม เพื่อนำเข้าสู่กิจกรรมว่า
- นอกจากชนิดตัวละลายและตัวทำละลายแล้ว ยังมีปั จจัยอื่น
อีกหรือไม่ ที่ส่งผลต่อสภาพละลายได้ของสาร (มีปั จจัยอื่นอีก เช่น อุณหภูมิ
ปริมาณสาร เป็ นต้น)
- บางครั้งถ้าเราเปลี่ยนตัวทำละลายไม่ได้ เราจะทำอย่างไรให้
ตัวทำละลายเดิมสามารถละลายตัวละลายได้มากขึ้น เช่น ในการชงเครื่อง
ดื่ม ถ้าต้องการให้ตัวละลายละลายในน้ำมากขึ้น จะเลือกใช้น้ำอุณหภูมิห้อง
หรือน้ำร้อน (ใช้น้ำร้อน เพราะ มีอุณหภูมิมากกว่า)
ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) (20 นาที)
2) ครูให้นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรมที่ 2.4 อุณหภูมิที่มีผลต่อ
สภาพการละลายได้ของสาร (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวง
ศึกษาธิการ หน้า 22) จุดประสงค์ และวิธีดำเนินกิจกรรม และตรวจสอบ
ความเข้าใจการอ่านโดยใช้คำถาม ดังต่อไปนี้
- กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ผลของอุณหภูมิต่อสภาพ
ละลายได้ของสาร)
- กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (ออกแบบการทดลอง ทดลอง
และอธิบายผลของอุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้ของ จุนสีในน้ำ)
- วิธีดำเนินกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (ออกแบบการ
ทดลองเพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้ ของจุนสี โดย
ระบุปั ญหา ตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม
ออกแบบตารางบันทึก ผล จากนั้นให้ลงมือทดลอง บันทึกผล อภิปราย
สรุปผลการทดลอง และนำเสนอผล)
- นักเรียนต้องสังเกตหรือรวบรวมอะไรบ้าง (สังเกตการละลาย
ของตัวละลายในน้ำที่อุณหภูมิต่าง ๆ และบันทึก ปริมาณของตัวละลายที่
ใช้)
3) ครูควรให้เวลานักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบการทดลองตาม
ความคิดของกลุ่ม โดยแนะนำให้นักเรียนระบุปั ญหาที่สนใจจะศึกษา เกี่ยว
กับผลของอุณหภูมิต่อสภาพละลายได้ของสาร และตั้งสมมติฐานหรือคาด
คะเนคำตอบที่น่าจะเป็ นไปได้ก่อน แล้วจึงหาวิธีการตรวจสอบสมมติฐาน
โดยกำหนดและควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้องนำเสนอ การออกแบบการ
ทดลองของกลุ่ม ครูอภิปรายร่วมกับนักเรียนเพื่อปรับปรุงวิธีการทดลองให้
ถูกต้อง สามารถ ตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ได้จริง โดยแต่ละกลุ่มไม่
จำเป็ นต้องออกแบบการทดลองเหมือนกัน จากนั้นจึงให้นักเรียน เริ่ม
ดำเนินการทดลองได้
4) ครูให้ความรู้และแนะนำความปลอดภัยในการใช้สารเคมี ซึ่ง
อาจเป็ นอันตรายต่อร่างกาย เช่น จุนสีที่ใช้ในกิจกรรมนี้ ถ้าสัมผัสทาง
ผิวหนังอาจเกิดการระคายเคือง ถ้ารับประทานอาจทำให้เกิดอาการปวด
ท้องรุนแรง อาเจียน นอกจากนี้ จุนสีเป็ นสารประกอบที่มีทองแดง
(คอปเปอร์) ซึ่งเป็ นโลหะหนักเป็ นองค์ประกอบ การทิ้งสารเคมีไม่ถูกวิธี
อาจทำให้เกิดการปนเปื้ อนในดิน น้ำ และเป็ นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้
5) ขณะที่นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำกิจกรรม ครูควรเดิน
สังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียน และให้คำแนะนำกรณี นักเรียนมีข้อ
สงสัยในประเด็นต่าง ๆ เช่น การควบคุมตัวแปรที่ต้องควบคุมให้คงที่
การแก้ไขปั ญหาที่พบจากการทดลอง
ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) (40 นาที)
6) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม ตอบ
คำถามท้ายกิจกรรม และร่วมกันสรุปผลของกิจกรรมโดยใช้คำถามท้าย
กิจกรรมเป็ นแนวทาง (เฉลยแนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้) จำนวน 4 ข้อ
เพื่อให้ได้ข้อสรุปจากกิจกรรมว่า จุนสีละลายในน้ำที่อุณหภูมิสูงได้ดีกว่า
ละลายในน้ำที่อุณหภูมิต่ำ
7) ให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลของอุณหภูมิที่มีต่อ
สภาพละลายได้ของสาร โดยใช้กราฟในภาพ 2.5 (หนังสือเรียนรายวิชาพื้น
ฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท.
กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 23) ประกอบการอภิปราย และอ่านข้อมูลเพิ่ม
เติมในหนังสือเรียน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น สภาพละลาย
ได้ของสารส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น แต่สารบางชนิดมีสภาพละลายได้ลดลง
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) (30 นาที)
8) ให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับผลของอุณหภูมิที่มีต่อ
สภาพละลายได้ของแก๊ส โดยใช้กราฟในภาพ 2.6 (หนังสือเรียนรายวิชาพื้น
ฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท.
กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 24) ประกอบการอภิปราย และอ่านข้อมูลเพิ่ม
เติมในหนังสือเรียน เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน (แก๊สมีสภาพละลาย ได้ลดลง
เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น)
9) ครูเชื่อมโยงความรู้เรื่องสภาพละลายได้ของแก๊สกับภาวะ
โลกร้อนตามหนังสือเรียน เพื่อชวนให้นักเรียนคิดต่อไปว่า
- ถ้าโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น น้ำในแหล่งน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น แก๊ส
ออกซิเจนซึ่งเป็ นปั จจัยจำเป็ น ต่อการดำรงชีวิตของ สิ่งมีชีวิต
ส่วนใหญ่จะละลายในน้ำได้มากขึ้นหรือน้อยลง และส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต
อย่างไร ซึ่งจะกระตุ้นให้นักเรียนเกิด ความตระหนักในการร่วม
มือกันลดความรุนแรงของภาวะโลกร้อน (เมื่ออุณหภูมิภายในโลกสูงขึ้น น้ำ
ในแหล่งน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น แก็สออกซิเจนจะละลายในทะเลและ
มหาสมุทรลดลงด้วย ซึ่งเป็ นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พืชและสัตว์
ทะเลบางชนิดไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้)
10) ครูอภิปรายร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ละลาย
ในน้ำอัดลม ตามเนื้อหาในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวง
ศึกษาธิการ หน้า 24 แล้วร่วมกัน อภิปราย เพื่อให้ได้ข้อสรุป (แก๊สที่อยู่ใน
น้ำอัดลม คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเปิ ดขวด ความดันภายในขวด
ลดลงจนเท่ากับความดันบรรยากาศ ทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลาย
ในน้ำอัดลมได้น้อยลง จึงมีบางส่วนแยกตัวออกจากสารละลาย ทำให้เห็น
ฟองแก๊สที่ไม่สามารถละลายในน้ำอัดลม เคลื่อนที่ขึ้นสู่ผิวหน้าน้ำอัดลม)
ดังนั้น ความดันเป็ นปั จจัยหนึ่ง ที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสารที่มีสถานะ
แก๊ส ถ้าความดันสูงขึ้น สภาพละลายได้ของแก๊สจะเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงกันข้าม
กับอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น สภาพละลายได้ของแก๊สจะลดลง จากนั้นให้
นักเรียนตอบคำถามระหว่างเรียน
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) (20 นาที)
8) ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนเรื่อง ผลของอุณหภูมิที่มี
ต่อสภาพละลายได้ของสาร โดยให้นักเรียนตอบคำถามหลังเรียนในหนังสือ
เรียน (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม
1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 23) จำนวน 3 ข้อ
(เฉลยแนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้)
- อุณหภูมิมีผลอย่างไรต่อสภาพละลายได้ของสารแต่ละชนิด
- ถ้าละลายโซเดียมคลอไรด์ 20 กรัม ในน้ำ 100 กรัมที่
อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส โซเดียมคลอไรด์จะละลายหมดหรือไม่
-ถ้าละลายโพแทสเซียมไนเทรต 20 กรัม ในน้ำ 50 กรัมที่
อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส แล้วลดอุณหภูมิลงเหลือ 20 องศาเซลเซียส
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

8. สื่อการเรียนรู้
8.1 ใบกิจกรรม: ใบกิจกรรมหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2
เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวง
ศึกษาธิการ หน้า 22
8.3 วัสดุอุปกรณ์การทดลอง: ดีเกลือ (แมกนีเซียมซัลเฟต), , น้ำกลั่น,
น้ำแข็ง,
ช้อนตักสารเบอร์สอง, บีกเกอร์ขนาด 50
3
cm ,
3
บีกเกอร์ขนาด 250 cm , กระบอกตวงขนาด
3
10 cm ,
เทอร์มอมิเตอร์, แท่งแก้วคนสาร, ชุดตะเกียง
แอลกอฮอร์

9. การวัดและการประเมิน

ตัวชี้วัด/ผลการ วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์ที่ใช้ในการ


เรียนรู้ ประเมิน
1. อธิบายผลของ - ตรวจการตอบ - คำถามท้าย ได้ไม่น้อยกว่า 2
ชนิดตัวละลาย คำถามท้าย กิจกรรมที่ 2.4 คะแนน
และตัวทำละลาย กิจกรรมที่ 2.4 จำนวน 4 ข้อ และ ระดับคุณภาพดี
ที่มีผลต่อ สภาพ และคำถามหลัง คำถามหลังเรียน ถือว่าผ่าน
ละลายของสาร เรียน จำนวน 3 ข้อ การประเมินด้าน
ได้ (ด้านความรู้: ความรู้
K)
2. ทักษะการจัด - ตรวจการ - แบบประเมินการ ได้ไม่น้อยกว่า 2
กระทำและสื่อ ออกแบบ ตาราง จัดกระทำและสื่อ คะแนน
ความหมาย บันทึกผลการ ความหมายตาราง ระดับคุณภาพดี
ข้อมูล ทดลอง เรื่อง ผล บันทึกผลการ ถือว่าผ่าน
(ด้าน ของอุณหภูมิที่มี ทดลอง การประเมินด้าน
กระบวนการ: P) ผลต่อสภาพ กระบวนการ
ละลายได้ของสาร
3. ให้ความร่วม - สังเกตความ - แบบสังเกตความ ได้ไม่น้อยกว่า 2
มือในการ ร่วมมือในการทำ ร่วมมือในการทำ คะแนน
ทำกิจกรรมร่วม กิจกรรมของ กิจกรรมร่วมกับผู้ ระดับคุณภาพดี
กับผู้อื่นได้ นักเรียน อื่น ถือว่าผ่าน
(ด้านเจตคติ: A) การประเมินด้าน
เจตคติ

9.1 เกณฑ์การประเมินผลงานนักเรียน เกณฑ์การประเมิน


(Rubrics Score)

ค่าน้ำ
ประเด็นการ
หนัก แนวทางการให้คะแนน
ประเมิน
คะแนน
การให้คะแนน ตอบคำถามท้ายกิจกรรมและคำถามระหว่างเรียน
3
ตอบ ถูกต้อง จำนวน 7-6 ข้อ
คำตอบหลังทำ 2 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมและคำถามระหว่างเรียน
กิจกรรม ถูกต้อง จำนวน 5-4 ข้อ
ตอบคำถามท้ายกิจกรรมและคำถามระหว่างเรียน
1
ถูกต้อง จำนวน 3-0 ข้อ
การให้คะแนน ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองได้ดี มีการนำ
การจัดกระทำ เสนอข้อมูลเข้าใจง่าย
และสื่อความ 3 มีลำดับขั้นตอน ระบุชื่อตารางบันทึกผลการ
หมายตาราง ทดลอง หัวเรื่องตารางบันทึกผลและบันทึกผลการ
บันทึกผล ทดลองได้ถูกต้อง ครบถ้วน
การทดลอง ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองได้ มีการนำ
เสนอข้อมูลเข้าใจง่าย
2 มีลำดับขั้นตอน ระบุชื่อตารางบันทึกผลการ
ทดลอง หัวเรื่องตารางบันทึกผลแต่บันทึกผลการ
ทดลองไม่ถูกต้อง
ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองได้ แต่การนำ
เสนอข้อมูลเข้าใจยาก
1 ไม่มีลำดับขั้นตอน ไม่ระบุชื่อตารางบันทึกผลการ
ทดลอง ไม่มีหัวเรื่องตารางบันทึกผล และบันทึก
ผลการทดลองไม่ถูกต้อง

ค่าน้ำ
ประเด็นการ
หนัก แนวทางการให้คะแนน
ประเมิน
คะแนน
การให้คะแนน 3 ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นตลอด
ความร่วมมือใน ทั้งคาบเรียน ไม่ก่อความวุ่นวายหรือปั ญหาที่
การทำกิจกรรม รบกวนการเรียนของผู้อื่น เช่น พูดเสียงดังโวยวาย
ร่วมกับผู้อื่น ลุกเดินไปมา หรือชวนผู้อื่นคุยเล่น ขณะครูทำการ
สอน
ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นเป็ นบาง
ครั้งในคาบเรียน และ
2 ก่อความวุ่นวายหรือปั ญหาที่รบกวนการเรียนของ
ผู้อื่น เช่น พูดเสียงดังโวยวาย ลุกเดินไปมา หรือ
ชวนผู้อื่นคุยเล่น ขณะครูสอน
ไม่ให้ความร่วมมือในทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ทำให้เกิดความวุ่นวายหรือปั ญหาที่รบกวนการ
1
เรียนของผู้อื่น เช่น พูดเสียงดังโวยวาย ลุกเดินไป
มา หรือ ชวนผู้อื่นคุยเล่น ขณะครูทำการสอน

9.2 ระดับคุณภาพ (โดยนำคะแนนรวมทุกด้าน K P A แล้วหาค่า


เฉลี่ย)
คะแนนรวมเฉลี่ย 3.00 หมายถึง ดีมาก
คะแนนรวมเฉลี่ย 2.00 - 2.99 หมายถึง ดี
คะแนนรวมเฉลี่ย 0.01 - 1.99 หมายถึง พอใช้

ดังนั้น นักเรียนต้องได้คะแนนเฉลี่ยทุกประเด็นการประเมิน
ไม่ต่ำกว่า 2.00 คะแนน แสดงระดับคุณภาพดี ถือว่าผ่านเกณฑ์การ
ประเมินในแผนการจัดการเรียนที่ 5
บันทึกหลังการสอน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สารละลาย.......... ...
...
แผนการสอนเรื่อง 5 อุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของ
สาร....... .. .
วัน
ที่...............................เดือน...............................................................พ.ศ.
2563
1. สรุปผลการเรียนการสอน
1. นักเรียนจำนวน....................คน ผ่านจุดประสงค์การ
เรียนรู้...........คน คิดเป็ นร้อยละ.............
ไม่ผ่านจุด
ประสงค์.......................คน คิดเป็ นร้อยละ.............
ได้แก่...................................................................................
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ( K)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…
3. นักเรียนมีความรู้เกิดกระบวนการ (P)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…
4. นักเรียนมีเจตคติ (A)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………..…
5. ข้อเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………

(นางชนิสรา พักตะไชย) (นาง


เย็นใจ เคนทวาย)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ หัวหน้า
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(นางอุษณีย์ สุริยะเดช) (นาย


ณัฐวุฒิ แก้วอุดมแสน)
หัวหน้างานวิชาการ รองผู้อำนวย
การโรงเรียนกุดเรือคำพิทยาคาร

(นายสุริยงค์ ทะแพงพันธ์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดเรือคำพิทยาคาร
สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5: ใบ
กิจกรรมที่ 2.4

ใบกิจกรรมที่ 2.4 ผลของอุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร


หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 22

กิจกรรมที่ ผลของอุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร?
2.4
จุดประสงค์ ออกแบบการทดลอง ทดลอง และอธิบายผลของ
อุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้
ของจุนสีในน้ำ
วัสดุอุปกรณ์ ปริมาณ/กลุ่ม
1. ดีเกลือ (แมกนีเซียมซัลเฟต) 30 กรัม
2. น้ำกลั่น 100 ลูกบาศก์
เซนติเมตร
3. น้ำแข็ง 100 กรัม
4. ช้อนตักสารเบอร์สอง 1 คัน
3
5. บีกเกอร์ขนาด 50 cm 3 ใบ
3
6. บีกเกอร์ขนาด 250 cm 1 ใบ
3
7. กระบอกตวงขนาด 25 cm 1 ใบ
8. เทอร์มอมิเตอร์ 1 อัน
9. แท่งแก้วคนสาร 1 อัน
10 ขาตั้งพร้อมที่จับ 1 ชุด
11. ชุดตะเกียงแอลกอฮอร์ 1 ชุด
วิธีดำเนิน 1. ร่วมการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับผลของอุณหภูมิที่มีต่อ
กิจกรรม สภาพละลายได้ของจุนศรีในน้ำ 2. ระบุตัวแปรต้น
ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม
3. ออกแบบการทดลอง เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน โดยใช้
อุปกรณ์ที่กำหนด
4. ทำการทดลอง บันทึกผล อภิปราย และสรุปผลการ
ทดลอง
5. นำเสนอรายงานผลการทดลอง
กิจกรรมที่ ผลของอุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร?
2.4
หมายเหตุ ข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรม
- กำหนดอุณหภูมิที่จะทำการทดลองร่วมกับนักเรียน ซึ่ง
ควรมี 2-3 ค่า คือ อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง อุณหภูมิ
ห้อง อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้อง
- อ่านอุณหภูมิแต่ละการทดลอง บันทึกในตารางบันทึก
ผล
- พยายามควบคุมอุณหภูมิที่ทดลองให้คงที่ (ยกเว้นที่
อุณหภูมิห้อง ไม่ต้องควบคุม) โดยให้นักเรียนแช่หลอดทด
ลองในบีกเกอร์ที่บรรจุน้ำ และจุ่มเทอร์มอมิเตอร์ให้
กระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์อยู่ในของเหลวในหลอด
ทดลอง ยึดเทอร์มอมิเตอร์ด้วยชุดขาตั้งพร้อมที่จับถ้า
ต้องการเพิ่มอุณหภูมิ อาจนำบีกเกอร์ไปให้ความร้อน
ถ้าต้องการลดอุณหภูมิ อาจเติมน้ำแข็งลงในบีกเกอร์
- นักเรียนอาจออกแบบการทดลองได้หลายแบบ ครูต้อง
ช่วยเหลือนักเรียนในการพิจารณาความถูกต้องและความ
เหมาะสมของการทดลองแต่ละแบบ ก่อนที่จะให้นักเรียน
ลงมือทดลอง ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลา และได้ผลการ
ทดลองที่สามารถนำมาสรุปองค์ความรู้ที่ถูกต้อง
คำถามท้ายกิจกรรม

เฉลยคำถามท้ายกิจกรรม
1. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการทดลองนี้คือ
อะไร
2. วิธีการทดลอง เพื่อตรวจสอบสมมติฐานทำอย่างไร
3. ผลการทดลองเป็ นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร
4. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร

สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4: ใบ
กิจกรรมที่ 2.3

เฉลยใบกิจกรรมที่ 2.4 ผลของอุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของ


สาร
คำถามท้ายกิจกรรม

เฉลยคำถามท้ายกิจกรรม
1. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการทดลองนี้
คืออะไร
แนวคำตอบ ตัวแปรต้น คืออุณหภูมิ ตัวแปรตาม คือจำนวนช้อนของ
จุนสีที่ละลายได้ ตัวแปรควบคุมคือ
ปริมาณน้ำ ช้อนที่ใช้ตักจุนสี แท่งแก้วคนที่ใช้
2. วิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานทำอย่างไร
แนวคำตอบ วิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานขึ้นอยู่กับ
สมมติฐาน เช่น ถ้านักเรียนตั้งสมมติฐานว่าจุนสีละลายได้ในน้ำที่มีอุณหภูมิ
สูงมากกว่าในน้ำที่อุณหภูมิต่ำ อาจตรวจสอบสมมติฐานโดยละลายจุนสีใน
น้ำที่อุณหภูมิห้อง คนจนสารละลายหมดแล้วเติมจุนสีเพิ่มครั้งละช้อน
คนจนสารละลายหมดทุกครั้งจนกว่าจุนสีจะไม่ละลายน้ำได้อีก จากนั้นนำ
สารละลายไปให้ความร้อนแล้วเติมจุนสีครั้งละช้อน คนจนสารละลายหมด
ทุกครั้งจนกว่าจุนสีจะไม่ละลายน้ำได้อีก เปรียบเทียบปริมาณจุนสีที่ใช้ขณะ
ที่สารละลายมีอุณหภูมิห้องกับขณะที่สารละลายมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิ
ห้อง
3. ผลการทดลองเป็ นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ คำตอบเกี่ยวกับความสอดคล้องของผลการทดลองกับ
สมมติฐาน ขึ้นอยู่กับผลการทำกิจกรรมของนักเรียน เช่น ถ้านักเรียนตั้ง
สมมติฐานว่าจุนสีละลายได้ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงมากกว่าในน้ำที่อุณหภูมิต่ำ
และนักเรียนออกแบบการทดลองโดยควบคุมตัวแปรอย่างรัดกุม จะพบว่า
ผลการทดลองเป็ นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร
แนวคำตอบ จากกิจกรรมสรุปได้ว่า จุนสีมีสภาพละลายได้ในน้ำที่
อุณหภูมิสูงมากกว่าในน้ำที่อุณหภูมิต่ำ

สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5: ใบ
กิจกรรมที่ 2.4

ตัวอย่างการออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง

ชื่อตาราง: ตารางแสดงผลของอุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร

ตัวอย่างการออกแบบการทดลองที่ 1
ละลายจุนสี 1 ช้อนเบอร์หนึ่งในน้ำ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตรที่อุณหภูมิ
ห้อง คนจนละลายหมด เติมจุนสีเพิ่มลงไปทีละช้อน คนสารละลายทุกครั้ง
ที่เติมจุนสี เมื่อจุนสีเริ่มละลายไม่หมด หยุดเติมจุนสี นับจำนวนช้อนที่ตวง
จุนสีที่ใช้ทั้งหมด บันทึกผล จากนั้นทำกิจกรรมซ้ำในภาชนะใหม่ โดย
เปลี่ยนอุณหภูมิของน้ำเป็ นอุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิห้อง และอุณหภูมิที่ต่ำ
กว่าอุณหภูมิห้อง
ตัวอย่างตารางบันทึกผลที่ 1

*อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิห้องที่วัดได้
**อุณหภูมิห้องที่วัดได้
***อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้องที่วัดได้

ตัวอย่างการออกแบบการทดลอง แบบที่ 2
เริ่มการทดลองที่อุณหภูมิห้อง โดยละลายจุนสี ทีละช้อนในน้ำ 10
ลูกบาศก์เซนติเมตร จนกว่าจุนสีเริ่มไม่ละลายน้ำ นับจำนวนช้อนที่ตวงจุนสี
ที่ใช้ทั้งหมด จากนั้นนำสารละลายไปเพิ่มอุณหภูมิ โดยควบคุมอุณหภูมิให้
คงที่และเติมจุนสีเพิ่มลงในสารละลายจนจุนสีเริ่มไม่ละลายน้ำ นับจำนวน
ช้อนตวงจุนสีที่ใช้ทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจนเพิ่มอุณหภูมิ

ตัวอย่างตารางบันทึกผล
*อุณหภูมิห้องที่วัดได้
**อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้องที่วัดได้

ตัวอย่างการออกแบบการทดลอง แบบที่ 3
เริ่มการทดลองที่อุณหภูมิห้อง โดยละลายจุนสีในน้ำ 10 ลูกบาศก์
เซนติเมตรให้เกินจุดอิ่มตัว สังเกตและบันทึกผล เพิ่มอุณหภูมิสารละลาย
เป็ น 60 องศาเซลเซียส คนสาร สังเกตการเปลี่ยนแปลง บันทึกผล จากนั้น
ตั้งสารละลายไว้จนอุณหภูมิลดลงถึงอุณหภูมิห้อง สังเกตการเปลี่ยนแปลง
บันทึกผล

ตัวอย่างตารางบันทึกผล
แนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5: เฉลย
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้

เฉลยคำถามหลังเรียนในขั้นประเมิน

(หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 1


ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 23) จำนวน 3 ข้อ
จากภาพแสดงสภาพละลายได้ของสารบางชนิดในน้ำ 100 กรัม
ที่อุณหภูมิต่าง ๆ จะพบว่า เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นสารละลายได้
ของสารส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น เช่น ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสโซเดียมคลอ
ไรด์ มีสภาพละลายได้ 36 กรัมต่อน้ำ 100 กรัมเมื่อเพิ่มอุณหภูมิ
เป็ น 90 องศาเซลเซียสโซเดียมคลอไรด์มีสภาพละลายได้ 40 กรัมต่อน้ำ
100 กรัม แต่สารบางชนิดมีสภาพละลายได้ลดลง เช่น ซีเรียมซัลเฟต
จากภาพ 2.4 ตอบคำถามต่อไปนี้
• อุณหภูมิมีผลอย่างไรต่อสภาพละลายได้ของสารแต่ละชนิด
แนวคำตอบ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สารส่วนใหญ่มีสภาพละลายได้เพิ่ม
ขึ้น แต่มีสารบางชนิดมีสภาพละลายได้น้อยลง เช่น ซีเซียมซัลเฟต
• ถ้าละลายโซเดียมคลอไรด์ 20 กรัม ในน้ำ 100 กรัมที่อุณหภูมิ 40
องศาเซลเซียส โซเดียมคลอไรด์จะ
ละลายหมดหรือไม่
แนวคำตอบ โซเดียมคลอไรด์ 20 กรัม ละลายได้หมดในน้ำ 100 กรัม
ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส
• ถ้าละลายโพแทสเซียมไนเทรต 20 กรัม ในน้ำ 50 กรัมที่อุณหภูมิ 50
องศาเซลเซียส แล้วลดอุณหภูมิลง
เหลือ 20 องศาเซลเซียส จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
แนวคำตอบ โพแทสเซียมไนเทรต 20 กรัม ละลายได้หมดในน้ำ 50
กรัม ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสได้สารละลายใส ไม่มีสี ไม่มีตะกอน แต่
เมื่อนำไปลดอุณหภูมิลงเหลือ 20 องศาเซลเซียส โพแทสเซียมไนเทรตละ
ลายได้เพียง 15 กรัม ในน้ำ 50 กรัม เนื่องจากสภาพละลายได้ของ
โพแทสเซียมไนเทรตลดลงเมื่ออุณหภูมิลดลง จะมีโพแทสเซียมไนเทรตบาง
ส่วนที่ไม่ละลายตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ

You might also like