Chapter 4-27jun23 - With Cover

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 38

เอกสารคำสอน

รายวิชา EN113602
อุทกวิทยา (Hydrology)

รศ.ดร.กิตติเวช ขันติยวิชัย
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทที่ 4
น้ำใต้ผิวดิน
(Subsurface Water)
น้ำฝนที่ไหลซึมลงผ่านผิวดินจะถูกกักเก็บไว้ในโพรงระหว่างเม็ดดิน และมีอากาศผสมอยู่ด้วย ซึ่งการไหล
ดังกล่าวเรียกว่า “การไหลแบบไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ (Unsaturated flow)” และสามารถไหลซึมลึกลงไปกักเก็บใน
ชั้ น น้ ำ ใต้ ดิ น น้ ำ ในชั้ น น้ ำ ใต้ ดิ น (Aquifer) จะมี “การไหลแบบอิ่ ม ตั ว ด้ ว ยน้ ำ (Saturated groundwater
flow)”
น้ำใต้ดิน → สำคัญสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำผิวดินกักเก็บ /ไหลผ่านในฤดูแล้ง + ไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการน้ำ → ลำน้ำที่มีน้ำไหลตลอดปีก็มีที่มาจากน้ำใต้ดิน → เป็นส่วนหนึ่งของวงจรอุทกวิทยา

4.1 ลักษณะทางอุทกวิทยาของชั้นใต้ผิวดิน
การไหลของน้ำใต้ดินจะขึ้นอยู่กับ:
• ลักษณะของชั้นดิน → ชนิดของดิน, ความหนาของแต่ละชั้น และลักษณะการเรียงตัวของชั้นดิน
• คุณสมบัติทางอุทกวิทยาของดินแต่ละชั้น ได้แก่
▪ ความซึมผ่านได้ (Hydraulic conductivity) → น้ำจะไหลซึมผ่านดินที่เป็นตัวกลางพรุนได้เร็ว
เพียงใด
▪ ความพรุน (Porosity) → โพรงหรือช่องว่างระหว่างเม็ดดินมีปริมาตรมากเพียงใดเมื่อเทียบกับ
เนื้อดิน
▪ ความสามารถในการอัดแน่น (Compressibility) ของชั้นดิน → ปริมาณน้ำที่จะถูกบีบออกจาก
โพรงเมื่อชั้นดินเกิดการอัดแน่น

4.2 ประเภทของชั้นดิน/หิน ที่เกี่ยวข้องกับน้ำใต้ดิน


การไหลของน้ำใต้ดิน → การไหลของของไหลผ่านตัวกลางพรุน ซึ่งมีความซับซ้อน (ความพรุนที่ต่างกัน
→ ส่งผลต่อการไหลซึมของน้ำใต้ดิน) → ต้องจัดระบบของชั้นดิน /หินให้ง่ายต่อการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการไหล
ผ่านตัวกลางพรุน (Flow through porous media) ในการวิเคราะห์การไหล
1) ชั้นให้น้ำ/อุ้มน้ำ (Aquifer) = ชั้นดิน/ชั้นหินพรุน/หินแตกที่มีความซึมผ่านได้มาก → ชั้นให้น้ำที่
เป็นกรวด, ทราย, หินพรุน ฯลฯ → เป็นชั้นให้น้ำที่มีความพรุนสูง ขนาดเม็ดดินค่อนข้างใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 3
ชนิด คือ
▪ ชั้นให้น้ำใต้ดินอิสระ (Unconfined/Water table aquifer) = ชั้นให้น้ำใต้ดินที่มีผิวของระดับน้ำ
ใต้ดินสัมผัสกับอากาศในเม็ดดิน → วางตัวอยู่บนชั้นดินทึบน้ำ (Confining layer) ถ้าเจาะบ่อ
บาดาลลงไปที่ชั้นนี้ จะพบว่าน้ำรอบๆ บ่อน้ำบาดาลจะไหลซึมเข้าสู่บ่อน้ำบาดาล และมีระดับน้ำ
= ระดับน้ำใต้ดิน
บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 135

รูปที่ 4.1 ชั้นให้น้ำใต้ดินอิสระ (Unconfined aquifer) (ปรับปรุงจากกีรติ ลีวัจนกุล, 2543)

▪ ชั้นให้น้ำบาดาล (Confined aquifer) = ชั้นให้น้ำใต้ดินที่อยู่ใต้ชั้นดินหรือชั้นหินทึบน้ำ หากมี


การเจาะบ่อน้ำบาดาลทะลุผ่านชั้นทึบน้ำ → บ่อน้ำบาดาลที่มีระดับปากบ่ออยู่ต่ำกว่าระดับความ
ดัน (Piezometric head) จะเกิดเป็นน้ำพุพุ่งขึ้นมา ส่วนบ่อบาดาลที่มีระดับปากบ่ออยู่สูงกว่า
ระดับความดัน (บ่อกลาง) จะมีระดับน้ำใต้ดินจากชั้นให้น้ำบาดาลสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับความดัน

รูปที่ 4.2 ชั้นให้น้ำบาดาล (Confined aquifer) (ปรับปรุงจากกีรติ ลีวัจนกุล, 2543)

▪ ชั้นให้น้ำใต้ดินลอย (Perched aquifer) = ชั้นให้น้ำใต้ดินที่อยู่บนแอ่งของชั้นทึบน้ำ (หินแข็งทึบ/


ชั้นดินเหนียว) ที่วางอยู่ในเขตสัมผัสอากาศ และถ้ามีแนวชั้นทึบน้ำต่อกับผิวดินก็จะเกิดน้ำซึมไหล
ออกมาเป็นน้ำผิวดินหรือน้ำซับ

รูปที่ 4.3 ชั้นให้น้ำใต้ดินลอย (Perched aquifer) (ปรับปรุงจากกีรติ ลีวัจนกุล, 2543)


EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 136

2) ชั้น น้ำใต้ ดิ น รั่ว (Aquitard) = ชั้นดิน /หิ น ที่มีความซึมผ่ านได้น้อยมากเมื่อเทียบกับชั้น Aquifer


ยอมให้น้ำซึมผ่านได้อย่างช้าๆ แต่ไม่สามารถสูบน้ำในชั้นนี้ขึ้นมาใช้ได้ → ชั้นดินเหนียวปนทราย
3) ชั้นซับน้ำ (Aquiclude) = ชั้นดิน/หินที่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้ยาก → ชั้นหินทึบ/ชั้นดินเหนียวแข็ง
4) ชั้นกั้นน้ำ (Aquifuge) = ชั้นดิน/หินที่ไม่มีรูโพรงต่อถึงกัน → ชั้นทึบน้ำที่ไม่อุ้มน้ำ/ไม่สามารถซึม
ผ่านได้เลย → ชั้นหินแข็ง, หินแกรนิต, หินบะซอลท์ ฯลฯ

รูปที่ 4.4 ระบบการไหลของน้ำใต้ดิน (ปรับปรุงจากประกอบ วิโรจนกูฏ, 2543)

ระบบน้ำผิวดินและน้ำใต้ผิวดินจะเชื่อมโยงกันได้ผ่าน:
▪ กระบวนการซึมลง ในบริเวณที่ชั้นน้ำใต้ดินโผล่ขึ้นสู่ระดับผิวดิน → เกิดเป็นพื้นที่อัดเสริมของน้ำ
ใต้ดิน (Recharge Area)
▪ การคายระเหย = กระบวนการที่น้ำใต้ผิวดินซึมขึ้นสู่ผิวดิน แล้วระเหยคู่กับการคายน้ำของพืช
ออกสู่บรรยากาศ
▪ การไหลขึ้นสู่ผิวดิน เกิดจากการที่น้ำใต้ดินมีแรงดันอยู่ในระดับที่สูงกว่าผิวดินตรงจุดที่ชั้นน้ำใต้ดิน
โผล่ขึ้นสู่ผิวดิน เกิดเป็นน้ำพุที่ไหลเข้าลำน้ำ, หนอง, บึง ฯลฯ

ระดับน้ำใต้ดินจะสูงขึ้น → ระยะทางห่างออกไปจากแหล่งน้ำ
ระดับน้ำใต้ดิน < ระดับน้ำในแหล่งน้ำ (ลำน้ำ) → ลำน้ำจะไหลเสริม/ซึมออกจากลำน้ำ เพื่อเพิ่มปริมาณ
น้ำใต้ดิน (Influent stream)
ระดับน้ำใต้ดิน > ระดับน้ำในแหล่งน้ำ (ลำน้ำ) → น้ำใต้ดินจะไหลเสริมเข้าลำน้ำ (Effluent stream)

4.3 คุณสมบัติของชั้นให้น้ำใต้ดินที่มีผลต่อน้ำใต้ดิน
น้ำใต้ดิน → แผ่กระจายอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน /รอยหินแตกในเขตอิ่มตัวด้วยน้ำ → คุณสมบัติ
ของชั้นให้น้ำใต้ดิน จึงมีผลต่อปริมาณน้ำใต้ดิน
1) ความพรุน (Porosity)
อัตราส่วนระหว่างปริมาตรช่องว่าง (Void, Vv) ของดิน/หินที่มีรอยแตกต่อปริมาตรทั้งหมดของดิน/
หิน (V)
VV
n= ( 4.1)
V
บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 137

โดยที่ VV = ปริมาตรของช่องว่าง
V = ปริมาตรทั้งหมด

ตารางที่ 4.1 ค่าความพรุน (n) โดยประมาณของดินและหินชนิดต่างๆ

ชนิดของดินและหิน n, %
กรวด (Gravel) 25 – 40
ทราย (Sand) 25 – 40
ดินตะกอน (Silt) 35 – 50
ดินเหนียว (Clay) 40 – 70
หินบะซอลท์มีรอยแตก (Fractured basalt) 5 – 50
หินทราย (Sandstone) 5 – 30
หินปูน (Limestone , Dolomite) 0 – 20
หินดินดาน (Shale) 0 – 10
หินแข็ง (Dense crystalline rock) 0–5

2) ความซึมผ่านได้ (Hydraulic conductivity, K)


เป็นการยอมให้น้ำซึมผ่านช่องว่างระหว่างเม็ดดิน → ขึ้นอยู่กับขนาดของโพรง รูปร่างและลักษณะ
การเรียงตัวของเม็ดดิน
K สูง → น้ำไหลผ่านได้สะดวก → ชั้นดินจะให้น้ำได้มาก
K ต่ำ → น้ำไหลผ่านได้ช้า → ชั้นดินจะให้น้ำได้น้อย

ตารางที่ 4.2 ค่าความซึมผ่านได้ (K) ของดินและหินชนิดต่างๆ

ชนิดของดินและหิน K, m/day
ดินเหนียวที่อยู่ใกล้ผิวดิน (Clay near surface) 0.01 – 0.2
ดินเหนียวผสมกรวดทราย (Sandy clay) 0.001 – 0.1
ดินเหนียวที่อยู่ลึก (Deep clay beds) 10-8 – 10-2
ดินร่วน (Loam soils) 0.1 – 1
ดินทรายละเอียด (Fine sand) 1–5
ดินทรายปานกลาง (Medium sand) 5 – 20
ดินทรายหยาบ (Coarse sand) 20 – 100
กรวด (Gravel) 100 – 1,000
กรวดผสมทราย (Sand and gravel mixes) 5 – 100
หินทราย (Sandstone) 0.001 – 1
หินปูนมีรอยแตก (Carbonate rock) 0.01 – 1
หินดินดาน (Shale) 10-7
หินแข็ง (Dense solid rock) < 10-5
หินที่มีรอยแตก (Fracture rock) 0.001 – 10
EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 138

4.4 กฎการไหลผ่านตัวกลางพรุน (Darcy’s Law)


Henry Darcy ได้ ท ดลองการไหลของน้ ำ ใต้ ดิ น โดยใช้ เครื่ อ งมื อ ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยท่ อ ใสบรรจุ ดิ น ที่ มี
พื้นที่หน้าตัด A มีความยาว L โดยมีแผ่นหินพรุนกั้นดินทั้ง 2 ด้าน

รูปที่ 4.5 การทดลองการไหลของน้ำใต้ดิน (ปรับปรุงจากกีรติ ลีวัจนกุล, 2543)

จากการทดลอง → อัตราการไหลต่อพื้นที่หน้าตัดของตัวกลางพรุน (q) เปลี่ยนแปลงกับความแตกต่างของ


Hydraulic head (h) และเปลี่ยนแปลงผกผันกับระยะทางของการไหล (L) และสามารถเขียนเป็นสมการ
ได้ดังนี้

h
q = −K ( 4.2 )
L

h
Q = −KA ( *)
L

เครื่องหมายลบ → น้ำไหลไปในทิศทางที่แรงขับลดลง

โดยที่ K = คุณสมบัติของตัวกลางพรุน (Hydraulic conductivity)


q = อัต ราการไหลผ่ านต่ อพื้ น ที่ ห น้ าตัด ของตัว กลางพรุน = อั ตราการไหลเฉลี่ ย →
“Specific discharge”
h/L = ความลาดชลศาสตร์ (Hydraulic gradient) = ความลาดของระดับน้ำใต้ดิน

ความเร็วของการไหลที่คำนวณจากสมการ (*) → ความเร็วเฉลี่ย = “ความเร็วดาร์ซี่” แต่ความเร็วที่น้ำ


ไหลผ่านช่องว่างระหว่างเม็ดดินจริงๆ สามารถหาได้จากสมการ

q
v= ( 4.3)
n

โดยที่ n = ความพรุน (Porosity)


บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 139

▪ จากรูป Hydraulic head (h) = ความสูงของระดับน้ำ → พลังงานต่อหน่วยน้ำหนักของน้ำ


 v2 
▪ Velocity head  2 g  มีค่าน้อยมากจนสามารถตัดทิ้งได้ → การไหลของน้ำใต้ดินมีความเร็ว
 
การไหล (v) น้อยมาก
▪ ค่า Hydraulic head จึ งเหลื อส่ วนประกอบเพี ยงส่ ว นคือ Elevation head (z) และ Pressure
P
head  
 
P
h =z+ ( 4.4)

กฎของดาร์ซี่จะใช้ได้เมื่อการไหลเป็นแบบราบเรียบ (Reynolds number  1) → ใช้ไม่ได้ในที่ที่มีความ


ลาดชลศาสตร์มาก (บริเวณใกล้ขอบบ่อน้ำที่กำลังสูบน้ำออก)

ทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน
การไหลของน้ำใต้ดิน = การไหลซึมอย่างช้าๆ → การไหลแบบราบเรียบ (Laminar flow) → เขียนทิศ
ทางการไหลได้ โดยการเขียนตาข่ายการไหล (Flow net) ดังรูปที่ 4.6

รูปที่ 4.6 ตาข่ายการไหล (ปรับปรุงจากกีรติ ลีวัจนกุล, 2543)

จากรู ป เส้ น ศั ก ย์ ค วามดั น เท่ า กั น , Equipotential lines = บริ เวณแนวเส้ น ที่ มี ค วามดั น ชลศาสตร์
P
(Hydraulic head, h) เท่ากัน = (Pressure head,   ) + (Elevation head, z)

EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 140

รูปที่ 4.7 ตัวอย่างระดับน้ำใต้ดินในบ่อน้ำบาดาล (กีรติ ลีวัจนกุล, 2543)

น้ำจะไหลจากบริเวณที่มีเส้ น ศักย์ความดันเท่ากันสู ง → ที่ต่ำกว่า → ไหลจากบริเวณ h + 3h ไปสู่


บริเวณ h + 2h โดยที่ h คือ ผลต่างของเส้นศักย์ความดัน 2 เส้นที่อยู่ใกล้กัน → เส้นแนวการไหล (Flow
lines) = ทิศทางการไหลตั้งฉากกับเส้นศักย์ความดันเท่ากันเป็นตาข่ายการไหล

รูปที่ 4.8 ตาข่ายการไหลของรูปที่ 4.7 (กีรติ ลีวัจนกุล, 2543)

อัตราการไหลทั้งหมด → พื้นฐานสมการของดาร์ซี่

M
Q= KH (**)
N

โดยที่ Q = อัตราการไหลทั้งหมด
M = จำนวนช่องของการไหล
N = จำนวนช่องของเส้นศักย์ความดันเท่ากัน
K = คุณสมบัติของตัวกลางพรุน (Hydraulic conductivity)
H = ผลต่างของเส้นศักย์ความดันเท่ากัน
บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 141

ตัวอย่างที่ 4.1: ถังกรองทรายมีพื้นที่หน้าตัด 4 m2 บรรจุทรายที่มีค่า Hydraulic conductivity (K) = 0.65


cm/s สูง 1 m ถ้าวัดผลต่างของระดับน้ำได้ 0.8 m จงหาอัตราการไหลผ่านถังกรองทรายใบนี้

วิธีทำ หาอัตราการไหล

h  m  0.8 m  3
=  0.65  10−2   ( 4 m 2 )  
m
Q = KA  = 0.0208
L  s  1m  s

 น้ำผ่านถังกรองทรายมีอัตราการไหล = 0.0208 m3/s ตอบ

ตัวอย่างที่ 4.2: เมื่อเจาะบ่อน้ำบาดาล 2 บ่อ ห่างกัน 500 m จนถึงชั้นให้น้ำบาดาลที่มีความหนาประมาณ 20


m พบว่าระดับน้ำในบ่อบาดาลต่างกัน 2 m จงหาอัตราการไหลต่อความกว้างที่ตั้งฉากกับทิศทางการไหล 1 m
โดยกำหนดให้ค่า Hydraulic conductivity (K) ของชั้นให้น้ำบาดาล = 50 m/day

วิธีทำ ความลาดชลศาสตร์ (h/L) = 2/500 = 0.004


ใช้สมการของดาร์ซี่ สำหรับหาอัตราการไหลต่อความกว้าง 1 m

h  m 
Q = KA =  50   ( 20 m  1 m )  ( 0.004 ) = 4 m / day / m
3

L  day 

 อัตราการไหลต่อความกว้าง 1 m = 4 m3/day/m ตอบ


EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 142

4.5 การไหลคงที่ของน้ำใต้ดินเข้าบ่อบาดาล
การไหลคงที่ของน้ำใต้ดิน (Steady groundwater flow) เข้าบ่อบาดาลแยกวิเคราะห์ได้ 2 กรณี คือ
▪ กรณีชั้นให้น้ำใต้ดินอิสระ (Unconfined aquifer)
▪ กรณีชั้นให้น้ำบาดาล (Confined aquifer)

4.5.1 กรณีชั้นให้น้ำใต้ดินอิสระ (Unconfined aquifer)


เมื่อมีการสูบน้ำใต้ดินจากบ่อบาดาล (Deep well) ด้วยอัตราการสูบ Q คงที่ → มีการไหลซึมของ
น้ำใต้ดินเข้าสู่บ่อสูบทุกทิศทางตามแนวรัศมีของวงกลม = การไหลตามแนวรัศมี (Radial flow) → ทำให้
ร ะ ดั บ น้ ำ ใ ต้ ดิ น (Water table) ค่ อ ย ๆ ล ด ร ะ ดั บ ล ง เกิ ด เป็ น ก ร ว ย น้ ำ ล ด (Cone of
depression/Drawdown curve)

รูปที่ 4.9 การไหลของน้ำใต้ดินในชั้นให้น้ำใต้ดินอิสระ (กีรติ ลีวัจนกุล, 2543)


พิจารณาที่รัศมีใดๆ มีระดับน้ำใต้ดินขณะสูบ อัตราการสูบ Q จะมีค่าเท่ากับ

h 22 − h12
Q = K (***)
r 
ln  2 
 r1 

โดยที่ Q = อัตราการสูบ
h1, h2 = ระดับน้ำใต้ดินของบ่อสังเกตการณ์ที่ 1 และ 2
r1, r2 = รัศมีจากบ่อสูบถึงบ่อสังเกตการณ์ที่ 1 และ 2
K = ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน
ในกรณีที่มีบ่อสังเกตการณ์ 1 บ่อ ที่รัศมี r ใดๆ สามารถหาอัตราการสูบได้จากการกำหนดให้ h1 =
hw, h2 = h, r1 = rw และ r2 = r อัตราการสูบ Q จะมีค่าเท่ากับ
h 2 − h 2w
Q = K (****)
 r 
ln  
 rw 
บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 143

ตัวอย่างที่ 4.3: บ่อน้ำบาดาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 30 cm เจาะผ่านชั้นให้น้ำใต้ดินอิสระจนถึงชั้นหิน


แข็ง ถ้าระดับน้ำในบ่อน้ำบาดาลลึก 40 m มีระดับเท่ากับระดับน้ำใต้ดินพอดี หลังจากสูบน้ำจากบ่อน้ำบาดาลนี้
ด้วยอัตราการสูบคงที่ 1,500 litre/min พบว่า ในบ่อสังเกตการณ์ที่อยู่ห่างจากบ่อสูบ 25 m และ 75 m วัด
ระดับน้ำลดได้ 3.5 m และ 2.0 m ตามลำดับ จงหา ก) ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน ข) ระยะน้ำลดในบ่อสูบ

วิธีทำ (ก) ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน


▪ อัตราการสูบ = 1,500 litre/min (เปลี่ยนหน่วยจาก litre/min → m3/s)

Q = 1,500 litre / min


 litre   1 m   1 min 
3
= 1,500    
 min   1, 000 litre   60 sec 
= 0.025 m3 / s

▪ ค่าระดับน้ำใต้ดินของบ่อสังเกตการณ์ที่ 1 และ 2 (h1, h2)


บ่อสังเกตการณ์ที่ 1: h1 = ระดับน้ำใต้ดินเดิม – ระดับน้ำลด
= 40 – 3.5 = 36.5 m
บ่อสังเกตการณ์ที่ 2: h2 = 40 – 2.0 = 38.0 m

▪ หาค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน จากสมการที่ (***)


h 22 − h12
Q = K
r 
ln  2 
 r1 
r  m3  75 
Q  ln  2  0.025  ln  
K=  r1  = s  25  = 7.823  10 −5 m/s
  ( h 2 − h1 )   ( 38.0 − 36.52 ) m 2
2 2 2

 ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน (K) = 7.823x10-5 m/s ตอบ


EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 144

(ข) ระยะน้ำลดในบ่อสูบ (เปรียบเทียบระยะน้ำลดในบ่อสูบกับบ่อสังเกตการณ์ที่ 1)


เนื่องจากมีบ่อสังเกตการณ์ 1 บ่อ ดังนั้นจึงเลือกใช้สมการที่ (****)
โดยที่ h = 36.5 m, r = 25 m, rw = 0.15 m

h 2 − h 2w
Q = K
 r 
ln  
 rw 
 
 36.52 − h 2 
=   ( 7.823  10−5 )  
3
m w 
0.025
s   25  
 ln  0.15  
   
h w = 28.49 m

แสดงว่าระดับน้ำในบ่อสูบ (hw) = 28.49 m ดังนั้นระยะน้ำลดในบ่อสูบ (yw) สามารถหาได้จาก

y w = 40 − h w
= 40 − 28.49
= 11.51 m

 ระยะน้ำลดในบ่อสูบ (yw) = 11.51 m ตอบ


บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 145

4.5.2 กรณีชั้นให้น้ำบาดาล (Confined aquifer)


ชั้นให้น้ำบาดาลจะมีลักษณะการไหลซึมเข้าสู่บ่อบาดาลในแนวราบ ถ้ามีการสูบน้ำจากบ่อบาดาล
ด้วยอัตราการไหล Q คงที่ จะเกิดการไหลซึมเข้าสู่บ่อน้ำบาดาลในชั้นให้น้ำบาดาลหนา D เป็นผลให้ระดับ
ความดันน้ำ (Piezometric head) ลดระดับลงเป็นรูปกรวยน้ำลด

รูปที่ 4.10 การไหลของน้ำใต้ดินในชั้นให้น้ำบาดาล (กีรติ ลีวัจนกุล, 2543)

พิจารณาที่รัศมี r ใดๆ จากบ่อน้ำบาดาล ซึ่งมีระดับความดันของน้ำใต้ดิน h → คำนวณหาอัตรา


การสูบ Q ได้ดังสมการ

h 2 − h1
Q = 2KD (1)
r 
ln  2 
 r1 

โดยที่ Q = อัตราการสูบ
h1, h2 = ระดับน้ำใต้ดินของบ่อสังเกตการณ์ที่ 1 และ 2
r1, r2 = รัศมีจากบ่อสูบถึงบ่อสังเกตการณ์ที่ 1 และ 2
K = ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน
D = ความหนาของชั้นให้น้ำบาดาล

เมื่อกำหนดให้ T คือ สั มประสิทธิ์การไหลผ่ าน (Coefficient of transmissibility) และสามารถ


คำนวณได้จาก

T = KD

K
( h1 + h 2 )
2
EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 146

เมื่อกำหนดให้ y1 และ y2 คือ ระยะน้ำลดในบ่อสังเกตการณ์ที่มีรัศมี r1 และ r2 หรือ y1 = H – h1


และ y2 = H – h2 สมการที่ (1) จะเขียนได้เป็น

y 2 − y1
Q = 2T ( 2)
r 
ln  2 
 r1 

ถ้ า กำหนดให้ ที่ รั ศ มี อิ ท ธิ พ ล (Radius of influence) r2 = R ซึ่ ง เป็ น บริ เวณที่ ไม่ มี ผ ลกระทบ
เนื่องจากการสูบน้ำบาดาล → ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำใต้ดิน (y = 0) และระดับน้ำสูง H → r1 = rw,
r2 = R, y1 = yw และ y2 = 0 สมการที่ (2) จะเขียนได้เป็น

2Ty w
Q= ( 3)
R
ln  
 rw 

ในการเจาะน้ำบาดาล → ขอบเขตการให้น้ำใต้ดินตามสภาพทางธรณีวิทยาของชั้นให้น้ำใต้ดิน เมื่อ


สูบน้ำขึ้นมา → ระดับน้ำใต้ดินจะลดลงตามแนวรัศมีเข้าหาบ่อน้ำบาดาล

รัศมีที่ห่างจากบ่อน้ำบาดาลที่ไม่ทำให้ระดับน้ำใต้ดินลดลง = รัศมีอิทธิพล (Radius of influence,


re) → ระยะของรัศมีอิทธิพลขึ้นอยู่กับชนิดของดิน/หินและชนิดของชั้นให้น้ำ (ชั้นให้น้ำใต้ดินอิสระ/ชั้นให้
น้ำบาดาล)

รัศมีอิทธิพล → กำหนดระยะห่างระหว่างบ่อน้ำบาดาล/ขอบเขตของบ่อน้ำบาดาลไม่ให้กระทบต่อ
การใช้น้ำ
บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 147

ตัวอย่างที่ 4.4: บ่อน้ำบาดาลแห่งหนึ่ง มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 30 cm เจาะผ่านชั้นให้น้ำบาดาลหนา 20


m มีค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน 45 m/day ถ้ารัศมีอิทธิพลอยู่ห่างจากบ่อน้ำบาดาลนี้ 300 m จงหาว่าจะต้อง
สูบน้ำบาดาลด้วยอัตราการสูบเท่าไร จึงทำให้ระดับน้ำในบ่อน้ำบาดาลลดลง 3 m

วิธีทำ โจทย์กำหนด: rw = 0.30/2 = 0.15 m, R = 300 m, yw = 3 m, D = 20 m

▪ ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน 45 m/day

 m   1 day   1 hr   1 min  −4
K = 45 m / day = 45      = 5.208  10 m / s
 day   24 hr   60 min   60 sec 

▪ ค่าสัมประสิทธิ์การไหลผ่าน (T)

T = KD = ( 5.208 10−4 m / s )  ( 20 m ) = 10.416 10−3 m 2 / s

▪ ค่าอัตราการสูบ คำนวณได้จากสมการที่ (3)

2Ty w
Q=
R
ln  
 rw 
2  (10.416  10−3 m 2 / s )  ( 3m )
=
 300 m 
ln  
 0.15 m 
= 0.02583 m3 / s
 m3   1, 000 litre   60 s 
=  0.02583   
 s   1 m 3   1 min 
= 1,550 litre / min
EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 148

4.6 การไหลไม่คงที่ของน้ำใต้ดินเข้าบ่อบาดาล
การไหลซึมของน้ำใต้ดินเข้าสู่บ่อบาดาลจะเป็นการไหลไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำในบ่อน้ำบาดาล
ตามเวลา ดังนั้นถ้าพิจารณาบ่อน้ำบาดาลแห่งหนึ่ง เมื่อมีการสูบน้ำออกจากบ่อน้ำบาดาลด้วยอัตราการสูบ Q
คงที่ เป็นเวลา t จะทำให้ระดับน้ำใต้ดินที่รัศมี r ใดๆ มีระยะน้ำลด = y

รูปที่ 4.11 การไหลไม่คงที่ของน้ำใต้ดินเข้าบ่อบาดาล (กีรติ ลีวัจนกุล, 2543)

โดยมีสมการการไหลไม่คงที่เข้าบ่อน้ำบาดาลในชั้นให้น้ำบาดาลดังแสดงในสมการที่ (4)

 2 h 1  h  Sc  h 
+  =   ( 4)
r 2 r  r  T  t 

วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์การไหลไม่คงที่ในบ่อน้ำบาดาลที่นิยมใช้ในงานโดยทั่วไปมี 3 วิธีคือ
▪ วิธีของ Theis
▪ วิธีของ Cooper – Jacob
▪ วิธีของ Chow

4.6.1 วิธีของ Theis


Theis ได้แก้สมการที่ (4) โดยคิดว่าที่เวลา t = 0 มีระดับน้ำใต้ดินสูง h = H และที่เวลา t  0 ที่
รัศมี  มีระดับน้ำใต้ดินสูง h = H เช่นกัน จะได้

ระยะน้ำลด:

Q e− u
( 5)
4T u u
y= du

โดยที่ u = ตัวแปรไร้มิติ ซึ่งมีค่าเท่ากับ

r 2Sc
u= ( 6)
4Tt
บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 149

เมื่อให้ Sc = ค่าสัมประสิทธิ์การเก็บกัก (Storage coefficient) → ปริมาตรน้ำที่ชั้นให้น้ำบาดาล


จะให้ได้ต่อ 1 หน่วยพื้นที่ผิวต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ 1 หน่วย

ถ้าให้ฟังก์ชั่นบ่อ (Well function) คือ



e− u
W ( u ) =  du (7)
u
u

แทนค่าสมการที่ (7) ลงในสมการที่ (5) จะได้


ระยะน้ำลด
Q
y= W (u) (8)
4T

สมการที่ (8) = สมการระยะน้ ำลดที่ เปลี่ ยนแปลงตามเวลา/สมการไม่ ส มดุล ของบ่อ น้ำบาดาล


สามารถเขียนเป็นสมการอนุกรมได้ดังนี้

Q  u2 u3 
y=  −0.5772 − ln u + u − + − ... (9)
4T  2  2! 3  3! 

 u2 u3 
W ( u ) =  −0.5772 − ln u + u − + − ... (10 )
 2  2! 3  3! 

สมการที่ (10) สามารถเขียนเป็นตารางสำหรับหาฟังก์ชั่นบ่อ W(u) เมื่อรู้ค่า u ได้ดังตารางที่ 4.3

ตารางที่ 4.3 การหาฟังก์ชั่นบ่อ W(u) เมื่อรู้ค่า u


U 1 2 3 4 5 6 7 8 9
x1 0.219 0.049 0.013 0.0038 0.0011 0.00036 0.00012 0.000038 0.000012
x 10 -1 1.82 1.22 0.91 0.70 0.56 0.45 0.37 0.31 0.26
x 10 -2 4.04 3.35 2.96 2.68 2.47 2.30 2.15 2.03 1.92
x 10 -3 6.33 5.64 5.23 4.95 4.73 4.54 4.39 4.26 4.14
x 10 -4 8.63 7.94 7.53 7.25 7.02 6.84 6.69 6.55 6.44
x 10 -5 10.94 10.24 9.84 9.55 9.33 9.14 8.99 8.86 8.74
x 10 -6 13.24 12.55 12.14 11.85 11.63 11.45 11.29 11.16 11.04
x 10 -7 15.54 14.85 14.44 14.15 13.93 13.75 13.60 13.46 13.34
x 10 -8 17.84 17.15 16.74 16.46 16.23 16.05 15.90 15.76 15.65
x 10 -9 20.15 19.45 19.05 18.76 18.54 18.35 18.20 18.07 17.95
x 10 -10 22.45 21.76 21.35 21.06 20.84 20.66 20.50 20.37 20.25
x 10 -11 24.75 24.06 23.65 23.36 23.14 22.96 22.81 22.67 22.55
x 10 -12 27.05 26.36 25.96 25.67 25.44 25.26 25.11 24.97 24.86
x 10 -13 29.36 28.66 28.26 27.97 27.75 27.56 27.41 27.28 27.16
x 10 -14 31.66 30.97 30.56 30.27 30.05 29.87 29.71 29.58 29.46
x 10 -15 33.96 33.27 32.86 32.58 32.35 32.17 32.02 31.88 31.76
EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 150

สมการที่ (10) สามารถเขียนเป็นตารางสำหรับหาฟังก์ชั่นบ่อ W(u) เมื่อรู้ค่า u ได้ดังตารางที่ 4.3

วิธีของ Theis สามารถหาค่าสัมประสิทธิ์การเก็บกัก (Sc) และค่าสัมประสิทธิ์การไหลผ่าน (T) ได้


จากสมการ

ระยะน้ำลด

Q
y= W (u) (11)
4T

และจากสมการที่ (6) จัดรูปใหม่ จะได้

r2  4 T 
= u (12 )
t  Sc 

จากสมการที่ (11) และ (12) พบว่า เมื่อ Q, T และ Sc =ค่าคงที่ → ความสัมพันธ์ระหว่าง W(u)
และ u คล้ ายกับ ความสั มพั น ธ์ร ะหว่าง y และ r2/t → หาค่า Sc และ T ได้ โดยการเขี ยนกราฟ ตาม
ขั้นตอนดังแสดงในรูป

รูปที่ 4.12 ลักษณะการทาบโค้งแบบอย่างและโค้งข้อมูล (กีรติ ลีวัจนกุล, 2543)


บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 151

ขั้นตอนการหาค่า Sc และ T โดยวิธีของ Theis:


จากสมการที่ (11) และ (12) พบว่า เมื่อ Q, T และ Sc =ค่าคงที่ → ความสัมพันธ์ระหว่าง W(u)
และ u คล้ ายกับ ความสั มพั น ธ์ร ะหว่าง y และ r2/t → หาค่า Sc และ T ได้ โดยการเขี ยนกราฟ ตาม
ขั้นตอนดังแสดงในรูป
1) ข้อมูลที่ต้องใช้:
- อัตราการสูบจากบ่อน้ำบาดาล Q (คงที)่
- รัศมีจากบ่อน้ำบาดาลถึงบ่อสังเกตการณ์ r (คงที่)
- ผลการวัดค่าระยะน้ำลด y ที่บ่อสังเกตการณ์ที่เวลา t
2) คำนวณอัตราส่วน r2/t ที่เวลา t ต่างๆ
3) เขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างฟังก์ชั่นบ่อ W(u) กับตัวแปรไร้มิติ u ลงบนกระดาษกราฟเลข
ยกกำลัง (Logarithmic paper) โดยอาศัยค่า W(u) และ u จากตารางที่ 4.3 เขียนกราฟโค้ง
แบบอย่าง (Type curve)
4) ใช้กระดาษกราฟใสเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างระยะน้ำลด y กับอัตราส่วน r2/t ที่เวลา t
ต่างๆ จะได้กราฟโค้งข้อมูล (Data curve)
5) นำกราฟโค้งข้อมูลไปทาบกับกราฟโค้งแบบอย่าง โดยพยายามให้แกน x – y ของกราฟทั้งสอง
ขนานกัน แล้วขยับกราฟโค้งข้อมูลขึ้นลงหรือซ้ายขวาจนกว่าจะได้ตำแหน่งที่กราฟโค้งข้อมูลทับ
กับกราฟโค้งแบบอย่างบางส่วนให้มากที่สุด จะได้จุดสัมผัส (Match point) P
6) จากจุดสัมผัส P สามารถอ่านค่า W(u), y, r2/t และ u
7) แทนค่ า W(u) ลงในสมการที่ (11) โดยรู้ ค่ า Q จากข้ อ มู ล เบื้ อ งต้ น จะสามารถคำนวณค่ า
สัมประสิทธิ์การไหลผ่าน T ได้
8) แทนค่า r2/t และ u ที่อ่านได้จากกราฟลงในสมการที่ (12) โดยรู้ค่า T จากข้อ 7 จะสามารถ
คำนวณค่าสัมประสิทธิ์การเก็บกัก Sc ได้

รูปที่ 4.13 การลงจุดโค้งต้นแบบ (Type curves) จากตารางที่ 4.3 (วิโรจน์ ชัยธรรม, 2539)
EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 152

ตัวอย่างที่ 4.5: บ่อน้ำบาดาลแห่งหนึ่ง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 m สูบน้ำขึ้นมาด้วยอัตราการสูบ 0.06 m3/s


ดังรูป สามารถวัดระยะน้ำลดจากบ่อสังเกตการณ์ที่อยู่ห่างจากบ่อน้ำบาดาล 20 m ได้ผลดังตาราง จงหา ก) หา
ค่าสัมประสิทธิ์การไหลผ่าน (T) ข) ค่าสัมประสิทธิ์การเก็บกัก (Sc) ค) ระยะน้ำลดที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำ
อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาครึ่งปี และ 1 ปี

ตารางแสดงผลการวัดระยะน้ำลดที่บ่อสังเกตการณ์
เวลา (hr) ระยะน้ำลด (m) เวลา (hr) ระยะน้ำลด (m)
0.25 0.10 4.00 1.39
0.50 0.29 5.00 1.55
0.75 0.44 6.00 1.66
1.00 0.58 7.00 1.78
1.50 0.80 8.00 1.84
2.00 1.00 9.00 1.92
3.00 1.20 10.00 2.00

วิธีทำ เมื่อ r = 20 m จากบ่อบาดาล สามารถคำนวณ r2/t ได้ดังตาราง


เวลา (hr) ระยะน้ำลด (m) r2/t (m2/day)
0.25 0.10 38,400
0.50 0.29 19,200
0.75 0.44 12,800
1.00 0.58 9,600
1.50 0.80 6,400
2.00 1.00 4,800
3.00 1.20 3,200
4.00 1.39 2,400
5.00 1.55 1,920
6.00 1.66 1,600
7.00 1.78 1,371
8.00 1.84 1,200
9.00 1.92 1,067
10.00 2.00 960
บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 153

- นำค่า r2/t และระยะน้ ำลด y มาเขียนกราฟความสั มพันธ์ แล้ วนำไปทาบกับกราฟความสัมพันธ์


ระหว่าง u กับ W(u)

จากกราฟจะได้ : u = 0.20, W(u) = 1.22, y = 0.84 m และ r2/t = 6,000 m2/day

ก) จงหาค่าสัมประสิทธิ์การไหลผ่าน (T) จากสมการที่ (8)

Q
y= W (u)
4T
Q
T= W (u)
4y
 0.06 m3 / s 
=   1.22
 4    0.84 m 
 m3 
= 0.00693 m / s / m = 0.00693  s
3    60  60  24 s  = 598.75 m3 / day / m
 m   1 day


 

ข) จงหาค่าสัมประสิทธิ์การเก็บกัก (Sc) จากสมการที่ (6)

r 2Sc
u =
4Tt
4Tu ( 4  598.75 m / day / m  0.20 )
3

Sc = 2 = = 0.08
r /t 6, 000 m 2 / day
EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 154

ค) จงหาระยะน้ำลดที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาครึ่งปี และ 1 ปี
• เมื่อเวลาผ่านไป ½ ปี หรือ 183 วัน ที่บ่อน้ำบาดาล (r = 0.25 m)
- หาค่า u จากสมการที่ (6)

r 2Sc
u=
4Tt

=
( 0.25 2
m 2  0.08 )
4  598.75 m3 / day / m  183 day
= 1.14  10−8

- นำค่า u ที่คำนวณได้ ไปเปิดตารางที่ 4.3 เมื่อ u = 1.14x10-8, W(u) = 17.74 และสามารถ


นำไปแทนในสมการที่ (8)
Q
y= W (u)
4T
 0.06 m3 / s 
=   17.74
 4    0.00693 m / s / m 
3

= 12.22 m

 ระยะน้ำลดที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ½ ปี มีค่าเท่ากับ 12.22 m ตอบ

• เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี หรือ 365 วัน ที่บ่อน้ำบาดาล (r = 0.25 m)


- หาค่า u จากสมการที่ (6)
r 2Sc
u=
4Tt

=
( 0.25 2
m 2  0.08 )
4  598.75 m 3 / day / m  365 day
= 5.72  10−9

- นำค่า u ที่คำนวณได้ ไปเปิดตารางที่ 4.3 เมื่อ u = 5.72x10-9 , W(u) = 18.40 และสามารถ


นำไปแทนในสมการที่ (8)
Q
y= W (u)
4T
 0.06 m3 / s 
=   18.40
 4    0.00693 m / s / m 
3

= 12.68 m

 ระยะน้ำลดที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี มีค่าเท่ากับ 12.68 m ตอบ


บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 155

4.6.2 วิธีของ Cooper – Jacob


Cooper – Jacob สามารถหาค่า Sc และ T ได้จากการพิจารณาตัวแปรต่างๆ ในตัวแปรไร้มิติ จาก
สมการที่ (6)

r 2 Sc
u=
4Tt

สมการที่ (6) เมื่อ Sc และ T คงที่ สำหรับค่า r น้อยๆ และ t มากๆ จะมีผลทำให้ตัวแปรไร้มิติมีค่า
น้อยมาก ซึ่งวิธีของ Cooper – Jacob จะกำหนดค่าตัวแปรไร้มิติในกรณี u มีค่าน้อย (u < 0.01) จะทำ
ให้เทอมขวามือของฟังก์ชั่นบ่อ (สมการที่ 10) เหลือเพียง 2 เทอมแรก คือ

ฟังก์ชั่นบ่อ

W ( u ) = −0.5772 − ln u (13)

แทนค่า W(u) ลงในสมการที่ (9) จะได้

ระยะน้ำลด
Q
y= ( −0.5772 − ln u ) (14 )
4T

แทนค่า u จากสมการที่ (6) ลงในสมการที่ (14) จะได้

ระยะน้ำลด

Q   r 2Sc  
y=  − 0.5772 − ln   (15)
4T   4Tt  

เมื่อสู บ น้ ำจากบ่ อน้ ำบาดาลด้ว ยอัตราการสู บ Q (คงที่ ) และบ่อสั งเกตการณ์ อยู่ห่ างจากบ่อน้ ำ
บาดาล r (คงที่) โดยมี T กับ Sc คงที่ ดังนั้น
• ที่เวลา t1 บ่อสังเกตการณ์มีระยะน้ำลด คือ

ระยะน้ำลด

Q   r 2Sc  
y1 =  −0.5772 − ln   (16 )
4T   4Tt1  
EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 156

• ที่เวลา t2 บ่อสังเกตการณ์มีระยะน้ำลด คือ

ระยะน้ำลด

Q   r 2Sc  
y2 =  −0.5772 − ln   (17 )
4T   4Tt 2  

เมื่อ t2 > t1 ดังนั้นระยะน้ำลด y2 > y1

ผลต่างของระยะน้ำลด

y = y 2 − y1
Q   r 2Sc   r 2Sc  
= ln   − ln  
4T   4Tt1   4Tt 2  
Q t 
= ln  2  (18)
4T  t1 

เปลี่ยนจาก ln เป็น log

2.3Q t 
y = log  2  (19 )
4T  t1 

2.3Q
สมการที่ (19) จะเห็ น ได้ ว่ า เมื่ อ 4T เป็ น ค่ า คงที่ ดั ง นั้ น เมื่ อ นำระยะน้ ำ ลด y ของบ่ อ
สังเกตการณ์ที่เวลา t ต่างๆ มาเขียนกราฟกึ่งเลขยกกำลัง (Semilogarithmic graph) จะได้กราฟเส้นตรงดังรูป

รูปที่ 4.14 ความสัมพันธ์ระหว่างระยะน้ำลดกับเวลา (วิโรจน์ ชัยธรรม, 2539)


บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 157

จากรูปและสมการที่ (19) จะเห็นได้ว่า

ความลาด (Slope);

y 2.3Q
m= = ( 20 )
 t  4T
log  2 
 t1 

จากสมการที่ (20) ค่าสัมประสิทธิ์การไหลผ่าน (T) หาได้จาก

2.3Q t 
T= log  2  ( 21)
4y  t1 

ในทางปฏิบัติแล้ว เพื่อความสะดวกในการคำนวณ มักจะพิจารณาแกนเวลาที่ 1 รอบของ log เช่น


ที่ t2 = 100 min t1 = 10 min

t   100 
log  2  = log   =1 ( 22 )
 t1   10 

แทนค่าสมการที่ (22) ลงในสมการที่ (21) จะได้

2.3Q
T= ( 23)
4y

สำหรับค่าสัมประสิทธิ์การเก็บกัก (Sc) สามารถหาได้จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างระยะน้ำลด y


ของบ่อสังเกตการณ์ที่เวลา t ต่างๆ เมื่อต่อเส้นตรงของกราฟลงไปตัดกับแกนเวลาจะได้ t 0 ณ ระดับที่ไม่มีระยะ
น้ำลด (y = 0) นั่นคือ เมื่อแทนค่า y = 0 และเวลา t = t 0 ในสมการที่ (15) จะได้

Q   r 2Sc  
0=  −0.5772 − ln  
4T   4Tt 0  

2.25Tt 0
Sc = ( 24 )
r2
EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 158

ตัวอย่างที่ 4.6: จากข้อมูลในตัวอย่างที่ 4.6 ใช้วิธีของ Cooper – Jacob สำหรับ ก) หาค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ ก าร
ไหลผ่าน (T) ข) หาค่าสัมประสิทธิ์การเก็บกัก (Sc) ค) หาระยะน้ำลดที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำอย่างต่อเนื่อง
เป็นเวลา ½ ปี และ 1 ปี
วิธีทำ ก) ค่าสัมประสิทธิ์การไหลผ่าน (T)
• เขียนกราฟกึ่งเลขยกกำลังระยะน้ำลด y และเวลาตั้งแต่เริ่มสูบน้ำ t

จากรูป ช่วงระหว่างเวลา t = 1 hr ถึง t = 10 hr มีการเปลี่ยนแปลงระยะน้ำลด y = 1.48 m

• ค่าสัมประสิทธิ์การไหลผ่าน (T) หาได้จากสมการที่ (23)

2.3Q
T=
4y
2.3  ( 0.06 m 3 / s )
=
4  (1.48 m )
= 0.0074 m 3 / s / m
 m3 / s   60  60  24 s 
= 0.0074   
 m   1 day 
= 639.36 m / day / m
3

ข) ค่าสัมประสิทธิ์การเก็บกัก (Sc)
จากรูป ที่ y = 0; ค่า t0 = 0.44 hr แทนค่าลงในสมการที่ (24)
บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 159

2.25Tt 0
Sc =
r2

=
(
2.25  ( 639.36 m3 / day / m )  0.44 hr  1 day
24 hr )
( 20 )
2
m2
= 0.066

ค) ระยะน้ำลดที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาครึ่งปี และ 1 ปี
• เมื่อเวลาผ่านไป ½ ปี หรือ 183 วัน ที่บ่อน้ำบาดาล (r = 0.25 m) ระยะน้ำลดสามารถหาได้
จากสมการที่ (15)

Q   r 2Sc  
y=  −0.5772 − ln  
4T   4Tt  
0.06   ( 0.25 )  0.066
2

=   −0.5772 − ln  
4  0.0074   4  0.0074  183  86, 400  
  
= 11.60 m

 ระยะน้ำลดที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ½ ปี มีค่าเท่ากับ 11.60 m ตอบ

• เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี หรือ 365 วัน ที่บ่อน้ำบาดาล (r = 0.25 m) ระยะน้ำลดสามารถหาได้จาก


สมการที่ (15)

Q   r 2Sc  
y=  − 0.5772 − ln  
4T   4Tt  
0.06   ( 0.25 )  0.066
2

=   −0.5772 − ln  
4  0.0074   4  0.0074  365  86, 400  
  
= 12.00 m

 ระยะน้ำลดที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี มีค่าเท่ากับ 12.00 m ตอบ


EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 160

4.6.3 วิธีของ Chow


คำนวณหาค่า Sc และ T โดยไม่มีข้อจำกัดในกรณี ที่รัศมี r น้อย และเวลา t มาก โดยมีขั้นตอน
ดังต่อไปนี้
1) ข้อมูลที่ต้องใช้ประกอบด้วย
- อัตราการสูบน้ำจากบ่อน้ำบาดาล
- รัศมีจากบ่อน้ำบาดาลถึงบ่อสังเกตการณ์ r คงที่
- ผลการวัดค่าระยะน้ำลด y ที่บ่อสังเกตการณ์ที่เวลา t
2) เขียนกราฟกึ่งเลขยกกำลัง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะน้ำลด y และเวลา t โดยให้ระยะ
น้ำลด y อยู่ในแนวแกน y เป็นสเกลปกติ และเวลา t อยู่ในแนวแกน x เป็นสเกลเลขยกกำลัง

ความสัมพันธ์ระหว่างระยะน้ำลดกับเวลา

3) หาจุดสัมผัสกราฟ P แล้วอ่านค่าระยะน้ำลด y และเวลา t จากกราฟ


4) ลากเส้นตรงสัมผัสกับจุด P ที่เลือกไว้
5) จากกราฟหาค่าผลต่างของระยะน้ำลด y ในช่วงเวลา 1 รอบของ log
6) คำนวณหาค่า F(u) จากสมการ

y
F(u) = ( 25)
y

โดยใช้ผลการอ่านค่าระดับน้ำลด y จากข้อ 3 และผลต่างของระยะน้ำลด y ที่ได้จากข้อ 5

7) นำค่า F(u) มาหาค่าฟังก์ชั่นบ่อ W(u) และตัวแปรไร้มิติ u จากรูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง


ค่า F(u), W(u) และ u
บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 161

ความสัมพันธ์ระหว่าง F(u), W(u) และ u

8) จากข้อมูลเบื้องต้น Q ฟังก์ชั่นบ่อ W(u) และระยะน้ำลด y สามารถคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การ


ไหลผ่าน T ได้ดังนี้

Q  W (u)
T= ( 26 )
4y

9) จากข้อมูลเบื้องต้นที่รัศมี r เวลา t ตัวแปรไร้มิติ u และค่าสัมประสิทธิ์การไหลผ่าน T สามารถ


คำนวณค่าสัมประสิทธิ์การเก็บกัก Sc ได้ดังนี้

4Ttu
Sc = ( 27 )
r2
EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 162

ตัวอย่างที่ 4.7: จากข้อมูลในตัวอย่างที่ 4.6 โดยใช้วิธีของ Chow สำหรับคำนวณ ก) หาค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ ก าร
ไหลผ่าน (T) ข) หาค่าสัมประสิทธิ์การเก็บกัก (Sc) ค) หาระยะน้ำลดที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำอย่างต่อเนื่อง
เป็นเวลา ½ ปี และ 1 ปี
วิธีทำ ก) ค่าสัมประสิทธิ์การไหลผ่าน (T)
• นำข้อมูลระยะน้ำลด y และเวลาตั้งแต่เริ่มสูบน้ำ t มาเขียนกราฟความสัมพันธ์ในรูปของกราฟ
กึ่งเลขยกกำลัง ดังรูป

ความสัมพันธ์ระหว่างระยะน้ำลดกับเวลา

จากรูป ที่จุดสัมผัส P ได้ค่า y = 1.4 m และ t = 3.9 hr โดยในช่วงระหว่างเวลา t = 1 hr ถึง t


= 10 hr มีการเปลี่ยนแปลงระยะน้ำลด y = 1.48 m → คำนวณค่า F(u) ได้จาก
y 1.4 m
F(u) = = = 0.95
y 1.48 m

จากรูปความสัมพันธ์ระหว่างค่า F(u), W(u) และ u → ที่ F(u) = 0.95; ค่า u = 0.08 และ
W(u) = 1.98

• ค่าสัมประสิทธิ์การไหลผ่าน (T) สามารถหาได้จากสมการ

Q  W (u)
T=
4y

=
( 0.06 m / s )  (1.98)
3

4  (1.4 m )
 m3 / s   60  60  24 s 
= 0.0068 m / s / m = 0.0068 
3
  = 587.52 m / day / m
3

 m   1 day 
บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 163

ข) ค่าสัมประสิทธิ์การเก็บกัก (Sc)

4Ttu
Sc =
r2

=
(
4  ( 0.0068 m3 / s / m )  3.9 hr  3, 600 s
1 hr )  0.08
202 m 2
= 0.076

ค) ระยะน้ำลดที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาครึ่งปี และ 1 ปี
• เมื่อเวลาผ่านไป ½ ปี หรือ 183 วัน ที่บ่อน้ำบาดาล (r = 0.25 m) ระยะน้ำลดสามารถหาได้
จากสมการที่ (15)

Q   r 2Sc  
y=  − 0.5772 − ln  
4T   4Tt  
0.06   ( 0.25 )  0.076
2

=   −0.5772 − ln  
4  0.0068   4  0.0068  183  86, 400  
  
= 12.46 m

 ระยะน้ำลดที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ½ ปี มีค่าเท่ากับ 12.46 m ตอบ

• เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี หรือ 365 วัน ที่บ่อน้ำบาดาล (r = 0.25 m) ระยะน้ำลดสามารถหาได้จาก


สมการที่ (15)

Q   r 2Sc  
y=  −0.5772 − ln  
4T   4Tt  
0.06   ( 0.25 )  0.076
2

=   −0.5772 − ln  
4  0.0068   4  0.0068  365  86, 400  
  
= 12.94 m

 ระยะน้ำลดที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี มีค่าเท่ากับ 12.94 m ตอบ


EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 164

4.7 การไหลในสภาพไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ (Unsaturated flow)


น้ำผิวดินจะซึมลงสู่ใต้ผิวดินผ่านกระบวนการซึมผ่านผิวดิน (Infiltration) ซึ่งเป็นการไหลในสภาพไม่อิ่มตัว
ด้วยน้ำ
• สภาพสถิตของชั้นดินที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ
ชั้นดินที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ำจะมีทั้งน้ำและอากาศแทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน น้ำที่แทรกตัวอยู่ใน
ช่ อ งว่ า งมาจากน้ ำ ที่ ซึ ม ลงมาจากผิ ว ดิ น หรื อ ที่ ซึ ม ขึ้ น มาจากระดั บ น้ ำ ใต้ ดิ น เนื่ อ งจากแรงคาพิ ล ลารี่
(Capillary force) หรือที่เรียกว่า Capillary rise ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติด้านแรงตึงผิวของน้ำ ตลอดจน
ขนาดและลักษณะของโพรงระหว่างเม็ดดิน
Capillary rise สูง → สำหรับดินที่มีขนาดโพรงเล็ก
Capillary rise ต่ำ → สำหรับดินที่มีขนาดโพรงใหญ่

น้ำในดินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ
1) Hygroscopic water เป็ น น้ ำที่ เกาะติ ด อยู่ กั บ เม็ ด ดิ น โดยแรงดึ งดู ด ของโมเลกุ ล และจะไม่
เคลื่อนที่นอกจากจะเกิดการระเหย
2) Capillary water ถูกยึดเหนี่ยวกับเม็ดดินโดยแรงตึงผิวของน้ำและสามารถเคลื่อนที่รอบๆ เม็ด
ดินได้
3) Gravitational water เป็นส่วนของน้ำที่เคลื่อนที่หรือไหลออกจากช่องว่างของดินได้ตามแรง
โน้มถ่วงของโลก

▪ ปริมาณความชื้นในดิน (Soil moisture content, )


เป็นสัดส่วนปริมาตรของน้ำต่อปริมาตรของดินทั้งหมด

Vw
= ; 0n ( 4.5)
Vv

โดยทั่วไปมักจะกำหนดให้ปริมาณความชื้นเป็นความสูงของน้ำต่อความสูงของปริมาตรดิน
เช่น  = 0.01 หมายถึง มีน้ำสูง 1 mm ต่อความหนาของดิน 10 cm

▪ ระดับความอิ่มตัวด้วยน้ำ (Degree of saturation , Sw)


เป็นสัดส่วนของปริมาตรน้ำที่มีอยู่ในโพรงต่อปริมาตรโพรงทั้งหมด

Vw
Sw = ; 0  Sw  1 ( 4.6 )
Vv

ปริมาณความชื้นในดินและระดับความอิ่มตัวด้วยน้ำ มีความสัมพันธ์กันดังนี้

 = nSw ( 4.7 )
บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 165

ปริมาณความชื้นซึ่งมีค่าสูงสุดที่จุดอิ่มตัวด้วยน้ำ ( s ) จะมีค่าลดลงเรื่อยๆ ที่ระดับสูงขึ้น


จากระดับน้ำใต้ดิน และจะเข้าสู่ค่าคงที่ซึ่งมีค่าต่ำสุดที่เรียกว่า Field capacity ( FC ) ที่จุด
ใกล้ผิวดิน ช่วงห่างระหว่าง FC และ s คือ ความชื้นที่สามารถระบายออกจากโพรงของดิน
โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก (Effective porosity; ne)

ปริมาณความชื้นในชั้นดินที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ำเหนือระดับน้ำใต้ดิน
n e = n − FC ( 4.8)

ในชั้นดินที่อยู่เหนือระดับน้ำใต้ดินขึ้นมาระดับหนึ่งซึ่งเรียกว่า Capillary fringe ปริมาณ


ความชื้นของดินจะเท่ากับปริมาณความชื้นที่จุดอิ่มตัวด้วยน้ำจนถึงระดับ Capillary rise แล้ว
ค่อยๆ ลดลงสู่ค่า Field capacity เมื่อระดับสูงขึ้นใกล้ผิวดิน

• Characteristic curves ของค่าคุณสมบัติการไหล


ค่าคุณ สมบั ติในที่ นี้ ได้แก่  (Pressure head) ,  และ K ในชั้นดิน ที่ไม่อิ่มตัว ด้วยน้ ำนั้น ปริมาณ
ความชื้น  เกิดจากการที่น้ำถูกยึดเกาะไว้ในโพรงระหว่างเม็ดดินโดยแรงคาพิลลารี่ ซึ่งกำหนดโดยค่า 

ความสัมพันธ์ระหว่าง  และ  สำหรับดินทั้งสามประเภท


EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 166

ลักษณะความสัมพันธ์ของ  และ  จะแตกต่างกันสำหรับดินแต่ละประเภท เนื่องจากขนาดของ


โพรงแตกต่างกัน สำหรับดินทราย  จะลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโพรงระหว่างเม็ดดินมีขนาดใหญ่และ
ใกล้เคียงกัน ส่วนดินเหนียวจะค่อยๆ ลดลงเนื่องจากมีโพรงขนาดเล็กๆ คละกันอยู่จึงสามารถยึดเหนี่ยวน้ำ
ขึ้นมาอยู่ที่ระดับต่างๆ เหนือระดับน้ำใต้ดินได้มากกว่า
ความสัมพันธ์ระหว่าง  และ  มีลักษณะที่เรียกว่า Hysteresis กล่าวคือเส้นแสดงความสัมพันธ์จะ
แตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน เกิดขึ้นจากกระบวนการที่ดินถูกทำให้เปียกหรือถูกทำให้แห้ง ใน
กรณีที่ดินถูกทำให้เปียก ค่า  ที่  เท่ากันจะน้อยกว่าค่า  ที่เกิดจากกระบวนการที่ดินถูกทำให้แห้ง

• การซึมลง (Infiltration)
ในที่นี้จะกล่าวถึงกระบวนการซึมลงโดยอาศัยกฎการไหลผ่านตัวกลางพรุนในสภาพไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ ซึ่ง
มีพื้นฐานมาจากสมการสภาพต่อเนื่องของการไหลผ่านตัวกลางพรุนในทิศทางเดียว ดังนี้

 q
+ =0 ( 4.10 )
t z

จากกฎของดาร์ซี่ (ในสมการที่ 4.2)

h
q = −K
L

P
และจากสมการที่ (4.4) เมื่อกำหนดให้ = จะได้

h =+z

สมการที่ (4.2) สามารถเขียนได้เป็น

 ( + z)
q = −K ( 4.11)
z
 d  
= −K  + K
 d z 
  
= −D + K ( 4.12 )
 z 

โดยที่ D = K(d/d) คือ Soil – water diffusivity ซึ่งเป็นคุณสมบัติของดินที่มีค่าขึ้นอยู่กับ 

แทนค่า q ในสมการที่ (4.12) ลงในสมการที่ (4.10) จะได้


บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 167

    
= D + K ( 4.13)
t z  z 

สมการที่ (4.13) เป็นสมการของ Richard สำหรับการไหลในแนวดิ่งแบบไม่คงตัวในสภาพไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ

- สมการของ Phillip
เป็ น การแก้สมการของ Richard โดยอาศัยวิธีการ Boltzman transformation; B() = zt-1/2 ใน
การแปลงสมการที่ (4.13) ให้อยู่ในรูปของสมการเชิงอนุพันธ์ ทำให้สามารถประมาณค่าของปริมาณการ
ซึมลงสะสม (Cumulative infiltration, F(t)) และอัตราการซึมลง (Infiltration rate, f(t)) ได้ดังนี้

F ( t ) = St1 2 + Kt ( 4.14 )
1
f ( t ) = St −1 2 + K ( 4.15)
2

โดยที่ S = Sorptivity ซึ่งเป็นค่าคุณสมบัติของระบบที่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของการดูดซึมของดิน

สมการของ Phillip ประกอบด้วยส่วนที่ขึ้นอยู่กับแรงดูดซึม (Suction force) และแรงโน้มถ่วงของ


โลก (Gravity force)
EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 168

ตั ว อย่ า งที่ 4.8: เครื่ อ งมื อ วัด การซึ ม แบบทรงกระบอกสำหรับ ทดลองการดู ด ซึ ม ตามแนวนอนของดิ น มี
พื้นที่หน้าตัด 40 cm2 เมื่อเวลาผ่านไป 15 min น้ำปริมาณ 100 cm3 ซึมเข้าไปในทรงกระบอก โดยที่ค่าความ
ซึมผ่านได้ของดินมีค่าเท่ากับ 0.4 cm/hr จงหาปริมาณการซึมเมื่อเวลาผ่านไป 30 min ซึ่งเป็นเวลาที่เริ่มเกิด
การซึมลงตามแนวดิ่ง
วิธีทำ หาปริมาณการซึมลงสะสม (F);

100 cm3
F= = 2.5 cm
40 cm2

ในกรณีของการดูดซึมตามแนวนอนอย่างเดียว ค่าปริมาณการซึมลงสะสมจะเป็นฟังก์ชั่นของแรงดูดซึม
(Suction force) เพียงอย่างเดียว เมื่อเวลาผ่านไป 15 min หรือ 0.25 hr สามารถหาค่า S ได้จากสมการ

F(t) = St1 2
2.5 cm = S ( 0.25 )
1/2

S = 5 cm.hr −1/2

ปริมาณการซึมลงตามแนวดิ่งสามารถหาได้จากสมการที่ (4.14) เมื่อ K = 0.4 cm/hr และเวลา t = 30


min = 0.5 hr

F ( t ) = St1 2 + Kt
= 5  ( 0.5 )  + ( 0.4  0.5 )
1/2
 
= 3.74 cm
บทที่ 4 น้ำใต้ผิวดิน (Subsurface Water) 169

4.8 โจทย์ตัวอย่างทบทวนด้วยตนเอง
ข้อที่ 1: บ่อบาดาลแห่งหนึ่ง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.61 m สูบน้ำขึ้นมาด้วยอัตราการสูบ 2.21 x 10-2 m3/s
เป็นเวลา 100 วัน จงหาระยะน้ำลดที่บ่อบาดาลแห่งนี้ โดยวิธีของ Theis กำหนดให้สัมประสิทธิ์การเก็บกัก (Sc)
= 2.74 x 10-4 และสัมประสิทธิ์การไหลผ่าน (T) = 2.63 x 10-3 m2/s
วิธีทำ รัศมีบ่อน้ำบาดาล: r = 0.61/2 = 0.305 m

จากสมการที่ 6 หาตัวแปรไร้มิติ

r 2Sc
u=
4Tt
( 0.305 m )  ( 2.74  10 −4 )
2

=
4  ( 2.63  10−3 m 2 / s )  (100 days  86, 400 s / days )
= 2.80  10−10

เมื่อ u = 2.80 x 10-10 จากตารางที่ 4.3, W(u) = 21.419

ระยะน้ำลด (y) หาได้จากสมการที่ (11)

Q
y= W (u)
4T

=
( 2.2110−2 m3 / s )  ( 21.419 )
4  ( 2.63  10−3 m 2 / s )
= 14.32 m

 ระยะน้ำลดที่บ่อบาดาลแห่งนี้ = 14.32 m ตอบ


EN113602 อุทกวิทยา (Hydrology) 170

4.9 แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

ข้อที่ 1: บ่อน้ำบาดาลแห่งหนึ่ง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 m สูบน้ำขึ้นมาด้วยอัตราการสูบ 0.06 m3/s ดังรูป


สามารถวัดระยะน้ ำลดจากบ่ อสั งเกตการณ์ ที่อยู่ห่ างจากบ่ อน้ำบาดาล 20 m ได้ผ ลดังตาราง จงใช้วิธีของ
Chow ในการคำนวณหา ก) ค่าสัมประสิทธิ์การไหลผ่าน (T) ข) ค่าสัมประสิทธิ์การเก็บกัก (Sc) ค) ระยะน้ำลด
ที่บ่อน้ำบาดาลหลังจากสูบน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาครึ่งปี และ 1 ปี
***หมายเหตุ:
1) ให้ Plot กราฟ Semi-log ขึ้นมาใหม่ด้วย Excel
2) ให้เปลี่ยนตำแหน่งของจุดสัมผัส P ซึ่งจะทำให้ได้ค่าระยะน้ำลด y และเวลา t ค่าใหม่ ในการนำไปใช้
ในการคำนวณ

ตารางแสดงผลการวัดระยะน้ำลดที่บ่อสังเกตการณ์

เวลา (hr) ระยะน้ำลด (m) เวลา (hr) ระยะน้ำลด (m)


0.25 0.10 4.00 1.39
0.50 0.29 5.00 1.55
0.75 0.44 6.00 1.66
1.00 0.58 7.00 1.78
1.50 0.80 8.00 1.84
2.00 1.00 9.00 1.92
3.00 1.20 10.00 2.00

ข้อที่ 2: บ่อบาดาลบ่อหนึ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20.00 เซนติเมตร เจาะทะลุลงไปในชั้นให้น้ำแบบปิดซึ่งมี


ความหนา 50.00 เมตร เมื่อสูบน้ำออกจากบ่อบาดาลในอัตรา 100 ลิตร/วินาที เป็นเวลานานมากจนเกิดสภาพ
การไหลแบบ Steady flow พบว่าระดั บน้ ำลดใน Observation wells 2 บ่อ ซึ่งอยู่ห่ างจากบ่ อบาดาลเป็ น
ระยะ 2.00 เมตร และ 50.00 เมตร มีค่าเท่ากับ 12.25 เมตร และ 2.40 เมตร ตามลำดับ จงคำนวณหา ก)
Hydraulic Conductivity ของชั้นให้น้ำ ข) ระดับน้ำลดในบ่อบาดาล ค) รัศมีอิทธิพลของบ่อบาดาล

You might also like