Article 20190626110705

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 13

การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรม

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

นายพงษ์ธวัฒน์ บุญพิทักษ์
วิทยากรปฏิบัติการ
กลุ่มงานกฎหมาย ๓ สานักกฎหมาย

บทความนี้ใช้เพื่อนาออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
รายการเจตนารมณ์กฎหมาย
สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
นายพงษ์ธวัฒน์ บุญพิทักษ์
วิทยากร
สานักกฎหมาย สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ความเป็นมา

กฎหมายลักษณะมรดกของไทยมีที่มาจากจารีตประเพณีดั้งเดิม ซึ่งถือปฏิบัติกันมาแต่ครั้ง
โบราณนับตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ปรากฏข้อความในศิลาจาลึกตอนหนึ่งว่า “ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูก
เจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อ เสื้อคา มันช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไทย
ป่าหมากป่าพลูเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น”
หมายความว่ า เมื่ อ บุ ค คลใดตายทรั พ ย์ ม รดกทั้ ง หมดไม่ ว่ า จะเป็ น บ้ า นเรื อ น เสื้ อ ผ้ า
เครื่องนุ่งห่ม สัตว์พาหนะ ข้าทาสบริวาร รวมทั้งที่ดินที่ครอบครองทาประโยชน์ปลูกหมากปลูกพลู ตก
ทอดไปยังบุตรทั้งสิ้น ญาติอื่นไม่ได้รับส่วนแบ่งมรดกเลย แต่ตามจารีตประเพณีในสมัยกรุงสุโขทัยบุตร
จะได้รับมรดกไม่เท่ากัน ส่วนแบ่งของบุตรแต่ละคนขึ้นอยู่กับว่าบุตรได้ทาคุณประโยชน์ ให้บิดามารดา
มากน้อยขนาดไหน เช่น บุตรที่ปรนนิบัติรับใช้บิดามารดาหรือบุตรที่บวชให้บิดามารดาจะได้รับมรดก
มากกว่าบุตรคนอื่น ๆ เป็นต้น1
ครั้นในสมัยกรุงศรี อยุธยา สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ ให้บัญญัติ
กฎหมายลักษณะมรดกขึ้นเป็ นลักษณ์อักษร เมื่อ พ.ศ.2155 รวม 51 มาตรา ต่อมาในสมัยกรุง
รัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้
กฎหมายเก่าที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมขึ้นเมื่อ พ.ศ.2347 เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ซึ่งมี
กฎหมายลักษณะมรดกรวมอยู่ด้วย และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช
เมื่อ พ.ศ.2416 หมอบรัดเลย์ ได้พิมพ์ออกมาจาหน่าย 2 เล่ม เรียกว่า กฎหมาย 2 เล่ม หรือกฎหมาย
หมอบรัดเลย์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2444 พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงจัดบทใหม่
และได้ทรงอธิบายหมายเหตุไว้บ้าง ต่อจากกฎหมายลักษณะมรดก ก็มีประกาศและพระราชบัญญัติ
เกี่ยวกับกฎหมายลักษณะมรดกอีก ประกาศและพระราชบั ญญัติที่สาคัญก็คือ พระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมลักษณะมรดก รศ.121 ซึ่งบัญญัติถึงการแบ่งมรดกภาคญาติ และการแบ่งมรดกหญิงมีสามี
ประกาศพระบรมราชโองการให้ยกเลิกกฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 12 พระราชบัญญัติว่าด้วยการ
ทาพินัยกรรม พ.ศ.2475 เมื่อมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6
แล้ว ก็เป็นอันยกเลิกกฎหมายลักษณะมรดกไปในตัว

1
พรชัย สุนทรพันธ์, คาอธิบายกฎหมายลักษณะมรดก, กรุงเทพฯ : สานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,
2560. หน้า 1

แม้มีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 แล้วก็ตาม แต่มีบาง


กรณีจะต้องนากฎหมายลักษณะมรดกมาใช้บังคับ เช่น พินัยกรรมหรือรับมรดกและครอบครองมรดก
ร่วมกันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น2

ขอบเขตการใช้กฎหมายลักษณะมรดก
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลั กษณะมรดก ตั้งแต่ มาตรา
1599 ถึงมาตรา 1755 ใช้บังคับกับคดี แพ่งเกี่ยวกับมรดกได้ทั่วราชอาณาจักร ยกเว้น คดีแพ่ง
เกี่ยวกับมรดกที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ใน
ทั้ ง 4 จั ง หวั ด นี้ นั บ ถื อ ศาสนาอิ ส ลาม ซึ่ ง มี ข นบธรรมเนี ย มประเพณี ที่ แ ตกต่ า งออกไป โดยมี
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการใช้กฎหมายในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489
มาตรา 3 บัญญัติว่า “ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกอิสลามศาสนิก
ของศาลชั้นต้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ซึ่งอิสลามศาสนิกเป็น ทั้งโจทก์จาเลยหรือ
เป็นผู้เสนอคาขอในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการนั้น เว้นแต่บทบัญญัติว่าด้วยอายุความ
มรดก ทั้งนี้ ไม่ว่ามูลคดีเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ” ดังนั้น ถ้ามีข้อพิพาทเกี่ยวกับ
เรื่องมรดกเกิดขึ้นในเขต 4 จังหวัดภาคใต้ดังกล่าวและคดีต้องด้วยเงื่อนไขตามบทบัญญัติของกฎหมาย
ดั ง กล่ า วแล้ ว จะต้ อ งใช้ ก ฎหมายอิ ส ลามในเรื่ อ งมรดกแทนประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์
บรรพ 63

2
ม.ล.เฉลิมชัย เกษมสันต์, คาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก, กรุงเทพฯ : สานักอบรมศึกษา
กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2556. หน้า 28
3
พรชัย สุนทรพันธ์, คาอธิบายกฎหมายลักษณะมรดก, กรุงเทพฯ : สานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,
2560. หน้า 3

สาระสาคัญ
กองมรดกได้แก่
มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตาย
ได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือ
ว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”
ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1600 พอจาแนกให้เห็นว่ากองมรดกของผู้ตายนั้นได้แก่
1. ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย
2. สิทธิผู้ตาย
3. หน้าที่ของผู้ตาย
4. ความรับผิดชอบของผู้ตาย
ทรัพย์สิน มีความหมายตามมาตรา 138 คือทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและ
ถือเอาได้
ทรัพย์ มีความหมายตามมาตรา 137 คือ วัตถุมีรูปร่าง
ทรัพย์สินทุกชนิดที่ตกเป็นมรดกจึงไม่จากัดว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์อาจ
เป็นวัตถุมีรูปร่างที่มีราคาและถือเอาได้ หรือเป็นวัตถุไม่มีรูปร่างที่มีราคาและถือเอาได้ก็ได้ เช่น ช้าง
ม้า สุกร โค กระบือ เสื้อผ้า แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นต้น
สิทธิ หมายความว่าประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ สิทธิก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง
หากมีราคาและถือเอาได้ สิทธิเป็นได้ทั้งบุคคลสิทธิและทรัพยสิทธิ เช่น สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ สิทธิใน
การไถ่ทรั พย์ ที่ขายฝาก สิ ทธิตามสั ญญาซื้อขาย ภาระจายอม สิ ทธิเหนือพื้นดิน สิ ทธิครอบครอง
ลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
หน้า ที่และความรั บผิด ของผู้ตาย ก็คือหนี้ของผู้ ตายนั่นเองซึ่งตกทอดไปยังทายาทด้ว ย
แต่ไม่ได้ห มายความว่าทายาทจะต้องรับผิ ดเป็นส่ว นตัว ในหนี้ทั้งหมด เมื่อผู้ ตายไม่มีทรัพย์สิ นพอ
ชาระหนี้ เพราะกรณีนี้บทบังคับของกฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้ คือ
มาตรา ๑๖๐๑ ทายาทไม่จาต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
มาตรา ๑๗๓๔ เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับการชาระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดก
เท่านั้น4
ทรั พ ย์ สิ น ที่ เ ป็ น ทรั พ ย์ ม รดกของผู้ ต ายต้ อ งเป็ น ทรั พ ย์ สิ น ที่ มี อ ยู่ ก่ อ นหรื อ ขณะผู้ ต าย
ถึงแก่ความตาย เช่น ดอกผลของทรัพย์มรดกที่เกิดขึ้นภายหลังเจ้ามรดกตายไม่ใช่มรดก (คาพิพากษา
ศาลฎีกาที่ 370/2506, 678-680/2535 และ8485/2544) ทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรม
ยกทรัพย์ให้ผู้ใด ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานต่าง ๆ ว่าเป็นทรัพย์ของผู้ตายหรือไม่ (คาพิพากษา
ศาลฎีกาที่ 583, 584/2535)5

4
กีรติ กาญจนรินทร์, คาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก, กรุงเทพฯ : สานักอบรมศึกษา
กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2560. หน้า 13
5
ม.ล.เฉลิมชัย เกษมสันต์, คาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก, กรุงเทพฯ : สานักอบรมศึกษา
กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2556. หน้า 35

คาพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2525 เงินบาเหน็จตกทอด ไม่ใช่มรดกของผู้ตาย


คาพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2530 สิทธิในเงินบาเหน็จเพื่อสงเคราะห์ พนักงานไฟฟ้า
นครหลวง ไม่ใช่มรดก
คาพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2507 เงินสงเคราะห์เพื่อช่วยงานศพและอุปการะบุตรของ
ผู้ตายโดยเฉพาะ ไม่ใช่มรดก
ข้อสังเกต จะเห็ น ว่า จากตัว อย่างคาพิ พากษาที่กล่ าวมานี้มิ ใช่ท รั พ ย์สิ นสิ น ที่ผู้ ต ายมี อ ยู่
ในขณะตาย แต่เป็นทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการตายเกิดขึ้น ดังนั้นจึงถือว่ามิใช่มรดก
คาพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2515 เงินสะสมที่ทางราชการหักเก็บไว้จากเงินเดือนของ
ข้าราชการทุกคน ซึ่งจะจ่ายเมื่อข้าราชการออกจากราชการ เป็นมรดก
คาพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2506 เงินทุนสงเคราะห์ (ท.ส.ค.) ของผู้ปฏิบัติงานในการ
รถไฟเป็นเงินที่เก็บจากผู้ปฏิบัติงานร้อยละ 5 ของเงินเดือนทุกเดือน ถือว่าเป็นเงินที่ผู้ปฏิบัติงาน
มีสิทธิอยู่ก่อนแล้ว จึงถือเป็นมรดก ย่อมตกทอดแก่ทายาท
ข้อสังเกต เงิน สะสมดังกล่าวเป็นเงินที่ทางราชการหักจากเงินเดือน เป็นทรัพย์สินที่ผู้ตาย
มีอยู่ก่อนถึงแก่ความตาย จึงถือเป็นมรดก
ดัง นั้น ในการพิจ ารณาว่า ทรัพ ย์สิน ใดเป็น มรดกหรือ ไม่นั้น จะต้อ งพิจ ารณาว่า ในขณะ
ผู้ตายถึงแก่ความตาย มีท รัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิด ใดบ้างที่มีอยู่ก่อนและมีอยู่ในขณะ
ถึงความตายหรือไม่ หากปรากฏว่าทรัพย์สินใดเกิดขึ้นภายหลังผู้ตายถึงแก่ ความตาย ย่อมไม่ถือ
เป็นมรดก

มรดกตกทอดแก่ใคร
เมื่อเจ้ามรดกตายมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา
1602 วรรคหนึ่ง แล้ ว แต่กรณีว่าตายตามความเป็นจริงหรือตายโดยผลของกฎหมาย คือเป็นคน
สาบสูญ ถ้ามรดกไม่มีผู้รับก็ตกแก่แผ่นดินตามมาตรา 1753 นอกจากนี้ ทรัพย์สินของพระภิกษุ
ที ่ไ ด้ม าระหว่า งอยู ่ใ นสมณเพศตกเป็น ของวัด เมื ่อ พระภิก ษุม รณภาพตามมาตรา 1623
สรุป ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิช ย์ บรรพ 6 มรดก ได้บัญ ญัติเ กี่ย วกับ ทรัพ ย์สิน
สิทธิ หน้าที่และความรับ ผิดของเจ้ามรดกที่จะตกทอดไว้ 4 กรณี ดังนี้
1. ตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1620 ประกอบมาตรา 1599 วรรคหนึ่งหรือมาตรา
1602 วรรคหนึ่งแล้ว แต่ก รณี อาจจะเป็นทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายที่เรียกว่า “ทายาทโดย
ธรรม” หรือโดยพินัยกรรม ที่เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม” ตามมาตรา 1603
2. ตกทอดแก่วัดที่พระภิกษุซึ่งมรณภาพมีภูมิลาเนาตามมาตรา 1623
3. ตกทอดแก่มูลนิธิตามมาตรา 1768

4. ตกทอดแก่แ ผ่น ดิน เมื่อ ไม่มีท ายาทหรือ จัด ตั้ง มูล นิธิ ไ ม่ไ ด้ต ามพินัย กรรมตามมาตรา
17536
ข้อสังเกตเพิ่มเติม
1. เจ้า มรดกจะต้อ งเป็น บุค คลธรรมดาเท่า นั้น แต่ท ายาทอาจเป็น ได้ทั้ง บุค คลธรรมดา
หรือ นิติบุค คลก็ไ ด้ โดยบุค คลธรรมดาจะต้อ งเป็น ผู้มีค วามสามารถเป็น ทายาทได้ อ ยู่ใ นขณะที่
เจ้ามรดกตาย ตามมาตรา 1604 และนิติบุคคลจะต้องมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ในเวลาที่ เจ้า
มรดกถึงแก่ความตาย
2. มรดกของเจ้า มรดกย่อ มตกทอดแก่ท ายาททัน ทีที่เ จ้า มรดกตาย โดยทายาทไม่ต้อ ง
แสดงเจตนาสนองรับ
3. การแบ่ง ทรัพ ย์ม รดกของทายาทโดยธรรม ต้อ งเป็น ไปตามบทบัญ ญัติข องกฎหมาย
มาตรา 1629 ถึง มาตรา 1645 ถ้า เป็นการรับพินัยกรรมในฐานะผู้รับพินัยกรรมก็ต้ องเป็นไป
ตามที่พินัยกรรมกาหนด

ทายาท
ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิช ย์ บรรพ 6 ได้แ บ่ง ประเภทของทายาทผู้มีสิท ธิไ ด้รับ
มรดกไว้เป็น 2 ประเภท ดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 1603 คือ
1. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม”
2. ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม”
ทายาทโดยธรรม
มาตรา ๑๖๒๙ ทายาทโดยธรรมมีหกลาดับเท่ านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๖๓๐
วรรค ๒ แต่ละลาดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(๑) ผู้สืบสันดาน
(๒) บิดามารดา
(๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(๔) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(๕) ปู่ ย่า ตา ยาย
(๖) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา
๑๖๓๕
ทายาทโดยธรรม หมายถึง ทายาทที ่ก ฎหมายบัญ ญัต ิไ ว้ว ่า ให้ม ีส ิท ธิร ับ มรดกของ
เจ้า มรดกเมื่อ เจ้า มรดกตาย ถือ ว่า เป็น การรับ มรดกโดยผลของกฎหมาย แม้ว ่า ตนเองจะไม่
ประสงค์รับมรดกก็ตาม

6
กีรติ กาญจนรินทร์, คาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก, กรุงเทพฯ : สานักอบรมศึกษา
กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2560. หน้า 40

ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่า ว จะเห็นได้ว่า ทายาทโดยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท


คือ ทายาทโดยธรรมประเภทญาติของเจ้ามรดกกับทายาทโดยธรรมที่เป็นคู่สมรสของเจ้ามรดก
(มาตรา 1629, 1632 ถึง 1638)
1. ผู้สืบสันดาน
เมื ่อ พิจ ารณาตามมาตรา 1631 ที ่บ ัญ ญัต ิว ่า “ในระหว่างผู้ สื บสั นดานต่างชั้นกัน นั้ น
บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับ
มรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่” จึงต้องพิจารณาข้อ ความที่ว่า บุตรของเจ้ามรดก
อันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้น ดัง นั้น ผู้สืบ สัน ดานตามข้อความดัง กล่าว จึง หมายถึง บุต รของเจ้า
มรดกเท่านั้น
และมาตรา ๑๖๒๗ “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่า
เป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”
จึงแบ่งผู้สืบสันดานได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. บุตรชอบด้วยกฎหมาย
2. บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
3. บุตรบุญธรรม
บุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุต รชอบด้ว ยกฎหมายของมารดา ถ้า เด็ก ที ่เ กิด จากหญิง ที ่ไ ม่ไ ด้ม ีก ารสมรสกับ ชาย
กฎหมายให้ความคุ้ม ครองแก่เด็ก ให้ถือว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรชอบด้ว ยกฎหมายของหญิงมารดา
เสมอ ดังนั้น ไม่ว่าหญิงมารดาจะได้ทาการสมรสหรือไม่ก็ตาม บุตรที่เกิดจากหญิงย่อมเป็นบุตรที่
ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นเสมอ ตามมาตรา 1546
บุต รที่ช อบด้ ว ยกฎหมายของบิด า อาจมีไ ด้ทั้ง ในกรณีที่ช ายหญิง สมรสกันตามกฎหมาย
และเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่เกิดตามมาตรา 1536 กล่าวคือ ตามาตรา 1536 ดังกล่าว
ถ้า เด็กเกิดจากชายหญิงที่ส มรสกันตามกฎหมายหรือภายใน 310 วัน นับแต่การสมรสสิ้นสุดซึ่ง
อาจจะสิ้น สุดเพราะความตายหรือ การหย่าหรือศาลพิพ ากษาให้เพิกถอนการสมรสหรือ เด็กเกิด
จากหญิง ที่มีการสมรสและยังไม่ถูกศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ เช่น การจดทะเบียนสมรส
ระหว่างพี่น้องร่ วมบิดามารดาเดียวกัน
หรือกรณีที่ชายหญิงมิได้สมรสกันตามกฎหมายและเด็กเป็นบุตรที่ชอบกฎหมายภายหลัง
การเกิดตามมาตรา 1547 ประกอบมาตรา 1557 กล่าวคือ เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็น
บุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร จึงเกิดขึ้นได้ 3 กรณี

1. ขณะที่เ ด็ก เกิด บิด ามารดามิไ ด้จ ดทะเบีย นสมรสกัน แต่ห ลัง จากเด็ก เกิด แล้ว บิด า
มารดาได้สมรสกัน
2. จดทะเบียนรับรองบุตร หมายถึงการจดทะเบียนรับเด็กซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติ
จดทะเบีย นครอบครัว และต้อ งอยู่ภ ายใต้เ งื่อ นไขของประมวลกฎหมายแพ่ง และ
พาณิชย์ เช่น จะต้องได้รับความยิน ยอมของเด็กและมารดาเด็ก
3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร เช่น อาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้เป็นบุตรของชาย
ส่ว นผลของการเป็นบุตรที่ชอบในภายหลังนั้น มาตรา 1557 ได้บัญญัติว่า การเป็นบุตร
โดยชอบด้ว ยกฎหมายตามาตรา 1547 ให้มีผ ลนับ แต่วัน ที่เ ด็ก เกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่ อม
สิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทาการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาได้
สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรม ลาดับที่ 1 ตามมาตรา 1629 (1) และ
มาตรา 1627 ตามบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วถือว่าเป็น
ผู้สืบ สัน ดาน ดัง เช่น บุต รของภริย าที่ไ ม่ไ ด้จ ดทะเบีย นสมรสที่บิด าส่ง เสีย เลี้ย งดู ให้ใ ช้น ามสกุล
บิด าเป็น ผู้แ จ้งเกิด เรีย กชายว่าบิดา รับ บุต รอยู่ใ นทะเบีย นบ้า น และแสดงออกอย่างเปิดเผยว่า
เป็นบุตร เช่นนี้ ถือว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาท
โดยธรรมลาดับที่ 1 ของเจ้ามรดก
การรับรองนั้นกฎหมายไม่ได้กาหนดแบบพิธีไว้ ฉะนั้น การรับรองจึ งต้องดูตามพฤติการณ์
เป็น เรื่อ ง ๆ ไปว่า การประพฤติป ฏิบัติที่บิด ามีต่อ บุต รนั้น เป็น ที่เ ปิด เผยถึง ขนาดวิญ ญูช นจะพึง
เข้า ใจได้ ห รือ ไม่ว่า บิด าได้รับ รองแล้ว และการประพฤติป ฏิบัติที่บิด ามีต่อ บุต รนั้น จะต้อ งเป็น ที่
เปิดเผย หากไม่เปิดเผย หรือการเป็นเพียงการปฏิบัติกันอย่างลับ ๆ ดังนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าบิดาได้
รับรองแล้ว
บุตรบุญบุญธรรม
หมายถึงบุตรที่มิใช่ญาติสืบสายโลหิตของผู้รับบุตรบุ ญธรรมหรือมิใช่บุตรโดยกาเนิดของ
ผู้รับ บุต รบุญ ธรรม แต่ผู้รับ บุต รบุญ ธรรมแต่นามาเลี้ย งเป็น บุต รซึ่ง ประมวลกฎหมายแพ่ง และ
พาณิช ย์ มาตรา 1627 ให้ถือ เป็นผู้สืบสันดานเหมื อนบุตรที่ช อบด้ว ยกฎหมาย ดังนั้นจะเห็น ว่า
บุตรบุญธรรม ถือเป็น ผู้สืบ สัน ดานและเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกลาดับที่ 1 ตามมาตรา
1629 (1) ซึ่งการรับบุตรบุญธรรมนั้นจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์และ
พระราชบัญ ญัติก ารรับ เด็ก เป็น บุต รบุญ ธรรมด้ว ย เมื่ อ ดาเนิน การตามขั้น ตอนบทบัญ ญัติ ข อง
กฎหมายแล้ว ย่อมถือว่าบุตรบุญธรรมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

2. บิดามารดา
บิดามารดาที่อยู่ในฐานะทายาทโดยธรรม ลาดับที่ 2 ของเจ้ามรดกต้องเป็นบิดามารดาที่
ชอบด้วยกฎหมาย
สาหรับมารดาผู้ให้กาเนิด นั้น แม้ว่าจะคู่ส มรสจะชอบด้ว ยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม บุตรที่
เกิดมาจากมารดาย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสมอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1546 ดังนั้น มารดาผู้ให้กาเนิดย่อมเป็นทายาทโดยธรรมลาดับที่ 2 ของบุตรเสมอ
บิด าที่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึงผู้ที่สมรสกับมารดาตามกฎหมาย รวมถึงบิดาที่เข้ามา
มีค วามสัม พัน ธ์ต่อ บุต รในภายหลัง ตามมาตรา 1547 เท่า นั้น กล่า วคือ จดทะเบีย นสมรสกัน
ภายหลังบุตรเกิด จดทะเบียนรับรองบุตร และศาลมีคาพิพากษาว่าเป็นบุตร
ข้อสังเกต บิดาที่รับรองบุตรนอกกฎหมายโดยพฤตินัย ไม่ถือเป็นบิดาที่ชอบด้ วยกฎหมาย
อย่า งเช่น กับ บุตรที่บิ ดารับ รองตามมาตรา 1627 เนื่อ งจากไม่มีบทบัญญัติใดของกฎหมายที่ให้
การรับรองไว้ ดังนั้น แม้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจะรับรองบุตรนอกกฎหมายโดยพฤตินัยก็ตาม
ก็ไม่ทาให้บิดาที่ไม่ช อบกฎหมายเป็นบิดาที่ช อบด้ว ยกฎหมาย ดังนั้น บิดาที่ไม่ช อบด้ว ยกฎหมาย
ย่อมไม่ถือเป็นทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1629 (2)
ผู ้ร ับ บุต รบุญ ธรรม ไม่ม ีส ิท ธิไ ด้ร ับ มรดกของบุต รบุญ ธรรมเมื ่อ บุต รบุญ ธรรมตาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/29 ที่บัญญัติว่า “การรับบุตรบุญธรรมไม่
ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการณ์รับบุตรบุญธรรม
นั้น” จะเห็น ได้ว่า การรับ บุต รบุญ ธรรมไม่ก่อ ให้ เ กิด สิท ธิใ นการรับ มรดกของผู้รับ บุตรบุญธรรม
แต่บิดามารดาที่ช อบด้ว ยกฎหมาย (บิดามารดาโดยกาเนิด) ของบุตรบุญธรรมยัง มีสิทธิรับมรดก
ของบุตรบุญธรรม
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
พี่น้องร่ว มบิดามารดาเดียวกัน ไม่มีปัญหาเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาที่
ถือ กาเนิด เพราะมาตรา 1546 ให้ถือ ว่า หญิง ผู้ใ ห้กาเนิด แก่เ ด็ก ทุก คนเป็น มารดาที่ช อบด้ว ย
กฎหมายของเด็กทุกคน แม้จะเกิดจากหญิงไม่ได้สมรสกับชายก็ตาม
ดังนั้น พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ที่เป็นทายาทโดยธรรม ลาดับที่ 3 ถือกันตามความ
เป็นจริง
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ที่เป็นทายาทลาดับที่ 4 ต้องถือตามความเป็นจริง
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
ปู่ ย่า ตา ยาย หมายถึงบุพการีโดยตรงขึ้นไปเท่านั้น ได้แก่ บิดามารดา ของบิดาหรือของ
มารดา แต่ไม่หมายรวมไปถึงพี่น้องร่วมบิดามารดาของปู่ ย่า ตา ยาย
ยังมีปัญหาว่า การเป็นปู่ ย่า ตา ยาย จะต้องเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ชอบด้วยกฎหมายด้ว ย
หรือไม่ ยังมีความเห็นต่างออกเป็น 2 แนว กล่าวคือ

คาพิพากษาฎีกาที่ 4828/2529และ 2742/2545 ทั้งสองฎีกานี้การเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย


ต้องถือตามความเป็นจริง
แต่ยังมีนักกฎหมายบางท่านมองว่าการเป็นปู่ ย่า ตา ยาย จะต้องเป็นปู่ ย่า ตา ยายที่ชอบ
ด้วยกฎหมาย
6. ลุง ป้า น้า อา
ลุง หมายถึง พี่ชายของบิดาหรือมารดา ป้า หมายถึง พี่สาวของบิดาหรือมารดา น้า คือ น้อง
ของมารดา อา คือน้องของบิดา กฎหมายไม่ได้แยกความใกล้ชิดสนิทกัน เพียงแต่จะต้องเป็นสาย
เดียวกัน ข้อพึงระวัง แม้ตามข้อเท็จจริงจะมีการเรียกขานกันว่ า ลุง ป้า น้า อา แต่เป็นคนละสายกัน
บุคคลดังกล่าวย่อมไม่ถือเป็นทายาทโดยธรรม ลาดับที่ 6
ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส ตามมาตรา 1629 วรรคท้าย
ทายาทโดยธรรมที่เป็นคู่สมรสของเจ้ามรดก ได้แก่ สามีหรือภริยาของเจ้ามรดกนั้นจะต้องเป็น
สามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกในเวลาตาย การเป็นสามีภริยาชอบด้วยกฎหมายนั้น
จะต้องมีการจดทะเบียนสมรส แม้การที่สามีภริยาจะอยู่กินกันมา 20-30ปีก็ตาม ก็ไม่ทาให้เป็นสามี
ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย และสามีที่ร้างหรือแยกกันอยู่โดยไม่ได้จดทะเบียนการหย่า ก็ยังถือเป็นสามี
ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ยังถือเป็นทายาทกันอยู่ ย่อมมีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกันได้
คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นการแบ่งมรดกจะต้องเป็นไปตามมาตรา 1625 ลาดับและ
ส่วนแบ่งของคู่สมรสจะต้องเป็นไปตามมาตรา 1635

การแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรม
การแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรม มีข้อพิจารณาดังนี้
1. ต้องพิจารณาก่อนว่า เจ้ามรดกทาพินัยกรรมหรือไม่ หากทาไว้มีผลบังคับหรือไม่ หรือ
พินัยกรรมนั้นจาหน่ายทรัพย์หรือไม่ หรือมีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ตามมาตรา
1620 หรือผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดกหรือไม่ ตามมาตรา 1618 หรือพินัยกรรมหรือข้อกาหนดใน
พินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลหรือไม่ ตามาตรา 1699
2. เมื่อพิจารณาตามข้อ 1 แล้ว มีทรัพย์มรดกเหลืออยู่เพียงใด ก็จัดแบ่งแก่ทายาทโดยธรรม
ต่อไป
3. เจ้ามรดกตายในขณะที่คู่สมรสยังมีชีวิตหรือไม่ ถ้ามีก็ดาเนินการตามมาตรา 1625 (1)
ก่อน คือเจ้ามรดกมีสินส่วนตัว สินสมรสอย่างไร ถ้าเป็นสินสมรสต้องแบ่งสินสมรสให้คู่สมรสได้ส่วน
เท่ากันตาม มาตรา 1533 เพราะมาตรา 1625 (1) 7
เมื่อมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสแล้ วทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ตายที่มีอยู่ย่อมเป็นทรัพย์
มรดกที่จะแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิต่อไปซึ่งทายาทโดยธรรมมีอยู่ 2 ประเภท คือ ทายาทโยธรรมที่
เป็นญาติและที่เป็นคู่สมรส ส่วนทายาทโดยธรรมชั้นใด ลาดับใดจะมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังเช่นไรย่อม
เป็นไปตามที่กฎหมายกาหนด

7
ม.ล.เฉลิมชัย เกษมสันต์, คาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก, กรุงเทพฯ : สานักอบรมศึกษา
กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2556. หน้า 137
๑๐

มาตรา 1629 วรรคหนึ่ง มีถ้อยคาที่ว่า “แต่ละลาดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง ” แสดงให้


เห็นว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายสิทธิในการรับมรดกจะต้องเป็นไปตามลาดับก่อนหลังจากลาดับ 1
ไปจนถึงลาดับ 6 ประกอบกับมาตรา 1630 บัญญัติว่า “ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ
มรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณี ในลาดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๖๒๙ ทายาทผู้ที่อยู่ใน
ลาดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย” ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทายาทในลาดับก่อนยังมีชีวิตอยู่
ทายาทในลาดับถัดไปไม่มีสิทธิในการรับมรดก แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 1630 วรรคสอง ได้บัญญัติ
ยกเว้นให้กับทายาทโดยธรรมลาดับที่ 2 กล่าวคือ บิดามารดา หาก บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในการ
รั บ มรดกให้ บิ ด ามารดาได้ ส่ ว นแบ่ ง เสมื อ นทายาทชั้ น บุ ต ร ด้ ว ยเหตุ ที่ ว่ า ทายาทล าดั บ ที่ 2
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้ามรดกไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันกับทายาทที่เป็นผู้สืบสันดาน
การแบ่งมรดกของทายาทที่เป็นญาติ มาตรา 1632 บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับแห่งมาตรา
๑๖๒๙ วรรคสุดท้าย การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลาดับญาติให้เป็นไปตามบทบัญญัติใน
ส่วนที่ ๑ แห่งหมวดนี้”
มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลาดับเดียวกัน ในลาดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๖๒๙ นั้น
ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลาดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้น
มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด”
ดังนั้น ในการแบ่งมรดกของทายาทในลาดับเดียวกันในกรณีมีหลายคน ย่อมต้องเป็นคนละ
เท่า ๆ กัน แต่ในกรณีที่มีทายาทในลาดับเดียวเพียงคนเดียว ทายาทคนนั้นย่อมได้รับส่วนแบ่งมรดก
ทั้งหมด
การแบ่งมรดกของทายาทที่เ ป็น คู่สมรส จะต้องเป็นไปตามมาตรา 1635 ที่บัญญัติว่า
“ลาดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(๑) ถ้ามีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๑) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ แล้วแต่
กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(๒) ถ้ามีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๓) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดก
แทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๑) แต่มีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๒) แล้วแต่กรณี
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(๓) ถ้ามีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๔) หรือ (๖) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมี
ผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๕) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้
มรดกสองส่วนในสาม
(๔) ถ้าไม่มีทายาทดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๖๒๙ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับ
มรดกทั้งหมด”
เมื่อพิจารณาจากบทบั ญญัติดังกล่ าว จะเห็นได้ว่า การคิดส่วนแบ่งของคู่ ส มรสนั้นจะต้ อง
พิจ ารณาก่อนว่า มี ทายาทโดยธรรมหรือไม่ หรือถ้ามีเป็นทายาทโดยธรรมในล าดับใดตามมาตรา
1629 เมื่อทราบแล้วว่าคือลาดับใด จึงมาพิจารณาต่อไปว่าคู่สมรสจะได้รับส่วนแบ่งอย่างไร ซึง่ เป็นไป
ตามมาตรา 1635 ดังนี้
๑๑

1. หากผู้สืบสันดานยังมีชีวิตหรือมีผู้รับมรดกแทนที่ คู่สมรส มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนบุตร


กล่าวคือ ได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน
2. มี 2 กรณี ด้วยกัน
- มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
- ไม่มีผู้สืบสันดาน แต่มีบิดามารดา
และทายาทดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดก กึ่งหนึ่ง
3. มีพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือมีลุง ป้า น้า อา และยังมีชีวิตอยู่ คู่สมรสมี
สิทธิได้รับมรดก 2 ใน 3 ส่วน
4. ไม่มีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ และคู่สมรสยังมีชีวิต คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

สรุป

กฎหมายลั กษณะมรดกเป็นกฎหมายที่ว่าด้วย ทรัพย์สิ น สิ ทธิ ห น้าที่และความรับผิดของ


เจ้ามรดกที่เป็นกองมรดก การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก ประเภทของทายาท ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
พินัยกรรม อายุความมรดก เป็นต้น ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ทาให้ทราบถึงหลักการของกฎหมายมรดกที่ว่า
เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งถึงแก่ความตายแล้วจะต้องดาเนินการอย่างไรต่อไป ผลจะเป็นเช่นไร โดยการ
ดาเนินการต่าง ๆ จะต้องนาบทบัญญัติของกฎหมายลักษณะมรดกมาใช้บังคับ กล่าวคือ เมื่อบุคคลใด
ถึงแก่ความตายจะต้องพิจารณาว่าผู้ตายมีคู่สมรสหรือไม่ หากมีคู่สมรสทีช่ อบด้วยกฎหมายจะต้องแบ่ง
สินสมรสคนละส่วน และต้องพิจารณาก่อนว่า เจ้ามรดกมีการทาพินัยกรรมไว้หรือไม่ หรือ หากทา
พินัยกรรมมีผลเช่นไร หากมีการทาพินัยกรรมหรือพินัยกรรมมีผลบังคับแต่เพียงบางส่วน การแบ่ง
มรดกจะต้องเป็นไปตามพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทาไว้ ถ้าไม่ได้ทาพินัยกรรมหรือพินัยกรรมในส่วนที่ไม่มี
ผลบังคับ กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท โดยจะต้องพิจารณาต่อไปว่า มรดกตกทอดแก่ทายาทผู้ใด
เช่น หากผู้ตายเป็นพระภิกษุและเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศมรดกย่อมตกทอดแก่วัด
ที่เป็นภูมิลาเนาของพระภิกษุนั้น หรือตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม หรือหากไม่มีทายาทใดเลยและมิได้
มีการทาพินัยกรรมไว้มรดกย่ อมตกทอดแผ่นดิน กฎหมายลักษณะมรดกจึงเป็นกฎหมายที่ควรจะ
ศึกษาหรือทาความเข้าใจ เพราะจะทาให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ของการเป็นทายาทหรือการแบ่งทรัพย์
มรดก เพื่อป้องกันมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากบุคคลที่แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้จากกองมรดกของ
เจ้ามรดก อันเป็นเรื่องทีเ่ กิดปัญหาขึ้นบ่อยในสังคมเช่นกัน ดังนั้น การศึกษากฎหมายลักษณะมรดกจึง
เป็นเรื่องที่สาคัญอย่างยิ่งอีกเรือ่ งหนึ่งที่ประชาชนควรจะศึกษาและทาความเข้าใจไว้
อย่างไรก็ดี บทความนี้ผู้เขียนได้เน้นเฉพาะในเรื่องของหลักการความหมายของกองมรดก
ประเภทของทายาทโดยเฉพาะทายาทโดยธรรม และการแบ่ง ทรัพย์มรดกของทายาทโดยธรรมเท่านั้น
โดยยังมีหลักการอื่นๆ อีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ เช่น การรับมรดกแทนที่ การเสียสิทธิไปซึ่งสิทธิใน
มรดก การทาพินัยกรรม ผลของพินัยกรรม เป็นต้น อันเป็นเรื่องทีส่ มควรศึกษาไว้เช่นกัน
หวังเป็ นอย่ างยิ่ งว่ าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อผู้ ที่ได้รับฟังและผู้ ที่สนใจทั่ วไป
อนึ่ง หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียนกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
๑๒

บรรณานุกรม
หนังสือ
เฉลิมชัย เกษมสันต์, ม.ล.. คาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. พิมพ์ครั้งที่ 8,
กรุงเทพมหานคร: สานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2556.
พรชัย สุนทรพันธ์. คาอธิบายกฎหมายลักษณะมรดก. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สานักอบรม
ศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2560.
กีรติ กาญจนรินทร์ . คาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก. พิม พ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร: สานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2560.

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

You might also like