Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 15

1

1. สิทธิประโยชน์มารดาฝากครรภ์ที่ต้องได้รับจากสถานบริการของรัฐคือข้อใด
1. ฉีดวัคซีนป้ องกันหัดเยอรมันครบตามมาตรฐาน
2. ตรวจครรภ์มาตรฐานอย่างน้อย 4 ครั้งตามเกณฑ์
3. ตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์
4. ตรวจเลือดหาความผิดปกติของน้ำตาลในกระแสเลือด
2. ข้อใด ไม่ใช่ กิจกรรมในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว
1. โรงเรียนพ่อแม่
2. ให้คำปรึกษาก่อนแต่งงาน
3. ให้ยาเม็ดธาตุเหล็กแก่หญิงตั้งครรภ์
4. ส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
3. ปัจจัยใดมีผลต่อภาวะสุขภาพมารดามากที่สุด
1. อายุมากกว่า 35 ปี
2. สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง
3. เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
4. มีภาวะความดันโลหิตก่อนการตั้งครรภ์
4. หญิงครรภ์แรก อายุ 32 ปี อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ทำงานในโรงงานทอผ้า แผนกมัดย้อม ซึ่งมี
ผู้ร่วมงานถึง 100 คน ควรให้คำแนะนำอย่างไรจึงเหมาะสมที่สุด
1. มาฝากครรภ์ทุกสัปดาห์
2. ตรวจครรภ์ด้วยคลื่นความถี่สูง
3. ตรวจโครโมโซมหาความผิดปกติของทารกในครรภ์
4. สวมหน้ากากอนามัยปิ ดปากและจมูกขณะปฏิบัติงาน
5. นาย ก อายุ 28 ปี มีอาชีพนักดนตรี และ นางสาว ข. อายุ 25 ปี อาชีพช่างเสริมสวย มีมารดา
เป็นโรคเบาหวาน มารับบริการให้คำปรึกษาก่อนสมรสโดยให้ข้อมูลว่า “วางแผนจะแต่งงานอีก

1 เดือนข้างหน้า ยังไม่พร้อมมีบุตร ทั้งคู่ได้ทดลองใช้ชีวิตคู่มาด้วยกันมาประมาณ 1 ปี ”


คำแนะนำที่ควรให้แก่ผู้รับบริการคู่นี้คือเรื่องใด
1. การวางแผนครอบครัว
2. การปรับตัวในชีวิตสมรส
3. การตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม
4. การป้ องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
6. หญิงอายุ 18 ปี มีเพศสัมพันธ์มาตลอดระยะเวลา 2 ปี ที่ผ่านมา โดยใช้ถุงยางอนามัย ต่อมา
มาปรึกษาที่คลินิกวางแผนครอบครัว เพื่อขอรับยาเม็ดคุมกำเนิด โดยให้ประวัติว่า น้ำหนักตัว
ต่ำกว่าเกณฑ์ 10 กิโลกรัม ไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกาย 3 – 4 ครั้งต่อสัปดาห์ มีคู่นอนหลายคน
วิธีการคุมกำเนิดวิธีใดเหมาะสมน้อยที่สุด
2

1. ห่วงอนามัย
2. ถุงยางอนามัย
3. ยาฉีดคุมกำเนิด
4. ยาเม็ดคุมกำเนิด
7. หญิงตั้งครรภ์ อายุ 40 ปี G3P2 อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ เป็นนักธุรกิจ บางครั้งต้องไปสังสรรค์
รับประทานไวน์และอาหารเย็นนอกบ้าน สูบบุหรี่วันละ 5 มวน การตั้งครรภ์ครั้งนี้ไม่ได้ตั้งใจ
สามารถวินิจฉัยการพยาบาลข้อใดเป็นอันดับแรก
1. ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง เนื่องจากติดสารเสพติด
2. มีภาวะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่เกิดกับทารก เนื่องจากตั้งครรภ์อายุมาก
3. ไม่มีประสิทธิภาพในการปรับตัวเนื่องจากมีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
4. มีภาวะเสี่ยงต่อสัมพันธภาพมารดาทารกไม่ดี เนื่องจากไม่ได้วางแผนการตั้งครรภ์
8. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ระยะใดที่หากมารดาได้รับยาบางชนิดหรือเชื้อ
ไวรัสแล้วส่งผลให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการอย่างรุนแรง (major abnormality)
1. Fetal stage
2. Embryonic stage
3. Pre-embryonic stage
4. Blastocyst formation stage
9. ข้อแนะนำในการเก็บอสุจิเพื่อส่งตรวจอย่างไรจึงจะถูกต้อง
1. เก็บหลังร่วมเพศโดยหลั่งภายนอก
2. งดการหลั่งอสุจิ 1 วัน ก่อนตรวจ
3. การส่งน้ำอสุจิโดยแช่ในกระติกน้ำแข็งเย็นจัด
4. เก็บที่บ้านส่งห้องปฏิบัติการภายใน 1 ชั่วโมง

10. นางสาวโสรยา อายุ 25 ปี มีพี่น้อง 3 คน มีพี่สาว 1 คน และมีน้องสุดท้องเป็นโรคธาลัสซีเมีย


กำลังวางแผนจะสมรส การให้คำปรึกษาที่เหมาะสม คือข้อใด
1. แนะนำให้เจาะเลือด สอบถามประวัติครอบครัวของคู่สมรส
2. แนะนำว่ามีบุตรได้ แต่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยก่อนตั้งครรภ์ทุกครั้ง
3. สามารถมีบุตรได้ แต่บุตรมีโอกาสเป็นพาหะหรือโรคธาลัสซีเมียเท่านั้น
4. ให้คำแนะนำว่าไม่ควรมีบุตร เนื่องจากบุตรมีโอกาสเป็นโรคธาลัสซีเมีย
11. นางสาว ก. อายุ 17 ปี และนาย ข อายุ 22 ปี วางแผนจะแต่งงานเดือนหน้า มารับคำปรึกษา
ก่อนสมรส ควรให้คำแนะนำในเรื่องใด
1. การวางแผนครอบครัว, การตรวจร่างกาย
3

2. การพิจารณาเลือกคู่ครอง, การมีเพศสัมพันธ์
3. กฎหมายระหว่างคู่สมรส, การสร้างฐานะทางสังคม
4. การปรับตัวซึ่งกันและกัน, การฉีดวัคซีนป้ องกันบาดทะยัก
12. หญิงไทยคู่ อายุ 35 ปี หลังคลอดบุตรคนแรก 6 สัปดาห์ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่มีโรค
ประจำตัวใด ๆ ต้องการคุมกำเนิดสักระยะ ท่านคิดว่าผู้รับบริการรายนี้ควรเลือกใช้วิธีการ
คุมกำเนิดชนิดใดเหมาะสมที่สุด
1. ห่วงอนามัย
2. ยาฝังคุมกำเนิด
3. ยาฉีดคุมกำเนิด
4. ยาเม็ดคุมกำเนิด
13. หญิงไทยคู่ อายุ 30 ปี ให้ประวัติมีบุตร 1 คน อายุ 2 ปี ประวัติประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
มาครั้งละ 5-7 วัน ตรวจร่างกายพบว่าค่อนข้างซีด น้ำหนัก 40 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 ซม.
ความดันโลหิต 100/60 มม.ปรอท ต้องการคุมกำเนิดสักระยะ เพื่อให้บุตรคนโตเข้าโรงเรียน
อนุบาล ควรคุมกำเนิดวิธีใด
1. ห่วงอนามัย
2. ยาฝังคุมกำเนิด
3. ยาฉีดคุมกำเนิด
4. ยาเม็ดคุมกำเนิด

14. ผู้รับบริการรายใดเหมาะสมในการใช้ถุงยางอนามัยมากที่สุด
1. อายุ 16 ปี หลังแต่งงาน 1 สัปดาห์
2. อายุ 25 ปี ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 หลังคลอดปกติ 30 วัน
3. มีบุตร 2 คน เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตั้งแต่ครรภ์แรก
4. อายุ 35 ปี ครรภ์ที่ 4 สามีทำงานต่างจังหวัด กลับบ้านเดือนละ 5 วัน
15. หลังการจัดอบรมส่งเสริมสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์แล้ว จะประเมินว่าหญิงตั้งครรภ์เกิดการเรียนรู้

เมื่อหญิงตั้งครรภ์กล่าวอย่างไร
1. ปัญหาจะเกิดขึ้นกับทารก เมื่อมารดาดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
2. แอลกอฮอล์มีอันตรายต่อสุขภาพในช่วงไตรมาสแรก หลังจากนั้นไม่เป็นไร
3. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงตั้งครรภ์เป็นสิ่งต้องห้าม เป็นสาเหตุทำให้เกิด
ปัญญาอ่อนในทารกแรกเกิดได้
4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันตรายสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แต่ถ้ารับประทานเล็กน้อยจะช่วย
กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
4

16. คู่สมรสคู่หนึ่งฝ่ ายหญิงอายุ 40 ปี ฝ่ ายชายอายุ 42 ปี มารับคำปรึกษาเรื่องการมีบุตร


พยาบาลควรให้คำแนะนำอย่างไรเหมาะสมที่สุด
1. การคลอดจะยากกว่าหญิงอายุน้อย
2. ลูกมีโอกาสเกิดภาวะปัญญาอ่อนได้สูง
3. โอกาสตั้งครรภ์น้อยลง ควรปรึกษาแพทย์
4. สามารถมีลูกได้หากประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
17. นาง ก อายุ 30 ปี แต่งงานมานาน 3 ปี ยังไม่มีบุตรมาขอรับคำปรึกษาเรื่องมีบุตรยาก
จากการซักถาม สามี อายุ 32 ปี เคยมีบุตรกับภรรยาเก่ามาก่อน 1 คน ปัจจุบันบุตรอายุ 4 ปี
คำแนะนำที่ควรให้เป็นอันดับแรก คือ
1. สามี นาง ก ไม่มีภาวะมีบุตรยาก เพราะเคยมีบุตรมาก่อน
2. ซักประวัติเพื่อวินิจฉัยว่า นาง ก มีภาวะมีบุตรยากหรือไม่
3. แนะนำให้ นาง ก ชวนสามีมาขอรับคำปรึกษาพร้อมกันเพื่อการตรวจรักษา
4. แนะนำให้สามี นาง ก ตรวจอสุจิเพื่อวินิจฉัย เพราะการตรวจในฝ่ ายชายง่ายกว่า

18. คู่สมรสรายหนึ่งได้มาเข้าคลินิกวางแผนก่อนตั้งครรภ์ สอบถามพยาบาลว่า เหตุใดจึงไม่ควร


รับประทานยาเองนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง พยาบาลควรตอบคำถามอย่างไร
1. ผลวิจัยพบว่ายามีผลเสียต่อการตั้งครรภ์
2. ขณะตั้งครรภ์ควรรับประทานยาเฉพาะที่แพทย์สั่งเท่านั้น
3. ยามีทั้งประโยชน์และสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ตลอดเวลา
4. ถ้าได้รับยาในช่วงหลังปฏิสนธิ ในระยะไตรมาสแรก ยาสามารถทำอันตรายต่อตัวอ่อนได้
19. จงเรียงลำดับขั้นตอนการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์
1. Pre – embryonic, Fetal, Infant
2. Fetal, Pre – embryonic, embryonic
3. Pre – embryonic, embryonic, Fetal
4. Embryonic, Pre – embryonic, Infant
20. หญิงไทยคู่ ครรภ์แรกตั้งครรภ์ได้ 16 สัปดาห์ มาพบแพทย์ด้วยปัญหาทารกในครรภ์ยังไม่ดิ้น
มีสีหน้าวิตกกังวล และสอบถามการดิ้นของทารกตลอดเวลา ท่านจะช่วยเหลืออย่างไร
1. รับฟัง ตรวจครรภ์ ส่งพบแพทย์
2. ตรวจครรภ์ ให้ความรู้เรื่องเด็กดิ้น ส่งพบแพทย์
3. ตรวจครรภ์ ให้ความรู้เรื่องเด็กดิ้น สังเกตการดิ้นของทารก
4. รับฟัง ตรวจครรภ์ ให้ความรู้เรื่องเด็กดิ้น นัดมาตรวจอีก 1 เดือน
5

21. หญิงอายุ 40 ปี สูง 157 เซนติเมตร น้ำหนัก 42 กิโลกรัม ความเข้มข้นเลือด 33% มาฝากครรภ์

พยาบาลควรให้คำแนะนำใดเหมาะสมที่สุด
1. บุตรอาจมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์เนื่องจากมารดาอายุมาก
2. บุตรอาจมีพัฒนาการด้านสมองล่าช้า เนื่องจากมารดาอายุมาก
3. บุตรอาจมีการเจริญเติบโตช้า น้ำหนักแรกคลอดน้อยเนื่องจากมารดาผอม
4. บุตรอาจมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยเนื่องจากมารดามีความเข้มข้นเลือดน้อย
22. หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น 2 สัปดาห์ คำแนะนำข้อใด
เหมาะสมที่สุดเพื่อให้ทารกในครรภ์มีการดำเนินชีวิตได้ปกติ
1. แนะนำให้พบแพทย์
2. แนะนำให้พักผ่อนมาก ๆ
3. แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
4. แนะนำให้รับประทานยาบำรุงตามแผนการรักษา

23. การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะตั้งครรภ์ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. ระบบหายใจมีการทำงานเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ ทำให้หญิงตั้งครรภ์หายใจเร็ว และแรงขึ้น
2. ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้มีการผลิตเมลานินเพิ่มทำให้หัวนมและลานนม
ขยายและมีสีคล้ำขึ้น
3. ขนาดของมดลูกขยายใหญ่ขึ้นจากเซลล์ของกล้ามเนื้อมดลูกขยายใหญ่ขึ้น เนื่องจากอิทธิพล
ของโปรเจสเตอโรนและ HCG
4. ในไตรมาสที่ 2 ความดันโลหิตจะลดลงและ cardiac output เพิ่มขึ้นเนื่องจากอิทธิพล
ของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
24. การเปลี่ยนแปลงของระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและผิวหนังในหญิงตั้งครรภ์ ในไตรมาสที่ 3 เป็นอย่างไร
1. ชาบริเวณสะโพก หน้าขา หัวเหน่า และเท้า
2. ปวดบริเวณกระเบนเหน็บ หัวเหน่า และก้นกบ
3. มีเส้นสีขาวบริเวณกึ่งกลางท้องจากสะดือถึงหัวเหน่า
4. กล้ามเนื้อบริเวณเต้านมแยกออกจากกันในแนวกึ่งกลาง
25. หญิงตั้งครรภ์คนใด มีการตั้งครรภ์เปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อยู่ในระยะไตรมาสแรก
1. นาง ก. อ่านหนังสือเกี่ยวกับการดูแลบุตรและเตรียมตั้งชื่อบุตร
2. นาง ข. บอกกับพยาบาลไม่อยากเชื่อว่าตนเองตั้งครรภ์ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี
3. นาง ค. บอกแพทย์ว่าอยากคลอดบุตรด้วยการผ่าตัดเพราะกังวลว่าจะคลอดเองไม่ได้
4. นาง ง. รับประทานอาหารมื้อเช้าและมื้อเที่ยง หลังคลอดกังวลรูปร่างไม่สวยงามและ
กลัวความอ้วน
26. นางจิตรา ให้ประวัติว่า ตั้งครรภ์ที่ 2 ประจำเดือนขาดมา 4 เดือน เต้านมคัดตึงมาก รู้สึก
เด็กดิ้นมา 1 สัปดาห์ จึงมาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล ผู้ตรวจครรภ์เห็นท้องมีขนาดใหญ่และ
คลำได้ขอบเขตของทารก ข้อมูลใดเชื่อถือได้มากที่สุดว่านางจิตราตั้งครรภ์จริง
1. เต้านมคัดตึง
6

2. รู้สึกเด็กดิ้นมา 1 สัปดาห์
3. คลำได้ขอบเขตทารกชัดเจน
4. ประจำเดือนขาดมา 4 เดือน
27. นางสาลี่ มาโรงพยาบาลด้วยอาการขาดประจำเดือนมา 2 เดือน มีคลื่นไส้อาเจียน เต้านม
ขยายใหญ่ ปากมดลูกนุ่ม และ HCG Positive ข้อวินิจฉัยใดถูกต้อง
1. ตั้งครรภ์แน่นอน เพราะปากมดลูกนุ่มและ HCG Positive
2. น่าจะตั้งครรภ์ เนื่องจากปากมดลูกนุ่ม และ HCG Positive
3. สงสัยว่าตั้งครรภ์ เนื่องจากมีคลื่นไส้อาเจียน และเต้านมขยาย
4. สงสัยว่าตั้งครรภ์ เนื่องจากขาดประจำเดือนมา 2 เดือน และเต้านมขยาย
28. นาง ก. มาฝากครรภ์ เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2552 ด้วยอาการขาดประจำเดือน คลื่นไส้ อาเจียน
เต้านมคัดตึง ให้ประวัติประจำเดือนครั้งสุดท้ายวันที่ 24-27 พ.ค. 52 ตรวจพบ Urine
pregnancy test ให้ผลบวก นาง ก. น่าจะกำหนดคลอดเมื่อใด
1. 1 ก.พ. 53
2. 1 มี.ค. 53
3. 3 มี.ค. 53
4. 3 เม.ย 53
29. การประเมินภาวะสุขภาพ ผลจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์รายใด
มีปัญหาสุขภาพน้อยที่สุด
1. นาง ก. อายุ 35 ปี ตั้งครรภ์แรก
2. นาง ข. เคยผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
3. นาง ค. ผ่านการแท้งโดยไม่ทราบสาเหตุติดต่อกัน 3 ครั้ง
4. นาง ง. มีน้ำหนักเพิ่มจาก 2 สัปดาห์ที่แล้วประมาณ 3 กิโลกรัม
30. นางขวัญใจ อายุ 40 ปี G3–P2– A0– L2 อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ มีตกขาวลักษณะสีขาวไม่มีกลิ่น
ออกทางช่องคลอด ตรวจปัสสาวะพบไข่ขาวในปัสสาวะ +1 จะให้การพยาบาลอย่างไร
1. แนะนำให้สังเกตอาการบวม
2. ส่งพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
3. แนะนำให้รับประทานอาหารโปรตีนสูง
4. แนะนำวิธีเก็บปัสสาวะและตรวจซ้ำใหม่
31. จากการตรวจครรภ์หญิงตั้งครรภ์รายหนึ่ง พบระดับยอดมดลูก 2/4 เหนือระดับสะดือ คลำได้

ลักษณะเป็นปุ่ มไม่เรียบทางด้านขวา คลำบริเวณเหนือหัวเหน่า พบลักษณะก้อนกลมแข็ง


มี ballottement ฟังเสียงหัวใจทารกชัดเจนบริเวณใต้สะดือ ทารกอยู่ในท่าใด
1. ROA
2. LOA
3. LSA
7

4. RSA

32. นาง ก. มาฝากครรภ์ครั้งแรก อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มีประวัติครรภ์แรกแท้ง อายุครรภ์ 1 เดือน

ครรภ์ที่ 2 คลอดปกติ อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ ทารกเพศชายสุขภาพแข็งแรง ครรภ์ที่ 3 คลอดเมื่อ


อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ เพศหญิง เสียชีวิตเมื่ออายุ 1 ปี ครรภ์ที่ 4 คลอดเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์

เสียชีวิตแรกเกิด ข้อใดคือประวัติสูติกรรมของนาง ก.
1. G4P2-1-1-1
2. G4P1-2-1-1
3. G5P2-1-2-1
4. G5P1-2-1-1
33. คุณ เอ G1P0 อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ มาพบแพทย์ตามนัด ขณะรอตรวจ ควรให้คำแนะนำใน
เรื่องใด
1. การให้ความรู้เรื่องคลอด + การสังเกตการเจ็บครรภ์ + การเตรียมตัวเพื่อคลอด
2. วิธีการกายบริหาร + การเตรียมตัวเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา + การเตรียมของใช้ทารก
แรกเกิด
3. การเตรียมตัวคลอด + การเตรียมตัวเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา + การเตรียมของใช้ทารก
แรกเกิด
4. ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย + วิธีการกายบริหาร + การเตรียมตัวเลี้ยง
ทารกด้วยนมมารดา
34. นางอรสา G1P0 อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า OF Positive DCIP
negative ท่านจะบอกผลการตรวจแก่หญิงตั้งครรภ์รายนี้อย่างไร
1. บอกให้ทราบว่าเป็นโรคธาลัสซีเมีย
2. บอกให้ทราบว่าเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย
3. นัดมาเจาะเลือดใหม่อีกครั้ง เพื่อยืนยันผลการตรวจ
4. บอกให้ทราบว่ามีความผิดปกติของการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง
35. หญิงตั้งครรภ์แรก ให้ประวัติว่าประจำเดือนขาดหายไป 6 เดือน โดยมีประวัติประจำเดือนมา
ไม่สม่ำเสมอ ตรวจครรภ์ระดับยอดมดลูก 1/4 >  รู้สึกเหมือนมีอะไรตอด ๆ ภายในท้อง
ควรนำข้อมูลใดมาใช้ในการกำหนดอายุครรภ์
1. ประวัติเด็กดิ้นและขนาดมดลูก
2. ประวัติประจำเดือน และขนาดมดลูก
8

3. ประวัติประจำเดือน และประวัติเด็กดิ้น
4. ประวัติเด็กดิ้น ประวัติประจำเดือน และขนาดมดลูก
36. หญิงไทยคู่มาฝากครรภ์ อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ เล่าว่า “ตั้งแต่ตั้งครรภ์มาไม่มีเพศสัมพันธ์กับ
สามีเพราะกลัวว่าจะแท้ง กลุ้มใจมากกลัวสามีนอกใจที่ไม่สามารถให้ความสุขแก่เขาได้”
ตรวจร่างกายและตรวจครรภ์ไม่พบความผิดปกติใด ๆ คำแนะนำข้อใดเหมาะสมที่สุด
1. คุณสามารถมีเพศสัมพันธ์กับสามีได้ตามปกติไม่มีข้อห้ามใด ๆ
2. คุณต้องให้ความใกล้ชิดกับสามีให้มากขึ้น เพื่อป้ องกันการนอกใจ
3. คุณไม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนักหันมาสนใจดูแลตนเองดีกว่า
4. คุณไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ใน 3 เดือนแรก หลังจากนั้นสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ
37. หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ ตรวจพบหัวนมด้านซ้ายบุ๋ม หัวนมด้านขวาปกติ
คำแนะนำข้อใดไม่เหมาะสม
1. สวมเสื้อชั้นในที่ไม่มีฟองน้ำ ปลายเต้าแหลม
2. เปลี่ยนขนาดเสื้อชั้นในให้เหมาะสมกับเต้านม
3. ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือดึงหัวนมด้านซ้ายหลังอาบน้ำทุกวันจนถึงระยะคลอด
4. ใช้ breast shield ครอบหัวนมทั้ง 2 ข้างไว้ขณะสวมเสื้อชั้นในวันละ 3-4 ชั่วโมง
38. ข้อใดเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์โดยการเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนเกี่ยวกับการ
เจริญเติบโต (somotrophin)
1. สายใจและสามีพูดคุยกับลูกในครรภ์ทุกวัน
2. สมศรีชอบนั่งเก้าอี้โยกช่วงเวลาที่พักผ่อนเสมอ
3. แสงระวีชอบฟังเพลงคลาสสิคก่อนนอนทุกคืน
4. สายสมรและสามีลูบหน้าท้องเป็นวงกลมทุกเย็น
39. คำแนะนำในการเตรียมตัวเพื่อการคลอดตามวิธี Lamaze method ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. ให้หญิงตั้งครรภ์ฝึกเทคนิคการผ่อนคลายด้วยตนเอง
2. สนับสนุนสามีให้มีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ขณะคลอด
3. ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับกระบวนการคลอดและความเจ็บปวด
4. แนะนำหญิงตั้งครรภ์ฝึกการเกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน จนทำได้อย่างอัตโนมัติ
40. หญิงตั้งครรภ์แรก อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ความดันโลหิต 130/70 mmHg ตรวจปัสสาวะ
ไม่พบไข่ขาวและน้ำตาล ขณะตรวจครรภ์มีอาการหาว วิงเวียนศีรษะ หน้าซีด จะเป็นลม
จะให้การพยาบาลอย่างไร
1. จัดให้นอนตะแคงซ้าย
2. จัดให้นอนตะแคงขวา
3. จัดให้นอนราบศีรษะต่ำ
4. จัดให้นอนศีรษะสูง 45 องศา
41. ระยะ Latent ความเจ็บปวดอยู่บริเวณใด
1. หลัง หน้าขา
9

2. หลัง หน้าท้อง
3. หน้าท้อง ฝีเย็บ
4. หน้าท้อง หน้าขา
42. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะคลอด
1. คลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากเอสโตรเจนเพิ่มมากขึ้น
2. น้ำปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไตมีอัตรากรองเพิ่มขึ้น
3. อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น 1 – 2 องศา เนื่องจากการเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น
4. มีโปรตีนในปัสสาวะตั้งแต่ +1 ถึง +2 ได้เนื่องจากไตมีอัตราการกรองเพิ่มขึ้น
43. ปัจจัยใดส่งเสริมให้ผู้คลอดมีความกลัวและความวิตกกังวลในระยะคลอดมากที่สุด เมื่อต้องมา
คลอดที่โรงพยาบาล
1. ความไม่คุ้นเคยกับบุคคลผู้ให้การดูแล
2. ความไม่คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่
3. การต้องแยกจากครอบครัวและบุคคลที่คุ้นเคย
4. ความไม่แน่ใจในความปลอดภัยของตนเองและทารกในครรภ์
44. ผู้คลอดครรภ์แรก เจ็บครรภ์ก่อนมาโรงพยาบาล 6 ชั่วโมง แรกรับเวลา 06.00 น. ปากมดลูก
เปิ ด 2 เซนติเมตร บาง 80% MI มีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ อุณหภูมิ 37.5 องศา
เซลเซียส ควรให้การพยาบาลอย่างไร
1. รายงานแพทย์
2. ให้ดื่มน้ำหวาน
3. ให้นอนพักบนเตียง
4. ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
45. มารดา G1P0 อายุ 16 ปี เข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด 30 นาที ร้องครวญคราง ไม่ยอมเบ่งคลอด

กรีดร้อง ดิ้นไปมาขณะเจ็บครรภ์ กิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสมสำหรับมารดารายนี้ คือข้อใด


1. รายงานแพทย์เพื่อช่วยคลอด
2. แนะนำเกี่ยวกับวิธีการเบ่งคลอดซ้ำ
3. พูดคุยให้กำลังใจและให้คำแนะนำซ้ำ
4. บอกให้ทราบถึงผลเสียและภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น
46. การพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวดโดยใช้หลักทฤษฎีควบคุมประตู คือข้อใด
1. นวดบริเวณก้นกบ
2. พูดคุยเบี่ยงเบนความสนใจ
3. แนะนำการหายใจบรรเทาปวด
4. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคลอด
10

47. ผู้คลอดครรภ์แรก ปากมดลูกเปิ ด 4 ซม. ได้รับยาเร่งคลอดนาน 40 นาที ตรวจภายในพบ


ปากมดลูกเปิ ด 7 ซม. ความบาง 100% ระดับส่วนนำ 0, MI มดลูกหดรัดตัว I = 2 45,
D = 45 บ่นเจ็บครรภ์ กำมือแน่น ท่านจะให้การพยาบาลเพื่อลดปวดในผู้คลอดรายนี้อย่างไร
1. อธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของอาการเจ็บปวด
2. แนะนำให้ลูบหน้าท้องให้สัมพันธ์กับการหายใจเข้า-ออก
3. กระตุ้นให้หายใจเข้าทางจมูกเร็วตื้น และหายใจออกแบบการห่อปาก
4. ดูแลปรับอัตราการไหลของสารน้ำและยาทางหลอดเลือดดำทุก 30 นาที
48. มารดาเจ็บครรภ์ Cx. Dilate 6 cm. ดิ้นกระสับกระส่าย มือกำขอบเตียงแน่น ขณะมดลูกหดรัดตัว

พยาบาลให้การพยาบาลด้วยการสอนหายใจบรรเทาปวด วิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ
ควรปฏิบัติเช่นไร
1. อธิบายจังหวะการหายใจที่ถูกต้องแก่ญาติผู้ดูแล
2. อธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของการหายใจบรรเทาปวด
3. ชวนพูดคุยให้ผ่อนคลาย แล้วให้กำลังใจแก่มารดาในการเริ่มหายใจใหม่
4. สัมผัสมารดาเบา ๆ และกำกับจังหวะพร้อมสาธิตให้มารดาหายใจตามพร้อม ๆ กัน
49. ผู้คลอดครรภ์แรก อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ มาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บครรภ์จริง I = 2 30,

D = 50 ตรวจภายใน Cx. Dilate 8 cms. eff 100% station +1, MI ร้องเอะอะโวยวาย บอกว่า
เจ็บครรภ์มาก นอนบิดตัวไปมา กำมือแน่น ควรบรรเทาความเจ็บปวดอย่างไรเหมาะสมที่สุด
1. การนวด
2. การลูบท้อง
3. การเพ่งจุดสนใจ
4. เทคนิคการหายใจ

50. ผู้คลอดครรภ์แรก มีอาการเจ็บครรภ์ ร้องครวญคราง กระสับกระส่าย บิดตัวไปมา ตรวจหน้าท้อง


พบว่า I = 2 10, D = 55, S = +++ ตรวจภายใน Cx. Dilate 8 cm., eff 100% , station 0,
MI ท่านจะแนะนำวิธีการหายใจเพื่อบรรเทาปวดอย่างไร
1. หายใจเข้า – ออกทางปากและจมูกตื้น ๆ ช้า ๆ
2. หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ
3. หายใจเข้า – ออกทางปาก และจมูกตื้น ๆ เร็ว และเบา ๆ
4. หายใจเข้าทางจมูกตื้น เร็ว เบา และหายใจออกทางปากโดยเป่ าออก
51. มารดา G2P1 มีอาการเจ็บครรภ์มาตั้งแต่เวลา 01.00 น. สีหน้าอ่อนเพลียและบ่นว่านอนไม่หลับ
11

ริมฝี ปากแห้ง ซีด หายใจมีกลิ่นคีโตน I = 3, D = 40 ตรวจภายใน Cx. Dilate 5 cm.
Eff. 80%, station 0, MI ท่านจะให้การดูแลเช่นไร
1. รายงานแพทย์ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
2. ให้อาหารอ่อนหรือโอวัลติน และดูแลให้พักผ่อน
3. รายงานแพทย์ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
4. จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ให้มารดาพักผ่อนอย่างเต็มที่
52. ผู้คลอดครรภ์ที่ 3 อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ เจ็บครรภ์คลอดก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชม. แรกรับ
เวลา 08.00 น. ตรวจภายในพบปากมดลูกเปิ ด 2 ซม. ความบาง 100% ส่วนนำระดับ 0
ถุงน้ำยังอยู่ FHS = 130 ครั้ง/นาที มดลูกหดรัดตัวทุก 3 นาที นาน 45 วินาที เจ็บครรภ์มาก
ร้องครวญคราง ปวดหลัง ปากแห้ง อ่อนเพลีย หิว และกระหายน้ำ การพยาบาลข้อใด สำคัญที่สุด
สำหรับผู้คลอดรายนี้
1. ช่วยนวดหลังเพื่อบรรเทาอาการปวด
2. ดูแลให้พักผ่อนในท่านอนตะแคงซ้าย
3. อยู่เป็นเพื่อนผู้คลอดและคอยปลอบใจ
4. ทำความสะอาดปาก ฟัน และให้ดื่มน้ำ
53. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เบี่ยงเบนไปจากปกติในระยะหลังคลอด
1. น้ำคาวปลามีสีจางลงในสัปดาห์ที่ 2
2. ผิวหนังมีการขับเหงื่อออกมากในระยะ 2-3 วันแรก
3. ยอดมดลูกอยู่ระดับเหนือสะดือเล็กน้อยในระยะ 12 ชั่วโมงหลังคลอด
4. ปัสสาวะจะขับออกมามาก เนื่องจากขณะตั้งครรภ์ร่างกายมีการเพิ่มของน้ำมาก
54. มารดาหลังคลอดวันแรก มดลูกหดรัดตัวดี น้ำคาวปลาสีแดง ไม่มีกลิ่นเหม็น อุณหภูมิ
37.3 องศาเซลเซียส ชีพจร 60 ครั้ง/นาที หายใจ 24 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 100/60
มิลลิเมตรปรอท มารดารายนี้ผิดปกติหรือไม่ เพราะเหตุใด
1. ผิดปกติเพราะการที่หัวใจเต้นช้าลงเป็นอาการนำของการติดเชื้อ
2. ผิดปกติเพราะมารดาเริ่มเข้าสู่ภาวะช็อค ชีพจรจะเปลี่ยนแปลงเป็นอันดับแรก
3. ปกติเพราะหลังคลอดวันแรกมารดานอนพักเป็นส่วนใหญ่ไม่ได้ทำกิจกรรมใด
4. ปกติเพราะหลังคลอดปริมาณเลือดในระบบไหลเวียนเพิ่มขึ้นจากการหดรัดตัวของมดลูก
55. ความเหนื่อยล้าจากการคลอด ความวิตกกังวล และฮอร์โมนที่ลดต่ำลงมากใน 3 – 5 วันแรก
หลังคลอด อาจทำให้เกิดภาวะใด
1. Postpartum Blues
2. Postpartum Psychosis
3. Postpartum Exhausion
4. Postpartum Depression
56. หญิงครรภ์แรก หลังคลอด 1 วัน พยาบาลสังเกตว่า บิดามารดาไม่กล้าอุ้มบุตร กิจกรรม
การพยาบาลข้อใดส่งเสริมการปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นบิดามารดา
12

1. การให้คำแนะนำบิดามารดาเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังคลอด
2. การเปิ ดโอกาสให้บิดามารดาได้พูดคุยและปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับการดูแลบุตร
3. การจัดเวลาและสถานที่ให้เป็นส่วนตัว เพื่อให้บิดามารดาและทารกได้อยู่ร่วมกัน
4. การเปิ ดโอกาสให้บิดามารดาได้อยู่ใกล้ชิดและเลี้ยงดูทารก โดยพยาบาลให้การช่วยเหลือ
57. มารดาหลังคลอดบุตรคนที่สอง 12 ชั่วโมง อ่อนเพลีย สีหน้าอิดโรย บอกว่า “อยากนอน
เจ็บท้องคลอดมา 2 วัน เมื่อคืนลูกร้องกวนทั้งคืน” จากการสังเกตมีสามีและบุตรคนโตวัย
เตาะแตะมาเยี่ยมตอนเช้า การพยาบาลข้อใดเหมาะสม
1. ดูแลอย่างใกล้ชิดและตอบสนองความไม่สุขสบาย
2. ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพกับสมาชิกใหม่และครอบครัว
3. กระตุ้นให้มารดาเริ่มมีการปรับตัวและคุ้นเคยกับการอยู่โรงพยาบาล
4. ช่วยเหลือและอธิบายถึงการกลับคืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์
58. หลักการส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาในเรื่อง “ดูดบ่อย” สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
1. ตอบสนองความต้องการของทารก
2. รักษาระดับ prolactin ให้สูงเพียงพอในการกระตุ้นการสร้างน้ำนมอย่างต่อเนื่อง
3. ช่วยเตรียมทารกให้พร้อมในการดูดนมมารดาโดยกระตุ้น Sucking reflex บ่อย ๆ
4. เหงือกทารกช่วยกดกระเปาะน้ำนมบ่อย ๆ ช่วยให้กระเปาะน้ำนมสร้างน้ำนมเพิ่มมากขึ้น
59. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับกลไกการควบคุมการสร้างและการขับน้ำนม
1. เมื่อ Estrogen และ Progesterone สูงขึ้น ทำให้ Prolactin และ Oxytocin ลดลง
2. เมื่อ Estrogen และ Progesterone ลดลง ทำให้ Prolactin และ Oxytocin สูงขึ้น
3. เมื่อ Estrogen ลดลง และ Progesterone สูงขึ้น ทำให้ Prolactin และ Oxytocin ลดลง
4. เมื่อ Estrogen สูงขึ้น และ Progesterone ลดลง ทำให้ Prolactin ลดลงและ Oxytocin สูงขึ้น
60. มารดาครรภ์แรกหลังคลอด 2 วัน บอกว่าน้ำนมไหลน้อย กลัวว่าบุตรจะได้รับนมไม่
เพียงพอ จะให้บุตรดูดนมผสมได้หรือไม่ ท่านจะให้การพยาบาลอย่างไรเหมาะสมที่สุด
1. แนะนำวิธีการให้ทารกดูดนมอย่างถูกวิธี
2. แนะนำการบริหารทรวงอก และนวดเต้านมอย่างสม่ำเสมอ
3. แนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
4. แนะนำอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรที่ทำให้มีการสร้างน้ำนม
61. มารดาหลังคลอด 5 วัน พบว่า ลูกร้องกวน จากการซักถามบอกว่า “ให้ลูกดูดนมทุก 4 ชั่วโมง

หากทารกหลับไม่ได้ปลุกให้ดูดนม” ตรวจพบเต้านมทั้งสองข้างคัดตึง มองเห็นเส้นเลือดชัดเจน

มีน้ำนมสีขาวไหลดี คำแนะนำข้อใดไม่ถูกต้อง
1. นวดเต้านม
2. สวมยกทรงขนาดพอดี
13

3. ประคบโดยใช้ความเย็น
4. ให้ทารกดูดนมทุก 2 ชั่วโมง
62. มารดารายใดเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาได้เหมาะสมที่สุด
1. นาง ก. หัวนมสั้น บีบนมใส่ขวดนมให้บุตร
2. นาง ข. เจ็บหัวนมเวลาบุตรดูดนม บีบนมใส่ขวดให้บุตร
3. นาง ค. น้ำนมยังไม่ไหล พยายามให้บุตรดูดกระตุ้นทุก 2 ชั่วโมง
4. นาง ง. มีอาการหัวนมแตก แต่ก็พยายามให้บุตรดูดนมทุกครั้งที่ร้อง
63. มารดาหลังคลอดปกติ 12 ชั่วโมง มีอาการอ่อนเพลีย รู้สึกปวดแผลฝีเย็บและปวดมดลูก
กิจกรรมการพยาบาลในข้อใดไม่เหมาะสม
1. กระตุ้นให้ลุกจากเตียงภายใน 24 ชั่วโมงแรกคลอดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน
2. แนะนำให้นอนคว่ำใช้หมอนรองใต้ท้องน้อยเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำคาวปลา
3. การแนะนำให้ขมิบช่องคลอดวันละ 100-200 ครั้ง เพื่อส่งเสริมการหายของแผลฝีเย็บ
4. แนะนำให้ออกกำลังกายในท่ายกสะโพกขึ้นและเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทันทีหลังคลอด
เพื่อให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานกระชับ
64. มารดาครรภ์แรก หลังคลอดปกติ 2 วัน มีอาการปวดมดลูก และเจ็บตึงแผลฝีเย็บเล็กน้อย
น้ำคาวปลาสีแดง ไหลน้อย ควรแนะนำให้มารดารายนี้บริหารร่างกายอย่างไร
1. นอนคว่ำใช้หมอนหมุนบริเวณท้องน้อย
2. นอนคว่ำ โก้งโค้งยกก้นสูงและขมิบช่องคลอด
3. นอนหงายราบยกเท้าขึ้นลงช้า ๆ โดยไม่ต้องงอเข่า
4. นอนหงายราบ ยกสะโพกขึ้นลงช้า ๆ และขมิบช่องคลอด
65. มารดาหลังคลอดครรภ์แรก หลังคลอด 1 วัน อ่อนเพลีย ไม่ค่อยอุ้มบุตรให้นมเนื่องจาก
ปวดตึงแผล น้ำนมไหลน้อย กิจกรรมการพยาบาลที่ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารก
ได้ดีที่สุดคือข้อใด
1. สอนการให้นมบุตรอย่างถูกวิธี
2. ช่วยบีบน้ำนมใส่แก้ว แล้วช่วยป้ อนให้ทารก
3. ให้บุตรดูดนมมารดา และให้มารดาเลี้ยงบุตรด้วยตนเอง
4. ช่วยเหลือมารดาในขณะให้นมบุตร และให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแล
66. มารดาหลังคลอดปกติ 12 ชม. มีไข้ 38 องศาเซลเซียส มดลูกหดรัดตัวดี น้ำคาวปลาสีแดง
แผลฝีเย็บบวมเล็กน้อย เต้านมคัดตึงเล็กน้อย มีน้ำนมเหลืองออกทั้ง 2 ข้าง อ่อนเพลีย
ริมฝีปากแห้ง การพยาบาลข้อใดเหมาะสมที่สุด
1. เช็ดตัวลดไข้ เพราะน้ำจะช่วยให้ไข้ลดลง
2. สวมยกทรง เพราะจะช่วยลดอาการปวดตึงเต้านม
3. อบแผลให้ เพราะจะทำให้แผลยุบบวม และหายเร็วขึ้น
4. ดูแลให้ได้รับประทานอาหารและน้ำ เพราะจะช่วยทดแทนน้ำและเลือดที่เสียไป
14

67. มารดาครรภ์แรก หลังคลอด 4 ชั่วโมง อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง ปวดตึงแผลฝีเย็บ แผลฝีเย็บ


บวมเล็กน้อย เต้านมไม่คัดตึง มีน้ำนมซึมเล็กน้อย มดลูกอยู่ระดับ 5 นิ้ว เหนือหัวเหน่า
อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ชีพจร 72 ครั้ง/นาที หายใจ 22 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต
100/70 มิลลิเมตรปรอท ควรให้การพยาบาลอย่างไรเหมาะสมที่สุด
1. เช็ดตัวลดไข้
2. อบแผลฝีเย็บ
3. กระตุ้นให้บุตรดูดนม
4. ดูแลให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ

68. ข้อใดเป็นลักษณะทารกแรกเกิดครบกำหนด
1. ทารกเพศชาย มีรอยย่นหยักลึกบริเวณถุงอัณฑะ
2. เต้านมมีขนาดเล็ก ขนาดของหัวนม 1 -3 มิลลิเมตร
3. ผิวสีชมพู ไขตามตัวมีน้อย และไม่มีขนอ่อนตามตัว
4. เส้นลายฝ่ าเท้าหยักลึกชัดเจน ประมาณ 2/3 ของฝ่ าเท้า
69. ทารกแรกเกิดทันที น้ำหนัก 3,950 กรัม ขณะทำคลอดมีการคลอดไหล่ยาก ควรประเมินการ
ตอบสนองขั้นพื้นฐาน (primitive reflex) ใด
1. Moro reflex
2. Sucking reflex
3. Grasping reflex
4. Tonic neck reflex
70. ทารกอายุ 2 วัน ขณะดูดนมมารดา พยาบาลพบว่า อุจจาระของทารกแข็ง เป็นสีดำ ค่อนข้าง
หนืด แต่วันนี้มีอุจจาระนุ่ม มีสีเขียวปนน้ำตาล ทารกปัสสาวะหลังคลอด พบว่ามีสีชมพูจาง
อาการดังกล่าวแสดงถึงภาวะใด
1. ภาวะขาดน้ำ
2. การขับถ่ายปรกติ
3. ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
4. ภาวะผิดปกติที่รายงานแพทย์
71. ทารกคลอดปกติ น้ำหนัก 2,800 กรัม หลังคลอด 24 ชั่วโมง สำรอกเป็นน้ำลายมีลักษณะใส
และเหนียว อัตราการหายใจ 50 ครั้ง/นาที ไม่สม่ำเสมอ ปี กจมูกไม่บาน ชีพจร 150 ครั้ง/นาที

การพยาบาลที่เหมาะสมอันดับแรกคือข้อใด
1. วัดและบันทึกอัตราการหายใจ
2. จัดท่านอนหงาย ศีรษะต่ำ 30 องศา
3. จัดตะแคงหน้า ใช้ลูกสูบยางแดงดูดเสมหะ
4. สังเกตอาการต่อเนื่องจากการเกิดอาการนั้น
15

72. ทารกแรกเกิด 5 วัน ตรวจพบ IgM = 22 mg/dl แสดงว่าทารกมีภาวะอย่างไร


1. ทารกอาจมีการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์
2. ทารกมีการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายภายหลังคลอด
3. ทารกได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดาผ่านทางรกตั้งแต่ตั้งครรภ์
4. ทารกมีการสร้างภูมิคุ้มกันจากมารดาขณะตั้งครรภ์และสร้างเองภายหลังคลอด
73. ผลการตรวจร่างกายทารกแรกเกิดในข้อใดที่ต้องรายงานแพทย์ทันที
1. ปากแหว่ง เพดานโหว่
2. มีตกขาวออกทางช่องคลอด
3. มีน้ำนมไหลออกจากหัวนม เต้านมโต
4. ขณะร้องผิวสีชมพู เมื่อหยุดร้องตัวเขียว
74. มารดาหลังคลอด ปรึกษาพยาบาลว่า “บุตรสาวมีเลือดออกบริเวณอวัยวะเพศ” ตรวจพบ
คราบเลือดเปื้ อนเล็กน้อย บริเวณแคมเล็กทั้ง 2 ข้าง การพยาบาลที่เหมาะสมคือข้อใด
1. รายงานแพทย์ เพื่อรับการรักษาต่อไป
2. ซักถามเกี่ยวกับประวัติโรคเลือดทางพันธุกรรม
3. แนะนำว่าเป็นผลจากฮอร์โมนที่ได้รับจากมารดา จะหายได้เอง
4. แนะนำให้มารดาคอยสังเกต ถ้ามีเลือดออกมากขึ้นให้แจ้งพยาบาล
75. จากการตรวจร่างกายทารกรายหนึ่งพบว่า ทารกมีภาวะลิ้นติด (Tongue tie) การพยาบาล
ที่สำคัญคือข้อใด
1. ดูแลเรื่องการได้รับนมอย่างเพียงพอ
2. รายงานแพทย์เพื่อเตรียมทำ frenotomy
3. ให้การพยาบาลเหมือนทารกแรกเกิดปกติ
4. อธิบายมารดาว่าจะหายไปเมื่อเด็กอายุ 2-3 ปี

You might also like