À À À À À À À À 4 À À À À À À À À À À À À À À À À À À À À À À 2

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 34

ทฤษฎีองค์การและระบบบริหารองค์การสาธารณะ

(2137104)

หน่วยที่ 4 การจัดโครงสร้างองค์การ

โดย ผศ.ดร. ศิริลักษณ์ คัมภิรานนท์


การจัดโครงสร้ างองค์ การ หมายถึง
 1. การจัดระเบียบกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงาน เพื่อให้
สอดคล้องและเป็นระบบเพื่อความสาเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
คนที่เชี่ยวชาญแต่ละฝ่าย มีการประสานให้ความร่วมมือ
 2. กระบวนการในการพัฒนาและการปฏิบัตติ ามโครงสร้าง
องค์การที่เหมาะสม เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับชุดของการ
ตัดสินใจ ซึ่งดาเนินไปอย่างต่อเนื่อง

 ** การจัดโครงสร้างองค์กร หมายถึง การจัดสรรทรัพยากร การ


แบ่งหน้าที่ในแต่ละฝ่าย โดยจัดเป็นรูปต่างๆ กันเพื่อให้การ
บริหารงานบรรลุจุดมุ่งหมาย
แนวคิดการจัดโครงสร้ างองค์การ มี4 ขันตอน

 1) แบ่งงานหรื อกิจกรรมในองค์การอกเป็ นแผนกงานหรื อส่วน
งานย่อย
 2) จัดระบบหน่วยงาน โดยยึดหลักการแบ่งงานตามความ
เหมาะสม
 3) มีการมอบหมายอานาจหน้ าที่แต่ละตาแหน่งงานอย่าง
ชัดเจน กาหนดตรวจสอบ การรายงานและการประสานงาน
 4) จัดให้ มีหน่วยงานปรึกษาตามความเหมาะสมในแต่ละปี
ความสาคัญของการจัดองค์ การ มี 4 ประการ

 ลดความสับสนในการปฏิบัติงาน
 ทาให้ทราบขั้นตอนการทางาน
 ลดความซ้าซ้อนและความและความขัดแย้งในการทางาน
 ทราบถึงขอบเขตและการติดต่อประสานงาน
ประเภทของโครงสร้ างองค์การ

 1 . โครงสร้ า งองค์ ก ารตามหน้ า ที่ ก ารงาน (Functional


Organization Structure) หมายถึ ง โครงสร้ า งที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น โดย
แบ่งไปตามประเภทหรือหน้าที่การงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าในแต่ละ
แผนกนั้นมีหน้าที่ต้องกระทาอะไรบ้าง

 ผลดี ก่อให้เกิดการได้คนมีความสามารถทางานในแผนกนั้น ๆ ยัง


ฝึกบุคคลในแผนกนั้น ๆ ให้มีความเชี่ยวชาญกับหน้าที่ของงานนั้น
อย่างลึกซึ้ง สาหรับฝ่ายบริหารระดับสูงนั้นก็เป็นเพียงแต่กาหนด
นโยบายไว้กว้าง ๆ เพราะมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคอยป้อนข้อมูลที่
ถูกต้องให้พิจารณาตัดสินใจและให้มีความผิดพลาดได้น้อยมาก
 ก่อให้เกิดการประสานงานได้ง่ายเนื่องจากแต่ละคนมีความสนใจในงาน
และใช้ภาษาเดียวกัน ทาให้สามารถสร้างบรรยากาศการทางานที่ดีได้
ง่าย
 การบริหารงานก็เกิดความประหยัดด้วย เพราะแต่ละแผนกได้ใช้ความ
เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สร้างผลิตผลได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย การใช้
เครื่องจักรและแรงงานก็ใช้ได้ผลคุ้มค่า
 ผลเสียในทางการบริหาร เช่น การแบ่งงานออกเป็นหลายแผนกและมี
ผู้เชี่ยวชาญหลายคน ทาให้การวางแผนงานยุ่งยากขึ้น อาจมีการปัด
ความรับผิดชอบได้
 มักเน้นที่การรวมอานาจไว้ ณ จุดที่สูงที่สุด ไม่มีการกระจายอานาจใน
การบริหารให้ลดหลั่นลงไป
 2. โครงสร้ างองค์ การตามสายงานหลัก (Line
Organization Structure) หมายถึงการ
จัดรูปแบบโครงสร้ างให้ มีสายงานหลัก และมีการบังคับ
บัญชาจากบนลงล่างลดหัน่ เป็ นขัน้ ๆ จะไม่มีการสัง่ การแบบ
ข้ ามขันตอนในสายงาน
้ ซึง่ โครงสร้ างแบบนี ้เหมาะสมสาหรับ
องค์การต่าง ๆ ที่ต้องการให้ มีการขยายตัวในอนาคตได้
เพราะเพียงแต่เพิ่มเติมโครงสร้ างในบางสายงานให้ มีการ
ควบคุมบังคับบัญชาลดหลัน่ ลงไปอีกได้ การจัดองค์การแบบ
นี ้ อาจจะคานึงถึงสภาพของงานที่เป็ นจริง เช่น แบ่งตาม
ลักษณะของผลิตภัณฑ์ หรื อแบ่งตามอาณาเขต หรื อแบ่งตาม
ประเภทของลูกค้ า หรื อแบ่งตามกระบวนการ
 ผลดีของโครงสร้างแบบนี้ เช่น การจัดโครงสร้างด้วยรูปแบบที่เข้าใจ
ง่าย การบังคับบัญชาตามสายงานเป็นขั้นตอน ฉะนั้นจุดใดที่มีการ
ปฏิบัติงานล่าช้าก็สามารถตรวจสอบได้รวดเร็ว จากผู้บังคับบัญชาใน
ระดับนั้นได้ง่าย
 ผู้ปฏิบัติงานได้คลุกคลีกับสภาพของปัญหาที่เป็นจริงและเกิดขึ้นเสมอ
ทาให้การตัดสินใจต่าง ๆ มีข้อมูลที่แน่นอน และสามารถตัดสินใจได้
ถูกต้องรวดเร็ว
 การติดต่อสื่อสารและการควบคุมการทางานทาได้ง่าย ตลอดจนเมื่อ
ต้องการจะเปลี่ยนรูปโครงสร้างขององค์การ ก็สามารถที่จะเปลี่ยนได้
ค่อนข้างสะดวก เพราะการจัดรูปแบบองค์การนี้ ไม่มีอะไรสลับซับซ้อน
มากนัก
 องค์การนี้เหมาะสาหรับการจัดรูปแบบองค์การขนาดเล็ก แต่ไม่เหมาะที่
จะจัดในลักษณะองค์การขนาดใหญ่ที่มีการปฏิบัติงานสลับซับซ้อน
 ส่วนข้อเสีย คือ ประการแรก ไม่ได้สนับสนุนให้ผู้ทางานมีความ
เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นอกจากนั้นบางขณะปริมาณของงานมีมาก
จนต้องใช้เวลาทางานประจาให้เสร็จ ไม่มีเวลาที่จะมาศึกษาถึง
ระบบการทางานทีด่ ีกว่า
 ลักษณะของโครงสร้างเช่นนี้เป็นอุปสรรคต่อการดาเนินงาน เพราะ
ไม่สามารถครอบคลุมขอบข่ายของงานได้ทังหมดได้
 ประการสุดท้าย ผู้บริหารระดับสูงอาจจะไม่ยอมมอบหมายงาน ให้
ผู้บริหารงานระดับรอง ๆ ลงมา หรือพยายามกีดกัน หรือส่งเสริม
คนอื่นให้ขึ้นมาแทนตน ทาให้ขวัญของผู้ปฏิบัติงานในระดับรอง ๆ
ไป ไม่ดี หมดกาลังใจในการปฏิบัติงาน เนื่องจากโครงสร้างแบบนี้
ให้อานาจควบคุมโดยตรงต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงเท่านั้น
 3. โครงสร้างองค์การแบบคณะที่ปรึกษา (Staff
Organization Structure) หมายถึงการจัดโครงสร้าง
โดยการให้มีที่ปรึกษาเข้ามาช่วยการบริหารงาน เช่น ที่
ปรึกษานายก ฯ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. เป็นต้น เพราะว่าที่
ปรึกษามีความรู้ ความชานาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะการใช้
เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาช่วยหรือ
คอยแนะนา ทาให้องค์การมองเห็นความสาคัญของการมีที่
ปรึกษาขึ้น อย่างไรก็ตาม พวกที่ปรึกษาไม่มีอานาจในการ
สั่งการใด ๆ นอกจากคอยป้อนข้อมูลให้ผู้บริหารเป็นผู้ชี้ขาด
อีกชั้นหนึ่ง
 การจัดองค์การรูปแบบนี้มีผลดีคือ ทาให้การดาเนินงานต่าง ๆ มีการ
วางแผนและประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าได้ มีที่ปรึกษาคอยให้ความ
กระจ่างและประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ และ ทาให้การทางานใช้หลัก
เหตุและผลมากขึ้น
 มีการใช้เครื่องมือทีท
่ ันสมัย และคนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยัง
ทาให้งานตามสายงานและงานของคณะที่ปรึกษาสัมพันธ์กัน และเข้าใจ
บทบาทซึ่งกันและกัน
 ผลเสียของการใช้ที่ปรึกษาอาจมีการปีนเกลียวกัน เนื่องจากความเห็นไม่ลง
รอยกัน และฝ่ายคณะที่ปรึกษาอาจท้อถอยในการทางานได้ เพราะมีหน้าที่
เพียงเสนอแนะแต่ไม่มีอานาจสั่งการ
 4. โครงสร้างองค์การแบบคณะกรรมการบริหาร
(Committees Organization Structure) หมายถึง
การจัดโครงสร้างองค์การโดยให้มีการบริหารงานในลักษณะ
คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการบริหารงานรถไฟแห่ง
ประเทศไทย คระกรรมการ อสมท. และคณะกรรมการ
บริหารบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น การบริหารงาน
องค์การโดยให้มีคณะกรรมการบริหารเช่นนี้
 ผลดีจะช่วยขจัดปัญหา การบริหารงานแบบผูกขาดของคน ๆ
เดียว หรือการใช้แบบเผด็จการเข้ามาบริหารงาน
 การตั้ ง คณะกรรมการซึ่ ง ประกอบด้ ว ยบุ ค คลมาจากหลาย ๆ
ฝ่ า ยจะท าให้ ทุ ก คนเข้ า ใจปั ญ หาและก่ อ ให้ เ กิ ด การยอมรั บ
ในปัญหที่ ฝ่ายอื่นเผชิญอยู่ทาให้การประสานงานเป็นไปได้ ง่าย
ขึ้น
 ข้อเสียของการใช้ระบบคณะกรรมการก็คือเกิดการสูญเสีย
ทรัพยากรโดยใช่เหตุ เนื่องจากเวลาส่วนใหญ่ใช้ไปในการ
ประชุมถกเถียงกัน กว่าจะได้ข้อยุติอาจไม่ทันการต่อการ
วินิจฉัยสั่งการได้
 อาจเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในระดับคณะกรรมการ
หรือยอมประนีประนอมกันเพื่อให้ได้ข้อยุติที่รวดเร็ว ทาให้การ
ตั้งคณะกรรมการไร้ผล
 5. โครงสร้ า งองค์ ก ารงาน อนุ ก รม (Auxiliary) คื อ
หน่ ว ยงานช่ ว ย บางที เ รี ย กว่ า หน่ ว ยงานแม่ บ้ า น (House-
keeping agency) ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับธุรการ และอานวย
ความสะดวก เช่น งานเลขานุการ และงานตรวจสอบภายใน
เป็นต้น
รูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การ มี 3 รูปแบบ ได้แก่
 1.โครงสร้างองค์การแบบแนวดิ่ง ยึดองค์ประกอบ 5 ประการ
 1.1 สายการบังคับบัญชา : หน่วยงาน – หัวหน้า – ผู้จัดการ – ผู้บริหาร
สูง
 1.2 การมอบหมายอานาจหน้าที่ : ทุกตาแหน่งต้องมีความรับผิดชอบต่อ
หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย อานาจตัดสินใจ
 1.3 การรวมอานาจและการกระจายอานาจ : สูงกระจายการตัดสินใจ
ให้ระดับล่าง
 1.4 ช่วงการจัดงาน : การทางานอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้จัดการกับ
ผู้ใต้บังคับบัญชา
 1.5 ตาแหน่งหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษา : ตาแหน่งเท่ากัน
ทั้งหลักและที่ปรึกษา
2. โครงสร้างองค์การแบบแนวนอน หรือการจัดแผนก คือเป็นการ
ประสานงานความร่วมมือ
 (ผู้จัดการจะต้องมีการจัดแผนกและประสานความร่วมมือใน
แนวนอน)
 2.1 การจัดแผนกโดยจานวนพนักงาน - จัดไปกับองค์กรระดับต่าที่
ไม่ต้องการความรู้ ความชานาญ
 2.2 การจัดแผนกโดยเวลา - รวมกลุ่มโดยใช้เกณฑ์เวลา
 2.3 การจัดแผนกตามหน้าที่
-3. โครงสร้างองค์การแบบแยกธุรกิจและ องค์การแบบอิสระ
(Matrix Organization) ผู้นาเรียกว่า Matrix boss
 1. แนวโน้มโครงสร้างองค์การสมัยใหม่
 2. องค์การสมัยใหม่จะเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมมากขึ้น
 3.1 สายการบังคับบัญชาสั้นลงหรือน้อยลง ยิ่งสั้นลงก็ทาให้งาน
เร็วขึ้น
 3.2 ขนาดการควบคุมกว้างขึ้น ทาให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและการ
สั่งงานเร็วขึ้น ผู้ใต้บังคับบัญชามีอิสระมากขึ้น
แบบโครงสร้ างขององค์การ
 แบบโครงสร้างขององค์การ โครงสร้างองค์การ ซึ่งเขียนแทนด้วย
แผนภูมิองค์การ (Organization chart) บ่งบอกถึงวิธีการแบ่ง งาน
ขององค์การออกเป็นงานย่อย ๆ ที่เรียกว่า การแบ่งแผนกงาน
(Departmentalization) ซึ่งแบ่งออกได้ หลายแบบ เช่น แบ่งตาม
หน้าที่ (Function) แบ่งตามผลผลิต (Product) หรือทั้งสองอย่าง
คละกัน ที่เรียกว่า แบบ ตารางแมทริกซ์ (Matrix form) ฯลฯ เป็น
ต้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
 1. องค์การแบบเน้นหน้าที่ (Functional organization) โครงสร้างองค์การ
แบบเน้นหน้าที่ ยึดหลักการแบ่งออกเป็นแผนกตามลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ
โดย งานที่อยู่ในแผนกเดียวกัน จะเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน เช่นฝ่ายผลิต ฝ่าย
ขาย ฝ่ายวิจัยและพัฒนา และฝ่าย บัญชีเป็นต้น
 ข้อดีขององค์การที่จัดโครงสร้างแบบนี้ได้แก่การประหยัดทรัพยากรอัน
เนื่องจากความ ําซ้
ซ้ อน น้อยลงจึงเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มทักษะและความ
เชี่ยวชาญของบุคลากรสูงขึ้น เพราะได้ทางานเฉพาะด้านตามถนัด ทาให้
คุณภาพผลงานสูงเป็นประโยชน์ต่อองค์การ
 ส่วนจุดอ่อนได้แก่ การแยกเป็นแผนกจากกัน ทาให้ผู้ทางานมีมุมมองที่คับ
แคบเฉพาะหน่วยตนจน มองไม่เห็นภาพรวมขององค์การ ขาดการรับรู้ต่อการ
เปลี่ยนแปลงและมองเห็นโอกาสที่เกิดจากภาวะแวดล้อม ภายนอก มีการ
แข่งขันกันเองระหว่างแผนกจนขาดความร่วมมือประสานงานที่ดี
 2. องค์การแบบเน้นผลผลิต (Product organization) เป็น
องค์การที่จัดโครงสร้างตามลักษณะผลผลิตหรือฐานการผลิต ทั้งนี้
เนื่องจากองค์การต้องขยาย ฐานการผลิตสินค้าอย่างใหม่ที่
สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า หรือเพราะ
บริษัทมองเห็น โอกาสที่ขยายกิจการไปสู่ธุรกิจอย่างอื่น จึง
จาเป็นต้องจัดโครงสร้างองค์การใหม่ขึ้นรองรับกับธุรกิจหรือ
ผลิตภัณฑ์ โดยพยายามให้มีหน่วยงานย่อยภายในที่เน้นการทา
หน้าที่ (Function) แบบเบ็ดเสร็จครบทุก ขั้นตอนด้วยตนเอง
(Self-contained-division
 3. องค์การแบบตารางแมทริกซ์ (Matrix organization) การจัดโครงสร้าง
องค์การแบบตารางแมทริกซ์ เป็นที่นิยมใช้กว้างขวางในองค์การต่าง ๆ เช่น
มหาวิทยาลัย หน่วยราชการ โรงพยาบาล บริษัทก่อสร้าง บริษัทโฆษณา เป็น
ต้น มีหลักสาคัญ ก็คือ จัดทาตารางมิติด้านหน้าที่ (Function) กับ มิติด้าน
ผลผลิต (Product) ไขว้กันเป็นตารางขึ้น ดังนั้นจุดเด่นของโครงสร้างแบบ
แมทริกซ์ ก็คือ การสลายเอกภาพของ การบังคับบัญชา (Unity of
command) เพราะพนักงานคนหนึ่ง จะต้องมีนาย 2 คน คือ ผู้จัดการแผนก
ตามหน้าที่ กับผู้จัดการแผนกผลผลิต จึงเป็นสายบังคับบัญชา แบบคู่ (Dual
chain of command)
 จุดเด่นของโครงสร้างแบบตารางแมทริกซ์ ช่วยให้การประสานงาน
ขององค์การที่มีความซับซ้อนและ มีกิจกรรมที่ต้องอาศัยการพึง่ พา
ระหว่างแผนกทาได้ง่ายขึ้น โดยปกติองค์การที่มีขนาดใหญ่ มีข้อมูล
ข่าวสารที่ต้องเกี่ยวข้องมากมาย ทั้งนี้เพราะยิ่งองค์การมีความซับซ้อน
ยิ่ง เพิ่มความเป็นราชการมากขึ้น ดังนั้น ถ้าปรับโครงสร้างให้เป็นแบบ
ตารางแมทริกซ์ จะช่วยให้การสือ่ สารดีขึ้น และการมีสายบังคับบัญชา
แบบคู่ของโครงสร้างแมทริกซ์ช่วยลดความรู้สกึ ปกป้องเฉพาะกลุ่มให้
น้อยลง ก่อให้เกิดผลดีต่อเป้าหมายรวมขององค์การ
 นอกจากนี้โครงสร้างแบบแมทริกซ์ช่วยให้การใช้ประโยชน์ จากความ
เชี่ยวชาญของบุคคลได้มากขึ้น กล่าวคือ สามารถใช้ประโยชน์ของ
ทรัพยากรสูงสุดและเกิด ประสิทธิภาพในขณะเดียวกัน จุดอ่อนของ
โครงสร้างแบบตารางแมทริกซ์คือ สร้างความสับสน เกิดยื้อแย่ง การมี
อานาจ สร้างแรงกดดันและความเครียดแก่ผู้ปฏิบัติงานเพราะขาด
เอกภาพในการบังคับบัญชานั่นเอง
4. องค์การแบบเน้นตามลูกค้า (Customer organizations) เป็นการ
จัดโครงสร้างองค์การเมื่อต้องการเน้นให้ความสาคัญแก่ผู้ใช้สินค้าหรือ
บริการกลุ่ม ต่าง ๆ การจัดแบ่งแผนกงานแบบนี้จึงสามารถสนอง
ความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้โดยตรง แต่ ก็มีจุดอ่อนใน
แง่ความสิ้นเปลืองบุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ดาเนินการ
โดยเฉพาะเมื่อกลุ่มลูกค้าเปลี่ยนไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อหน่วยงาน
ได้ โครงสร้างองค์การแบบนี้มีผู้เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีความหมาย
คล้ายกัน เช่น องค์การที่เน้นด้านการตลาด (Market structure
organization) เป็นต้น
 5. องค์การแบบเน้นกระบวนการ (Process organizations) เป็นการจัด
โครงสร้างองค์การโดยแบ่งออกเป็นหน่วยงานย่อยหรือกลุ่มกิจกรรมที่มี
กระบวนการผลิตที่ แตกต่างกัน แต่ดาเนินการเป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องกัน
เหตุที่มีการจัดเช่นนี้เพราะแต่ละขั้นตอนต้องใช้ทกั ษะ ความชานาญของผู้
ปฏิบัติตลอดจนเครื่องจักรอุปกรณ์และวิธกี ารที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง เช่น
งานต่อทะเบียน รถยนต์ของกรมการขนส่งทางบกจะประกอบด้วย
กระบวนการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) กระบวนการตรวจสภาพ รถ โดย
หน่วยงานเองหรือมอบให้หน่วยงานเอกชนที่ได้รบั การรับรองดาเนินการ
(2) กระบวนการออกหลักฐาน ทะเบียนรถ เช่น สมุดทะเบียนรถ ป้าย
วงกลม โดยหน่วยงานของราชการ (3) กระบวนการเก็บค่าธรรมเนียม
การต่อทะเบียนรถ โดยหน่วยงานฝ่ายการเงิน เป็นต้น ตัวอย่างการจัด
องค์การแบบเน้นกระบวนการของ โรงงานอุตสาหกรรม
 6. องค์การแบบเน้นตามทาเลที่ตั้ง (Location organizations) เป็นการจัด
โครงสร้างองค์การซึ่งอาจเรียกชื่ออย่างอื่นแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน เช่น
องค์การ โครงสร้างตามภูมิศาสตร์ (Geographical structure organization)
หรือ องค์การโครงสร้างตามพื้นที่ (Area structure organization) เป็นต้น
โดยโครงสร้างขององค์การแบบนี้จัดแบ่งออกเป็นหน่วยงานที่มักเรียกชื่อ ตาม
เขตภูมิศาสตร์ที่ตั้งของหน่วยงานนั้น จุดเด่นก็คือ ช่วยให้สามารถแยกแยะสินค้า
หรืองานบริการได้ตรงกับ สภาพของลูกค้าในแต่ละท้องถิ่น เช่น รสนิยมและ
อานาจการซื้อของลูกค้า เป็นต้น จึงเป็นการปรับหน่วยงาน เข้ากับสภาพของ
ตลาดในท้องถิ่นได้ง่าย อีกทั้งช่วยประหยัดค่าขนส่งและสามารถทราบข้อมูล
เกี่ยวกับ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
เพื่อประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้ หน่วยงานที่จัดแบ่งตามทาเลที่ตงั้ ก็จะต้อง
ประกอบไปด้วยหน่วยงานย่อยท่ํทาหน้าที่หลักและอาจมีหน่วยงาน ย่อยที่ทา
หน้าที่รองอย่างครบถ้วนก็ได้
7. องค์การแบบลูกผสม (Hybrid form organizations) เนื่องจาก
การจัดโครงสร้างองค์การแบบเน้นหน้าที่ก็ดีหรือแบบเน้นผลผลิตก็ดี
ล้วนมีจุดด้อย แต่ขณะเดียวกันต่างก็มีจุดเด่น ดังนั้น รูปแบบองค์การ
แบบลูกผสม (Hybrid form) จึงเป็นโครงสร้างที่หลอม รวมจุดเด่น
ของการจัดองค์การทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน กล่าวคือ ภารกิจตาม
หน้าที่ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ระดับสูงก็จะถูกจัดไว้ที่สานักงานใหญ่
ของบริษัท ส่วนหน่วยงานด้านการผลิตหรือด้านการตลาดที่อยู่ระดับ
ล่าง ซึ่งอาจอยู่ในที่อื่น แต่สามารถดาเนินกิจกรรมหลักของหน่วยได้
อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะได้รับความ ช่วยเหลือสนับสนุนใน
ส่วนทีจ่ าเป็นจากระดับสานักงานใหญ่ให้ปฏิบัติภารกิจได้ดีและยังคง
ดารงความเป็นหน่วยงานแบบเน้นหน้าที่ได้เหมือนเดิม ตัวอย่าง
โครงสร้างองค์การแบบลูกผสม
 สรุป องค์การแบบจัดโครงสร้างตามแนวดิ่ง (Vertical placement
organization) เป็นการแบ่งงานในองค์การออกเป็นแผนกงานออกเป็นชั้นหรือ
ระดับตามแนวดิ่ง โดยยึดความสาคัญ ของอานาจบังคับบัญชา (Authority)
และภารกิจ (Duties) ลดหลั่นลงไปตามสายการบังคับบัญชา มีผู้บริหาร สูงสุดที่
มีอานาจในการวางแผนและตัดสินใจขององค์การอยู่บนสุด บางบริษัทที่มีการ
แบ่งระดับชั้นมากจะทา ให้โครงสร้างองค์การเป็นทรงสูง (Tall organization)
ก่อให้เกิดปัญหาด้านความล่าช้าในด้านการสื่อสาร การ ประสานงานและการ
ตัดสินใจ ทาให้ขาดความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้ทันต่อ
สถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแต่ละวันของโลกธุรกิจปัจจุบัน ใน
อดีตเป็นยุคแรกของทฤษฎีที่เกี่ยวกับการ จัดการนั้น องค์การพยายามที่จะเน้น
การจัดองค์การแบบแนวดิ่ง โดยมีการนากิจกรรมต่าง ๆ มาประสานกัน หรือ
เชื่อมโยงกัน แล้วแบ่งออกเป็น หลาย ๆ ระดับ โดยยึดองค์ประกอบหลักดังนี้คือ
สายการบังคับบัญชา การมอบหมายอานาจหน้าที่ การรวมอานาจและการ
กระจายอานาจ ช่วงของการจัดการ และตาแหน่งงาน หลักและหน่วยงานด้าน
สนับสนุน ปัจจุบันองค์การแบบนี้ได้ถูกปรับปรุงให้มีโครงสร้างเป็นแบบ
แนวนอน (Flat organization) มากขึ้น เช่น องค์การแบบแนวนอนที่เน้น
ทีมงาน องค์การแบบแมทริกซ์ องค์การแบบ รูปทรงนาฬิกาทราย ฯลฯ เป็นต้น
 องค์การแบบโครงสร้างผสมสายงานหลักและสายงานสนับสนุน (Line-
and-staff organization) เป็นการจัดโครงสร้างองค์การที่มุ่งดุลยภาพ
ของการบริหาร (Managerial balance) ให้เกิด การใช้จุดเด่นของสาย
งานหลัก (Line) และสายงานสนับสนุน (Staff) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แก่องค์การ โดย การเชื่อมโยงการใช้อานาจบังคับบัญชา (Authority)
ซึ่งอยู่ในหน่วยงานหลักเข้ากับหน่วยงานสนับสนุนที่มี หน้าที่ด้านให้
คาแนะนา การให้บริการและการสนับสนุนแก่หน่วยงานหลักอยู่แล้ว
กล่าวคือ หน่วยงานหลัก (Line department) มีหน้าที่รับผิดชอบที่
เกี่ยวกับการตัดสินใจโดยตรง ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของ
องค์การและบังคับบัญชาโดยตรง ในขณะที่หน่วยงานสนับสนุน (Staff
department) เป็นผู้ให้ความ ช่วยเหลือสนับสนุนงานที่ต้องใช้ความ
เชี่ยวชาญทางเทคนิคเฉพาะทาง
 องค์การแบบโครงสร้างผสมสายงานหลักและสายงานสนับสนุน (Line-
and-staff organization) เป็นการจัดโครงสร้างองค์การที่มุ่งดุลยภาพ
ของการบริหาร (Managerial balance) ให้เกิด การใช้จุดเด่นของสาย
งานหลัก (Line) และสายงานสนับสนุน (Staff) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แก่องค์การ โดย การเชื่อมโยงการใช้อานาจบังคับบัญชา (Authority)
ซึ่งอยู่ในหน่วยงานหลักเข้ากับหน่วยงานสนับสนุนที่มี หน้าที่ด้านให้
คาแนะนา การให้บริการและการสนับสนุนแก่หน่วยงานหลักอยู่แล้ว
กล่าวคือ หน่วยงานหลัก (Line department) มีหน้าที่รับผิดชอบที่
เกี่ยวกับการตัดสินใจโดยตรง ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของ
องค์การและบังคับบัญชาโดยตรง ในขณะที่หน่วยงานสนับสนุน (Staff
department) เป็นผู้ให้ความ ช่วยเหลือสนับสนุนงานที่ต้องใช้ความ
เชี่ยวชาญทางเทคนิคเฉพาะทาง

You might also like