Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

แผนการจัดการเรียนรูท้ ี่ 3

หน่วยการเรียนรู้ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน เรื่องความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์


รหัสวิชา ค31202 คณิตศาสตร์เพิ่มเติม2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวณัฎฐพัชร พรมราช โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
-
2.ผลการเรียนรู้
1. ใช้ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชันอธิบายสถานการณ์ที่กาหนด
2. หาผลลัพธ์ของการบวก การลบ การคูณ การหารฟังก์ชัน หาฟังก์ชันประกอบและฟังก์ชัน
ผกผัน
3. ใช้สมบัติของฟังก์ชันในการแก้ปัญหา
3. สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
ความสัมพันธ์(Relation) คือ เซตของคู่อันดับที่สมาชิกตัวหน้าและสมาชิกตัวหลังมีความ
เกี่ยวข้องกันบางประการ จึงอาจกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์เป็นสับเซตของผลคูณคาร์ทีเซียนของเซต A
และเซต B หรืออาจเขียนได้ว่า r  A  B และเรียก r ว่า ความสัมพันธ์จาก A ไป B
โดเมนของ r คือ เซตของสมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับทั้งหมดใน r
เรนจ์ของ r คือ เซตของสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทั้งหมดใน r
4. สาระการเรียนรู้/เนื้อหาย่อย
4.1 ด้านความรู้
1. นักเรียนสามารถเขียนความสัมพันธ์ตามเงื่อนไขที่กาหนดได้
2. นักเรียนสามารถบอโดเมนของความสัมพันธ์ได้
3. นักเรียนสามารถบอกเรนจ์ของความสัมพันธ์ได้
4.2 ด้านทักษะและกระบวนการ
นักเรียนสามารถสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์เ กี่ยวสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ สัญลักษณ์
โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ได้
4.3 ด้านคุณลักษณะ
นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทางาน
5. สมรรถนะสาคัญ
5.1 นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร
5.2 นักเรียนมีความสามารถในการคิด
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
6.1 นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทางาน
7. การประเมินผลรวบยอด
ภาระงาน/ชิ้นงานที่แสดงผลการเรียนรู้
ใบงานที่ 2
8. การประเมินผล
จุดประสงค์ วิธีการวัด เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
1. ด้านความรู้(Knowledge)
1) นักเรียนสามารถเขียน 1) พิจารณาจากการ 1) ใบงาน นักเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ
ความสัมพันธ์ตามเงื่อนไขที่ ทาใบงาน 2) แบบสังเกต 70 ถือว่าผ่านการประเมิน
กาหนดได้ 2) พิจารณาจากการ พฤติกรรม
2) นักเรียนสามารถบอโดเมน ตอบคาถามใน
ของความสัมพันธ์ได้ ห้องเรียน
3) นักเรียนสามารถบอกเรนจ์
ของความสัมพันธ์ได้
2. ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (Process)
1) นักเรียนสามารถสื่อ 1) พิจารณาจาก 1) ใบงาน นักเรียนที่สามารถแสดง
ความหมายทางคณิตศาสตร์ ร่องรอย ขั้นตอนใน 2) แบบสังเกต ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่
เกี่ยวสัญลักษณ์ของ การคิดคานวณ และ พฤติกรรม กาหนด ถือว่าผ่านการ
ความสัมพันธ์ สัญลักษณ์ การแก้ปัญหาทาง ประเมิน
โดเมนและเรนจ์ของ คณิตศาสตร์ในใบ
ความสัมพันธ์ได้ งาน
3. ด้านคุณลักษณะ (Attribute)
1) นั ก เรี ย นมี ค วามมุ่ ง มั่ น ใน 1) สังเกตพฤติกรรม 1) แบบสังเกต นักเรียนมีพฤติกรรมในการ
การทางาน ในการเรียน พฤติกรรม เรียนตามที่กาหนดถือว่า
ผ่านการประเมิน

9. กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมนาสู่บทเรียน
1. ครูสุ่มเรียกนักเรียนเพื่อถามความสูง แล้วเขียนอยู่ในรูปของคู่อันดับ เช่น
{(นิวตัน, 165), (ไอซ์, 166), (ครีม, 159)} เป็นต้น
2. ครูให้นักเรียนสังเกตว่าสมาชิกตัวหน้ากับตัวหลังมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร เมื่อนักเรียน
แสดงความคิดเห็นแล้วครูจังช่วยสรุปให้ว่าสมาชิกตัวหน้ากับตัวหลังมีความสัมพันธ์กัน
กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาผู้เรียน
1. ครูอธิบายความสัมพันธ์พร้อมยกตัวอย่าง
ความสัมพันธ์(Relation) คือ เซตของคู่อันดับที่สมาชิกตัวหน้าและสมาชิกตัวหลังมีความ
เกี่ยวข้องกันบางประการ จึงอาจกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์เป็นสับเซตของผลคูณคาร์ทีเซียนของเซต A
และเซต B หรืออาจเขียนได้ว่า r  A  B และเรียก r ว่า ความสัมพันธ์จาก A ไป B
นิยาม
r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ A  B
ถ้า r  A  A แล้วเรียก r ว่า ความสัมพันธ์บนเซต A
จากบทนิยามจะเห็นว่า ความสัมพันธ์เป็นเซตที่มีสมาชิกเป็นคู่อันดับ สามารถเขียนแบบแจกแจงสมาชิก
หรือแบบเงื่อนไขก็ได้ เช่น
ให้ A  {3,5,8,10} และ B  {2,6,9}
A  B  {(3,2), (3,6), (3,9), (5,2), (5,6), (5,9), (8,2), (8,6), (8,9), (10,2), (10,6), (10,9)}
ถ้า r1 เป็นความสัมพันธ์ “น้อยกว่า” จาก A ไป B
จะได้ว่า r1  {( x, y)  A  B x  y}
หรือ r1  {(3,6), (3,9), (5,6), (5,9), (8,9)}
ถ้า r2 เป็นความสัมพันธ์ “เท่ากับ” จาก A ไป B
จะได้ว่า r2  {( x, y)  A  B x  y}
หรือ r2 

หมายเหตุ ในกรณีที่ A และ B เป็นเซตของจานวนจริง อาจละการเขียน ( x, y)  R  R ไว้ในฐานที่


เข้าใจว่า r เป็นความสัมพันธ์บนเซตของจานวนจริง เช่น
r  {( x, y)  R  R x 2  y 2  1} อาจเขียนเป็น r  {( x, y)  x 2  y 2  1}

หรืออาจเขียนเฉพาะเงื่อนไขซึ่งบรรยายลักษณะของความสัมพันธ์ เช่น x2  y2 1
2. ครูวาดแผนภาพให้นักเรียนดูและลองสังเกตุ
ข้อมูลเข้า ข้อมูลออก

170 ตะวัน

ข้าวปั้น

ภูผา

175 ทิวา

ต้นกล้า

3. ครูลองให้นักเรียนเขียนความสัมพันธ์จากแผนภาพ ซึ่งจะเขียนได้ดังนี้
ความสัมพันธ์ r คือ {(170, ตะวัน), (170, ข้าวปั้น), (170, ภูผา), (175, ทิวา), (175, ต้นกล้า)}
4. ครูอธิบายต่อว่าจะเห็นว่า เซตของสมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับทั้งหมดใน r คือ {170, 175}
เรียกเซตของสมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับทั้งหมดในความสัมพันธ์ r ว่า โดเมน (domain) ของ r และ
เซตของสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทั้งหมดใน r คือ {ตะวัน, ข้าวปั้น, ภูผา, ทิวา, ต้นกล้า } เรียกเซตของ
สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทั้งหมดในความสัมพันธ์ r ว่า เรนจ์ (range) ของ r
5. ครูอธิบายนิยามของโดเมนและเรนจ์ พร้อมยกตัวอย่าง
นิยาม ให้ r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B
โดเมนของ r คือ เซตของสมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับทั้งหมดใน r
เรนจ์ของ r คือ เซตของสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทั้งหมดใน r

โดเมนของ r เขียนแทนด้วย Dr และเรนจ์ของ r เขียนแทนด้วย Rr เมื่อ r เป็นความสัมพันธ์จาก A


ไป B
เขียน Dr และ Rr ในรูปเซตแบบบอกเงื่อนไข ได้ดังนี้
Dr  {x  A มี y  B ซึง่ ( x, y)  r}
Rr  { y  B มี x  A ซึง่ ( x, y)  r}
ตัวอย่างที่ 1 ให้ A  {3,2,1,0,1,2,3} และกาหนดความสัมพันธ์ r บนเซต A คือ
{( x, y)  A  A y  x 2 } จงหาโดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์นี้
วิธีทา r เป็นความสัมพันธ์บนเซต A หมายถึง r  A  A
จะได้ r  {(1,1), (0,0), (1,1)}
ดังนั้น Dr  {1,0,1}
Rr  {0,1}
6. ครูมอบหมายใบงานที่ 2 ให้นักเรียนฝึกทา
กิจกรรมรวบยอด
ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยใบงาน สรุปการดูโดเมนและเรนจ์ รวมถึงเปิดโอกาสให้นักเรียน
ซักถามข้อสงสัย

10. สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2
สานักพิมพ์ สกสค หน้า 5 ถึงหน้า 9
2. ใบงานที่ 2

11. เอกสารประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ (เขียนแบบบรรณานุกรม)


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หนังสือเรียนรายวิชา
เพิ่มเติม คณิตศาสตร์เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
บันทึกผลการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ …….. เรื่อง ……………….………………………………………………………………….


ผลการเรียนรู้
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหา/อุปสรรค
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขครั้งต่อไป
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………

รับทราบผลการดาเนินงาน

ลงชื่อ........................................................... ลงชื่อ...........................................................
(นางสาวณัฎฐพัชร พรมราช) (นางสาวชลธิชา วัฒนาการ)
ครูผู้สอน ครูพี่เลี้ยง
…..…../………..………./…………. …..…../………..………./………….
ชื่อ.....................................................ชั้น...........เลขที่......
ใบงานที่ 2

1. ถ้า E={1,2,3} และ r={(1,1),(1,2),(2,3),(2,2),(3,3),(2,1)} แล้วจงพิจารณาว่า r เป็น


ความสัมพันธ์บนเซต E หรือไม่

2. ให้ A={0,2,4}, B={0,1,2} และ r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B


กาหนดโดย (x, y) r เมื่อ x > y
1) จงเขียน r แบบแจกแจงสมาชิก

2) จงเขียน r แบบบอกเงื่อนไขของสมาชิก

3. กาหนดให้ S={1, 2, 3, 4, 5} กาหนดความสัมพันธ์ r1 , r2 และ r3 ใน S ดังต่อไปนี้


r1  {( x, y)  S  S x  y  6}
r2  {( x, y)  S  S x  2 และ y  3}
r3  {( x, y)  S  S x  y  6}
จงเขียน r1 , r2 และ r3 แบบแจกแจงสมาชิก พร้อมทั้งหาโดเมนและเรนจ์ของแต่ละความสัมพันธ์
r1 =
Dr= Rr=
r2=
Dr= Rr=
r3=
Dr= Rr=

4. จงหาโดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ต่อไปนี้
1) {(-3, 9), (-2, 4), (-1, 1), (0, 0), (1, 1), (2, 4), (3, 9)}
Dr=
Rr=
2) {(-2, √ ), (-1, 1), (0, 0), (1, 1), (2, √ )}
Dr=
Rr=
3) {( x, y) y  2 x}
Dr=
Rr=
4) {( x, y)  I  I y  x  2}
Dr=
Rr=
5) {x, y) y  x }
Dr=
Rr=
6) {( x, y) y 2  x}
Dr=
Rr=
7) {( x, y) y  2}

Dr=
Rr=
1
8) {( x, y ) y  }
x2
Dr=
Rr=
ชื่อ......เฉลย........................................ชั้น...........เลขที่......
ใบงานที่ 2

1. ถ้า E={1,2,3} และ r={(1,1),(1,2),(2,3),(2,2),(3,3),(2,1)} แล้วจงพิจารณาว่า r เป็น


ความสัมพันธ์บนเซต E หรือไม่
เป็น

2. ให้ A={0,2,4}, B={0,1,2} และ r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B


กาหนดโดย (x, y) r เมื่อ x > y
1) จงเขียน r แบบแจกแจงสมาชิก
{(2,0),(2,1),(4,0),(4,1),(4,2)}
2) จงเขียน r แบบบอกเงื่อนไขของสมาชิก
|

3. กาหนดให้ S={1, 2, 3, 4, 5} กาหนดความสัมพันธ์ r1 , r2 และ r3 ใน S ดังต่อไปนี้


r1  {( x, y)  S  S x  y  6}
r2  {( x, y)  S  S x  2 และ y  3}
r3  {( x, y)  S  S x  y  6}
จงเขียน r1 , r2 และ r3 แบบแจกแจงสมาชิก พร้อมทั้งหาโดเมนและเรนจ์ของแต่ละความสัมพันธ์
r1= {(5,1),(1,5),(4,2),(2,4),(3,3)}
Dr= {1,2,3,4,5} Rr= {1,2,3,4,5}
r2= {(3,3),(4,3),(5,3)}
Dr= {3,4,5} Rr= {3}
r3=
Dr= Rr=

4. จงหาโดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ต่อไปนี้
1) {(-3, 9), (-2, 4), (-1, 1), (0, 0), (1, 1), (2, 4), (3, 9)}
Dr= {-3,-2,-1, 0, 1, 2, 3}
Rr= {9, 4, 1, 0,}
2) {(-2, √ ), (-1, 1), (0, 0), (1, 1), (2, √ )}
Dr= {-2, -1, 0, 1, 2}
Rr= {√ , 1, 0, 1}
3) {( x, y) y  2 x}
Dr= R (จานวนจริง)
Rr= จานวนจริงคู่
4) {( x, y)  I  I y  x  2}
Dr= I (จานวนเต็ม)
Rr= I (จานวนเต็ม)
5) {x, y) y  x }
Dr= R (จานวนจริง)
Rr= R+ (จานวนจริงบวก)
6) {( x, y) y 2  x}
Dr= R+ (จานวนจริงบวก)
Rr= R (จานวนจริง)
7) {( x, y) y  x }

Dr= R+ (จานวนจริงบวก) และ 0


Rr= R+ (จานวนจริงบวก)
1
8) {( x, y ) y  }
x2
Dr= R-{2}
Rr= x-2 = ดังนั้นเรนจ์คือ R-{0}

You might also like