INFJ

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 35

INFJ

บทนำ
INFJ เป็ นหนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบซึ่งมีชื่อเรียกว่า
MBTI หรือ Myers-Briggs Type Indicator โดยนักจิตวิทยา 2 คน
ได้แก่ Katherine Briggs และ Isabel Byers และยังเป็ นหนึ่งในบุ
คลกภาพที่หายากที่สุดในโลก

ประวัติของ MBTI
นักจิตวิทยา 2 คน ได้แก่ Katherine Briggs และ Isabel
Byers เป็ น 2 นักจิตวิทยาที่เป็ นแม่ลูกกัน โดยทั้ง 2 ได้นำแนวคิด
ของ นักจิตวิทยาชื่อ Carl G. Jung ที่มาจากงานเขียนของ
Psychologische Typen ในปี ค.ศ. 1921 มาพัฒนาต่อเพื่อให้ผู้คน
สามารถเข้าถึงในวงกว้างได้ง่ายขึ้น (Urbinner)
จุดเริ่มต้นของ MBTI นั้นเริ่มในปี ค.ศ. 1918 Isabel ได้พบ
เจอและตกหลุมรักกับ Clarence Myers ซึ่งทั้ง 2 คนนี้เป็ นคู่ครองที่
เหมาะสมกันมาก ภายหลังแต่งงานกัน ในระหว่างนั้น ความแตก
ต่างในเรื่องของบุคลิกภาพระหว่าง Isabel (INFP) และ Clarence
(ISTJ) เริ่มแสดงให้เห็น เป็ นจุดสำคัญจุดหนึ่งที่ทำให้ MBTI ถูก
สร้างขึ้นมา แม่ของ Isabel เริ่มเห็นความแตกต่างของคู่รักทั้ง 2 คน
อย่างชัดเจน เมื่อ Clarence มาที่บ้านของเธอเพื่อพบกับครอบครัว
ในระหว่างช่วงวันหยุดคริสต์มาส Katharine สรุปเรื่องที่ตนได้ค้น
พบนี้ว่า Clarence เป็ นผู้ชายหนุ่มที่น่าชื่นชม แต่เขาก็แตกต่างกับ
คนอื่นๆในครอบครัวของเธอ หลังจากนั้น Katharine ก็ลงมือปฏิบัติ
โดยเริ่มจาการอ่านชีวประวัติของบุคคลต่างๆ ต่อมาคิดค้นลักษณะ
ของบุคลิกภาพแบบต่างๆตามที่เธอได้ค้นพบด้วยตัวเอง โดยแบ่ง
ไว้ 4 แบบ ได้แก่
1.) บุคคลที่ชอบคิดไตร่ตรอง
2.) บุคคลที่ชอบใช้ชีวิตแบบเรื่อย ๆ ปล่อยตัวตามธรรมชาติ
3.) บุคคลที่มีลักษณะเป็ นผู้บริหาร
4.) บุคคลที่ชอบการเข้าสังคม
(ภายหลังถูกจัดเป็ น I, EP, ETJ และ EFJ ตามลำดับ) เมื่อ
Katharine บังเอิญได้อ่านหนังสือของ Carl Jung เกี่ยวกับ
บุคลิกภาพที่เขาได้ค้นพบ เธอก็รีบไปบอกกับลูกสาวของเธอทันที
และพูดออกมาว่า “มันใช่เลยล่ะ” Katharine ได้ศึกษาหนังสือของ
Carl Jung อย่างจริงจัง ทั้งเธอและลูกสาวมีความกระหายที่จะ
ศึกษาแบบลักษณะบุคลิกภาพเป็ นอย่างมากและเริ่มเดินหน้า
ค้นคว้าทำการวิจัยในระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1920 – 1930 ณ เวลานั้น
Isabel ก็สำเร็จการศึกษาจาก Swarthmore และแต่งงานเป็ นที่
เรียบร้อยแล้ว เริ่มต้นสร้างครอบครัวของเธอเอง ชีวิตการแต่งงาน
ของเธอมีอายุราว ๆ 61 ปี ก่อนที่ Clarence จะเสียชีวิตลง Carl
Jung เป็ นจิตแพทย์ชื่อดังชาวสวิสซึ่งในปัจจุบันยังมีการพูดถึงเขา
กันอยู่มากมาย ควบคู่ไปกับ Sigmund Freud พวกเขาสร้างรากฐาน
ของศาสตร์ต่างๆจนเปรียบเสมือนเป็ นบิดาแห่งจิตวิทยา ด้วย
ทฤษฎีทางจิตวิทยาของ Jung ที่เสนอแนะว่าผู้คนแตกต่างกัน
ตั้งแต่กำเนิด เริ่มตั้งแต่ พวกเขามองหรือรับรู้โลกอย่างไร, พวกเขา
จะรับรู้ข้อมูลได้อย่างไร และพวกเขาจะตัดสินใจได้อย่างไร ทั้ง
Katharine และ Isabel คิดว่าไอเดียของ Carl Jung นั้นน่าจะเป็ น
ประโยชน์กับสิ่งที่ทั้ง 2 แม่ลูกต้องการ Katharine และ Isabel มี
แรงกระตุ้นจากการที่ต้องการช่วยเหลือผู้คนให้เข้าใจตนเองและ
เข้าใจผู้อื่นมากกว่าเดิม ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 Isabel ตั้งใจที่
จะประดิษฐ์แบบทดสอบที่จะช่วยจำแนกลักษณะของบุคลิกภาพ
ให้แต่ละคนได้รับรู้ถึงลักษณะบุคลิกภาพของตนเอง เพื่อที่จะทำ
มัน Isabel จึงเข้าไปขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่มีความ
เชี่ยวชาญด้านการทำเครื่องมือวัดผลทางจิตวิทยาโดยเฉพาะ
(Psychometrician) หลังจากนั้นงานของเธอก็ได้รับการรับรองโดย
ศาสตราจารย์จาก Universities of California, Michigan และ
Florida ทำให้ตัวชี้วัด MBTI นำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวางและ
อีกหนึ่งจุดสำคัญ แบบทดสอบ MBTI ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกโดย
Educational Testing Service (ETS) ภายใต้การดูแลของ Henry C.
Chauncey ต่อมาในปี ค.ศ. 1968 นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมชาว
ญี่ปุ่ นชื่อ Takeshi Ohsawa ได้รับการอนุญาตให้แปลและเผยแพร่
MBTI แก่คนญี่ปุ่ นทั้งประเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการ
เลือกงานให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพของแต่ละคน เป็ นการแปล
MBTI เป็ นภาษาอื่นครั้งแรก โดยในช่วงนั้นมีการตีพิมพ์ MBTI
ออกเป็ นทั้งหมด 14 ภาษา จุดสำคัญอีกจุดหนึ่งในประวัติของ
MBTI คือนักจิตวิทยาคลินิกจาก University of Florida ใน
Gainesville, FL ชื่อ Mary McCaulley เข้าเยี่ยม Isabel และความ
สัมพันธ์ของทั้งคู่ก็ดีเยี่ยมในตลอดเวลา 5 ปี ในช่วงนั้นได้มีการนำ
คอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผล โดยใช้ทำการวิจัยกับนักเรียน
กว่า 3000 คนและสร้างโปรแกรมฝึกอบรมการใช้ MBTI ในช่วงปี
ค.ศ. 1970 งานของ Isabel ได้รับการชื่นชมเป็ นอย่างมาก ทาง
คณะและนักเรียนจาก University of Florida ช่วยกันพัฒนา MBTI
อย่างเต็มที่ เป็ นสาเหตุให้ MBTI พัฒนาไปอย่างมาก หลังจากนั้น
ปี ค.ศ. 1975 Consulting Psychologists Press (CPP) รับไปตีพิมพ์
ต่อ ซึ่ง CPP ยังคงเป็ นผู้จัดการเกี่ยวกับ MBTI จนถึง
ปัจจุบัน(https://www.getrealme.com/mbti-history/)
MBTI เป็ นหนึ่งในตัวช่วยให้เข้าใจตนเอง ทำให้สามารถ
พัฒนาตนเองไปในด้านที่ตนเองถนัดและไม่ถนัดได้ถูกทาง และ
ทำให้เข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้นสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม
ที่มาของ INFJ
INFJ เป็ นหนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบ ซึ่งประกอบไปด้วย
I, N, F, J เป็ นส่วนประกอบ ซึ่งอยู่ในผู้นำสไตล์ NF ผู้เชื่อมโยง
ผู้คน ได้แก่ บุคลิกภาพแบบ
INFJ - ผู้ให้คำปรึกษา
INFP - นักไกล่เกลี่ย
ENFP - ผู้ชนะเลิศ
ENFJ - ผู้ให้
มองโลกด้วยความเป็ นไปได้ เชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้ากับคุณค่าและ
ผู้คน เป็ นคนที่ ยึดมั่นในอุดมคติ ต้องการทำงานและต้องการสร้าง
ประโยชน์ให้กับโลกนี้ ผู้นำแบบ NF มักจะมองโลกในแง่ดี มีความ
อบอุ่น ทำให้ผู้คนที่อยู่รอบข้างสามารถรับฟังความคิดเห็นและ
เชื่อมมั่นในตัวเขาได้เป็ นอย่างดี พวกเขาต้องการเชื่อมโยงสิ่งที่
เขาทำเข้ากับผู้คน ทำในสิ่งที่ความหมาย และเขาก็จะมีแรง
บันดาลใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุดหากเขาได้ทำตามสิ่งที่เสียงหัวใจของ
ตัวเองเรียกร้อง(Urbinner)
I ย่อมาจาก Introversion หมายถึง มีทิศทางการใช้พลังงาน
ไปกับสิ่งภายใน และรู้สึกได้รับพลัง เมื่อได้ใช้เวลาไปกับสิ่งที่เกิด
ขึ้นภายใน N ย่อมาจาก Intuition หมายถึง ถนัดในการรับรู้ข้อมูล
ในภาพรวม ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ความหมายที่
ซ่อนอยู่ หรือรูปแบบที่เกิดขึ้น F ย่อมาจาก Feeling หมายถึง
กระบวนการตัดสินใจหรือนำมาสู่ข้อสรุปนั้นมาจากคุณค่าที่คุณให้
ความสำคัญหรือคุณค่าที่สังคม วัฒนธรรมให้ความสำคัญ J ย่อมา
จาก Judging หมายถึง ถนัดในการรับมือกับโลกภายนอกโดย
อาศัยการวางแผน ความแม่นยำ โดยจะอาศัย ระเบียบแบบแผนใน
การรับมือกับโลกภายนอก เช่นการวางแผน การจัดตาราง
เวลา(Urbinner)
INFJ เป็ นบุคลิกภาพที่เก็บตัว มีความคิดอยู่ในรูปแบบ
นามธรรม การตัดสินใจที่มาจากคุณค่าที่สังคม วัฒนธรรมให้ความ
สำคัญ และการมีระเบียบแบบแผน(Urbinner)

ลักษณะของ INFJ
INFJ มีอีกชื่อเรียกว่า ผู้แนะนำ, ผู้ให้คำปรึกษา เป็ น
บุคลิกภาพที่มองไม่ออกว่าเป็ น Extraversion หรือ Introversion
จึงมีฉายาว่า ครูอยู่ในถ้ำที่รอนักเรียนเข้าหา
มีลักษณะคือ มีความเห็นอกเห็นใจ ด้วยความรู้สึกที่
แข็งแกร่งของสัญชาตญาณและความเข้าใจทางอารมณ์ INFJ จึง
สามารถพูดนุ่มนวลและเห็นอกเห็นใจ ไม่ได้หมายความว่าพวกเขา
เป็ นคนผลักดัน INFJ มีความเชื่ออย่างลึกซึ้งและมีความสามารถ
ในการดำเนินการอย่างเด็ดขาดเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ เป็ นผู้ช่วย
แม้ว่าพวกเขาจะเก็บตัวตามธรรมชาติ แต่คนที่มีบุคลิกภาพ
ประเภท INFJ สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและมีความ
หมายกับผู้อื่นได้ พวกเขาสนุกกับการช่วยเหลือผู้อื่น แต่พวกเขา
ยังต้องการเวลาและพื้นที่เพื่อเติมพลังอีกด้วย เป็ นนักอุดมคติ คือ
สิ่งที่ทำให้ INFJ แตกต่างคือความสามารถของพวกเขาในการ
แปลงอุดมคตินิยมให้เป็ นการปฏิบัติ พวกเขาไม่เพียงแค่ฝันถึงการ
เปลี่ยนแปลงโลกเท่านั้น แต่ยังทำให้มันเกิดขึ้นอีกด้วย ชอบจัด
ระเบียบ ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ INFJ ชอบใช้อำนาจควบคุมโดยการ
วางแผน จัดระเบียบ และตัดสินใจโดยเร็วที่สุด ใช้ทั้งทางอารมณ์
และตรรกะ เมื่อจะตัดสินใจ INFJ ให้ความสำคัญกับอารมณ์
มากกว่าข้อเท็จจริงที่เป็ นรูปธรรม แต่ INFJ เข้าใจโลกทั้งดีและไม่
ดี และหวังว่าจะสามารถทำให้โลกดีขึ้นได้(Kendra Cherry,
MSEd)
จุดเด่นของ INFJ
ชอบที่จะช่วยเหลือผู้คน
มีความคิดสร้างสรรค์และทักษะศิลปะ
มองการณ์ไกล
สามารถจัดระบบสิ่งต่างๆ ได้ดี
เป็ นผู้ฟังที่ดี มีความเข้าใจความรู้สึกและสิ่งที่ผู้คน
ต้องการ
จุดด้อยของ INFJ
อ่อนไหวมากเกินไป
บางครั้งก็ยากที่จะทำความรู้จัก
มีความคาดหวังสูงเกินไป
ดื้อดึง
ไม่ชอบการเผชิญหน้า
ความสัมพันธ์ของ INFJ
ประเภทบุคลิกภาพที่เข้ากันได้กับ INFJ มากที่สุด
คือ ENTP และ ENFP
ประเภทบุคลิกภาพที่เข้ากันได้กับ INFJ น้อยที่สุด
คือ ISTP และ ESTP
(Kendra Cherry, MSEd)
INFJ ในที่ทำงาน บุคลิกภาพนี้ชอบที่ทำงานที่ทำให้
เงียบ ทำให้เขาสามารถมี
สมาธิ เพื่อทำงานได้อย่างจริงจัง โดยที่เขามักชอบใช้เวลาทั้งวัน
ไปกับการจินตนาการในสิ่งที่เป็ นอุดมคติ เขาทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็ น
ระบบ และมักชอบที่ทำงานที่ได้ช่วยเหลือผู้คน หรือส่งผลต่อคน
หมู่มากไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง INFJ จะรู้สึกแย่หรือเสียใจเมื่อเขาได้
รับคำตำหนิในผลงาน เพราะเขาเป็ นคนที่ทุ่มเทในผลงานของตัว
เอง แต่เมื่อมีประสบการณ์ พวกเขาก็สามารถทำความเข้าใจและ
เดินหน้าต่อไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะความคาดหวังและ
จินตนาการที่สูงมากทำให้ INFJ ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ
เมื่อต้องรู้ว่าอุดมคติที่เขาวาดไว้ต่างกับความเป็ นจริง เมื่อได้เป็ น
ผู้นำ INFJ เป็ นผู้นำที่ให้แรงบันดาลใจ วิสัยทัศน์กับคนอื่นได้เป็ น
อย่างดี ซึ่งเขามักจะทุ่มเทให้การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสิ่ง
ต่างๆ ให้เป็ นไปตามวิสัยทัศน์นั้น(Urbinner)
INFJ ในรูปแบบเพื่อน สำหรับ INFJ เพื่อนอาจสำคัญ
น้อยกว่าครอบครัว แต่
เขาก็ให้ความสำคัญกับมิตรภาพโดยเฉพาะเพื่อนแท้ เพราะเขาจะ
มองหาความจริงใจในความสัมพันธ์ ทำให้ในกลุ่มเพื่อน INFJ จะ
สามารถดึงดูดคนได้อย่างมาก เพราะเป็ นคนที่ให้แรงบันดาลใจ
และแรงกระตุ้นกับเพื่อนได้(The Story)
INFJ ในรูปแบบคนรัก INFJ เป็ นคนที่อบอุ่น ชอบ
แสดงออกถึงความรัก มุ่งมั่นที่จะทำให้ความรักของตนเองสมบูรณ์
แบบ ในขณะเดียวกันเขาก็ชอบที่ให้คนรักแสดงความใกล้ชิดและ
สนิทสนม เพราะพวกเขาจะมีความสุขที่สุดในช่วงเวลานั้น เขา
ต้องการให้คนรักแชร์ความคิด ความรู้สึกต่างๆต่อเขาเป็ นอย่างมาก
โดยกลุ่มคนที่เหมาะที่จะอยู่ร่วมกับ INFJ คือ ENFP และ ENTP
ซึ่งเมื่อเขาอยู่ด้วยกันจะทำให้พูดคุยกันได้เข้าใจได้เป็ นอย่าง
ดี(The Story)
INFJ ในรูปแบบพ่อแม่ INFJ มีทักษะในการทำความ
เข้าใจความรู้สึก พวกเขาจึงมีความใกล้ชิดและเชื่อมโยงกับลูกๆ
ของตนมาก พวกเขามีมาตรฐานที่สูงและสามารถมีความคาดหวัง
ด้านพฤติกรรมที่สูงมาก พวกเขาสนับสนุนให้บุตรหลานตาม
หาความชอบและความสามารถของตน เพื่อให้ลูกๆของพวกเขา
สามารถตระหนักถึงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่(Kendra
Cherry, MSEd)
อาชีพยอดนิยมของ INFJ
ศิลปิน
นักแสดงชาย
ผู้ประกอบการ
ผู้ปฏิบัติงานศาสนา
นักดนตรี
บรรณารักษ์
ที่ปรึกษา
นักจิตวิทยา
นักเขียน
ครู
ช่างภาพ(Kendra Cherry, MSEd)
INFJ นั้นมีลักษณะที่
Cognitive Functions ของ INFJ
Cognitive function คือ กระบวนการที่สมองใช้ในการ
ประมวลผลผ่านการรับข้อมูลและตัดสินใจสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็ นทฤษฎี
พื้นฐานที่ถูกคิดค้นโดยนักจิตวิทยาชื่อ Carl Jung โดย cognitive
function จะมีอยู่ทั้งหมด 8 ฟังก์ชั่น ซึ่งบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบที่
แตกต่างกันนั้น ก็มีสาเหตุมาจากความแตกต่างของ cognitive
function ที่แต่ละ type มีไม่เหมือนกัน การรวมตัวของฟังก์ชั่นของ
แต่ละ type เรียกว่าเป็ น Type Dynamic หรือพลวัตของบุคลิกภาพ
ใน MBTI(urbinner)
การใจถึงบทบาทของแต่ละการทำหน้าที่ การทำหน้าทั้ง 8
แบบมีบทบาทและหน้าที่ที่แตกต่างกันไปดังนี้
การทำหน้าที่ลำดับ 1 – บทบาท Hero / Heroine การทำหน้าที่ที่
แข็งแรงที่สุด จะอยู่ในบทบาทของ Hero/Heroine (ฮีโร่/วีรสตรี)
ซึ่งก็คือการทำหน้าที่หลัก (Dominant Function) ทำหน้าที่ที่ให้
ประสบความสำเร็จหลายๆอย่าง ช่วยให้รับมือและแก้ไข
สถานการณ์ที่เลวร้ายให้ดีขึ้น เมื่อพิจารณาถึงสิ่งต่างๆในชีวิต เวลา
ใดที่มีความก้าวหน้าเป็ นอย่างมากหรือได้ทำอะไรที่ยิ่งใหญ่สุดๆ
จนประสบความสำเร็จจากการที่ทำงานเป็ นอย่างหนัก นั่นเป็ นผล
มาจากการทำหน้าที่ของ Hero / Heroine ที่ช่วยแบกรับและดำเนิน
ทำสิ่งต่างๆให้เกิดผลสำเร็จ

การทำหน้าที่ลำดับ 2 – บทบาท Auxiliary / Supportive / Parent


เป็ นการทำหน้าที่ที่แข็งแรงที่สุดรองลงมาจากการทำหน้าที่แรก
คือการทำหน้าที่อันเสริม (Auxiliary Function) ช่วยสนับสนุนการ
ทำหน้าที่แบบ Hero/Heroine โดยทั้งการทำหน้าที่ลำดับ 1 และ
การทำหน้าที่อันนี้ก็เป็ น 90% ของบุคลิกภาพ บางครั้งการทำ
หน้าที่นี้ถูกเรียกว่าเป็ นผู้ปกครอง (Parent) เพราะว่าการทำหน้าที่
อันนี้มันถูกใช้ในการช่วยเหลือคนอื่นหรือการสนับสนุนผู้อื่น เมื่อ
เราเอื้อมมือเข้าไปช่วยเหลือใครสักคน เราจะเริ่มต้นการช่วยเหลือ
นี้จากการทำหน้าที่ลำดับ 2
การทำหน้าที่ลำดับ 3 – บทบาท Tertiary / Relief การทำหน้าที่อัน
ใดก็ตามที่อยู่ในบทบาทของ Tertiary/Relief จะเป็ นการทำหน้าที่
อันที่อ่อนแอและสร้างปัญหาเสมอ การทำหน้าที่นี้จะไม่พัฒนา
จนกว่าจะถึงช่วงวัยกลางคน เนื่องมาจากมันถูกใช้งานน้อยมากๆ
และถ้าหากมีความจำเป็ นต้องใช้การทำหน้าที่อันนี้ในระหว่างช่วง
ที่คุณเป็ นวัยรุ่นหรืออยู่ในช่วงกลางของอายุเลข 2 จะพบกับความ
ผิดพลาดและความล้มเหลว ไม่สามารถไว้ใจในการทำหน้าที่
ลำดับ 3 ได้อย่างที่ทำในการทำหน้าที่ลำดับ 1 และ 2 นักจิตวิทยา
แนะนำว่าควรจะใช้การทำหน้าที่บทบาท Tertiary/Relief ในเรื่อง
เกี่ยวกับการผ่อนคลาย, การเล่นสนุก, การพักผ่อนหย่อนใจ หรือ
อะไรก็ได้ที่ไร้ความเครียด ดังนั้นอีกชื่อหนึ่งของบทบาทนี้นอกจาก
ที่แปลว่าลำดับที่ 3 (Tertiary) มันจึงถูกเรียกว่า Relief หรือที่แปล
ว่าการผ่อนคลาย
การทำหน้าที่ลำดับ 4 – บทบาท Inferior / Aspirational การทำ
หน้าที่อันใดก็ตามที่อยู่ในบทบาทของ Inferior/Aspirational จะ
อ่อนแอ แต่มันก็ซ่อนบางอย่างที่พิเศษดั่งชื่อบทบาทที่ว่า
Aspirational คือที่เป็ นความปรารถนา การทำหน้าที่อันนี้จะเป็ นสิ่ง
ที่ต้องการจะให้ดีขึ้น ในระหว่างช่วงที่ยังอายุไม่เยอะ การใช้
การทำหน้าที่ลำดับ 4 จะเป็ นจุดอ่อน อาจจะพบเจอกับความผิด
พลาดหรือที่ต้องอับอาย ไม่สามารถใช้ทักษะหรือปฏิบัติงานอะไร
ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ลำดับ 4 นี้ได้อย่างง่าย แต่ค้น
พบความน่าพึงพอใจ อาจจะเป็ นความก้าวหน้าและสร้างสมดุลให้
กับชีวิต ถ้าพยายามลองฝึกใช้การทำหน้าที่อันนี้อย่างเป็ นระยะๆ
การทำหน้าที่ลำดับ 4 ยังถูกมองว่าเป็ นการทำหน้าที่ที่เปรียบ
เสมือนประตูการเข้าสู่จิตใต้สำนึก มันจะเป็ นเรื่องดีถ้าใช้การทำ
หน้าที่ลำดับ 4 ในแบบที่ไร้ความกดดัน, ความเครียด และในทางที่
ดีงาม เนื่องจากการทำหน้าที่ลำดับ 4 จะเป็ นที่เก็บพลังงานและตัว
สร้างความคิดสร้างสรรค์ที่จะมีประโยชน์โดยอาจไม่รู้สึกตัว
เนื่องจากมันอาจเกิดขึ้นโดยมาจากจิตใต้สำนึก ควรจะพยายาม
ลองใช้การทำหน้าที่ลำดับ 4 จะช่วยให้คุณสามารถทำทุกสิ่งที่คุณ
ทำได้
การทำหน้าที่ลำดับ 5 – บทบาท Opposing มักจะใช้การทำหน้าที่
ลำดับ 5 ในแนวทางการป้องกันตัวเอง ตามที่ชื่อบทบาทของเรียก
ว่า Opposing (ที่คัดค้าน) มันเป็ นสิ่งที่ทำให้คุณกลายเป็ นคนดื้อ
ดึง, ไม่เห็นด้วย, ไม่เป็ นมิตร, ก้าวร้าว, ที่ชอบเถียง และที่ขัดขวาง
คุณจะไม่เข้าร่วมหรือให้ความสนใจกับอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในเวลา
นั้น ดูการทำหน้าที่ลำดับ 5 ของ MBTI 4 ตัว จากนั้นลองอ่านดู
ว่าการทำหน้าที่อันนั้นมันเกี่ยวกับอะไรและมันผลักดันให้คุณกลาย
เป็ นคนที่ปกป้องตัวเองใช่หรือไม่
การทำหน้าที่ลำดับ 6 – บทบาท Critical Parent พวกเราทุกคน
เคยถูกพ่อหรือแม่ตำหนิมาแล้วทั้งนั้น มันเป็ นตอนที่พ่อแม่บอกเรา
ว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นมันผิดหรือแย่ การทำหน้าที่ในบทบาท
Critical Parent จะเป็ นเหมือนผู้ปกครองที่คอยตำหนิอยู่ในหัวของ
เรา มันจะมีผลให้เราวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองหรือผู้อื่น การทำหน้าที่
อันนี้ถูกใช้อย่างเป็ นระยะๆและจะปรากฎออกมาในสถานการณ์ที่
คุณมีความเครียด เช่น ในเวลาใดที่คุณมีสิ่งที่สำคัญๆตกอยู่ใน
ความเสี่ยง, ความอันตราย หรืออะไรก็ตามที่เป็ นในทางลบ เมื่อมัน
เกิดขึ้นแล้ว มันก็สามารถที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำหน้าที่
อันใดก็ตามที่อยู่ในบทบาทนี้ จะทำให้คุณได้ลิ้มรสกับการตำหนิติ
เตียนตัวเองอย่างแน่นอน เพื่อที่จะเข้าถึงด้านดีของการทำหน้าที่
ในบทบาทนี้ เราควรเรียนรู้ที่จะเห็นคุณค่าและเปิดใจให้กับมัน มัน
อาจจะสร้างคุณภาพและสติปัญญาอย่างน่าเหลือเชื่อให้กับคุณ
การทำหน้าที่ลำดับ 7 – บทบาท The Trickster การทำหน้าที่อันใด
ก็ตามที่อยู่ในการทำหน้าที่ลำดับ 7 จะสร้างความเศร้าโศกใน
ตลอดช่วงเวลาชีวิตของคุณ การทำหน้าที่บทบาท The Trickster
จะหลอกเราและจะบิดเบือนเราในสิ่งที่เราได้พบเจอหรือที่คิดว่า
เราได้สัมผัสมาให้เราเข้าใจไปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมันตรงข้ามกับ
ความเป็ นจริง Mike Shur ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประเมินผลและ
บุคลิกภาพได้ให้คำอธิบายไว้ว่า การทำหน้าที่ลำดับ 7 ก็เหมือน
เราได้เดินผ่านบ้านอันแสนสนุกในงานรื่นเริง ข้างในมีห้องที่มีแต่
กระจก มันยืดและบิดเบือนคุณ ให้คุณดูสูงและผอมกว่าสิ่งที่คุณ
เป็ นจริงๆ การทำหน้าที่ลำดับ 7 มักจะเกิดขึ้นบ่อยที่สุดก็ตอนที่คุณ
มีความเครียดหรืออยู่ภายใต้ความกดดัน ไม่ก็อยู่ในช่วงที่คุณเหนือ
ยหนักเกินไป คุณจะไม่สามารถเชื่อในการรับรู้ข้อมูลหรือการตัดสิน
ใจของคุณได้เลยถ้าหากอยู่ในช่วงที่การทำหน้าที่ลำดับ 7 นั้นถูก
ใช้งานอยู่ คุณจะมองเห็นและเชื่อสิ่งต่างๆที่มันไม่ใช่ความจริง คุณ
จะทำให้ตัวเองหรือคนรอบข้างตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเลือก
ระหว่าง 2 ทางเลือกด้วยความจำยอม (Double Bind) เพราะไม่ว่า
ทางเลือกไหนก็ไม่ดีทั้งนั้น
การทำหน้าที่ลำดับ 8 – บทบาท Demonic / Transformative การ
ทำหน้าที่อันใดก็ตามที่อยู่ในบทบาท Demonic/Transformative
จะอธิบายถึงสิ่งที่คุณมีความแย่มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ชื่อของ
บทบาทนี้จึงถูกเรียกว่า Demonic (ซึ่งเหมือนปี ศาจ) การทำหน้าที่
ลำดับ 8 นี้นานๆทีจะสามารถเป็ นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ที่จะ
ขับเคลื่อนคุณสู่การเจริญเติมโตที่ดีและโตเต็มวัยในด้านของ
บุคลิกภาพได้ ที่บอกว่านานๆทีเพราะมันยากที่เราจะพัฒนาข้อเสีย
อันยิ่งใหญ่ของบทบาทนี้ แต่ถ้าคุณพอที่จะแก้มันได้บ้าง มันจะ
ช่วยให้คุณพบกับความสำเร็จได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน
แต่โดยส่วนมากถ้าสถานการณ์มันบังคับให้คุณต้องใช้การทำ
หน้าที่อันนี้ มันจะไม่เป็ นเรื่องดีอย่างแน่นอนและคุณยังจะต้อง
เสียใจในภายหลังถ้าหากต้องทำอะไรที่มีความเกี่ยวข้องกับ
บทบาทนี้ด้วย(getrealme)
Primary Function
Dominant: Introverted Intuition
Introverted intuition (Ni) คือ ฟังก์ชั่นที่ทำหน้าที่
ในการรับข้อมูล (perceiving function) โดยมักจะทำงานกับสิ่งที่
เป็ นนามธรรม จับต้องไม่ได้ มองหาความเชื่อมโยง รูปแบบ และ
ความหมายที่ซ่อนอยู่ในสิ่งต่างๆ โดยที่มีลักษณะเข้าหาภายใน
(introverted function) บุคลิกภาพที่มี Introverted intuition (Ni)
เป็ นฟังก์ชั่นหลัก (dominant function) มักจะมีกระบวนการทำงาน
ภายในส่วนใหญ่เกิดขึ้นด้วยฟังก์ชั่นนี้ และทำให้ cognitive
function นี้เป็ นส่วนสำคัญในบุคลิกภาพ ซึ่งบุคลิกภาพที่มี Ni เป็ น
cognitive function แรกได้แก่
INTJ - นักกลยุทธ์ มีวิสัยทัศน์ มองการไกล
INFJ - ผู้ให้คำปรึกษา สำรวจความคิด ใส่ใจ ช่วยเหลือ
กระบวนการทำงานของฟังก์ชั่น Introverted Intuition (Ni) ใน
MBTI Introverted Intuition (Ni) เป็ นฟังก์ชั่นที่มีหน้าที่รวบรวม
ข้อมูล รับรู้ข้อมูล โดยจะเป็ นการรับรู้ที่มีลักษณะเด่นคือ
มองหารูปแบบที่ซับซ้อนที่สุดเพื่อที่จะเข้าใจการทำงานของสิ่ง
ต่างๆ
ค้นหาความเข้าใจผ่านสิ่งที่เป็ นนามธรรม
ให้คุณค่า ความหมาย หรือสัญลักษณ์กับสิ่งต่างๆ และแปลสิ่ง
เหล่านั้นออกมาในโลกแห่งความเป็ นจริง
พยายามรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะยาวหรือภาพรวม
มองหาความเป็ นระบบ คำอธิบาย ของปรากฏการต่างๆ
Cognitive function แบบ Introverted Intuition (Ni) นี้สามารถถูก
กระตุ้นทั้งจากสิ่งภายนอกเช่น รูป เสียง กลิ่น และสิ่งภายในเช่น
ความคิด ความทรงจำ และสามารถทำงานได้ในระดับจิตใต้สำนึก
บางครั้งอาจไม่สามารถควบคุมหรือบังคับให้เกิดขึ้นได้
สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานของ cognitive function แบบ
Introverted Intuition (Ni) คือการรับรู้สิ่งต่างๆ อย่างเป็ นนามธรรม
ซึ่งจะทำให้คนในบุคลิกภาพนี้มักจะ
มองทุกอย่างในมุมที่กว้างที่สุด ซับซ้อนที่สุด เป็ นได้อย่างลึกซึ้ง
ที่สุด
มีความคิด ความรู้สึก มุมมองบางอย่างที่อธิบายได้ยาก
สนุกกับการตีความคำพูดหรือสัญลักษณ์
มักจะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็ นเพียงสิ่งกระตุ้นให้เกิดความคิด
และใช้มันเป็ นเพียงคำบอกใบ้ของสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง
มองหารูปแบบและความเชื่อมโยงของทุกสิ่งที่เห็น พยายามเข้าใจ
ทุกอย่างตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เจอ
รู้สึกว่าชีวิตมีอะไรมากกว่าแค่สิ่งที่ปรากฏให้เห็น
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Introverted Intuition (Ni) การใช้งาน
ฟังก์ชั่น Introverted Intuition (Ni) จะเกิดขึ้นในตอนที่รับรู้ข้อมูล
เพราะ Ni เป็ น cognitive function ที่ทำหน้าที่รับรู้ข้อมูล
(perceiving function) ซึ่งตัวอย่างของการใช้งาน Introverted
Intuition (Ni) เช่น
บางครั้งรู้สึกว่าตัวเองรู้อะไรบางอย่าง แต่ก็ไม่เข้าใจว่ารู้สิ่งเหล่านั้น
ได้อย่างไร และเป็ นเรื่องยากที่จะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจตรงๆ ได้
ฉันอยากเข้าใจว่าความหมายของคำว่าชีวิตคืออะไร มักจะถามกับ
ตัวเองว่าการใช้ชีวิตอย่างมีความหมายสามารถทำได้อย่างไร
ตอนที่อยู่กับคนไม่รู้จัก ฉันมักจะมองหาคำอธิบายที่อยู่เบื้องหลัง
การแสดงออก คำพูดของผู้คนอยู่เสมอ
ฉันรู้สึกว่าต้องเข้าใจเป้าหมาย แผนการ ภาพรวมของงานก่อนที่จะ
ลงมือทำ และหากไม่ได้รู้สิ่งเหล่านั้นจะรู้สึกอึดอัดที่จะต้องทำมัน
เมื่อต้องคิดและวางแผน ฉันมักจะคิดอะไรอย่างซับซ้อน และให้
ความสำคัญกับการวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ตอนที่มองไปยังอาหารในจาน ฉันมองเห็นมากกว่าอาหารเหล่านั้น
ตั้งแต่ผู้คนที่ปลุกข้าว กระบวนการ วิธีการแปรรูปอาหาร จนถึงพ่อ
ครัวที่นำสิ่งเหล่านั้นมาปรุงให้เป็ นอาหารของฉันในมื้อนี้

ปัญหาที่เกิดจากการมี Cognitive Function แบบ Ni ที่ไม่พัฒนา


Cognitive function ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีและสามารถใช้งานได้ดีทุก
คน และแม้บุคลิกภาพที่มี introverted intuition (Ni) เป็ นฟังก์ชั่น
หลัก ก็อาจมีปัญหาจากการใช้ cognitive function ในชีวิต ซึ่งอาจ
ทำให้คนเหล่านั้น
ใช้ชีวิตกับความฝัน จินตนาการ และความคิดที่ไม่มีข้อเท็จจริงมาร
องรับ
ไม่สนใจรายละเอียดที่ขัดแย้งกับทฤษฎีของตนเอง
ดื้อรั้นกับความคิดของตัวเอง แม้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เอื้อ
อำนวย
คิดว่าตัวเองมีความคิดที่ลึกซึ้งมากกว่าคนอื่น เห็นความเชื่อมโยง
มากกว่าคนอื่น
ไม่ลงมือทำ กลัวที่จะลงมือทำ ผัดวันประกันพรุ่งในสิ่งที่เกี่ยวกับ
การลงมือทำด้วยการ กลับไปคิด วางแผน จินตนาการ
รู้สึกวิตกกังวลหากไม่เข้าใจทุกอย่างที่อยู่ข้างหน้า
Auxiliary: Extraverted Feeling
Extraverted feeling (Fe) คือ ฟังก์ชั่นที่ทำหน้าที่
ในตัดสินใจ (judging function) ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับคุณค่า
ส่วนรวม อารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น ค่านิยมในสังคม วัฒนธรรม
หรือสิ่งที่เป็ นปริมาณเชิงคุณภาพ ในการตัดสินใจ บุคลิกภาพที่มี
Extraverted feeling (Fe) เป็ นฟังก์ชั่นผู้ช่วย (auxiliary function)
จะมีการใช้งานฟังก์ชั่นนี้ในชีวิตรองลงมา แม้จะไม่เท่ากับฟังก์ชั่น
หลัก แต่ cognitive function นี้ก็ยังคงเป็ นส่วนสำคัญในบุคลิกภาพ
ด้วยเช่นกัน ซึ่งบุคลิกภาพที่มี Fe เป็ น cognitive function ลำดับ
สองได้แก่
ISFJ - นักอนุรักษ์ ระมัดระวัง อยู่กับความเป็ นจริง รอบคอบ
INFJ - ผู้ให้คำปรึกษา สำรวจความคิด ใส่ใจ ช่วยเหลือ
กระบวนการทำงานของฟังก์ชั่น Extraverted Feeling (Fe) ใน
MBTI Extraverted feeling (Fe) เป็ นฟังก์ชั่นที่มีหน้าที่ตัดสินใจ
ผ่านคุณค่าของกลุ่ม สังคม วัฒนธรรม และอารมณ์ความรู้สึกของ
ผู้คน โดยมีลักษณะกระบวนการทำงานคือ
ค้นหาคุณค่าของกลุ่ม สังคม วัฒนธรรม และตัดสินใจจากคุณค่า
เหล่านั้น
แสวงหาความเป็ นหนึ่งเดียว ความกลมเกลียวกันกับกลุ่ม
มองเหตุการณ์ การทำงาน หรือสิ่งต่างๆ ในเชิงที่เกี่ยวข้องกับผู้คน
ให้ความสำคัญกับผู้คน ผลกระทบกับผู้คน และความสัมพันธ์
ทำความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก ความต้องการ คุณค่าของผู้คน
ในมุมมองที่มีต่อคุณค่าส่วนรวมและสังคม
มองหาว่าอะไรเป็ นสิ่งสำคัญสำหรับคนอื่น
Cognitive function แบบ extraverted feeling (Fe) นี้มักจะถูก
กระตุ้นให้มีปฏิสัมพันธ์และเชื่อมต่อกับผู้คน ให้ความสำคัญกับ
คุณค่าที่มีในกลุ่มหรือสังคมเป็ นสิ่งแรกๆ และมักจะสนใจความเป็ น
ไปของกลุ่มมากกว่าผู้คนแต่ละคนในเชิงส่วนตัว สิ่งที่เกิดขึ้นจาก
กระบวนการทำงานของ cognitive function แบบ Extraverted
feeling (Fe) คือการตัดสินใจจากคุณค่าส่วนรวมซึ่งอาจเป็ นสิ่งที่
กลุ่ม สังคม หรือวัฒนธรรมนั้นมีและยึดถือไว้ ซึ่งทำให้คนใน
บุคลิกภาพที่มี Fe โดดเด่นมักจะ
มองเห็นผลกระทบของการตัดสินใจที่มีต่อผู้คนได้อย่างรวดเร็ว
ปฏิบัติตามคุณค่าของสังคมด้วยความเต็มใจ
พยายามรักษาคุณค่าหรือมาตรฐานที่ดีของกลุ่มและสังคมนั้นไว้
มีข้อถกเถียง ความคิด ความกังวลกับปัญหาที่มีผลกระทบต่อผู้คน
ต้องการดูแลผู้คนให้ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็ นทางกายภาพ สภาพ
อารมณ์ หรือการเติบโตภายใน
ตัดสินใจจากการใช้คุณค่าเป็ นหลัก ซึ่งไม่ใช่ระบบตรรกะ
พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ไม่ต้องการขัดแย้ง
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Extraverted Feeling (Fe) การใช้งาน
ฟังก์ชั่น extraverted feeling (Fe) จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจจาก
ระบบคุณค่าของกลุ่ม เพราะ Fe เป็ น cognitive function ที่ทำ
หน้าที่ตัดสินใจ (judging function) โดยตัวอย่างของการใช้งาน
extraverted feeling (Fe) คือ
ฉันไม่ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด เพราะฉันรู้ดีว่าหากขับเร็ว
เกินแล้วอาจส่งผลกระทบกับผู้คนได้อย่างไร
เมื่อต้องทำงานกับคนที่ไม่รู้จัก ฉันมักจะพยายามค้นหาว่าพวกเขา
มีลักษณะอุปนิสัยอย่างไร มีความต้องการอะไร เพื่อที่จะหาทาง
เข้ากับพวกเขา และทำงานร่วมกันได้
ฉันเลือกทำงานที่ได้ช่วยเหลือผู้คน และการช่วยเหลือผู้คนเป็ นสิ่ง
ที่ทำให้ฉันได้รับการยอมรับจากคนรอบข้างมากมาย
ฉันรู้สึกอึดอัดมากเมื่อเห็นเพื่อนที่ทำงานแสดงออกว่าพวกเขาไม่
พอใจกัน และเป็ นเรื่องง่ายสำหรับฉันมากที่จะสังเกตเห็นความไม่
พอใจนี้ แม้ว่าพวกเขาไม่ค่อยอยากจะแสดงออกมาให้คนอื่นรู้เท่า
ไหรนัก
ในเวลาสำคัญ ฉันมักเป็ นคนที่เสียสละความต้องการของตัวเอง
และฉันก็ภูมิใจกับการเสียสละนี้มาก เพราะสำหรับฉันการทำเพื่อ
คนอื่นหรือเพื่อส่วนรวมเป็ นสิ่งที่ยิ่งใหญ่
เมื่อฉันรู้ว่ามักจะมีรถของคนอื่นในหมู่บ้านมาจอดขวางทางเข้าบ้าน
ของเพื่อนในหมู่บ้านเป็ นประจำ แม้ว่าจะมีกฎห้ามจอดรถหน้าบ้าน
คนอื่นอยู่แล้ว ฉันจึงต้องช่วยเหลือคนที่ทำผิดกฎเพื่อไม่ให้
หมู่บ้านของเราไร้กฎเกณฑ์จนไปสร้างความเดือนร้อนให้กับคนอื่น
ปัญหาที่เกิดจากการมี Cognitive Function แบบ Fe ที่ไม่พัฒนา
Cognitive function ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีและสามารถใช้งานได้ดีทุก
คน และแม้บุคลิกภาพที่มี Extraverted feeling (Fe) เป็ นฟังก์ชั่น
หลัก ก็อาจมีปัญหาจากการใช้ cognitive function ในชีวิต ซึ่งอาจ
ทำให้คนเหล่านั้น
เชื่อว่าตัวเองรู้ดีว่าคนอื่นต้องการอะไร อะไรเป็ นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับ
คนอื่น
คิดว่าตัวเองเป็ นคนที่สำคัญที่สุด คนอื่นๆ ต้องพึ่งพาตัวเอง
ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร ตัดสินใจและทำตามคนรอบตัว
ตัดสินใจอะไรเองไม่ได้ ต้องการคำยืนยัน การตัดสินใจจากคนอื่น
คาดหวังว่าคนอื่นต้องทำดีกับตัวเอง ต้องดูแลตัวเองเป็ นอย่างดี
Tertiary: Introverted Thinking
กระบวนการทำงานของฟังก์ชั่น Introverted
Thinking (Ti) ใน MBTI Introverted thinking (Ti) เป็ นฟังก์ชั่นที่
มีหน้าที่ตัดสินใจผ่านระบบตรรกะ การจำแนกหมวดหมู่ที่เกิดขึ้น
ภายใน โดยมีลักษณะกระบวนการทำงานคือ
ให้ความสนใจกับตรรกะภายใน ซึ่งเป็ นกรอบความคิดส่วนตัวที่
สร้างขึ้นมาด้วยหลักเหตุผลของตัวเอง
จัดข้อมูลเป็ นหมวดหมู่เพื่อตัดสินใจ โดยในการจัดหมวดหมู่นี้จะ
เป็ นการจัดหมวดหมู่ที่แบ่งได้ว่าข้อมูลต่างๆ อยู่ที่ไหน เพื่อให้
วิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ
มองหาความแม่นยำในการตัดสินใจ ผ่านเกณฑ์ที่เป็ นกลาง
ค้นหาความจริงและหลักการที่ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้
เกิดขึ้นเพื่อนำมาพัฒนาระบบในการจัดหมวดหมู่ และกระบวนการ
ตัดสินใจภายใน
ทำความเข้าใจระบบด้วยการมองหาความสัมพันธ์ระหว่างกันในรูป
แบบของตรรกะ เช่น ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ A แล้วจะมีผลลัพธ์ B
ตามมา
Cognitive function แบบ Introverted thinking (Ti) นี้มักจะให้
ความสำคัญกับความแม่นยำในการจัดหมวดหมู่ ความถูกต้อง
ความเท่าเทียมเสมอภาพค่อนข้างมาก ทำให้เขามักจะวิเคราะห์สิ่ง
ต่างๆ ผ่านการแยกแยะที่เป็ นระบบแบบทวิลักษณ์ (Binomial) เช่น
ถูก-ผิด, ดี-ชั่ว หรือเป็ นสมาชิกของกลุ่ม-ไม่เป็ นสมาชิกของกลุ่ม
สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานของ cognitive function แบบ
Introverted thinking (Ti) คือตัดสินใจที่แม่นยำ ซึ่งเป็ นการตัดสิน
ใจที่มาจากระบบความคิดส่วนตัวของตัวเองจากการเรียนรู้ภายใน
ซึ่งทำให้คนในบุคลิกภาพที่มี Ti โดดเด่นมักจะ
สร้างหลักการ แนวความคิด เพื่อวิเคราะห์สิ่งต่างๆ รอบตัว
จัดหมวดหมู่ระบบความคิดขึ้นภายใน และใช้หมวดหมู่เหล่านั้น
แยกแยะ จัดประเภทข้อมูล เพื่อการตัดสินใจ
ปรับเปลี่ยนระบบความคิดภายใน (internal framework) ที่มีอยู่
เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้รับ และทำให้มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เรียนรู้ผ่านการทำความเข้าใจตรรกะเบื้องหลัง ที่มาที่ไป และวิธี
การทำงานของสิ่งต่างๆ
อยากรู้ว่าสิ่งต่างๆ ทำงานได้อย่างไร ความจริงคืออะไร
ให้การตั้งคำถามและวิจารณ์เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาระบบความ
คิด องค์ความรู้ และการตัดสินใจ ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น
Introverted Thinking (Ti) การใช้งานฟังก์ชั่น introverted thinking
(Ti) มักจะเกิดขึ้นในตอนที่ตัดสินใจ เพราะ Ti เป็ น cognitive
function ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ (judging function) แต่หลายคนที่มี
ฟังก์ชั่นนี้โดดเด่นมักจะพัฒนาระบบการตัดสินใจของตัวเองอยู่
เสมอในการรับรู้ข้อมูล และพวกเขาก็มักจะพร้อมปรับเปลี่ยน
พัฒนาระบบที่อยู่ในใจของเขาหากพบว่ามันมีข้อผิดพลาด ซึ่ง
ตัวอย่างของการใช้งาน introverted thinking (Ti) เช่น
ตอนที่ฉันเลือกซื้อรถยนต์ ฉันตั้งเกณฑ์ในการซื้ออยู่สามอย่างคือ
ราคา ความสบาย และการประหยัดพลังงาน ฉันพยายามหา
รถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตามหมวดหมู่สามอย่างนี้
ฉันจะค่อยๆ สร้างระบบวิธีในการตัดสินใจ และปรับปรุงมันเพื่อให้
ประสิทธิภาพมันสูงขึ้นเสมอ
ตอนที่จะพูดอะไรออกไป ฉันจะระมัดระวังในการใช้คำศัพท์ เพราะ
ฉันอยากจะมั่นใจว่าคนที่อยู่ข้างหน้าได้เข้าใจสิ่งที่คำนั้นได้อธิบาย
และสื่อออกมาจริงๆ ไม่ได้เข้าใจผิดเป็ นอย่างอื่น ซึ่งอาจทำให้การ
อธิบายของฉันยืดยาวออกไปมาก
ตอนที่ฉันกำลังคิดอะไรบางอย่าง ฉันมักจะมองมันด้วยมุมมองที่
เป็ นเหมือนระบบตาราง (grid) หรือตัวกรอง (filter) ที่ทำให้ฉัน
สามารถรู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหนในความคิด และแยกแยะเรื่องที่
เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากกันกลับไปกลับมา เพื่อที่
จะทำความเข้าใจมันให้ได้มากที่สุด
ฉันใช้ชีวิตอยู่ที่ต่างจังหวัด วันหนึ่งมีแมลงตัวใหญ่กำลังไต่กำแพง
และทำให้ภรรยากรีดร้องออกมาอย่างดัง แต่ฉันกลับคิดและตั้ง
คำถามในใจว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่เห็นมันเป็ นแมลงหรือแมง และนึกถึง
วิธีการจำแนกสองสิ่งนี้ออกจากกัน
เมื่อไหร่ก็ตามที่ฉันมีหลักการ แนวความคิดดีๆ หรือ framework
ดีๆ แล้วมันจะช่วยทำให้ฉันรับมือกับโลกภายนอก สิ่งใหม่ๆ ได้
ง่ายดายขึ้นมาก จนกว่าจะมีอะไรใหม่ๆ ที่ทำให้มันไม่เวิร์คอีกครั้ง
ฉันจึงจะกลับมาปรับเปลี่ยนและพัฒนาหลักการเหล่านั้นอีกครั้ง
หนึ่ง
ปัญหาที่เกิดจากการมี Cognitive Function แบบ Ti ที่ไม่พัฒนา
Cognitive function ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีและสามารถใช้งานได้ดีทุก
คน และแม้บุคลิกภาพที่มี introverted thinking (Ti) เป็ นฟังก์ชั่น
หลัก ก็อาจมีปัญหาจากการใช้ cognitive function ในชีวิต ซึ่งอาจ
ทำให้คนเหล่านั้น
คิดว่าตัวเองเป็ นคนที่ฉลาด วิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้ดี คนอื่นเป็ นคน
โง่ ไม่มีเหตุผล
ชอบประชดประชัน เสียดสี ถากถาง ชอบวิจารณ์สิ่งต่างๆ และสนุก
กับมัน
คิดวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้ทุกเรื่อง แต่กลับไม่สนใจเรื่องใกล้ตัว ใช้
ชีวิตในโลกความเป็ นจริงไม่ได้
หลีกหนีผู้คน ปลีกตัวออกจากสังคม หรือไม่สามารถเข้ากับสังคม
ได้
ไม่สนใจเรื่องความรู้สึก คิดว่าสิ่งเหล่านั้นไม่จำเป็ น ไร้สาระ ไม่มี
ความรู้สึก
ทำอะไรไปโดยไม่สนใจผลกระทบที่มีกับคนอื่น เพราะมีเหตุผล
ของตัวเองและคิดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็ นสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว

Inferior: Extraverted Sensing


กระบวนการทำงานของฟังก์ชั่น Extraverted
Sensing (Se) ใน MBTI Extraverted sensing (Se) เป็ นฟังก์ชั่นที่
มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล รับรู้ข้อมูล ซึ่งจะเป็ นการทำงานกับสิ่งที่เป็ น
รูปธรรม สามารถจับต้องได้โดยจะเป็ นการรับรู้ที่มีลักษณะเด่นคือ
ให้ความสนใจกับภายนอก ระงับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วย
ประสาทสัมผัสทั้ง 5
รับรู้รายละเอียดข้อเท็จจริง ข้อมูลจากประสาทสัมผัสได้อย่าง
รวดเร็วและไม่ตัดสิน
มองหาประสบการณ์ตรงกับสภาพแวดล้อม และการกระตุ้นโดย
ประสาทสัมผัสทั้ง 5
ทำงานกับสิ่งที่จับต้องได้ สิ่งที่เป็ นรูปธรรมจากภายนอก
มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม รายละเอียด ได้
อย่างรวดเร็ว
Cognitive function ชนิด extraverted sensing (Se) มักจะถูกกระตุ้น
ด้วยสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่อยู่ข้างหน้า ข้อมูล
หรือประสบการณ์ที่เปลี่ยนไปในทันที สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ
ทำงานของ cognitive function แบบ extraverted sensing (Se) คือ
การรับรู้สิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็ นจริงๆ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งจะ
ทำให้คนที่มี extraverted sensing (Se) เป็ นฟังก์ชั่นลำดับแรกหรือ
ลำดับที่สองในบุคลิกภาพมักจะ
จดจ่ออยู่กับปัจจุบันได้ง่าย
ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ตรง
รับรู้ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบตัวได้ง่าย
ชอบทำกิจกรรมที่กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5
มองเห็นรายละเอียดได้ดี รับรู้สิ่งที่อยู่ข้างหน้าในแบบที่มันเป็ น
ไม่อยากพลาดหรือมองข้ามรายละเอียดในสิ่งรอบตัว
ช่างสังเกต และสามารถบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นรอบตัวได้ดี
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Extraverted Sensing (Se) การใช้งาน
ฟังก์ชั่น extraverted sensing (Se) จะเกิดขึ้นในตอนที่รับรู้ข้อมูล
เพราะ Se เป็ น cognitive function ที่ทำหน้าที่รับรู้ข้อมูล
(perceiving function) โดยตัวอย่างของการใช้งาน extraverted
sensing (Se) คือ
ตอนที่ฉันมองไปยังภาพวาดงานศิลปะ ฉันรับรู้รายละเอียดที่อยู่ใน
รูปตั้งแต่ลายเส้น สี จนไปถึงวัตถุที่อยู่บนนั้น ฉันเห็นว่าในรูปวาดมี
ประตูและก็มีกุญแจดอกเล็กๆ อยู่ข้างๆ ประตูนั้น
ฉันมีแนวคิดว่าชีวิตของเรามีอยู่แค่ในวันนี้เท่านั้น และมีแต่ขณะนี้
เท่านั้นที่สำคัญสำหรับฉัน เพราะวันนี้และขณะนี้เป็ นช่วงเวลาเดียว
ที่เราสามารถใช้ได้อย่างเต็มที่
ตอนที่ได้ไปเดินสำรวจที่ทำงานใหม่ ฉันมองไปยังรอบๆ และดูว่ามี
อะไรวางอยู่ในตำแหน่งไหนบ้าง ฉันเห็นได้ทันทีว่าห้องทำงาน
ของฉันแสงสว่างน้อยกว่าห้องอื่นๆ เล็กน้อย
ในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง ฉันมักจะเป็ นคนที่ตอบสนองต่อ
สถานการณ์เหล่านั้นได้อย่างยอดเยี่ยม เหมือนฉันรู้ว่าจะต้องตอบ
สนองอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้น
ฉันมีความสุขมากที่ได้ออกไปทะเลกับเพื่อนๆ พูดคุยกับทุกคน ฉัน
สามารถสัมผัสได้ถึงลมที่กำลังกระทบกับใบหน้า และอากาศร้อน
นิดๆ ที่มาจากผืนทราย
เมื่อทำอะไรฉันจะต้องเห็นสิ่งที่จับต้องได้ เพื่อเรียนรู้จากสิ่งเหล่า
นั้น ถ้าฉันได้เห็นสิ่งเหล่านั้นอยู่ข้างหน้า ฉันจะเข้าใจมันได้ง่ายขึ้น
มากจริงๆ
เมื่อพูดถึงการปรับตัว ฉันคิดว่าฉันเป็ นคนที่ปรับตัวเข้ากับ
สถานการณ์ สภาพแวดล้อมใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ปัญหาที่เกิดจากการมี Cognitive Function แบบ Se ที่ไม่พัฒนา
Cognitive function ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีและสามารถใช้งานได้ดีทุก
คน และแม้บุคลิกภาพที่มี extraverted sensing (Se) เป็ นฟังก์ชั่น
หลัก ก็อาจมีปัญหาจากการใช้ cognitive function ในชีวิต ซึ่งอาจ
ทำให้คนเหล่านั้น
ไม่มีสมาธิในการทำงาน จดจ่อสิ่งที่ต้องทำ
คิดถึงความสนุกสนาน ความสุขระยะสั้น จนลืมการวางแผนระยะ
ยาว
ทำอะไรโดยไม่มีการวางแผน ไม่สนใจผลลัพธ์ที่ตามมา
ไม่สนใจองค์ความรู้ ทฤษฎี หรือภาพรวม
ทำอะไรเสี่ยงๆ ที่ทำให้ได้รับความตื่นเต้น ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อ
ชีวิต การทำงาน ทรัพย์สิน หรือความสัมพันธ์

Shadow Function
Opposing: Extraverted Intuition
กระบวนการทำงานของฟังก์ชั่น Extraverted
Intuition (Ne) ใน MBTI Extraverted intuition (Ne) เป็ นฟังก์ชั่นที่
มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล รับรู้ข้อมูล โดยจะเป็ นการรับรู้ที่มีลักษณะ
เด่นคือ
มองหาความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้น
รวบรวมข้อมูลในรูปแบบของกลุ่มข้อมูล ความเชื่อมโยง ที่ไม่มี
อะไรเกิดขึ้นมาด้วยตัวมันเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่น
มองหาความเข้าใจในแบบของภาพรวม
ค้นหาตัวเลือกใหม่ๆ ให้กับสถานการณ์ที่กำลังพบ
วิเคราะห์โลกภายนอกโดยให้ความสำคัญความเป็ นไปได้ในสิ่งที่
จับต้องได้
Cognitive function ชนิด extraverted intuition (Ne) มักจะถูกขับ
เคลื่อนด้วยการค้นหาความเป็ นไปได้ในอนาคต ซึ่งตอนที่ใช้ฟัง
ก์ชั่นนี้อาจนำความเป็ นไปได้ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตมา
รวมกันก็ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานของ cognitive
function แบบ extraverted intuition (Ne) คือการรับรู้สิ่งต่างๆ ผ่าน
ความเชื่อมโยง การหาความเป็ นไปใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้คนที่มี
extraverted intuition (Ne) เป็ นฟังก์ชั่นลำดับแรกหรือลำดับที่สอง
ในบุคลิกภาพมักจะ
ค้นหาความเป็ นไปได้ใหม่ๆ อยู่เสมอ
มีความคิด ไอเดียได้มากตามข้อมูล องค์ความรู้ที่ได้รับ
เก่งในการสร้างสิ่งใหม่ๆ จากวิธีการเดิมๆ
มีความคิดมากมายในหัวซึ่งพูดออกมาได้ไม่หมด
ชอบเรียนรู้อะไรแบบกระโดดไปมา ไม่ได้เรียนรู้เป็ นลำดับขั้นตอน
เชื่อมโยงสถานการณ์ในปัจจุบันเข้ากับสิ่งที่น่าจะเป็ นไปได้ใน
อนาคต
มองสิ่งต่างๆ เป็ นภาพรวม
สร้างโอกาสจากการเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ สามารถเป็ นอะไรได้บ้าง

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Extraverted Intuition (Ne) การใช้งาน


ฟังก์ชั่น extraverted intuition (Ne) จะเกิดขึ้นในตอนที่รับรู้ข้อมูล
เพราะ Ne เป็ น cognitive function ที่ทำหน้าที่รับรู้ข้อมูล
(perceiving function) โดยตัวอย่างของการใช้งาน extraverted
intuition (Ne) คือ
มองว่าชีวิตเป็ นเหมือนการเชื่อมโยงของความเป็ นไปได้ที่ไม่มีที่
สิ้นสุด
ตอนที่ฉันทำผิดพลาด ฉันมักจะบอกกับตัวเองว่ามันไม่ใช่เรื่อง
ใหญ่ ฉันได้ลงมือทำอย่างดีที่สุดแล้ว บางทีความผิดพลาดนี้จะ
เป็ นสิ่งสำคัญที่ทำให้ฉันได้เรียนรู้อะไรดีๆ มากกว่าเดิมก็ได้
ตอนที่ได้ระดมความคิด ฉันรู้สึกสนุกสนานกับมันมาก ฉันมักจะมี
ความคิดโลดเล่นเข้ามา โดยมองจากสิ่งที่เรามีอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นใน
อดีต และสิ่งที่สามารถเป็ นไปได้ในอนาคต
ฉันคิดถึงเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นว่าวันที่ลูกสาวฉันกำลังโตจนเข้า
โรงเรียนเป็ นอย่างไร เขาอาจจะทำอาชีพอะไร โตไปมีครอบครัว
แบบไหนตอนที่ฉันอายุมากแล้ว
ตอนที่ได้รับข้อมูลใหม่ๆ ฉันมีความคิดว่าฉันจะใช้สิ่งเหล่านี้ไปทำ
อะไรได้บ้างอยู่เสมอ
เมื่อต้องทำงาน ฉันมักจะมองไปยังภาพรวมของงานก่อนว่าจะ
ทำงานนี้ไปเพื่ออะไร แล้วหลังจากนั้นฉันจึงค้นหาวิธีในการทำงาน
ใหม่ๆ เพื่อทำงานนั้นออกมา
ปัญหาที่เกิดจากการมี Cognitive Function แบบ Ne ที่ไม่พัฒนา
Cognitive function ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีและสามารถใช้งานได้ดีทุก
คน และแม้บุคลิกภาพที่มี extraverted intuition (Ne) เป็ นฟังก์ชั่น
หลัก ก็อาจมีปัญหาจากการใช้ cognitive function ในชีวิต ซึ่งอาจ
ทำให้คนเหล่านั้น
เบื่อง่าย มองหาสิ่งใหม่ๆ ที่กระตุ้นความคิดเสมอ เพราะลึกๆ แล้ว
ไม่สามารถจดจ่ออะไรนานๆ ได้
ไม่สามารถทำตามตารางเวลา ให้คำสัญญาระยะยาว หรือทำงาน
จนเสร็จได้
คิดว่าตัวเองเข้าใจสิ่งต่างๆ มากกว่าคนอื่น ลึกซึ้งกว่าคนอื่น
มักหาข้ออ้างให้ตนเองได้อยู่เสมอ โดยเปลี่ยนแปลงข้ออ้างเป็ น
กรณีๆ ไป
เริ่มต้นทำอะไรหลายอย่างได้ดี แต่ไม่มีอะไรสำเร็จเลยสักอย่าง
ตัดสินใจไม่ได้ ทำงานไม่เสร็จตามกำหนด จนสร้างความเดือน
ร้อนให้กับเพื่อนร่วมงาน

Critical Parent: Introverted Feeling


กระบวนการทำงานของฟังก์ชั่น Introverted
Feeling (Fi) ใน MBTI Introverted feeling (Fi) เป็ นฟังก์ชั่นที่
มีหน้าที่ตัดสินใจผ่านคุณค่าภายในและความรู้สึกส่วนตัวที่เป็ น
ปัจเจก ไม่เหมือนใคร และไม่สามารถต่อรองได้ โดยมีลักษณะ
กระบวนการทำงานคือ
ใช้ความรู้สึกเป็ นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจ
มองหาความกลมเกลียวในความรู้สึก คุณค่าส่วนตัวที่มีกับตัวเอง
ไวต่อความรู้สึก อารมณ์ ที่เกิดขึ้นกับตัวเองโดยเฉพาะเมื่อมี
เหตุการณ์ใดที่จะมาละเมิดคุณค่าส่วนตัวนั้นจะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน
ภายในทันที
เข้าใจผู้คนในระดับคุณค่าของพวกเขา ว่าพวกเขาให้ความสำคัญ
กับอะไร
คุณค่าภายในที่มีอาจเป็ นคุณค่าที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ โดยจะเป็ น
สิ่งที่ไม่สามารถต่อรอง เจรจาเพื่อให้เปลี่ยนแปลงได้
เป็ นลักษณะความชอบ ความถนัด ซึ่งมักจะกำหนดสไตล์และ
รสนิยมของคนๆ นั้น
Cognitive function แบบ Introverted feeling (Fi) นี้มักจะให้ความ
สำคัญกับความเป็ นหนึ่งเดียวกันภายในและความรู้สึก ซึ่งทำให้
เกิดความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือความเป็ นปัจเจกขึ้นมาใน
สังคม และทำให้มีพลังในการขับเคลื่อนแนวความคิดต่างๆ
มากมายเช่นสิทธิส่วนบุคคล สิทธิมนุษยชน หรืออิสรภาพ สิ่งที่
เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานของ cognitive function แบบ
Introverted feeling (Fi) คือการใช้คุณค่าภายในเป็ นตัวตัดสิน
เปรียบเทียบว่าควรจะทำสิ่งเหล่านั้นหรือไม่ หรือควรจะทำอะไร
ซึ่งทำให้คนในบุคลิกภาพที่มี Fi โดดเด่นมักจะ
มีกระบวนการตัดสินใจตามคุณค่าส่วนตัวที่มีและให้ความสำคัญ
มีกลยุทธ์ในการกลับคืนสู่ความกลมเกลียวภายในใจ
ให้ความสนใจไปที่ตัวบุคคล ไม่ใช่กลุ่มหรือระบบ
สามารถรับรู้ได้ทันทีหากมีอะไรขัดขวางปรือไม่ได้อยู่ในแนวทาง
เดียวกันกับคุณค่าที่ให้ความสำคัญ
หามีความกลมเกลียวภายในหรือรู้สึกดีเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
ค่อนข้างลำบากใจหากต้องบอกกระบวนการตัดสินใจ เนื่องจาก
เป็ นเรื่องส่วนตัว มาจากความรู้สึก ที่อธิบายเข้าใจได้ค่อนข้างยาก
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Introverted Feeling (Fi) การใช้งานฟัง
ก์ชั่น introverted feeling (Fi) มักจะเกิดขึ้นในตอนที่ตัดสินใจ
เพราะ Fi เป็ น cognitive function ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ (judging
function) ตามคุณค่าที่มี ที่ยึดถือไว้ ซึ่งคุณค่าเหล่านี้มักจะเป็ นสิ่ง
ที่เลือกไม่ได้ และยากที่จะเจรจาต่อรอง ตัวอย่างการใช้งาน
introverted feeling (Fi) เช่น
ฉันรู้สึกว่าการอยู่บ้านหลังเดียวกันก่อนที่จะแต่งงานเป็ นเรื่องที่แย่
มาก เราไม่ควรชิงสุกก่อนห่าม และฉันมั่นใจว่าจะไม่ทำแบบนั้น
ฉันไม่ชอบพี่สาวของตัวเองมากๆ แต่ฉันก็รักเขา เพราะเขาเป็ น
ครอบครัวเดียวกันกับเรา การรักและดูแลคนในครอบครัวเป็ นสิ่งที่
สำคัญสำหรับฉัน
ฉันไม่เข้าใจว่าทำไมคนเราถึงโกหก ฉันเป็ นคนหนึ่งที่ไม่เคยโกหก
และไม่อยากจะทำร้ายใครด้วยการโกหก
หากฉันลังเลกับการตัดสินใจอะไรแล้ว ฉันมักจะเชื่อความรู้สึกเป็ น
อันอับแรก เพราะฉันเชื่อว่าเหตุผลและคำอธิบายจะตามมาเองหลัง
จากความรู้สึกที่ชัดเจน
ตอนที่ฉันต้องตัดสินใจว่าจะย้ายที่ทำงานไปยังบริษัทที่เสนอค่า
ตอบแทนให้มากกว่าดีหรือไม่ ฉันรู้สึกว่าฉันคงจะย้ายที่ทำงานไม่
ได้เพราะฉันไม่สามารถหักหลังบริษัทที่ทำงานอยู่ตอนนี้ที่ให้
โอกาสฉันได้ทำงานมากมายขนาดนี้ได้
ฉันมักจะมีลางสังหรณ์บอกว่าฉันควรทำอะไร และฉันเลือกที่จะทำ
ตามสิ่งนี้
ปัญหาที่เกิดจากการมี Cognitive Function แบบ Fi ที่ไม่พัฒนา
Cognitive function ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีและสามารถใช้งานได้ดีทุก
คน และแม้บุคลิกภาพที่มี introverted feeling (Fi) เป็ นฟังก์ชั่น
หลัก ก็อาจมีปัญหาจากการใช้ cognitive function ในชีวิต ซึ่งอาจ
ทำให้คนเหล่านั้น
มองโลกว่า ไม่มีใครเข้าใจ อยู่อย่างโดดเดี่ยว เพียงลำพัง
มีข้ออ้างในการทำสิ่งต่างๆ โดยให้เหตุผลว่ามันเป็ นสิ่งที่จำเป็ น
ต้องทำ
หัวรั้น ไม่ยอมรับกฎ ข้อตกลง ที่คนในกลุ่มสร้างขึ้นมาร่วมกัน
จมดิ่งอยู่ในอารมณ์ ความรู้สึก
ไม่มีเหตุผล ตัดสินใจด้วยเหตุผลไมได้ ใช้อารมณ์ความรู้สึก
สัญชาติญาณเป็ นใหญ่
เมื่อมีความผิดพลาด มักจะให้เหตุผลหรือคิดว่าตัวเองเป็ นเหยื่อใน
สถานการณ์เหล่านั้น
The Trickster: Extraverted Thinking
กระบวนการทำงานของฟังก์ชั่น Extraverted
Thinking (Te) ใน MBTI Extraverted thinking (Te) เป็ นฟังก์ชั่นที่
มีหน้าที่ตัดสินใจผ่านระบบตรรกะ เข้าใจการทำงานของระบบ และ
ทำให้สิ่งต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีลักษณะกระบวนการ
ทำงานคือ
จัดเรียงทุกอย่างให้อยู่ในที่ที่เหมาะสมเพื่อทำความเข้าใจ
พัฒนาระบบ มาตรฐาน เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
ใช้หลักการ กฏ กติกา เพื่อจัดหมวดหมู่ สร้างความเรียบร้อย ความ
มีประสิทธิภาพของระบบ การอยู่ร่วมกัน หรือโครงสร้าง
มองหาความชัดเจนและลำดับในสิ่งแวดล้อม
ถูกกระตุ้นด้วยการเข้าใกล้การบรรลุเป้าหมาย หรือเข้าใกล้ผลลัพธ์
ที่ต้องการ
สร้างมาตรฐาน กระบวนการที่เป็ นกลางในการค้นหาความจริงและ
ทำให้สิ่งต่างๆ มีประสิทธิภาพ
Cognitive function แบบ extraverted thinking (Te) นี้จะให้ความ
สำคัญกับกระบวนการที่เป็ นกลางและมีความชัดเจน ซึ่งทำให้เกิด
เป็ นความเชื่อที่มองว่าการสร้างระบบที่ดีมากพอจะทำให้ระบบนี้
ดูแลผู้คนได้ด้วยตัวของมันเอง และสำคัญกว่าการดูแลคนแต่ละ
คนไปเป็ นกรณี สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานของ cognitive
function แบบ Extraverted thinking (Te) คือการใช้ระบบ
โครงสร้าง กระบวนการทำงานที่เป็ นกลาง ในการทำความเข้าใจ
สิ่งต่างๆ และทำให้สิ่งต่างๆ มีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้คนใน
บุคลิกภาพที่มี Te โดดเด่นมักจะ
ใช้ระบบ โครงสร้าง กฎกติกาที่เป็ นกลางเพื่อตัดสินใจ และทำให้
สิ่งต่างๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
มองหาระบบตรรกะที่มีเหตุมีผล มีประสิทธิภาพ
ค้นหาความชัดเจนในระบบและการใช้เหตุผล
คิดเชิงระบบ มองเป็ นภาพรวม
ต้องการเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในระบบ
ใช้เกณฑ์ที่สามารถวัดได้ จับต้องได้ และเป็ นกลาง มากกว่า
เกณฑ์ที่ไม่สามารถวัดได้เช่นอารมณ์ ความรู้สึก หรือปริมาณเชิง
คุณภาพ
สามารถเห็นข้อผิดพลาดของระบบตรรกะที่ผิดพลาดในสิ่งรอบตัว
ได้ง่าย
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Extraverted Thinking (Te) การใช้งาน
ฟังก์ชั่น Extraverted thinking (Te) มักจะเกี่ยวข้องกับตรรกะและ
การตัดสิน เพราะ Te เป็ น cognitive function ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ
(judging function) โดยตัวอย่างของการใช้งาน Extraverted
thinking (Te) คือ
เพื่อที่จะทำให้คนอื่นเห็นผลว่าการซื้อล็อตเตอรี่ไม่ทำให้เรารวยขึ้น
ได้ ฉันจึงใช้กระบวนการสร้างสถานการณ์จำลองขายและซื้อล็อต
เตอรี่เพื่อสาธิตให้ทุกคนดูว่าทุกอย่างคือเรื่องของสถิติ ซึ่งมีความ
เป็ นไปได้น้อยมากที่จะถูกรางวัล
ฉันมักจะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์ว่าสิ่งใดเป็ น
เรื่องจริง และสิ่งใดไม่ใช่ความจริง
เมื่อต้องตัดสินใจประเมินผลการทำงานของลูกน้อง สิ่งที่ฉันมอง
หาคือเกณฑ์ที่เป็ นกลางที่จะช่วยทำให้ประเมินทุกคนได้อย่างตรง
ไปตรงมาและแม่นยำ
ฉันเชื่อว่าระบบการทำงานที่ดีจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพการ
ทำงานออกมาดี โดยไม่จำเป็ นต้องใช้เวลาและทรัพยากรไปกับ
ปัญหาเรื่องบุคคลมากนัก
เมื่อต้องตัดสินใจอะไรซ้ำๆ ฉันมักจะสร้างแนวทางการตัดสินใจที่มี
ประสิทธิภาพเพื่อช่วยในการตัดสินใจ หรือเลือกใช้แนวทางในการ
ตัดสินใจที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการช่วย
ตัดสินใจ
ฉันจัดระเบียบตารางเวลา กฎเกณฑ์ และระบบให้เป็ นไปตามสิ่งที่
มันควรจะเป็ น โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพเป็ นหลัก และฉัน
พร้อมจะเปลี่ยนหากรู้ว่ากฎเกณฑ์บางอย่างมันทำให้ประสิทธิภาพ
ในชีวิต การทำงานลดลง หรือทำให้ห่างจากเป้าหมายที่ต้องการ
ออกไป
ปัญหาที่เกิดจากการมี Cognitive Function แบบ Te ที่ไม่พัฒนา
Cognitive function ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีและสามารถใช้งานได้ดีทุก
คน และแม้บุคลิกภาพที่มี extraverted thinking (Te) เป็ นฟังก์ชั่น
หลัก ก็อาจมีปัญหาจากการใช้ cognitive function ในชีวิต ซึ่งอาจ
ทำให้คนเหล่านั้น
บังคับให้คนอื่นทำตามกฎระเบียบที่ตัวเองสร้างขึ้น แต่มักจะมีข้อ
ยกเว้นให้กับตัวเองเพื่อละเมิดกฎเหล่านั้น
สั่งการคนที่อยู่รอบตัว แต่ตัวเองไม่ค่อยลงมือทำอะไร
คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากคนอื่น เป็ นความผิดคนอื่น โดยที่ตัว
เองไม่เกี่ยวข้อง
ผู้คนรอบตัวเริ่มออกห่าง ช่างตัดสิน วิจารณ์สิ่งที่อยู่รอบตัว
ไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึก เย็นชา
ไม่สนใจชีวิตหรือความเป็ นอยู่ของคนอื่น สนใจแต่สิ่งที่ตัวเอง
ต้องการ
Demonic: Introverted Sensing
กระบวนการทำงานของฟังก์ชั่น Introverted
Sensing (Si) ใน MBTI Introverted sensing (Si) เป็ นฟังก์ชั่นที่
มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล รับรู้ข้อมูล โดยจะเป็ นการรับรู้ในสิ่งที่จับ
ต้องได้ มีลักษณะเด่นคือ
รับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันผ่านการเปรียบเทียบกับอดีต
ความทรงจำ
นำประสบการณ์ ความทรงจำในอดีต กลับมามีประสบการณ์อีกครั้ง
หนึ่ง (re-experience) ในลักษณะที่เหมือนจริง
เก็บข้อมูลเป็ นหมวดหมู่ และเปรียบเทียบกับข้อมูลที่มีอยู่แล้วเพื่อ
จัดหมวดหมู่
ใช้สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็ นกระตุ้นเพื่อทำให้รับรู้สิ่งที่เคยเกิดขึ้น
ในอดีต
รับรู้การเคลื่อนไหวภายในร่างกาย สิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกาย
Cognitive function แบบ Introverted sensing (Si) นี้มักจะให้ความ
สำคัญกับความทรงจำและประสบการณ์ในอดีตค่อนข้างมาก ซึ่ง
มักจะถูกกระตุ้นด้วยสถานการณ์ เหตุการณ์ในปัจจุบัน เมื่อถูก
กระตุ้นแล้วจะทำให้เกิดการกลับไปเรียกประสบการณ์เหล่านั้นมามี
ประสบการณ์ใหม่อีกครั้ง สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานของ
cognitive function แบบ Introverted sensing (Si) คือการรับรู้สิ่งที่
จับต้องได้ผ่านประสบการณ์ส่วนตัว การเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้น
ผ่านประสบการณ์ในอดีต ซึ่งทำให้คนในบุคลิกภาพที่มี Si โดด
เด่นมักจะ
ใช้ประสบการณ์ในอดีตเป็ นตัวตัดสิน อ้างอิง สิ่งที่เกิดขึ้นใน
ปัจจุบัน
มีความทรงจำสำคัญ ที่สามารถเห็นภาพได้อย่างชัดเจน มีราย
ละเอียดมาก แต่ก็เป็ นสิ่งที่เกิดขึ้นในมุมมองส่วนตัว
เปลี่ยนแปลงภาพที่มีรายละเอียดเยอะอยู่ในใจค่อนข้างยาก
เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ เก็บเกี่ยวองค์ความรู้จากการลงมือทำ
จัดข้อมูลเป็ นหมวดหมู่ภายใน เป็ นระบบ
รับรู้การเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดี
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Introverted Sensing (Si) การใช้งาน
ฟังก์ชั่น introverted sensing (Si) จะเกิดขึ้นในตอนที่รับรู้ข้อมูล
เพราะ Si เป็ น cognitive function ที่ทำหน้าที่รับรู้ข้อมูล
(perceiving function) ซึ่งตัวอย่างของการใช้งาน introverted
sensing (Si) เช่น
เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำงานกับคนอื่น ระหว่างที่ลงมือทำฉัน
บอกกับเพื่อนร่วมงานว่า หยุดก่อนวิธีนี้ฉันเคยทำมาแล้วมันไม่เวิร์ค
ฉันมักจะบอกเล่าเหตุการณ์ในอดีตอย่างเป็ นลำดับว่าเกิดใครขึ้น
ใครทำอะไรบ้าง
เมื่อเดินทางไปเที่ยวในเมืองหนึ่ง ฉันมีความทรงจำเก่าๆ แทรกขึ้น
มาว่าฉันเคยไปเมืองที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเมืองนี้มาแล้ว
เมื่อฉันไปรู้จัักเพื่อนใหม่ ฉันมักจะเปรียบเทียบว่าเพื่อนคนนี้มี
ลักษณะบางอย่างเหมือนกับคนที่ฉันเคยรู้จักมาก่อนแล้ว
การมีข้อมูล หลักฐาน ที่พิสูจน์ว่าวิธีการใหม่ๆ จะได้ผลดีกว่าเป็ น
สิ่งที่สำคัญสำหรับฉันมาก ฉันจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นมากหากฉันได้
เห็นสิ่งเหล่านั้น
ฉันชอบเล่นโยคะ เพราะมันทำให้ฉันรับรู้การเปลี่ยนแปลงของ
ร่างกายได้ ฉันค่อยๆ สังเกตเห็นตอนที่กล้ามเนื้อแต่ละส่วนของตัว
เองค่อยๆ ยืดและคลายออก
หากฉันต้องเรียนรู้อะไร ยิ่งมีเวลาให้ฉันได้เรียนรู้นานเท่าไหร ก็ยิ่ง
ทำให้ฉันรู้สึกเชี่ยวชาญกับเรื่องนั้นมากขึ้นเท่านั้น
ปัญหาที่เกิดจากการมี Cognitive Function แบบ Si ที่ไม่พัฒนา
Cognitive function ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีและสามารถใช้งานได้ดีทุก
คน และแม้บุคลิกภาพที่มี introverted sensing (Si) เป็ นฟังก์ชั่น
หลัก ก็อาจมีปัญหาจากการใช้ cognitive function ในชีวิต ซึ่งอาจ
ทำให้คนเหล่านั้น
ไม่อยากเปลี่ยนใจ ไม่ยอมรับอะไรใหม่ๆ ไม่ออกจากพื้นที่
ปลอดภัยของตัวเอง
ตัดสินคนอื่นหรือสิ่งอื่นที่มีอะไรแตกต่างไปจากความคุ้นเคยของ
ตัวเอง
ไม่ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลาย หรือความเป็ น
ปัจเจกบุคคล
คิดวนเวียนกับอดีต
ให้ความสำคัญกับรายละเอียดที่ไม่จำเป็ น
Cognitive Functions นั้นเป็ นกระบวนการทำงานที่ทุก
บุคลิกภาพนั้นมีทั้ง 8 ฟังก์ชั่น ขึ้นอยู่กับว่าบุคลิกภาพไหนถนัดใช้
งานฟังก์ชั่นอะไรมากกว่ากัน ด้อยกว่ากัน INFJ นั้น มีลำดับ คือ Ni
Fe Ti Se Ne Fi Te Si ตามความถนัดซึ่งการรับรู้ความถนัดในการใช้
งานฟังก์ชั่น นั้นสามารถพัฒนาในจุดที่ตนเองถนัด และแก้ไขใน
ส่วนที่ตนเองไม่ได้ใช้งาน ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับคนอื่นใน
สังคม
INFJ ผู้ให้คำปรึกษาหนึ่งในบุคลิกภาพ MBTI ที่หายากที่สุด
ในโลก ลักษณะโดยทั่วไป เป็ นคนเก็บตัว ชอบคิด ชอบอยู่คน
เดียว มีความคิดสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี ใฝ่ ฝันถึงอนาคต ใจดี
เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ชอบช่วยเหลือมีความรับผิดชอบ มุ่งมั่น ตั้งใจ
ยึดมั่นในหลักการ ใฝ่ หาความยุติธรรม เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น มอง
คนขาด คิดวิเคราะห์เก่ง หาความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ ชอบ
วางแผน มองการณ์ไกล การศึกษา INFJ จะช่วยให้เข้าใจความคิด
ความรู้สึกของบุคลิกภาพนี้ได้

อ้างอิง
https://www.blockdit.com/pw_ ผู้เขียน The Story
https://www.urbinner.com/ ผู้เขียน urbinner
https://hmong.in.th/wiki/Isabel_Briggs_Myers
https://www.thesap.org.uk/articles-on-jungian-
psychology-2/about-analysis-and-therapy/typology/
https://www.blockdit.com/posts/
61599fa38015550c9ffdddb8 ผู้เขียน HR Talk by
Tamrongsak
https://www.getrealme.com/mbti-history/
https://www.thinkimpact.com/most-common-personality-
types/ ผู้เขียน Sandra Craft , ThinkImpact
https://verywellmind.com/infj-introverted-intuitive-
feeling-judging-2795978#toc-key-characteristics-of-infj
ผู้เขียน Kendra Cherry, MSEd
https://www.quora.com/What-do-INFJs-look-like
https://www.getrealme.com/the-8-cognitive-functions/
https://personalitymirror.com/infj-functions/
https://www.blog.infjwoman.com/functions
https://www.blog.infjwoman.com/infjshadowfunctions

You might also like