Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 44

หน้า 1

คำพิพากษาศาลฎีกา

1. คำพิพากษาฎีกาที่ 2603/2533
ข้อกฎหมาย : ประมวลรัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 (ม.
22, 135(3))
กรณีสืบเนื่องมาจากเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินให้ลูกหนี้ (จำเลย) ชำระภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้โจทก์รวม 326,425.40 บาท ลูกหนี้ไม่อุทธรณ์การประเมินและไม่ชำระค่าภาษี
อากร โจทก์จึงนำคดีมาฟ้ องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย วันที่ 29 สิงหาคม 2526 ศาลมีคำ
พิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย วันที่ 18 กันยายน 2528 ลูกหนี้ยื่นคำร้องว่าขณะที่อยู่ในระหว่างการ
พิจารณาของศาลฎีกาก่อนศาลนั้นพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดนั้น
ได้มีแถลงการณ์กระทรวงการคลังลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 เปิ ดโอกาสให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรชำระภาษี
อากรเพิ่มเติมให้ถูกต้องภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2525 โดยผู้เสียภาษีจะได้รับประโยชน์ที่จะไม่ต้องรับผิดเสีย
เงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับใด สรรพากรจังหวัดนนทบุรีจึงมีหนังสือลงวันที่ 21 มีนาคม 2525 แจ้งให้ลูกหนี้ทราบว่า
ตามที่ได้แจ้งประเมินไปยังลูกหนี้ว่าเป็นหนี้ภาษีอากรจำนวน 296,800.98 บาท นั้น หากลูกหนี้จะชำระเงินภาษี
อากรภายในระยะเวลาข้างต้น ลูกหนี้จะได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระเบี้ยปรับเงินเพิ่มตามแถลงการณ์กระทรวงการ
คลัง คงต้องชำระเฉพาะเงินภาษีอากรเพียง 88,806.33 บาท เท่านั้น ลูกหนี้จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระต่อ
สรรพากรอำเภอเมืองนนทบุรี โดยมีเงื่อนไงตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังข้อ 4 ที่ว่า "ถ้าภาษีอากรค้างนั้น
ค้างอยู่ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาล ผู้เสียภาษีอากรต้องขอถอนอุทธรณ์หรือ
ถอนฟ้ องนั้น และได้รับอนุมัติเสียก่อน" ลูกหนี้จึงได้ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา แต่ศาลฎีกาไม่อนุญาต โจทก์จึงไม่รับ
เงินค่าภาษีอากรดังกล่าวและส่งเงินนั้นเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายลูกหนี้เห็นว่าตามประมวล
รัษฎากร พ.ศ. 2481 มาตรา 3 อัฎฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาที่
บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรได้ แต่หาได้มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขให้ลูกหนี้ขอถอนฎีกาและให้ศาลอนุญาตเสีย
ก่อนไม่ ดังนั้น ข้อตกลงที่ลูกหนี้ทำไว้กับสรรพากรอำเภอเมืองนนทบุรีเรื่องขอถอนฎีกาและศาลฎีกาต้อง
อนุญาตเสียก่อนจึงไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อลูกหนี้ชำระภาษีอากรตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังแล้ว จึงไม่มี
ภาษีอากรที่ลูกหนี้จะต้องชำระให้โจทก์อีก หนี้สินของลูกหนี้ในคดีนี้จึงเป็นอันได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว ขอให้
ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) และ (3) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คัดค้านว่า สรรพากรอำเภอ
เมืองนนทบุรีริบเงินค่าภาษีของลูกหนี้ไว้โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าภาษีอากรที่ค้างนั้นศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้ องถือว่า
การชำระภาษีของลูกหนี้ไม่เข้าเงื่อนไขตามแถลงการณ์กระทรวงการคลัง เมื่อศาลฎีกาไม่อนุญาตให้ถอนฎีกา
สรรพากรอำเภอเมืองนนทบุรีจึงส่งเงินจำนวนนั้นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สิน
ของลูกหนี้สำหรับแบ่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เพียงรายเดียวที่ขอรับชำระหนี้และศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้
หน้า 2

ภาษีอากรจำนวน 337,315.70 บา ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับ


เงินไว้แล้วได้ดำเนินการแบ่งทรัพย์สินให้แก่โจทก์เป็นครั้งที่สุด (ครั้งเดียว) ตามพระราชบัญญัติล้มละลายโดย
หักค่าธรรมเนียมไว้ร้อยละ 5 คงจ่ายส่วนแบ่งให้โจทก์เป็นเงิน 79,134.26 บาท กรณียังถือไม่ได้ว่า ลูกหนี้ได้ชำระ
หนี้เต็มจำนวนที่จะเป็นเหตุให้ยกเลิกการล้มละลายตามที่ขอได้ การยกเลิกการล้มละลายในกรณีนี้จะต้องเข้า
เงื่อนไขตามมาตรา 135(4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่ว่า เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แบ่ง
ทรัพย์ครั้งที่สุดแล้วภายในกำหนดเวลา 10 ปี ต่อแต่นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของ
บุคคลล้มละลายได้อีก และไม่มีเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้ม
ละลายจึงจะยกเลิกการล้มละลายได้ ขอให้ยกคำร้อง ส่วนโจทก์คัดค้านว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมี
อำนาจกำหนดเงื่อนไขตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังที่กล่าวข้างต้น โจทก์ได้รับเงินตามคำร้องของลูกหนี้
โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าศาลไม่อนุมัติให้ถอนฟ้ องให้ถือว่าลูกหนี้ไม่มีสิทธิชำระภาษีตามแถลงการณ์ดังนั้น เมื่อศาล
ฎีกาไม่อนุญาตให้จำเลยถอนฎีกา จึงถือว่าลูกหนี้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้วไม่ได้ ขอให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นสั่งยก
คำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกเลิกการล้มละลายแก่จำเลย โจทก์และเจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้
เด็ดขาด ลูกหนี้ฎีกา ลูกหนี้จะต้องขอถอนฎีกาและศาลอนุญาตเสียก่อน จึงจะได้รับประโยชน์ตามแถลงการณ์
กระทรวงการคลังนั้น พิจารณาแล้วเห็นว่า แถลงการณ์กระทรวงการคลังนั้น พิจารณาแล้วเห็นว่า แถลงการณ์
กระทรวงการคลังตามภาพถ่ายท้ายคำร้องของลูกหนี้ ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม
มาตรา 3 อัฎฐ แห่งประมวลรัษฎากร จึงขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากรเพื่อเปิ ดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษี
อากร...ได้ยื่นชำระภาษีอากร... ให้ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ... ทั้งนี้ตามเงื่อนไข
และเวลาดังกล่าวต่อไปนี้...
ข้อ 4 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสีย...ภาษีอากร...รับแจ้งการประเมิน... ก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์นี้ แต่ยังมิได้
ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา...ในแบบแจ้งการประเมิน... นั้นและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว หาก
ได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตามข้อ 7 แล้ว ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด
ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น
ถ้าภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาล ผู้เสียภาษีอากร
ต้องขอถอนอุทธรณ์หรือถอนฟ้ องนั้น และได้รับอนุมัติเสียก่อน
ตามนี้จะเห็นได้ว่า ในกรณีที่ผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใน
คดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูกฟ้ องให้เป็นบุคคลล้มละลายนั้น หาอยู่ในเงื่อนไขตามแถลงการณ์ของกระทรวงการคลังที่
ผู้เสียภาษีอากรจะต้องขอถอนอุทธรณ์ ฎีกาและได้รับอนุมัติจากศาลเสียก่อนดังที่โจทก์ฎีกาไม่ กรณีของลูกหนี้ก็
เช่นเดียวกัน ลูกหนี้มิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาลในเรื่องการประเมิน
หน้า 3

แต่ประการใด ดังนั้น ลูกหนี้จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขตามแถลงการณ์ของกระทรวงการคลังดังกล่าว ฉะนั้นเมื่อลูกหนี้


นำเงินเฉพาะภาษีอากร 88,806.33 บาท ไปชำระให้โจทก์ตามที่สรรพากรจังหวัดนนทบุรีแจ้งมาลูกหนี้ก็ได้รับ
ประโยชน์โดยได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับทั้งหมดตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังที่กล่าวข้างต้น ลูกหนี้
จึงชำระภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีในปัญหาข้อนี้มาศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกา
โจทก์ฟังไม่ขึ้น
ข้อที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว หากลูกหนี้จะชำระ
หนี้ก็จะต้องชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 จะ
ไปชำระต่อเจ้าหนี้ไม่ได้นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้นก็เพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะ
ได้รับชำระหนี้โดยเสมอภาค แต่คดีนี้ลูกหนี้มีเจ้าหนี้คือโจทก์เพียงรายเดียว การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ให้โจทก์
โดยตรง จึงไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าอื่นแต่ประการใด ทั้งมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการที่ลูก
หนี้ชำระหนี้โดยผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพราะเมื่อรับชำระหนี้ไว้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องชำระ
ให้โจทก์ ดังนั้นการที่ลูกหนี้ชำระหนี้ให้โจทก์ในกรณีเช่นนี้ จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ดังที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 บัญญัติไว้เช่นกัน เมื่อหนี้สินของลูกหนี้เป็นอันได้ชำระเต็ม
จำนวนแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายต่อไป ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกเลิกการล้มละลาย
ชอบแล้ว"

2. คำพิพากษาฎีกาที่ 627/2542
ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122
คดีทั้ง 19 สำนวนนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2526 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูก
หนี้ (จำเลย)เด็ดขาด ผู้ร้องทั้ง 19 ราย ต่างยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ลูกหนี้ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า"บริษัท
เสรีสากลธุรกิจ จำกัด"ได้ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินไว้กับผู้ร้องทั้ง 19 ราย ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับสิทธิตาม
สัญญาและปฏิบัติตามสัญญาต่อผู้ร้องทั้ง 19 รายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยกคำร้องผู้ร้องทั้ง 19 ราย จึงยื่นคำร้อง
ต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยอมรับสิทธิตามสัญญากับโอนที่ดินที่เช่าซื้อให้แก่ผู้ร้อง ศาล
ชั้นต้นเห็นว่าคำร้องของ ผู้ร้องทั้ง 19 ราย และคำร้องของ ผู้อื่นอีก 49 รายอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่ดิน
ทำนองเดียวกัน และพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนมากเป็นชุดเดียวกัน เพื่อสะดวกแก่การ
พิจารณาจึงมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคำร้องทั้ง 68 รายเข้าด้วยกันโดยให้เรียกผู้ร้อง 19 สำนวนนี้ว่า ผู้ร้องที่ 4 ที่ 10
ที่ 11 ที่ 15 ที่ 16 ที่ 18 ที่ 21 ที่ 27 ที่ 31 ที่ 35 ที่ 45 ที่ 47 ที่ 50 ที่ 52 ที่ 62 ที่ 68 ที่ 69 ที่ 98 และที่ 99 ตามลำดับ
ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เรียกว่าผู้คัดค้าน
หน้า 4

ผู้ร้องทั้ง 19 รายยื่นคำร้องใจความทำนองเดียวกันว่าในปี 2515 ผู้ร้องได้ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินส่วนหนึ่ง


ของที่ดินโฉนดเลขที่ 4059, 711 ถึง 716, 33375 ถึง 33382, 27629, 27630 ซึ่งอยู่ที่ตำบลสีกัน อำเภอบางเขน
กรุงเทพมหานคร กับลูกหนี้ลูกหนี้ได้จัดสรรแบ่งให้เช่าซื้อเป็นแปลงย่อยในราคาตารางวาละ 650 บาท ผ่อน
ชำระเป็นรายเดือนจนกว่าจะครบ หากไม่ผิดนัดและชำระครบถ้วนแล้วลูกหนี้จะโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินที่เช่าซื้อให้
แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องเช่าซื้อกันรายละ 1 แปลง แปลงละ 60 ตารางวาราคาเช่าซื้อ 39,000 บาท เว้นแต่ผู้ร้องที่ 68 เช่าซื้อ
ที่ดินเนื้อที่ 105 ตารางวา ราคาตารางวาละ 750 บาท เป็นเงิน 78,750 บาท ผู้ร้องแต่ละรายได้ทำหนังสือสัญญาเช่า
ซื้อไว้กับกรรมการผู้จัดการของลูกหนี้ ผู้ร้องแต่ละรายเว้นแต่ผู้ร้องที่ 11 ที่ 15 ที่ 18 ที่ 35 ที่ 47 ที่ 52 ที่ 68 และที่
69 ต่างไม่เคยผิดนัดและได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ด
ขาด ต่อมาวันที่12 กันยายน 2526 ผู้ร้องต่างได้ยื่นคำขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ โดยโอนกรรมสิทธิ์
ที่ดินให้ผู้ร้องวันที่ 6 ธันวาคม 2526 ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ยกคำร้องของ ผู้ร้องทุกรายโดยอ้างว่าเป็นกรณีที่ดินตาม
สัญญาเช่าซื้อติดจำนองธนาคารผู้มีชื่อและได้อ่านคำสั่งให้ผู้ร้องฟังเมื่อวันที่6 กุมภาพันธ์ 2527 ผู้ร้องเห็นว่าคำสั่ง
ของผู้คัดค้านไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะการจำนองแก่ธนาคารผู้มีชื่อดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องทรัพย์สินของลูกหนี้
หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา
122 กับทั้งตามคำสั่งของผู้คัดค้านก็ไม่ได้สั่งให้ปรากฏว่าที่ดินที่ผู้ร้องเช่าซื้อติดจำนองแปลงละเท่าใด เพียงแต่
กล่าวรวม ๆว่า ลูกหนี้นำที่ดินมาจำนองรวม 2,028 โฉนด เป็นเงินประมาณ 73,000,000 บาท นอกจากนั้นผู้
คัดค้านได้มีคำสั่งยกคำร้องปฏิเสธสิทธิของผู้ร้องเกินกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องแต่ละรายยื่นคำร้อง
ไว้ขอให้มีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านโดยให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งผู้ร้องแต่ละรายเช่าซื้อไว้ตาม
โฉนดที่ดินเลขที่ 4059, 711 ถึง 716, 33375 ถึง 33382,27629, 27630 โดยปลอดจำนอง เว้นแต่ที่ดินดังกล่าวติด
จำนองและภาระจำนองไม่มากเกินไป ผู้ร้องก็ยินดีจะรับโอนโดยติดจำนอง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านคำร้องทั้ง 19 ราย ใจความอย่างเดียวกันว่าที่ดินซึ่งผู้ร้องแต่ละรายทำหนังสือ
สัญญาเช่าซื้อไว้กับลูกหนี้ลูกหนี้ได้จำนองไว้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีภาระหนี้จำนองทั้งเงินต้นและ
ดอกเบี้ยประมาณ 200,000,000 บาท จะโอนให้ผู้ร้องได้ต่อเมื่อไถ่ถอนจำนองแล้ว แต่ไม่มีเงินในกองทรัพย์สิน
ของลูกหนี้ที่จะใช้ไถ่ถอน และหนี้ที่ผู้ร้องแต่ละรายชำระตามสัญญาเช่าซื้อมีเพียงเล็กน้อย สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ
ของผู้ร้องมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้จะพึงได้รับ และเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2526 ผู้
คัดค้านเพิ่งทราบว่าที่ดินติดภาระจำนองมากกว่าประโยชน์ที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้จะพึงได้รับหลังจาก
สอบสวนเสร็จและได้แจ้งคำสั่งปฏิเสธให้ผู้ร้องทราบภายใน 3 เดือน นับแต่สอบสวนเสร็จขอให้ยกคำร้อง
ระหว่างพิจารณา นาวาอากาศตรีนิรันดร์ ร่มสายหยุดผู้ร้องที่ 35 ถึงแก่ความตาย ร้อยโทสุนทร ร่มสาย
หยุดยื่นคำร้องขอเป็นคู่ความแทนที่ ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว มีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ 4 ที่ 10 ที่ 11 ที่ 15 ที่
16 ที่ 18 ที่ 21 ที่ 27 ที่ 31 ที่ 35 ที่ 45 ที่ 47 ที่ 50 ที่ 52 ที่ 62 ที่ 69 ที่ 98 และที่ 99 ให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดิน
ที่ผู้ร้องเหล่านี้เช่าซื้อแก่ผู้ร้องตามสัญญาเช่าซื้อโดยปลอดภาระจำนอง ให้ยกคำร้องของ ผู้ร้องที่ 68
หน้า 5

ผู้ร้องที่ 68 และผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้ร้องที่ 68 และผู้คัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติได้ว่า ผู้ร้องที่ 4 ที่ 10 ที่ 11
ที่ 15 ที่ 16 ที่ 18 ที่ 21 ที่ 27 ที่ 31 ที่ 35 ที่ 45 ที่ 47 ที่ 50 ที่ 52 ที่ 62 ที่ 68 ที่ 69 ที่ 98 และที่ 99 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อ
ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้อันเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 4059, 711 ถึง 716, 33375 ถึง
33382, 27629,27630 ไว้กับลูกหนี้ และผู้ร้องดังกล่าวเว้นแต่ผู้ร้องที่ 68 ได้ชำระค่าเช่าซื้อที่ดินให้แก่ลูกหนี้ครบ
ถ้วนตามสัญญาแล้วก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2526 ต่อมาผู้ร้อง
ทั้ง 19 ราย ได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ให้ยอมรับสิทธิตามสัญญาเช่า
ซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อตามสัญญาให้แก่ผู้ร้อง คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านและผู้
ร้องที่ 68 ว่า ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะไม่รับสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ร้องทั้ง 19 ราย กับลูกหนี้เพราะมีภาระ
เกินควรกว่าประโยชน์ที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้จะพึงได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122
หรือไม่เห็นว่า สำหรับผู้ร้องทั้ง 18 ราย ยกเว้นผู้ร้องที่ 68 นั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องได้ชำระค่าเช่าซื้อที่ดิน
ให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิใดที่จะได้รับจากผู้ร้องอีก ลูกหนี้คงมีแต่เพียง
หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ร้องแต่ละรายต่อไป ซึ่งหมายความ
ว่าผู้ร้องเป็นฝ่ ายมีสิทธิอันจะพึงได้รับตามสัญญาเช่าซื้อ หาใช่เป็นสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมาไม่กรณี
ดังกล่าวจึงไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้คัดค้านจะมาพิจารณาว่า สิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับไปนี้มีภาระเกินควรกว่า
ประโยชน์อันจะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 122 หรือไม่
ดังนั้น คำสั่งของผู้คัดค้านที่ปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อของผู้ร้องทั้ง 18 รายจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
เหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นมาอ้างในฎีกาฟังไม่ขึ้น สำหรับผู้ร้องที่ 68 ที่ฎีกาว่า เหตุที่ผู้ร้องยังไม่ชำระค่าเช่าซื้ออีก
หนึ่งงวดแก่ลูกหนี้ เพราะลูกหนี้ไม่ยอมรับชำระเงินงวดสุดท้ายเอง ลูกหนี้จึงเป็นฝ่ ายผิดสัญญานั้น ผู้ร้องนำพยาน
เข้าสืบว่า ผู้ร้องได้เช่าซื้อที่ดินจากลูกหนี้รวม 2 แปลงเป็นเงิน 78,750 บาท แบ่งชำระเป็นงวดรวม 100 งวด ผู้ร้อง
ได้ชำระค่าเช่าซื้อแก่ลูกหนี้ไปแล้วรวม 99 งวด คงค้างชำระเป็นเงิน 18,350 บาท เมื่อครบกำหนดชำระเงินงวด
สุดท้าย ผู้ร้องได้ติดต่อกับลูกหนี้เพื่อชำระเงินและให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ร้องหลายครั้ง แต่
ลูกหนี้ไม่ยอมรับชำระเงินและไม่โอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินให้ผู้ร้อง จนกระทั่งผู้ร้องทราบว่าลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่ง
พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงได้ติดต่อกับผู้คัดค้านเพื่อขอให้ปฏิเสธตามสัญญา และขอชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย
แต่ผู้คัดค้านได้มีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง เห็นว่า ข้อนำสืบของผู้ร้องที่ 68 ดังกล่าว ผู้คัดค้านซึ่งเข้ามาต่อสู้คดี
แทนลูกหนี้ในศาลชั้นต้นมิได้ซักค้านหรือนำพยานเข้าสืบเพื่อหักล้างข้ออ้างของผู้ร้องแต่ประการใด ดังนั้น จึง
ต้องรับฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อครบกำหนดชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ผู้ร้องที่ 68 ได้ติดต่อกับลูกหนี้เพื่อให้โอน
กรรมสิทธิ์ที่ดินและรับเงินงวดสุดท้ายแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่รับชำระเงินเอง และไม่สามารถดำเนินการโอนที่ดินตาม
สัญญาให้แก่ผู้ร้องที่ 68 ได้ ทั้งนี้เนื่องจากลูกหนี้ได้นำที่ดินที่ให้เช่าซื้อไปจำนองไว้แก่ธนาคารและบุคคลอื่นแล้ว
หน้า 6

ดังนั้น ย่อมถือได้ว่าลูกหนี้เป็นฝ่ ายผิดสัญญาต่อผู้ร้องที่ 68 แม้ต่อมาลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด


และผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายแล้ว แต่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ของลูกหนี้ซึ่งเป็นฝ่ ายผิดสัญญาจะอ้างอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 เพื่อไม่
ยอมรับสิทธิ ตามสัญญาเช่าซื้อต่อผู้ร้องซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นฝ่ ายผิดสัญญาย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อผู้ร้อง
ประสงค์จะขอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อและชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านชอบที่จะต้อง
โอนที่ดินตามสัญญาให้ผู้ร้องและรับชำระราคาส่วนที่เหลือจากผู้ร้องที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้
ยกคำร้องของ ผู้ร้องที่ 68 จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้ร้องที่ 68 ฟังขึ้น"
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินที่ผู้ร้องที่ 68 เช่าซื้อแก่ผู้ร้องโดยปลอดภาระจำนอง
โดยให้ผู้ร้องที่ 68 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ 18,350 บาท แก่ผู้คัดค้านในวันโอนรวมทั้งค่าธรรมเนียมการจด
ทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
หน้า 7

3. คำพิพากษาฎีกาที่ 2964/2553
ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93 , พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
มาตรา 25
คดีสืบเนื่องจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย (ลูกหนี้) ทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 10
มิถุนายน 2547 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันแนว
หน้าฉบับวันที่ 15 กรกฎาคม 2547 และโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 ครบกำหนดยื่น
คำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 18 ตุลาคม 2547 เนื่องจากวันที่ 17 ตุลาคม 2547 ตรงกับวันหยุดราชการ ต่อมาวันที่ 27
ธันวาคม 2549 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนวน 53,296,373.68 บาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
มาตรา 93 และมาตรา 94 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ยื่นคำร้องในคดีแพ่ง
หมายเลขดำที่ ธ.711/2546 ขอไม่เข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549
คดีจึงไม่มีเหตุตามมาตรา 93 ที่เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ จึงไม่รับคำขอรับชำระหนี้
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านว่า เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2546 เจ้าหนี้เป็นโจทก์ยื่นฟ้ องจำเลยที่ 2 กับพวกรวม 6
คน ต่อศาลแพ่งเป็นคดีหมายเลขดำที่ ธ.711/2546 ทุนทรัพย์ 47,535,365.61 บาท ระหว่างพิจารณาคดีจำเลยทั้งหก
ได้เจรจาขอชำระหนี้กับเจ้าหนี้หลายครั้ง และศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีเพื่อรอฟังผลการเจรจา ต่อมาวันที่ 20
ธันวาคม 2548 เจ้าหนี้ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งว่าเพิ่งทราบว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2
เด็ดขาด ขอเลื่อนคดีเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทน ศาลสอบแล้ว จำเลยที่ 2 แถลงรับว่า
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดจริง ศาลแพ่งจึงมีหมายแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทน ต่อมาวันที่ 6 มีนาคม 2549 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งจำหน่ายคดี
ส่วนของจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ เจ้าหนี้แถลงคัดค้านว่าเพิ่งทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยก่อน
หน้านี้จำเลยที่ 2 มาศาล แต่ไม่ได้แถลงให้เจ้าหนี้และศาลทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวแต่อย่างใด ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้
ยื่นคำขอรับชำระหนี้จนล่วงพ้นระยะเวลาที่จะขอรับชำระหนี้แล้ว ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า เจ้าหนี้เพิ่งทราบ
ว่าจำเลยที่ 2 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพ้นกำหนดระยะเวลาที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอ
ชำระหนี้ดังกล่าว การจำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย จึงยกคำร้องของเจ้า
พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หลังจากนั้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำแถลงต่อศาลแพ่งขอ
ไม่เข้าว่าคดีแทนศาลแพ่งอนุญาตตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำแถลง ต่อมาศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้
จำเลยที่ 2 ร่วมกันรับผิดชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 12,481,435.02 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตรา
ร้อยละ 11 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2545 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และชำระหนี้ตามตั๋ว
สัญญาใช้เงินจำนวน 32,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 2,102,355.90 บาท กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 11 ต่อ
ปี ของต้นเงินจำนวน 32,000,000 บาท นับถัดจากวันฟ้ องจนกว่าจะชำระเสร็จกับให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชา
หน้า 8

ธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท และคดีดังกล่าวถึงที่สุด การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับ


ชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2549 จึงเป็นการขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันที่คดีแพ่งถึงที่สุด เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราช
บัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93 ขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้
ไว้พิจารณาต่อไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคัดค้านว่า เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอ
ให้ศาลจำหน่ายคดีเพราะว่าในคดีล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้ของลูกหนี้
ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้ที่อยู่ในระหว่างพิจารณาคดี ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามพระราช
บัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 ประกอบมาตรา 91 แต่ศาลแพ่งมีคำสั่งยกคำร้อง ต่อมาวันที่ 15 พฤษภาคม
2549 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ยื่นคำแถลงขอไม่เข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ ศาลมีคำสั่งอนุญาต
ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาแทนจำเลยที่ 2
กรณีจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93 เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกอง
ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้ขอให้ยกคำร้องของเจ้าหนี้ ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ
เจ้าหนี้อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า "มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้
ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันที่คำพิพากษาของศาลแพ่งถึงที่สุด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
พ.ศ.2483 มาตรา 93 หรือไม่ เห็นว่า มาตรา 93 บัญญัติว่า "ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้าง
พิจารณาอยู่แทนลูกหนี้ ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิขอรับชำระหนี้ภายใน
กำหนดเวลาตามมาตรา 91 แต่ให้นับจากวันคดีถึงที่สุด" และมาตรา 25 บัญญัติว่า "ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้ หรือจะสั่ง
ประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้" ข้อเท็จจริงในคดีปรากฏว่าเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2546 เจ้าหนี้ได้ฟ้ องจำเลยที่ 2
กับพวกรวม 6 คนต่อศาลแพ่ง ต่อมาวันที่ 20 ธันวาคม 2548 ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณา เจ้าหนี้ได้ยื่นคำร้องต่อ
ศาลแพ่งว่าเพิ่งทราบว่าศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดแล้ว ขอให้ศาลหมาย
เรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความแทน และศาลได้มีคำสั่งให้เลื่อนไปนัดพร้อมเพื่อสอบถามเจ้า
พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ในวันที่ 6 มีนาคม 2549 ครั้นถึงวันนัดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า
ในคดีล้มละลายครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2547 แม้ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำ
พิพากษาหรือคดีอยู่ระหว่างพิจารณาก็จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
มาตรา 27 และ 91 การพิจารณาคดีแพ่งต่อไปจะไม่เป็นประโยชน์แต่อย่างใด ขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดี
ออกจากสารบบความ เจ้าหนี้ได้แถลงคัดค้านต่อศาลว่า เจ้าหนี้เพิ่งทราบว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์
ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดเมื่อเดือนธันวาคม 2548 ก่อนหน้านี้จำเลยที่ 2 มาศาลในคดีแพ่งแต่ไม่ได้แถลงให้เจ้า
หน้า 9

หนี้และศาลทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้เจ้าหนี้มิได้ดำเนินการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย จนล่วงพ้น


กำหนดเวลาที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าว หากศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ก็จะทำให้เจ้าหนี้
เสียหาย ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า เจ้าหนี้เพิ่งทราบว่าจำเลยที่ 2 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและยัง
ปรากฏข้อเท็จจริงว่า พ้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวแล้ว การจำหน่ายคดีในส่วนของ
จำเลยที่ 2 จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย จึงให้ยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสีย อันมีผลเท่ากับ
ศาลแพ่งได้พิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว จึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 2
ต่อไป อันมีผลเท่ากับไม่อนุญาตตามคำแถลงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ขอให้ศาลจำหน่ายคดีออกจาก
สารบบความ และมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้ามาว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติล้ม
ละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำแถลงอีกครั้งหนึ่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์ได้เสนอที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินคดีแพ่งต่อไปหรือไม่ อย่างไร ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่
ติดใจเข้าว่าคดีแพ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ประสงค์จะเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 โดยขอให้ศาลพิจารณาคดี
ไปฝ่ ายเดียวนั้น จึงเป็นเพียงการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจที่จะนำพยานมาสืบหรือถามค้านพยานอีก
ฝ่ ายหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ว่า เมื่อทนาย
โจทก์แถลงว่าคดีไม่อาจตกลงกันได้เพื่อไม่ให้คดีล่าช้า ขอให้ศาลสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งหมดไปก่อน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็แถลงไม่ค้าน และยังแถลงอีกว่าไม่ประสงค์จะต่อสู้คดี กรณีจึงเห็นได้ชัดว่า เจ้า
พนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีฐานะเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแล้ว เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้
คดีในคดีแพ่งดังกล่าว เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันคดีถึงที่
สุดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93 คดีนี้ปรากฏว่า ในคดีหมายเลขดำที่ ธ 711/2546 คดี
หมายเลขแดงที่ ธ.2795/2549 ศาลแพ่งมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 และไม่มีคู่ความฝ่ ายใดอุทธรณ์
คดีจึงถึงที่สุดในวันที่ 7 ธันวาคม 2549 เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อวันที่ 27
ธันวาคม 2549 เป็นการขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันคดีถึงที่สุด เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่น
คำขอรับชำระหนี้ได้ ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งไม่รับคำขอรับชำระหนี้นั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาล
ฎีกา อุทธรณ์ของเจ้าหนี้ฟังขึ้น"
พิพากษากลับ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณาและดำเนินการต่อ
ไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
หน้า 10

4. คำพิพากษาฎีกาที่ 2650/2550
ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 26, 24 , 22 , ประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
โจทก์ฟ้ องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่โจทก์ฟ้ องว่า ก่อนฟ้ องคดีนี้จำเลยถูกศาลล้มละลายกลาง
มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดกรณีจึงเป็นไปตามมาตรา 15 และ 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ดัง
นั้นโจทก์จึงไม่อาจฟ้ องจำเลยคดีนี้ได้ จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้ อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความคืนค่าขึ้นศาลให้
โจทก์ทั้งหมด
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้ องจำเลยหรือไม่
เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 บัญญัติว่า "เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือ
หน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตน
หน้า 11

ต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้" เมื่อโจทก์ฟ้ องว่า


จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ
โจทก์คืน แต่จำเลยไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมี
อำนาจฟ้ องจำเลยต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อติดตามทรัพย์สินของโจทก์คืนได้แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย
พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 24 จะบัญญัติว่าเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่
เพียงผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ฟ้ องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูก
หนี้ และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตนดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยก็ตาม แต่
มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็บัญญัติว่า "ตราบใดที่ศาลยังมิได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้า
หนี้จะฟ้ องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้..." ดังนี้ จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติ
ดังกล่าวห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้ องลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นคดีเฉพาะหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้ม
ละลายเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้ องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์คืน โดยมิได้
เรียกร้องค่าเสียหายอื่นจากจำเลย เป็นการขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งและเป็นการใช้สิทธิ
ติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนเป็นหนี้ที่มิอาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้ องจำเลย
เป็นคดีต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย
พ.ศ.2483 มาตรา 26 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้ องโจทก์ไว้พิจารณา ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของ
โจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้รับฟ้ องโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อ
มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่
หน้า 12

5. คำพิพากษาฎีกาที่ 593/2538
ข้อกฎหมาย : ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 , พระราชบัญญัติล้ม
ละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 , 110 , 112
คดีสืบเนื่องมาจากเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 11826/2523 ของศาลแพ่งได้ขายทอด
ตลาดทรัพย์พิพาท คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 1532 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้(จำเลย ) ที่ 2 ในคดี
นี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีแพ่งดังกล่าวในราคา 14,000,000 บาท เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์2531
โจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ได้ร้องขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท และ ใหโอนทรัพย์
พิพาทเข้ามาในคดีนี้ แต่ผู้คัดค้านที่ 2 มีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ คำสั่งของผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เพราะลูกหนี้ที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2530 ก่อนการบังคับคดีแพ่ง ได้ สำเร็จบริบูรณ์
เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องโอนอำนาจการบังคับคดี มาให้ผู้คัดค้านที่ 2 จัดการต่อไป การที่เจ้าพนักงานบังคับ
คดียังคงขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ที่ 2 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2531 ในขณะที่
ศาลยังมิได้พิพากษาให้ลูกหนี้ ที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายย่อมไม่มีอำนาจจะทำได้ตามกฎหมาย และราคาทรัพย์ที่
ตกลงขายให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ต่ำกว่าความเป็นจริงมากทั้งไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ เจ้าหนี้รายอื่น นอกจาก
นี้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้แจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้โจทก์ทราบ ทำให้ไม่มีโอกาสไป
ควบคุมการขายทอดตลาด และการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 เท่ากับ
สละสิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันจึงต้องโอนทรัพย์พิพาทเข้ามาไว้ในคดีล้มละลายขอให้ มีคำสั่งเพิกถอนคำ
สั่งของผู้คัดค้านที่ 2 ที่ยกคำร้องของโจทก์ และขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท แล้วโอนทรัพย์
พิพาทเข้ามาไว้ในคดีล้มละลายต่อไป
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านว่าคดีแพ่งหมายเลขแดง ที่11826/2523 ของศาลแพ่งถึงที่สุดแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1
ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองไว้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมา
ชำระหนี้ได้ ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ซื้อทรัพย์พิพาทจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตในราคา 14,000,000 บาท ซึ่ง สูง
กว่าราคาประเมินเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหักค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม และจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้มีประกัน แล้ว
หน้า 13

หากมีเหลือก็ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายจัดแบ่งให้แก่เจ้าหนี้รายอื่นได้โดยไม่ต้องเพิกถอน การขายทอด
ตลาด และการบังคับคดีเสร็จบริบูรณ์แล้วขอให้ยกคำร้อง
ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้รับจำนองทรัพย์พิพาทได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้ม
ละลายต่อผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันโดยขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้ว
ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีอำนาจให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์
พิพาทต่อไปได้โดยไม่ต้องโอนทรัพย์พิพาทเข้ามาในคดีล้มละลายก่อนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไม่ใช่การ
ขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย ซึ่งไม่ต้องรอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายก่อนทั้งไม่ต้อง
แจ้งวันขายทอดตลาดให้โจทก์ทราบ และโจทก์ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าราคาที่ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้
นั้นต่ำกว่าปกติขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้ยกคำร้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหนี้มีประกันของลูกหนี้ที่ 2 ตามคำ
พิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 11826/2523 ของศาลแพ่งและได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ที่ 2
ซึ่งจำนองเป็นหลักประกันตามคำพิพากษาดังกล่าว โดยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทมาขายทอด
ตลาด แต่ก่อนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด เจ้าพนักงาน
บังคับคดีได้หารือกับผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทต่อไป
และหากมีเงินสุทธิเหลือหลังจากหักชำระหนี้จำนองแก่ผู้คัดค้านที่ 1 แล้ว ก็ให้โอนเข้ามาในคดีล้มละลาย เจ้า
พนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาด 7 ครั้ง ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซื้อได้ในราคา 14 ล้านบาทซึ่งสูงกว่า
ราคาที่ประเมินไว้ที่โจทก์ฎีกาว่าการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามพระราช
บัญญัติล้มละลาย พ.ศ 2483 มาตรา 96(3) โดยขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทแล้ว ขอรับชำระหนี้
สำหรับจำนวนที่ขาดอยู่ ต่อมาผู้การค้าที่ 2 มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไปนั้น การ
ขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงถือว่าเป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายตามคำสั่งของผู้คัดค้านที่
2 และโดยผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเมื่อปรากฏว่าไม่ได้มีการแจ้งวันขายทอดตลาดให้แก่โจทก์และเจ้าหนี้อื่นในฐานะผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียในคดีล้มละลาย เพื่อเปิ ดโอกาสให้โจทก์และเจ้าหนี้อื่นเข้ามาตรวจสอบดูแลควบคุมการขายทอด
ตลาดเป็นเหตุให้ขายทรัพย์พิพาทได้ในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทรัพย์สิน
ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งปวง อีกทั้งเกิดความเสียเปรียบระหว่างเจ้าหนี้อื่น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
เห็นว่าเมื่อศาลสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ 2483 มาตรา 22(2) บัญญัติให้
หน้า 14

อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แด่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือ
ซึ่งลูกหนี้มีสิทธิ์จะได้รับจากผู้อื่นแม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตาม
เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การ
บังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 110 วรรคแรกประกอบด้วย
มาตรา 112 ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอ
ภาคตามส่วน อย่างไรก็ตามอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน
ในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สิน อันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้คัดค้านที่
1 เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ที่ 2 ได้ฟ้ องบังคับจำนองและทำการบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงาน
บังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดในคดีนี้ ผู้
คัดค้านที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทไว้ในคดีล้มละลายเพราะ
เป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกัน
โดยตรงเทียบตามนัย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2531 ระหว่างบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาสมุทรจำกัด โจทก์
ธนาคารกรุงไทย จำกัด ผู้ร้องนางสาวเล็กผาสุขวณิชย์ จำเลย ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาด
ทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่ง แม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของผู้คัดค้านที่ 2
เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 เช่นนี้จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไป ตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอด
ตลาดในคดีล้มละลาย อันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ 2483
แต่ประการใด ไม่โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขาย ซึ่งเจ้า
พนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่งมาตรา 306

6. คำพิพากษาฎีกาที่ 771/2552
ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 , 10
หน้า 15

โจทก์ฟ้ องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามเด็ดขาด และพิพากษาให้เป็นบุคคลล้ม


ละลาย
จำเลยทั้งสามไม่ยื่นคำให้การและไม่สืบพยาน
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
พ.ศ.2483 มาตรา 14 และให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยหักจากกองทรัพย์สินของจำเลยทั้ง
สาม เฉพาะค่าทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำ
พิพากษาของศาลแพ่ง คดีหมายเลขแดงที่ ธ.3027/2549 ซึ่งพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงิน
เกินบัญชีจำนวน 2,000,000 บาท และ 9,593.57 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี และ 13 ต่อปี ตาม
ลำดับ นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 และอัตราร้อยละ 13 ต่อปี ของต้นเงิน
2,009,593.57 บาท นับแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยนำเงินจำนวน 20,000 บาท มาหัก
ชำระหนี้ที่มีอยู่ ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2546 และชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินจำนวน 3,919,921.94 บาท พร้อม
ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13 ต่อปี ของต้นเงิน 3,571,010.40 บาท นับถัดจากวันฟ้ องจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลย
ทั้งสามไม่ชำระให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 10461 ตำบลสีกัน อำเภอดอนเมือง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง
ของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้ง
สามออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน กับให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทน
โจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท แต่จำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ คำนวณยอดหนี้ถึงวันฟ้ องเป็นเงิน
8,503,937.06 บาท
กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ว่า คำฟ้ องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า
คดีนี้แม้ว่าจำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียว แต่เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้ องให้จำเลยทั้งสามรับผิดนั้นเกี่ยวด้วยการ
ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ตลอดจนโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาดก็โดยสาเหตุ
ที่จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น กรณีจึงมีความเกี่ยวพันกัน และเห็นควรวินิจฉัยคำฟ้ อง
โจทก์ในส่วนจำเลยที่ 1 ก่อน
คดีนี้โจทก์ฟ้ องจำเลยทั้งสามให้เป็นบุคคลล้มละลายโดยนำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้ อง และหนี้ตาม
คำพิพากษาดังกล่าวพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 10461 ตำบลสีกัน
อำเภอดอนเมือง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้ และโจทก์ได้ตี
ราคาทรัพย์หลักประกันเป็นเงิน 1,806,000 บาท ตามสำเนาบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินท้ายคำฟ้ อง ทรัพย์ที่
จำนองนั้นมีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในการประเมินราคาเพื่อนำมาพิจารณาว่าเมื่อหักกับหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้ อง
หน้า 16

แล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท หรือ 2,000,000 บาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย


พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องตีราคาทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การที่ทรัพย์จำนองเป็นที่ดิน
พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้นนั้น โจทก์ได้ประเมินมาเฉพาะราคาที่ดินอย่างเดียว กรณีจึงถือว่า
โจทก์ปกปิ ดทรัพย์หลักประกันซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างอันอยู่บนที่ดิน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ประเมินทรัพย์จำนองให้
ครบถ้วน คำฟ้ องของโจทก์จึงไม่ชอบตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) ที่ศาลล้มละลาย
กลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดมานั้น ศาลฎีกาจึงไม่เห็นพ้องด้วย และเมื่อกรณีไม่อาจพิทักษ์
ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจากฟ้ องโจทก์ไม่ชอบแล้ว กรณีจึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ด
ขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้
ในส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์ได้ตีราคาทรัพย์หลักประกันเฉพาะที่ดินโดยปกปิ ดไม่ได้ตี
ราคาสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ทรัพย์จำนองมาด้วย และจำเลยทั้งสามก็โต้แย้งว่าทรัพย์จำนองดัง
กล่าวนั้นมีราคาประเมินรวมประมาณ 13,000,000 บาท ประกอบกับคดีแพ่งที่โจทก์นำมาฟ้ องเป็นคดีล้มละลาย
ศาลก็เพิ่งพิพากษาคดีแพ่งก่อนฟ้ องคดีล้มละลายเป็นเวลาเพียงแค่ 8 เดือนเศษ โจทก์ยังสามารถที่จะนำคำ
พิพากษาคดีแพ่งไปบังคับแก่จำเลยที่ 2 ได้อยู่ และจำเลยที่ 2 ก็ยังประกอบธุรกิจต่าง ๆ มีรายได้ที่จะมาชำระหนี้
ให้แก่โจทก์ กรณียังมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้ องจำเลยทั้งสาม ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

7. คำพิพากษาฎีกาที่ 1854/2553
ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/75 , 90/67
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้ นฟูกิจการของลูกหนี้เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2543 และ
ตั้งบริษัทสำนักงานพิพัฒน์และเพื่อน จำกัด เป็นผู้ทำแผน ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 ศาลมีคำสั่งเห็นชอบ
ด้วยแผนโดยมีบริษัทเพชรบุรี แมเนจเม้นท์ จำกัด (ผู้ร้อง) เป็นผู้บริหารแผน
ต่อมาวันที่ 2 เมษายน 2550 ผู้รับมอบอำนาจผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากเจ้าหนี้รายที่ 3 ที่ 6 และที่ 11 ยื่น
คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตำแหน่งและมีคำสั่งแต่งตั้งบริษัทแพนเอเชีย แพลนเนอร์ จำกัด
เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารแผนของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้ม
ละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/67 โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้บริหารแผนชั่วคราวและให้เจ้าพนักงาน
หน้า 17

พิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่โดยเร็วที่สุด ทั้งให้ขยายระยะเวลาดำเนิน
การตามแผนออกไปอีก 1 ปี
ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา โดยศาลฎีกาอนุญาตให้อุทธรณ์
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้ นฟูกิจการของลูก
หนี้เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2551
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้ นฟูกิจการของลูกหนี้
แล้ว ย่อมมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฟื้ นฟูกิจการภายใต้การกำกับของศาลเข้าสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจ
ตามปกติ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องที่อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำ
สั่งให้ผู้ร้องพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารแผนของลูกหนี้อีกต่อไป
ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความของศาลฎีกา ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ

8. คำพิพากษาฎีกาที่ 4797/2553
ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 , 81/1
โจทก์ฟ้ องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาด และพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้ อง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
มาตรา 14 และให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยหักจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เฉพาะค่า
ทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร พิพากษายกฟ้ องจำเลยที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียม
ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ข้อแรกมีว่า
โจทก์มีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้ องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลายหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ก่อนถูกโจทก์ฟ้ อง
คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2543 และพิพากษาให้เป็นบุคคลล้ม
ละลายเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2544 จำเลยที่ 2 ได้รับการปลดจากล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
หน้า 18

พ.ศ.2483 มาตรา 81/1 นับถัดจากวันที่ 20 สิงหาคม 2547 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึง


ขอรับชำระหนี้ได้ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้ องคดีนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่ศาลแพ่งมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26
สิงหาคม 2540 ก่อนวันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีที่ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วย
ข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมา
ฟ้ องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลาย ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดนั้น ศาลฎีกาไม่เห็น
พ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังขึ้น เมื่อวินิจฉัยดังกล่าวแล้วอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ข้ออื่นย่อมไม่จำเป็น
ต้องวินิจฉัย เนื่องจากไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้ อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

9. คำพิพากษาฎีกาที่ 4619/2553
ข้อกฎหมาย : ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 , พระราชบัญญัติล้ม
ละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 , พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542
มาตรา 14
โจทก์ฟ้ องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้ อง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
มาตรา 14 และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยหักจากกองทรัพย์สินของจำเลย เฉพาะค่า
ทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา
ตามยอมคดีศาลแพ่งหมายเลขแดงที่ 13068/2540 ซึ่งพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 4,246,561.04 บาท
พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 3,342,330 บาท นับถัดจากวันฟ้ องจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยผ่อน
ชำระเป็นรายเดือนเดือนละไม่น้อยกว่า 30,000 บาท กำหนดชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่ 3
กรกฎาคม 2540 กับค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนที่ศาลไม่สั่งคืนหลังจากศาลมีคำพิพากษาจำเลยไม่ชำระหนี้
คำนวณยอดหนี้ถึงวันฟ้ องคดีนี้เป็นเงิน 6,929,143.65 บาท โจทก์ขอศาลออกหมายบังคับคดีและสืบหาทรัพย์สิน
ของจำเลยโดยยื่นคำขอตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่แล้ว
หน้า 19

ไม่พบว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่อย่างใด และจำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีในคดีของศาลแพ่ง
หมายเลขแดงที่ 29046/2540 ซึ่งเป็นที่ดินจำนวน 8 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนองและไม่พอ
ชำระหนี้แก่โจทก์ผู้รับจำนองในคดีดังกล่าว กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราช
บัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยประการแรกว่า ฟ้ องโจทก์
เป็นฟ้ องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่1293/2547 ของศาลล้มละลายกลางหรือไม่ เห็นว่า คดีหมายเลขแดงที่
1293/2547 ของศาลล้มละลายกลาง โจทก์ฟ้ องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่งคดี
หมายเลขแดงที่ 13068/2540 รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน 5,808,985.85 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า
1,000,000 บาท โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ไม่น้อยกว่าสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อย
กว่าสามสิบวันและจำเลยได้รับหนังสือทวงถามแล้ว แต่จำเลยไม่ชำระหนี้นอกจากนี้จำเลยถูกกรมสรรพากรยึด
ที่ดินโฉนดเลขที่ 13440 ตำบลสามเสนใน(บางซื่อฝั่งใต้) อำเภอดุสิต (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร ซึ่งติดจำนอง
สถาบันการเงินอื่นในวงเงิน 15,000,000 บาท จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่น ที่ดินจำนองดังกล่าวไม่พอชำระหนี้จำนอง
หนี้ค่าภาษีอากรและหนี้โจทก์ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ของจำเลยเด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ศาลล้มละลายกลางพิพากษายกฟ้ องโดยวินิจฉัยว่า
จำเลยนำสืบได้ว่า จำเลยมีที่ดินโฉนดเลขที่ 13440 มีราคามากกว่าหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์และหนี้จำนองรวมกัน
กรณีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว คดีถึงที่สุดแล้วส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้ องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำ
พิพากษาตามยอมของศาลแพ่งในคดีเดียวกันซึ่งคำนวณยอดหนี้ถึงวันฟ้ องเป็นเงิน 6,929,143.65 บาท โจทก์ขอ
ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว แต่จำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ และจำเลยถูกยึด
ทรัพย์ตามหมายบังคับคดีในคดีอื่น ซึ่งทรัพย์ที่ยึดเป็นทรัพย์ติดจำนองและไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โจทก์ผู้รับ
จำนอง ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและ
พิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย เห็นว่า แม้คดีหมายเลขแดงที่ 1293/2547 ของศาลล้มละลายกลางกับคดีนี้
โจทก์จะนำหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลในคดีเดียวกันมาฟ้ องจำเลย และมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า
จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ก็ตาม แต่เหตุที่อ้างว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวในคดีหมายเลขแดงที่
1293/2547 ของศาลล้มละลายกลางกับคดีนี้เป็นคนละเหตุกัน ประกอบกับทรัพย์จำนองที่จำเลยนำสืบและเป็น
เหตุให้ศาลวินิจฉัยยกฟ้ องโจทก์ในคดีดังกล่าว จำเลยได้โอนขายให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อชำระหนี้สถาบันการ
เงินอื่นไปแล้ว โจทก์ฟ้ องคดีนี้อ้างเหตุความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยโดยจำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่าง
ใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้โจทก์ได้และจำเลยถูกเจ้าหนี้อื่นยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่
ดังนั้นฟ้ องโจทก์คดีนี้จึงมิได้รื้อร้องฟ้ องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับเหตุในคดี
หมายเลขแดงที่ 1293/2547 ของศาลล้มละลายกลาง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ฟ้ องโจทก์คดีนี้
จึงไม่เป็นฟ้ องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 1293/2547 ของศาลล้มละลายกลาง ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
หน้า 20

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้ว


ว่า จำเลยต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเลยจึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อ
สันนิษฐานดังกล่าว ที่จำเลยนำสืบโดยส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่า จำเลยประกอบกิจการ
เป็นเจ้าของร้านที่นอนรุ่งโรจน์ผลิตที่นอนฟองน้ำจำหน่าย มีรายได้เดือนละประมาณ 200,000 ถึง 300,000 บาท
และเคยมีรายได้สูงสุดประมาณ 900,000 ถึง 1,200,000 บาท สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้นั้น เห็นว่า ข้อ
นำสืบของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงคำกล่าวอ้างเลื่อนลอยมีน้ำหนักน้อยโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาแสดง
ประกอบสนับสนุนให้น่าเชื่อถือ จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง กรณีไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว
ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว และนับแต่ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาจำเลยไม่เคยชำระหนี้
ให้แก่โจทก์เลย จึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย
เด็ดขาดมานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
หน้า 21

10. คำพิพากษาฎีกาที่ 805/2552


ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 24 , 56 , 94 , ประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 , 149 , 173
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดเมื่อวันที่ 12
มีนาคม 2544
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้เงินยืมและอาวัล จำนวน 100,687,500 บาท จากกองทรัพย์สินของ
ลูกหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา
104 แล้ว ปรากฏว่าลูกหนี้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าควรยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เสียทั้งสิ้น
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 107 (1)
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และลูกหนี้อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
เจ้าหนี้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาตามฎีกาของเจ้าหนี้ที่ว่า เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สิน
ของลูกหนี้หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า แม้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้เงินยืมและอาวัล แต่เจ้าหนี้ได้ให้การ
สอบสวนถึงที่มาในเรื่องหนี้สินดังกล่าวตลอดจนอ้างส่งหลักฐานประกอบหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งตามทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ความว่า หนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้มีหนังสือ
คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นหลักฐานซึ่งลูกหนี้ได้ทำไว้ให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน
2542 มีข้อความว่า ตามที่เจ้าหนี้ได้รับภาระใช้หนี้แทนลูกหนี้นั้น ลูกหนี้ยินยอมชำระหนี้คืนให้เจ้าหนี้เป็นเงินต้น
จำนวน 22,750,000 บาท ตามเช็คธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้ได้จ่ายแทนให้
อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ ดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระคืนจนถึงวันที่
24 เมษายน 2542 เป็นเงิน 72,250,000 บาท โดยลูกหนี้จะชำระหนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 สิงหาคม
2542 และลงลายมือชื่อของลูกหนี้ไว้เอกสารดังกล่าวลูกหนี้ได้ทำขึ้นภายหลังเมื่อลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้ม
ละลายในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ 28/2529 ของศาลจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2533 แล้ว
เนื่องจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ แม้ตามทางสอบสวนของเจ้า
หน้า 22

พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ความว่า หนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท ดังกล่าว มีมูลหนี้มาจากเจ้าหนี้


ซึ่งมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของลูกหนี้และได้ชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้ไปแล้วก่อนวันที่
ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.28/2529 ของศาลจังหวัดนนทบุรี
และเจ้าหนี้มิได้นำหนี้ดังกล่าวไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำ
สั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ ซึ่งการประนอมหนี้ดังกล่าวผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดใน
เรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ แต่ก็มีผลผูกพันหนี้เดิมของเจ้าหนี้ที่ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้นั้นและมีผลให้ลูกหนี้
หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวเท่านั้น แต่เมื่อภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือดัง
กล่าวให้แก่เจ้าหนี้ โดยตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท ที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริง
และลูกหนี้ยังมิได้ชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ตามหนังสือดังกล่าว จึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจมุ่ง
โดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์กับเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินคืนแก่เจ้าหนี้และมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย
มิใช่เป็นเอกสารรับสภาพหนี้ตามเช็คธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ใน
ระหว่างที่ลูกหนี้ยังอยู่ในภาวะล้มละลายอันเป็นการกระทำเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ฝ่ าฝืนต่อ
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 24 ซึ่งตกเป็นโมฆะ ดังความเห็นของศาลอุทธรณ์ไม่ แต่ข้อตกลง
เกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะ
ชำระเสร็จดังกล่าวเป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อ
วันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย ข้อตกลงดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าเป็นการถือ
เอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ย
ส่วนนี้ จึงตกเป็นโมฆะเช่นกัน และตามพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้
คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์ดังกล่าวแยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินต้นจำนวน 22,750,000
บาท พร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2542 อันเป็นวันครบกำหนด
จนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำขอรับชำระหนี้
ของเจ้าหนี้เสียทั้งสิ้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของเจ้าหนี้ฟังขึ้นบางส่วน เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว
ปัญหาอื่นไม่จำต้องวินิจฉัย
พิพากษาแก้เป็นว่า อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จำนวน 22,750,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อย
ละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2542 จนถึงวันที่ 12 มีนาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของ
ลูกหนี้เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 130 (7) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ
หน้า 23

11. คำพิพากษาฎีกาที่ 5369/2549


ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 , 91 , 94 , 101 , ประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693 , 229
โจทก์ฟ้ องและแก้ไขคำฟ้ องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดและพิพากษา
ให้เป็นบุคคลล้มละลาย ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถึงแก่ความตาย ขอให้มีคำสั่งให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 2
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
ระหว่างพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำฟ้ อง ศาลล้มละลายกลางมี
คำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเรียกทายาทจำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 คำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้ อง และ
คำสั่งรับคำฟ้ องในส่วนของจำเลยที่ 2 แล้วมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ
หน้า 24

จำเลยที่ 1 ไม่ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การทำนองเดียวกันขอให้ยกฟ้ อง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้ม
ละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยหักจากกองทรัพย์สิน
ของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เฉพาะค่าทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร
จำเลยที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่
1 ตามสัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนไว้แก่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4
ทำสัญญารับจะชำระหนี้ที่เกิดจากการที่โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูก
หนี้ร่วม ปรากฏว่าในวันที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญารับจะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์นั้น มูลหนี้ตาม
สัญญาค้ำประกันที่โจทก์อาจถูกเรียกร้องจากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้ชำระหนี้ได้เกิดขึ้น
แล้ว เพียงแต่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึง
เป็นผู้ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญารับจะชำระหนี้ในเวลาภายหน้าได้ เมื่อจำเลยที่ 3 และ
ที่ 4 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่โจทก์
อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่
วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 และ 101 แต่
ปรากฏว่าบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 3
และที่ 4 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้อง
ห้ามตามมาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย แต่การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทยไปย่อมมีผลให้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้รายดังกล่าวไปใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่กอง
ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229 โจทก์จะนำหนี้ที่มูลแห่งหนี้
ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมาฟ้ องให้จำเลยดัง
กล่าวล้มละลายซ้ำอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่ ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาด
มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้ องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งศาลล้ม
ละลายกลาง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองชั้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้เป็นพับ
หน้า 25

12. คำพิพากษาฎีกาที่ 3919/2535


ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ตามทาง
สอบสวนของผู้ร้องปรากฏว่า ลูกหนี้ได้เปิ ดบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 989 กับผู้คัดค้านสาขาทับสะแก ต่อมาวันที่
22 ธันวาคม 2520 ลูกหนี้ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงิน 1,000,000 บาท ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2530
ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2531 อันเป็นระยะเวลาภายใน 3 เดือนก่อนและหลังฟ้ องให้ลูกหนี้ล้มละลาย ลูกหนี้ได้นำ
เงินเข้าบัญชีชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งรวม 51 รายการเป็นเงิน 791,197 บาท โดยมุ่งหมายให้
ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ซึ่งคดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ 5 รายเป็นเงิน 4,483,655.51 บาท ผู้ร้อง
รวบรวมเงินเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้เพียง 1,000,000 บาทเศษ ขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ของลูกหนี้ดัง
กล่าว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 และให้ผู้คัดค้านชดใช้เงิน 791,197 บาท พร้อมด้วย
ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันยื่นคำร้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า การที่ลูกหนี้นำเงินเข้าฝากบัญชีนั้นมีลักษณะเป็นการลดหนี้ลงชั่วคราว แล้ว
เบิกถอนเงินใหม่มีจำนวนรวมกันสูงกว่าเงินลูกหนี้นำเข้าบัญชีตลอดมา การนำเงินเข้าฝากบัญชีของลูกหนี้เป็นวิธี
การที่จะเบิกเงินจากผู้คัดค้านให้มากขึ้น หาใช่เป็นการชำระหนี้ทีเดียวเสร็จสิ้นไม่ แต่เป็นการชำระหนี้เพื่อก่อหนี้
ขึ้นใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลายครั้งหลายคราว ดังนั้น การกระทำของลูกหนี้จึงไม่เป็นการมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบ
เจ้าหนี้อื่นขอให้ยกคำร้อง
หน้า 26

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ร้องฎีกา


ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ผู้ร้องและคัดค้านนำสืบรับกันว่า ลูกหนี้ได้เปิ ดบัญชีกระแส
รายวันเลขที่ 989 โดยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีผ่านบัญชีดังกล่าวกับผู้คัดค้าน สาขาทับสะแก ในวงเงิน
1,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย ร.1 ระหว่างอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2530 ถึงวันที่24
พฤษภาคม 2531 อันเป็นระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายและภายหลังนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน
เข้าบัญชีให้แก่ผู้คัดค้านสาขาทับสะแก 51 รายการ รวมเป็นเงิน 791,197 บาท และเบิกถอนออกจากบัญชีไป
390,760 บาท ตามเอกสารหมาย ร.2 ปัญหาตามฎีกาของผู้ร้องมีว่า การกระทำของลูกหนี้ดังกล่าวเป็นการชำระ
หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นหรือไม่ เห็นว่า คดีปรากฏ
จากคำเบิกความของนายน้อย สมใจรักษ์ และนายมนูญ สอนเสริม พยานผู้ร้องว่าในการดำเนินกิจการของลูกหนี้
นั้น ลูกหนี้ใช้เงินทุนจากการกู้มาจากผู้คัดค้านด้วย โดยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงิน 1,000,000 บาทและ
เปิ ดบัญชีกระแสรายวันไว้โดยมีการเบิกถอนและนำเงินเข้าบัญชีหักทอนกันเพื่อจะเบิกถอนต่อไปภายในวงเงิน
ดังกล่าว ซึ่งในระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2530 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2531 ก็เช่นเดียวกันคือมีทั้งการนำเงินเข้า
บัญชีและเบิกถอนออกจากบัญชีด้วยและปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้คัดค้าน สาขาทับสะแก เพียงประมาณ
600,000 บาทซึ่งก็ยังอยู่ในวงเงินที่ลูกหนี้ยังเบิกถอนต่อไปได้อันเจือสมกันกับคำเบิกความของนายวิริยะ เปรม
ปราโมทย์ พยานผู้คัดค้านนอกจากนี้นายน้อยพยานผู้ร้องยังเบิกความยืนยันว่า หลังจากเปิ ดบัญชีกระแสรายวัน
และทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว ได้มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอยู่เป็นประจำและก่อนสัญญาครบกำหนดมี
การต่ออายุสัญญากันทุกปี ดังนี้แสดงว่าในระหว่างอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ลูกหนี้สามารถนำเงินเข้าฝากเพื่อ
หักทอนบัญชีและเบิกถอนต่อไปได้ อันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีตามสัญญาเดินสะพัด การที่ลูกหนี้นำเงินเข้า
บัญชีจึงมีลักษณะเป็นการลดหนี้ลงชั่วคราวแล้วเบิกเงินใหม่ซึ่งกระทำตลอดเวลาของอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
และไม่เป็นการชำระหนี้ทีเดียวเสร็จสิ้นกันไปเลย ทั้งที่ตามสัญญาผู้คัดค้านสามารถเรียกให้ชำระหนี้ทั้งหมดหรือ
บางส่วนได้ ทางนำสืบของผู้ร้องก็ยังไม่พอฟังว่า ผู้คัดค้านได้ทราบก่อนแล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวโดยลูก
หนี้ได้ไปกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้รายอื่นด้วยแม้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุให้ลูกหนี้ต้องแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ
และต้องได้รับอนุญาตจากผู้คัดค้านก่อนก็ตาม นายวิริยะพยานผู้คัดค้านก็เบิกความปฏิเสธว่า ผู้คัดค้านเพิ่งทราบ
หลังจากลูกหนี้ถูกฟ้ องล้มละลายโดยผู้ร้องแจ้งให้ทราบ การนำเงินเข้าบัญชีของลูกหนี้จึงเป็นการชำระหนี้เพื่อก่อ
หนี้ใหม่ เพิ่มขึ้นอันเป็นวิธีการเพื่อจะเบิกเงินจากผู้คัดค้านได้มากยิ่งขึ้นตามประเพณีธนาคารในเรื่องบัญชีเดิน
สะพัดเท่านั้น การกระทำของลูกหนี้จึงมิได้มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราช
บัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 แต่อย่างใดที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว"
พิพากษายืน
หน้า 27

13. คำพิพากษาฎีกาที่ 8298/2538


ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102 , 115
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้ องจำเลย (ลูกหนี้) ขอให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2534 ศาลชั้นต้นมีคำ
สั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2535 และพิพากษาให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม
2536 ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ตามทางสอบสวนของผู้ร้องปรากฏว่าลูกหนี้เป็นลูกค้าของผู้คัดค้านประเภทบัญชีกระแส
รายวัน บัญชีเลขที่ 288-1-00731-5 ต่อมาวันที่9 สิงหาคม 2534 ลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
วงเงิน 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี เพื่อเป็นหลักประกันลูกหนี้ได้ทำสัญญาจำนำสิทธิที่จะถอน
เงินจากบัญชีเงินฝากประจำบัญชีเลขที่ 288-3-00253-1/03 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2534 จำนวน 200,000 บาท โดย
ลูกหนี้มอบอำนาจให้ผู้คัดค้านสามารถหักเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยในบัญชีดังกล่าวชำระหนี้เป็นการหักกลบลบ
หนี้ได้ทุกเมื่อ การกระทำของลูกหนี้กระทำภายหลังที่โจทก์ขอให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้วเกือบ 2 เดือน ในขณะที่
ลูกหนี้มีหนี้สินมาก โดยมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ 5 ราย เป็นเงินจำนวน 6,230,764.81 บาทแต่ทรัพย์สินของ
ลูกหนี้ที่ผู้ร้องรวบรวมได้เป็นที่ดินมีราคาประเมินเพียง 648,000 บาท การกระทำของลูกหนี้มุ่งให้ผู้คัดค้านได้
เปรียบเจ้าหนี้ ขอให้เพิกถอนการนำเงินเข้าฝากประจำและจำนำสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำเลขที่
288-3-00253-1/03 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2534 จำนวน 200,000 บาท ของลูกหนี้และการขอหักกลบลบหนี้ของผู้
คัดค้าน ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 โดยให้ผู้คัดค้านคืนเงินฝากประจำจำนวน 200,000
บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่8 สิงหาคม 2534 ซึ่งเป็นวันที่ลูกหนี้นำเงินฝากเป็นต้นไป
จนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านรับชำระหนี้โดยสุจริตไม่ทราบว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้ร้องจะ
ขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 จะต้องได้ความว่าการกระทำ
ของลูกหนี้หรือการที่ลูกหนี้ยอมให้กระทำการเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้า
หนี้คนอื่นซึ่งมุ่งถึงกิริยาที่ยินยอม มิใช่ผู้อื่นทำด้วยความยินยอมของลูกหนี้ แม้จะไม่มีข้อตกลงให้ผู้คัดค้านหัก
เงินฝากประจำบัญชีเลขที่ 288-3-00253-1/03 ชำระหนี้ ผู้คัดค้านก็มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ได้ตามพระราช
บัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 102 ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนำอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันย่อมมี
สิทธิพิเศษเหนือกว่าเจ้าหนี้สามัญ ผู้คัดค้านมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากหลักประกันดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่นพระราช
หน้า 28

บัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 รับรองสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันว่ามีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลัก


ประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้แสดงว่าเจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่น
คำขอรับชำระหนี้ก็สามารถหักเงินฝากของลูกหนี้ชำระหนี้ได้ การนำเงินฝากประจำของลูกหนี้หักกลบลบหนี้กับ
หนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระอยู่แก่ผู้คัดค้านไม่ทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่นขอให้ยก
คำร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการนำเงินฝากประจำและจำนำสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำ
เลขที่ 288-3-00253-1/03 ของลูกหนี้ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2534 จำนวน 200,000 บาทให้ผู้คัดค้านคืนเงินจำนวน
200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2534 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
ผู้คัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ไม่โต้เถียงกันฟังได้ว่าโจทก์ฟ้ องลูกหนี้ขอให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 21
มิถุนายน 2534 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2535 และพิพากษาให้ล้ม
ละลาย เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2536 ลูกหนี้ได้เปิ ดบัญชีฝากเงินประเภทกระแสรายวันไว้กับผู้คัดค้านตามบัญชี
เลขที่ 288-1-00731-5 ต่อมาวันที่ 9 สิงหาคม 2534 ลูกหนี้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้คัดค้านใน
วงเงิน 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี และในวันเดียวกันลูกหนี้ได้ทำสัญญาจำนำสิทธิที่จะถอนเงิน
ฝากจากบัญชีเงินฝากประจำบัญชีเลขที่ 288-3-00253-1/03 จำนวนเงิน 200,000 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านไว้เป็น
ประกัน พร้อมทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้คัดค้านเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ
การชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ 5 ราย จำนวนเงิน
6,230,764.81 บาทซึ่งผู้ร้องรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เพียง 648,000 บาทและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกที่จะ
รวบรวมมาชำระหนี้ได้ สำหรับหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้คิดถึงวันที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ลูกหนี้
ยังเป็นหนี้ผู้คัดค้านอยู่จำนวนหนึ่งผู้คัดค้านได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของลูกหนี้มาชำระหนี้เงินกู้เบิก
เงินเกินบัญชีในวันที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า การที่ลูกหนี้ได้
ทำสัญญาจำนำสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำบัญชีเลขที่ 288-3-00252-1/03 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2534
แก่ผู้คัดค้านและการที่ผู้คัดค้านถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของลูกหนี้ดังกล่าวนำมาชำระหนี้เงินกู้เบิกเงิน
เกินบัญชีของลูกหนี้เป็นการกระทำของลูกหนี้โดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 115 แห่ง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หรือไม่ ข้อเท็จจริงได้ความว่า ลูกหนี้นำเงินเข้าฝากประจำไว้กับผู้คัดค้าน
ตามบัญชีเลขที่ 288-3-00253-1/13 เมื่อวันที่8 สิงหาคม 2534 และลูกหนี้ทำสัญญากู้เบิกเงินบัญชีกับผู้คัดค้านเมื่อ
วันที่ 9 สิงหาคม 2534 เห็นว่า ขณะที่ลูกหนี้นำเงินฝากก็ดีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้คัดค้านก็ดี ลูกหนี้
หน้า 29

ยังไม่ได้เป็นหนี้ผู้คัดค้านอยู่เลย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 บัญญัติว่า "การโอนทรัพย์สิน


หรือการกระทำใด ๆซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้
ล้มละลายและภายหลังนั้น โดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำนั้นได้" ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านจะ
ขอให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใด ๆ ของลูกหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องพิจารณาถึงความมุ่งหมาย
ของลูกหนี้ว่าจะให้เจ้าหนี้คนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย
และภายหลังนั้นหรือไม่ เท่านั้น ปัญหาที่ว่าลูกหนี้ได้เป็นหนี้ผู้คัดค้านหรือไม่ในขณะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความ
ว่า ขณะที่ลูกหนี้นำเงินเข้าฝากประจำไว้กับผู้คัดค้านและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้คัดค้านนั้น ลูกหนี้ยัง
ไม่ได้เป็นหนี้ผู้คัดค้านแต่อย่างใด ลูกหนี้จะเป็นหนี้ผู้คัดค้านหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไปจาก
ผู้คัดค้านหรือไม่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่แน่นอน หากลูกหนี้ยังไม่เบิกเงินไปลูกหนี้ก็ยังไม่ได้เป็นหนี้
ผู้คัดค้าน ลูกหนี้จะเป็นหนี้ผู้คัดค้านก็ต่อเมื่อได้เบิกเงินไปจากบัญชีเท่านั้น ดังนั้นขณะที่ลูกหนี้นำเงินเข้าฝาก
ประจำและให้สิทธิที่จะถอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ดังกล่าวแก่ผู้คัดค้าน แม้จะกระทำในระหว่างที่ลูกหนี้ถูก
โจทก์ฟ้ องขอให้ล้มละลาย แต่ในขณะนั้นผู้คัดค้านก็ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ในอันที่จะเรียกร้อง
ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้การกระทำของลูกหนี้ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็น
เจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นซึ่งผู้ร้องจะร้องขอให้เพิกถอนการกระทำของลูกหนี้ตามมาตรา 115 แห่งพระราช
บัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้ ปัญหาต่อไปมีว่าเมื่อลูกหนี้ได้เบิกเงินไปจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
และเป็นหนี้ผู้คัดค้านแล้ว ผู้คัดค้านจะมีสิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของลูกหนี้นำมาหักกลบลบหนี้กับ
หนี้ที่ลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไปได้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อการให้สิทธิที่จะถอนเงินฝากประจำจากบัญชีของลูกหนี้
ซึ่งลูกหนี้มอบอำนาจให้ผู้คัดค้านสามารถถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวหักกลบลบหนี้ที่มีอยู่แก่ผู้คัดค้านเมื่อใดก็ได้
ผู้ร้องไม่อาจร้องขอเพิกถอนได้ดังวินิจฉัยมาแล้ว เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ผู้คัดค้านใน
เวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิถอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ที่หักกลบลบหนี้กับหนี้ที่
ลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้คัดค้านได้ตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ทั้งนี้โดยไม่จำ
ต้องอาศัยความยินยอมของลูกหนี้แต่ประการใดอีก ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการหักกลบลบหนี้ตาม
มาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ได้เช่นกัน ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษานั้นไม่
ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
พิพากษากลับให้ยกคำร้อง
หน้า 30

14. คำพิพากษาฎีกาที่ 2902/2552


ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 136 , 135
โจทก์ฟ้ องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้ อง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา
14 และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยหักจากกองทรัพย์สินของจำเลย เฉพาะค่าทนายความให้เจ้า
พนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
หน้า 31

ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยประการแรกว่า โจทก์มี


สิทธินำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลจังหวัดภูเก็ต คดีหมายเลขแดงที่ 1008/2539 มาฟ้ องจำเลยเป็นคดี
ล้มละลายหรือไม่ เห็นว่า แม้ว่าการที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยในคดีของศาลล้ม
ละลายกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ล.511/2543 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2547 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
มาตรา 135(2) ซึ่งมีผลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 136 แต่ก็หาทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้
สินแต่อย่างใดไม่ โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้ดังกล่าวนั้นเจ้าหนี้จะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้หรือไม่ มีผลให้โจทก์
ซึ่งไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้นยังคงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ต่อไปเหมือนดังก่อนที่มี
การฟ้ องคดีล้มละลาย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวมาฟ้ องจำเลยเป็นคดีล้ม
ละลายได้
ปัญหาต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายมีว่า กรณีมีหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายหรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จ
จริงปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 ซึ่งหลังจากศาลมีคำพิพากษาตาม
ยอมแล้ว จำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จนกระทั่งโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอด
ตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วน หลังจากนั้นจำเลยก็มิได้ชำระหนี้ส่วนที่ค้างหรือติดต่อขอชำระหนี้แก่โจทก์แต่
อย่างใด เมื่อนับระยะเวลาจากศาลพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งจนถึงโจทก์นำคดีมาฟ้ องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย
คดีนี้เป็นเวลาเกือบสิบปี แล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมิได้ขวนขวายชำระหนี้แก่โจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุ
อื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์อ้างว่า เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของ
จำเลยเด็ดขาดในคดีหมายเลขแดงที่ ล.511/2443 โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว และต่อ
มาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา
135(2) นั้น เห็นว่า เพียงแต่เหตุดังกล่าวยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ที่ศาลล้มละลายกลาง
มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดมานั้น ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ
หน้า 32

15. คำพิพากษาฎีกาที่ 1711/2535


ข้อกฎหมาย : ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 , พระราชบัญญัติล้ม
ละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 , 95 , 96 , 101 , 153
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย ผู้ร้อง
ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 96(3) ในทรัพย์จำนองที่ดิน
รวม 175 โฉนด อันเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน 11 ฉบับที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกโดยผู้ร้องเป็นผู้อาวัล ศาลชั้นต้น
มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามความเห็นของผู้คัดค้านไปแล้วต่อมาผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ใน
ฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามตั๋วสัญญาใช้เงินอีก 1 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออก และผู้ร้องเป็นผู้อาวัล โดยถือเอา
ทรัพย์จำนองรายเดียวกันเป็นประกันหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว ผู้คัดค้านยกคำร้อง ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อ
ศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินรวม 175 โฉนด เพื่อเป็นประกันหนี้ในการที่ผู้ร้องได้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน
รวม 12 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่บุคคลอื่นรวมเป็นเงิน 70,000,000 บาท ซึ่งเท่ากับวงเงินจำนอง ผู้ร้องเป็นเจ้า
หนี้มีประกันผู้มีสิทธิในทางการจำนองเหนือทรัพย์จำนองเต็มจำนวน 70,000,000 บาท ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิใช้สิทธิ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 95, 96 ได้ผู้ร้องย่อมนำตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับที่ 12 มาใช้สิทธิตามมาตรา 95
เพื่อขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมได้ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้าน โดยให้ผู้ร้องมีบุริมสิทธิ์ เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลัก
ประกันเป็นเงิน 22,664,931.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย
ผู้คัดค้านคัดค้านว่า เมื่อมีการบังคับจำนองแก่ทรัพย์สินที่จำนองเป็นประกันตามมูลหนี้ในตั๋วสัญญาใช้
เงิน 11 ฉบับ แล้ว ผู้ร้องจะนำหนี้อันเกิดจากการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับที่ 12 อันเป็นหนี้ส่วนหนึ่งที่จำนอง
หน้า 33

ตามสัญญาจำนองมาขอให้ผู้คัดค้านสั่งแสดงบุริมสิทธิ์ ตาม มาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายอีกไม่ได้ขอ


ให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้บุริม
สิทธิ์ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในมูลหนี้จำนองและอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับที่ 12 หรือไม่เห็นว่า ในการใช้สิทธิ
เหนือทรัพย์สินใดอันเป็นหลักประกันนั้นเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิที่จะเลือกใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
มาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเพียงมาตราเดียวโดยอาจเลือกถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลัก
ประกันของตนนั้นตามมาตรา 95 โดยไม่ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หรืออาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตาม
มาตรา 96 อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวซึ่งหากเจ้าหนี้มีประกันเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96
แล้วก็ย่อมหมดสิทธิที่จะถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นอีกต่อไป และต้องขอรับชำระหนี้
ทั้งหมดของตนที่มีทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์
ทรัพย์เด็ดขาดอันเป็นกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ไม่อาจขอรับชำระหนี้ภายหลัง
กำหนดเวลานั้นได้การที่ผู้ร้องซึ่งได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดิน 175 โฉนด จากจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นหลักประกันใน
การที่ผู้ร้องอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน 12 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้อื่น ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มี
ประกันในมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน 11 ฉบับ สำหรับที่ดินที่จำนองนั้น เป็นการที่ผู้ร้องได้เลือกใช้สิทธิขอรับชำระ
หนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันสำหรับที่ดินจำนอง 175 โฉนด นั้นตามมาตรา 96(3)แล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะถือ
สิทธิเหนือที่ดินที่จำนองนั้นตามมาตรา 95 อีกต่อไป และเมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มี
ประกันในมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับที่ 12 สำหรับที่ดิน 175 โฉนดที่จำนองนั้น ภายในกำหนดเวลาขอรับชำระ
หนี้ตามมาตรา 91 ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้นั้นอีกต่อไปด้วย
ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาว่า มูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับที่ 12 ที่ผู้ร้องนำมาขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิ์ เป็นมูล
หนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยผู้ร้องได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่
โจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 25922/2526 ของศาลชั้นต้นไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 และเกิดสิทธิไล่เบี้ยในวัน
นั้นเอง จึงมีสิทธินำมูลหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิ์ในคดีนี้ได้นั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติล้มละลาย
มาตรา 101 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลผู้เป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ในคดีล้มละลายที่จะยื่นคำขอรับชำระ
หนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ และวรรคสองของมาตราดังกล่าวให้นำบทบัญญัติ
ดังกล่าวไปใช้บังคับแก่ผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันร่วมหรือบุคคลที่อยู่ในลักษณะเดียวกันนี้โดยอนุโลม ดังนั้น แม้ผู้
หน้า 34

ร้องซึ่งเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับที่ 12 ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกให้แก่บุคคลอื่น ยังมิได้ชำระเงินตามตั๋ว


สัญญาใช้เงินนั้นให้แก่ผู้รับเงิน ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน
ฉบับที่ 12 ซึ่งผู้ร้องอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่จำเลยที่ 1 ในเวลาภายหน้าภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วัน
โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 เมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้ดังกล่าวภายใน
กำหนดเวลานั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้สำหรับหนี้ดังกล่าว
ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองมีบุริมสิทธิ์เหนือทรัพย์สิน มีหลักทรัพย์จำนองจดทะเบียน
เป็นประกันหนี้ตามกฎหมายเจ้าหนี้รายอื่นมิได้คัดค้านการขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องจำเลยทั้งสองก็ยอมให้ผู้ร้อง
ได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิ์ คงมีแต่ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวที่คัดค้าน ผู้ร้องจึงควรได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิ์ตามกฎหมาย
นั้น เห็นว่า ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับ
วินิจฉัย
พิพากษายืน
หน้า 35

16. คำพิพากษาฎีกาที่ 6722/2544


ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 , 95 , 96
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้ องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้ง
สองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2530 คดีอยู่ระหว่างการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองที่ดินจำนวน 16 โฉนด ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองหอย อำเภอ
เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ในขณะทำสัญญาจำนองจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องอยู่ 4 ประเภท คือ 1. หนี้เงินกู้
(เงินกู้ส่วนที่เป็นเงินไทยและเงินกู้ส่วนที่เป็นเงินเหรียญสหรัฐ)2. หนี้เงินกู้ระยะสั้น 3. หนี้ค่าปรับในการยกเลิก
สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ 4. หนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทสยามราษฎร์ จำกัดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม
2531 ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้คัดค้านในมูลหนี้เงินกู้ส่วนที่เป็นเงินไทย หนี้เงินกู้ระยะสั้นและหนี้ค่าปรับ
ในการยกเลิกสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.
2483 มาตรา 96(3) และเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2531 ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้คัดค้านในมูลหนี้เงินกู้ส่วนที่
เป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ และหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทสยามราษฎร์ จำกัด อย่างเจ้าหนี้มีประกันตามพ
ระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 สำหรับคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 95 นั้น ผู้คัดค้านมีหมายแจ้ง
คำสั่งลงวันที่ 13 กันยายน 2532 ให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ ส่วนคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96(3) ศาล
อุทธรณ์มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2534 อนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้คดีถึงที่สุด ต่อมาวันที่ 9
มิถุนายน 2541 ผู้ร้องได้รับหมายนัดลงวันที่ 2 มิถุนายน 2541 จากผู้คัดค้านแจ้งว่าผู้ร้องเลือกใช้สิทธิตามมาตรา
96 แล้ว ย่อมหมดสิทธิที่จะถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกต่อไป ผู้คัดค้านจึงมีคำ
สั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 เสียทั้งสิ้นซึ่งผู้คัดค้านไม่มี
อำนาจเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านและให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้ม
ละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96 แล้ว ย่อมหมดสิทธิที่จะถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันอีกต่อไป ผู้ร้อง
มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในมูลหนี้เงินกู้ส่วนที่เป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ และหนี้อาวัลตั๋ว
สัญญาใช้เงินภายในกำหนดเวลาที่ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 ผู้ร้องจึง
ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อีกต่อไป คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน
ตามมาตรา 96(3) เท่านั้น คำสั่งของผู้คัดค้านที่ให้เพิกถอนคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้เป็นคำสั่งที่ชอบ ส่วนคำ
พิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 96(3) นั้น ได้พิจารณาแต่เพียงสิทธิใน
หน้า 36

การได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 96(3) มิได้พิจารณาถึงสิทธิในการได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 ขอให้ยกคำร้อง


ของผู้ร้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกัน มีสิทธิที่จะเลือกใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
พ.ศ. 2483 มาตรา 95 หรือมาตรา 96 เหนือทรัพย์อันเป็นหลักประกันเพียงมาตราเดียว คือหากใช้สิทธิขอรับชำระ
หนี้ตามมาตรา 96 แล้วก็ย่อมหมดสิทธิที่จะถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกต่อไป ผู้
ร้องชอบที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ส่วนที่เหลือภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เด็ดขาดตามมาตรา 91 เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอครั้งที่ 2 หลังจากการยื่นครั้งแรกถึง 4 เดือน ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอ
รับชำระหนี้อีก ผู้คัดค้านอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้โดยเข้าใจข้อกฎหมายผิดหลงก็ย่อมมีสิทธิที่จะเพิกถอน
ได้คำสั่งของผู้คัดค้านชอบแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายพิพากษายืน
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า "มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า การที่ผู้ร้องขอรับชำระ
หนี้สำหรับหนี้เงินกู้ส่วนที่เป็นเงินไทย หนี้เงินกู้ระยะสั้น และหนี้ค่าปรับในการยกเลิกสัญญาซื้อขายเงินตราต่าง
ประเทศ 3 รายการ อย่างเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96(3) แล้วผู้ร้องจะใช้
สิทธิขอรับชำระหนี้เงินกู้ส่วนที่เป็นเงินเหรียญสหรัฐ และหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินอีก 2 รายการ อย่างเจ้าหนี้มี
ประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 ได้หรือไม่ เห็นว่าพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.
2483 มาตรา 95 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้
ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สิน
นั้น"มาตรา 96 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ภายในเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) เมื่อยินยอมสละ
ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายแล้วขอรับชำระหนี้ได้เต็มจำนวน(2) เมื่อได้บังคับ
เอาแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ (3) เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ (4) เมื่อตี
ราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่..." บทบัญญัติของมาตราทั้ง
สองนี้แสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ 2 วิธี วิธีแรก เจ้าหนี้มี
ประกันใช้สิทธิตามมาตรา 95 โดยถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในคดี
ล้มละลาย แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น ดังนี้ กำหนดเวลาให้ยื่นคำขอรับชำระ
หนี้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 จึงไม่มี และหากบังคับชำระหนี้
เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้มีประกันย่อมหมดสิทธิขอรับชำระหนี้ที่ยัง
ขาดอยู่จากทรัพย์สินอื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายวิธีที่สอง โดยเจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับ
หน้า 37

ชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายภายใต้เงื่อนไขมาตรา 96 ซึ่งมีอยู่ 4 ประการ ในประการใด


ประการหนึ่งกล่าวโดยเฉพาะผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในคดีนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96(3) ใน
กรณีนี้หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินมายังไม่พอชำระหนี้
ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้และการ
ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 ต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91
บทบัญญัติทั้งสองมาตราแยกให้เห็นข้อแตกต่างในวิธีการขอรับชำระหนี้และข้อแตกต่างในผลของการใช้สิทธิ
มาตราใดมาตราหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้มีประกันชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 95 หรือ
มาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้นเมื่อผู้ร้องเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96(3) แล้ว ผู้ร้องย่อม
หมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกต่อไปที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิ
ขอรับชำระหนี้เงินกู้ส่วนที่เป็นเงินเหรียญสหรัฐและหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินตามมาตรา 95 นั้น ชอบแล้วศาล
ฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องประการต่อไปมีว่า การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับ
ชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 แล้วผู้คัดค้านจะเพิกถอนคำสั่งเดิมนี้ได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงรับ
ฟังได้ว่า ผู้คัดค้านได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ โดยมีหมายแจ้งคำสั่งลงวันที่ 13 กันยายน 2532 ให้ผู้
ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 ก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 96(3) ตาม
คดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ 50/2534 ของศาลอุทธรณ์ ต่อมาวันที่ 18 พฤษภาคม 2541 ผู้คัดค้านจึงมีคำสั่งเพิก
ถอนคำสั่งที่อนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 นั้นเสียซึ่งผู้ร้องฎีกาในข้อนี้ว่า คำสั่งที่อนุญาตให้ผู้
ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 ล่วงเลยมานานเกือบ 10 ปี และคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจเพิก
ถอนคำสั่งเดิมนั้น เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอ
รับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอา
สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันและจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งว่าให้ได้รับชำระหนี้หรือไม่แต่ประการใด ดังนั้น คำสั่งของผู้
คัดค้านในคดีนี้ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2532 จึงไม่ถูกต้อง แม้
จะกลับมามีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่อนุญาตในภายหลังซึ่งล่วงเลยมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี คำสั่งของผู้คัดค้านในครั้ง
ก่อนและในครั้งหลังจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมาย เพราะไม่ทำให้ผู้ร้องได้สิทธิหรือเสีย
สิทธิแต่ประการใดเมื่อผู้ร้องได้ใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายตามมาตรา 96 แล้วผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันสำหรับ
หนี้เงินกู้ส่วนที่เป็นเงินเหรียญสหรัฐ และหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินตามมาตรา 95 ดังที่วินิจฉัยไว้ข้างต้น เมื่อ
วินิจฉัยมาดังนี้แล้ว ฎีกาของผู้ร้องในปัญหาอื่นนอกจากนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีและไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย"
พิพากษายืน
หน้า 38

17. คำพิพากษาฎีกาที่ 1847/2553


ข้อกฎหมาย : ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 , พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา
176 , 124
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2545
และพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2546 ต่อมาวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ผู้คัดค้านขายทอด
ตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 7002 ตำบลคลองนครเนื่องเขตร์ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ของจำเลยไป
ในราคา 15,000,000 บาท โดยผู้ร้องเป็นผู้ซื้อได้และเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 ผู้ร้องได้ขอรับหนังสือแจ้ง
การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและเอกสารเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์จากผู้คัดค้านไปดำเนินการจด
ทะเบียนรับโอนที่ดินที่สำนักงานที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทราเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2548 เจ้าพนักงานที่ดินเรียกเก็บ
ภาษีเงินได้จากการขายอสังริมทรัพย์ซึ่งผู้ร้องชำระแทนจำเลยไปจำนวน 150,000 บาท ต่อมาวันที่ 29 ธันวาคม
2548 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนเงินที่ชำระเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต่อผู้คัดค้าน แต่ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำร้อง
เนื่องจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนเงินเกินระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านจ่ายคืนเงินที่จ่ายแทนจำเลยเป็นค่าภาษีดังกล่าวแก่ผู้ร้อง
หน้า 39

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า กรณีมีปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีสิทธิขอรับคืนเงินที่
ผู้ร้องจ่ายแทนจำเลยเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากการขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้คัดค้านหรือไม่ เห็นว่า การ
ที่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เงินที่ได้จากการ
ขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวเป็นเงินได้ของกองทรัพย์สินของจำเลย จำเลยโดยผู้คัดค้านมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้
จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) ที่ผู้คัดค้านกำหนดเงื่อนไขในประกาศขายทอด
ตลาดทรัพย์และข้อตกลงในหนังสือสัญญาซื้อขาย ให้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดเป็นผู้ชำระค่าภาษี
ต่างๆ จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลรัษฎากร แล้วนำใบเสร็จรับเงินที่มีรายการชำระค่าภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่ายมาขอคืนภาษีภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์หรือภายใน 20 วันนับแต่ชำระราคาครบ
ถ้วน หากไม่มาขอคืนภายในกำหนดดังกล่าวถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอรับเงินภาษีคืน เป็นเพียงเพื่อให้การ
จัดการทรัพย์สินของจำเลยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสะดวกรวดเร็วเท่านั้น ทั้งเป็นประโยชน์แก่เจ้า
พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่จำต้องนำส่งหรือไปชำระภาษีดังกล่าวด้วยตนเองโดยผลักภาระให้ผู้ซื้อทรัพย์ไปชำระ
ภาษีแล้วนำใบเสร็จรับเงินมาขอคืนเงินที่ชำระเป็นค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นอกจากนี้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำหน่ายทรัพย์ของจำเลยในคดีล้มละลายแล้ว ทรัพย์สินซึ่งเหลือจากที่กันไว้สำหรับ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องจัดแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้โดยเร็ว การแบ่งทรัพย์สินต้อง
กระทำทุกระยะเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย เว้นแต่ศาลจะได้อนุญาตให้
ขยายเวลาต่อไปโดยมีเหตุสมควร ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายการรับ -
จ่ายนั้น ในการทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถกันเงินในส่วนที่ผู้ซื้อทรัพย์
จะมาขอรับคืนเงินที่จ่ายเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายได้ แล้วแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินคืน หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่
มารับคืนภายในห้าปี นับแต่วันที่ศาลสั่งปิ ดคดีเงินดังกล่าวก็จะตกเป็นของแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
พ.ศ.2483 มาตรา 176 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อตกลงในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์
หรือหนังสือสัญญาซื้อขายโดยกำหนดเวลาให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินที่จ่ายเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืนภายใน
กำหนดเวลาที่ผิดแผกแตกต่างจากกำหนดเวลาตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ คดีนี้ปรากฏว่า ภายหลัง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้จัดทำบัญชีแสดง
รายการรับ - จ่ายเงิน ที่ได้จากการขายทอดตลาดหรือดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินที่จ่ายเป็นค่าภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่ายแก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องได้ชำระค่าภาษีเงินได้จากการขายที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับ
คืนเงินที่ผู้ร้องจ่ายแทนจำเลยไปเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากการขายทอดตลาดของผู้คัดค้านได้ ผู้คัดค้าน
หน้า 40

มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวคืนให้แก่ผู้ร้อง ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องนั้นศาลฎีกาไม่เห็น
พ้องด้วย
พิพากษากลับ ให้ผู้คัดค้านจ่ายเงินที่ผู้ร้องจ่ายแทนจำเลยเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจำนวน 150,000
บาท คืนให้แก่ผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ

18. คำพิพากษาฎีกาที่ 2537/2552


ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 , 110 , 95
คดีสืบเนื่องมาจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ 3,627,267.43 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 14.5 ต่อปี ในต้นเงิน 2,133,499.34 บาท นับแต่วัน
ฟ้ องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในวงเงิน 2,000,000 บาท จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดใน
วงเงิน 1,500,000 บาท จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดในวงเงิน 2,500,000 บาท จำเลยที่ 5 และที่ 6 ร่วมรับผิดในวงเงิน
คนละ 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราขึ้นลงตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยนับแต่วันที่จำเลยที่ 1
ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2540 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2542 และ
ดอกเบี้ยร้อยละ 14.5 ต่อปี ในต้นเงินที่จำเลยแต่ละคนต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2542
จนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยคนใดบิดพลิ้ว ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 224911 ตำบลคลองจั่น อำเภอบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร ที่ดินโฉนดเลขที่ 134590 ตำบลคลองตัน (ที่ 8 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง
กรุงเทพมหานคร และที่ดินโฉนดเลขที่ 227617 ตำบลคลองกุ่ม อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูก
สร้างในที่ดินแต่ละแปลงออกขายทอดตลาดใช้หนี้ ถ้าเงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด ให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของ
จำเลยเหล่านั้นออกขายทอดตลาดใช้หนี้จนกว่าจะครบ
จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งงดขายทอดตลาด
ที่ดินโฉนดเลขที่ 227617 ตำบลคลองกุ่ม อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ตนจำนองเป็น
ประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 4 ซึ่งถูกฟ้ องล้มละลายตามคดีหมายเลขแดงที่ล.311/2542
ของศาลแพ่ง และถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2543 แต่ต่อมาได้รับการปลดจากล้ม
ละลายแล้วเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 จึงหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
มาตรา 77 รวมทั้งหนี้ในคดีนี้
หน้า 41

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งยกคำร้องให้ค่าคำร้องเป็นพับ
จำเลยที่ 4 อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า แม้พระราชบัญญัติล้ม
ละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 จะบัญญัติว่า "คำสั่งปลดจากล้มละลาย ทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้ง
ปวงอันพึงขอรับชำระได้..." ซึ่งมีความหมายว่า เมื่อบุคคลล้มละลายคนใดได้รับการปลดจากล้มละลายแล้ว
บุคคลนั้นย่อมหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
กำหนด ไม่ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้สามัญหรือหนี้มีประกันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ โดยสละสิทธิที่มีอยู่
เหนือทรัพย์อันเป็นหลักประกันนั้นก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้
มีประกันตามความในมาตรา 110 วรรคสาม โจทก์ในคดีนี้ผู้เป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือทรัพย์สินซึ่งจำนองของ
จำเลยที่ 4 จึงย่อมมีสิทธิเลือกที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่จำเลยที่ 4 ถูกศาลแพ่งสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เด็ดขาดภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดหรือไม่ก็ได้ สุดแท้แต่โจทก์จะเห็นสมควรว่าวิธีการ
ใดจะเหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่ตนมากกว่ากัน เพราะหากขอรับชำระหนี้ร่วมกับเจ้าหนี้สามัญก็จะต้องสละ
สิทธิที่จะพึงได้รับชำระหนี้จากหลักประกันนั้นก่อนเจ้าหนี้รายอื่น แต่ถ้าไม่ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเพราะ
เห็นว่าหลักประกันที่มีอยู่นั้นคุ้มกับจำนวนหนี้ โจทก์ก็ยังคงครองสิทธิจำนองเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน
อยู่ในลำดับเดิมต่อไป เมื่อโจทก์ไม่ขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 4 ถูกฟ้ องล้มละลายแล้วเช่นนี้ หนี้ที่จำเลยที่ 4
มีอยู่แก่โจทก์ในคดีนี้จึงไม่ใช่หนี้อันพึงขอรับชำระได้ตามนัยแห่งมาตรา 77 ดังกล่าว ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 4
ได้รับการปลดจากล้มละลายแล้ว จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากหนี้จำนองที่มีอยู่แก่โจทก์ในคดีนี้แต่อย่างใด
ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ซึ่งจำนองของจำเลยที่ 4 จึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ให้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้เป็นพับ
หน้า 42

19. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2547


ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้ องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาด และพิพากษาให้เป็น
บุคคลล้มละลาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด และพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้าน โดยให้ผู้
คัดค้านดำเนินการยึดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องต่อไป
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้มีคำสั่งยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายพิพากษายืน ผู้คัดค้านดำเนินคดีเองจึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้น
อุทธรณ์ให้
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โดยเป็นเจ้า
หนี้ผู้รับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 24503 ของลูกหนี้ ผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่
วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2544 ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านในฐานะเจ้าหนี้มี
ประกันตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 โดยขอให้ผู้คัดค้านยึดทรัพย์จำนองดังกล่าวออกขายทอด
ตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านรับคำร้องไว้และดำเนินการไต่สวนโดยได้ส่งสำเนาคำร้องของผู้ร้อง
ให้เจ้าหนี้อื่น ๆ แล้ว ต่อมาวันที่ 2 มกราคม 2545 อธิบดีกรมบังคับคดีมีคำสั่งที่ 5/2545 ว่า เมื่อมีการยื่นคำร้อง
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นำเสนอหลักประกันและหนี้ที่มีประกัน
ต่อที่ประชุมเจ้าหนี้ก่อนว่าที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการหรือไม่ หากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่เห็น
ชอบ ก็ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดดำเนินการต่อทรัพย์สินนั้น วันที่ 4 มีนาคม 2545 ผู้คัดค้านนัดประชุมเจ้า
หนี้ และเจ้าหนี้ลงมติว่าไม่เห็นชอบให้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง คดี
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่าคำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินซึ่งผู้ร้องรับจำนองไว้
ชอบหรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สิน
อันเป็นหลักประกันเท่านั้น มิได้บังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการยึดและขายทอดตลาด
ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันให้แก่เจ้าหนี้มีประกันเสมอไปการตรวจดูทรัพย์สินตามมาตรา 95 นั้น เจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์จะกระทำด้วยการสอบสวนหรือขอมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามคำสั่งอธิบดีกรมบังคับคดีก็ได้ ถ้าปรากฏ
หน้า 43

ว่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันมีราคามากกว่าจำนวนหนี้ราคาส่วนที่เหลือเกินจำนวนหนี้ย่อมเป็นทรัพย์สินใน
คดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะรวบรวมจัดการตามมาตรา
22 และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขายตามวิธีการที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตามมาตรา 123 ในกรณีเช่น
นี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการยึดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันออกขายตามคำร้องของเจ้า
หนี้ จะสั่งงดดำเนินการและให้เจ้าหนี้ไปดำเนินการตามกฎหมายอื่นไม่ได้ แต่ถ้าปรากฏว่าจำนวนหนี้ท่วมราคา
ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันและไม่มีกรณีต้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลหรือการกระทำใดแล้ว ประกอบกับ
ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน เนื่องจากเห็นว่าจำนวนหนี้ค้าง
ชำระท่วมราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน การบังคับคดีต่อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันไม่มีประโยชน์ต่อ
กองทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างใด ที่ผู้คัดค้านได้มีคำสั่งงดดำเนินการต่อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมติที่
ประชุมเจ้าหนี้นั้นจึงชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับศาลล่างทั้งสอง ฎีกาผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ผู้คัดค้านแก้ฎีกาเองจึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้

20. คำพิพากษาฎีกาที่ 7309/2553


ข้อกฎหมาย : พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22
คดีสืบเนื่องมาจากผู้ชำระบัญชีได้ร้องขอให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหานครทรัสต์ จำกัด (มหาชน) ลูก
หนี้ล้มละลาย และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง
หน้า 44

เพิกถอนการบังคับคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ดำเนินการตามคำสั่งของเจ้า
พนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียทั้งหมดและให้ปล่อยที่ดินคืนแก่ผู้ร้อง
ศาลล้มละลายกลางไม่รับคำร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า การที่ลูกหนี้ผู้ล้มละลายเป็นโจทก์ในคดีของศาลแพ่งกรุงเทพใต้
หมายเลขแดงที่ 19601/2538 ระหว่าง บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหานครทรัสต์ จำกัด (มหาชน) โจทก์ สิบตำรวจ
เอกโฆษิต ที่ 1 นายวรวุฒิ ที่ 2 จำเลย ซึ่งศาลพิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีร่วมกันชำระหนี้ และหลัง
จากศาลได้มีคำพิพากษาแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ในฐานะโจทก์ในคดีแพ่งได้ดำเนินการบังคับคดี
และมีการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 110941 ตำบลคลองกุ่ม อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างออก
ขายทอดตลาด ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดอันมีผลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มี
อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
กล่าวคือในคดีแพ่งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจขอเข้าเป็นเจ้าหนี้ตามคำ
พิพากษาในการที่จะบังคับตามสิทธิในคดีแพ่งต่อไป การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งโต้แย้งว่าลูกหนี้ซึ่ง
เป็นโจทก์ในคดีไม่มีสิทธิในการบังคับคดีต่อไป เนื่องจากมีการโอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาให้แก่บริษัท
โพเทนท์ โพรดักส์ จำกัด ไปก่อนแล้ว และขอให้คืนทรัพย์ที่ยึดแก่ผู้ร้องเป็นข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิในการบังคับ
คดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 19601/2538 ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องในคดีแพ่ง และอำนาจในการพิจารณาลูกหนี้ซึ่ง
เป็นโจทก์ในคดีแพ่งจะมีสิทธิบังคับคดีหรือไม่ย่อมเป็นอำนาจของศาลในคดีแพ่ง ผู้ร้องจะยื่นคำร้องต่อศาลล้ม
ละลายกลางโดยอ้างว่าเป็นการคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่ ศาลล้มละลายกลางมีคำ
สั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้อง ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ

You might also like