รายงานยิมนาสติก

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 8

รายงาน

เรื่อง ประวัติและกติกากีฬายิมนาสติก

จัดทำโดย
เด็กหญิงพิชชาภา ขันรักษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/10 เลขที่ 25

เสนอ
คุณครูวัชรากรณ์ บวกไธสง

ราบงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาพลศึกษา พ21104
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

โรงเรียนชุมแพศึกษา อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น


สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25
คำนำ

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาพลศึกษา พ21104 ชั้นม.1/10 เพื่อให้ได้ศึกษาหา


ความรู้ในเรื่องประวัติและกติกากีฬายิมนาสติกและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่ างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน นักเรียนหรือผู้ที่กำลัง
ศึกษาหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อ แนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขอ
อภัยมานะที่นี้ด้วย

เด็กหญิงพิชชาภา ขันรักษา
ผู้จัดทำ


สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
ประวัติกีฬายิมนาสติก 1
กติกากีฬายิมนาสติก 2
อ้างอิง 5


1. ประวัติกฬี ายิมนาสติก
ยิมนาสติก เป็นกีฬาที่เกี่ยวกับการแสดง ความแข็งแรง ความสวยงาม ความคล่องแคล่ว และการ
ทำงานประสานกันของร่างกาย เป็นกีฬาสากลประเภทหนึ่งทีจ่ ัดเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกไม่ปรากฏหลักฐาน
แน่ชัดว่าเริ่มมาเมื่อใด แต่มาปรากฏก่อนคริสต์ศักราช 2,600 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาวจีนได้มีการฝึกฝน
ท่ากายบริหารและคิดประดิษฐ์ท่ากายบริหารขึ้น ยิมนาสติกอย่างแท้จริงน่าจะเริ่มสมัยเริ่มต้นของ
ประวัติศาสตร์แห่งชาวกรีกและโรมันโดยเฉพาะกรีกโบราณ คำว่ายิมนาสติก เป็นภาษากรีกมาจากคำว่า
Gymnos แปลว่า Nude หรือแปลว่า Naked Art มีความหมายว่า "ศิลปะแห่งการเปลือยเปล่า"
ในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการกำหนดประเภทยิมนาสติกสากล ประเภทชายมี 6 อุปกรณ์ และหญิงมี
4 อุปกรณ์

อุปกรณ์ในประเภทชาย
ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ (Floor exercise)
ม้าหู หรือม้าหมุน (Pommel horse)
ห่วง (Rings)
ม้ากระโดด (Long horse)
บาร์คู่ (Parallel bars)
บาร์เดี่ยว (Horizontal bar)
อุปกรณ์ในประเภทหญิง
ม้ากระโดด (Vaulting horse)
บาร์ต่างระดับ (Uneven bars)
คานทรงตัว (Balance bars)
ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ (Floor exercise)

ยิมนาสติกอีกประเภท คือ ยิมนาสติกลีลาประกอบดนตรี (Rhythmic Sportive Gymnastic) เกิดขึ้นใน


ปี พ.ศ. 2513 ทางแถบยุโรปตอนเหนือ ผู้เล่นจะเป็นผู้หญิงเท่านั้น เป็นการแสดงบนฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์
โดยจะเป็นการเคลื่อนไหวประกอบเสียงดนตรี และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น บอล (Ball) ริบบิ้น (Ribbin) คทา
หรือคลับ (Club) ห่วง (Hoop) เชือก (Rope)
1
ยิมนาสติกทั้งสองประเภทจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ยิมนาสติกสากล
ส่วนยิมนาสติกายกรรม หรือยิมนาสติกผาดโผนมิได้ขึ้นกับสหพันธ์ยิมนาสติกสากล มีลักษณะการแข่งขัน
ทั้งประเภทเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภททีม เป็นลักษณะของการต่อตัว ผสมกับการแสดงท่ายืดหยุ่น
หรือการตีลังกาทั้งบนฟลอร์ และกลางอากาศ โดยผู้เล่นแสดงเข้าจังหวะเสียงดนตรีให้มีความกลมกลืน

2. กติกากีฬายิมนาสติก
การแข่งขันจะแบ่งออกเป็นประเภทชายและหญิงแข่งขันกันโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆกัน เช่น ม้ากระโดด
ม้าหู บาร์เดี่ยว บาร์คู่ ห่วงนิ่งและฟลอร์ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแสดงภาคบังคับและท่าสมัครในอุปกรณ์แต่ละชนิด
ข้างต้น การแข่งขันแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น ประเภททีม ประเภทเดี่ยวผสม และประเภทเดี่ยว

• อุปกรณ์ชาย ห่วงนิ่ง บาร์คู่ ม้ากระโดด บาร์เดี่ยว ม้าหู


• อุปกรณ์หญิง บาร์ต่างระดับ ราวทรงตัว ม้ากระโดด
• กรรมการ ประกอบด้วยกรรมการให้คะแนน 4 คน กรรมการผูช้ ี้ขาด 1 คน แต่ในการแข่งขันประเภท
ชายเดี่ยวรอบชิงชนะเลิศจะมีกรรมการชี้ขาด 2 คน
• การให้คะแนน คะแนนของผู้เข้าแข่งขันคิดจากกรรมการทั้ง 4 คน โดยจะตัดคะแนนที่สูงสุดและต่ำสุด
ออก และนำคะแนนกลางจากกรรมการอีก 2 คน มาหาค่าเฉลี่ยเป็นคะแนนของผู้เข้าแข่งขัน คะแนน
ที่ได้จะมีตั้งแต่ 0 ถึง 10 คะแนน ซึ่งอาจจะถูกหักออกทั้งหมดครึ่งหนึ่งในการแข่งขันอุปกรณ์บาง
ประเภทอาจมีการให้คะแนนการเริ่มเล่นเป็นคะแนนพิเศษ ( เนือ่ งจากเป็นท่าเสี่ยงอันตรายต้องใช้พลัง
กำลังและมีความคิดสร้างสรรค์) ซึ่งอาจทำให้ได้รับคะแนนเต็ม 10 คะแนนได้

การแข่งขันประเภททีม

• แต่ละทีมจะมีผู้แข่งขัน 6 คน โดยผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะทำการแข่งขันทุกอุปกรณ์ด้วยท่าบังคับและท่า
สมัคร แล้วนำคะแนนของผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสูงสุดของทีม 5 คน มารวมกันเป็นคะแนนของทีม
• คะแนนสูงสุดของชายคือ 600 คะแนน
• คะแนนสูงสุดของหญิงคือ 400 คะแนน

2
การแข่งขันประเภทบุคคลรวมอุปกรณ์

• ผู้เข้าแข่งขันคัดจากผู้ได้คะแนนรวมทุกอุปกรณ์สูงสุดจากการแข่งขันประเภททีมจำนวน 3 คน มา
แข่งขันรอบสุดท้ายด้วยท่าสมัคร คะแนนจากรอบนี้จะรวมกับครึ่งหนึ่งของคะแนนทีท่ ำได้จากการ
แข่งขันประเภททีมเป็นคะแนนรวมของแต่ละคน
• คะแนนสูงสุดของชายคือ 120 คะแนน
• คะแนนสูงสุดของหญิงคือ 80คะแนน

การแข่งขันประเภทบุคคลแยกอุปกรณ์

• ในการแข่งขันแต่ละอุปกรณ์จะมีผู้เข้าแข่งขัน 6 คน โดยคัดจากผู้ได้คะแนนสูงสุดในแต่ละอุปกรณ์จาก
การแข่งขันประเภททีมมาทำการแข่งขันในรอบสุดท้าย คะแนนที่ได้จากรอบนี้จะรวมกับครึ่งหนึ่งของ
คะแนนที่ทำได้ในอุปกรณ์นั้นๆ จากการแข่งขันประเภททีมเป็นคะแนนรวมแต่ละคน
• คะแนนสูงสุดของทั้งชายและหญิงคือ 20 คะแนน

กติกาการแข่งขันยิมนาสติกลีลาใหม่ประกอบดนตรี

ในอดีตใช้เป็นกิจกรรมเพื่อการฝึกบริหารร่างกาย โดยเน้นการใช้ทักษะยิมนาสติกผสมกับจังหวะของ
ดนตรี และเพื่อให้สะท้อนลีลาที่สวยงามจึงเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ใหม่ คือ ลูกบอล ห่วง ไม้โยน ริบบิ้นยาว และ
เชือก เพื่อเพิม่ ความตื่นเต้นผสมกับความสวยงาม จุดเด่นของยิมนาสติกลีลาใหม่ประกอบดนตรี คือ การเน้น
ความสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับดนตรี

• อุปกรณ์ มีทั้งหมด 5 ชิ้น ได้แก่ ลูกบอล ริบบิ้น ห่วง ไม้โยน และเชือก อุปกรณ์ทั้ง 5 ชิ้นจะใช้สีใดก็ได้
ยกเว้น สีทอง เงิน และทองแดง
• ดนตรี การแสดงออกมีการผสมกลมกลืนกับการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกับศิลปะบัลเล่ต์ เครื่อง
ดนตรีที่ใช้ในการแข่งขันต้องเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงชิ้นเดียว เช่น เปียโน
• การแข่งขัน ไม่จำกัดเพศและอายุ นักกีฬาต้องแข่งขันกันตามลำดับอุปกรณ์ คือ เชือก ห่วง ลูกบอล ไม้
โยน และริบบิ้น
• เครื่องแต่งกาย ต้องเป็นชุดแนบเนื้อ หากไม่มีแขน ไหล่จะต้องกว้างอย่างน้อย 5 เซนติเมตร
• การแข่งขันประเภทบุคคล คะแนนเต็ม 10 คะแนน แบ่งคะแนนเป็น 2 ส่วน

3
- ส่วนที่ 1 มี 7 คะแนน เป็นคะแนนการเรียงลำดับท่า ซึ่งประกอบด้วยท่าของความยาก 5 คะแนน
ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีและท่าทาง 1 คะแนน ท่าของเทคนิคในการประกอบชุด 0.5 คะแนน และ
ความคิดริเริ่มในการแต่งท่า 0.5 คะแนน

- ส่วนที่ 2 มี 3 คะแนน เป็นคะแนนท่าจบประกอบด้วยเทคนิคการทำให้สำเร็จ 1.5 คะแนน ผล


สะท้อนโดยสรุป 1.5 คะแนน

4
อ้างอิง

1.ประวัติกีฬายิมนาสติก สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2565 จาก


https://th.m.wikipedia.org/wiki/ยิมนาสติก

2.กติกากีฬายิมนาสติก สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2565 จาก


http://health409.blogspot.com/2017/06/blog-post.html?m=1

You might also like