Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 36

การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS)

เรื่องการสารวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวใน ตาบลบ้านมุง อาเภอเนินมะปราง

จังหวัดพิษณุโลก

นายไชยวัฒน์ เมาระพงษ์ เลขที่ 2

นายณัฐภัทร แก้วแดง เลขที่ 3

นายพิษณุ ขาวทรงธรรม เลขที่ 6

นางสาววรนิษฐา บุญเสริม เลขที่28

นางสาววรรณิดา ศาลา เลขที่29

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 10

เสนอ

คุณครูชญานิน พลอินเต๊ะ

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS)

ภาคเรียนที1่ ปีการศึกษา 2564

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก
คานา

การส ารวจความพึ ง พอใจในครั้ ง นี้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของวิ ช าการศึ ก ษาค้ น คว้ า ด้ ว ยตนเอง
(Independent Study : IS) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 จุดประสงค์เพื่อสารวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว
ตาบลบ้านมุง อาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อนามาพัฒนาตาบลบ้านมุงให้ดีขึ้น
ในการจัดทาวิจัยครั้งนี้ ผู้จัดทาขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ให้ความรู้ แนะแนวทางการศึกษา
ผู้จัดทาหวังว่าวิจัยฉบับนี้จะทาให้ความรู้และช่วยพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวบ้านมุงให้ดียิ่งขึ้น

ผู้จัดทา

(ก)
กิตติกรรมประกาศ

การสารวจความพึงพอใจในครั้งนี้สาเร็จลงได้ด้วยความกรุณาเป็นอย่างสูงจาก คุณครูชญานิน พล
อินเต๊ะ คุณครูที่ปรึกษาประจาวิชา is2 ที่ได้ให้คาแนะนา ข้อมูลความรู้และคาปรึกษา ตลอดจนชี้แนะ
แนวทางในการแก้ปัญหาและปรับปรุงส่วนบกพร่องของงานนี้

ขอขอบคุณผู้อานวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ นายวิโรจน์ รอดสงฆ์ ที่ได้เล็งเห็น


ความสาคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และให้คาแนะนา คณะผู้จัดทาขอขอบคุณเป็นอย่างสูง

ผู้จัดทา

(ข)
สารบัญ
หน้า
คานา...........................................................................................................................................................ก
กิตติกรรมประกาศ...................................................................................................................................... ข
สารบัญ........................................................................................................................................................ค
สารบัญตาราง..............................................................................................................................................จ
บทที่1............................................................................................................................................... ...........1
ความเป็นมาและความสาคัญ.........................................................................................................1
วัตถุประสงค์..................................................................................................................................2
สมมติฐาน......................................................................................................................................2
ขอบเขตของการศึกษา..................................................................................................................2
ตัวแปรอิสระ..................................................................................................................................3
ตัวแปรตาม....................................................................................................................................3
นิยามศัพท์เฉพาะ..........................................................................................................................3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ............................................................................................................4
บทที่2..........................................................................................................................................................5
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.....................................................................................................5
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ......................................................................................5
องค์ประกอบความพึงพอใจ...........................................................................................................7
ความสาคัญของความพึงพอใจ......................................................................................................8
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับท่องเที่ยว.............................................................................................9
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง......................................................................................................................12
บทที่3.................................................................................................................................... ....................15
วิธีการดาเนินการ........................................................................................................................15
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง.........................................................................................................15
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา...........................................................................................................16
ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ......................................................................................................17

(ค)
สารบัญ(ต่อ)
หน้า
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล............................................................................................................17
บทที่4.......................................................................................................................................................20
ผลวิเคราะห์ข้อมูล.......................................................................................................................20
บทที่5........................................................................................................................................................25
สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ...........................................................................................................25
บรรณานุกรม............................................................................................................................................26
ภาคผนวก.................................................................................................................................................27
แบบสอบถามส่วนของผู้ประเมิน...............................................................................................................28
แบบสอบถามความพึงพอใจ......................................................................................................................29

(ง)
สารบัญ(ตาราง)
หน้า
ตารางที่1 ส่วนของผู้ประเมิน.................................................................................................................... 21
ตารางที่ 2 ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว...............................................................................................23

(จ)
บทที่1

บทนา
ความเป็นมาและความสาคัญ

พื้นที่อาเภอเนินมะปรางเดิมเป็นป่าดงดิบที่เต็มไปด้วยต้นไม้และสัตว์ป่า ห่างไกลจากผู้คน แต่จะมี


เพียงผู้มีอาชีพพรานที่เข้ามาล่าสัตว์และหาของป่า มาสร้างกกปางและอาศัยพักแรมชั่วคราวเท่านั้น ต่อมา
มีกลุ่มคนจากนครไทย ด่านซ้าย และหล่มสัก อพยพย้ายถิ่นฐานเดิมเข้ามาตั้งรกรากบริเวณบ้านชมพู บ้าน
มุง วังโพรง ไทรย้อย จากนั้นก็ขยับขยายที่ทากินไปที่วังยาง บ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก และเนินมะปราง ในที่สุด
โดยตัวอาเภอเนินมะปรางเดิมเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งมาประมาณ 42 ปี ชื่อบ้านเนินมะปราง ขึ้นกับตาบล
บ้านมุง อาเภอวังทอง ลักษณะภูมิประเทศประมาณร้อยละ 45 เป็นภูเขาหินปูนอายุกว่า 300 ล้านปี มีถ้า
อยู่มากมาย จึงเป็นแหล่งซ่องสุมกาลังของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ มีการปลุกระดมมวลชน แทรกซึม
บ่อนทาลายความมั่นคง และซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่รวมทั้งสถานที่ราชการอยู่เนือง ๆ ทางราชการจึงได้แยก
พื้นที่บางส่วนของอาเภอวังทองตั้งเป็น กิ่งอาเภอเนินมะปราง ขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2519 มี
ปลัดอาเภอหัวหน้ากิ่งอาเภอคนแรกชื่อ นายประยูร อินทรทัศน์ และได้รับการยกฐานะเป็น อาเภอเนิน
มะปราง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2526 มีร้อยตรี สมชาย นวาวัฒน์ ดารงตาแหน่งนายอาเภอคนแรก
จัดเป็นอาเภอชั้น 3 และนับเป็นอาเภอที่ 9 ของจังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันมีถ้ามากมายให้ทุกท่านได้รับชม
เช่น ซากดึกดาบรรพ์ อักษรญี่ปุ่นโบราณ ฯลฯ

ในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวกันอย่างต่อเนื่อง และสถานที่ท่องเที่ยวในเนินมะปรางก็
เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ และหนึ่งในนั้นคือสถานที่ใน ตาบลบ้านมุง เนื่องจากมีภูเขาหินปูนเป็นจานวนมาก
และมีค้างคาวบินออกมาในช่วงเย็น ทาให้เป็นที่ดึงดูดสาหรับนักท่อองเที่ ยวเป็นอย่างมาก นักท่องเที่ยว
ส่ว นมากจึงเข้ามาเพื่อพักผ่อนชมธรรมชาติ และทางตาบลบ้านมุงเร่งพั ฒ นาสถานที่ที่เป็นแลนมาร์ ค
2

ทางคณะผู้ จัดทาจึ งต้องการที่จ ะส ารวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในตาบลบ้านมุง


อาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อนาไปพัฒนาสถานที่และอื่นๆต่อไป

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1. เพื่อสารวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว

2. เพื่อนาข้อมูลไปพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว

สมมติฐาน

1. นักท่องเที่ยวมีความพอใจในระดับปานกลาง-มากที่สุด

2. พัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวให้ดีขึ้น

ขอบเขตของการศึกษา

1. ขอบเขตด้านประชากร
นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวใน ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก จานวน 500 คนต่อ
วัน
2. ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่าง
ตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวใน ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก

3. ขอบเขตด้านเนื้อหา สารวจเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยว ต.บ้านมึง อ.เนินมะปราง


จ.พิษณุโลก
3

ตัวแปรที่ศึกษา

1.ตัวแปรอิสระ

1.1 เพศ

1.2 อายุ

1.3 ระดับการศึกษา

1.4 อาชีพ

2.ตัวแปรตาม

ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการมาท่องเที่ยวใน ตาบล บ้านมุง อาเภอ เนินมะปราง


จังหวัด พิษณุโลก

นิยามศัพท์เฉพาะ

1.อาเภอเนินมะปราง

ตาบลบ้านมุงเป็นส่วนหนึ่งของอาเภอเนินมะปรางและเนินมะปรางเป็นอาเภอหนึ่งที่ตั้งอยู่ใน
จังหวัดพิษณุโลก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 68 กิโลเมตร เดิมเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งมาประมาณ 42
ปี ลักษณะภูมิประเทศประมาณร้อยละ 45 เป็นภูเขาหินปูนอายุกว่า 300 ล้านปี มีถ้าอยู่มากมาย แบ่ง
จุดท่องเที่ยวออกเป็น 2 จุดใหญ่ ๆ คือ บ้านมุง และ บ้านรักไทย

2. ตาบลบ้านมุง

ตาบลหนึ่งในอาเภอเนินมะปราง มีภูเขาหินหลายแห่ง และมีถ้ามากมายให้สารวจเช่น ถ้าอักษร


ญี่ปุ่น ถ้าเดือน ถ้าดาว เป็นต้น ซึง่ ในตอนนี้กาลังพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย
4

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ด้านสถานที่ท่องเที่ยว อ.เนินมะปราง มีนักท่องเที่ยวมาเพิ่มเป็นจานวนมากจากการปรับปรุง


สถานที่ท่องเที่ยวโดยคาติเตียนจากนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว
บทที2่

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ผู้
ศึกษาได้ทาการศึกษาค้นคว้าเอกสารแนวคิดทฤษฎีตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางใน
การศึกษาการดาเนินการวิจัยดังนี้

1. แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ

2. แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

3. ตาบล บ้านมุง อาเภอ เนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ

ความหมายของความพึงพอใจ

ความพึงพอใจ ได้มีผู้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้หลายความหมาย ดังนี้พจนานุกรมฉบับ


ราชบัณฑิตสถาน (2542) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า พึงพอใจ หมายถึง รัก ชอบใจ และพึง
ใจ หมายถึง พอใจ ชอบใจ
6

ดิเรก (2528) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติทางบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่ งสิ่งหนึ่ ง เป็น


ความรู้สึกหรือทัศนคติที่ดีต่องานที่ทาของบุ คคลที่มีต่องานในทางบวก ความสุขของบุคคลอันเกิดจากการ
ปฏิบัติงานและได้รับผลเป็นที่พึงพอใจ ทาให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น มีความสุข ความมุ่งมั่นที่จะ
ทางาน มีขวัญและมีกาลังใจ มีความผูกพันกับหน่วยงาน มีความภาคภูมิใจในความสาเร็จของงานที่ทา
และสิ่งเหล่านี้ จะส่ งผลต่อประสิทธิภ าพและประสิ ทธิผ ลในการทางานส่ งผลต่อถึงความก้าวหน้าและ
ความสาเร็จขององค์การอีกด้วย
วิรุฬ (2542) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์ที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่
กับแต่ละบุคคลว่าจะมีความคาดหมายกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างไร ถ้าคาดหวังหรือมีค วามตั้งใจมากและได้รับ
การตอบสนองด้วยดีจะมีความพึงพอใจมากแต่ในทางตรงกันข้ามอาจผิดหวังหรือไม่พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามที่คาดหวังไว้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตั้งใจไว้ว่าจะมีมากหรือน้อยสอดคล้องกับ
ฉัตรชัย (2535) กล่าวว่า ความพึงพอใจหมายถึงความรู้สึกหรือทัศนคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งหรือปัจจัย
ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ความรู้สึกพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการของบุคคลได้รับการตอบสนองหรือบรรลุ
จุดมุ่งหมายในระดับหนึ่ง ความรู้สึกดังกล่าวจะลดลงหรือไม่เกิดขึ้น หากความต้องการหรือจุดมุ่งหมายนั้น
ไม่ได้รับการตอบสนอง

กิตติมา (2529) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกชอบหรือพอใจที่มีต่อองค์ประกอบ


และสิ่งจูงใจในด้านต่างๆเมื่อได้รับการตอบสนอง

กาญจนา (2546) กล่าวว่า ความพึงพอใจของมนุษย์เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมที่เป็น


นามธรรม ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปร่างได้ การที่เราจะทราบว่าบุคคลมีความพึงพอใจหรือไม่ สามารถ
สังเกตโดยการแสดงออกที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและต้องมีสิ่งเร้าที่ตรงต่อความต้องการของบุคคล จึงจะทา
ให้บุคคลเกิดความพึงพอใจ ดังนั้นการสิ่งเร้าจึงเป็นแรงจูงใจของบุคคลนั้นให้เกิดความพึงพอใจในงานนั้น

นภารัตน์ (2544) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกทางบวกความรู้สึกทางลบและความสุขที่


มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน โดยความพึงพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อความรู้สึกทางบวกมากกว่าทางลบ
7

เทพพนม และสวิง (2540) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นภาวะของความพึงใจหรือภาวะที่มีอารมณ์


ในทางบวกที่เกิดขึ้น เนื่องจากการประเมินประสบการณ์ของคนๆหนึ่ง สิ่งที่ขาดหายไประหว่างการเสนอ
ให้กับสิ่งที่ได้รับจะเป็นรากฐานของการพอใจและไม่พอใจได้

สง่า (2540) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับผลสาเร็จตามความมุ่ง


หมายหรือเป็นความรู้สึกขั้นสุดท้ายที่ได้รับผลสาเร็จตามวัตถุประสงค์

จากการตรวจเอกสารข้างต้นสรุปได้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่ดีหรือทัศนคติที่ดีของบุคคล


ซึ่งมักเกิดจากการได้รับการตอบสนองตามที่ตนต้องการ ก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งนั้น ตรงกันข้ามหาก
ความต้องการของตนไม่ได้รับการตอบสนองความไม่พึงพอใจก็จะเกิดขึ้น

องค์ประกอบของความพึงพอใจ

อเดย์และแอนเดอร์เชน (Aday & Andersen, 1978) กล่าวถึงทฤษฎีพื้นฐาน 6 ประเภท ที่


เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการและความรู้สึกที่ผู้ใช้บริการได้รับจากบริการเป็นสิ่ง สาคัญที่
จะช่วยประเมินระบบบริการว่าได้มีการเข้าถึงผู้ใช้บริการ ความพึงพอใจ 6 ประเภทนั้น คือ

1. ความพึงพอใจต่อความสะดวกที่ได้รับจากบริการ (Convenience) ซึ่งแยกออกเป็น

1.1 การใช้เวลารอคอยในสถานที่บริการ Office Waiting Time)

1.2 การได้รับการดูแลเมื่อมีความต้องการ (Availability of Care When Needs)

1.3 ความสะดวกสบายที่ได้รับในสถานบริการ (Base of Getting to Care)

2. ความพึงพอใจต่อการประสานงานของการบริการ (Co-ordination) ซึ่งแยกออกเป็น

2.1 การได้รับบริการทุกประเภทในสถานที่หนึ่ง คือ ผู้ใช้บริการสามารถขอรับบริ การ


ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ (Getting all needs met at one place)
8

2.2 ผู้ให้บริการให้ความสนใจผู้ใช้บริการ

2.3 ได้มีการติดตามผลงาน (Follow-up)

3. ความพึงพอใจต่อข้อมูลที่ได้รับจากบริการ (Information)

4. ความพึงพอใจต่ออัธยาศัย ความสนใจของผู้ให้บริการ (Courtesy) ได้แก่ การแสดง อัธยาศัยท่าทางที่ดี


เป็นกันเองของผู้ให้บริการ และความสนใจ ห่วงใยต่อผู้ใช้บริการ

5. ความพึงพอใจต่อคุณภาพของบริการ (Quality of Care) ได้แก่ คุณภาพของการบริการ ต่อผู้ใช้บริการ

6. ความพึงพอใจต่อค่าใช้จ่ายเมื่อใช้บริการ (Output-off-pocket cost) ได้แก่ ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น


ของผู้ใช้บริการ
ความสาคัญของความพึงพอใจ
ความสาคัญของความพึงพอใจ นักวิชาการหลายท่านกล่าวถึงความสาคัญของ ความพึงพอใจไว้ดังนี้ จิต
ตินันท์ เดชะคุปต์(2543, หน้า 21) ได้กล่าวว่า ความสาคัญสามารถแบ่งออกเป็น
1. ความสาคัญต่อผู้ให้บริการที่องค์กรต้องคานึงถึงความพึงพอใจต่อการบริการต่อไปนี้
1.1 ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นตัวกาหนดคุณลักษณะของการบริการ ผู้บริหาร การบริการ และ
ผู้ปฏิบัติงานบริการ จาเป็นต้องสารวจความพึงพอใจของลูกค้า เกี่ยวกับการบริการ และลักษณะของการ
นาเสนอบริการที่ลูกค้าชื่นชอบ เพราะข้อมูลดังกล่าวจะบ่งบอกถึงการประเมิน ความรู้สึกและความคิดเห็น
ของลูกค้าต่อคุณสมบัติของการบริการที่ลูกค้าต้องการและวิธี การตอบสนองความต้องการแต่ละอย่าง ใน
ลักษณะที่ลูกค้าปรารถนา ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ให้บริการ ในอันที่ตระหนักถึงความคาดหวังของผู้รับบริการ
และสามารถตอบสนองบริการที่ตรงกับลักษณะ และรูปแบบที่ผู้รับบริการคาดหวังไว้ได้จริง
1.2 ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นตัวแปรสาคัญ ในการประเมินคุณภาพของการ บริการที่ดีจะต้อง
มีคุณภาพตรงกับความต้องการ ความคาดหวัง และมีแนวโน้มจะใช้บริการซ้าอีกต่อๆไป คุณภาพของการ
บริ การที่จ ะทาให้ ลู กค้า พึงพอใจขึ้น อยู่กับ ลั กษณะการบริการที่ปรากฏให้ เห็ น เช่ น สถานที่ อุ ปกรณ์
เครื่องใช้บุคลิกลักษณะของพนักงานบริการ เป็นต้น ความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจของการบริการความเต็มใจที่
จะให้บริการ ตลอดจนความรู้ความสามารถในการบริหาร ด้วยความเชื่อมั่นและความเข้าใจต่อผู้อื่น
9

1.3 ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานบริการ เป็นตัวชี้คุณภาพ และความสาเร็จของงาน บริการที่ให้


ความสาคัญกับความต้องการและความคาดหวังของผู้ปฏิบัติงานบริการเป็นเรื่องจาเป็น ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า
การให้ความสาคัญกับลูกค้า การสร้างความพึงพอใจในงานให้กับผู้ปฏิบัติงาน บริการย่อมทาให้พนักงานมี
ความรู้สึกที่ดีต่องานที่ได้รับมอบหมาย และตั้ง ใจปฏิบัติงานอย่างเต็ม ความสามารถ อันนามาซึ่งคุณภาพ
ของการบริการที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และส่งผล ให้กิจการบริการประสบผลสาเร็จ
2. ความสาคัญต่อผู้รับบริการแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้
2.1 ความพึงพอใจของลูกค้า เป็นตัวผลักดันคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อองค์ก รตระหนักถึง ความสาคัญ
ของความพึงพอใจของลูกค้าก็จะพยายามค้นหาปัจจัยที่กาหนดความพึงพอใจของลูกค้า สาหรับนาเสนอ
บริการที่เหมาะสม เพื่อการแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจบริการ ผู้รับบริการย่อมได้รับการบริการ
ที่มีคุณภาพและสามารถตอบสนองความต้องการที่ตนคาดหวังไว้ การดาเนินที่ต้องพึ่งพาการบริการใน
หลาย ๆ สถานการณ์เพราะการบริการในหลาย ๆ ด้าน ช่วย อานวยความสะดวกและแบ่งเบาภาระการ
ตอบสนองความต้องการของบุคคลด้วยตนเอง
2.2 ความพึงพอใจของการปฏิบัติงานบริการ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของงานบริการ และอาชีพ
บริการงานเป็นสิ่งสิ่งสาคั ญต่อชีวิตของคนเรา เพื่อได้มาซึ่งรายได้ในการดารงชีวิตและ การแสดงออกถึง
ความสามารถในการทางานสาเร็จลุล่วงไปด้วยดีเป็นที่ยอมรับว่าความพึงพอใจ ในงานมีผลต่อการเพิ่ม
ประสิทธิภาพของงานในแต่ละองค์กรเมื่อองค์กรให้ความสาคัญกับการสร้าง ความพึงพอใจในงานให้กับ
ผู้ปฏิบัติงานบริการ ทั้งในด้านสภาพแวดล้อมในงาน ค่าตอบแทน สวัสดิการและความก้าวหน้าในชีวิตการ
งาน เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพมาตรฐานของงานบริการให้ ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป ในการตอบสนองความ
ต้องการของลูกค้าและการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับ ลูกค้าให้ใช้บริการต่อ ๆ ไป
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
2.2.1ความหมายของการท่องเที่ยว
ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวต่างให้ความหมายของการท่องเที่ยว
ไป ตามทัศนคติที่ห ลากหลาย ดังนี้ การท่องเที่ยวแห่ งประเทศไทย (2545)ได้กล่ าวว่าการท่องเที่ยว
(Tourism) เป็นคาที่มี ความหมายกว้างขวางครอบคลุมการเดินทางเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจการเล่นกีฬา
การติดต่อ ธุร กิจ ตลอดจนการเยี่ ย มเยือนญาติ พี่น้อง สหพันธ์องค์การส่ งเสริมการท่องเที่ย วระหว่า ง
10

ประเทศ (International Union of Official Travel Organization หรือ IUOTO) ได้ให้ความหมายของ


การท่องเทีย่ วว่า จะต้องเป็นการ ท่องเที่ยวที่มีเงื่อนไขตามหลักสากลดังต่อไปนี้คือ
1. ต้องเป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2. ต้องเป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
3. ต้องเป็นการเดินทางด้วยวัตถุป ระสงค์ใดๆ ก็ตามที่มิใช่เพื่อประกอบอาชีพหรือ
หารายได้ในการเดินทางนั้น
สมชาติ อู่ น้ อ ย (2552) ได้ ใ ห้ ค วามหมายของการท่ อ งเที่ ย วไว้ ว่ า การท่ อ งเที่ ย ว
หมายถึง การเคลื่อนย้ายของผู้คนจากแห่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งรวมไปถึงการเดินทางภายในประเทศ
และการเดินทางระหว่างประเทศ นอกจากนี้การเดินทางเพื่อการประชุมสัมมนา เพื่อศึกษาหาความรู้ เพื่อ
การกี ฬ า เพื่ อ การติ ด ต่ อ ธุ ร กิ จ ตลอดจนการเยี่ ย มญาติ พี่ น้ อ งก็ นั บ เป็ น การท่ อ งเที่ ย วทั้ ง สิ้ น โดยใน
หลักเกณฑ์ความหมายกาหนดได้โดยเงื่อนไข3 ประการ ดังนี้
1. เดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังสถานที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2. เดินทางด้วยความสมัครใจ
3. เดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใด ๆ ที่มิใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือหารายได้
องค์การท่องเที่ย วโลกได้กาหนดความหมายของ การท่องเที่ยว ไว้ในปีพ.ศ. 2506 ว่ าคือการ
เดินทางที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้คือการเดินทาง จากสถานที่อยู่อาศัยประจาไปยังสถานที่อื่นๆด้วยความ
สมัครใจ คือการเดิน ทางด้ว ยวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่ การประกอบอาชีพหรือหารายได้ การท่องเที่ย ว มี
ลักษณะสาคัญ 4 ประการดังนี้
1. การเคลื่อนที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของมนุษย์สู่ที่หมายต่างๆ รวมทั้งการหยุดพัก ณ ที่เหล่านั้น
2. องค์ประกอบของการท่องเที่ยวมี2 ส่วนคือ การเดินทางสู่จุดหมาย และ การหยุดพักประกอบ
กิจกรรม ณ จุดหมายนั้น
3. การเดินทางและการหยุดพักเกิดขึ้นนอกภูมิลาเนาและที่ทางาน ดังนั้น การท่องเที่ยวจึงเป็น
ปั จ จั ย ให้ เ กิ ด กิ จ กรรม ซึ่ ง แตกต่ า งจากกิ จ วั ต รของถิ่ น ที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วเดิ น ทางผ่ า นและแวะพั ก
11

4.การเดินทางสู่จุดหมายนั้นเป็นการเดินทางชั่วคราวซึ่งระยะสั้นๆ โดยมีความตั้งใจว่าจะกลับ
ภายใน 2-3 วัน 2-3 สัปดาห์ หรือ 2-3 เดือน ความตั้งใจในการเยือนจุดหมาย ปลายทางมิได้เป็นไป เพื่อ
หลักแหล่ง หรือประกอบอาชีพ การท่องเที่ยวจึงเป็นการเดินทาง ตามเงื่อนไขสากล 3 ประการคือ

4.1 เป็นการเดินทางชั่วคราว

4.2 เป็นการเดินทางโดยสมัครใจ

4.3 ไม่ เ ป็ น การเดิ น ทางเพื่ อ ประกอบอาชี พ ส านั ก งานพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย ว (2546)
อธิบายว่าการท่องเที่ย ว เป็นเรื่องที่มีความ เกี่ยวข้องกับการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ที่
แตกต่างกัน ทั้งเป็นการเดินทางเพื่อพักผ่อนประกอบกิจกรรมตามความสนใจ หรือเพื่อประกอบธุรกิจที่
เป็นส่วนหนึ่งของการทา งาน แต่ไม่ได้เป็นการเดินทางเพื่อไปทา งานหรือประกอบอาชีพเป็นหลัก

นิศา ชัชกุล (2550) กล่าวว่าการท่องเที่ยว (Tourism) เป็นกิจกรรมการเดินทางจากจุด หนึ่งไปยัง


จุดหนึ่งซึ่งนับตั้งแต่จุดเริ่มต้น จนถึงปลายทางจะต้องประกอบด้วยปัจจัยสามประการ คือ การเดิ นทางการ
ค้างแรม และการกินอาหารนอกบ้าน จากค่านิยามต่าง ๆ ดังที่ได้รวบรวมมาในข้างต้น นี้สามารถสรุปได้ว่า
การท่องเที่ยว คือการเดินทางออกจากสภาพแวดล้อมปกติเช่นบ้าน ที่ทางาน ไปยังถานที่ต่างๆ เป็นการ
ชั่วคราว ทั้งภายในและระหว่างประเทศ ด้วยความสมัครใจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ
การศึกษาธุรกิจ ประชุมสัมมนา หรืออื่นใด แต่ต้องไม่เป็นการได้มาซึ่งรายได้จากสถานที่ที่ไปถึงนั้นๆ

ตาบลบ้านมุง อาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

ตาบลบ้านมุงเป็นส่วนหนึ่งของอาเภอเนินมะปรางและเนินมะปรางเป็นอาเภอหนึ่งที่ตั้งอยู่ใน
จังหวัดพิษณุโลก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 68 กิโลเมตร เดิมเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งมาประมาณ 42 ปี
ลักษณะภูมิประเทศประมาณร้อยละ 45 เป็นภูเขาหินปูนอายุกว่า 300 ล้านปี มีถ้าอยู่มากมาย แบ่งจุด
ท่องเที่ยวออกเป็น 2 จุดใหญ่ ๆ คือ บ้านมุงซึ่งตั้งอยู่ในตัวอาเภอ มีแหล่งท่องเที่ยว อย่างเช่น ภูเขาหินปูน
สัญลักษณ์ของเนินมะปราง ถ้าค้างค้าว ถ้าผาท่าพล มีโฮมสเตย์ให้เลือกพักหลายแห่ง ทาให้ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2560 เริ่ ม จั ด ท าสถานที่ ท่ อ งเที่ ย วต่ า งๆขึ้ น มา ท าให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วต่ า งเรี ย กกั น ว่ า กุ้ ย หลิ น เมื อ งไทย
12

เนื่ องจากมีภูเขาหิ น และธรรมชาติที่ ส วยงามเหมาะกับการมาพักผ่ อน ทาให้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560เริ่ม มี


นักท่องเที่ยวเข้ามา และเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในช่วงปี พ.ศ.2562

ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบชายเขา ไม่มีแหล่งต้นน้าลาธาร ซึ่งในฤดูแล้งมักจะเกิดการขาดแคลนน้าในการ


อุปโภคบริโภค เป็นพื้นที่ราบชายเขา ร้อยละ ๕๕.๒๓ และเป็นพื้นที่ภูเขา ร้อยละ ๔๔.๗๗ ตารางกิโลเมตร

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยในต่างประเทศ

อีไล (Ealine. 1984: 30-40) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อนันทนาการ


และสวนสาธารณะของเอกชนในนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการสารวจประชาชนที่มาท่องเที่ยว
จานวน 980 คน โดยใช้แบบสอบถามเพื่อทราบความพึงพอใจในการบริการ การนันทนาการและสภาพ
สวนสาธารณะ พบว่าประชาชนที่เป็นผู้หญิงมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 68. 82 ความ
พึงพอใจในด้านการจัดโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการอยู่ในระดับมากทั้งเพศหญิงและเพศชาย ใกล้เคียงกัน
คิดเป็นร้อยละ 50 สาหรับอาชีพส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทั้งทางดันสภาพ
พื้นที่และการนันทนาการ รองลงมาข้าราชการ นักเรียน นักศึกษาสาหรับความคิดเห็นทั่ว ๆ ไป มีดวาม
เห็นว่าควรปรับปรุงพัฒนาในด้านผู้ใ ห้บริการการรักษาความปลอดภัย และเครื่องอานวยความสะดวกให้
ทันสมัยมากกว่าที่เป็นอยู่

เฮนดี และคณะ (Hendee & Others. 1984: 60-64) ศึกษาวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของ


นักท่องเที่ยว จานวน 140 คน ที่ไปท่องเที่ยวในพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา 3แห่ง โดย
การสอบถามและสัมภาษณ์พบว่านักท่องเที่ยวร้อยละ 40 เห็นด้วยกับการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าไป
ท่องเที่ยวป่า เพื่อจะได้มีเงินใช้ในการพัฒนา บารุงรักษาแต่เรื่องการจากัดจานวนนักท่องเที่ยว และการ
ส่งเสริมให้เอกชนมาลงทุนเพื่อพัฒนา มีความเห็นด้วยน้อยประมาณร้อยละ 10 เท่านั้นและเห็นด้วยกับ
การลดผลกระทบในพื้นที่ โดยวิธีการกระจายกลุ่มนักท่องเที่ยวมากกว่า
13

วัตสัน (Watson. 1997: 3251) ศึกษาเรื่องผลกระทบของทัศนคติและแรงจูงใจของการใช้เวลา


ว่างที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ การออกกาลังกายของนักศึกษาใน วิทยาลัย ผลวิจัยพบว่า
นักศึกษาส่วนใหญ่ได้ใช้เวลาว่างวันละ 23 ชั่วโมง ในการดูโทรทัศน์ หรือทากิจกรรมที่ไม่มีการเคลื่อนไหว
ซึ่งเขาสรุปได้ว่า นักศึกษามีเวลาว่าง แต่ไม่ได้ใช้เวลาว่างในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ การออกกาลัง
กายขาดทัศนติที่ดี ขาดแรงจูงใจตลอดจนไม่เห็นความสาคัญของกิจกรรมนันทนาการการออกกาลังกาย
เพื่อนันทนาการ

ปาร์คเกอร์ (Parker. 1999: 1118-1119-A) ทาการศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการท่องเที่ยวของ


เยาวชนในเมืองยองเกอร์ (Younger) มลรัฐนิวยอร์กที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในสถานที่ท่องเที่ยว
โดยทาการสารวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชน อายุระหว่าง 12-20 ปี จานวน 480 รายวิเคราะห์ข้อมูลโดย
ใช้ค่าร้ อยละ ค่าเฉลี่ ย ค่าเบี่ ย งเบนมาตรฐาน 12-20 ปี และวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว โดย
พิจารณาที่เกณฑ์ความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ผลการสารวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้เกี่ยวกับการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูง มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในสถานที่
ท่องเที่ยวถูกต้องมากที่สุดจากการทดสอบทางสถิติ พบว่าความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่าง
กัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานที่ท่องเที่ยวแตกต่างกันมีนัยสาคัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.05

งานวิจัยในประเทศ

ชลิตร รัดนะ (2538: บทคัดย่อ ) ได้ทาการวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการกิจกรรมนันทนาการ


ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อเปรียบเทียบอันดับความต้องการโดย
แ ย ก ต า ม เ พ ศ อ า ยุ ส ถ า น ภ า พ บุ ค ค ล แ ล ะ ร า ย ไ ด้ ก ลุ่ ม ตั ว อ ย่ า ง ไ ด้ แ ก่ ข้ า ร า ช ก า ร ใ น
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จานวน 350 ปรากฏผลดังนี้ บุคลากรชายที่มีอายุ 30 ปี
ลงมา สถานภาพโสด มีรายได้ต่ากว่า 7,300 บาท และมีรายได้ตั้งแต่ 13.680 บาทขึ้นไป มีความต้องการ
กิจกรรมนันทนาการประเกทเกม กีฬา และกรีฑาสูงสุด กิจกรรมที่ต้องการน้อยที่สุดคือ กิจกรรมประเภท
วรรณกรรม (อ่าน พูด เขียน ) ส่วนบุ คลากรหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 31-40 ปี มีสถานภาพสมรส และมีรายได้
14

ระหว่าง 7,300-13,040 บาท มีความต้องการกิจกรรมนันทนาการประเภทท่องเที่ยวทัศนะศึกษาสูงสุ ด


กิจกรรมที่ต้องการน้อยที่สุดคือประเกทวรรณกรรมอ่าน พูด เขียน)

ศติธร จั่นลา (2544: บทตัดย่อ) ทาการศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการจัดการสวนสัตว์ในเขตเมืองใน


ทัศนะของผู้ใช้บริการ : กรณีศึกษา สวนสัตว์ดุสิต พบว่าการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุ คล
ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ลักษณะทางเศรษฐกิจ/สั งคม ได้แก่ รายได้อาชีพและการรับรู้ข่าวสาร
เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม / การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสวนสัตว์ดุสิต กับความคิดเห็น
ต่อแนวทางการจัดการสวนสัตว์ดุสิต พบว่า อายุ รายได้ อาชีพ และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสวนสัตว์ดุสิตของประชาชนมีความสัมพันธ์กับความ
คิดเห็นต่อแนวทางการจัดการสวนสัตว์ดุสิตที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
บทที่3

วิธีการดาเนินงาน
ในบทนี้จะกล่าวถึง แนวทางในการศึกษา และการรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ
ของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในตาบลบ้านมุง อาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก จะอธิบายถึงการ
กาหนดประชากร การเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา การวิเคราะห์ ข้อมูล และสถิติที่ใช้
ในการศึกษาในครั้งนี้

1. วิธีการศึกษา

2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

3. การวิเคราะห์ข้อมูล

4. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

วิธีการศึกษา

การศึก ษาครั้ งนี้ เป็ น การศึ กษาเชิง ส ารวจ เพื่อ ศึก ษาถึงความพึ งพอใจของนั กท่ องเที่ ยวที่ม า
ท่ อ งเที่ ย วในต าบลบ้ า นมุ ง อ าเภอเนิ น มะปราง จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก โดยศึ ก ษาถึ ง ความพึ ง พอใจ ของ
นักท่องเที่ยว ซึ่งมีรายละเอียดการศึกษาดังต่อไปนี้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มประชากร (Population) ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยว ที่มาท่องเที่ยวใน


ตาบลบ้านมุง ซึ่งไม่สามารถระบุจานวนที่แน่ชัดได้
16

ตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ ได้ข้อมูลมาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนกันยายน พ.ศ.2564


ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ.2564 โดยให้ผู้เข้ารับบริการทุกท่าน ตอบแบบสอบถามหลังจากที่ท่องเที่ยวในแต่ละ
สถานที่ ซึ่งสามารถรวบรวมได้ทั้งสิ้น 110 คน จากผู้ที่มาท่องเที่ ยวในตาบลบ้านมุง โดย นามาตรวจสอบ
ความสมบูรณ์และความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบสอบถามทุกฉบับพบว่า แบบสอบถามฉบับที่
สมบูรณ์มี จานวน 110 ชุด เช่นกัน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

การศึ ก ษาครั้ ง นี้ เป็ น การศึ ก ษาความพึ ง พอใจของนั ก ท่ อ งเที่ ย วจึ ง ใช้ แ บบสอบถาม ซึ่ ง
แบบสอบถามแบ่ ง เป็ น 2 ส่ ว นดั ง นี้ ส่ ว นที่ 1 แบบสอบถามในเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ข้ อ มู ล ของผู้ ป ระเมิ น
แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไป ด้วยคาถามเกี่ยวกับ 1. อาชีพ 2. เพศ 3. อายุ 4.ระดับการศึกษา ส่วนที่ 2
แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวตาบลบ้านมุง รวมทั้งสิ้น 8 ข้อ

แบ่งข้อทดสอบออกเป็น 8 ประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่1 ความพึงพอใจด้านความอัธยาศัยดีของคนพื้นเมือง

ประเด็นที่2 ความพึงพอใจด้านความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยว

ประเด็นที่3 ความพึงพอใจด้านความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยว

ประเด็นที่4 ความพึงพอใจด้านความสะอาดของห้องน้า

ประเด็นที่5 ความสะดวกสบายในการเดินทาง

ประเด็นที่6 ความคุ้มค่าในการท่องเที่ยว

ประเด็นที่7 การใช้จ่ายเงินในการท่องเที่ยว

ประเด็นที่8 สภาพแวดล้อมในสถานที่ท่องเที่ยว
17

แบ่งเป็น 3ระดับ คือ มาก ปานกลาง น้อย โดยทุกข้อเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นบวก


(Positive) ตามลาดับ โดยที่

มาก = 3คะแนน

ปานกลาง = 2 คะแนน

น้อย = 1 คะแนน

ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ

ผู้ศึกษาได้ดาเนินการสร้างเครื่องมือตามลาดับ ดังนี้

1. ศึกษาเอกสารบทความ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มา
เที่ยวตาบลบ้านมุง เพื่อให้ได้ตัวแปรที่จะศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม

2. นาข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาสร้างแบบสอบถาม

3. นาแบบสอบถามฉบับร่างเสนอต่อคุณครูที่ปรึกษา เพื่อตรวจสอบและเสนอแนะเพื่อทาการ

ปรับปรุงแก้ไข

4. ปรับปรุงแบบสอบถามตามข้อแนะนา เสนอต่อคุณครูที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาตรวจสอบอีกครั้ง
เพื่อให้สมบูรณ์ก่อนการนาไปสารวจ

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

การศึกษาครั้งนี้จะทาการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 2 ประเภท คือ

1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ตัวอย่างที่ใช้


ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ ได้ข้อมูลมาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนกันยายน พ.ศ.2564 ถึง เดือน
ตุลาคม พ.ศ.2564 โดยให้นักท่องเที่ยวทุกท่าน ตอบแบบสอบถามหลังจากที่มาท่องเที่ ยวที่ตาบลบ้านมุง
อาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งสามารถรวบรวมได้ทั้งสิ้น 110 คน โดยนามาตรวจสอบ ความ
18

สมบู ร ณ์ แ ละความถูก ต้ อ งครบถ้ ว นของข้ อ มู ล ในแบบสอบถามทุ ก ฉบั บ พบว่ า แบบสอบถามฉบั บ ที่


สมบูรณ์มี จานวน 110 ชุด เช่นกัน

2. ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary Data) ได้จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารต่างๆ เช่น


หนังสือ ตารา การศึกษาค้นคว้าอิสระและวิทยานิพนธ์เพื่อให้เนื้อหาที่ศึกษามีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

3. การวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล หลั ง จากรวบรวมแบบสอบถามกลั บ คื น มาแล้ ว จึ ง ได้ ต รวจสอบ


แบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนต่อไปนี้และทาการวิเคราะห์ค่าสถิติต่างๆ ดังนี้

ส่วนที่ 1 ในการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่


การค่าร้อยละ (percentage) แล้วนาเสนอในรูปตาราง

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในตาบลบ้านมุง อาเภอเนิน


มะปราง จังหวัดพิษณุโลก การหาค่าร้อยละ(Percentage) แล้วนาเสนอในรูปตาราง วิเคราะห์โดยหา
ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) โดยกาหนดค่าเฉลี่ยระดับคะแนน
ความพึงพอใจในงานเป็น 3 ระดับโดยคานวณแล้วนามาจัดช่วงคะแนนดังนี้

ช่วงระดับคะแนน = คะแนนสูงสุด – คะแนนต่าสุด

จานวนระดับ

= 3-1

= 0.7

ระดับความคิดเห็นตามขนาดของช่วงระดับคะแนน เป็นดังนี้

ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.50-3.00 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.80-2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง


19

ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.00-1.70 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย

ส่ว นที่ 3 การวิเคราะห์เปรี ยบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่ วนบุคคลที่มีผลต่อความพึงพอใจ ของ


นักท่องเที่ยว ที่มาท่องเที่ยว ตาบลบ้านมุง อาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน
(Inferential Statistics) หรือสถิติเชิงทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test ใช้ ทดสอบความแตกต่าง
ระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัย ส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา แตกต่า งกัน เพื่อ
ศึ ก ษาความพึ ง พอใจต่ อ การท่ อ งเที่ ย วที่ ต าบลบ้ า นมุ ง อ าเภอเนิ น มะปราง จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก
บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การประเมิน ความพึ งพอใจของนั กท่ องเที่ย วที่ มาท่อ งเที่ ยวใน ต.บ้า นมุ ง อ.เนิน มะปราง จ.
พิษณุโลก โดยผ่านการใช้สื่อออนไลน์ google form โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.
2564 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ.2564 กลุ่มความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวใน ต.บ้านมุง อ.เนิน
มะปราง จ.พิษณุโลก มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวใน ต.บ้านมุง อ.
เนินมะปราง จ.พิษณุโลก โดยให้ผู้ที่มาท่องเที่ยวแสกนคิวอาร์โค้ดแบบสอบถาม เพื่อสารวจความพึงพอใจ
ของสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งสามารถรวบรวมได้ทั้งสิ้น110คน กลุ่มผู้ประเมินขอนาเสนอผลการประเมินตาม
ผลการประเมิน ดังนี้
ผลการประเมินความพงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวใน ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
ผ่าน google form มี 2 ส่วน

ส่วนที่ 1 ข้อมูลของผู้ประเมิน

ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว

ส่วนที่ 1 ข้อมูลของผู้ประเมิน

การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้สารวจระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในตาบลบ้านมุง
จานวนทั้งสิ้น 110 คน จาแนกตามลักษณะทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึก ษา
21

ตารางที่1 ส่วนของผู้ประเมิน

ข้อมูลผู้ประเมิน จานวน ร้อยละ


นักเรียน 83 75.45
ธุรกิจส่วนตัว 10 9.09
งานบริการ 5 4.54
อาชีพ ข้าราชการ 5 4.54
รับจ้าง 4 3.63
นักศึกษา 2 1.82
แม่บ้าน 1 0.93
รวม 110 100
เพศ หญิง 70 63.00
ชาย 40 37.00
รวม 110 100
14 2 1.81
15 3 2.72
16 25 22.72
17 41 37.27
18 11 10.00
19 2 1.81
อายุ 20 5 4.54
23 3 2.72
24 2 1.81
25 4 3.63
26 7 6.37
27 3 2.72
49 1 0.94
50 1 0.94
22

รวม 110 100


ประถม 1 0.94
มัธยม 87 79.09
การศึกษา ปริญญาตรี 20 18.28
ปริญญาโท 1 0.94
ปริญญาเอก 1 0.94
รวม 110 100

จากตารางที่ 1 สามารถอธิบายข้อมูลทั่วไปของผู้ประเมินได้ดังนี้

อาชี พ พบว่ า ผู้ ต อบแบบสอบถามส่ ว นใหญ่ เ ป็น นั ก เรี ยน มี จ านวน 83 คน คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 75.45
รองลงมาคือ อาชีพธุรกิจส่วนตัว จานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 9.09

เพศ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง มีจานวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 63.00 รองลงมา


คือเพศชาย มีจานวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 37.00

อายุ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ อายุ17ปี มีจานวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 37.27

รองลงมา คืออายุ 16 ปี มีจานวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 22.72

การศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่การศึกษาระดับมัธยม มีจานวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ


79.09 รองลงมาคือ การศึกษาระดับปริญญาตรี มีจานวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 18.28
23

ตารางที่ 2 ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว

ระดับความพึงพอใจ
ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 3 2 1 N ค่าเฉลี่ย ร้อย S.D.เกณฑ์
ต่อ ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง จ. ละ การ
พิษณุโลก ประเมิน
1.อัธยาศัยของคนพื้นเมือง 69 40 1 110 2.61 87.27 7.57 มาก
2.ความสวยงามของสถานที่ 98 12 0 110 2.89 96.36 9.14 มาก
ท่องเที่ยว
3.ความสะอาดของสถานที่ 87 20 3 110 2.76 92.12 8.45 มาก
ท่องเที่ยว
4.ความสะอาดของห้องน้า 54 52 4 110 1.87 81.81 6.55 ปาน
กลาง
5.ความสะดวกสบายในการ 71 37 2 110 2.62 87.57 7.64 มาก
เดินทาง
6.ความคุ้มค่าในการมา 88 22 0 110 2.80 93.33 8.61 มาก
ท่องเที่ยว
7.การใช้จ่ายเงินในการ 77 33 0 110 2.70 90.00 8.03 มาก
ท่องเที่ยว
8.สภาพแวดล้อมในสถานที่ 103 7 0 110 2.94 97.87 9.43 มาก
ท่องเที่ยว
รวม 475 223 10 880 2.65 90.79 8.18 มาก

ระดับความคิดเห็นตามขนาดของช่วงระดับคะแนน เป็นดังนี้
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.50-3.00 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.80-2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.00-1.70 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย
จากตารางที่ 2 สามารถอธิบายส่วนของความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ตาบลบ้านมุง อาเภอเนินมะปราง
จังหวัดพิษณุโลก ได้ดังนี้ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.65
ความพึ งพอใจในรายด้า นอั น ดั บ ที่ 1 คือ สภาพแวดล้ อมในสถานที่ ท่องเที่ ยว มีค่ าเฉลี่ ยระดับ 2.94
รองลงมาคือ ความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยระดับ 2.89
บทที่ 5

สรุปผลการศึกษา และ ข้อเสนอแนะ


สรุปผลการศึกษา

การศึกษาเรื่อง “สารวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว ตาบลบ้านมุ ง อาเภอเนิน


มะปราง จังหวัดพิษณุโลก” มีวัตถุประสงค์เพื่อสารวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเพื่อนาข้อมูลกลับมา
พัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้ระยะเวลาการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน กันยายน พ.ศ.2564 ถึง
เดือน ตุลาคม พ.ศ.2564 โดยให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาทาแบบสอบถามจากคิวอาร์โค้ดตามจุดท่องเที่ยว
ต่ า งๆ ซึ่ ง สามารถรวบรวมได้ ทั้ ง สิ้ น 110 คน โดยน ามาตรวจสอบข้ อ มู ล และความสมบู ร ณ์ พบว่ า
แบบสอบถามที่สมบูรณ์มีทั้งสิ้น 110 ชุด เช่นกัน จากการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น
เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 63.00 รองลงมาเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 37.00 ส่วนใหญ่มีอายุ 17 ปี คิด
เป็นร้อยละ37.27 รองลงมาคืออายุ 16 ปี คิดเป็นร้อยละ 22.72 มีสถานะเป็นนักเรียนมากที่สุด คิดเป็น
ร้อยละ 75.45 รองลงมา อาชีพธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 9.09 และระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ใน
ระดับมัธยม คิดเป็นร้อยละ79.09 รองลงมาคือ ระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ18.28
การสารวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในตาบลบ้านมุงพบว่านักท่องเที่ยวมีความพึง
พอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.65 ความพึงพอใจในรายด้านอันดับที่ 1 คือ สภาพแวดล้อมใน
สถานที่ท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยระดับ 2.94 รองลงมาคือ ความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยระดับ
2.89
ข้อเสนอแนะ

1.นาข้อเสนอแนะของผู้ประเมินไปปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวให้ดีมากยิ่งขึ้น

2.ปรับปรุงสถานที่ที่ใช้ส่วนรวมเช่นห้องน้า ให้สะอาดมากยิ่งขึ้น

3.สามารถนาไปศึกษากับกลุ่มเป้าหมายอื่นต่อได้
26

บรรณานุกรม

ดารารัตน์ น้อยพันธ์. (2562) ข้อมูลเทศบาลตาบลบ้านมุง อาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลกเทศบาล


ตาบลบ้านมุง สืบค้นจากhttps://www.banmung.go.th/home

prasert rk.(2555) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ สืบค้นจาก


https://www.gotoknow.org/posts/492000

ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย2015-08-04 สืบค้นจาก


www.thailandtouristmaps.com Archived
27

ภาคผนวก
28

แบบสอบถาม (ส่วนที่1)
29
แบบสอบถาม(ส่วนที่2)

You might also like