Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 38

คําราชาศัพท์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
“ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์เ ป็นพระประมุขมาแต่โ บราณจนถึง
ปั จ จุ บั น ทรงทํ า นุ บํ า รุ ง บ้ า นเมื อ ง บํ า บั ด ทุ ก ข์ บํ า รุ ง สุ ข ของอาณา
ประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม และขัตติย วัตร ขัตติยธรรม พระมหา
กรุณาธิคุณดังกล่าวทําให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชน
ชาวไทยตลอดมา บรรพชนไทยเคารพสักการะพระมหากษัตริย์และต้องการ
แสดงออกว่า เทิดทูนพระประมุข ของชาติไว้สูงสุด จึงคิดถ้อยคําที่ควรค่า แก่
พระเกียรติมาใช้ เป็นคําราชาศัพท์ในการกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ตา่ งจาก
ถ้อยคําที่สามัญชนพูด คําราชาศัพท์ได้กําหนดใช้เป็นแบบแผนสืบต่อกันมา
ถือเป็นวัฒนธรรมทางภาษาอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติ”

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ
โรงเรียนตากพิทยาคม
นักเรียนคิดว่าราษฎรคนนีจ้ ะกราบบังคมทูลในหลวงด้ ว ยถ้ อ ยคําอย่างไร
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
ความหมายของคําราชาศัพท์
คําราชาศัพ ท์ หมายถึง ถ้อยคํา สุภาพไพเราะที่ใช้ให้เ หมาะกับ
ฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งถือหลักแบ่งตามวัยวุฒิ คุณวุฒิ
และชาติวุฒิ ได้แก่
๑. พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินนี าถ
๒. พระบรมวงศานุวงศ์ (พระบรมวงศ์ และพระอนุวงศ์)
๓. พระภิกษุสงฆ์
๔. ขุนนาง ข้าราชการ
๕. สุภาพชน
ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ
โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
วิธีการใช้คาํ ราชาศัพท์
๑. การใช้ทรง
๒. การใช้พระบรม, พระราช, พระ
๓. การใช้คําขึ้นต้นและคําลงท้าย
๔. การใช้นามราชาศัพท์
๕. การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้อง

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
๑. การใช้ทรง

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
การใช้ทรง
๑. ทรง + คํานามสามัญบางคํา และ ทรง+คํากริยาสามัญบางคํา
ทําให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น
ทรงกีฬา ทรงวิ่ง
ทรงบาตร ทรงศึกษา
ทรงช้าง ทรงกรุณา
ทรงดนตรี ทรงขว้าง
ทรงงาน ทรงยินดี
ทรงบาตร ทรงรับ
ทรงธนู ทรงสั่งสอน
ทรงธรรม ทรงขอบใจ
ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ
โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
การใช้ทรง (ต่อ)
๒. ทรง + คําราชาศัพท์ที่เป็นนามบางคํา เป็นคํากริยาราชาศัพท์ได้
เช่น
 ทรงพระอักษร
 ทรงพระราชดําริ
 ทรงพระประชวร
 ทรงพระสุบิน
 ทรงพระผนวช
 ทรงพระกรุณา

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
การใช้ทรง (ต่อ)
๓. คําที่เป็นกริยาราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ต้องมีคําว่า ทรง นําหน้า เช่น
ดําเนิน ประสูติ บรรทม
เสวย เสด็จ เสด็จพระราชดําเนิน
ประชวร โปรด พอพระราชหฤทัย
สรง ตรัส ทอดพระเนตร
พระราชทาน ประทับ พิโรธ
ยกเว้น ผนวช ใช้ ทรงผนวช ได้

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
การใช้ทรง (ต่อ)
๔. เมื่อใช้คําว่า “มี” หรือ “เป็น” หน้าคําราชาศัพท์ ไม่ต้องใช้ทรงนําหน้าอีก
เช่น
พระราชธิดา (เป็น + พระราชธิดา = เป็นพระราชธิดา)
ไม่ใช้ว่าทรงเป็นพระราชธิดา
พระราชประสงค์ (มี + พระราชประสงค์ = มีพระราชประสงค์ )
ไม่ใช้ว่าทรงมีพระราชประสงค์
พระราชดํารัส = มีพระราชดํารัส
พระกรุณา = เป็นพระกรุณา

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
๒. การใช้พระบรม,
พระราช, พระ
ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ
โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
การใช้พระบรม, พระราช, พระ
๑. “พระบรม” หรือ “พระบรมราช” นําหน้าคํานามที่สําคัญยิ่งสําหรับ
พระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ เช่น
พระบรมมหาราชวัง
พระปรมาภิไธย
พระบรมเดชานุภาพ
พระบรมฉายาลักษณ์
พระบรมราชโองการ
พระบรมราโชวาท
พระบรมวงศานุวงศ์
ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ
โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
การใช้พระบรม, พระราช, พระ (ต่อ)
๒. “พระราช” นําหน้าคํานามทีใ่ ช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรม
ราชินเี ป็นสิ่งสําคัญรองลงมาจากพระบรม เช่น
 พระราชวัง
 พระราชทรัพย์
 พระราชหฤทัย
 พระราชพาหนะ
 พระราชหัตถเลขา

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
การใช้พระบรม, พระราช, พระ (ต่อ)
๓. “พระ” นํ า หน้ าคํ า สามั ญที่ใช้สํ า หรับพระมหากษั ตริ ย์และพระราชวงศ์
เพื่อให้แตกต่างกับสามัญชน เช่น พระเก้าอี้ พระที่นั่ง พระตําหนัก พระแสง
พระบาท พระหัตถ์ พระเจ้า พระนาสิก พระชะตา
!!!! แต่ก็มีบางคําที่ไม่ใช้ พระ ประกอบหน้า เช่น ฉลองพระบาท
ฉลองพระองค์ ธารพระกร บ้วนพระโอษฐ์ แปรงชําระพระทนต์ ฉลองพระ
เนตร ฉลองพระหัตถ์ รถพระที่นั่ง จานเสวย โต๊ะทรงพระอักษร

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
การใช้พระบรม, พระราช, พระ (ต่อ)
๔. “หลวง ต้ น ” ประกอบท้ า ยคํ า นามทั่ ว ไป เพื่ อ แสดงว่ า เกี่ ย วข้ อ งกั บ
พระมหากษัตริย์ เช่น
หลวง ต้น
(ใช้กับคน สัตว์ สิ่งของ) (ใช้กับสัตว์และสิ่งของทีเ่ ป็นชัน้ ดี)
ลูกหลวง ม้าต้น
หลานหลวง ช้างต้น
แพทย์หลวง เรือต้น
เรือหลวง เครื่องต้น
รถหลวง ป่าต้น
เดี๋ยวก่อน!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ
คําต่อไปนี้ไม่ใช่คําราชาศัพท์ ทางหลวง เมียหลวง เขาหลวงโรงเรีทะเลหลวงนะจ๊
ยนตากพิทยาคม ะ
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
การใช้พระบรม, พระราช, พระ (ต่อ)
๕. คํา ขยายความ คํ า ราชาศั พ ท์ บางคํ า มี ค วามหมายใกล้ เ คี ย งกั น ควรมี
ความรู้เรื่องความหมายให้ถูกต้อง เช่น

พระราชดํารัสหรือพระราชกระแส  คําพูด
พระบรมราชโองการ  คําสั่ง
พระบรมราโชวาท  คําสอน
พระราชปฏิสันถาร  คําทักทาย การทักทาย
พระราชปุจฉา  คําถาม

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
๓. การใช้คําขึ้นต้นและคําลงท้าย
การใช้คําขึ้นต้นและคําลงท้าย
ฐานันดรของผูฟ้ งั คําขึ้นต้น คําลงท้าย
พระบาทสมเด็จ ขอเดชะฝ่าละอองธุลี ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
พระเจ้าอยู่หัว, พระบาทปกเกล้า ขอเดชะ
คําพูด
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ปกกระหม่อม
คําสั่ง
สมเด็จพระบรมราชินี, ขอพระราชทานกราบ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
คําสอน
สมเด็จพระบรมราชชนนี, บังคมทูลทราบฝ่าละออง ควรมี
คําทักคทาย
วรแล้การทั
วแต่จะทรง
กทาย
สมเด็จพระยุพราช, พระบาท พิจารณาโปรดเกล้า
คําถาม
สมเด็จพระสยามบรม โปรดกระหม่อม
ราชกุมารี
ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ
โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
การใช้คําขึ้นต้นและคําลงท้าย (ต่อ)
ฐานันดรของผูฟ้ งั คําขึ้นต้น คําลงท้าย
สมเด็จเจ้าฟ้า ขอพระราชทานกราบ ควรมีควรแล้วแต่จะทรง
ทูลทราบฝ่าพระบาท พิจารณาโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ขอประทานกราบทูล ควรมีควรแล้วแต่จะทรง
พระองค์เจ้า ทราบฝ่าพระบาท พิจารณาโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อม

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
การใช้คําขึ้นต้นและคําลงท้าย (ต่อ)
ฐานันดรของผูฟ้ งั คําขึ้นต้น คําลงท้าย
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กราบทูลฝ่าพระบาท ควรมีควรแล้วแต่จะโปรด
พระองค์เจ้า
หม่อมเจ้า ทูลฝ่าพระบาททรงทราบ แล้วแต่จะโปรด

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
คําศัพท์หมวดต่าง ๆ
คําศัพท์หมวดร่างกาย

พระขนง
พระนาสิก
พระเกศา
พระโอษฐ์
พระกรรณ
พระทนต์
พระเนตร
พระหัตถ์

พระศอ พระรากขวัญ

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
คําศัพท์หมวดร่างกาย

พระหัตถ์

พระชานุ พระเพลา
พระชงฆ์
ข้อพระบาท

พระบาท
ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ
โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
คําศัพท์หมวดเครื่องใช้

พระแสงปนาค ฉลองพระเนตร

พระราช
พระมาลา หัตถเลขา

พระแสงกรรบิด พระเขนย

แก้วน้ําเสวย อ่างสรง
คําศัพท์หมวดเครื่องใช้

พระสาง พระสุคนธ์

ฉลองพระองค์ พระฉาย

พระกลด พระบัญชร

พระธํามรงค์ รองพระบาท
เรื่องเล่าของพระมหาสมปอง
วันหนึ่งระหว่างที่อาตมากําลังฉันเพลอยู่ ก็มีโยมท่านหนึ่งโทร.มา
โยม: “พระอาจารย์เหรอคะ นี่อาตมาเองนะคะ”
พระ: “หา อะไรนะ”
โยม: “พระอาจารย์เหรอคะ นี่อาตมาเองค่ะ”
พระ: “ถ้าโยมแทนตัวว่าอาตมา แล้วอาตมาจะแทนตัวอาตมาว่าอะไร”
โยม: “อ๋อ ขอโทษค่ะ”
หลังจากนั้นก็คุยธุระกันจนจบ อาตมาก็กล่าวว่า “เจริญพร”
โยม: “ค่ะ เจริญพรเช่นกัน”

นักเรีนัยกนคิ
เรียดนคิ
ว่าผูดช้ ว่ายคนนี
าญาติโยมใช้
จ้ ะพูดคกัาํ บพูพระสงฆ์
ดถูกหรือดครูไม่ อน:อย่
ว้ ผู้สยถ้ อ างไร
ยคํ า
นางสาวพิ
อย่างไร
มพิไล หล้าใจ
โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
คําศัพท์เฉพาะ
สําหรับภิกษุสงฆ์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
สรรพนามบุรษุ ที่ ๑ ที่พระภิกษุใช้

คําที่ใช้ โอกาสทีใ่ ช้
อาตมา พระภิกษุใช้กับฆราวาสทั่วไป
อาตมาภาพ พระภิกษุใช้กับพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป
และใช้ในงานพิธีการ
เกล้ากระผม พระภิกษุใช้กับพระภิกษุที่เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์
หรือที่ดํารงสมณศักดิ์สูงกว่า
ผม, กระผม พระภิกษุใช้กับพระภิกษุด้วยกัน

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
สรรพนามบุรษุ ที่ ๒ ที่พระภิกษุใช้
คําที่ใช้ โอกาสทีใ่ ช้
มหาบพิตร พระเจ้าแผ่นดิน
บพิตร พระราชวงศ์
คุณโยม บิดา, มารดา, ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่อาวุโสสูง
คุณ,เธอ ใช้กับบุคคลทั่วไป
สรรพนามบุรษุ ที่ ๒ ที่ฆราวาสใช้
คําที่ใช้ โอกาสทีใ่ ช้
พระคุณเจ้า ฆราวาสใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ, รองสมเด็จ
พระราชาคณะ
พระคุณท่าน ฆราวาสใช้กับพระราชาคณะชัครู้นผรองลงมา
ู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ
ท่าน ใช้กับพระภิกษุทั่วไป สานักงานเขตพืโรงเรี ยนตากพิทยาคม
้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
คําขานรับทีพ่ ระภิกษุใช้

คําที่ใช้ โอกาสทีใ่ ช้
ขอถวายพระพร พระราชวงศ์
เจริญพร ฆราวาสทั่วไป
ครับ,ขอรับ ใช้กับพระภิกษุด้วยกัน
ขอถวายพระพร พระราชวงศ์

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
คําศัพท์เฉพาะ
สําหรับภิกษุสงฆ์
คําศัพท์สําหรับพระภิกษุ

คําที่ใช้ คําสามัญ คําที่ใช้ คําสามัญ


อาราธนา ขอเชิญ กุฏิ เรือนพักในวัด
ภัตตาหาร อาหาร จําพรรษา อยู่ประจําวัด
ฉัน กิน อุปสมบท บวชเป็นพระภิกษุ
ถวาย มอบให้ บรรพชา บวชเป็นสามเณร
อาสนะ ที่นั่ง ลิขิต จดหมาย
จําวัด นอน ครองผ้า แต่งตัว
สรง อาบน้ํา ปลงอาบัติ แจ้งความผิดให้ทราบ
มรณภาพ ตาย ทําวัตร สวดมนต์
ปลงผม โกนผม อาพาธ ป่วย
คําสุภาพ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

ครูผู้สอน: นางสาวพิมพิไล หล้าใจ


โรงเรียนตากพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
ความหมาย

คําสุภาพ หมายถึง คําที่ได้ยินแล้วน่าฟัง ชวนฟังเป็นถ้อยคําที่เหมาะสม


คําสุภาพมีลักษณะดังนี้
„ ไม่เป็นคําหยาบ
„ ไม่เป็นคําที่ได้ยินแล้วไม่นา่ ฟัง ไม่เป็นคํากระด้าง
„ ไม่เป็นคําที่สั้นหรือห้วนไป
„ เป็นคําที่พูดผวนแล้วไม่หยาบ
„ เป็นคําที่ไม่นิยมเปรียบกับของหยาบ
„ เป็นคําที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต และเขมน
ตัวอย่างคําสุภาพ

คําสามัญ คําสุภาพ คําสามัญ คําสุภาพ


ขนมขี้หนู ขนมทราย สัตว์ออกลูก ตกลูก
ขนมเทียน ขนมบัวสาว ขี้เหนียว ตระหนี่
ใส่ตรวน จองจํา อีแร้ง นกแร้ง
โรคห่า กาฬโรค ผักกระเฉด ผักรู้นอน
เต่า จิตรจุล ฟักทอง ฟักเหลือง
ดอกสลิด ดอกขจร แตงโม ผลอุลิด
ดอกซ่อนชู้ ดอกซ่อนกลิ่น ลูกตะลิงปลิง ผักมูลละมั่ง
ผักบุ้ง ผักทอดยอด ปลาสลิด ปลาใบไม้
ผักตบชวา ผักสามหาว ปลาช่อน ปลาหาง
ตัวอย่างคําสุภาพ

คําสามัญ คําสุภาพ
ปลาไหล ปลายาว
ไส้เดือน รากดิน
ขนมจีน ขนมเส้น
กะปิ เยื่อเคย
ปลาร้า ปลามัจฉะ
สากกะเบือ ไม้ตีพริก
ขี้ผึ้ง สีผึ้ง
ใส่กุญแจ ลั่นกุญแจ
ตกปลา วางเบ็ด
ทดสอบความรู้

ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก(ไม่ต้องเปลี่ยนเพราะเป็นสุภาษิต)
หมาตัวนั้นเป็นขี้เรื้อน (สุนัขตัวนั้นเป็นโรคเรื้อน)
ขนมตาลของคุณยายหมูอร่อยมาก (ขนมทองฟูของคุณยายหมูอร่อยมาก)
ช้างขี้อย่าขี้ตามช้าง (ไม่ต้องเปลี่ยน เพราะเป็นสุภาษิต)
แม่ซื้อปลาช่อนมาทําต้มยํา (แม่ซื้อปลาหางมาทําต้มยํา)
แม่ให้ฉันไปหาสากกะเบือในครัว (แม่ให้ฉันไปหาไม้ตีพริกในครัว)
เรียนเสร็จแล้วไปทดสอบความรู้ตนเองด้วยแบบฝึกทักษะที่ครูแจกให้กันเลย

You might also like