Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 43

เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 1

บรรยากาศ
บรรยากาศเป็นชื่อที่ใช้เรียกองค์รวมของอากาศ โดยเป็นอากาศที่ห่อหุ้มโลกตัง้ แต่ระดับน้ำทะเล
เป็นต้นไป
ส่วนประกอบของอากาศ
1. ไนโตรเจน (N2) มีอยู่ในอากาศร้อยละ 78 มีบทบาทสำคัญในพืชซึ่งพืชต้องตรึงก๊าซ
ไนโตรเจนนี้ผ่านวัฏจักรไนโตรเจน
2. ออกซิเจน (O2) มีอยู่ในอากาศร้อยละ 21 มีบทบาทสำคัญในการหายใจของสิ่งมีชีวิต
และเป็นก๊าซที่ช่วยในการเผาไหม้
3. อาร์กอน (Ar) มีอยู่ในอากาศร้อยละ 0.9 เป็นก๊าซเฉื่อย ไม่ทำปฏิกิริยากับสารอื่น
4. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) มีอยู่ในอากาศร้อยละ 0.036 เป็นของเสียที่เกิดจากการ
หายใจของสิ่งมีชีวิต และ เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้
5. อื่นๆ อยู่ในอากาศประมาณ 0.1เช่น ฝุ่นละอองต่างๆ เป็นต้น
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 2

บรรยากาศได้แบ่งออกเป็นชั้นย่อยๆ ตามระดับความสูง เรียกว่าชั้นบรรยากาศ แบ่งได้เป็น


1.ชัน้ บรรยากาศส่วนล่างเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ผิวโลก
1. โทรโพสเฟียร์ สูงตั้งแต่ 0-15 กิโลเมตร นับจากระดับน้ำทะเล จะพบ ลม เมฆ และ
พายุฝนฟ้าคะนองในชั้นนี้ได้เท่านั้น เป็นชั้นที่มีความแปรปรวนทางอากาศสูงที่สุด อุณหภูมิ
จะลดลงตามระดับความสูง “ยิง่ สูง ยิง่ หนาว”
2. สตราโตสเฟียร์ สูงตั้งแต่ 15-50 กิโลเมตร เป็นชั้นที่มีโอโซนอยูม่ าก จึงช่วยกรอง
รังสีUVให้ลดน้อยลงก่อนถึงผิวโลก เนือ่ งจากในชั้นนี้ไม่มีความแปรปรวนทางอากาศ
เครื่องบินจึงบินในชั้นนี้ อุณหภูมิจะเพิ่มตามระดับความสูง “ยิง่ สูง ยิง่ ร้อน”
3. มีโซสเฟียร์ สูงตั้งแต่ 50-80 กิโลเมตร เป็นชั้นที่ ชิน้ ส่วนจากอวกาศหรืออุกกาบาตจะ
ถูกเผาไหม้จนหมดในชั้นนี้ และเป็นชั้นที่ใช้สะท้อนคลื่นวิทยุท่วั ไปด้วย อุณหภูมิจะลดตาม
ระดับความสูง “ยิง่ สูง ยิง่ หนาว”

2. บรรยากาศส่วนบน
1. เทอร์โมสเฟียร์ สูงตั้งแต่ 80-450 กิโลเมตร สามารถเรียกอีกชือ่ นึงว่า “ไอโอโนส
เฟียร์” เนื่องจากในชั้นนี้ อากาศจะแตกตัวเป็นไอออนต่างๆ และใช้ในการสะท้อนคลื่น
ขนาดยาวไปทั่วโลก อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นมากๆตามระดับความสูง “ยิง่ สูง ยิง่ ร้อน”
2. เอกโซสเฟียร์สูงตั้งแต่ 450-900 กิโลเมตรมีก๊าซอยู่น้อยมากมนุษย์อวกาศจะต้อง
ควบคุมบรรยากาศให้มีความดันเท่ากับความดันภายในร่างกายต้องสวมใส่ชุดที่มีก๊าซ
ออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจดาวเทียมพยากรณ์อากาศจะโคจรรอบโลกในชั้นนี้
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 3

กราฟแสดงอุณหภูมิของแต่ละชั้นบรรยากาศ

เมฆ
กลุ่มคำที่ใช้บรรยายลักษณะของเมฆมีอยู่ 5 กลุ่มคือ
1. เซอร์โร (Cirro) = เมฆระดับสูง
2. อัลโต (Alto) = เมฆระดับกลาง
3. คิวมูลัส (Cumulus) = เมฆที่เป็นก้อน
4. สเตรตัส (Stratus) = เมฆทีเ่ ป็นชั้น
หรือแผ่น
5. นิมบัส (Nimbus) = เมฆทีท่ ำให้เกิด
ฝน
ชนิด ชื่อเมฆ ความสูง ลักษณะย่อๆ
เมฆชั้นสูง เซอร์รัส 6500 เมตร + บาง ละเอียดสีขาว
Cirrus เป็นฝอยๆคล้ายขน
นก* เพราะผลึก
น้ำแข็ง อาจมีวงแสง
โปร่งแสง
เซอร์โรสเตรตัส 6500 เมตร + เป็นผลึกน้ำแข็งบางๆ
Cirrostratus มีสีขาวหรือสีน้ำเงิน
จางๆ อาจมีวงแสง*
เซอร์โรคิวมูลสั 6500 เมตร + คล้ายปุยนุ่นสีขาว
Cirrocumulus ก้อนเล็กๆ เหมือน
คลืน่ หรือเกล็ด*เรียง
ตัวเป็นระเบียบ
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 4

ชนิด ชื่อเมฆ ความสูง ลักษณะย่อๆ


เมฆชั้นกลาง อัลโตคิวมูลัส 2500-6500 เมตร คล้ายปุยนุ่นสีขาว
Altocumulus ลอยเป็นแพ บางครั้ง
สีเทา มีการจัดตัว
เป็นแถว เกิด พระ
อาทิตย์ทรงกลด*
อัลโตสเตรตัส 2500-6500 เมตร เป็นแผ่นสีฟ้า ปนเทา
Altostratus มองดูเรียบเป็นปุย
อาจมีแสงทรงกลดได้

ชนิด ชื่อเมฆ ความสูง ลักษณะย่อๆ


เมฆชั้นล่าง นิมโบสเตรตัส 2500 เมตร - สีเทาดำ* เป็นแผ่น มี
Nimbostratus ฐานใกล้พื้นดิน ทึบ มี
ฝนตก*มาจากฐาน
ของเมฆ
สเตรตัส 2500 เมตร - ลักษณะเหมือนหมอก
Stratus เป็นแผ่นสีขาวถึงเทา
ทำให้ไม่เห็นดวง
อาทิตย์ได้

สเตรโตคิวมูลัส 2500 เมตร - ลักษณะอ่อนนุ่มคล้าย


Stratocumulus ปุยนุ่น รูปร่างไม่
ชัดเจน รวมกันเป็น
แพคลื่น ส่วนมากไม่มี
ฝน

ชนิด ชื่อเมฆ ความสูง ลักษณะย่อๆ


เมฆทีก่ อ่ ตัวในแนวดิง่ คิวมูลัส Cumulus - เมฆหนา ก้อนคล้าย
ดอกกะหล่ำ* ก่อตัว
ในแนวตั้ง
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 5

คิวมูโลนิมบัส 600-20000 เมตร เมฆหนาก้อนใหญ่


Cumulonimbus คล้ายภูเขา ฐานมีสี
ดำ ลักษณะคล้ายทัง่
เป็นเมฆที่พร้อมจะ
เกิด พายุฝนฟ้า
คะนอง* มีฟ้าแลบ
ฟ้าร้องและฟ้าผ่า

ความกดอากาศ
ความกดอากาศ คือการกดทับของมวลอากาศลงสูพ่ ื้นผิวโลก โดยใช้ บารอมิเตอร์* ในการวัด
อากาศเย็นจะมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน
ความกดอากาศสูง จะแทนด้วยสัญลักษณ์ H และความกดอากาศต่ำ จะแทนด้วย L ซึ่งอากาศ
จะไหลจากความกดอากาศสูงไปความกดอากาศต่ำเสมอ ทำให้เกิดลม แต่หาก เกิดความ
แตกต่างของความกดอากาศมากและกะทันหัน จะทำให้เกิดพายุ
ความกดอากาศโดยวัดที่ระดับน้ำทะเล จะเท่ากับ 1 atm หรือ 760 mmHg
**ทุกๆระดับความสูง 11 เมตร จะส่งผลให้ ระดับปรอทในบารอมิเตอร์ลดลง 1 mm
**ทุกๆ 27 mmHg อุณหภูมจิ ะลดลง 1 องศาเซลเซียส

ความชืน้ ในอากาศ
ความชื้นของอากาศ คือปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ใช้ ไฮโกรมิเตอร์*
ในการวัด
ถ้าความชื้นในอากาศมาก →ระเหยยาก ถ้าความชื้นในอากาศน้อย → ระเหยง่าย
สารเคมีท่ใี ช้ตรวจสอบความชื้น คือ โคบอลต์(II)คลอไรด์
อากาศอิม่ ตัวคืออากาศที่มีไอน้ำอยู่เต็มที่และไม่สามารถรับเพิ่มได้อีกแล้วณอุณหภูมิหนึ่งซึ่งถ้า
อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศสามารถรับไอน้ำได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 6

การคำนวณความชืน้ แบ่งได้เป็น 2 อย่าง


1. ความชื้นสัมบูรณ์( absolute humidity ) หมายถึงอัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำ
อากาศกับปริมาตรของอากาศนั้นณอุณหภูมิเดียวกันมีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (
g / m3 )
2. ความชื้นสัมพัทธ์ ( relative humidity )คือปริมาณเปรียบเทียบระหว่างมวลของไอน้ำที่
มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้นกับมวลไอน้ำในอากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน (
นิยมบอกค่าความชื้นสัมพัทธ์เป็นร้อยละ ) อากาศที่ร้สู ึกสบายที่สุด มีความชื้นที่ 60%

ปรากฎการณ์ทางลมฟ้าอากาศ
หยาดน้ำฟ้า คือปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศซึ่งเกิดจากการควบแน่นในอากาศได้แก่ ฝน หิมะ
ลูกเห็บ
พายุ
ความเร็วลม(Km/H) พายุ
ต่ำกว่า 63 ดีเปรสชั่น
63-117 โซนร้อน
มากกว่า 117 ไต้ฝุ่น

ชื่อของไต้ฝุ่นจะแตกต่างกันตานสถานที่เกิด
ไต้ฝนุ่ * : ทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเช่นบริเวณทะเลจีนใต้
เฮอริเคน* : บริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเช่นบริเวณฟลอริดาสหรัฐอเมริกาอ่าว
เม็กซิโก
ไซโคลน*:มหาสมุทรอินเดียเหนือเช่นบริเวณอ่าวเบงกอล
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 7

วิลลี่ วิลลี่* :ตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป


ออสเตรเลีย
บาเกียว* :หมู่เกาะฟิลิปปินส์
พายุหมุนที่เกิดในซีกโลกเหนือจะ ทวนเข็มนาฬิกา*
พายุหมุนที่เกิดในซีกโลกใต้จะ ตามเข็มนาฬิกา*
อุปกรณ์ทางอุตุนยิ มวิทยา
เครื่องวัดน้ำฝน (Rain gauge) ใช้วัดปริมาณน้ำฝน บารอมิเตอร์ (Barometer) ใช้วัดความดัน
เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) ใช้วัดอุณหภูมิ ศรลม (Windvane) ใช้วัดทิศทางลม
เครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) ใช้วัดความเร็วลม
ไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer) ใช้วัดความชื้น แบ่งเป็น 2 ชนิด กระเปาะเปียก-แห้ง หาค่า
ความชื้นจากผลต่างของเทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน อันหนึ่งหุ้มด้วยความชื้น อีกอันไม่ อีกชนิด แบบ
เส้นผม วัดจากการยืดหดตัวของเส็นผมที่ขึงตึง

Rain Gauge Barometer Thermometer

Windvane Anemometer Hygrometer ชนิดกระเปาะเปียก-แห้ง


เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 8

ตารางแสดงค่าความชื้น

ปัญหาและมลภาวะในบรรยากาศในปัจจุบนั
ภาวะโลกร้อน เป็น ภาวะที่อุณหภูมิเฉลีย่ สูงสุดของโลกสูงขึ้นมากกว่าปกติ ซึง่ โดยปกติแล้ว
ภาวะโลกร้อนนี้ช่วยทำให้โลกในอดีต มีอุณหภูมิที่อบอุ่นขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของ
สิ่งมีชีวิตต่างๆ แต่ปจั จุบนั การกระทำของมนุษย์ได้ส่งผลให้โลกมีการแปรปรวนโดยการส่งสาร
เรือนกระจกไปในอากาศ ส่งผลให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายเร็วขึ้น
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 9

ก๊าซเรือนกระจก ได้แก่
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง
มีเทน (CH4) เกิดจากการหมัก และจากการปศุสัตว์
ไนตรัสออกไซด์ (N2O) เกิดจากกิจกรรมทางการเกษตร
คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC)พบในตู้เย็นและกระป๋องสเปรย์ต่างๆ ก่อนหน้านี้ เคยเป็นสารที่ใช้
ในการผลิตโฟม (ไม่ใช่สารเรือนกระจกแต่มีส่วนช่วยให้เกิดภาวะเรือนกระจก)
พิธีสารเกียวโต ว่าด้วยเรือ่ งควบคุมประเทศต่างต่างๆในโลกในเรื่องการจำกัดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจก
พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนคือสนธิสัญญาสากลที่ถูกกำหนดขึ้น
เพื่อควบคุม, ยับยั้ง, และรณรงค์ให้ลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 10

แบบฝึกหัด
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ
ก. สตราโตสเฟียร์ ข. มีโซสเฟียร์
ค.โทรโพสเฟียร์ ง. เทอร์โมสเฟียร์
จ. เอกโซสเฟียร์
1. บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกชั้นใดที่มีผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์มากที่สุด
ตอบ
2. บรรยากาศชั้นใดที่เครื่องบินโดยสารใช้ในการบิน
ตอบ
3. บรรยากาศชั้นบน ประกอบด้วย ชั้นบรรยากาศใดบ้าง
ตอบ
4. ยอดเขาเอเวอเรสต์มีความสูงอยู่ในชั้นบรรยากาศใด
ตอบ
5. อากาศแตกตัวเป็นประจุ พบได้ในชั้นบรรยากาศใด
ตอบ
6. ยิ่งขึ้นไปสูงในชั้นบรรยากาศใดบ้าง อุณหภูมิจะยิ่งเพิ่ม
ตอบ
7. ยิ่งขึ้นไปสูงในชั้นบรรยากาศใดบ้าง อุณหภูมิจะยิ่งลด
ตอบ
8. ดาวเทียมอุตนุ ิยมวิทยา ลอยตัวอยู่ใน ชั้นบรรยากาศใด
ตอบ
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 11

9. โอโซนมีประโยชน์ในการกั้นรังสีUV พบมากในชั้นใด
ตอบ
10. อุกกาบาตจะเผาไหม้หมดในชั้นบรรยากาศใด
ตอบ
11. การส่งสัญญาณข่าวสาร โดยใช้คลื่นความถี่สูง ต้องอาศัยบรรยากาศชั้นใดในการสะท้อน
คลื่นกลับมายังโลก
ตอบ
12. ชั้นบรรยากาศใดถือได้ว่าเป็นทางออกสู่อวกาศ
ตอบ

13. เมฆชนิดใดมีลักษณะเป็นริ้วคล้ายกับขนนก
ก. คิวมูลัส ข. เซอร์รัส ค. สเตรตัส ง. นิมบัส
14. ข้อใด กล่าวผิด
ก. เมฆเซอร์โรสเตรตัสเป็นเมฆที่ก่อให้เกิดแสงทรงกลด
ข. เมฆนิมโบสเตรตัสเป็นเมฆระดับต่ำที่ทำให้เกิดฝน
ค. เมฆคิวมูลสั เป็นเมฆที่ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
ง. เมฆคิวมูโลนิมบัสเป็นเมฆที่ก่อตัวในแนวดิ่ง ลักษณะเหมือนรูปทั่ง
15. ปรากฏการณ์ที่เกิดการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างก้อนเมฆเรียกว่าอะไร
ก. ฟ้าแลบ ข. ฟ้าร้อง ค. ฟ้าผ่า ง. ฟ้าลั่น
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 12

16. เมื่อสูงขึ้นไปในบรรยากาศ ความดันอากาศจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด


ก. ความดันอากาศลดลง เพราะ ความหนาแน่นอากาศลดลง
ข. ความดันอากาศลดลง เพราะ ความหนาแน่นอากาศเพิ่มขึ้น
ค. ความดันอากาศเพิ่มขึ้น เพราะ ความหนาแน่นอากาศลดลง
ง. ความดันอากาศเพิ่มขึ้น เพราะ ความหนาแน่นอากาศเพิ่มขึ้น
17. ถ้าวัดความดันอากาศที่ระดับน้ำทะเล โดยใช้บารอมิเตอร์ที่เป็นน้ำ จะวัดได้ความสูงเท่าไร
ก. 76 เซนติเมตร ข. 76 เมตร ค. 100 เมตร ง. 10 เมตร
18. ใช้อุปกรณ์ที่ใช้วัดความชื้น คืออะไร
ก. บารอมิเตอร์ ข. ไฮโดรมิเตอร์ ค. ไฮโกรมิเตอร์
ง. ไซส์โมมิเตอร์
19. ถ้าอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ข้อใดถูกต้อง
ก. เส้นผมจะหดตัว ข. พืชคายน้ำได้มากขึ้น
ค. โคบอลต์(II)คลอไรด์เปลี่ยนเป็นสีชมพู ง. น้ำระเหยเร็ว
20. จากเครื่องมือวัดความชื้นชนิดกระเปาเปียก-กระเปาะแห้ง ข้อใดผิด
1. ใช้วัดความชื้นสัมบูรณ์ของอากาศ
2. กระเปาะแห้งจะวัดอุณหภูมิได้ต่ำกว่ากระเปาะเปียก
3. ถ้าผลต่างของอุณหภูมิเป็น 0 แสดงว่า ความชื้นเป็น 0
ก. 1 2 ข. 1 3 ค. 2 3 ง. 1 2 3
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 13

21. ความชื้นมีผลอย่างไร
1. การระเหยของน้ำ
2. ปริมาณเมฆบนท้องฟ้า
3. การยืดหดของเส้นผม
ก. 1 2 ข. 1 3 ค. 2 3 ง. 1 2 3
22. ทิศของลมพายุเข้าสู่ศูนย์กลาง ข้อใดถูกต้อง
ก. ทิศตามเข็มในซีกโลกเหนือ ข. ทิศตามเข็มในซีกโลกใต้
ค. ทิศทวนเข็มในซีกโลกใต้ ง. ไม่มีข้อถูก
23. ข้อใดไม่ใช่พายุหมุนเขตร้อน
ก. ไต้ฝุน่ ข. มรสุม ค. ดีเปรสชั่น ง. พายุโซนร้อน
24. ข้อใดถูกต้อง
ก. ศรลม – วัดความเร็วลม ข. อะนิโมมิเตอร์ – วัดทิศทางลม

ค.บารอมิเตอร์ – วัดอุณหภูมิ ง.ไซโครมิเตอร์ – วัดความชื้น


25. ก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกมากที่สุดในปัจจุบนั คือก๊าซใด
ก. CFC ข. CO2 ค. CO ง. CH4
26. เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เชือ้ เพลิงชนดใดเผาไหม้แล้วสะอาดที่สุด
ก. แก๊สแอลพีจี ข. น้ำมันดีเซล ค. น้ำมันก๊าด ง. น้ำมันเบนซิล
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 14

27. สารCFCเป็นสารที่สังเคราะห์โดยมนุษย์ มีสมบัติหลักเป็นอย่างไร


ก. เป็นสาเหตุหลักในการก่อภาวะเรือนกระจก
ข. เป็นสาเหตุหลักในการเพิ่มอุณหภูมิของโลก
ค. เป็นสาเหตุหลักในการทำลายโอโซนในบรรยากาศ
ง. เป็นสาเหตุหลักในการเพิ่มโอโซนในบรรยากาศ
28. ฝนกรด ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์โดยตรงแต่ทำลายสิ่งก่อสร้างต่างๆ และปลอมปนใน
แหล่งน้ำ เกิดมาจากแก๊สใดเป็นสำคัญ
1. ออกไซด์ของไนโตรเจน 2. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 3. คาร์บอนไดออกไซด์ 4. มีเทน
ก. 1 2 3 ข. 1 2 ค. 1 3 ง. 2 3
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 15

ดิน
การกำเนิดและส่วนประกอบของดิน
ดินเกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ ผสมคลุกเคล้ากับ
อินทรียวัตถุ
ดินประกอบด้วย
แร่ธาตุ– เป็นส่วนที่เกิดจากแร่และหินต่างๆสลายตัวโดยทางเคมี
กายภาพและชีวเคมีอันเป็นแหล่งกำเนิดธาตุอาหารและควบคุม
โครงสร้างของดินคิดเป็นร้อยละประมาณ 45 ของส่วนประกอบทั้งหมด

อินทรียวัตถุ(ฮิวมัส)* - เป็นส่วนที่เน่าเปื่อยผุพังหรือเกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์อัน
จะเป็นแหล่งกำเนิดธาตุอาหารของดินช่วยละลายแร่ธาตุ เก็บความชื้น และยังทำให้ดินโปร่ง เบา
ซึมซับน้ำ แต่มีฤทธิ์เป็นกรด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพลังงานแก่จุลินทรีย์ดินอีกด้วยคิดเป็นร้อยละ
ประมาณ 5 ของส่วนประกอบทั้งหมด
อากาศ– เป็นช่องว่างระหว่างก้อนดินหรืออนุภาคดินซึ่งมีอากาศอยู่คิดเป็นร้อยละประมาณ25
ของส่วนประกอบทั้งหมด
น้ำ– เป็นส่วนที่พบอยู่ในช่องว่างของดินหรืออนุภาคของดิน คิดเป็นร้อยละประมาณ 25 ของ
ส่วนประกอบทั้งหมด
การทดลองว่าในดินมีน้ำ →นำดินในหลอดทดลองแล้วนำมาเผา จะพบไอน้ำที่บริเวณปากหลอด
ทดลอง
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 16

การทดลองว่าในดินมีอากาศ → นำดินหย่อนลงไปในบีกเกอร์ที่มีน้ำ จะพบฟองอากาศลอย


ขึ้นมาจากดิน
ชัน้ ของดิน

ชัน้ Oคือ ชั้นของอินทรีย์วัตถุจะอยู่ตอนบนสุดของรูปด้านข้างของดินโดยจะประกอบด้วยอินทรีย์วัตถุ


เป็นส่วนใหญ่ซึ่งจะทำให้ดินชั้นนี้มีสีค่อยข้างดำประกอบด้วยซากพืชและซากสัตว์ทั้งที่ผุพังไปแล้ว
และยังไม่ผุพังดินโดยทั่วไปจะมีชั้นนี้บางมาก
ชัน้ ดินA คือชั้นดินแร่เป็นชั้นดินแร่ธาตุที่อยู่บนสุดของรูปด้านข้างมีอินทรียผ์ สมคลุกเคล้าอยู่
มากกว่าชั้นดินอื่นชั้นดินO และชั้นA รวมเรียกว่าดินชัน้ บน
ชัน้ ดินB คือชั้นสะสมแร่ เป็นดินชั้นล่างที่สะสมส่วนที่ถูกชะล้างมาจากชั้นดินA และมักจะมีความ
หนามากกว่าชั้นอื่นๆ
ชัน้ ดินC คือชั้นหินแร่ผุพัง เป็นชั้นของวัตถุต้นกำเนิดดินซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สลายตัวแตกหักผุ
กร่อนของหินและแร่
ชัน้ หินR คือชั้นหินดาน เป็นชั้นหินแข็ง
ความแตกต่างระหว่างดินชั้นบนและดินชั้นล่าง
ลักษณะของดินชั้นบน ลักษณะของดินชัน้ ล่าง
ดินมีอินทรียว์ ัตถุอยู่มากส่วนสีของดินดำคล้ำ มีอินทรีย์วัตถุน้อยสีจาง
เนื้อดินร่วนซุยโปร่งง่ายต่อการไถพรวน เนื้อดินเกาะตัวกันแน่นยากต่อการไถพรวน
การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศได้ดี การระบายน้ำและการถ่ายอากาศไม่สะดวก
มีจลุ ินทรีย์ท่เี ป็นประโยชน์ต่อพืชอาศัยอยูม่ าก มีจลุ ินทรีย์ท่เี ป็นประโยชน์ต่อพืชอาศัยอยู่นอ้ ย
พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี พืชแคระแกรนการเจริญเติบโตช้า
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 17

ชนิดของดิน
ดินแบ่งตามลักษณะของเนื้อดินได้ 3 ชนิด คือ
1 ดินทรายเป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมากแต่มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำมี
ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พืชที่ขึ้นได้ดีในดินทรายมักเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย ได้แก่ พืชทะเลทราย
เช่น กระบองเพชรเป็นต้น
2 ดินร่วนเป็นดินที่ประกอบด้วยทรายโคลนตมและดินเหนียวโดยมีปริมาณดินทรายและดิน
เหนียวไม่มากนักจึงมีการระบายน้ำได้ดีปานกลางจัดเป็นเนื้อดินที่มีความเหมาะสมสำหรับการ
เพาะปลูกมากที่สุด พืชที่ขนึ้ จะเป็นพืชที่ต้องการความชื้นพอเหมาะ ไม่มากน้อยจนเกินไป จึงเป็น
พืชโดยส่วนใหญ่ เช่น พืชสวนต่างๆ
3 ดินเหนียวเป็นดินที่มีเนื้อละเอียดแน่นอุ้มน้ำได้ดีและไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้ง่ายไม่เหมาะสม
ในการเพาะปลูกพืชแต่พืชที่ขึ้นในดินเหนียวมักเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก เช่น ข้าว
ขนาดของเม็ดดิน*: ดินทราย(0.05 - 2.0 mm.) >ดินร่วน(0.002-0.05mm.)>ดินเหนียว(เล็กกว่า
0.002mm.)
แต่ถ้ามีการผสมของดินชนิดต่างๆ จะส่งผลให้ เกิดดินที่มีลกั ษณะก ้ากึ่ง ขึ ้นกับอัตราส่วนที่ผสม
เช่น ดินเหนียวปนทราย

เนือ้ ดิน (Soil texture) หมายถึง องค์ประกอบเชิงกายภาพของดิน เราจะสังเกตได้ว่า


ดินในแต่ละสถานที่มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากดินประกอบขึ้นจากของอนุภาคตะกอนหลาย
ขนาด อนุภาคที่ใหญ่ท่สี ุดคืออนุภาคทราย (Sand) อนุภาคขนาดรองลงมาคืออนุภาคทรายแป้ง
(Silt) และอนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว (Clay)
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 18

ดินมีหลายชนิด เช่น ดินทราย ดินร่วน ดินเหนียว


ขึ้นอยูก่ ับขนาดอนุภาคของตะกอนที่ผสมกันเป็นดิน เช่น ดินทรายมีเนื้อหยาบ เนื่องจาก
ประกอบด้วยอนุภาคขนาดใหญ่เช่นเม็ดทรายซึ่งมีขนาดใหญ่ จึงมีช่องว่างให้น้ำซึมผ่านอย่าง
รวดเร็ว ดินเหนียวมีเนื้อละเอียดมาก เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กมาก จึงไม่มีน้ำ
ช่องว่างให้น้ำซึมผ่าน ส่วนดินร่วนมีส่วนผสมเป็นอนุภาคขนาดปานกลางเช่น ทรายแป้งเป็นส่วน
ใหญ่ จึงมีความเหมาะสมในการปลูกพืชส่วนใหญ่ เนือ่ งจากน้ำซึมผ่านได้ไม่รวดเร็วจนเกินไปจึง
สามารถเก็บกับความชื้นได้ดี

การจำแนกดินช่วยให้เราเข้าใจถึงคุณสมบัติของดินประเภทต่างๆ ได้แก่
ความสามารถในการกักเก็บน้ำ และการถ่ายเทพลังงานความร้อน ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์
ในทางเกษตรกรรมและวิศวกรรม เป็นต้น

การแก้ไขดิน*
ดินเหนียว --- ให้เติมทราย / ทรายแป้งหรือปุ๋ยคอก
ดินทราย --- ให้เติมปุ๋ยอินทรียเ์ พิ่ม
ดินเปรีย้ ว คือดินที่มีสภาพเป็นกรด --- ให้เติมปูนขาว ดินมาร์ล (เป็นเบส)
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 19

ดินเค็ม คือ ดินที่มีเกลืออยู่ในดินมาก อาจเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินเป็น หินเกลือ หรือ บริเวณ


นั้นคยเป็นทะเลมาก่อน จึงมีการทับถมของเกลือสูง --- ให้ทดน้ำเข้าบริเวณที่มีดินเค็ม เพื่อให้น้ำ
ละลายเกลือออกไปกับน้ำ หรือเติมผงแคลเซียมซัลเฟต เพื่อให้เกลือในดินทำปฏิกิริยากัน แล้วจึง
เอาน้ำชะล้างออกไป
ดินฝาด คือ ดินที่มีสภาพเป็นเบสเนื่องจากมีหินปูนเป็นองค์ประกอบอยู่มาก --- ให้เติมผง
กำมะถัน (เป็นกรด)
ดินจืด คือ ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแร่ธาตุ ไม่เหมาะสมในการเพาะปลูก เหตุจากการ
ปลูกพืชชนิดเดียวกันมากเกินไป --- เติมฮิวมัสเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ
การวัดความเป็นกรด-เบสในดิน มักใช้ กระดาษลิตมัส/ universal indicator/pH meter
สีของดิน
ดินทีม่ ีสีดำ*สีน้ำตาลเข้มหรือสีคล้ำส่วนใหญ่มักจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงเนื่องจากมีการ
คลุกเคล้าด้วยอินทรียวัตถุมากโดยเฉพาะดินชั้นบน
ดินทีม่ ีสีออ่ น* มักจะเป็นดินที่ผ่านกระบวนการชะล้างอย่างรุนแรงจนธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อ
พืชถูกชะออกไปจนหมดส่วนใหญ่มักจะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ดินทีม่ ีสีเหลืองหรือแดงจะเป็นสีออกไซด์ของเหล็กและอลูมิเนียมเป็นดินที่มีการระบายน้ำดีแต่
มักจะมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำดินสีเหลืองเป็นดินมีออกไซด์ของเหล็กที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบส่วนดิน
สีแดงจะเป็นดินที่ออกไซด์ของเหล็กหรืออลูมิเนียมไม่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ
ดินสีเทาหรือสีนำ้ เงิน เป็นดินอยู่ในสภาวะที่มีน้ำแช่ขงั เป็นเวลานานเช่นดินนาในพื้นที่ลุ่มหรือดินใน
พื้นที่ป่าชายเลนที่มีน้ำทะเลท่วมถึงอยู่เสมอมีสภาพการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศไม่ดี
การดูแลดิน และ อนุรักษ์ดิน
- การปลูกพืชหมุนเวียน ช่วยให้ดินไม่ขาดแร่ธาตุขนิดเดียวมากเกินไป ทำให้เกิดความสมดุล
ในธาตุอาหารในดิน
- การปลูกพืชคลุมดิน ช่วยลดการชะล้างของหน้าดิน
- การใช้วัตถุคลุมดิน ช่วยลดการชะล้างของหน้าดิน
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 20

- การปลูกพืชแบบขั้นบันได บนเชิงเขา เพื่อกันการถล่มของดินและยังป้องกันการสลายตัว


ของหน้าดินลงมาพร้อมกับฝน
แบบฝึกหัด
1. ดินเกิดจากการสลายตัวของสิ่งใด
1. ซากพืช 2. หิน 3. แร่ 4. ซากสัตว์
ข้อใดถูกต้อง
ก. 1 2 3 ข. 2 3 4 ค. 1 2 4 ง. 1 2 3 4
2. ฮิวมัสในดินมีประโยชน์อย่างไร
ก. ละลายแร่ธาตุ ข. เก็บความชื้นได้ดี ค. เป็นธาตุอาหารของพืช
ง. ถูกทุกข้อ
3. ข้อใดอธิบายฮิวมัสได้ดที สี่ ุด
ก. ซากพืชที่พบในดิน ข. แร่ธาตุท่แี ทรกอยู่ระหว่างชั้นของดิน
ค. ซากพืชและสัตว์ที่ผุพังในดิน ง. ตะกอนของแร่ธาตุท่ผี ุพัง
4. การกระทำของใครถูกต้องที่สุดในการแสดงว่า ในดินมีอากาศอยู่จริง
ก. นายเอนำดินไปเผาไฟ
ข. นายบีสังเกตจากเนื้อดิน
ค. นายซีนำก้อนดินมาชั่งบนเครื่องชั่ง
ง. นายดีหย่อนดินลงไปในน้ำ สังเกตผลที่เกิดขึ้น
5. หากนำดินใส่หลอดทดลองแล้วนำไปเผาไฟ ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
ก. ดินจะเปลี่ยนสี ข. มีหยดน้ำเกาะที่ปากหลอดทดลอง
ค. มีกลิ่นเหม็นไหม้ ง. น้ำหนักของดินจะลดลง

6. ชั้นดินที่ประกอบด้วยอินทรียวัตถุเป็นส่วนใหญ่ พบมากในภูมิประเทศที่เป็นป่าไม้หรือทุ่ง
หญ้า คือชัน้ ใด
ก. ชั้น O ชั้นอินทรียวัตถุ ข. ชั้น A ชั้นดินแร่ ค. ชั้น B ชั้นสะสมของแร่
ง. ชั้น C ชั้นผุพังของหิน
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 21

7. ชั้นที่อยู่ถัดจากหน้าดิน มีอนิ ทรียวัตถุผสมคลุกเคล้ากับแร่ คือชั้นใด


ก. ชัน้ O ชั้นอินทรียวัตถุ ข. ชั้น A ชั้นดินแร่ ค. ชั้น B ชั้นสะสมของแร่
ง. ชั้น C ชั้นผุพังของหิน

8. ชั้นที่หนากว่าชั้นอื่นๆ มีแร่ต่างๆปนอยู่ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียมออกไซด์ คือชั้นใด


ก. ชั้น O ชั้นอินทรียวัตถุ ข. ชั้น A ชั้นดินแร่ ค. ชั้น B ชั้นสะสมของแร่
ง. ชั้น C ชั้นผุพังของหิน
9. การจำแนกดินออกเป็นดินเหนียว ดินทรายแป้ง ดินทราย ใช้เกณฑ์ดเป็นสำคัญ
ก. สีของดิน ข. ขนาดและลักษณะของเม็ดดิน ค. ส่วนประกอบของดิน ง.
พืชที่เพาะปลูกง่าย
10. ดินที่เหมาะแก่การปลูกข้าว คือดินอะไร
ก. ดินเหนียวปนทราย ข. ดินทราย ค. ดินเหนียว ง. ดินร่วน
11. ดินที่สามารถอุ้มน้ำได้ดี ควรมีลักษณะอย่างไร
ก. ขนาดเม็ดดินเล็ก ข. ช่องว่างระหว่างเม็ดดินมาก ค. ระบายอากาศได้ดี ง. เนื้อ
หยาบ
12. การทดน้ำเข้าท่วมพื้นที่ ทิ้งไว้แล้วระบายออก แก้ไขสภาพใดของดินได้
ก. ดินเปรี้ยว ข. ดินเค็ม ค. ดินจืด ง. ดินฝาด
13. แก้ไขดินเปรีย้ วทำอย่างไร
ก. ใส่กรดในดิน ข. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ค. ใส่ปูนขาว ง.
ใส่ผงกำมะถัน
14. ถ้าดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ต้องแก้ไขอย่างไร
ก. เติมผงกำมะถัน ข. ใส่อินทรียวัตถุ ค. ใส่เปลือกหอยป่น ง.
ทดน้ำเข้าท่วม
15. หากนำกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินไปทดสอบความเป็นกรดกับดิน ปรากฏว่าไม่มีการ
เปลี่ยนแปลง
ข้อใดสรุปถูกต้อง
ก. ดินนี้เป็นดินเปรี้ยว ข. ดินนี้เป็นดินฝาด
ค.ดินนี้เป็นกลาง ง. สรุปไม่ได้
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 22

16. หากต้องการให้ดินมีค่าpHเป็น 5-6 เพื่อใช้ในการเพาะปลูก ควรทำอย่างไร


ก. ใส่ปูนขาวลงไป ข. ใส่ปุ๋ยหมัก
ค. ปลูกพืชที่เดิมซ้ำๆ ง. ใส่สารส้มหรือคอปเปอร์ซัลเฟต

17. สิ่งใดบ่งบอกสภาพความเป็นกรดของดิน
ก. น้ำปูนใส ข. ปูนขาว ค. เหล็กออกไซด์ในดิน ง. ซากพืชซาก
สัตว์
18. วิธีการช่วยบำรุงรักษาหน้าดินเพื่อการเพาะปลูกกระทำได้ดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
ก. ปลูกพืชคลุมดิน ข. ปลูกพืชหมุนเวียน ค. ปลูกพืชชนิดเดียว ง. ปลูกพืช
ยึดหน้าดิน
19. การพรวนดินช่วยอย่างไร
ก. เพิ่มช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ข. ลดการระบายน้ำในดิน
ค. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดิน ง. เพิ่มการสึกกร่อนของแร่ธาตุ
20. ปลูกพืชในแนวระดับ เช่นการปลูกพืชขั้นบันได นิยมปลูกภาคใด
ก. ภาคใต้ ข. ภาคเหนือ ค. ภาคกลาง ง. ภาคอีสาน
21. ถ้าปลูกพืชชนิดเดิมที่เดียวกันนานๆ จะทำให้ดินจืด แก้ไขอย่างไร
ก. ปลูกพืชพวกหญ้าแฝก ข. ใส่ปุ๋ยเคมี ค. ปลูกพืชหมุนเวียน ง. ปลูกพืช
คลุมหน้าดิน
22. ข้อใดคือการอนุรักษ์ดิน
ก. การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
ข. การปลูกถัว่ เขียวสลับการการปลูกข้าวโดยสม่ำเสมอ
ค. บริเวณไหล่เขา ปลูกพืชในแนวระดับ
ง. ควรเผาหญ้าในนาข้าว หลังการเก็บเกี่ยว
จ. ควรปลูกพืชชนิดเดียวกัน ในบริเวณใกล้เคียง
ฉ. พื้นที่ดินเค็ม ควรปลูกหญ้าแฝกคลุมดิน
ข้อใดถูกต้อง
ก. ก ง จ ข. ข ค ฉ
ค. ก ข ง จ ง. ข ค ง ฉ
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 23

หิน
หินเป็นของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ อาจเกิดจากการทับถมของเศษตะกอน หรือการแข็งตัว
ของหินเหลวภายใต้เปลือกโลก
ชนิดของหิน
หินอัคนีเกิดจากการแข็งตัวของหินเหลวภายใต้เปลือกโลก แบ่งเป็น 2 ประเภท
หินอัคนีพุ เกิดจากการแข็งตัวของหินเหลวที่ถูกพ่นออกมาสู่พื้นผิวโลก(ลาวา) จึงทำให้
แข็งตัวอย่างรวดเร็ว มีผลึกขนาดเล็กหรือไม่มี ผิวเรียบละเอียด อาจพบฟองอากาศภายในหินได้
เช่น หินบะซอลต์(รูพรุน ไม่ลอยน้ำ) หินพัมมิส(รูพรุน ลอยน้ำได้) หินออบซิเดียน(แตกหักแล้วคม
แวววาวคล้ายแก้ว) หินสคอเรีย หินไรออไลต์ เป็นต้น
หินอัคนีแทรกซอน เกิดจากการแข็งตัวของหินเหลวภายใต้เปลือกโลก(แมกม่า) อย่าง
ช้าๆ มีผลึกใหญ่ เนื้อหยาบ เช่น หินแกรนิต(ใช้ในการก่อสร้าง) หินไดออไรต์ หินแกบโบร เป็น
ต้น
หินตะกอน เกิดจากการทับถมของตะกอนต่างๆ ซากสิ่งมีชีวิต มีลักษณะพิเศษกว่าหินชนิดอื่นคือ
จะมีลักษณะเป็นชั้นๆ และมีโอกาสพบซากฟอสซิลได้ในหินชนิดนี้ แบ่งตามลักษณะ ได้ 3
ประเภท
- พวกตะกอนมาทับถมกัน เช่น เศษหิน ทราย กรวด ต่างๆ มาทับถม แล้วมีสารเชื่อม
ผสานมาเชื่อมให้ติดแน่นเป็นก้อน ชือ่ ของหินพวกนีม้ ักจะบอกถึงวัตุดิบในการเกิดหิน
เช่น หินดินดาน(เป็นหินปิดกั้น) หินศิลาแลง หินกรวดมน หินกรวดเหลี่ยม หินทราย
(มักมีน้ำ น้ำมัน และซากสิ่งมีชีวิตสะสม) หินทรายแป้ง เป็นต้น
- ซากสิ่งมีชีวิตทับถม เกิดจากการสะสมสารอินทรีย์วตั ถุเป็นส่วนใหญ่ เช่น หินปูน(ทำ
ปฏิกิริยากับกรด) ถ่านหิน เป็นต้น
- สารละลายตกผลึก เกิดจากการตกผลึกของสารละลายทางเคมี เช่น หินเกลือ
หินยิปซัม่ เป็นต้น
วัตถุประสานในหินตะกอนได้แก่ซิลิกาเหล็กออกไซด์อะลูมิเนียมออกไซด์และแคลเซียมคาร์บอเนต
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 24

หินแปร เกิดจากหินชนิดต่างๆ ผ่านความดันและความร้อน ทำให้แปรสภาพไปเป็น หินชนิดใหม่


เช่น หินอ่อน(จากหินปูน) หินควอร์ตไซต์(จากหินทราย) หินชีสต์(จากหินแกรนิตและหินดินดาน)
หินชนวน(จากหินดินดาน) หินไนส์(จากหินแกรนิต) หินฟิลไลต์(จากหินชนวน)
สูตรท่องหินแปร “อ่อน ควอร์ตไซต์ ชีสต์ ชนวน ไนส์ ฟิลไลต์”

อืน่ ๆ น่ารู*้ *
หินออบซิเดียน: ใช้ทำอาวุธโบราณ
หินปูนและหินอ่อนทำปฏิกริ ิยากับกรด ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดจากการทับถมของ
สิ่งมีชีวิตใต้ทะเล
หินบะซอลต์: ใช้ทำถนน และเป็นต้นกำเนิดของอัญมณี
หินไนส์: ใช้ทำครก
หินแกรนิต: ใช้ปูพื้นบ้าน สวยงาม
หินศิลาแลง: ใช้ทำทางเดิน และกำแพง
หินชนวน: ใช้ทำกระดานชนวน
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 25

แบบฝึกหัด
1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่มคี วามสัมพันธ์กัน
ก. หินอัคนี – หินบะซอลต์ ข. หินชั้น – หินดินดาน
ค. หินแปร – หินอ่อน ง. หินตะกอน – หินชนวน
2. หินในกลุ่มใดเป็นหินอัคนีทง้ั หมด
ก. หินปูน หินดินดาน หินกรวด ข. หินแกรนิต หินพัมมิส หินออบซิเดียน
ค. หินออบซีเดียน หินกรวดมน หินบะซอลต์ ง. หินไนส์ หินอ่อน หินชนวน
3. ข้อใดต่อไปนี้คือหินแปรทั้งหมด
ก. หินอ่อน หินทราย หินแกรนิต ข. หินควอร์ตไซต์ หินปูน หินชนวน
ค. หินไนส์ หินชีสต์ หินฟิลไลต์ ง. หินบะซอลต์ หินดินดาน หินออบซีเดียน
4. ข้อใดเป็นหินอัคนีภูเขาไฟ
ก. หินแกบโบร หินพัมมิส ข. หินบะซอลต์ หินไดออไรต์
ค. หินออบซีเดียน หินสคอเรีย ง. หินแกรนิต หินไรออไลต์
5. นักวิทยาศาสตร์ใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งชนิดของหินออกเป็น หินอัคนี หินตะกอน หิน
แปร
ก. สถานที่เกิด ข. ลักษณะโครงสร้างของหิน
ค. ลักษณะการเกิดของหิน ง. ถูกทุกข้อ
6. ซากพืชซากสัตว์มกั จะพบในหินประเภทใด
ก. หินฟอสซิล ข. หินตะกอน ค. หินแปร ง. หินอัคนี
7. หินในข้อใดต่อไปนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงมาจากหินปูนที่ได้รับความร้อนและความดันสูง
ก. หินอ่อน ข. หินชนวน ค. หินดินดาน ง. หินแกรนิต
8. หินก้อนหนึ่งมีลกั ษณะที่มีรูพรุนทั่วไปเนื่องจากขณะที่เย็นตัวลงนั้นมีก๊าซต่างๆปนอยู่มาก
นักเรียนคิดว่าเป็นหินชนิดใด
ก. หินแปร ข. หินอัคนี ค. หินตะกอน ง. หินชั้นหรือหิน
แปร
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 26

9. เหตุที่หินแกรนิต มีผลึกโต และเนื้อหยาบ เพราะอะไร


ก. เย็นตัวภายในเปลือกโลก ข. เย็นตัวอย่างรวดเร็ว
ค. เย็นตัวอย่างช้าๆภายในเปลือกโลก ง. มีช่องว่างในการตกผลึกน้อย
10. หินออบซีเดียนเป็นหินอัคนีที่มีเนื้อละอียดคล้ายแก้ว แสดงว่ามีลักษณะการเกิดอย่างไร
ก. เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วของลาวาที่เปลือกโลก
ข. เกิดจากการตกผลึกของแร่ในช่องว่างขนาดใหญ่
ค. เกิดจากการทับถมของตะกอนเนื้อละเอียด
ง. เกิดจากการเย็นตัวอย่างช้าๆ ของหินหลอมเหลว
11. ศึกษาแผนภาพแสดงวัฏจักรของหิน

จงยกตัวอย่างหินในกลุ่ม A B C ตามลำดับ
ก. สคอเรีย หินอ่อน หินทราย ข. หินชนวน หินบะซอลต์ หินปูน
ค. หินแกรนิต หินควอร์ตไซต์ หินชีสต์ ง. หินออบซีเดียน ศิลาแลง หินไนส์
12. หินชนิดใดที่ละลายในกรดได้
ก. หินทรายและหินปูน ข. หินอ่อนและหินปูน
ค. หินอ่อนและหินควอร์ตไซต์ ง. หินควอร์ตไซต์และหินแกรนิต
13. ต้องการปูพื้นบ้านให้แข็งแกร่งทนทาน ควรใช้หินชนิดใด
ก. หินแกรนิต ข. หินอ่อน
ค. หินออบซีเดียน ง. หินไนส์
14. ครกหินทำมาจากหินอะไร
ก. หินปูน ข. หินไนส์
ค. หินทราย ง. หินควอร์ตไซต์
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 27

15. หินงอกหินย้อยเป็นหินประเภทอะไร
ก. หินอ่อน ข. หินแกรนิต
ค. หินควอร์ตไซต์ ง. หินปูน
16. กำแพงที่มีลักษณะสีน้ำตาลแดงเป็นเม็ดล้อมรอบด้วยสีแดงกระจายทั่วไป เนื้อหยาบแข็ง
ขรุขระ เม็ดกรวดเกาะกันห่างๆ ทำมาจากหินชนิดใด
ก. หินทราย ข. ศิลาแลง
ค. หินกรวด ง. หินปูน
17. หินชนิดใดต่อไปนี้พบว่ามีบนดวงจันทร์
ก. หินพัมมิส ข. หินบะซอลต์ ค. หินตะกอน ง. หินแปร
18. ก๊าซที่เกิดจากการหยดกรดลงบนหินปูน คือก๊าซอะไร
ก. ไฮโดรเจน ข. ออกซิเจน ค. คาร์บอนไดออกไซด์ ง.
ไนโตรเจน
19. หินอะไรสามารถลอยน้ำได้
ก. หินพัมมิส ข. หินสคอเรีย ค. หินบะซอลต์ ง. หินไนส์
20. จงพิจารณาตารางต่อไปนี้
A หินแปร หินชีสต์ หินฟิลไลต์
B หินภูเขา หินไรออไลต์ หินไดออ
ไฟ ไรต์
C หิน ถ่านหิน หินปูน
ตะกอน
D หินอัคนีพุ หินแกรนิต หินแกบ
โบร
ข้อใดจัดกลุ่มหินและการเกิดถูกต้อง
ก. A C ข. B C ค.A D ง.A C D
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 28

21. จากตารางข้างล่างนี้ ข้อความใด ถูกต้อง


ก. ถ้าหิน X คือหินทราย หิน Y น่าจะเป็นหินควอร์ตไซต์
ข. หิน X และ Y มีส่วนประกอบทางเคมีเหมือนกัน
ค. หิน X เมื่อเกิดการหลอมเหลวแล้วแข็งตัวใหม่ เกิดการตกผลึกเป็นหิน Y
ง. มีข้อถูกมากกว่า 1 ข้อ
หินตะกอน หินแปร
หินดินดาน หินชนวน
หินปูน หินอ่อน
หิน X หิน Y
22. นักธรณีวิทยาเชื่อว่า ภาคตะวันออกของไทย ครั้งหนึ่งเคยเป็นทะเลมาก่อน เหตุผลใดถึง
ทำให้เชื่อเช่นนั้น
ก. พบหินชั้นและขั้นหินที่ซ้อนกันมีลักษณะเป็นลูกคลืน่
ข. พบหินพัมมิส มีลักษณะเป็นรูพรุน เนื่องจากฟองอากาศใต้ทะเล
ค. พบเปลือกหอยและสัตว์ทะเลในหินชนวน
ง. พบเปลือกหอยทะเลในหินทราย
23. สถานที่ใดไม่ควรใช้หินอ่อนปู
ก. พืน้ บ้าน ข. โต๊ะรับแขก ค. ผนังอาคาร ง. โต๊ะทดลองวิทยาศาสตร์
24. การค้นพบหินใดบนดาวอังคารที่ทำให้เราสันนิษฐานได้ว่า เคยมรน้ำบนดาวอังคาร
ก. หินแกรนิต ข. หินพัมมิส ค. หินทราย ง. หินปูน
25. เรามักพบน้ำบาดาลในชั้นของหินตะกอนชนิดใด
ก. หินพัมมิส ข. หินดินดาน ค. หินทราย ง. หินกรวด
26. หินปิดกั้นที่กักขังน้ำมันปิโตรเลียมไม่ให้ไหลไปที่อื่นคือหินชนิดใด
ก. หินดินดาน ข. หินพัมมิส ค. หินทราย ง. หินกรวด
27. หินตะกอนชนิดใดมีอนุภาคเล็กที่สุด
ก. หินปูน ข. หินแกรนิต ค. หินดินดาน ง. หินทราย
28. หินชนิดใดเป็นต้นกำเนิดของอัญมณีและใช้ทำถนน
ก. หินออบซีเดียน ข. หินบะซอลต์ ค. หินปูน ง. หินแกรนิต
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 29

29. ประโยชน์ของหินออบซีเดียนคืออะไร
ก. ใช้ทำอาวุธสมัยโบราณ
ข. ก่อสร้าง แกะสลัก
ค. ทำหินลับมีด
ง. ทำครก
30. ข้อใด ไม่มคี วามสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
ก. หินปูน – หินอ่อน ข. หินแกรนิต – หินไนส์
ค. หินชีสต์ – หินดินดาน ง. หินดินดาน – หินชนวน
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 30

แร่
แร่เป็นธาตุหรือสารประกอบทางเคมีท่เี กิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ด้วยกระบวนการทางอนินทรีย์
ส่วนใหญ่เป็นของแข็ง มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ มีสูตรเคมีและสมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนคงที่
หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด
การตรวจสอบสมบัติทางกายภาพของแร่
1. สี เป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของแร่ ซึ่งขึ้นกับธาตุและสารประกอบ บางทีอาจมีสีเปลี่ยนไป
เพราะมีมลทินมาเจือปน สีเป็นลักษณะทางกายภาพที่ดูง่ายที่สุด ไม่ต้องทดสอบใดๆ แต่บางทีแร่
นั้นอาจจะทำปฏิกิริยากับอากาศ จึงต้องดูสีจากด้านใน ผ่านการทุบออกมาดู
2. สีผง สีผงดูได้จากการนำแร่มาขีดลงบนแผ่นกระเบื้องสีขาวที่ยงั ไม่ได้เคลือบ ซึ่งสีผงไม่มี
ความจำเป็นต้องมีสีเดียวกับสีของแร่ สีผงจะช่วยในการบ่งบอกถึงชนิดของแร่ด้วย
3. ความแข็ง วัดจากสเกลของโมห์มีต้งั แต่ 1 – 10 วัดจากการใช้เล็บขูด(เล็บมีความแข็ง 2.5)
กระจก (ความแข็ง 5 - 5.5) ใบมีด(ความแข็ง 5.5 – 6) สิ่งที่มีเลขความแข็งมากกว่าจะ
สามารถขูดให้สิ่งที่มีเลขความแข็งน้อยกว่าเป็นรอยได้
- เบอร์ 1 แร่ทลั ก์
- เบอร์ 2 แร่ยิปซั่ม
- เบอร์ 3 แคลไซด์
- เบอร์ 4 ฟลูออไรด์
- เบอร์ 5 อะพาไทต์
- เบอร์ 6 ออร์โทเคลส
- เบอร์ 7 ควอตซ์
- เบอร์ 8 โทแพซ
- เบอร์ 9 คอรันดัม
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 31

- เบอร์ 10 เพชร
ความแข็งอาจจะขึ้นอยู่กับทิศทางของการขูดด้วย
4. ความวาว เป็นสมบัติหนึ่งของการมีปฏิกิริยาต่อแสง การสะท้อนแสง ซึ่งความวาวจะมีความ
แตกต่างกันออกไป ได้แก่
วาวเหมือนโลหะ(Metallic) ลักษณะวาวเหมือนโลหะผิวมัน เช่น แร่ไพไรต์แต่ถ้าวาวคล้ายโลหะ
แต่แวววาวไม่เท่า เรียก กึ่งเหมือนโลหะ
วาวเหมือนเพชร(Adamentine) ลักษณะเล่นแสงแพรวพราวเหมือนเพชร เช่น แร่แคลไซต์เล็กๆที่
เกาะเป็นกลุ่ม แต่ถ้าไม่แพรวพราวอย่างเพชร จะเรียกว่าว่า กึ่งเหมือนเพชร
วาวเหมือนแก้ว(Vitreous) ลักษณะวาวใสเหมือนแก้ว เช่น โทแพซ แต่ถ้าวาวเหมือนแก้ว แต่
ไม่ใสเหมือนแก้ว เรียก กึง่ เหมือนแก้ว
วาวเหมือนยางสน(Resunous) ลักษณะเป็นมันมีเหลือบเล็กๆน้อยๆ คล้าย ยางไม้แห้งหรือ อำพัน
เช่น สฟาเลอไรต์
วาวเหมือนมุก(Pearly) ลักษณะเป็นมันแวววาว อาจเหลือบสีรุ้งเหมือนไข่มกุ หรือ เปลือกหอย
เช่น ทัลก์
วาวเหมือนน้ำมัน(Greasy) ลักษณะเหมือนมีน้ำมันเคลือบบางๆที่ผิว เช่นแกรไฟต์
วาวเหมือนไหม(Silky) ลักษณะเป็นเส้น มีความมันแวววาวเหมือนไหม
วาวเหมือนดิน(Dull) ลักษณะวาวที่ตรงข้ามกับการสะท้อนแสงคือมีความด้านเหมือนดิน เช่น
ชอล์ค
5. กลิ่น ส่วนมากจะไม่พบกลิ่นในแร่ แต่หากพบ กลิน่ จะมีลักษณะดังนี้ เช่น กลิ่นโคลน กล่นยาง
มะตอย กลิ่นไข่เน่า กลิ่นฉุน เป็นต้น
6. ความแกร่ง เป็นลักษณะของความทนทานที่มีต่อการทุบ แรงบด สามารถบรรยายได้เป็น
เปราะ(Brittle) อ่อน(Sectile)แผ่เป็นแผ่นได้(Malleable) ยืดเป็นลวดได้(Ductile) โค้งงอได้
(Flexible) ดีดกลับได้(Elastic)
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 32

7. ความถ่วงจำเพาะ
น้ำหนักของแร่
ความถ่วงจำเพาะ = น้ำหนักของน้ำที่มีปรีมาตรเท่าแร่

ประโยชน์ของแร่**
แคลไซต์ ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนขาว บดทำวัสดุขัดถู
ซิลิกา ใช้ทำแก้ว กระจก ผงขัด กระดาษทราย
ถ่านหิน เรียงลำดับตามพลังงาน→แอนทราไซด์>บิทูมินสั > ลิกไนต์ >พีท
ใยหิน ใช้ทำวัสดุทนไฟ
ยิปซั่ม ใช้ทำปูนพลาสเตอร์ ชอล์ค
ทัลก์ ใช้ทำแป้งผัดหน้า ชอล์คเขียนผ้า
ควอตซ์ ใช้ทำเลนส์ หน้าปัดนาฬิกา
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 33

แบบฝึกหัด
1. ตารางความแข็งของฟรีดิช โมห์ แร่ฟลูออไรต์มีระดับความแข็ง 4 ใช้มีดหรือตะไบขูด
เป็นรอย หินลับมีดควรมีความแข็งเท่าใด
ก. 3 ข. 4 ค. 4.5 ง. 5
2. ทำการทดสอบแร่ชนิดต่าง ได้ผลดังนี้
แร่ 1 ใช้เล็บกรีดแล้วเป็นรอย
แร่ 2 ขีดแร่ 1 แล้วแร่ 1 เป็นรอย
แร่ 3 ใช้มีดกรีดแล้วไม่เป็นรอย
แร่ 4 ใช้เล็บกรีดไม่เป็นรอยแต่ใช้มีดกรีดเป็นรอย
แร่ชนิดใดมีความแข็งมากที่สุดแล้วน้อยที่สุด
ก. แร่ 1, แร่ 2 ข. แร่ 2, แร่ 3 ค. แร่3, แร่ 1 ง.
แร่ 4, แร่ 2
3. แร่รัตนชาติท่มี ีคุณสมบัติความแข็งสูงสุด สามารถนำไปใช้ทำหัวขุดเจาะแหล่งปิโตเลียม
ได้คือข้อใด
ก. มรกต ข. ทับทิม ค. เพทาย ง.
เพชร
4. ต้องการทดสอบสีผงของแร่ จะต้องทำอย่างไร
ก. ดูจากสีก้อนแร่ ข. น้ำก้อนแร่มาขีดบนแผ่นกระเบื้องผิว
ด้าน
ค. นำมาขูดกับแร่อื่น ง. นำไปละลายน้ำ
5. ทำปูนซีเมนต์ ปูนขาว บดเป็นผงละเอียดทำวัสดุขัดถูผลิตภัณฑ์
ก. ไมกา ข. แคลไซต์ ค. เฟลด์สปาร์
ง. ควอร์ตซ์
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 34

6. อุตสาหกรรมเครือ่ งปั้นดินเผา เซรามิก ทำอิฐ การดาษ ยาง สี


ก. ดินขาว(เกาลิน) ข. ยิปซัม ค. กาลีนา
ง. ทัลก์
7. ทำแก้ว กระจก ผงขัด กระดาษทราย
ก. ดินขาว ข. ซิลิกา ค. ดินมาร์ล ง. ยิปซัม
8. ทำปุ๋ย ผงซักฟอก
ก. ฟลูออไรต์ ข. ควอร์ตซ์ ค. ฟอสเฟต ง.ทัลก์
9. เป็นแร่รัตนชาติ ทำแก้ว ทำเลนส์ หน้าปัดนาฬิกา
ก. ควอร์ตซ์ ข. แคลไซต์ ค. ไมกา ง. ไพลิน
10. ถ่านหินที่ให้พลังงานมากทีส่ ุด
ก. พีท ข. ลิกไนต์ ค. บิทูมินสั ง. แอนทราไซต์
11. ทำแป้งผัดหน้า ผลิตยางรถยนต์ ทำชอล์กเขียนผ้า
ก. ยิปซัม ข. แคลไซต์ ค.ไดอะทอไมต์ ง. ทัลก์
12. ถ่านหินที่พบมากในประเทศไทย ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
ก. พีท ข. ลิกไนต์ ค. บิทูมินสั ง. แอนทราไซต์
13. ทำปูนพลาสเตอร์ ชอล์ก และปุ๋ย
ก. ดินขาว ข. ทัลก์ ค. ยิปซัม ง.
ไรโอไลต์
14. แร่ที่ใช้ทำวัสดุทนไฟ ชุดพนักงานดับเพลิงคืออะไร
ก.ยิปซัม ข. แกรไฟต์ ค. ใยหิน ง.
ไมกา
15. ข้อใดคือประโยชน์ของยิปซัม
ก. ปูนพลาสเตอร์ ชอล์ก ข. ถลุงเอาปูนออกมาใช้
ค. ทำกระดานไวท์บอร์ด ง. ผสมทำหมึก
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 35

16. จากชื่อแร่ต่อไปนี้ จงเรียนลำดับความแข็งแรงของแร่ตามสเกลโมส์


1. โทแพซ 2. อะพาไทต์
3. เพชร 4. แคลไซต์
ก. 3>1>2>4 ข. 3>1>4>2
ค. 3>2>4>1 ง. 3>4>1>2
17. พิจารณาตารางต่อไปนี้ แล้วเรียงลำดับความแข็งของแร่ท้ัง 3 ชนิดจากมากไปน้อย

ชื่อแร่ ผลการทดสอบ
A ขูดแร่C แล้วปรากฏว่าแร่ C เป็นรอย
B ขูดแร่ A แล้วปรากฏว่าแร่ A เป็นรอย
C ขูดแร่ B แล้วปรากฏว่าแร่ C เป็นรอย
ก. A B C ข. B A C ค.A C B ง.
BCA
18. จากตารางต่อไปนี้
แร่ สี ความแข็ง ความวาว สีผงละเอียด ความหนาแน่น
A ขาว, ไม่มีสี 3 คล้ายแก้ว ขาว 3.70-3.75
B ขาว 5 คล้ายมุก - 5.12-5.17
C ขาว 6 คล้ายแก้ว เทา 5.14-5.19
D ขาว 7 คล้ายแก้ว ขาว 4.32-4.39
แร่ X มีสีขาวคล้ายแก้ว มีมวล 38.7 กรัม และมีปริมาตร 7.5cm3
แร่ Y มีสผี งกับสีแร่เหมือนกัน ขูดแร่B แล้ว แร่B เป็นรอย
แร่X และ Y ควรเป็นแร่ใด จามลำดับ
ก. A, D ข.A, C ค. C, D ง. C, C
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 36

19. หากละลายแร่ที่แข็งที่สุดในหิน rhyolite ออก และสารละลายนั้นตกตะกอนจะให้หินอะไร


ก. หินเชิร์ต ข. หินแคล-ซิลิเกต
ค. หินควอร์ตไซต์ ง. หินทราย
20. หินชนวน แปรมาจากหินอะไร
ก.แกรนิต ข.แกบโบร
ค. หินปูน ง.หินดินดาน
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 37

น้ำ
น้ำแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามแหล่งที่อยู่คือ
1. น้ำผิวดินเช่น มหาสมุทร แม่น้ำ
2. น้ำใต้ดิน เช่น น้ำบาดาล
น้ำในโลกนี้มีปริมาณ 71% ของทั้งพื้นผิวโลก โดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเค็ม และ น้ำแข็งที่ขั้วโลก
แต่น้ำจืดที่สิ่งมีชีวิตใช้ในการบริโภคมีเพียง 2.5%เท่านั้น
น้ำใต้ดิน น้ำที่อยู่ในระดับชั้นดิน ถูกกันด้วยชั้นหินใต้ดิน แต่น้ำบาดาล เป็นน้ำที่อยู่ระหว่างชั้นหิน
ต้องเจาะลงไปถึงจะเจอ
เมือ่ มีการเคลือ่ นที่ของน้ำในธรรมชาติ ย่อมเกิดการกัดเซาะเป็นปกติ เช่น
การเกิดทะเลสาบรูปแอก เกิดจากการกัดเซาะของแม่น้ำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแนวของแม่น้ำที่
ฝั่งของแม่น้ำ 2 ฝั่ง ฝั่งที่น้ำไหลเข้ากระทบเต็ม จะเกิดการกัดเซาะ แต่อีกฝั่ง จะเกิดการทับถม
แทน

การกัดเซาะของคลื่นในทะเล ทำให้เกิด หน้าผาชันริมทะเล, โพรงหินชายฝั่ง, ถ้ำลอด และ


สะพานหินธรรมชาติ เป็นต้น
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 38

น้ำแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ


น้ำอ่อน หมายถึง น้ำที่ละลายสบู่ได้ดแี ละเกิดฟองกับสบู่ได้ง่าย ไม่มีไคลสบู่เกิดขึ้น เช่น น้ำกลั่น
น้ำฝน เป็นต้น
น้ำกระด้าง หมายถึง น้ำที่ไม่เกิดฟองกับสบู่ หรือเกิดฟองสบู่น้อย และมีไคลสบู่เกิดขึ้น เช่น น้ำ
คลอง น้ำบ่อ น้ำประปา น้ำบาดาล น้ำทะเล เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดน้ำกระด้าง
น้ำกระด้างเกิดจากในน้ำนั้นมี เกลือคาร์บอเนต เกลือคลอไรด์ และเกลือซัลเฟตของโลหะบาง
ชนิดละลายอยู่ เช่น
ชนิดของน้ำกระด้าง การทดสอบ ชนิดของสาร
ชั่วคราว ต้มแล้วหายกระด้าง - แคลเซียมไฮโดรเจน
คาร์บอเนต
เกิดฟองกับน้ำสบู่หลังต้ม

ถาวร ต้มแล้วไม่หายกระด้าง
ไม่เกิดฟองกับน้ำสบู่หลังต้ม

- แคลเซียมคลอไรด์
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 39

- แคลเซียมซัลเฟต
- แมกนีเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
- แมกนีเซียมคลอไรด์
- แมกนีเซียมซัลเฟต
วิธีแก้ไขน้ำกระด้าง
น้ำกระด้างถาวร มีแคลเซียมซัลเฟต และแคลเซียมคลอไรด์ หรือ แมกนีเซียมซัลเฟต และ
แมกนีเซียมคลอไรด์ ละลายอยู่ ซึ่งสามารถกำจัดได้โดยการใช้สารเคมี ได้แก่ ปูนขาว
(แคลเซียมไฮดรอกไซด์) และ โซดาแอช (โซเดียมคาร์บอเนต) เติมลงไปในน้ำกระด้าง เพื่อทำ
ปฏิกิริยาทางเคมีเปลี่ยนรูปเกลือแคลเซียมและแมกนีเซียม ให้อยู่ในรูปตะกอน นอกจากนี้ ต้อง
ใส่สารช่วยตกตะกอน เช่น สารส้ม เพื่อให้ตะกอนที่เกิดขึ้นรวมตัวกันและจับตัวเป็นก้อนตะกอนได้
เร็วยิ่งขึ้น.
สำหรับความกระด้างชั่วคราว ในน้ำสามารถกำจัดได้โดยการต้ม เนื่องจากการต้มน้ำจะทำให้ไบ
คาร์บอเนตของแคลเซียมและแมกนีเซียม ที่มีอยู่ในน้ำกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระเหย
ออกจากน้ำ และเกิดตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนตหรือแมกนีเซียมคาร์บอเนตสามารถกำจัด
ได้ด้วยการกรอง
สบู่ เกิด ฟองกับเฉพาะ น้ำอ่อน แต่ ผงซักฟอกเกิดกับน้ำทุกชนิด***
ผงซักฟอกมีสารประกอบฟอสเฟต หากทิ้งลงในแม่น้ำลำธารจะเป็นปุ๋ยให้พืชน้ำเจริญเติบโตเร็ว
กว่าปกติเป็นเหตุทำให้เกิดน้ำเสียได้ ***

แม่นำ้ ฮวงโห ออบหลวง


เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 40

ภูกระดึง ตะกอนรูปพัด

ดินดอนสามเหลีย่ ม ปากแม่นำ้
แบบฝึกหัด
1. ข้อใดไม่เกิดจากการกระทำของแหล่งน้ำ
ก. ทะเลสาบรูปแอก ข. แผ่นดินไหว
ค. สะพานหิน ง. ถ้ำลอด ถ้ำทะเล
2. เมื่อกระแสน้ำไหลก็จะเอาอนุภาคต่างๆไปด้วย เมื่อความเร็วน้ำลดลง ตะกอนบางส่วนจะ
ตกสะสมและทับถมงอกแผ่นยื่นออกไปในน้ำบริเวณเกิดเป็นสื่งใด
ก.ดินดอนสามเหลี่ยม ข.เกาะกลางแม่น้ำ
ค. ตะกอนรูปพัด ง. ที่ราบลุ่ม
3. น้ำพัดพาตะกอนมาตามหุบเขาด้วยความเร็วสูง เมือ่ ไหลลงสู่ที่ราบ ความเร็วลดลงตะกอน
จะตกทับถมและแผ่ออกไปในบริเวณที่ราบเชิงเขา เรียกว่าอะไร
ก. ดินดอนสามเหลี่ยม ข. ที่ราบน้ำท่วมถึง
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 41

ค. ตะกอนรูปพัด ง. ที่ราบลุ่ม
4. ถ้าตะกอนรูปพัดเกิดการสะสมตัวพอกสูงขึ้น จะเกิดเป็นสิ่งใด
ก. ดินดอนสามเหลี่ยม ข. ที่ราบที่มีน้ำท่วมถึง
ค. ตะกอนรูปกรวย ง. ที่ราบลุ่ม
5. การเกิดหินงอก หินย้อย เกิดจากสาเหตุใด
ก. หินปูนทำปฏิกิริยาเคมีกักรดคาร์บอนิกได้แคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
ข. การกร่อนของหิน
ค. อิทธิพลความร้อนทำให้หินละลายไหลออกมา
ง. การเปลี่ยนสภาพของหินกลายเป็นดินเกาะตามเพดาน
6. สถานที่ใดไม่เกี่ยวกับการกัดกร่อนของแหล่งน้ำ
ก. โพรงถ้ำ หินงอก หินย้อย ข. ซุ้มหินชายฝั่ง จังหวัดชุมพร
ค. ออบหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ง. ภูกระดึง จังหวัดเลย
7. การกระทำในข้อใดเกิดจากการเปลี่ยนทิศการไหลของน้ำ
ก. หุบเขาและร่องน้ำตัววี ข. ร่องน้ำรูปตัวยู
ค. แหล่งน้ำบาดาล ง. ทางน้ำโค้งตวัดและทะเลสาบรูปแอก

8. ถ้าเป็นทางที่น้ำไหลผ่านหุบเขาในพื้นที่ภูเขาสูง ระยะแรกน้ำจะไหลแรงกัดเซาะกินลงไป
เป็นร่องลึก เกิดสิ่งใด
ก. หุบเขาและร่องน้ำรูปตัววี ข. ร่องน้ำรูปตัวยู
ค. แหล่งน้ำบาดาล ง. ทางน้ำโค้งตวัดและทะเลสาบรูปแอก
9. เมื่อน้ำที่พัดพาตะกอนไหลผ่านที่ราบสูงลงสู่แอ่งน้ำขนาดใหญ่ ก็อาจทำให้เปิดสิ่งใด
ก. ทะเลหรือทะเลสาบ ข. คันดิน
ค. การกัดกร่อน ง. น้ำท่วม
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 42

จากรูปต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 10-11

1
3 2
4

10. บริเวณใดมีการกัดเซาะสูงสุด
ก. 1 2 ข. 1 4 ค. 2 3 ง. 2 4
11. บริเวณใดที่มีการทับถมตกตอนที่ริมตลิ่ง
ก. 1 2 ข. 1 4 ค. 2 3 ง. 2 4
เอกสารประกอบการเรียน ออนไลน์ By ครูปยุ๋ 43

แนวข้อสอบ สสวท

You might also like