Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 47

ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ
เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1

การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน


ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ
ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

โดย

รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพีและฐานราก

หน่วยวิจัยการออกแบบและวิจัยด้านวิศวกรรมปฐพี
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

9 เมษายน 2561
เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1

คานา

เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านงานวิศวกรรมปฐพีทั้งงาน
สารวจ ออกแบบ ก่อสร้าง และใช้งานตามแต่วัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ซึ่งเป็นนโยบายประการหนึ่งของ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก และยังเป็นเอกสารที่ใช้อ้างอิงทางวิชาการเพื่องาน
ศึกษาวิจัยต่อไป การอ้างอิงเอกสารฉบับนี้สามารถทาได้ดังนี้

สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. 2561. “การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน


ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM”. หน่วยวิจัยการ
ออกแบบและวิจัยด้านวิศวกรรมปฐพี ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่


ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM
รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

1. พื้นที่ดินเหนียวอ่อน
พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาตอนล่างตั้งแต่จังหวัดอ่างทองลงมาถึงอ่าวไทย ทางตะวันตกตั้งแต่ อ.บาง
เลน จ.นครปฐม มาสุดฝั่งตะวันออกที่ บางปะกง จ.ชลบุรี พื้นที่ขนาด 100x100 ตารางกิโลเมตรโดยประมาณ เป็น
พื้นที่ดินถูกปกคลุมด้วยชั้นดินเหนียวอ่อนความหนาเฉลี่ย 8-12 เมตร ซึ่งถูกเรียกว่าชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ
สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมกับบริษัทเจาะสํารวจดินหลายบริษัท ได้
รวบรวมข้อมูลหลุมเจาะสํารวจกว่า 5000 หลุมในพื้นที่ดังกล่าว (วสท., 2546) จากนั้นศูนย์วิจัยและพัฒนา
วิศวกรรมปฐพี และฐานราก มหาวิท ยาลั ยเกษตรศาสตร์ ร่วมกั บ กรมทรั พยากรธรณีได้นําข้ อมูล ดั งกล่ าว มา
วิเคราะห์คุณสมบัติของชั้นดินทางวิศวกรรม และประเมินความหนาของชั้นดินเหนียวอ่อนในพื้นที่ดังกล่าวดังแสดง
ในรูปที่ 1 (สุทธิศักดิ์ และคณะ, 2553) ทั้งนี้ดินเหนียวอ่อนดังกล่าวกําเนิดจากการตกตะกอนของดินเหนียวในทะเล
ตั้งแต่ยุคประมาณ 10,000 ปี ก่อนหน้านี้ โดยพื้นที่กรุงเทพมหานครฯและปริมณฑล รวมทั้งพื้นที่ในบางจังหวัดเช่น
จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นทะเลโดยทั้งหมด การตกตะกอนของดินเม็ดละเอียดในน้ําทะเลทําให้เกิดชั้นดินที่
อิ่มตัวและมีโครงสร้างของเม็ดดินที่มีช่องว่างมาก ทําให้มีความแข็งแรงต่ําและทรุดตัวได้สูงเมื่อถูกน้ําหนักกระทํา
ทั้งนี้จาก 10,000 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันระดับน้ําทะเลได้ค่อยๆ ลดลงทําให้ผิวหน้าของชั้นดินเหนียวอ่อนนี้แห้งเป็น
ชั้นแข็ง แต่ส่วนล่างต่ําลงไปประมาณหนึ่งเมตรยังคงเป็นดินเหนียวที่อ่อนและอิ่มตัวอยู่

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

รูปที่ 1 แผนทีค่ วามหนาของของชัน้ ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ


ที่มา: ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2561), W. Mairaing & C.
Amonkul (2010), สุทธิศักดิ์และคณะ (2553)

2. ปัญหาของการก่อสร้างโครงสร้างบนพื้นทีด่ ินอ่อน
การก่อสร้างบนพื้นที่ดินเหนียวอ่อนไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างถนน อาคารสิ่งปลูกสร้างหากไม่ดําเนินการ
ตามหลักวิศวกรรมแล้วก็อาจจะเกิดปัญหาต่างๆดังต่อไปนี้

1. การพิบัติของงานถมหรืออาคารที่เพิ่มน้ําหนักให้กับชั้นดินเหนียวอ่อนโดยตรง ทั้งนี้เนื่องจากดิน
เหนียวอ่อนรับน้ําหนักกดทับได้ไม่มาก การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ถ่ายน้ําหนักลงโดยตรงต่อชั้นดินจึงมีโอกาสที่ดิน
จะรับน้ําหนักไม่ได้และพิบัติ เช่นการพิบัติของคันถนนที่ก่อสร้างบนดินเหนียวอ่อนดังรูปที่ 2 สําหรับการก่อสร้าง
อาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑลนั้นวิศวกรไม่สามารถที่จะออกแบบใช้ฐานรากแผ่ที่จะถ่าย
น้ําหนักลงไปที่ดินเหนียวอ่อนโดยตรงได้ แต่จะต้องตอกเสาเข็มให้ลงไปลึกเพียงพอ เพื่อที่จะถ่ายน้ําหนักของอาคาร
ลงไปสู่ชั้นดินแข็งด้านล่าง รูปที่ 3 แสดงความลึกของเสาเข็มตามขนาดของอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ
อย่างไรก็ตามถ้าตอกเสาเข็มไม่ถึงชั้นดินที่แข็งแรงพอ อาคารก็อาจจะทรุดเอียงหรือพิบัติได้ (รูปที่ 4) สําหรับการ

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

ตอกเสาเข็มนั้นคงจะใช้เมื่อต้องการจะรับน้ําหนักอาคารเป็นหลัก อาจจะไม่คุ้มค่าถ้าจะมาใช้ในการรับน้ําหนักดิน
ถม เช่นงานถนน เนื่องจากราคาก่อสร้างก็จะสูงมาก ดังนั้นจึงเป็นการประหยัดกว่าที่จะใช้เทคนิคการปรับปรุง
คุณภาพดินเพื่อให้ดินอ่อนมีคุณสมบัติดีขึ้นดังที่จะได้กล่าวถึงต่อไป

รูปที่ 2 การพิบัติของถนนริมคลองใน จ.ปทุมธานี และ จ.นนทบุรี ก่อสร้างบนพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ


ภาพโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

รูปที่ 3 ลักษณะชัน้ ดินและความยาวของเสาเข็มสําหรับอาคารที่มีความสูงต่างๆในพืน้ ที่กรุงเทพมหานครฯ


วาดโดย: ฉัตรชัย จันธร, ร่างโดย: วิชาญ ภู่พัฒน์

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

รูปที่ 4 การเอียงตัวของบ้านของโครงการในพืน้ ที่ จ.อยุธยา เนื่องจากเสาเข็มมีความยาวไม่ถึงชั้นดินแข็ง


ภาพโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

2. การพิบัติของงานขุด เนื่องจากดินเหนียวอ่อนนั้นมีความอ่อนตัว เมื่อมีการขุดหลุมหรือบ่อ ดิน


เหนียวอ่อนก็จะพยายามไหลหรือเคลื่อนตัวลงไปในช่องว่างที่ขุด ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทั้งสิ่งปลูกสร้างในบ่อ
ขุดหรือพื้นที่ข้างเคียงบ่อขุด (รูปที่ 5) หากเป็นการขุดขนาดลึกโอกาสที่จะเคลื่อนตัวก็จะมีมากกว่า ดังนั้นในการขุด
ดินในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯจึงจําเป็นต้องมีระบบค้ํายันผนังดินที่ขุดไม่ให้เกิดการไหล (รูปที่ 6) ไม่ว่าจะเป็น
งานชั่วคราวหรือถาวร ที่เห็นโดยทั่วไปก็คือการใช้ Sheet pile เหล็กสําหรับงานชั่วคราว หรือการใช้ Diaphragm
wall สําหรับงานถาวร เป็นต้น ทั้งนี้ที่ผ่านมาเราไม่ค่อยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคเพื่อปรับปรุงฐานรากดินอ่อนก่อนที่จะ
ขุดดินมากนัก ซึ่งในความเป็ นจริงสามารถทําได้ในงบประมาณที่ประหยัดกว่าเพราะจะสามารถลดราคาของ
โครงสร้างกันดินลงได้หรือบางกรณีอาจจะไม่ต้องใช้เลย

รูปที่ 5 การเคลื่อนตัวของดินเหนียวอ่อนทําให้เสาเข็มหักเนื่องจากงานขุดทําฐานรากในพืน้ ที่ จ.สมุทรปราการ


และลักษณะความเสียหายของอาคารข้างเคียงเนื่องจากการขุดระดับลึกในพืน้ ที่กรุงเทพมหานครฯ
ภาพโดย: ชิโนรส ทองธรรมชาติ, ภาพประกอบโดย วรสิทธิ์ กิจกิตติกร, วรสิทธิ์และสุทธิศักดิ์ (2556)

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

รูปที่ 6 ระบบค้ํายันบ่อขุดเพื่อป้องกันดินเคลื่อนตัวจากงานขุด
ภาพโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

3. ปัญหาการทรุดตัว ดินเหนียวอ่อนต่างจากดินทรายในเรื่องการทรุดตัว ดินทรายนั้นเปรียบเสมือน


ฟองน้ําที่ถ้าเราออกแรงกดไปตรงๆ ฟองน้ําก็จะยุบตัวโดยทันที และจะระบายน้ําออกมา ซึ่งถ้าเราทําการก่อสร้าง
อาคารบนชั้นดินทราย อาคารก็จะทรุดตัวทันทีในขณะที่ทําการก่อสร้าง จึงไม่เกิดปัญหาการทรุดตัวในภายหลัง แต่
ดินเหนียวนั้นต่างกัน ดินเหนียวนั้นมีอานุภาคเล็กกว่าดินทรายมาก ซึ่งถึงแม้จะมีช่องว่างในมวลดินมากแต่ก็ระบาย
น้ําได้ยากเมื่อเทียบกับดินทราย เปรียบเสมือนยางรถยนต์ที่รั่วซึม ที่ยางจะไม่แบนในทันที แต่จะค่อยๆยุบตัวและ
สร้างปัญหาในภายหลังถึงแม้จะไปเติมลมก็ยังจะซึมและแบนได้อีก ทั้งนี้ลักษณะปัญหาจากการทรุดตัวของพื้นดิน
ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนประกอบด้วย

3.1 การทรุดตัวรวมมากเกินไป ทําให้โครงสร้างที่ออกแบบไว้ไม่สามารถใช้งานได้ เช่นการทรุดตัว


ของถนนสายบางนา-บางปะกงในอดีตที่ทรุดมากที่สุดถึง 2.5 เมตร จนเกิดปัญหาน้ําท่วมผิวทาง (รูปที่ 7) หรือคัน
กั้นน้ําท่วมที่ทรุดตัวมากจนไม่สามารถป้องกันน้ําท่วมได้ ดังเช่นการทรุดตัวสะสมของแนวคันกั้นน้ําในพระราชดําริ
(รูปที่ 8) ทําให้ประสิทธิภาพในการป้องกันน้ําท่วมกรุงเทพมหานครฯในช่วงมหาอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 ลดลง กรณี
เช่นนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดินฐานรากให้ชั้นดินอ่อนให้มีการทรุดตัวน้อยภายหลังการก่อสร้าง

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

รูปที่ 7 การทรุดตัวของถนนสายบางนา-บางปะกง ในช่วงปี ค.ศ. 1969-1979 หรือประมาณ 10 ปีหลังการ


ก่อสร้าง จะเห็นว่าที่บริเวณ กม.30 การทรุดตัวลงไปถึง 2.5 เมตร
ที่มา: COX (1981)

รูปที่ 8 แนวคันกั้นน้าํ ในพระราชดําริ และภาพน้าํ ท่วมบริเวณสี่แยกเกษตรปี พ.ศ. 2554


ภาพโดย: Mr.Pookie photographer

3.2 การทรุดตัวที่แตกต่างกัน ทําให้โครงสร้างด้านบนเกิดความเสียหาย เช่นการทรุดต่างระดับกัน


ของถนนบริเวณคอสะพาน เนื่องจากโครงสร้างสะพานก่อสร้างบนเสาเข็มซึ่งการทรุดตัวจะน้อย แต่ทางขึ้นหรือคอ
สะพานเป็นดินถมก่อสร้างอยู่บนพื้นดินเหนียวอ่อนโดยตรงทําให้การทรุดตัวมาก (รูปที่ 9) หรือที่พบกันบ่อยที่สุด
คือการทรุดตัวของส่วนต่อเติมด้านหลังอาคารพาณิชย์ บ้าน หรือห้องแถว ที่มักใช้เสาเข็มสั้นในส่วนที่ต่อเติม
ในขณะที่เข็มของอาคารเป็นเสาเข็มยาว ทําให้เกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน ส่งผลให้ส่วนที่ต่อเติมทรุดและดึงตัวอาคาร

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

หลักให้เสียหายได้ (รูปที่ 10) เพื่อลดปัญหาดังกล่าวผู้พัฒนาโครงการควรตอกเสาเข็มเผื่อให้ส่วนที่จะต่อเติม หรือ


ทําการปรับปรุงคุณภาพดินอ่อนไว้ล่วงหน้า ซึ่งในความเป็นจริงเป็นไปได้ยากเพราะราคาขายของอาคารก็จะสูงกว่า
คู่แข่งในตลาด ดังนั้นถ้าเจ้าของบ้านจะต่อเติมอาจจะเจรจากับผู้พัฒนาโครงการให้ตอกเสาเข็มเผื่อเอาไว้และคิด
ราคาเพิ่มจากราคาขายซึ่งดีกว่ามาแก้ปัญหาในภายหลัง อีกปัญหาหนึ่งของการทรุดตัวแตกต่างกันคือการทรุดตัว
ของดินถมรอบๆบ้านหรืออาคาร เพราะโครงสร้างอาคารนั้นรับน้ําหนักโดยเสาเข็มยาว แต่ดินถมรอบๆอาคารถมอยู่
บนพื้นดินเหนียวอ่อน การทรุดตัวต่างกันนี้ส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างพื้นดินและอาคาร และทําให้ระบบท่อน้ํา
ท่อสายไฟหรือท่อส้วมถูกดึงให้รั่ว ขาด เสียหาย ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในโครงการบ้านจัดสรร ส่งผลเสีย
ต่อทั้งผู้อยู่อาศัยและต่อชื่อเสียงของผู้พัฒนาโครงการ (รูปที่ 11) ปัญหาจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นถ้าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่
ถมบ่อน้ําหรือบ่อดินเก่า

รูปที่ 9 การทรุดตัวของคอสะพาน จากรูปจะเห็นชัน้ ผิวทางแอสฟัลท์เดิมที่ทรุดลงไป


แล้วจึงต้องถมดินคอสะพานเพิ่มเพื่อยกระดับชั้นผิวทางใหม่ให้สูงเท่าโครงสร้างพืน้ ทางของสะพาน
ที่มา: กฤษณ์ (2552)

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 7


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

รูปที่ 10 การต่อเติมอาคารในพืน้ ที่ดนิ เหนียวอ่อน โดยใช้เสาเข็มทีส่ นั้ กว่าเสาเข็มอาคารหลัก


และเชื่อมโครงสร้างเข้าอาคารหลัก ส่งผลให้อาคารหลักเสียหายเพราะส่วนต่อเติมใหม่ทรุดตัว
และดึงตัวอาคารหลักให้เสียหายตามมา
วาดโดย: ฉัตรชัย จันธร, ร่างโดย: วิชาญ ภู่พัฒน์ ภาพโดย: วรสิทธิ์ กิจกิตติกร, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 8


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

รูปที่ 11 การทรุดตัวระหว่างดินถมรอบอาคารและตัวอาคาร ทําให้เกิดช่องว่าง และก่อให้เกิดความเสียหายกับ


ระบบท่อต่างๆที่เชื่อมเข้ากับตัวอาคาร
ภาพโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

3.3 การทรุดตัวเนื่องจากการสูบน้ําบาดาล การทรุดตัวทั้งสองข้อแรกเกี่ยวข้องกับการเพิ่มน้ําหนัก


ให้กับพื้นดินแล้วจึงทรุดตัว แต่การทรุดตัวเนื่องจากการสูบน้ําบาดาลนั้น ถึงไม่มีน้ําหนักกระทําก็เกิดการทรุดตัวได้
ทั้งนี้การทรุดตัวดังกล่าวเกิดจากการสูบน้ําใต้ดินหรือน้ําบาดาลมาใช้ตั้งแต่ในอดีต เมื่อน้ําใต้ดินลดลง แรงพยุงจาก
น้ําหายไป (รูปที่ 12) แรงกดของมวลดินก็มากขึ้น (effective stress เพิ่มขึ้น) ชั้นดินจึงทรุดตัว การทรุดตัวนั้นแต่
ละพื้นที่จะเกิดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณการสูบน้ําขึ้นมาใช้และคุณสมบัติของดินในพื้นที่นั้นๆ ในอดีตพื้นที่ที่มี
การทรุดตัวสูงที่สุดพบว่ามีอัตราการทรุดตัวถึง 10 ซม.ต่อปี ทั้งนี้การทรุดตัวจากการสูบน้ําบาดาลนั้นไม่สามารถใช้
การปรับปรุงคุณภาพดินหรือการแก้ปัญหาโดยการตอกเสาเข็มได้ เพราะเป็นการทรุดตัวระดับลึกและเป็นพื้นที่
กว้าง อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการควบคุมการสูบน้ําบาดาลในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่งผลให้การทรุดตัว
ประเภทนี้ลดลง บางพื้นที่ไม่มีการทรุดตัวเลย แต่บางพื้นที่ก็ยังมีการทรุดตัวต่อเนื่องอยู่ ดังนั้นจึงจําเป็นจะต้อง
ตรวจสอบก่อนการพัฒนาโครงการ รูปที่ 13 แสดงแผนที่ค่าระดับของพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครฯ ซึ่งจะเห็นว่า
บางพื้นที่นั้นมีค่าระดับพื้นดินที่ต่ํากว่าค่าระดับน้ําทะเลปานกลาง ซึ่งเป็นผลของการทรุดตัวเนื่องจากการสูบน้ํา
บาดาลในอดีต ทําให้ให้พื้นที่ดังกล่าวอาจจะมีน้ําท่วมขังเมื่อเกิดฝนตก

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 9


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

รูปที่ 12 ลักษณะการทรุดตัวของพื้นดินเนื่องมาจากน้ําหนักอาคาร การถมดิน และการสูบน้ําบาดาล


วาดโดย: ฉัตรชัย จันธร, ร่างโดย: วิชาญ ภู่พัฒน์

รูปที่ 13 ระดับพื้นดินในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ที่มา: กรมแผนที่ทหาร (2553)

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 10


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

3. การถมทีใ่ นพื้นที่ลุ่มต่ําและปัญหาการทรุดตัว
เนื่องจากพื้นที่กรุงเทพมหานครฯและปริมณฑลเป็นพื้นที่ลุ่มต่ําน้ําท่วมถึง การจะก่อสร้าง ถนน นิคม
อุตสาหกรรม โรงงานหรือโครงการบ้านจัดสรร จําเป็นจะต้องมีการถมที่ให้สูงขึ้น เพื่อที่จะยกระดับพื้นดินใช้งานให้
อยู่เหนือระดับน้ําท่วมขัง บางพื้นที่ระดับพื้นดินเดิมอยู่ต่ําก็ต้องมีการถมดินสูง บางพื้นที่เป็นบ่อน้ําหรือลําคลองก็
ต้องใช้ปริมาณดินถมที่มาก ยิ่งมีการถมดินสูง น้ําหนักดินถมก็จะไปกดทําให้ชั้นดินเหนียวอ่อนเกิดการทรุดตัวได้
มาก อย่างไรก็ตามการทรุดตัวนั้นจะค่อยๆเกิดไม่ได้เกิดทันทีทันใดหลังจากการถม เพราะดินเหนียวอ่อนนั้นระบาย
น้ําออกจากดินได้ช้า ทําให้เกิดปัญหาการทรุดตัวต่อเนื่องซึ่งจะต้องแก้ไขไปเรื่อยๆในระยะยาว หลายโครงการ
ประสบปัญหาการร้าวการแตกและยุบตัวของถนนหรือที่จอดรถ แต่เมื่อซ่อมแซมแล้วก็เกิดขึ้นอีก ทําให้เหมือน
แก้ปัญหาไม่จบ ทั้งนี้หากมองในภาพรวม การทรุดตัวที่จะเกิดขึ้นจากการถมที่นั้นเกิดได้จาก 4 สาเหตุดังต่อไปนี้

1. การทรุดตัวของชั้นดินถม การทรุดตัวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดดินที่ใช้ ความหนาของการถม


และที่สําคัญคือวิธีการถมบดอัดดิน การถมที่จะทําให้การทรุดตัวไม่มากนั้นจะต้องใช้ดินทรายถม มีการให้น้ํา
ระหว่างการถม และมีการบดอัดเป็นชั้นๆที่ไม่หนาจนเกินไป อย่างไรก็ตามทฤษฏีดังกล่าวไม่น่าจะใช้ได้กับการถมที่
ของงานโรงงานหรือบ้านจัดสรร (ยกเว้นแต่พื้นที่ที่จะวางเครื่องจักร หรือรับน้ําหนักที่พื้นดินมาก จะต้องถมให้ถูก
หลักทางวิศวกรรม) เพราะการถมด้วยทรายนั้นถ้าถมหนากว่า 0.5 ม. จะทําให้การตอกเสาเข็มลําบาก ส่วนการให้
น้ําและบดอัดเป็นชั้นๆที่มีความหนาตามหลักวิศวกรรมนั้นก็มีค่าใช้จ่ายและใช้ระยะเวลานาน ดังนั้นในทางปฏิบัติ
การถมที่นั้นจะใช้ดินเหนียว ไม่มีการให้น้ําเพิ่ม ชั้นการถมจะแบ่งครึ่งตามความหนาของการถมทั้งหมด เช่นจะถม 2
เมตร ก็แบ่งเป็นชั้นการถมสองชั้นชั้นละ 1 เมตร (หรือกําหนดความหนาสูงสุดที่จะยอมให้ถมได้) และใช้รถบรรทุก
หรือรถแทรกเตอร์ที่ใช้เกลี่ยดินเดินย่ําจนอยู่ตัว การถมลักษณะนี้ ดินถมจะแห้งและไม่แน่นมาก จะทําให้ดินยังมี
การทรุดตัวอยู่ โดยการทรุดตัวอาจจะสูงถึง 10% ของความหนาของชั้นดินถม ทั้งนี้อัตราการทรุดตัวจะมากขึ้น
ในช่วงฤดูฝนเพราะดินที่บดอัดซึ่งแห้งนั้นจะยุบตัวเมื่อเปียก (Wetting collapse) การลดการทรุดตัวในลักษณะนี้
ทําได้โดยการให้น้ําระหว่างการบดอัด แบ่งชั้นการบดอัดให้ไม่มากกว่า 0.50 เมตร บดอัดด้วยเครื่องจักรการบดอัด
ที่เหมาะสม และใช้พลังงานการบดอัดแบบ Reduced standard

2. การทรุดตัวของชั้นดินเหนียวอ่อนเนื่องจากน้ําหนักของดินถม ลักษณะการทรุดตัวเป็นไปดังที่ได้
อธิบายไปก่อนหน้านี้ คือทรุดมากแต่ทรุดช้าๆ การทรุดตัวสูงสุดโดยประมาณจะเท่ากับ 10% ของความหนาของชั้น
ดิ น เหนี ย วอ่ อ น (สํ า หรั บ การถมดิ น ที่ ห นาประมาณ 2.0-2.5 เมตร) ซึ่ ง โดยทั่ ว ไปชั้ น ดิ น เหนี ย วอ่ อ นในพื้ น ที่
กรุงเทพมหานครฯนั้นจะหนาประมาณ 10-12 เมตร ดังนั้นการทรุดตัวก็จะประมาณไม่น้อยกว่า 1.00-1.20 เมตร
ในพื้นที่ที่ดินเหนียวอ่อนหนาเป็นพิเศษ การทรุดตัวอาจจะสูงถึง 2.00 เมตร ทั้งนี้เรื่องขนาดการทรุดตัวเป็นเรื่อง
หนึ่ง แต่เรื่องของระยะเวลาที่จะการทรุดตัวจนเสร็จสิ้นนั้นเป็นปัญหาใหญ่เช่นกัน หากไม่ได้มีการปรับปรุงคุณภาพ
ดินฐานราก เพื่อเร่งหรือลดการทรุดตัว ระยะเวลาการทรุดตัวตามธรรมชาติอาจจะมากถึง 30-40 ปี หรืออาจจะ
มากกว่านั้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติด้านการคายน้ําของดินเหนียวอ่อน โดยอัตราการทรุดตัวจะมากในช่วง 7-10 ปี
แรกและก็จะทรุดต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ส่งผลให้ต้องมาคอยซ่อมแซมหรือถมดินปรับระดับกันอยู่เป็นระยะๆ ถ้าเป็น
งานถนนที่ได้เปิดใช้งานแล้วก็จะมีปัญหาเรื่องการจราจรระหว่างการซ่อมแซม แต่ถ้าไม่ซ่อมแซมก็จะเกิดปัญหาน้ํา

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 11


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

ท่วมขัง การลดปัญหาการทรุดตัวนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อนเช่นการลดการทรุด
ตัวโดยการใช้เสาเข็มดิน-ซีเมนต์ หรือเร่งการทรุดตัวที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวให้เกิดขึ้นและสิ้นสุดในช่วงเวลาการ
ก่อสร้างโดยการใช้ PVD พร้อมการ Preload ทําให้เกิดการทรุดตัวที่ภายหลังการก่อสร้างไม่มาก (รูปที่ 14)
เวลา

การลดการทรุดตัวด้วย Soil-cement column

การเร่งการทรุดตัวด้วย PVD การทรุดตัวตามธรรมชาติ

การให้น้ําหนักล่วงหน้าและเร่งการทรุดตัวด้วย PVD

การทรุดตัว

รูปที่ 14 ลักษณะการทรุดตัวกับเวลาของชั้นดินเหนียวอ่อนจากน้าํ หนักดินถม กรณีการทรุดตัวตามธรรมชาติ


และกรณีการปรับปรุงดินเหนียวอ่อนด้วยวิธีต่างๆ

วาดโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

3. การทรุดตัวเนื่องจากการการไหลของดินออกด้านข้าง (Lateral Shear Flow) เกิดขึ้นเมื่อ


น้ําหนักดินถมมากกว่ากําลังรับแรงเฉือนของดินฐานราก ทําให้ดินเหนียวเกิดการครากบางส่วน ดินจะไหลออกไป
ทางด้านข้างและโครงสร้างจะยุบตัวลง (รูปที่ 15) ถ้าดินเหนียวครากมากจนระบบเสียสมดุล ดินถมดังกล่าวก็จะ
สไลด์และพิบัติ อย่างไรก็ตามในกรณีที่การถมดินไม่สูงมากนักและถมเป็นบริเวณกว้าง การทรุดตัวในลักษณะนี้จะ
ไม่เกิดขึ้น

รูปที่ 15 การทรุดตัวของดินถมเนื่องจากการครากของมวลดินบางส่วนและไหลตัวออกทางด้านข้าง
(Lateral Shear Flow)

4. การทรุดตัวเนื่องจากากรสูบน้ําบาดาล จะเกิดเป็นพื้นที่ใหญ่ กว้าง ดังที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 12


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

จากการทรุดตัวทุกประเภทที่กล่าวมา การทรุดตัวของชั้นดินเหนียวอ่อนนั้นมีค่ามากที่สุด ดังนั้นถ้าหาก


เราได้ทําการปรับปรุงคุณภาพของชั้นดินเหนียวอ่อน การทรุดตัวส่วนใหญ่ก็จะหมดไป รูปที่ 16 แสดงโครงข่ายถนน
สายหลักและสายรองในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ จะเห็นได้ว่าหากไม่ได้มีการปรับปรุงดินฐานรากอย่าง
เหมาะสม ถนนเหล่านี้ล้วนจะมีความเสี่ยงต่อการทรุดตัวหรือแม้กระทั้งพิบัติได้ ซึ่งจะส่งผลต่องบประมารการ
บํารุงรักษาที่สูงมาก ดังนั้นการแก้ไขให้ปัญหาให้หมดไปตั้งแต่แรก ถึงแม้จะใช้งบประมาณสูงเมื่อเริ่มต้น แต่ก็จะ
ประหยัดกว่าในระยะยาวได้อย่างชัดเจน

รูปที่ 16 โครงข่ายถนนบนพืน้ ที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ


ที่มา: สุทธิศักดิ์ และ ลักษมี (2561)

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 13


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

4. การถมดินลงในบ่อดินเก่าและบ่อน้ํา
ในอดีตพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯได้ถูกขุดเป็นบ่อดินเพื่อนําดินไปถมที่สําหรับการก่อสร้างโครงการต่างๆ
(รูปที่ 17) การขุดบ่อดินนั้นจะขุดถึงชั้นดินเหนียวแข็งก่อนถึงชั้นทราย บางครั้งก็ขุดถึงชั้นทราย เมื่อดินที่สามารถ
ขุดขายได้ถูกขุดจนหมด บ่อดินก็มักจะถูกทิ้งร้างและขายเปลี่ยนมือกันไปเรื่อยๆในราคาที่ต่ํากว่าราคาที่ดินข้างเคียง
นานๆไปบ่อดินก็จะกลายเป็นบ่อน้ําเพราะน้ําฝนและน้ําใต้ดินไหลเข้ามา เมื่อเวลาผ่านไปเมืองเกิดการขยายตัว
ที่ดินว่างเริ่มมีจํากัดและราคาแพง บ่อดินซึ่งกลายเป็นพื้นที่โล่งขนาดใหญ่จึงมีคุณค่าขึ้นมา โดยมีการถมดินกลับลง
ไปในบ่อเพื่อนําพื้นที่ไปพัฒนาโครงการ เช่นโครงการบ้านจัดสรร อย่างไรก็ตามหากดินที่ถมลงไปในบ่อไม่ได้มีการ
ปรับปรุงสภาพให้เหมาะสม จะทําให้เกิดปัญหาการทรุดตัวหลังการก่อสร้างอย่างรุนแรงตามมา การทรุดตัวนี้จะมี
ค่ามากกว่าการทรุดตัวของชั้นดินเหนียวอ่อนธรรมชาติมากเพราะความหนาของดินถมบ่อจะหนากว่าชั้นดินเหนียว
อ่อนตามธรรมชาติ เนื่องจากการขุดบ่อดินจะขุดถึงชั้นดินเหนียวแข็งดังนั้นการถมกลับก็จะหนาเท่าๆกันกับความ
ลึกการขุด อีกทั้งดินถมบ่อยังเป็นดินเหนียวที่ถูกถมใหม่ ยังไม่ได้ทันที่จะมีการทรุดตัวเนื่องจากน้ําหนักมวลดินเอง
(Self-weight consolidation) ทําให้ดินมีความอ่อนและสามารถทรุดตัวได้มาก ตัวอย่างได้แก่กรณีปัญหาการทรุด
ตัวของพื้นดินของหมู่บ้านรินทร์ทอง อ.ลําลูกกา จ.ปทุมธานี โดยพื้นดินรอบบ้าน ที่จอดรถ และถนน มีการทรุดตัว
มากกว่าหนึ่งเมตร พื้นที่ยุบเป็นเป็นแอ่ง โดยตัวบ้านที่อยู่บนเสาเข็มไม่ได้ทรุดตัวตาม (รูปที่ 18) ในฤดูฝนจะเกิดน้ํา
ท่วมขังจนผู้อยู่อาศัยต้องใช้วิธีพายเรือเข้าบ้าน เมื่อระดับพื้นดินทรุดตัวลงไป แต่ตอม่อ ฐานราก และเสาเข็มไม่ทรุด
ตาม จะทําให้โครงสร้างเหล่านั้นลอยอยู่เหนือพื้นดิน ทําให้คอนกรีตและเหล็กเสริมผุกร่อนได้เร็วขึ้นจนเสื่อมสภาพ
และทําให้อาคารพิบัติลงมา (รูปที่ 19) ทั้งนี้เนื่องจากการถมดินลงไปในบ่อเป็นเรื่องที่ไม่ได้ปฏิบัติกันบ่อยๆ จึงยัง
ไม่ได้มีมาตรฐานมาทําการควบคุม อย่างไรก็ตามจากประสบประการณ์ของผู้เขียนในเรื่องนี้ จึงขอเสนอประเด็น
คําถามและข้อแนะนําที่ควรนําไปพิจารณาและปฏิบัติที่เหมาะสมดังต่อไปนี้

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 14


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

รูปที่ 17 การขุดบ่อดินเพื่อการพาณิชย์ ส่วนใหญ่จะขุดถึงชั้นดินเหนียวแข็ง บางกรณีขุดใกล้ชนั้ ดินทราย


ก็อาจจะพบปัญหาน้าํ ใต้ดนิ ดันตัวทะลุชนั้ ดินเหนียวแข็งเข้ามาที่ก้นบ่อดินได้
ภาพโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

รูปที่ 18 การทรุดตัวของทีจ่ อดรถในพืน้ ที่หมู่บ้านรินทร์ทอง จ.ปทุมธานี


ภาพโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 15


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

รูปที่ 19 อาคารเกิดการทรุดตัว หลังจากพื้นดินได้ทรุดตัวลงไป


ที่มา: สถานีข่าวโทรทัศน์ TNN24 (2560)

1. ใช้ทรายถมลงไปในบ่อได้หรือไม่เพราะทรายไม่มีการทรุดตัวระยะยาว: ถ้าใช้ทรายถมอาจจะมี
ปัญหาเรื่องการตอกเสาเข็มที่อาจจะตอกไม่ลง

2. สูบน้ําออกแล้วค่อยถมได้หรือไม่: เมื่อสูบน้ําออกจะมีโอกาสสูงที่ดินขอบบ่อจะสไลด์พิบัติ ทําให้


ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างข้างเคียงเสียหาย ทั้งนี้ความอันตรายขึ้นอยู่กับความลึกของบ่อและระยะห่างของขอบบ่อกับ
พื้นที่ข้างเคียงหรือสิ่งปลูกสร้างข้างเคียงที่อาจจะเป็นอันตราย ถ้าเป็นบ่อดินขนาดลึกที่การขุดเกินความหนาของชั้น
ดินเหนียวอ่อน (ความหนาประมาณ 8-12 เมตร) การพิบัติที่จะเกิดขึ้นจะมีระยะความเสียหายจากขอบบ่ออย่าง
น้อยเท่ากับความหนาของชั้นดินเหนียวอ่อน ส่วนกรณีที่การขุดตื้นกว่าความหนาของชั้นดินเหนียวอ่อน ระยะความ
เสียหายจากขอบบ่อจะมีค่าอย่างน้อยเท่ากับความลึกที่มีการขุด (รูปที่ 20) (วารุณีและสุทธิศักดิ์, 2556)

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 16


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

Soft Clay

Medium to stiff clay

รูปที่ 20 การพิบัติของขอบบ่อดิน เกิดขึน้ ได้ทั้งระหว่างการขุดและเมือ่ บ่อถูกทิ้งร้างมานาน


วงการพิบัติจะเกิดขึ้นในส่วนของชั้นดินเหนียวอ่อน
ภาพโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, รูปกลางโดย: ดัดแปลงจาก วารุณีและสุทธิศักดิ์ (2556)

3. ถมดินลงไปในบ่อน้ําแล้วรอให้ดินทรุดตัวหลายๆ ปีแล้วค่อยมาก่อสร้างได้หรือไม่: การถมดินลง


ไปในบ่อแล้วทิ้งไว้หรือจะถมดินเพิ่มด้านบนแล้วรอให้ทรุดตัว ในทางปฏิบัติไม่ได้ช่วยให้การทรุดตัวในอนาคตไม่
เกิดขึ้น หรือมีการทรุดตัวที่น้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากดินที่ถมลงไปในบ่อเป็นดินเหนียวที่ผสมไปกับน้ําทําให้มีความอ่อน
ตัวสูงและจากการถมที่ไม่ได้มีการบดอัด จะทําให้มีช่องว่างระหว่างก้อนดินที่ถมลงไป รวมทั้งในตัวเนื้อดินเองก็ทรุด
ตัวได้มาก นอกจากนั้นมวลดินที่ถมลงไปในน้ําจะถูกน้ําช่วยพยุงทําให้แรงกดทับในมวลดินกันเองมีค่าต่ํา หรือ
Effective stress ต่ํานั่นเอง ลักษณะเช่นนี้จะทําให้การทรุดตัวเกิดขึ้นไม่มากในช่วงเวลาที่ทิ้งรอการทรุดตัว และ
ถึงแม้ว่าจะถมดินด้านบนเพิ่มเพื่อให้มีน้ําหนักกระทํามาก แต่การทรุดตัวทั้งหมดก็จะใช้เวลานานมาก มากในระดับ
ต้องทิ้งไว้เกินห้าสิบปีหรือมากกว่านั้น โดยการทรุดตัวจะค่อยทรุดช้าๆ แต่จะทรุดต่อเนื่อง ซึ่งค่าอัตราการทรุดตัว

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 17


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

ต่อปีที่วัดได้อาจจะไม่มาก ทําให้อาจจะเข้าใจผิดว่าไม่มีการทรุดตัวหรือการทรุดตัวน้อย แต่เมื่อถมดินและก่อสร้าง


สิ่งปลูกสร้างด้านบน การทรุดตัวที่ต่อเนื่องและสะสมก็จะทําให้โครงสร้างด้านบนเสียหาย และก็ต้องซ่อมกันอยู่
เรื่อยๆเพราะการทรุดตัวไม่ได้หยุดหายไป

5. ความต่างระหว่างดินเหนียวอ่อนธรรมชาติกับดินถมในบ่อดิน
ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯเป็นดินเหนียวธรรมชาติที่กําเนิดจากการตกตะกอนของเม็ดดินทับถมกันใน
ทะเล ดินมีโครงสร้างเม็ดดินที่เป็นระบบ การที่เม็ดดินค่อยๆตกตะกอนทับถมนั้นทําให้ไม่เกิดแรงดันน้ําส่วนเกินใน
มวลดิน และทําให้ค่าการไหลซึมหรือการระบายน้ําในแนวราบสูงกว่าในแนวดิ่ง ในขณะที่ดินที่ถมลงไปในบ่อนั้นไม่
มีโครงสร้างของมวลดินอย่างชัดเจน การที่กําเนิดจากการถูกถมลงมา มวลดินจะถูกทับถมกันอย่างเร็วจนไม่มีเวลา
ที่จะระบายแรงดันน้ําส่วนเกินออกได้ทัน ในกรณีที่ถมทิ้งไว้สักช่วงเวลาหนึ่ง แรงดันน้ําส่วนเกินอาจจะหายไป แต่ก็
จะมีแรงดันเพิ่มขึ้นมาใหม่เมื่อมีการถมที่ด้านบนเพื่อทําโครงการ (รูปที่ 21) นอกจากนั้นดินที่ถูกถมลงในบ่อยังมี
โอกาสที่จะมีช่องว่างระหว่างก้อนดินแต่ละก้อนที่ถมลงไปในบ่อ ซึ่งอาจจะยุบตัวได้มาก รวมไปถึงคุณสมบัติของดิน
จะมีความแปรปรวนสูง ดังนั้นถ้าหากเทียบคุณสมบัติของชั้นดินเหนียวอ่อนธรรมชาติกับดินที่ถูกถมลงไปในบ่อน้ํา
หรือบ่อดินเก่านั้น พื้นที่ที่ถมบ่อดินเก่านั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้มากกว่าและระยะเวลาที่จะเกิดการ
ทรุดตัวก็อาจจะยาวนานกว่า ทั้งนี้สามารถเขียนสมการของการทรุดตัวรวมของลักษณะดินทั้งสองประเภทได้
ดังต่อไปนี้

แรงดันน้ําที่เพิ่มขึ้นเนื่องจาก
การถมที่เพื่อทําโครงการ

เมื่อเวลาผ่านไปแรงดันน้ําจะ
แรงดันน้ําที่เพิ่มขึ้นเนื่องจาก
ลดลง โดยเฉพาะหากอยู่ใกล้
การถมที่เพื่อทําโครงการ
ชั้นทราย

รูปที่ 21 การเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ําในมวลดินที่ถมลงในบ่อดิน เมื่อการถมที่


เพื่อทําโครงการเหนือดินถมบ่อดังกล่าวแรงดันน้าํ ในมวลดินจะเพิ่มขึน้ และส่งผลต่อการทรุดตัวในระยะยาว
ที่มา: ดัดแปลงจาก ศุภณัฐและสุทธิศักดิ์ (2559)

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 18


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

การทรุดตัวเมื่อถมดินเหนือชั้นดินเหนียวธรรมชาติ = การทรุดตัวของชั้นดินธรรมชาติเนื่องจากน้ําหนัก
ดินถม (consolidation settlement) + การยุบของดินถมด้านบนจากฝน (wetting collapse)+การทรุดตัวของ
พื้นดินเนื่องจากากรสูบน้ําบาดาล

การทรุดตัวเมื่อถมดินเหนือดินที่ถมลงไปในบ่อน้ํา = การทรุดตัวเนื่องจากน้ําหนักของดินที่ถูกถมลงไปใน
บ่อเอง (self-weight consolidation) + การทรุดตัวของชั้นดินที่ถมลงในบ่อเนื่องจากน้ําหนักดินถม
(consolidation settlement) + การยุบของดินถมด้านบนจากฝน (wetting collapse) + การทรุดตัวของพื้นดิน
เนื่องจากากรสูบน้ําบาดาล

ซึ่งการจะคํานวณค่าการทรุดตัวของดินเหนียวที่ถมลงไปในบ่อดินนั้นค่อนข้างยาก เพราะมีปัจจัยหลาย
ปัจจัยที่ไม่ชัดเจนได้แก่
 ไม่ทราบพฤติกรรมการทรุดตัวของช่องว่างระหว่างก้อนดิน
 พฤติกรรมการระบายน้ําของดินระหว่างการ consolidate
 ค่าความแปรปรวนของคุณสมบัติการทรุดตัวของดิน

จากข้อมูลการเจาะสํารวจดินที่อยู่ในบ่อดินที่ถูกถมกลับพบว่าชั้นดินในระดับที่ใกล้ก้นบ่อจะมีความอ่อน
มากกว่าชั้นดินที่อยู่ด้านบน ซึ่งแตกต่างกับดินธรรมชาติที่ดินชั้นบนจะอ่อนที่สุดและเมื่อลึกลงไปดินจะมีความ
แข็งแรงมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการถมดินในบ่อจะเริ่มถมจากขอบบ่อ ดินอ่อนและเลนก้นบ่อจะไหลลงไปจุดที่ลึก
ที่สุดก่อนและเริ่มตื้นเขินขึ้นจนดินส่วนบนที่ใช้รถย่ําให้แน่นตัวจะมาถมปิด ดินส่วนที่ลึกจึงอ่อนตัว

6. การปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อนและดินถมบ่อ
เพื่อแก้ปัญหาการก่อสร้างบนพื้นที่ดินเหนียวอ่อนและพื้นที่ดินถมบ่อ สําหรับการก่อสร้างถนน งานถมที่
และงานขุด จําเป็นต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของฐานรากดินเหนียวอ่อนให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น เพราะเป็นทางออก
ของการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด โดยเมื่อพิจารณาเงินลงทุนจะรู้สึกว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปฏิบัติปกติ แต่
ถ้าหากมองถึงค่าใช้จ่ายในระยะยาว จะเห็นว่าราคารวมจะประหยัดกว่ามาก ที่สําคัญคือคุณภาพของโครงการที่ดี
จะส่งผลต่อภาพพจน์องค์กรในระยะยาว ทั้งนี้ในปัจจุบันเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพดินนั้นได้ใช้ในประเทศไทยมา
อย่างต่อเนื่อง ราคาการก่อสร้างจึงไม่ได้สูงเหมือนในอดีต โดยเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพดินนั้นมีหลายเทคนิคแต่
หลักการใหญ่ๆมีสองหลักการประกอบด้วย

1. การถ่า ยน้ํ าหนักของ ดินถมหรือสิ่ง ปลูกสร้ า ง ลงไปสู่ชั้ นดิน ที่แข็ งแรงและทรุดตั วน้อยกว่า
เทคนิคนี้คือการสร้างเสาเข็มปูพรมเพื่อถ่ายน้ําหนักผ่านชั้นดินอ่อนลงสู่ชั้นดินแข็ง ซึ่งในอดีตก็มีหลายโครงการที่ใช้
เทคนิคนี้ ได้แก่ การตอกเสาเข็มคอนกรีตปูพรมเพื่อก่อสร้างถนนสายธนบุรี-ปากท่อ (รูปที่ 22) ซึ่งราคาค่าก่อสร้าง
ค่อนข้างสูง และยังพบปัญหาหลังจากการใช้งานไปหลายปี เนื่องจากชั้นดินเกิดการทรุดตัวระหว่างหัวเสาเข็มใต้ชั้น
กระจายแรง (Load transfer layer) ทําให้เกิดโพรงใต้ชั้นดังกล่าว สุดท้ายชั้นกระจายแรงก็หักและยุบลงไปหรือไม่

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 19


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

ก็เกิดการเฉือนทะลุของเสาเข็ม หรือเพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงจึงมีการนําเสาเข็มดินซีเมนต์มาใช้แทนเสาเข็ม
คอนกรี ต โดยถนนสายแรกที่ ใ ช้ เ ทคนิ ค นี้ คื อ ถนนสายบางนา-บางปะกง (Soralump, 1996,
Ruenkrairergsa,1998) (รูปที่ 23) ต่อจากนั้นก็ได้ใช้ในถนนอีกหลายสายเช่น ถนนสายกิ่งแก้ว ถนนวงแหวนรอบ
นอก รวมทั้งบางส่วนของถนนมอเตอร์เวย์ เป็นต้น ซึ่งโดยรวมก็สามารถใช้งานได้ดีแต่ก็ยังพบปัญหาการยุบตัวที่ไม่
สม่ําเสมอของดินระหว่างเสาเข็มดินซีเมนต์ และบางกรณีพบการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของผิวทางบริเวณขอบถนน
และลาดไหล่ทาง ที่มีการกระจายหน่วยแรงลงสู่เสาเข็มดินซีเมนต์ไม่เท่ากัน (รูปที่ 24)

รูปที่ 22 การลดการทรุดตัวของถนนของถนนสานธนบุรี-ปากท่อ โดยการใช้เสาเข็มคอนกรีตปูพรม


ที่มา: Siripanoosatien (1993)

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 20


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

รูปที่ 23 soil cement column


ที่มา: Soralump (1996), Ruenkrairergsa (1998)

ส่วนที่อยู่ในพื้นที่ Soil-cement column

ส่วนที่อยู่นอกพื้นที่ Soil-cement column

รูปที่ 24 การเสียหายของผิวทางคอนกรีตของถนนกิ่งแก้ว ที่ทรุดต่างระดับกันระหว่าง


ส่วนที่อยูบ่ นเสาเข็มดินซีเมนต์กับส่วนที่วางอยู่บนพืน้ ดินเดิม ทําให้พนื้ ทางแตก
ภาพโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 21


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

2. การเร่งการทรุดตัวและการกดทับด้วยน้ําหนักกดทับล่วงหน้า (Pre-loading) ซึ่งหลักการคือการ


กดทับดินเหนียวอ่อนด้วยน้ําหนักที่มากกว่าน้ําหนักที่จะใช้งานจริง แล้วเร่งให้เกิดการทรุดตัวโดยการติดตั้งแถบ
ระบายน้ําในแนวดิ่ง (Prefabricated Vertical Drain, PVD) (รูปที่ 25) เพื่อเร่งระบายน้ําออก ทําให้เกิดการทรุด
ตัวไปตามน้ําหนักที่ Preload เมื่อการทรุดตัวสิ้นสุดจึงนําเอาน้ําหนักที่ Preload ออก ให้เหลือแต่น้ําหนักสุดท้าย
ของโครงสร้างถาวร (รวมน้ําหนักดินที่ทรุดจมลงไปด้วย) ซึ่งจะต้องน้อยกว่าน้ําหนักที่ใช้ในการ Preload ตั้งแต่แรก
(รูปที่ 26) หากจะอธิบายในทางปฐพีกลศาสตร์อย่างง่ายคือเป็นการเพิ่ม Pre-consolidation pressure ให้สูงขึ้น
แล้ ว unload ให้ น้ํ า หนั ก กดทั บ สุ ด ท้ า ยน้ อ ยกว่ า ค่ า นั้ น ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ ชั้ น ดิ น มี ส ภาพอยู่ ใ นช่ ว งที่ เ ป็ น Over
consolidated (รูปที่ 27) วิธีนี้เป็นวิธีที่ทําให้ชั้นดินถูกปรับปรุงได้อย่างสม่ําเสมอ เพราะบริเวณที่ดินอ่อนก็จะทรุด
ตัวมาก บริเวณที่ดินแข็งกว่าก็จะทรุดตัวน้อย แต่โดยรวมทุกพื้นที่จะมี pre-consolidation pressure ใกล้เคียงกัน
ถนนที่สร้างด้วยเทคนิคนี้จึงราบเรียบสม่ําเสมอ เช่นถนนข้างทางวิ่งของสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
วิธีนี้มีข้อด้อยได้แก่ ราคาการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นค่าดินถมเพื่อการ Preload ซึ่งต้องวางแผนเพื่อนําดินถมนี้ไปใช้
ต่อให้ดี เช่นการปรับปรุงฐานรากทางวิ่งของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งราคาหินคลุกที่ใช้เป็นน้ําหนักกดทับล่วงหน้านั้น
เป็นราคาที่สูง แต่หินคลุกดังกล่าวก็ได้ถูกนําไปใช้เป็นโครงสร้างชั้นทางวิ่งต่อไป ข้อด้อยอีกประการของวิธีนี้คือหาก
นําไปใช้กับชั้นดินเหนียวที่อ่อนมากและหนา จะทําให้ถมดิน preload ในแต่ละขั้นสูงมากไม่ได้เพราะดินจะพิบัติจึง
ต้องมีการถมหลายขั้น ทําให้การปรับปรุงดินฐานรากใช้เวลานาน นอกจากนั้น การทรุดตัวที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้เกิด
จากการ Consolidate ของดินเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเกิด Lateral shear flow ของดินเหนียวอ่อน ทําให้ดิน
ถมที่ใช้กดทับจมลงไปในพื้นดินเดิม โดยที่ดินฐานรากไม่ได้ถูก Consolidate อย่างที่ควรจะเป็น หรือถึงแม้จะไม่
เกิด Lateral shear flow แต่หากดินฐานรากอ่อนและทรุดตัวจากน้ําหนักกดทับได้มาก ดินถมกดทับก็จะทรุดจม
ลงไปในพื้นดินและไม่สามารถเอาออกได้ แทนที่จะกลายเป็นการ Preload ก็จะกลายเป็นน้ําหนักถาวรและยังจะ
ทํ า ให้ เ กิ ด การทรุ ด ตั ว ได้ ต่ อ ถึ ง แม้ จ ะทํ า การปรั บ ปรุ ง ดิ น ฐานรากเสร็ จ แล้ ว (รู ป ที่ 28) เพื่ อ ลดปั ญ หาและเพิ่ ม
ประสิทธิภาพของการปรับปรุงฐานรากดินอ่อนจึงมีการใช้แรงดันสุญญากาศมาใช้เพื่อทดแทนดินถมกดทับ ดังจะได้
กล่าวในรายละเอียดต่อไป

เทคนิค PVD นี้ได้ถูกนํามาใช้ในหลายโครงการในประเทศไทย ได้แก่ ถนนสายมอเตอร์เวย์ ถนนวงแหวน


รอบนอก และสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น ค่าการทรุดตัวระหว่างการปรับปรุงดินอ่อนของโครงการก่อสร้างถนน
สายมอเตอร์เวย์และสนามบินสุวรรณภูมิ แสดงดังรูปที่ 29 และ 30 ตามลําดับ

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 22


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM
6 .8 M. 1 5 .4 M. 8 .4 M. 8 0 M. 8 .4 M. 1 5 .4 M. 6 .8 M.

SURCHARGE LOAD
(PRELOADING EMBANKMENT)
3 .8 M.
Subdrain Pipe

1 .7 M. SAND DRAIN BLANKET


1 .5 M.

Vertical Drain
SOFT
CLAY Soil Particles
Before

Pore Water

Consolidation
+
Vertical Drain
After Pore Water Dissipated

Soil Strength Increased

Settlement Occurred

MEDIUM CLAY/
STIFF CLAY

รูปที่ 25 การปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อนโดยการ Preload และเร่งการทรุดตัวด้วย Vertical drains


ที่มา: MAA Consultants Co., Ltd.

1. การถมดินเพื่อเป็นน้าํ หนักกดทับล่วงหน้า (preload)

2. ดินถมทรุดตัวลงจนกระบวนการ consolidation สิ้นสุด

3. นําเอาดินถมที่ใช้กดทับล่วงหน้าออก

4. ทําการก่อสร้างโครงสร้างถาวร โดยน้ําหนักโครงสร้างถาวรรวมกับดินที่
ทรุดจมลงไป จะต้องน้อยกว่าน้ําหนักที่ใช้ในการ preload

รูปที่ 26 หลักการการ preload เพื่อลดการทรุดตัวหลังการก่อสร้าง

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 23


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

a-b-c : ถมดินเพิ่มน้ําหนัก preload เกิดการ


a ทรุดตัว effective stress ในดินเพิ่มขึ้น
e d : นําดิน preload ส่วนที่อยู่เหนือระดับพื้น
b
โครงการออก ดินจะ rebound บางส่วน
e : ก่อสร้างโครงสร้างถาวร ให้มีน้ําหนักน้อยกว่า
น้ําหนักดินที่ใช้ preload พื้นดินจะทรุดตัวไม่
มาก และยังคงอยู่ในช่วง overconsolidate

d
e c

Log(p’)

รูปที่ 27 หลักการ preload อธิบายโดย e-log(p’) curve

1. การถมดินเพื่อเป็นน้ําหนักกดทับล่วงหน้า (preload)

2. ดินถมเกิดการทรุดตัวจมลงไปในดินเหนียวอ่อนด้านล่าง

3. ไม่ได้มีการนําดิน Preload ออก ก่อสร้างโครงสร้างถาวรต่อเนื่อง กรณีนี้สภาพดินจะ


ยังคงเป็น Normal consolidate จะเกิดการทรุดตัวหลังการก่อสร้างที่มากได้

รูปที่ 28 การก่อสร้างที่ไม่ได้มีการนําดินถมออก แต่สร้างสิ่งก่อสร้างถาวรเช่นชัน้ พืน้ ทางทับลงไปบนดินถม


กรณีนี้ชนั้ ดินจะยังคงมีสถานะเป็น NC ทําให้จะยังคงมีการทรุดตัวต่อไป

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 24


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

GERD

รูปที่ 29 การทรุดตัวระหว่างการปรับปรุงคุณภาพดินของถนนสายกรุงเทพฯ-ชลบุรหี รือมอเตอร์เวย์


ที่มา: สุทธิศักดิ์ และคณะ (2549)

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 25


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM
Total Fill Height(m)
5
Varied 1~3 months
4 SB-Sand Blanket SF of East Runway SF(2nd Stage)
SD-Sand Drainage
SF-Surcharge Fill SF(1st Stage)

waiting period
3
PVD

6-month
2
SD
1 SB
SB
0
0 60 120 180 240 300 360 420 480 540 600 660 720

0 Time, Days

200 1.6m (max) in 660 days


400 LEGENDS:
SF of West Runway
600
SF of East Runway
Settlem ent(mm)

800 GIAP Design Curve


under 75 kPa
West Runway
1000 Minimum Settlement
Maximum Settlement
1200
Average Settlement
East Runway
Average Settlement
1400 (Section 1)

1600

1800
Note: For West Runway, Waiting period of final stage is varied from 1 to 3 months after 6-month schedule
due to rate of settlement over the criterion.

Observed Field Settlement with time at East Runway


Comparing with West Runway Under 75 kPa Loading

รูปที่ 30 การทรุดตัวของทางวิ่งสนามบินสุวรรณภูมิระหว่างการปรับปรุงคุณภาพดินฐานราก
ที่มา: MAA Consultants Co., Ltd.

เทคนิคการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อนนั้นมีข้อดีข้อเด่นและข้อด้อยที่ต่างกัน การนําไปใช้จึงจะต้อง
พิจารณาองค์ประกอบหลายๆด้านให้รอบคอบ ทั้งในเรื่องของข้อจํากัดของเวลาในการก่อสร้าง เช่นการใช้กับการ
ปรับปรุงฐานรากถนนที่เปิดใช้งานไปแล้วคงจะต้องการใช้วิธีการปรับปรุงที่เสร็จสิ้นเร็วที่สุด ซึ่งต่างจากการก่อสร้าง
ถนนสายใหม่ที่อาจจะพิจารณาประเด็นเรื่องราคาการก่อสร้างเป็นอันดับแรก หรือประเด็นข้อจํากัดในเรื่องการตั้ง
งบประมาณในการบํารุงรักษาในระยะยาวหรือความสําคัญของการใช้พื้นที่ ที่อาจจะต้องเลือกวิธีที่จัดการกับการ

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 26


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

ทรุดตัวภายหลังการก่อสร้างได้ดี นอกจากนั้นการเลือกเทคนิคการปรับปรุงดินฐานรากยังต้องดูบริบทความพร้อม
ความเข้าใจของบุคลากร-วิศวกรที่จะตรวจรับงาน และเรื่องอื่นๆ ดังได้สรุปไว้ในตารางที่ 1

รูปที่ 31 เปรียบเทียบการทรุดตัวระหว่างและหลังการก่อสร้างด้วยวิธี PVD และ Soil Cement


Column (SCC) ของถนนสายมอเตอร์เวย์ (PVD) และถนนายบางนา-บางปะกง (SCC) นอกจากนั้นรูปที่ 32 แสดง
ข้อจํากัดของการกระจายน้ําหนักการ Preload –ของงานถนนเทียบกับงานสนามบินหรืองานถมที่ ซึ่งจะทําให้การ
ปรับปรุงดินในงานถนนอาจจะไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรด้วยวิธีการ preload ปกติ

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 27


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบวิธีการปรับปรุงคุณภาพดินในด้านต่างๆ
เงื่อนไข/วิธี Soil replacement Concrete pile SCC PVD VCM
ความหนาดินอ่อน 3-5 ม. เหมาะสมที่สุด ทําได้ ทําได้ ทําได้ ทําได้
ความหนาดินอ่อน 5-18 ม. ไม่เหมาะสม เหมาะสม เหมาะสมที่สุด เหมาะสมที่สุด เหมาะสมที่สุด
ความหนาดินอ่อน 18-25 ม. ไม่เหมาะสม ทําได้แต่อาจจะแพง ทําได้ยาก ทําได้ยาก เหมาะสมที่สุด
เทคนิคในการก่อสร้างและคุมงาน ไม่ซับซ้อน ไม่ซับซ้อน ปานกลาง ซับซ้อน ซับซ้อน
เป็นเทคนิคที่แพร่หลายในประเทศ ใช่ ใช่ ใช่ ปานกลาง เพิ่งเริ่มเข้ามาใช้
เป็นเทคนิคที่แพร่หลายในต่างประเทศ ใช่ ไม่นิยม/ราคาสูง ใช่ ใช่ ใช่
การลดการทรุดตัวของดินถมในระยะยาว - เหมาะสม เหมาะสม เหมาะสม เหมาะสม
งานป้องกันงานขุด/ลาดชัน - แล้วแต่กรณี แล้วแต่กรณี เหมาะสม เหมาะสม
สถิติการพบปัญหาในระยะยาว ไม่มี มีกรณีที่พบปัญหา มีกรณีที่พบปัญหา มีกรณีที่พบปัญหา ไม่มี
ผลกระทบต่อที่ดินข้างเคียง ไม่มี ไม่มี ไม่มี ดินเคลื่อนตัวออก ดินเคลื่อนตัวเข้า
ความเร็วในการก่อสร้าง ช้า เร็ว เร็ว ช้า เร็ว
ราคาค่าก่อสร้างรวมทั้งระบบ - 3.5x 3x 2x x
ข้อจํากัด ดินอ่อนหนามากไม่ได้ ราคาสูง, อาจเกิดการทรุด คุณภาพขึ้นอยู่กับการควบคุมงาน, มี ไม่เหมาะกับดินที่อ่อนมากหรือมีการ พื้นที่ข้างเคียงเคียงอาจจะได้รับ
ตัวไม่เท่ากันระหว่างเข็ม ปัญหาการทรุดตัวแตกต่างกัน consolidate ได้ยาก, ไม่เหมาะกับ ผลกระทบจากแรง vacuum, ต้อง
ระหว่างส่วนที่มีและไม่มีเสาเข็ม, ไม่ ชั้นดินอ่อนที่หนามาก เพราะ stress มีการเว้นระยะกับที่ดินหรือสิ่งปลูก
เหมาะสมกับดินที่มีความเป็นอินทรีย์ จะส่งผลไปได้ไม่ถึง, การ preload ไม่ สร้างข้างเคียง
สารสูง, ระยะยาวมีปัญหาเรื่อง creep ถูกต้องทําให้ไม่ได้แก้ปัญหา
ข้อเด่น ถ้าทําได้จะประหยัด ก่อสร้างได้เร็ว แก้ปัญหา ก่อสร้างได้เร็ว แก้ปัญหาการทรุดตัว แก้ปัญหาการทรุดตัวรวมและการทรุด ก่อสร้างได้เร็ว สามารถแก้ปัญหา
การทรุดตัวโดยรวมได้ รวมได้ ตัวแตกต่างกันได้ดี การทรุดตัวทั้งการทรุดตัวรวมและ
การทรุดตัวต่างกันในระยะยาวได้ดี
หมายเหตุ
Soil replacement คือการขุดดินอ่ออกแล้วบดอัดดินใหม่แทนที่
Concrete pile การใช้เสาเข็มตอกปูพรม
Soil-cement column (SCC) การใช้เสาเข็มดิน-ซีเมนต์ปูพรม
PVD with preloading (PVD) Preload ด้วยดินถมและเร่งการทรุดตัวด้วย PVD
Vacuum Consolidation (VCM) Preload ด้วย Vacuumและเร่งการทรุดตัวโดย PVD

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

Period (days)

0 100 200 300 400 500 600 700 800 900 1000 1100 1200 1300 1400 1500 1600 1700 1800 1900 2000 2100 2200 2300 2400 2500 2600
0
0.26 m.
-50
Bangna - bangpakong / SCC
-100

-150
Settlement (cm.)

-200

-250
Observed Sett. (HW No.7)
1.24 m.
-300 Predicted Sett. (HW Ho.7)

Observed Sett. (HW No.34 / sta 29+992)


-350
Predicted Sett. (HW No.34 / sta 29+992) Bangkok – Chonburi (new) / PVD
-400 GERD

รูปที่ 31 เปรียบเทียบการทรุดตัวระหว่างและหลังการก่อสร้างด้วยวิธี PVD และ Cement Column –ของ


ถนนสายมอเตอร์เวย์ (PVD) และถนนายบางนา-บางปะกอง (SCC)

ที่มา: สุทธิศักดิ์ และคณะ (2549)

CL CL
 

q H q

Induce Stress Induce Stress

Overburden Stress Overburden Stress


q
0.1q
ก) งานสนามบินหรืองานถมที่ ข) งานถนน

รูปที่ 32 ข้อจํากัดของการกระจายน้ําหนักการ Preload -ของงานถนนเทียบกับงานสนามบินหรืองานถมที่

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

7. การปรับปรุงดินฐานรากด้วยวิธีสุญญากาศ (Vacuum consolidation method, VCM)


ระบบ Vacuum consolidation method คือระบบที่ใช้แรงดันสุญญากาศมาทดแทนการใช้ดินถมมา
เป็นน้ําหนักกดทับล่วงหน้า วิธีการคือการใช้ปั๊มสุญญากาศดูดอากาศและน้ําออกจากชั้นดินเหนียวอ่อนผ่านทาง
แผ่น PVD โดยจะทําการการปูแผ่น Geomembrane ปิดทับชั้นดินที่ต้องการปรับปรุง แล้วต่อท่อเข้าปั๊ม
สุญญากาศ (รูปที่ 33) โดยแผ่น Geomembrane จะต้องมีการ Seal ขอบโดยการขุดร่องเพื่อฝังชายแผ่นลงไปใน
ดิน เพื่อไม่ให้มีการรั่วของระบบสุญญากาศ เมื่อระบบได้ทําการติดตั้งอย่างสมบูรณ์ ใต้แผ่น Geomembrane จะมี
แรงดันที่ต่ํา กว่าแรงดั นบรรยากาศ ทํ า ให้แรงดั นบรรยากาศจะกดทับเหนื อแผ่ น Geomembrane ยิ่ งแรงดั น
สุญญากาศยิ่งมาก (ติดลบมาก) แรงกดทับจากแรงดันบรรยากาศก็จะยิ่งมากตาม (รูปที่ 34) ทั้งนี้ก่อนที่จะติดตั้ง
แผ่น PVD จะต้องมีการสร้างชั้น Platform โดยการปูแผ่น Geotextile เหนือพื้นดินธรรมชาติที่ได้ทําการปรับ
เกลี่ยแล้ว จากนั้นจึงถมด้วยทรายที่ระบายน้ําได้ดีให้หนาประมาณ 0.5 เมตร เพื่อให้เครื่องจักรที่ติดตั้ง PVD
สามารถที่จะขึ้นไปทํางานได้อย่างปลอดภัย และชั้นทรายนี้ก็ใช้เป็นชั้นที่จะระบายน้ําที่ออกมาจากแผ่น PVD เพื่อ
ระบายออกไปยังปั๊มสุญญากาศ นอกจากนั้นเพื่อเร่งการทรุดตัวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เราอาจจะเพิ่มแรงกด
ทับโดยการถมดินเหนือแผ่น Geomembrane และสามารถจะใช้ชั้นดินดังกล่าวเป็นชั้นดินถมใช้งานได้

ทั้งนี้การใช้ VCM นั้นได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยจากงานวิจัยเพื่อการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ โดย


ได้ทําแปลงทดลองดังรูปที่ 35 และมีการนําไปใช้ก่อสร้างจริงที่สนามบินนครศรีธรรมราชและสนามบินสุวรรณภูมิ

รูปที่ 33 การปรับปรุงดินอ่อนด้วยระบบสุญญากาศ
ที่มา: Courtesy of Geoharbour Co. Ltd.

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 30


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

แรงดันบรรยากาศ (+)

แรงดันสูญญากาศ (-)

รูปที่ 34 แรงกดทับเนื่องจากแรงดันบรรยากาศ
วาดโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

รูปที่ 35 แปลงทดลอง VCM ในสนามบินสุวรรณภูมิ (พ.ศ. 2539)


ภาพโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ รูปวาดโดย: Dennes T. Bergado

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 31


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

8. ข้อเด่นของการปรับปรุงฐานรากดินเหนียวอ่อนด้วยวิธี VCM
1. ประหยัดค่าดินถม โดยเมื่อเกิดแรงดันสุญญากาศภายใต้แผ่น Geomembrane แรงดันบรรยากาศ
ก็จะกดทับแผ่น Geomembrane เหมือนการเพิ่มน้ําหนักดินถมกดทับเพื่อให้น้ําระบายออกจากดิน เพียงแต่ใน
กรณีนี้น้ําหนักกดทับที่ได้มาโดยไม่ต้องซื้อดินมาถม ยิ่งความดันสุญญากาศยิ่งมากก็ยิ่งเหมือนน้ําหนักกดทับมีค่า
มากตามขึ้นมา เช่นหากความดันสุญญากาศเท่ากับ -80 kPa ก็จะเทียบเท่ากับดินถมบดอัดแน่นสูง 4 เมตร (สมมุติ
คิด soil density = 20 kN/m3) ซึ่งในความเป็นจริงหากจะต้องเอาดินมาถมสูงถึง 4 เมตรก็คงจะมีค่าใช้จ่าย
พอสมควร รูปที่ 36 แสดงการเปรียบเทียบดังกล่าวในกรณีความดันสุญญากาศเท่ากับ -70kPa
Stress or pore pressure (kPa) Stress or pore pressure (kPa)
-100 0 100 200 300 -100 0 100 200 300
0

2
Depth (m)

10

12

รูปที่ 36 แรงดันสุญญากาศเทียบเท่ากับการถมดินสูง

วาดโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

2. ลดระยะเวลาการปรับปรุงดินฐานราก โดยในกรณีการ Preload ปกติเราก็คงจะไม่สามารถถมดิน


เพียงครั้งเดียวให้สูง 4 เมตรได้ เพราะชั้นดินฐานรากที่เป็นดินเหนียวอ่อนจะรับแรงไม่ไหวและพิบัติลง ดังนั้นการ
ถมดินจึงจะต้องถมเป็นขั้นๆไป โดยแต่ละขั้นต้องรอให้ดินฐานรากยุบตัวคายน้ําออกมาเพื่อให้ดินมีกําลังรับแรงที่จะ
สูงพอที่จะถมดินชั้นถัดไปได้ นี่คือเหตุผลที่การถมดินกดทับเพื่อเร่งการทรุดตัวแบบปกติถึงได้ใช้เวลานาน แต่หาก
เปรียบเทียบกับระบบ VCM น้ําหนักกดทับที่เทียบเท่ากับการถมดินสูงสามารถเกิดขึ้นได้เพียงครั้งเดียวโดยการเปิด
ปั๊มสุญญากาศ (รูปที่ 37)

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 32


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

Embankment
3rd Stage fill

height PVD 2nd Stage fill


1st Stage fill Surcharge preloading with PVD
Sand blanket

Pumping + Surcharge
Time
Embankment

Pumping
height

Vacuum preloading with PVD (VCM)


Sand blanket

Time
Settlement

Finished
Finished

รูปที่ 37 เปรียบเทียบขั้นตอนการก่อสร้างและระยะเวลาการทรุดตัวระหว่าง การ preload ปกติด้วยการถม


ดินเป็นขัน้ ๆ กับ การ preload ด้วย Vacuum pressure

วาดโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

3. ลดระยะเวลาการก่อสร้าง โดยในขณะที่อยู่ระหว่างการเปิดปั๊มและรอดินทรุดตัว เราสามารถถม


ดินเหนือแผ่น Geomembrane เพื่อก่อสร้างโครงสร้างด้านบนได้ไปในเวลาเดียวกัน เช่นในขณะที่ดินฐานรากกําลัง
ถูกปรับปรุงอยู่ เราสามารถทําการบดอัดก่อสร้างชั้นโครงสร้างถนนด้านบนไปได้ในเวลาเดียวกัน เมื่อดินฐานรากถูก
ปรับปรุงเรียบร้อยงานดินส่วนบนก็จะเสร็จพร้อมกัน ทั้งนี้เราสามารถคํานวณให้การทรุดตัวของจากการปรับปรุง
ดินฐานรากให้ทรุดลงมาใกล้เคียงกับระดับสุดท้ายที่จะใช้งานต่อ (รูปที่ 38)

Final Level

รูปที่ 38 การถมดินเหนือ Geomembrane เพื่อเพิ่ม Surcharge load ในระบบ VCM และสามารถใช้เป็น


โครงสร้างถาวรโดยปล่อยให้การทรุดตัวลดลงมาถึงระดับสุดท้ายที่จะใช้งานก่อนจะปิดปั๊ม ทําให้สามารถบดอัด
งานถมดินด้านบนไปได้พร้อมกับการปรับปรุงชัน้ ดินอ่อนด้านล่าง

วาดโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 33


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

4. ได้ระดับการ preload ที่สูง ระดับการ preload คือความแตกต่างระหว่างหน่วยแรงประสิทธิผล


ที่ได้จากการใส่น้ําหนักกดทับล่วงหน้าในช่วงสิ้นสุดการปรับปรุงดิน กับหน่วยแรงประสิทธิผลที่เกิดจากน้ําหนักของ
โครงสร้างถาวร เปรียบเสมือนคนยกลูกตุ้มน้ําหนักออกกําลัง หากเริ่มโดยการยกลูกตุ้มที่หนัก 15 กก โดยยกจนให้
เคยชิน เมื่อมายกลูกตุ้มหนัก 5 กก ก็จะไม่รู้สึกว่าหนัก ในกรณีของ VCM เราสามารถ สร้างน้ําหนักกดทับล่วงหน้า
ที่สูงกว่าปรับปรุงโดยการ Preload ด้วยการใช้ดินถมตามปกติได้มาก

5. ลดผลกระทบจากการไหลของดิ นออกไปกระทบพื้น ที่ข้ า งเคียง โดยหากเป็นการถมดินเพื่อ


Preload ปกติ ดินที่ถมสูงอาจจะไปกดดินเหนียวอ่อนให้เคลื่อนตัวออกไปยังพื้นทีข้างเคียงและสร้างความเสียหาย
ให้กับอาคารสิ่งปลูกสร้างข้างเคียงได้ แต่ในกรณี VCM ชั้นดินเหนียวในพื้นที่ที่ปรับปรุงจะหดตัวเข้า เนื่องจากเป็น
แรงดูด ผลกระทบจากการเคลื่อนตัวออกของดินจึงไม่มี (รูปที่ 39)

ก) การเคลื่อนตัวออกของดินจากการถมดินเพื่อเป็น Surcharge

ข) การเคลื่อนตัวเข้ามาในพื้นที่ที่จะปรับปรุงในกรณี VCM

รูปที่ 39 ผลกระทบต่อทีข่ ้างเคียงของ VCM เทียบกับการถมดินเพื่อ preloading ตามปกติ


ที่มา: J.C. Chai et al., 2005

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 34


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

6. สามารถใช้กับการปรับปรุงดินเหนียวอ่อนที่มีระดับลึกมากได้ เช่นในการปรับปรุงดินถมในบ่อขุด
ซึ่งบางกรณีบ่อขุดอาจจะลึ กมากกว่ า 20 เมตร การใช้น้ําหนักกดทั บจากดิ นถมเพียงอย่างเดียวนั้นอาจจะไม่
สามารถส่งแรงกระทําสู่ดินชั้นล่างสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การใช้ VCM แรงดูด Vacuum จะถูกส่งผ่านแผ่น
PVD ลงไปสู่ปลายสุดของแผ่น ทําให้ประสิทธิภาพการปรับปรุงนั้นสม่ําเสมอ แม้ดินเหนียวอ่อนจะลึกมาก็ตาม อีก
ตัวอย่างหนึ่งคือการวางแผนเพื่อที่จะยกระดับถนนริมอ่าวไทยให้สามารถใช้เป็นคันกั้นน้ําท่วมจากการเพิ่มขึ้นของ
ระดับน้ําทะเล โดยอาจจะปรับปรุงฐานรากคันถนนด้วยเสาเข็มดิน-ซีเมนต์ (รูปที่ 40) แต่ทั้งนี้เมื่อดูข้อมูลชั้นดิน
จากฐานข้อมูลของศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (GERD) จะพบว่ามี
บางช่วงที่ดินเหนียวอ่อนนั้นหนามาก ทําให้จะไม่สามารถใช้เสาเข็มดินซีเมนต์ในส่วนที่ลึกนี้ได้ (รูปที่ 41) แต่ VCM
จะสามารถก่อสร้างได้

1 2

รูปที่ 40 แนวคิดในการปรับปรุงคันถนนให้เป็นคันป้องกันน้ําท่วม และการปรับปรุงฐานรากดินอ่อนด้วย


เสาเข็มดิน-ซีเมนต์
ที่มา: สุทธิศักดิ์ และคณะ (2556)

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 35


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

90 km. 72 km.

1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 2 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 2 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
4 1 1 2 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 2 2 1 2 2 2 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
4 1 1 2 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 1 1 1 1 2 2 1 2 2 2 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
4 1 2 3 5 3 1 1 1 2 1 1 2 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 2 2 2 2 2 2 2 1 2 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
4 1 2 3 5 3 1 1 1 2 1 1 2 1 1 2 2 1 1 1 1 1 1 2 2 2 2 2 2 2 1 2 1 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1
4 4 4 3 5 3 1 1 2 2 1 1 2 1 1 3 2 1 1 2 1 1 1 2 2 2 3 2 2 2 1 2 1 2 1 1 1 1 1 1 1 3 1 3
4 4 4 3 5 3 1 1 2 2 1 1 2 1 1 3 2 1 1 2 1 1 1 2 2 2 3 2 2 2 1 2 1 2 1 1 1 1 1 1 1 3 1 3
4 4 4 4 3 3 1 1 2 1 2 1 2 1 2 3 3 1 2 2 2 1 3 2 2 1 3 2 2 2 2 2 2 1 2 1 1 1 1 1 1 3 3 3

ความลึก (เมตร)
ความลึก (เมตร)

4 4 4 4 3 3 1 1 2 1 2 1 2 1 2 3 3 1 2 2 2 1 3 2 2 1 3 2 2 2 2 2 2 1 2 1 1 1 1 1 1 3 3 3
4 4 4 3 4 5 1 1 3 4 3 4 4 2 4 4 4 1 2 2 4 3 3 3 2 3 4 3 2 2 2 2 2 2 2 1 1 1 1 1 1 3 3 4
4 4 4 3 4 5 1 1 3 4 3 4 4 2 4 4 4 1 2 2 4 3 3 3 2 3 4 3 2 2 2 2 2 2 2 1 1 1 1 1 1 3 3 4
5 4 4 4 4 4 4 4 3 4 3 4 4 3 4 4 4 1 1 1 4 3 3 3 3 4 3 3 2 2 2 2 2 4 3 1 1 2 1 1 1 4 4 4
5 4 4 4 4 4 4 4 3 4 3 4 4 3 4 4 4 1 1 1 4 3 3 3 3 4 3 3 2 2 2 2 2 4 3 1 1 2 1 1 1 4 4 4
4 4 4 4 4 4 4 4 3 4 4 4 8 3 4 7 4 2 4 2 4 4 4 3 3 4 3 3 3 3 3 3 1 4 3 1 1 2 1 2 2 4 4 4
4 4 4 4 4 4 4 4 3 4 4 4 8 3 4 7 4 2 4 2 4 4 4 3 3 4 3 3 3 3 3 3 1 4 3 1 1 2 1 2 2 4 4 4
4 5 4 3 4 4 9 4 4 8 5 7 8 3 3 7 4 2 4 2 4 4 3 4 3 4 4 4 3 3 3 8 3 4 3 1 1 2 3 2 1 4 4 4
4 5 4 3 4 4 9 4 4 8 5 7 8 3 3 7 4 2 4 2 4 4 3 4 3 4 4 4 3 3 3 8 3 4 3 1 1 2 3 2 1 4 4 4
4 4 5 3 4 4 5 4 3 9 4 9 9 3 3 7 4 2 4 4 4 3 3 4 3 4 5 4 3 3 4 8 3 4 3 1 1 3 3 3 2 4 4 4
4 4 5 3 4 4 5 4 3 9 4 9 9 3 3 7 4 2 4 4 4 3 3 4 3 4 5 4 3 3 4 8 3 4 3 1 1 3 3 3 2 4 4 4
4 4 5 3 4 4 5 4 4 9 4 9 9 3 8 7 4 2 4 4 4 4 3 4 3 4 5 4 3 3 4 8 3 4 3 1 1 3 3 3 4 4 4 4
4 4 5 3 4 4 5 4 4 9 4 9 9 3 8 7 4 2 4 4 4 4 3 4 3 4 5 4 3 3 4 8 3 4 3 1 1 3 3 3 4 4 4 4
4 5 5 4 4 4 5 4 5 5 4 9 9 4 8 9 4 2 8 4 4 4 4 4 3 4 4 5 4 4 4 4 4 4 3 1 1 4 3 8 7 5 3 4
4 5 5 4 4 4 5 4 5 5 4 9 9 4 8 9 4 2 8 4 4 4 4 4 3 4 4 5 4 4 4 4 4 4 3 1 1 4 3 8 7 5 3 4
4 9 5 4 4 4 5 4 4 4 5 9 8 4 5 9 4 2 8 3 2 3 4 4 4 5 9 5 4 9 4 4 4 3 4 1 1 3 3 3 8 5 5 4
4 9 5 4 4 4 5 4 4 4 5 9 8 4 5 9 4 2 8 3 2 3 4 4 4 5 9 5 4 9 4 4 4 3 4 1 1 3 3 3 8 5 5 4
5 5 5 4 4 4 5 4 4 4 5 9 8 4 5 9 9 2 8 10 2 8 4 4 4 5 9 5 4 9 4 4 4 3 4 1 2 3 3 3 8 5 5 4
5 5 5 4 4 4 5 4 4 4 5 9 8 4 5 9 9 2 8 10 2 8 4 4 4 5 9 5 4 9 4 4 4 3 4 1 2 3 3 3 8 5 5 4
5 9 5 10 5 5 5 4 5 4 5 9 9 4 4 9 9 2 9 10 10 8 4 5 4 5 8 4 4 9 4 4 4 3 4 2 3 2 8 3 8 5 5 5
5 9 5 10 5 5 5 4 5 4 5 9 9 4 4 9 9 2 9 10 10 8 4 5 4 5 8 4 4 9 4 4 4 3 4 2 3 2 8 3 8 5 5 5
8 9 5 4 5 5 5 5 5 8 4 9 8 5 4 9 5 3 8 8 10 8 4 5 4 5 8 4 4 9 3 4 4 4 4 3 4 5 5 4 8 5 5 5
8 0 0 4 5 5 0 5 5 8 4 0 8 5 4 9 5 3 8 8 10 8 4 5 4 5 8 4 4 9 3 4 4 4 4 3 4 5 5 4 0 5 5 5
8 0 0 4 5 5 0 5 5 8 4 0 8 5 4 9 5 3 8 10 10 8 4 9 4 5 9 4 4 9 3 4 4 4 9 3 5 5 5 4 0 5 5 5
8 0 0 4 5 5 0 5 5 8 4 0 8 5 4 9 5 3 8 10 10 0 4 9 4 5 9 4 4 9 3 4 4 4 9 3 5 5 5 4 0 5 5 5
9 0 0 9 5 5 0 4 5 8 5 0 9 4 9 9 9 8 9 10 2 0 9 9 8 4 9 4 4 4 4 4 4 9 9 9 5 7 5 3 0 5 5 5
9 0 0 9 5 5 0 4 5 8 5 0 9 4 9 9 9 8 9 10 2 0 9 9 8 4 9 4 4 4 4 4 4 9 9 9 5 7 5 3 0 5 5 5
9 0 0 9 5 5 0 9 5 9 5 0 4 4 4 9 4 8 9 10 10 0 9 9 9 9 9 5 5 4 5 5 4 9 9 9 5 10 5 10 0 5 5 5
9 0 0 9 5 5 0 9 5 9 5 0 4 4 4 9 4 8 9 10 10 0 9 9 9 9 9 5 5 4 5 5 4 9 9 9 5 10 5 10 0 0 0 5
10 0 0 9 5 5 0 9 5 9 5 0 4 4 4 9 4 8 4 10 10 0 9 9 9 9 9 5 5 4 5 5 4 9 9 9 5 10 5 10 0 0 0 5
10 0 0 9 5 5 0 9 5 9 5 0 4 4 4 9 4 8 4 10 10 0 9 9 9 9 9 5 5 4 5 5 4 9 9 9 5 10 5 10 0 0 0 5
10 0 0 9 5 5 0 9 5 9 5 0 4 4 4 9 4 3 4 10 10 0 4 10 9 9 9 5 5 4 3 4 4 9 9 9 5 10 5 10 0 0 0 5
10 0 0 9 5 5 0 9 5 9 5 0 4 4 4 9 4 3 4 10 10 0 4 10 0 9 9 5 5 4 3 4 4 9 9 9 5 10 5 10 0 0 0 5
10 0 0 9 5 5 0 9 5 9 5 0 4 4 4 9 4 3 4 10 10 0 4 10 0 9 9 5 4 3 5 4 4 9 9 8 5 10 5 9 0 0 0 5
0 0 0 0 0 0 0 9 5 0 5 0 4 0 4 9 4 3 4 10 10 0 4 0 0 0 9 5 4 3 5 4 4 0 9 8 0 10 0 9 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 9 5 0 5 0 4 0 4 9 8 3 5 8 10 0 10 0 0 0 9 5 4 3 5 4 4 0 9 8 0 9 0 9 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 5 0 5 0 4 0 4 9 8 3 0 8 10 0 10 0 0 0 9 5 4 3 5 4 4 0 9 8 0 9 0 9 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 5 0 4 0 5 0 4 9 10 10 0 8 9 0 5 0 0 0 9 5 5 4 4 4 5 0 9 8 0 9 0 9 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 5 0 4 0 5 0 4 9 10 10 0 8 9 0 5 0 0 0 9 5 5 4 4 4 5 0 9 8 0 9 0 9 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 10 0 5 0 5 0 4 5 10 10 0 10 9 0 5 0 0 0 10 5 5 5 5 4 5 0 9 8 0 9 0 3 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 10 0 5 0 5 0 4 5 10 10 0 10 9 0 5 0 0 0 10 5 5 5 5 4 5 0 9 8 0 0 0 3 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 10 0 5 0 5 0 4 5 10 8 0 10 9 0 5 0 0 0 10 5 5 5 5 4 5 0 9 8 0 0 0 3 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 10 0 5 0 0 0 4 5 0 8 0 10 9 0 5 0 0 0 10 5 5 5 5 4 0 0 0 0 0 0 0 3 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 10 0 5 0 0 0 4 5 0 8 0 10 9 0 5 0 0 0 9 4 5 4 5 10 0 0 0 0 0 0 0 3 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 10 0 5 0 0 0 4 5 0 8 0 10 9 0 5 0 0 0 9 4 5 4 5 10 0 0 0 0 0 0 0 3 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 10 0 5 0 0 0 8 9 0 10 0 5 9 0 5 0 0 0 9 5 5 4 5 10 0 0 0 0 0 0 0 4 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 5 0 0 0 8 9 0 10 0 5 9 0 0 0 0 0 9 5 5 4 5 10 0 0 0 0 0 0 0 4 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 5 0 0 0 8 9 0 10 0 5 9 0 0 0 0 0 9 5 5 4 5 10 0 0 0 0 0 0 0 4 0 0 0 0
0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 5 0 0 0 8 9 0 10 0 5 9 0 0 0 0 0 9 5 5 4 5 10 0 0 0 0 0 0 0 4 0 0 0 0

รูปที่ 41 Cross section ของชั้นดินตามแนวคันถนนกันน้ําท่วม จากฐานข้อมูลดิน GERD


จะเห็นว่าในแนวถนนสุขุมวิทบางช่วงชัน้ ดินอ่อนหนาถึง 25 เมตร
ที่มา: สุทธิศักดิ์ และคณะ (2556)

7. ประสิทธิภาพในการระบายน้ําของแผ่น PVD ไม่ลดลงมาก ระหว่างการปรับปรุงดิน เมื่อชั้นดินมี


การทรุดตัวที่มากขึ้นแผ่น PVD จะเกิดการยุบและพับตัว (รูปที่ 42) ส่งผลให้อัตราการระบายหรือ Flow capacity
ลดลง อย่างไรก็ตามการระบายน้ําออกโดยแรงดูดผ่านแผ่น PVD จากปั๊มสุญญากาศ จะมีประสิทธิภาพการระบาย
มากกว่าการระบายแรงดันน้ําส่วนเกินจากแรงกดทับโดยน้ําหนักดินถม

รูปที่ 42 การพับงอของแผ่น PVD หลังจากดินทรุดตัว


ที่มา: ไม่ทราบที่มา ที่มา: Binus University (2010)

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 36


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

8. ราคาค่าก่อสร้างโดยรวมถูกกว่าวิธีการปรับปรุงฐานรากดินอ่อนด้วยวิธีอื่น ทั้งนี้อ้างอิงจาก
งานวิจัยที่เปรียบเทียบระหว่างการปรับปรุงฐานรากด้วยวิธีการ Preload ร่วมกับ PVD และ การใช้เสาเข็มดิน-
ซีเมนต์ (สุทธิศักดิ์และคณะ 2549) กับงานศึกษาเพื่อเปรียบเทียบราคาค่าปรับปรุงฐานรากด้วยวิธีต่างๆเพื่อการ
ก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ทําให้สามารถสรุปเป็นตารางได้ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบราคาวิธีการปรับปรุงดินอ่อนต่างๆ, ข้อมูลราคาการปรับปรุงฐานรากสนามบินสุวรรณ
ภูมิด้วยการ Preloading และ PVD
SUMMARY OF CONTRACT COST
Contract Cost,
Item Description
Baht
1 Preliminaries/General Items 14,533,000
2 Survey and Subsurface Investigation 11,210,000
3 Earthwork 873,436,000
- Sand blanket and sand drainage (1,544,000 m3)
- Crushed rock from stock pile (2,100,000 m3)
- Imported Crushed rock (350,000 m3)
4 Protection and Drainage works 241,573,500
2
- Filter Fabric (2,075,500 m )
- Prefabricated Vertical Drains [PVD] (10,200,000 m.)
- Subdrainage pipes (87,700 m.)
- Collector pipes (4,450 m.)
- Manholes & Dewatering (53 set)
5 Instrumentation 11,903,500
Monitoring/Reporting 10,872,000
Total Direct Cost 1,163,528,000
6 Administration Cost & Profit 69,811,680
Total Contract Cost 1,233,339,680
CONSTRUCTION SUPERVISION OF
GROUND IMPROVEMENT FOR EAST RUNWAY & TAXIWAYS

Thai Engineering Nippon Koei Co.,Ltd. MAA Consultants Co.,Ltd.


Consultants Co.,Ltd.

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 37


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

ตารางที่ 2 (ต่อ) เปรียบเทียบราคาวิธีการปรับปรุงดินอ่อนต่างๆ, ข้อมูลราคาการปรับปรุงฐานรากทางหลสง


สายกรุงเทพฯ-ชลบุรีด้วยการ Preloading และ PVD
PVD ทางหลวงสายกรุงเทพฯ-ชลบุรี (Length 12.0 m. Square Pattern # 1.2 m.)
ราคา/
ปริมาณ/ ราคารวม
ลําดับ รายการ หน่วย หน่วย
กม. (บาท/กม.)
(บาท)
1 งานปรับพื้นที่ - m2 - -
3
2 งานขุดลอกหน้าดิน - m - -
3
3 Sand Blanket 0.4 m 450.00 m 16,000.00 7,200,000.00
4 Working Platform 0.5 m 350.00 m3 20,000.00 7,000,000.00
5 Prefabricated Vertical Drains 25.00 m. 340,272.00 8,506,800.00
3
6 Embankment Surcharge 2.5 m 350.00 m 100,000.00 35,000,000.00
3
7 Counterweight Surcharge 350.00 m 24,000.00 8,400,000.00
2
8 Geotextile Reinforcement 100.00 m 40,000.00 4,000,000.00
2
9 Geogrid Reinforcement 160.00 m 40,000.00 6,400,000.00
3
10 วัสดุสําหรับก่อสร้างคันถนน - m - -
11 งานทดสอบ และตรวจวัดพฤติกรรม 100,000.00 ตําแหน่ง 1.00 100,000.00
ราคารวมทั้งสิ้น (เมื่อไม่พิจารณาผลจากการทรุดตัวของดินคันทางระหว่างการก่อสร้าง) 76,606,800.00
ราคารวมทั้งสิ้น (พิจารณาการทรุดตัวของทรายถมระหว่างก่อสร้าง 2.0 เมตร) 104,606,800.00
Geotechnical Engineering Research & Development Center

ตารางที่ 2 (ต่อ) เปรียบเทียบราคาวิธีการปรับปรุงดินอ่อนต่างๆ, ข้อมูลราคาการปรับปรุงฐานรากทางหลสง


สายบางนา-บางปะกงด้วยวิธี Soil-cement column
Soil-Cement Column ทางหลวงสายบางนา-ชลบุรี (Length 17.0 m. Square Pattern # 1.5 m.)
ราคา/หน่วย ราคารวม
ลําดับ รายการ หน่วย ปริมาณ/กม.
(บาท) (บาท/กม.)
1 งานปรับพื้นที่ - m2 - -
2 งานขุดลอกหน้าดิน - m3 - -
3 Working Platform 0.5 m 350.00 m3 20,000.00 7,000,000.00
4 งานเสาเข็มดินซีเมนต์ 1,960.00 m3 86,562.72 169,662,933.96
5 Embankment Surcharge 350.00 m3 100,000.00 35,000,000.00
6 วัสดุสําหรับก่อสร้างคันถนน - m3 - -
การเจาะเก็บตัวอย่าง และทดสอบกําลังรับแรง
7 60,000.00 ต้น 6.00 360,000.00
เฉือน (ทุก 3,000 ต้น)
ราคารวมทั้งสิ้น 212,022,933.96
Geotechnical Engineering Research & Development Center

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 38


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

9. ข้อจํากัดและข้อด้อยของวิธี VCM
1. ถึงแม้วิธี VCM จะไม่ทําให้ดินไหลออกไปกระทบที่ข้างเคียงเนื่องจากไม่ได้มีการถมดินเพื่อ Preload
แต่แรงดูดที่สูงจะทําให้มวลดินเคลื่อนตัวเข้าหาพื้นที่ก่อสร้าง และอิทธิพลของแรงดูดของน้ําในดินยังส่งผลให้มวล
ดินที่อยู่ใกล้ขอบของการปรับปรุงทรุดตัวลงไปด้วย (รูปที่ 43) ซึ่งอาจจะส่งผลทําให้โครงสร้างข้างเคียงเสียหายหรือ
อาจจะเกิดรอยแยกที่พื้นดินบริเวณขอบของพื้นที่ปรับปรุง ดังกรณีของสนามบินสุวรรณภูมิระหว่างก่อสร้างที่เกิด
รอยแยกระหว่างส่วนที่ปรับปรุงด้วย VCM กับทางวิ่งที่ก่อสร้างเสร็จแล้วทําให้เกิดความเข้าใจผิดถึงคุณภาพของ
ทางวิ่งที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว ทั้งที่จริงเป็นเพียงรอยแตกปกติที่เกิดขึ้นบริเวณขอบของการปรับปรุง VCM ซึ่งผู้ก่อสร้าง
ก็ได้เว้นพื้นที่เอาไว้แล้ว (รูปที่ 44) ดังนั้นการปรับปรุงดินด้วยวิธี VCM จึงต้องมีการเว้นระยะห่างจากขอบที่ดิน
ข้างเคียงหรือโครงสร้างที่อาจจะได้รับผลกระทบ รวมทั้งอาจจะต้องลดความยาวของแผ่น PVD ณ บริเวณที่ใกล้
ขอบที่ดิน ทําให้การปรับปรุงคุณภาพดินบริเวณขอบอาจจะไม่ดีเท่าในส่วนด้านในพื้นที่

B盛土 南北縦断図

No.25- No.26- No.27- No.28- No.34- No.33- No.16- No.16- No.16- No.16-
1 1 1 1 B-3 5 B-4 TB-5 TB-6 B-5 TB-7 TB-8 B-6 6 B-7 1 2 4 5

町道 水路 南
矢板30m B盛土 矢板10m

B-3

0
12/14
400 300 200 100 0
12/19
-5 12/24
12/29
-10 1/3
1/8
1/13
-15 1/18
1/23
-20 1/28
2/2
2/7
-25
2/12
2/17
-30 2/22
測点番号 2/27
3/4
-35

รูปที่ 43 ผลกระทบของ VCM ต่อพื้นที่ขา้ งเคียง


ซึ่งอาจจะมีทั้งการเคลื่อนตัวด้านข้างเข้าหาพื้นที่ปรับปรุงและการทรุดตัวในแนวดิ่ง
ที่มา: Courtesy of Maruyama Industry

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 39


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

พื้นที่ระหว่างการทํา
VCM
Runway

รอยแตกบริเวณไหล่ เส้นไหล่ Runway


Runway

รูปที่ 44 รอยแยกของพื้นดินบริเวณรอยต่อระหว่างพืน้ ที่ที่ทาํ VCM กับขอบของ Runway สนามบินสุวรรณ


ภูมิ ทําให้เกิดความเข้าใจทีค่ ลาดเคลื่อนถึงคุณภาพของ Runway ทั้งนี้รอยแยกดังกล่าวอยู่ในส่วนของพื้นที่ที่
ยังก่อสร้างไม่เสร็จ
รูปโดย: สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

2. ประสิทธิภาพของระบบขึ้นอยู่กับความเสถียรของระบบไฟฟ้าและระบบปั๊มสุญญากาศ เมื่อระบบ
ไฟฟ้าดับ ปั๊มดับ ก็เท่ากับว่าดินไม่ได้รับการ Preload จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่าหลังจากปั๊มกลับเข้ามา
ทํางานอีกครั้ง ประสิทธิภาพของการดูดระบายน้ําของระบบมีแนวโน้มจะลดลง

3. การก่อสร้างต้องอาศัยความระมัดระวังไม่ให้แผ่น Geomembrane ขาดหรือรั่ว เพราะจะทําให้


ประสิทธิภาพการปรับปรุงคุณภาพดินลดลง

4. ความสะอาดของทรายถมที่เป็นชั้นระบายน้ํามีผลต่อประสิทธิภาพของระบบอย่างสูง เมื่อเกิดการ
อุดตันการแก้ไขจะเป็นไปได้ยากมาก

10. การใช้ VCM ในงานก่อสร้าง


1. งานถมดินบนพื้นที่ดินเหนียวอ่อน ได้แก่งานก่อสร้างถนนและสนามบิน VCM ถูกใช้เพื่อเร่งการ
ทรุดตัวให้เกิดระหว่างก่อสร้างและลดการทรุดตัวในระยะยาวของโครงสร้าง เช่นการก่อสร้างทางวิ่งของสนามบิน
นครศรีธรรมราชที่ได้ใช้ VCM ในการเร่งการทรุดตัว เป็นต้น

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 40


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

2. งานขุดดินโดยไม่ต้องมีการป้องกันดินพัง เนื่องจากการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยวิธี VCM จะทําให้


ค่า Undrained shear strength ของดินเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 เท่า (รูปที่ 45) ดังนั้นเราสามารถเปลี่ยนดินเหนียว
อ่อนที่มีความเสี่ยงในการเคลื่อนตัวจากการขุดหรือต้องมีโครงสร้างป้องกันที่ดี เป็นดินเหนียวแข็งปานกลางที่
สามารถขุดได้โดยปลอดภัย โดยอาจจะไม่ต้องมีหรือลดโครงสร้างป้องกันลงได้ (รูปที่ 46) ประโยชน์ข้อนี้จะทําให้
สามารถขุดคลองหรืองานใต้ดินได้อย่างปลอดภัย ในงบประมาณรวมที่ต่ําลง

รูปที่ 45 การเพิ่มขึ้นของกําลังรับแรงเฉือนของดินจาก VCM

ที่มา: Courtesy of Geoharbour Co.Ltd.

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 41


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

Backfill Soil
Soft Clay

Before VCM After VCM

รูปที่ 46 สภาพงานขุดก่อนและหลังการทํา VCM


จะเห็นได้ว่าหลังการทํา VCM การขุดดินสามารถทําได้โดยไม่ต้องมีการทําโครงสร้างป้องกัน

ที่มา: Courtesy of Geoharbour Co.Ltd.

3. งานถมที่ผืนใหญ่ ได้แก่หมู่บ้านจัดสรรและบ้านพักอาศัย โดยสามารถลดปัญหาการทรุดตัวของ


พื้นดินรอบๆตัวบ้านและลดปัญหาการทรุดตัวของระบบสาธารณูปโภคส่วนกลางเช่นถนนหรือระบบระบายน้ําได้
ในแง่ของผู้ประกอบการที่ต้องการรักษาคุณภาพงาน การปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อลดปัญหาหลังการขายนั้นเป็น
การทําการตลาดในระยะยาวที่ดี

4. การพัฒนาพื้นที่บ่อดินเดิม ซึ่งแต่เดิมบ่อดินนั้นส่วนใหญ่ได้ถูกทิ้งให้เป็นบ่อน้ํา ไม่สามารถเข้าไปถม


และปรับปรุงให้ใช้งานได้ โดยหากเข้าไปใช้งานก็เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการทรุดตัวได้มาก ทําให้พื้นที่บ่อที่เป็นบ่อ
ดินเดิมไม่ได้รับการพัฒนาอย่างคุ้มค่า การปรับปรุงดินที่ถมลงไปในบ่อด้วยวิธีการปรับปรุงคุณภาพดินแบบปกติทํา
ได้ค่อนข้างยากเนื่องจากดินเหนียวอ่อนมีความหนาและลึกมาก แต่ VCM สามารถปรับปรุงดินได้ระดับลึก โดย
ปัจจุบันผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้เริ่มใช้วิธีนี้แล้วเพื่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นการเพิ่ม
มูลค่าของบ่อดินในกรุงเทพมหานครฯที่แต่เดิมถูกทิ้งและพัฒนายาก

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 42


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

รูปที่ 47 การพัฒนาพืน้ ที่บอ่ ดินเดิมด้วยเทคนิค VCM เพื่อโครงการทีพ่ ักอาศัยแห่งแรกในประเทศไทย

11. บทสรุป
การปรับปรุงคุณภาพชั้นดินเหนียวอ่อนนั้นมีเทคนิคในการดําเนินการหลายเทคนิค วิธี VCM ก็เป็นวิธี
หนึ่งที่มีประสิทธิภาพและราคาต่ํา อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวต้องการความรู้ความเข้าใจในการออกแบบและควบคุม
คุณภาพอย่างถูกต้อง ซึ่งหากนําไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง อาจจะทําให้ผลการปรับปรุงไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่ และจะ
ทําให้เกิดทัศนะคติไม่ดีโดยไม่จําเป็น ดังจะเห็นได้จากเทคโนโลยีหลายเรื่องที่ถูกนําไปใช้ได้ดีและแพร่หลายใน
ต่างประเทศ แต่เมื่อนํามาใช้ในประเทศไทยกลับใช้ไม่ได้ ทั้งนี้เพราะกุญแจสําคัญคือเทคโนโลยีเหล่านั้นจะต้องถูก
ปรับ ให้เข้ ากับ "บริบท" ของหน่วยงานผู้ ที่นําเทคโนโลยีนั้น ไปใช้ สําหรับเทคนิค VCM นั้น เท่าที่ได้ใช้งานใน
ประเทศไทย ถือว่าได้ถูกนํามาใช้ในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบริบทที่ควรจะเป็น ทั้งหมดนี้เพื่อทําให้
ประหยัดงบประมาณประเทศชาติในงานโครงสร้างพื้นฐานและเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานงานทางวิศวกรรม
ของประเทศ

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 43


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

เอกสารอ้างอิง
BINUS University. (2010). Soft Soil (Problems & Stabilisation Method) Session 2-7, PRELOADING &
VERTICAL DRAIN, Course Ground Improvement (Online) Available :
http://slideplayer.com/slide/3961117/
COX, J.B. (1981), “The Settlement of a 55-km long Highway on Soft Bangkok Clay”, Proc. 10th Int.
Conference on Soil Mech and Foundation Eng, pp 101-104.
Chai, J. C., Carter, J. P., and Hayashi, S. 2005. “Ground deformation induced by vacuum
consolidation.” J. Geotech. Geoenviron. Eng., ASCE, 131(12), 1552–1561.
Mr.Pookie photographer. 2554. ท่วมบริเวณสี่แยกเกษตรปี พ.ศ. 2554.
www.facebook.com/pookiefoto
Ruenkrairergsa, T., 1998. Recent Ground Improvement Works for Highways in Thailand, Proc.
Thirteenth Southeast Asian Geotechnical Conference, Vol.2 ,Taipei ,Taiwan.
Ruenkrairergsa, T., S. Sunantapongsak, S. Apimethethamrong, and P. Boontharaksa, 1997. “Use of
prefabricated vertical drain (PVD) for settlement acceleration of the Bangkok-Chonburi
new highway’, The First Seminar on Ground Improvement in Highways, Department of
Highways, Bangkok, Thailand.
Siripanoosatien, P., 1993. “Behavior of a road embankment on relief piles at Thon Buri-Pak Tho
highway (Km15+000)” M.Eng Thesis, Department of Civil Engineering, Chulalongkorn
University, Bangkok, Thailand.
Soralump, S. 1996. Evaluation of design mix procedures for the soil-cement with and without
additives for application to the reconstruction of the Bangna-Trad Highway improved
with deep mixing method. M.Eng. thesis, Asian Institute of Technology, Bangkok,
Thailand.
Warakorn Mairaing adn Cherdpun Amonkul, 2010. Soft Bangkok Clay Zoning. EIT-Japan
Symposium on Engineering for Geo-Hazards : Earthquakes and Landslides-Surface and
Subsurface Structures, Imperial Queen’s Park Hotel, Bangkok, Thailand, September 6-7,
2010
กรมแผนที่ทหาร. 2553 แผนที่แสดงแนวคันกั้นน้ํา และระดับพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
กฤษณ์ เสาเวียง. 2552. การศึกษาพฤติกรรมโครงสร้างปรับการทรุดตัวบริเวณคอสะพาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 44


เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1
การแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิค VCM

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) 2546. ข้อมูลสภาพดินบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาตอนล่าง. บริษัท จุด


ทอง จํากัด, กรุงเทพฯ
วารุณี กะการดี, สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และรัฐธรรม อิสโรฬาร, 2556. การศึกษาความเหมาะสมของการวิเคราะห์
เสถียรภาพของลาดงานขุดโดยเปรียบเทียบวิธีสมดุลจํากัด, ไฟไนต์อิลิเมนต์ และสมดุลจํากัดร่วมกับการ
พิจารณาหน่วยแรงในมวลดิน ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็ม
เพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วรสิทธิ์ กิจกิตติกร และสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, 2556. การประเมินความน่าจะเป็นของความเสียหายจากระบบกําแพง
กันดินแบบเข็มพืดค้ํายันในงานขุดเพื่อใช้ในธุรกิจประกันภัย ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา
แห่งชาติครั้งที่ 18. โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่. ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 จัดโดย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศุภณัฐ สร้อยพรรณนา และสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ , 2559. พฤติกรรมการทรุดตัวของพื้นดินในโครงการบ้านจัดสรร,
บทความจากโครงงานวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2561. แผนที่ความหนาของของชั้น
ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ.
สถานีข่าวโทรทัศน์ TNN 24 2560. ผวา! หมูบ้านย่านลําลูกกาทรุดหนักจนน่ากลัว เผยแพร่เมื่อ 31 พ.ค. 2560
สุทธิศักดิ์ และลักษมี. 2561. โครงข่ายถนนบนพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ. ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพี
และฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, บรรพต กุลสุวรรณ, วรากร ไม้เรียง และ อดิชาติ สุรินทร์คํา. 2553. “การพัฒนาฐานข้อมูลดิน
ทางวิศวกรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและบํารุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน : กรณีศึกษาพืน้ ที่ดินเหนียว
อ่อนกรุงเทพฯ” โยธาสาร ฉบับเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2553
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และคณะ. 2549. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการใช้ PVD
และ Cement Column ในการปรับปรุงคุณภาพดินอ่อนเชิงเศรษฐศาสตร์และวิศวกรรม.โดยศูนย์วิจัย
และพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสนอต่อ กรมทางหลวง.
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และคณะ. 2553.รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของชั้นดินพื้นที่
กรุงเทฯ และปริมณฑล. โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เสนอต่อ กรมทรัพยากรธรณี.
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และคณะ. 2556. รายงานฉบับสมบูรณ์ งานศึกษาแนวทางลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
ระดับน้ําทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร
สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา. โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสนอต่อ กรมทรัพยากรธรณี.

โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 45

You might also like