Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 7

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

1. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ คือ วัสดุ อุปกรณ์ ในรูปแบบต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาการสำรวจ การเก็บรวบรวม การ
บันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ประโยชน์ของแผนที่ แผนที่เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความจำเป็นสำหรับการศึกษาสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ และ
เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ดังนี้
1.ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้แสดงเส้นทางคมนาคมในการเดินทาง เป็นต้น
2.ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีประโยชน์ในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว การวางแผนการท่องเที่ยว รวมถึงการ
ตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
3.ใช้ในการรายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น แผนที่แสดงอุณหภูมิ แผนที่แสดงการเคลื่อนที่ของพายุ ซึ่งทำให้เข้าใจได้ง่าย
ขึ้น เป็นต้น
4.ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนสร้างระบบสาธารณูปโภค เช่น วางแผนการตัดถนน วางระบบโทรคมนาคม วางสายไฟฟ้ า
วางท่อประปา การสร้างเขื่อน เป็นต้น
5.ใช้เป็ นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น แผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากร แผนที่แสดงแหล่งปลูก
พืชเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป เป็นต้น
6.ใช้ในกิจการทางทหาร โดยนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนทางยุทธศาสตร์ เช่น การเลือกตั้งที่ค่ายทหาร การทิ้งระเบิดโจมตีทาง
อากาศ เป็นต้น
7.ใช้ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น ใช้เป็นข้อมูลในการสำรวจและปักปันเขตแดน เป็นต้น
8.ใช้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพื้นที่ เช่น ศึกษาชนิด คุณภาพ และการกระจายดิน ธรณีวิทยา ป่ าไม้ เป็นต้น

การคิดมาตราส่วนของแผนที่
Ex. 1:80000 วัดในแผนที่ได้ 8 cm.
วิธีทำ 80000*8 = 640000
100cm.=1m. = 640000/100
1000m.=1 km. = 6400/1000
=6.4 km.

ระยะในแผนที่ 8 เซนติเมตร แทนระยะทางในภูมิประเทศจริง 6.4 กิโลเมตร

สัญลักษณ์ในแผนที่
ความหมายของ สีบนแผนที่
1. สีดำ ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่น วัด โรงเรียน หมู่บ้าน และใช้แทนเส้นกริดและเลขกำกับเส้นกริด
2. สีแดง ใช้แทนถนนและรายละเอียดพิเศษอื่นๆ
3. สีน้ำเงิน ใช้แทนบริเวณที่เป็ นน้ำ เช่น ทะเล มหาสมุทร
4. สีน้ำตาล ใช้แทนความสูง เช่น เส้นชั้นความสูง เลขกำกับชั้นความสูง
5. สีเขียว ใช้แทนพื้นที่ป่ าไม้ พื้นที่การเกษตร
6. สีเหลือง แสดงสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบสูง

รูปถ่ายทางอากาศ
รูปถ่ายทางอากาศ คือ รูปที่ได้จากการถ่ายทางอากาศ โดยผ่านเลนส์กล้องและฟิ ล์ม หรือข้อมูลเชิงเลข ซึ่งถ่าย
ด้วยกล้องที่นำไปในอากาศยาน อันได้แก่ บัลลูน เครื่องบิน เป็นต้น ในสมัยปัจจุบันมีการถ่ายรูปทางอากาศจาก
ยานอวกาศได้ด้วย ปกติการถ่ายรูปทางอากาศจะถ่ายจากเครื่องบินที่มีการวางแผนการบิน และกำหนดมาตราส่วน
ของแผนที่มาแล้วเป็นอย่างดี กล้องถ่ายรูปทางอากาศคล้ายกับกล้องถ่ายรูปทั่วไปในอดีตแต่มีขนาดใหญ่กว่า เลนส์
ยาวกว่า และใช้ฟิ ล์มขนาดใหญ่ ซึ่งปกติจะมีขนาดประมาณ 24 x 24 เซนติเมตร รูปถ่ายทางอากาศจะให้ข้อมูลที่
ค่อนข้างละเอียด นอกจากนี้ รูปถ่ายทางอากาศมีการถ่ายรูปซ้อนทับพื้นที่บนรูปที่ต่อเนื่องกัน จึงสามารถดูเป็ น
ภาพสามมิติ หรือทรวดทรงของผิวโลกได้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในด้านภูมิศาสตร์

ภาพจากดาวเทียม

ดาวเทียม คือ วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์ เพื่อให้โคจรรอบโลกมีอุปกรณ์


สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก ดาวเทียมที่โคจรรอบโลกใช้เป็ น
อุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย เช่น ถ่ายทอดคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ข้ามทวีป หรือใช้ในการบันทึกทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นบนแผ่นดินและผืนน้ำ ข้อมูลจากดาวเทียม เป็ นสัญญาณตัวเลขที่ได้รับ ณ สถานีรับ
สัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินในประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา
จังหวัดชลบุรี และที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และมีสถานีรับสัญญาณของกรมอุตุนิยมวิทยากระจายตาม
ภูมิภาคของประเทศ เมื่อสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัวเลขที่ส่งมาแล้ว จึงแปลงตัวเลขออกเป็นภาพ
อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าภาพจากดาวเทียม ที่นำไปแปลความหมายต่อไปได้ในระบบคอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูล
ตัวเลขมาวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลใหม่ ซึ่งเป็นการแปลความหมายอีกรูปแบบหนึ่งได้
ละติจูด, ลองจิจูด กับการบอกพิกัดทางภูมิศาสตร์
ละติจูด (Latitude)
เส้นละติจูด เป็นเส้นสมมติที่วางตามแนวนอนของโลก และยังมีเส้นที่วางตัวตามแนวนอนของโลกตามระดับความสูงกว่าหรือต่ำกว่า
ซึ่งเรียกว่า เส้นขนานเส้นละติจูด (Parallels of Latitude) ซึ่งเส้นขนานของเส้นละติจูดเหล่านี้จะเป็นเส้นที่วางขนานกับเส้นละติจูดที่อยู่บริเวณตรง
กลางหรือเรียกว่าเส้น อิเควเตอร์ (Equator) ทางที่ง่ายที่สุดที่จะมองภาพของเส้นละติจูดเหล่านี้คือให้คิดว่ามีเส้นสมมติที่วางตามแนวนอนของโลก
เหมือนกับว่ามีวงฮูล่าฮุปวางอยู่รอบโลก และมีฮูล่าฮุปวงที่ใหญ่ที่สุดวางอยู่ตรงกลางของโลกพอดี ซึ่งนั่นก็คือเส้นอิเควเตอร์ จากนั้นให้คิดว่ามีเส้นที่
ขนาดเล็กลงตามลำดับเรียงตัวทั้งขึ้นไปทั้งบนและล่าง ไปเรื่อยๆจนเข้าถึงขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้

เส้นละติจูดนั้นเป็นเส้นที่ใช้วัดพิกัดในเชิงตัวเลขว่าทิศเหนือและทิศใต้นั้นห่างจากเส้นอิเควเตอร์ซึ่งเป็นเส้นที่แบ่ง ณ จุดกึ่งกลางโลก โดยส่วนที่อยู่


เหนือกว่าเส้นอิเควเตอร์นั้นคือซีกโลกเหนือ และส่วนที่อยู่ใต้เส้นอิเควเตอร์คือซีกโลกใต้ ที่เส้นอิเควเตอร์นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่วัดละติจูดในตำแหน่ง
ต่างๆ ซึ่งพิกัดที่วางตัวอยู่บนเส้นอิเควเตอร์นี้จะมีตัวเลขที่บอกค่าทางละติจูดเป็น 0 องศาละติจูด ตัวเลขของค่าละติจูดนี้จะมีค่ามากขึ้นตามระยะท่าง
จากเส้นอิเควเตอร์ โดยจะมีค่าสูงสุดที่ 90 องศาละติจูด ที่บริเวณขั้วโลก สำหรับการอ่านค่าละติจูดนั้นจะอ่านค่าเป็น _xx_ องศาเหนือ หรือ _xx_
องศาใต้ ขึ้นอยู่กับว่าพิกัดของเส้นละติจูดนั้นเป็นพิกัดของละติจูดที่อยู่เหนือหรือใต้เส้นอิเควเตอร์

ลองจิจูด (Longitude)
เส้นลองจิจูด เป็นเส้นสมมติที่วางตามแนวตั้งของโลก หรือที่เรียกว่าเส้นเมอร์ริเดียน (Meridian) วิธีที่ง่ายที่สุดในการจินตนาการภาพ
สำหรับเส้นลองจิจูด ให้ลองนึกถึงวงฮูล่าฮุปที่ตัดแบ่งครึ่งวางตัวตามแนวตั้งของโลก โดยปลายด้านหนึ่งของฮูล่าฮุปนั้นวางที่ตำแหน่งขั้วโลกเหนือ
และปลายอีกด้านหนึ่งวางที่ขั้วโลกใต้
เส้นลองจิจูดนั้นเป็นเส้นที่ใช้วัดพิกัดทางตัวเลขว่าเส้นลองจิจูดนั้นห่างจากเส้นเมอร์ริเดียนสำคัญ (Prime Meridian) เท่าไหร่ ซึ่งเส้นเมอร์ริเดียน
สำคัญนี้เองจะเป็นเส้นที่แบ่งซีกโลกตะวันตกและตะวันออก เส้นเมอร์ริเดียนสำคัญนั้นจะเป็นเส้นที่ลากในแนวตั้งของโลกผ่านเมืองกรีนวิช
(Greenwich) ประเทศอังกฤษ จากขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้ โดยเส้นเมอร์ริเดียนสำคัญเป็นเส้นเริ่มต้นที่จะบอกพิกัดลองจิจูดในตำแหน่งต่างๆ พิกัดที่
วางตัวอยู่บนเส้นเมอร์ริเดียนสำคัญนี้จะบอกค่าลองจิจูดเป็น 0 องศาลองจิจูด

สำหรับการวัดลองจิจูดตะวันตกและตะวันออกนั้นจะอ้างอิงจากเส้นเมอร์ริเดียนสำคัญ ซึ่งจะมีเส้นลองจิจูดที่อยู่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของเส้น
เมอร์ริเดียนสำคัญด้านละ 180 เส้น การอ่านพิกัดตำแหน่งของละจิจูดจะอ่านเป็น _xx_ องศาตะวันตก หรือ _xx_ องศาตะวันออก และจะมีเส้น
ลองจิจูดพิเศษอีกเส้นหนึ่ง เป็นเส้นลองจิจูดที่อยู่ที่ตำแหน่ง 180 องศาลองจิจูดพอดี เป็นเส้นลองจิจูดที่มีชื่อเรียกพิเศษอีกชื่อหนึ่งว่า เส้นแบ่งเขตวัน
สากล (International Date line) ซึ่งเส้นนี้จะเป็นลองจิจูดที่อยู่อีกฝั่งของโลก ตรงกันข้ามกับเส้นเมอร์ริเดียนสำคัญพอดี

การหาลองจิจูด หาได้จากการหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่งสัมพันธ์กับเวลา


ดังนี้
โลกหมุนรอบตัวเอง(ทวนเข็มนาฬิกา) 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง หรือ
1,440 นาที
ค่าของมุมตามเส้นเมริเดียน (ลองจิจูด) มีทั้งหมด 360 องศา
ค่าลองจิจูดของเส้นเมริเดียนแต่ละเส้น มีเวลาห่างกัน 1440 ÷ 360 =
4 นาที
นั่นคือ เส้นเมริเดียนแต่ละเส้นห่างกัน 1 องศา มีเวลาต่างกัน 4 นาที
สรุป 1 องศา เวลาต่างกัน = 4 นาที
15 องศา “ = 60 นาที (1 ชั่วโมง)
ฉะนั้น การนับเวลาถ้าเริ่มจาก เส้นเมริเดียนปฐม (Prime Meridian)
หรือ 0 องศา ไปทางตะวันออกเวลาจะเพิ่มขึ้น (+) เพราะทางตะวันออกจะ
เห็นดวงอาทิตย์ก่อน ในทำนองเดียวกัน ถ้าเริ่มจากเส้นเมริเดียนปฐม

(Prime Meridian) หรือ 0 องศา ไปทางตะวันตก เวลาจะลดลง (-)

Ex. ถ้ากรีนิซ (ประเทศอังกฤษ) เป็ นเวลา 24.00 น. วันอาทิตย์ อยากทราบว่า


ประเทศไทยเป็ นเวลาเท่าใด วันอะไร
ใช้สูตรที่ 1 0 º + E กรีนิซ + ตะวันออก
- กรีนิซ 0 º
- ประเทศไทย 105 E (องศาตะวันออก)
วิธีทำ หาลองจิจูดต่างกัน 0 º + E = 0 + 105 = 105 (เส้น
หรือลองจิจูด)
วิธีทำ หาเวลาต่างกัน 15 ลองจิจูด เวลาต่างกัน = 1
ชั่วโมง
105/15 =7 ชั่วโมง
กรุงกรีนิชเวลา 24.00 น +7= 07.00 น.วันจันทร์ของไทย
สรุป - ประเทศไทย ลองจิจูด 105 º E (องศาตะวันออก)
- เวลาจึงต่างกัน 7 ชั่วโมง
- ขณะที่ กรีนิซเวลา 24.00 น. วันอาทิตย์
- ประเทศไทยอยู่ห่างจากกรีนิซ 7 ชั่วโมง (เวลาจะเร็วกว่ากรีนิซ)
- ประทศไทยเวลา 07.00 น. วันจันทร์

You might also like