Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 90

คู่มือ

โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

สงวนลิขสิทธิ์
เอกสารเผยแพร่ สถาบันประสาทวิทยา
ห้ามจ�ำหน่าย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือ
โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

สถาบันประสาทวิทยา
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

-20-0269(P4)-Ebook.indd 1 30/10/2564 BE 09:12


คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

ISBN 978-974-422-918-2
พิิมพ์์ครั้้�งที่่� 2 : กรกฎาคม 2564
จ�ำนวนพิมพ์ : 10,000 เล่ม
จัดท�ำโดย : สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
บรรณาธิการ : นางธัญพิมล เกณสาคู
ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นางสาวนวภรณ์ ประดับโชติ
และพิสูจน์อักษร
พิมพ์ที่ : บริษัท ธนาเพรส จ�ำกัด
โทร. 02-530-4114
โทรสาร 02-108-8950-1
e-mail : tanapress@gmail.com

-21-0545.indd 2 25/6/2564 BE 10:28


ค�ำน�ำ
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นปัญหาสาธารณสุขทีส่ ำ� คัญของประชากร
ทั่วโลก เนื่องจากมีอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นรายงานจาก
องค์การโรคหลอดเลือดสมองโลก (World Stroke Organization : WSO)
พบว่า ปัจจุบันประชากรทั่วโลกป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองจ�ำนวน 17 ล้านคน
เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองจ�ำนวน 6.5 ล้านคน ในประเทศไทยพบเป็น
สาเหตุของการสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability Adjusted Life Years: DALYs)
ที่ส�ำคัญอันดับ 2 ทั้งในเพศชายและเพศหญิง เมื่อเกิดโรคแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่
จะมีความพิการหลงเหลืออยู่ ส่งผลกระทบต่อการด�ำเนินชีวิต สูญเสียเศรษฐกิจ
ของครอบครัวและประเทศชาติ
คู่มือโรคหลอดเลือดสมองส�ำหรับประชาชนฉบับนี้ ประกอบด้วยความรู้
ทั่วไปเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เช่น สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน แนวทาง
การรักษา การปฏิบัติตัว การดูแลเมื่อเกิดโรค และการฟื้นฟูสภาพร่างกาย เป็นต้น
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือฉบับนี้จะเกิดประโยชน์กับประชาชนทั่วไป ผู้ดูแล
และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน
การเกิดโรค เมื่อเกิดโรคสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงปฏิบัติตัว
ได้ถูกต้อง ด�ำรงชีวิตได้ตามศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


(นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์)
ผู้อ�ำนวยการสถาบันประสาทวิทยา
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน ก

-20-0269(P4)-Ebook.indd 3 30/10/2564 BE 09:12


สารบัญ
หน้า
● ค�ำน�ำ ก
● โรคหลอดเลือดสมอง คืออะไร 5
● อาการของโรคหลอดเลือดสมอง 6
● ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง 7
● โรคหลอดเลือดสมองป้องกันได้ 8
● การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง 11
● แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันระยะเฉียบพลัน 12
● การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 15
● อาหารส�ำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 16
● อาหารทางสายให้อาหารส�ำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 26
● การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 32
● แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน 74
● การเฝ้าระวังและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 82
หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด
และยาต้านการแข็งตัวของเลือด

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
4 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 4 30/10/2564 BE 09:12


โรคหลอดเลือดสมอง คืออะไร?
โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่เซลล์สมองถูกท�ำลาย ซึ่ง มีสาเหตุ
มาจากหลอดเลือดสมองตีบอุดตันหรือแตก ท�ำให้ขัดขวางการล�ำเลียงเลือด
ซึ่งน�ำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมอง ส่งผลให้สมองสูญเสียการ
ท�ำหน้าที่ จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต ถ้าร้ายแรงอาจท�ำให้เสียชีวติ ได้

อัมพาต 1 คน เท่ากับอัมพาตทั้งบ้าน

โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 2 ประเภท


1. โรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตัน (Ischemic stroke) พบได้ประมาณ
80% มีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดจากการสะสมของคราบ
ไขมันที่ผนังหลอดเลือดชั้นในจนหนานูน แข็ง ขาดความยืดหยุ่น ท�ำให้รูของ
หลอดเลือดค่อยๆ ตีบแคบลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการล�ำเลียงเลือด
ลดลงหรืออาจเกิดจากลิ่มเลือดจากหัวใจหรือการปริแตกของผนังหลอดเลือด
หลุดมาอุดตันหลอดเลือดในสมอง
2. โรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ
20% ภาวะเลือดออกในสมองส่งผลให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บจากการ
มีเลือดคั่งในเนื้อสมอง ท�ำให้เนื้อสมองตายมักพบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
ท�ำให้หลอดเลือดมีความเปราะเเละแตก ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ เช่น
ภาวะโป่งพองของหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่น
โรคเลือด โรคตับ การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 5

-20-0269(P4)-Ebook.indd 5 30/10/2564 BE 09:12


นอกจากนี้ ยั ง มี ก ลุ ่ ม ของโรคสมองขาดเลื อ ดชั่ ว คราว (Transient
ischemic attack : TIA) ซึง่ จะมีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง แต่มอี าการ
ชั่วคราวมักเป็นไม่เกิน 24 ชั่วโมง พบว่าประมาณ 15% ของผู้ป่วยที่มีอาการ
สมองขาดเลือดชั่วคราว จะมีภาวะโรคหลอดเลือดสมองตามมา จึงถือเป็น
ภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะท�ำให้เกิด
อัมพฤกษ์ อัมพาตได้

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
มักจะเป็นทันทีทันใด ได้แก่
1. ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
2. พูดไม่ชดั พูดล�ำบาก ปากเบีย้ ว มุมปากตก น�ำ้ ลายไหล กลืนล�ำบาก
3. ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียว
4. เวียนศีรษะ เดินเซ ทรงตัวล�ำบาก
5. ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ

***ผู้ป่วยที่มาทันภายใน 4.5 ชั่วโมง (270 นาที)


นับจากมีอาการจะมีโอกาสได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
ด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดด�ำ
ถ้ามีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อห้ามในการให้ยา***

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
6 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 6 30/10/2564 BE 09:12


ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถป้องกันได้
1. อายุ ผูท้ มี่ อี ายุมากขึน้ หลอดเลือดจะเริม่ เสือ่ มสภาพลง ยิง่ อายุมากขึน้
อัตราเสี่ยงยิ่งเพิ่มขึ้น
2. เพศ เพศชาย พบอุบตั กิ ารณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่า
เพศหญิง
3. พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง จะมี
ความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป
4. มีประวัติเคยโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน จะมีความเสี่ยงในการ
เกิดโรคนี้มากขึ้น
5. เชื้อชาติ ในทางการแพทย์พบว่าผู้ที่มีผิวสีด�ำ (แอฟริกัน อเมริกัน)
จะมีอตั ราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้มากกว่าผูท้ มี่ ผี วิ สีขาว

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้
1. ความดันโลหิตสูง: เป็นปัจจัยเสีย่ งส�ำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง
เพราะสามารถสร้างความเสียหายและท�ำให้หลอดเลือดทัว่ ร่างกาย
อ่อนแอลง จนหลอดเลือดอาจแตกหรืออุดตันได้ง่ายขึ้น
2. คอเลสเตอรอลสูง: เป็นสารไขมันที่ก่อให้เกิดคราบจุลินทรีย์ใน
หลอดเลือดแดงซึ่งจะไปปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดไปสู่สมองได้
3. โรคหัวใจ: จะเพิม่ ความเสีย่ งในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary artery disease) การเต้นของ
หัวใจผิดปกติหรือโรคหัวใจห้องบนสัน่ พลิว้ (Atrial fibrillation, AF)
4. โรคเบาหวาน: ผูป้ ว่ ยโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
มากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวานมากถึง 4 เท่า
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 7

-20-0269(P4)-Ebook.indd 7 30/10/2564 BE 09:12


5. สูบบุหรี่ สารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำ� ให้ปริมาณออกซิเจน
ลดลง และเป็นตัวท�ำลายผนังหลอดเลือด ท�ำให้หลอดเลือดแข็งตัว
พบว่าการสูบบหุ รีเ่ พียงอย่างเดียวเพิม่ ความเสีย่ งต่อโรคหลอดเลือด
สมองถึง 3.5%
6. ยาคุมก�ำเนิด ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมก�ำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง
จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง
7. โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอักเสบและหลอดเลือดแข็ง
8. ขาดการออกก�ำลังกาย

โรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันได้
1. งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่มือสอง

2. งดดื่มเหล้า เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
8 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 8 30/10/2564 BE 09:12


3. พักผ่อนให้เพียงพอและคลายเครียดสม�่ำเสมอ

4. ลดความอ้วน ควบคุมน�้ำหนักตัว ควรมีค่า BMI < 25 kg/m2

5. ควรได้รบั การตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจระดับน�ำต ้ าลในเลือดและ


ไขมันในเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ควบคุมระดับความดันโลหิต
ไขมัน และน�ำต
้ าลในเลือดให้อยูใ่ นเกณฑ์ปกติ เพือ่ ป้องกันความเสีย่ ง
ของการเกิดโรค

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 9

-20-0269(P4)-Ebook.indd 9 30/10/2564 BE 09:12


6. ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรส หวาน มัน เค็ม

7. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่

8. ออกก�ำลังกายสม�่ำเสมออย่างน้อย 30 นาที ต่อครั้ง 3-4 ครั้ง


ต่อสัปดาห์

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
10 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 10 30/10/2564 BE 09:12


9. กรณีที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ท�ำให้หลอดเลือดตีบอุดตันหรือแตก
ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม�่ำเสมอตามแผนการรักษา
ของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการ
ผิดปกติ
10. เมื่อมีสัญญาณอันตรายเกิดขึ้น ให้ไปโรงพยาบาลทันทีเพื่อเข้ารับ
การรักษาได้ทันเวลา เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดความพิการและ
การเสียชีวิต

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง
1. การตรวจร่างกายโดยแพทย์
2. การเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3. การตรวจ CT scans หรือการสแกนสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์
คอมพิวเตอร์
4. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
5. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography)
6. การตรวจเอกซเรย์ปอด (Chest x-ray)
7. การตรวจ MRI scans หรือเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
8. การตรวจหลอดเลือดแดงคาโรติดที่คอด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
(Carotid ultrasound)

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 11

-20-0269(P4)-Ebook.indd 11 30/10/2564 BE 09:12


แนวทางการรักษา
โรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันระยะเฉียบพลัน
1. การดูแลรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit)
จะให้การดูแลโดยทีมสหวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมอง
เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบ�ำบดั นักจิตวทิ ยา นักสังคมเคราะห์
เป็นต้น

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
12 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 12 30/10/2564 BE 09:12


2. การให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic drug) พิจารณาให้ยา
โดยแพทย์ ผู ้ เชี่ ย วชาญด้ า นโรคหลอดเลื อ ดสมอง โดยต้ อ งให้ ย าภายใน
4.5 ชั่วโมง (4 ชั่วโมงครึ่ง) นับจากมีอาการ ถ้าไม่มีข้อห้ามในการให้ยา

3. การรัก ษาโรคหลอดเลือดสมองตี บ หรื อ อุ ด ตั นระยะเฉี ย บพลั น


(Acute ischemic stroke) ผ่านสายสวนหลอดเลือดสมองด้วยวิธี Mechanical
thrombectomy เป็นทางเลือกทีเ่ พิม่ ขึน้ ในการรักษาผูป้ ว่ ยทีม่ ลี มิ่ เลือดอุดตัน
ในหลอดเลือดสมองเส้นใหญ่นอกเหนือจากการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด
เพียงอย่างเดียว จะช่วยลดความพิการเนื่องจากความเสียหายของสมองได้

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 13

-20-0269(P4)-Ebook.indd 13 30/10/2564 BE 09:12


4. การให้ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพรินภายใน 48 ชัว่ โมงนับตงั้ แต่
เกิดอาการ ถ้าไม่มีข้อห้าม

5. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะโดยประสาทศัลยแพทย์ที่มีความ
เชี่ยวชาญ ในกรณีที่มีเนื้อสมองตายขนาดใหญ่ เพื่อลดความดันในกะโหลก
ศีรษะ จะช่วยลดอัตราตายและความพิการ

6. การผ่าตัดหลอดเลือดแดงคาโรติดที่คอในกรณีที่มีการตีบรุนแรง
หรือการใส่ขดลวดเพื่อถ่างขยายหลอดเลือดคาโรติดตีบ
7. การฟื้นฟูร่างกายและการท�ำกายภาพบ�ำบัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อลด
ความพิการ
8. การป้องกันการกลับเป็นโรคซ�้ำ
9. การดูแลทางด้านจิตใจ

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
14 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 14 30/10/2564 BE 09:12


การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
● ลดการกินอาหารหวาน มัน เค็ม อาหารทอด กะทิ
● ลดน�้ำหนักตัว ออกก�ำลังกายสม�่ำเสมอ
● งดเหล้า เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
● งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงบุหรี่มือสอง
● รั บ ประทานยาตามแผนการรั ก ษาของแพทย์ อ ย่ า งเคร่ ง ครั ด
ไม่งดหรือลดยาเอง และไปตรวจรักษาตามแพทย์นัดเพื่อติดตาม
การรักษาอย่างต่อเนื่อง

● ถ้ามีอาการผิดปกติเพิ่มขึ้น เช่น แขนขาอ่อนแรงมากขึ้น ปากเบี้ยว


พูดไม่ชัด ตามองเห็นภาพซ้อน เป็นต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
อย่ารอดูอาการที่บ้านหรือบีบนวด

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 15

-20-0269(P4)-Ebook.indd 15 30/10/2564 BE 09:12


อาหารส�ำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เกิดขึ้นซ�้ำได้ หากขาดการป้องกันและ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการ
เกิดโรค เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ซึ่งการจัดเตรียม
อาหารส�ำหรับผู้ป่วยที่ถูกต้องและเหมาะสม จะช่วยควบคุมปัจจัยดังกล่าว
ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้

อาหารส�ำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
1. ลดเค็ ม ต้ อ งจ�ำกั ด การได้ รั บโซเดี ย มในอาหารไม่ เ กิ น วันละ
2,400 มิลลิกรัม/วัน หรือคิดเป็นปริมาณเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา/วัน
โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง เช่น เครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ
(เกลือ น�้ำปลา ซอสหอยนางรม ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น�้ำบูดู) เป็นต้น
หลีกเลี่ยงอาหารดองเค็ม เช่น ไข่เค็ม กะปิ กุ้งแห้ง ปลาร้า เต้าเจี้ยว
ผัก/ผลไม้ดองเค็ม เป็นต้น
หลีกเลี่ยงอาหารดองเปรี้ยว เช่น หน่อไม้ดอง ผักกาดเขียวดองเปรี้ยว
ผักดองสามรส กระเทียมดอง หัวหอมดอง แหนม ไส้กรอกอีสาน เป็นต้น
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัด เช่น ปลาหวาน กุ้งหวาน
หมูหยอง หมูแดดเดียว หมูแผ่น กุนเชียง ผลไม้แช่อิ่ม เป็นต้น
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
16 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 16 30/10/2564 BE 09:12


หลีกเลี่ยงอาหารกระป๋องและอาหารส�ำเร็จรูป เช่น ผลไม้กระป๋อง
ปลากระป๋อง บะหมี่กึ่งส�ำเร็จรูป โจ๊ก ซุปชนิดต่างๆ เป็นต้น
หลกี เลยี่ งอาหารที่มีส่วนประกอบของผงชูรส ผงฟูและสารกันบูด เช่น
ขนมเค้ก คุกกี้ ขนมปัง แพนเค้ก ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น
2. ทานผักสดและผลไม้สดให้หลากหลาย เป็นประจ�ำทุกวัน
3. เลือกทานข้าว ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการแปรรูปและ
นมไขมันต�่ำ

ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรส
ปริมาณโซเดียม
รายการ น�้ำหนัก
(มิลลิกรัม)
เกลือ 1 ช้อนชา 2,000
กะปิ 1 ช้อนชา 497
น�้ำปลา 1 ช้อนชา 450
ซีอิ๊ว 1 ช้อนชา 397
เต้าเจี้ยว 1 ช้อนโต๊ะ 640
ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ 518
น�้ำจิ้มไก่ 1 ช้อนโต๊ะ 385
น�้ำจิ้มสุกี้ 1 ช้อนโต๊ะ 280
ซอสพริก 1 ช้อนโต๊ะ 231
ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนโต๊ะ 149
ข้อมูล : สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 17

-20-0269(P4)-Ebook.indd 17 30/10/2564 BE 09:12


อาหารส�ำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง
อาหารประเภทไขมันมีความจ�ำเป็นส�ำหรับร่างกาย เนือ่ งจากให้พลังงาน
และช่วยในการดูดซึมวิตามินต่างๆ จึงจ�ำเป็นต้องรับประทานอาหารประเภท
ไขมัน แต่ควรจ�ำกัดปริมาณไขมันทีไ่ ด้รบั ไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทัง้ หมด
ที่ได้รับจากสารอาหาร โดยมีแนวทางในการรับประทานดังนี้
1. หลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง
เช่น น�้ำมันหมู น�้ำมันไก่ น�้ำมันมะพร้าว กะทิ เนย ครีมต่างๆ หมูสามชั้น
หนังสัตว์ เพราะอาหารกลุ่มนี้จะท�ำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น
2. จ�ำกัดปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม
● หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ทุกชนิด
● หลีกเลี่ยงอาหารทะเลบางชนิด เช่น ปลาหมึก กุ้ง หอยนางรม
● รับประทานไข่แดง ไม่เกินสัปดาห์ละ 3 ฟอง
● เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต�่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้ออกไก่
● เลือกดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต�่ำ
3. เลือกวิธีการปรุงอาหารที่ไม่ใช้น�้ำมันหรือใช้น�้ำมันน้อย เช่น
ต้ม ย�ำ ย่าง อบ นึ่ง ตุ๋น แทนการทอด เจียว ผัด ซึ่งใช้น�้ำมันปริมาณมาก
ควรเลือกใช้กรดไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณที่พอเหมาะ เลือกใช้น�้ำมันพืช
แทนน�้ ำ มั น จากสั ตว ์ เช่ น น�้ ำ มั น ร� ำ ข้ า ว น�้ ำ มั น มะกอก น�้ ำ มั น ถั่ ว เหลื อ ง
น�้ำมันเมล็ดทานตะวัน ปรุงอาหารในปริมาณที่ก�ำหนด (ไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน)
4. รับประทานอาหารที่มีใ ยอาหารสู ง เช่ น ผั ก ผลไม้ ไ ม่ ห วาน
ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท เนือ่ งจากใยอาหารจะช่วยลดการดูดซึม
ไขมันได้
5. ผูที่้ มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สงู จะต้องควบคุมการบริโภคผลไม้
รสหวาน ของหวาน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
18 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 18 30/10/2564 BE 09:12


6. ควบคุมน�้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยพิจารณาจาก
● เส้นรอบวงเอว ผู้ชาย น้อยกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร
ผู้หญิง น้อยกว่าหรือเท่ากับ 80 เซนติเมตร
● ดัชนีมวลกาย
ค�ำนวณจาก น�ำ้ หนักตัว (กิโลกรัม) / ความสูง (เมตร) ยกก�ำลังสอง
ถ้าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.5 ผอมเกินไป
18.6 – 22.9 น�้ำหนักปกติ
23.0 – 24.9 น�้ำหนักเกิน
25.0 – 29.9 อ้วน
มากกว่า 30 อ้วนมาก

ตารางแสดงปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหาร 100 กรัม


โคเลสเตอรอล
ชนิดอาหาร
(มิลลิกรัม/100 กรัม)
ไข่เป็ด (เฉพาะไข่แดง) 1,448
ไข่ไก่ (เฉพาะไข่แดง) 1,250
ไข่เป็ด (ทั้งฟอง) 543
ไข่ไก่ (ทั้งฟอง) 427
ตับหมู 364
ปูทะเล (มัน) 361
ตับไก่ 336
ปลาหมึกกล้วย (หัว) 321
ปลาหมึกกล้วย (ตัว) 251
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 19

-20-0269(P4)-Ebook.indd 19 30/10/2564 BE 09:12


โคเลสเตอรอล
ชนิดอาหาร
(มิลลิกรัม/100 กรัม)
ไตหมู 235
หอยนางรม 231
ตับวัว 218
กุ้งแชบ๊วย 192
กระเพาะหมู 181
กุ้งกุลาด�ำ 175
หัวใจหมู 133
ปูม้า (เนื้อ) 90
ปูทะเล (เนื้อ) 87
ปลาทู 76
ปลากะพงขาว 69
ปลาซาบะ (เนื้อ) 60
ปลาทูน่า 51
ปลาทับทิม (เนื้อ) 51
ปลาช่อน (เนื้อ) 44
ปลานิล (เนื้อ) 42
ข้อมูลจาก ส�ำนักโภชนาการอาหาร กรมอนามัย พ.ศ.2557

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
20 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 20 30/10/2564 BE 09:12


อาหารส�ำหรับผู้ที่มีภาวะน�้ำตาลในเลือดสูง
หรือเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นโรคทีเ่ กิดขึน้ เมือ่ ร่างกายไม่สามารถน�ำน�ำต ้ าลกลูโคส
ในเลือดไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยเฉพาะ
คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่มีอยู่ใน ข้าว แป้ง ผลไม้ นม และน�้ำตาล
จะถูกเปลี่ยนเป็นน�้ำตาลในเลือด ดังนั้นผู้ที่มีภาวะน�้ำตาลในเลือดสูงหรือ
ผู ้ ที่ เ ป็ น เบาหวานจ� ำ เป็ น ต้ อ งควบคุ ม ทั้ ง ชนิ ด และปริ ม าณคาร์ โ บไฮเดรต
เพื่อควบคุมระดับน�้ำตาลในเลือด โดยมีแนวทางการรับประทานอาหาร ดังนี้

● อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือไม่ควรรับประทาน
- เครือ่ งดืม่ ทีม่ แี อลกอฮอล์และน�ำต ้ าลเป็นส่วนประกอบ เช่น เหล้า
เบียร์ ไวน์ น�้ำอัดลม น�้ำหวาน ชา กาแฟ น�้ำผลไม้ นมปรุงแต่งรส นมเปรี้ยว
เป็นต้น
- ของหวานๆ เช่น ขนมหวาน ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เค้ก
ไอศกรีม ช็อกโกแลต เป็นต้น
- น�้ำตาล จ�ำกัดปริมาณน�้ำตาลไม่ควรได้รับเกินวันละ 6 ช้อนชา
● อาหารที่รับประทานได้ไม่จ�ำกัด
- ผักใบทุกชนิด เช่น ผักบุ้ง คะน้า ผักกาดขาว ต�ำลึง กวางตุ้ง
กะหล�ำ่ ปลี เป็นต้น อาหารกลุม่ นีม้ คี าร์โบไฮเดรตและพลังงานต�ำ่ มีใยอาหารสูง
ซึ่งช่วยชะลอการดูดซึมน�้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด
- เครื่องเทศ สมุนไพรไทยต่างๆ เช่น กระเทียม พริกไทย มะนาว
- เครื่องดื่มสมุนไพร ไม่ใส่น�้ำตาล

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 21

-20-0269(P4)-Ebook.indd 21 30/10/2564 BE 09:12


● อาหารที่รับประทานได้ แต่ต้องจ�ำกัดปริมาณ
- ข้าวแป้งและธัญพืช ได้แก่ ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน
วุ้นเส้น เผือก มัน ข้าวโพด ลูกเดือย เป็นต้น ควรเลือกชนิดที่ไม่ขัดสี เช่น
ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ธัญพืชไม่ขัดสี เนื่องจากมีวิตามินและใยอาหารมาก
โดยรับประทานอาหารกลุ่มนี้ ได้มื้อละ 2 - 3 ทัพพี จ�ำกัดการรับประทานถั่ว
เช่น ถั่วเขียว ถั่วด�ำ ถั่วแดง
- เนื้อสัตว์ ถ้ารับประทานมากเกินไป จะท�ำให้ได้รับไขมันและ
โคเลสเตอรอลสูง ควรเลือกรับประทานเนื้อที่ไม่ติดมันและหนัง เนื้อสัตว์ท่ีมี
ไขมันน้อย เช่น เนือ้ ปลา เนือ้ ไก่ ไข่ขาว หรือโปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้ หลีกเลีย่ ง
เนื้อสัตว์ที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลาหมึก หอยนางรม
- ผลไม้ เนือ่ งจากผลไม้ทกุ ชนิดมีคาร์โบไฮเดรตและน�ำต ้ าล จึงควร
เลือกผลไม้ที่รสไม่หวานจัด เพื่อให้ระดับน�้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
เช่น ฝรั่ง แก้วมังกร ส้ม มะละกอ เป็นต้น โดยก�ำหนดปริมาณให้เหมาะสม
คือ 1 ส่วนต่อมื้อ เช่น ส้มเขียวหวาน 1 ผล แก้วมังกร ผลกลาง มะละกอสุก
8 ชิ้นค�ำ
- นม มีโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ควรเลือกดื่มนมจืด
นมพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนย หากเป็นนมถั่วเหลืองควรเลือกสูตร
ที่ไม่เติมน�้ำตาล ปริมาณที่เหมาะสมวันละ 1 - 2 แก้ว

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
22 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 22 30/10/2564 BE 09:12


ตารางปริมาณพลังงานและสัดส่วนอาหารตามที่ก�ำหนด
คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน : ไขมัน = 50 - 60 : 15 - 20 : 30 - 35

พลังงาน นม ข้าว - แป้ง ผัก เนื้อสัตว์ ผลไม้ น�้ำมัน


(แคลอรี่) (แก้ว) (ทัพพี) (ทัพพี) (ช้อนโต๊ะ) (ส่วน) (ช้อนชา)
1,200 1 6 3 6 3 3
1,500 1 8 3 8 3 4
1,800 1 9 3 10 4 6
2,000 1 10.5 3 12 4 6

ตัวอย่างรายการอาหารใน 1 สัปดาห์
วันจันทร์
เช้า ข้าวต้ม ผัดบวบใส่ไข่ ไก่บดผัดขิง กล้วยน�้ำว้า นมพร่องมันเนย
กลางวัน ข้าวหมูอบแตงกวา แกงจืดกะหล�่ำปลี ส้มเขียวหวาน
เย็น ข้าวสวย แกงเลียงกุ้งผักรวม ย�ำปลาทู แอปเปิ้ล
วันอังคาร
เช้า ขนมปังโฮลวีท อกไก่นึ่ง ย�ำทูน่า กล้วยหอม นมพร่องมันเนย
กลางวัน ข้าวกะเพราหมูสับถั่วฝักยาว แกงจืดหัวไชเท้า ฝรั่ง
เย็น ข้าวซ้อมมือ แกงป่าไก่ผักรวม เจี๋ยนปลาจาระเม็ด สาลี่

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 23

-20-0269(P4)-Ebook.indd 23 30/10/2564 BE 09:12


วันพุธ
เช้า ข้าวสวย ต้มเลือดหมูต�ำลึง ปลานิลนึ่งจิ้มแจ่ว แก้วมังกร
น�้ำเต้าหู้ (หวานน้อย)
กลางวัน ราดหน้าเส้นหมี่คะน้าหมู แกงจืดฟักเขียว สับปะรด
เย็น ข้าวสวย ต้มจืดมะระสอดไส้ ผัดเผ็ดหน่อไม้ไก่ ส้มโอ
วันพฤหัสบดี
เช้า ข้าวต้มปลากะพง ขนมจีบ ฝรั่ง นมพร่องมันเนย
กลางวัน ผัดมักกะโรนีไก่ สลัดผัก เงาะ
เย็น ข้าวสวย แกงส้มผักกาดขาวกุ้ง หมูอบ กล้วยไข่
วันศุกร์
เช้า โจ๊กหมูบดปั้นก้อน ชมพู่ น�้ำเต้าหู้ (หวานน้อย)
กลางวัน ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา ซาลาเปาหมูสับ แตงโม
เย็น ข้าวซ้อมมือ แกงเหลืองมะละกอปลาช่อน ไข่ตุ๋น แคนตาลูป
วันเสาร์
เช้า ข้าวต้ม จับฉ่าย ปลาอินทรีทอด นมขาดมันเนย
กลางวัน ก๋วยเตี๋ยวหลอดทรงเครื่อง แกงจืดลูกเงาะ กล้วยไข่
เย็น ข้าวซ้อมมือ ต้มย�ำปลาช่อนเห็ดฟาง ผักกวางตุง้ ลูกชิน้ กุง้ แอปเปิล้
วันอาทิตย์
เช้า ข้าวต้มกุ้ง ส้มเขียวหวาน นมพร่องมันเนย
กลางวัน บะหมี่หมูแดงแห้ง เกี๊ยวน�้ำ สับปะรด
เย็น ข้าวซ้อมมือ ผัดฉ่าลูกชิ้นปลากราย แกงจืดผักกาดขาว แตงโม
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
24 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 24 30/10/2564 BE 09:12


อาหารส�ำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการเคี้ยว
กลืนล�ำบาก
ควรเป็นอาหารที่มีกากน้อย มีการดัดแปลงเนื้ออาหารโดยการปั่น
ถ้าเป็นของเหลวต้องท�ำให้ข้นขึ้นโดยใช้แป้งมันหรือแป้งข้าวโพด เพื่อให้เป็น
เนื้อเดียวกันมีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว เนื้ออาหารไม่หยาบ เช่น โจ๊กข้นๆ ไข่ตุ๋น
เยลลี่ สังขยา ฟักทองบด ซุปข้นปั่น

การปรุงอาหารที่เคี้ยวและกลืนง่าย
1. น�้ำผลไม้ท�ำให้ข้นขึ้น เช่น ใส่เจลาติน
2. ข้าวสวยที่หุงนุ่ม ข้าวต้มข้นๆ โจ๊กข้นๆ
3. เนื้อสัตว์และไข่ น�ำไปสับ/ปั่น แล้วต้มหรือตุ๋น
4. ผักต่างๆ สับ/ปั่น แล้วท�ำให้นุ่มโดยการลวก ต้ม ตุ๋น
5. ผลไม้ใช้ผลไม้ที่นุ่ม ไม่มีเมล็ด เช่น มะละกอ มะม่วงสุก
6. อาหารที่เป็นน�้ำท�ำให้ข้นขึ้นโดยการผสมแป้ง

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 25

-20-0269(P4)-Ebook.indd 25 30/10/2564 BE 09:12


อาหารทางสายให้อาหารส�ำหรับผู้ป่วย
โรคหลอดเลือดสมอง
อาหารที่ให้ทางสายให้อาหาร คือ อาหารที่จัดให้ผู้ป่วยที่มีปัญหา
ไม่สามารถกิน เคี้ยว หรือ กลืนอาหารทางปากได้ มีลักษณะเป็นของเหลว
ที่ ไ ม่ มีก าก สามารถผ่านทางสายให้อาหารเข้ า สู ่ ร ่ า งกายได้ โ ดยไม่ ติดขั ด
ซึ่งประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และมีคุณค่า
ของสารอาหาร เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย โดยเฉพาะ
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
สูตรอาหารปั่นผสม (Blenderized Formula) สูตรนี้ใช้วัตถุดิบจาก
อาหาร 5 หมู่ โดยเลือกเอาอาหารแต่ละหมูม่ าท�ำให้สกุ แล้วปัน่ ผสมเข้าด้วยกัน
ซึ่งมีทั้งเนื้อสัตว์ ผัก น�้ำตาลและน�้ำมัน มีสัดส่วนของสารอาหารโปรตีน 20%
ไขมัน 30% คาร์โบไฮเดรต 50%

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
26 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 26 30/10/2564 BE 09:12


อุปกรณ์และภาชนะที่ใช้ในการเตรียมอาหาร
1. ตาชั่ง
2. เครื่องปั่นอาหาร
3. ถ้วยตวง, ช้อนตวง
4. ขวดแก้วส�ำหรับใส่อาหาร
5. กระชอนกรองอาหาร
6. กรวยกรองอาหาร
7. หม้อและทัพพี

สูตรอาหารที่ให้ทางสายให้อาหาร
สูตรธรรมดา
สูตร 1 สูตร 2 สูตร 3
ส่วนผสม 300 แคลอรี่ 350 แคลอรี่ 400 แคลอรี่
/ซีซี / มื้อ /ซีซี / มื้อ /ซีซี / มื้อ
1. น�้ำตาลทราย 25 กรัม 35 กรัม 40 กรัม
(5 ช้อนชา) (7 ช้อนชา) (8 ช้อนชา)
2. สันในไก่ (บดสุก) 45 กรัม 60 กรัม 45 กรัม
(3 ช้อนโต๊ะ) (4 ช้อนโต๊ะ) (3 ช้อนโต๊ะ)
3. ฟักทอง (นึ่งสุก) 50 กรัม 50 กรัม 50 กรัม
หั่นขนาด 1 นิ้ว x 1 นิ้ว (4 ชิ้น) (4 ชิ้น) (4 ชิ้น)
4. ข้าวต้มเปื่อย ¼ ถ้วยตวง ¼ ถ้วยตวง ¼ ถ้วยตวง
(ใช้เฉพาะเนื้อข้าว) (3 ช้อนโต๊ะ) (3 ช้อนโต๊ะ) (3 ช้อนโต๊ะ)
5. ไข่ขาวต้มสุก (ไข่ไก่เบอร์ 2) 1 ฟอง 1 ฟอง 2 ฟอง
6. น�้ำมันพืช 1.5 ช้อนชา 1.5 ช้อนชา 2 ช้อนชา
7. เกลือป่น (ไอโอดีน) ¼ ช้อนชา ¼ ช้อนชา ¼ ช้อนชา
8. น�้ำต้มสุกหรือน�้ำต้มผักกรอง 100 ซีซี 130 ซีซี 150 ซีซี

หมายเหตุ โรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง จ�ำกัดเกลือป่น


คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 27

-20-0269(P4)-Ebook.indd 27 30/10/2564 BE 09:12


สูตรเบาหวาน
สูตร 1 สูตร 2 สูตร 3
ส่วนผสม 300 แคลอรี่ 350 แคลอรี่ 400 แคลอรี่
/ซีซี / มื้อ /ซีซี / มื้อ /ซีซี / มื้อ
1. ขนมปังขาว 2 แผ่น 2 ¼ แผ่น 2 ½ แผ่น
2. สันในไก่ (บดสุก) 30 กรัม 30 กรัม 30 กรัม
(2 ช้อนโต๊ะ) (2 ช้อนโต๊ะ) (2 ช้อนโต๊ะ)
3. ฟักทอง (นึ่งสุก) 65 กรัม 80 กรัม 80 กรัม
หั่นขนาด 1 นิ้ว x 1 นิ้ว (5 ชิ้น) (6 ชิ้น) (6 ชิ้น)
4. ไข่ขาวต้มสุก (ไข่ไก่เบอร์ 2) 1 ฟอง 1 ฟอง 2 ฟอง
5. น�้ำมันพืช 1.5 ช้อนชา 2 ช้อนชา 2.5 ช้อนชา
6. เกลือป่น (ไอโอดีน) ¼ ช้อนชา ¼ ช้อนชา ¼ ช้อนชา
7. น�้ำต้มสุกหรือน�้ำต้มผักกรอง 150 ซีซี 180 ซีซี 200 ซีซี

หมายเหตุ โรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง จ�ำกัดเกลือป่น

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
28 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 28 30/10/2564 BE 09:12


ข้อควรปฏิบต
ั ิในการเตรียมอาหารทางสายให้อาหาร
1. ความสะอาด
เป็นสิ่งส�ำคัญที่สุดในการเตรียมอาหารประเภทนี้ ภาชนะเครื่องใช้
ทุกชนิดต้องต้มหรือลวกด้วยน�้ำร้อนก่อนและหลังใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันมิให้
อาหารมีเชื้อโรค ซึ่งอาจจะท�ำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องร่วงหรือท้องเดินได้
2. การชั่ง ตวงอาหาร
ต้ อ งมี ก ารชั่ ง ตวงอาหารและส่ ว นผสมให้ ถู ก ต้ อ งตามสั ด ส่ ว น
ที่ก�ำหนดให้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้คุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน
3. การเก็บรักษา
อาหารที่เตรียมให้ผู้ป่วยจะต้องเตรียมไว้ภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น
(ห้ามเกิน 1 วัน)
4. การให้อาหาร
ญาติผู้ป่วยควรฝึกและเรียนรู้วิธีการให้อาหารผู้ป่วยจากพยาบาล
เพื่อน�ำกลับไปปฏิบัติที่บ้านได้อย่างถูกต้อง

ข้อแนะน�ำในการให้อาหารทางสายให้อาหาร
1. ปริมาณอาหารแต่ละมื้อประมาณ 300 - 400 ซีซี (ไม่เกิน 500 ซีซี)
2. แต่ละมื้อให้ห่างกัน 3 - 4 ชั่วโมง
3. ควรอุน่ อาหารให้มีอุณหภูมิพอเหมาะก่อนให้อาหารผู้ป่วยทุกครั้ง

หมายเหตุ
1. เนื้อสัตว์ที่ควรใช้ เช่น เนื้ออกไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา เลือกใช้อย่างใด
อย่างหนึ่ง สลับกันไป
2. ผักที่ควรใช้ เช่น ใบผักกวางตุ้ง ใบผักต�ำลึง ใบผักโขม ฟักทอง หรือ
แครอท ฯลฯ สลับกันไป
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 29

-20-0269(P4)-Ebook.indd 29 30/10/2564 BE 09:12


ขั้นตอนการให้อาหารทางสายยาง
1. ล้างมือโดยการฟอกสบู่ให้สะอาด
2. เตรียมอุปกรณ์ให้อาหาร ได้แก่
● กระบอกให้อาหาร
● ส�ำลีชุบน�้ำต้มสุก
● อาหารเหลวที่อุ่นแล้ว (อาหารผสม อาหารส�ำเร็จรูป หรือนม
ใส่ขวดหรือบรรจุในถุง) ต้องใช้ให้หมดภายใน 1 วัน
● ยา (ถ้ามี) อุปกรณ์ส�ำหรับบดยา
● น�้ำต้มสุก 1 แก้ว
3. จัดท่านอน ให้ศรี ษะสูง ไขหัวเตียงให้สงู ในท่ากึง่ นัง่ กึง่ นอน ถ้าผูป้ ว่ ย
สามารถนั่งเองได้ จัดให้นั่งเก้าอี้หรือนั่งบนเตียง
4. ถ้าผูป้ ว่ ยมีเสมหะในล�ำคอหรือปอดให้ดดู เสมหะให้หมดก่อนทุกครัง้
ที่จะให้อาหาร เพื่อป้องกันการไอและส�ำลักอาหาร
5. ท�ำความสะอาดบริเวณหัวต่อสายยางโดยใช้ส�ำลีชุบน�้ำต้มสุกเช็ด
6. ตรวจสอบต� ำ แหน่ ง สายยางให้ อ าหารทุ ก ครั้ ง ก่ อ นให้ อ าหาร
โดยสังเกตว่าสายอยู่ในต�ำแหน่งหรือไม่ (สังเกตจากเครื่องหมายขีดที่สาย
ให้อาหาร) หากอยูใ่ นต�ำแหน่งเดิมให้ทดลองใช้กระบอกดูดอาหาร ดูดของเหลว
ในกระเพาะอาหารออกมา หากไม่เกิน 50 ซีซี ให้อาหารเหลวได้
7. หากสายยางให้อาหารเลื่อนจากต�ำแหน่งเดิมไม่เกิน 2 นิ้วฟุต
ให้ดนั สายยางกลับตำ� แหน่งเดิมและทดลองใช้กระบอกดูดอาหาร ดูดของเหลว
ในกระเพาะอาหารออกมา หากไม่เกิน 50 ซีซี ให้อาหารเหลวได้
8. หากสายยางให้อาหารเลื่อนจากต�ำแหน่งเดิมเกิน 2 นิ้วฟุต ให้น�ำ
ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ที่คลินิก หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
30 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 30 30/10/2564 BE 09:12


9. ทุกครั้งที่ดูดอาหารในกระเพาะอาหาร และพบว่ามีของเหลว
มากกว่า 50 ซีซี ให้ดันของเหลวกลับสู่กระเพาะอย่างช้าๆ และเลื่อนเวลา
ออกไปครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง และจึงทดสอบดูใหม่หากอาหารน้อยกว่า
50 ซีซี ให้อาหารได้ตามปกติ ถ้ายังมีอาหารค้างมากกว่า 50 ซีซี ให้งดอาหาร
มื้อนั้นไปก่อน
10. ขณะให้อาหารทางสายยาง ถ้าผู้ป่วยไอ ส�ำลัก ให้หยุดให้อาหารไว้
ก่อนจนกว่าผู้ป่วยจะหยุดไอ
11. หลังให้อาหาร กรณีที่มียา น�ำยาบดละเอียดผสมน�้ำประมาณ
15 ซีซี กรอกทางสายยางให้อาหารและให้น�้ำตาม 50 ซีซี
12. หลังให้อาหารปิดจุกสายยาง เช็ดท�ำความสะอาด จัดให้ผปู้ ว่ ยนอน/
นั่งศีรษะสูงอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้อาหารทางสายยาง
● เวลา 6.00 น.
● เวลา 10.00 น.
● เวลา 14.00 น.
● เวลา 18.00 น.
● เวลา 22.00 น.
หมายเหตุ สามารถให้นำ�้ เพิม่ ระหว่างมือ้ ได้ 50-100 ซีซี (ถ้าไม่มขี อ้ ห้าม
ในการจ�ำกัดน�้ำ)

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 31

-20-0269(P4)-Ebook.indd 31 30/10/2564 BE 09:12


การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นกระบวนการ
บ�ำบัดรักษาแบบองค์รวมโดยทีมสหวิชาชีพ มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวของ
ระบบประสาทและการฟื้นความสามารถให้มากที่สุดตามศักยภาพหลังจาก
เกิดความบกพร่องและความพิการที่เป็นผลมาจากโรคหลอดเลือดสมอง
วัตถุประสงค์หลักคือ เพือ่ ให้ผปู้ ว่ ยช่วยเหลือตนเองในการท�ำกิจวัตรประจ�ำวนั
ให้ได้มากที่สุด เป็นภาระแก่ครอบครัวและผู้ดูแลน้อยที่สุด รวมทั้งส่งเสริม
ให้ผู้ป่วยกลับเข้าร่วมในกิจกรรมของครอบครัวและสังคมรวมทั้งงานอาชีพ
ถ้าสามารถท�ำได้
โดยปกติ ภ ายหลั ง จากผู ้ ป ่ ว ยพ้ น วิ ก ฤติ ใ นระยะเฉี ย บพลั น หลั ง เกิ ด
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นช่วงระยะกลางหรือระยะหลังเฉียบพลันที่ผู้ป่วย
สมควรได้รบั โปรแกรมการฟืน้ ฟูสมรรถภาพ เนือ่ งจากภายในระยะเวลา 6 เดือน
หลังเกิดโรคเป็นช่วงเวลาที่ระบบประสาทจะสามารถฟื้นตัวได้มากที่สุด
โดยเฉพาะเมื่อ ได้ รั บการกระตุ ้ น ด้ ว ยการฝึ ก ตามโปรแกรมการฟื ้ น ฟู
สมรรถภาพที่เหมาะสมอย่ า งเต็ ม ที่ ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพจะประสบ
ความส�ำเร็จตามเป้าหมายและได้ผลดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับทีมผู้รักษา
ระยะเวลาที่เริ่มรักษา และสิ่งส�ำคัญ คือ ความร่วมมือของผู้ป่วย ครอบครัว/
ผู้ดูแล
อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองมาก
ท�ำให้มีความบกพร่องหรือความพิการมาก ร่วมกับมีปัจจัยลบที่ขัดขวางการ
ฟื้นฟูสมรรถภาพหลายประการ เช่น อายุมาก มีโรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อน
ร้ายแรงที่ยังควบคุมอาการไม่ได้ มีภาวะพิการอยู่ก่อนหน้า มีความบกพร่อง
ด้านการตืน่ รูแ้ ละเชาวน์ปญ
ั ญา เป็นต้น ผูป้ ว่ ยในกลุม่ นีเ้ ป้าหมายของการฟืน้ ฟู
สมรรถภาพอาจมุง่ เน้นด้านการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดภาวะการนอนติดเตียง
สอนครอบครัวและผู้ดูแลในการดูแลต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อให้ผู้ป่วยยังมี
คุณภาพชีวิตที่ดี
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
32 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 32 30/10/2564 BE 09:12


โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ ประกอบด้วย
1. กายภาพบ� ำบั ด ฝึ ก การออกก� ำ ลั ง เคลื่ อ นไหวข้ อ ต่ อ /การเพิ่ ม
ความแข็งแรงทนทานกล้ามเนือ้ /การควบคุมการเคลือ่ นไหวของแขนขา การฝึก
การทรงตัวท่ายืน/ท่านั่ง การเคลื่อนย้ายตัว การเดิน การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน/
รถเข็น รวมถึงการใช้เครื่องมือไฟฟ้าทางกายภาพบ�ำบัดร่วมบ�ำบัดตามความ
เหมาะสม
2. กิ จ กรรมบ� ำบั ด ฝึ ก กระตุ ้ น การฟื ้ น ตั ว และเพิ่ ม ความสามารถ
ในการควบคุมประสาทสั่งการของแขนและมือผ่านการท�ำกิจกรรมต่างๆ
ฝึกความสามารถในการท�ำกิจวัตรประจ�ำวนั ฝึกด้านการรับรูแ้ ละเชาวน์ปญ ั ญา
ให้คำ� แนะน�ำเรือ่ งอุปกรณ์ชว่ ยในการท�ำกิจวัตรประจ�ำวนั รวมทัง้ ให้คำ� แนะน�ำ
การปรับสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมส�ำหรับความพิการ
3. การฝึ ก การกลื น โดยนั ก กิ จ กรรมบ� ำบั ด หรื อ นั ก แก้ ไขการพู ด
(ขึน้ กับแต่ละสถานพยาบาล) ประเมินและให้โปรแกรมการบ�ำบดั ส�ำหรับผูป้ ว่ ย
ที่มีปัญหาด้านการกลืน เช่น กลืนล�ำบาก กลืนติด มีความเสี่ยงต่อการส�ำลัก
อาหาร เป็นต้น
4. การแก้ไขการพูด โดยนักแก้ไขการพูด ให้ประเมินและให้โปรแกรม
การฝึกในผู้ป่วยที่มีปัญหาในการสื่อความหมาย (ภาษาและการพูด) โดยมี
วัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีขึ้นทั้งผ่านการพูดหรือ
ผ่านวิธีการอื่น
5. การจัดหา/แนะน�ำ กายอุปกรณ์ อุปกรณ์เสริมและอุปกรณ์ช่วย
การเคลื่อนที่

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 33

-20-0269(P4)-Ebook.indd 33 30/10/2564 BE 09:12


กายภาพบ�ำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
การดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกทางกายภาพบ�ำบัด เป้าหมายเพื่อเป็น
การกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมา
ช่ ว ยเหลื อ ตนเองในการท� ำ กิ จ วั ต รประจ� ำวั น ต่ า งๆ ให้ ไ ด้ ใ กล้ เ คี ย งปกติ
มากที่สุดตามศักยภาพของผู้ป่วย และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
ที่เกิดจากการขาดการเคลื่อนไหวเมื่อมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งวิธีการ
ทางกายภาพบ�ำบัดประกอบด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

การจัดท่าในการนอน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อป้องกันแผลกดทับ
2. เพื่อป้องกันการหดสั้นของกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อต่อ
3. เพื่อยับยั้งการเกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติและป้องกัน
การผิดรูป
4. เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการฟื้นตัวเร็วขึ้น

1. ท่านอนหงาย

● ศีรษะและล�ำตัวอยู่ในแนวตรง
● ใช้หมอนบางๆ หนุนที่หัวไหล่ และต้นแขนข้างที่อ่อนแรง
● แขนหงายเหยียดตรง นิ้วมือเหยียดออก หรือใช้ผ้าขนหนูม้วนวางในมือ
● ใช้หมอนหรือ ผ้าขนหนูหนุนบริเวณข้างสะโพกและขาข้างที่อ่อนแรงเพื่อ
ไม่ให้ขาและสะโพกบิดหมุนออก
● ขาเหยียดตรง และใช้หมอนกันปลายเท้าตก
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
34 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 34 30/10/2564 BE 09:12


2. ท่านอนตะแคงทับข้างปกติ

● ศีรษะโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย ล�ำตัวตรง
● แขนและมือข้างที่อ่อนแรงวางบนหมอน
● นิ้วมือเหยียดออกหรือใช้ผ้าขนหนูม้วนวางในมือ
● สะโพกและเข่าข้างที่อ่อนแรง ใช้ห มอนรองตั้ ง แต่ ต ้ นขาถึ ง ปลายเท้ า
จัดให้ข้อสะโพกและข้อเข่างอเล็กน้อย ข้อเท้าอยู่ในท่าปกติ

3. ท่านอนตะแคงทับข้างที่อ่อนแรง

● ศีรษะโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย ล�ำตัวตรง
● แขนและขาข้างปกติวางบนหมอน งอข้อศอก สะโพกและเข่าเล็กน้อย
● แขนข้างที่อ่อนแรงยื่นมาข้างหน้า แขนเหยียดตรง มือหงายขึ้น
● จั ด วางต� ำ แหน่ ง ขาข้ า งที่ อ ่ อ นแรงไม่ ใ ห้ ถู ก กดทั บ สะโพกเหยี ย ดตรง
เข่างอเล็กน้อย ข้อเท้าอยู่ในท่าปกติ

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 35

-20-0269(P4)-Ebook.indd 35 30/10/2564 BE 09:12


การช่วยเคลื่อนไหวข้อต่อ

วัตถุประสงค์
● เพื่ อ ป้ อ งกั น ข้ อ ติ ด และการหดรั้ ง ของกล้ า มเนื้ อ และเนื้ อ เยื่ อ รอบข้ อ ต่ อ

ช่วยกระตุน้ การไหลเวียนของเลือดให้ดขี นึ้ ป้องกันการบวมของแขนและขา


ยับยั้งและลดอาการเกร็งตัวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อ

ข้อควรปฏิบัติในการเคลื่อนไหวข้อต่อ
● การเคลื่อนไหวข้อให้ผู้ป่วย ควรท�ำช้าๆเป็นจังหวะสม�่ำเสมอ และควรท�ำ

การเคลือ่ นไหวข้อให้สดุ องศาของการเคลือ่ นไหวทีป่ กติ ท�ำท่าละ 10 - 20 ครัง้


วันละ 2 รอบ

การช่วยเคลื่อนไหวข้อต่อส่วนแขน

1. การยกแขนขึ้นและลง
● เริ่มต้นจับข้อมือและข้อศอกผู้ป่วยให้ฝ่ามือผู้ป่วยหันเข้าหาตัวผู้ป่วย

ค่อยๆ ยกแขนผู้ป่วยขึ้นจนถึงเหนือศีรษะ หลังจากนั้นค่อยๆ ยกแขน


ผู้ป่วยลงมาสู่ท่าเริ่มต้น

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
36 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 36 30/10/2564 BE 09:12


2. การกางแขนออกและหุบเข้า
● เริ่ ม ต้ น จั บ ข้ อ มื อ และข้ อ ศอกผู ้ ป ่ ว ยให้ ฝ ่ า มื อ ผู ้ ป ่ ว ยหงายขึ้ น ค่ อ ยๆ

กางแขนผู้ป่วยออกจนถึงเหนือศีรษะหลังจากนั้นค่อยๆ หุบแขนผู้ป่วย
เข้ามาชิดล�ำตัวสู่ท่าเริ่มต้น

3. การหมุนข้อไหล่ขึ้นและลง
** ท่านี้ท�ำด้วยความระมัดระวัง ถ้าปวดไหล่ควรหยุด
● เริ่มต้นจับข้อมือและข้อศอกผู้ป่วยให้แขนกาง 90 องศา

● หมุนแขนผูป ้ ว่ ยตัง้ แต่บริเวณข้อศอกจนถึงข้อไหล่หงายขึน้ หลังจากนัน้


ค่อยๆ หมุนแขนผู้ป่วยคว�่ำลง

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 37

-20-0269(P4)-Ebook.indd 37 30/10/2564 BE 09:12


4. การงอข้อศอกเข้าและเหยียดออก
● เริ่ ม ต้ น จั บ ข้ อ มื อ และข้ อ ศอกผู ้ ป ่ ว ย ค่ อ ยๆ งอศอกผู ้ ป ่ ว ยเข้ า จนสุ ด

หลังจากนั้นค่อยๆ เหยียดศอกผู้ป่วยออกจนสุด

5. การหมุนศอกคว�่ำหงาย
● เริ่มต้นจับข้อมือและข้อศอกผู้ป่วย ค่อยๆ หมุนแขนผู้ป่วยให้คว�่ำลง

จนสุด หลังจากนั้นค่อยๆ หงายแขนผู้ป่วยขึ้นจนสุด

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
38 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 38 30/10/2564 BE 09:12


6. การกระดกข้อมือขึ้นและลง
● เริ่ ม ต้ น จั บ ข้ อ มื อ และนิ้ ว มื อ ของผู ้ ป ่ ว ยกระดกข้ อ มื อ ขึ้ น และกระดก

ข้อมือลง

7. การก�ำนิ้วมือและเหยียดนิ้วมือ
● เริ่มต้นจับข้อมือและนิ้วมือของผู้ป่วยก�ำนิ้วมือทั้งสี่นิ้วเข้าและเหยียด

นิ้วมือทั้งสี่ออก

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 39

-20-0269(P4)-Ebook.indd 39 30/10/2564 BE 09:12


8. การกระดกนิ้วโป้งขึ้นและลง
● เริ่ ม ต้ น จั บ นิ้ ว หั ว แม่ มื อ และนิ้ ว มื อ ทั้ ง สี่ ข องผู ้ ป ่ ว ย จั บ นิ้ ว หั ว แม่ มื อ ขึ้ น

และลง

การช่วยเคลื่อนไหวข้อต่อส่วนขา

1. การงอขาเข้าและเหยียดขาออก
● เริม
่ ต้นจับทีข่ อ้ เท้าและข้อเข่าของผูป้ ว่ ย ค่อย ๆ ยกขาผูป้ ว่ ยและงอเข้า
ให้มากที่สุด หลังจากนั้นค่อยๆ เหยียดขาออกจนสุด

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
40 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 40 30/10/2564 BE 09:12


2. การกางขาออกและหุบขาเข้า
● เริม
่ ต้นจับทีข่ อ้ เท้าและข้อเข่าของผูป้ ว่ ย ค่อย ๆ กางขาผูป้ ว่ ยออกจนสุด
และหุบขาเข้าจนสุด

3. การหมุนข้อสะโพกเข้าและออก
● หมุนให้ปลายเท้าผู้ป่วยเข้าด้านในจนสุด และหมุนให้ปลายเท้าผู้ป่วย

ออกด้านนอกจนสุด

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 41

-20-0269(P4)-Ebook.indd 41 30/10/2564 BE 09:13


4. การกระดกข้อเท้าขึ้นและลง
● เริ่มต้นจับเหนือข้อเท้าและส้นเท้าผู้ป่วย ค่อยๆ กระดกข้อเท้าขึ้นและ

กระดกข้อเท้าลง

การเคลื่อนไหวข้อไหล่ด้วยตัวผู้ป่วยเอง

นอนหงาย ประสานมือข้างปกติกับข้างที่อ่อนแรง โดยให้นิ้วหัวแม่มือ


ของข้างที่อ่อนแรงอยู่บนข้างที่ปกติ ยกแขนขึ้นและลง ควรท�ำช้าๆ ไม่เหวี่ยง
แขนรุนแรง ท�ำประมาณ 10-20 ครั้งวันละ 2-3 รอบ

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
42 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 42 30/10/2564 BE 09:13


การฝึกกล้ามเนื้อสะโพกโดยการยกก้น

เป็นการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อเตรียมความพร้อมส�ำหรับ
การลุกขึ้นยืนของผู้ป่วย

นอนหงายชั น เข่ า ทั้ ง สองข้ า งให้ ฝ ่ า เท้ า วางราบกั บ พื้ น วางแขนไว้


ข้างล�ำตัว ลงน�้ำหนักที่เท้าทั้งสองข้างและยกสะโพกขึ้นพ้นจากพื้นค้างไว้
และวางลง ขณะท�ำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกปกติ ไม่กลั้นหายใจ ท�ำประมาณ
5-10 ครั้งต่อรอบ วันละ 2-3 รอบ

หากผู ้ ป ่ ว ยมี อ าการอ่ อ นแรงของขามากไม่ ส ามารถลงน�้ ำ หนั ก ขา


ข้างอ่อนแรงได้ ควรมีผู้ช่วยจับที่บริเวณเข่าและข้อเท้า เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถ
ลงน�้ำหนักที่ขาข้างอ่อนแรงได้
หมายเหตุ ผู้ป่วยโรคหัวใจควรได้รับค�ำแนะน�ำจากนักกายภาพบ�ำบัดในการ
ปฏิบัติ
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 43

-20-0269(P4)-Ebook.indd 43 30/10/2564 BE 09:13


การเคลื่อนย้าย

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นลงรถเข็น
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องเคลื่อนย้ายไปข้างปกติเสมอ และต้องอยู่
ภายใต้การช่วยเหลือของนักกายภาพบ�ำบดั หรือผูด้ แู ลผูป้ ว่ ย จนกว่าจะแน่ใจว่า
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติเองได้ และมีการตัดสินใจที่ถูกต้อง

การเคลื่อนย้ายจากเตียงไปยังรถเข็น

1. ผู้ช่วยเหลือจัดวางรถเข็นท�ำมุม 45 องศากับเตียง โดยให้รถเข็น


อยูข่ า้ งทีผ่ ปู้ ว่ ยปกติ ล็อครถเข็น ดันทีว่ างเท้าทัง้ สองขึน้ ให้ผปู้ ว่ ยใช้มอื ข้างปกติ
จับที่วางแขนของรถเข็นเลื่อนตัวมาข้างหน้าจนเท้าทั้งสองข้างวางบนพื้น
2. ผู้ช่วยเหลืออยู่ข้างที่ผู้ป่วยอ่อนแรง พยุงผู้ป่วยลุกขึ้นสู่ท่ายืน
3. ผู้ช่วยเหลือค่อยๆ หมุนตัวผู้ป่วย พร้อมกับโน้มตัวผู้ป่วยลงนั่งใน
รถเข็น

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
44 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 44 30/10/2564 BE 09:13


การเคลื่อนย้ายจากรถเข็นไปเตียง

1. ผู้ช่วยเหลือน�ำรถเข็นตั้งท�ำมุม 45 องศากับขอบเตียง โดยให้ข้าง


ที่ผู้ป่วยปกติอยู่ชิดกับเตียง ใส่ห้ามล้อ และพับที่วางเท้าขึ้นให้ผู้ป่วยใช้มือ
ข้างปกติวางที่เตียง
2. ผู้ช่วยเหลืออยู่ข้างที่ผู้ป่วยอ่อนแรง พยุงผู้ป่วยลุกขึ้นสู่ท่ายืน
3. ผู้ช่วยเหลือค่อยๆ หมุนตัวผู้ป่วย พร้อมกับโน้มตัวผู้ป่วยลงนั่ง
บนเตียง

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 45

-20-0269(P4)-Ebook.indd 45 30/10/2564 BE 09:13


การพาผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งจากท่านอนหงาย

ผูช้ ว่ ยเหลือจับทีบ่ ริเวณสะโพกและไหล่ของผูป้ ว่ ย พลิกผูป้ ว่ ยสูท่ า่ นอน


ตะแคง จากนัน้ ผูป้ ว่ ยใช้เท้าข้างปกติสอดใต้ขาข้างทีอ่ อ่ นแรง แล้วใช้ขาข้างปกติ
เกี่ยวขาข้างอ่อนแรงลงมาข้างเตียงหลังจากนั้น ผู้ช่วยเหลือออกแรงดันผู้ป่วย
ขึ้นสู่ท่านั่งและให้ผู้ป่วยใช้แขนข้างปกติดันตัวช่วยขณะลุกขึ้นนั่งด้วย

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
46 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 46 30/10/2564 BE 09:13


การฝึกนั่งข้างขอบเตียง

● ศีรษะตั้งตรง
● บ่าทั้ง 2 ข้างอยู่ในระดับเดียวกัน
● ล�ำตัวตรง ทิ้งน�้ำหนักให้เท่ากันทั้ง 2 ข้าง
● มือวางบนเตียง
● เท้าวางบนพื้นทิ้งน�้ำหนักเท่ากันทั้ง 2 ข้าง

หมายเหตุ : หากผู้ป่วยยังนั่งทรงตัวได้ไม่ดี ควรมีผู้ช่วยเหลือนั่งอยู่ทางข้าง


ที่อ่อนแรงของผู้ป่วยเพื่อป้องกันการล้ม และไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยนั่งคนเดียว

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 47

-20-0269(P4)-Ebook.indd 47 30/10/2564 BE 09:13


การฝึกลุกขึ้นยืน

ผู้ป่วยนั่งขอบเตียงเท้าทั้งสองข้างวางราบกับพื้นให้ส้นเท้าทั้งสองข้าง
อยู่หลังต่อข้อเข่า ใช้มือข้างปกติประสานมือข้างอ่อนแรง ผู้ช่วยเหลือนั่งอยู่
ข้างอ่อนแรงของผูป้ ว่ ย เข่าของผูช้ ว่ ยเหลืออยูล่ า่ งต่อเข่าข้างอ่อนแรงของผูป้ ว่ ย
เล็กน้อยผู้ป่วยโน้มตัวมาทางด้านหน้า ลงน�้ำหนักที่เท้าทั้งสองข้างให้เท่ากัน
ผู้ช่วยเหลือช่วยโน้มผู้ป่วยมาทางด้านหน้าผู้ป่วยลงน�้ำหนักที่ขาทั้งสองข้าง
พร้อมกับลุกขึ้นยืนให้ตรงเกร็งเข่าให้ตึง ผู้ช่วยเหลือใช้เข่าดันที่บริเวณล่าง
ต่อเข่าผู้ป่วยเพื่อช่วยให้เข่าข้างอ่อนแรงของผู้ป่วยเหยียดตรงได้

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
48 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 48 30/10/2564 BE 09:13


การฝึกเดิน

การฝึกเดินเริ่มต้นควรมีผู้ช่วยเหลือช่วยอยู่ข้างที่อ่อนแรงของผู้ป่วย
คอยพยุงเพื่อป้องกันการล้มในระหว่างฝึกเดินขั้นตอนในการฝึกเดินสามารถ
ปฏิบัติได้ดังนี้

ผู้ช่วยเหลือช่วยพยุงอยู่ข้างอ่อนแรงของผู้ป่วย ผู้ป่วยใช้มือข้างปกติ
จับไม้เท้า ยกไม้เท้าไปด้านหน้า จากนั้นให้ผู้ป่วยก้าวขาข้างที่อ่อนแรง หาก
ผู้ป่วยยังไม่สามารถยกขาได้เอง ผู้ช่วยเหลืออาจช่วยยกขาผู้ป่วยมาทาง
ด้านหน้า แล้วจึงก้าวขาข้างปกติตามมาให้อยู่ในระดับเดียวกับขาข้างอ่อนแรง
เมื่อผู้ป่วยสามารถเดินได้ดีมีความมั่นคงมากขึ้นแล้วผู้ป่วยสามารถฝึกเดินเอง
ได้ดังนี้

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 49

-20-0269(P4)-Ebook.indd 49 30/10/2564 BE 09:13


การฝึกขึ้น – ลงบันได

1. การขึ้นบันได

1. ผู้ช่วยเหลือจับพยุงข้างที่อ่อนแรงของ 2. ลงน�้ำหนักที่ขาข้างปกติและก้าวขาข้าง
ผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยก้าวขาข้างปกติขึ้นก่อน ที่ออ่ นแรงขึ้นมาวางบนบันไดขั้นเดียวกัน

2. การลงบันได

1. ผู้ช่วยเหลือจับพยุงข้างที่อ่อนแรงของ 2. ให้ผู้ป่วยก้าวขาข้างปกติตามมา
ผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยก้าวขาข้างที่อ่อนแรงลง
มาก่อน
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
50 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 50 30/10/2564 BE 09:13


การฝึกกิจกรรมบ�ำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงครึ่งซีก
เน้นส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก การใช้งาน แขน มือ การฝึกด้านกิจวัตร
ประจ�ำวัน การปรับสภาพบ้าน แต่หากเคลื่อนไหวไม่ได้หรือมีความสามารถ
ในการเคลื่อนไหวที่จ�ำกัดแล้ว จะค�ำนึงถึงการดัดแปลงอุปกรณ์ช่วยในการท�ำ
กิจวัตรประจ�ำวัน หรืออุปกรณ์ดามเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตตามศักยภาพ
สูงสุดของตน

1. กิจกรรมที่ส่งเสริม/ กระตุ้นการใช้งานของแขนและมือข้างที่อ่อนแรง
ระยะอ่อนแรงขยับไม่ได้
1.1 การให้ผู้ป่วยท�ำกิจกรรมในท่านั่งหรือยืนลงน�้ำหนักที่แขนและ
มือข้างที่อ่อนแรง

● กระตุ้นการรับรู้ต�ำแหน่งของข้อต่อหรือส่วนของร่างกาย
● เพิ่มความมั่นคงของกล้ามเนื้อหัวไหล่/กล้ามเนื้อเหยียดข้อศอก
● ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
● ช่วยป้องกันอาการข้อติดของข้อมือและนิ้วมือในท่างอ
● ช่วยทรงตัวขณะที่ผู้ป่วยใช้แขนข้างปกติท�ำกิจกรรมต่างๆ
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 51

-20-0269(P4)-Ebook.indd 51 30/10/2564 BE 09:13


1.2 การให้ผู้ป่วยท�ำกิจกรรมโดยใช้ สองมือประสานกัน เป็นการเพิ่ม
การรั บ ความรู ้ สึก และการรับรู้ของร่างกายด้า นที่ อ ่ อ นแรงกระตุ ้ นให้ เ กิ ด
การเคลื่อนไหวที่มีจุดมุ่งหมายของแขนข้างที่อ่อนแรงในระนาบและทิศทาง
ต่างๆ ตัวอย่างกิจกรรม ได้แก่ การหยิบลูกบอลใส่ตะกร้า การต่อกรวยพลาสติก


ระยะอ่อนแรงพอขยับได้บ้าง
1.1 การฝึกควบคุมการเคลื่อนไหวแขนและการเอื้อมมือข้างที่อ่อน
แรงโดยไม่มีการหยิบจับ
● ส่งเสริมให้ผู้ป่วยใช้แขนข้างที่อ่อนแรงในชีวิตประจ�ำวัน เช่น
การใช้แขนข้างที่อ่อนแรงทับกระดาษขณะที่ใช้มือข้างปกติ
เขียนหนังสือ การใช้แขนข้างที่อ่อนแรงดันลิ้นชักเข้า เป็นต้น
● เริ่มจากการฝึกควบคุมการเคลื่อนไหวของสะบักไปด้านหน้า
และหลัง เช่น ให้ผปู้ ว่ ยใช้แขนทับผ้าเช็ดตัวและพยายามดันออกไป
และกลับเข้ามาสลับกันร่วมกับการฝึกกางหุบไหล่

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
52 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 52 30/10/2564 BE 09:13


พันมือข้างอ่อนแรงด้วยผ้ายืดกับร่ม/ไม้เท้า จับสองมือยกให้ข้อศอก
เหยียดเหนือศีรษะและยกลงสลับกัน


● ฝึกให้ผู้ป่วยเอื้อมมือไปในทิศทางต่างๆ โดยอาจเริ่มจากการ
เอื้อมมือลงไปที่พื้นตามแรงโน้มถ่วง จากนั้นท�ำในทิศทางอื่นๆ
ตามล�ำดับ
● ส่งเสริมให้ผู้ป่วยใช้แขนและมือข้างที่อ่อนแรงช่วยในการท�ำ
กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวัน เช่น การล้างหน้า อาบน�้ำ
เช็ดตัว เป็นต้น

1.2 การฝึ ก ควบคุ ม การเคลื่อน ไหวแขนและการเอื้อ มมื อ ข้ า ง


ที่อ่อนแรงโดยการหยิบจับสิ่งของ
● ฝึกการเอื้อมมือไปในทิศทางต่างๆ ในขณะที่ใช้มือก�ำหรือถือ
สิง่ ของไว้ เช่น การเอือ้ มมือไปหยิบแก้วน�ำ้ และยกแก้วน�ำ้ เป็นต้น
● ฝึกให้มกี ารเคลือ่ นไหวแบบสลับ เช่นการฝึกคว�ำ่ หงายมือสลับกัน
โดยให้ผู้ป่วยจับแก้วน�้ำคว�่ำหงาย
● ฝึกการใช้มือข้างที่อ่อนแรงหยิบจับและเคลื่อนย้ายวัตถุ โดย
เริ่มจากสิ่งของชิ้นใหญ่ไปหาชิ้นเล็ก เช่น การหยิบลูกบอล/
ลูกเทนนิสลงตะกร้า การฝึกหยิบลูกกอล์ฟหรือลูกปิงปอง

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 53

-20-0269(P4)-Ebook.indd 53 30/10/2564 BE 09:13


● เมื่อสามารถหยิบของชิ้นใหญ่ได้แล้วก็จะเริ่มฝึกหยิบจับของที่มี
ขนาดเล็กลง เช่น การฝึกหยิบลูกแก้ว เม็ดมะขาม เม็ดถั่วเขียว
เป็นต้น

● เมื่อผู้ป่วยสามารถหยิบสิ่งของได้ดีแล้ว ควรฝึกการเคลื่อนไหว
ของนิ้ ว มื อ เช่ น การหยิ บ เหรี ย ญเริ่ ม จากเหรี ย ญสิ บ ไปหา
เหรียญสลึง การฝึกเขียนหนังสือ การใช้มือเปิดหนังสือ การนับ
ธนบัตร เป็นต้น
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
54 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 54 30/10/2564 BE 09:13


● เมื่อผู้ป่วยสามารถหยิบสิ่งของชิ้นเล็กได้ดีและเคลื่อนไหวนิ้วมือ
ได้คล่องแคล่วดีแล้วก็ควรฝึกเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใน
นิ้วมือโดยฝึก การหยิบจับร่ว มกั บ กิ จกรรมที่ มี แรงต้ า น เช่ น
การฝึกบีบไม้หนีบผ้า การฝึกบีบลูกบอลนิ่ม ๆ หรือ การฝึกบีบ
ที่บีบมือ

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 55

-20-0269(P4)-Ebook.indd 55 30/10/2564 BE 09:13


ระยะที่นิ้วมือมีภาวะเกร็ง
ภาวะเกร็งจะขัดขวางการเคลือ่ นไหว
ของแขนและมื อ ดั ง นั้ น ก่ อ นท� ำ การ
เคลื่อนไหวแขนและมือควรท�ำการจัดท่า
เพื่อลดภาวะเกร็ง โดยการลงน�้ำหนักที่
แขนและมือข้างที่เกร็ง ลักษณะเหมือน
นั่งเท้าแขน ข้อศอกเหยียดตรง นิ้วมือ
กางออก ขณะนั่งให้พยายามลงน�้ำหนัก
ที่ ข ้ อ มื อ หรื อ การใช้ อุ ป กรณ์ ที่ ช ่ ว ยลด
ภาวะเกร็ง ได้แก่ อุปกรณ์ดามแขนและมือ
ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกันขึ้นอยู่กับภาวะเกร็งของผู้ป่วยแต่ละราย ระยะเวลา
ใส่อุปกรณ์แต่ละครั้งควรใส่ติดต่อกันอย่างน้อย 3 – 4 ชั่วโมง

2. กิจกรรมส่งเสริมและกระตุ้นด้านการรับรู้ ความคิด ความเข้าใจ


ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีปัญหาด้านการรับรู้ความคิด ความ
เข้าใจ จะท�ำให้มคี วามล�ำบากในการ คิด วิเคราะห์ แยกแยะและแปลผล สิง่ เร้า
ต่าง ๆ ที่รับเข้ามา ท�ำให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการท�ำ
กิจวัตรประจ�ำวันเป็นอย่างมาก ความผิดปกติของการรับรู้ที่อาจพบได้แก่
การละเลยร่างกายและสิ่งแวดล้อมในด้านที่อ่อนแรง การสับสนซ้าย – ขวา
ไม่ รั บ รู ้ แ ละแปลผลสิ่ ง ที่ ม องเห็ น ผิ ด ไป หรื อ ไม่ เข้ า ใจความสั ม พั น ธ์ ข อง
คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
56 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 56 30/10/2564 BE 09:13


วัตถุกับวัตถุ หรือ วัตถุกับสิ่งแวดล้อมและร่างกายของตนเอง เช่น สับสน
แยกแยะสิง่ ของทีค่ ล้ายกันไม่ได้ ไม่สนใจสิง่ เร้าทางสายตา แยกสิง่ ของทีต่ อ้ งการ
จากสิ่งแวดล้อมที่อยู่ปนกันไม่ได้
ปัญหาเหล่านีส้ ง่ ผลกระทบต่อการเคลือ่ นไหว เช่น ไม่สามารถเคลือ่ นไหว
ร่างกายอย่างมีจุดมุ่งหมายได้ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และ
ความผิดปกติของการรับความรูส้ กึ ส่วนความผิดปกติดา้ นความคิดความเข้าใจ
อาจมีปัญหาเกี่ยวกับความตั้งใจ สมาธิสั้น ความจ�ำไม่ดี รวมถึงการคิดและ
ตัดสินใจแก้ปัญหา ท�ำให้มีความยากล�ำบากในการฟื้นฟูสมรรถภาพและ
การใช้ชีวิตประจ�ำวัน
ดังนั้น กิจกรรมที่จะส่งเสริมและกระตุ้นด้านการรับรู้ ความคิด ความ
เข้าใจ ต้องได้รับการประเมินจากนักกิจกรรมบ�ำบัดเพื่อเลือกกิจกรรมที่ตรง
กับปัญหาและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะเป็นกิจกรรมง่ายๆ เช่น
การต่อจิ๊กซอว์ การฝึกเสียบหมุดตามสี/แบบ การจับคู่รูปทรง การจับคู่ภาพ
สัตว์/สิ่งของที่เข้าคู่กัน เป็นต้น

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 57

-20-0269(P4)-Ebook.indd 57 30/10/2564 BE 09:13


3. การฝึกกิจวัตรประจ�ำวัน
ควรส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ป่วยท�ำกิจวัตรประจ�ำวันด้วยตนเองด้วย
ความสามารถที่มีอยู่เพื่อให้เกิดความมั่นใจและช่วยกระตุ้นให้ร่างกายส่วนที่
อ่อนแรงดีขึ้น ถ้าแขนและมือข้างที่อ่อนแรงพอเคลื่อนไหวได้ ควรส่งเสริม
ให้ใช้แขนข้างที่อ่อนแรงเป็นหลักโดยใช้ข้างที่มีแรงช่วย ไม่ควรใช้แต่ข้างที่
มีแรงเพียงอย่างเดียว

➠ การรับประทานอาหาร
จัดโต๊ะอาหาร จานชามให้เป็นระเบียบและ
หยิบใช้งา่ ย และ จัดร่างกายให้อยูใ่ นท่านัง่ ทีส่ มดุล
และ พยายามใช้มือข้างที่อ่อนแรงให้มากเท่าที่จะ
ท�ำได้ เช่น ช่วยประคองแก้วน�้ำ หรือหยิบอาหาร

อุปกรณ์ช่วย เช่น แผ่นยางรองจานกัน
ลื่นไถล ช้อนส้อมเสริมด้ามจับเพื่อจะหยิบจับได้
สะดวกขึ้น แก้วมีหู มีส่วนช่วยให้การรับประทาน
อาหารสะดวกมากขึ้น

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
58 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 58 30/10/2564 BE 09:13


➠ การดูแลสุขอนามัยส่วนตัว
การใช้อุปกรณ์ช่วยให้ท�ำความสะอาดร่างกายได้สะดวกและทั่วถึง เช่น
ฝักบัวที่ใช้มือถือได้ ฟองน�้ำถูตัวที่มีด้ามจับยาว หรือ แปรงสีฟันเสริมด้าม
รวมทั้งเพื่อความปลอดภัยควรใช้แผ่นยางกันลื่นหรือติดตั้งราวจับที่ผนังของ
ห้องน�้ำด้วย

การแต่งตัว
1. การสวมเสื้อยืดคอกลม
เริ่มด้วยการสอดแขนข้างที่อ่อนแรงเข้าไปในแขนเสื้อก่อน จัดเสื้อ
ให้เข้าที่แล้วสอดแขนข้างที่ปกติเข้าไปในแขนเสื้อ โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
แล้วสวมเสื้อเข้าไปทางศีรษะ จัดเสื้อให้เรียบร้อย

2. การถอดเสื้อคอกลม
ใช้แขนข้างมีแรง จับคอเสื้อบริเวณท้ายทอยก้มตัวเล็กน้อย แล้วดึง
เสื้อออกทางศีรษะ จากนั้นดึงเสื้อออกจากแขนทั้งสองข้าง

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 59

-20-0269(P4)-Ebook.indd 59 30/10/2564 BE 09:13


3. การสวมเสื้อผ่าหน้ามีกระดุม
เริม่ ด้วยการสอดแขนข้างทีอ่ อ่ นแรงเข้าไปในแขนเสือ้ ก่อน จัดเสือ้ ให้
เข้าทีแ่ ล้วสอดแขนข้างทีป่ กติเข้าไปในแขนเสือ้ แล้วใช้แขนข้างมีแรงติดกระดุม
และจัดเสื้อให้เรียบร้อย

4. การถอดเสื้อผ่าหน้ามีกระดุม
แกะกระดุมออก ปลดเสือ้ บริเวณหัวไหล่ขา้ งมีแรงออกก่อน จากนัน้
ถอดแขนเสื้อข้างมีแรงออกแล้วใช้แขนข้างมีแรงช่วยดึงเสื้อให้ข้างที่อ่อนแรง

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
60 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 60 30/10/2564 BE 09:13


5. การใส่และถอดกางเกง
ควรเลือกกางเกงทีส่ วมใส่งา่ ย เช่น กางเกงเอวยางยืด โดยวิธกี ารใส่
คือ เอาขาข้างอ่อนแรงขึ้นมาพาดขาข้างมีแรง เริ่มใส่ขาข้างอ่อนแรง ดึงให้
พ้นสะโพก แล้วจึงสวมข้างมีแรง และจัดให้เรียบร้อย ส่วนการถอดกางเกง
ให้ถอดข้างมีแรงก่อน แล้วจึงถอดข้างอ่อนแรง

การใส่กางเกง

การถอดกางเกง

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 61

-20-0269(P4)-Ebook.indd 61 30/10/2564 BE 09:13


6. การสวมและถอดถุงเท้าและรองเท้า
ใช้วธิ กี ารแบบเดียวกัน คือ เอาขาข้างทีอ่ อ่ นแรงขึน้ มาพาดขาข้างมีแรง
และสวมถุงเท้า ส�ำหรับการถอดใช้วิธีเดียวกันกับข้างอ่อนแรง

การสวมถุงเท้า การถอดถุงเท้า

การบ�ำบัดภาวะกลืนล�ำบาก
ภาวะกลืนล�ำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากความบกพร่อง
ของระบบประสาทที่ควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการกลืน ซึ่งต้องได้รับการ
ประเมินและบ�ำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญว่าจะสามารถรับประทานอาหารทางปาก
ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ การเลือกระดับอาหารที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยง
ต่อการส�ำลักและลดโอกาสการเกิดภาวะปอดติดเชื้อ

การจัดท่านั่งขณะรับประทานอาหาร
ขณะนั่ ง รั บ ประทานอาหาร
ศีรษะตัง้ ตรงไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึง่
ก้มหน้าเล็กน้อย นัง่ หลังตรง ล�ำตวั โน้ม
ไปข้างหน้าเล็กน้อย มือวางบนโต๊ะ

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
62 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 62 30/10/2564 BE 09:13


อาหารส�ำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนล�ำบาก
ในช่วงแรกควรเป็นอาหารที่มีกากน้อยมีความละเอียด เละๆ และข้น
เป็นเนื้อเดียว เหมือนอาหารเด็กอ่อน ไม่ใช่ลักษณะเหลวเป็นน�้ำ ต้องมีคุณค่า
อาหารเพียงพอ ตัวอย่างอาหาร เช่น โจ๊กปั่นข้น โยเกิร์ต ไข่ตุ๋น ผักสุกหรือ
ผลไม้ปั่นข้น เมื่อรับประทานได้ดีขึ้นจึงค่อยๆ เพิ่มความหยาบของอาหาร
ตามล�ำดับ

***ในกรณีที่มีภาวะกลืนล�ำบากมาก อาจจ�ำเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง
เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยขาดสารอาหารและเพื่อป้องกันการส�ำลัก

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 63

-20-0269(P4)-Ebook.indd 63 30/10/2564 BE 09:13


ค�ำแนะน�ำส�ำหรับการบริหารกล้ามเนื้อปากและลิ้น

อ้าปากกว้าง ออกเสียงค�ำว่า ยิ้มยิงฟัน ออกเสียงค�ำว่า


“อา” “อะ อา” “อี” “อิ อี”

ห่อปากจู๋ ออกเสียงค�ำว่า ห่อปาก ออกเสียงค�ำว่า


“อู” “อุ อู” “โอ” “โอะ โอ”

ออกเสียงค�ำว่า เม้มปากติดกันแน่น ๆ แล้วปล่อยออก


“ลา” “ลา ลา ลา”

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
64 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 64 30/10/2564 BE 09:13


แลบปลายลิ้นแตะมุมปาก ซ้าย-ขวา บน-ล่าง

พองแก้มป่อง 2 ข้าง ยกปลายลิ้นแตะหลังฟันบน


ลากเข้าไปตามเพดานปาก

หมายเหตุ การฝึกให้ท�ำวันละ 3 ครั้ง โดยท�ำท่าละ 10 ครั้ง หน้ากระจก


โดยสถานที่ที่เหมาะสม คือ ห้องที่เงียบ ไม่มีเสียงรบกวน ถ้าผู้ป่วยท�ำไม่ได้
ให้ท�ำให้ดูหรือจับปากผู้ป่วยให้ขยับตาม

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 65

-20-0269(P4)-Ebook.indd 65 30/10/2564 BE 09:13


การดัดแปลงสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อม
1. ทางลาดเอียงเข้าตัวอาคาร ควรมีความชันไม่เกิน 5 องศา หรือ
สัดส่วนความสูงต่อความยาวไม่น้อยกว่า 1 ต่อ 12 และความกว้างไม่น้อยกว่า
90 เซนติเมตร
2. ประตูกว้างประมาณ 1 เมตรขึ้นไป เพื่อให้รถเข็นเข้าออกง่าย
ไม่ควรให้มธี รณีประตู ประตูควรเป็นแบบบานเลือ่ นและทีจ่ บั เป็นแบบด้ามจับ
ที่จับได้ถนัดมือ
3. พื้นภายในตัวอาคาร ควรมีระดับเดียวกันตลอดทั้งชั้นและไม่ลื่น
4. บันได ต้องไม่ชันมาก
เกินไป ควรมีราวเกาะทั้ง 2 ข้าง
ความสูงของราวเกาะทีเ่ หมาะสม
คือ ประมาณ 90 เซนติเมตร และ
มีผิวไม่ลื่น
5. เตี ย งควรมี ค วามสู ง
เท่ า กั บ ระดั บ ที่ นั่ ง เก้ า อี้ ร ถเข็ น
หรือประมาณ 48 - 52 เซนติเมตร
6. โต๊ ะ หรื อ เคาน์ เ ตอร์
ควรสู ง กว่ า ที่ พั ก แขนของเก้ า อี้
รถเข็นเล็กน้อย หรือประมาณ
76-85 เซนติเมตร

ที่มา : “บ้านวิถีอิสระ” สถาบันสิรินธรเพื่อ


การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
66 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 66 30/10/2564 BE 09:13


ห้องน�้ำ ห้องส้วม
1. ประตูห้องน�้ำ ควรกว้างประมาณ 1 เมตร (รถเข็นเข้า – ออกได้)
และไม่มีธรณีประตู
2. โถส้วม สูงประมาณ 16 – 19 นิ้ว ขึ้นกับความสูงของผู้ป่วย
ถ้าเตี้ยเกินไปจะท�ำให้ลุกล�ำบาก
3. ถ้าเป็นโถส้วมชนิดนั่งยอง ควรดั ดแปลงโดยใช้ เ ก้ า อี้ พ ลาสติ ก
มีพนักพิงเจาะรูตรงกลางให้มีขนาดกว้างพอประมาณ หรือใช้เก้าอี้นั่งถ่าย
ส�ำเร็จรูป เพื่อวางครอบโถส้วม
4. ควรมีราวรอบ ๆ โดยราวควรสูงจากพื้นประมาณ 85 เซนติเมตร
5. ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ
6. พื้นห้องน�้ำควรแห้งอยู่เสมอ หรือ มีแผ่นรองกันลื่น

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 67

-20-0269(P4)-Ebook.indd 67 30/10/2564 BE 09:13


การแก้ไขการพูด
ในผู ้ ป ่ ว ยที่ มี ป ั ญ หาในการสื่ อ ความหมาย นั ก แก้ ไขการพู ด จะเป็ น
ผู้ประเมินและวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ดูแลโดยจะ
เลือกโปรแกรมให้ผู้ป่วยฝึกตามความเหมาะสม

ค�ำแนะน�ำส�ำหรับญาติของผู้ป่วยเกี่ยวกับ
การฝึกพูดในผู้ป่วย

1. ควรพูดคุยกับผู้ป่วยโดยใช้ค�ำศัพท์ง่ายๆ พูดประโยคสั้นๆ ช้า และ
ชัดเจน
2. ควรกระตุน้ ด้วยสิง่ ทีจ่ ดจ�ำง่าย และคุน้ เคยมาก่อน เช่น นับเลข 1-10
ถามชือ่ คนในครอบครัว หรือเรียกชือ่ ของใช้ใกล้ตวั ไม่ควรหัดให้ผปู้ ว่ ยใช้คำ� ศัพท์
ที่ยากและไม่ค่อยใช้ในชีวิตประจ�ำวัน
3. ในการโต้ตอบ ควรให้โอกาส ไม่ชิงพูดขึ้นก่อนและรอค�ำตอบของ
ผู้ป่วย
4. อย่าพูดแทนผู้ป่วยนอกจากจ�ำเป็นจริงๆ ให้โอกาสเขาพูดแม้ว่า
จะพูดได้ช้า
5. อย่าดุหรือโกรธเวลาที่ผู้ป่วยพูดไม่ได้
6. ถ้าผู้ป่วยยังไม่อยากพูด ห้ามใช้วิธีบังคับ แต่ให้หาวิธีอื่นเพื่อจูงใจ
ให้ผู้ป่วยอยากพูด
7. ให้ใช้การสื่อภาษาด้วยการเขียนหรือภาษาท่าทางร่วมกับการพูด
เพราะผู้ป่วยบางรายมีความสามารถในการติดต่อสื่อสารด้วยการเขียนดีกว่า
การพูด
8. กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้ก ารสื่อสารทุก รู ปแบบไม่ ว ่ า จะเป็ นการพู ด
การใช้ท่าทางการชี้ หรือการวาดรูป

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
68 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 68 30/10/2564 BE 09:13


การฝึกการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ใช้ ในการเปล่งเสียง
สามารถฝึกเองได้หน้ากระจกเงา โดย
ริมฝีปาก
: ให้อ้าปากกว้าง ออกเสียงค�ำว่า “อา” ยิ้ม ยิงฟันออกเสียงค�ำว่า
“อี” ห่อปากจู๋ ออกเสียงค�ำว่า “อู”
ห่อปากออกเสียงค�ำว่า “โอ” เม้มปากให้แน่นแล้วปล่อยออก
พองแก้มป่อง 2 ข้าง
: เป่าลม เป่าน�้ำ เป่าเทียน
: ออกเสียง เช่น “ปา-ปา-ปา...” “มา-มา-มา...” “บา-บา-บา...”
ติดต่อกันอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

ลิ้น
: แลบลิน้ เข้าออกจากปาก ปัดลิน้ ซ้าย-ขวา ให้ลนิ้ แตะฟันบนฟันล่าง
สลับกัน ยกปลายลิ้นแตะหลังฟันบน ลากเข้าไปตามเพดานปาก
เดาะลิ้น ใช้ลิ้นดันกระพุ้งแก้ม
: ออกเสียง เช่น “ตา-ตา-ตา...” “ลา-ลา-ลา...” “คา-คา-คา...”
“คาลา-คาลา-คาลา...” ติดต่อกันอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถท�ำเองได้ ให้ใช้ไม้กดลิ้นช่วยดันลิ้น

ขากรรไกร
: ขยับขากรรไกรขึ้นลง หรือท�ำท่าเคี้ยว

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 69

-20-0269(P4)-Ebook.indd 69 30/10/2564 BE 09:13


เครื่องมือช่วยสื่อสารในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านภาษา
และการสื่อความหมาย
ผู้ป่วยบางรายมีความเข้าใจดี ฟัง หรืออ่านรู้เรื่อง แต่ออกเสียงพูด
ล�ำบากมาก หรือไม่สามารถพูดสือ่ สารได้ ควรให้ผปู้ ว่ ยใช้เครือ่ งมือช่วยสือ่ สาร
เช่น กระดานสื่อความหมาย กระดานพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ หรือกระดาน
รูปภาพ เพื่อช่วยให้สื่อสารได้ง่ายขึ้น

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
70 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 70 30/10/2564 BE 09:13


อุปกรณ์ช่วยเหลือส�ำหรับ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
เครื่องช่วยเดิน คือ อุปกรณ์ด�ำเนินความสะดวกใช้ส�ำหรับผู้ป่วยที่มี
ความบกพร่องในการควบคุมการทรงตัว การเดิน หรืออ่อนแรงของกล้ามเนือ้ ขา
เพือ่ ส่งเสริมให้ผปู้ ว่ ยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึน้ โดยอุปกรณ์จะช่วยให้
เกิดความมั่นคงและช่วยพยุงน�้ำหนักตัวบริเวณขาที่อ่อนแรง

ไม้เท้า (Canes) ใช้มอื ด้านดีจบั หรือถือด้ามจับ


ไม้เท้า มักใช้ในผูป้ ว่ ยทีม่ อี าการอ่อนแรงครึง่ ซีก
หรือผิดปกติดา้ นใดด้านหนึง่ โดยมืออีกข้างยังดี
และแข็งแรง ผู้ป่วยพอจะทรงตัวได้
ไม้เท้า 1 ปุ่ม ลักษณะคล้ายด้ามร่ม ใช้พ้ืนที่
ในการเดินน้อย
ไม้เท้า 3-4 ปุม่ ให้ความมัน่ คงมากขึน้ สามารถ
รับแรงกดน�้ำหนักได้

วอกเกอร์ (Walker) เหมาะส�ำหรับ ผู้ป่วยที่มี


การทรงตัวไม่ดี ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ทีม่ อี าการอ่อนแรง เป็นอุปกรณ์ทมี่ คี วามมัน่ คง
มากที่สุด เนื่องจากมีฐานการรองรับน�้ำหนัก
ที่กว้าง น�้ำหนักเบาและเดินได้ง่าย โดยมือ
ทัง้ สองข้างต้องมีแรงสามารถก�ำมือจับและยกได้

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 71

-20-0269(P4)-Ebook.indd 71 30/10/2564 BE 09:13


***วิธีการปรับระดับของเครื่องช่วยเดินที่เหมาะสม
ขณะที่ผู้ป่วยยืน ความสูงของด้ามจับควรอยู่ระดับเดียวกับสะโพก เมื่อ
จับที่มือจับแล้ว ข้อศอกควรงอเล็กน้อยในช่วงประมาณ 15- 30 องศา และ
สังเกตให้อุปกรณ์อยู่ห่างจากเท้าและนิ้วเท้าของผู้ป่วยพอสมควร

การดูแลและตรวจสอบความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ช่วยเดิน
ด้ามจับอุปกรณ์ต้องแข็งแรงมั่นคง สามารถรองรับแรงกดน�้ำหนักได้
ไม่มีเสียงจากการเสื่อมสภาพ จุกยางกันลื่นอยู่ในสภาพดี หากพบว่าจุกยาง
ของเครือ่ งช่วยเดินเสือ่ มหรือสึกหรอ ควรเปลีย่ นใหม่ การเก็บรักษาควรเก็บไว้
ในที่ร่ม เพื่อหลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพก่อนเวลาของอุปกรณ์
อุปกรณ์ประคองข้อไหล่ คือ อุปกรณ์พยุงข้อไหล่หลวม เพื่อประคอง
และป้องกันข้อไหล่เคลื่อน ช่วยลดภาวะเอ็นที่หัวกระดูกต้นแขนยืดหลุดออก
จากเบ้า เหมาะส�ำหรับผูป้ ว่ ยโรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนือ้ อ่อนแรงและไหล่
ถูกดึงยืดออกจากเบ้าในแนวดิ่ง ซึ่งเป็นเหตุที่มักท�ำให้ผู้ป่วยมักปวดไหล่แล้ว
ไม่อยากยกแขน และเกิดเป็นอาการไหล่ติดแข็งในที่สุด

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
72 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 72 30/10/2564 BE 09:13


แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยทั้ง 2 ส่วนจะต้องเชื่อมให้ติดกัน
ส่วนที่ 1 ส่วนที่รองรับแขนด้านอ่อนแรง
ส่วนที่ 2 สายเชื่อมและที่รองใต้รักแร้แขนด้านปกติ

น�ำส่วนที่ 1 พันรอบแขนส่วนต้นของแขนข้างที่เป็นอัมพาต แล้วน�ำสาย


ส่วนที่ 2 พาดอ้อมด้านหลังมาทางด้านแขนดี โดยให้ส่วนที่เป็นฟองน�้ำรองใต้
รักแร้ และสายเกี่ยวต่อกับส่วนที่ 1

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 73

-20-0269(P4)-Ebook.indd 73 30/10/2564 BE 09:13


แนวทางการดูแลผูป้ ว่ ยโรคหลอดเลือดสมองทีบ่ า้ น
วัตถุประสงค์
1. เพือ่ ให้ผปู้ ว่ ยสามารถปฏิบตั กิ จิ วัตรประจ�ำวนั ได้ดว้ ยตัวเองโดยพึง่ พา
ญาติผู้ดูแลน้อยที่สุด
2. เพือ่ ให้เกิดความภูมใิ จทีผ่ ปู้ ว่ ยสามารถดูแลตนเองและปฏิบตั ติ นเอง
และด�ำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

แนวทางปฏิบัติ
1. ให้ก�ำลังใจผู้ป่วย ให้ความรัก ความใส่ใจ เข้าใจปัญหาของผู้ป่วย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยร่วมกิจกรรมต่างๆ กับสมาชิกในครอบครัวเท่าที่
ท�ำได้อย่างสม�ำ่ เสมอ และส่งเสริมให้ผปู้ ว่ ยเกิดความเชือ่ มัน่ ในตนเอง

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
74 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 74 30/10/2564 BE 09:13


2. กระตุ้นให้ผู้ป่วยท�ำกิจวัตรประจ�ำวันด้วยตัวเอง เช่น แปรงฟัน
ใส่เสื้อผ้า หวีผม รับประทานอาหารด้วยตัวเอง ลุกนั่ง ขับถ่าย
โดยให้ญาติช่วยเท่าที่จ�ำเป็น

3. หาสิ่งเร้ากระตุ้นสมองและการรับรู้ของผู้ป่วย เช่น โทรทัศน์ วิทยุ


ปฏิทิน ให้ผู้ป่วยพูดคุยกับลูกหลาน/ญาติหรือผู้ที่คุ้นเคยอย่าง
สม�่ำเสมอ

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 75

-20-0269(P4)-Ebook.indd 75 30/10/2564 BE 09:13


4. จัดอาหารให้ผู้ป่วย ให้เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน
ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หัวใจ เป็นต้น และควรให้ผู้ป่วย
ร่วมรับประทานอาหารกับครอบครัว ไม่ควรแยกรับประทานอาหาร
ต่างหากเพราะจะท�ำให้ผู้ป่วยรู้สึกถูกทอดทิ้ง

5. ผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนล�ำบาก หรือส�ำลัก ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด


ให้อาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ถ้าอาหารมีลักษณะเป็นเส้น
ชิ้นยาว ควรตัดหรือหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ

หลังรับประทานอาหารทุกครัง้ ดูแลรักษาความสะอาดของช่องปาก
ล้างเศษอาหารที่ติดข้างกระพุ้งแก้มออกให้หมด

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
76 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 76 30/10/2564 BE 09:13


6. ผูป้ ว่ ยโรคหลอดเลือดสมอง จะพบการบวมของแขน-ขามือและเท้า
ได้บ่อยในข้างที่อ่อนแรง ให้ใช้วัสดุอ่อนนุ่ม เช่น ผ้าห่ม หมอน
รองแขน-ขาข้างทีบว ่ มให้สงู เปลีย่ นท่านอนบ่อยๆ ลดอาหารรสเค็ม
เพื่อลดการบวม

7. ถ้าผู้ป่วยเคลื่อนไหวด้วยตัวเองไม่ได้ ให้พลิกตะแคงตัวอย่างน้อย
ทุก 2 ชัว่ โมง ดูแลผิวหนังบริเวณปุม่ กระดูกต่างๆ เช่น สะโพก ก้นกบ
ส้นเท้าไม่ให้เกิดการกดทับ

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 77

-20-0269(P4)-Ebook.indd 77 30/10/2564 BE 09:13


8. ผู ้ ป ่ ว ยโรหลอดเลื อ ดสมองมั ก มี ป ั ญ หาท้ อ งผู ก จากการไม่ ไ ด้
เคลื่อนไหวร่างกาย ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น
ผัก ผลไม้ ดื่มน�้ำวันละ 6–8 แก้วถ้าไม่มีข้อห้าม กระตุ้นให้ผู้ป่วย
มีการเคลื่อนไหวร่างกาย

9. กรณีผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ ดูแลสายสวนให้อยู่ในระบบปิด
ที่ปลอดเชื้อ ท�ำความสะอาดด้วยน�้ำสบู่อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
และทุกครั้งที่ปนเปื้อนอุจจาระ ตรึงสายสวนปัสสาวะไม่ให้ดึงรั้ง
ถุงปัสสาวะต้องอยูร่ ะดับตำ�่ กว่ากระเพาะปัสสาวะ เปลีย่ นสายสวน
เมื่อจ�ำเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
78 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 78 30/10/2564 BE 09:13


10. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่วงจรการนอนจะเปลี่ยนไป
เช่น มักนอนกลางวัน แต่หลับยากช่วงกลางคืนหรือนอนหลับ
เป็นช่วงๆ ควรจัดให้ผปู้ ว่ ยท�ำกิจกรรมในเวลากลางวัน เช่น ฝึกเดิน
ออกก�ำลังกาย อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ พูดคุยกับลูกหลาน
เป็นต้น กลางคืนจัดห้องนอนให้เงียบสงบเพื่อให้ผู้ป่วยหลับได้
ง่ายขึ้น

11. ผู้ป่วยอาจมีปัญหาการสื่อสาร เช่น พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ ฟังไม่เข้าใจ


อาจท�ำให้เกิดความทุกข์ใจ อาจเกิดภาวะซึมเศร้า ท้อแท้หรือ
หงุดหงิด ผู้ดูแลต้องมีความอดทน ใจเย็น ที่จะช่วยเหลือและ
ท�ำความเข้าใจ อาจใช้วธิ กี ารสือ่ สารโดยให้เขียน หรือชีภ้ าพประกอบ

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 79

-20-0269(P4)-Ebook.indd 79 30/10/2564 BE 09:13


12. ผูป้ ว่ ยอาจมีความต้องการทางเพศเปลีย่ นแปลงไป ผูด้ แู ลโดยเฉพาะ
สามีหรือภรรยา ควรท�ำความเข้าใจและให้ก�ำลังใจผู้ป่วย

13. ควรท� ำ กายภาพบ� ำบั ด และฟื ้ น ฟู ส ภาพร่ า งกายอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง


สม�่ำเสมอ เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างอิสระ
สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และเป็นภาระแก่ผู้อื่นน้อยที่สุด

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
80 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 80 30/10/2564 BE 09:13


14. พาผูป้ ว่ ยมาพบแพทย์ตามนัด รับประทานยาตามแพทย์สงั่ แนะน�ำ
ให้สังเกตอาการผิดปกติ หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์
ก่อนวันนัด

15. ให้ผู้ป่วยไปท�ำกิจวัตรประจ�ำวันต่างๆร่วมกับครอบครัวได้ เช่น


ไปช้อปปิง้ ไปท่องเทีย่ วตามสถานทีต่ า่ งๆ ถ้าไม่มขี อ้ ห้าม อย่าปล่อย
ให้ผู้ป่วยอยู่บนเตียงนอนตลอดเวลา

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 81

-20-0269(P4)-Ebook.indd 81 30/10/2564 BE 09:13


การเฝ้าระวังและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย
โรคหลอดเลือดสมอง หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด
ยาต้านเกล็ดเลือด และยาต้านการแข็งตัวของเลือด

ควรเฝ้าระวังและสังเกตอาการเลือดออกจากอวัยวะต่างๆ ซึง่ เป็นอาการ
แทรกซ้อนของยาละลายลิม่ เลือด เช่น มีจำ�้ เลือดเพิม่ มากขึน้ ทีร่ อยแทงน�ำ้ เกลือ
หรือรอยเจาะเลือด พร้อมสังเกตสีของปัสสาวะ สีของอุจาระ หรือ ลักษณะ
อาเจียนที่ออกมา

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานยาต้านเกร็ดเลือด ดังนี้
- แอสไพริน (Aspirin) จะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนจาก
การระคายเคืองกระเพาะอาหาร
- โคลพิ โ ดเกรล (Clopidogrel) จะมี อ าการผื่ น ปวดหน้ า อก
ปวดศีรษะ ตาพร่า อึดอัดท้อง ผู้ป่วยโรคตับหรือมีปัญหาตกเลือด
ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
- ทิโคลพิดีน (Ticlopidine) อาจมีอาการท้องเดิน คลื่นไส้ จ�ำนวน
เกล็ดเลือดลดลง ท�ำให้เกิดแผลฟกช�้ำ
- ไดไพริดาโมล (Dipyridamole) จะมีอาการปวดศีรษะ
- ซิลอสตาซอล (Cilostazol) มักมีอาการปวดศีรษะ ใจสัน่ หัวใจเต้นเร็ว

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
82 (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

-20-0269(P4)-Ebook.indd 82 30/10/2564 BE 09:13


การปฏิบัติตัวเมื่อได้รับยาต้านเกล็ดเลือด หรือวอร์ฟาริน (Warfarin)
1. ควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อ
เจาะเลือดดูฤทธิ์ของยา
2. กรณีต้องได้รับการผ่าตัดหรือถอนฟันต้องแจ้งแพทย์ทันทีและ
พบแพทย์ที่สั่งยาเพื่อพิจารณา
3. ถ้าเกิดอุบัติเหตุหรือมีเลือดออกมากผิดปกติให้หยุดยาทันทีและ
มาพบแพทย์
4. กรณีทมี่ อี าการบวมทีแ่ ขนขาโดยไม่ทราบสาเหตุหรือมีเลือดออกเอง
ควรแจ้งแพทย์ทันที
5. งดการดืม่ เหล้า สูบบหุ รีเ่ พราะอาจมีผลท�ำให้ระดับยาเปลีย่ นแปลงได้
6. ยานีข้ บั ผ่านน�ำ้ นมได้ ดังนัน้ สตรีทใี่ ห้นมบุตรและได้รบั ยาวอร์ฟาริน
หากตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์ทันทีเพื่อปรับเปลี่ยนยา
7. หากลืมรับประทานยามานานกว่า 12 ชั่วโมง ให้ข้ามมื้อนั้นไปเลย
และรับประทานยามื้อต่อไปในขนาดเดิม
8. การเก็บรักษายา ควรเก็บยาให้พ้นแสงและความชื้น เก็บยาให้พ้น
มือเด็ก และเก็บยาในภาชนะที่ได้รับจากโรงพยาบาล

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน 83

-20-0269(P4)-Ebook.indd 83 30/10/2564 BE 09:13


รายชื่อคณะผู้จัดท�ำ

1. แพทย์หญิงทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ
2. แพทย์หญิงทิพยรัตน์ ศฤงคารินกุล นายแพทย์ช�ำนาญการพิเศษ
3. นายแพทย์ธนบูรณ์ วรกิจธ�ำรงค์ชัย นายแพทย์ช�ำนาญการพิเศษ
4. นางธัญพิมล เกณสาคู พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการพิเศษ
5. นางสาวจิตรลดา จักรเพชรโยธิน นักโภชนาการช�ำนาญการ
6. นางสาวพรพิมล วิเชียรไพศาล นักกายภาพบ�ำบัดช�ำนาญการ
7. นางพรศิริ สุวรรณโท นักกายภาพบ�ำบัดช�ำนาญการ
8. นางสาวณัฐกฤตา สุขโสภณธน นักกายภาพบ�ำบัดปฏิบัติการ
9. นางสาวชื่นชอบ นิศามณีพงษ์ นักกายภาพบ�ำบัดปฏิบัติการ
10. นางสาวจินตหรา พุฒทอง นักกิจกรรมบ�ำบัดปฏิบัติการ
11. นายเจษธวัช บุญฤทธิ์ลักขณา นักกิจกรรมบ�ำบัดปฏิบัติการ
12. นางสาวชุติมน วัฒนาพันธุ์ นักกิจกรรมบ�ำบัดปฏิบัติการ
13. นางสาวปัทมาภรณ์ ใจกลม นักเวชศาสตร์การสือ่ ความหมายปฏิบตั กิ าร
14. นายณฐกร เอกอุรุชัยเทพ นักกายอุปกรณ์ปฏิบัติการ

-20-0269(P4)-Ebook.indd 84 30/10/2564 BE 09:13


บันทึก

-20-0269(P4)-Ebook.indd 85 30/10/2564 BE 09:13


บันทึก

-20-0269(P4)-Ebook.indd 86 30/10/2564 BE 09:13


คู่มือ
โรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

คู่มือ โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ส�ำหรับประชาชน

สงวนลิขสิทธิ์
เอกสารเผยแพร่ สถาบันประสาทวิทยา
ห้ามจ�ำหน่าย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

You might also like