รายงานสุข

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 22

รายงาน

เรื่อง การช่วยฟื้ นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

จัดทำโดย

นายอาเนติ ศรีบุดดา เลขที่1


ชัย
นายเนืองนิม ประสาน เลขที่4
มาณ ทอง
นายภาณุทัต แม็คโดนั เลขที่5
ต์ ลด์
นางสาวพัทธ์ รัตน เลขที่23
ธีรา พาณิชย์
นางสาวชฎา จันทร์ เลขที่27
นาฏ ทรง
นางสาว โคตร เลขที่30
ธารารัตน์ ผาย
นางสาวณิช สิทธิชัย เลขที่32
กานต์
นางสาวชนิ โสตะวงศ์ เลขที่34
กานต์
นางสาวพร พักตร์ เลขที่36
พฤกษา แก้ว
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่5/2

เสนอ
คุณครู นิตยา นูสีหา

รายงานฉบับนี้เป็ นส่วนหนึ่งของวิชาสุขศึกษา (
พ 32102)
โรงเรียนยโสธรพิทยาคม

คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็ นส่วนหนึ่งของวิชา
สุขศึกษา ชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 5/2 โรงเรียนยโสธร
พิทยาคม เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง การช่วยฟื้ น
คืนชีพขั้นพื้นฐานและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็ น
ประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็ นประโยชน์กับผู้อ่าน
หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมี
ข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับ
ไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ

เรื่อง
หน้า
ความหมายและข้อบ่งชี้
1

ภาวะหยุดหายใจและสาเหตุ
2-3

ขั้นตอนการช่วยฟื้ นคืนชีพที่ถูกวิธี
4-7
5 ขั้นตอนของห่วงห่วงโซ่แห่งชีวิต
8-9

ข้อพึงระวังในการปฏิบัติการช่วยฟื้ นคืนชีพ
10

อ้างอิง
11
ความหมายของปฏิบัติการช่วยฟื้ นคืนชีพ
(Cardio Pulmonary Resuscitation ; CPR]

ปฏิบัติการช่วยฟื้ นคืนชีพ หรือการช่วยฟื้ นคืนชีพ หมายถึง


การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการ
หายใจและ การไหลเวียนเลือดกลับคืนสู่สภาพปกติ เพื่อ
ป้ องกันไม่ให้เนื้อเยื่อ ได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจน
อย่างถาวร โดยเฉพาะเนื้อเยื่อสมอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความ
พิการหรือเสียชีวิตได้

ข้อบ่งชี้ในการช่วยฟื้ นคืนชีพ

ผู้ที่ต้องได้รับการช่วยฟื้ นคืนชีพมีข้อบ่งชี้ในเรื่องดังต่อไปนี้

1.)ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจ โดยที่หัวใจยังคงเต้นอยู่
ประมาณ 2-3 นาที ให้ผายปอดทันทีจะช่วยป้ องกันภาวะ
หัวใจหยุดเต้นได้ และช่วยป้ องกันการเกิดภาวะเนื้อเยื่อ
สมองขาดออกซิเจนอย่างถาวร

2.) ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจและหัวใจ หยุดเต้นพร้อมกัน


การช่วยฟื้ นคืนชีพทันทีจะช่วยป้ องกันไม่ให้เนื้อเยื่อขาด
ออกซิเจนโดยเฉพาะเนื้อเยื่อสมอง โดยทั่วไปมักจะเกิดการ
ขาดออกซิเจนหลังมีภาวะหยุดหายใจ 4-6 นาที ดังนั้นการ
ปฏิบัติการช่วยฟื้ นคืนชีพจึงควรทำภายใน 4 นาที

ภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น

ภาวะหยุดหายใจ (Respiratory Arrest) และภาวะหัวใจ


หยุดเต้น (Cardiac Arrest) เป็ นภาวะที่มีการหยุดทำงาน
ของอวัยวะในระบบ ทางเดินหายใจและการไหลเวียนเลือด
ส่วนมากมักจะพบว่ามีการหยุดหายใจก่อนเกิดภาวะหัวใจ
หยุดเต้น และถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องจะทำให้
เสียชีวิตได้
สาเหตุของการหยุดหายใจ

1.) ทางเดินหายใจอุดตันจากสาเหตุต่างๆ เช่นสิ่งแปลก


ปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ การถูก บีบรัดคอ

2.)มีการสูดดมสารพิษ แก๊สพิษ ควันพิษ

3.)การถูกกระแสไฟฟ้ าแรงสูงดูด

4.)การจมน้ำ

5.) การบาดเจ็บที่ทรวงอก ทำให้ทางเดินหายใจได้รับ


อันตรายและเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ

6.)โรคทางระบบประสาท เช่น บาดทะยัก,ไขสันหลัง


อักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็ นอัมพาต

7.)การได้รับสารพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น แตน ต่อ


ผึ้งต่อยบริเวณคอ หน้า ทำให้มีการบวมของเนื้อเยื่อของ
ทางเดินหายใจ และหลอดลมมีการหดเกร็ง

8.)การได้รับยากดศูนย์ควบคุมการหายใจ เช่น มอร์ฟี น


ฝิ่ น โคเคน ฯลฯ
9.)โรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงอย่าง
เฉียบพลัน

10.) มีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจและมีภาวะ
หัวใจวาย

11.) หัวใจวายจากโรคหัวใจ จากการออกกำลังกายมาก


เกินปกติ หรือตกใจ หรือเสียใจกะทันหัน

12.) มีภาวะช็อก (Shock) เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันจากการ


สูญเสียเลือดมากทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือมีเลือด
มาเลี้ยงไม่เพียงพอ

13.)ทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับ
ออกซิเจนไม่เพียงพอ

14.)การได้รับยาเกินขนาดหรือการแพ้

เสริมนิดสะกิดรู้ การหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉิน

1.)ผู้ขับขี่ควรตั้งสติ
2.)มองกระจกหลังเพื่อกะระยะของรถพยาบาล
ฉุกเฉินที่กำลังวิ่งมา

3.)พิจารณาการจราจรรอบข้าง หากไม่มีอันตราย ให้


ลดความเร็วและเบี่ยงซ้ายเพื่อให้รถพยาบาลฉุกเฉิน
ผ่านไปได้ กรณีรถติดและรถพยาบาลฉุกเฉินอยู่ด้าน
หลังพอดี ให้พิจารณาว่าจะหลบทางไหน เปิ ดไฟเลี้ยว
และหลบไปในทิศทางที่ปลอดภัย

4.)เมื่อรถพยาบาลฉุกเฉินผ่านไปแล้ว ห้ามขับตามโดย
เด็ดขาด

ขั้นตอนการช่วยฟื้ นคืนชีพที่ถูกวิธี

สิ่งที่มีความสำคัญเร่งด่วนในการรักษาเบื้องต้นของผู้ป่ วย
หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือการทำ CPR
(Cardiopulmonary resuscitation) หรือที่เรียกว่า “การ
ปั๊ มหัวใจ” ที่มีความรวดเร็ว แม่นยำ และปฏิบัติถูกต้อง
เพื่อช่วยให้ผู้ป่ วยที่หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้นจาก
ภาวะฉุกเฉินต่างๆ เช่น ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน กล้าม
เนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ไฟฟ้ าช็อต จมน้ำ เป็ นต้น ซึ่ง
เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เป็ นช่วงเวลาที่มี
ความสำคัญมาก ผู้ป่ วยจะมีการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงที่
สมอง ซึ่งส่งผลให้มีภาวะสมองตายได้ เพียงขาดออกซิเจน
4 นาทีการช่วยชีวิตอย่างถูกต้องและรวดเร็ว จะช่วยเพิ่ม
โอกาสให้ผู้ป่ วยรอดชีวิต มีหัวใจกลับมาเต้นดังเดิม หรือ
ยืดระยะเวลาให้ผู้ป่ วยได้รับการส่งต่อไปยังทีมแพทย์
ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย

•ก่อนการเริ่มทำ CPR ควรปฏิบัติตามแนวทาง “ห่วงโซ่


แห่งการรอดชีวิต” (Chain of Survival) เพื่อเป็ นหลัก
การช่วยฟื้ นคืนชีพแนวทางเดียวกันทั่วโลกและเป็ นข้อ
ตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ ประกอบด้วย

1. การประเมินผู้ป่ วยว่ายังรู้สึกตัวอยู่หรือไม่ หากไม่มีสติ


คลำหาชีพจรไม่พบ ควรเรียกขอความช่วยเหลือหรือเรียก
บริการการแพทย์ฉุกเฉินจากหน่วยงาน

2. การกดหน้าอกอย่างถูกต้องและทันท่วงที (ทำ CPR)

3. การทำการช็อกไฟฟ้ าหัวใจ (AED) ภายใน 3-5 นาที


เมื่อมีข้อบ่งชี้

4. การช่วยฟื้ นคืนชีพขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ

5. การดูแลภายหลังการช่วยฟื้ นคืนชีพ

•ในการเริ่มทำ CPR ให้ทำตามขั้นตอน C – A – B

C – CIRCULATION : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิด
เลือดไหลเวียนอีกครั้ง

ปั๊ มหัวใจช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีการไหลเวียนของเลือดใน
ร่างกายอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้หลักในการปั๊ มหัวใจ คือ ต้องกด
ให้กระดูกหน้าอก (Sternum) ลงไปชิดกับกระดูกสันหลัง
ซึ่งจะทำให้หัวใจที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้งสองอันถูกกดไป
ด้วย ทำให้มีการบีบเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย
เสมือนการบีบตัวของหัวใจ ซึ่งมีขั้นตอนในการปั๊ มหัวใจ
ตามนี้

1. จัดให้ผู้ป่ วยนอนหงายราบ บนพื้นแข็ง ถ้าพื้นอ่อนนุ่มให้


สอดไม้กระดานแข็งใต้ลำตัว

2. วัดตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการนวดหัวใจ โดยใช้นิ้วชี้
และนิ้วกลางข้างที่ถนัด วาดจากขอบชายโครงล่างของผู้
ป่ วยขึ้นไป จนถึง ปลายกระดูกหน้าอก วัดเหนือปลาย
กระดูกหน้าอกขึ้นมา 2 นิ้วมือ แล้วใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัด
วางบนตำแหน่งดังกล่าว และใช้สันมือข้างที่ถนัดวางทับลง
ไป และเกี่ยวนิ้วมือให้นิ้วมือที่วางทับแนบชิดในร่องนิ้วมือ
ของมือข้างล่าง (interlocked fingers) ยกปลายนิ้วขึ้น
จากหน้าอก

3. ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง จากนั้นปล่อยน้ำ
หนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่ลำแขนทั้งสองและลงไปสู่กระดูก
หน้าอกในแนวตั้งฉากกับลำตัวของผู้เจ็บป่ วยในผู้ใหญ่และ
เด็กโต กดลงไปลึกประมาณ 1.5 – 2 นิ้ว ให้กดลงไปใน
แนวดิ่ง และอย่ากระแทก
4. ผ่อนมือที่กดขึ้นให้เต็มที่เพื่อให้ทรวงอกมีการขยายตัว
และหัวใจได้รับเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจน ขณะที่ผ่อน
มือไม่จำเป็ นต้องยกมือขึ้นสูง มือยังคงสัมผัสอยู่ที่กระดูก
หน้าอก อย่ายกมือออกจากหน้าอก จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยง
ส่วนต่างๆ ในร่างกาย และมีเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ
ทำให้มีการไหลเวียนเลือดในร่างกาย

5. การกดนวดหัวใจจะนวดเป็ นจังหวะสม่ำเสมอ ใน
อัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที ถ้าน้อยกว่านี้จะไม่ได้ผล

A – AIRWAY : การเปิ ดทางเดินหายใจให้โล่ง

การเปิ ดทางเดินหายใจให้โล่ง เพราะโดยมากผู้บาดเจ็บที่


หมดสติจะมีภาวะโคนลิ้นและกล่องเสียงตกลงไปอุดทาง
เดินหายใจส่วนบน ดังนั้นจึงต้องเปิ ดทางเดินหายใจให้โล่ง
โดยพิจารณาจาก

* หากผู้ป่ วยไม่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ จะใช้วิธีการ


แหงนหน้าและเชยคาง (Head tilt – Chin lift)
* หากสงสัยว่าผู้ป่ วยมีอาการเจ็บของไขสันหลัง ให้ใช้วิธี
Manual Spinal Motion Restriction โดยการวางมือสอง
ข้างบริเวณด้านข้างของศีรษะ เพื่อป้ องกันการเคลื่อนของ
ศีรษะ

* หากสงสัยว่าผู้ป่ วยมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
บริเวณคอให้เปิ ดทางเดินหายใจด้วยวิธียกขากรรไกร (Jaw
Thrust) คือ ดึงขากรรไกรทั้งสองข้างขึ้นไปด้านบน โดยผู้
ช่วยเหลือจะอยู่เหนือศีรษะของผู้ป่ วย

B – BREATHING : การช่วยให้หายใจ

การช่วยหายใจ เนื่องจากการหายใจหยุด ร่างกายจะมี


ออกซิเจนคงอยู่ในปอดและกระแสเลือด แต่ไม่มีสำรองไว้
ใช้ดังนั้น เมื่อหยุดหายใจ จึงต้องช่วยหายใจ ทำได้ดังนี้

* กรณีเป่ าปาก บีบจมูกของผู้ป่ วย ผู้ช่วยเหลือหายใจเข้า


ปอดลึก ๆ ซัก 2-3 ครั้ง หายใจ เข้าเต็มที่แล้วประกบปาก
ให้แนบสนิทกับปากของผู้ป่ วย แล้วเป่ าลมหายใจเข้าไปใน
ปอดให้เต็มที่
* กรณีเป่ าจมูก ใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บในปาก หรือใน
เด็กเล็ก ต้องปิ ดปากของผู้ป่ วยก่อน และเป่ าลมหายใจเข้า
ทางจมูกแทน

ขณะที่เป่ าให้เหลือบมองยอดอกของผู้รับบริการด้วยว่ามี
การยกตัวขึ้นหรือไม่ การเป่ าลมหายใจของผู้ช่วยเหลือผ่าน
ทางปากหรือจมูก จะต้องทำอย่างช้าๆ ปล่อยปากหรือผู้
ช่วยเหลือออกจากปากหรือจมูกของผู้ป่ วย เพื่อให้ผู้ป่ วย
หายใจออก ให้ ผายปอด 2 ครั้ง ๆ ละ 1-1.5 วินาที (แต่ละ
ครั้งได้ออกซิเจน 16 %) อัตราเร็วในการเป่ า

คือ 12 -15 ครั้ง / นาที ใกล้เคียงกับการหายใจปกติ


5 ขั้นตอนของห่วงโซ่แห่ง การรอดชีวิต (Chain
of Survival]

สิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องจําเพื่อการช่วยฟื้ นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
ได้แก่

1.เรียกคนช่วยอย่างรวดเร็ว แจ้งทีมช่วยชีวิต อย่างรวดเร็ว


โทรศัพท์ที่หมายเลข 1669

2.เริ่มปฏิบัติการช่วยชีวิตในทันที โดยการกดหน้าอก ให้มี


ประสิทธิภาพช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิตได้ 2-3 เท่า ไม่ต้อง
ทำการประเมินการหายใจของผู้ป่ วย

3.เมื่อมีข้อบ่งชี้ให้การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้ าให้ รวดเร็ว


ที่สุด ภายใน 3-5 นาที
4.ปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นสูงอย่างรวดเร็วและมี
ประสิทธิภาพ

5.ให้การดูแลหลังจากช่วยฟื้ นคืนชีพอย่างใกล้ชิดและมี
ประสิทธิภาพ

การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้ าอัตโนมัติ

เครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้ าอัตโนมัติใช้เมื่อผู้ป่ วยหมดสติไม่รู้


สึกตัวเป็ นอุปกรณ์ที่สามารถอ่านและวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ า
หัวใจของผู้ป่ วยได้อย่างแม่นยำ มีขั้นตอนดังนี้

1.เปิ ดเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้ าอัตโนมัติ ถอดเสื้อผ้าผู้ป่ วย


และตรวจการตอบสนองของผู้ป่ วย

2.ติดแผ่นอิเล็กโทรด (Electrode) หรือแผ่นนำไฟฟ้ า ก่อน


ติดแผ่นนำไฟฟ้ า

ตรวจสอบบริเวณที่ติดต้อง แห้งสนิท ไม่เปี ยก ลอกแผ่น


พลาสติก (Plastic) ด้านหลังแผ่นนำไฟฟ้ าออก ติดบริเวณ
ใต้กระดูกไหปลาร้าที่ด้านขวา และด้านซ้ายของชายโครง
ห้ามสัมผัสผู้ป่ วย ขณะที่เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้ า อัตโนมัติ
ทำการวิเคราะห์

3.ปฏิบัติตามที่เครื่องกระตุก หัวใจไฟฟ้ าอัตโนมัติแนะนำ


หากเครื่องสั่งให้ช็อกไฟฟ้ า ห้ามสัมผัส ผู้ป่ วย แล้วพูดว่า
“ฉันถอย คุณถอย ทุกคนถอย” เพื่อเตือนตนเอง ผู้ช่วย
เหลือ และคนรอบข้างไม่ให้สัมผัสหรืออยู่ใกล้ผู้ป่ วย จาก
นั้นกดปุ่มช็อก (Shock)

แล้วกดหน้าอกทันทีตามจังหวะของเครื่ องกระตุกหัวใจ
ไฟฟ้ าอัตโนมัติ โดยกดหน้าอกสลับกับการใช้เครื่องกระตุก
หัวใจไฟฟ้ าอัตโนมัติ ปฏิบัติตามคําสั่งจนกว่าทีมช่วยเหลือ
จะมาดําเนินการต่อหากเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้ าอัตโนมัติ
ไม่ได้สั่งให้ช็อกให้กดหน้าอกต่อไป
ข้อพึงระวังในการปฏิบัติการช่วยฟื้ นคืนชีพที่ไม่
ถูกวิธี

1.การวางมือผิดตำแหน่งทำให้ซี่โครงหัก กระดูกที่หัก
ทิ่มโดนอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ม้าม เกิดการตกเลือด
ถึงตายได้
2.การกดด้วยอัตราเร็วเกินไป เบา ไป ถอนแรง หลัง
กดไม่หมด ทำให้ปริมาณเลือดลงไปถึงอวัยวะต่างๆที่
สำคัญได้น้อย ทำให้ขาดออกซิเจน

3.การกดแรงและเร็วมากเกินไปทำให้กระดูกหน้าอก
กระดอนขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว หัวใจช้ำเลือดหรือ
กระดูกหักได้

4.การกดหน้าอกลึกเกินไปทำให้หัวใจชอกช้ำได้

5.การเปิ ดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ เป่ าลมมากเกินไป


ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร เกิดท้องอืด อาเจียน ลม
เข้าปอดไม่สะดวก ปอดขยายตัวไม่เมที่ถ้ามีอาการ
อาเจียนเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างการทำซีพีอาร์ ต้อง
ล้วงเอาเศษอาหารออกให้หมดก่อน มิฉะนั้นจะ
เป็ นการอุดตันของระบบทางเดินหายใจ การช่วย
หายใจไม่ได้ผล เกิดการขาดออกซิเจน ถ้ามีอาการ
ท้องอืดขึ้น เมื่อทำซีพีอาร์ ให้จัดท่าเปิ ดทางเดิน
หายใจใหม่ และช่วยการหายใจด้วยปริมาณลมที่ไม่
มากเกินไป

อ้างอิง

https://www.lanna-hospital.com/

https://scontent.fbkk5-5.fna.fbcdn.net/

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา 5 ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่5

You might also like