Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 62

โครงงานวิศวกรรมศาสตร์

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เรื่อง

มาตรฐานหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังและการป้องกันระบบแรงดันไฟฟ้าปานกลาง
กรณีศึกษา ไฟไหม้หม้อแปลงไฟฟ้า-สำเพ็ง วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565
Power Transformer standards and protection of medium voltage
systems, a case study of transformer burst in Sampeng
on June 26, 2022

โดย

นายรชต ทองเผือก 6210552242


นายวิริทธิ์พล ศรีเพชร 6210552307

พ.ศ.2565
มาตรฐานหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังและการป้องกัน ในระบบแรงดันปานกลาง กรณีศึกษาไฟไหม้
หม้อแปลงไฟฟ้า-สำเพ็ง วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565
Power Transformer standards and protection of medium voltage systems, a case study
of transformer burst in Sampeng on June 26, 2022

โดย
นายรชต ทองเผือก 6210552242
นายวิริทธิ์พล ศรีเพชร 6210552307

โครงงานวิศวกรรมศาสตร์
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ตามหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

ได้รับการพิจารณาเห็นชอบโดย
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน………………………..…...........…........วันที่............เดือน…....…….……....พ.ศ.…………
(ผศ.ดร.วินัย พฤกษะวัน)
อาจารย์กรรมการ..………………………………………....................วันที่............เดือน…....…….……....พ.ศ.…………
(รศ.ดร.คมสันต์ หงส์สมบัติ)
ii
วิริทธิ์พล ศรีเพชร 6210552307 ปีการศึกษา 2565
รชต ทองเผือก 6210552242 ปีการศึกษา 2565
มาตรฐานหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังและการป้องกัน ระบบ medium voltage กรณีศึกษาไฟไหม้หม้อแปลง
ไฟฟ้า-สำเพ็ง วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565
ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ

เนื่องจากในประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากหม้อแปลงไฟฟ้าเกิดการขัดข้องหรือระเบิดเป็น
จำนวนมากส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โครงงานนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อ
ต้องการที่จะศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานและการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าโดยนำเอาการระเบิดของหม้อ
แปลงไฟฟ้าที่สำเพ็งวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565 มาเป็นกรณีศึกษาเพื่อหาสาเหตุวิธีป้องกันไม่ให้เกิด
ปัญหาเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้าขึ้นอีกในอนาคต โดยศึกษาและวิเคราะห์จากเหตุการณ์สำเพ็งว่าสาเหตุ
ของปัญหาเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้า วิธีการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า ข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันของ
หม้อแปลงไฟฟ้าและความผิดพร่องของหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อนำมาปรับปรุงใช้กับหม้อแปลงไฟฟ้า
ภายในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเพื่อยกระดับการป้องกันไม่ให้เกิดความ
ผิดปกติกับหม้อแปลงไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้น

คำสำคัญ : หม้อแปลงไฟฟ้า, สำเพ็ง


เลขที่เอกสารอ้างอิง E5015-WNP-06-2565

iii
Viritpol Sriphet 6210552307 academic year 2565
Rachata Thongpueak 6210552242 academic year2565
Power Transformer standards and protection of medium voltage systems,
a case study of transformer burst in sampeng on June 26, 2022
Bachelor’s Degree in electrical engineering Department of Electrical Engineering
Faculty of Engineering, Kasetsart University
Abstract
Due to situation in Thailand, there are many incidents caused by power
transformer failures or explosions resulting in damage to people's lives and
properties. Therefore, this project was created to study transformer maintenance by
bringing the explosion of the old transformer as a case study to find out how to prevent
problems with transformers from occurring again. in the future by studying and analyzing
from the Sampeng incident that the cause of the problem with the transformer
maintenance method Information about protective devices of transformers fault of the
power transformer to be used to improve the transformer in Thailand to be better and
more secure. and to improve the level of protection against faults with transformers.

คำสำคัญ : Transformer,Sampeng

Department Reference No E5015-WNP-06-2565

iv
กิตติกรรมประกาศ

การวิจัยและศึกษาข้อมูลการบำรุงรักษาของหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อการจัดทำรายงานฉบับนี้สามารถ
สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์และสนับสนุนในการทำโครงงานเป็นอย่างดียิ่งจาก
ผศ.ดร.วินัย พฤกษวัน อาจารย์ที่ ปรึกษาที่ได้กรุณาให้คำปรึกษา ความรู้ ข้อคิด ข้อแนะนำ และ ปรับปรุง
แก้ไข ข้อบกพร่องต่างๆ จนกระทั่งรายงานฉบับบนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีคณะผู้จัดทำขอกราบ
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้
ขอขอบพระคุณ รศ.ดร.คมสันต์ หงส์สมบัติ
ที่ได้มีส่วนร่วมในการให้ความรู้เกี่ยวกับรายงานในครั้งนี้เป็นอย่างดี
สุดท้ายนี้ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจศึกษาต่อ
ไป

คณะผู้จัดทำ
นายรชต ทองเผือก
นายวิริทธิพ์ ล ศรีเพชร

v
สารบัญ

1 บทนำ ................................................................................................................................................... 1
1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน ........................................................................................................... 1
1.2 ขอบเขตโครงงาน ......................................................................................................................... 1
2 ทฤษฎีทเี่ กี่ยวข้อง ................................................................................................................................. 2
2.1 หม้อแปลงไฟฟ้าเบื้องต้น .............................................................................................................. 2
2.1.1 ระบบแรงดันและโหลดในการจ่ายไฟของการไฟฟ้า ................................................................. 3
2.2 ชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้า............................................................................................................. 3
2.2.1 หม้อแปลงไฟฟ้าแบบใช้ของเหลว (Liquid – Immersed Transformers) ..................... 3
2.2.2 หม้อแปลงชนิดแห้ง (Dry- type Transformer) ............................................................... 4
2.2.3 ข้อมูลหม้อแปลงไฟฟ้า .......................................................................................................... 5
2.4 มาตรฐานหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer Standard) ........................................................... 7
2.4.1 มาตรฐานการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า .................................................................................... 8
2.4.2 มาตรฐานการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า .............................................................................. 16
2.5 การตรวจสอบและการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ....................................................................... 17
2.5.1การตรวจสอบและการทดสอบทางไฟฟ้า ........................................................................... 17
2.5.2 การตรวจวัดทางน้ำมัน ...................................................................................................... 20
2.6 โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า ................................................................................................. 22
2.6.1 โครงสร้างภายในหม้อแปลง .............................................................................................. 22
2.6.2 โครงสร้างภายนอกหม้อแปลง ........................................................................................... 26
2.7 การบำรุงรักษาหม้อแปลง ......................................................................................................... 34
2.7.1 จุดมุ่งหมายในการบำรุงรักษา............................................................................................ 34
vi
2.8 การเกิดความผิดพร่องของหม้อแปลงไฟฟ้า ............................................................................. 35
2.9 การป้องกันความผิดพร่องของหม้อแปลงไฟฟ้า ....................................................................... 37
3 เครื่องมือที่ใช้ในการทำโครงงาน ...................................................................................................... 40
4. วิธีการดำเนินโครงงาน..................................................................................................................... 41
5. ผลการดำเนินโครงงานและวิจารณ์ ................................................................................................. 42
6. สรุปผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะ ......................................................................................... 47
7. บรรณานุกรม ................................................................................................................................... 49

vii
สารบัญภาพ

รูปที่ 1 หม้อแปลงไฟฟ้า (chatchaitransformer, ม.ป.ป.) ..................................................................... 2


รูปที่ 2 โครงสร้างหม้อแปลงไฟฟ้า (หลักการทำงานของหม้อแปลง, ม.ป.ป.) ........................................... 6
รูปที่ 3 ตารางมาตรฐานเสียงของหม้อแปลงไฟฟ้า (rmutl, 2015) ............................................................ 8
รูปที่ 4 ตารางค่าความต้านทานของฉนวน(Parmar, 2012) ................................................................... 18
รูปที่ 5 Temperature correction Factor (Parmar, 2012) .............................................................. 18
รูปที่ 6 การทดสอบอุณหภูมิเพิ่มหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 500 kVA (Ali Asghar Taheri, 2021) ............. 20
รูปที่ 7 transformer core (tpub, ม.ป.ป.) .......................................................................................... 22
รูปที่ 8 ขดลวดแรงสูงและขดลวดแรงต่ำ (ขดลวด (Winding), n.d.) ...................................................... 22
รูปที่ 9 Core Clamps (semanticscholar, 2006) .............................................................................. 23
รูปที่ 10 บัสบาร์ (Rolla Transformer Enclosures, ม.ป.ป.) .............................................................. 23
รูปที่ 11 สลักเกลียวยึดฝาปิดถึงหม้อแปลง (ติดตั้งฝาครอบหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง, 2019) .................... 24
รูปที่ 12 สายตัวนำแทปขดลวดหม้อแปลง (Csanyi, 2012) ................................................................... 24
รูปที่ 13 แคลป์ยึดฐานหม้อแปลง (reddit, 2018) ................................................................................. 25
รูปที่ 14 น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า (MIXING DIFFERENT TYPES OF TRANSFORMER OIL, ม.ป.ป.)..... 25
รูปที่ 15 Name plate (Roderick, 2021) ............................................................................................ 26
รูปที่ 16 Bushing(Transformer Bushing Operating Principle, n.d.) ............................................. 26
รูปที่ 17 Fuse(Transformer Bushing Operating Principle, n.d.) ................................................... 27
รูปที่ 18 Transformer tank(Transformer Tank, n.d.) ..................................................................... 27
รูปที่ 19 Transformer tap (Transformer Taps On High Voltage Side Why?, n.d.) ................... 28
รูปที่ 20 ถังน้ำมันสำรอง (Conservator Tank of Transformer, 2020) ............................................. 28
รูปที่ 21 ชุดกรองความชื้น (electrical4u, 2020) ................................................................................. 29
รูปที่ 22 Buchholz Relay (electrical4u, 2020) ............................................................................... 29
รูปที่ 23 ขั้วเชื่อมต่อ Bushing (Electrical Bushings, ม.ป.ป.) ............................................................. 30
รูปที่ 24 lightning arrester (electricaltechnology, ม.ป.ป.)............................................................ 30
รูปที่ 25 snake guard (nutthaphume-eng, n.d.) ............................................................................ 31

viii
รูปที่ 26 เทอร์โมมิเตอร์ (Transformer Oil Temperature Indicators, n.d.) .................................... 32
รูปที่ 27 ขั่วต่อสายดิน (Grounding transformer, ม.ป.ป.).................................................................. 32
รูปที่ 28 รูปถ่ายน้ำมันหม้อแปลง (การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ( Preventive Maintenance), ม.ป.ป.) . 33
รูปที่ 29 หูยกหม้อแปลง (9engineer, ม.ป.ป.)...................................................................................... 33
รูปที่ 30 ความเสียหายภายในขดลวด(Csanyi, electrical-engineering-portal, 2016) ...................... 35
รูปที่ 31 การลัดวงจรระหว่างรอบของขดลวด(Csanyi, electrical-engineering-portal, 2016) ......... 36
รูปที่ 32 ความผิดปกติที่ตัวถังหม้อแปลง(Csanyi, electrical-engineering-portal, 2016) ................ 36
รูปที่ 33 แนวทางการป้องกันหม้อแปลงไฟฟ้า (หงษ์สมบัติ) ................................................................... 38
รูปที่ 34 ชนิดการเกิดลัดวงจรในหม้อแปลงและการใช้อุปกรณ์ป้องกัน (หงษ์สมบัติ) .............................. 39

ix
สารบัญตาราง

ตาราง 1 ตารางข้อมูลทั่วไปของหม้อแปลงไฟฟ้า ...................................................................................... 5


ตาราง 2 Dry Type Transformer in Outdoor Installation (NES 420.22) ..................................... 10
ตาราง 3 Dry Type Transformer in Indoor Installation (NES 420.21) ........................................ 10
ตาราง 4 Clearance from Outdoor Liquid Insulated Transformers to Buildings (NEC) ......... 11
ตาราง 5 Clearance between Two Outdoor Liquid Insulated Transformers (NEC) ............... 11
ตาราง 6 Non-Flammable Liquid-Insulated Transformer in Indoor Installation (NES 420.21)
.............................................................................................................................................................. 12
ตาราง 7 Oil Insulated Transformer in Indoor Installation (NES 420.25) .................................. 13
ตาราง 8 Transformer Clearance from Building (IEEE Stand) ..................................................... 13
ตาราง 9 Transformer Clearance Specifications (Stand: Georgia Company) ........................... 15
ตาราง 10 Clearance of Transformer-Cable-Overhead Line (Stand: Georgia Power
Company) ........................................................................................................................................... 15
ตาราง 11 ตารางค่า PI ในการพิจารณาสภาพของหม้อแปลงไฟฟ้า ....................................................... 18
ตาราง 12 ตารางค่าสภาพฉนวน (%PF) ที่ 20 องศาเซลเซียส............................................................... 19
ตาราง 13 การตรวจสอบและบำรุงรักษาหม้อแปลงน้ำมัน ..................................................................... 45
ตาราง 14 การตรวจสอบและบํารุงรักษาหม้อแปลงแห้ง ........................................................................ 45
ตาราง 15 ตรวจสอบและบํารุงรักษานั่งร้านหม้อแปลง .......................................................................... 46

x
คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ

𝑁1 แสดงถึง จำนวนรอบของขดลวด Primary


𝑁2 แสดงถึง จำนวนรอบของขดลวด Secondary
𝑒1 แสดงถึง แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำในขดลวด Primary
𝑒2 แสดงถึง แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำในขดลวด Secondary
∆∅ แสดงถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก

xi
1 บทนำ

จากกรณีศึกษาในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2565 ได้พบเห็นกลุ่มควันลอยออกจากตัวถังของหม้อ


แปลงไฟฟ้าที่อยู่ตรงข้ามตลาดสำเพ็ง ต่อมาในภายหลังได้เกิดการระเบิดพร้อมกับของเหลวที่มีเพลิงลุก
ไหม้ไหลออกมาจากตัวหม้อแปลงไฟฟ้าและได้ลุกลามไปติดสายสื่อสารและอาคารรอบข้างทำให้เราได้
เล็งเห็นถึงปัญหาของหม้อแปลงไฟฟ้าในประเทศไทยที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาหรือการตรวจสอบที่ควรจะ
เพิ่มเติมจึงได้มีศึกษาเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้าโดยนำกรณีของไฟไหม้หม้อแปลงไฟฟ้าที่สำเพ็งมาเป็น
กรณีศึกษาเพื่อหาวิธีป้องกันและบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าในประเทศไทยไม่ให้ เกิดเหตุการณ์แบบนี้
เกิดขึ้นอีกในอนาคต
1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้าและมาตรฐานหม้อแปลงไฟฟ้า
2. เพื่อหาวิธีป้องกันและบำรุงรักษาหม้อแปลง
3. เพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษาให้คนใส่ใจถึงความอันตรายของเพลิงไหม้จากหม้อแปลงไฟฟ้า

1.2 ขอบเขตโครงงาน
1. ศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันหม้อแปลงไฟฟ้า
2. ศึกษาเกี่ยวกับการเกิดความผิดพร่องของหม้อแปลงไฟฟ้า
3. ศึกษาเกี่ยวกับวิธีป้องกันและบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า
4. ศึกษาเกี่ยวกับการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าตามมาตรฐาน

1
2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.1 หม้อแปลงไฟฟ้าเบื้องต้น
หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญกับระบบไฟฟ้าทุกในระบบจากการแปลงแรงดัน
ไฟฟ้าให้สูงขึ้นเพื่อส่งพลังงานไฟฟ้าด้วยระบบไฟฟ้าแรงสูงจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ผลิตออกมาไปยัง
ระบบจำหน่ายที่แรงดันไฟฟ้าถูกลดลงให้เหมาะกับการใช้งานในระบบจำหน่ายถ้ามีการขัดข้องหรือ
ความเสียหายของ หม้อแปลง ไฟฟ้าจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช่ไฟฟ้า และ ความน่าเชื่อถือของระบบ โดย
หม้อแปลงไฟฟ้ามีส่วนประกอบพื้นฐานคือขดลวดเหนี่ยวนำ 2 ชุด คือขดลวดปฐมภูมิ (Primary Winding)
และขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) เพื่อเหนี่ยวนำ สนามแม่เหล็กผ่านขดลวด และ แกนเหล็ก
โดยหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายเป็นหม้อแปลงที่มีการแปลง แรงดันไฟฟ้าให้น้อยลง (Step down-
Voltage) เพื่อให้แรงดันไฟฟ้าเท่ากับความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งในแรงดันระบบไฟฟ้าแรงดันปานกลาง
(Medium Voltage) อายุการใช้งานของหม้อแปลงไฟฟ้า (Operating Lifr of Transformer)
ของแบบเติมน้ำมันฉนวนจะมีช่วงอายุที่ 25-30 ปี

รูปที่ 1 หม้อแปลงไฟฟ้า (chatchaitransformer, ม.ป.ป.)

2
2.1.1 ระบบแรงดันและโหลดในการจ่ายไฟของการไฟฟ้า
การใช้ระบบจำหน่ายไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้า
1) การไฟฟ้านครหลวง(Metropolitan Electricity Authority; MEA)
- แรงดันระบบจำหน่าย 24 kV หรือ 12/24 kV และแรงดันใช้งาน 240/416V
- Tapping Range: - 4x 2.5% (Off-Load Tap-Changer on HV Side)
2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (Provincial Electricity Authority; PEA)
- แรงดันระบบจำหน่าย 22 kV หรือ 33 kV และแรงดันใช้งาน 230/400V
- Tapping Range: ± 2x 2.5% (Off-Load Tap-Changer on HV Side)
2.2 ชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายที่ที่ใชช่อยู่ในปัจจุบันมีสองแบบคือ
- หม้อแปลงไฟฟ้าแบบใช้ของเหลว (Liquid – Immersed Transformers)
- หม้อแปลงแบบแห้ง (Dry – Type Transformers)
2.2.1 หม้อแปลงไฟฟ้าแบบใช้ของเหลว (Liquid – Immersed Transformers)
หม้อแปลงที่ใช้ของเหลวเป็นฉนวนระบายความร้อนแบ่งออกเป็น
1. หม้อแปลงชนิดฉนวนของเหลวติดไฟได้ (Flammable Liquid – Insulated -Transformer)
หรือเรียกว่า หม้อแปลงน้ำมัน (Oil type Transformer) เป็นหม้อแปลงที่ใช้น้ำมันหม้อแปลงเป็นฉนวน
และทำหน้าที่เป็นตัวระบายความร้อนด้วย ซึ่งน้ำมันหม้อแปลงนี้จะมีคุณสมบัติคือต้องมีความเป็น
ฉนวนไฟฟ้าที่ดีและราคาถูก รวมถึงต้องมีการบรุงรักษาที่น้อย นิยมใช้ภายนอกอาคาร หากนำมาติดตั้ง
ภายในอาคารจะต้องมีห้องหม้อแปลงไว้ติดตั้งโดยเฉพาะ น้ำมันหม้อแปลงจะมีจุดติดไฟ (Fire Point) ที่
165 ํC หม้อแปลงน้ำมันยังแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
- หม้อแปลงน้ำมันแบบมีถังพัก (Open Type with Conservator) เป็นหม้อแปลงในระบบ
จำหน่ายชนิดที่นิยมใช้กันมานาน ระบายความร้อนด้วยน้ำมันและมีท่อให้อากาศไหลผ่าน นอกจากนี้ยังมีซิ
ลิก้าเจล (Silica Gel) เป็นตัวดูดความชื้นและยังบ่งบอกถึงความเป็นฉนวนของน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า
- แบบที่มีตัวถังปิดผนึก (Hermetically Sealed Tank ในปัจจุบันได้มีการใช้หม้อแปลงที่มีตัวถัง
ปิดผนึกมากขึ้น เนื่องจากหม้อแปลงแบบนี้ไม่มีถังพัก ไม่ต้องมีซิลิก้าเจลไม่ต้องบำรุงรักษา จึงสามารถ
3
ป้องกันความชื้นได้อย่างสมบูรณ์และเพื่อรองรับการขยายตัวของน้ำมันขณะจ่ายโหลดหรือเกิดจากการ
ลัดวงจร และหม้อแปลงปิดผนึกมีการออกแบบเป็น
1) หม้อแปลงปิดผนึกแบบใช้ก๊าซไนโตรเจน หม้อแปลงแบบนี้จะอัดก๊าซไนโตรเจนเข้าเหนือน้ำมัน
เพื่อให้มีที่ว่างสำหรับการขยายตัวของน้ำมัน
2) หม้อแปลงปิดผนึกแบบผนังเป็นลอนคลื่น (Corrugated Tank) หม้อแปลงแบบนี้จะออกแบบ
ให้ผนังสามารถระบายความร้อนด้วยลอนคลื่นขณะเดียวกันตัวถังสามารถยืดหยุ่นได้เพื่อรอบรับการ
ขยายตัวของน้ำมันหม้อแปลงซึ่งในปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กัน อย่างแพร่หลาย เนื่องจากราคาถูก และ การ
บำรุงรักษาน้อยลงและความชื้นภายนอกไม่มีโอกาสเข้าสู่ภายในหม้อแปลงได้
2. หม้อแปลงชนิดฉนวนของเหลวติดไฟยาก (Less Flammable Liquid Insulated
Transformer) เป็นหม้อแปลงที่ใช้ของเหลวที่ติดไฟยากเป็นฉนวนและระบายความร้อน โดยทั่วไปนิยมใช้
สารซิลิโคน (Silicone) ซึ่งมีจุดติดไฟที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 300 ํC ไม่เป็นพิษต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันมีการใช้งานน้อยแต่มีความปลอดภัยสูงกว่าหม้อแปลงน้ำมันและหม้อแปลงชนิดนี้อนุญาตให้ติดตั้ง
ภายในอาคารได้ตามข้อกำหนด
3. หม้อแปลงชนิดฉนวนของเหลวไม่ติดไฟ (Non-Flammable Fluid – Insulated
Transformer) เป็นหม้อแปลงที่มีการใช้งานน้อยมากและมีราคาแพงเพราะต้องระมัดระวังการนำฉนวนไม่
ติดไฟมาใช้เนื่องจากอาจเป็นพิษต่อบุคคลได้
2.2.2 หม้อแปลงชนิดแห้ง (Dry- type Transformer)
เป็นหม้อแปลงที่ใช้ฉนวนเป็นของแข็งนิยมใช้ติดตั้งภายในอาคาร มีความปลอดภัยจากการเกิด
เพลิงไหม้สูง เนื่องจากหากหม้อแปลงเกิดระเบิดขึ้นจะไม่มีส่วนที่ติดไฟ หม้อแปลงชนิดนี้มีทั้งชนิดที่เป็น
ฉนวนเรชินแห้ง (Cast Resin) และฉนวนอากาศ (Air Cooled) แต่ที่นิยมใช้กันมากคือหม้อแปลง Cast
Resin ซึ่งเป็นหม้อแปลงที่มีระหว่างขดลวดอัดด้วย Cast Resin Reinforced Glass Fiber ซึง่ Resin มี
คุณสมบัติติดไฟได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 350 ํC ทำให้หม้อแปลงชนิดนี้ติดไฟยากฉนวน Resin ต้องไม่เป็นพิษต่อ
คนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงต้องอยู่ในสิ่งห่อหุ้ม (Enclosure)

4
2.2.3 ข้อมูลหม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงน้ำมัน (Hermetically Sealed) 3 phase แรงดัน 12-24 kV / 230 – 400 V
หม้อ No- Load Total Imped L W Oil Total
H
แปลง load loss Loss ance (mm) (mm) qty. Weight
(mm)
(kVA) loss at 75 ํ at 75 ํ at 75 ํ (Liters) (kgs)
(W) C (W) C (W) C (%)
100 250 1550 180 4 1140 930 635 160 585
160 360 2100 2460 4 1190 1070 380 215 845
250 500 2950 3450 4 1285 1080 735 255 1065
315 700 3900 4600 4 1310 1190 795 360 1395
400 850 4600 5450 4 1330 1245 825 390 1550
500 1000 5500 6500 4 1405 1420 855 480 1910
630 1200 6500 7700 4 1445 1490 970 565 2155
800 1300 10000 11300 6 1495 1790 1090 655 2555
1000 1600 13000 14600 6 1515 1840 1270 740 2845
1250 1800 15500 17300 6 1635 2050 1290 860 3595
1600 2100 19500 21600 6 1695 2130 1300 1010 4200
2000 2600 22500 25100 6 1845 2160 1390 1220 5200
2500 3000 26500 29500 6 2120 2310 1420 1465 6130
ตาราง 1 ตารางข้อมูลทั่วไปของหม้อแปลงไฟฟ้า
หมายเหตุ ขนาดของหม้อแปลงอาจเปลี่ยนไปตามผู้ผลิตกำหนด

5
2.3 หลักการทำงานของหม้อแปลง
การทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าอาศัยหลักการความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้ากับเส้นแรงแม่
เหล็กในการเหนี่ยวนำตัวนำเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดตัวนำก็จะทำให้เกิดก็จะทำให้เกิดเส้นแรงแม่
เหล็กรอบๆตัวนำนั้นและถ้ากระแสที่ป้อนมีขนาดและทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปมาก็จะทำให้สนามแม่เหล็ก
ที่เกิดขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยถ้าสนามแม่เหล็กที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตัดผ่านตัวนำก็จะเกิด
แรงเคลื่อนเหนี่ยวนำขึ้นที่ตัวนำนั้นโดยขนาดของแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำจะสัมพันธ์กับความเข้มของสนามแม่
เหล็กและความเร็วในการตัดผ่านตัวนำของสนามแม่เหล็ก

รูปที่ 2 โครงสร้างหม้อแปลงไฟฟ้า (หลักการทำงานของหม้อแปลง, ม.ป.ป.)

ขดลวดชุดหนึ่งต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้า และขดลวดอีกชุดหนึ่งต่อเข้ากับโหลด
เมื่อวงจรมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าทางขดลวดปฐมภูมิ (Primary Winding)จะเกิดแรงแม่เหล็กขึ้นในขดลวด
และเมื่อเกิดเส้นแม่เหล็กจะเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำในขดลวดปฐมภูม (Primary Winding)
ซึ่งมีทิศทางตรงกันข้ามกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่เข้ามาในขดลวดปฐมภูมิ (Primary Winding) เส้นแรง
แม่เหล็กจะไหลผ่านไปแกนเหล็กตามทิศทางของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำไปตัดผ่านขดลวดทุติยภูม
(Secondary Winding) เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding)
6
จึงเกิดกระแสไหลเข้าไปในโหลดซึ่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนรอบและอัตราการเปลี่ยนแปลงของเส้นแ
รงแม่เหล็ก(Flux) เราเรียกเส้นแรงแม่เหล็กในแกนนี้ว่า Mutual flux สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

Δ∅
𝑒1 = 𝑁1
Δ𝑡
Δ∅
𝑒2 = 𝑁2
Δ𝑡

𝑁1 = จำนวนรอบของขดลวด Primary
𝑁2 = จำนวนรอบของขดลวด Secondary
𝑒1 = แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำในขดลวด Primary
𝑒2 = แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำในขดลวด Secondary
∆∅ = อัตราการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก

2.4 มาตรฐานหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer Standard)


• มอก.384-2543 / TIS 384-2000
- หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง / Power Transformers
• IEC 60076 Power Transformers
- IEC 60076-1, 2011 Part 1: General
- IEC 60076-11, 2011 Part 11: Dry-type transformer
• IEEE C57.12.00-2000
- General requirements for Liquid-Immersed Distribution, Power and Regulating
Transformers

7
มาตรฐานระดับเสียงขณะทำงานและมลภาวะทางเสียง (Operating Sound level and Noise
Pollution) ตามมาตรฐาน NEMA TR-1

รูปที่ 3 ตารางมาตรฐานเสียงของหม้อแปลงไฟฟ้า (rmutl, 2015)

2.4.1 มาตรฐานการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า
มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าทั่วไป (มยผ. 4501-51) ในการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าครอบคลุมทั้งการ
ติดตั้งภายนอกอาคารและภายในอาคารแบ่งเป็น 3 แบบ
1.หม้อแปลงฉนวนของเหลวติดไฟได้
- การติดตั้งภายนอกอาคาร หากติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าไว้ใกล้วัสดุหรืออาคารที่ติดไฟได้ หรืออยู๋ใกล้ทาง
หนีไฟ ประตูหรือหน้าต่าง ควรมีการปิดกั้นเพื่อป้องกันไฟทีเกิดากของเหลวของหม้อแปลงลุกลามไปติด
อาคาร หรือส่วนของอาคารที่ติดไฟ ส่วนที่มีไฟฟ้าด้านแรงสูงต้องอยู่ห่างจากโครงสร้างอื่นไม่น้อยกว่า 1.80
เมตร
- การติดตั้งภายในอาคาร ถ้าขนาดหม้อแปลงไฟฟ้าไม่เกิน 75kVAหากไม่อยู่ในห้องหม้อแปลงต้องมีรั้ว
ล้อมรอบและระยะห่างจากรั้วต้องไม่น้อยกว่า 1 เมตร
2.หม้อแปลงชนิดแห้ง
- การติดตั้งภายนอกอาคาร ต้องมีเครื่องห่อหุ้มที่ทนทานสภาพอากาศได้ หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีขนาดเกิน
112.5kVA ต้องติดตั้งห่าจากวัสดุที่ติดไฟได้ไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร

8
- การติดตั้งภายในอาคาร แรงดัน 33 kV ขนาดไม่เกิน 112.5 kVA ติดตั้งห่างจากวัสดุติดไฟได้ไม่น้อยกว่า
0.30 เมตร ยกเว้นกันด้วยแผ่นกั้นความร้อน, อยู่ในเครื่องห่อหุ้มที่ปิดส่วนที่มีไฟฟ้ามิดชิด กรณีขนาดเกิน
112.5 kVA ต้องติดตั้งในห้องหม้อแปลง ยกเว้น หม้อแปลงไฟฟ้ามีระบบทนอุณหภูมิฉนวน (Insulation
System Temperature) ไม่ต่ำกว่า 150 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่าและกันด้วยแผ่นกั้นความร้อนหรือ
ติดตั้งห่างจากวัสดุติดไฟได้ไม่น้อยกว่า 1.80 เมตรในแนวนอนและ 3.60 เมตรในแนวดิ่ง ต้องห่องหุ้มส่วน
ที่มีไฟฟ้าอย่างมิดชิด
3.หม้อแปลงฉนวนของเหลงติดไฟยาก
- การติดตั้งภายนอกอาคาร หากติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าไว้ใกล้วัสดุหรืออาคารที่ติดไฟได้ หรืออยู๋ใกล้ทาง
หนีไฟ ประตูหรือหน้าต่าง ควรมีการปิดกั้นเพื่อป้องกันไฟทีเกิดากของเหลวของหม้อแปลงลุกลามไปติด
อาคาร หรือส่วนของอาคารที่ติดไฟ ส่วนที่มีไฟฟ้าด้านแรงสูงต้องอยู่ห่างจากโครงสร้างอื่นไม่น้อยกว่า 1.80
เมตร
- การติดตั้งภายในอาคาร อาคารที่ตดิ ตั้งเป็นอาคารที่ติดไฟได้หรือมีวัสดุติดไฟ ได้ในพื้นที่ที่ติดตั้งหม้อ
แปลง หม้อแปลงต้องติดตั้งใน ห้องหม้อแปลงหรือต้องมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติและมี การกั้นเก็บ
ของเหลวที่ไหลออกมาโดยการทําบ่อพัก (SUMP) หรือทําที่กั้น อาคารที่ติดตั้งเป็นอาคารไม่ติดไฟตาม
TYPE I และ TYPE II ตาม NFPA 220-1985 หรือเทียบเท่าและไม่มี วัสดุที่ติดไฟได้ในพื้นที่ติดตั้งหม้อ
แปลง ไมต้องมีระบบ ดังเพลิงอัตโนมัติแต่ต้องมีการกั้นของเหลวซึ่งอาจไหลออกมาและหม้อแปลงที่มีพิกัด
แรงดันเกิน 33 KV ต้องติดตั้งใน ห้องหม้อแปลง เท่านั้น

9
มาตรฐานการติดตั้งอื่นๆที่ใช้เป็นสากล
Dry Type Transformer in Outdoor Installation (NES 420.22)
Voltage Distance
Above 112.5 kVA with Class 155 Insulation Separated from a fire-resistant barrier not
less than 1.83 m (6 ft.) horizontally and
3.7 m (12 ft.) vertically
ตาราง 2 Dry Type Transformer in Outdoor Installation (NES 420.22)

Dry Type Transformer in Indoor Installation (NES 420.21)


Voltage Distance
Up to 112.5 kVA 300 mm.(12in.) from combustible material
unless separated from the combustible
material by a heat-insulated barrier.
Above 112.5 kVA Installed in a transformer room of fire-
resistant construction.
Above 112.5 kVA with Class 155 Insulation Separated from a fire-resistant barrier not
less than 1.83m (6 ft.) horizontally and
3.7m (12 ft.) vertically
ตาราง 3 Dry Type Transformer in Indoor Installation (NES 420.21)

10
Clearance from Outdoor Liquid Insulated Transformers to Buildings (NEC)
Liquid Liquid Fire Resistant Non- Combustible Vertical
Volume wall Combustible Wall Distance
(m3) Wall
Less NA 0.9 Meter 0.9 Meter 0.9 Meter 0.9 Meter
Flammable
<38 m3 1.5 Meter 1.5 Meter 7.6 Meter 7.6 Meter
>38 m3 4.6 Meter 4.6 Meter 15.2 Meter 15.2 Meter
Mineral Oil <1.9 m3 1.5 Meter 4.6 Meter 7.6 Meter 7.6 Meter
1.9 m3 to 19 4.6 Meter 7.6 Meter 15.2 Meter 15.2 Meter
m3
>19 m3 7.6 Meter 15.2 Meter 30.5 Meter 30.5 Meter
ตาราง 4 Clearance from Outdoor Liquid Insulated Transformers to Buildings (NEC)

Clearance between Two Outdoor Liquid Insulated Transformers (NEC)


Liquid Liquid Volume (m3) Distance
Less NA 0.9 Meter
Flammable <38 m3 1.5 Meter
>38 m3 7.6 Meter
Mineral Oil <1.9 m3 1.5 Meter
1.9 m3 to 19 m3 7.6 Meter
>19 m3 15.2 Meter
ตาราง 5 Clearance between Two Outdoor Liquid Insulated Transformers (NEC)

11
Non-Flammable Liquid-Insulated Transformer in Indoor Installation (NES 420.21)
Voltage Distance (min)
Over 35KV Installed indoors Vault (Having liquid
confinement area and a pressure-relief
vent for absorbing any gases generated by
arcing inside the tank, the pressure-relief
vent shall be connected to a chimney or
flue that will carry such gases to an
environmentally safe area
Above 112.5 KVA Installed in a transformer room of fire-
resistant

Above 112.5 KVA with Class 155 Insulation separated from a fire-resistant barrier not
less than 1.83 m (6 ft) horizontally and 3.7
m (12 ft) vertically

ตาราง 6 Non-Flammable Liquid-Insulated Transformer in Indoor Installation (NES 420.21)

12
Oil Insulated Transformer in Indoor Installation (NES 420.25)
Voltage Distance (min)
Up to 112.5 KVA Installed indoors Vault (With construction
of reinforced concrete that is not less than
100 mm (4 in.) thick.
Up to 10 KVA & Up to 600V Vault shall not be required if suitable
arrangements are made to prevent a
transformer oil fire from igniting
Up to 75 KVA & Up to 600V Vault shall not be required if where the
surrounding Structure is classified as fire-
resistant construction.
Furnace transformers (Up to 75 kVA) Installed without a vault in a building or
room of fire-resistant construction

ตาราง 7 Oil Insulated Transformer in Indoor Installation (NES 420.25)

Transformer Clearance from Building (IEEE Stand)


Transformer Distance from Building (min)
Up to 75 KVA 3.0 Meter

75 KVA to 333 KVA 6.0 Meter

More than 333 KVA 9.0 Meter

ตาราง 8 Transformer Clearance from Building (IEEE Stand)

13
Transformer Clearance Specifications (Stand: Georgia Company)
Description of Clearance Distance (min)
Clearance in front of the transformer 3.0 Meter

Between Two pad mounted transformers 2.1 Meter


(Including Cooling fin)
Between Transformer and Trees, shrubs, 3.0 Meter
Vegetation (for unrestricted natural cooling)
The edge of the concrete transformer pad 4.2 Meter
to nearest the building
The edge of the concrete transformer pad 3.0 Meter
to nearest building wall, windows, or other
openings
Clearance from the transformer to edge of 3.0 Meter
(Or Canopy) building (3 or less stories)
Clearance in front of the transformer doors 3.0 Meter
and on the left side of the transformer,
looking at it from the front
Gas service meter relief vents. 0.9 Meter

Fire sprinkler values, standpipes and fire 1.8 Meter


Hydrants
The water’s edge of a swimming pool or 4.5 Meter
any body of water.
Facilities used to dispense hazardous 6.0 Meter
liquids
Facilities used to store hazardous liquids or 3.0 Meter
gases
Clear vehicle passageway always, 3.6 Meter
immediately adjacent of Transformer
14
Fire safety clearances can be reduced by
building a suitable masonry fire barrier
wall(2.7 Meter wide and 4.5 Meter Tall) 0.9
Meter from the back or side of the Pad
Mounted Transformer to the side of the
combustible wall
The front of the transformer must face
away from the building.
ตาราง 9 Transformer Clearance Specifications (Stand: Georgia Company)

Clearance of Transformer-Cable-Overhead Line (Stand: Georgia Power Company)


Description of Horizontal Distance (mm)
Clearance to pad-mounted To buried HV cable To overhead HV
transformers Line
Fuel tanks 7.5 Meter 1.5 Meter 7.5 Meter
Granaries 6.0 Meter 0.6 Meter 15 Meter
Homes 6.0 Meter 0.6 Meter 15 Meter
Barns, sheds, 6.0 Meter 0.6 Meter 15 Meter
garages
Water wells 1.5 Meter 1.5 Meter 15 Meter
Antennas 3.0 Meter 0.6 Meter Height of
Meter Antenna
+ 3.0
Meter
ตาราง 10 Clearance of Transformer-Cable-Overhead Line (Stand: Georgia Power
Company)

15
2.4.2 มาตรฐานการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า
มาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบหม้อแปลงคือ มอก., IEC, IEEE และมีการแบ่งประเภทการทดสอบ
เป็น 3 รูปแบบคือ
1. การทดสอบประจำ (Routine Test) สำหรับหม้อแปลงน้ำมันทุกลูกต้องผ่านการทดสอบประจำ
เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการชำรุดเสียหายระหว่างการผลิต ประกอบด้วย
• การทดสอบอัตราส่วนแรงดัน (Ratio Test): IEC 60076-1
• การทดสอบขั้วหรือสัญลักษณ์กลุ่มเวคเตอร์ (Polarity and Vector Group Test): IEC
60076-1
• การทดสอบความต้านทานของขดลวด (Winding Resistance Measurement): IEC 60076-1
• การทดสอบความสูญเสียขณะไม่มีโหลด (No Load Loss and No-Load Current Test): IEC
60076-1
• การทดสอบความคงทนต่อแรงดันเหนี่ยวนำเกิน (Induced Potential Test): IEC 60076-3
• การทดสอบความคงทนต่อแรงดันเกินจากแหล่งจ่ายอื่น (Applied Potential Test): IEC
60076-3
• การทดสอบรอยรั่วซึม (Oil Leak Test): IEC 60076-1
• การทดสอบความเป็นฉนวนของน้ำมัน (Oil Dielectric Strength Test): IEC 60156 or
ASTM D877-02
2. การทดสอบเฉพาะแบบ (Type Test) เป็นการนำหม้อแปลงไฟฟ้าแต่ละขนาดมาทำการทดสอบ
การออกแบบของหม้อแปลงตัวนั้นๆ
• การทดสอบความคงทนต่อแรงดันอิมพัลส์์ (Impulse Voltage Withstand Test): IEC
60076-4
• การทดสอบอุณหภูมิเพิ่ม (Temperature Rise Test): IEC 60076-2
3. การทดสอบพิเศษ (Special Test) เป็นการทดสอบตามความต้องการของผู้ซื้อ
• การทดสอบความทนทานต่อการลัดวงจร (Short Circuit Withstand Test): IEC 60076-5
• การทดสอบความดังของเสียงรบกวน (Audible Sound Level Test) : IEC 60076-10

16
2.5 การตรวจสอบและการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า
การตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าถือเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยจะมีการตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อให้
หม้อแปลงไฟฟ้าอยู่ในสภาวะปกติและยังทำให้หม้ อแปลงไฟฟ้ามีอายุการใช้งานที่นานขึ้นซึ่งในระบบ
ฉนวนภายในหม้อแปลงไฟฟ้าจะประกอบด้วย ฉนวนน้ำมัน, กระดาษ, ชีลยาง ฉนวนทองแดง โดยวัสดุ
เหล่านี้จะมีการเสื่อมสภาพเมื่อมีความชื้น, เขม่า, ก๊าซหรือสิ่งเจือปนอื่นๆที่ปะปนอยู่ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำ
ให้หม้อแปลง ไฟฟ้าเกิดการลัดวงจร หรือ ระเบิดได้ ดังนั้นจึงควรทำการตรวจสอบสภาพ และบำรุงรักษา
หม้อแปลงไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอีกทั้งยังทำให้ได้ประโยชน์และ
ประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังนับเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบไฟฟ้ จึงต้อง
มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ โดยทั่วไปจะมีการตรวจสอบทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อ
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานขอหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งในการตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า
มักจะใช้การตรวจวัดทางไฟฟ้า และ การตรวจวัดทางน้ำมัน ในการประเมินสภาพของหม้อแปลงไฟฟ้า
2.5.1การตรวจสอบและการทดสอบทางไฟฟ้า
1. การทดสอบความต้านทานของฉนวน (Insulation Resistance Measurement) ทำขึ้นเพื่อ
กำหนดความต้านทานของฉนวนจากขดลวดแต่ละอันถึงกราวด์หรือระหว่างขดลวดแต่ละอัน การทดสอบ
ความต้านทานฉนวนโดยทั่วไปจะวัดโดยตรงในหน่วยเมกะโอห์มหรืออาจคำนวณจากการวัดแรงดันไฟที่ใช้
และกระแสไฟรั่ว ในการวัดความต้านทานของฉนวนคือการต่อสายดินถัง (และแกนกลาง) เสมอ ลัดวงจร
แต่ละขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ขั้วบุชชิ่ง จากนั้นจึงทำการวัดความต้านทานระหว่างขดลวดแต่ละอัน
กับขดลวดอื่นๆ ทั้งหมดที่ต่อสายดินของฉนวน ที่เกิดขึ้น ภายในหม้อแเปลงไฟช้า ซึ่งขั้นตอนในการ
ทดสอบ เป็น วิธีการลัดวงจรของขดลวดในแต่ละชุดของหม้อแปลงเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะให้แรงดันทสอบ
มีค่เท่ากันในแต่ละเฟสถ้าขดลวดทดสอบมีพิกัดแรงดันตั้งแต่ 3,300 V ขึ้นไปให้ทดสอบด้วยแรงดัน 2,500
Vac และถ้าพิกัดแรงดันน้อยกว่า 3,300 V ลงมาให้ทดสอบด้วยแรงดัน 1,000 Vdc จากนั้นทดสอบตั้งแต่
1 นาทีถึง 10 นาที แล้วคำนวณค่า Polarization Index (PI1) หรือค่าอัตราส่วนความด้านทานฉนวนที่
นาทีที่ 10 ต่อนาทีที่ 1 ตามมาตรฐาน IEEE C57.125-1999

17
สภาพ PI
ดี มากกว่า 2.0
พอใช้ 1.25 – 2.0
อาจเกิดความผิดปกติ 1.1 – 1.25
อันตราย น้อยกว่า 1.1
ตาราง 11 ตารางค่า PI ในการพิจารณาสภาพของหม้อแปลงไฟฟ้า

รูปที่ 4 ตารางค่าความต้านทานของฉนวน(Parmar, 2012)

รูปที่ 5 Temperature correction Factor (Parmar, 2012)

18
2.การวัดความสูญเสียทางฉนวน (Insulation Power – Factor Measurement) เป็นการ
ทดสอบเพื่อตรวจหาการย่อยสลายของฉนวนที่เกิดจาก ความชื้นที่ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งบอกถึงการเสื่อมสภาพ
ของฉนวน บูทชิ่งและขดลวดซึ่งมีความสัมพันธ์กับการวัดค่าความต้านทานของฉนวน ซึ่งบอกถึงความ
สูญเสียที่เกิดขึ้นภายในเนื้อฉนวนได้ที่เกิดขึ้นภายในเนื้อฉนวนของหม้อแปลงไฟฟ้า โดยเป็น ทดสอบเพื่อ
วัดค่การสูญเสียในฉนวน (Dielectric Loss) โดยผลที่วัดได้จะเป็นค่าอัตราส่วนระหว่างกำลังงานที่สูญเสีย
ไปในฉนวนกับผลคูณของแรงดันและกระแสที่จ่ายให้กับหม้อแปลงนั้น จุดประสงค์เพื่อหาการเสื่อมสภาพ
ของฉนวน หม้อแปลงไฟฟ้า โดยถ้าค่าความต้านทานของฉนวนอยู่ในสภาพอันตรายก็ไม่ต้องทคสอบค่า
ความสูญเสียและ %PF แต่ถ้าค่าความต้านทานของฉนวนอยู่ระหว่าง 1.1 – 1.15 ให้ทำการทดสอบค่า
ความสูญเสียและ %PF ที่แรงดัน 2.5 kV ก่อนแล้วจึงทำการทดสอบตาม Data Test ที่แนบมากับหม้อ
แปลงไฟฟ้าโดยต้องบันทึกอุณหภูมิของน้ำมัน อากาศ และความชื้นสัมพัทธ์

ชนิด สภาพดี(%PF) น่าสงสัย(%PF) อันตราย(%PF)


Power Tx < 0.5 0.5 – 1.0 > 1.0
Dist Tx < 1.0 1.0 – 2.0 > 2.0
DRY-Type < 2.0 2.0 – 5.0 > 5.0
ASKAREL < 0.5 0.5 – 10.0 > 10.0
ตาราง 12 ตารางค่าสภาพฉนวน (%PF) ที่ 20 องศาเซลเซียส

3.การทดสอบอุณภูมิเพิ่ม (Temperature Rise Test) เป็นการทดสอบเพื่อหาอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น


บนส่วนบนสุดของน้ำมันฉนวนในสภาวะคงตัว(Steady state)โดยค่าที่วัดได้จะเป็น ค่าอุณหภูมิเฉลี่ย
(Average temperature) และหาค่า hottest spot temperature ได้จากการคำนวณ โดยทั่วไปการวัด
ค่าความต้านทานของขดลวดแต่ละชุดในขณะที่มีอุณหภูมิของขดลวด เท่ากับอุณหภูมิห้องทดสอบ
(ambient temperature) เมื่อทำให้หม้อแปลงไฟฟ้ามีความร้อนจากการป้อนแรงดันพิกัดที่ขดลวดปฐม
ภูมิ (Primary winding) และทการลัดวงจรที่ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary winding) จนทำให้
กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรขณะนั้นเกิดความสูญเสียของแกนเหล็กและโหลด (core loss and load loss)
เท่ากับ 75-85 องศาเซลเซียสขึ้นอยู่กับฉนวนที่ใช้เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนมีค่าคงที่จะได้อุณหภูมิสูงสุด
(top oil temperature) และให้ลดกระแสไฟฟ้าให้เหลือเท่ากับพิกัด (rated current) และคงที่ไว้ไม่เกิน

19
ระยะเวลา 1 ชั่วโมงจึงปลดไฟฟ้าออกจจากขดลวด และทำการวัดค่าความต้านทานของขดลวดแต่ละขดไม่
เกินหนึ่งชั่วโมง จึงปลดไฟออกจากขดลวด รีบวัด dc resistance ของขดลวดแต่ละชุด โดยมีช่วงเวลาวัด
แต่ละครั้งประมาณ หนึ่งนาที นำค่าที่วัดได้มาเขียนกราฟ แสดงค่าความต้านทาน (resistance) กับ เวลา
จะเห็นว่าค่าความต้านทาน จะเป็นเส้นโค้งลดลง จากกราฟสามารถลากต่อไปที่ตำแหน่งเวลาที่ศูนย์หรือ
เวลาที่ปลดไฟฟ้าออก (switch off) ซึ่งถือว่าเป็นอุณหภูมิของขดลวดขณะก่อนปลดยังมีอุณหภูมิเท่า
ขณะที่มีกระแส นำค่าเวลาที่ศูนย์นี้ไปหาค่า average winding temperature rise และ hottest spot
temperature rise ของขดลวดแต่ละชุดได้

รูปที่ 6 การทดสอบอุณหภูมิเพิ่มหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 500 kVA (Ali Asghar Taheri, 2021)

2.5.2 การตรวจวัดทางน้ำมัน
1.การวัดความคงทนต่อแรงดันเบรกดาวน์ (Dielectric Breakdown Strength) กระแสสลับ (AC
Breakdown Strenge) ของน้ำมัน เป็นการวัดความสามารถของน้ำมันในการคงทนต่อความเครียด
สนามไฟฟ้ากระแสสลับ โดยปราศจากการเกิดความเสียหายตามมาตรฐาน ASTM D877, D1816 หรือ
IEC156 ค่าความคงทนต่อแรงดันเบรกคาวน์จะบอกให้ทราบถึงสิ่งเจือปนที่อยู่ในน้ำมันในรูปของสิ่งสกปรก
(Contamination) เช่น เศษเส้นใยของฉนวนแข็ง เศษตัวนำ (Conductive particles) น้ำ ฝุ่นละออง
หรือความสกปรกต่างๆ น้ำมันที่มีความสกปรกปนอยู่มากจะมีค่า Breakdown ต่ำ น้ำมันที่สะอาดหรือ
ผ่านการกรองมาใหม่ๆ จะมีค่า Breakdown สูง ปกติจะทำการทดสอบทุก 6 เดือน สำหรับหม้อแปลงที่มี
ความสำคัญมาก และ จะทำการทดสอบทุก 1 ปี สำหรับหม้อแปลงปกติ ซึ่งตามมาตรฐาน ASTM D877-
87 หรือ D1816 , IEC156 กำหนดว่าไม่ควรต่ำกว่า 26 kV จึงจะถือว่าพอใช้งานต่อไปได้อย่างปลอดภัย

20
ค่าแรงคันเบรกคาวน์ ขั้นต่ำของน้ำ มันหม้อแปลงไฟฟ้าตามข้อกำหนด ตามมาตรฐาน ASTM D877-87
สามารถแบ่งสภาพของน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าได้
2.การวิเคราะห์ก๊ซ (Dissolved Gas Analysis) ที่เจือปนในน้ำมันหม้อแปลงเป็นการทคสอบหม้อ
เเปลงไฟฟ้าในสภาวะวิกฤต เพื่อเฝ้าติดตามการทำงานทางกลและทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งเป็น
วิธีการที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวินิจฉัยความผิดปกติและปัญหาที่เกิดจากการใช้งานกับหม้อแปลง
ไฟฟ้าและตัวเปลี่ยนชุดขดลวด หรืออุปกรณ์ชนิดฉนวนน้ำมันถูกใช้งานภายใต้สภาวะความร้อนและ
ความเครียดทางสนามไฟฟ้าสูงๆ อาจจะมีโอกาสทำให้ เกิดความผิดปกติขึ้นได้ในที่สุดความผิดปกติอาจ
จำแนกได้ 3ประเภทด้วยกันคือ
- การเกิดเบรกดาวน์บางส่วน
- การเกิดความร้อนสูง
- การเกิดอาร์ก
พลังงานที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะเป็นผลทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น และเป็นสาเหตุทำให้น้ำมันเกิดเบรกคาวนั
ผลของการเบรกคาวน์หรือที่เรียกว่าก๊าซที่เจือปนในน้ำมัน ทำให้เกิดการปนเปื้อน ซึ่งสามารถทำการ
ตรวจวัดเพื่อหาชนิดและความรุนแรงของความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ การวิเคราะห์น้ำมันหม้อแปลงจากการ
เกิดก๊าซเจือปนในน้ำมัน ทำให้เราสามารถตรวจวัดความผิดปกติที่เริ่มเกิดได้ก่อนที่จะเกิดความเสียหาย
กับหม้อแปลง ไฟฟ้า ซึ่งนำไปสู่การเกิดไฟดับและความสูญเสียอีกหลายอย่างตามมาได้

21
2.6 โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้าต้องการคุณสมบัติในการสร้างสนามแม่เหล็กในการแปลงขนาดแรงดันไฟฟ้าและ
กระแสไฟฟ้าจากขดลวดที่แกนเหล็กให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงก่อนจ่ายแรงดันไปตามที่ต้องการดังนั้นโครงสร้าง
ของหม้อแปลงไฟฟ้าจึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ โครงสร้างในหม้แปลง และโครงสร้างภายนอกหม้อแปลง
2.6.1 โครงสร้างภายในหม้อแปลง
1.แกนเหล็กเป็นเหล็กผสมซิลิคอนและถูกทำเป็นแผ่นบางซึ่งต่อกันหลายแผ่นและถูกอัดแน่นด้วย
แคลป์เพื่อลดกระแสเอ็ดดี้ (Eddy current) โดยแกนเหล็กจะทำหน้าที่เป็นวงจรแม่เหล็ก, ที่ยึดขดลวด

รูปที่ 7 transformer core (tpub, ม.ป.ป.)


2.ขดลวดแรงสูงและขดลวดแรงต่ำเป็นลวดทองแดงเคลือบน้ำยาอีนาเมลหรือหุ้มฉนวนพันรอบ
แกนเหล็กทำหน้าที่สร้าง และ เหนี่ยวนำในวงจรไฟฟ้า

รูปที่ 8 ขดลวดแรงสูงและขดลวดแรงต่ำ (ขดลวด (Winding), n.d.)

22
3.แคลป์ยึดแกนเหล็กด้านบนและล่างทำหน้าที่ในการรัดแกนเหล็กที่เรียงซ้อนกันให้แน่นเพื่อไม่ให้
เกิดการสั่นและมีเสียงดังขณะที่มีการใช้งาน

รูปที่ 9 Core Clamps (semanticscholar, 2006)

4.บัสบาร์ด้านแรงดันต่ำและสายเคเบิลแรงดันสูงเป็นตัวนำที่เชื่อมระหว่างขดลวดของหม้อแปลง
ด้านแรงดันต่ำและแรงดันสูงเข้ากับบุชชิ่ง

รูปที่ 10 บัสบาร์ (Rolla Transformer Enclosures, ม.ป.ป.)

23
5.สลักเกลียวยึดฝาปิดถึงหม้อแปลงทำหน้าที่ยึดอุปกรณ์ภายในหม้อแปลงไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหว
ขณะทีข่ ดลวดของหม้อแปลงอยู่ในการทำงาน

รูปที่ 11 สลักเกลียวยึดฝาปิดถึงหม้อแปลง (ติดตั้งฝาครอบหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง, 2019)

6.สายตัวนำแทปขดลวดหม้อแปลงเป็นตัวนำที่เชื่อมต่อระหว่างแทปขดลวดของหม้อแปลงทางด้า
นแรงดันสูงเข้ากับสวิสต์เลือกแทปแบบหมุนในการปรับเปลี่ยนจำนวนรอบของขดลวดให้ได้แรงดันไฟฟ้าพิ
กัดตามที่ต้องการ

รูปที่ 12 สายตัวนำแทปขดลวดหม้อแปลง (Csanyi, 2012)

24
7.แคลป์ยึดฐานหม้อแปลง ยึดเหล็กฐานรองหม้อแปลงทำให้มีความมั่นคงไม่มีการเคลื่อนไหว

รูปที่ 13 แคลป์ยึดฐานหม้อแปลง (reddit, 2018)

8.น้ำมันหม้อแปลงเป็นตัวกลางที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนทางไฟฟ้และการถ่ายเทความร้อนจากแกน
เหล็กและขดลวด สู่ภายนอก ต้องระบายความร้อนได้ดีและมีความหนืดต่ำและไม่แข็งตัวในช่วงฤดูหนาว
ระเหยได้น้อย มีจุดวาบไฟสูง คงทนต่อปฏิกิริยาทางเคมี มีความเป็นกรดต่ำและไม่กัดกร่อนส่วนที่เป็น
โลหะ

รูปที่ 14 น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า (MIXING DIFFERENT TYPES OF TRANSFORMER OIL, ม.ป.ป.)

25
2.6.2 โครงสร้างภายนอกหม้อแปลง
อุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกหม้อแปลงทั้งหมดและสามารถมองเห็นได้
1.แผ่นป้ายของหม้อแปลง (Name Plate) โดยทั่วไปแล้วแผ่นป้ายของหม้อแปลงจะติดอยู่กับ
ตัวถังด้านข้างหม้อแปลงหรือครีบของหม้อแปลง จะมีข้อมูลรายละเอียดของหม้อแปลงตัวนั้นๆ

รูปที่ 15 Name plate (Roderick, 2021)

2.บุชชิ่งแรงดันสูงและแรงดันต่ำ (High Voltage and Low Voltage Bushing) เป็นอุปกรณ์ที่


ทำมาจาก Porcelain หรือ เซรามิก ทำหน้าที่เป็นฉนวนทางไฟฟ้า โดยทางฝั่งไฟฟ้าแรงสูงจะมีความยาว
มากกว่าหรือมีจำนวนชั้นที่มากกว่า

รูปที่ 16 Bushing(Transformer Bushing Operating Principle, n.d.)

26
3.drop out fuse ทำหน้าที่ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบจากกระแสที่เกินพิกัด (Over
Current) หรือการลัดวงจร (Short Circuit) จะมีทั้งด้านแรงสูงและด้านแรงต่ำขนาดมาตรฐาน EEI-NEMA
คือ 1, 2, 3, 6, 8, 10, 15, 20, 25, 30, 40, 50, 65, 80, 100, 140, 200 A

รูปที่ 17 Fuse(Transformer Bushing Operating Principle, n.d.)

4.ถังน้ำมันและครีบเป็นถังโลหะเชื่อขึ้นรูปบรรจุไส้และน้ำมันหม้อแปลงมีครีบสำหรับระบายความ
ร้อน

รูปที่ 18 Transformer tank(Transformer Tank, n.d.)

27
5.ตัวปรับแทป (Tap Changer) สามารถหมุนเพื่อเปลี่ยนแรงดันให้เหมาะกับการใช้งาน
เป็นการปรับแทปทางด้านแรงดันสูงเนื่องจากฝั่งด้านแรงดันสูงมีจำนวนรอบที่มาและกระแสไหลน้อย
โดยการปรับแทปนั้นจะต้องทำการจัดโหลด Off load แทปซึ่งแต่ละแทปสามารถเปลี่ยนแรงดันได้
ประมาณ 2.5%

รูปที่ 19 Transformer tap (Transformer Taps On High Voltage Side Why?, n.d.)

6.ถังน้ำมันสำรอง (Conservation) คือที่เก็บน้ำมันสำรองของหม้อแปลงสำหรับการขยายตัวและ


หดตัวของน้ำมันหม้อแปลงเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง และจ่ายน้ำมันชดเชยเมื่อเกิดการรั่วซึม โดยจะติดตั้ง
อยู่สูงกว่าตัวหม้อแปลง

รูปที่ 20 ถังน้ำมันสำรอง (Conservator Tank of Transformer, 2020)

28
7.ชุดกรองความชื้น (Dehydrating Breather) ติดตั้งอยู่ด้านข้างและเชื่อมต่อถึงกันภายใน
จะมีสารดูดความชื้นนิยมใช้สารซิลิกา (Silica gel) มีลักษณะเป็นสีน้ำเงินและเมื่อใช้งานผ่านการดูด
ความชื้นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูและต้องเปลี่ยนใหม่

รูปที่ 21 ชุดกรองความชื้น (electrical4u, 2020)

8.บุชโฮรีเลย์ (Buchholz Relay) ต่ออยู่ระหว่างหม้อแปลงกับถังสำรองมีหน้าที่ตรวจจับ


ความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นภายในหม้อแปลง โดยเมื่อเกิดความร้อนจะเกิดก๊าซมาแทนที่น้ำมันที่อยู่ที่
ส่วนบนของบุชโฮรีเลย์ ทำให้ลูกลอยลูกบนลดระดับจนสัญญาณเตือนก็จะดังขึ้น

รูปที่ 22 Buchholz Relay (electrical4u, 2020)

29
9.ขั้วต่อสายแรงดันสูงและแรงดันต่ำที่สำหรับใช้ต่อสายระหว่างแกนของ Bushing ด้าน
แรงดันสูงและแรงดันต่ำ

รูปที่ 23 ขั้วเชื่อมต่อ Bushing (Electrical Bushings, ม.ป.ป.)

10.อุปกรณ์ดักจับฟ้าผ่า (lightning arrester) ใช้ในระบบไฟฟ้าแรงดันปานกลาง (Medium


Voltage) เพื่อป้องกันแรงดันเกิน (Over Voltage) ซึ่งอาจะเกิดจากฟ้าผ่า

รูปที่ 24 lightning arrester (electricaltechnology, ม.ป.ป.)

30
11.อุปกรณ์ลดความดัน (Pressure Relief Valve) เป็นอุปกรณ์ลดความดันภายในตัวหม้อแปลง
ติดตั้งบริเวณข้างตัวถัง ภายในมีแผ่นไดอะแฟรม ปิดอยู่ซึ่งมีแรงกดสปริงประมาณ 0.7 Bar เมื่อเกิด
ความดันที่สูงเกินจะดันแผ่นไดอะแฟรม ทำให้น้ำมันหม้อแปลงไหลออกสู่ภายนอกและคอนแทกด้านข้าง
จะทำงานตัดกระแสไฟฟ้าที่เข้าและออกหม้อแปลงและเมื่อความดันลดลงแผ่นไดอะแฟรมจะกลับสู่ตำ
แหน่งเดิม

รูปที่ Pressure Relief Valve (QUALITROL LPRD 208 LARGE PRESSURE RELIEF DEVICE, n.d.)

12.อุปกรณ์ป้องกันสัตว์ มีเพื่อป้องกันสัตว์เข้าไปแตะที่ขั้วแรงดันสูงของหม้อแปลงได้
เช่นฝาครอบกันนก, อุปกรณ์ป้องกันงู (Snake guard)

รูปที่ 25 snake guard (nutthaphume-eng, n.d.)

31
13.เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิของน้ำมันหม้อแปลง
และอุณหภูมิของขดลวด เนื่องจากน้ำมันหม้อแปลงมีค่าคงตัว time constant ที่ 6-7 ชัว่ โมง จึงไม่นิยมใช้
contact ในการสั่งทริปหม้อแปลง จึงไม่จัดว่าเป็นอุปกรณ์ป้องกันหม้อแปลง

รูปที่ 26 เทอร์โมมิเตอร์ (Transformer Oil Temperature Indicators, n.d.)

14.ขั้วต่อสายดิน (Earth Terminal) ใช้ป้องกันความปลอดภัยจากไฟรั่วหรือการลัดวงจรโดยการต่อสาย


จากตัวถังลงสู่ดินเขื่อมต่อกับแท่งกราวด์ (Ground Rod)

รูปที่ 27 ขั่วต่อสายดิน (Grounding transformer, ม.ป.ป.)

32
15.ฝาเติมน้ำมันหม้อแปลงเป็นฝาที่มีเกลียวสามารถเปิดและปิดได้อยู่ที่ด้านบนสุด
ของถังน้ำมันสำรอง
16.วาล์วถ่ายน้ำมัน เป็นวาล์วเปลี่ยนถ่ายน้ำมันออกจากหม้อแปลง หรือ ใช้สำหรับ
เก็บตัวอย่างน้ำมันเพื่อการทดสอบ

รูปที่ 28 รูปถ่ายน้ำมันหม้อแปลง (การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ( Preventive Maintenance), ม.ป.ป.)

17.หูยกหม้อแปลง เป็นชิ้นส่วนที่มีการเชื่อมไว้กับตัวถังของหม้อแปลงอยู่ทางด้านบน
มีความแข็งแรงและมีไว้เพื่อความสะดวกในการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสำหรับติดตั้ง

รูปที่ 29 หูยกหม้อแปลง (9engineer, ม.ป.ป.)

33
2.7 การบำรุงรักษาหม้อแปลง
หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นส่วนที่สำคัญและมีราคาที่สูง
ดังนั้นเพื่อประสิธิภาพที่สูงและอายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้นรวมถึงการลดความสูญเสียทั้งจากตัวหม้อแปลงไฟ
ฟ้าเองและจากความเสียหายที่เกิดขึ้นที่เป็นผลจากตัวหม้อแปลงไฟฟ้าเอง จึงควรจะต้องมีการบำรุงรักษา
โดยทั่วไปนั้นการบำรุงรักษาหม้อแปลงจะมี 2 รูปแบบ
1. การบำรุงรักษาตามแผน เป็นการบำรุงรักษาเมื่อถึงรอบเวลาการบำรุงรักษาหม้อแปลง
2.การบำรุงรักษานอกนอกแผน เป็นการบำรุงรักษาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือ
การบำรุงรักษาเมื่ออุปกรณ์เกิดความเสียหาย
2.7.1 จุดมุ่งหมายในการบำรุงรักษา
1.เพื่อให้เครื่องมือใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ สามารใช้เครื่องมือเครื่องใช้ได้เต็ม
ความสามารถและตรงกับวัตถุประสงค์ที่จัดหามามากที่สุด
2.เพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้มีสมรรถนะการทำงานสูง (Performance) และช่วยให้เครื่องมือ
เครื่องใช้มีอายุการใช้งานยาวนาน เพราะเมื่อเครื่องมือได้ใช้งานไประยะเวลาหนึ่งจะเกิดการสึกหรอ ถ้า
หากไม่มีการปรับแต่งหรือซ่อมแซมแล้วเครื่องมืออาจเกิดการขัดข้อง ชำรุดเสียหายหรือ ทำงานผิดพลาด
3.เพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้มีความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือ (Reliability) คือ การทำให้เครื่องมือ
เครื่องใช้มีมาตรฐานไม่มีความคลาดเคลื่อนใด ๆ เกิดขึ้น
4.เพื่อความปลอดภัย (Safety) ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญ เครื่องมือเครื่องใช้จะต้องมีความ
ปลอดภัยเพียงพอต่อผู้ใช้งาน ถ้าเครื่องมือเครื่องใช้ทำงานผิดพลาด ชำรุดเสียหาย ไม่สามารถทำงานได้
ตามปกติ อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อผู้ใช้งานได้ การบำรุงรักษาที่ดีจะช่วยควบคุมการ
ผิดพลาด
5.เพื่อลดมลภาวะของสิ่งแวดล้อม เพราะเครื่องมือเครื่องใช้ที่ชำรุดเสียหาย เก่าแก่ ขาดการ
บำรุงรักษา จะทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มีฝุ่นละอองหรือไอของสารเคมีออกมามีเสียงดังเป็น
ต้น ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
6.เพื่อประหยัดพลังงาน เพราะถ้าหากเครื่องมือเครื่องใช้ได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพดี ก็จะ
สิ้นเปลืองพลังงานน้อยลงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้หรือ ป้องกันเหตุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

34
2.8 การเกิดความผิดพร่องของหม้อแปลงไฟฟ้า
การเกิดความผิดพร่องของหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer Fault) สภาวะของหม้อแปลงที่อาจ
เกิดได้ถ้าหากไม่ดูแลรักษาหม้อแปลงหรือตรวจสอบอย่างถูกต้องและมีแบบแผน
1. การลัดวงจรที่สายต่อลงดิน (Earth faults) เป็นความผิดพร่องที่เกิดที่ขดลวดของ
หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer Winding) ที่จะส่งผลกระทบกับกระแสไฟฟ้าที่ขึ้นอยู่กับ แหล่งจ่ายไฟฟ้า,
Neutral grounding impedance, leakage reactance ของหม้อแปลงไฟฟ้า, ตำแหน่งของความผิด
พร่องในขดลวด (Winding) โดยรูปแบบการต่อขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้าจะมีผลกระทบต่อขนาดของ
กระแสลัดวงจร เช่นในกรณีที่เป็นการต่อแบบ Y-connectad winding with neutral มีการเชื่อมต่อ
ถึงสายดิน (ground) ผ่านอิมพีแดนซ์ (Zg) โดยกระแสลัดวงจรจะขึ้นอยู่กับค่าอิมพีแดนซ์ (Zg)
2. การลัดวงจรที่แกนเหล็กของหม้อแปลง (Core faults) มีส่เหตุเนื่องจากการเบรกดาวน์ของ
ฉนวน (Insulation breakdown) ที่อาจเกิดจากจนทำให้กระแสไหลวน (Eddy-current) มีค่าเพิ่มขึ้น
เพียงพอที่จะทำให้เกิดความร้อนที่สูงเกินไปได้ (Overheating) และยังส่งผลต่อประสิทธิภาพของ
หม้อแปลงไฟฟ้าอีกด้วย

รูปที่ 30 ความเสียหายภายในขดลวด(Csanyi, electrical-engineering-portal, 2016)


3. การลัดวงจรระหว่างรอบของขดลวด (Inturn faults) ความผิดพร่องนี้เกิดขึ้นในขดลวดไฟฟ้า
แรงสูงเนื่องจากการเสื่อมสภาพของฉนวนและอาจเกิดจากแรงดันเกินที่เกิดจากฟ้าผ่าที่จั้วต่อแรงดันสูง
(High-voltage terminal)

35
รูปที่ 31 การลัดวงจรระหว่างรอบของขดลวด(Csanyi, electrical-engineering-portal, 2016)

4. ความผิดปกติระหว่างเฟส (Phase to phase faults) หรือความผิดปกติแบบเฟสต่อเฟสเป็น


สิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากและส่งผลกระทบต่อขนาดของกระแสไฟฟ้าในขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้า โดย มีความ
คล้ายกับการลัดวงจรที่สายต่อลงดิน (Earth faults)
5. ความผิดปกติที่ตัวถังหม้อแปลง (Tank faults) ในการใช้งานหม้อแปลงไฟฟ้าที่พิกัดสูงสุดนั้น
ระบบระบายความร้อนของหม้อแปลงไฟฟ้านั้นต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้าเกิดความผิดปกติของ
ตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้าที่ทำให้น้ำมันหม้อแปลงมีการรั่วไหลออกไปและทำให้สูญเสียความเป็นฉนวนทางไฟ
ฟ้าได้อาจทำให้เกิดการวาบไฟตามผิว (Flashover) ระหว่างขกลวดและจุดเชื่อต่อได้ทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูง
ขึ้นอย่างผิดปกติได้

รูปที่ 32 ความผิดปกติที่ตัวถังหม้อแปลง(Csanyi, electrical-engineering-portal, 2016)

36
6. ปัจจัยภายนอก (External factors)
ที่สามารถส่งผลให้เกิดความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นนอกเขตป้องกัน (Protected Zone) และไม่สามารถ
ตรวจพบได้ด้วยการป้องกันผลต่าง (Differential Protection) ความผิดปกติเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นอาจส่งผล
กระทบต่อหม้อแปลงไฟฟ้าทั้งทางกลและในรูปแบบความร้อน ที่ส่งผลให้หม้อแปลงไฟฟ้าเสียหายได้
- การใช้งานเกิดพิกัด (Overloading)
- เกิดความผิดพร่องของระบบไฟฟ้า (System faults)
- แรงดันเกิน (Over-voltage)
- ความถี่ลดลง (Under-frequency operation)

2.9 การป้องกันความผิดพร่องของหม้อแปลงไฟฟ้า
ในปัจจุบันได้มีการใช้หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีราคาแพง อีกทั้งเมื่อเกิด
ความเสียหายย่อมจะมีอันตรายอย่างรุนแรงเกิดขึ้นด้วย เราจึงควรจะมีระบบการป้องกันหม้อแปลงเพื่อทำ
การตรวจจับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในหม้อแปลงขณะใช้งาน เมื่อตรวจพบเร็วที่สุดเท่าไหร่ ย่อมจะ
แก้ไขซ่อมแซมได้ทันท่วงที ก่อนที่หม้อแปลงราคาแสนแพงจะเสียหายจะซ่อมแซมไม่ได้
การป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินด้านไฟออก ขนาดปรับตั้งของเครื่องป้องกันกระแสเกินด้านไฟออก
แบ่งออกเป็นแรงดันที่มากกว่า 1000 โวลต์และแรงดันที่ไม่เกิน 1000 โวลต์ ซึ่งกำหนดให้ใช้ฟิวส์หรือเซอร์
กิตเบรกเกอร์ ก็ได้ และมีค่าไม่เกิน 125% ของพิกัดกระแสหม้อแปลงด้านไฟออก หากไม่ตรงกับขนาด
ตามมาตรฐานผู้ผลิต สามารถใช้ขนาดใกล้เคียงได้แต่ต้องไม่เกินค่าปรับตั้งสูงสุดที่กำหนดไว้
ในการออกแบบระบบไฟฟ้าจ่ายไฟให้กับอาคารหรือสถานประกอบการต่างๆ เมื่อคำนวณโหลดได้
แล้วจะต้องเลือกขนาดหม้อแปลงตามมาตรฐานที่สอดคล้องกับโหลด เช่น ขนาด 315,400,500,630,
800,1000,1250,1600,2000,2500 kVA เป็นต้น การกำหนดขนาดเครื่องป้องกันกระแสเกินด้านไฟออก
ของหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ จะกำหนดมาจากโหลดของหม้อแปลงที่คำนวณ
ได้หรืออาจกำหนดจากเครื่องป้องกันกระแสเกินจากขนาดหม้อแปลงก็ได้โดยทั่วไปที่นิยมใช้ จะกำหนด
จากเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินจากขนาดหม้อแปลง เพราะสะดวกกว่าและเป็นการสำรองสำหรับการ
เพิ่มโหลดในอนาคตด้วย แต่อย่างไรก็ตามสายไฟฟ้าเมนูด้านแรงต่ำที่ออกจากหม้อแปลงต้องสอดคล้องกับ
ขนาดของเครื่องป้องกันกระแสเกินด้วย

37
ขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ ตามมาตรฐาน IEC ได้กำหนดค่า AF ไว้ดังนี้ คือ 63, 100, 125, 160,
200, 315, 400, 500, 630, 800, 1000, 1250, 1600, 2000, 2500, 3150 (3200), 4000, 5000, 6300
A สำหรับค่า AT บริษัทผู้ผลิตจะผลิตออกมาหลายๆ ค่า แล้วแต่ความต้องการของบริษัทนั้นๆ การกำหนด
เครื่องป้องกันกระแสเกินด้านไฟออกหรือแรงต่ำยังต้องคำนึงถึงค่าพิกัดตัดกระแสลัดวงจร (kA) ต้องไม่
น้อยกว่าค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดที่ติดตั้งที่ขั้วทางด้านแรงต่ำของหม้อแปลงซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดหม้อแปลง
ไฟฟ้า ค่า Impedance Voltage ของหม้อแปลง และความจุลัดวงจร (Short-circuit Capacity; MVA)
ด้วย

รูปที่ 33 แนวทางการป้องกันหม้อแปลงไฟฟ้า (หงษ์สมบัติ)

38
รูปที่ 34 ชนิดการเกิดลัดวงจรในหม้อแปลงและการใช้อุปกรณ์ป้องกัน (หงษ์สมบัติ)

39
3 เครื่องมือที่ใช้ในการทำโครงงาน
ฮาร์ดแวร์ที่เลือกใช้
1) คอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ค
ซอฟต์แวร์ที่เลือกใช้
1) Microsoft Word
2) Canva

40
4. วิธีการดำเนินโครงงาน
1) ศึกษาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้า
2) ศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าของหม้อแปลง
3) ค้นหาข่าวสารเหตุการณ์การลุกไหม้ของหม้อแปลงที่สำเพ็งเพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษา
3) คาดการณ์สาเหตุที่อาจทำให้เกิดการลุกไหม้ของหม้อแปลง
4) ศึกษาเกี่ยวกับหม้อแปลงระบบน้ำมันแบบเดียวกับกรณีสำเพ็ง
5) หาวิธีการบำรุงรักษาหม้อแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบกรณีสำเพ็ง
6) ทำรูปเล่มและสไลด์บรรยาย

41
5. ผลการดำเนินโครงงานและวิจารณ์
กรณีศึกษาความผิดปกติของหม้อแปลงสำเพ็ง ณ วันที่ 26 มิ.ย. 2565
จากการวิเคราะห์ที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้าและการเกิดความผิดพร่องของหม้อ
แปลงไฟฟ้าในกรณีศึกษาไฟไหม้หม้อแปลงสำเพ็งนั้นมีข้อสังเกตุจากการระเบิดของตัวหม้อแปลงไฟฟ้าได้
ฉีกตัวถังของหม้อแปลงไฟฟ้าออก โดยหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าแบบปิดผนึก
(Hermetical transformer) ซึ่งโดยทั่วไปตัวถังของหม้อแปลงไฟฟ้าสามารถทนแรงดันได้ 1.2 bar หรือ
(18 psi) และน้ำมันฉนวนที่ใช้ทั่วไปมีจุดติดไฟที่ 165 ํC และ จดวาบไฟที่ 145 ํC จึงมีการคาดการณ์
สาเหตุของความผิดพร่องที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
1.Overheating เนื่องจากการใช้งานโหลดเกินพิกัด (Overload) หรือ การลัดวงจร โดยความผิด
พร่องเหล่านี้และระยะเวลาที่เกิดขึ้น จะขึ้นอยู่กับประเภทของหม้อแปลงไฟฟ้าและระดับของฉนวน
(Insulation class) ที่มีการใช้งาน หากอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่า 95 ํC ซึ่งส่งผลเสียต่อฉนวนทางไฟฟ้าของ
หม้อแปลงไฟฟ้าโดยตรง
2.Tank faults การเกิดความผิดพร่องที่กิดขึ้นกับตัวถังของหม้อแปลงไฟฟ้าและมีความสัมพันธ์
กับน้ำมันฉนวนภายในหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีการลดลงเนื่องจากการรั่วไหลของตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้า โดย
ลักษณะในการรั่วไหลของน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่พบเจอ แบ่งเป็น 3 รูปแบบ
- การกัดกร่อนของตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้า
- สลักเกลียวยึดตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้าหรือฝาปิดหม้อแปลงไฟฟ้ามีการคลายออก
- ตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้าได้รับความเสียหายจากแรงกระทำภายนอก
และได้มีการรวบรวมแนวทางในการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความผิดพร่องหรือการ
ทำงานที่ไม่เต็มประสิทธิภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าดังตาราง
การตรวจสอบและบำรุงรักษาหม้อแปลงน้ำมัน
ลำดับ รายการตรวจสอบ วิธีการตรวจสอบและการดําเนินการ หมายเหตุ
1. ลูกถ้วยแรงสูง แรงต่ำ ตรวจสอบสภาพผิว รอยไหม้ชํารุด
รอย แตกบิ่น ฝุ่น คราบสกปรกและทํา
ความ สะอาด ซ่อมรอยชํารุด รอยอาร์
กหรือ เปลี่ยนลูกถ้วยใหม
2. ขั้วต่อสาย แรงสูง แรงต่ำ ตรวจสอบขั้วต่อสาย ดูรอยไหม้อาร์ก ปกติอุณหภูมิ

42
เป็น สนิมหรือเกิดออกไซด์ชํารุดและ ขั้วต่อ สายไม่ควร
ทําความ สะอาดขั้วและหน้าสัมผัส เกิน 70°C
ต่างๆ ขันน๊อต ขั้วต่อสายทุกตัวให้แน่น
หรือเปลี่ยนขั้วต่อ สายใหม่
3. สภาพตัวถัง ตรวจเช็ครอยรั่วซึมของน้ำมันตามแนว
เชื่อมการเกิดสนิมหรือการกัดกร่อน
ของ ตัวถัง คราบสกปรก ฝุ่น ถ้าพบ
รอยรั่วซึม ให้แก้ไข โดยการเชื่อมหรือ
เปลี่ยนปะเก็น ทําความสะอาดขัดทําสี
เพื่อให้การระบาย ความร้อนได้ดี
4. น้ำมันรั่วซึม ตรวจสอบครีบระบายความร้อน
ปะเก็น หรือซีลยางต่างๆ ฝาถัง วาล์ว
ถ่ายน้ำมัน และเปลี่ยนปะเก็น หรือ ซี
ลยางในส่วนที่มี น้ำมันรั่วซึมและ
ขันน๊อตให้แนน
5. อุณหภูมิหม้อแปลง ตรวจสอบอุณหภูมิปัจจุบันและ ระดับอุณหภูมิ
อุณหภูมิ สูงสุด ตรวจสอบการทํางาน ห้าม เกิน 100°C
ของ เทอร์โมมิเตอร์ถ้าอุณหภูมิหม้อ
แปลงสูง เกินปกติต้องตรวจสอบ
กระแสใช้งานหาก เกินให้ลดปริมาณ
การใช้โหลดให้เหมาะสม
6. สารดูดความชื้น (Siliga Gel) ตรวจสอบสีของสารดูดความซื้น (ปกติ ควรตรวจทุก ๆ
(เฉพาะรุ่น Open Type) หม้อ สาร ดูดความซื้นจะมีสีม่วงน้ําเงิน เมื่อ 6- 12 เดือน
แปลง ชนิด Sealed Tank จะไม่ ใช้งานมา นานจะมีความชื้นสูงสีจะ
มีสารดูด ความชื้น เปลี่ยนเป็นสีชมพู ให้ เปลี่ยนสารดูด
ความชื้น(ในปัจจุบัน Silica Gel เป็นสี
ส้ม จะเป็นชนิดที่ไม่มีสารโค บอลเป็น
ส่วนประกอบ ซึ่งเป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม และเมื่อเสื่อมสภาพจะ
กลายเป็นสีน้ําเงินอมเขียว)

43
7. กับดักฟ้าผ่า สายดิน และหลักดิน ตรวจสอบสภาพทั่วไป รอยบิ่น แตก ค่าความต้านทาน
อาร์ก ตรวจสอบจุดต่อสายดินและ หลักดินไม่เกิน 5
สภาพสายดิน ว่าหลุดหลวมหรือสึก โอห์ม
กร่อนหรือไม่ วัดค่าความต้านทานหลัก
ดิน เปลี่ยนอุปกรณ์ที่ ชํารุดและ
ตรวจเช็คสายดินให้อยู่ในสภาพ ใช้งาน
ได้ดีแข็งแรง
8. ความต้านทานฉนวน(Insulation วัดค่าความต้านทานด้วย เมกโอห์ม ใช้เมกโอห์ม
Resistance) มิเตอร์ ระหว่างขดลวดแรงสูง-แรงต่ำ มิเตอร์
ขดลวดแรง สูงกับตัวถัง (Tank) และ 1000-2500 V.
ขดลวดแรงต่ํากับ ตัวถัง ต้องไม่ต่ํากว่า
1000 Megaohmที่ 20°C
9. แกนล่อฟ้า (Arcing Horn) วัดระยะบน-ล่าง ของแกนล่อฟ้าให้ได้ -ระบบ 11-12KV.
ตาม เกณฑ์ ระยะห่าง85mm
-ระบบ 22-24KV.
ระยะห่า155mm
-ระบบ 33 KV.
ระยะห่าง 220
mm
10. ค่าความเป็นฉนวนของน้ำมัน ตรวจสอบค่าความเป็นฉนวนของ ค่ามาตรฐาน
(Dielectric Strength) น้ำมัน หม้อแปลงโดยใช้เครื่องทดสอบ ASTM -ค่าน้ำมัน
ถ้ามีค่าต่ำกว่ามาตรฐานควรเปลี่ยน 30 kV ใช้ได้
หรือกรองน้ำมัน -ค่าน้ำมัน 25-30
kV ใช้ได้หรือ
กรอง
-ค่าน้ำมัน 20-
25kV ใช้ได้หรือ
กรอง
-ค่าน้ำมันต่ำกว่า
20 kV ควร

44
เปลี่ยน
ตาราง 13 การตรวจสอบและบำรุงรักษาหม้อแปลงน้ำมัน
การตรวจสอบและบํารุงรักษาหม้อแปลงแห้ง
ตรวจเหมือนกับหม้อแปลงน้ำมันในส่วนที่เหมือนกันและเพิ่มเติม ดังนี้
ลำดับ รายการตรวจสอบ วิธีการตรวจสอบและการดําเนินการ หมายเหตุ
1. การระบายอากาศ ตรวจช่องครีมระบายอากาศทําความ
สะอาดฝุ่น คราบสกปรก
2. การเกิด Partial Discharge ตรวจสอบฝุ่นที่ขดลวด Insulatorช่อง
ระบายอากาศ การเปลี่ยนสีเนื่องจาก
ความร้อน Tracing + Carbonization
Insulator แคล้ม Coil Spacer หลุด
หลวมหรือไม่และทําความสะอาดจุด
ต่อ ไฟฟ้าขันให้แนน
3. ค่าความต้านทานการต่อลงดิน ตรวจด้วยเครื่องมือวัดเปรียบเทียบกับ
ค่า จากผู้ผลิตในอดีต
ตาราง 14 การตรวจสอบและบํารุงรักษาหม้อแปลงแห้ง

ตรวจสอบและบํารุงรักษานั่งร้านหม้อแปลง
ลำดับ รายการตรวจสอบ วิธีการตรวจสอบและการดําเนินการ หมายเหตุ
1. สภาพเสาและความแข็งแรงของ สภาพเสาไฟฟ้าต้องไม่มีรอยแตกร้าว
เสา เสา นั่งร้านไม่ทรุดหรือเอียง น๊อตยึดไม่
เป็น สนิมและผุกร่อน ในกรณีพบว่า
นั่งร้าน เอียงหรือทรุดตัว ต้องรี
ดําเนินการ แก้ไข
2. การต่อลงดินของส่วนโลหะที่เปิด ส่วนที่เป็นโลหะและเปิดโล่งและปกติ
โล่ง ไม่ ใช้เป็นทางเดินของกะแสไฟฟ้าแต่
อาจมี ไฟฟ้าได้เช่นตัวถังหม้อแปลง

45
ต้องมีการ ต่อลงดินและสายต่อหลัก
ดินต้องเป็น สายทองแดงขนาดไม่ต่ำ
กว่า 35 ตร.มม.
3. ค่าความต้านทานการต่อลงดิน ตรวจวัดค่าความต้านทานการต่อลงดิน
ด้วยเครื่องมือวัด ค่าไม่ควรเกิน 5
โอห์ม
ตาราง 15 ตรวจสอบและบํารุงรักษานั่งร้านหม้อแปลง
หลังจากเหตุการณ์ไฟไหม้หม้อแปลงไฟฟ้าที่สำเพ็งได้มีการสำรวจหม้อแปลงไฟฟ้าในเขต
กรุงเทพมหานครชั้นในของสำนักข่าวไทยพีบีเอส ซึ่งจากการสำรวจทางสำนักข่าวได้พบว่า มีหม้อแปลง
ไฟฟ้าที่มีอายุใช้งาน 20 ปี และมีความเสี่ยงที่จะระเบิดจนเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยได้และระยะห่างที่ติดตั้ง
จริงตามทีว่ สท.ได้มีการลงพื้นที่สำรวจคือระยะห่างที่ 0.6 เมตร จากตัวอาคารนั้นเป็นระยะห่างนี้น้อยกว่า
การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าตามมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าทั่วไป (มยผ. 4501-51) ที่ระยะ 1.8 เมตรจาก
อาคารหรือส่วนที่ติดไฟได้ โดยระยะ 0.8-1.2 เมตรจึงเป็นระยะห่างที่ควรถูกพิจารณาใหม่เพื่อความ
ปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังมีสายสื่อสารที่ไม่ได้รับการจัดการที่ดีพอ ซึ่งเป็นเชื้อไฟ ทำให้เหตุ
ไฟไหม้ลุกลามได้มากยิ่งขึ้น

46
6. สรุปผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาเกี่ยวกับกรณีเพลิงไหม้หม้อแปลงไฟฟ้าที่สำเพ็งนั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัว
อาคารและรถยนต์รอบข้างรวมถึงมีผู้เสียชีวิต โดยสาเหตุของความผิดพร่องของหม้อแปลงนี้คาดว่ามาจาก
สาเหตจากความผิดพร่องของหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างการลัดวงจรระหว่างขั้ว (Terminal) ภายในหม้อแปลง
จากความผิดพร่องของฉนวนน้ำมันและขดลวด (Oil & Winding Insulation Faults) ทีส่ ่งผลให้น้ำมัน
ฉนวนหม้อแปลงไฟฟ้าไม่สามารถทำหน้าที่เป็นฉนวนได้อีกและทำให้อุณหภูมิที่สูงเกินกว่าจุดเดือดของ
น้ำมันฉนวนแล้ะทำให้น้ำมันฉนวนระเหยกลายเป็นไอและสร้างก๊าซเช่น ไฮโรเจนและมีเทน ซึ่งเป็น
ส่วนผสมที่ลุกติดไฟได้โดยอุณหภูมิที่สูงนี้เลยจุดวาบไฟและทำให้เกิดการลุกติดไฟในส่วนของก๊าซที่ติดไฟ
ส่งผลให้เกิดความดันที่มากถึง 10 bar หรือ 150 psi ที่สามารถฉีกตัวถังของหม้อแปลงไฟฟ้าออกได้ โดย
ความผิดพร่องของหม้อแปลงไฟฟ้าอาจเกิดขึ้นในน้ำมันฉนวนหม้อแปลงไฟฟ้าเนื่องจากการก่อตัวของก๊าซ
ต่างๆ, อายุการใช้งานที่นานเกินไป, และการปนเปื้อนในอากาศภายในหม้อแปลงไฟฟ้าจากการรั่วซึมของ
ตัวถังและแรงดันที่ลดลงและทำให้เกิดความผิดพร่องเล็กน้อยโดยความผิดพร่องนี้ส่งผลให้การซีลปิดตัวถัง
ที่เสื่อมสภาพ หรือ นอตยึดตัวถังมีการเสียหายจากสาเหตุดังนี้ การกัดกร่องของตัวถังหม้อแปลง ความชื้น
ที่สูง
ในเหตุเพลิงไหม้นี้ เนื่องจากระยะห่างของหม้อแปลงไฟฟ้าห่างจากอาคาร 60 เซนติเมตรเป็น
มาตรฐานเดิมที่ใช้อยู่ตามที่คณะวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้ลงพื้นที่
นั้น ซึ่งระยะห่างนี้เป็นระยะห่างที่ใกล้เกินไปสำหรับการรองรับเหตุเพลิงไหม้ถ้าเทียบกับมาตรฐานการ
ติดตั้งทั่วไป (มยผ. 4501-51) ซึ่งกล่าวว่าการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าน้ำมันฉนวนติดไฟได้ติดตั้งภายนอก
ต้องห่างจากอาคารหรือประตู, หน้าต่าง ไม่น้อยกว่า 1.80 เมตรและควรมีการปิดกั้นเพื่อป้องกันไฟทีเกิด
จากของเหลวของหม้อแปลงลุกลามไปติดอาคาร หรือส่วนของอาคารที่ติดไฟ หรือ มาตรฐานที่ใช้กันใน
สากลต้องมีระยะห่างจากตัวหม้อแปลงไฟฟ้าถึงขอบของตัวอาคารไม่น้อยกว่า 3 เมตร (Stand: Georgia
Company) อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เพิลงไหม้มีความรุนแรงคือสายสื่อสารที่มีการจัดการที่ไม่ดีพอเมื่อเปลว
ไฟลุกลามและมีสายสื่อสารที่เป็นเชื้อเพลิงทำให้มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และนอกจากการติดตั้งแล้วยัง
ต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้าเช่นการตรวจวัดก๊าซที่ละลายในน้ำมันหม้อแปลง
ไฟฟ้าคือ Dissolved Gas Analysis (DGA) เพื่อหาความผิดปกติของน้ำมันฉนวนหม้อแปลงและเพื่อที่จะ
สามารถวิเคราะห์สาเหตได้อย่างแม่นยำ รวมถึงการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนหม้อแปลงไฟฟ้าที่ผิดปกติก่อน
เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ได้

47
รูป 34 หม้อแปลงไฟฟ้าก่อนเกิดเหตุลุกไหม้(tnnthailand, ม.ป.ป.)

รูป 35 หม้อแปลงไฟฟ้าหลังเกิดเหตุลุกไหม้(tnnthailand, ม.ป.ป.)

48
7. บรรณานุกรม

ㆍTransformer Maintenance United States Department of Interior Bureau of Reclamation


Denver, Colorado

ㆍlEEE Standard C57.12.00-1993 Standard General Requirements for Liquid-Immersed


Distribution, Power, and Regulating Transformers (ANSI).

ㆍTransformer Maintenance Guide, by J.J Kelly, S.D. Myers, R.H. Parrish, S.D. Meyers Co.
1981.

ㆍTransformer General Gasketing Procedures, by Alan Cote, S.D. Meyers Co. 1987.

ㆍIEEE Standard 62-1995, IEEE Guide for Diagnostic Field Testing of Electrical Power
Apparatus, Part 1: Oil Filled Power Transformers, Regulators, and Reactors.

ㆍFIST 3-5 Maintenance of Liquid Insulation: Mineral Oils and Askarels. 1992.

ㆍANSI/ASTM D 971-91, Standard Test Method for Interfacial Tension of Oil Against Water
by the Ring Method.

ㆍAshlin. “11 types of transformer faults and how to protect the transformer from these
faults.” Internet: https://forumautomation.com/t/11-types-of-transformer-faults-and-how-to-
protect-the-transformer-from-these-faults/7718, Jan. 20, 2020

ㆍEdward Csanyi. “5 transformer fault conditions and how to protect from them.” Internet:
https://electrical-engineering-portal.com/5-transformer-fault-conditions, Nov. 23, 2016

ㆍJignesh Parmar. “Measurement of insulation resistance.” Internet: https://electrical-


engineering-portal.com/measurement-of-insulation-resistance-2. Apr 29, 2012

49
ประวัตินิสิต

1. ชื่อ-นามสกุล: รชต ทองเผือก เลขประจำตัวนิสิต: 6210552242


ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่อยู่ปัจจุบัน : 304/129 ถนน ประชาชื่น12 แขวง ทุ่งสองห้อง เขต หลักสี่ กรุงเทพ 10210
โทรศัพท์ที่บ้าน : - โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 097-256-2291
E-mail: rachata.tho@ku.th
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี
คุณวุฒิการศึกษา จากโรงเรียน/สถาบัน ปีการศึกษา
ที่จบ
มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 2561
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 2559
2. ชื่อ-นามสกุล: วิริทธิ์พล ศรีเพชร เลขประจำตัวนิสิต: 6210552307
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่อยู่ปัจจุบัน : 129 สุคนธสวัสดิ์ 36 ถนน สุคนธสวัสดิ์ แขวง ลาดพร้าว เขต ลาดพร้าว กทม. 10230
โทรศัพท์ที่บ้าน - โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 087-086-4949
E-mail: Viritpol.s@ku.th
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี
คุณวุฒิการศึกษา จากโรงเรียน/สถาบัน ปีการศึกษา
ที่จบ
มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ 2561
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ 2559

50
51

You might also like