Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 23

ข้อสอบสายงานป้ องกันปราบปราม ชุดที่ 2 (จำนวน 50 ข้อ)

ข้อ 1 การตั้งจุดตรวจจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ใด

ก. ได้รับอนุมัติจาก ครม.หรือ ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง


หรือ กอ.รมน.

ข. ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ระดับผู้บังคับการตำรวจนครบาล/ภูธร
จังหวัดขึ้นไป

ค. ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาหัวหน้าสถานีตำรวจ

ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 2 ข้อใดเรียงลำดับส่วนพื้นที่ปฏิบัติงานในจุดตรวจเริ่มต้นตั้งแต่รถเข้า
จุดตรวจก่อนหลังตามรูปแบบฝึ กยุทธวิธีได้ถูกต้อง

ก. พื้นที่เฝ้ าระวัง - พื้นที่ส่วนตรวจค้น/กองอำนวยการ - พื้นที่ส่วนสกัด


กั้นและติดตาม - พื้นที่ส่วนคัดกรอง - พื้นที่ส่วนควบคุมผู้ต้องหา

ข. พื้นที่เฝ้ าระวัง - พื้นที่ส่วนสกัดกั้นและติดตาม - พื้นที่ส่วนคัดกรอง -


พื้นที่ส่วนตรวจค้น /กองอำนวยการ - พื้นที่ส่วนควบคุมผู้ต้องหา

ค. พื้นที่เฝ้ าระวัง - พื้นที่ส่วนคัดกรอง - พื้นที่ส่วนตรวจค้น /กองอำนวย


การ - พื้นที่ส่วนสกัดกั้นและติดตาม - พื้นที่ส่วนควบคุมผู้ต้องหา

ง. พื้นที่เฝ้ าระวัง – พื้นที่ส่วนควบคุมผู้ต้องหา - พื้นที่ส่วนคัดกรอง - พื้นที่


ส่วนตรวจค้น /กองอำนวยการ – พื้นที่ส่วนสกัดกั้นและติดตาม
ข้อ 3 ข้อใดเป็ นแนวทางการตั้งด่านตามนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่ง
ชาติ

ก. เป็ นไปตามที่ประชาชนไม่ได้รับความสะดวก

ข. เป็ นหลักยุทธวิธีทางการทหาร

ค. เป็ นไปตามหลักความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน

ง. เป็ นไปตามกฎหมาย, ปฏิบัติตามหลักยุทธวิธี, มีความรู้, โปร่งใส ตรวจ


สอบได้, มีการประเมินความพึงพอใจ

ข้อ 4 การอนุญาตให้ตั้งสิ่งกีดขวางบนทางได้อยู่ในกฎหมายใด

ก. พระราชบัญญัติขนส่ง

ข. พระราชบัญญัติรถยนต์

ค. พระราชบัญญัติทางหลวง

ง. พระราชบัญญัติการจราจรทางบก

ข้อ 5. การตั้งด่านตรวจ แบ่งพื้นที่การตั้งในลักษณะอย่างไร


ก. แบ่งพื้นที่ออกเป็ น 5 ส่วน 1. พื้นที่เฝ้ าระวังสังเกตรถต้องสงสัย 2.
พื้นที่คัดกรอง 3. พื้นที่ตรวจค้น/ กองอำนวยการ 4. พื้นที่คอย
สกัดรถ 5. พื้นที่ควบคุมผู้กระทำผิด
ข. แบ่งพื้นที่ออกเป็ น 3 ส่วน 1. พื้นที่เฝ้ าระวังสังเกตรถต้องสงสัยและ
พื้นที่คัดครอง 2. พื้นที่ตรวจค้น/กองอำนวยการ 3. พื้นที่คอยสกัดรถและ
พื้นที่ควบคุมผู้กระทำความผิด
ค. ยกเว้นมีข้อจำกัดพื้นที่ปฏิบัติ ปรับเหลือ 3 ส่วน 1. พื้นที่เฝ้ าระวัง
สังเกตรถต้องสงสัยและพื้นที่คัดครอง 2. พื้นที่ตรวจค้น/กองอำนวยการ
3. พื้นที่คอยสกัดรถและพื้นที่ควบคุมผู้กระทำความผิด
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูก

ข้อ 6. ข้อใดเป็ นความหมายของการ“ขัดขวาง”ในความผิดฐานต่อสู้หรือ


ขัดขวางเจ้าพนักงานประมวลกฎหมายอาญา

ก. การดูหมิ่นซึ่งหน้าเจ้าพนักงาน

ข. การหมิ่นประมาทอันเป็ นความผิดในประมวลกฎหมายอาญา

ค. ใช้กำลังขัดขืนเจ้าพนักงาน

ง. กระทำให้เกิดอุปสรรคแก่การกระทำของเจ้าพนักงาน

ข้อ 7. การที่คนร้ายใช้มือกดอาวุธปื นไม่ให้ตำรวจดึงอาวุธปื นออกมาจาก


เอวของคนร้ายเพื่อยึดเป็ นของกลางในการตรวจค้นและจับกุมที่ชอบด้วย
กฎหมาย คนร้ายมีความผิดหรือไม่

ก. ไมผิด เพราะเป็ นการป้ องกันทรัพย์สิน

ข. ไม่ผิด เพราะยังไม่มีการกระทำความผิดในประมวลกฎหมายอาญา
ค. ผิด เพราะเป็ นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
โดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรค
สอง

ง. ผิด เพราะเป็ นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดย


ใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง

ข้อ 8. ข้อความใดกล่าวต่อตำรวจถือเป็ นการดูหมิ่นซึ่งหน้าตามมาตรา


๓๙๓ ประมวลกฎหมายอาญา

ก. “ไอ้ตำรวจเฮงซวย”

ข. “ไอ้ตำรวจหน้าโง่”

ค. “ไอ้ห่า”

ง. เป็ นการดูหมิ่นซึ่งหน้าทุกข้อ

ข้อ 9. การหมิ่นประมาทเป็ นการยืนยันข้อเท็จจริงต่อบุคคลที่สามใน


ประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเป็ นอย่างไร

ก. ถูกเกลียดชัง

ข. เสียชื่อเสียง

ค. ถูกดูหมิ่น
ง. เป็ นการหมิ่นประมาททุกข้อ

ข้อ 10. ในการจับ ตำรวจ ต้องสั่งให้ผู้ถูกจับ ไปยังที่ใด

ก. ที่ทำการ ของพนักงานสอบสวน ท้องที่ที่ถูกจับ

ข. ที่ทำการของพนักงานอัยการ

ค. ที่ทำการ ของพนักงานฝ่ ายปกครอง

ง. ห้องทำงานของหัวหน้างาน

ข้อ 11. หากผู้ต้องถูกจับ ไม่ยอม ไปกับตำรวจผู้จับ กฎหมายให้ทำอย่างไร

ก. แจ้งฝ่ ายปกครอง

ข. แจ้ง ผู้บังคับบัญชา

ค. ถอย

ง. จับตัว ผู้ต้องถูกจับไป

ข้อ 12. ผู้ถูกจับ มีสิทธิ์ตามกฎหมาย ในการให้การอย่างไร

ก. ต้องรับสารภาพ

ข. ปฏิเสธ ก็ได้ แต่จะไม่รับรองความปลอดภัย

ค. จะไม่ให้การก็ได้ แต่ถ้าให้การ อาจใช้เป็ นพยาน ในชั้นศาลได้


ง. บังคับให้ให้การ

ข้อ 13. กรณีจับตามหมายจับ เจ้าพนักงานต้องแสดงสิ่งใดต่อผู้ถูกจับ


ก่อนทำการจับ

ก. หมายค้น

ข. หมายจับ

ค. หมายขัง

ง. บันทึกการจับกุม

ข้อ 14. การจับกุมโดยเจ้าพนักงานนอกจากการแจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับทราบ


แล้วสิ่งสำคัญที่ต้องแจ้งเรื่องใด

ก. แจ้งข้อกล่าวหา

ข. ความจำเป็ น

ค. ความเร่งด่วน

ง. ความสำคัญ

ข้อ 15. ในการจับกุม การแจ้งสิทธิ ว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาผู้


ใด
ก. ทนายความ

ข. อัยการ

ค. ศาล

ง. ตำรวจ

กรณีศึกษาที่ 2

แดงเมาสุราส่งเสียงดังเดินเตะเก้าอี้และพูดจาระรานตำรวจทั้งสามทั้ง
ขณะที่อยู่ในร้านอาหารและขณะเดินกลับออกจากร้านซึ่งเป็ นความผิด
ตาม ป.อ.มาตรา 378 เสพสุราจนเป็ นเหตุให้เมาประพฤติวุ่นวายใน
สาธารณสถานและขณะเข้าจับกุมแดงขัดขวางการจับกุม

ถ้ามีตำรวจ 1 ใน 3 คน ขณะเข้าไปจับกุมได้ชกต่อยแดง จนแดงได้รับบาด


เจ็บโดยมีบาดแผลบวมที่โหนกแก้มขวาและตามัว

ข้อ 16. กรณีศึกษาที่ 2 ตำรวจทั้งสามมีอำนาจจับกุมได้หรือไม่และใช้วิธี


การจับอย่างไร

ก. ได้ เพราะเป็ นความผิดซึ่งหน้า

ข. ใช้วิธีการจับหรือความป้ องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์
แห่งเรื่องในการจับนั้น

ค. ไม่ได้ เพราะเป็ นความผิดเพียงลหุโทษ


ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก

ข้อ 17. กรณีศึกษาที่ 2 ตำรวจใช้วิธีการจับถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่


เพราะเหตุใด

ก. ไม่ถูกต้อง เพราะใช้วิธีการจับไม่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องใน
การจับนั้น

ข. ถูกต้อง เพราะแดงจะมีท่าทีทำร้ายตำรวจ

ค. ถูกต้อง เพราะแดงขัดขวางในการจับกุม

ง. ถูกต้อง เพราะแดงเมามากและไม่ยอมให้จับกุมแต่โดยดี

ข้อ 18. กรณีศึกษาที่ 2 ถ้าเป็ นการใช้วิธีการจับไม่ถูกต้องตามกฎหมาย


ตำรวจผู้ที่กระทำการดังกล่าวมีความผิดในข้อหาใด

ก. ผิด/ในข้อหาใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็ นเหตุให้เกิดอันตรายแก่
กายหรือจิตใจ ป.อ. มาตรา 391

ข. ผิด/ในข้อหาทำร้ายผู้อื่นจนเป็ นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
ของผู้อื่น ป.อ. มาตรา 295

ค. ผิด/ในข้อหาเป็ นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ป.อ.มาตรา 157

ง. ไม่ผิดกฎหมายอาญา/มีความผิดทางแพ่งรับผิดละเมิดเท่านั้นเพราะ
กระทำไปตามอำนาจหน้าที่
ข้อ 19. มาตรา 80 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา วรรคสอง
บัญญัติให้เมื่อตำรวจพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำ
ผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุและคนนั้นมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระ
ทำผิดหรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่น อันสันนิษฐานได้ว่าได้ใช้ใน
การกระทำผิดหรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้
นั้น ตำรวจมีอำนาจจับตามข้อใด

ก. เป็ นความผิดซึ่งหน้าโดยอ้อม

ข. กฎหมายให้ถือว่าเป็ นความผิดซึ่งหน้า

ค. ความผิดที่มีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง

ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 20. ขณะที่ตำรวจกับพวกเข้าทำการจับกุมผู้เล่นการพนันแตกฮือกัน


รีบหนีลงจากเรือน ตำรวจวิ่งเข้าจับมือแดง แดงสะบัดมือหลุดเพื่อไม่ให้
จับกุม ตำรวจได้ใช้ปื นตีศรีษะแดงโดยแรงจนแดงล้มลงไปขณะที่ตำรวจ
คนอื่นๆ เข้ากลุ้มรุมทำร้ายแดงด้วย ตำรวจใช้วิธีการจับกุมถูกต้องหรือไม่
เพราะเหตุใด
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะใช้วิธีจับที่รุนแรงเกินความเหมาะสมแก่พฤติการณ์
ข. ไม่ถูกต้อง เพราะเป็ นการใช้วิธีการจับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ค. ถูกต้อง เพราะแดงต่อสู้ขัดขวางในการจับกุม
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก

ข้อ 21. มาตรา 80 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาวรรคแรกที่


เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้นได้แก่ความผิดซึ่ง
ก. เห็นกำลังกระทำ
ข. พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้ว
สดๆ
ค. ประสบด้วยตนเอง
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 22. ข้อใดไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า


ก. ความผิดที่ไปพบโดยบังเอิญ
ข. เห็นคนร้ายกำลังจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ
ค. เห็นกลุ่มบุคคลกำลังเล่นการพนัน
ง. ตำรวจมองไม่เห็นเหตุการณ์เพราะมีร้านค้าบังอยู่

ข้อ 23. ข้อใดเป็ นความผิดซึ่งหน้า


ก. ส.ต.ต.แดง บังเอิญเดินผ่านบ้านนายดำ และเห็นนายดำกำลังใช้มีดจ้วง
แทงนายเขียวหลายครั้ง
ข. จ.ส.ต.ดำ สุ่มอยู่หน้าบ้านนายแดง และพบเห็นการแลกเปลี่ยนซื้อขาย
ยาเสพติด
ค. ส.ต.อ.เขียว แอบซุ่มดูอยู่ห่างจากห้องเกิดเหตุประมาณ 8 เมตร เห็น
จำเลยส่งมอบยาบ้า 10 เม็ด ให้แก่สายลับ
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 24. มาตรา 80 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา วรรคสอง


อย่างไรก็ดี ความผิดอาญาดังระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ให้
ถือว่าความผิดนั้นเป็ นความผิดซึ่งหน้าในกรณ๊ดังนี้ (1) เมื่อบุคคลหนึ่งถูก
ไล่จับดังผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ (2) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันที
ทันใดหลังจากการกระทำผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้นและมี
สิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิดหรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่น
อันสันนิษฐานได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิดหรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์
ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น ข้อใดกล่าวถูก “ความผิดซึ่งหน้า” ในความ
หมายวรรคสอง
ก. เป็ นความผิดซึ่งหน้าโดยอ้อม
ข. กฎหมายให้ถือว่าเป็ นความผิดซึ่งหน้า
ค. นางดำวิ่งไล่จับนายแดงพร้อมกับร้องตะโกนในขณะวิ่งไล่จับด้วยว่า “ช่วย
ด้วย ช่วยด้วย คนร้ายกระชากกระเป๋ าเงิน”

ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 25. ตำรวจพบเห็นคนร้าย ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปตามทางเมื่อมีเหตุ


อันควรสงสัยจึงขอค้นตัวพบอาวุธปื นเหน็บอยู่ที่เอวสวมเสื้อปกปิ ดไว้ และ
ไม่มีใบอนุญาตให้พกพาอาวุธปื นติดตัว ไม่มีเหตุจำเป็ นและเร่งด่วนตาม
สมควรที่จะพกปื นได้ ตำรวจมีอำนาจจับกุมจำเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ได้ เพราะเป็ นความผิดซึ่งหน้า
ข. ไม่ได้ เพราะจำเลยมีใบอนุญาตให้ครอบครองอาวุธปื น
ค. ไม่ได้ เพราะจำเลยเพียงไม่มีใบอนุญาตให้พกพาอาวุธปื นติตตัวเท่านั้น
ง. ได้ เพราะมีการตรวจค้นโดยชอบ

ข้อ 26. มาตรา 78 ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา พนักงาน


ฝ่ ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้น
ไม่ได้ เว้นแต่(2) เมื่อพบบุคคลโดยพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะ
ก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ
อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด ข้อใด
กล่าวผิด
ก. แค่มีพฤติการณ์ที่น่าสงสัยยังไม่สามารถทำการจับได้โดยไม่มีหมายจับ
จะต้องประกอบกับพบว่ามีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถ
อาจใช้ในการกระทำความผิดอีกด้วย
ข. กรณีเป็ นเสมือนการจับเพื่อยับยั้งเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น
ค. ป้ องกันมิให้มีความผิดเกิดขึ้นถึงแม้ขณะเตรียมการกระทำความผิดแม้
จะยังไม่ถึงขั้นลงมือก็ตาม
ง. ไม่ข้อใดกล่าวผิด
ข้อ 27. ข้อใดอยู่ในความหมายของการจับโดยอาศัยข้อยกเว้น ตาม
มาตรา 78 (2)
ก. นายแดงนำผ้าห่มชุบน้ำมันก๊าดใส่ถังไว้จำนวนหนึ่งแล้วนำไปวางหลัง
บ้านของนายดำเจ้าพนักงานมาพบนายดำพอดี เจ้าพนักงานมีอำนาจ
จับกุม
ข. ส.ต.ต.แดง บังเอิญเดินผ่านบ้านนายดำ และเห็นนายดำกำลังใช้มีดจ้วง
แทงนายเขียวหลายครั้ง มีอำนาจจับกุม
ค. จ.ส.ต.ดำ สุ่มอยู่หน้าบ้านนายแดง และพบเห็นการแลกเปลี่ยนซื้อขาย
ยาเสพติด มีอำนาจจับกุม
ง. ส.ต.อ.เขียว แอบซุ่มดูอยู่ห่างจากห้องเกิดเหตุประมาณ 8 เมตร เห็น
จำเลยส่งมอบยาบ้า 10 เม็ด ให้แก่สายลับ มีอำนาจจับกุม

ข้อ 28. มาตรา 78 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พนักงาน


ฝ่ ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้น
ไม่ได้ เว้นแต่ (3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามมาตรา 66 (2)
แต่มีความจำเป็ นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ ข้อ
ใดกล่าวถูก มีอำนาจจับในเหตุข้อยกเว้นนี้
ก. พบบุคคลที่กระทำความผิดอยู่บนเครื่องบินซึ่งกำลังจะบินจากสนาม
บินในประเทศไทยออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งจะขอให้ศาลออกหมาย
จับย่อมไม่ทันแน่นอน
ข. พบบุคคลที่กระทำความผิดอยู่บนเรือที่กำลังจะแล่นออกจากท่าเรือใน
ประเทศไทยออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งจะให้ศาลออกหมายจับย่อม
ไม่ทันแน่นอน
ค. ตำรวจได้รับแจ้งจากนายดำว่ารถจักรยานหายไปจากที่บ้าน ตำรวจมา
ที่เกิดเหตุพบนายแดงกำลังจูงรถจักรยานของนายดำอยู่บริเวณถนนซึ่ง
ใกล้เคียงกับบ้านของนายดำ
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก

ข้อ 29. ผู้ที่จะต้องถูกจับได้กระทำการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ผู้จับกุม


จะต้องแจ้งว่าผู้นั้นจะต้องถูกจับหรือไม่
ก. ไม่ต้องแจ้ง
ข. ยังต้องแจ้ง
ค. แจ้งก็ได้ ไม่แจ้งก็ได้
ง. ถ้ามีความจำเป็ นต้องแจ้งก็ต้องแจ้ง

ข้อ 30. ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้า


พนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการ
ถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมเมื่อใดและต้องแจ้งให้ทราบถึงสิทธิใด
ก. ในโอกาสแรกพบ และต้องแจ้งสิทธิให้ทราบว่าพบปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็ น
ทนายความเป็ นการเฉพาะตัวให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟั ง
การสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้
สมควร
ข. ในยี่สิบสี่ชั่วโมง และต้องแจ้งสิทธิให้ทราบว่าพบปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็ น
ทนายความเป็ นการเฉพาะตัวให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟั ง
การสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้
สมควร
ค. ในสี่สิบแปดชั่วโมง และต้องแจ้งสิทธิให้ทราบว่าพบปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็ น
ทนายความเป็ นการเฉพาะตัวให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟั ง
การสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้
สมควร
ง. ในเจ็ดวัน และต้องแจ้งสิทธิให้ทราบว่าพบปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็ น
ทนายความเป็ นการเฉพาะตัวให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟั ง
การสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้
สมควร

ข้อ 31. สิ่งของชนิดใดที่ได้มาจากการกระทำความผิด

ก. ทองที่ขโมยมา

ข. ผลไม้

ค. ธนบัตร

ง. รถจักรยานยนต์

ข้อ 32. สิ่งของชนิดใดที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด


ก. อาวุธปื นที่จะนำไปฆ่าคน

ข. ยาเสพติด

ค. ทองที่ขโมยมา

ง. รถยนต์

ข้อ 33 ข้อใดคือเหตุสงสัยของการค้นตัวบุคคลในที่สาธารณะ

ก. เห็นตำรวจแล้ววิ่งหนี

ข. เดินมาตามปกติ

ค. บุคคลที่เคยทะเลาะ

ง. เด็กนักเรียน

ข้อ 34. การค้น บุคคลในที่สาธารณะ ตามกฎหมาย รวมถึง การค้น


รถยนต์ด้วยหรือไม่

ก. กฎหมายเรื่องการค้นตัวบุคคล ใช้กับกรณีค้นรถยนต์รวมด้วย

ข. มีกฎหมายแยกต่างหาก

ค. ค้นรถยนต์ต้องมีหมาย

ง. ทำการค้นรถยนต์ไม่ได้
ข้อ 35. ถ้าตำรวจเห็นว่า มีบุคคลจะขัดขวาง หรือทำให้ การค้นไม่ประสบ
ผลสำเร็จ ตำรวจมีอำนาจอย่างไร

ก. จับกุม บุคคลดังกล่าว

ข. ขอให้ศาลออกหมายขัง

ค. ควบคุมตัวไว้เท่าที่จำเป็ น เพื่อไม่ให้ขัดขวางการค้น

ง. แจ้งญาติให้มารับตัวไปสถานีตำรวจ

ข้อ 36. ข้อพึงระวังในการตรวจค้น คืออะไร

ก. พยายามไม่ให้ สิ่งของเสียหาย หรือกระจัดกระจาย

ข. ค้นอย่างไรก็ได้ ไม่จำเป็ นต้องระมัดระวัง

ค. ขนเฉพาะที่เจ้าของยินยอมเท่านั้น

ง. ใช้สายตาในการค้นหา

ข้อ 37. ใครเป็ นผู้มีอำนาจค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ


อาญา

ก. พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ

ข. พนักงานฝ่ ายปกครองและพนักงานอัยการ

ค. พนักงานสอบสวนและศาล
ง. พนักงานฝ่ ายปกครองหรือตำรวจ

ข้อ 38. การค้นในกรณีใดที่ต้องมีหมายค้น


ก. การค้นในห้องขายตั๋วโรงภาพยนตร์
ข. การค้นตัวบุคคล
ค. การค้นในรถยนต์
ง. การค้นในเรือ

ข้อ 39. ในกรณีที่ค้นโดยมีหมาย เจ้าพนักงานที่มีชื่อในหมายค้น ซึ่งต้อง


เป็ นพนักงานฝ่ ายปกครองตั้งแต่ระดับใด

ก. ตั้งแต่ระดับสี่ขึ้นไป
ข. ตั้งแต่ระดับสอง
ค. ระดับใดก็ได้
ง. ตั้งแต่ระดับสาม

ข้อ 40. ในกรณีที่ค้นโดยมีหมาย เจ้าพนักงานที่มีชื่อในหมายค้น ซึ่งต้อง


เป็ นข้าราชการตำรวจตั้งแต่ระดับชั้นยศใด
ก. ตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ข. ตั้งแต่พันตำรวจตรี
ค. ตั้งแต่ร้อยตำรวจเอก
ง. ผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ 41. แดงใช้ปื นยิงในหมู่บ้านโดยใช่เหตุ อันเป็ นการกระทำที่ผิด
กฎหมาย ตำรวจจะจับแดงอันเป็ นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
แดงวิ่งหนี ตำรวจไล่ตามเพื่อจับ ตำรวจใช้ปื นยิงขู่ ไม่ใช่ยิงโดยมีเจตนาฆ่า
แดงยิงตำรวจ แดงอ้างป้ องกันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ไม่ได้/เพราะไม่ใช่ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ
กฎหมาย
ข. ไม่ได้/เพราะมีกฎหมายให้อำนาจตำรวจจับกุมได้เท่าที่เหมาะสมแก่
พฤติการณ์ในกรณีหลบหนี
ค. ได้/เพราะตำรวจทำเกินกว่ากรณีแห่งเรื่องในการจับนั้น
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก

ข้อ 42. การใช้อำนาจเกินขอบเขตแห่งกฎหมาย ถือว่าเป็ นภยันตรายเกิด


จากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ผู้รับภยันตรายโต้ตอบกลับมา
โดยอ้างป้ องกันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ได้ เพราะผู้ใช้อำนาจใช้อำนาจเกินขอบเขตแห่งกฎหมาย
ข. ได้ เพราะเป็ นภยันตรายจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
ค. ไม่ได้ เพราะผู้รับภยันตรายเป็ นผู้กระทำผิดไม่สิทธิโต้ตอบ
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก

ข้อ 43. ด.ช.แดง อายุไม่เกิน 9 ปี ใช้ปื นจ้องยิงดาบดำ ดาบดำตอบโต้ด้วย


การใช้ปื นยิง ด.ช.แดง ตาย ดาบดำอ้างเหตุอย่างไร
ก. อ้างป้ องกัน เพราะมีภยันตรายต่อนายดำ และภยันตรายเกิดจากการ
ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
ข. อ้างป้ องกันไม่ได้ เพราะการกระทำของ ด.ช.แดง มีเหตุยกเว้นความผิด
อายุไม่เกิน 10 ปี จึงไม่เป็ นความผิด
ค. นายดำ อ้างความจำเป็ น
ง. นายดำ อ้างบันดาลโทสะ

ข้อ 44. ผู้ที่จะอ้างป้ องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้ จะต้องมีเงื่อนไข


อย่างไร
ก. ไม่เป็ นผู้ก่อภัยขึ้นในตอนแรก
ข. ไม่เป็ นผู้สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กัน
ค. ผู้ป้ องกันต้องถูกกระทำฝ่ ายเดียวจึงได้กระทำไปเพื่อป้ องกันตน
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 45. ข้อใดกล่าวถูกต้อง


ก. จำเลยกับพวกก่อเหตุชกต่อยผู้เสียหายแล้ววิ่งหนีผู้เสียหายวิ่งไล่ตามต่อ
เนื่องไปไม่ขาดตอนจำเลยยิงผู้เสียหาย จำเลยอ้างป้ องกันไม่ได้
ข. การวิวาท หมายถึง การสมัครใจเข้าต่อสู้ทำร้ายกันฝ่ ายใดเพลี่ยงพล้ำ
แก่อีกฝ่ ายหนึ่งจะกระทำการโต้ตอบกลับไปโดยอ้างป้ องกันมิได้
ค. จำเลยโต้เถียงกับผู้ตายแล้วสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ ผู้ตาย ผู้เสียหายมี
อาวุธในมือจะเข้าทำร้ายจำเลย จำเลยยิงผู้ตายและผู้เสียหาย จำเลยอ้าง
ป้ องกันไม่ได้
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 46. ส.ต.ต.ดำ พบเห็น นายแดง กับนายเขียว ทะเลาะวิวาทกันและ


สมัครใจเข้าต่อสู้กัน ในระหว่างต่อสู้นายแดง เพลียงพล้ำ จึงใช้อาวุธจะยิง
นายเขียว ส.ต.ต.ดำ กำลังจะเข้าระงับเหตุ เห็นดังนั้น จึงใช้อาวุธปื นยิง
นายแดงตาย เพื่อป้ องกันนายเขียว ที่กำลังจะถูกยิง ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ส.ต.ต.ดำ อ้างป้ องกันผู้อื่นได้ เพราะเห็นนายแดง จะยิงนายเขียว
ข. ส.ต.ต.ดำ ได้ใช้วิธีการจับหรือการป้ องกันทั้งหลายที่เหมาะสมแก่
พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น
ค. ส.ต.ต.ดำ กระทำได้เพราะเป็ นความผิดซึ่งหน้า จึงต้องการเข้าระงับ
เหตุ
ง. ส.ต.ต.ดำ ไม่มีสิทธิป้ องกันนายเขียว เพราะนายเขียวสมัครใจทะเลาะ
วิวาทกับนายแดง

ข้อ 47. จ่าเฉยเข้าจับกุมนายบอลในที่รโหฐาน ในเวลากลางคืนโดยไม่มี


หมายจับและไม่เป็ นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งที่จะเข้าไปจับได้ นายบอลต่อสู้
ขัดขวางการเข้าไปจับ นายบอลผิดฐานใด
ก. ไม่ผิด เพราะเป็ นการป้ องกันโดยชอบ
ข. ไม่ผิด เพราะเป็ นการกระทำโดยจำเป็ น
ค. ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
ง. ดูหมิ่นเจ้าพนักงานขณะปฎิบัติหน้าที่
ข้อ 48. นายซิ่ง ขับรถโดยประมาทด้วยความเร็วสูงกำลังจะชนจ่าว่อง
ตำรวจจราจร จ่าว่องจึงยิงยางรถของนายซิ่ง จนรถหยุดทำให้ยางรถเสีย
หายทั้งสี่ล้อ ตำรวจอ้างป้ องกันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ไม่ได้ เพราะไม่มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ
กฎหมาย
ข. ไม่ได้ เพราะเป็ นการป้ องกันที่เกินกว่ากรณีที่จำต้องกระทำเพื่อป้ องกัน
ค. ได้ เพราะเป็ นการจำต้องกระทำเพื่อป้ องกันสิทธิของตนเองให้พ้นจาก
ภยันตราย
ง. ได้ เพราะไม่มีเจตนาที่จะทำให้รถของนายซิ่งได้รับความเสียหาย

49.กรณีเรื่องมีผู้เข้ามาสอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจในที่สาธารณสถาน เช่น
ด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด หรือห้องรับแจ้งความตามสถานีตำรวจ
สอบถามเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลทางราชการ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
ตำรวจ หรือการดำเนินการต่างในระหว่างสืบสวนหรือสอบสวนคดีต่างๆ
ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะตอบคำถาม ต้องพิจารณา ผู้เข้ามาติดต่อ
สอบถามอย่างไร

ก. เป็ นบุคคลที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงาน
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเรื่องนั้นๆ หรือไม่

ข. เป็ นบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลก
ระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจให้มาติดต่อสอบถามหรือไม่
ค. เป็ นเรื่องที่สามารถตอบได้และต้องการตอบ กระทำได้แต่ถ้าการตอบ
ในเรื่องนั้นๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อความเสียหายของทางราชการ และ
ละเมิดถึงผู้อื่น และไม่ใช่เป็ นการสัมภาษณ์ ให้ข่าว ยกเว้นหัวหน้าสถานี
ตำรวจ

ง. ถูกทุกข้อ

50. ตามข้อ 49 ถ้าไม่ใช่เป็ นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระ


ทบหรือได้รับมอบอำนาจ เจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเป็ นต้องตอบหรือไม่ เพราะ
เหตุใด

ก. ไม่จำเป็ นต้องตอบ เพราะไม่ใช่เป็ นบุคคลได้รับความเสียหายหรือได้รับ


ผลกระทบหรือได้รับมอบอำนาจ

ข. ไม่จำเป็ นต้องตอบ เพราะไม่ใช่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ

ค. ไม่ต้องตอบเลยก็ได้ เพราะเหตุผลตามข้อ ก. และ ข.

ง. ถูกทุกข้อ

You might also like