บทพากย์เอราวัณล่าสุด

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 34

บทพากย์

เอราวัณ
รายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ความเป็นมา

เป็นพระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(รัชกาลที่ 2)

จัดพิมพ์รวมอยู่ในรามเกียรติ์คาพากย์
ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2461
ลักษณะคาประพันธ์
บทพากย์เอาราวัณแต่งด้วยคาประพันธ์
ประเภท กาพย์ฉบัง 16 โดยกาพย์ฉบัง 1 บท จะมี
16 ค า บทหนึ ่ ง มี 3 วรรค วรรคแรกมี 6 พยางค์
(ต าราฉั น ทลั ก ษณ์ เ รี ย กว่ า “ค า”) วรรคที ่ 2 มี 4
พยางค์ และวรรคที่ 3 มี 6 พยางค์ เป็น 6-4-6 คา
ตามลาดับเรียกว่า “กาพย์ฉบัง 16”
ลักษณะคาประพันธ์
บทพากย์เ อราวัณ แต่ง ด้ วยกาพย์ฉ บัง 16 คื อ 1 บท
มี 16 คา แบ่งออกเป็น 3 วรรค วรรคแรกมีจานวน 6 คา วรรค
ที่ 2 มี 4 คา และวรรคสุดท้ายมี 6 คา ดังแผนผัง
บทพากย์
เอราวัณ
มาทาความรู้จักกับตัวละครกันดีกว่า
ตัวละคร ช้างเอราวัณ
เอราวั ณ เป็ น ชื ่ อ ช้ า งทรงของ
พระอินทร์ มีก ายสีขาวเหมือนสีสังข์ มี
33 เศี ย ร ในวรรณคดี บ างเรื ่ อ งได้
บรรยายลักษณะของช้างเอราวัณไว้อย่าง
พิสดารว่า เศียรหนึ่งมี 7 งา งาหนึ่งมี 7
สระ สระหนึ่งมีกอบัว 7 กอ กอหนึ่งมี
ดอกบั ว 7 ดอก ดอกหนึ ่ ง มี 7 กลี บ
กลีบหนึ่งมีนางฟ้าร่ายราอยู่ 7 องค์ แต่
ละองค์มีบริวารเป็นหญิงงาม 7 คน
ตัวละคร อินทรชิต
อินทรชิต เป็นยักษ์มีกาย
สี เ ขี ย ว เป็ น โอรสของทศกั ณ ฐ์ กั บ
นางมณโฑ เดิ ม ชื ่ อ “รณพั ก ตร์ ”
เมื ่ อ สามารถรบชนะพระอิ น ทร์ ไ ด้
ทศกัณฐ์พอใจมากจึงเปลี่ยนชื่อให้
ว่า “อินทรชิต” มี “ศรพรหมาสตร์
ศรนาคบาศ และศรวิ ษ ณุ ป าณั ม ”
เป็นอาวุธ
ตัวละคร อินทรชิต
อินทรชิตสามารถแปลงกาย
เป็ น พระอิ น ทร์ ไ ด้ พระพรหมเคย
ประทานพรให้ ว ่ า เวลาจะตายต้ อ ง
ตายบนอากาศ และอย่าให้ศีรษะขาด
ตกถึ ง พื ้ น มิ ฉ ะนั ้ น จะกลายเป็ น
ไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก ต้องใช้พาน
แว่ น ฟ้ า ของพระพรหมมารองรั บ
โลกจึงจะปลอดภัย
ตัวละคร พระราม
พระราม คือ พระนารายณ์อวตาร
ลงมาถื อ ก าเนิ ด เป็ น พระราชโอรสของ
ท้า วทศรถกั บนางเกาสุ ริ ยา เพื่อ จะปราบ
ท ศ กั ณ ฐ ์ พ ร ะ ร า ม มี พ ร ะ อ นุ ช า ต ่ า ง
พระมารดา 3 พระองค์ คื อ พระพรต
พระลักษมณ์ และพระสัตรุต ซึ่งต่างก็มี
ความรักใคร่กันอย่างมาก
พระรามมีกายสีเขียว สามารถปรากฏ
ร่ า งเป็ น พระนารายณ์ มี สี ่ ก รได้ อาวุ ธประจ า
พระองค์ คือ “ศร” ซึ่ ง เป็น อาวุ ธวิเ ศษที ่ไ ด้
ประทานมาจากพระอิศวร
ตัวละคร พระลักษมณ์
พระลั ก ษมณ์ คื อ พญาอนั น ต
นาคราชที่ประทับของพระนารายณ์ มาเกิด
มีกายสีทอง พระลักษมณ์เป็นพระโอรส
ของท้าวทศรถและนางสมุทรเทวี มีพระ
อนุชาร่วม พระมารดาคือ สัตรุด
พระลั ก ษมณ์ มี ค วามจงรั ก ภั ก ดี ต ่ อ
พระรามมาก เมื ่ อ พระรามต้ อ งออกเดิ น ป่ า พระ
ลั ก ษมณ์ ก็ ไ ด้ ติ ด ตามออกไปด้ ว ย และยั ง ช่ ว ย
ออกรบกับ กองทั พของกรุง ลงกาอย่างกล้าหาญ
หลายครั้งหลายหน
เนื้อเรื่อง
บทพากย์
เอราวัณ
เนื้อเรื่อง
รณพักตร์ได้ศึกษาศิลปวิทยากับพระฤๅษีโคบุตร
แล้วไปบาเพ็ญพรตเพื่อขอพรและศร 3 เล่ม จากพระ
ผู้เป็นเจ้าทั้ง 3 พระองค์ คือ ศรพรหมาสตร์ จากพระ
อิศวร ศรนาคบาศจากพระพรหม และศรวิษณุปาณัมจาก
พระนารายณ์ และได้ ร บกั บ พระอิ น ทร์ ไ ด้ รั บ ชั ย ชนะ
จากนั ้น ก็ก ลับมายัง กรุง ลงกา ทศกัณ ฐ์ท รงพอพระทั ย
จึงพระราชทานนามใหม่แก่รณพักตร์ว่า อินทรชิต

ในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นสงครามแย่งชิงนางสีดา ทศกัณฐ์


ทรงให้พระญาติวงศ์พงศาออกรบแต่กลับพ่ายแพ้ทั้งหมด จึงโปรดให้อินทรชิต
ออกรบถึง 4 ครั้ง ดังนี้
เนื้อเรื่อง
ครั้งแรก อินทรชิตถูกศรพลายวาตของ
พระลักษมณ์ จนต้องหนีกลับเข้าเมือง
ครั้งที่ 2 อินทรชิ ตลบกั บพระลักษมณ์
อินทรชิตใช้ศรพรหมาสตร์แต่ไม่สาเร็จ
ครั ้ ง ที ่ 3 อิ น ทรชิ ต แปลงกายพระเป็ น
อินทร์ขี่ช้างเอราวัณออกมารบกับพระลักษมณ์
ครั ้ ง ที ่ 4 อิ น ทรชิ ต ล ่ า ลาลู ก เมี ย แล้ ว
ออกไปรบจนถูกพระรามแผลงศรตัดคอ
อินทรชิตแปลงกายเป็นพระอินทร์
ทรงช้ า งเอราวั ณ ช้ า งเอราวั ณ อั น (การุ ณ
ราช) เนรมิตขึ้นนั้นก็ทรงเรี่ยวแรงแกร่งกล้า
น่าเกรงขาม
ผิวพรรณสีเผือกผ่องประดุจสังข์อัน
เกลี้ยงเกลา มี 33 หัว หัวหนึ่งมี 7 งา เปล่ง
ประกายเรืองรองประดุจเพชรรัตน์ งาหนึ่งนั้น
มีสระโบกขรณี 7 สระ สระหนึ่งมีดอกบัว 7
กอ กอหนึ่งมีดอกบัว 7 ดอก แต่ละดอกครั้น
บานแล้วนับได้ 7 กลีบ แต่ละกลีบมีเทพธิดา
ที่สวยงามแน่ง น้อ ยน่ารัก 7 นาง แต่ละนาง
นั้นยังมีเทพธิดาบริวารอีก 7 นาง ล้วนเป็นรูป
อันมารนิมิตขึ้นทั้งสิ้น ทั้งยังร่ายราชม้ายชายตา
ทาทีดังนางฟ้าจริง ๆ
อี ก ทั ้ ง ทุ ก หั ว ของช้ า งยั ง มี วิ ม าน
อั น งดงามประดุ จ ปราสาทเวไชยั น ต์ ข อง
ท้าวอมรินทร์ เครื่องประดับอันมี ซองหาง
กระวิน สายชนักล้วนถักร้อยด้วยสร้อยทอง
ประดับโกมินล้อมแก้วนพเก้า ผ้าทิพย์ปก
ตระพองก็ร้อยประดับด้วยเพชร มีสายสร้อย
ห้อยเป็นพูล่ งทั่วทุกหูช้าง
ช้างเอราวัณ
มีเศียร 33 เศียร
มีงา 231 งา
มีสระ 1,617 สระ
มีกอบัว 11,319 กอ
มีดอกบัว 97,233 ดอก
มีกลีบดอก 554,631 กลีบ
มีนางฟ้า 3,882,417 องค์
มีบริวาร 27,176,919 คน
ขุ น มารโลทั นซึ ่ ง เป็ น สารถี ข อง
อินทรชิตก็แปลงเป็นควาญท้ายช้าง ทัพทั้ง
4 เหล่า ต่างแปลงกายเป็นชาวฟ้าชาวสรรค์
มี อ ารั ก ขเทวดาและรุ ก ขเทวดาเป็ น ทั พ หน้ า
ครุ ฑ กิ น นร นาค เป็ น ทั พ หลั ง พวกฤๅษี
และวิ ท ยาธรเป็ น ปี ก ซ้ า ย มี ค นธรรพ์ เ ป็ น
ปี ก ขวา ตั ้ ง ทั พ ตามต ารั บ พิ ชั ย สงคราม ถื อ
อาวุ ธ เกรี ย งไกรครบมื อ แล้ ว เหาะเหิ น มาบน
ฟากฟ้า เคลื่อนพลเข้าสู่สมรภูมิ
ฝ่ายพระราม พอรุ่งเช้ามีลมพัด
โชยเข้ า มาหอมกลิ ่ น ดอกไม้ ฟุ ้ ง เต็ ม ป่ า ดง
มี ผึ ้ ง เหม หงส์ บิ น ร่ อ นถลาลงมาชื ่ น ชม
ดอกไม้ ดุ เ หว่ า ไก่ ร้ อ งขั น ตี ป ี ก ให้
สั ญ ญาณเช้ า ตรู ่ เ ร่ ง ดวงตะวั น ให้ รี บ โผล่
นกตื ่น นอนร้ อ งขั บ ขานหาคู ่ ประสานเสี ย ง
ไพเราะเสนาะในป่า เดือนดาวก็ดับอับแสง
ลง ท้องฟ้าก็สว่างไสวจับสีทอง พระรามก็
ตื่นจากบรรทม
ฝ่ายพระลักษมณ์ ผู้เป็นน้อง
ของพระราม ก็ เ อ่ ย ถามสุ ค รี พ ว่ า เหตุ ใ ด
พระอินทร์จึงเสด็จมาที่สนามรบนี้ สุครีพจึง
ทูลว่าปกติแล้วพระอินทร์จะเสด็จพร้อมด้วย
เหล่ า เทวดาเพื ่ อ อวยชั ย แด่ พ ระรามด้ ว ย
ข้ า วตอกดอกไม้ แต่ ค ราวนี ้ เ ห็ น วิ ป ริ ต
ผิดปกติดูน่าฉงน เพราะพระอินทร์ถืออาวุธ
แปลกมาก หรือว่าพระอินทร์จะเข้าข้างฝ่าย
อธรรม ขอพระองค์จงดูให้ดีอย่าไว้ใจ อย่า
หลงกลของข้าศึก
ฝ่ายอินทรชิตสั่งให้เสนีอามาตย์
ราถวายพระลักษมณ์เพื่อให้พระลักษมณ์
เคลิบเคลิ้ม และเพื่อจะได้แผลงศรฆ่าให้
ตาย
อินทรชิตนั่งอยู่เหนือช้างเอราวัณ
มองดู ก็ เ ห็ น พระลั ก ษมณ์ เ คลิ บ เคลิ ้ ม
หลงใหล เมื่อได้โอกาสอินทรชิตจึงจับศร
พรหมาสตร์อันเรืองเดชขึ้นเหนือเศียรเล็ง
ใส่ พ ระลั ก ษมณ์ แ ล้ ว ก็ แ ผลงศรออกไป
หมายจะให้ถูกพระวรกายของพระลักษมณ์
อากาศก็ โ กลาหล โลกลั่ น ด้ ว ยอ านาจของ
ศรพรหมาสตร์ ศรก็ เ ต็ ม ไปหมดถู ก องค์
พระลักษมณ์กลิ้งลงกลางสนามรบ
ถอดคาประพันธ์
อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์
ทรงคชเอราวัณ
แปล อินทรชิตแปลงกายเหมือนพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ช้างนิมิตฤทธิแรงแข็งขัน เผือกผ่องผิวพรรณ
สีสังข์สะอาดโอฬาร์
แปล ช้างเอราวัณ (แปลง) เป็นช้างเผือกที่มีรูปร่างใหญ่โต
แข็งแรง
ถอดคาประพันธ์
สามสิบสามเศียรโสภา เศียรหนึ่งเจ็ดงา
ดั่งเพชรรัตน์รูจี
แปล (ช้างเอราวัณ) มีเศียรที่งดงาม 33 เศียรและเศียรหนึ่ง
มีงาอยู่ 7 งาซึ่งงดงามมาก

งาหนึ่งเจ็ดโบกขรณี สระหนึ่งย่อมมี
เจ็ดกออุบลบันดาล
แปล งาหนึ่งงามีสระบัวอยู่ 7 สระ และสระบัวหนึ่งสระมีบัว
อยู่ 7 กอ
ถอดคาประพันธ์
กอหนึ่งเจ็ดดอกดวงมาลย์ ดอกหนึ่งแบ่งบาน
มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา
แปล กอบัวหนึ่งกอมีดอกบัวอยู่ 7 ดอก และบัวหนึ่งดอกมี
กลีบบัวอยู่ 7 กลีบ

กลีบหนึ่งมีเทพธิดา เจ็ดองค์โสภา
แน่งน้อยลาเพานงพาล
แปล บัว 1 กลีบมีเทพธิดาผู้อ่อนเยาวว์และงดงามอยู่ 7 องค์
ถอดคาประพันธ์
นางหนึ่งย่อมมีบริวาร อีกเจ็ดเยาวมาลย์
ล้วนรูปนิรมิตมายา
แปล เทพธิดาองค์หนึ่งมีบริวาร 7 ตนล้วนแต่เป็นยักษ์แปลง
มาทั้งสิ้น

จับระบาราร่ายส่ายหา ชาเลืองหางตา
ทาทีดังเทพอัปสร
แปล นางบริ ว ารร่ า ยร าและชายตาท าท่ า ทางงดงามราวกั บ
นางฟ้า
ถอดคาประพันธ์
มีวิมานแก้วงามบวร ทุกเกศกุญชร
ดังเวไชยันต์อมรินทร์
แปล ที่เศียรทุกเศียรของช้างเอราวัณมีวิมานแก้วที่งดงามราว
กับวิมานเวไชยันต์ของพระอินทร์

เครื่องประดับเก้าแก้วโกมิน ซองหางกระวิน
สร้อยสายชนักถักทอง
แปล ช้างเอราวัณ (แปลง) ประดับด้วยแก้วเก้าประการ เช่น
โกเมนที่ซองหางและกระวิน ส่วนที่สายชนักเป็นสร้อยที่ถักด้วยทอง
ถอดคาประพันธ์
ตาข่ายเพชรรัตน์ร้อยกรอง ผ้าทิพย์ปกตระพอง
ห้อยพู่ทุกหูคชสาร
แปล มีตาข่ายร้อยด้วยเพชรสาหรับตกแต่งที่เศียรช้าง มีผ้า
ทิพย์ปกที่ตระพองของช้างและมีพู่ห้อยที่หูทุกหูของช้าง

โลทันสารถีขุนมาร เป็นเทพบุตรควาญ
ขับท้ายที่นั่งช้างทรง
แปล ยักษ์แปลงเป็นโลทันสารถีของพระอินทร์มีหน้าที่บังคับ
ท้ายช้างพระที่นั่งของพระอินทร์
ถอดคาประพันธ์
บรรดาโยธาจัตุรงค์ เปลี่ยนแปลงกายคง
เป็นเทพไทเทวัญ
แปล บรรดาทหารของกองทัพยักษ์ต่างแปลงเป็นเทวดา

ทัพหน้าอารักขไพรสัณฑ์ ทัพหลังสุบรรณ
กินนรนาคนาคา
แปล ทัพหน้าแปลงเป็นเทพารักษ์ ทัพหลังแปลงเป็นครุฑ
กินนรและนาค
ถอดคาประพันธ์
ปีกซ้ายฤๅษีตวิทยา คนธรรพ์ปีกขวา
ตั้งตามตารับทัพชัย
แปล ปีกซ้ายแปลงเป็นฤๅษีและวิทยาธร ปีกขวาแปลงเป็น
คนธรรพ์ กองทัพจัดตั้งตามตาราพิชัยสงคราม

ล้วนถืออาวุธเกรียงไกร โตมรศรชัย
พระขรรค์คทาถ้วนตน
แปล เทวดา (แปลง) ทุ ก องค์ ล ้ ว นถื อ อาวุ ธ ต่ า ง ๆ เช่ น
โตมร ศร พระขรรค์และคทา
ถอดคาประพันธ์

ลอยฟ้ามาในเวหน รีบเร่งรี้พล
มาถึงสมรภูมิชัย ฯ
แปล เทวดา (แปลง) ทุกองค์รีบเหาะมายังสนามรบ
ข้อคิดจาก
บทพากย์
เอราวัณ
ข้อคิดจากบทพากย์เอราวัณ
นอกจากใช้ เ ล่ น โขนละครในเพื ่ อ ความบั น เทิ ง
บทพากย์รามเกียรติ์แต่ละตอนก็มีคติสอนใจให้ผู้อ่านผู้ชมได้
คิ ด ตามด้ ว ย บทพากย์ เ อราวั ณ เองก็ มี ข ้ อ คิ ด ที ่ น ่ า สนใจ
หลายข้อ ได้แก่

1. ความลุ ่ ม หลงเป็ น บ่ อ เกิ ด ของหายนะ


เช่ น พระลั ก ษมณ์ ที ่ ห ลงใหลในความ
งดงามของกองทัพยักษ์จาแลง จนประมาท
และถูกศรพรหมาสตร์ของอินทรชิต
ข้อคิดจากบทพากย์เอราวัณ
2. การใช้อานาจในทางที่ไม่ถูกไม่ควร เช่น อินทรชิตที่มีทั้งพร
และอาวุธจากมหาเทพ แต่ก็เลือกใช้อานาจไปในทางที่ผิด ทั้ง
ออกมารบกับพระรามและผู้อื่น (จริง ๆ ก่อนนี้อินทรชิตมีชื่อว่า
รณพักตร์ เป็นผู้บาเพ็ญเพียรจนมีฤทธิ์แก่กล้า เมื่อได้พรและ
อาวุ ธ จากมหาเทพมาก็ ไ ปท้า รบกั บ พระอิ น ทร์ และได้ชั ย ชนะ
กลับมาด้วย จึ ง เป็น ที่มาของชื่อ อิน ทรชิต ซึ่ง แปลว่า “ผู้ชนะ
พระอินทร์”)
3. การใช้สติปัญญาพิจารณาสถานการณ์ต่าง ๆ
เช่น สุครีพที่ช่างสังเกต ใช้สติปัญญาประเมิน
ส ถ า น ก า ร ณ ์ ใ น ส น า ม ร บ แ ล ะ เ ตื อ น ใ ห้
พระลักษมณ์อย่าไว้ใจข้าศึก

You might also like