Gag10859csan Full

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 216

การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินของยางพารา

จากภาพถ่ ายดาวเทียม

ชณัฐฎา แสงงาม

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์

บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สิ งหาคม 2559
การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินของยางพารา
จากภาพถ่ ายดาวเทียม

ชณัฐฎา แสงงาม

วิทยานิพนธ์ นีเ้ สนอต่ อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็ นส่ วนหนึ่งของการศึกษาตาม


หลักสู ตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สิ งหาคม 2559

l^vctd43a
fl I : lJ : y ttJ u R I : RRI nUnI t U 0 U t?t U O ?t U 9t U 5l'
O { U I { ilt I : I
14.
otRR tTt6tlu9t I ? tTtutJ

raigqr rrd{.l'rxJ

A A llrnil- a 0A6 9s dt r A 4
?yt u l u l tu t u t9t 5 il fl 1 : v,I 0 1 : aI 1 0 uq{lJ 9t tl4 u Ll t1l u d?u fi u.1 1J 0{n 1 : fl nu "l
9t 1 u 14 a n dgl :
AA@A
il : flJuuflJ I 1 yl u I fl 1 dqr : tJ 14'l u clr ct1 gr

Aa/al
d'rfl 1?5'rQ Ufl'rdet:[[a v Q il dl: du ryrflfl]det :

/ir<
nilvRtttJflltflo:J 010'r:ulnj:RU'l

il:srrun::runr:
<===;,-* 6___
{{ri':uaran:r0r:rlo:.v'r{fdumf fno3ucr::ut (flriraaran:'r0'r:rta:.oEe:r ro?iyrftyqrrun:)

{fld'r uar an : r o r : ei q :. oB f, : r t0? iU fliU iU r tu fl : )

Tclo €rrrnrilLh\.. n::ilnr:


"""T"".'.'"'
(oror:d o:.ufi nr qr::ar:J:s fi vrdl

26 cllrl1fiN 2559
ooXa
o ar ?mfr I o { rJfi lTm ura-ur6a.: 1r ri
แด่
บิดามารดาและครู อาจารย์
ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้


กิตติกรรมประกาศ
วิทยานิพนธ์น้ ีสาํ เร็ จลงได้ดว้ ยความกรุ ณาจากผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.อริ ศรา เจริ ญปั ญญาเนตร อาจารย์
ที่ปรึ กษาวิทยานิพนธ์ ผูใ้ ห้ความรู ้ คําแนะนํา คําปรึ กษา ตรวจทาน และแก้ไขจนวิทยานิพนธ์เล่มนี้เสร็ จ
สมบูรณ์ ผูว้ จิ ยั ขอกราบขอบพระคุณเป็ นอย่างสู งไว้ ณ โอกาสนี้

ขอกราบขอบพระคุณผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร. พงษ์อินทร์ รักอริ ยะธรรม ประธานกรรมการสอบ และ


อาจารย์ ดร.ชนิ ดา สุ วรรณประสิ ทธิ์ กรรมการสอบ ที่ได้กรุ ณาเสี ยสละเวลา รวมถึงเสนอแง่คิดและให้
ข้อเสนอแนะที่เป็ นประโยชน์ ทําให้วทิ ยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ยงิ่ ขึ้น

ขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์ประจําภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุก


ท่าน ที่ได้ประสิ ทธิ์ ประสาทวิชาความรู ้ ให้คาํ แนะนําและคอยให้กาํ ลังใจแก่ผูเ้ ขียนตลอดระยะเวลา
การศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขอกราบขอบพระคุ ณอาจารย์จกั รพงษ์ ไชยวงศ์ ที่กรุ ณาให้ความรู ้ และแนะนําแหล่งข้อมูลในการทํา


วิจยั ขอขอบคุณกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง จังหวัดเชียงราย เกษตรอําเภอ อําเภอดอยหลวง ผูน้ าํ
ชุ มชน ตลอดจนเกษตรกรผูท้ าํ สวนยางพาราในพื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง ที่กรุ ณาให้ความรู ้ ให้ความ
อนุเคราะห์ขอ้ มูลพื้นที่ปลูกยางพารา ให้ความร่ วมมือ และอํานวยความสะดวกในการสํารวจภาคสนาม
เป็ นอย่างดี

ขอกราบขอบคุณบัณฑิตวิทยาลัยที่สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อจัดทําวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้

ขอกราบขอบพระคุ ณสมาชิ กในครอบครัวที่ให้การสนับสนุ นด้านการศึกษา ให้ความรักและกําลังใจ


ให้ความช่วยเหลื อในทุกเรื่ องแก่ผูเ้ ขียนเป็ นอย่างดี เสมอมา ขอขอบคุณพี่ๆ น้องๆ และเพื่อนๆ สาขา
ภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ขอบคุ ณบุคลากรทุกท่านในภาควิชาภูมิศาสตร์ และทุกท่านที่
มิได้เอ่ยนาม ที่คอยให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลและกระบวนการจัดทําวิทยานิพนธ์ รวมถึงให้กาํ ลังใจ
จนวิทยานิพนธ์สาํ เร็ จลุล่วงไปด้วยดี

สุ ดท้ายนี้ ผูว้ ิจยั หวังเป็ นอย่างยิ่งว่า วิทยานิ พนธ์เล่มนี้ จะเป็ นประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่ผูส้ นใจและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยางพารา หากมีขอ้ ผิดพลาดประการใด ผูเ้ ขียนขออภัยมา ณ ที่น้ ี

ชณัฐฎา แสงงาม


หัวข้ อวิทยานิพนธ์ การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจาก
ภาพถ่ายดาวเทียม

ผู้เขียน นางสาวชณัฐฎา แสงงาม

ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์ )

อาจารย์ ทปี่ รึกษา ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.อริ ศรา เจริ ญปั ญญาเนตร

บทคัดย่ อ
การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม มีวตั ถุ ประสงค์เพื่อ
1) เพื่อศึกษาการเปลี่ ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย 2) เพื่อประเมิ น
การกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ ายดาวเที ย มด้วย CASA-biosphere model
และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินกับปั จจัยทางกายภาพในพื้นที่
อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย และ 3) เพื่อพัฒนาโมเดลที่ เหมาะสมในการประเมิ นการกัก เก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราด้วยภาพดาวเที ยม วิธีการศึ กษาเริ่ มจากการศึ กษาเปลี่ ยนแปลง
การใช้ที่ดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงรายใน 2 ช่วงเวลา คือ ก่อนที่มีการส่ งเสริ มการปลูก
ยางพาราในปี 2548 และหลังจากการส่ ง เสริ มการปลู กยางพาราแล้วในปี 2558 ด้วยวิธีการจํา แนก
เชิ ง วัต ถุ (Object-Oriented Classification) โดยปี 2548 ใช้ ภ าพดาวเที ย ม Landsat-5 TM ซึ่ งทํา การ
จําแนกการใช้ที่ดินออกเป็ น 6 ประเภท คือ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตร ที่อยู่อาศัย แหล่งนํ้า พื้นที่อื่นๆ
และพื้นที่ปลูกยางพารา ส่ วนปี 2558 ใช้ภาพดาวเทียม Landsat-8 OLI จําแนกออกเป็ น 4 ประเภท คือ
พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ปลู กยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี , 14-20 ปี และมากกว่า 20 ปี จากนั้นทําการประเมิ น
การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราปี 2558 จากภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-8 OLI
ด้วย CASA-biosphere model เพื่อวิเคราะห์หาปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพารา
จากภาพถ่ า ยดาวเที ย ม โดยอาศัย ฐานข้อ มู ล พื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราตามช่ ว งชั้น อายุ ที่ ท าํ การจํา แนก
ในวัตถุ ป ระสงค์ข ้อ ที่ 1 จากนั้นนํา ผลการประเมิ นมาหาความสั ม พันธ์ และปรั บ เที ย บกับ ปริ ม าณ
การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากข้อมู ลภาคสนาม ซึ่ งหลังจากได้ทาํ การประเมิ น
การกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-Biosphere Model แล้ว
ได้ท าํ การการพัฒนาโมเดลที่ เหมาะสมสํา หรั บ การประเมิ นการกักเก็บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ นของ


ยางพาราจากภาพดาวเที ย ม โดยนํา ปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้น ดิ นของยางพาราที่ ผ่า น
การปรับเทียบแล้วมาหาความสัมพันธ์กบั ค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียมแต่ละแบนด์

ผลการศึ ก ษาการเปลี่ ย นแปลงการใช้ ที่ ดิ น พบว่า พื้ น ที่ อ าํ เภอดอยหลวง จัง หวัด เชี ย งราย มี ก าร
เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากพื้นที่เกษตรมาเป็ นพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุด รองลงมาเป็ นพื้นที่ป่าไม้
และพื้ น ที่ อื่ น ๆ คิ ด เป็ นร้ อ ยละ 89.16, 5.81 และ 4.95 ของพื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราทั้ง หมด ตามลํา ดับ
ส่ ว นปริ มาณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราในพื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวง
จังหวัดเชียงรายมีค่าเท่ากับ 0.3261 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดือน โดยยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี
มี ป ริ มาณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น มากที่ สุ ด รองลงมาเป็ นยางพาราช่ ว งอายุ 7-13 ปี
และยางพาราช่ วงอายุม ากกว่า 20 ปี ขึ้ นไป โดยมี ป ริ ม าณการกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ นเท่ า กับ
0.3524, 0.3312 และ 0.3219 กรั ม คาร์ บ อนต่ อ ตารางเมตรต่ อ เดื อ น ตามลํา ดับ และค่ า การกัก เก็ บ
คาร์ บ อนของยางพาราหลัง การปรั บ เทีย บพบว่า มี ปริ ม าณการกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ นเท่ากับ
126.6699, 132.5753 และ 124.0813 เมกะกรั มต่อเฮกแตร์ ตามลําดับ ซึ่ งปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอน
เหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไปมีค่าความสัมพันธ์กบั
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากข้อมูลภาคสนามมากที่ สุด รองลงมาคื อ
ยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี และยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.9772, 0.7109
และ 0.6632 ตามลําดับ ส่ วนในการศึ กษาความสัมพันธ์ ระหว่า งปริ ม าณการกักเก็บคาร์ บ อนเหนื อ
พื้นดินของยางพารากับปั จจัยทางกายภาพ พบว่า พื้นที่ที่มีความสู ง 401-500 เมตรจากระดับทะเลปาน
กลาง ชุดดินหนองมด และพื้นที่ที่มีความลาดชันร้อยละ 6-8 มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิน
ของยางพารามากที่สุด และจากการพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือ
พื้นดิ นของยางพาราด้วยภาพดาวเที ยมในพื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง จัง หวัดเชี ย งราย พบว่า แบนด์ 4
(ช่วงคลื่นตามองเห็ นสี แดง) ของจุดทดสอบที่มีระยะห่ าง 1,000 เมตร เป็ นช่วงคลื่นที่มีความสัมพันธ์
มาก ที่ สุ ด คื อ 0.7713 แล ะ ส ามารถ เขี ย นใ นรู ปแบบส มก ารความสั ม พั น ธ์ เชิ งเส้ น คื อ
Y = 170.828 - 792.368 (b4) ซึ่ งเมื่อนํามาคํานวณกลับไปยัง ภาพ พบว่าปริ มาณการกักเก็บคาร์ บ อน
เหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมมีค่าใกล้เคียงกับผลที่ได้จาก CASA-biosphere model


Thesis Title Assessing Above-ground Carbon Sequestration of Para Rubber from
Satellite Imageries

Author Ms. Chanatda Sangngam

Degree Master of Science (Geography and Geoinformatics)

Advisor Assistant Professor Dr. Arisara Charoenpanyanet

ABSTRACT
Assessing above-ground carbon sequestration of para rubber from satellite imageries has three
objectives: 1) to study land use change in Doi Lhuang district, Chiang Rai province, 2) to assess
above-ground carbon sequestration of para rubber from satellite imageries with CASA-biosphere
model and study relationship between above-ground carbon sequestration and physical factors in
Doi Lhuang district, Chiang Rai province, and 3) to develop suitable model for assessment of
above-ground carbon sequestration of para rubber from satellite imageries. Land use change in the
2005 and 2015 were classified by using object based classification based on Landsat 5-TM. This is
because these period of times are before and after government supporting. In 2005, six classes of land
use were classified. They are forest areas, agricultural areas, water bodies, miscellaneous areas,
and para rubber areas. For 2015, there are four classed that are forest, para rubber areas as three age
ranges: 7-13 years, 14-20 years and more than 20 years. CASA-biosphere model was selected to
estimate above-ground carbon sequestration of para rubber based on Landsat 8-OLI satellite
imageries. This is based on three age range of para rubber from the previous step. Results of
above-ground carbon sequestration of para rubber were used to find relationship and calibrate with
above-ground carbon sequestration of para rubber from field survey. After assessment and calibration
the above-ground carbon sequestration of para rubber, suitable3 model was developed. The procedure
is find the band that has the highest correlation between reflectance value and above-ground carbon
sequestration of para rubber from satellite imageries.


The results found that the most land use change in Doi Lhuang district is agricultural areas
(89.16 percent of para rubber areas), forest areas (5.81 percent of para rubber areas), and
miscellaneous areas (4.95 percent of para rubber areas), respectively. The value of above-ground
carbon sequestration of para rubber in Doi Lhuang district is 0.3261 gC/m2/month. Para rubber within
the range of 14-20 years (0.3524 gC/m2/month) has the highest value of above-ground carbon
sequestration of para rubber followed by 7-13 years (0.3312 gC/m2/month) and more than 20 years
(0.3219 gC/m2/month), respectively. And the value of above-ground carbon sequestration of para
rubber after calibration are 126.6699, 132.5753 and 124.0813 Mg./ha., respectively. The highest
correlation between above-ground carbon sequestration of para rubber from satellite imageries and
filed survey is para rubber within more than 20 years followed by within the range of 7-13 years, and
within the range of 7-14 years with R2 equal 0.9772, 0.7109 and 0.6632, respectively. For the
relationship between above-ground carbon sequestration of para rubber and physical factors found
that elevation within 401-500 meter sea level interval, Nong Mod soil series and slope within
6-8 percent have the most above-ground carbon sequestration of para rubber. And the development
of suitable model for assessment of above-ground carbon sequestration of para rubber from satellite
imageries in Doi Lhuang district found that band 4 (red wavelength) with sample point of 1,000 meters
interval is the highest correlation (R2=0.7713) to develop the suitable model. The linear regression for
the model is Y = 170.828 - 792.368 (b4). Comparison between above-ground carbon sequestration of
para rubber estimated from this equation and CASA-biosphere model found that they have had a
similar values.


สารบัญ

หน้า

กิตติกรรมประกาศ ง

บทคัดย่อภาษาไทย จ

ABSTRACT ช

สารบัญตาราง ฏ

สารบัญภาพ ฒ

บทที่ 1 บทนํา 1

1.1 ที่มาและความสําคัญของปั ญหา 1


1.2 วัตถุประสงค์ 4
1.3 นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการศึกษา 4
1.4 ขอบเขตการวิจยั 5
1.5 ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง 9
1.6 ทบทวนวรรณกรรม 21
1.7 กรอบแนวคิดในการศึกษา 32
1.8 ระเบียบวิธีวจิ ยั 35

บทที่ 2 บริ บทพื้นที่ศึกษา 40

2.1 ที่ต้ งั และอาณาเขต 40


2.2 ขอบเขตการปกครอง 40
2.3 ลักษณะทางกายภาพ 41


สารบัญ (ต่ อ)

หน้า

2.4 ทรัพยากรธรรมชาติ 54
2.5 ประชากร 58
2.6 สภาพเศรษฐกิจ 58
2.7 สรุ ปผล 59

บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย 60

3.1 การจําแนกประเภทการใช้ที่ดินในพื้นที่ อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย 60


3.2 การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
3.3 สรุ ปผลการศึกษา 77
88
บทที่ 4 การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม 89
ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

4.1 การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา 89


4.2 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา 124
กับปั จจัยทางกายภาพในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย
4.3 สรุ ปผลการศึกษา 130

บทที่ 5 การพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของ 132


ยางพาราด้วยภาพดาวเทียม

5.1 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา 132


กับค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียม
5.2 การสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะของสมการถดถอยเชิงเส้น 140
5.3 สรุ ปผลการศึกษา 147


สารบัญ (ต่ อ)
หน้า

บทที่ 6 สรุ ปและอภิปรายผลการศึกษา 149

6.1 สรุ ปผลการศึกษา 149


6.2 อภิปรายผลการศึกษา 155
6.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา 162
6.4 ปั ญหาและอุปสรรค 163
6.5 ข้อเสนอแนะ 163

บรรณานุกรม 165
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก ความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราจากข้อมูลภาคสนาม 169
ในแต่ละช่วงอายุ
ภาคผนวก ข ภาพการสํารวจภาคสนาม 187
ประวัติผเู ้ ขียน 196


สารบัญตาราง

หน้า

ตารางที่ 2.1 จํานวนประชากรรายตําบลของอําเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย 58

ตารางที่ 3.1 จุดพื้นที่ปลูกยางพาราในแต่ละช่วงอายุจากการสํารวจภาคสนาม 65


ตารางที่ 3.2 จุดตรวจสอบความถูกต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินปี 2548 จาก 73
การสํารวจภาคสนาม
ตารางที่ 3.3 จุดตรวจสอบความถูกต้องของยางพาราในแต่ละช่วงอายุปี 2558 74
จากการสํารวจภาคสนาม
ตารางที่ 3.4 ประเภทการใช้ที่ดินของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวงจังหวัดเชียงราย ปี 2548 78
ตารางที่ 3.5 พื้นที่ปลูกยางพาราตามช่วงอายุในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย 79
ปี 2558
ตารางที่ 3.6 พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ปี 2558 80
รายตําบล
ตารางที่ 3.7 การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย 85

ตารางที่ 4.1 ค่า Band-specific multiplicative และ Band-specific additive ของภาพ 92


Landsat-8 OLI
ตารางที่ 4.2 ระดับความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย 97
ตารางที่ 4.3 ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม 100
ตามช่วงอายุ
ตารางที่ 4.4 ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม 100
ของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายแยกตามรายตําบล
ตารางที่ 4.5 เส้นรอบวงเฉลี่ย เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย และความสู งเฉลี่ยของยางพารา 110
ช่วงอายุ 7-13 ปี
ตารางที่ 4.6 เส้นรอบวงเฉลี่ย เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย และความสู งเฉลี่ยของยางพารา 110
ช่วงอายุ 14-20 ปี


สารบัญตาราง (ต่ อ)

หน้า

ตารางที่ 4.7 เส้นรอบวงเฉลี่ย เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย และความสู งเฉลี่ยของยางพารา 111


ช่วงอายุมากกว่า 20 ปี
ตารางที่ 4.8 ค่ามวลชีวภาพเฉลี่ยเหนือพื้นดินของยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี 113
จากข้อมูลภาคสนาม
ตารางที่ 4.9 ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดินของยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี 114
จากข้อมูลภาคสนาม
ตารางที่ 4.10 ค่ามวลชีวภาพเฉลี่ยเหนือพื้นดินของยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี 115
จากข้อมูลภาคสนาม
ตารางที่ 4.11 ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดินของยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี 116
จากข้อมูลภาคสนาม
ตารางที่ 4.12 ค่ามวลชีวภาพเฉลี่ยเหนือพื้นดินของยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี 117
จากข้อมูลภาคสนาม
ตารางที่ 4.13 ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดินของยางพาราช่วงอายุ 117
มากกว่า 20 ปี จากข้อมูลภาคสนาม
ตารางที่ 4.14 เปรี ยบเทียบปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา 118
จากภาพถ่ายดาวเทียมและการสํารวจภาคสนามของยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี
ตารางที่ 4.15 เปรี ยบเทียบปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา 119
จากภาพถ่ายดาวเทียมและการสํารวจภาคสนามของยางพาราช่วงอายุ
14-20 ปี
ตารางที่ 4.16 เปรี ยบเทียบปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา 119
จากภาพถ่ายดาวเทียมและการสํารวจภาคสนามของยางพาราช่วงอายุ
มากกว่า 20 ปี
ตารางที่ 4.17 ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา 122
จากภาพถ่ายดาวเทียมหลังการปรับเทียบ


สารบัญตาราง (ต่ อ)

หน้า

ตารางที่ 4.18 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินกับ 127


ความสู งภูมิประเทศ
ตารางที่ 4.19 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินกับ 128
ชนิดของดิน
ตารางที่ 4.20 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินกับ 129
ความลาดชัน

ตารางที่ 5.1 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา 135


จากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่ผา่ นการปรับแก้กบั
ค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียมแต่ละแบนด์ในระยะห่างแต่ละช่วง
ตารางที่ 5.2 เปรี ยบเทียบปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนือพื้นดินของยางพารา 142
จาก CASA-biosphere model และโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่


สารบัญภาพ

หน้า

ภาพที่ 1.1 พื้นที่ศึกษา 8


ภาพที่ 1.2 ปริ ภูมิรูปแบบการจัดกลุ่มด้วยกฎฟัซซี 15
ภาพที่ 1.3 กรอบแนวคิดในการศึกษา 34

ภาพที่ 2.1 สัดส่ วนความสู งจากระดับทะเลปานกลางของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง (ร้อยละ) 42


ภาพที่ 2.2 ขอบเขตการปกครองของอําเภอดอยหลวง 44
ภาพที่ 2.3 ความสู งของภูมิประเทศของอําเภอดอยหลวง 45
ภาพที่ 2.4 สัดส่ วนของชุดดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง 49
ภาพที่ 2.5 สัดส่ วนพื้นที่ลาดชันของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง 50
ภาพที่ 2.6 สัดส่ วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง 51
ภาพที่ 2.7 ชุดดินของอําเภอดอยหลวง 52
ภาพที่ 2.8 ความลาดชันของอําเภอดอยหลวง 53
ภาพที่ 2.9 เส้นทางนํ้าของอําเภอดอยหลวง 55
ภาพที่ 2.10 พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง 56
ภาพที่ 2.11 ขอบเขตพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง 57
ภาพที่ 2.12 สัดส่ วนพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจของอําเภอดอยหลวง 59

ภาพที่ 3.1 การแบ่งส่ วนภาพของชั้นข้อมูลที่หนึ่ง ปี 2548 62


ภาพที่ 3.2 การแบ่งส่ วนภาพของชั้นข้อมูลที่หนึ่ง ปี 2558 63
ภาพที่ 3.3 การแบ่งส่ วนภาพของชั้นข้อมูลที่สอง ปี 2558 63
ภาพที่ 3.4 การแบ่งส่ วนภาพของชั้นข้อมูลที่สาม ปี 2558 63
ภาพที่ 3.5 การสร้างชั้นข้อมูลของภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 OLI ปี 2558 64
ภาพที่ 3.6 จุดยางพาราในแต่ละช่วงอายุจากการสํารวจภาคสนาม 66
ภาพที่ 3.7 จุดตรวจสอบความถูกต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินปี 2548 69
ภาพที่ 3.8 ผลการจําแนกชั้นข้อมูลที่หนึ่ง 70


สารบัญภาพ (ต่ อ)

หน้า

ภาพที่ 3.9 ผลการจําแนกชั้นข้อมูลที่สอง 70


ภาพที่ 3.10 ผลการจําแนกชั้นข้อมูลที่สาม 70
ภาพที่ 3.11 จุดตรวจสอบความถูกต้องของยางพาราในแต่ละช่วงอายุปี 2558 72
ภาพที่ 3.12 ประเภทการใช้ที่ดินของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ปี 2548 81
ภาพที่ 3.13 พื้นที่ป่าไม้ของอําเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ปี 2558 82
ภาพที่ 3.14 พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ปี 2558 83
ภาพที่ 3.15 พื้นที่ปลูกยางพาราแยกตามช่วงอายุในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง 84
จังหวัดเชียงราย ปี 2558
ภาพที่ 3.16 การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเดิมปี 2548 เป็ นพื้นที่ปลูกยางพารา 87
ในปี 2558

ภาพที่ 4.1 ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย 98


ภาพที่ 4.2 การกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง 102
จังหวัดเชียงราย
ภาพที่ 4.3 การกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของพื้นที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี 103
ภาพที่ 4.4 การกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของพื้นที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี 104
ภาพที่ 4.5 การกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของพื้นที่ปลูกยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี 105
ภาพที่ 4.6 การกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของพื้นที่ป่าไม้ในอําเภอดอยหลวง 106
จังหวัดเชียงราย
ภาพที่ 4.7 ความสัมพันธ์ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา 120
จากภาพถ่ายดาวเทียมและการสํารวจภาคสนามของยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี
ภาพที่ 4.8 ความสัมพันธ์ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา 120
จากภาพถ่ายดาวเทียมและการสํารวจภาคสนามของยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี


สารบัญภาพ (ต่ อ)

หน้า

ภาพที่ 4.9 ความสัมพันธ์ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา 121


จากภาพถ่ายดาวเทียมและการสํารวจภาคสนามของยางพาราช่วงอายุ
มากกว่า 20 ปี
ภาพที่ 4.10 การกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราหลังการปรับเทียบ 123
ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

ภาพที่ 5.1 จุดตัวอย่างที่มีระยะห่าง 1,000 เมตร 136


ภาพที่ 5.2 จุดตัวอย่างที่มีระยะห่าง 1,500 เมตร 137
ภาพที่ 5.3 จุดตัวอย่างที่มีระยะห่าง 2,000 เมตร 138
ภาพที่ 5.4 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา 139
จากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่ผา่ นการปรับแก้
กับค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียมแบนด์ 4 ของจุดที่มีระยะห่าง 2,000 เมตร
ภาพที่ 5.5 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา 139
จากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่ผา่ นการปรับแก้
กับค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียมแบนด์ 2 ของจุดที่มีระยะห่าง 2,000 เมตร
ภาพที่ 5.6 ผลการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากโมเดล 143
ที่พฒั นาขึ้นมาใหม่
ภาพที่ 5.7 ผลการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินจากโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่ 144
ของยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี
ภาพที่ 5.8 ผลการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินจากโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่ 145
ของยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี
ภาพที่ 5.9 ผลการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินจากโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่ 146
ของยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี


สารบัญภาพ (ต่ อ)

หน้า

ภาพที่ 5.10 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา 147


จากภาพถ่ า ยดาวเที ย มด้ ว ย CASA-biosphere model ที่ ผ่ า นการปรั บ แก้
กับปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม
ด้วยโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่


บทที่ 1

บทนํา

1.1 ทีม่ าและความสํ าคัญของปัญหา

การเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ (Climate Change) นั บ ว่ า เป็ นปั ญ หาสํ า คัญ ที่ ส่ ง ผลกระทบ
ต่อประชากรโลก เนื่ องจากการเพิ่มขึ้นของปริ มาณก๊าซเรื อนกระจก ซึ่ งมีก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์
เป็ นสาเหตุหลักที่ทาํ ให้เกิ ดปั ญหาภาวะโลกร้ อน อันเป็ นสาเหตุที่ทาํ ให้ส่วนประกอบของบรรยากาศ
โลกเปลี่ ย นแปลงไป ส่ ง ผลกระทบต่ อ การพัฒ นาสั ง คม เศรษฐกิ จ การเมื อ ง และวัฒ นธรรม
ปั ญ หาภาวะโลกร้ อ นและการปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกจึ ง เป็ นปั ญ หาเร่ ง ด่ ว นที่ จ ะต้อ งแก้ไ ขและ
ดําเนิ นการอย่างจริ งจัง จากสถิติปี 2550 ของคณะกรรมการว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (IPCC)
ของสหประชาชาติ พบว่ า โลกมี อุ ณ หภู มิ ที่ สู ง ขึ้ นอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ตั้ง แต่ ช่ ว งปี 2453 เป็ นต้น มา
โดยอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากเดิมถึ ง 0.74 องศาเซลเซี ยส ซึ่ งมากกว่า
ที่ ป ระเมิ น ไว้ คื อ 0.6 องศาเซลเซี ย ส เมื่ อ ปี 2544 และแนวโน้ม การเพิ่ ม ขึ้ น ของอุ ณ หภู มิ โ ลกใน
ช่วง 50 ปี ที่ผา่ นมาสู งกว่าในช่วง 100 ปี ก่อนเกือบ 2 เท่า หากไม่มีมาตรการมาช่วยลดอัตราการปล่อย
ก๊าซเรื อนกระจก เป็ นไปได้ว่าโลกจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสู งขึ้นถึง 1.4-5.8 องศาเซลเซี ยส ภายในปี 2643
(รัตนา ลักขณาวรกุล, 2555)

จากสถานการณ์ แ ละผลกระทบจากการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศที่ ป ระชากรโลกเผชิ ญ อยู่


ในปั จ จุ บ ัน เป็ นแรงผลัก ดัน สํ า คัญ ที่ ท าํ ให้ น านาประเทศหัน มาให้ ค วามสํ า คัญ และตระหนัก ถึ ง
ผลกระทบที่ เกิ ดขึ้ นจากปั ญหาดังกล่ าว หาแนวทางร่ วมกันในการป้ องกันและแก้ไขเพื่อเสริ มสร้ าง
ศักยภาพในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก
อี ก ด้ว ย ก่ อ ให้ เ กิ ด การจัด ทํา ข้อ ตกลงระหว่า งประเทศภายใต้อ นุ สั ญ ญาสหประชาชาติ ว่ า ด้ ว ย
การเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ (UNFCCC) และพิ ธี ส ารเกี ย วโต (Kyoto Protocol) เพื่ อ สร้ า ง
ความร่ วมมือในการดําเนินการลดปริ มาณก๊าซเรื อนกระจกและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) ซึ่ งเป็ นกลไกภายใต้พิธีสารเกียวโตที่กาํ หนด

1
ขึ้นมาเพื่อเปิ ดโอกาสให้มีการดําเนิ นการร่ วมกันระหว่างประเทศที่พฒั นาแล้วกับประเทศกําลังพัฒนา
ร่ วมลงนามในข้อตกลงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อตอบสนองต่อปั ญหาการเปลี่ ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศดังกล่าว ก่อให้เกิดโครงการ REDD+ ขึ้นมา ซึ่ งเป็ นโครงการหนึ่ งในการแก้ไขปั ญหา
ภาวะโลกร้อนภายใต้ อนุสัญญาสหประชาชาติวา่ ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โครงการ REDD+ ย่อมาจาก Reducing Emissions from Deforestation and Degradation, and the Role
of Conservation, Sustainable Management of forest and Enhancement of Forest Carbon in Developing
Countries เป็ นโครงการที่มีนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกจากการหยุดยั้งการทําลายป่ า
ฟื้ นฟู ป่าเสื่ อมโทรม ครอบคลุ มไปถึ งการดําเนิ นการเกี่ ยวข้องกับการอนุ รักษ์ป่ า การจัดการป่ าไม้
อย่า งยัง่ ยื น ตลอดจนการเพิ่ ม พู น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนในพื้ น ที่ ป่ าในประเทศกํา ลัง พัฒ นาอี ก ด้วย
โดยผูด้ ู แลรักษาป่ าและเพิ่มพื้นที่ป่าควรได้รับผลตอบแทน ซึ่ งโครงการ REDD+ มีพฒั นาการมาจาก
โครงการ RED เป็ นแนวคิดในการลดการทําลายป่ าในประเทศกําลังพัฒนา ต่อมาได้มีการเสนอขยาย
แนวคิ ดจาก RED เป็ น REDD ซึ่ งเป็ นนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกจากการทําลายป่ า
และความเสื่ อมโทรมของป่ าในประเทศกํา ลั ง พัฒ นา และได้ มี ก ารพัฒ นาจนกลายมาเป็ น
โครงการ REDD+ ในปั จจุบนั อีกทั้งยังมีการหารื อเพื่อที่จะพัฒนาจากโครงการ REDD+ กลายไปเป็ น
โครงการ REDD++ โดยเพิ่มเอาเป้ าหมายในการทําให้เกิดความสมดุ ลทางธรรมชาติเข้ามาพิจารณา
ด้วย แนวคิดเหล่านี้ เป็ นแนวคิดที่นานาประเทศให้ความสําคัญและมีความพยายามในการหาหนทาง
เพื่อบรรเทาและลดปั ญหาภาวะโลกร้ อนที่ เกิ ดจากก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ที่เป็ นก๊าซเรื อนกระจก
หลักที่มีในบรรยากาศ เป็ นก๊าซที่กกั เก็บพลังงานความร้ อนจากดวงอาทิตย์และทําให้โลกมีอุณหภูมิ
สู งขึ้น ซึ่ งป่ าไม้ถือว่ามีบทบาทสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากสามารถลดปริ มาณ
ก๊าซเรื อนกระจกในบรรยากาศ โดยการดูดซับก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศมากักเก็บไว้ใน
ส่ วนต่างๆ ของต้นไม้โดยแต่ละปี ต้นไม้จะมีการสะสมคาร์ บอนเพิ่มขึ้นเรื่ อยๆ จนกว่าจะสมบูรณ์ เต็มที่
การปลูกป่ าจึงเป็ นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกบนพื้นฐานของความสมัครใจ
ภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ซึ่ งส่ งเสริ มการปลูกป่ าในพื้นที่ที่เคยเป็ นป่ าและไม่เคยเป็ น
ป่ ามาก่อน (บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และคณะ, 2554)

อย่า งไรก็ ต ามการลดปริ ม าณก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ด้ว ยการปลู ก ต้น ไม้ อาจเป็ นวิ ธี ที่ ต้อ งใช้
ระยะเวลานาน จึ ง ได้ มี ก ารสนั บ สนุ น การเพิ่ ม พื้ น ที่ สี เ ขี ย วโดยการปลู ก พื ช เศรษฐกิ จ โตเร็ ว
เช่ น ยางพาราและยูคาลิ ปตัส ซึ่ งเป็ นพรรณไม้ที่เพาะและขยายพันธุ์ได้ง่าย อัตราการรอดสู ง มี การ
เจริ ญเติบโตอย่างรวดเร็ ว และยังเป็ นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กบั เกษตรกรได้เป็ นอย่างดี

2
การเลือกพรรณไม้ปลู กนับเป็ นปั จจัยสําคัญอย่างยิ่ง เนื่ องจากพรรณไม้แต่ละชนิ ดมีศกั ยภาพในการ
ดูดซับก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่ งในอดีตประเทศไทยถือว่าเป็ นประเทศที่มี
ทรั พยากรป่ าไม้อุดมสมบู รณ์ ประเทศหนึ่ ง แต่ในปี 2555 พบว่าพื้นที่ ป่าประเทศไทยเหลื ออยู่เพี ย ง
171,586 ตารางกิ โลเมตร หรื อประมาณร้ อยละ 33 ของพื้นที่ เมื่อเทียบกับเนื้ อที่ป่าเมื่อ 50 ปี ที่ผ่านมา
คือในปี 2505 มี เนื้ อป่ าลดลงไปถึ งร้ อยละ 50 ของที่เคยมี (มู ลนิ ธิสืบนาคะเสถี ยร, 2555) ซึ่ งสาเหตุ
การลดลงของป่ าไม้ส่ วนใหญ่ ข องประเทศไทยส่ วนใหญ่มาจากการบุ ก รุ กพื้นที่ ป่าเพื่ อการเกษตร
จะเห็ นได้ว่าพื้นที่ ป่าส่ วนใหญ่โดยเฉพาะพื้นที่ ทางภาคเหนื อได้ถูกบุ กรุ กแผ้วถางเพื่ อใช้เป็ นพื้ นที่
ทํากิ น สื บเนื่ องมาจากการภาครั ฐได้เล็ง เห็ นความสําคัญของการปลู กพืช เศรษฐกิ จโตเร็ วประเภท
ยางพารา จึงได้มีนโยบายในการสนับสนุนการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราเข้ามาในพื้นที่ภาคเหนืออีกด้วย

ยางพารานับว่าเป็ นพืชเศรษฐกิจชนิ ดหนึ่ งที่ได้รับความสนใจเป็ นอย่างมากในปั จจุบนั เนื่องจากราคา


รับซื้ อยางพาราที่สูงขึ้น ผลตอบแทนการลงทุนที่น่าสนใจ อีกทั้งการปลู กยางพาราเป็ นหนึ่ งทางออก
ที่สามารถช่ วยลดปั ญหาภาวะโลกร้ อนได้เป็ นอย่างดี นอกจากจะเป็ นพืชเศรษฐกิ จที่สร้างรายได้ให้
เกษตรกรแล้ว ยังเป็ นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่สนับสนุ นการเพิ่มพื้นที่ ป่าสี เขี ยวอี กด้วย และที่ สําคัญ
ยางพารายังเป็ นแหล่งดูดซับหรื อเก็บกักก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์แหล่งใหญ่ของโลกได้ใกล้เคียงกับ
ป่ าเขตร้อน (พงษ์ศกั ดิ์ เกิดวงศ์บณ
ั ฑิต, 2554) จากการศึกษาของสมาคมประเทศผูผ้ ลิ ตยาง (ANRPC)
แล ะ ส ภาวิ จ ั ย แล ะ พั ฒ นาย า ง ระ ห ว่ า ง ป ระ เ ทศ (IRRDB) พบว่ า ก ารปลู ก ย างส าม า ร ถ
ดูดซับก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ได้ปีละไม่นอ้ ยกว่า 5.32 ตันคาร์ บอนต่อไร่ โดยสวนยางที่มีอายุ 25 ปี
จะสามารถเก็บก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ได้ถึง 43 ตันคาร์ บอนต่อไร่ ส่ วนป่ าสมบูรณ์ดูดซับคาร์ บอน
ได้ 48.96 ตั น คาร์ บ อนต่ อ ไร่ ป่ าใช้ ส อย 14.88 ตั น คาร์ บ อนต่ อ ไร่ สวนยางระบบวนเกษตร
14.24 ตั น คาร์ บอนต่ อ ไร่ สวนยางระบบวนเกษตร 7.36 ตั น คาร์ บอนต่ อ ไร่ ปาล์ ม นํ้ ามั น
8.64 ตัน คาร์ บ อนต่ อ ไร่ สวนป่ าไม้เ ยื่ อ กระดาษ 5.92 ตัน คาร์ บ อนต่ อ ไร่ และพื ช ไร่ ห รื อ ทุ่ ง หญ้า
0.32 ตันคาร์ บอนต่อไร่ ตามลําดับ (Hairiah et al., 2001)

ผูว้ ิจยั จึงสนใจที่จะศึกษาข้อเท็จจริ งดังกล่าวที่ว่า ยางพาราเป็ นพืชที่ช่วยกักเก็บคาร์ บอนได้ใกล้เคียง


ป่ าธรรมชาติ จ ริ ง หรื อ ไม่ โดยทํา การประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนของยางพาราด้ว ยโมเดลของ
โปรแกรมทางด้า นการรั บ รู ้ ร ะยะไกล (Remote Sensing) ศึ ก ษาถึ ง ความสั ม พัน ธ์ ร ะหว่า งปริ ม าณ
การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพารากับปั จจัยทางกายภาพ และพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมใน
การประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย มของพื้ น ที่
อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย ซึ่ งเทคโนโลยีการรับรู ้ จากระยะไกลเป็ นวิธีการหนึ่ งที่สามารถลด
ขั้นตอนในการสํารวจ จากเดิมที่เคยประเมินการกักเก็บคาร์ บอนของยางพาราจากการสํารวจภาคสนาม

3
ซึ่ งบางพื้นที่เป็ นพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง อีกทั้งยังสิ้ นเปลืองงบประมาณ เวลา และบุคลากร หากโมเดล
ที่ใช้ในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากโปรแกรมทางด้านการรับรู ้ จาก
ระยะไกลครั้งนี้มีความถู กต้องและสัมพันธ์กบั ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา
จากการสํารวจภาคสนาม และได้ผลลัพธ์ของปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพารา
ที่ใกล้เคียงกับป่ าธรรมชาติ ก็จะถื อว่ายางพาราเป็ นพืชเศรษฐกิจที่มีศกั ยภาพในการช่ วยเพิ่มปริ มาณ
คาร์ บอนได้เป็ นอย่างดี อี กทั้งโมเดลของโปรแกรมทางด้า นการรั บ รู ้ จากระยะไกลดังกล่า วจะเป็ น
เครื่ องมื อที่ มีบทบาทสําคัญที่ช่ วยให้หน่ วยงานทั้ง ภาครั ฐและเอกชนต่า งๆ ที่ เกี่ ยวข้องสามารถนํา
ผลการประเมินที่ได้ไปใช้เป็ นแนวทางในการวิเคราะห์ วางแผน และแก้ไขปั ญหาต่างๆ ได้เป็ นอย่างดี

1.2 วัตถุประสงค์

1.2.1 เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ท่ีดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

1.2.2 เพื่อประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้ นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเที ย มด้วย


CASA-biosphere model และศึ กษาความสัมพันธ์ ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บ อน
เหนือพื้นดินกับปั จจัยทางกายภาพในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

1.2.3 เพื่อพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของ


ยางพาราด้วยภาพดาวเทียม

1.3 นิยามศัพท์ เฉพาะทีใ่ ช้ ในการศึกษา

การกักเก็บคาร์ บอนของยางพารา หมายถึง การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราที่ได้จากการ


ประเมิ น หาปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนจากภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-8 OLI ในบริ เ วณพื้ น ที่
อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงรายด้วย CASA-biosphere model โดยอาศัยโปรแกรมทางด้านการรับรู ้
จากระยะไกลเป็ นเครื่ องมือในการวิเคราะห์

ปั จ จัย ทางกายภาพ หมายถึ ง ความสู ง ของภู มิ ป ระเทศ ชนิ ด ของดิ น และความลาดชัน ของพื้ นที่
อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

4
1.4 ขอบเขตการวิจัย

1.4.1 ขอบเขตด้านพื้นที่

จังหวัดเชียงรายเป็ นพื้นที่ที่มีเนื้อที่การปลูกยางพารามากที่สุดในภาคเหนือ ประกอบกับมี


นโยบายผลักดันให้จงั หวัดเชี ยงรายเป็ นศูนย์กลางยางพาราภาคของเหนื อ เนื่องจากเป็ น
จุดส่ งออกสิ นค้ายางพาราไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่สาํ คัญ

ในการศึ ก ษาครั้ งนี้ ผู ้วิ จ ัย เลื อ กพื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวงเป็ นพื้ น ที่ ศึ ก ษา เนื่ อ งจาก
อํ า เภอดอยหลวงเป็ นพื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราหนาแน่ น มากเป็ นอั น ดั บ หนึ่ งของ
จังหวัดเชี ยงราย ซึ่ งอําเภอดอยหลวงมีพ้ืนที่ประมาณ 318 ตารางกิโลเมตร หรื อ 198,765
ไร่ มีตาํ แหน่งพิกดั ทางภูมิศาสตร์ อยู่ระหว่างละติ จูด 20 องศา 3 ลิปดา 0 ฟิ ลิปดาเหนื อ
ถึงละติจูด 20 องศา 14 ลิปดา 0 ฟิ ลิปดาเหนื อ และลองจิจูด 100 องศา 0 ลิปดา 0 ฟิ ลิปดา
ตะวัน ออก ถึ ง ลองจิ จู ด 100 องศา 19 ลิ ป ดา 0 ฟิ ลิ ป ดาตะวัน ออก (ภาพที่ 1.1) โดยมี
อาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอําเภอเชียงแสน
ทิศใต้ ติดต่อกับอําเภอเวียงเชียงรุ ้งและอําเภอพญาเม็งราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอําเภอแม่จนั
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอําเภอเชียงแสนและเชียงของ

1.4.2 ขอบเขตด้านเวลา

การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราด้วยภาพถ่ายดาวเทียมในพื้นที่


อําเภอดอยหลวงครั้งนี้ ทําการจําแนกประเภทการใช้ที่ดินของอําเภอดอยหลวงในช่ วง
ปี 2548 และปี 2558 เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายขยายพื้นที่ปลูกยางพาราเข้ามาในพื้นที่
ภาคเหนื อประมาณปี 2548 ผูศ้ ึ ก ษาสนใจที่ จะศึ ก ษาการเปลี่ ย นแปลงการใช้ท่ี ดิ น ใน
ระยะเวลา 10 ปี ย้อนหลังว่า ก่ อนที่ จะมี การส่ งเสริ มการปลู กยางพาราในปี 2548 และ
หลังจากที่มีการส่ งเสริ มการปลูกยางพาราแล้วในปี 2558 มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการ
ใช้ที่ดินอย่างไร จากนั้นทําการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราใน
พื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวง จัง หวัด เชี ย งรายจากภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-8 OLI ด้ว ย
CASA-biosphere model ในปี 2558 เนื่ องจากต้องทํา การตรวจสอบความถู ก ต้อ งของ

5
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม โดยอาศัย
ข้อมูลการกักเก็บคาร์ บอนของยางพาราจากการสํารวจภาคสนามในช่วงเวลาเดียวกันกับ
การประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมและ
ทําการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา
กับปั จจัยทางกายภาพในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง แต่เนื่ องจากปั จจัยทางกายภาพเป็ นปั จจัย
ที่ ไ ม่ค่ อยมี ก ารเปลี่ ย นแปลงในเชิ ง เวลา จึ ง เลื อกทํา การศึ ก ษาความสั ม พันธ์ ร ะหว่า ง
ปริ มาณการกักเก็ บคาร์ บ อนเหนื อพื้นดิ นของยางพารากับปั จจัยทางกายภาพในพื้ นที่
อําเภอดอยหลวงในปี 2558

1.4.3 ขอบเขตด้านเนื้ อหา

ในส่ ว นของขอบเขตด้า นเนื้ อ หาของงานวิ จ ัย ชิ้ น นี้ แบ่ ง ออกเป็ น 3 ส่ ว นที่ สํ า คัญ
ดังต่อไปนี้

1) การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย


นั้ น ทํ า ก ารจํ า แนก ประ เภทก า รใ ช้ ที่ ดิ นด้ ว ย วิ ธี ก า รจํ า แนก เชิ ง วั ต ถุ
(Object-Oriented Classification) โดยใช้ โ ปรแกรม eCognition Developer 7.0
ในการจํา แนก เพื่ อ หาพื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราตามช่ ว งอายุ ข องอํา เภอดอยหลวง
และดู การเปลี่ ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินใน 2 ช่ วงเวลา คือ ก่อนที่จะมี การ
ส่ งเสริ มการปลู กยางพาราในปี 2548 และหลังจากการส่ งเสริ มการปลูกยางพารา
แล้วในปี 2558 เพื่อศึกษารู ปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินว่า จากเดิมก่อนที่จะ
เป็ นพื้นที่ปลู กยางพารา พื้นที่น้ นั เคยเป็ นการใช้ที่ดินประเภทใดมาก่อน โดยการ
จําแนกการใช้ที่ดินปี 2548 ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 TM ซึ่ งทําการจําแนก
ประเภทการใช้ที่ ดิ น ออกเป็ น 6 ประเภทด้ว ยกัน คื อ พื้ น ที่ ป่ าไม้ พื้ น ที่ เ กษตร
ที่อยูอ่ าศัย แหล่งนํ้า พื้นที่อื่นๆ และพื้นที่ปลูกยางพารา ส่ วนปี 2558 ทําการจําแนก
ประเภทการใช้ ที่ ดิ น ออกเป็ น 4 ประเภทด้ว ยกัน คื อ พื้ น ที่ ป่ าไม้ พื้ น ที่ ป ลู ก
ยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี , 14-20 ปี และมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป โดยอาศัยข้อมูลจาก
การสํารวจภาคสนามประกอบการวิเคราะห์

2) การประเมิ น การกั ก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราปี 2558 จาก


ภาพถ่ ายดาวเทียม Landsat-8 OLI ด้วย CASA-biosphere model เพื่อประเมิ นหา

6
ปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ น ดิ น ของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย ม
และนําผลการประเมิ นที่ได้มาตรวจสอบความถู กต้องและหาความสัมพันธ์กบั
ข้อ มู ล ปริ มาณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราที่ ไ ด้ จ ากการ
สํารวจภาคสนามในพิกดั ตําแหน่งเดี ยวกัน ซึ่ งในการสํารวจภาคสนามนั้นจะทํา
การวัด ความยาวเส้ น ผ่ า ศู น ย์ก ลางที่ ร ะดับ อกและความสู ง ของต้น ยางพารา
และนํา ข้อ มู ล ที่ ว ดั ได้เ ข้า สู่ ส มการแอลโลเมตรี (Allometric Equation) ซึ่ งเป็ น
สมการที่ ใ ช้ค าํ นวณหาค่า ชี วมวลของต้นไม้ จากนั้นทํา การปรั บ เที ย บระหว่าง
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเที ยมกับ
การสํา รวจภาคสนาม รวมถึ ง ศึ ก ษาความสั ม พันธ์ ระหว่า งปริ ม าณการกัก เก็ บ
คาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นกับปั จจัยทางกายภาพ ซึ่ งประกอบด้วย ความสู งของพื้นที่
ชนิ ด ของดิ น และความลาดชั น โดยอาศั ย ฐานข้ อ มู ล ความสู งของพื้ น ที่
ชนิ ดของดิ น และความลาดชัน บริ เวณพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง ร่ วมกับโปรแกรม
ทางด้า นระบบสารสนเทศภู มิ ศ าสตร์ ใ นการวิเ คราะห์ ว่า ปริ ม าณการกัก เก็ บ
คาร์ บอนของยางพารามีความสัมพันธ์กบั ปั จจัยทางด้านกายภาพหรื อไม่ อย่างไร

3) การพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมในการประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอนของยางพารา


จากโมเดลการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราด้ ว ย
CASA-biosphere model จากวัต ถุ ป ระสงค์ ข ้อ ที่ 2 เพื่ อ ให้ ไ ด้ม าซึ่ งโมเดลใหม่
ในการประเมิ น หาปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราที่ มี
เทคนิ ค วิ ธี ก ารหรื อ ขั้น ตอนที่ ส ามารถคํา นวณหาปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อน
เหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมได้อย่างรวดเร็ วและได้ผลลัพธ์ที่มี
ความถูกต้องใกล้เคียงกับ CASA-biosphere model โดยเลือกสมการความสัมพันธ์
จากแบนด์ท่ีมีค่าความสัมพันธ์มากที่สุด เพื่อให้ได้มาซึ่ งโมเดลที่มีประสิ ทธิ ภาพ

7
ภาพที่ 1.1 พื้นที่ศึกษา
ที่มา: ดัดแปลงจากศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) (ปี 2554)

8
1.5 ทฤษฎีและแนวคิดทีเ่ กีย่ วข้ อง

แนวคิดที่เกี่ยวข้องที่ใช้ประกอบการศึกษาวิจยั ในการประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของ


ยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมมี 6 แนวคิด ประกอบด้วย 1. แนวคิดเกี่ ยวกับการจําแนกเชิ งวัตถุภาพ
2. แนวคิ ดเกี่ ย วกั บ ก า รเ ปลี่ ย น แปล งส ภ าพภู มิ อาก า ศ 3. แนวคิ ดเกี่ ย วกั บ ก า รกั ก เ ก็ บ
ก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ 4. แนวคิดเกี่ยวกับปั จจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการเจริ ญเติบโตของยางพารา
5. แนวคิ ด เกี่ ย วกับ การประเมิ น มวลชี ว ภาพจากการสํ า รวจภาคสนาม และ 6. แนวคิ ด เกี่ ย วกับ
CASA-biosphere model ซึ่ งมีรายละเอียดดังนี้

1.5.1 แนวคิดเกี่ยวกับการจําแนกเชิงวัตถุภาพ

มนตรี จุ ฬาวัฒนทล (2550) อ้างใน (ศุภลักษณ์ หน้อยสุ ยะ, 2552) การจําแนกประเภท


ข้อ มู ล ภาพ (image classification) เป็ นการประมวลผลในทางสถิ ติ เ พื่ อ แยกกลุ่ ม ของ
จุดภาพตามลักษณะร่ วมทางสถิติที่มีลกั ษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่มร่ วมกัน (class) และมี
ความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม โดยหลักการจําแนกประเภทข้อมู ลด้วยวิธีการเชิ งวัตถุ
ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนด้วยกัน คือ การแบ่งส่ วนและการจําแนกประเภทข้อมูล โดยมี
รายละเอียดดังนี้

1) การแบ่งส่ วน

การแบ่งส่ วน (segmentation) เป็ นการแยกข้อมูลภาพในส่ วนที่ ตอ้ งการออกมา


โดยต้องเป็ นข้อมู ลที่ มีลกั ษณะเหมือนกับข้อมู ลตัวอย่าง วิธีการพื้นฐานสําหรับ
การแบ่ ง ส่ วนคื อ การพิ จ ารณาค่ า ความสว่ า งของภาพสํ า หรั บ ภาพที่ ดู
ช่ วงค่ า ระดับ สี เ ทาและค่ า ความแตกต่า งสํา หรั บ ภาพสี นอกจากนี้ ย งั พิ จ ารณา
ขอบเขตของวัต ถุ แ ละลัก ษณะความหยาบละเอี ย ดของภาพด้ว ย โดยทั่ว ไป
การแบ่งส่ วนมีวธิ ี การหลักๆ 3 วิธี ประกอบด้วย

1.1) Pixel - Based

เป็ นเทคนิ ค พิ จ ารณาความเข้ ม ของจุ ด ภาพภายในภาพ ซึ่ งผลของ


การแบ่งส่ วนจะขึ้นอยู่กบั วิธีการกําหนดขอบเขตของส่ วนประกอบที่เป็ น
ความเข้ม หรื อสี ข องจุ ด ภาพ และค่ า เส้ น ขอบเขตสามารถหาได้ จ าก

9
ฮิสโตแกรมของภาพ แต่ในหลายๆ กรณี ที่การเปลี่ยนแปลงของฮิสโตแกรม
ไม่สามารถบอกการเปลี่ยนแปลงขอบเขตระหว่างวัตถุได้อย่างชัดเจน

1.2) Region - Based

วิธีการนี้ ให้ความสําคัญกับลักษณะของวัตถุ ที่เป็ นพื้นที่ที่ตอ้ งการเกิ ดการ


เชื่ อมต่อจุดภาพที่มีลกั ษณะเหมือนกันและกําหนดเป็ นกลุ่มของข้อมูลภาพ
โดยจะให้ลกั ษณะภาพแทนด้วยกลุ่มของจุดภาพที่มีการเชื่อมต่อจุดกัน โดย
เริ่ มเชื่ อมต่อจุดต่อจุดไปเรื่ อยๆ จนกระทัง่ ได้ขอบเขตของวัตถุ ซึ่ งขอบเขต
ที่ ไ ด้จ ะมี ข ้อ มู ล ที่ มี ล ัก ษณะเหมื อ นกัน และขอบเขตจะขยายไปเรื่ อ ยๆ
จนไม่มีจุดภาพใดที่สามารถแบ่งได้แล้ว จากนั้นก็จะทําการสร้างกลุ่มของ
จุดภาพขึ้นมาใหม่ทาํ แบบนี้ไปเรื่ อยๆ จนทัว่ ทั้งภาพ วิธีการนี้มีขอ้ เสี ยตรงที่
เกิดการปะปนกันระหว่างสิ่ งที่เป็ นวัตถุที่ตอ้ งการและไม่ใช่วตั ถุ ที่ตอ้ งการ
ดังนั้นควรทําการกําหนดขอบเขตจากขอบไปยังจุ ดที่ เป็ นวัตถุ และไม่ใช่
วัตถุ แบ่งออกเป็ น 3 วิธีการ ดังนี้

1.2.1) Region Merging

มีการทํางานโดยการอ่านข้อมูลจุดภาพต่างๆ ภายในภาพจากจุดภาพ
แรกไปยัง จุ ด ภาพสุ ด ท้า ยของภาพไปตามแนวนอนและแนวตั้ง
ตามลําดับ ในช่วงระหว่างการอ่านข้อมูลจะมีการกําหนดจุดภาพนั้น
ไปยังกลุ่มภาพต่างๆ เช่น ถ้าแสดงการอ่านอยูท่ ี่จุดภาพ (k,1) ดังนั้น
จุ ดภาพแรกจนถึ งจุ ดภาพ (k-1,1) ได้ถูกกําหนดให้อยู่ในกลุ่มภาพ
ต่างๆ หมดแล้ว ดังนั้นจุดภาพที่ (k,1) จึงเปรี ยบเสมือนเป็ นอีกกลุ่ม
หนึ่ งที่ พ ยายามจะรวมเข้ า กั บ กลุ่ ม ภาพที่ มี อ ยู่ ก่ อ นหน้ า นั้ น
(กลุ่มภาพที่มีท้ งั หมด Ri โดยจะเลื อกเฉพาะกลุ่มภาพที่อยู่ขา้ งเคียง
เท่ า นั้น ได้แ ก่ กลุ่ ม ภาพที่ มี จุ ด ภาพ ณ ตํา แหน่ ง (k-1,1), (k+1,1),
(k,1-1) และ (k,1+1) เป็ นสมาชิ กอยู่) หากพบว่าไม่สามารถทําการ
รวมเข้ากับกลุ่มใดจะทําการสร้างกลุ่มใหม่ข้ ึนมา ประสิ ทธิ ภาพของ
วิธีน้ ี ข้ ึนอยูก่ บั กฎของการรวมกลุ่ม (P(Ri∪(k,l))) ของจุดภาพ (k,l)

10
เข้ากับกลุ่ม Ri กฎของการรวมกลุ่มจะขึ้นอยูก่ บั ค่าเฉลี่ยของกลุ่ม mi
สมการ 1.1 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน σi สมการ 1.2

1
mi = ∑ f (k , l )
n (k ,l )∈Ri
สมการ 1.1

1  2 n
σ i' =  nσ i + [ f (k , l ) − mi ]2  สมการ 1.2
n + 1 n +1 

การรวมกันสามารถทําได้เมื่ อค่า ความเข้มของจุ ดภาพ f (k,l) มี ค่า


ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย

f (k , l ) − mi ≤ Ti (k , l ) สมการ 1.3

เมื่อ Ti เป็ นค่า Threshold ที่มีค่าเปลี่ยนแปลงอยูร่ ะหว่างกลุ่ม Ri กับ


ความเข้มของจุดภาพ f (k,l) ซึ่ งสามารถหาได้จาก

 σ i' 
Ti (k , l ) = 1 − ' T สมการ 1.4
 mi 

ถ้าหากไม่มีกลุ่มใดเลยที่จุดภาพที่ (k,1) สามารถรวมเข้าด้วยกันได้


ให้สร้างกลุ่มใหม่ข้ ึนมา ถ้าหากมีมากกว่าหนึ่ งกลุ่มที่จุดภาพที่ (k,1)
สามารถรวมเข้ า ด้ ว ยกั น ให้ ร วมเข้ า ด้ ว ยกั น กั บ กลุ่ ม ที่ มี ค่ า
ความแตกต่าง f (k,1)-mi ที่ มีค่าน้อยที่ สุด การขยายตัวของกลุ่มจะ
ขึ้นอยูก่ บั ค่า Threshold (T) ซึ่ งถ้ามีค่าน้อยๆ ก็จะทําให้ค่า Ti (k,1) มี
ค่าน้อยด้วย (สําหรับทุกๆ กลุ่ม) และการรวมกลุ่มกันจะทําได้ยาก
ยิ่ ง ขึ้ น แต่ ถ้ า ค่ า Threshold มี ค่ า มากจะทํ า ให้ แ ต่ ล ะกลุ่ ม มี ค่ า
ความแตกต่างของสมาชิกภายในกลุ่มมากขึ้น (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
มี ค่ า มากขึ้ น) นอกจากนี้ ค่ า Threshold Ti (k,1) ยัง จะขึ้ นอยู่ ก ั บ
อัตราส่ วนσi1 /mi1 ถ้าในกลุ่มมีสมาชิกที่มีค่าความเข้มที่แตกต่างกัน
น้อยจะทําให้ค่าอัตราส่ วนนี้มีค่าเข้าใกล้ศูนย์และค่า Ti (k,1) จะมีค่า
เข้า ใกล้ T ดัง นั้น T จึ ง เป็ นค่า ความแตกต่ า งของ |f (k,l)-mi| ที่ ม าก
ที่ สุดที่สามารถยอมรั บได้ และถ้าหากค่าความแตกต่าง ของความ

11
เ ข้ ม ข อ ง ส ม า ชิ ก ใ น ก ลุ่ ม ยิ่ ง มี ค่ า สู ง ขึ้ น ( less homogeneous)
ค่าอัตราส่ วน σi1 /mi1 จะมีค่าสู งขึ้นด้วย

1.2.2) Region Splitting

วิธีการนี้ มีลกั ษณะตรงกันข้ามกับวิธี Region Merging โดยเริ่ ม ต้น


กําหนดให้ท้ งั ภาพจะมีเพียงหนึ่ งกลุ่มภาพเท่านั้น จากนั้นให้ทาํ การ
แยกกลุ่มนี้ออกเป็ นสี่ กลุ่มย่อยและจะมีการพิจารณาลักษณะนี้เรื่ อยๆ
จนกระทัง่ ได้กลุ่มของภาพที่ มีสมาชิ กของกลุ่มที่ มีค่าใกล้เคี ยงกัน
ในระดับ ที่ ส ามารถยอมรั บ ได้ (homogeneous) การตรวจสอบว่า
กลุ่มใดยอมรับได้หรื อไม่ทาํ ได้ โดยการคํานวณผลต่างของค่าความ
เข้มของจุดภาพที่ ได้จากค่าความเข้มสู งสุ ดลบกับจุ ดภาพที่มี ความ
เข้มน้อยที่สุดแล้วนําผลที่ได้เปรี ยบเทียบกับค่าเส้นขอบเขตว่ามี ค่า
น้อยกว่าหรื อไม่

1.2.3) Region Split and Merge

เป็ นการนํ า เอาหลั ก การทํ า งานของวิ ธี Region Merging และ


Region Splitting เข้าด้วยกัน ซึ่งมีลกั ษณะการทํางานดังนี้

1) ถ้ากลุ่ ม Rij เป็ นกลุ่ มที่ ไม่สามารถยอมรั บได้หรื อมี ความ


แตกต่างกันมาก (heterogeneous) ทําการแยกออกเป็ นสี่ กลุ่ม
ย่อยเรื่ อยๆ
2) ถ้าหากกลุ่มสองกลุ่ม Ri , Rj สามารถรวมเข้ากันได้หรื อมี
ความเหมื อ นกั น มาก (homogeneous) (P(Ri∪Rj)=TRUE)
จะทําการรวมกลุ่มทั้งสองเข้าด้วยกัน การทํางานนี้จะหยุดเมื่อ
ไม่ ส ามารถแยกเป็ นกลุ่ ม ย่อ ยๆ ได้อี ก รวมทั้ง ไม่ ส ามารถ
รวมกลุ่มต่างๆ เข้าไว้ดว้ ยกันได้อีกแล้ว

12
1.3) Edge - Based

วิธีการนี้ จะทําการหาขอบเขตของวัตถุ ที่สนใจก่อน โดยการหาขอบเขตนี้


ทําได้โดยการกําหนดเมตริ กซ์มาใช้ในการพิจารณาหาขอบเขต ซึ่ งมีขนาด
เป็ น 2x2 โดยอัลกอลิ ทึมของวิธีการนี้ จะทําการสแกนไปตามจุดภาพของ
ภาพตั้งแต่จุดภาพแรกไปยังจุดภาพสุ ดท้ายทางแนวนอนและแนวตั้ง โดย
ในระหว่างการสแกนให้นาํ จุดภาพรอบข้าง 4 จุดภาพไปทําการเปรี ยบเทียบ
กับข้อมูลเมตริ กซ์ที่กาํ หนดไว้ถา้ ไม่มีตรงกับเมตริ กซ์ใดเลยให้สแกนไปยัง
จุดภาพถัดไป แต่ถา้ ตรงกับเมตริ กซ์ใดๆ ให้ทาํ การเลื่ อนตําแหน่ งปั จจุบนั
ไปตามทิศทางที่ได้กาํ หนดไว้ ก่อนที่จะมีการเลื่ อนตําแหน่ งให้มีการเก็บ
ค่าตําแหน่งปั จจุบนั นี้ ไว้เนื่ องจากตําแหน่ งนี้ คือตําแหน่งของขอบเขตของ
วัต ถุ น้ ัน เอง และให้ ท าํ แบบนี้ ไปเรื่ อ ยๆ โดยจะหยุ ด เมื่ อ พบว่า ได้เ วี ย น
กลับมาที่เดิม ตัวแปรที่ใช้พิจารณาร่ วมกับการแบ่งส่ วน ได้แก่

1.3.1) ตัวแปรทางด้านมาตราส่ วน (scale parameter) เป็ นตัวแปรที่มี


อิทธิ พลโดยตรงต่อขนาดของวัตถุ ภาพ ในความเป็ นจริ ง ตัว
แปรนี้กาํ หนดความแตกต่างของขนาดของวัตถุภาพ โดยค่าที่
ตํ่าหมายถึงข้อมูลที่มีความเหมือนกันสู ง ขนาดของวัตถุภาพที่
ได้จะมี ข นาดเล็ ก และค่ า มาตราส่ วนที่ สู ง หมายถึ ง ข้อมู ลมี
ความเหมือนกันตํ่า ขนาดของวัตถุที่ได้มีขนาดใหญ่

1.3.2) ตัวแปรทางด้านสี หรื อรู ปร่ าง (color/shape) สี ในความหมายนี้


คื อ ข้อมู ล ช่ วงคลื่ น ซึ่ ง ตัวแปรเหล่ า นี้ มี อิท ธิ พ ลต่ อวัตถุ ที่ มี
ลักษณะเป็ นเนื้ อเดียวกัน โดยวัตถุที่มีสีใกล้เคียงกันจะถู กจัด
ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ส่ วนรู ปร่ างเป็ นตัวแปรหนึ่ งที่ช่วยใน
เรื่ องของรู ปทรงในการแยกประเภทของวัตถุภาพ

1.3.3) ตั ว แ ป ร ท า ง ด้ า น ค ว า ม เ รี ย บ ห รื อ ก า ร เ ก า ะ ก ลุ่ ม
(smoothness/compactness) เป็ นตัว ที่ เ น้ น ความสํ า คั ญ ของ
การให้รูปทรงของวัตถุภาพ

13
2) การจําแนกประเภทข้อมูล

เป็ นการใช้วตั ถุ ภาพในการคํานวณค่ า ทางสถิ ติ โดยการแทนที่ ข องจุ ดภาพที่ มี


ลักษณะสี ที่คล้ายกันภายในกรอบของวัตถุ พื้นที่ที่มีลกั ษณะเหมือนกันของจุดภาพ
ที่มีค่าการสะท้อนแบบผสมไม่สามารถแยกออกได้ โดยกลุ่มของจุดภาพ เรี ยกว่า
“วัต ถุ ” ซึ่ งเป็ นสิ่ งที่ เ กิ ด ขึ้ นระหว่ า งกระบวนการแบ่ ง ส่ วน เมื่ อ ภาพถู ก
แบ่ ง ส่ ว นจะกลายเป็ นกลุ่ ม ของจุ ด ภาพซึ่ งมี ร ะดับ ค่ า ความแตกต่ า งของวัต ถุ
คล้ายกัน ปั จจัยทางด้านมาตราส่ วนเป็ นตัวกํา หนดขนาดวัตถุ โดยเป็ นตัวแปร
พื้นฐานในการสร้างวัตถุข้ ึนมาใหม่ ปั จจัยสําคัญอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
ไม่เพียงแต่ค่าของช่วงคลื่นของวัตถุ แต่รวมถึงรู ปร่ าง ลวดลายและเส้นขอบเขตที่
อยู่รอบๆ วัตถุ การใช้ป ระโยชน์ จากการแก้ไ ขปั จ จัย ทางด้า นมาตราส่ ว นเป็ น
วิธีการที่ คล้ายกับการแปลด้วยสายตาจากข้อมู ลภาพถ่ายจากดาวเที ยม การแบ่ง
ส่ วนของภาพเกิ ดขึ้นโดยใช้ขอ้ มูลหลายช่ วงคลื่ น ซึ่ งค่าการสะท้อนยังคงมีผลต่อ
รู ปร่ างของวัตถุที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ โดยขนาดของวัตถุภาพไม่วา่ จะเป็ นขนาดใหญ่
กว่าหรื อเล็กกว่าจะถูกสร้างเป็ นวัตถุภาพที่แสดงถึงการใช้ที่ดินต่างๆ

ก ารจํ า แนก ด้ ว ย วิ ธี นี้ ใ ช้ ห ลั ก ก า รต ร รก ศ าส ต ร์ ฟั ซ ซี (fuzzy logic) คื อ


การประมวลผลข้อมูลที่ใช้บางส่ วนของสมาชิ กภายในเซต แทนที่จะใช้สมาชิ ก
ทั้งหมดของเซต หรื อไม่ใช้สมาชิกในเซตเลย วิธีการนี้สร้างขึ้นเพื่อที่จะเลียนแบบ
การแก้ปัญหาและการตัดสิ นใจของมนุ ษย์ภายใต้ความไม่แน่นอนของข้อมูล โดย
ยอมให้มีความยืดหยุน่ ได้และทําให้การตัดสิ นใจนั้นเป็ นไปอย่างรวดเร็ วมากขึ้น
นอกจากนี้ โครงสร้ า งกฎพื้ น ฐานของตรรกศาสตร์ ฟั ซ ซี ไ ด้ ก ํา หนดปั ญ หา
การควบคุ ม ให้อยู่ใ นรู ป แบบของเงื่ อนไข ตัวอย่า งเช่ น ถ้า กํา หนดเงื่ อนไขให้
x และ y แล้ว ผลลัพธ์ หรื อเอาท์พุทที่ ตอ้ งการจะขึ้ นอยู่กบั เงื่ อนไขแต่ละข้อของ
ข้อมูลที่นาํ เข้าหรื ออินพุท จํานวนและความซับซ้อนของกฎ ขึ้นอยูก่ บั จํานวนตัว
แปรของอินพุทที่เกี่ยวข้องกัน

14
ภาพที่ 1.2 ปริ ภูมิรูปแบบการจัดกลุ่มด้วยกฏฟัซซี

จากภาพที่ 1.2 สามารถเขียนเป็ นกฎได้ดงั นี้

กฎข้อ 1 ถ้า X1 มีค่าตํ่าและ X2 มีค่าตํ่า แล้วข้อมูล (X1,X2) เป็ นกลุ่ม C1


กฎข้อ 2 ถ้า X1 มีค่าตํ่าและ X2 มีค่าสู ง แล้วข้อมูล (X1,X2) เป็ นกลุ่ม C2
กฎข้อ 3 ถ้า X1 มีค่าสู งและ X2 มีค่าตํ่า แล้วข้อมูล (X1,X2) เป็ นกลุ่ม C3
กฎข้อ 4 ถ้า X1 มีค่าสู งและ X2 มีค่าสู ง แล้วข้อมูล (X1,X2) เป็ นกลุ่ม C4

1.5.2 แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

IPCC (2011) ร ะ บุ ว่ า ก๊ า ซ เ รื อ น ก ร ะ จ ก ห ลั ก ที่ สํ า คั ญ ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย


ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ (CO2) ก๊ า ซมี เ ทน (CH4) ก๊ า ซไนตรั ส ออกไซด์ (NO2)
และก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์ บอน (CFC) ก๊าซเหล่านี้นบั เป็ นก๊าซที่เป็ นตัวการหลักของ
การเกิดภาวะเรื อนกระจก เนื่ องจากมันมีอายุสะสมเฉลี่ยยาวนานและสามารถดู ดกลืน
รังสี อินฟราเรดได้ดีกว่าก๊าซเรื อนกระจกอื่นๆ ก๊าซเรื อนกระจกนั้นมีคุณสมบัติในการ
ดูดซับความร้อนหรื อดูดกลืนรังสี ความร้อน โดยเฉพาะรังสี ความร้อนที่โลกคายออกไป
ก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์เป็ นก๊าซเรื อนกระจกที่ทาํ ให้เกิ ดพลังงานความร้อนสะสมใน
บรรยากาศของโลกมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรื อนกระจกชนิ ดอื่นๆ ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่ม
มากขึ้นกว่าก๊าซชนิ ดอื่นๆ ด้วย โดยสารประกอบอินทรี ยท์ ุกชนิ ดจะต้องมีคาร์ บอนเป็ น
องค์ประกอบ ซึ่ งคาร์ บอนไดออกไซด์เป็ นวัตถุดิบสําคัญในกระบวนการสังเคราะห์ดว้ ย
แสงของ จากกระบวนการสังเคราะห์ดว้ ยแสงนี้ พืชจะปลดปล่อยก๊าซออกซิ เจนออกมาสู่

15
บรรยากาศ ทําให้สัตว์ได้ใช้ออกซิ เจนนี้ในการหายใจ การนําคาร์ บอนไดออกไซด์มาใช้
ในกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชจึงเป็ นการลดก๊าซเรื อนกระจกในชั้นบรรยากาศ
ลงได้

Arrhenius, S. (1890) อ้างใน (ปานทิ พย์ อัฒนวานิ ช, 2554) กล่ าวว่า อุ ณหภู มิเฉลี่ ยของ
ผิวโลกมีความสัมพันธ์กบั ความเข้มข้นของก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ
ของโลก เมื่อความเข้มข้นของก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของโลกเพิ่มขึ้น
อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกจะเพิ่มขึ้นตาม จึงสรุ ปได้วา่ ก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์มีอิทธิ พล
ต่ อ การเปลี่ ยนแปลงอุ ณ หภู มิ เ ฉลี่ ยของพื้ นผิ ว โลก เรี ยกปรากฏการณ์ นี้ ว่ า
Greenhouse effect ถึงแม้คาร์ บอนไดออกไซด์จะเป็ นก๊าซที่มีจาํ นวนเพียงเล็กน้อยในชั้น
บรรยากาศของโลก แต่กลับมีความสําคัญกับสภาพภูมิอากาศของโลกทั้งในทางตรงและ
ทางอ้อม เนื่ องจากคาร์ บ อนไดออกไซด์ในบรรยากาศจะดู ดซับความร้ อนไม่ ย อมให้
ความร้ อนผ่า นกลับ ออกไป เมื่อความร้ อนที่ ไ ด้รับ จากดวงอาทิ ตย์ผ่า นเข้า มามาก แต่
ระบายกลับออกไปได้น้อย จะทําให้อุณหภูมิของโลกสู งขึ้น ส่ งผลให้น้ าํ แข็งบริ เวณขั้ว
โลกเหนื อและขั้วโลกใต้ละลาย ทําให้ระดับนํ้าทะเลสู งขึ้น จนอาจจะเกิดนํ้าท่วมโลกได้
ในอนาคต ทั้ ง นี้ เนื่ อ งจากต้ น ไม้ แ ละป่ าไม้ มี คุ ณ สมบั ติ ที่ ดี คื อ สามารถดู ด ซั บ
ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ไ ว้ก่ อ นที่ จ ะลอยขึ้ น สู่ ช้ ัน บรรยากาศ ดัง นั้น เมื่ อ พื้ น ที่ ป่ า
ลดน้อยลงปริ ม าณก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์จึ ง ขึ้ นไปสะสมอยู่ใ นชั้น บรรยากาศได้
มากขึ้น

1.5.3 แนวคิดเกี่ยวกับการกักเก็บก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์

1) แนวคิดเกี่ยวกับการกักเก็บก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ของพืช

สาพิ ศ ดิ ลกสั ม พั น ธ์ (2550) กล่ า วว่ า ป่ าไม้ มี บ ทบาทสํ า คั ญ ในการดู ด ซั บ


ก๊ าซคาร์ บ อนไดออกไซด์ โดยกระบวนการสั ง เคราะห์ แ สงของใบ เพื่ อ สร้ า ง
อิ นทรี ย สารซึ่ ง มี ค าร์ บ อนเป็ นองค์ป ระกอบ นํา มาสะสมไว้ใ นส่ วนต่า งๆ ของ
ต้นไม้ หรื อที่ เรี ย กว่า มวลชี วภาพ (biomass) ทั้ง มวลชี วภาพที่ อยู่เหนื อ พื้ น ดิ น
ได้แก่ ลํา ต้น กิ่ ง และใบ และมวลชี วภาพที่ อยู่ใ ต้ดิน คื อ ราก ในขณะเดี ย วกัน
ต้นไม้ก็มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศโดยกระบวนการ
หายใจของส่ วนต่างๆ ดังนั้นปริ มาณคาร์ บอนสุ ทธิ จากกระบวนการแลกเปลี่ ยน

16
ก๊าซของต้นไม้จึงเป็ นปริ มาณคาร์ บอนที่สะสมอยู่ในมวลชี วภาพของต้นไม้ ซึ่ ง
เป็ นตัวบ่งชี้ศกั ยภาพในการกักเก็บคาร์ บอนของป่ าไม้ชนิดต่างๆ

องค์การบริ หารจัดการก๊าซเรื อนกระจก องค์การมหาชน (2554) กล่าวว่า ศักยภาพ


ในการดูดซับก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ของป่ าไม้สามารถพิจารณาจากการกักเก็บ
คาร์ บ อนในมวลชี ว ภาพของป่ า ทั้ง นี้ ก ารกัก เก็บ คาร์ บ อนในมวลชี ว ภาพของ
ป่ าธรรมชาติ แต่ ล ะชนิ ดขึ้ นอยู่ก ับ ปริ ม าณคาร์ บ อนที่ ส ะสมในส่ วนต่า งๆ ของ
ต้นไม้แต่ละชนิดที่เป็ นองค์ประกอบของป่ าธรรมชาติและผลผลิตมวลชีวภาพของ
ป่ า ในทํานองเดียวกันการกักเก็บคาร์ บอนในมวลชี วภาพของสวนป่ าหรื อป่ าปลูก
ขึ้นอยูก่ บั ปริ มาณคาร์ บอนและผลผลิตมวลชีวภาพของพรรณไม้ที่ปลูก โดยทัว่ ไป
ปริ ม าณคาร์ บ อนที่ ส ะสมในมวลชี ว ภาพมี ก ารแปรผัน ไม่ ม ากนัก โดยทํา ให้
การแปรผันของการกักเก็บคาร์ บอนในมวลชี วภาพของป่ าธรรมชาติหรื อสวนป่ า
ส่ วนใหญ่ข้ ึ นอยู่กบั ความแตกต่างของมวลชี วภาพของป่ าหรื อสวนป่ ามากกว่า
ปริ ม าณคาร์ บ อนที่ ส ะสมในมวลชี ว ภาพ ดัง นั้น ป่ าธรรมชาติ ห รื อ สวนป่ าที่ มี
มวลชีวภาพหรื อการเติบโตมากจะมีการกักเก็บคาร์ บอนมากด้วยเช่นกัน อย่างไรก็
ตาม มวลชี วภาพของป่ าธรรมชาติมีการแปรผันขึ้นอยูก่ บั ปั จจัยต่างๆ เช่น ชนิ ดป่ า
ชนิ ดไม้ที่เป็ นองค์ประกอบของป่ า ความหนาแน่นของป่ า สภาพภูมิประเทศ และ
ปั จจัยสิ่ งแวดล้อม เป็ นต้น ในขณะที่มวลชี วภาพของสวนป่ ามีการแปรผันขึ้นอยู่
กับปั จจัยต่างๆ เช่น ชนิดไม้และลักษณะทางพันธุ กรรม อายุ ระยะปลูกหรื อความ
หนาแน่น และคุณภาพท้องที่ เป็ นต้น

กมลพร อยูส่ บาย (2555) กล่าวถึงการดูดซับคาร์ บอนของต้นไม้ไว้วา่ ในปั จจุบนั มี


วิธีการหลากหลายที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ ต้นไม้
และป่ าไม้ เ ป็ นแหล่ ง กัก เก็ บ คาร์ บ อนที่ สํ า คั ญ ซึ่ งประมาณครึ่ งหนึ่ งของ
มวลชี วภาพของต้นไม้ในรู ปของนํ้าหนักแห้งจะเป็ นคาร์ บอน ป่ าไม้มีบทบาททั้ง
ในด้า นการกัก เก็บ (Sink) และปลดปล่ อย (Source) ก๊า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์
การกักเก็บหรื อดู ดซับคาร์ บอนไดออกไซด์จะผ่านกระบวนการสังเคราะห์ แสง
ซึ่ งต้นไม้จะนําก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์มาใช้ในการสร้างอาหารและเพิ่มผลผลิต
มวลชี ว ภาพ ในขณะที่ ก ารปลดปล่ อ ยก๊ า ซคาร์ บอนไดออกไซด์ ก ลั บ สู่
ชั้นบรรยากาศของต้นไม้จะผ่านกระบวนการหายใจ การตาย การย่อยสลาย ต้นไม้
จะกักเก็บคาร์ บอนไว้ในส่ วนของลําต้น ราก กิ่ง และใบในรู ปของมวลชี วภาพใน

17
พื้นที่ ใดพื้นที่ หนึ่ ง หากมี ผลผลิ ตมวลชี วภาพเพิ่มขึ้น พื้นที่ น้ ันก็จะมีการกักเก็บ
คาร์ บอนตามผลผลิตมวลชี วภาพที่เพิ่มขึ้น ในทางกลับกันหากพื้นที่น้ นั มีผลผลิ ต
มวลชี วภาพลดลงเนื่ องจากมี การตัดไม้นาํ ออกมาใช้ป ระโยชน์ พื้นที่ น้ ันก็จะมี
การกักเก็บคาร์ บอนตามผลผลิตมวลชี วภาพลดลง ปั จจัยหลักของการดูดซับก๊าซนี้
ก็คือ ใบของพืช โดยใบมีบทบาทในการดูดซับก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์มากที่สุด
ด้ว ยกระบวนการสั ง เคราะห์ แ สง อี ก ปั จ จัย หนึ่ ง ที่ เ กี่ ย วข้อ งกับ การดู ด ซั บ คื อ
ปริ มาณนํ้าที่ พื ช ดู ด ขึ้ น มาด้ว ย นอกจากนี้ ก็ ข้ ึ นอยู่ ก ับ ปริ มาณความเข้ม ของ
แสงอาทิ ตย์อีก ด้วย ทั้ง นี้ ค วามสามารถในการดู ดซับ คาร์ บ อนไดออกไซด์ใ น
พื้นที่ป่าไม้ข้ ึนอยู่กบั ชนิ ดของต้นไม้แต่ละชนิ ด ในขณะที่ป่าไม้สมบู รณ์ ที่มี อายุ
มากๆ มี ก ารดู ด ซับ ก๊า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ใ กล้เ คี ย งกับ การปลดปล่ อยก๊า ซ
คาร์ บอนไดออกไซด์ หรื ออาจกล่าวได้ว่ามี การหมุ นเวียนคาร์ บอนอยู่ใ นภาวะ
สมดุล (carbon neutral) หรื อไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริ มาณคาร์ บอน

Watson (2009) อ้างใน (เกษราภรณ์ อุ่นเกิด, 2557) ได้ทาํ การจําแนกแหล่งสะสม


คาร์ บอนของต้นไม้ออกเป็ น 6 แหล่ง ดังนี้ คือ
1) มวลชีวภาพเหนื อพื้นดิน (living above-ground biomass) ได้แก่ ทุก
ส่ วนของต้นไม้ที่อยูเ่ หนือดิน อันได้แก่ ลําต้น กิ่ง ใบ ดอก และผล
รวมทั้งพืชพรรณอื่นๆ
2) มวลชีวภาพใต้ดิน (living below-ground biomass) ได้แก่ ส่ วนของ
ต้นไม้ที่อยูใ่ ต้ดินคือ ราก
3) ไม้ตาย (dead organic matter in wood) ได้แก่ ต้นไม้ที่ลม้ หรื อยืน
ต้นตาย
4) ซากพืช (dead organic matter in litter) ได้แก่ ส่ วนต่างๆ ของต้นไม้
ที่ร่วงหล่นสู่ ดิน ได้แก่ กิ่ง ก้าน ใบ ดอก และผล
5) อินทรี ยวัตถุในดิน (soil organic matter)
6) ผลิตภัณฑ์ไม้ (harvested wood product) ได้แก่ ส่ วนของเนื้ อไม้ที่
นําไปใช้ประโยชน์ภายหลังการตัดฟั น

18
2) แนวคิดเกี่ยวกับการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา

พงษ์ศกั ดิ์ เกิ ดวงศ์บณ ั ฑิ ต (2554) กล่าวว่า การปลูกยางพาราเป็ นหนึ่ งทางออกที่


สามารถช่ วยลดปั ญหาภาวะโลกร้ อนได้ นอกจากจะเป็ นพื ช เศรษฐกิ จที่ ส ร้ า ง
รายได้ใ ห้เกษตรกรแล้ว ยัง เป็ นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ที่ส นับสนุ นการเพิ่มพื้นที่
ป่ าสี เขี ย ว ช่ วยเพิ่ม ออกซิ เจนให้ก ับ โลก อี ก ทั้ง ยัง ช่ วยอนุ รัก ษ์ส ภาพแวดล้อ ม
ลดการทําลายป่ า ลดปั ญหาการชะล้างพังทลายของดิ น และที่สําคัญยางพารายัง
เป็ นแหล่ ง ดู ดซับ หรื อเก็ บ กัก ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ แหล่ ง ใหญ่ ข องโลกได้
ใกล้เคียงกับป่ าเขตร้อน

องค์การบริ หารจัดการก๊าซเรื อนกระจก องค์การมหาชน (2554) กล่าวว่า ยางพารา


มี การกักเก็บปริ มาณคาร์ บอน (carbon content) ในลําต้นเท่ากับ 48.01 กิ่ ง 50.55
ใบ 52.77 ราก 47.88 โดยเฉลี่ยแล้วมีการกักเก็บปริ มาณคาร์ บอน 49.90 จากร้อยละ
ของนํ้าหนั ก แห้ ง มี ค วามเพิ่ ม พู น เฉลี่ ย รายปี ของความสู ง (H) เท่ า กับ 1.12
เมตรต่ อ ปี และเส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลางเพี ย งอก (DBH) เท่ า กับ 1.09 เมตรต่ อ ปี
มีอตั ราส่ วนของมวลชี วภาพใต้ดินเท่ากับ 0.33 และมวลชี วภาพเหนื อดิ นเท่ากับ
1.80 ตันต่อไร่ ต่อปี หรื อ 11.28 ตันต่อเฮกแตร์ ต่อปี ส่ วนมวลชี วภาพรวมเท่ากับ
2.40 ตันต่อไร่ ต่อปี หรื อ 15.00 ตันต่อเฮกแตร์ ต่อปี หรื อ 1.15 ตันคาร์ บอนต่อไร่
ต่อปี หรื อ 7.20 ตันคาร์ บอนต่อเฮกแตร์ ต่อปี หรื อ 4.22 ตันคาร์ บอนไดออกไซด์
ต่อไร่ ต่อปี หรื อ 26.39 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อเฮกแตร์ ต่อปี

1.5.4 แนวคิดเกี่ยวกับปั จจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการเจริ ญเติบโตของยางพารา

Saengruksawong. C et al. (2012) กล่ าวว่า ชี วมวลของต้นยางพาราเพิ่มขึ้นตามอายุที่ มี


อัตราที่ รวดเร็ วมากจาก 1 ถึ ง 15 ปี และช้า ลงในช่ วง 15 ถึ ง 20 ปี นอกจากนี้ ย งั มี ก าร
เปลี่ ยนแปลงตามอายุในสวนอายุ 1, 5, 10, 15 และ 20 ปี อัตราส่ วนของสะสมชี วมวล
เทียบกับชี วมวลรวมเท่ากับ 40.84, 37.03, 33.07, 27.29 และ 27.72 ตามลําดับ อัตราส่ วน
ที่เพิ่มขึ้นเป็ นสาขาอายุตน้ ไม้ 8.73, 30.13, 39.84, 52.37 และร้อยละ 52.52 ตามลําดับ และ
ในทางตรงกันข้ามอัตราส่ วนใบและรากจะลดลง

19
1.5.5 แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินมวลชีวภาพจากการสํารวจภาคสนาม

การประเมิ นปริ มาณมวลชี วภาพจากสมการแอลโลเมตรี เป็ นการคํานวณหาปริ ม าณ


คาร์ บอนสะสมในป่ า โดยวางแปลงสํารวจภาคสนามในการตรวจวัดการกักเก็บคาร์ บอน
ในป่ าไม้และประเมินปริ มาณมวลชี วภาพจากขนาดของต้นไม้ โดยทําการวัดเส้ นผ่าน
ศูนย์กลางเพียงอกและความสู งของต้นไม้ทุกต้นทุกใบในแปลง จากนั้นนําค่าขนาดเส้น
ผ่านศูนย์กลางเพียงอกและความสู งของต้นไม้ที่วดั ได้เข้าสู่ สมการแอลโลเมตรี ดังสมการ

𝑌𝑌 = 𝑎𝑎(𝐷𝐷2 𝐻𝐻)𝑏𝑏 สมการ 1.5

ซึ่ ง Y = มวลชีวภาพ มีหน่วยเป็ นกิโลกรัม


a, b = ค่าคงที่
x = ผลคู ณระหว่างขนาดเส้ นผ่านศูนย์กลางเพียงอก (D) มี หน่ วยเป็ น
เซนติเมตรและความสู งของต้นไม้ (H) มีหน่วยเป็ นเมตร

Ogino et al. (1967, อ้างใน Saengruksawong. C et al., 2012) เป็ นสมการแอลโลเมตรี ที่
เหมาะสมสํ า หรั บ การประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของป่ าเขตร้ อ นใน
ประเทศไทย โดยมีสมการดังต่อไปนี้

Ws (ลําต้น) = 189 (D2H) 0.902 สมการ 1.6

WB (กิ่ง, ก้าน) = 0.125 Ws 1.024 สมการ 1.7

WL (ใบ) = 1/(11.4/WS0.9) + 0.172 สมการ 1.8

ซึ่ง W = ค่าชีวมวล (กิโลกรัมต่อต้น)


D = เส้นผ่าศูนย์กลางเหนือพื้นดินที่ความสู ง 1.3 เมตร (เมตร)
H = ความสู งของต้นไม้ (เมตร)

20
1.5.6 แนวคิดเกี่ยวกับ CASA Biosphere Model

Potter et al. (1995) อ้ า งใน (Lolupiman. T., 2015) กล่ า วว่ า การประเมิ น ปริ มาณ
การกักเก็บคาร์ บอนจากภาพถ่ ายดาวเที ยมโดยใช้ Carnegie-Ames-Stanford Approach
(CASA) Biosphere Model เป็ นโมเดลที่สร้ างขึ้นมาเพื่อจําลองรู ปแบบการตรึ งคาร์ บอน
หรื อการผลิตชี วมวลรายเดือนของพืช โดยการคํานวณจากค่ารังสี ดวงอาทิตย์ ค่าดัชนี พืช
พรรณ ค่าคงที่ของประสิ ทธิ ภาพการใช้แสง ค่าอุณหภูมิ และความชื้น ดังสมการ

NPP(x,t) = S(x,t)·FPAR(x,t)·ε*·T(x,t)·W(x,t) สมการ 1.9

NPP = อัตราส่ วนสุ ทธิ ของคาร์ บอนที่เหลือจากการหายใจและการสังเคราะห์


แสงของพืช เป็ นค่าที่แสดงถึ งการกักเก็บคาร์ บอนสุ ทธิ ไว้ในลําต้น
ใบและรากของพืช (กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดือน)
S(x,t) = ค่ารังสี ดวงอาทิตย์ (มิลลิจูลต่อตารางเมตรต่อเดือน)
FPAR(x,t) = สัดส่ วนของรังสี ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงของพืชที่ส่วนเรื อนยอด
ของพืชสามารถดูดกลืนเอาไว้ได้
ε* = ค่าคงที่ของประสิ ทธิ ภาพการใช้แสงเท่ากับ 0.389 gC MJ-1 PAR
T(x,t) = ค่าอุณหภูมิ (เซลเซียส) มีค่าเท่ากับ 0-1
W(x,t) = ค่าความชื้นในดิน

1.6 ทบทวนวรรณกรรม

ในการทบทวนวรรณกรรมในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทาํ การทบทวนงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งออกเป็ น


4 ประเด็นด้วยกัน ประกอบด้วย การจําแนกการใช้ที่ดินด้วยวิธีการเชิ งวัตถุ การประเมินการกักเก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนในยางพารา
จากการสํ า รวจภาคสนาม และการสร้ า งแบบจํา ลองจากสมการความสั ม พัน ธ์ ซึ่ งมี ร ายละเอี ย ด
ดังต่อไปนี้

21
1.6.1 การจําแนกการใช้ที่ดินด้วยวิธีการเชิงวัตถุ

ในการศึ ก ษาการเปลี่ ย นแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง จัง หวัดเชี ย งราย


ได้ท าํ การจํา แนกการใช้ที่ ดิน ก่ อ นการปลู ก ยางพาราในปี 2548 และพื้ น ที่ ป่ าไม้และ
พื้นที่ปลูกยางพาราตามช่วงอายุในปี 2558 ซึ่ งได้ทาํ การทบทวนงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ศุ ภลักษณ์ หน้อยสุ ยะ (2552) ได้ทาํ การจําแนกพื้ นที่ ไ ร่ หมุ นเวีย นด้วยวิธีการเชิ ง วัตถุ
โดยใช้ ภ าพถ่ า ยดาวเที ย มที่ มี ค วามละเอี ย ดจุ ด ภาพต่ า งกั น ซึ่ งประกอบด้ ว ย
ภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-5 TM ภาพถ่ า ยดาวเที ย ม SPOT-5 ระบบหลายช่ ว งคลื่ น
และภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-SPOT Pan โดยทําการกําหนดค่าพารามิเตอร์ ในส่ วนของ
มาตราส่ วนของภาพถ่ายดาวเทียมทั้ง 3 ต่างกันเท่ากับ 3, 7 และ 10 ส่ วนค่ารู ปร่ างเท่ากับ
ค่าสี เท่ากับ 0.3 : 0.7 และค่าความอัดแน่นและความราบเรี ยบเท่ากับ 0.5 : 0.5 เท่ากันทั้ง
3 ภาพ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การจําแนกเชิงวัตถุโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 TM
สามารถจําแนกการใช้ที่ดินได้เพียง 9 ประเภท โดยไม่สามารถจําแนกประเภทของถนน
และทางนํ้ าได้ ในขณะที่ ภ าพถ่ า ยดาวเที ย ม SPOT-5 ระบบหลายช่ ว งคลื่ น และ
ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-SPOT Pan สามารถจําแนกได้ท้ งั หมด มีความถูกต้องของผล
การจํา แนกจากค่ า KIA เท่ า กับ 0.893, 0.885 และ 0.866 ตามลํา ดับ เมื่ อพิ จารณาการ
จําแนกเฉพาะไร่ หมุ นเวียนพบว่า ภาพถ่ายดาวเที ยม SPOT-5 ระบบหลายช่ วงคลื่ นให้
ผลลัพธ์ดีที่สุด และภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 TM จําแนกได้ดีกว่าภาพถ่ายดาวเทียม
Landsat-SPOT Pan

ส่ วนชรั ตน์ มงคลสวัส ดิ์ และคณะ (2550) ได้ท าํ การประเมิ นพื้ นที่ ป ลู กยางพาราด้วย
ข้อมู ล ภาพถ่ า ยดาวเที ย มและระบบสารสนเทศภู มิ ศ าสตร์ ค รอบคลุ ม พื้ นที่ ลุ่ ม นํ้า โขง
ซึ่ งภาพถ่ายดาวเทียมที่ใช้ในครั้ งนี้ ได้แก่ภาพถ่ายดาวเที ยม SPOT 2, 4, 5 ที่ บนั ทึ กภาพ
ช่วงเดือนธันวาคม ปี 2548 ถึงเดือนเมษายน ปี 2550 จํานวน 37 ภาพ สร้างสี ผสมเท็จ จาก
3 ช่ ว งคลื่ น ได้ แ ก่ Near Infrared, Shortwave Infrared และช่ ว งคลื่ น สี แดง โดยการ
วิเคราะห์พ้ืนที่ปลู กยางพาราด้วยวิธีแปลภาพด้วยสายตาโดยตรงจากจอภาพ พร้ อมกับ
ตรวจสอบเบื้องต้นกับภาพถ่ายดาวเทียมที่มีรายละเอียดสู งที่ให้บริ การผ่าน Internet โดย
ทําการจําแนกอายุของยางออกเป็ น 3 ช่วง ได้แก่ ยางพาราอายุนอ้ ยกว่า 5 ปี ยางพาราอายุ
5-10 ปี และยางพาราอายุ ม ากกว่ า 10 ปี ผลการศึ ก ษาพบว่ า ลุ่ ม นํ้ าโขงในภาค
ตะวันออกเฉี ยงเหนื อมีพ้ืนที่ 29,184,058.52 ไร่ มีพ้ืนที่ปลูกยางพาราทั้งหมด 901,392.47

22
ไร่ คิ ด เป็ นร้ อ ยละ 3.09 ของพื้ น ที่ ลุ่ ม นํ้า โขงโดยกระจายตัว อยู่ใ นบริ เ วณลุ่ ม นํ้า โขง
ตอนบนเป็ นส่ วนใหญ่ เช่น ในจังหวัดหนองคาย เลย เป็ นต้น พื้นที่ปลูกส่ วนใหญ่เป็ นยาง
ที่ มี อ ายุ น้อ ยกว่ า 5 ปี รองลงมาเป็ นยางอายุ ม ากกว่า 5-10 ปี และ 10 ปี โดยมี พ้ื น ที่
601,953.62, 107,978.24 และ 191,460.53 ไร่ ตามลํา ดับ และพบว่า ในลุ่ ม นาห้ ว ยคอง
ลุ่มนํ้าห้วยอี๋ และลุ่มนํ้าโขงส่ วนที่ 7 มีพ้ืนที่ปลู กยางพารามากที่สุด และเมื่อตรวจสอบ
ความถู ก ต้ อ งจากการสํ า รวจภาคสนามมี ค่ า สั ม ประสิ ทธิ์ KAPPA เท่ า กั บ 92.95
เปอร์ เซ็นต์

ชยกฤต ม้าลําพอง และคณะ (2554) ได้ทาํ การจําแนกพื้นที่ปลูกลําไยและลิ้นจี่ โดยใช้


ภาพถ่ายดาวเทียมธี ออส (THEOS) ในระบบ Multi-spectral รายละเอียดจุดภาพ 15 เมตร
แบ่งออกเป็ น 6 ชุ ดดัวยกัน ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนื อตอนบน ประกอบด้วย
จังหวัดเชี ยงใหม่ เชี ยงราย ลําพูน ลําปาง พะเยา แพร่ น่ าน และแม่ฮ่องสอน ซึ่ งนําเอา
วิธีการจําแนกเชิ งวัตถุ (Object-Based Classification) ด้วยการแบ่งส่ วน (Segmentation)
มาใช้ในการจําแนก โดยกําหนดค่าพารามิเตอร์ คือ Scale Parameter 15, Shape 0.1 และ
Compactness 0.5 ให้กบั ภาพถ่ายดาวเทียมทั้ง 6 ชุ ดข้อมู ล ซึ่ งผลการศึกษาพบว่า พื้นที่
8 จังหวัดภาคเหนื อตอนบนมีพ้ืนที่ปลูกลําไยและลิ้นจี่ท้ งั หมด 553,637 ไร่ และ 107,933
ไร่ ตามลํา ดับ โดยในการศึ ก ษาครั้ งนี้ ใช้วิธีการตรวจสอบความถู กต้องด้วยวิธี Error
Matrix Based on Training and Test Area (TTA) Mark ซึ่ งพบว่าระดับความถูกต้องของ
ภาพถ่ายดาวเทียมทั้ง 6 ชุดข้อมูลเท่ากับ 0.99, 0.99, 0.71, 0.71, 0.75 และ 0.975 ตามลําดับ

ซึ่ งในงานของ สุ ดา สุ วรรณชาตรี และคณะ (2555) ได้ทาํ การศึกษาและพัฒนาวิธีการใน


การจําแนกช่วงชั้นอายุของต้นยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วยวิธีการจําแนกเชิ งวัตถุ
( Object-Oriented Classification) จ า ก พื้ น ที่ ส ว น ย า ง พ า ร า ใ น อํ า เ ภ อ น า ห ม่ อ ม
จังหวัดสงขลา โดยใช้โปรแกรม Definiens Developer version 7.0 โดยการแบ่งส่ วนภาพ
(Segmentation) จากการกํ า หนดค่ า Scale parameter และ Compactness ซึ่ งกํา หนด
อัลกอริ ทึมในการแบ่งส่ วนภาพโดยใช้ค่าการสะท้อนเชิงคลื่นเป็ นหลัก สามารถแบ่งส่ วน
ภาพออกเป็ น 3,537 objects และทําการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบเคียงกับข้อมูลช่ วงชั้น
อายุ ข องยางพาราที่ มี ก ารแปลด้ ว ยสายตาไว้แ ล้ ว จากนั้ นจึ ง ใช้ ค่ า Layer Values
(Mean, Standard deviation, Pixel-based, Neighbors), Texture และ NDVI สร้างกฎเกณฑ์
ในการจําแนกช่วงชั้นอายุของต้นยางพารา โดยสามารถจําแนกช่วงชั้นอายุของยางพารา
ได้ 5 ช่ วงอายุ ได้แก่ ช่ วงอายุ 0-3 ปี , ช่วงอายุ 4-6 ปี , ช่วงอายุ 7-15 ปี , ช่วงอายุ 16-25 ปี

23
และช่ วงอายุมากกว่า 25 ปี ขึ้ นไป ผลการศึกษา พบว่า ผลการจําแนกช่ วงชั้นอายุข อง
ต้น ยางพารามี เ ปอร์ เ ซ็ น ต์ค วามถู ก ต้อ งเท่า กับ 76, 64, 63, 70 และ 71 ตามลํา ดับ โดย
ยางพาราในช่ ว งอายุ 0-3 ปี มี เ ปอร์ เ ซ็ น ต์ ค วามถู ก ต้อ งสู ง สุ ด และช่ ว งอายุ 7-15 ปี
มีความถูกต้องน้อยสุ ด

1.6.2 การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม

ในการประเมินปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนของยางพารา เดิมทีน้ นั ต้องอาศัยการสํารวจ


ภาคสนาม ซึ่ งสิ้ นเปลื องทั้งแรงงานและงบประมาณ อีกทั้งพื้นที่บางพื้นที่เป็ นพื้นที่ที่มี
อุ ป สรรคในการเข้า ถึ ง ทํา ให้ไ ม่ ส ามารถเข้า ไปสํา รวจภาคสนามได้ เทคนิ ค ทางด้าน
การรั บรู ้ จากระยะไกลจึ งมี บทบาทที่ สําคัญที่ สามารถลดปั ญหาเหล่านี้ ไ ด้ โดยทําการ
ประเมินปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมโดยอาศัยโมเดล
ทางด้านการรับรู ้จากระยะไกลในการประเมิน ซึ่ งงานวิจยั ที่เกี่ยวข้องที่ได้ทาํ การทบทวน
มีดงั นี้

Christopher S. Potter et al. (1993) ได้ทาํ การศึกษาการประเมิ นผลผลิ ตของระบบนิ เวศ


บนบก โดยการประมวลโมเดลจากภาพถ่ า ยดาวเที ย ม NOAA (AVHRR) และข้อมู ล
พื้นผิวโลกเพื่อประเมินหาผลผลิตของระบบนิ เวศบนบก โดยใช้ขอ้ มูลทางภูมิศาสตร์ ซึ่ ง
ประกอบด้วย ข้อมูลอุณหภูมิและนํ้าฝนรายเดือน รังสี ดวงอาทิตย์ ค่าดัชนีพืชพรรณ ชนิ ด
พืช กลุ่มเนื้ อดิน ความหนาแน่นของคาร์ บอนในดิน และความหนาแน่นของไนโตรเจน
ในดินจากทัว่ โลก โดยใช้ Carnegie-Ames-Stanford Approach (CASA) Biosphere model
เพื่อจําลองรู ปแบบการตรึ งคาร์ บอน (ชีวมวล) ซึ่ งโมเดลจะใช้ขอ้ มูลรายเดือน โดยจําลอง
รู ปแบบตามฤดูกาลในการตรึ งคาร์ บอนสุ ทธิ ชีวมวลและการแบ่งธาตุอาหาร ซากพืชสาร
ธาตุ ไ นโตรเจนในดิ น และการผลิ ต คาร์ บ อน โดยองค์ป ระกอบของ NPP ขึ้ น อยู่ก ับ
ประสิ ทธิ ภาพการใช้แสง (Monteith, 1987 and 1988) การจําลองวัฏจักรคาร์ บ อนและ
ไนโตรเจน ใช้ชุดของสมการความแตกต่างซึ่ งค่อนข้างใกล้เคียงกับฟั งก์ชนั่ ของโมเดล
CENTURY (Parton et al, 1987-1988) ซึ่ งโมเดลจะนําเข้าและจัดเก็บในรู ปแบบแผนที่
แบบราสเตอร์ ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ผลผลิตหลักสุ ทธิ ของ
โลกทั้งหมดเท่ากับ 48 Pg C yr-1 มีประสิ ทธิ ภาพการใช้แสงสู งสุ ด 0.39 gC MJ-1PAR ซึ่ ง
CASA-biosphere model มี ค วามเชื่ อ มโยงกับ ระบบนิ เ วศ วิ ธี ก ารนี้ ยัง มี แนวโน้ม ที่ จะ
ลดผลกระทบของการเปลี่ ยนแปลงโครงสร้ างและ taxonornic ภายในภูมิภาค สามารถ

24
นํา มาประเมิ น หาค่ า ชี ว มวลในระดับ โลกได้ดี แต่ ก็ ย งั มี ข ้อ จํา กัด ในการใช้ ดัช นี พื ช
AVHRR ตามรู ป แบบซึ่ งเต็ ม ไปด้ว ยความแปรปรวน รวมถึ ง ลัก ษณะบางอย่า งของ
การเกษตรและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน

ในการศึ ก ษาของนวลปราง นวลอุ ไ ร (2548) ซึ่ งทํา การประมาณค่ า ดัช นี พ้ื น ที่ ใ บ
มวลชี วภาพ และปริ มาณคาร์ บ อนสะสมที่ อยู่เหนื อพื้ นดิ นจากการรั บ รู ้ จากระยะไกล
ทําการศึ กษาโดยใช้ขอ้ มู ลดาวเทียม บริ เวณอุ ทยานแห่ งชาติ แก่งกระจาน โดยการวาง
ตําแหน่งแปลงตัวอย่างใช้เทคนิ ค GPS (Globalpositioning system) ค่าพิกดั ตําแหน่งของ
แปลงตัว อย่ า งได้ จ ากการแปลงค่ า พิ ก ัด จุ ด ภาพของข้อ มู ล ภาพถ่ า ยจากดาวเที ย ม
Landsat-TM ที่นาํ มาหาค่าความส่ องสว่าง (Brightness values) เพื่อใช้เป็ นดัชนี พืชพรรณ
ในรู ป แบบต่ า งๆ นํา ข้อ มู ล ที่ ไ ด้ท้ ัง จากภาคสนาม และข้อ มู ล ภาพถ่ า ยจากดาวเที ย ม
Landsat-TM มาหาความสัมพันธ์กนั ในรู ปแบบของสมการความถดถอยแบบเส้นตรง ซึ่ ง
ผลการศึ กษาพบว่า จากรู ปแบบสมการที่ ดีที่สุดของป่ าแต่ละชนิ ด ป่ าดิ บชื้ นมี ค่าดัชนี
พื้นที่ใบโดยเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ป่ าดิบแล้ง ป่ าเต็งรัง และป่ าเบญจพรรณ โดยมี
ค่าค่าดัชนีพ้นื ที่ใบเฉลี่ยเท่ากับ 7.88, 5.81, 3.38 และ 3.27 ตามลําดับ ขณะที่มวลชีวภาพที่
อยูเ่ หนื อพื้นดินของป่ าดิบชื้ นมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ป่ าดิบแล้ง ป่ าเบญจพรรณ
และป่ าเต็งรัง โดยมีค่ามวลชี วภาพเหนื อพื้นดินเท่ากับ 336.12, 207.70, 68.53 และ 58.63
ตันต่อเฮกแตร์

ส่ วน Iglesias (2007) ได้ทาํ การคํานวณการกักเก็บคาร์ บอนและการสะสมคาร์ บอนของ


สวนป่ ายู ค าลิ ป ตัส จากข้อ มู ล การรั บ รู ้ จ ากระยะไกล บริ เ วณพื้ น ที่ จ ัง หวัด สระแก้ว
ประเทศไทย โดยจํา แนกพื้ นที่ สวนป่ ายูคาลิ ป ตัสในแต่ ละชั้นอายุจากข้อมู ลภาพถ่าย
ดาวเทียม Landsat-TM ใน 3 รู ปแบบ คือ 1) วิธี maximum likelihood 2) วิธีการแบบจําลอง
ชั้นอายุ และ 3) วิธีการดําเนินการทางตรรก พร้อมทําการเปรี ยบเทียบค่าความถูกต้องของ
การจํ า แนกและนํ า แผนที่ ที่ ไ ด้ ม าคํ า นวณหาปริ มาณการกั ก เก็ บ คาร์ บอนและ
ความสามารถในการจัดเก็บ ของไม้ยูค าลิ ป ตัส ในแต่ล ะชั้นอายุที่ ไ ด้จากข้อมู ล แปลง
สํารวจร่ วมกับข้อมูลจากการรับรู ้จากระยะไกล ผลการศึกษา พบว่า การจําแนกพื้นที่สวน
ป่ ายูคาลิปตัสในแต่ละชั้นอายุโดยวิธี Maximum likelihood ให้ความถูกต้องโดยรวมมาก
ที่ สุ ด คิ ด เป็ นร้ อ ยละ 83.33 รองลงมาคื อ วิธี ก ารดํา เนิ น การทางตรรกมี ค วามถู ก ต้อง
โดยรวม คิดเป็ นร้อยละ 72.50 และวิธีการแบบจําลองชั้นอายุ มีความถูกต้องโดยรวมน้อย
ที่สุด คิดเป็ นร้อยละ 60.83 และนําผลที่ได้รับจากการจําแนกโดยวิธี Maximum likelihood

25
มาใช้ใ นคํา นวณหามวลชี วภาพในแต่ ล ะชั้นอายุระหว่า ง 1 ถึ ง 5 ปี โดยมี ก ารกัก เก็บ
คาร์ บอนเท่ากับ 1.68, 9.09, 15.60, 25.62 และ 25.90 ตันต่อแฮกแตร์ ตามลําดับ

จิระ ปรังเขียว และคณะ (2552) ได้ทาํ การศึกษาบูรณาการข้อมูลภาพดาวเทียมกับโมเดล


3PGs เพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าในพื้นที่จงั หวัดเชียงใหม่ โดยใช้ขอ้ มูล
Landsat-5 TM ถู กนํามาบูรณาการร่ วมกับโมเดล 3PGs ในการวิเคราะห์หาผลผลิ ตมวล
ชี วภาพ (Biomass Production) ซึ่ งถื อว่าเป็ นตัวชี้ วดั สําคัญเพื่ อใช้ใ นการประเมิ นความ
อุ ดมสมบู รณ์ ของพื้นที่ ป่า ข้อมูลที่ ใช้ในการวิเคราะห์ หาค่า biomass มี 2 ประเภท คื อ
1) ข้อมูลภาพดาวเทียม และ 2) ข้อมูลค่ารังสี ดวงอาทิ ตย์ ข้อมูลทั้ง 2 ถู กนําเข้าสู่ โมเดล
3PGs โดยอาศัยข้อมูลภาพดาวเที ยมเป็ นฐานในการคํานวณ โดยการเตรี ยมข้อมู ล ภาพ
ดาวเทียมประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การปรับแก้เชิงแสง 2) การปรับแก้เชิงเรขาคณิ ต
3) การปรับแก้สัญญาณรบกวนจากบรรยากาศ หลังจากที่ได้ขอ้ มูลภาพดาวเทียมที่ได้ถูก
ปรับแก้และถูกปิ ดบังพื้นที่ที่อยูน่ อกพื้นที่ศึกษาเรี ยบร้อยแล้ว จะถูกนําเข้าสู่ ข้ นั ตอนการ
วิเคราะห์ ซึ่ งประกอบด้วย 7 ขั้นตอน โดยคํานวณจากค่า ดัชนี ดงั นี้ ค่า NDVI, FPAR,
FPAR, PAR, APAR, GPP และ NPP ตามลําดับ ได้ค่าการเก็บคาร์ บอนสุ ทธิ ไว้ในลําต้น
ใบ และรากของพืช และขั้นตอนสุ ดท้ายทําการคํานวณค่า Biomass ซึ่ งเป็ นสิ่ งที่สิ่งมีชีวติ
ประเภทต้นไม้และพืช สามารถนํามาใช้เป็ นแหล่งพลังงานได้ในช่วงเวลาหนึ่ งๆ โดยค่า
Biomass สามารถคํานวณได้จากค่า NPP ได้โดยตรง ผลจากการศึ กษาพบว่า พื้นที่ ป่ า
จังหวัดเชี ยงใหม่ มีความอุดมสมบูรณ์ ระดับมากที่สุด ระดับมาก ระดับน้อย และระดับ
น้อยที่สุดเป็ นเนื้อที่ 7,732.05, 4,982.37, 4,780.73 และ 109.94 ตารางกิโลเมตร ตามลําดับ
ซึ่ งคิดเป็ นร้อยละ 43.80, 28.22 27.09 และ 0.62 ของพื้นที่ป่าในพื้นที่ศึกษา ตามลําดับ

จากนั้น สุ ขี บุญสร้าง และวันชัย อรุ ณประภารัตน์ (2554) ได้ทาํ การประมาณการกักเก็บ


คาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของป่ าไม้ดว้ ยเทคนิ คการสํารวจระยะไกลบริ เวณเขตรักษาพันธุ์
สัตว์ป่าแม่ตื่น จังหวัดตาก ผลการศึ กษาพบว่า สามารถประมาณการกักเก็บคาร์ บ อน
เหนื อพื้นดินได้ท้ งั สิ้ น 8,886,516.9 ตันคาร์ บอน โดยป่ าประเภทต่างๆ มีอตั ราการกักเก็บ
คาร์ บอนเหนือพื้นดินแตกต่างกันไปโดยที่ป่าดิบแล้งมีอตั ราการกักเก็บคาร์ บอนมากที่สุด
รองลงมาคือ ป่ าดิบเขา ป่ าเบญจพรรณ และป่ าเต็งรัง โดยมีค่าการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดินเท่ากับ 129, 102.43, 80.16 และ 54.68 ตันคาร์ บอนต่อเฮกแตร์ ตามลําดับ

26
และ Lolupiman, T. (2015) ได้ศึกษาการประเมินผลผลิ ตปฐมภู มิสุทธิ เหนื อพื้นดิ นด้วย
แบบจําลอง Casa สําหรับสวนป่ าชายเลนอายุ 10, 12, 14 ปี โดยใช้เทคโนโลยีการสํารวจ
จากระยะไกล กรณี ศึกษา: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ ง้ กระเบน จังหวัดจันทบุรี โดยใช้
ภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-7 ETM ที่ ผ่า นการปรั บ แก้เชิ ง บรรยากาศ ซึ่ ง ผลการศึ กษา
พบว่า ในปี 2014 ป่ าชายเลนบริ เวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุง้ กระเบน จังหวัดจันทบุรี
มี ผ ลผลิ ต ปฐมภู มิ สุ ท ธิ ร วมของสวนป่ าชายเลนอายุ 10, 12, 14 ปี เท่ า กับ 5,022.426,
7,886.136 และ 29,693.090 กิโลกรัมคาร์ บอน ตามลําดับ

1.6.3 การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนในยางพาราจากการสํารวจภาคสนาม

ในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมนั้นต้องทํา การ


ปรั บ เที ย บข้อ มู ล การกัก เก็ บ คาร์ บ อนของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย มกับ ข้อ มู ล
การกักเก็บคาร์ บ อนของยางพาราจากการสํา รวจภาคสนาม เพื่อให้ขอ้ มูลการกัก เก็บ
คาร์ บ อนของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย มมี ค วามถู ก ต้อ งมากที่ สุ ด ซึ่ งงานวิ จ ัย ที่
เกี่ยวข้องกับการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนในยางพาราจากการสํารวจภาคสนามที่ได้
ทําการทบทวนมีดงั นี้

สถาบันวิจยั ยาง กรมวิชาการเกษตร (2531) กล่าวว่า ผลิตของต้นยางพารา ไม่วา่ ผลผลิ ต


นํ้ายางและหรื อเนื้ อ ไม้ข้ ึ นอยู่ ก ับ ปั จ จัย 3 ประการ คื อ ความเหมาะสมของพื้ น ที่
พัน ธุ์ ย างพารา และการจัด การสวนยางพารา ดัง นั้น ในการปลู ก สวนยางพาราต้อ ง
พิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่สําหรั บปลู กยางพาราด้วย โดยพิจารณาจากปั จจัยที่
สําคัญ ได้แก่ พื้นที่ควรมีความลาดชันไม่เกิน 35 องศา ถ้าความลาดชันเกินกว่า 15 องศา
จําเป็ นต้องทําขั้นบันได หน้าดิ นลึ กไม่น้อยกว่า 1 เมตร มี การระบายนํ้าดี ไม่มีช้ ันหิ น
หรื อชั้นดินดาน เนื้อดินเป็ นดินร่ วนเหนี ยวถึงร่ วนทราย ไม่เป็ นดินเกลือหรื อดินเค็ม ไม่
เป็ นพื้ น ที่ น าหรื อ ที่ ลุ่ ม นํ้า ขัง ดิ น ไม่ มี ช้ ัน กรวดอัด แน่ น หรื อ หิ น แข็ ง ในระดับ สู ง กว่า
1 เมตร เพราะจะทําให้ตน้ ยางไม่สามารถใช้น้ าํ ในระดับรากแขนงในฤดูแล้งได้ เป็ นพื้นที่
ที่ มี ร ะดับ ความสู ง จากระดับ นํ้า ทะเลไม่ เ กิ น 600 เมตร หากสู ง เกิ น กว่า นี้ อัต ราการ
เจริ ญเติบโตของต้นยางพาราจะลดลง ค่าความเป็ นกรด-ด่างอยูท่ ี่ระหว่าง 4.5-5.5 และมี
ปริ มาณนํ้าฝนไม่นอ้ ยกว่า 1,250 มิลลิเมตรต่อปี มีจาํ นวนฝนตก 120 ถึง 150 วันต่อปี

27
อารั กษ์ จันทุ มา และคณะ (2546) ได้ทาํ การหาปริ มาณสารคาร์ บอนใช้วิธีการหามวล
ชี วภาพของต้นยางพาราที่อายุต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ โดยทดลองกับยางพันธุ์ RRIM 600
เนื่ องจากเป็ นพันธุ์ยางที่นิยมปลูกมากกว่าร้ อยละ 70 ของพื้นที่ปลูกในประเทศ จากการ
วัดมวลชี วภาพทุกส่ วนของต้นยางที่โค่นอายุ ตั้งแต่ 2-25 ปี จํานวน 95 ต้น จากสวนยาง
ในภาคใต้ ภาคตะวันออก ตะวันออกเฉี ยงเหนื อ และภาคเหนื อ พบว่า ความสัมพันธ์ของ
มวลชี วภาพ (Y) กับขนาดเส้นรอบยางของต้นยางพารา (X) มีความสัมพันธ์ในทางบวก
คื อ Y = 0.0082X2.5623 ค่ า สัม ประสิ ท ธิ์ สหสั ม พันธ์ ร้ อยละ 96 โดยยางพาราอายุ 2.5 ปี
มี น้ ํา หนัก มวลชี ภาพแห้ง ของทั้ง ต้น 9.0 กิ โลกรั ม ต่ อต้นและสู ง สุ ด ที่ อ ายุ 25 ปี 822.4
กิโลกรัมต่อต้น มวลชีวภาพของต้นยางพาราขึ้นกับขนาดของเส้นรอบวงมากกว่าอายุของ
ต้นยางพารา นอกจากนั้นยังขึ้นกับสภาพพื้นที่ปลูกยางพารา จํานวนต้นที่ปลูกต่อไร่ โดย
ยางพาราอายุ 9 ปี มีเส้นรอบต้นเฉลี่ย 54.6 เซนติเมตร ให้มวลชีวภาพ 19 เมตริ กตันต่อไร่
ยางพาราอายุ 12 ปี มีเส้นรอบต้นเฉลี่ยใกล้เคียงกัน 59.0 เซนติเมตร ให้มวลชีวภาพ 20-24
เมตริ กตันต่อไร่ ยางพาราอายุ 15-22 ปี ให้มวลชีวภาพได้ใกล้เคียงกันคือ 30-37 เมตริ กตัน
ต่อไร่ และยางพาราอายุ 25 ปี ให้มวลชี วภาพ 49 เมตริ กตันต่อไร่ ซึ่ งยางพาราอายุ 9, 12,
18 และ 25 ปี สามารถกักเก็บสารคาร์ บอนได้ 8.32, 11.46, 15.44 และ 22.39 เมตริ กตัน
ต่อไร่ ที่ ตามลําดับ

ซึ่ งจากการศึ ก ษาของ Saengruksawong. C et al. (2012) ได้ท ํา การศึ ก ษาการเติ บ โต


ผลผลิ ต ชี ว ภาพและการกั ก เก็ บ คาร์ บ อนของสวนยางพารา 2 ชุ ด ที่ ป ลู ก บนดิ น
ชุ ดโพนพิสัยและจักราชในจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ ภาคตะวันออกเฉี ยงเหนื อของ
ประเทศไทย ซึ่ งประกอบด้วยสวนยางพาราอายุ 1, 5, 10, 15 และ 20 ปี โดยใช้แปลงสุ่ ม
ตัวอย่างขนาด 40x40 ตารางเมตร ชั้นอายุละ 3 แปลง เพื่อศึกษาการเติบโตของยางพารา
ทําการวัดเส้นรอบวงลําต้นที่ความสู ง 1.3 เมตรจากพื้นดิน ความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลาง
ทรงพุ่มของยางพาราทุกต้น เลื อกตัดต้นยางพาราที่มีขนาดใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ ยในสวน
ยางพาราแต่ละชั้นอายุเพื่อศึกษามวลชี วภาพและสร้างสมการแอลโลเมตรี โดยวิธีตดั แบบ
แยกส่ วน ผลการศึ กษาพบว่า ความหนาแน่ นของยางพาราที่ปลู กบน 2 ชุ ดดิ นผันแปร
ระหว่าง 73-86 ต้นต่อไร่ ขนาดลําต้นและความสู งเพิ่มขึ้นตามอายุสวนยางพารา โดยมี
การเจริ ญ เติ บ โตรวดเร็ ว มากในช่ ว งอายุ 1-15 ปี และช้า ลงเมื่ อ มี อ ายุ 15-20 ปี ส่ ว น
ยางพาราบนชุดดินโพนพิสัยมีการเติบโตเฉลี่ยของยางพาราในสวนยางพาราอายุ 1, 5, 10,
15 และ 20 ปี เพิ่มขึ้นตามอายุ มีเส้นรอบวงลําต้นเท่ากับ 8.23, 29.42, 36.76, 53.54 และ
54.45 เซนติ เ มตร ความสู ง เท่ า กับ 6.49, 8.83, 11.98, 15.41 และ 14.46 เมตร และ

28
เส้นผ่าศูนย์กลางเรื อนยอดเท่ากับ 2.60, 4.80, 5.30, 6.40 และ 5.70 เมตร ตามลําดับ ส่ วน
ยางพาราที่ปลูกบนชุ ดดินจักรราชมีการเติบโตที่เร็ วกว่าบนชุ ดดินโพนพิสัย มีเส้นรอบวง
ลํา ต้นเท่า กับ 15.61, 34.88, 51.67, 56.83 และ 73.18 ซม. ความสู ง เท่า กับ 5.56, 9.61,
16.04, 22.50 และ 23.95 เมตร และเส้ นผ่าศู นย์กลางเรื อนยอดเท่ากับ 2.46, 5.58, 6.19,
5.92 และ 6.90 เมตร ตามลําดับ มวลชี วภาพของยางพารามี ความแตกต่างกันระหว่า ง
ชุ ดดิ นทั้งสอง โดยที่สวนยางบนชุ ดดิ นโพนพิสัยมีค่าเท่ากับ 150, 17.66, 42.07, 122.64
และ 123.07 เมกกะกรั มต่อเฮกแตร์ ขณะที่ สวนยางบนชุ ดดิ นจักราชมี ค่าเท่ากับ 3.75,
27.07, 100.46, 184.97 และ 406.13 เมกกะกรัมต่อเฮกแตร์ ตามลําดับ สวนยางที่ปลูกบน
ชุดดินโพนพิสัยมีการกักเก็บคาร์บอนในระบบนิ เวศเพิ่มขึ้นตามอายุเท่ากับ 22.52, 47.47,
52.65, 101.35 และ 82.16 เมกกะกรัมต่อเฮกแตร์ ตามลําดับ โดยแบ่งออกเป็ น 2 ส่ วน คือ
1) คาร์ บ อนในมวลชี วภาพ เท่า กับ 0.85, 10.11, 24.01, 70.12 และ 70.13 เมกกะกรั ม
ต่ อ เฮกแตร์ และ 2) คาร์ บ อนในดิ น เท่ า กับ 21.67, 37.36, 28.64, 31.23 และ 12.03
เมกกะกรั ม ต่อเฮกแตร์ สวนยางที่ ปลู กบนชุ ดดิ นจักราชมี ก ารกัก เก็บ คาร์ บ อนเท่ากับ
18.52, 65.89, 128.27, 202.03 และ 354.39 เมกกะกรั มต่อเฮกแตร์ ตามลําดับ แบ่งเป็ น
1) คาร์ บอนในมวลชี วภาพเท่ากับ 2.13, 15.52, 57.38, 105.78 และ 231.52 เมกกะกรัม
ต่ อ เฮกแตร์ และ 2) คาร์ บ อนในดิ น เท่ า กับ 14.26, 16.83, 18.52, 16.05 และ13.37
เมกกะกรัมต่อเฮกแตร์

กัมปนาท ดีอุดมจันทร์ และคณะ (2554) ได้ทาํ การประเมินปริ มาณคาร์ บอนในพื้นที่ป่า


ไม้บริ เวณลุ่มแม่แจ่มตอนล่าง ซึ่ งในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนในภาคสนามนั้น ได้
ทําการวางแปลงสํารวจภาคสนามทัว่ พื้นที่ตวั อย่างเพื่อให้ครอบคลุมป่ าทุกชนิ ด ทําการ
วัดขนาดของต้นไม้โดยการวัดเส้นผ่าศูนกลางเพียงอก (DBH) และความสู งของต้นไม้ทุก
ต้นในแปลง จากนั้นทํา การคํา นวณมวลชี ว ภาพของป่ าโดยใช้ส มการอโลเมตรี ข อง
Ogawa et al. (1965) เพื่อประเมินมวลชี วภาพของป่ าดิ บเขาและของ Sumi et al. (1983)
เพื่ อ ประเมิ น มวลชี ว ภาพของป่ าเบญจพรรณและป่ าเต็ ง รั ง แล้ว คํา นวณหาปริ ม าณ
คาร์ บอนที่สะสมในป่ าโดยใช้ค่าสัดส่ วนปริ มาณคาร์ บอนของ IPPC ซึ่ งมีค่าเท่ากับ 0.47
ซึ่ งค่ า ดัง กล่ า วใกล้เ คี ย งกับ สั ด ส่ ว นของคาร์ บ อนพรรณไม้ใ นประเทศไทย จากการ
วิเคราะห์พบว่า ป่ าดิ บเขา ป่ าเบญจพรรณ และป่ าเต็งรังในบริ เวณลุ่มแม่แจ่มตอนล่างมี
ผลผลิ ตมวลชี วภาพของส่ ว นที่ อยู่เ หนื อ ดิ น และใต้ดิน เฉลี่ ย เท่ า กับ 27.97, 15.54 และ
10.32 ตันต่อไร่ คิ ดเป็ นปริ มาณคาร์ บ อนที่ เก็บสะสมอยู่ใ นมวลชี วภาพในพื้นที่ โดยมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.97, 7.77 และ 5.16 ตันต่อไร่

29
นวลปราง นวลอุ ไ ร (2548)ได้ท าํ การประเมิ น มวลชี ว ภาพเหนื อ พื้ น ดิ น และปริ ม าณ
คาร์ บ อนสะสมที่ อ ยู่ เ หนื อ พื้ น ดิ น ของระบบนิ เ วศป่ าจากการสํ า รวจด้า นป่ าไม้แ ละ
การรั บ รู ้ จ ากระยะไกล บริ เ วณอุ ท ยานแห่ ง ชาติ แ ก่ ง กระจาน ทํา การประเมิ น จาก
มวลชี วภาพเหนื อพื้ นดิ น โดยวัดขนาดเส้ นผ่าศู นย์กลางที่ ระดับความสู ง เพียงอกของ
ต้นไม้และใช้ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางและความสู งของต้นไม้ใน
การประเมินความสู งของต้นไม้ คํานวณมวลชี วภาพที่อยูเ่ หนื อพื้นดินของระบบนิ เวศป่ า
โดยใช้สมการแอลโลเมตรี (Allometric equation) ปริ มาณคาร์ บอนในมวลชี วภาพที่อยู่
เหนื อพื้ นดิ นมี ค่า เป็ น 0.5 เท่ า ของปริ ม าณมวลชี วภาพที่อยู่เหนื อพื้นดิ นของป่ าเต็งรั ง
ป่ าเบญจพรรณ ป่ าดิ บแล้ง และป่ าดิ บชื้ น ผลการศึกษาพบว่า ระบบนิ เวศป่ าดงดิบชื้ นมี
ปริ ม าณการเก็ บ กัก คาร์ บ อนในมวลชี วภาพที่ อยู่เหนื อพื้ นดิ นสู ง ที่ สุ ด 168.04±107.88
ตัน คาร์ บ อนต่ อ เฮกตาร์ รองลงมาเป็ นระบบนิ เ วศป่ าดงดิ บ แล้ ง ป่ าเบญจพรรณ
และป่ าเต็ ง รั ง โดยมี ป ริ ม าณการเก็ บ กัก คาร์ บ อนในมวลชี ว ภาพที่ อ ยู่เ หนื อ พื้ น ดิ น
103.85±61.32, 34.26±24.18 และ 29.31±9.17 ตันคาร์ บอนต่อเฮกตาร์ ตามลําดับ

ระวี เจี ย รวิภา และคณะ (2555) ได้ท าํ การประเมิ นมู ล ค่ า การชดเชยคาร์ บ อนในสวน
ยางพาราในช่ วงอายุ 25 ปี โดยใช้สมการความสัมพันธ์ของมวลชี วภาพและคาร์ บ อน
อินทรี ยใ์ นดิ นจากสวนยางพาราจํานวน 5 ช่วงอายุ คือ 2, 5, 12, 16 และ 26 ปี ในแต่ละ
ช่วงอายุใช้ตวั อย่างพื้นที่ศึกษาจํานวน 1 ไร่ (76 ต้นต่อไร่ ) บริ เวณ อ.เทพา จ.สงขลา ผล
การประเมิน พบว่า ยางพาราอายุ 2, 5, 12, 16 และ 26 ปี มีการสะสมมวลชี วภาพทั้งต้น
เท่า กับ 6.69, 61.62, 144.55, 226.68 และ 327.44 ตันต่อเฮกแตร์ ตามลํา ดับ โดยมี ก าร
สะสมมวลชี ว ภาพของลํา ต้น เท่ า กับ 3.58, 32.96, 74.10, 112.76 และ 158.78 ตัน ต่ อ
เฮกแตร์ มีการสะสมมวลชี วภาพของกิ่งและก้านเท่ากับ 1.36, 20.78, 55.78, 93.53 และ
141.79 ตันต่อเฮกแตร์ มีการสะสมมวลชีวภาพของใบเท่ากับ 0.95, 2.26, 3.12, 3.66 และ
4.20 ตันต่อเฮกแตร์ และมีการสะสมมวลชี วภาพของรากเท่ากับ 0.79, 5.63, 11.55, 16.73
และ 22.67 ตันต่อเฮกแตร์ ตามลําดับ และสามารถเก็บกักคาร์ บอนทั้งหมดอยู่ในช่ วง
50.68-193.72 ตัน ต่ อ เฮกแตร์ (8.11-30.99 ตัน ต่ อ ไร่ ) ซึ่ งมี ค วามสั ม พัน ธ์ ก ับ ช่ ว งอายุ
ยางพาราแบบโพลีโนเมียล (R2 = 0.97) ส่ วนรายได้สุทธิ จากการทําสัญญาชดเชยการเก็บ
กั ก คาร์ บ อนตลอด 25 ปี ประเมิ น ได้ เ ท่ า กั บ 573.39 ดอลลาร์ ส หรั ฐ ต่ อ เฮกแตร์
(3,063.27 บาทต่ อ ไร่ ) ดัง นั้น ศัก ยภาพการเก็ บ กัก คาร์ บ อนในสวนยางพาราน่ า จะมี
ประสิ ทธิ ผลต่อการซื้อขายคาร์ บอนเครดิตในตลาดแบบสมัครใจ

30
1.6.4 การสร้างแบบจําลองจากสมการความสัมพันธ์

จิระ ปรังเขียว และคณะ (2552) ได้ทาํ การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผลผลิ ตมวล


ชีวภาพเหนือพื้นดินและอายุของพืชแต่ละชนิ ด พบว่ามีค่าใกล้เคียงกันและมีแนวโน้มไป
ในทิศทางเดี ยวกัน (Sahunalu et al., 1993; Pohjonen and Pukkala, 1994) จึงได้คาํ นวณ
เพื่อหาแบบจําลองเพื่อคาดเดาผลผลิ ตมวลชี วภาพเหนื อพื้นดิ นเฉลี่ ยของพืชทั้งหมดที่
ปลู กในพื้นที่ ป่า (Tangtham and Tantasirin, 1996) ผลผลิ ตมวลชี ภาพเหนื อพื้นดิ นจาก
กราฟเป็ นผลผลิ ตมวลชี วภาพที่ได้จากการเก็บข้อมูลภาคสนาม ซึ่ งมี ค่าที่ แตกต่างจาก
ผลผลิตมวลชี วภาพเหนื อพื้นดินที่ได้จากการคํานวณจากแบบจําลอง 3PGs ในแต่ละช่วง
อายุของพืชที่ ปลู ก ทั้งนี้ ผลผลิ ตมวลชี วภาพที่ ได้จากการเก็บข้อมู ลภาคสนามและจาก
แบบจําลอง 3PGs จะเห็นว่าผลผลิตมวลชีวภาพเหนือพื้นดินที่ได้จากแบบจําลอง 3PGs มี
ช่ ว งตั้ งแต่ 0-25 ตั น ต่ อ เฮกแตร์ และจากข้ อ มู ล ภาคสนามมี ช่ ว งตั้ งแต่ 0-180
ตันต่อเฮกแตร์ มีความสัมพันธ์ที่ดีโดยมี ค่า R2`= 0.9759 จากการศึกษาเกณฑ์ที่ใช้ในการ
วิ เ คราะห์ ผ ลผลิ ต มวลชี ว ภาพเหนื อ พื้ น ดิ น จากหั ว ข้อ ข้า งต้น ได้ นํา มาสู่ ก ารสร้ า ง
แบบจํา ลองเพื่ อ ใช้ใ นการประเมิ น ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องพื้ น ที่ ป่ า การศึ ก ษาครั้ งนี้
แบ่งระดับความอุ ดมสมบู รณ์ เป็ น 4 ระดับ คือ ความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ความอุ ดม
สมบู ร ณ์ ม าก ความอุ ด มสมบู ร ณ์ น้อ ย และความอุ ด มสมบู ร ณ์ น้อ ยที่ สุ ด ค่ า ผลผลิ ต
มวลชี ว ภาพเหนื อ พื้ น ดิ น ที่ ไ ด้จ ากแบบจํา ลอง 3PGs ถู ก นํา มาสร้ า งแบบจํา ลองเพื่ อ
ประเมินความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่า โดยกําหนดให้

ตัวแปรตาม = ผลผลิตมวลชีวภาพเหนื อพื้นดิน (ตันต่อเฮกแตร์ )


ตัวแปรอิสระ = อายุของพืชที่ปลูก (ปี )

โดยมีแบบจําลองในการประเมินความอุดมสมบูรณ์แต่ละระดับดังนี้

ผลผลิตมวลชีวภาพเหนือพื้นดินระดับมากที่สุด:
Y = 0.004 (X)2 + 0.4445(X) + 2.7856 (R2 = 0.994) สมการ 1.10

ผลผลิตมวลชีวภาพเหนื อพื้นดินระดับมาก:
Y = 0.0004(X)2 + 0.4328(X) + 1.3303 (R2= 0.9898) สมการ 1.11

31
ผลผลิตมวลชีวภาพเหนื อพื้นดินระดับน้อย:
Y = -0.0008(X)2 + 0.276(X) -0.3277 (R²=0.9849) สมการ 1.12

ผลผลิตมวลชีวภาพเหนื อพื้นดินระดับน้อยที่สุด:
Y = 6E-0.5(X)2 + 0.0117(X) – 0.0488 (R2= 0.9226) สมการ 1.13

แบบจํา ลองหรื อสมการดัง กล่ า วได้ นํา ไปใช้ ใ นการวิ เ คราะห์ ผ ลผลิ ต มวลชี ว ภาพ
เหนื อพื้นดิ นของพื้นที่ป่าในจังหวัดเชี ยงใหม่เพื่อประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ ของ
พื้นที่ป่าได้

1.7 กรอบแนวคิดในการศึกษา

กรอบแนวคิ ด ในการศึ ก ษาในการศึ ก ษาวิ จ ัย ครั้ งนี้ ผู ว้ ิ จ ัย ได้ท าํ การประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อน
เหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย ขั้นตอน
การศึ ก ษาเริ่ มจากการจํา แนกประเภทการใช้ ที่ ดิ น ใน 2 ช่ ว งเวลา คื อ ก่ อ นที่ จ ะมี ก ารส่ ง เสริ ม
การปลูกยางพาราในปี 2548 และหลังจากที่มีการส่ งเสริ มการปลูกยางพาราแล้วในปี 2558 ด้วยวิธีการ
จํา แนกเชิ ง วัต ถุ ซึ่ งในการจํา แนกประเภทการใช้ที่ ดิ น ในปี 2548 จะใช้ข ้อ มู ล ภาพถ่ า ยดาวเที ย ม
Landsat-5 TM เพื่อจําแนกประเภทการใช้ที่ดิน 6 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตร ที่อยู่อาศัย
แหล่งนํ้า พื้นที่อื่นๆ และพื้นที่ปลูกยางพารา ส่ วนในปี 2558 ใช้ภาพดาวถ่ายเทียม Landsat-8 OLI เพื่อ
จําแนกประเภทการใช้ที่ดิน 4 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ปลูกยางพาราอายุ 7-13 ปี พื้นที่ที่ปลูก
ยางพาราอายุ 14-20 ปี และพื้นที่ ที่ปลู กยางพาราอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้ นไป เพื่อทําการศึ กษารู ป แบบ
การเปลี่ ย นแปลงการใช้ ป ระโยชน์ ที่ ดิ น 10 ปี ย้อ นหลัง ก่ อ นที่ จ ะมี ก ารปลู ก ยางพารา จากนั้ น
ทํา การประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น จากภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-8 OLI ด้ ว ย
CASA-biosphere model ซึ่ งอาศัย ฐานข้อ มู ล พื้ น ที่ ป ลู ก ยางตามชั้น อายุ ที่ ไ ด้จ ากผลการจํา แนกใน
วัตถุ ป ระสงค์ข ้อที่ 1 ร่ วมกับ โปรแกรมทางด้า นระบบสารสนเทศภู มิ ศ าสตร์ เป็ นเครื่ องมื อในการ
วิเคราะห์ เพื่อให้ได้มาซึ่ งปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม
และคํา นวณหาปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ น ของยางพาราที่ ไ ด้จากข้อมู ล การสํ า รวจ
ภาคสนาม (ความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับอกและความสู งของต้นยางพารา) ในตําแหน่งเดี ยวกัน
โดยทําการสุ่ มตัวอย่างของต้นยางพาราในแปลงทดสอบ จากนั้นนําค่าความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางที่
ระดับอกและความสู งของต้นยางพาราที่วดั ได้เข้าสู่ สมการแอลโลเมตรี หลังจากที่ได้ทาํ การประเมิน
ปริ ม าณการกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อพื้น ดิ นของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย มและจากการสํ า รวจ

32
ภาคสนามแล้ว นําผลการวิเคราะห์ ที่ไ ด้มาตรวจสอบความถู ก ต้องและหาความสัมพันธ์ กบั ข้อมู ล
ปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราที่ ไ ด้จ ากภาคสนามในตํา แหน่ ง เดี ย วกัน
ว่ามี สัมพันธ์ กนั หรื อไม่ สําหรั บการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดินกับปั จจัยทางด้านกายภาพ ซึ่ งประกอบด้วย ความสู งของพื้นที่ ชนิ ดของดิน และความลาดชัน
ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงรายนั้น อาศัยโปรแกรมทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการ
วิเคราะห์ จากนั้นทําการพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของ
ยางพาราจากการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินด้วย CASA-biosphere model เพื่อให้ได้มา
ซึ่ งโมเดลที่เหมาะสมในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราที่สามารถคํานวณ
ได้รวดเร็ ว มีผลลัพธ์ที่มีความถูกต้องใกล้เคียงกับโมเดลเดิม (ภาพที่ 1.3)

33
การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา
จากภาพถ่ายดาวเทียมในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย

การปรับแก้คุณภาพข้อมูล
ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 TM ปี 2548
1.การปรับแก้เชิ งรังสี
ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 OLI ปี 2558
2.การปรับแก้เชิ งเรขาคณิ ต
3.การปรับแก้เชิ งบรรยากาศ

การจําแนกประเภทข้อมูลเชิ งวัตถุ

การเปลี่ยนแปลง ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 TM ปี 2547 ภาพถ่ายดาวเทียม


การใช้ที่ดิน ประกอบด้วย พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตร Landsat-8 OLI ปี 2557
ที่อยูอ่ าศัย แหล่งนํ้า พื้นที่อื่นๆ ประกอบด้วย พื้นที่ป่าไม้
และพื้นที่ปลูกยางพารา และพื้นที่ที่ปลูกยางพาราตามช่วง

การจําแนกพื้นที่ปลูกยางพาราตามช่วงชั้นอายุ

การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิน การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิน


ของยางพาราโดย การปรับเทียบ ของยางพาราโดย
สมการแอลโลเมตรี CASA-Biosphere Model

คาร์บอนกักเก็บเหนื อพื้นดิน ปั จจัยทางกายภาพ


ของยางพาราในพื้นที่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 1.ความสู งของพื้นที่ 2. ชนิ ดดิน
อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย 3. ความลาดชัน

โมเดลที่เหมาะสมในการประเมิน
การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา

ภาพที่ 1.3 กรอบแนวคิดในการศึกษา

34
1.8 ระเบียบวิธีวจิ ัย

การศึกษาครั้งนี้เป็ นการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราด้วยภาพถ่ายดาวเทียม


โดยมีวตั ถุ ประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิน
ของยางพาราจากภาพถ่ ายดาวเที ย มด้วย CASA-biosphere model และศึ กษาความสัมพันธ์ ระหว่า ง
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นกับปั จจัยทางกายภาพ และพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมในการ
ประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอนของยางพาราในพื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย โดยมี รูปแบบ
วิธีการศึกษาแบบเชิ งปริ มาณ ประกอบกับเอกสารวิชาการ คู่มือ สิ่ งพิมพ์ วิทยานิ พนธ์ และงานวิจยั ที่
เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

1.8.1 ข้อมูลและแหล่งข้อมูล

1) ข้อมูลปฐมภูมิ

ข้อ มู ล ภาพถ่ า ยดาวเที ย มบริ เ วณพื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวง จัง หวัด เชี ย งราย ซึ่ ง
ประกอบด้ ว ยข้ อ มู ล ภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-5 TM ปี 2548 และข้ อ มู ล
ภาพถ่ า ยดาวเที ยม Landsat-8 OLI ปี 2558 รายละเอี ย ดจุ ดภาพ 30 เมตร ทํา การ
ดาวน์โหลดจากเว็บไซด์ของ USGS (http://earthexplorer.usgs.gov)

ข้อ มู ล การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราที่ ไ ด้ก ารวัด ความยาว
เส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอกและความสู งของต้นยางพาราที่วดั ได้จากการสํารวจ
ภาคสนามในพื้ น ที่ อ าํ เภอดอยหลวง จัง หวัด เชี ย งราย ซึ่ งคํา นวณจากสมการ
แอลโลเมตรี

ฐานข้อมู ลพื้นที่ ป่าไม้และพื้นที่ ปลู กยางพาราตามช่ วงชั้นอายุได้มาจากผลการ


จําแนกพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ปลูกยางพาราตามช่วงชั้นอายุในวัตถุประสงค์ขอ้ ที่ 1

2) ข้อมูลทุติยภูมิ

ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ประกอบด้วย ฐานข้อมูลความสู งของภูมิประเทศ ชนิดของดิน


และความลาดชั น ในบริ เวณพื้ นที่ อ ํ า เภอดอยหลวง จั ง หวั ด เชี ยงราย
จากศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ)

35
เอกสารวิ ช าการ คู่ มื อ สิ่ งพิ ม พ์ วิ ท ยานิ พนธ์ และงานวิ จ ั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง
จากสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

1.8.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

การศึ ก ษาการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราด้ว ยภาพถ่ า ย


ดาวเทียมในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย มีวธิ ี การเก็บข้อมูลดังนี้

1) การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ได้ทาํ การรวบรวมภาพดาวเทียม 2 ช่วงเวลา


คื อ ภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-5 TM ในปี 2548 และภาพถ่ า ยดาวเที ย ม
Landsat-8 OLI ในปี 2558 บริ เวณพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย โดยทํา
การดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของ USGS

2) การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม


และศึ กษาความสัมพันธ์ ระหว่า งปริ มาณการกักเก็บ คาร์ บ อนเหนื อพื้นดิ นของ
ยางพารากับ ปั จจัย ทางกายภาพในพื้น ที่ อ าํ เภอดอยหลวง จัง หวัดเชี ย งรายนั้น
ในการศึ ก ษาการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจาก
ภาพถ่ า ยดาวเที ย มใช้ Potter et al. (1995, อ้า งใน Lolupiman. T., 2015) โดยค่ า
รังสี ดวงอาทิตย์ที่ได้จากสถานี วดั ความเข้มรังสี ดวงอาทิตย์ ในพื้นที่อาํ เภอเมื อง
จังหวัดเชี ยงราย ค่าอุ ณหภู มิทาํ การคํานวณจากข้อมู ลอุ ณหภู มิสูงสุ ดและตํ่า สุ ด
10 ปี ย้อนหลังจากสถานี อากาศเกษตร จังหวัดเชียงราย ส่ วนข้อมูลปริ มาณการกัก
เก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากการสํารวจสนามที่จะนํามาตรวจสอบ
ความถู ก ต้อ งกับ ปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจาก
ภาพถ่ายดาวเทียม ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการการสํารวจภาคสนามวัดความ
ยาวเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอกและความสู งของต้นยางพารา เพื่อนําเข้าสู่ สมการ
แอลโลเมตรี ต่อไป โดยทําการศึกษาเอกสารวิชาการ คู่มือ สิ่ งพิมพ์ วิทยานิ พนธ์
และงานวิจยั ที่เกี่ ยวข้อง จากสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ และใน
ส่ วนของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดิน
กับปั จจัยทางกายภาพในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย ซึ่ งประกอบด้วย
ความสู งของพื้นที่ ชนิ ดของดิ น และความลาดชัน ได้ทาํ การเก็บรวบรวมข้อมูล
ฐานข้อมูลเชิ งพื้นที่ประกอบด้วย ฐานข้อมูลความสู งของภูมิประเทศ ชนิดของดิน

36
และความลาดชั น ในบริ เวณพื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวง จัง หวัด เชี ย งราย จาก
ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ)

3) การหาโมเดลที่ เหมาะสมในการประเมิ นการกัก เก็บคาร์ บอนเหนื อพื้น ดิ น ของ


ยางพารา ทําการนําผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิน
ของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ยมในพื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง จัง หวัดเชี ย งราย
มาศึ ก ษาวิธี ก ารขั้นตอน เพื่อให้ไ ด้ม าซึ่ ง โมเดลที่ เหมาะสม โดยอาศัย เอกสาร
วิชาการ คู่มือ สิ่ งพิมพ์ วิทยานิพนธ์ และงานวิจยั ต่างๆ

1.8.3 การวิเคราะห์ขอ้ มูล

ในการศึ ก ษาการประเมิ น การกั ก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจาก


ภาพถ่ายดาวเทียมในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงรายครั้งนี้ มีการวิเคราะห์ ขอ้ มูล
ในแต่ละขั้นตอนดังต่อไปนี้

1) การศึกษาการเปลี่ ยนแปลงการใช้ที่ดินนั้น ทําการจําแนกการใช้ที่ดินด้วยวิธีการ


จําแนกด้วยวิธีเชิ งวัตถุ เนื่ องจากสามารถกําหนดค่าพารามิเตอร์ ในการแบ่งส่ วน
ของวัตถุภาพให้เหมาะสมกับการใช้ที่ดินในพื้นที่ศึกษา รวมถึงให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
การจําแนกด้วยวิธีเชิ งจุ ดภาพ เริ่ มจากการจําแนกการใช้ที่ดินใน 2 ช่วงเวลา คือ
ปี 2548 โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 TM และปี 2558 ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม
Landsat-8 OLI โดยอาศัยโปรแกรมทางด้านการรั บรู ้ ระยะไกลเป็ นเครื่ องมือใน
การวิเคราะห์ จากนั้นทําการศึกษารู ปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เดิ ม ก่ อนที่ จะมี ก ารส่ ง เสริ ม การปลู ก ยางพาราในปี 2548 และหลัง จากที่ มี ก าร
ส่ งเสริ มการปลู กยางพาราแล้วในปี 2558 โดยใช้โปรแกรมทางด้านสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์เป็ นเครื่ องมือในการวิเคราะห์

2) การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม


และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินกับปั จจัย
ทางกายภาพ ในขั้นตอนของการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของ
ยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-8 OLI นั้ นทํ า การประเมิ น ด้ ว ย
CASA-biosphere model เพื่อวิเคราะห์หาปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิน

37
ของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย ม หลัง จากนั้น นํา ผลการวิ เ คราะห์ ที่ ไ ด้ม า
ตรวจสอบความถูกต้องและหาความสัมพันธ์กบั ข้อมูลปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอน
เหนื อพื้นดินของยางพาราที่ได้จากการสํารวจภาคสนามในพิกดั ตําแหน่งเดียวกัน
ซึ่ งในการออกภาคสนามนั้นจะทําการวัดความยาวเส้นผ่าศู นย์กลางที่ ระดับอก
และความสู งของต้นยางพาราและนํา เข้าสู่ สมการแอลโลเมตรี เพื่อคํานวณหา
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนของยางพาราจากการสํารวจภาคสนาม ส่ วนการศึกษา
ความสั ม พันธ์ ระหว่า งปริ ม าณการกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ น ดิ นกับ ปั จ จัย ทาง
กายภาพ ซึ่ งประกอบด้วย ความสู งของพื้นที่ ชนิ ดของดิ น และความลาดชันใน
พื้ น ที่ อ าํ เภอดอยหลวง จัง หวัด เชี ย งราย ทํา การวิ เ คราะห์ โ ดยอาศัย โปรแกรม
ทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ เครื่ องมือในการวิเคราะห์

3) การพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมในการประเมินการกักเก็บคาร์ บ อนของยางพารา
โดยทํา การศึ ก ษาและวิ เ คราะห์ โ มเดลเดิ ม เพื่ อ ให้ ไ ด้ม าซึ่ งโมเดลที่ เ หมาะสม
มีความกะทัดรัด สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ วมากกว่า และมีความถูกต้อง
น่าเชื่อถือใกล้เคียงกับโมเดลเดิม โดยนําภาพดาวเทียมที่ผา่ นกระบวนการประเมิน
การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย มด้ ว ย
CASA-biosphere model ที่ผา่ นการปรับแก้มาหาความสัมพันธ์กบั ค่าการสะท้อน
(Reflectance) ของภาพดาวเที ย มแต่ ล ะแบนด์ โดยการวิเ คราะห์ สั ม ประสิ ท ธิ์
สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ซึ่ งเป็ นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ว่ามีความสัมพันธ์กนั หรื อไม่ เพื่อแสดงว่าตัวแปรทั้ง
2 ตัวนั้นมีความสัมพันธ์กนั มากน้อยเพียงใด ซึ่ งสามารถหาได้จากค่าสัมประสิ ทธิ์
สหสัมพันธ์ (ปรี ชา ล่ามช้าง และคณะ, 2545) ดังสมการต่อไปนี้
∑𝑛𝑛 � �
𝑖𝑖=1(𝑋𝑋𝑖𝑖 −𝑋𝑋)(𝑌𝑌𝑖𝑖 −𝑌𝑌)
R = สมการ 1.14
�[∑𝑛𝑛 � 2 𝑛𝑛 � 2
𝑖𝑖=1(𝑋𝑋𝑖𝑖 −𝑋𝑋) ∑𝑖𝑖=1(𝑌𝑌𝑖𝑖 −𝑌𝑌) ]

𝑛𝑛 ∑𝑛𝑛 𝑛𝑛 𝑛𝑛
𝑖𝑖=1 𝑋𝑋𝑖𝑖 𝑌𝑌𝑖𝑖 −�∑𝑖𝑖=1 𝑋𝑋𝑖𝑖 ��∑𝑖𝑖=1 𝑌𝑌𝑖𝑖 �
หรื อ R = สมการ 1.15
�[𝑛𝑛 ∑𝑛𝑛 2 𝑛𝑛 2 𝑛𝑛 2 𝑛𝑛 2
𝑖𝑖=1 𝑋𝑋𝑖𝑖 −(∑𝑖𝑖=1 𝑋𝑋) ][𝑛𝑛 ∑𝑖𝑖=1 𝑌𝑌𝑖𝑖 −(∑𝑖𝑖=1 𝑌𝑌𝑖𝑖 ) ]

𝑛𝑛 ∑𝑛𝑛 ��
𝑖𝑖=1 𝑋𝑋𝑖𝑖 𝑌𝑌𝑖𝑖 −𝑛𝑛𝑋𝑋 𝑌𝑌
หรื อ R = สมการ 1.16
�[𝑛𝑛 ∑𝑛𝑛 2 � 2 𝑛𝑛 2 �2
𝑖𝑖=1 𝑋𝑋𝑖𝑖 −(𝑛𝑛𝑋𝑋 ][∑𝑖𝑖=1 𝑌𝑌𝑖𝑖 −𝑛𝑛𝑌𝑌 ]

38
หลังจากทราบความสัมพันธ์แล้ว ก็จะสามารถนําข้อมูลนั้นมาสร้างความสัมพันธ์
ในลั ก ษณะของสมการ ซึ่ งเรี ยกว่ า สมการถดถอย (Regression Equation)
ซึ่ งสมการที่แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลตัวแปรคู่ (X และ Y) อาจจะมีรูปแบบ
สมการความสัมพันธ์ได้หลายลักษณะ เช่น

สมการเส้นตรง Y = a + bX สมการ 1.17


สมการพาราโบลา Y = a + bX + cX2 สมการ 1.18
สมการเอกซโปเนนเซี ยล Y = abx สมการ 1.19

39
บทที่ 2

บริบทพืน้ ทีศ่ ึกษา

อําเภอดอยหลวง เป็ นอําเภอที่อยูใ่ นพื้นที่เขตการปกครองของจังหวัดเชี ยงราย ได้รับการยกฐานะเป็ น


อํา เภอ เมื่ อวันที่ 28 กันยายน ปี 2550 ตามอํา เภอเฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หั ว ฯ
เนื่ องในโอกาสมหามงคลเฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม ปี 2550 โดยมี
นายสรธร สั น ทัด เป็ นนายอํา เภอคนแรก โดยตั้ง อยู่ท างทิ ศ เหนื อ ของจัง หวัด เชี ย งราย ห่ า งจาก
จังหวัดเชี ยงรายประมาณ 68 กิ โลเมตร ห่ างจากกรุ ง เทพมหานครประมาณ 868 กิ โลเมตร มี เนื้ อที่
ประมาณ 318 ตารางกิ โลเมตร โดยตําบลโชคชัยมี เนื้ อที่มากที่ สุด รองลงมาคื อ ตําบลปงน้อย และ
ตําบลหนองป่ าก่อ ตามลําดับ ซึ่ งมีขอ้ มูลพื้นฐานทางด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

2.1 ทีต่ ้ งั และอาณาเขต

อําเภอดอยหลวงตั้งอยูท่ างตอนเหนื อของจังหวัดเชี ยงราย ตั้งอยู่ประมาณละติจูด 20 องศา 3 ลิปดา 0


ฟิ ลิปดาเหนื อ ถึงละติจูด 20 องศา 14 ลิปดา 0 ฟิ ลิปดาเหนือและลองจิจูด 100 องศา 0 ลิปดา 0 ฟิ ลิปดา
ตะวันออก ถึงลองจิจูด 100 องศา 19 ลิปดา 0 ฟิ ลิปดาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครอง
ข้างเคียง ดังนี้

ทิศเหนื อ ติดต่อกับอําเภอเชียงแสน
ทิศใต้ ติดต่อกับอําเภอเวียงเชียงรุ ้งและอําเภอพญาเม็งราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอําเภอแม่จนั
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอําเภอเชียงแสนและเชียงของ

2.2 ขอบเขตการปกครอง

ท้องที่ อาํ เภอดอยหลวงเดิ ม เป็ นส่ วนหนึ่ ง ของอํา เภอแม่จนั ทางราชการได้แบ่ ง พื้นที่ ก ารปกครอง
ออกมาตั้งเป็ นกิ่งอําเภอดอยหลวง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ปี 2539 โดย

40
มี ผ ลบัง คับ ตั้ง แต่ วนั ที่ 15 กรกฎาคม ปี เดี ย วกัน และต่ อ มาได้มี พ ระราชกฤษฎี ก ายกฐานะขึ้ น เป็ น
อําเภอดอยหลวง ในวันที่ 24 สิ งหาคม ปี 2550 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วนั ที่ 8 กันยายนในปี เดียวกัน

2.2.1 การปกครองส่ วนภูมิภาค

อําเภอดอยหลวง แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็ น 3 ตําบล 33 หมู่บา้ น (ภาพที่ 2.2)


ได้แก่

1) ตําบลปงน้อย ประกอบด้วย 11 หมู่บา้ น


2) ตําบลโชคชัย ประกอบด้วย 12 หมู่บา้ น
3) ตําบลหนองป่ าก่อ ประกอบด้วย 10 หมู่บา้ น

2.2.2 การปกครองส่ วนท้องถิ่น

อําเภอดอยหลวง ประกอบด้วยองค์การบริ หารส่ วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่

1) องค์การบริ หารส่ วนตําบลปงน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตาํ บลปงน้อยทั้งตําบล


2) องค์การบริ หารส่ วนตําบลโชคชัย ครอบคลุมพื้นที่ตาํ บลโชคชัยทั้งตําบล
3) องค์ก ารบริ หารส่ วนตํา บลหนองป่ าก่ อ ครอบคลุ ม พื้นที่ ตาํ บลหนองป่ าก่ อ
ทั้งตําบล

2.3 ลักษณะทางกายภาพ

2.3.1 สภาพภูมิประเทศ

อําเภอดอยหลวงมีลกั ษณะภูมิประเทศเป็ นที่ราบสลับภูเขา มีความสู งของพื้นที่ต่าํ สุ ดอยูท่ ี่


358 เมตรจากระดับทะเลปานกลางและสู งสุ ดอยู่ที่ 995 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง
เฉลี่ ย แล้ ว อํา เภอดอยหลวงมี ค วามสู ง ของพื้ น ที่ เ ฉลี่ ย อยู่ ที่ 676.5 เมตรจากระดั บ
ทะเลปานกลาง โดยเป็ นพื้นที่ที่มีความสู งน้อยกว่า 400 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง
มากถึ ง ร้ อ ยละ 39 ซึ่ งพบมากในพื้ น ที่ ท างทิ ศ ตะวัน ตก ซึ่ งอยู่ใ นตํา บลหนองป่ าก่ อ
และตําบลปงน้อย และบางส่ วนทางตอนกลางของพื้นที่ ในบริ เวณตําบลโชคชัย พื้นที่ที่
มีความสู งระหว่าง 401-500 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง คิดเป็ นร้อยละ 39 ของพื้นที่

41
ซึ่ งพบกระจายตัวอยู่ทวั่ พื้นที่ท้ งั 3 ตําบล แต่ส่วนมากพบในพื้นที่ทางทิศตะวันออกใน
บริ เ วณตํา บลโชคชัย ส่ ว นพื้ น ที่ ที่ มี ค วามสู ง ระหว่า ง 501-600 เมตรจากระดับ ทะเล
ปานกลาง คิดเป็ นร้ อยละ 15 ของพื้นที่ พบในบริ เวณตอนกลางและทางทิศตะวันออก
ของพื้นที่ในเขตตําบลหนองป่ าก่อและตําบลโชคชัย พื้นที่ที่มีความสู งระหว่าง 601-700
เมตรจากระดับทะเลปานกลาง คิดเป็ นร้ อยละ 5 ของพื้นที่ พบในบริ เวณตอนกลางและ
ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ตาํ บลหนองป่ าก่อและตําบลโชคชัย ส่ วนพื้นที่ที่มีความสู ง
ระหว่าง 701-800 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง คิดเป็ นร้อยละ 1 ของพื้นที่ กระจุกตัวอยู่
ทางตอนกลาง บริ เวณตอนบนของพื้น ที่ ใ นเขตตํา บลหนองป่ าก่ อและตํา บลโชคชัย
และพื้นที่ที่มีความสู งมากกว่า 800 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง คิดเป็ นร้อยละ 1 ของ
พื้ น ที่ ซึ่ งส่ ว นมากกระจุ ก ตัว อยู่ ท างตอนกลาง บริ เวณตอนบนของพื้ น ที่ ใ นเขต
ตําบลหนองป่ าก่อและตําบลโชคชัย ตามลําดับ (ภาพที่ 2.1, 2.3)

ความสู งจากระดั บ ทะเลปานกลาง


5% 1% 1%

15% 39%

39%

น้อยกว่า 400 เมตร 401-500 เมตร 501-600 เมตร


601-700 เมตร 701-800 เมตร มากกว่า 800 เมตร

ภาพที่ 2.1 สัดส่ วนความสู งจากระดับทะเลปานกลาง


ของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง (ร้อยละ)

2.3.2 สภาพภูมิอากาศ

สภาพภู มิ อ ากาศทั่ว ไปของพื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวงอยู่ ภ ายใต้อิ ท ธิ พ ลของลมมรสุ ม


ตะวันตกเฉี ย งใต้และลมมรสุ มตะวันออกเฉี ยงเหนื อ ซึ่ ง แบ่ ง ภู มิ อากาศออกได้ 3 ฤดู
ได้แก่

42
ฤดูฝน เริ่ มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิ พลจาก
ลมมรสุ มตะวันตกเฉี ยงใต้
ฤดู หนาว เริ่ มตั้งแต่เดื อนพฤศจิกายนจนถึงเดื อนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิ พล
จากลมมรสุ มตะวันออกเฉี ยงเหนื อ ซึ่ งพัดพาความหนาวเย็นมาจาก
ประเทศจีน
ฤดู ร้อน เริ่ มตั้งแต่เดื อนกุมภาพันธ์ จนถึ งกลางเดื อนพฤษภาคม ซึ่ งอยู่ภายใต้
อิทธิ พลของลมมรสุ มตะวันตกเฉี ยงใต้

นอกจากนี้ ในแต่ละปี ยังได้รับอิ ทธิ พลจากพายุดีเปรสชั่นจากทะเลจี นใต้ในช่ วงเดื อน


กรกฎาคมถึ งเดื อนกันยายน ทําให้พ้ืนที่ อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย มี ฝนตกชุ ก
ตั้ง แต่ เ ดื อ นพฤษภาคมถึ ง เดื อ นตุ ล าคม มี อุ ณ หภู มิ สู ง สุ ด อยู่ ที่ 39.4 องศาเซลเซี ย ส
อุ ณ ห ภู มิ ตํ่ า สุ ด อ ยู่ ที่ 7.7 อ ง ศ า เ ซ ล เ ซี ย ส ป ริ ม า ณ นํ้ า ฝ น เ ฉ ลี่ ย เ ท่ า กั บ 1,309
มิลลิเมตรต่อปี

43
ภาพที่ 2.2 ขอบเขตการปกครองของอําเภอดอยหลวง
ที่มา: ดัดแปลงจากศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) (ปี 2554)

44
ภาพที่ 2.3 ความสู งของภูมิประเทศของอําเภอดอยหลวง
ที่มา: ดัดแปลงจากศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) (ปี 2554)

45
2.3.3 ลักษณะทางปฐพีวทิ ยา

พื้นที่อาํ เภอดอยหลวงตั้งอยูบ่ นชุดดินที่สาํ คัญ 5 ชุดดินด้วยกัน (ภาพที่ 2.7) ประกอบด้วย

1) กลุ่มชุดดินที่ 6 ชุดดินเชียงราย (Chiang Rai : Cr)


2) กลุ่มชุดดินที่ 29 ชุดดินหนองมด (Nong Mod: Nm)
3) กลุ่มชุดดินที่ 48/กลุ่มชุดดินที่ 29 ชุดดินท่ายาง/ชุดดินบ้านจ้อง
(Tha Yang: Ty/ Ban Chong series: Bg)
4) กลุ่มชุดดินที่ 60 ดินตะกอนลํานํ้าเชิงซ้อนที่มีการระบายนํ้าดี
(AC-wd : Alluvial Complex, well drained)
5) กลุ่มชุดดินที่ 62 พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (SC : Slope Complex)

โดยอําเภอดอยหลวงมีพ้ืนที่ที่ต้ งั อยู่ในกลุ่มชุ ดดิ นที่ 62 พื้นที่ลาดชันเชิ งซ้อนมากที่ สุด


ประมาณ 175 ตารางกิโลเมตร คิดเป็ นร้อยละ 55 ของพื้นที่ ครอบคลุมพื้นที่ตาํ บลโชคชัย
เกือบทั้งหมดและบางส่ วนของพื้นที่ตาํ บลหนองป่ าก่อและตําบลปงน้อย ซึ่ งพื้นที่ลาดชัน
เชิ ง ซ้ อ นเป็ นพื้ น ที่ ที่ มี ค วามลาดชัน มากกว่า ร้ อ ยละ 35 และเนื่ อ งจากสภาพพื้ น ที่ มี
ความลาดชันสู ง จึงยากต่อการจัดการดูแลรักษาสําหรับการเกษตร ปั ญหาของชุดดินชุ ดนี้
คือ เป็ นพื้นที่ที่มีความชันสู งมาก อาจทําให้เกิดการชะล้างพังทลายสู ญเสี ยหน้าดิ นอย่าง
รุ นแรง ขาดแคลนนํ้า และบางพื้นที่ อาจพบชั้นหิ นพื้ นหรื อเศษหิ นกระจัดกระจายอยู่
บริ เวณหน้าดิน หากจําเป็ นต้องนํามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร จําเป็ นต้องมีการศึกษา
ดิ น ก่ อ น เพื่ อ ให้ ท ราบถึ ง ความเหมาะสมของดิ น สํ า หรั บ การปลู ก พื ช โดยมี ก ารใช้
ประโยชน์ที่ดินในเชิ งอนุ รักษ์หรื อวนเกษตร ในบริ เวณพื้นที่ที่เป็ นดิ นลึ กและสามารถ
พัฒนาแหล่งนํ้าได้ มีระบบอนุ รักษ์ดินและนํ้า เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ทําแนวรั้วหญ้าแฝก
และขุด หลุ ม ปลู ก เฉพาะต้น โดยไม่ มี ก ารทํา ลายไม้พ้ื น ล่ า ง สํ า หรั บ ในพื้ น ที่ ที่ ไ ม่ มี
ศักยภาพทางการเกษตร ควรรักษาไว้ให้เป็ นสวนป่ า สร้างสวนป่ าหรื อใช้ปลูกไม้ใช้สอย
โตเร็ ว

รองลงมาเป็ นชุ ดดิ นหนองมด ครอบคลุ ม พื้นที่ ป ระมาณ 78 ตารางกิ โลเมตร คิ ดเป็ น
ร้ อยละ 25 ของพื้นที่ โดยครอบคลุ มพื้นที่ท้ งั 3 ตําบล ส่ วนใหญ่พบทางตอนกลางของ
ตําบลหนองป่ าก่อและตําบลปงน้อย ส่ วนตําบลโชคชัยมีดินชนิ ดนี้ เพียงเล็กน้อยในทาง
ตะวันตกเท่านั้น ซึ่ งเกิดจากการผุพงั สลายตัวของหิ นแกรนิ ตบริ เวณพื้นที่ภูเขา รวมถึงที่

46
เกิ ดจากวัสดุ ดินหรื อหิ นที่ เคลื่ อนย้ายมาเป็ นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่ วงบริ เวณ
เชิ งเขา มีสภาพพื้นที่เป็ นลู กคลื่ นลอนลาดเล็กน้อยถึ งเป็ นเนิ นเขา ความลาดชันร้ อยละ
4-35 เป็ นดินที่มีการระบายนํ้าดี การไหลบ่าของนํ้าบนผิวดินช้าถึงเร็ ว การซึ มผ่านได้ของ
นํ้าปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดินจําพวกป่ าเบญจพรรณ พืชไร่
เช่น ข้าวโพด ถัว่ มันสําปะหลังหรื อไม้ผล เช่น ลิ้นจี่ ลําไย มะม่วง เป็ นต้น ส่ วนใหญ่พบ
มากบริ เวณภาคเหนื อตอนบนและด้า นตะวันตกของภาค ลักษณะและสมบัติดิ น เป็ น
ดิ นลึ ก มาก ดิ นบนเป็ นดิ นร่ วนหรื อดิ นร่ วนปนดิ นเหนี ย ว มี สี น้ ํา ตาลเข้ม ถึ ง สี น้ ํา ตาล
ปนเทาเข้มมาก ปฏิ กิริยาดินเป็ นกรดจัดมากถึงเป็ นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) มีความ
คล้ า ยคลึ ง กั น กั บ ชุ ดดิ น เชี ยงแสน ชุ ดดิ น เลย และชุ ดดิ น เชี ยงของ ข้ อ จํ า กั ด
การใช้ประโยชน์ คือ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ าํ พื้นที่ที่มีความลาดชันสู ง ดินจะถูกชะล้าง
พังทลายได้ง่าย ดินล่างเป็ นดินเหนี ยวหรื อดินเหนี ยวปนทราย สี แดงปนเหลืองถึ งสี แดง
ปฏิกิริยาดินเป็ นกรดจัดมากถึงเป็ นกรดจัด (pH 4.5-5.5)

ชุดดินเชียงราย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 23 ตารางกิโลเมตร คิดเป็ นร้อยละ 7 ของพื้นที่


กระจายอยูท่ ้ งั 3 ตําบล ส่ วนมากพบทางตะวันตกของอําเภอดอยหลวง เกิดจากตะกอนนํ้า
พาบริ เวณตะพักลํานํ้าและที่ราบระหว่างเขา สภาพพื้นที่ราบเรี ยบถึ งค่อนข้างราบเรี ยบ
มีความลาดชันร้อยละ 0-2 การระบายนํ้าเลว การไหลบ่าของนํ้าบนผิวดินช้า การซึ มผ่าน
ได้ของนํ้าช้า พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดินจําพวกนาข้าว อาจใช้ปลูก
พืชไร่ เช่ น ข้าวโพด ถัว่ หรื อพืชผักก่อนหรื อหลัง ปลู กข้า ว พบมากบริ เวณภาคเหนื อ
ตอนบน เป็ นดิ นลึ กมาก ดินบนเป็ นดินร่ วนปนดิ นเหนี ยวหรื อดิ นร่ วนเหนี ยวปนทราย
แป้ ง สี น้ ํา ตาลปนเทาถึ ง สี น้ าํ ตาลปนเทาเข้ม มาก มี จุดประสี น้ าํ ตาลแก่ หรื อสี แดงปน
เหลื อง ปฏิ กิริยาดิ นเป็ นกรดจัดถึงเป็ นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็ นดิ นเหนี ยว
สี เทาอ่อน มีจุดประ สี แดงหรื อสี แดงปนเหลื อง และมีศิลาแลงอ่อนสี แดงร้ อยละ 5-50
โดยปริ มาตร อาจพบก้อนลูกรังปะปนอยูบ่ า้ ง ปฏิกิริยาดินเป็ นกรดจัดมากถึงเป็ นกรดจัด
(pH 4.5-5.5) ซึ่ งเป็ นชุ ดดินที่คล้ายคลึ งกับชุ ดดิ นพาน ชุ ดดินนครพนม ชุ ดดินมโนรมย์
และชุ ดดินชุ มแสง ชุ ดดินชุดนี้ มีขอ้ จํากัดการใช้ประโยชน์คือ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่าํ
มีอินทรี ยวัตถุต่าํ และแน่นทึบ ในการใช้ประโยชน์ ควรทําการปรับปรุ งบํารุ งดินโดยใช้
อินทรี ยวัตถุ และใช้ปุ๋ยอิ นทรี ยร์ ่ วมกับปุ๋ ยเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิ ต ในเขตพื้นที่ชลประทาน
นอกฤดู ทาํ นาอาจปลู กพืชไร่ หรื อพืชผักซึ่ งจะต้องยกร่ องและปรับสภาพดิ นให้ร่วนซุ ย
และระบายนํ้าดีข้ ึนโดยการเพิ่มอินทรี ยวัตถุ

47
ชุ ดดิ นท่ายาง/บ้านจ้อง ครอบคลุ มพื้นที่ประมาณ 22 ตารางกิ โลเมตร คิ ดเป็ นร้ อยละ 7
ของพื้นที่ ซึ่ งดิ นชุ ดนี้ พบในพื้นที่ตาํ บลโชคชัยเพียงตําบลเดียวเท่านั้น ซึ่ งชุ ดดิ นท่ายาง
เกิ ดจาการผุพงั สลายตัวอยู่กบั ที่และเคลื่อนย้ายมาเป็ นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วง
ของโลกของหิ นทรายและหิ นควอร์ ตไซท์ โดยมี หินดิ นดานและหิ นฟิ ลไลท์แทรกอยู่
สภาพพื้นที่เป็ นลู กคลื่ นลอนลาดถึงเป็ นเนิ นเขา มีความลาดชันร้ อยละ 2-35 การระบาย
นํ้าดี การไหลบ่าของนํ้าบนผิวดิ นช้า สภาพให้ซึมได้ของนํ้า ปานกลางถึงเร็ ว พืชพรรณ
ธรรมชาติ แ ละการใช้ ป ระโยชน์ ท่ี ดิ น ป่ าเบญจพรรณ ป่ าเต็ ง รั ง ปลู ก พื ช ไร่ เช่ น
มันสําปะหลังและอ้อย เป็ นต้น พบอยู่ทวั่ ไปในประเทศไทยยกเว้นในภาคใต้ ลักษณะ
และสมบัติดิน เป็ นดิ นตื้นถึ งชั้นกรวด ดิ นบนเป็ นดิ นร่ วนปนทรายหรื อดินร่ วน มีกรวด
และเศษหิ นก้อนหิ นปนอยู่ตอนบนประมาณร้ อยละ 15-34 โดยปริ มาตร มีสีน้ าํ ตาลปน
เทาถึงสี น้ าํ ตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็ นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.6-6.5) ดินบนตอนล่าง
เป็ นดินร่ วนเหนี ยวปนทราย ดินร่ วนปนดินเหนี ยวหรื อดินเหนี ยวปนทรายปนกรวดและ
เศษหิ นมีปริ มาณมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริ มาตร เพิ่มขึ้นตามความลึก จะพบชั้นดิ นปน
กรวดปนเศษหิ นนี้ ต้ื นกว่า 50 เซนติ เมตร จากผิวดิ น ปฏิ กิ ริย าดิ นเป็ นกรดจัดถึ ง กรด
เล็กน้อยถึ งกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0 ) ดิ นล่ างตอนล่างเป็ นชั้นเศษหิ นกรวดของหิ น
ทราย ส่ วนชุ ดดิ นบ้านจ้อง เกิ ดจากการผุพงั ของหิ นตะกอนเนื้ อละเอี ยดและหิ นที่แปร
สภาพ เช่ น หิ นดิ นดาน หิ นทรายแป้ ง หิ นโคลน หิ นชนวน หิ นฟิ ลไลท์ เป็ นต้น บริ เวณ
พื้นที่ภูเขาและรวมถึงที่เกิดจากวัสดุดินหรื อหิ นที่เคลื่ อนย้ายมาเป็ นระยะทางใกล้ๆ โดย
แรงโน้มถ่วงบริ เวณเชิ งเขาหรื อเกิดจากตะกอนดิ นที่ถูกนํ้าพาบริ เวณเนิ นตะกอนรู ปพัด
สภาพพื้ น ที่ เ ป็ นลู ก คลื่ น ลอนลาดเล็ ก น้อ ยถึ ง เป็ นเนิ น เขา ความลาดชัน ร้ อ ยละ 3-35
การระบายนํ้าดี การไหลบ่าของนํ้าบนผิวดิ นช้าถึ งเร็ ว การซึ มผ่านได้ของนํ้าปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดินจําพวกป่ าเบญจพรรณ พืชไร่ เช่น ข้าวโพด
อ้อย ยาสู บ ข้าวไร่ สับปะรด และสวนผลไม้ เช่ น มะม่วง ลิ้ นจี่ ลําไย เป็ นต้น พบมาก
บริ เวณภาคเหนื อตอนบนและที่สูงตอนกลางของประเทศ ลักษณะและสมบัติดิน เป็ นดิน
ลึกมาก ดินบนเป็ นดินร่ วนปนดินเหนี ยว มีสีน้ าํ ตาลเข้มถึงสี น้ าํ ตาลปฏิกิริยาดินเป็ นกรด
จัดถึ งเป็ นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดิ นล่างเป็ นดิ นเหนี ยว มีสีแดงปนเหลื องถึ งสี แดง
ปฏิ กิริยาดิ นเป็ นกรดจัดมากถึงเป็ นกรดจัด (pH 4.5-5.5) กลุ่มดิ นเหนี ยวลึกถึ งลึ กมากที่
เกิ ด จากวัต ถุ ต้น กํา เนิ ด ดิ น เนื้ อ ละเอี ย ด ปฏิ กิ ริ ย าดิ น เป็ นกรดจัด การระบายนํ้า ดี ถึ ง
ดี ป านกลาง ความอุ ดมสมบู รณ์ ต่ าํ ขาดแคลนนํ้า และเกิ ดการชะล้างพัง ทลายสู ญเสี ย
หน้าดินในพื้นที่ลาดชัน บางพื้นที่ดินเป็ นกรดจัดมาก

48
ดินตะกอนลํานํ้าเชิ งซ้อนที่มีการระบายนํ้าดี (AC-wd : Alluvial Complex, well drained)
ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 18 ตารางกิโลเมตร คิดเป็ นร้อยละ 6 ของพื้นที่ พบบริ เวณชาย
ขอบทางด้านตะวันตกของพื้นที่ในตําบลหนองป่ าก่อและตําบลปงน้อย เป็ นหน่วยผสม
ของดิ นหลายชนิ ด ที่ เกิ ดจากตะกอนลํานํ้าพัดพามาทับถมกัน เป็ นดิ นลึ ก ปฏิ กิริยาดิ น
เป็ นกรดจัดถึ ง เป็ นกลาง (pH 6.0-7.0) เนื้ อดิ นเป็ นพวกดิ น ร่ วน มี ก ารระบายนํ้า ดี ถึ ง
ดี ปานกลาง ความอุ ดมสมบูรณ์ ปานกลาง และดิ นร่ วนปนทราย ความอุ ดมสมบู รณ์ ต่ าํ
ขาดแคลนนํ้า และในพื้นที่ ที่ มี ค วามลาดชันดิ นง่ ายต่อการถู กชะล้า งพัง ทลายสู ญเสี ย
หน้าดิน

ชุ ด ดิ น

22% 6%
55%
7%
25%

พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน
ชุดดินหนองมด
ชุดดินเชียงราย
ชุดดินท่ายาง, บ้านจ้อง
ดินตะกอนลํานํ้าเชิงซ้อนที่มีการระบายนํ้าดี

ภาพที่ 2.4 สัดส่ วนของชุดดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง


ข้อมูลชุดดิน: สํานักสํารวจดินและวิจยั ทรัพยากรดิน กรมทรัพยากรที่ดิน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2.3.4 ความลาดชัน

พื้นที่ อาํ เภอดอยหลวงส่ วนใหญ่ เป็ นพื้นที่ ที่ มี ค วามลาดชันระหว่า งร้ อยละ 0-5 ซึ่ ง มี
ลัก ษณะเป็ นพื้ น ที่ ร าบลุ่ ม ครอบคลุ ม พื้ น ที่ ป ระมาณ 130 ตารางกิ โ ลเมตร คิ ด เป็ น
ร้ อยละ 41 ของพื้นที่ พบมากทางตะวันออกของพื้นที่ บริ เวณตํา บลหนองป่ าก่ อ และ
ตําบลปงน้อย และพบบางส่ วนในพื้นที่ตาํ บลโชคชัย รองลงมาเป็ นพื้นที่ที่มีความลาดชัน
ระหว่า งร้ อ ยละ 6-8 ซึ่ งมี ล ัก ษณะเป็ นที่ ร าบนํ้า ท่ วมถึ ง ครอบคลุ ม พื้ น ที่ ป ระมาณ 94

49
ตารางกิโลเมตร คิดเป็ นร้อยละ 30 ของพื้นที่ พบกระจายทัว่ พื้นที่ท้ งั 3 ตําบล แต่ส่วนมาก
พบทางตะวันออกของพื้นที่ เป็ นส่ วนใหญ่ ส่ วนพื้นที่ ที่มีความลาดชันระหว่างร้ อยละ
9-15 ซึ่ ง มี ล ัก ษณะเป็ นเนิ นเขา ครอบคลุ ม พื้ นที่ ป ระมาณ 60 ตารางกิ โลเมตร คิ ดเป็ น
ร้อยละ 19 ของพื้นที่ พบมากในทางตะวันออกของพื้นที่ พื้นที่ที่มีความลาดชันระหว่าง
ร้ อยละ 16-35 ซึ่ งมีลกั ษณะเป็ นภูเขา ครอบคลุ มพื้นที่ประมาณ 27 ตารางกิโลเมตร คิด
เป็ นร้อยละ 9 ของพื้นที่ พบมากบริ เวณตอนกลางและทางตะวันออกของพื้นที่ และพื้นที่
ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ขึ้นไป ซึ่ งมีลกั ษณะเป็ นภูเขาสู งชัน ครอบคลุมพื้นที่
ประมาณ 5 ตารางกิ โลเมตร คิ ดเป็ นร้ อยละ 1 ของพื้นที่ พบมากบริ เวณตอนกลางของ
พื้นที่

ความลาดชั น
9% 2%%

19% 41%

30%

ความลาดชันระหว่าง 0-5 % ความลาดชันระหว่าง 6-8 %


ความลาดชันระหว่าง 9-15 % ความลาดชันระหว่าง 16-35 %
ความลาดชันมากกว่า 35 % ขึ้นไป

ภาพที่ 2.5 สัดส่ วนพื้นที่ลาดชันของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง

2.3.5 การใช้ประโยชน์ที่ดิน

พื้นที่อาํ เภอดอยหลวงสามารแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็ น 5 ส่ วนใหญ่ๆ คือ

1. พื้นที่เกษตรกรรม
2. พื้นที่ป่าไม้
3. พื้นที่เมืองหรื อที่อยูอ่ าศัย
4. พื้นที่แหล่งนํ้า

50
5. พื้นที่อื่นๆ

โดยพื้ น ที่ เ กษตรกรรมมี พ้ื น ที่ ม ากที่ สุ ด ซึ่ งครอบคลุ ม พื้ น ที่ ป ระมาณ 193.69
ตารางกิ โลเมตร คิ ดเป็ นร้ อยละ 61.22 ของพื้นที่ สามารถพบได้โดยทัว่ ไปของพื้นที่
ทั้ ง 3 อํ า เภอ รองลงมาเป็ นพื้ น ที่ ป่ าไม้ ซึ่ งครอบคลุ ม พื้ น ที่ ป ระมาณ 108.57
ตารางกิโลเมตร คิดเป็ นร้อยละ 34.31 ของพื้นที่ พบมากทางตอนกลางและทางตะวันออก
ของพื้นที่ โดยพบทางด้า นตะวันออกของตํา บลหนองป่ าก่ อและตํา บลปงน้อย และ
บริ เวณโดยรอบของตํ า บลโชคชั ย พื้ น ที่ อื่ น ๆ ครอบคลุ ม พื้ น ที่ ป ระมาณ 6.35
ตารางกิ โลเมตร คิดเป็ นร้ อยละ 2.01 ของพื้นที่ ซึ่ งสามารถพบกระจายตัวทัว่ พื้นที่ส่วน
พื้นที่เมืองหรื อที่อยู่อาศัยครอบคลุ มพื้นที่ประมาณ 4.31 ตารางกิโลเมตร คิดเป็ นร้อยละ
1.36 ของพื้นที่ พบกระจายทัว่ ไปในแอ่งที่ราบของอําเภอดอยหลวง และสุ ดท้ายพื้นที่
แหล่งนํ้า พบกระจายตัวในบางพื้นที่ของอําเภอดอยหลวง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.54
ตารางกิโลเมตร คิดเป็ นร้อยละ 0.8 ของพื้นที่ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว เป็ น
ข้อมูลที่ได้จากผลการจําแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี 2548 ซึ่ งพื้นที่ที่เหลื อเป็ นเมฆ
และเงาดังภาพที่ 3.11

การใช้ ประโยชน์ ที่ ดิ น

3% 2% 1%

32%
62%

พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เมือง พื้นที่แหล่งนํ้า พื้นที่อ่ืนๆ

ภาพที่ 2.6 สัดส่ วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง

51
ภาพที่ 2.7 ชุดดินของอําเภอดอยหลวง
ที่มา: ดัดแปลงจากกรมพัฒนาที่ดิน (ปี 2554)

52
ภาพที่ 2.8 ความลาดชันของอําเภอดอยหลวง
ที่มา: ดัดแปลงจากศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) (ปี 2554)

53
2.4 ทรัพยากรธรรมชาติ

2.4.1 ทรัพยากรนํ้า

แม่น้ าํ ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง มีลกั ษณะทางนํ้าเป็ นแบบทางนํ้ากิ่งไม้ ซึ่ งมีลกั ษณะคล้าย


กิ่งก้านสาขาของต้นไม้ มีแม่น้ าํ ที่สาํ คัญ ได้แก่ แม่น้ าํ กก แม่น้ าํ บง

แม่น้ ํา กก เป็ นนํ้า สายใหญ่ใ นตํา บลหนองป่ าก่ อไหลจากทิ ศ ตะวันตกเฉี ย งใต้ไ ปทาง
ทิศตะวันออกเฉี ยง เหนือของตําบล ซึ่ งมีตน้ กําเนิ ดจากทิวเขาแดนลาวและทิวเขาผีปันนํ้า
ตอนเหนื อของเมื องกก จัง หวัดเชี ย งตุ ง ภายในอาณาเขตของรั ฐฉานในประเทศพม่า
ไหลผ่านหมู่ที่ 4 บ้านหนองกล้วย และหมู่ที่ 8 บ้านวังเขียว ก่อนที่จะไหลลงแม่น้ าํ โขงที่
บริ เวณสบกก อําเภอเชียงแสน

แม่น้ าํ บง เป็ นทางนํ้าที่ไล่จากทิศตะวันตกเฉี ยงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉี ยงเหนื อของ


ตําบลโดยไหลจากตําบลโชคชัย อําเภอดอยหลวง ไหลผ่าน หมู่ที่ 1 บ้านห้วยสัก โดยมีน้ าํ
จากห้วยสักและห้วยแปงที่ไหลจากดอยแง้มและดอยสักไหลมารวม จากนั้นไหลผ่าน
หมู่ที่ 2 บ้านป่ าซางงาม แล้วมีห้วยหนองป่ าก่อไหลในทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก
มารวมกับนํ้าแม่บงก่ อนจะไหลผ่าน หมู่ที่ 3 บ้านหนองป่ าก่อ ต่อมาไหลผ่านหมู่ที่ 5
บ้านศรี บุญเรื อง และมีห้วยผาโตนที่ไหลในทิศตะวันตกเฉี ยงเหนื อไปทางทิศตะวันออก
เฉี ยงใต้ไหลมารวมก่อนจะไหลผ่าน หมู่ที่ 9 บ้านทุ่งโป่ ง และหมู่ที่ 10 บ้านใหม่พฒั นาใต้
จากนั้นมีห้วยปงขุมแง่ขวาไหลในทิศตะวันออกเฉี ยงใต้ไปทางทิศตะวันตกเฉี ยงเหนื อ
ไหลมารวม ต่อมาไหลผ่าน หมู่ที่ 6 บ้านใหม่พฒั นา และไหลผ่านหมู่ที่ 7 บ้านคีรีสุวรรณ
แล้วไหลลงแม่น้ าํ โขงบริ เวณสบกก อําเภอเชียงแสน

54
ภาพที่ 2.9 เส้นทางนํ้าของอําเภอดอยหลวง
ที่มา: ดัดแปลงจากศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) (ปี 2554)

55
2.4.2 ทรัพยากรป่ าไม้

พื้นที่อาํ เภอดอยหลวงส่ วนใหญ่ต้งั อยูใ่ นพื้นที่ป่าอนุ รักษ์ ซึ่ งเป็ นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่


กําหนดไว้ เพื่อการอนุ รัก ษ์ สิ่ งแวดล้อม ดิ น นํ้า พันธุ์ พืช พันธุ์สัตว์ ที่มีคุณค่าหายาก
การป้ องกันภัย ธรรมชาติ อันเกิ ดจากนํ้า ท่วมและการพัง ทลายของดิ น ตลอดทั้ง เพื่ อ
ประโยชน์ในด้านการศึกษา การวิจยั นันทนาการของประชาชน และความมัน่ คงของชาติ
ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 132 ตารางกิโลเมตร คิดเป็ นร้อยละ 42 ของพื้นที่ พบกระจาย
อยู่ทวั่ พื้นที่ แต่พบมากในทางตะวันออกของพื้นที่ ใ นเขตตําบลโชคชัยเป็ นส่ วนใหญ่
รองลงมาเป็ นพื้นที่ป่าเศรษฐกิ จ ซึ่ งเป็ นพื้นที่ป่าสงวนแห่ งชาติที่กาํ หนดไว้เพื่อผลิ ตไม้
และของป่ า รวมถึงพื้นที่เศรษฐกิจตามมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการกําหนดชั้นคุ ณภาพ
ลุ่มนํ้า และการจําแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่เพื่อการพัฒนา
ทรัพยากรป่ าไม้ และพื้นที่ประสานการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ครอบคลุ มพื้นที่ประมาณ
129 ตารางกิ โลเมตร คิ ด เป็ นร้ อยละ 41 ของพื้ นที่ พบกระจายทั่ ว พื้ นที่ ทั้ ง
ตํา บลหนองป่ าก่ อ ตํา บลปงน้อย และตํา บลโชคชัย และพื้นที่ นอกขอบเขตป่ าสงวน
แห่ ง ชาติ ครอบคลุ ม พื้นที่ ป ระมาณ 55 ตารางกิ โลเมตร คิ ดเป็ นร้ อยละ 17 ของพื้นที่
ส่ วนใหญ่ พ บมากในทางตะวัน ตกของพื้ น ที่ ใ นบริ เวณตํา บลหนองป่ าก่ อ และ
ตําบลปงน้อง ซึ่ งเป็ นการใช้ที่ดินประเภทเกษตรกรรมและที่อยูอ่ าศัย ทรัพยากรป่ าไม้ใน
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็ นป่ าไม่ผลัดใบ

พื้ น ที่ ป่ าไม้

17%
42%

41%

พื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ พื้นที่นอกขอบเขตป่ าสงวน

ภาพที่ 2.10 พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง

56
ภาพที่ 2.11 ขอบเขตพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง
ที่มา: ดัดแปลงจากศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) (ปี 2554)

57
2.5 ประชากร

จากรายงานสถิ ติ ป ระชากรและเคหะของสํ า นั ก ทะเบี ย นอํา เภอดอยหลวง จัง หวัด เชี ย งราย


ข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน ปี 2558 พบว่า อําเภอดอยหลวง มีประชากรทั้งหมด 19,195 คน เป็ นเพศชาย
ทั้ง หมด 9,699 คน และเพศหญิ ง ทั้ง หมด 9,496 คน โดยแยกข้อ มู ล สถิ ติ ป ระชากรและเคหะ
เป็ นรายตําบลดังตารางที่ 2.1 ดังนี้

ตารางที่ 2.1 จํานวนประชากรรายตําบลของอําเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย


ประชากรชาย ประชากรหญิง ประชากรรวม
ตําบล
(คน) (คน) (คน)
1. ตําบลปงน้อย 3,115 3,086 6,201
2. ตําบลโชคชัย 4,210 4,075 8,285
3. ตําบลหนองป่ าก่อ 2,374 2,335 4,709
รวม 9,699 9,496 19,195

ที่มา: สํานักทะเบียนอําเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย (ข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน ปี 2558)

ประชากรส่ วนใหญ่เป็ นประชากรในภาคเหนื อร้ อยละ 79 ภาคตะวันออกเฉี ยงเหนื อร้ อยละ 20 และ
ภาคกลางร้อยละ 1 อีกทั้งในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวงยังมีชนกลุ่มน้อย แบ่งออกเป็ น 4 กลุ่มที่สาํ คัญ ได้แก่
ไทยใหญ่ อาข่า เมี่ยน ไทยลื้อ กะเหรี่ ยง และเย้า

2.6 สภาพเศรษฐกิจ

ประชากรส่ วนใหญ่ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวงประกอบอาชี พเกษตรกรรม ซึ่ งมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ


ไม่วา่ จะเป็ นยางพารา คิดเป็ นร้อยละ 38 ข้าวนาปี คิดเป็ นร้อยละ 23.6 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คิดเป็ นร้อยละ
22.6 ถัว่ เหลื อง คิ ดเป็ นร้ อยละ 7.1 ข้าวนาปรั ง คิ ดเป็ นร้ อยละ 3.4 มันสําปะหลัง คิ ดเป็ นร้ อยละ 2.9
ปาล์มนํ้ามัน คิ ดเป็ นร้ อยละ 1 ข้าวโพดหวาน คิ ดเป็ นร้ อยละ 0.9 ลําไย คิ ดเป็ นร้ อยละ 0.5 และลิ้นจี่
คิ ดเป็ นร้ อยละ 0.2 ตามลําดับ (ภาพที่ 2.13)นอกจากนี้ ประชากรบางส่ วนในพื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง
ยังประกอบอาชี พด้านพานิ ชยกรรม เช่น ร้านค้าของชํา โรงสี รับซื้ อข้างเปลือก และโรงสี ขนาดเล็ก
อีกด้วย แต่ประชากรที่ประกอบอาชี พพานิ ชยกรรมถือว่าเป็ นประชากรส่ วนน้อยเท่านั้น ซึ่ งโดยรวม
แล้วประชากรในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวงมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 53,582 บาทต่อคนต่อปี

58
1% 0.50% พื ช เศรษฐกิ จ
0.90%
2.90% 0.20%
3.40%
7.10%
38%
22.60%

23.60%

ยางพารา ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถัว่ เหลือง


ข้าวนาปรัง มันสําปะหลัง ปาล์มนํ้ามัน ข้าวโพดหวาน
ลําไย ลิน้ จี่

ภาพที่ 2.12 สัดส่ วนพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจของอําเภอดอยหลวง

2.7 สรุปผล

อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย มีเนื้ อที่ประมาณ 316 ตารางกิโลเมตร สามารถแบ่งเขตการปกครอง


ย่อยออกเป็ น 3 ตํา บล ได้แก่ ตํา บลปง ตํา บลโชคชัย และตํา บลหนองป่ าก่ อ ลัก ษณะภู มิ ป ระเทศ
ส่ วนใหญ่เป็ นที่ราบสลับภูเขา มีความสู งของพื้นที่ต้ งั แต่ 358 ถึ ง 995 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง
ซึ่งสามารถแบ่งสภาพภูมิอากาศออกได้ 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน โดยอุณหภูมิสูงสุ ดอยูท่ ี่
39.4 องศาเซลเซี ยส อุ ณหภู มิต่ าํ สุ ดอยู่ที่ 7.7 องศาเซลเซี ยส และมี ปริ มาณนํ้าฝนเฉลี่ ยเท่ากับ 1,309
มิลลิเมตรต่อปี ตั้งอยูบ่ นชุ ดดินที่สาํ คัญ 5 ชุ ดดินด้วยกัน ประกอบด้วย ชุ ดดินเชี ยงราย ชุดดินหนองมด
ชุ ดดิ นท่ายาง/ชุ ดดิ นบ้านจ้อง ดิ นตะกอนลํานํ้าเชิ งซ้อนที่มีการระบายนํ้าดี และพื้นที่ลาดชันเชิ งซ้อน
โดยมีพ้ืนที่ต้งั อยูบ่ นพื้นที่ลาดชันเชิ งซ้อนมากที่สุด พื้นที่ส่วนใหญ่มีลกั ษณะเป็ นพื้นที่ราบลุ่มที่มีความ
ลาดชันระหว่างร้อยละ 0-5 คิดเป็ นร้อยละ 41 ของพื้นที่ โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็ นพื้นที่เกษตรมาก
ที่สุด รองลงมาคือ พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่อื่นๆ ตามลําดับ มีแม่น้ าํ ที่สําคัญ 2 สาย ได้แก่ แม่น้ าํ กกและ
แม่น้ าํ บง พื้นที่ส่วนใหญ่ต้ งั อยูใ่ นพื้นที่ป่าอนุ รักษ์มากที่สุด รองลงมาคือ พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ และพื้นที่
นอกขอบเขตป่ าสงวนแห่ ง ชาติ ตามลํา ดับ ส่ วนในด้า นประชากร พบว่า มี ป ระชากรชายมากกว่า
ประชากรหญิ ง นอกจากคนพื้ น เมื อ งในภาคเหนื อ แล้ว ยัง มี ช นกลุ่ ม น้อ ย 4 กลุ่ ม ที่ สํ า คัญ ได้แ ก่
ไทยใหญ่ อาข่า เมี่ยน ไทยลื้อ กะเหรี่ ยง และเย้า ซึ่ งประชาการในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร

59
บทที่ 3

การเปลีย่ นแปลงการใช้ ที่ดนิ ในพืน้ ที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

ในการศึ ก ษาครั้ งนี้ เป็ นการศึ ก ษาการเปลี่ ย นแปลงการใช้ ป ระโยชน์ ที่ ดิ น ในพื้ น ที่ ด อยหลวง
จังหวัดเชี ยงราย โดยทําการจําแนกประเภทการใช้ที่ดินใน 2 ช่วงเวลา คือ ก่อนที่จะมีการส่ งเสริ มการ
ปลูกยางพาราในปี 2548 และหลังจากการส่ งเสริ มการปลูกยางพาราแล้วในปี 2558 ด้วยวิธีการจําแนก
ข้อมูลเชิ งวัตถุ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินว่า จากเดิมพื้นที่ปลูกยางพาราในปี 2558
ในปี 2548 นั้น เป็ นการใช้ที่ดินประเภทใด โดยทําการจําแนกประเภทการใช้ที่ดินในปี 2548 และ
จําแนกพื้นที่ปลูกยางพาราตามช่วงชั้นอายุในปี 2558 โดยใช้โปรแกรม eCognition Developer 7.0 ใน
การจําแนก ซึ่ งในบทนี้ จะกล่า วถึ งการจํา แนกประเภทการใช้ที่ ดินใน 2 ช่ วงเวลา ดังที่ ได้กล่ า วไว้
ข้างต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

3.1 การจําแนกประเภทการใช้ ทดี่ ินในพืน้ ทีอ่ าํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย

ในการศึกษาครั้งนี้ ทําการจําแนกประเภทการใช้ที่ดินด้วยวิธีเชิ งวัตถุ เพื่อดู การเปลี่ ยนแปลงการใช้


ประโยชน์ ที่ ดินของพื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง จัง หวัดเชี ย งราย ซึ่ ง การจํา แนกในปี 2548 และปี 2558
ทําการจําแนกการใช้ที่ดินที่แตกต่างกันออกไป โดยในปี 2548 ทําการจําแนกการใช้ที่ดินในเบื้ องต้น
เท่านั้น ส่ วนปี 2558 เป็ นการจําแนกพื้นที่ปลูกยางพาราตามช่วงอายุ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้
ที่ดินใน 2 ช่ วงเวลา คือ ก่อนที่จะมีการส่ งเสริ มการปลูกยางพาราจากภาครัฐในปี 2548 และหลังจาก
การส่ งเสริ มการปลูกยางพาราแล้วในปี 2558 ซึ่ งประกอบด้วย 6 ขั้นตอนด้วยกัน คือ ขั้นตอนการเตรี ยม
ข้อมู ล ภาพดาวเที ย ม การนํา เข้า ข้อมู ล ภาพ การสร้ า งวัตถุ ภาพ การสร้ า งชั้นข้อมู ล การสร้ า งพื้นที่
ตัวอย่างและการจําแนกข้อมูล และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ซึ่ งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

3.1.1 การเตรี ยมภาพถ่ายดาวเทียม

ในขั้นตอนการเตรี ยมข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมนั้น ทําการดาวน์โหลดภาพในปี 2548 และ


ปี 2558 จากนั้นทําการรวมแบนด์ภาพดาวเทียมและตัดภาพตามขอบเขตพื้นที่ศึกษาเพื่อ

60
ลดระยะเวลาในขั้นตอนของการประมวลผลภาพถ่ายดาวเทียม โดยภาพถ่ายดาวเที ยม
Landsat-5TM เป็ นภาพที่ทาํ การถ่ายในวันที่ 21 เมษายน ปี 2548 ส่ วนภาพถ่ายดาวเทียม
Landsat-8 OLI เป็ นภาพที่ทาํ การถ่ายในวันที่ 17 เมษายน ปี 2558 สาเหตุที่เลือกภาพเดือน
เมษายน เนื่ องจากยางพาราในพื้นที่ศึกษาเริ่ มผลัดใบตั้งแต่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือน
กุมภาพันธ์และเริ่ มแตกใบจนถึงใบแก่ประมาณเดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน ซึ่ งฤดูผลัด
ใบของต้นยางพาราจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทําให้เลือกภาพในช่วงเดือนเมษายนที่
สามารถมองเห็ นพื้นที่ปลูกยางพาราในภาพถ่ายดาวเทียมได้ชดั เจนมากกว่าภาพในช่วง
ฤดู ฝนที่มีเมฆปกคลุ ม จากนั้นทําการตัดภาพทั้ง 2 ภาพตามขอบเขตพื้นที่ศึกษา เพื่อให้
ได้มาซึ่ งภาพถ่ายดาวเทียมปี 2548 และปี 2558 ตามขอบเขตพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง โดย
ภาพที่ใช้ในการจําแนกการใช้ที่ดินเป็ นภาพที่ไม่ผา่ นกระบวนการปรับแก้เชิ งบรรยากาศ
เนื่ อ งจากจะทํา ให้ ค่ า การสะท้อ นของจุ ด ภาพเปลี่ ย นแปลงไปเป็ นค่ า การแผ่ รั ง สี
(Radiance) ซึ่ งอาจส่ งผลต่อความถูกต้องของการจําแนกการใช้ที่ดิน

3.1.2 การนําเข้าข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

ในการศึ กษาครั้ งนี้ ทําการนําเข้าข้อมู ลภาพดาวเทียม Landsat-5 TM จํานวน 6 แบนด์


ประกอบด้วย แบนด์ 1, 2, 3, 4, 5 และ 7 ใช้ภาพผสมสี เท็จ R: 5, G: 6, B: 7 ส่ วนการนําเข้า
ข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat-8 OLI จํานวน 6 แบนด์ ประกอบด้วย แบนด์ 2, 3, 4, 5, 6
และ 7 ใช้ภาพผสมสี เท็จ R: 5, G: 6, B: 7

3.1.3 การสร้างวัตถุภาพ

ในสร้ างวัตถุ ภาพ มีอลั กอลิ ทึมของการสร้ างวัตถุ ภาพอยู่ 3 วิธีการหลักๆ ประกอบด้วย
Chessboard Segmentation, Quadtree Segmentation และ Multiresolution Segmentation
ดั ง ที่ ไ ด้ ก ล่ า วไปในข้ า งต้ น ซึ่ งการศึ ก ษาครั้ งนี้ ทํ า การสร้ างวั ต ถุ ภาพด้ ว ย
วิธี Multiresolution Segmentation ซึ่ งเป็ นวิธีที่ รวมเอาจุ ดภาพที่ มีล ักษณะใกล้เคี ย งกัน
และอยู่ติดกันเข้า ด้วยกันเป็ นวัตถุ ภาพ โดยวิธีน้ ี สามารถกํา หนดค่าพารามิ เตอร์ ต่า งๆ
ได้แก่ รู ปร่ าง สี การเกาะกลุ่ม และความเรี ยบได้ตามความต้องการ ซึ่ งใช้ค่าพารามิเตอร์
ทั้งสี และรู ปร่ างของวัตถุ ภาพพิจารณาร่ วมด้วย ซึ่ งวิธีการนี้ สามารถสร้างขนาดของวัตถุ
ได้หลายแบบ และมีขนาดใกล้เคียงกับสภาพที่ เป็ นจริ งมากกว่า ซึ่ งเกณฑ์ในการสร้ าง
วัต ถุ ภ าพต้ อ งทํา การกํา หนดค่ า Scale Parameter เพื่ อ กํา หนดขนาดของวัต ถุ ภ าพ

61
ซึ่ งสามารถกําหนดค่าให้เหมาะสมกับพื้นที่ศึกษา โดยมีค่าระหว่าง 0-1,000,000 และทํา
การกําหนดค่า Composition of Homogeneity Criterion เป็ นการกําหนดค่าคุ ณลัก ษณะ
ของรู ปร่ าง (Shape) สี (Color) ความหยาบ (Compactness) และความละเอี ย ด
(Smoothness) โดยค่ า Shape จะแปรผกผัน กั บ ค่ า Color และค่ า Compactness จะ
แปรผกผันกับค่า Smoothness โดยทั้ง 2 ค่า มีค่าระหว่าง 0-1

ในการแบ่งส่ วนภาพในการศึกษาครั้งนี้ ให้ความสําคัญกับค่า Color มากกว่าค่า Shape


และให้ความสําคัญกับค่า Compactness และ Smoothness ในปริ มาณเท่าๆ กัน ทั้งปี 2548
และปี 2558 แต่การกําหนดค่า Scale Parameter ของภาพถ่ ายดาวเที ยมแต่ละปี นั้นจะมี
ความแตกต่างกัน เนื่ องจากในการแบ่งชั้นข้อมูลภาพในปี 2548 ทําการแบ่งเพียงหนึ่ งชั้น
ข้อมูลเท่านั้น ส่ วนการแบ่งชั้นข้อมูลภาพในปี 2558 ทําการแบ่งชั้นข้อมูลออกเป็ น 3 ชั้น
ด้ว ยกัน ซึ่ งในการสร้ า งวัต ถุ ภาพนั้น ต้อ งทํา การสร้ า งวัต ถุ ภ าพโดยสร้ า งจากข้อมู ล
ชั้น ที่ ส องซึ่ งละเอี ย ดกว่า (วัต ถุ มี ข นาดเล็ ก )ไปยัง ชั้น ข้อ มู ล ชั้น ที่ ห นึ่ งซึ่ งหยาบกว่า
(วัตถุ มี ข นาดใหญ่) จากการทดสอบค่า Scale Parameter พบว่า ค่า Scale Parameter ที่
เหมาะสมกับ การแบ่ ง ส่ ว นภาพของภาพถ่ า ยดาวเที ย มมี Landsat 5-TM มี ค่ า Scale
Parameter, Shape และ Compactness เท่ากับ 10, 0.1 และ 0.5 ตามลําดับ (ภาพที่ 3.1) ส่ วน
ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 OLI ในชั้นข้อมูลที่หนึ่ งมีค่า Scale Parameter, Shape และ
Compactness เท่ากับ 120, 0.1 และ 0.5 ตามลําดับ (ภาพที่ 3.2) ชั้นข้อมูลที่สองเท่ากับ 60,
0.1 และ 0.5 ตามลําดับ (ภาพที่ 3.3) และชั้นข้อมูลที่สามเท่ากับ 30, 0.1 และ 0.5 ตามลําดับ
(ภาพที่ 3.4)

ภาพที่ 3.1 การแบ่งส่ วนภาพของชั้นข้อมูลที่หนึ่ง ปี 2548

62
ภาพที่ 3.2 การแบ่งส่ วนภาพของชั้นข้อมูลที่หนึ่ง ปี 2558

ภาพที่ 3.3 การแบ่งส่ วนภาพของชั้นข้อมูลที่สอง ปี 2558

ภาพที่ 3.4 การแบ่งส่ วนภาพของชั้นข้อมูลที่สาม ปี 2558

3.1.4 การสร้างชั้นข้อมูล

ในการจําแนกประเภทการใช้ที่ดิน เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินใน 2 ช่วงเวลา


คื อ ก่อนที่ จะมี การส่ งเสริ มการปลู กยางพาราในปี 2548 และหลังจากการส่ งเสริ มการ

63
ปลู ก ยางพาราแล้ ว ในปี 2558 ซึ่ งในปี 2548 เป็ นการจํา แนกประเภทการใช้ ที่ ดิ น
ส่ วนปี 2558 เป็ นการจําแนกพื้นที่ ปลู กยางพาราตามช่ วงอายุและพื้นที่ ป่าไม้ โดยการ
สร้ างชั้นข้อมูลของภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 TM ปี 2548 นั้นทําการสร้างชั้นข้อมู ล
เพี ย งชั้นเดี ย วเท่ า นั้น ซึ่ ง ประกอบด้วย พื้ นที่ ป่ าไม้ พื้นที่ เกษตร ที่ อยู่อาศัย แหล่ ง นํ้า
พื้นที่อื่นๆ พื้นที่ปลูกยางพารา เมฆ และเงา ส่ วนการสร้างชั้นข้อมูลของภาพถ่ายดาวเทียม
Landsat-8 OLI ปี 2558 ทําการสร้ างชั้นข้อมูล 3 ชั้นข้อมูลด้วยกัน โดยชั้นข้อมู ลที่ หนึ่ ง
ประกอบด้วย พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่าไม้ ชั้นข้อมูลที่สองประกอบด้วย พื้นที่ปลูก
ยางพาราและพื้ น ที่ ที่ ไ ม่ ใ ช่ พ้ื น ที่ ป ลู ก ยางพารา และชั้น ข้อ มู ล ที่ ส าม ประกอบด้ว ย
พื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราช่ ว งอายุ 7-13 ปี พื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราช่ ว งอายุ 14-20 ปี พื้ น ที่ ป ลู ก
ยางพาราอายุมากกว่า 20 ปี และพื้นที่ที่ไม่ใช่พ้นื ที่ปลูกยางพารา (ภาพที่ 3.5)

การสร้างชั้นข้อมูล

พื้นที่ป่า พื้นที่ที่ไม่ใช่ป่า

พื้นที่ปลูกยางพารา พื้นที่ที่ไม่ใช่พ้นื ที่


ปลูกยางพารา

พื้นที่ปลูก พื้นที่ปลูก พื้นที่ปลูก พื้นที่ที่ไม่ใช่พ้นื ที่


ยางพาราช่วง ยางพาราช่วง ยางพาราช่วงอายุ ปลูกยางพารา
อายุ 7-13 ปี อายุ 14-20 ปี มากกว่า 20 ปี

ภาพที่ 3.5 การสร้างชั้นข้อมูลของภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 OLI ปี 2558

3.1.5 การสร้างพื้นที่ตวั อย่างและการจําแนกข้อมูล

1) การสร้างพื้นที่ตวั อย่าง

สํ า หรั บ การสร้ า งพื้ น ที่ ต ัว อย่า งของภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-5 TM


ปี 2548 เป็ นการสร้ า งพื้นที่ ตวั อย่า งจากการแปลตี ค วามภาพด้วยสายตา

64
เนื่ องจากเป็ นการจําแนกประเภทการใช้ที่ดินแบบหยาบ ส่ วนการสร้ า ง
พื้นที่ ตวั อย่า งภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-8 OLI ปี 2558 ได้ท าํ การสร้ า ง
พื้ น ที่ ต ัว อย่า งจากการสํ า รวจภาคสนามเพื่ อ สํา รวจพื้ น ที่ ป ลู ก ยางพารา
ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ดังตารางที่ 3.1 และภาพที่ 3.6

ตารางที่ 3.1 จุดพื้นที่ปลูกยางพาราในแต่ละช่วงอายุจากการสํารวจภาคสนาม


ช่ วงอายุ พิกดั
แปลง อายุ (ปี ) บริเวณ
(ปี ) X Y
1 7 619375 2233724 ต.หนองป่ าก่อ
2 8 617473 2224563 ต.โชคชัย
3 9 612032 2224261 ต.ปงน้อย
7-13 4 10 614079 2225998 ต.โชคชัย
5 11 614618 2226952 ต.โชคชัย
6 12 614450 2226884 ต.โชคชัย
7 13 617176 2232748 ต.หนองป่ าก่อ
8 14 617225 2232293 ต.หนองป่ าก่อ
9 14 611284 2224046 ต.ปงน้อย
14-20
10 15 610621 2221735 ต.ปงน้อย
11 15 615625 2229919 ต.หนองป่ าก่อ
15 26 617900 2233285 ต.หนองป่ าก่อ
มากกว่า
16 26 617929 2233229 ต.หนองป่ าก่อ
20
17 26 617987 2233256 ต.หนองป่ าก่อ

65
ภาพที่ 3.6 จุดยางพาราในแต่ละช่วงอายุจากการสํารวจภาคสนาม

66
2) การจําแนกข้อมูล

2.1) การจําแนกข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 TM ปี 2548

ในการจํา แนกข้ อ มู ล ภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-5 TM ปี 2548


เป็ นการจํา แนกประเภทการใช้ ที่ ดิ น เพี ย งชั้น ข้อ มู ล เดี ย วเท่ า นั้ น
เนื่ องจากเป็ นการศึ ก ษาจํา แนกการใช้ที่ ดิ นในเบื้ องต้นของพื้ น ที่
ซึ่ งทํา การจํา แนกออกเป็ น 6 ประเภทด้ ว ยกัน คื อ พื้ น ที่ ป่ าไม้
พื้ น ที่ เ กษตร ที่ อ ยู่อ าศัย แหล่ ง นํ้า พื้ น ที่ อื่ น ๆ พื้ น ที่ ป ลู ก ยางพารา
นอกจากการจําแนกการใช้ที่ดิน 6 ประเภทแล้ว ยังทําการจําแนกเมฆ
และเงาที่ ป รากฏในภาพด้ ว ย โดยใช้ ข ้อ มู ล ภาพถ่ า ยดาวเที ย ม
Landsat-5 TM ในการจําแนก ประกอบกับในช่วงก่อนปี 2548 เป็ น
ช่วงเวลาที่ยงั ไม่ได้มีการส่ งเสริ มการปลูกยางพาราจากภาครัฐ ทําให้
ไม่สามารถจําแนกพื้นที่ปลู กยางพาราตามช่วงอายุได้ เนื่ องจากใน
พื้ น ที่ ศึ ก ษามี พ้ื น ที่ ป ลู ก ยางพาราเพี ย งแปลงเดี ย วคื อ พื้ น ที่ ป ลู ก
ยางพาราอายุ 16 ปี (เป็ นแปลงปลูกยางพาราของเกษตรกรที่ นาํ ต้น
ยางพาราจากภาคใต้เข้ามาปลูกเองในพื้นที่) ซึ่ งผลการจําแนกปรากฏ
ดังภาพที่ 3.7

2.2) การจําแนกข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 OLI ปี 2558

ในการจําแนกข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 OLI ปี 2558 นั้น


แบ่ ง ออกเป็ น 3 ชั้ นข้ อ มู ล หลั ก ด้ ว ยกั น คื อ ชั้ นข้ อ มู ล ที่ ห นึ่ ง
ซึ่ งประกอบด้ว ย พื้ น ที่ ป่ าไม้แ ละพื้น ที่ ที่ ไ ม่ ใ ช่ ป่ าไม้ โดยพื้ น ที่ ที่
ไม่ ใ ช่ ป่ าไม้ ประกอบด้ ว ย พื้ น ที่ ป ลู ก ยางพารา พื้ น ที่ เ กษตร
ที่ อ ยู่อ าศัย แหล่ ง นํ้า และพื้ น ที่ อื่ น ๆ โดยเป็ นการหาพื้ น ที่ ป่ าไม้
ออกมาก่ อน ซึ่ ง ผลการจํา แนกพื้ น ที่ ป่ าไม้ จะนํา ไปใช้ใ นการหา
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนของป่ าไม้เพื่อเปรี ยบเที ยบกับปริ มาณ
การกักเก็บคาร์ บอนของยางพาราในวัตถุประสงค์ขอ้ ที่ 2 จากนั้นใน
การจํา แนกข้อ มู ล ในชั้น ที่ ส องนั้น จะเป็ นการจํา แนกพื้ น ที่ ป ลู ก
ยางพาราออกจากพื้นที่ที่ไม่ใช่พ้ืนที่ปลูกยางพารา ซึ่ งประกอบด้วย

67
พื้นที่เกษตร ที่อยู่อาศัย แหล่งนํ้า และพื้นที่อื่นๆ เพื่อกรองเอาพื้นที่
อื่ นๆ ที่ ไ ม่ใ ช่ พ้ืนที่ ป ลู ก ยางพาราออกไปก่ อ นที่ จะทํา การจํา แนก
ข้อมูลในชั้นที่สามต่อไป ซึ่ งในการจําแนกข้อมูลในชั้นที่สามนั้นจะ
เป็ นการจําแนกพื้ นที่ ปลู กยางพาราตามช่ วงชั้นอายุ ประกอบด้วย
พื้นที่ ที่ปลู กยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี พื้นที่ ปลู กยางพาราช่ วงอายุ
14-20 ปี พื้นที่ปลูกยางพาราอายุมากกว่า 20 ปี รวมถึงจําแนกพื้นที่ที่
ไม่ใช่พ้ืนที่ปลูกยางพาราอีกครั้งหนึ่ ง เพื่อให้ได้มาซึ่ งผลการจําแนก
ที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ เนื่องจากในการจําแนกข้อมูลในชั้นที่หนึ่ ง อาจมี
พื้นที่อื่นๆ ซึ่งเป็ นวัตถุภาพขนาดเล็กที่ไม่เกี่ยวข้องยังคงปะปนมากับ
พื้นที่ ป ลู ก ยางพารา เป็ นการจํา แนกกรองเอาพื้นที่ เหล่า นี้ ออกไป
โดยในการจํา แนกพื้ น ที่ ป ลู ก ยางตามช่ ว งอายุ ได้มี ก ารกํา หนด
เงื่อนไขให้กบั ข้อมูล โดยใช้ค่าการสะท้อนมาประกอบการวิเคราะห์
ซึ่ งผลการจําแนกพื้นที่ปลูกยางในชั้นข้อมูลที่หนึ่ ง ชั้นข้อมูลที่สอง
และชั้นข้อมูลที่สามปรากฎดังภาพที่ 3.8, 3.9 และ 3.10

68
ภาพที่ 3.7 จุดตรวจสอบความถูกต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินปี 2548

69
ภาพที่ 3.8 การจําแนกชั้นข้อมูลที่หนึ่ง

ภาพที่ 3.9 การจําแนกชั้นข้อมูลที่สอง

ภาพที่ 3.10 การจําแนกชั้นข้อมูลที่สาม

3.1.6 การตรวจสอบความถูกต้องของผลการจําแนก

สําหรับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนั้น สามารถทําการตรวจสอบได้หลายวิธี
โดยในการศึกษาครั้งนี้ ทําการตรวจสอบความถู กต้องโดยการเก็บจุดตรวจสอบความ
ถูกต้องของประเภทการใช้ที่ดิน เพื่อใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของผลการจําแนก

70
ซึ่ งในการจํา แนกประเภทการใช้ ที่ ดิ น ในปี 2548 ด้ ว ยข้ อ มู ล ภาพถ่ า ยดาวเที ย ม
Landsat-5 TM ทําการเก็บจุดตรวจสอบความถูกต้องโดยการลงพื้นที่สาํ รวจภาคสนามใน
พื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวง เพื่ อ สอบถามข้อ มู ล จากผู ้นํา ชุ ม ชนและชาวบ้า นในพื้ น ที่
อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงรายจํานวน 31 จุด ว่าจุดดังกล่าวในปี 2548 เคยเป็ นการใช้
ที่ดินประเภทใดมาก่อน ประกอบกับพิจารณาจากภาพถ่ายดาวเทียมย้อนหลัง ดังตารางที่
3.2 และภาพที่ 3.9 ส่ วนการตรวจสอบความถูกต้องของผลการจําแนกประเภทพื้นที่ปลูก
ยางพาราจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 OLI ในปี 2558 นั้น ทําการตรวจสอบ
โดยการลงพื้นที่สาํ รวจภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลตําแหน่งพื้นที่ปลูกยางพาราในแต่ละช่วง
ชั้นอายุจาํ นวน 60 จุด โดยใช้เครื่ องมือระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS) ดัง
ตารางที่ 3.3 และภาพที่ 3.11

จากการตรวจสอบความถูกต้องของผลการจําแนกจากจุดตรวจสอบความถูกต้องจากการ
สํารวจภาคสนามของการจําแนกทั้ง 2 ปี พบว่า การจําแนกประโยชน์การใช้ที่ดินปี 2548
มีความถู กต้องคิดเป็ นร้ อยละ 96.77 ส่ วนในปี 2558 มีความถู กต้องมีการจําแนกคิดเป็ น
ร้ อ ยละ 98.33 ซึ่ งอยู่ใ นระดับ ที่ ย อมรั บ ได้ แต่ อ ย่า งไรก็ ต าม ผลการตรวจสอบความ
ถู กต้องนี้ เป็ นความถู กต้องในบริ เวณพื้นที่ที่ได้มีการตรวจสอบจากจุดตัวอย่างที่ทาํ การ
สํารวจภาคสนามเท่านั้น ซึ่ งผลการจําแนกในบริ เวณอื่นที่ไม่ได้ตรวจสอบจากจุดตัวอย่าง
ที่ได้ทาํ การสํารวจภาคสนามอาจเกิดความคลาดเคลื่อนของผลการจําแนก

71
ภาพที่ 3.11 จุดตรวจสอบความถูกต้องของยางพาราในแต่ละช่วงอายุปี 2558

72
ตารางที่ 3.2 จุดตรวจสอบความถูกต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินปี 2548 จากการสํารวจภาคสนาม
พิกดั
ลําดับ ประเภทการใช้ ทดี่ ิน
x y
1 614789 2225562 แหล่งนํ้า
2 616076 2226124 แหล่งนํ้า
3 612772 2223998 แหล่งนํ้า
4 616940 2226093 แหล่งนํ้า
5 614977 2227912 แหล่งนํ้า
6 616863 2228121 แหล่งนํ้า
7 615539 2225771 พื้นที่เกษตร
8 624522 2226550 พื้นที่เกษตร
9 622919 2224698 พื้นที่เกษตร
10 617098 2230402 พื้นที่เกษตร
11 612349 2222052 พื้นที่เกษตร
12 617964 2227303 พื้นที่เกษตร
13 618314 2234566 พื้นที่อื่นๆ
14 616069 2229913 พื้นที่อื่นๆ
15 617821 2225469 พื้นที่อื่นๆ
16 612736 2223103 พื้นที่อื่นๆ
17 619249 2234519 พื้นที่อื่นๆ
18 618751 2233175 พื้นที่อื่นๆ
19 616808 2228386 ที่อยูอ่ าศัย
20 618816 2233832 ที่อยูอ่ าศัย
21 616413 2226066 ที่อยูอ่ าศัย
22 621442 2223688 ที่อยูอ่ าศัย
23 626520 2229893 ที่อยูอ่ าศัย
24 612381 2223762 ที่อยูอ่ าศัย
25 614722 2231431 พื้นที่ป่าไม้

73
ตารางที่ 3.2 (ต่อ)
พิกดั
ลําดับ ประเภทการใช้ ทดี่ ิน
x y
26 618047 2223869 พื้นที่ป่าไม้
27 609840 2219057 พื้นที่ป่าไม้
28 625679 2224052 พื้นที่ป่าไม้
29 627766 2228724 พื้นที่ป่าไม้
30 620311 2229546 พื้นที่ป่าไม้
31 617946 2233262 ยางพารา

ตารางที่ 3.3 จุดตรวจสอบความถูกต้องของยางพาราในแต่ละช่วงอายุปี 2558 จากการสํารวจภาคสนาม


พิกดั
ลําดับ ช่ วงอายุ
x y
1 609296 2219643 7-13
2 615187 2228958 7-13
3 614359 2229546 7-13
4 614116 2229757 7-13
5 614159 2229995 7-13
6 614561 2230100 7-13
7 616545 2231376 7-13
8 616182 2231562 7-13
9 615841 2231890 7-13
10 615752 2232009 7-13
11 617281 2231640 7-13
12 619144 2231642 7-13
13 619170 2231481 7-13
14 619332 2231367 7-13
15 619462 2232000 7-13

74
ตารางที่ 3.3 (ต่อ)
พิกดั
ลําดับ ช่ วงอายุ
x y
16 619900 2231730 7-13
17 619158 2232292 7-13
18 616458 2230057 7-13
19 616964 2227881 7-13
20 616781 2227168 7-13
21 616913 2226877 7-13
22 617180 2225908 7-13
23 617303 2225960 7-13
24 617461 2226031 7-13
25 614916 2224309 7-13
26 612910 2225945 7-13
27 608929 2219193 7-13
28 608538 2218973 7-13
29 610297 2221048 7-13
30 610800 2221716 7-13
31 610931 2221883 7-13
32 612306 2224030 7-13
33 612276 2224033 7-13
34 612035 2224100 7-13
35 611663 2224017 7-13
36 610601 2224229 7-13
37 610378 2224392 7-13
38 610103 2224481 7-13
39 610034 2224582 7-13
40 618654 2223954 7-13

75
ตารางที่ 3.3 (ต่อ)
พิกดั
ลําดับ ช่ วงอายุ
x y
41 620024 2223989 7-13
42 620281 2221314 7-13
43 620557 2221748 7-13
44 623745 2225615 7-13
45 625132 2227815 7-13
46 625185 2227964 7-13
47 625221 2228031 7-13
48 626075 2231088 7-13
49 626211 2231365 7-13
50 626434 2231612 7-13
51 615181 2230169 14-20
52 615881 2230846 14-20
53 619314 2231373 14-20
54 619318 2231929 14-20
55 619286 2232130 14-20
56 619213 2232251 14-20
57 618899 2232333 14-20
58 617877 2233390 14-20
59 610901 2224156 14-20
60 619655 2231830 > 20

76
3.2 การเปลีย่ นแปลงการใช้ ที่ดินในพืน้ ทีอ่ าํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย

ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ก่อนที่จะมีการ


ส่ ง เสริ ม การปลู ก ยางพาราในปี 2548 และหลัง จากการส่ ง เสริ ม การปลู ก ยางพาราแล้ว ในปี 2558
ทําการศึกษาโดยการนําผลการจําแนกประเภทการใช้ที่ดินของข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 TM
ในปี 2548 และการจําแนกพื้นที่ปลู กยางพาราจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 OLI ในปี 2558
นั้น มาวิเคราะห์ การเปลี่ ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยใช้โปรแกรมทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็ น
เครื่ องมือในการวิเคราะห์

3.2.1 ผลการจําแนกประเภทการใช้ที่ดินของข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 TM ในปี 2548

การจําแนกประเภทการใช้ที่ดินของข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 TM ในปี 2548


ทําการจําแนกประเภทการใช้ที่ดินออกเป็ น 8 ประเภทด้วยกัน ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น
ซึ่ งผลการจําแนก พบว่า พื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย มีพ้ืนที่ท้ งั หมด 318.02
ตารางกิ โ ลเมตรหรื อ 198,765.00 ไร่ โดยพื้ น ที่ เ กษตรมี พ้ื น ที่ ม ากที่ สุ ด คื อ 194.42
ตารางกิ โ ลเมตรหรื อ 121,513.50ไร่ คิ ด เป็ นร้ อ ยละ 61.13 ของพื้ น ที่ พบมากทาง
ตอนกลางและทางด้านตะวันออกของพื้นที่ ในบริ เวณตําบลโชคชัย รองลงมาเป็ นพื้นที่
ป่ าไม้ท้ งั หมด 109.21 ตารางกิโลเมตรหรื อ 68,254.88 ไร่ คิดเป็ นร้อยละ 34.34 ของพื้นที่
พบกระจายอยู่ทวั่ พื้นที่ แต่จะพบมากในทางด้านตะวันออกของพื้นที่ ในบริ เวณตําบล
หนองป่ าก่อและตําบลปงน้อย พื้นที่อื่นๆ ทั้งหมด 6.40 ตารางกิโลเมตรหรื อ 3,997.13 ไร่
คิ ดเป็ นร้ อยละ 2.01 ของพื้นที่ พบกระจายตัวอยู่ในบางพื้ นที่ ที่ อยู่อาศัยทั้งหมด 4.31
ตารางกิโลเมตรหรื อ 2,693.25 ไร่ คิดเป็ นร้ อยละ 1.35 ของพื้นที่ พบกระจุกตัวอยู่ตาม
แอ่งที่ราบ พื้นที่แหล่งนํ้าทั้งหมด 2.73 ตารางกิโลเมตรหรื อ 1,707.75 ไร่ คิดเป็ นร้อยละ
0.86ของพื้นที่ พบกระจายตัวอยู่ทางชายขอบด้า นตะวันตกของพื้นที่ และพื้นที่ ปลู ก
ยางพาราทั้ง หมด 0.02 ตารางกิ โลเมตรหรื อ 14.06 ไร่ คิ ดเป็ นร้ อยละ 0.01 ของพื้นที่
ตามลําดับ ส่ วนที่เหลือเป็ นเมฆและเงาเมฆมีพ้ืนที่รวมกันทั้งหมด 0.93 ตารางกิโลเมตร
หรื อ 584.44 ไร่ คิดเป็ นร้อยละ 0.309 ของพื้นที่ ดังตารางที่ 3.4 และภาพที่ 3.12

77
ตารางที่ 3.4 ประเภทการใช้ที่ดินของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ปี 2548
พื้นที่
ลําดับ ประเภทการใช้ที่ดิน
ตารางกิโลเมตร ไร่ ร้อยละ
1 พื้นที่เกษตร 194.42 121,513.50 61.13
2 พื้นที่ป่าไม้ 109.21 68,254.88 34.34
3 พื้นที่อื่นๆ 6.40 3,997.13 2.01
4 ที่อยูอ่ าศัย 4.31 2,693.25 1.35
5 แหล่งนํ้า 2.73 1,707.75 0.86
6 เมฆ 0.47 294.19 0.15
7 เงาเมฆ 0.46 290.25 0.15
8 พื้นที่ปลูกยางพารา 0.02 14.06 0.01
รวม 318.02 198,765.00 100.00

3.2.2 ผลการจําแนกพื้นที่ปลูกยางพาราของข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8-OLI ในปี 2558

ในการจํา แนกการใช้ท่ี ดิ น ในปี 2558 นั้น ทํา การจํา แนกพื้ น ที่ ป่ าไม้แ ละพื้ น ที่ ป ลู ก
ยางพาราจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 OLI ซึ่ งการจําแนกพื้นที่ปลูกยางพารา
ทําการจําแนกพื้นที่ ปลู กยางพาราออกเป็ น 3 ช่ วงอายุด้วยกัน ซึ่ งผลการจําแนก พบว่า
พื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง จัง หวัดเชี ย งราย มี พ้ืนที่ ป่ าไม้ท้ งั หมด 81.55 ตารางกิ โลเมตร
หรื อ 50,970.94 ไร่ คิดเป็ นร้อยละ 25.77 ของพื้นที่ (ภาพที่ 3.13) และมีพ้ืนที่ปลูกยางพารา
ทั้งหมด 45.10 ตารางกิโลเมตรหรื อ 28,186.88 ไร่ คิดเป็ นร้อยละ 14.18 ของพื้นที่ ซึ่ งพบ
กระจายตัว อยู่ท ั่วพื้ น ที่ (ภาพที่ 3.14) โดยตํา บลที่ มี พ้ื นที่ ป ลู ก ยางพารามากที่ สุ ด คื อ
ตําบลโชคชัย ตําบลปงน้อย และตําบลหนองป่ าก่อ โดยมี พ้ืนที่ ปลู กยางพาราทั้งหมด
21.02, 14.51 และ 9.5 ตารางกิ โ ลเมตร หรื อ 13,137.19, 9,068.63 และ 5,934.39 ไร่
ตามลําดับ โดยจากพื้นที่ ปลู กยางพาราทั้งหมด สามารถจําแนกอายุยางพาราออกเป็ น
3 ช่วงอายุดว้ ยกัน ประกอบด้วย พื้นที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี พื้นที่ปลูกยางพารา
ช่ วงอายุ 14-20 ปี และพื้นที่ปลู กยางพาราอายุมากกว่า 20 ปี โดยมีพ้ืนที่ท้ งั หมด 37.78,
7.31 และ 0.01 ตารางกิ โ ลเมตร หรื อ 23,611.50, 4,567.50 และ 7.88 ไร่ ต ามลํา ดับ
คิ ด เป็ นร้ อ ยละ 83.77, 16.20 และ 0.03 ของพื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราทั้ง หมด ตามลํา ดับ
ดังตารางที่ 3.5 และภาพที่ 3.15 โดยพื้นที่ตาํ บลโชคชัยมีพ้ืนที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ 7-13

78
ปี ทั้งหมด 19.1 ตารางกิโลเมตรหรื อประมาณ 11,936.25 ไร่ พื้นที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ
14-20 ปี ทั้งหมด 1.92 ตารางกิโลเมตรหรื อประมาณ 1,200.94 ไร่ ส่ วนพื้นที่ตาํ บลปงน้อย
มี พ้ื น ที่ ป ลู ก ยางพาราช่ ว งอายุ 7-13 ปี ทั้ง หมด 11.68 ตารางกิ โ ลเมตรหรื อ ประมาณ
7,302.38 ไร่ พื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราช่ ว งอายุ 14-20 ปี ทั้ง หมด 2.83 ตารางกิ โ ลเมตร
หรื อประมาณ 1,766.25 ไร่ และพื้นที่ ตาํ บลหนองป่ าก่ อมี พ้ื นที่ ปลู ก ยางพาราช่ วงอายุ
7-13 ปี ทั้งหมด 6.94 ตารางกิโลเมตรหรื อประมาณ 4,334.63 ไร่ พื้นที่ปลูกยางพาราช่วง
อายุ 14-20 ปี ทั้ง หมด 2.55 ตารางกิ โลเมตรหรื อประมาณ 1,591.88 ไร่ และพื้ นที่ ป ลู ก
ยางพาราอายุ ม ากกว่ า 20 ปี ทั้ง หมด 0.01 ตารางกิ โ ลเมตรหรื อประมาณ 7.88 ไร่
(ตารางที่ 3.6)

ตารางที่ 3.5 พื้นที่ปลูกยางพาราตามช่วงอายุในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงรายปี 2558


พืน้ ที่
ลําดับ ประเภทการใช้ ทดี่ ิน
ตารางกิโลเมตร ไร่ ร้ อยละ
พื้นที่ที่ปลูกยางพารา
1 37.78 23,611.50 83.77
ช่วงอายุ 7-13 ปี
พื้นที่ที่ปลูกยางพารา
2 7.31 4,567.50 16.20
ช่วงอายุ 14-20 ปี
พื้นที่ที่ปลูกยางพาราอายุ
3 0.01 7.88 0.03
มากกว่า 20 ปี
รวม 45.10 28,186.88 100.00

79
ตารางที่ 3.6 พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ปี 2558 รายตําบล
พืน้ ทีป่ ลูกยางพารา
ลําดับ ตําบล ช่ วงอายุยางพารา (ปี )
ตารางกิโลเมตร ไร่
7-13 6.94 4,334.63
1 หนองป่ าก่อ 14-20 2.55 1,591.88
มากกว่า 20 0.01 7.88
7-13 19.1 11,936.25
2 โชคชัย 14-20 1.92 1,200.94
มากกว่า 20 - -
7-13 11.68 7,302.38
3 ปงน้อย 14-20 2.83 1,766.25
มากกว่า 20 - -

80
ภาพที่ 3.12 ประเภทการใช้ที่ดินของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ปี 2548

81
ภาพที่ 3.13 พื้นที่ป่าไม้ของอําเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ปี 2558

82
ภาพที่ 3.14 แผนที่พ้ืนที่ปลูกยางพาราในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ปี 2558

83
ภาพที่ 3.15 แผนที่พ้ืนที่ปลูกยางพาราแยกตามช่วงอายุในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง
จังหวัดเชียงราย ปี 2558

84
3.2.3 สรุ ปการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

หลังจากที่ได้ทาํ การจําแนกประเภทการใช้ที่ดินจากภาพถ่ ายดาวเที ยม Landsat-5 TM


ปี 2548 และจํา แนกภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-8 OLI ปี 2558 แล้ ว ทํา การศึ ก ษา
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินใน 2 ช่วงเวลา คือ ก่อนที่จะมีการส่ งเสริ มการปลูกยางพารา
ในปี 2548 และหลังจากที่ได้รับการส่ งเสริ มการปลู กยางพาราแล้ว ปี 2558 โดยทําการ
วิเคราะห์ ด้วยโปรแกรมทางด้านระบบสารสนเทศภู มิศาสตร์ ซึ่ งจากการศึ กษาพบว่า
พื้นที่อาํ เภอดอยหลวงมีการเปลี่ ยนแปลงการใช้ที่ดินจากเดิมที่เป็ นการใช้ที่ดินประเภท
พื้ น ที่ เ กษตรมาเป็ นพื้ น ที่ ป ลู ก ยางพารามากที่ สุ ดจํา นวน 40.21 ตารางกิ โ ลเมตร
(25,132.50 ไ ร่ ) รองล งมาเป็ นก ารใ ช้ ที่ ดิ นป ระ เ ภทพื้ นที่ ป่ าไม้ จ ํ า น วน 2.62
ตารางกิ โลเมตร (1,638.00 ไร่ ) และการใช้ที่ ดินประเภทพื้นที่ อื่นๆ เช่ น พื้นที่ รกร้ า ง
ว่างเปล่าจํานวน 2.23 ตารางกิ โลเมตร (1,394.44 ไร่ ) เป็ นการเปลี่ยนแปลงการใช้ท่ีดิน
จากพื้นที่ปลูกยางพาราเดิมจํานวน 0.02 ตารางกิโลเมตร (10.69 ไร่ ) ประเภทแหล่งนํ้ามา
เป็ นพื้นที่ปลูกยางพาราจํานวน 0.01 ตารางกิโลเมตร (3.94 ไร่ ) ประเภทที่อยูอ่ าศัยมาเป็ น
พื้นที่ปลูกยางพาราจํานวน 2.25 ไร่ ตามลําดับ และส่ วนที่เหลือเป็ นพื้นที่ปลูกยางพาราที่
ซ้อนทับกับเมฆและเงา ดังตารางที่ 3.7 และภาพที่ 3.16 ซึ่ งสาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลง
การใช้ที่ดินเดิม จากพื้นที่เกษตรมาเป็ นพื้นที่ปลูกยางพารา เนื่องจากภาครัฐได้มีนโยบาย
ในการสนับ สนุ น ให้ มี ก ารขยายพื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราในพื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราเดิ ม คื อ
พื้นที่จงั หวัดภาคใต้มายังพื้นที่ปลูกยางพาราใหม่ในจังหวัดภาคเหนื อตอนบน ประกอบ
กับตลาดมีความต้องการยางพารามากขึ้น รวมถึ งยางพาราเป็ นพืชเศรษฐกิจโตเร็ วที่ให้
ผลตอบแทนสู ง ทํา ให้ เ กษตรกรหั น มาปลู ก ยางพารามากยิ่ ง ขึ้ น จากเดิ ม ที่ เ คยทํา
การเกษตรแบบพืชสวน พืชไร่

ตารางที่ 3.7 การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย


การเปลีย่ นแปลงการใช้ ทดี่ ินมาเป็ นพืน้ ที่ปลูก
ลําดับ ประเภทการใช้ ทดี่ ินเดิม ยางพารา
ตารางกิโลเมตร ไร่ ร้ อยละ
1 พื้นที่เกษตร 40.21 25,132.50 89.16
2 พื้นที่ป่าไม้ 2.62 1,638.00 5.81
3 พื้นที่อื่นๆ 2.23 1,394.44 4.95

85
ตารางที่ 3.7 (ต่อ)
การเปลีย่ นแปลงการใช้ ทดี่ ินมาเป็ นพืน้ ที่ปลูก
ลําดับ ประเภทการใช้ ทดี่ ินเดิม ยางพารา
ตารางกิโลเมตร ไร่ ร้ อยละ
4 พื้นที่ปลูกยางพารา 0.02 10.69 0.04
5 เงา 0.01 5.06 0.02
6 แหล่งนํ้า 0.01 3.94 0.01
7 ที่อยูอ่ าศัย 0.00 2.25 0.01
8 เมฆ 0.00 0.00 0.00
รวม 45.10 28,186.88 100.00

86
ภาพที่ 3.16 การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเดิมปี 2548 เป็ นพื้นที่ปลูกยางพาราในปี 2558

87
3.3 สรุ ปผลการศึกษา

ในการศึ ก ษาการเปลี่ ย นแปลงการใช้ ป ระโยชน์ ที่ ดิ น 10 ปี ย้อ นหลัง ของพื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวง
จังหวัดเชียงรายใน 2 ช่วงเวลา คือ ระหว่างปี 2548 ก่อนที่จะมีการส่ งเสริ มการปลูกยางพาราจากภาครัฐ
และปี 2558 หลัง จากการส่ ง เสริ ม การปลู ก ยางพาราด้วยวิธี การเชิ ง วัตถุ โดยผลการจํา แนกการใช้
ประโยชน์ที่ดินในปี 2548 พบว่า พื้นที่อาํ เภอดอยหลวง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็ นพื้นที่เกษตรมาก
ที่สุด รองลงมาเป็ นพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่อื่นๆ ตามลําดับ ส่ วนการจําแนกพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ปลู ก
ยางพาราตามช่ วงอายุใ นปี 2558 พบว่า พื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง มี พ้ื นที่ ป่ าไม้คิ ดเป็ นร้ อยละ 25.77
ของพื้นที่ ลดลงจากปี 2548 ซึ่ งมีพ้ืนที่ป่าไม้คิดเป็ นร้อยละ 34.31 ของพื้นที่ และมีพ้ืนที่ปลูกยางพารา
คิดเป็ นร้อยละ 14.18 ของพื้นที่ โดยพบมากในพื้นที่ตาํ บลโชคชัย ตําบลปงน้อย และตําบลหนองป่ าก่อ
ตามลํา ดับ ซึ่ ง อํา เภอดอยหลวง จัง หวัดเชี ย งราย มี พ้ืนที่ ป ลู ก ยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี พื้ นที่ ป ลู ก
ยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี และพื้นที่ปลูกยางพาราอายุมากกว่า 20 ปี คิดเป็ นร้อยละ 83.77, 16.20 และ
0.03 ของพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด ตามลําดับ และจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์
ที่ดิน 10 ปี ย้อนหลังของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายใน 2 ช่วงเวลาพบว่า มีการเปลี่ยนแปลง
การใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่เกษตรมากที่สุด รองลงมาเป็ นพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่อื่นๆ ซึ่ งคิดเป็ น
ร้อยละ 89.16, 5.81 และ 4.95 ตามลําดับ

88
บทที่ 4

การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินของยางพาราจากภาพถ่ ายดาวเทียม


ในพืน้ ที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

การศึ ก ษาในบทนี้ เป็ นการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราในพื้ น ที่
อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย โดยทําการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพารา
จากภาพถ่ายดาวเทียมและจากการสํารวจภาคสนาม เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และนําผลการประเมินมา
ทําการปรับเทียบ จากนั้นหาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินกับปั จจัย
ทางด้า นกายภาพในพื้ น ที่ อ าํ เภอดอยหลวง จัง หวัด เชี ย งราย ซึ่ งประกอบด้ว ย ความสู ง ของพื้ นที่
ชนิดของดิน และความลาดชัน ซึ่ งสามารถแบ่งการศึกษาออกเป็ น 2 หัวข้อใหญ่ๆ ด้วยกัน ประกอบด้วย
การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราและการหาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณ
การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพารากับปั จจัยทางด้านกายภาพในพื้ นที่ อาํ เภอดอยหลวง
จังหวัดเชียงราย

4.1 การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินของยางพารา

ในขั้นตอนของการการประเมิ นการกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ นของยางพารา ได้แบ่ ง การศึ ก ษา
ออกเป็ น 2 หั ว ข้อ หลัก ๆ คื อ การประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจาก
ภาพถ่ า ยดาวเที ย มและการประเมิ นการกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากการสํา รวจ
ภาคสนาม ซึ่ งหลังจากที่ได้ผลการศึกษาแล้ว ทําการหาความสัมพันธ์และปรับเทียบระหว่างปริ มาณ
การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมกับปริ มาณการกักเก็บคาร์ บ อน
เหนือพื้นดินของยางพาราจากการสํารวจภาคสนาม ว่ามีความถูกต้องสัมพันธ์กนั หรื อไม่ โดยมีข้ นั ตอน
การดําเนินงานดังนี้

89
4.1.1 การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม

การประเมิ นการกักเก็บคาร์ บ อนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ ายดาวเที ย มนั้น


ทํา การประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้ นดิ นของยางพาราจากภาพถ่า ยดาวเทียม
Landsat 8-OLI ในปี 2558 เช่ นเดี ย วกับ การจํา แนกพื้ นที่ ป ลู ก ยางพาราในบทที่ 3 โดย
ภาพถ่ายดาวเทียมที่นาํ มาประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา ต้องเป็ น
ภาพที่ ผ่ า นการปรั บ แก้ เ ชิ งบรรยากาศแล้ ว เท่ า นั้ น ซึ่ งในการศึ ก ษาครั้ งนี้ ใช้
CASA-biosphere model ในการประเมิน โดยมีข้ นั ตอนดังต่อไปนี้

1) การเตรี ยมข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

ในขั้ นตอนการเตรี ยมข้ อ มู ล ภาพถ่ า ยดาวเที ย มนั้ น ใช้ ภ าพดาวเที ย ม


Landsat-8 OLI เช่นเดียวกับขั้นตอนการจําแนกพื้นที่ปลูกยางพาราตามช่วงอายุใน
บทที่ 3 ซึ่ ง ในการประเมิ นการกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ นของยางพาราจาก
ภาพถ่ า ยดาวเที ย มนั้ น จํา เป็ นต้อ งใช้ ภ าพถ่ า ยดาวเที ย มที่ ผ่ า นการปรั บ แก้
เชิ งบรรยากาศแล้วเท่ านั้น เนื่ องจากรั งสี ดวงอาทิตย์จะถู ก ดู ดกลื นหรื อกระจัด
กระจายโดยบรรยากาศระหว่า งการเดิ น ทางสู่ ผิ วพื้ นดิ น ในขณะที่ พ ลัง งานที่
สะท้อนหรื อเปล่งออกจากวัตถุ เป้ าหมายจะถู กดู ดกลื นหรื อกระจัดกระจายโดย
บรรยากาศก่ อ นที่ จ ะถึ ง เครื่ อ งวัด ผิ ว พื้ น ดิ น ไม่ เ พี ย งแต่ ไ ด้รั บ รั ง สี ด วงอาทิ ตย์
โดยตรงเท่ า นั้น แต่ ย งั ได้รั บ แสงจากท้อ งฟ้ า หรื อ คลื่ น ที่ ก ระจัด กระจายจาก
บรรยากาศอีกด้วย ในทํานองเดียวกันเครื่ องวัดได้รับไม่เพียงคลื่ นที่สะท้อนหรื อ
เปล่งออกโดยตรงจากวัตถุเป้ าหมายเท่านั้น แต่ยงั ได้รับคลื่นที่กระจัดกระจายจาก
วัต ถุ เ ป้ า หมาย และคลื่ น ที่ ก ระจัด กระจายจากบรรยากาศอี ก ด้ ว ย ดัง นั้ น จึ ง
จําเป็ นต้องปรับแก้สัญญาณรบกวนจากบรรยากาศเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่
เกิ ดขึ้ น (จิ ระ ปรั ง เขี ย ว และคณะ, 2552) โดยทํา การปรั บ แก้ภาพถ่ า ยดาวเที ยม
แบนด์ที่ตอ้ งการใช้ในสมการเท่านั้น คือ ภาพถ่ายดาวเทียมแบนด์ 4 และแบนด์ 5
ซึ่ งทําการปรับแก้ภาพเชิ งบรรยากาศโดยใช้สมการที่ 4.2 และ 4.3 ตามลําดับ เพื่อ
ใช้ในการหาค่าดัชนี พืชพรรณ (NDVI) เพื่อคํานวณหาค่าสัดส่ วนของรังสี ที่ใช้ใน
การสั ง เคราะห์ แสงของพื ช ที่ ส่ วนเรื อ นยอดของพื ช สามารถดู ดกลื นเอาไว้ไ ด้
(FPAR) ส่ วนแบนด์ 10 ทํา การปรั บ แก้ดัง สมการ 4.1 เพื่อใช้ใ นการคํา นวณค่ า
อุณหภูมิ (T) ซึ่ งมีสมการในการปรับแก้เชิงบรรยากาศดังนี้

90
Lλ = MLQcal + AL สมการ 4.1

โดย Lλ = ค่า TOA spectral radiance (Watts/ ( m2 * srad * μm))


ML = ค่า Band-specific multiplicative rescaling จาก metadata
(RADIANCE_MULT_BAND_x) (ตารางที่ 1.1)
Qcal = ค่า Band-specific additive rescaling factor from จาก metadata
(RADIANCE_ADD_BAND_x) (ตารางที่ 1.1)
AL = ค่า Quantized and calibrated standard product pixel values
(DN)

ρλ' = MρQcal + Aρ สมการ 4.2

โดย ρλ' = ค่า T O A p la ne ta ry r e fl ec t anc e ที่ยงั ไม่มีการปรับแก้


มุมดวงอาทิตย์
Mρ = ค่า Band-specific multiplicative rescaling factor จาก metadata
(REFLECTANCE_MULT_BAND_x) (ตารางที่ 1.1)
Qcal = ค่า Band-specific additive rescaling factor จากข้อมูล metadata
(REFLECTANCE_ADD_BAND_x) (ตารางที่ 1.1)
Aρ = ค่า Quantized and calibrated standard product pixel
values (DN)

การเปลี่ยนค่าความสว่างเป็ นค่าสะท้อนที่ระดับเรื อนยอด โดยทําการปรับแก้จาก


ค่า band-specific ของแต่ละแบนด์จาก metadata ดังสมการ 4.3

ρλ′
ρλ = สมการ 4.3
sin(θSE)

โดย ρλ = ค่า TOA planetary reflectance


ρλ '
= ค่ า TOA planetary reflectance ที่ ย งั ไม่ มี ก ารปรั บ แก้มุ ม
ดวงอาทิตย์
sin(θSE) = ค่า Local sun elevation angle จาก metadata
(SUN_ELEVATION) มีค่าเท่ากับ 0.8746564

91
โดยค่าของตัวแปรต่างๆ ที่ใช้ในสมการ หาได้จาก Metadata File (ตารางที่ 4.1) ที่
ทําการดาวน์โหลดมาพร้ อมกับภาพถ่ ายดาวเทียม โดยจะแสดงข้อมูลและค่า ตัว
แปรต่างๆ ในแต่ละแบนด์ของภาพถ่ายดาวเทียมนั้นๆ

ตารางที่ 4.1 ค่า Band-specific multiplicative และ Band-specific additive ของภาพ


Landsat 8-OLI
Band Radiance_multi Radiance_add
1 1.2579E-02 -62.89467
2 1.2881E-02 -64.40491
3 1.1870E-02 -59.34858
4 1.0009E-02 -50.04606
5 6.1251E-03 -30.62569
6 1.5233E-03 -7.61633
7 5.1342E-04 -2.56711
8 1.1328E-02 -56.63837
9 2.3938E-03 -11.96922
10 3.3420E-04 0.10000
11 3.3420E-04 0.10000

2) การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม

หลังจากที่ทาํ การปรับแก้เชิ งบรรยากาศของภาพจนครบ 3 แบนด์แล้ว ต่อไปเป็ น


ขั้น ตอนของการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจาก
ภาพถ่ า ยดาวเที ย ม โดยในการศึ ก ษาครั้ งนี้ ใช้ CASA-biosphere model ของ
Potter et al. (1995, อ้างใน Lolupiman. T., 2015) ในการประเมิน ซึ่ งเป็ นโมเดลที่
สร้างขึ้นมาเพื่อจําลองรู ปแบบการตรึ งคาร์ บอนหรื อการผลิต ชีวมวลรายเดือนของ
พื ช โดยการคํา นวณจากค่ า รั ง สี ด วงอาทิ ต ย์ ค่ า ดัช นี พื ช พรรณ ค่ า คงที่ ข อง
ประสิ ทธิ ภาพการใช้แสง ค่าอุณหภูมิ และความชื้นในดิน ซึ่ งสามารถประเมินการ
กักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมได้ดงั สมการ 4.4
โดยมีสมการดังต่อไปนี้

92
NPP(x,t) = S(x,t)·FPAR(x,t)·ε*·T(x,t)·W(x,t) สมการ 4.4

โดย NPP = อัต ราส่ ว นสุ ท ธิ ข องคาร์ บ อนที่ เ หลื อ จากการหายใจและ


การ สั ง เคราะห์ แ สงของพื ช เป็ นค่ า ที่ แ สดงถึ ง การกัก เก็ บ
คาร์ บอนสุ ทธิ ไว้ในลําต้น ใบ และรากของพืช (กรัมคาร์ บอน
ต่อตารางเมตรต่อเดือน)
S(x,t) = ค่ารังสี ดวงอาทิตย์ (มิลลิจูลต่อตารางเมตรต่อเดือน)
FPAR(x,t) = สั ด ส่ วนของรั ง สี ที่ ใ ช้ ใ นการสั ง เคราะห์ แ สงของพื ช ที่
ส่ วนเรื อนยอดของพืชสามารถดูดกลืนเอาไว้ได้
ε* = ค่าคงที่ของประสิ ทธิ ภาพการใช้แสงเท่ากับ
0.389 gC MJ-1 PAR
T(x,t) = ค่าอุณหภูมิ (เซลเซี ยส) มีค่าเท่ากับ 0-1
W(x,t) = ค่าความชื้นในดิน

โดยค่า FPAR, T และค่า W เป็ นค่าที่คาํ นวณที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียม ค่า S คือ


ค่ารั งสี ดวงอาทิ ตย์ในเดื อนเมษายนที่ ได้จากสถานี วดั ความเข้มรั งสี ดวงอาทิตย์
และเนื่ องจากค่ารังสี ดวงอาทิ ตย์ในสถานี ของพื้นที่อาํ เภอเมื อง จังหวัดเชี ยงราย
และสถานี ใกล้เคียงมีค่าไกล้เคี ยงกัน ในการศึกษาครั้งนี้ จึงได้ทาํ การเลื อกใช้ค่า
รังสี ดวงอาทิตย์ในสถานี ของพื้นที่อาํ เภอเมือง จังหวัดเชี ยงราย เพียงสถานี เดี ยว
ส่ ว นค่ า ε* คื อ ค่ า คงที่ ข องประสิ ท ธิ ภ าพการใช้ แ สง ซึ่ งมี ค่ า เท่ า กับ 0.389
gC MJ-1PAR โดยค่า FPAR, T และค่า W สามารถหาได้จากสมการ 4.5-4.12โดยมี
สมการดังต่อไปนี้

2.1) การหาค่า FPAR คือ สัดส่ วนของรังสี ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงของพืชที่


ส่ วนเรื อนยอดของพืชสามารถดูดกลืนเอาไว้ได้ดงั สมการ 4.5

FPAR = NDVI*1.25-0.025 สมการ 4.5

โดย NDVI = ค่า ดัช นี พื ช พรรณ (มี ค่า ระหว่า ง 0 ถึ ง -1) ซึ่ ง สามารถ
คํานวณได้จากสมการ 4.6

93
(NIR−VR)
NDVI = (NIR+VR) สมการ 4.6

โดย NIR = ค่าสะท้อนในช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้


VR = ค่าสะท้อนในช่วงคลื่นตามองเห็นสี แดง

ซึ่ งภาพถ่ า ยดาวเที ย ม Landsat-8 OLI มี NIR คื อ แบนด์ 5 และ VR คื อ


แบนด์ 4

2.2) การหาค่า T คือ ค่าอุณหภูมิ (เซลเซี ยส) ซึ่ งมีค่าเท่ากับ 0-1 โดยคํานวณจาก
ค่า LST ดังสมการ 4.7
TB
LST =
TB สมการ 4.7
1 + (λ × )lnε
ρ

โดย LST = ค่าอุณหภูมิ


TB = ค่าความสว่างของอุณหภูมิของภาพถ่ายดาวเทียม
(Brightness Temperature: K)
𝝀𝝀 = ความยาวคลื่นของสภาพการเปล่งรังสี ที่ปล่อยออกมาและ
ค่าเฉลี่ยความยาวคลื่น Spectral Radiance (λ =11.5 µm)
𝜀𝜀 = ค่าความสามารถในการแผ่รังสี

ซึ่ งในสมการนี้ ต้องทําการหาค่า TB (สมการ 4.8) และค่า 𝜀𝜀 (สมการ 4.9)


ก่อน เพื่อนําเข้าสู่ สมการดังกล่าว โดยสามารถหาได้จากสมการดังต่อไปนี้

2.2.1) การหาค่า TB คือ ค่าความสว่างของอุณหภูมิของภาพถ่ายดาวเทียม


K2
TB = สมการ 4.8
K
ln( L 1 + 1)
λ

โดย TB = ค่าความสว่างของอุณหภูมิของภาพถ่ายดาวเทียม
(Brightness Temperature: K)
Lλ = ค่า TOA spectral radiance (Watts/ ( m2 * srad * μm))
K1 = ค่า Band-specific thermal conversion constant

94
K2 = ค่า Band-specific thermal conversion constant

2.2.2) การหาค่า 𝜀𝜀 คือ ค่าความสามารถในการแผ่รังสี

ε = εveg Pv + εsoil (1-Pv ) สมการ 4.9

โดย 𝜀𝜀 = ค่าความสามารถในการแผ่รังสี
Pv = ค่าความสามารถในการแผ่รังสี ของพืชพรรณ
𝜀𝜀 veg = ค่าความสามารถในการแผ่รังสี ของพืชพรรณมี
ค่าประมาณ 0.99
𝜀𝜀 soil = ค่าความสามารถในการแผ่รังสี ของดินมีค่าประมาณ 0.97

ซึ่ ง ค่ า Pv คื อ ค่ า ความสามารถในการแผ่รัง สี ข องพืช พรรณ ซึ่ ง สามารถ


คํานวณได้จากสมการดังสมการ 4.10
NDVI − NDVImin 2
Pv = ( ) สมการ 4.10
NDVImax− NDVImin

โดย Pv = ค่าความสามารถในการแผ่รังสี ของพืชพรรณ


NDVImax = มีค่าเท่ากับ 0.5
NDVImin = มีค่าเท่ากับ 0.2

หลังจากที่คาํ นวณหาค่าอุณหภูมิแล้ว ค่าที่คาํ นวณได้จะมีหน่วยเป็ นองศาเคลวิน


ซึ่ งต้องทําการปรับให้ค่าอุ ณหภูมิเป็ นหน่ วยองศาเซลเซี ยส โดยอาศัยโปรแกรม
ทางด้านรี โมตเซนซิ ง ดําเนิ นการโดยนําภาพที่มีค่าอุณหภูมิเป็ นองศาเคลวินมาลบ
กับ 273.15 จากนั้น ปรั บ ค่ า อุ ณ หภู มิ ใ ห้ มี ค่ า อยู่ ร ะหว่า ง 0-1 ตามสมการของ
CASA-biosphere model โดยใช้ค่า อุ ณหภู มิ (องศาเซลเซี ย ส) สู ง สุ ดและตํ่า สุ ด
10 ปี ย้อนหลังจากสถานี วดั อุ ณหภู มิในพื้นที่ อาํ เภอเมื อง จังหวัดเชี ยงราย ซึ่ งค่า
อุณหภูมิสูงสุ ดเท่ากับ 39.4 องศาเซลเซี ยสและตํ่าสุ ด 7.7 องศาเซลเซี ยส มาคํานวณ
ดังสมการ 4.11

temp(℃) − t min สมการ 4.11


T=
t max − t min

95
โดย T = ค่าอุณหภูมิ (เซลเซี ยส) มีค่าเท่ากับ 0-1
Temp (℃) = ภาพ LST ที่ผา่ นการปรับหน่วยอุณหภูมิเป็ นหน่วย
องศาเซลเซี ยสและปรับค่าอุณหภูมิให้มีค่าอยู่
ระหว่าง 0-1
tmin = ค่าอุณหภูมิต่าํ สุ ดจากสถานีอุตุนิยมวิทยาการเกษตร
อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 10 ปี ย้อนหลัง
tmax = ค่าอุณหภูมิสูงสุ ดจากสถานีอุตุนิยมวิทยา
การเกษตร อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
10 ปี ย้อนหลัง

2.3) การหาค่า W ซึ่ งเป็ นค่าความชื้นในดิน โดยหาได้จากสมการ 4.12

LSTmax − LST
SMI = สมการ 4.12
LSTmax − LSTmin

โดย SMI = ความชุ่มชื้นของดิน


LSTmax = ค่าอุณหภูมิพ้นื ผิวสู งสุ ด
LSTmin = ค่าอุณหภูมิพ้นื ผิวตํ่าสุ ด
LST = ค่าอุณหภูมิพ้นื ผิว

จากนั้นนําค่าที่ ได้จากการคํานวณดังกล่ าวข้างต้นเข้าสู่ สมการการประเมินการกักเก็บ


คาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model

จากการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของพื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวงจาก


ภาพถ่ า ยดาวเที ย มด้ ว ย CASA-biosphere model พบว่ า พื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวงมี ค่ า
การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นเฉลี่ยอยูท่ ี่ 0.2288 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดื อน
โดยมี ค่ า สู ง สุ ดเท่า กับ 0.8052 กรั ม คาร์ บ อนต่อตารางเมตรต่อเดื อนและตํ่า สุ ดเท่า กับ
-0.2123 กรั มคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดื อน ซึ่ งสามารถแบ่งความอุ ดมสมบู รณ์ ข อง
ปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ในพื้ น ที่ อ าํ เภอดอยหลวงออกได้ 4 ระดับ
ประกอบด้วย (ภาพที่ 4.1)

96
1) พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด มีค่าสู งสุ ดเท่ากับ 0.8052 กรัมคาร์ บอนต่อ
ตารางเมตรต่อเดือนและตํ่าสุ ดเท่ากับ 0.8052 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดือน

2) พื้ นที่ ที่ มี ค วามอุ ดมสมบู รณ์ ม าก มี ค่า สู ง สุ ดเท่า กับ 0.3911 กรั ม คาร์ บ อนต่อ
ตารางเมตรต่อเดือนและตํ่าสุ ดเท่ากับ 0.2018 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดือน

3) พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีค่าสู งสุ ดเท่ากับ 0.1999 กรัมคาร์ บอน


ต่ อตารางเมตรต่อเดื อนและตํ่า สุ ดเท่า กับ 0.3400 กรั ม คาร์ บ อนต่ อตารางเมตร
ต่อเดือน

4) พื้ น ที่ ที่ มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ น้อ ย มี ค่ า สู ง สุ ด เท่ า กับ 0.2000 กรั ม คาร์ บ อน
ต่อตารางเมตรต่ อเดื อนและตํ่าสุ ดเท่ากับ -0.2123 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตร
ต่อเดือน

โดยการแบ่งระดับความอุดมสมบูรณ์ ของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย


พิ จารณาจากค่า ทางสถิ ติ คื อ ค่า เฉลี่ ย และค่ า เบี่ ย งเบนมาตรฐานของชุ ดข้อมู ล
โดยช่วงการแบ่งแสดงดังตารางที่ 4.2

ตารางที่ 4.2 ระดับความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย


ค่ าการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดิน
ระดับความอุดมสมบูรณ์ (กรัมคาร์ บอนต่ อตารางเมตรต่ อเดือน)
สู งสุ ด ตํ่าสุ ด
ความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด 0.8052 0.8052
ความอุดมสมบูรณ์มาก 0.3911 0.2018
ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง 0.1999 0.3400
ความอุดมสมบูรณ์นอ้ ย 0.2000 -0.2123

97
ภาพที่ 4.1 ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

98
หลังจากที่ได้ทาํ การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง
จากภาพถ่ า ยดาวเที ยมแล้ว ต่อไปเป็ นขั้นตอนของการคํา นวณหาปริ ม าณการกักเก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม โดยอาศัยผลการจําแนกพื้นที่
ปลู กยางพาราตามช่ วงอายุในวัตถุประสงค์ขอ้ ที่ 1 มาทําการวิเคราะห์ร่วมกับโปรแกรม
ทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่ งประกอบด้วย 3 ช่วงอายุดว้ ยกัน คือ 1) พื้นที่ปลูก
ยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี 2) พื้ นที่ ป ลู ก ยางพาราช่ วงอายุ 14-20 ปี และ 3) พื้ นที่ ป ลู ก
ยางพาราอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป รวมถึ งคํานวณหาปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดิ นของพื้นที่ ป่ าไม้ใ นอํา เภอดอยหลวง จัง หวัดเชี ย งราย เพื่ อศึ ก ษาว่า พื้นที่ ป ลู ก
ยางพารามีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินมากหรื อน้อยกว่าพื้นที่ป่าไม้อย่างไร

โดยผลการคํานวณหาปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่าย


ดาวเที ย มพบว่า พื้ น ที่ อ าํ เภอดอยหลวงมี ก ารกัก เก็บ คาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อ พื้น ดิ น ของ
ยางพาราเท่ากับ 0.3261 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดื อน โดยมีปริ มาณการกักเก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราสู งสุ ดอยู่ที่ 0.3911 กรั มคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อ
เดื อน และตํ่า สุ ดอยู่ที่ 0.1439 กรั ม คาร์ บ อนต่ อตารางเมตรต่ อ เดื อน (ภาพที่ 4.2) ซึ่ ง
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ยเหนื อพื้นดิ นของพื้นที่ ปลูกยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี
เท่ า กั บ 0.3312 ก รั มคาร์ บอ น ต่ อ ตา ร าง เม ต ร ต่ อ เ ดื อ น สู งสุ ดอยู่ ที่ 0.39 1 1
กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดือนและตํ่าสุ ดอยูท่ ี่ 0.1439 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตร
ต่อเดื อน (ภาพที่ 4.3) สําหรั บปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ยเหนื อพื้นดิ นของพื้นที่
ปลู ก ยางพาราช่ วงอายุ 14-20 ปี เท่า กับ 0.3524 กรั ม คาร์ บ อนต่อตารางเมตรต่ อ เดื อ น
สู ง สุ ด อยู่ ที่ 0.3891 กรั ม คาร์ บ อนต่ อ ตารางเมตรต่ อ เดื อ นและตํ่า สุ ด อยู่ที่ 0.2431
กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดื อน (ภาพที่ 4.4) และปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ย
เหนื อพื้นดินของพื้นที่ปลูกยางพาราช่ วงอายุมากกว่า 20 ปี เท่ากับ 0.3219 กรัมคาร์ บอน
ต่อตารางเมตรต่อเดื อน สู งสุ ดอยู่ที่ 0.3373 กรั มคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดื อ นและ
ตํ่าสุ ดอยูท่ ี่ 0.2955 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดือน (ภาพที่ 4.5)

จากผลการศึ ก ษาแสดงให้เห็ นว่า ปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อพื้นดิ นของ
ยางพาราในแต่ละช่ วงอายุ มีค่าไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ เนื่ องมาจากค่าการกักเก็บ
คาร์ บอนเฉลี่ยเหนือพื้นดินของยางพารามีความสัมพันธ์กบั ค่าช่วงคลื่นสี แดง (RED) และ
ช่ วงคลื่ นอินฟราเรดใกล้ (NIR) เป็ นหลัก ส่ วนตัวแปรอื่น ซึ่ งประกอบด้วย ค่ารังสี ดวง
อาทิตย์ ค่าคงที่ของประสิ ทธิ ภาพการใช้แสง ค่าอุณหภูมิ และค่าความชื้นในดินที่นาํ มาใช้

99
ในการประเมิ น เป็ นชุ ดข้อมู ล เดี ย วกัน ทํา ให้ป ริ ม าณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ยเหนื อ
พื้นดินของยางพาราในแต่ละช่วงอายุมีค่าใกล้เคียงกัน

ตารางที่ 4.3 ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม


ตามช่วงอายุ
ยางพาราตามช่ วงอายุ ค่ าการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินเฉลีย่
ลําดับ
(ปี ) (กรัมคาร์ บอนต่ อตารางเมตรต่ อเดือน)
1 7-13 0.3312
2 14-20 0.3524
3 มากกว่า 20 0.3219

ส่ วนปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเที ยมของ


พื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงรายแยกตามรายตําบลพบว่า ตําบลปงน้อยมีปริ มาณ
การกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดินของยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี และ 14-20 ปี เท่ากับ
0.3371 และ 0.3676 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดื อนตามลําดับ ตําบลหนองป่ าก่ อ
มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ยเหนื อพื้นดิ นของยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี 14-20 ปี
และมากกว่า 20 ปี เท่ า กับ 0.3250, 0.3462 และ 0.3219 กรั ม คาร์ บ อนต่ อ ตารางเมตร
ต่อเดือนตามลําดับ และตําบลโชคชัยมีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนือพื้นดินของ
ยางพาราช่ ว งอายุ 7-13 ปี และ 14-20 ปี เท่ า กับ 0.3299 และ 0.3386 กรั ม คาร์ บ อนต่ อ
ตารางเมตรต่อเดือนตามลําดับ (ตารางที่ 4.4)

ตารางที่ 4.4 ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม


ของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายแยกตามรายตําบล
ค่ าการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินเฉลีย่
ยางพาราตามช่ วงอายุ
ลําดับ (กรัมคาร์ บอนต่ อตารางเมตรต่ อเดือน)
(ปี )
ตําบลปงน้ อย ตําบลหนองป่ าก่ อ ตําบลโชคชั ย
1 7-13 0.3371 0.3250 0.3299
2 14-20 0.3676 0.3462 0.3386
3 มากกว่า 20 - 0.3219 -

100
จากการประเมินหาปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของป่ าไม้ในพบว่า พื้นที่ป่า
ไม้ในอําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย มีการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดิ นเท่ากับ
0.2655 กรั มคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดื อน โดยมี ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บ อนเหนื อ
พื้นดิ นสู งสุ ดอยู่ที่ 0.3794 กรั มคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดื อนและตํ่าสุ ดอยู่ที่ 0.0393
กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดือน (ภาพที่ 4.6) ซึ่ งมีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดิ นจากภาพดาวเทีย มน้อยกว่ายางพารา ทั้งนี้ เนื่ องมาจาก ภาพที่ ใช้ในการจํา แนก
การใช้ที่ดินเป็ นภาพในเดือนเมษายน ซึ่ งเป็ นช่ วงเวลาที่ป่าไม้ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง
ผลัดใบ ส่ งผลให้ในช่ วงเวลาดัง กล่า วพื้ นที่ ป่ าไม้มีป ริ มาณการกัก เก็บคาร์ บ อนเหนื อ
พื้นดินจากภาพดาวเทียมน้อยกว่ายางพารา

101
ภาพที่ 4.2 การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

102
ภาพที่ 4.3 การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของพื้นที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี

103
ภาพที่ 4.4 การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของพื้นที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี

104
ภาพที่ 4.5 การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของพื้นที่ปลูกยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี

105
ภาพที่ 4.6 การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของพื้นที่ป่าไม้ในอําเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

106
4.1.2 การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากข้อมูลภาคสนาม

การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากข้อมูลภาคสนาม ทําการ


ประเมินโดยใช้สมการแอลโลเมตรี ของ Ogino et al. (1967) อ้างใน (Saengruksawong. C
et al., 2012) ซึ่ งเป็ นสมการความสัมพันธ์ระหว่างเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับความสู ง 1.30
เมตรและความสู งของต้นไม้ ที่ ใ ช้ค าํ นวณหาค่า มวลชี วภาพหรื อค่านํ้า หนักแห้ง ของ
ต้น ไม้ และทํา การหาปริ มาณการกัก เก็ บ คาร์ บ อน โดยนํา ค่ า มวลชี ว ภาพคู ณ ด้ ว ย
Conversion Factor ที่ทางคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ ยนแปลงสภาพ
ภู มิอากาศ (IPCC) กําหนดไว้ ซึ่ งมี ค่าเท่ากับ 0.47 (อ้างใน กัมปนาท ดี อุดมจันทร์ และ
คณะ, 2554) ของนํ้าหนักแห้ง โดยมีสมการดังต่อไปนี้

WS (ลําต้น) = 189 (D2H)0.902 สมการ 4.13

WB (กิ่ง, ก้าน) = 0.125 Ws1.024 สมการ 4.14

WL (ใบ) = 1/(11.4/WS0.9) + 0.172 สมการ 4.15

ซึ่ ง W = ค่าชีวมวล (กิโลกรัมต่อต้น)


D = เส้นผ่าศูนย์กลางเหนือพื้นดินที่ความสู ง 1.3 เมตร (เมตร)
H = ความสู งของต้นไม้ (เมตร)

โดยในการเข้า สู่ ส มการในการคํา นวณหาปริ ม าณกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้น ดิ น ของ
ยางพาราจากการสํารวจภาคสนามนั้น ต้องอาศัยการวัดความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับ
อกและความสู งของต้นยางพาราในการคํานวณคํานวณหาปริ มาณกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดิน ซึ่ งประกอบด้วย ลําต้น กิ่งก้าน และใบ ผูว้ ิจยั จึงได้ทาํ การสุ่ มตัวอย่างแปลงปลู ก
ยางพาราในแต่ละช่วงอายุ เพื่อเป็ นตัวแทนเพื่อคํานวณหาปริ มาณกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดิ นโดยลงพื้นที่ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย เก็บรวบรวมข้อมูลความ
ยาวเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอกและความสู งของต้นยางพาราในแต่ละช่วงอายุ โดยแบ่ง
ออกเป็ น 3 ช่วงอายุดว้ ยกัน ประกอบด้วย

107
1) พื้นที่ที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี

2) พื้นที่ที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี

3) พื้นที่ที่ปลูกยางพาราอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป

โดยทําการสุ่ มวัดต้นยางพาราประมาณ 30 เปอร์ เซ็นต์เพื่อเป็ นตัวแทนของต้นยางพารา


ทั้งหมดใน 1 ไร่ ซึ่ งในการวางแนวการปลูกยางพาราในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง ส่ วนมาก
เป็ นการวางแนวการปลูกยางพาราแบบ 3×7 เมตร ซึ่ งสามารถปลู กต้นยางได้ป ระมาณ
76 ต้นต่อไร่ ผูว้ ิจยั จึงทําการเลือกสุ่ มตัวอย่างต้นยางพาราจํานวน 25 ต้นต่อไร่ เพื่อเป็ น
ตัวแทนของต้นยางพาราทั้งหมด โดยทําการวัดเส้ นรอบวงของต้นยางพาราที่ค วามสู ง
1.3 เมตรจากพื้น โดยใช้สายวัดระยะทาง เพื่อนําเส้นรอบวงของต้นยางพาราที่วดั ได้มา
คํานวณหาเส้นผ่าศูนย์กลางต่อไป ส่ วนการวัดความสู งของต้นยางพาราทําการวัดโดยใช้
เครื่ องมื อวัดระยะทางด้วยเลเซอร์ แบบดิ จิตอล ซึ่ งมี ความคลาดเคลื่ อนในการวัดอยู่ที่
±1.5 มิ ลลิ เมตร (±1/16 นิ้ ว) ซึ่ งถื อว่าเป็ นเครื่ องมื อวัดทางอ้อมที่ ให้ค่าความถู กต้องสู ง
โดยทําการเก็บข้อมู ลตัวอย่างต้นยางพาราตามช่ วงอายุที่พบในพื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง
ดังนี้

ช่ วงอายุที่ 1 คื อ พื้นที่ ที่ปลู กยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี ทําการเก็บตัวอย่างแปลง


ปลูกยางพาราในช่วงอายุน้ ี จาํ นวน 7 แปลง ได้แก่ แปลงปลูกยางพาราอายุ 7, 8, 9,
10, 11, 12, 13 ปี ตามลํา ดับ ถื อ ว่า เป็ นแปลงปลู ก ยางพาราช่ ว งอายุ ที่ มี แ ปลง
ปลูกยางพาราครบทุกอายุ

ช่ วงอายุที่ 2 คือ พื้นที่ที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี ทําการเก็บตัวอย่างแปลง


ปลู กยางพาราในช่วงอายุน้ ี จาํ นวน 7 แปลง ได้แก่ แปลงปลู กยางพาราอายุ 14 ปี
จํานวน 2 แปลง แปลงปลูกยางพาราอายุ 15 ปี จํานวน 2 แปลง แปลงปลูกยางพารา
อายุ 16 ปี จํา นวน 2 แปลง และแปลงปลู ก ยางพาราอายุ 17 ปี จํา นวน 1 แปลง
เนื่ องจากในพื้นที่ อาํ เภอดอยหลวงมีแปลงปลู กยางพาราในช่ วงอายุน้ ี มีอายุมาก
ที่สุด คือ อายุ 17 ปี เท่านั้น

ช่ วงอายุที่ 3 คือ พื้นที่ที่ปลูกยางพาราอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป ทําการเก็บตัวอย่าง


แปลงปลู กยางพาราในช่ วงอายุ น้ ี จํ า นวน 3 แปลง เนื่ องจากในพื้ นที่

108
อําเภอดอยหลวงมีแปลงปลูกยางพาราในช่วงอายุน้ ี มีอายุมากที่สุด คือ อายุ 26 ปี
เพียงอายุเดียวเท่านั้น

จากภาพที่ 3.5 เป็ นแผนที่แสดงจุดแปลงตัวอย่างของพื้นที่ปลูกยางในแต่ละช่วงอายุที่ทาํ


การสํารวจภาคสนาม แสดงให้เห็นว่าจุดแปลงตัวอย่างของยางพาราแต่ละอายุอยูบ่ ริ เวณ
พื้นที่ใดบ้าง โดยผูว้ จิ ยั พยายามเลือกแปลงตัวอย่างให้ครอบคลุมพื้นที่อาํ เภอดอยหลวงทั้ง
3 ตํา บล ซึ่ ง แปลงตัวอย่า งของพื้นที่ ป ลู ก ยางพาราอยู่ใ นพื้นที่ ตาํ บลปงน้อยจํา นวน 3
แปลง ได้แก่ แปลงตัวอย่างยางพาราอายุ 9 ปี 14 ปี และ 15 ปี ในพื้นที่ตาํ บลหนองป่ าก่อ
จํา นวน 10 แปลง ได้ แ ก่ แปลงตัว อย่ า งยางพาราอายุ 7 ปี 13 ปี 14 ปี 15 ปี 16 ปี
(จํานวน 2 แปลง) 17 ปี และ 26 ปี (จํานวน 3 แปลง) และในพื้นที่ตาํ บลโชคชัยจํานวน 4
แปลง ได้แก่ 8 ปี 10 ปี 11 ปี และ 12 ปี (ตารางที่ 3.3)

ในการเลือกแปลงตัวอย่างของพื้นที่ปลูกยางพาราในแต่ละอายุ ผูว้ ิจยั ได้ทาํ การขอข้อมูล


เกษตรกรผูป้ ลูกยางพารารายแปลงจากสํานักงานเกษตรอําเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
และขอคําแนะนําเกี่ยวกับการสํารวจภาคสนามในพื้นที่ตาํ บลต่างๆ ส่ วนสาเหตุที่มีแปลง
ตัวอย่างอยู่ในพื้นที่ ตาํ บลหนองป่ าก่ อมากกว่า ตํา บลอื่ น เนื่ องจากมีความหลากหลาย
ทางด้ า นอายุ ม ากกว่ า ตํา บลอื่ น อี ก ทั้ง ปั ญ หาทางด้ า นการเข้า ถึ ง พื้ น ที่ แ ละการให้
ความร่ วมมือของคนในชุมชน

ซึ่ งจากการสํารวจภาคสนามสุ่ มตัวอย่างแปลงปลู กยางพาราในแต่ละช่ วงอายุ เพื่อวัด


เส้ นรอบวงที่ ระดับ อก (แปลงเป็ นความยาวเส้ น ผ่า ศู นย์ก ลาง) และความสู ง ของต้น
ยางพารา พบว่า ยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี ซึ่ งประกอบด้วยยางพาราอายุ 7, 8, 9, 10, 11,
12 และ 13 ปี มี เ ส้ น รอบวงเฉลี่ ย เท่ า กับ 50.60, 47.10, 51.40, 55.90, 64.20, 62.40 และ
66.10 เซนติ เมตร เส้ นผ่าศู นย์กลางเฉลี่ ยเท่ากับ 0.16, 0.15, 0.16, 0.18, 0.20, 0.20 และ
0.21 เมตร และความสู ง ของต้น ยางพาราเฉลี่ ย เท่า กับ 8.00, 8.90, 9.93, 11.08, 11.68,
12.21 และ 13.10 เมตร ตามลํา ดับ ส่ ว นยางพาราช่ ว งอายุ 14-20 ปี ซึ่ งประกอบด้ว ย
ยางพาราอายุ 14 ปี (2 แปลง) 15 ปี (2 แปลง) 16 ปี (2 แปลง) และ 17 ปี มีเส้นรอบวงเฉลี่ย
เท่ากับ 64.50, 77.10, 69.30, 67.30, 69.60, 68.50 และ 75.10 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง
เฉลี่ ย เท่ า กับ 0.21, 0.25, 0.22, 0.21, 0.22, 0.22 และ 0.24 เมตร และความสู ง ของต้น
ยางพาราเฉลี่ ย เท่ า กั บ 13.94, 14.09, 15.34, 14.95, 15.90, 15.75 และ 16.85 เมตร
ตามลําดับ และยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี ประกอบด้วย ยางพาราอายุ 26 ปี (3 แปลง)

109
มี เส้ นรอบวงเฉลี่ ย เท่า กับ 107.50, 104.56, 105.92 เซนติ เมตร เส้ นผ่า ศู นย์ก ลางเฉลี่ ย
เท่ากับ 0.34, 0.33 และ 0.34 เมตร และความสู งของต้นยางพาราเฉลี่ยเท่ากับ 19.37, 19.48
และ 19.17 เมตร ตามลําดับ (ตารางที่ 4.5-4.7)

ตารางที่ 4.5 เส้ นรอบวงเฉลี่ ย เส้ นผ่าศู นย์กลางเฉลี่ ย และความสู งเฉลี่ ยของยางพารา
ช่วงอายุ 7-13 ปี
เส้ นรอบวงเฉลีย่ เส้ นผ่ าศูนย์ กลางเฉลี่ย ความสู งเฉลีย่
อายุ
(ซม.) (ม.) (ม.)
7 50.60 0.16 8.00
8 47.10 0.15 8.90
9 51.40 0.16 9.93
10 55.90 0.18 11.08
11 64.20 0.20 11.68
12 62.40 0.20 12.21
13 66.10 0.21 13.10
ค่ าเฉลีย่ 56.81 0.18 10.70

ตารางที่ 4.6 เส้ นรอบวงเฉลี่ ย เส้ นผ่าศู นย์กลางเฉลี่ ย และความสู งเฉลี่ ยของยางพารา
ช่วงอายุ 14-20 ปี
เส้ นรอบวงเฉลีย่ เส้ นผ่ าศูนย์ กลางเฉลี่ย ความสู งเฉลีย่
อายุ
(ซม.) (ม.) (ม.)
14 64.50 0.21 13.94
14 77.10 0.25 14.09
15 69.30 0.22 15.34
15 67.30 0.21 14.95
16 69.60 0.22 15.90
16 68.50 0.22 15.75
17 75.10 0.24 16.85
ค่ าเฉลีย่ 70.20 0.22 15.26

110
ตารางที่ 4.7 เส้ นรอบวงเฉลี่ ย เส้ นผ่าศู นย์กลางเฉลี่ ย และความสู งเฉลี่ ยของยางพารา
ช่วงอายุมากกว่า 20 ปี
เส้ นรอบวงเฉลีย่ เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง ความสู งเฉลีย่
อายุ
(ซม.) (ม.) (ม.)
26 107.50 0.34 19.37
26 104.56 0.33 19.48
26 105.92 0.34 19.17
ค่ าเฉลีย่ 105.99 0.34 19.34

ซึ่ งผลจากการคํานวณหาค่ามวลชี วภาพเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากข้อมูลภาคสนาม


พบว่า ยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี ซึ่ งประกอบด้วยยางพาราอายุ 7, 8, 9, 10, 11, 12 และ 13
ปี มีค่ามวลชี วภาพเหนื อพื้นดินเท่ากับ 28.56, 27.63, 35.94, 46.59, 63.22, 62.50 และ
74.47 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (60.13, 58.17, 75.67, 98.09, 133.10, 131.58 และ 156.78
กิโลกรัมต่อต้น หรื อ 4,569.53, 4,421.04, 5,750.64, 7,454.66, 10,115.41, 9,999.72 และ
11,915.48 กิ โลกรั มต่อไร่ ) และมี ปริ มาณกักเก็ บคาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ นเท่ากับ 13.42,
12.99, 16.89, 21.90, 29.71, 29.37 และ 35.00 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (28.26, 27.34, 35.56,
46.10, 62.56, 61.84 และ 73.69 กิ โลกรั มต่อต้น หรื อ 2,147.68, 2,077.89, 2,702.80,
3,503.69, 4,754.24, 4,699.87, และ 5,600.28 กิ โลกรัมต่อไร่ ) โดยค่ามวลชี วภาพเฉลี่ ย
ของยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี เท่ากับ 48.42 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (7,746.64 กิโลกรัมต่อ
ไร่ ) และมี ค่า การกักเก็บคาร์ บ อนเฉลี่ ยเท่า กับ 22.76 เมกะกรั ม ต่ อเฮกแตร์ (3,640.92
กิโลกรัมต่อไร่ ) ดังตารางที่ 4.8-4.9

ส่ ว นยางพาราช่ ว งอายุ 14-20 ปี ซึ่ งประกอบด้ว ยยางพาราอายุ 14 ปี (2 แปลง) 15 ปี


(2 แปลง) 16 ปี (2 แปลง) และ 17 ปี มีค่ามวลชี วภาพเหนื อพื้นดินเท่ากับ 75.25, 106.25,
94.15, 87.19, 98.41, 94.50 และ 119.83 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (158.43, 223.69, 198.21,
183.57, 207.17, 198.95 และ 252.27 กิ โลกรั ม ต่ อต้น หรื อ 12,040.73, 17,000.69,
15,063.99, 13,951.15, 15,744.82, 15,120.03 และ 19,172.57 กิ โลกรั มต่อไร่ ) และมี
ปริ มาณกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นเท่ากับ 35.37, 49.94, 44.25, 40.98, 46.25, 44.42,
และ 56.32 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (74.46, 105.14, 93.16, 86.28, 97.37, 93.51 และ 118.57
กิโลกรัมต่อต้น หรื อ 5,659.14, 7,990.33, 7,080.07, 6,557.04, 7,400.06, 7,106.41 และ

111
9,011.11 กิ โลกรัมต่อไร่ )โดยค่ามวลชี วภาพเฉลี่ ยของยางพาราช่ วงอายุ 14-20 ปี เท่ากับ
96.51 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (15,442.00 กิโลกรัมต่อไร่ ) และมีค่าการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ย
เท่ากับ 45.36 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (7,257.74 กิโลกรัมต่อไร่ ) ดังตารางที่ 4.10-4.11

ยางพาราช่ วงอายุมากกว่า 20 ปี ซึ่ งเป็ นยางพาราอายุ 26 ปี (3 แปลง) มี ค่ามวลชี วภาพ


เหนื อพื้นดิ นเท่ากับ 270.38, 256.91 และ 259.36 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (569.22, 540.86
และ 546.02 กิโลกรัมต่อต้น หรื อ 43,260.83, 41,105.55 และ 41,497.42 กิโลกรัมต่อไร่ )
และมีปริ มาณกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินเท่ากับ 127.08, 120.75 และ 121.90 เมกะกรัม
ต่อเฮกแตร์ (267.53, 254.21 และ 256.63 กิโลกรัมต่อต้น หรื อ 20,332.59, 19,319.61 และ
19,503.79 กิ โลกรัมต่อไร่ ) โดยค่ามวลชี วภาพเฉลี่ยของยางพาราช่ วงอายุมากกว่า 20 ปี
เท่ากับ 262.22 เมกะกรั มต่อเฮกแตร์ (41,954.60 กิ โลกรั มต่อไร่ ) และมี ค่าการกัก เก็บ
คาร์ บ อนเฉลี่ ย เท่ า กั บ 123.24 เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์ (19,718.66 กิ โ ลกรั ม ต่ อ ไร่ )
ดังตารางที่ 4.12-4.13

112
ตารางที่ 4.8 ค่ามวลชีวภาพเฉลี่ยเหนือพื้นดินของยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี จากข้อมูลภาคสนาม
มวลชี วภาพเฉลีย่ (กิโลกรัมต่ อต้ น) มวลชีวภาพรวม
อายุ
ลําต้ น กิง่ ก้ าน ใบ กิโลกรัมต่ อต้ น กิโลกรัมต่ อไร่ เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์
7 45.78 12.48 1.86 60.13 4,569.53 28.56
8 44.33 12.01 1.83 58.17 4,421.04 27.63
9 57.21 16.33 2.12 75.67 5,750.64 35.94
10 73.55 22.10 2.44 98.09 7,454.66 46.59
11 98.77 31.51 2.82 133.10 10,115.41 63.22
12 97.68 31.09 2.80 131.58 9,999.72 62.50
113

13 115.65 38.10 3.03 156.78 11,915.48 74.47


ค่ าเฉลีย่ 76.14 23.37 2.41 101.93 7,746.64 48.42

113
ตารางที่ 4.9 ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดินของยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี จากข้อมูลภาคสนาม
ปริมาณคาร์ บอนเฉลีย่ (กิโลกรัมต่ อต้ น) ปริมาณคาร์ บอนรวม
อายุ
ลําต้ น กิง่ ก้ าน ใบ กิโลกรัมต่ อต้ น กิโลกรัมต่ อไร่ เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์
7 21.52 5.87 0.88 28.26 2,147.68 13.42
8 20.84 5.65 0.86 27.34 2,077.89 12.99
9 26.89 7.67 1.00 35.56 2,702.80 16.89
10 34.57 10.38 1.15 46.10 3,503.69 21.90
11 46.42 14.81 1.33 62.56 4,754.24 29.71
12 45.91 14.61 1.32 61.84 4,699.87 29.37
114

13 54.36 17.91 1.42 73.69 5,600.28 35.00


ค่ าเฉลีย่ 35.79 10.99 1.13 47.91 3,640.92 22.76

114
ตารางที่ 4.10 ค่ามวลชีวภาพเฉลี่ยเหนือพื้นดินของยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี จากข้อมูลภาคสนาม
มวลชี วภาพเฉลีย่ (กิโลกรัมต่ อต้ น) มวลชีวภาพรวม
อายุ
ลําต้ น กิง่ ก้ าน ใบ กิโลกรัมต่ อต้ น กิโลกรัมต่ อไร่ เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์
14 116.82 38.57 3.04 158.43 12,040.73 75.25
14 162.74 57.49 3.47 223.69 17,000.69 106.25
15 144.91 49.99 3.32 198.21 15,063.99 94.15
15 134.60 45.74 3.22 183.57 13,951.15 87.19
16 151.19 52.61 3.37 207.17 15,744.82 98.41
16 145.42 50.20 3.32 198.95 15,120.03 94.50
115

17 182.62 66.04 3.61 252.27 19,172.57 119.83


ค่ าเฉลีย่ 148.33 51.52 3.34 203.18 15,442.00 96.51

115
ตารางที่ 4.11 ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดินของยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี จากข้อมูลภาคสนาม
ปริมาณคาร์ บอนเฉลีย่ (กิโลกรัมต่ อต้ น) ปริมาณคาร์ บอนรวม
อายุ
ลําต้ น กิง่ ก้ าน ใบ กิโลกรัมต่ อต้ น กิโลกรัมต่ อไร่ เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์
14 54.91 18.13 1.43 74.46 5,659.14 35.37
14 76.49 27.02 1.63 105.14 7,990.33 49.94
15 68.11 23.49 1.56 93.16 7,080.07 44.25
15 63.26 21.50 1.51 86.28 6,557.04 40.98
16 71.06 24.73 1.58 97.37 7,400.06 46.25
16 68.35 23.59 1.56 93.51 7,106.41 44.42
116

17 85.83 31.04 1.70 118.57 9,011.11 56.32


ค่ าเฉลีย่ 69.72 24.21 1.57 95.50 7,257.74 45.36

116
ตารางที่ 4.12 ค่ามวลชีวภาพเฉลี่ยเหนือพื้นดินของยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี จากข้อมูลภาคสนาม
มวลชี วภาพเฉลีย่ (กิโลกรัมต่ อต้ น) มวลชีวภาพรวม
อายุ
ลําต้ น กิง่ ก้ าน ใบ กิโลกรัมต่ อต้ น กิโลกรัมต่ อไร่ เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์
26 396.70 168.06 4.46 569.22 43,260.83 270.38
26 377.92 158.53 4.41 540.86 41,105.55 256.91
26 381.34 160.26 4.42 546.02 41,497.42 259.36
ค่ าเฉลีย่ 385.32 162.28 4.43 552.03 41,954.60 262.22

ตารางที่ 4.13 ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดินของยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี จากข้อมูลภาคสนาม


ปริมาณคาร์ บอนเฉลีย่ (กิโลกรัมต่ อต้ น) ปริมาณคาร์ บอนรวม
117

อายุ
ลําต้ น กิง่ ก้ าน ใบ กิโลกรัมต่ อต้ น กิโลกรัมต่ อไร่ เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์
26 186.45 78.99 2.10 267.53 20,332.59 127.08
26 177.62 74.51 2.07 254.21 19,319.61 120.75
26 179.23 75.32 2.08 256.63 19,503.79 121.90
ค่ าเฉลีย่ 181.10 76.27 2.08 259.46 19,718.66 123.24

117
4.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่าย
ดาวเทียมกับปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากข้อมูลภาคสนาม

หลัง จากที่ ไ ด้ ท ํา การประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจาก


ภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model และประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดินของยางพาราจากข้อมูลภาคสนามด้วยสมการแอลโลเมตรี แล้ว ทําการตรวจสอบ
ความถู ก ต้ อ งของปริ มาณการกั ก เก็ บ คาร์ บอนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจาก
ภาพถ่ า ยดาวเที ย มกับ ปริ มาณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจาก
ภาคสนามในพิกดั เดี ยวกัน ว่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันหรื อไม่ ซึ่ งปริ มาณ
การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย มและปริ ม าณ
การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราแต่ละช่ วงอายุจากข้อมู ลภาคสนามจาก
จุดตัวอย่างมีค่าดังนี้

ตารางที่ 4.14 เปรี ย บเที ย บปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพารา
จากภาพถ่ายดาวเทียมและการสํารวจภาคสนามของยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี
พิกดั ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลีย่ ของยางพารา
อายุ ภาพดาวเทียม
ภาคสนาม
(ปี ) X Y (กรัมคาร์ บอนต่ อ
(เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์ )
ตารางเมตรต่ อเดือน)
7 619375 2233724 0.3370 13.42
8 617473 2224563 0.3175 12.99
9 612032 2224261 0.3510 16.89
10 614079 2225998 0.3595 21.90
11 614618 2226952 0.3614 29.71
12 614450 2226884 0.3551 29.37
13 617176 2232748 0.3700 35.00

118
ตารางที่ 4.15 เปรี ย บเที ย บปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพารา
จากภาพถ่ายดาวเทียมและการสํารวจภาคสนามของยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี
พิกดั ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลีย่ ของยางพารา
อายุ ภาพดาวเทียม
ภาคสนาม
(ปี ) X Y (กรัมคาร์ บอนต่ อ
(เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์ )
ตารางเมตรต่ อเดือน)
14 617225 2232293 0.3207 35.37
14 611284 2224046 0.3660 49.94
15 610621 2221735 0.3602 44.25
15 615625 2229919 0.3456 40.98
16 617489 2232539 0.3532 46.25
16 616699 2233601 0.3581 44.42
17 619633 2233708 0.3616 56.32

ตารางที่ 4.16 เปรี ย บเที ย บปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพารา
จากภาพถ่ายดาวเทียมและการสํารวจภาคสนามของยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี
พิกดั ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลีย่ ของยางพารา
อายุ ภาพดาวเทียม
ภาคสนาม
(ปี ) X Y (กรัมคาร์ บอนต่ อ
(เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์ )
ตารางเมตรต่ อเดือน)
26 617900 2233285 0.332012 127.08
26 617929 2233229 0.308517 120.75
26 617987 2233256 0.316126 121.90

จากการศึกษาพบว่า ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่าย


ดาวเทียมและปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาคสนามจากจุด
ตัวอย่างของยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี 14-20 ปี และมากกว่า 20 ปี มีความสัมพันธ์อยู่ที่
R2 เท่ากับ 0.7109, 0.6632 และ 0.9772 ตามลําดับ (ภาพที่ 4.7-4.9)

119
ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินของยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี
40.00

ข้ อมุลภาคสนาม (เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์ )


30.00
20.00
y = 417.34x - 123.4
10.00 R² = 0.7109
0.00
0.3100 0.3200 0.3300 0.3400 0.3500 0.3600 0.3700 0.3800
แบบจําลอง CASA -biosphere model (กรัมคาร์ บอนต่ อตารางเมตรต่อเดือน)

ภาพที่ 4.7 ความสัมพันธ์ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา


จากภาพถ่ายดาวเทียมและการสํารวจภาคสนามของยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี

ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินของยางพาราช่ วงอายุ 14-20


ปี
ข้ อมุลภาคสนาม (เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์ )

60.00
40.00
20.00
y = 351.54x - 78.446
0.00 R² = 0.6632
0.3100 0.3200 0.3300 0.3400 0.3500 0.3600 0.3700
แบบจําลอง CASA -biosphere model (กรัมคาร์ บอนต่ อตารางเมตรต่อเดือน )

ภาพที่ 4.8 ความสัมพันธ์ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา


จากภาพถ่ายดาวเทียมและการสํารวจภาคสนามของยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี

120
ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินของยางพาราช่ วงอายุ
มากกว่ า 20 ปี

ข้ อมุลภาคสนาม (เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์ )


128.00
126.00
124.00 y = 278.1x + 34.56
122.00 R² = 0.9772
120.00
0.3050 0.3100 0.3150 0.3200 0.3250 0.3300 0.3350
แบบจําลอง CASA -biosphere model (กรัมคาร์ บอนต่ อตารางเมตรต่อเดือน )

ภาพที่ 4.9 ความสัมพันธ์ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา


จากภาพถ่ายดาวเทียมและการสํารวจภาคสนามของยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี

จากผลการศึ กษาดังกล่าวแสดงให้เห็ นว่า ความสัมพันธ์ ระหว่างการกักเก็ บคาร์ บ อน


เหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมและปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดินของยางพาราจากภาคสนามจากจุดตัวอย่างของยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี มี
ความสั ม พัน ธ์ ม ากที่ สุ ด ทั้ง นี้ เนื่ อ งจากยางพาราช่ ว งอายุม ากกว่า 20 ปี มี จ าํ นวนจุ ด
ตัวอย่างและความหลากหลายของอายุยางพาราน้อยกว่ายางพาราในช่วงอายุอื่น

ซึ่ งในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทาํ การเลือกสมการจากค่าความสัมพันธ์ของช่วงอายุยางที่มีค่า


มากที่ สุ ด จึ ง เลื อกใช้ส มการของยางพาราที่ มี อายุม ากกว่า 20 ปี คื อ y = 278.1+34.56
มาทํา การปรั บ เที ย บปริ มาณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจาก
ภาพถ่ ายดาวเที ยมอี กครั้ ง ซึ่ งผลจากการปรับเที ยบพบว่า ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอน
เหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วยแบบจําลอง CASA-biosphere model
ในพื้นที่ อาํ เภอดอยหลวงมี ค่า เฉลี่ ย เท่ากับ 127.6600 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (20,425.60
กิโลกรัมต่อไร่ ) สู งสุ ดอยู่ที่ 143.3136 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (22,930.18 กิโลกรัมต่อไร่ )
และตํ่าสุ ดอยู่ที่ 74.5835 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (11,933.36 กิโลกรัมต่อไร่ ) (ภาพที่ 4.10)
และในพื้นที่ยางพาราที่มีอายุ 7-13 ปี , 14-20 ปี และมากกว่า 20 ปี มีปริ มาณคาร์ บอนเฉลี่ย
เท่ากับ 126.6699, 132.5753 และ 124.0813 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (20,267.18, 21,212.05
และ 19,853.01 กิโลกรัมต่อไร่ ) สู งสุ ดอยูท่ ี่ 143.3136, 142.7734 และ 128.3646 เมกะกรัม

121
ต่อเฮกแตร์ (22,930.18, 22,843.74 และ 20,538.34 กิ โลกรั ม ต่ อไร่ ) และตํ่า สุ ด อยู่ที่
74.5835, 102.1541 และ 116.7472 เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์ (11,933.36, 16,344.66 และ
18679.552 กิโลกรัมต่อไร่ ) ตามลําดับ (ตารางที่ 4.17) ซึ่ งแสดงให้เห็นว่า ปริ มาณการกัก
เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย มหลัง การปรั บ เที ย บ
มีค่าใกล้เคียงกับปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากการสํา รวจ
ภาคสนาม

ตารางที่ 4.17 ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม


หลังการปรับเทียบ
ยางพาราตามช่ วงอายุ ค่ าการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินเฉลีย่
ลําดับ
(ปี ) (เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์ )
1 7-13 126.6699
2 14-20 132.5753
3 มากกว่า 20 124.0813

122
ภาพที่ 4.10 การกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราหลังการปรับเทียบ
ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

123
4.2 ความสั มพันธ์ ระหว่ างปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินของยางพารากับปัจจัยทางกายภาพ
ในพืน้ ทีอ่ าํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย

ในการศึ กษาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพารากับปั จจัย


ทางกายภาพ ได้ทาํ การเลื อกพื้นที่ปลูกยางพาราในช่ วงอายุ 7-13 ปี มาศึกษาความสัมพันธ์กบั ปั จจัย
ทางกายภาพในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย 3 ปั จจัยด้วยกัน ได้แก่ ความสู งของภูมิประเทศ
ชนิ ดของดิ น และความลาดชัน เนื่ องจากในพื้ นที่ อาํ เภอดอยหลวง จัง หวัดเชี ย งราย มี พ้ืนที่ ป ลู ก
ยางพาราในช่ วงอายุ 7-13 ปี มากที่สุด ซึ่ งสามารถเป็ นตัวแทนที่ดีของยางพาราในพื้นที่ได้ โดยอาศัย
โปรแกรมทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็ นเครื่ องมื อช่ วยในการวิเคราะห์ ซึ่ งผลการศึกษา
มีดงั นี้

4.2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินกับความสู งภูมิประเทศ

พื้นที่อาํ เภอดอยหลวงมีความสู งของพื้นที่เฉลี่ยอยูท่ ี่ 676.5 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง


ความสู ง ของพื้ น ที่ ต่ าํ สุ ด -สู ง สุ ด อยู่ที่ 358 และ 995 เมตรจากระดับ ทะเลปานกลาง
ตามลําดับ ซึ่ งรายละเอียดความสู งของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงรายได้ทาํ การ
อธิ บายไว้ในบทที่ 2 ในหัวข้อ 2.3.1 เรี ยบร้อยแล้ว โดยในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งความสู ง
ภูมิประเทศของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายออกเป็ น 6 ช่วงชั้นความสู งด้วยกัน
ได้แก่

1) พื้นที่ที่มีความสู งน้อยกว่า 400 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง


2) พื้นที่ที่มีความสู ง 401 - 500 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง
3) พื้นที่ที่มีความสู ง 501 - 600 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง
4) พื้นที่ที่มีความสู ง 601 - 700 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง
5) พื้นที่ที่มีความสู ง 701 - 800 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง
6) พื้นที่ที่มีความสู งมากกว่า 800 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง

จากการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของ


ยางพารากับความสู งภูมิประเทศ พบว่า พื้นที่ที่มีความสู ง 401-500 เมตรจากระดับทะเล
ปานกลางมี ป ริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพารามากที่ สุ ด
รองลงมาคื อ พื้นที่ ที่มีความสู งน้อยกว่า 400 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง พื้นที่ ที่มี

124
ความสู ง 501-600 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง และพื้นที่ที่มีความสู ง 601-700 เมตร
จากระดับทะเลปานกลาง ตามลําดับ โดยมีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดิน
ของยางพาราเท่ากับ 0.3325, 0.3302, 0.3215 และ 0.3187 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อ
เดื อน โดยมี พ้ืนที่ ป ลู ก ยางพาราทั้ง หมด 21.3273, 15.3369, 1.2312 และ 0.0009 ตาราง
กิโลเมตร ตามลําดับ ส่ วนพื้นที่ที่มีความสู งมากกว่า 700 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง
พบว่า ไม่มีพ้นื ที่ปลูกยางพารา

4.2.2 ความสั ม พัน ธ์ ร ะหว่ า งปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพารากับ
ชนิดของดิน

ชนิดของดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยชุดดินที่สําคัญ 5 ชุด


ดิ นด้วยกัน ซึ่ ง รายละเอี ย ดของชนิ ดดิ นได้ท าํ การอธิ บ ายรายละเอี ย ดชุ ด ดิ น ในพื้ น ที่
อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงรายไว้ในลักษณะทางปฐพีวิทยา ในบทที่ 2 หัวข้อที่ 2.3.3
โดยประกอบด้วย 5 ชุดดินด้วยกันดังนี้

1) กลุ่มชุดดินที่ 6 ชุดดินเชียงราย (Chiang Rai : Cr)


2) กลุ่มชุดดินที่ 29 ชุดดินหนองมด (Nong Mod: Nm)
3) กลุ่มชุดดินที่ 48/กลุ่มชุดดินที่ 29 ชุดดินท่ายาง/ชุดดินบ้านจ้อง
(Tha Yang: Ty/ Ban Chong series: Bg)
4) กลุ่มชุดดินที่ 60 ดินตะกอนลํานํ้าเชิงซ้อนที่มีการระบายนํ้าดี
(AC-wd : Alluvial Complex, well drained)
5) กลุ่มชุดดินที่ 62 พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (SC : Slope Complex)

จากการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของ


ยางพารากับ ชนิ ด ของดิ น ในพื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวง จัง หวัด เชี ย งราย พบว่ า ชุ ด ดิ น
หนองมดมี ป ริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อพื้นดิ นของยางพารามากที่ สุด คื อ
0.3333 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดื อน โดยมีพ้ืนที่ปลู กยางพาราทั้งหมด 15.0876
ตารางกิโลเมตร รองลงมาคือ ชุดดินท่ายาง/ชุดดินบ้านจ้อง มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอน
เฉลี่ ย เหนื อพื้นดิ นของยางพาราเท่า กับ 0.3331 กรั ม คาร์ บ อนต่อตารางเมตรต่ อ เดื อ น
มีพ้นื ที่ปลูกยางพาราทั้งหมด 5.6808 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีปริ มาณ
การกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนือพื้นดินของยางพาราเท่ากับ 0.3292 กรัมคาร์ บอนต่อตาราง

125
เมตรต่อเดื อน โดยมี มีพ้ืนที่ปลูกยางพาราทั้งหมด 16.1811 ตารางกิ โลเมตร ตามลําดับ
(ตารางที่ 4.19)

4.2.3 ความสั ม พัน ธ์ ร ะหว่ า งปริ มาณการกั ก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพารา
กับความลาดชัน

ในการศึ ก ษาครั้ งนี้ ได้ ท ํ า การแบ่ ง ความลาดชั น ของพื้ นที่ อ ํ า เภอดอยหลวง


จังหวัดเชียงรายออกเป็ น 5 ระดับด้วยกัน ตามลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งประกอบด้วย พื้นที่
ที่ มี ค วามลาดชัน เท่ า กับ ร้ อ ยละ 0-5, 6-8, 9-15, 16-35 และมากกว่า ร้ อ ยละ 35 ขั้น ไป
ตามลําดับ โดยรายละเอียดความลาดชันของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายได้ทาํ
การอธิ บ ายไว้ใ นความลาดชัน ในบทที่ 2 หัวข้อที่ 2.3.4 แล้ว และจากการวิเ คราะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินกับความลาดชันในพื้นที่
อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย พบว่า พื้นที่ที่มีความลาดชันร้อยละ 6-8 มีปริ มาณการ
กัก เก็ บ คาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพารามากที่ สุ ด คื อ 0.3325 กรั ม คาร์ บ อน
ต่ อ ตารางเมตรต่ อ เดื อ น โดยมี พ้ื น ที่ ป ลู ก ยางพาราทั้ง หมด 16.5735 ตารางกิ โ ลเมตร
รองลงมาคือ พื้นที่ที่มีความลาดชันร้อยละ 0-5 มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ยเหนื อ
พื้ น ดิ น ของยางพาราเท่ า กับ 0.3308 กรั ม คาร์ บ อนต่ อ ตารางเมตรต่ อ เดื อ น มี พ้ื น ที่
ปลู กยางพาราทั้งหมด 16.4925 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ที่มีความลาดชันร้ อยละ 9-15
มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนือพื้นดินของยางพาราเท่ากับ 0.3285 กรัมคาร์ บอน
ต่ อตารางเมตรต่ อ เดื อ น โดยมี มี พ้ื นที่ ป ลู ก ยางพาราทั้ง หมด 4.2741 ตารางกิ โ ลเมตร
ตามลําดับ (ตารางที่ 4.20)

ผลการศึกษานี้ เป็ นเพียงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของ


ยางพาราจากภาพถ่ ายดาวเที ยมกับปั จจัยกายภาพในพื้ นที่ อาํ เภอดอยหลวงเท่า นั้น ทั้งนั้นทั้งนี้ แล้ว
ไม่ได้แสดงว่า หากปลูกยางพาราในพื้นที่ที่มีปัจจัยทางกายภาพที่มีค่าปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมมากที่สุด จะเป็ นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกยางพาราและ
สามารถกักเก็บคาร์ บอนได้มากที่สุด แต่ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจะขึ้นอยู่
หับปั จจัยอื่นๆ เช่ น ขนาดเส้นรอบวงและความสู งของต้นยางพารา อายุยางพารา และพันธุ์ยางพารา
รวมถึงปั จจัยทางกายภาพและสิ่ งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ปริ มาณนํ้าฝน อุณหภูมิ และความชื้น เป็ นต้น

126
ตารางที่ 4.18 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารากับความสู งภูมิประเทศ

พืน้ ทีป่ ลูกยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลีย่


ความสู งของพืน้ ที่
ช่ วงชั้ นความสู ง เหนือพืน้ ดินของยางพารา
(เมตรจากระดับทะเลปานกลาง)
ตารางกิโลเมตร ร้ อยละ (กรัมคาร์ บอนต่ อตารางเมตรต่ อเดือน)

1 น้อยกว่า 400 15.3369 40.4707 0.3302


2 401 - 500 21.3273 56.2781 0.3325
3 501 - 600 1.2312 3.2489 0.3215
4 601 - 700 0.0009 0.0024 0.3187
127

5 701 - 800 - - -
6 มากกว่า 800 - - -

127
ตารางที่ 4.19 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินกับชนิ ดของดิน

พืน้ ทีป่ ลูกยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลีย่


ลําดับ ชุ ดดิน เหนือพืน้ ดินของยางพารา
ตารางกิโลเมตร ร้ อยละ (กรัมคาร์ บอนต่ อตารางเมตรต่ อเดือน)

1 เชียงราย 0.8964 2.3650 0.3218


2 หนองมด 15.0876 39.8053 0.3333
3 ชุดดินท่ายาง/ชุดดินบ้านจ้อง 5.6808 14.9875 0.3331
4 ดินตะกอนลํานํ้าเชิงซ้อนที่มีการระบายนํ้าดี 0.0576 0.1520 0.3030
128

5 พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน 16.1811 42.6903 0.3292

128
ตารางที่ 4.20 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินกับความลาดชัน

พืน้ ทีป่ ลูกยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลีย่


ช่ วงความลาดชั น ระดับความลาดชั น (ร้ อยละ) เหนือพืน้ ดินของยางพารา
ตารางกิโลเมตร ร้ อยละ (กรัมคาร์ บอนต่ อตารางเมตรต่ อเดือน)

1 0-5 16.4925 43.5242 0.3308


2 6-8 16.5735 43.7380 0.3325
3 9-15 4.2741 11.2795 0.3285
4 16-35 0.5310 1.4013 0.3243
129

5 มากกว่า 35 0.0216 0.0570 0.3240

129
4.3 สรุปผลการศึกษา

จากการการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราในพื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวง


จังหวัดเชี ยงราย ซึ่ งทําการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพดาวเที ยม
ด้วย CASA-biosphere model พบว่า พื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายมีการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ย
เหนื อพื้นดิ นของยางพาราเท่ากับ 0.3261 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดื อน โดยยางพาราช่ วงอายุ
7-13 ปี , ช่ วงอายุ 14-20 ปี และช่ วงอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป มีการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ยเหนื อพื้ นดิ น
ของยางพาราเท่ากับ 0.3312, 0.3524 และ 0.3219 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดือน ตามลําดับ

ส่ วนการประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากข้อมูลภาคสนามโดยใช้ส มการ


แอลโลเมตรี โดยคํานวณจากเส้นผ่าศูนย์กลางระดับอกและความสู งของต้นยางพารา ซึ่ งจากข้อมู ล
ภาคสนามพบว่า เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ ยของต้นยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี , 14-20 ปี และมากกว่า 20 ปี
เท่ากับ 0.18, 0.22 และ 0.34 เมตรและมีความสู งเฉลี่ยของต้นยางพาราเท่ากับ 10.70, 15.26 และ 19.34
เมตร ตามลําดับ โดยมีค่ามวลชี วภาพเหนื อพื้นดินของยางพาราจากข้อมูลภาคสนาม 48.42, 96.51 และ
262.22 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (7,746.64, 15,442.00 และ 41,954.60 กิโลกรัมต่อไร่ ) และมีค่าการกักเก็บ
คาร์ บ อนเฉลี่ ย เท่ า กับ 22.76, 45.36 และ 123.24 เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์ (3,640.92, 7,257.74 และ
19,718.66 กิ โลกรั มต่อไร่ ) ตามลําดับ และจากการศึ กษาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพดาวเที ยมกับ ข้อมู ลภาคสนามพบว่า ยางพาราช่ วงอายุ
มากกว่ า 20 ปี ขึ้ น ไปมี ค่ า ความสั ม พัน ธ์ ม ากที่ สุ ด คื อ R2 เท่ า กับ 0.9772 จึ ง ได้เ ลื อ กสมการของ
ความสั ม พัน ธ์ ข องยางในช่ ว งอายุ น้ ี มาทํา การปรั บ เที ย บ ซึ่ งพบว่ า พื้ น ที่ อ ํา เภอดอยหลวง
จังหวัดเชี ยงรายมีการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดิ นของยางพาราเท่ากับ 127.6600 เมกะกรัมต่อ
เฮกแตร์ (20,425.60 กิ โลกรั มต่อไร่ ) โดยยางพาราแต่ละช่ วงอายุ มี การกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ย เหนื อ
พื้นดิ นของยางพาราเท่ า กับ 126.6699, 132.5753 และ 124.0813 เมกะกรั ม ต่ อเฮกแตร์ (20,267.18,
21,212.05 และ 19,853.01 กิโลกรัมต่อไร่ ) ตามลําดับ

การศึ กษาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพารากับความสู ง


พบว่า พื้นที่ที่มีความสู ง 401-500 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ย
เหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพารามากที่ สุ ด รองลงมาคื อ พื้ น ที่ ที่ มี ค วามสู ง น้ อ ยกว่ า 400 และ 501-600
เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ตามลําดับ ส่ วนความสัมพันธ์ ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บ อน
เหนื อพื้นดิ นของยางพารากับชนิ ดของดิ น พบว่า ชุ ดดินหนองมดมีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ย
เหนื อพื้ นดิ นของยางพารามากที่ สุ ด รองลงมาคื อ ชุ ดดิ นท่ า ยาง/ชุ ดดิ นบ้า นจ้อง และพื้นที่ ล าดชัน

130
เชิ งซ้อน ตามลําดับ และพบว่า พื้นที่ที่มีความลาดชันร้ อยละ 6-8 มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ย
เหนื อพื้ นดิ นของยางพารามากที่ สุ ด รองลงมาคื อ พื้นที่ ที่ มี ค วามลาดชันร้ อยละ 0-5 และพื้ นที่ ที่ มี
ความลาดชันร้อยละ 9-15 ตามลําดับ

131
บทที่ 5

การพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดิน


ของยางพาราด้ วยภาพดาวเทียม

หลัง จากที่ ไ ด้ท ํา การประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจากภาพดาวเที ย ม
ในบทที่ 4 แล้ว ในขั้นตอนต่ อไป ผูว้ ิจยั สนใจที่ จะศึ กษาการพัฒนาโมเดลที่ เหมาะสมสํา หรั บการ
ประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพดาวเทียมของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง
จังหวัดเชี ยงราย ซึ่ งเป็ นการพัฒนาโมเดลใหม่ข้ ึนมา เพื่อที่ จะสามารถประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอน
เหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพดาวเทียมได้ง่ายและรวดเร็ วมากขึ้นในครั้งต่อไป ซึ่ งในการศึกษา
ครั้งนี้ ทําการพัฒนาหาโมเดลจากภาพดาวเทียม Landsat-8 OLI ปี 2558 โดยนําภาพดาวเทียมที่ผ่าน
กระบวนการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย มด้ว ย
CASA-biosphere model และผ่านการปรับเทียบระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของ
ยางพาราจากภาพดาวเที ย มกับ ปริ ม าณการกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจากข้อมู ล
ภาคสนามมาหาความสัมพันธ์กบั ค่าการสะท้อน (Reflectance) ของภาพดาวเทียมแต่ละแบนด์ โดยหา
จุดตัวอย่างทัว่ พื้นที่ศึกษาในระยะห่ างที่เท่ากันในตําแหน่งพิกดั เดี ยวกันระหว่างภาพดาวเทียมที่ผา่ น
กระบวนการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพารากับ ค่ า การสะท้อ นของภาพ
ดาวเที ย มแต่ ละแบนด์ เพื่ อดู ค วามสัม พันธ์ว่า ค่า การสะท้อนของช่ วงคลื่ นไหนมี ค วามสัมพันธ์ กบั
ป ริ ม า ณ ก า ร กั ก เ ก็ บ ค า ร์ บ อ น เ ห นื อ พื้ น ดิ น ข อ ง ย า ง พ า ร า จ า ก ภ า พ ถ่ า ย ด า ว เ ที ย ม ด้ ว ย
CASA-biosphere model มากที่สุด โดยในการศึกษาครั้งนี้ จะเลือกสมการความสัมพันธ์จากช่วงคลื่น
นั้นๆ เป็ นตัวแทนในการใช้เพื่อพัฒนาโมเดลในขั้นต่อไป

5.1 ความสั มพันธ์ ระหว่ างค่ าปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารากับค่ าการสะท้ อน
ของภาพดาวเทียม

เนื่ องจากในการพัฒนาโมเดลที่ เหมาะสมสําหรับการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของ


ยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมในครั้งนี้ ทําการพัฒนาโมเดลจากศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณ

132
การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่
ผ่านการปรับแก้กบั ค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียมแต่ละแบนด์ เพื่อหาแบนด์ที่มีความสัมพันธ์ที่ดี
ที่สุดและนํามาสร้างโมเดล โดยอาศัยวิธีการทางสถิติ ซึ่ งในการศึกษาครั้งนี้จึงเป็ นการวิเคราะห์ขอ้ มูล
ที่ประกอบด้วย 2 ตัวแปร กล่าวคือ ดู ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ น
ของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่ผา่ นการปรับแก้กบั ค่าการสะท้อน
ของภาพดาวเทียมแต่ละแบนด์ ซึ่ งเป็ นการวัดที่เรี ยกว่า สหสัมพันธ์ (Correlation) และสามารถคํานวณ
ออกมาเป็ นตัวเลข เรี ยกว่า สัมประสิ ทธิ์ สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient)

ซึ่ งในการศึ ก ษาครั้ งนี้ เป็ นการวัด ความสั ม พัน ธ์ เ ชิ ง เส้ น ตรงของตัว แปรเชิ ง ปริ ม าณ 2 ตัว คื อ
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ ายดาวเที ยมด้วย CASA-biosphere
model ที่ผา่ นการปรับแก้ (X) กับค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียมแต่ละแบนด์ (Y) ซึ่งในการวิเคราะห์
ข้ อ มู ล ที่ ป ระกอบด้ ว ยตั ว แปร 2 ตั ว แปร เริ่ มด้ ว ยการนํ า ข้ อ มู ล มาเขี ย นแผนภาพกระจาย
(Scatter Diagram) เพื่อให้เห็นภาพของความสัมพันธ์วา่ จะมีลกั ษณะเป็ นอย่างไร ในรู ปแบบของกราฟ
โดยกําหนดให้แกนนอนแทนตัวแปร X และแกนตั้งแทนตัวแปร Y การพิจารณาตัวแปรเพียง 2 ตัวแปร
จะเรี ยกว่า สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple Correlation) ซึ่ งตัวแปร X และ Y อาจจะมีความสัมพันธ์อยู่
ในรู ป แบบต่ า งๆ ได้ห ลายแบบ เช่ น ความสั ม พัน ธ์ ที่ มี แ นวโน้ ม เป็ นเส้ น ตรง แบบพาราโบลา
แบบเอ็กซ์โปเนนเชี ยล และแบบอื่นๆ แต่ในการศึกษาครั้งนี้จะพิจารณาถึงความสัมพันธ์ที่มีแนวโน้ม
เป็ นเส้นตรง ซึ่ งแบ่งความสัมพันธ์ได้ออกเป็ น 2 แบบ คือ

1) ความสั มพันธ์ เชิ งบวก (Positive Correlation) เป็ นความสัมพันธ์ที่เรี ยกว่า แปรผันตามกัน
กล่าวคือ ถ้าค่า X มากขึ้น ค่าของ Y ก็มีแนวโน้มที่จะมากขึ้นตามด้วย แต่ถา้ ค่า X มีค่าน้อยลง
ค่าของ Y ก็มีแนวโน้มที่จะน้อยลงตามด้วย

2) ความสั มพันธ์ เชิ งลบ (Negative Correlation) เป็ นความสัมพันธ์ที่เรี ยกว่า แปรผันกลับกัน
กล่าวคื อ ถ้าค่า X มากขึ้ น ค่าของ Y ก็มีแนวโน้มที่ จะลดลง ในทํานองเดี ยวกัน ถ้าค่า X มี ค่า
น้อยลง ค่าของ Y ก็มีแนวโน้มที่จะมากขึ้น การแปรผันแบบนี้ บางครั้งเรี ยกว่า การแปรผกผัน

การพิจารณาความสัมพันธ์เชิ งเส้นตรงของ X และ Y ว่ามีความสัมพันธ์กนั มากน้อยเพียงใด สามารถ


คํา นวณออกมาเป็ นค่ า ของตัว เลข โดยในการศึ ก ษาครั้ งนี้ เลื อ กใช้วิ ธี ก ารของเพี ย ร์ สั น ที่ เ รี ย กว่า
สัมประสิ ทธิ์ สหสัมพันธ์ (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient) ซึ่ งมีสูตรคํานวณ คือ

133
∑𝑛𝑛 � �
𝑖𝑖=1(𝑋𝑋𝑖𝑖 −𝑋𝑋)(𝑌𝑌𝑖𝑖 −𝑌𝑌)
R = สมการ 5.1
�[∑𝑛𝑛 � 2 𝑛𝑛 � 2
𝑖𝑖=1(𝑋𝑋𝑖𝑖 −𝑋𝑋) ∑𝑖𝑖=1(𝑌𝑌𝑖𝑖 −𝑌𝑌) ]

𝑛𝑛 ∑𝑛𝑛 𝑛𝑛 𝑛𝑛
𝑖𝑖=1 𝑋𝑋𝑖𝑖 𝑌𝑌𝑖𝑖 –�∑𝑖𝑖=1 𝑋𝑋𝑖𝑖 ��∑𝑖𝑖=1 𝑌𝑌𝑖𝑖 �
หรื อ R = สมการ 5.2
�[𝑛𝑛 ∑𝑛𝑛 2 𝑛𝑛 2 𝑛𝑛 2 𝑛𝑛 2
𝑖𝑖=1 𝑋𝑋𝑖𝑖 −(∑𝑖𝑖=1 𝑋𝑋) ][𝑛𝑛 ∑𝑖𝑖=1 𝑌𝑌𝑖𝑖 −(∑𝑖𝑖=1 𝑌𝑌𝑖𝑖 ) ]

𝑛𝑛 ∑𝑛𝑛 ��
𝑖𝑖=1 𝑋𝑋𝑖𝑖 𝑌𝑌𝑖𝑖 −𝑛𝑛𝑋𝑋𝑌𝑌
หรื อ R = สมการ 5.3
�[𝑛𝑛 ∑𝑛𝑛 2 � 2 𝑛𝑛 2 �2
𝑖𝑖=1 𝑋𝑋𝑖𝑖 −(𝑛𝑛𝑋𝑋 ][∑𝑖𝑖=1 𝑌𝑌𝑖𝑖 −𝑛𝑛𝑌𝑌 ]

โดยค่าสัมประสิ ทธิ์ สหสัมพันธ์ (R) มีค่าอยูร่ ะหว่าง -1 ถึง 1

ถ้า R = 1 หมายความว่า ตัวแปร X และ Y มีความสัมพันธ์เชิงบวกแบบตามกันพอโดยสมบูรณ์

R = 0 หมายความว่า ตัวแปร X และ Y ไม่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นกัน

R = -1 หมายความว่า ตัวแปร X และ Y มีความสัมพันธ์เชิงลบกันพอโดยสมบูรณ์

ในขั้นตอนต่ อไปนี้ จะเป็ นการทดลอง เพื่อทํา การหาค่า ความสั ม พันธ์ ระหว่า งปริ ม าณการกัก เก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้ นดิ นของย างพาราจากภาพถ่ าย ดาวเที ยมด้ ว ย CASA-biosphere model
กับค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียมที่ดีที่สุดของภาพดาวเทียมทั้งหมด 8 แบนด์ดว้ ยกัน ประกอบด้วย
แบนด์ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 9 ส่ วนแบนด์ ที่ 8, 10 และ 11 ไม่ นํ า มาพิ จ ารณา เนื่ อ งจากเป็ น
Panchromatic และช่วงคลื่ นความร้ อน โดยในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทาํ การทดสอบหาความสัมพันธ์ที่ดี
ที่ สุ ดจากการสร้ า งจุ ดตัวอย่า งในพื้นที่ ศึ ก ษาในระยะห่ า งที่ เท่ า กันทุ ก จุ ด ซึ่ ง แบ่ง ออกเป็ น 3 ระยะ
ซึ่ งประกอบด้วย ระยะ 1,000 เมตร, 1,500 เมตร และ 2,000 เมตร (ภาพที่ 5.1-5.3) โดยจุดที่มีระยะห่าง
1,000 เมตร มี ท้ งั หมด 312 จุ ด จุ ดที่ มีระยะห่ าง 1,500 เมตร มี ท้ งั หมด 138 จุ ด และจุ ดที่ มีระยะห่ า ง
2,000 เมตร มีท้ งั หมด 78 จุด

จากการทดสอบพบว่า จุ ดที่ มีระยะห่ าง 1,000 เมตร มี ความสัมพันธ์ มากที่ สุด รองลงมาเป็ นจุ ดที่ มี
ระยะห่ าง 2,000 เมตร และจุดที่มีระยะห่าง 1,500 เมตร ตามลําดับ โดยความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณ
การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ ายดาวเทีย มด้วย CASA-biosphere model
ที่ ผ่านการปรับแก้กบั ค่าการสะท้อนของภาพดาวเที ยมทั้งหมด 8 แบนด์ของจุ ดที่มีระยะห่ าง 1,000
เมตร ซึ่ ง แบนด์ที่ มี ค่ า ความสัมพันธ์ ม ากที่ สุ ด คื อ แบนด์ 4 เป็ นความสัม พันธ์ เชิ งลบ รองลงมาคื อ

134
แบนด์ 2, 1, 3, 5, 7, 6 และ 9 ตามลําดับ โดยมี ค่า R2 เท่ากับ 0.7713, 0.6910, 0.6486, 0.6232, 0.5881,
0.5868, 0.3276 และ 0.0002 ตามลําดับ ส่ วนจุดที่มีระยะห่าง 2,000 เมตร มีความสัมพันธ์ความสัมพันธ์
รองลงมา แบนด์ที่มีค่าความสัมพันธ์ มากที่ สุด คื อ แบนด์ 4 เป็ นความสัมพันธ์ เชิ งลบ รองลงมาคื อ
แบนด์ 4, 5, 2, 1, 3, 7, 6 และ 9 ตามลําดับ โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.7228, 0.6879, 0.6696, 0.6226, 0.5381,
0.4447, 0.1538 และ 0.0247 ตามลําดับ และจุดที่มีระยะห่าง 1,500 เมตร มีความสัมพันธ์ความสัมพันธ์
รองลงมา ซึ่ งแบนด์ที่มีค่าความสัมพันธ์มากที่สุด คือ แบนด์ 4 เป็ นความสัมพันธ์เชิ งลบ รองลงมา คือ
แบนด์ 2, 1, 3, 7, 5, 6 และ 9 ตามลําดับ โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.5296, 0.4660, 0.4229, 0.3989, 0.3833,
0.3726, 0.1859 และ 0.0066 ตามลําดับ ซึ่ งความสัมพันธ์ ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่ผ่านการปรับแก้กบั ค่าการ
สะท้อ นของภาพดาวเที ย มแบนด์ ใ นระยะห่ า งแต่ ล ะช่ ว ง โดยในการศึ ก ษาครั้ งนี้ ได้ท าํ การเลื อ ก
ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย
CASA-biosphere model ที่ผา่ นการปรับแก้กบั ค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียมแบนด์ 4 และแบนด์ 2
ของจุดที่มีระยะห่าง 1,000 เมตร ซึ่ งมีความสัมพันธ์กนั ในเชิงลบโดยสมบูรณ์ (ภาพที่ 5.4-5.5) ซึ่ งแสดง
ในตารางที่ 5.1

ตารางที่ 5.1 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม


ด้วย CASA-biosphere model ที่ ผ่า นการปรั บ แก้ก ับ ค่า การสะท้อ นของภาพดาวเที ย มแต่ล ะแบนด์
ในระยะห่างแต่ละช่วง
ความสั มพันธ์ (R2)
แบนด์ ระยะห่ างของจุด 1,000 ระยะห่ างของจุด 1,500 ระยะห่ างของจุด 2,000
เมตร เมตร เมตร
1 0.6486 0.4229 0.6226
2 0.6910 0.4660 0.6696
3 0.6232 0.3989 0.5381
4 0.7713 0.5296 0.7228
5 0.5868 0.3833 0.6879
6 0.3276 0.1859 0.1538
7 0.5881 0.3726 0.4447
9 0.0002 0.0066 0.0247

135
ภาพที่ 5.1 จุดตัวอย่างที่มีระยะห่าง 1,000 เมตร

136
ภาพที่ 5.2 จุดตัวอย่างที่มีระยะห่าง 1,500 เมตร

137
ภาพที่ 5.3 จุดตัวอย่างที่มีระยะห่าง 2,000 เมตร

138
0.2500

ค่ า Reflectance ของภาพดาวเทียม
R² = 0.7713
0.2000
0.1500
0.1000
0.0500
0.0000
0.0000 50.0000 100.0000 150.0000
ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินของยางพารา
จากภาพถ่ ายดาวเทียมด้ วย CASA - biosphere model ทีผ่ ่านการปรับแก้

ภาพที่ 5.4 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา


จากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่ผา่ นการปรับแก้กบั ค่าการสะท้อน
ของภาพดาวเทียมแบนด์ 4 ของจุดที่มีระยะห่าง 1,000 เมตร

0.2000
ค่ า Reflectance ของภาพดาวเทียม

0.1500
0.1000
0.0500
R² = 0.691
0.0000
0.0000 50.0000 100.0000 150.0000

ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินของยางพารา


จากภาพถ่ ายดาวเทียมด้ วย CASA - biosphere model ทีผ่ ่านการปรับแก้

ภาพที่ 5.5 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา


จากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่ผา่ นการปรับแก้กบั ค่าการสะท้อน
ของภาพดาวเทียมแบนด์ 2 ของจุดที่มีระยะห่าง 1,000 เมตร

139
5.2 การสร้ างความสั มพันธ์ ในลักษณะของสมการถดถอยเชิ งเส้ น

หลัง จากการหาค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ สหสั ม พัน ธ์ ข องตัว แปรคู่ แ ล้ว จะทํา ให้ ท ราบถึ ง ความสั ม พัน ธ์
เชิงเส้นตรงของตัวแปรคู่น้ นั ว่ามีความสัมพันธ์กนั มากน้อยเพียงใด หลังจากที่ทราบความสัมพันธ์แล้ว
ก็ ส ามารถนํา ข้อ มู ล นั้น มาสร้ า งความสั ม พัน ธ์ ใ นลัก ษณะของสมการ ซึ่ งเรี ย กว่า สมการถดถอย
(Regression Equation) ซึ่ งสมการที่ แ สดงความสั ม พัน ธ์ เ ชิ ง เส้ น ของข้อ มู ล ตัว แปรคู่ (X และ Y)
มีรูปแบบสมการความสัมพันธ์ (สถิติเบื้องต้นสําหรับสังคมศาสตร์ 1, 2545) คือ

Y = a + bX สมการ 5.4

โดย เรี ยกตัวแปร Y ว่า ตัวแปรตาม (Dependent Variable)


ตัวแปร X ว่า ตัวแปรอิสระ (Independent Variable)
a เรี ยกว่า จุดตัดแกน Y (Y-intercept)
b เรี ยกว่า ความชันของเส้นตรง (Slope)

โดยหลังจากที่ได้ทาํ การวิเคราะห์สมการถดถอย พบว่า รู ปแบบสมการความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณ


การกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ ายดาวเทีย มด้วย CASA-biosphere model
ที่ ผ่านการปรับแก้กบั ค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียมแบนด์ 4 และแบนด์ 2 ของจุดที่มีระยะห่ า ง
1,000 เมตร แสดงได้ดงั รู ปแบบสมการความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง ดังนี้

Y = 170.828 - 792.368 (b4) สมการ 5.5

จากสมการดังกล่าว จะเห็นว่า ไม่มีตวั แปรของแบนด์ 2 ทั้งนี้เนื่ องจากแบนด์ 2 มีค่านัยสําคัญทางสถิติ


เกิน 0.01 จึงเลือกแบนด์ 4 เพียงแบนด์เดียวมาทําการสร้างสมการ เพื่อให้ได้มาซึ่งโมเดลในการการกัก
เก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมที่มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ ซึ่ งในขั้นตอน
ต่อไปเป็ นการนําภาพถ่ายดาวเทียมแบนด์ 4 ที่ผ่านการปรับแก้ค่าการสะท้อนมาทําการคํานวณกลับ
โดยใช้ ส มการความสั ม พัน ธ์ ดัง กล่ า ว เพื่ อ ทดสอบว่ า หลัง จากที่ ไ ด้ ท ํา การทดลองใช้ ส มการ
ความสัมพันธ์ดงั กล่าว ผลการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราด้วยโมเดลที่ ได้
พัฒนาขึ้นมานั้น มีความถูกต้องใกล้เคียงกับสมการเดิมหรื อไม่ เพราะหากโมเดลที่ผวู ้ ิจยั ได้พฒั นาขึ้น
มาใหม่ มี ค วามถู ก ต้อ งใกล้เ คี ย งกับ ปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจาก
ภาพถ่ า ยดาวเที ย มด้ว ย CASA-biosphere model ที่ ผ่า นการปรั บ แก้ใ นบทที่ 4 แล้ว ก็ ถื อ ว่า โมเดล
ดังกล่าวมีประสิ ทธิ ภาพเพียงพอที่จะนําไปใช้ประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราใน

140
พื้นที่อื่น ซึ่ งถือว่าโมเดลดังกล่าวจะมีประโยชน์ในการวางแผน แก้ไข และพัฒนา รวมถึงเป็ นแนวทาง
สําคัญให้กบั หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถลดระยะเวลาในการประเมิ นการกัก เก็บ
คาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราอีกด้วย

ซึ่ งหลังจากที่ใช้โมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่ในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินพบว่า พื้นที่


อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย มี ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อพื้นดิ นเท่ากับ 99.1377
เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์ (15,862.032 กิ โ ลกรั ม ต่ อ ไร่ ) สู ง สุ ด อยู่ ที่ 128.2136 เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์
(20,514.18 กิโลกรัมต่อไร่ ) และตํ่าสุ ดอยูท่ ี่ -101.7631 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (-16,282.096 กิโลกรัมต่อ
ไร่ ) ซึ่ งใกล้ เ คี ย งกั บ ปริ มาณการกั ก เก็ บ คาร์ บอนเหนื อ พื้ น ดิ น จากภาพถ่ า ยดาวเที ย มด้ ว ย
CASA-biosphere model ที่ ผ่านการปรั บแก้ในบทที่ 4 โดยมี ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ย เหนื อ
พื้ น ดิ น เท่ า กับ 173.1963 เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์ (27,711.41 กิ โ ลกรั ม ต่ อ ไร่ ) สู ง สุ ด อยู่ที่ 258.4844
เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์ (41,357.50 กิ โ ลกรั ม ต่ อ ไร่ ) และตํ่า สุ ด อยู่ที่ -24.4746 เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์
(-3,915.94 กิโลกรัมต่อไร่ )

จากนั้น ได้ทาํ การประเมินหาการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมจาก


โมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยฐานข้อมูลยางพาราตามช่วงอายุในวัตถุ ประสงค์ขอ้ ที่ 1 ร่ วมกับ
โปรแกรมทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่า พื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงรายมีการกักเก็บ
คาร์ บอนเฉลี่ยเหนือพื้นดินของยางพาราเท่ากับ 117.5348 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (18,805.57 กิโลกรัมต่อ
ไร่ ) สู งสุ ดอยู่ที่ 128.2136 เมกะกรั มต่อเฮกแตร์ (20,514.18 กิ โลกรั มต่อไร่ ) และตํ่าสุ ดอยู่ที่ 88.0632
เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (14,090.11 กิ โลกรัมต่อไร่ ) (ภาพที่ 5.6) โดยยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี มีการกัก
เก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดิ นของยางพาราเท่ากับ 117.1887 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (18,750 กิโลกรัม
ต่อไร่ ) สู งสุ ดอยูท่ ี่ 128.2136 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (20,514.18 กิโลกรัมต่อไร่ ) และตํ่าสุ ดอยูท่ ี่ 88.0632
เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (14,090.11 กิโลกรัมต่อไร่ ) (ภาพที่ 5.7) ส่ วนยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี มีการกัก
เก็ บ คาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราเท่ า กับ 119.1531 เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์ (19,064.496
กิโลกรัมต่อไร่ ) สู งสุ ดอยูท่ ี่ 127.5251 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (20,404.02 กิโลกรัมต่อไร่ ) และตํ่าสุ ดอยูท่ ี่
95.6367 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (15,301.87 กิโลกรัมต่อไร่ ) (ภาพที่ 5.8) และยางพาราช่วงอายุมากกว่า
20 ปี มี ก ารกัก เก็บ คาร์ บ อนเฉลี่ ยเหนื อพื้นดิ นของยางพาราเท่ า กับ 114.5497 เมกะกรั ม ต่อเฮกแตร์
(18,327.95 กิ โลกรัมต่อไร่ ) สู งสุ ดอยู่ที่ 118.0672 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (18,890 กิโลกรัมต่อไร่ ) และ
ตํ่าสุ ดอยูท่ ี่ 110.3307 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (17,652 กิโลกรัมต่อไร่ ) (ภาพที่ 5.9) ซึ่งใกล้เคียงกับปริ มาณ
การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่
ผ่านการปรับแก้ในบทที่ 4 โดยยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี มีการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดิ นของ

141
ยางพาราเท่ากับ 126.6699 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (20,267.18 กิโลกรัมต่อไร่ ) สู งสุ ดอยูท่ ี่ 143.3136 เมกะ
กรัมต่อเฮกแตร์ (22,930.18 กิโลกรัมต่อไร่ ) และตํ่าสุ ดอยูท่ ี่ 74.5835 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (11,933.36
กิโลกรัมต่อไร่ ) ส่ วนยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี มีการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดินของยางพารา
เท่ากับ 132.5753 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (21,212.05 กิโลกรัมต่อไร่ ) สู งสุ ดอยูท่ ี่ 142.7734 เมกะกรัมต่อ
เฮกแตร์ (22,843.74 กิ โ ลกรั ม ต่ อ ไร่ ) และตํ่า สุ ด อยู่ ที่ 102.1541 เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์ (16,344.66
กิ โลกรั ม ต่อไร่ ) และยางพาราช่ วงอายุม ากกว่า 20 ปี มี ก ารกัก เก็บ คาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อพื้นดิ นของ
ยางพาราเท่ากับ 124.0813 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (19,853.01 กิโลกรัมต่อไร่ ) สู งสุ ดอยูท่ ี่ 128.3646 เมกะ
กรัมต่อเฮกแตร์ (20,538.34 กิโลกรัมต่อไร่ ) และตํ่าสุ ดอยูท่ ี่ 116.7472 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (18,679.55
กิ โลกรั มต่อไร่ ) (ตารางที่ 5.2) และเมื่ อนําค่าปริ มาณการกักเก็บคาร์ บ อนเหนื อพื้นดิ นจากภาพถ่ า ย
ดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่ผ่านการปรับแก้แล้วมาหาความสัมพันธ์กบั ปริ มาณการกัก
เก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วยโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่ โดยใช้จุดตัวอย่างใน
พื้นที่ศึกษาในระยะห่ าง 1,500 เมตรพบว่า มีค่า R2 เท่ากับ 0.7144 (ภาพที่ 5.10) ซึ่ งจากผลการศึกษา
ดัง กล่ า วแสดงให้เห็ นว่า โมเดลที่ พ ฒ ั นาขึ้ นมาใหม่มี ศ กั ยภาพเพี ย งพอในการประเมิ นการกัก เก็บ
คาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา

ตารางที่ 5.2 เปรี ยบเทียบปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดินของยางพาราจาก CASA-biosphere model


และโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่
ยางพารา ค่ าการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพืน้ ดินเฉลีย่ (เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์ )
ลําดับ ตามช่ วงอายุ CASA-biosphere model โมเดลทีพ่ ฒ
ั นาขึน้ มาใหม่
(ปี ) เฉลีย่ สู งสุ ด ตํ่าสุ ด เฉลีย่ สู งสุ ด ตํ่าสุ ด
1 7-13 126.6699 143.3136 74.5835 117.1887 128.2136 88.0632
2 14-20 132.5753 142.7734 102.1541 119.1531 127.5251 95.6367
3 มากกว่า 20 124.0813 128.3646 116.7472 114.5497 118.0672 110.3307

142
ภาพที่ 5.6 ผลการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่

143
ภาพที่ 5.7 ผลการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินจากโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่
ของยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี

144
ภาพที่ 5.8 ผลการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินจากโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่
ของยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี

145
ภาพที่ 5.9 ผลการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินจากโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่
ของยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี

146
160.00
ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนจาก Casa-biosphere model 140.00
ทีผ่ ่านการปรับแก้ (เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์ ) 120.00
100.00
80.00
60.00
40.00 y = 1.0267x - 3.4441
R² = 0.7144
20.00
0.00
0.00 20.00 40.00 60.00 80.00 100.00 120.00 140.00
ปริมาณการกักเก็บคาร์ บอนจากโมเดลทีพ่ ฒ
ั นาขึน้ มาใหม่ (เมกะกรัมต่ อเฮกแตร์ )

ภาพที่ 5.10 ความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพารา


จากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่ผา่ นการปรับแก้กบั ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอน
เหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วยโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่

5.3 สรุปผลการศึกษา

ในการพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมสําหรับการประเมินการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจาก
ภาพดาวเทียมของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย เป็ นการพัฒนาโมเดลใหม่ข้ ึนมา โดยอาศัยผล
การศึกษาจากการประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย
CASA-biosphere model ที่ ผ่านการปรับเที ยบระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของ
ยางพาราจากภาพดาวเที ย มกับ ปริ ม าณการกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจากข้อมู ล
ภาคสนามในวัตถุประสงค์ขอ้ ที่ 2 มาหาความสัมพันธ์กบั ค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียมแต่ละแบนด์
โดยได้ท าํ การทดสอบ เพื่ อ หาความสั ม พัน ธ์ ที่ ดี ที่ สุ ด จากการสร้ า งจุ ด ตัว อย่า งในพื้ น ที่ ศึ ก ษาใน
ระยะห่างที่เท่ากันทุกจุด ซึ่ งแบ่งออกเป็ น 3 ระยะ ซึ่ งประกอบด้วย ระยะ 1,000 เมตร, 1,500 เมตร และ
2,000 เมตร ซึ่ งผลการทดสอบพบว่า จุดที่มีระยะห่าง 1,000 เมตร มีความสัมพันธ์มากที่สุด รองลงมา
เป็ นจุ ดที่ มี ระยะห่ า ง 2,000 เมตร และจุ ดที่ มี ระยะห่ า ง 1,500 เมตร ตามลํา ดับ โดยมี ค่า R2 เท่ า กับ

147
0.7713, 0.7228 และ 0.5296 ตามลําดับ และหลังจากการหาค่าสัมประสิ ทธิ์ สหสัมพันธ์ของตัวแปรคู่
แล้ว ได้นํา ข้อมู ล มาสร้ า งความสั ม พันธ์ ใ นลัก ษณะของสมการ ซึ่ ง เรี ย กว่า สมการถดถอย พบว่า
รู ป แบบสมการความสั ม พันธ์ ระหว่า งปริ ม าณการกัก เก็บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ น ดิ นของยางพาราจาก
ภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่ผา่ นการปรับแก้กบั ค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียม
แบนด์ 4 ของจุดที่มีระยะห่ าง 1,000 เมตร คือ Y = 170.828 - 792.368 (b4) ซึ่ งหลังจากที่ได้ทดลองใช้
โมเดลดั ง กล่ า วในการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราพบว่ า พื้ น ที่
อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย มี ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อพื้นดิ นเท่ากับ 99.1377
เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์ (15,862.03 กิ โ ลกรั ม ต่ อ ไร่ ) สู ง สุ ด อยู่ ที่ 128.2136 เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์
(20,514.18 กิโลกรัมต่อไร่ ) และตํ่าสุ ดอยู่ที่ -101.7631 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (-16,282.10 กิโลกรัมต่อ
ไร่ ) โดยมี ก ารกั ก เก็ บ คาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราเท่ า กับ 117.5348 เมกะกรั ม
ต่อเฮกแตร์ (18,805.57 กิโลกรัมต่อไร่ ) และมีการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดินของยางพาราแยก
ตามช่วงอายุ โดยยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี , 14-20 และมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป มีการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ย
เหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราเท่ า กับ 117.1887, 119.1531 และ 114.5497 เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์
(18,750.19, 19,064.50 และ 18,327.95 กิโลกรัมต่อไร่ ) ตามลําดับ ซึ่ งมีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บ อน
เหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราใกล้เ คี ย งกับ ปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพารา
จากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่ผา่ นการปรับแก้แล้ว โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.7144

148
บทที่ 6

สรุ ปและอภิปรายผลการศึกษา

การศึ ก ษาเรื่ อง การประเมิ นการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเทียม
มีวตั ถุประสงค์หลักอยู่ 3 วัตถุประสงค์ดว้ ยกัน คือ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่
อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย 2) เพื่อประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจาก
ภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model และศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปริ มาณการกัก เก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้ น ดิ น กั บ ปั จจั ย ทางกายภาพในพื้ น ที่ อ ํ า เภอดอยหลวง จั ง หวั ด เชี ยงราย
และ 3) เพื่อพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราด้วย
ภาพดาวเทียมของพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย เพื่อที่จะสามารถนําผลการศึกษาดังกล่าวไป
เป็ นแนวทางในการประยุกต์ใช้ใ นการประเมิ นการกักเก็บคาร์ บ อนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจาก
ภาพถ่ายดาวเทียมในพื้นที่อื่นต่อไป

6.1 สรุปผลการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้ เป็ นการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม


ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย ซึ่ งก่อนที่จะมีการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิน
ของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมนั้น จําเป็ นที่จะต้องทําการจําแนกพื้นที่ปลู กยางพาราตามช่วงชั้น
อายุในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายก่อน เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลยางพาราตามช่วงอายุที่จะ
นํามาใช้ในขั้นตอนการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม
จากนั้นทําการพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพารา
ด้วยภาพดาวเทียมในลําดับต่อไป ซึ่ งสามารถสรุ ปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ได้ดงั ต่อไปนี้

6.1.1 การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายใน


ครั้งนี้ ผูว้ ิจยั สนใจที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อาํ เภอ

149
ดอยหลวง จังหวัดเชียงราย 10 ปี ย้อนหลัง คือ ในปี 2548 ก่อนที่จะมีการส่ งเสริ มการปลูก
ยางพาราและหลังที่จะมีการส่ งเสริ มการปลู กยางพาราในปี 2558 ว่ามีการเปลี่ยนแปลง
การใช้ที่ดินจากการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทใดบ้างมาเป็ นพื้นที่ปลู กยางพารา ซึ่ งใน
การจําแนกครั้ งนี้ เป็ นการจําแนกการใช้ที่ ดินด้วยวิธีการเชิ ง วัตถุ โดยอาศัยโปรแกรม
eCognition Developer 7.0 ในการจําแนก ซึ่ งในปี 2548 ทําการจําแนกโดยใช้ภาพถ่ า ย
ด า ว เ ที ย ม Landsat-5 TM ส่ ว น ปี 2558 ใ ช้ ภ า พ ถ่ า ย ด า ว เ ที ย ม Landsat-8 OLI
ซึ่ งภาพทั้ง 2 เป็ นภาพระวาง 130046 และมีรายละเอียดจุดภาพ 30 เมตร โดยในปี 2548
ทํา การจํา แนกประโยชน์ ก ารใช้ ที่ ดิ น ออกเป็ น 6 ประเภทด้ว ยกัน คื อ พื้ น ที่ ป่ าไม้
พื้นที่เกษตร ที่อยูอ่ าศัยแหล่งนํ้า พื้นที่อื่นๆ และพื้นที่ปลูกยางพารา ส่ วนปี 2558 ทําการ
จํา แนกประโยชน์ ก ารใช้ที่ ดินออกเป็ น 4 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย พื้ นที่ ป่ าไม้
พื้ น ที่ ที่ ป ลู ก ยางพาราช่ ว งอายุ 7-13 ปี พื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราช่ ว งอายุ 14-20 ปี และ
พื้นที่ปลูกยางพาราอายุมากกว่า 20 ปี

ซึ่ งผลการจําแนกพบว่า พื้นที่อาํ เภอดอยหลวง มีพ้ืนที่ท้ งั หมด 318.02 ตารางกิโลเมตร


หรื อ 198,765.00 ไร่ โดยในปี 2548 พื้นที่ อาํ เภอดอยหลวงส่ วนใหญ่เป็ นการใช้ที่ ดิ น
ประเภทพื้นที่เกษตรมากที่สุด รองลงมาคือพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่อื่นๆ โดยมีพ้ืนที่เท่ากับ
194.42, 109.21 และ 6.40 ตารางกิ โลเมตร (121,513.50, 68,254.88 และ 3,997.13 ไร่ )
คิ ดเป็ นร้ อยละ 61.13, 34.34 และ 2.01 ของพื้นที่ ตามลํา ดับ ส่ วนผลการจํา แนกพื้น ที่
ป่ าไม้แ ละพื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราตามช่ ว งอายุใ นปี 2558 พบว่า พื้ น ที่ อ าํ เภอดอยหลวง
มี พ้ื น ที่ ป่ าไม้เ ท่ า กับ 81.55 ตารางกิ โ ลเมตร (50,970.94 ไร่ ) คิ ด เป็ นร้ อ ยละ 25.77
ของพื้ น ที่ ซึ่ งลดลงจากปี 2548 ที่ มี พ้ื น ที่ ป่ าไม้ม ากถึ ง ร้ อ ยละ 34.31 ของพื้ น ที่ ทั้ง นี้
อาจเนื่ อ งมาจากการบุ ก รุ ก พื้ น ที่ ป่ าไม้เ พื่ อ ใช้ เ ป็ นพื้ น ที่ ท ํา กิ น ส่ ว นผลการจํา แนก
พื้นที่ ปลู กยางพาราตามช่วงชั้นอายุพบว่า พื้นที่อาํ เภอดอยหลวง มี พ้ืนที่ปลู กยางพารา
เท่ากับ 45.10 ตารางกิโลเมตร (28,186.88 ไร่ ) คิดเป็ นร้อยละ 14.18 ของพื้นที่โดยมีพ้ืนที่
ปลูกยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี มากที่สุด รองลงมาเป็ นพื้นที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ 14-20
ปี และพื้นที่ ปลู กยางพาราช่ วงอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้ นไป โดยมี พ้ืนที่ เท่ากับ 37.78, 7.31
และ 0.01 ตารางกิ โลเมตร (23,611.50, 4,567.50 และ 7.88 ไร่ ) คิ ดเป็ นร้ อยละ 83.77,
16.20 และ 0.03 ของพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด ตามลําดับ โดยจากการตรวจสอบความ
ถูกต้อง โดยอาศัยจุดตรวจสอบความถูกต้องที่ได้จากการสํารวจภาคสนามพบว่า ผลการ
จํา แนกการใช้ ที่ ดิ น ในปี 2548 มี ค วามถู ก ต้ อ งเท่ า กั บ ร้ อ ยละ 96.77 ซึ่ งน้ อ ยกว่ า
ปี 2558 ซึ่ งมี ความถู ก ต้ อ งของผล การจํ า แนก เท่ า กั บ ร้ อย ละ 98.33 แต่ ท้ ั งนี้

150
ผลการตรวจสอบความถู ก ต้องของข้อมู ล ดัง กล่ า ว เป็ นเพี ย งผลการตรวจสอบความ
ถูกต้องของข้อมูลจากจุดจุดตรวจสอบความถูกต้องที่ได้จากการสํารวจภาคสนามเท่านั้น
ในส่ วนของการใช้ที่ดินโดยรอบที่ อยู่นอกเหนื อจากจุ ดตรวจสอบความถู กต้องอาจมี
ความคลาดเคลื่อนของผลการจําแนกข้อมูลได้

และจากการศึ ก ษาการเปลี่ ย นแปลงการใช้ที่ ดิ นในพื้ นที่ อาํ เภอดอยหลวง โดยอาศัย


โปรแกรมทางด้านระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่า พื้นที่อาํ เภอดอยหลวง มีการ
เปลี่ ย นแปลงการใช้ที่ดินจากเดิ ม ที่ เป็ นการใช้ที่ ดินจากพื้นที่ เกษตรมาเป็ นพื้นที่ ปลู ก
ยางพารามากที่ สุด รองลงมาเป็ นพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่ อื่นๆ โดยมี พ้ืนที่ เท่ากับ 40.21,
2.62 และ 2.23 ตารางกิโลเมตร (25,132.50, 1,638.00 และ 1,394.44 ไร่ ) คิดเป็ นร้ อยละ
89.16, 5.81 และ 4.95 ของพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด ตามลําดับ ทั้งนี้อาจเป็ นผลมาจาก
การส่ ง เสริ ม การขยายพื้ น ที่ ป ลู ก ยางพารา ซึ่ ง เป็ นพื ช เศรษฐกิ จ โตเร็ ว เข้า มาในพื้ น ที่
ภาคเหนื อตอนบน ประกอบกับเป็ นช่วงที่ยางพารากําลังเป็ นที่ตอ้ งการของตลาดและให้
ค่าตอบแทนสู ง ทําให้เกษตรกรหันมาสนใจปลูกยางพาราแทนพืชเศรษฐกิจเดิม

6.1.2 การประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย


CASA-biosphere model และศึ กษาความสัมพันธ์ ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บ อน
เหนือพื้นดินกับปั จจัยทางกายภาพในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

ในการศึ กษาการประเมิ นการกัก เก็บคาร์ บ อนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ า ย


ดาวเทียมในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง ได้ทาํ การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ น
ของยางพาราทั้งจากภาพถ่ายดาวเทียมและจากข้อมูลภาคสนามเพื่อนําผลการประเมินมา
ปรับเทียบ เพื่อให้ได้มาซึ่ งผลการศึกษาที่ถูกต้องและน่าเชื่ อถื อ โดยการประเมินการกัก
เ ก็ บ ค า ร์ บ อ น เ ห นื อ พื้ น ดิ น ข อ ง ย า ง พ า ร า จ า ก ภ า พ ถ่ า ย ด า ว เ ที ย ม นั้ น ใ ช้
CASA-biosphere model ของ Potter et al. (1995) อ้างใน (Lolupiman. T., 2015) ในการ
ประเมิน โดยภาพถ่ายดาวเทียมที่ใช้ในการประเมินเป็ นภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 OLI
เช่นเดียวกันกับภาพถ่ายดาวเทียมที่ใช้ในการจําแนกพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ปลู กยางพารา
ตามช่ ว งอายุ ใ นวัต ถุ ป ระสงค์ข ้อ ที่ 3 แต่ จ ะเป็ นภาพที่ ผ่า นกระบวนการปรั บ แก้เ ชิ ง
บรรยากาศก่อน

151
ส่ วนการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากข้อมูลภาคสนามใช้
สมการแอลโลเมตรี ของ Ogino et al. (1967) อ้า งใน (Saengruksawong. C et al., 2012)
ในการประเมิน ซึ่ งใช้เส้นเส้นผ่าศูนย์กลางระดับอกและความสู งต้นไม้ในการคํานวณ
โดยผูว้ ิจยั ได้ทาํ การลงพื้นที่สํารวจภาคสนาม สุ่ มวัดต้นยางพาราในแปลงตัวอย่างในแต่
ละช่ ว งอายุ เพื่ อ เป็ นทํ า การวัด เส้ น รอบวงที่ ร ะดั บ อก (ซึ่ งนํ า มาคํ า นวณเป็ น
เส้นผ่าศูนย์กลางเพื่อใช้ในสมการต่อไป) และความสู งของต้นยางพาราในแต่ละช่วงอายุ
จํานวน 17 แปลง ซึ่ งพื้นที่ที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี ทําการเก็บตัวอย่างแปลงปลูก
ยางพาราในช่วงอายุน้ ี จาํ นวน 7 แปลง ได้แก่ แปลงปลูกยางพาราอายุ 7, 8, 9, 10, 11, 12,
13 ปี ตามลําดับ พื้นที่ ที่ปลู กยางพาราช่ วงอายุ 14-20 ปี ทําการเก็บตัวอย่างแปลงปลู ก
ยางพาราจํานวน 7 แปลง ได้แก่ แปลงปลูกยางพาราอายุ 14 ปี จํานวน 2 แปลง แปลงปลูก
ยางพาราอายุ 15 ปี จํานวน 2 แปลง แปลงปลู กยางพาราอายุ 16 ปี จํานวน 2 แปลง และ
แปลงปลูกยางพาราอายุ 17 ปี จํานวน 1 แปลง เนื่ องจากในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวงมีแปลง
ปลูกยางพาราในช่วงอายุที่มีอายุมากที่สุด คือ อายุ 17 ปี เท่านั้น ส่ วนพื้นที่ที่ปลูกยางพารา
อายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป ทําการเก็บตัวอย่างแปลงปลูกยางพาราจํานวน 3 แปลงด้วยกัน
เนื่ องจากในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวงมียางพาราอายุมากกว่า 20 ปี คือ ยางพาราอายุ 26 ปี
เพียงอายุเดียวเท่านั้น

ผลการประเมิ นการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ น จากภาพถ่ า ยดาวเที ย มพบว่า พื้น ที่
อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย มีค่าการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินเฉลี่ยอยูท่ ี่ 0.2288
กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดือนและสามารถแบ่งความอุดมสมบูรณ์ของปริ มาณการ
กักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวงออกได้ 4 ระดับ คือ พื้นที่ที่มีความ
อุดมสมบูรณ์มากที่สุด พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ปาน
กลาง และพื้นที่ ที่มีความอุ ดมสมบู รณ์ น้อย โดยในการประเมิ นหาปริ มาณการกักเก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมนั้นอาศัยผลการจําแนกพื้นที่
ปลู ก ยางพาราตามช่ วงอายุใ นวัตถุ ป ระสงค์ข ้อที่ 3 ร่ วมกับ โปรแกรมทางด้า นระบบ
สารสนเทศภู มิศาสตร์ ในการวิเคราะห์ ซึ่ งพบว่า พื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง มี การกักเก็บ
คาร์ บอนเฉลี่ ยเหนื อพื้นดิ นของยางพาราเท่ากับ 0.3261 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อ
เดือน โดยยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินมากที่สุด
รองลงมาเป็ นยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี และยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป โดยมี
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นเท่ากับ 0.3524, 0.3312 และ 0.3219 ตามลําดับ
ส่ วนการคํานวณค่าการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากข้อมูลภาคสนาม

152
พบว่า มี ค่ า การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเฉลี่ ย เท่ า กับ 22.76, 45.36 และ 123.24 เมกะกรั ม ต่ อ
เฮกแตร์ (3,640.92, 7,257.74 และ 19,718.66 กิโลกรัมต่อไร่ ) ตามลําดับ

ซึ่ งจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินจากภาพถ่าย


ดาวเที ย มและจากข้อมู ล ภาคสนามพบว่า ยางพาราช่ วงอายุม ากกว่า 20 ปี ขึ้ นไปมี ค่า
ความสัมพันธ์มากที่ สุด รองลงมาคื อ ยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี และยางพาราช่ วงอายุ
14-20 ปี มีความสัมพันธ์อยู่ที่ R2 เท่ากับ 0.9772, 0.7109 และ 0.6632 ตามลําดับ โดยใน
การศึกษาครั้งนี้ได้เลื อกสมการจากค่าความสัมพันธ์ของยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี
ขึ้นไป ซึ่ งมีค่าความสัมพันธ์ที่ดีที่สุดมาทําการปรับเทียบ และค่าการกักเก็บคาร์ บอนของ
ยางพาราหลังการปรั บเที ยบพบว่า พื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง มี การกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ย
เหนือพื้นดินของยางพาราเท่ากับ 127.6600 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (20,425.60 กิโลกรัมต่อ
ไร่ ) โดยมี ก ารกัก เก็ บ คาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราตามช่ ว งอายุ เ ท่ า กับ
126.6699, 132.5753 และ 124.0813 เมกะกรั ม ต่ อ เฮกแตร์ (20,267.81, 21,212.05 และ
19,853.01 กิ โลกรั มต่อไร่ ) ตามลําดับ ซึ่ งแสดงให้เห็ นว่า ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอน
เฉลี่ยเหนื อพื้นดินของยางพาราในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวงมีมากที่สุดในยางพาราช่ วงอายุ
14-20 ปี รองลงมาคือ ยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี และยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้น
ไป ซึ่ งแสดงให้ เ ห็ น ว่า ยางพาราในช่ ว งอายุ ม ากกว่า 20 ปี ขึ้ น ไปมี อ ัต ราการกัก เก็ บ
คาร์ บอนของยางพาราที่ลดลงจากช่วงอายุอื่น ทั้งนี้อาจเนื่ องมาจากความสามารถในการ
สร้างคลอโรฟิ ลด์ที่ลดน้อยลงและต้นยางในแปลงสํารวจบางส่ วนถูกโค่นลงและยืนต้น
ตายอีกด้วย ทั้งนี้ ผูว้ ิจยั ยังได้ทาํ การประเมินหาปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิน
ของพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง เพื่อเปรี ยบเทียบกับปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอน
เหนือพื้นดินของยางพารา ซึ่งพบว่า พื้นที่ป่าไม้ในอําเภอดอยหลวง มีการกักเก็บคาร์ บอน
เฉลี่ ย เหนื อ พื้ น ดิ น เท่ า กับ 0.2655 กรั ม คาร์ บ อนต่ อ ตารางเมตรต่ อ เดื อ น ซึ่ งน้อ ยกว่า
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดิ นของยางพารา ซึ่ งมีค่าเท่ากับ 0.3261 กรัม
คาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดือน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากภาพถ่ายดาวเทียมที่ใช้ เป็ นภาพถ่าย
ดาวเทียมในเดือนเมษายน ซึ่งเป็ นช่วงเวลาที่ป่าไม้ผลัดใบ จึงทําให้ยางพารามีปริ มาณการ
กักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินที่มากกว่า

ส่ วนในการศึ กษาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของ


ยางพารากับ ปั จจัย ทางกายภาพ พบว่า พื้นที่ ที่ มี ค วามสู ง 401-500, น้อยกว่า 400 และ
501-600 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดิ น

153
ของยางพาราเท่ากับ 0.3325, 0.3302 และ 0.3215 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดื อน
ตามลําดับ ส่ วนชุ ดดินหนองมด ชุ ดดินท่ายาง/ชุ ดดินบ้านจ้อง และพื้นที่ลาดชันเชิ งซ้อน
มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดินของยางพาราเท่ากับ 0.3333, 0.3331 และ
0.3292 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดือน ตามลําดับ และพื้นที่ที่มีความลาดชันร้อยละ
6-8, 0-5 และ 9-15 มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดิ นของยางพาราเท่ากับ
0.3325, 0.3308 และ 0.3285 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตรต่อเดือน ตามลําดับ แต่ท้งั นี้แล้ว
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราไม่ได้ข้ ึนอยูก่ บั ปั จจัยทางกายภาพ
ซึ่ งได้แก่ ความสู งของภูมิประเทศ ชนิดของดิน และความลาดชัน เพียงอย่างเดียว แต่ยงั
ขึ้นอยูก่ บั ปั จจัยทางด้านอื่นๆ อีก ไม่วา่ จะเป็ น ความชื้นของดิน ปริ มาณนํ้าฝน อุณหภูมิที่
เหมาะสม รวมถึงอายุยางพารา พันธ์ยางพารา และการดูแลบํารุ งรักษาของเกษตรกรอีก
ด้วย

6.1.3 การพัฒ นาโมเดลที่ เ หมาะสมในการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของ
ยางพาราด้วยภาพดาวเทียม

ในการศึกษาการพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมสําหรับการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม ได้ทาํ การพัฒนาหาโมเดลจากภาพดาวเทียม
Landsat-8 OLI ปี 2558 โดยนํา ภาพดาวเที ย มที่ ผ่า นกระบวนการประเมิ น การกัก เก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่
ผ่านการปรับเทียบระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพ
ดาวเทียมกับข้อมูลภาคสนามมาหาความสัมพันธ์กบั ค่าการสะท้อนของภาพดาวเทียมแต่
ละแบนด์ ซึ่ งประกอบด้วย แบนด์ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 9 ส่ วนแบนด์ที่ 8, 10 และ 11 ไม่
นํามาพิจารณา เนื่ องจากเป็ น Panchromatic และช่วงคลื่นความร้ อน ซึ่ งก่อนที่จะทําการ
พัฒนาโมเดล ได้มี ก ารทํา การทดสอบเพื่อหาความสั ม พันธ์ ที่ ดีที่ สุดจากการสร้ า งจุ ด
ตัวอย่างในพื้นที่ศึกษาในระยะห่างที่เท่ากันทุกจุด ซึ่งแบ่งออกเป็ น 3 ระยะ ประกอบด้วย
ระยะ1,000 เมตร, 1,500 เมตร และ 2,000 เมตร ซึ่ งผลการทดสอบพบว่า แบนด์ 4 ของจุด
ทดสอบที่มีระยะห่ าง 1,000 เมตร มีความสัมพันธ์กบั ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้ น ดิ น ของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย มด้ว ย CASA-biosphere model ที่ ผ่า นการ
ปรั บ เที ย บระหว่า งปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจากภาพ
ดาวเทียมกับข้อมูลภาคสนามมากที่สุด โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.7713 และหลังจากที่ทราบ
ค่าสัมประสิ ทธิ์ สหสัมพันธ์ของตัวแปรคู่แล้ว ได้ทาํ การสร้ างความสัมพันธ์ในรู ปแบบ

154
สมการความสั ม พันธ์ เชิ ง เส้ นตรง คื อ Y = 170.828 - 792.368 (b4) และเมื่ อนํา สมการ
ดัง กล่ า วมาทดสอบ โดยทํา การคํา นวณกลับ ไปยัง ภาพพบว่า พื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง
จังหวัดเชี ยงราย มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ยเหนื อพื้นดิ นเท่ากับ 99.1377 เมกะ
กรัมต่อเฮกแตร์ (15,862.03 กิโลกรัมต่อไร่ ) โดยมีการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดิ น
ของยางพาราเท่ากับ 117.5348 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (18,805.57) กิโลกรัมต่อไร่ และมี
การกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดิ นของยางพาราแยกตามช่วงอายุ โดยยางพาราช่วง
อายุ 7-13 ปี , 14-20 และมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป มีการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ยเหนื อพื้นดิ นของ
ยางพาราเท่ากับ 117.1887, 119.1531 และ 114.5497 เมกะกรัมต่อเฮกแตร์ (18,750.19,
19,064.50 และ 18,327.95 กิ โ ลกรั ม ต่ อ ไร่ ) ตามลํา ดับ ซึ่ งถื อ ว่า มี ป ริ ม าณการกัก เก็ บ
คาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากโมเดลใหม่มีค่าใกล้เคียงกับปริ มาณการกัก เก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่
ผ่านการปรับแก้แล้ว จากนั้น ทําการทดสอบความถูกต้องของโมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่
โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจาก
โมเดลที่พฒั นาขึ้นมาใหม่กบั ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจาก
ภาพถ่ายดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model ที่ผา่ นการปรับแก้แล้ว โดยใช้จุดทดสอบ
ที่มีระยะห่ าง 1,500 เมตร ซึ่ งพบว่า มีค่าความสัมพันธ์อยูท่ ี่ R2 เท่ากับ 0.7144 ซึ่ งถือได้วา่
โมเดลที่ทาํ การพัฒนาขึ้นมาใหม่ดงั กล่าว เป็ นโมเดลที่สามารถนําไปช่วยในการประเมิน
การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจากภาพถ่ า ยดาวเที ย มได้ อ ย่ า งมี
ประสิ ทธิ ภาพ

6.2 อภิปรายผลการศึกษา

จากการศึกษาการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมในพื้นที่


อําเภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย ซึ่ งประกอบด้วย 3 วัตถุ ประสงค์หลัก ประกอบด้วย การศึกษาการ
เปลี่ ยนแปลงการใช้ที่ ดิน การประเมิ นการกัก เก็บคาร์ บ อนเหนื อพื้ นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ า ย
ดาวเทียมด้วย CASA-biosphere model และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอน
เหนื อพื้ นดิ นกับ ปั จจัย ทางกายภาพ และการพัฒนาโมเดลที่ เ หมาะสมในการประเมิ นการกัก เก็ บ
คาร์ บ อนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราด้วยภาพดาวเที ยมของพื้นที่ อาํ เภอดอยหลวง จัง หวัดเชี ย งราย
ซึ่ งสามารถแบ่งการอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ได้ดงั นี้

155
6.2.1 การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

การศึ กษาการเปลี่ ยนแปลงการใช้ที่ดินในครั้ งนี้ ทําการศึ กษาการเปลี่ ยนแปลงการใช้


ที่ดิน 10 ปี ย้อนหลัง คือ ก่อนที่จะมีการส่ งเสริ มการปลูกยางพาราในปี 2548 และหลังจาก
การส่ ง เสริ มการปลู ก ยางพาราแล้ว ในปี 2558 ด้ ว ยวิ ธี ก ารจํา แนกข้ อ มู ล เชิ ง วัต ถุ
โดยภาพถ่ายดาวเทียมที่ใช้ตอ้ งไม่ผา่ นกระบวนการปรับแก้เชิงบรรยากาศ เนื่องจากจะทํา
ให้ค่าการสะท้อนและการดู ดยึดแสงจากวัตถุ ต่างๆ ในภาพเปลี่ยนแปลงไป ซึ่ งจะส่ งผล
ต่อการจําแนก โดยมีหลักการการจําแนก เนื่ องจากเป็ นวิธีการจําแนกที่สามารถกําหนด
ค่าพารามิเตอร์ ในการแบ่งส่ วนของวัตถุภาพให้เหมาะสมกับประเภทการใช้ที่ดินในพื้นที่
ศึกษา รวมถึงให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการจําแนกด้วยวิธีเชิ งจุดภาพ ทําการสร้างวัตถุภาพด้วย
วิธี Multiresolution Segmentation ซึ่ ง เป็ นวิธี ที่ รวมเอาจุ ดภาพที่ มีลกั ษณะใกล้เคี ยงกัน
และอยู่ติดกันเข้าด้วยกันเป็ นวัตถุภาพ โดยสามารถกําหนดค่าพารามิเตอร์ ต่างๆ ได้แก่
รู ปร่ าง สี การเกาะกลุ่ม และความเรี ยบได้ตามความต้องการโดยในปี 2548 ทําการจําแนก
การใช้ที่ดินออกเป็ น 6 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตร ที่อยูอ่ าศัย
แหล่งนํ้า พื้นที่อื่นๆ และพื้นที่ปลู กยางพารา และในปี 2558 ซึ่ งทําการจําแนกออกเป็ น
4 ประเภทด้ว ยกัน ประกอบด้ว ย พื้ น ที่ ป่ าไม้ พื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราช่ ว งอายุ 7-13 ปี
พื้นที่ปลูกยางพาราช่ วงอายุ 14-20 ปี และพื้นที่ปลูกยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี เพื่อ
ศึ ก ษาการเปลี่ ย นแปลงการใช้ที่ ดินว่า ก่ อนที่ จะมี ก ารปลู ก ยางพาราในปี 2558 พื้นที่
ดังกล่าวในปี 2548 เคยเป็ นพื้นที่ที่เคยใช้ประโยชน์ประเภทใดมาก่อน โดยผลการจําแนก
การใช้ที่ดินปี 2548 พบว่า พื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชี ยงราย มีพ้ืนที่เกษตรมีพ้ืนที่
มาก รองลงมาเป็ นพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่อื่นๆ ส่ วนปี 2558 พบว่า พื้นที่ปลูกยางพาราช่วง
อายุ 7-13 ปี มีพ้นื ที่มากที่สุด รองลงมาคือ พื้นที่ปลูกยางพาราช่วงอายุ 14-20 ปี และพื้นที่
ปลูกยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี ตามลําดับ ซึ่ งในการจําแนกการใช้ที่ดินในการศึกษา
ครั้งนี้ ใช้วิธีและหลักการจําแนกที่คล้ายคลึงกับงานของศุภลักษณ์ หน้อยสุ ยะ (2552) ที่
ทํา การจํา แนกพื้ น ที่ ไ ร่ ห มุ น เวี ย นด้ว ยวิ ธี ก ารเชิ ง วัต ถุ โดยใช้ ภ าพถ่ า ยดาวเที ย มที่ มี
ความละเอียดจุดภาพต่างกัน ส่ วนชยกฤต ม้าลําพอง และคณะ (2554) ที่ได้ทาํ การจําแนก
พื้นที่ ปลู กลําไยและลิ้ นจี่ ด้วยวิธีการเชิ งวัตถุ และสุ ดา สุ วรรณชาตรี และคณะ (2555)
ที่ทาํ การศึกษาและพัฒนาวิธีการในการจําแนกช่วงชั้นอายุของต้นยางพาราจากภาพถ่าย
ดาวเทียมด้วยวิธีการจําแนกเชิงวัตถุ แต่จะแตกต่างกันเรื่ องของการกําหนดค่าพารามิเตอร์
ในส่ วนของค่ามาตราส่ วน รู ปร่ าง สี ค่าความอัดแน่น และความราบเรี ยบ ที่แตกต่างกัน
ออกไป ทั้งนี้ เนื่ องจากในงานวิจยั แต่ละชิ้ นมีวตั ถุประสงค์ในการจําแนกที่ แตกต่างกัน

156
ออกไป ซึ่ งในการกํา หนดค่ า พารามิ เ ตอร์ ต่ า งๆ ในแต่ ล ะงาน ควรมี ก ารกํา หนดให้
เหมาะสมกับการจําแนกการใช้ท่ีดินและขนาดของพื้นที่ศึกษา ซึ่ งในการกําหนดเงื่ อนไข
โดยใช้ ค่ า Layer Values (Mean, Standard deviation, Pixel-based, Neighbors), Texture
และ NDVI ในการสร้ างกฎเกณฑ์และเงื่ อนไขในการจําแนก ในงานชิ้ นนี้ ใช้เพี ย งแค่
ค่ า Layer Values เท่ า นั้ น ยัง ขาดการนํ า ค่ า Texture และ NDVI มาเป็ นเงื่ อ นไข
ประกอบการจําแนกเหมือนกับงานชิ้ นอื่น ส่ วนการตรวจสอบความถู กต้องของผลการ
จําแนกทําการตรวจสอบโดยอาศัยจุดตรวจสอบความถู กต้องจากการสํารวจภาคสนาม
พบว่า ในปี 2548 มีความถูกต้องคิดเป็ นร้อยละ 96.77 และปี 2558 มีความถูกต้องคิดเป็ น
ร้อยละ 98.33 ซึ่ งอยูใ่ นระดับที่ยอมรับได้ ซึ่ งแตกต่างจากงานของศุภลักษณ์ หน้อยสุ ยะ (2552)
และชยกฤต ม้าลําพอง และคณะ (2554) ที่ ทาํ การตรวจสอบความถู กต้องต้องด้วยวิธี
Error Matrix Based on Training and Test Area (TTA) Mark ซึ่ งเป็ นวิ ธี ก ารตรวจสอบ
ความถู ก ต้องที่ ท าํ การเปรี ย บเที ย บผลของการจํา แนกวัตถุ ภาพกับ ข้อมู ล ในพื้นที่ จริ ง
ทั้งนี้แล้ว วิธีการตรวจสอบความถูกต้องของผลการจําแนกครั้งนี้อาจมีความคลาดเคลื่อน
ในบริ เวณที่อยูน่ อกจุดตรวจสอบความถูกต้อง และจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้
ที่ดิน โดยอาศัยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการวิเคราะห์พบว่า พื้นที่ปลู กยางพารา
ส่ วนใหญ่ เดิ มเคยเป็ นพื้นที่ เกษตรมากที่ สุด รองลงมาเป็ นพื้นที่ ป่าไม้ และพื้นที่ อื่นๆ
ตามลําดับ ทั้งนี้ เนื่ องมาจากนโยบายการส่ งเสริ มการขยายพื้นที่ปลู กยางพาราเข้ามาใน
พื้นที่ภาคเหนือตอนบนในช่วงปี 2548 ซึ่ งอาจจะเป็ นปั จจัยหลักที่สาํ คัญในการขับเคลื่อน
เศรษฐกิ จ ที่ ส่ ง ผลก่ อ การเปลี่ ย นแปลงการใช้ที่ ดิ น ในพื้ น ที่ อ าํ เภอดอยหลวง ทํา ให้
เกษตรกรส่ วนใหญ่หนั มาปลูกพืชเศรษฐกิจโตเร็ วประเภทยางพาราแทนการปลูกพืชเดิม
ไม่วา่ จะเป็ น ข้าว ข้าวโพด ถัว่ เหลือง ลําไย และลิ้นจี่ เป็ นต้น เพราะนอกจากยางพาราจะ
เป็ นที่ตอ้ งการของตลาดแล้ว ยังให้ผลตอบแทนสู ง รวมถึงอาจส่ งผลดีทางด้านอาชี พ ทํา
ให้เกษตรกรมีอาชี พที่มน่ั คงและสามารถประกอบอาชี พเสริ มหลังการกรี ดยางพารา อีก
ทั้งการปลูกยางพารายังช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการกักเก็บคาร์ บอนและลดการเผาในการ
เตรี ยมพื้นที่ทาํ การเกษตรแบบเดิมที่เคยมีในพื้นที่อีกด้วย

157
6.2.2 การประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย
CASA-biosphere model และศึ กษาความสัมพันธ์ ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บ อน
เหนือพื้นดินกับปั จจัยทางกายภาพในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

ในการประเมิ นการกักเก็บคาร์ บ อนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ ายดาวเที ยม


ทําการประเมินโดยใช้ CASA-biosphere model ซึ่ งเป็ นโมเดลที่ สร้ างขึ้ นมาเพื่อจําลอง
รู ปแบบการตรึ งคาร์ บอนหรื อการผลิ ตชี วมวลรายเดื อนของพืช โดยคํานวณจากค่ารังสี
ดวงอาทิตย์ (S) ค่าสัดส่ วนของรังสี ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงของพืชที่ส่วนเรื อนยอด
ของพื ช สามารถดู ดกลื นเอาไว้ไ ด้ (FPAR) ค่ า คงที่ ข องประสิ ท ธิ ภาพการใช้แสง (ε *)
ค่า อุ ณหภู มิ (T) และความชื้ นในดิ น (W) โดยใช้ภาพดาวเที ย ม Landsat-8 OLI ซึ่ ง ผล
การศึกษาพบว่า ยางพาราช่ วงอายุ 14-20 ปี มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ น
มากที่สุด รองลงมาคือ ยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี และมากกว่า 20 ปี โดยมีปริ มาณการกัก
เก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมเท่ากับ 0.3524, 0.3312 และ
0.3219 กรัมคาร์ บอนต่อตารางเมตร ซึ่ งจะเห็ นได้ว่า ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดิ นของยางพาราในแต่ละช่วงอายุไม่ต่างกันมาก เนื่ องจากข้อมูลตัวแปรที่ใช้ในการ
ประเมินเป็ นค่าจากข้อมูลเดียวกัน จะแตกต่างกันตรงค่าสะท้อนของภาพเท่านั้น ทําให้
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราในแต่ละช่วงอายุมีค่าใกล้เคียงกัน
ซึ่ ง มี วิธี ก ารประเมิ นการกัก เก็บ คาร์ บ อนคล้ายกับ งานของ Christopher S. Potter et al.
(1993) ที่ ไ ด้ท ํา การศึ ก ษาการประเมิ น ผลผลิ ต ของระบบนิ เ วศบนบกจากภาพถ่ า ย
ดาวเทียม NOAA (AVHRR) เพื่อประเมินหาผลผลิตของระบบนิ เวศบนบก โดยใช้ขอ้ มูล
อุณหภูมิ นํ้าฝนราย รังสี ดวงอาทิตย์ ค่าดัชนีพืชพรรณ ความหนาแน่นของคาร์ บอนในดิน
แ ล ะ ค ว า ม ห น า แ น่ น ข อ ง ไน โ ต ร เ จ น ใ น ดิ น จ าก ทั่ ว โ ล ก ร า ย เ ดื อ น โ ด ย ใ ช้
CASA-biosphere model เพือ่ จําลองรู ปแบบการตรึ งคาร์ บอน ซึ่งพบว่า ผลผลิตหลักสุ ทธิ
ของโลกทั้งหมดเท่ากับ 48 PgC yr-1 และ Lolupiman, T (2015) ที่ได้ศึกษาการประเมินผล
ผลิตปฐมภูมิสุทธิ เหนื อพื้นดินด้วยแบบจําลอง Casa สําหรับสวนป่ าชายเลนอายุ 10, 12,
14 ปี บริ เวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุง้ กระเบน จังหวัดจันทบุรี แต่มีความแตกต่างกัน
กับ การศึ ก ษาครั้ งนี้ ใ นเรื่ องของผลการศึ ก ษา ซึ่ ง พบว่า ปริ ม าณคาร์ บ อนกัก เก็ บ ของ
สวนป่ าชายเลนเพิ่มขึ้นตามอายุของสวนป่ าชายเลน นอกเหนือจากการประเมินคาร์ บอน
กักเก็บเหนือพื้นดินของยางพาราแล้ว ในการศึกษาครั้งนี้ยงั ได้อาศัยฐานข้อมูลพื้นที่ป่าไม้
ที่ได้จากการจําแนกในบทที่ 3 ร่ วมกับโปรแกรมทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อ
ประเมิ น หาปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเฉลี่ ย เหนื อ พื้ น ดิ น ของพื้ น ที่ ป่ าไม้อี ก ด้ ว ย

158
ซึ่ งพบว่า พื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวงมีปริ มาณคาร์ บอนกักเก็บเฉลี่ยเหนื อพื้นดิน
น้อยกว่า พื้นที่ ป ลู ก ยางพารา ซึ่ ง แตกต่ า งกับ งานของ Hairiah et al. (2001) ที่ ก ล่ า วว่า
การปลู กยางพาราสามารถกักเก็บคาร์ บอนได้ปีละไม่น้อยกว่า 5.32 ตันคาร์ บอนต่อไร่
โดยยางพาราที่ มีอายุ 25 ปี จะสามารถกักเก็บคาร์ บอนได้ถึง 43 ตันคาร์ บอนต่อไร่ ซึ่ ง
น้อยกว่าป่ าสมบูรณ์ ที่สามารถกักเก็บคาร์ บอนได้มากถึง 48.96 ตันคาร์ บอนต่อไร่ ทั้งนี้
อาจเนื่ องมาจากในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนกักเก็บเฉลี่ ยเหนื อพื้นดิ นจากภาพ
ดาวเทียมในครั้งนี้ ทําการประเมินในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งเป็ นช่วงที่ป่าไม้ผลัดใบ ทําให้
มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนกักเก็บเฉลี่ยเหนือพื้นดินมากกว่าพื้นที่ป่าไม้

ส่ ว นการประเมิ น ปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจากข้อ มู ล


ภาคสนาม ทํา การคํา นวณโดยใช้สมการแอลโลเมตรี ข อง Ogino et al. (1967) อ้า งใน
(Saengruksawong. C et al., 2012) ซึ่ งเป็ นสมการที่เหมาะสมสําหรับการประเมินค่ามวล
ชีวภาพเหนื อพื้นดิ นของพืชพรรณในประเทศไทย โดยอาศัยเส้นผ่าศูนย์กลางและความ
สู งของต้นไม้ในการคํานวณ ซึ่ งหลังจากที่ได้ค่ามวลชี วภาพแล้ว ทําการหาปริ มาณการ
กักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพารา โดยใช้ค่าสัดส่ วนปริ มาณคาร์ บอนของ IPPC
ซึ่ งมีค่าเท่ากับ 0.47 ซึ่ งค่าดังกล่าวใกล้เคียงกับสัดส่ วนของคาร์ บอนพรรณไม้ในประเทศ
ไทย (กัมปนาท ดีอุดมจันทร์ และคณะ, 2554) ซึ่ งพบว่า พื้นที่อาํ เภอดอยหลวง มีปริ มาณ
การกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้ นดิ นของยางพาราช่ วงอายุ 7-13 ปี , 14-20 ปี และมากกว่า
20 ปี เท่ากับ 22.76 , 45.36 และ 123.24 เมกะกรั มต่อเฮกแตร์ (3,640.92, 7,257.74 และ
19,718.66 กิโลกรัมต่อไร่ ) ตามลําดับ ซึ่งคล้ายคลึงกับงานของ อารักษ์ จันทุมา และคณะ
(2546) ที่ได้ทาํ การหาปริ มาณสารคาร์ บอนใช้วิธีการหามวลชีวภาพของต้นยางพารา ซึ่ ง
ยางพาราอายุ 9, 12, 18 และ 25 ปี สามารถกักเก็บสารคาร์ บอนได้ 8.32, 11.46, 15.44 และ
22.39 เมตริ กตันต่อไร่ ตามลําดับ ส่ วน Saengruksawong. C et al. (2012) ได้ทาํ การศึกษา
การเติ บโต ผลผลิ ตชี วภาพ และการกักเก็บคาร์ บอนของสวนยางพารา ประกอบด้วย
ยางพาราอายุ 1, 5, 10, 15 และ 20 ปี ที่ปลู กบน 2 ชุ ดดิน ได้แก่ ชุ ดโพนพิสัยและจักราช
พบว่า ยางพาราจะมีการเจริ ญเติบโตรวดเร็ วมากในช่วงอายุ 1-15 ปี และช้าลงเมื่อมี อายุ
15-20 ปี โดยยางพาราบนชุ ดดิ นโพนพิสัยมีการกักเก็บคาร์ บอนในระบบนิ เวศเพิ่มขึ้น
ตามอายุเท่ากับ 22.52, 47.47, 52.65, 101.35 และ 182.16 เมกกะกรัมต่อเฮกแตร์ และสวน
ยางพาราที่ ป ลู ก บนชุ ดดิ นจัก ราชมี ก ารกัก เก็ บ คาร์ บ อนเท่ า กับ 18.52, 65.89, 128.27,
202.03 และ 354.39 เมกกะกรัมต่อเฮกแตร์ ตามลําดับ ซึ่ งแสดงให้เห็นว่า ปริ มาณมวล
ชีวภาพและคาร์ บอนกักเก็บของยางพาราจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ

159
การศึกษาครั้งนี้ ยังพบข้อสังเกตระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของ
ยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมและจากข้อมูลภาคสนาม โดยปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอน
เหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมจะมีมากที่สุดในยางพาราช่วงอายุ 14-20
ปี รองลงมาเป็ นยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี และมากกว่า 20 ปี แสดงให้เห็นว่าปริ มาณการ
กักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ
และลดลงในยางช่วงอายุมากกว่า 20 ปี ซึ่ งแตกต่างจากปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดินของยางพาราจากข้อมูลภาคสนามที่มีปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดิ นของ
ยางพารามากขึ้นตามช่ วงอายุ ทั้งนี้ อาจเนื่ องมาจากต้นยางพาราช่ วงอายุมากกว่า 20 ปี
ในบางส่ วนของแปลงสํารวจ ได้มีการถูกโค่นและยืนต้นตาย ซึ่ งอาจเป็ นสาเหตุที่ทาํ ให้มี
ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นจากภาพถ่ายดาวเทียมน้อยกว่ายางพาราในช่วง
อายุอื่นเล็กน้อย และจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดินจากภาพถ่ายดาวเทียมกับข้อมูลภาคสนาม พบว่า ยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี
มีความสัมพันธ์มากที่สุด รองลงมาเป็ นยางพาราช่วงอายุ 7-13 ปี และยางพาราช่วงอายุ
14-20 ปี ตามลําดับ

ส่ วนการศึ ก ษาความสั ม พันธ์ ร ะหว่า งปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนของยางพาราจาก


ภาพถ่ายดาวเทียมกับปั จจัยทางกายภาพ พบว่า ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเฉลี่ ยเหนื อ
พื้ น ดิ น มี ม ากที่ สุ ดในพื้ น ที่ ที่ มี ค วามสู ง 401-500 เมตรจากระดั บ ทะเลปานกลาง
ในชุ ดดินหนองมด และพื้นที่ที่มีความลาดชันร้อยละ 6-8 ซึ่ งปั จจัยทางด้านความสู งของ
ภูมิประเทศมีความสอดคล้องกับ สถาบันวิจยั ยาง กรมวิชาการเกษตร (2531) ที่กล่าวว่า
พื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกยางพาราต้องเป็ นพื้นที่ที่มีระดับความสู งจากระดับนํ้าทะเล
ไม่เกิน 600 เมตร อย่างไรก็ตาม ปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนของยางพาราไม่ได้ข้ ึนอยูก่ บั
ปั จจัยทางกายภาพเพียงอย่างเดี ยว ทั้งนี้ยงั ขึ้นอยูก่ บั ปั จจัยทางด้านอื่นๆ อีก ไม่วา่ จะเป็ น
อายุ ย างพารา พัน ธุ์ ย างพารา ความชื้ น ในดิ น ปริ มาณนํ้าฝน อุ ณ หภู มิ ที่ เ หมะสม
รวมถึงการดูแลเอาใจใส่ ของเกษตรกรที่ส่งผลต่อการเจริ ญเติบโตของต้นยางอีกด้วย

6.2.3 การพัฒ นาโมเดลที่ เ หมาะสมในการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของ
ยางพาราด้วยภาพดาวเทียม

หลังจากที่ได้ทาํ การประเมินปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจาก


ภาพถ่ายดาวเทียมแล้ว ผูว้ ิจยั สนใจที่จะศึกษาการพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมสําหรั บการ

160
ประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพดาวเทียม เพื่อให้ได้มาซึ่ ง
โมเดลที่ใช้ช่วงคลื่ นของภาพดาวเทียมที่จะสามารถประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดิ นของยางพาราจากภาพดาวเที ย มได้ง่า ยและรวดเร็ วมากขึ้นและมีค วามถู กต้อง
ใกล้เคียงกับโมเดลเดิม จึงได้ทาํ การพัฒนาโมเดลที่เหมาะสมในการประเมินการกักเก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราด้วยภาพดาวเทียมขึ้นมาใหม่ โดยหาความสัมพันธ์
ระหว่างปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนือพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมด้วย
CASA-biosphere model ที่ผ่านการปรับแก้แล้วกับค่าการสะท้อนของภาพดาวเที ยมแต่
ละแบนด์ ทั้ง หมด 8 แบนด์ ด้ ว ยกัน ประกอบด้ ว ย แบนด์ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 9
ส่ วนแบนด์ที่ 8, 10 และ 11 ไม่นาํ มาพิจารณา เนื่ องจากเป็ น Panchromatic และช่วงคลื่น
ความร้ อน ทําการทดสอบหาความสัม พันธ์ ที่ดีที่สุดจากการสร้ างจุ ดตัวอย่า งในพื้นที่
ศึกษาในระยะห่ างที่เท่ากันทุกจุด ซึ่ งแบ่งออกเป็ น 3 ระยะ คือ ระยะ 1,000 เมตร, 1,500
เมตร และ 2,000 เมตร ซึ่ งพบว่า แบนด์ 4 และแบนด์ 2 ของระยะห่ าง 1,000 เมตร มีค่า
ความสัมพันธ์มากที่สุด คือ R2 เท่ากับ 0.7713, 0.6910 จึงทําการพัฒนาโมเดลขึ้นมาใหม่
โดยอาศัยวิธีการทางสถิ ติ ซึ่ งเป็ นการวิเคราะห์ขอ้ มูลที่ประกอบด้วย 2 ตัวแปรที่เรี ยกว่า
สหสัมพันธ์ (Correlation) และสามารถคํานวณออกมาเป็ นตัวเลข เรี ยกว่า สัมประสิ ทธิ์
สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ซึ่ งแสดงได้ดงั รู ปแบบสมการความสัมพันธ์เชิ ง
เส้ น ตรง Y = 170.828 – 792.368 (b4) และหลัง จากที่ ไ ด้ ท ํา การทดลองใช้ ส มการ
ความสั ม พัน ธ์ ดัง กล่ า วพบว่า ผลการประเมิ น การกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของ
ยางพาราด้ว ยโมเดลที่ ไ ด้พ ัฒ นาขึ้ น มานั้น มี ค วามถู ก ต้อ งใกล้เ คี ย งกับ สมการเดิ ม
ซึ่ งคล้ายคลึ งกับจิระ ปรั งเขี ยว และคณะ (2552) ที่ ได้ทาํ การศึกษาความสั มพันธ์ ข อง
ผลผลิตมวลชี วภาพเหนื อพื้นดินและหาแบบจําลองเพื่อคาดเดาผลผลิตมวลชีวภาพเหนือ
พื้นดิ นเฉลี่ ยของพืชทั้งหมดที่ปลู กในพื้นที่ ป่ากับผลผลิ ตมวลชี วภาพที่ ได้จากการเก็บ
ข้อมูลภาคสนาม โดยสามารถสร้างแบบจําลองในการประเมินความอุดมสมบูรณ์แต่ละ
ระดับ ได้แก่ ผลผลิตมวลชี วภาพเหนื อพื้นดินระดับมากที่สุด ผลผลิตมวลชี วภาพเหนื อ
พื้นดิ นระดับมาก ผลผลิ ตมวลชี วภาพเหนื อพื้นดิ นระดับน้อย และผลผลิ ตมวลชี วภาพ
เหนื อพื้นดินระดับน้อยที่สุด โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.9940, 0.9898 และ 0.9849 ตามลําดับ
ซึ่ งในการศึกษาครั้ งนี้ เป็ นการพัฒนาโมเดลขึ้นมาใหม่จากผลการประเมิ นการกักเก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมที่ผ่านการปรับแก้จากสมการ
ความสัมพันธ์ที่ดีที่สุดของยางพาราช่วงอายุมากกว่า 20 ปี เท่านั้น หากมีการพัฒนาโมเดล
ที่ เหมาะสมกับ ยางพาราตามช่ วงอายุ อาจทํา ให้ส ามารถนําโมเดลดัง กล่ าวไปใช้การ

161
ประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียมกับยางพารา
ได้หลากหลายอายุมากยิง่ ขึ้น

6.3 ประโยชน์ ทไี่ ด้ รับจากการศึกษา

6.3.1 ทําให้ทราบถึ งรู ปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน 10 ปี ย้อนหลังของพื้นที่อาํ เภอดอย


หลวง จังหวัดเชี ยงราย คื อ ในปี 2548 ก่อนที่ จะมี การส่ งเสริ มการปลู กยางพาราและปี
2558 หลังจากที่ภาครัฐได้มีการส่ งเสริ มการปลูกยางพาราแล้ว ว่าพื้นที่ดงั กล่าวเคยเป็ น
การใช้ที่ดินประเภทใด ก่อนที่จะเป็ นพื้นที่ปลูกยางพารา

6.3.2 ทํา ให้ ท ราบถึ ง ปริ ม าณการกัก เก็ บ คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราจากภาพถ่ า ย
ดาวเทียมและจากการสํารวจภาคสนาม รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริ มาณการกักเก็บ
คาร์ บอนเหนื อพื้ นดิ นของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเที ย มกับ ปั จจัย ทางกายภาพ และ
ความสามารถในการกักเก็บคาร์ บอนระหว่างยางพารากับป่ าไม้ในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง
จังหวัดเชียงรายในช่วงเวลาที่ทาํ การศึกษา

6.3.3 ทําให้ได้มาซึ่ งโมเดลที่เหมาะสมสําหรับการประเมิ นการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้ นดิ น


ของยางพาราจากภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่ งเป็ นทางเลือกในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอน
เหนื อพื้นดินของยางพาราในอนาคต โดยสามารถลดระยะเวลาในการประเมิน อีกทั้งยัง
สามารถประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราได้ใกล้เคียงกับโมเดลเดิม
อีกด้วย

6.3.4 หน่ วยงานที่เกี่ ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถนําผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ เพื่อ


เป็ นแนวทางในการวางแผน ปรับปรุ ง แก้ไข และบริ หารจัดการทรัพยากรยางพาราได้ดี
มากยิ่งขึ้น รวมถึงมีทางเลือกใหม่ในการได้มาซึ่งข้อมูลการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิน
ของยางพาราจากภาพดาวเทียมแทนวิธีการออกสํารวจภาคสนามเพื่อประเมินการกักเก็บ
คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราแบบเดิ ม ที่ ใ ช้ท้ ัง งบประมาณ ระยะเวลา และ
ทรัพยากรบุคคลอีกด้วย

6.3.5 งานชิ้นนี้ เป็ นวิธีการนําร่ องที่จะนําไปประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของพืช


ชนิ ดอื่น เพื่อที่จะเป็ นบรรทัดฐานในการเปรี ยบเทียบปริ มาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อ
พื้นดินของพืชชนิดอื่นต่อไป

162
6.4 ปัญหาและอุปสรรค

ปั ญหาและอุปสรรคครั้ งนี้ ส่ วนใหญ่เป็ นปั ญหาด้านการเข้าถึ งพื้นที่ โดยในการออกสนามเพื่อเก็บ


ข้อมูลจุดตัวอย่างนั้นไม่สามารถเก็บข้อมูลจุดยางพาราให้กระจายทัว่ พื้นที่ศึกษาได้ เนื่องจากพื้นที่ปลูก
ยางพาราในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายส่ วนใหญ่ เป็ นพื้นที่ที่มีความลาดชันสู งและเข้าถึ ง
ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ ตาํ บลโชคชัย ซึ่ งเข้าถึ งยากกว่าตําบลอื่ น ประกอบกับเกษตรกรผูป้ ลูก
ยางพาราบางส่ วน ไม่ ส ามารถระบุ อายุ ข องยางพาราได้ชัด เจน อี ก ทั้ง ข้อมู ล จุ ดยางพาราในพื้ น ที่
อําเภอดอยหลวงไม่ต่อเนื่ องกัน กล่าวคือ แปลงตัวอย่างพื้นที่ปลูกยางพาราในช่วงอายุ 7-14 ปี มีครบ
ทุกช่วงอายุ แต่แปลงตัวอย่างพื้นที่ปลูกยางพาราในช่วงอายุ 14-20 ปี มีแปลงตัวอย่างอายุมากที่สุดเพียง
17 ปี เท่านั้น ส่ วนแปลงตัวอย่างพื้นที่ปลูกยางพาราในช่วงอายุมากกว่า 20 ปี มีเพียงแปลงตัวอย่างพื้นที่
ปลูกยางพาราอายุ 26 ปี เท่านั้น ทําให้ได้ขอ้ มูลแปลงตัวอย่างในทั้ง 2 ช่วงอายุน้ นั ไม่ครบทุกอายุ ซึ่ งอาจ
ส่ งผลต่อการเป็ นตัวแทนของจุดตัวอย่างยางพาราที่มีอายุไม่หลากหลายเท่าที่ควร รวมถึงปั ญหาการใช้
เครื่ องมือในการวัดความสู งของต้นยางพาราที่ใช้เครื่ องวัดระยะเลเซอร์ ซึ่ งทําการวัดในตอนกลางวัน
ทําให้มีแสงรบกวนในระหว่างทําการวัด

6.5 ข้ อเสนอแนะ

6.5.1 ในศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่อาํ เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายครั้งนี้ ได้


ทํา การจํา แนกการใช้ป ระโยชน์ ท่ี ดินใน 2 ช่ วงเวลาด้วยวิธี การเชิ ง วัตถุ โดยภาพถ่ า ย
ดาวเที ยมที่ ใช้เป็ นภาพที่ มีความละเอี ยดเชิ งคลื่ นที่ ต่างกัน โดยในปี 2548 ใช้ภาพถ่า ย
ดาวเทียม Landsat-5 TM ส่ วนปี 2558 ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 OLI ซึ่ งอาจส่ งผล
ต่อการแบ่ ง วัตถุ ภ าพ สํา หรั บ ผูท้ ี่ ส นใจที่ จะศึ ก ษาควรใช้ภาพถ่ า ยดาวเที ย มที่ มี ค วาม
ละเอียดเชิงคลื่นเดียวกัน

6.5.2 ในการตรวจสอบความถู กต้องของผลการจําแนกของการศึกษาครั้ งนี้ ผูว้ ิจยั ได้ทาํ การ


ตรวจสอบความถู ก ต้อ งโดยใช้ จุ ด ตรวจสอบความถู ก ต้อ งที่ ท ํา การลงพื้ น ที่ สํ า รวจ
ภาคสนามเก็ บ ข้อมู ล ซึ่ ง ได้ท าํ การเก็บ ข้อมู ลในรู ป แบบของจุ ดกึ่ ง กลางแปลงสํา รวจ
เท่านั้น ซึ่ งการตรวจสอบความถู กต้องของผลการจําแนกในบริ เวณนอกเหนื อจากจุ ด
ตรวจสอบความถูกต้อง อาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้ รวมถึงจุดตรวจสอบความถูกต้อง
ของข้อมูลที่ได้มา อาจไม่กระจายทัว่ พื้นที่ศึกษาเท่าที่ควร เนื่องมาจากอุปสรรคการเข้าถึง
พื้นที่ ในการศึกษาครั้งต่อไป ควรทําการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ตรวจสอบความถูกต้องของผล

163
การจําแนกในรู ปแบบของพื้นที่และทําการเก็บข้อมูลให้กระจายทัว่ พื้นที่ศึกษา เพื่อให้ผล
การตรวจสอบความถูกต้องของผลการจําแนกมีความถูกต้องและน่าเชื่ อถือมากยิง่ ขึ้น

6.5.3 ในการประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราด้วยภาพถ่ายดาวเทียม เป็ น


การใช้โมเดลที่ใช้ในการประเมินพืชพรรณในเขตร้อน ซึ่ งอาจจะไม่ใช่โมเดลที่ประเมิน
คาร์ บ อนเหนื อ พื้ น ดิ น ของยางพาราโดยตรง หากมี ผู ส้ นใจที่ จ ะศึ ก ษาในประเด็ น ที่
เกี่ ย วข้อง อาจทํา การศึ ก ษาเปรี ย บเที ยบการกักเก็ บคาร์ บ อนจากโมเดลหรื อสมการที่
เหมาะสมสําหรับยางพาราโดยตรง รวมถึ งทําการเปรี ยบเทียบการกักเก็บคาร์ บอนจาก
แบบจําลองที่หลากหลายมากขึ้น หรื อเปรี ยบเทียบปริ มาณการการกักเก็บคาร์ บอนจาก
พืชพรรณต่างชนิด เพื่อเป็ นแนวทางในการศึกษาต่อไปในอนาคต

6.5.4 ในขั้นตอนของการวัดความสู งของต้นยางโดยใช้เครื่ องมือวัดระยะทางด้วยเลเซอร์ แบบ


ดิ จิตอล อาจยังมีความคลาดเคลื่ อนของข้อมูลเล็กน้อย เนื่ องจากทําการวัดความสู งของ
ต้นยางพาราในเวลากลางวันมี การรบกวนของแสง ทําให้มองไม่เห็ นแสงเลเซอร์ จาก
เครื่ อ งวัด ในการศึ ก ษาครั้ งนี้ จึ ง ทํา แก้ไ ขปั ญ หาดัง กล่ า วโดยทํา การวัด ความสู ง จาก
กึ่งกลางของต้นยางพารา หากมีผสู ้ นใจที่จะศึกษาในครั้งต่อไป ควรทําการวัดในช่วงเวลา
เช้าหรื อช่วงเย็น เพื่อลดปั ญหาการรบกวนของแสง หรื ออาจจะศึกษาวิธีการวัดที่มีความ
ถูกต้องแม่นยํามากกว่าการศึกษาครั้งนี้

6.5.5 ยางพารานอกจากจะสามารถสร้างรายได้ให้กบั เกษตรกรแล้ว ยังเป็ นพืชเศรษฐกิจโตเร็ ว


ที่สนับสนุ นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกด้วย งานวิจยั ชิ้นนี้ ถื อเป็ นทางเลื อกที่ดีทางหนึ่ งใน
การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดินของยางพาราในอนาคต เนื่ องจากเป็ นวิธีที่
สามารถลดปั ญหาทางด้านอุปสรรคการเข้าถึงทางพื้นที่ในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก รวมถึงลด
การตัด ต้น ยางพาราในการประเมิ น ปริ ม าณคาร์ บ อนของยางพาราด้ว ยวิ ธี ก ารเดิ ม
หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ ต่อไป

164
บรรณานุกรม

กมลพร อยู่ ส บาย. 2555. “ป่ าไม้ก ับ การดู ด ซั บ คาร์ บ อน”. เว็บ ไซต์ http://www.pcd.go.th/public
/Publications/print_water.cfm? task=Water_Report55 20 มีนาคม 2557

กัมปนาท ดีอุดมจันทร์, ลดาวัลย์ พวงจิตร, เชาวลิต ศิลปะทอง, อมรชัย ประกอบยา และยุทธภูมิ โพธิ รา. 2552.
“การประเมินการกักเก็บคาร์ บอนในพื้นที่ป่าด้วยการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ กรณี ศึกษา
บริ เวณพื้ น ที่ ลุ่ ม นํ้าแม่ แ จ่ ม ตอนล่ า ง”. เว็บ ไซต์ http://www.conference.tgo.or.th/download
/2011/.../12_r.pdf 8 กุมภาพันธ์ 2557

เกษราภรณ์ อุ่นเกิด. 2557. “การประเมินมูลค่าคาร์ บอนกักเก็บในไม้ยนื ต้นของป่ าชุมชนเขาวง จังหวัดชัยภูมิ”.


ไฟล์ ข ้ อ ความ file:///C:/Users/Windows/Downloads/Fulltext%231_212817%20(4).pdf
9 ธันวาคม 2557

จิ ร ะ ปรั ง เขี ย ว, ชยกฤต ม้า ลํา พอง, อริ ศ รา เจริ ญ ปั ญ ญาเนตร, ศราวุ ธ พงษ์ล้ ี รั ต น์ และพงศ์ส าน
คํา นนท์ค อม. 2552. “การบู ร ณาการข้อ มู ล การรั บ รู ้ จ ากระยะไกลและแบบจํา ลอง 3PGs
ในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่า จังหวัดเชียงใหม่”. วารสารสมาคมสํารวจข้อมูล
ระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์ แห่งประเทศไทย 10(2):23-3.

ชยกฤต ม้าลําพอง, พงษ์อินทร์ รักอริ ยะธรรม, ปุริม ศรี สวัสดิ์ และศรัณย์ จิตอารี . 2554. “การวิจยั การ
ใช้พลังงานทดแทน: การพัฒนาเทคนิ คภู มิสารสนเทศในการจําแนกพืชเศรษฐกิ จด้วยข้อมูล
ภาพดาวเที ย มธี อ อส กรณี ศึ ก ษาสวนลํา ไยและลิ้ น จี่ ในเขต 8 จัง หวัดภาคเหนื อ ตอนบน”.
ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์ , วาสนา พุฒกลาง, อัครเดช นังตะลา และปวีณา บุญโยธา. 2550. “การวิเคราะห์
พื้ น ที่ ป ลู ก ยางพาราในลุ่ ม นํ้ าโขงด้ ว ยข้ อ มู ล ดาวเที ย ม”.เว็บไซต์ http://negistda.kku.ac.th/
research/research23/paper_re23.pdf 8 กุมภาพันธ์ 2557

165
นวลปราง นวลอุไร. 2548. “การเปรี ยบเทียบค่าดัชนีพ้นื ที่ใบ มวลชีวภาพและปริ มาณคาร์ บอนสะสม
ที่อยูเ่ หนื อพื้นดินของระบบนิ เวศป่ าจากการสํารวจด้านป่ าไม้และการรับรู ้จากระยะไกล บริ เวณ
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประเทศไทย”. เว็บไซต์ http://www.thaithesis.org/detail.php?id
=1082548000787 10 กุมภาพันธ์ 2557

บัณฑู ร เศรษฐศิ โรตม์, ระวี ถาวร, ลดาวัล ย์ พวงจิ ตร และสมหญิ ง สุ นทรวงษ์. 2554. “เรดด์พ ลัส:
ประเด็นร้อนในเวทีเจรจาโลก แนวคิดและรู ปแบบที่เหมาะสมสําหรับสังคมไทย”. กรุ งเทพฯ:
สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่ งแวดล้อม

ปรี ชา ล่ามช้าง, วัฒนาวดี ศรี วฒั นพงศ์, นพดล เล็กสวัส, ลําปาง แสนจันทร์ , อินทิรา ยินดียุทธ และ
พิ ษ ณุ เจี ย วคุ ณ . 2545. “สถิ ติ สํ า หรั บ สั ง คมศาสตร์ 1”. ภาควิ ช าสถิ ติ คณะวิ ท ยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พงษ์ ศ ัก ดิ์ เกิ ด วงศ์ บ ัณ ฑิ ต . 2554. “ยางพารากับ การเปลี่ ย นแปลงภู มิ อ ากาศของโลก”. เว็บ ไซต์
http://www.jgsee.kmutt.ac.th/greenhouse/research/research5.php 8 กุมภาพันธ์ 2557

มู ล นิ ธิ สื บนาคะเสถี ย ร. 2555. “รายงานสาธารณะ สถานการณ์ ป่ าไม้ ไ ทย 2555”. เว็ บ ไซต์


http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=927:seubnews&cati
d=5:2009-10-07-10-58-20&Itemid=14 9 กุมภาพันธ์ 2557

ระวี เจียรวิภา, สุ รชาติ เพชรแก้ว, มนตรี แก้วดวง และวิทยา พรหมมี. 2555. “การประเมิ นการเก็บ
กั ก ค า ร์ บ อ น แ ล ะ ร า ย ไ ด้ จ า ก ก า ร ช ด เ ช ย ค า ร์ บ อ น ใ น ส ว น ย า ง พ า ร า ” .
เว็บไซต์www.sci.buu.ac.th/research/.../2555.../2555-02-10.pdf 8 กุมภาพันธ์ 2557

รัตนา ลักขณาวรกุล, ภาณุ มาศ ลาดปาละ, อลงกต แก้วรุ่ งโรจน์, ปราโมทย์ ชิ ตทรงสวัสดิ์ และกฤติกา
แก้ ว พู ล ศรี . 2555. “การเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ และเรดด์ พ ลั ส ”. กรุ งเทพฯ:
ส่ วนสิ่ งแวดล้อมป่ าไม้ สํานักวิจยั การอนุ รักษ์ป่าไม้ และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่ งชาติสัตว์ป่า
และพันธุ์พืช

ศุภลักษณ์ หน้อยสุ ยะ. 2552. “การจําแนกพื้นที่ไร่ หมุนเวียนด้วยวิธีเชิ งวัตถุ ”. การค้นคว้าแบบอิสระ


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

165
สถาบัน วิ จ ัย ยาง กรมวิ ช าการเกษตร. 2531 “พื้ น ที่ เ หมาะสมสํ า หรั บ การปลู ก ยาง”. เว็ บ ไซต์
http://www.doa.go.th/rrc/nongkhai/index.php/component/content/article/101 11 เมษายน 2557

สาพิศ ดิ ลกสัมพันธ์ , จงรั ก วัชริ นทร์ รัตน์ และธี ระพงศ์ ชุ มแสงศรี . 2553. “การประเมิ นการกักเก็บ
คาร์ บอนใ นมวล ชี วภาพของไม้ สั ก ณ ส วนป่ าทองผาภู มิ จั ง หวั ด ก าญจนบุ รี ” .
เ ว็ บ ไ ซ ต์ http://www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch54/GroupEnvironment/14-
Sapit_Dil/template.html
10 กุมภาพันธ์ 2557

สุ ขี บุญสร้าง และวันชัย อรุ ณประภารัตน์. 2554. “การประมาณการกักเก็บคาร์ บอนเหนื อพื้นดิ นของ


ป่ าไม้ ด้วยเทคนิ ค การสํา รวจระยะไกลบริ เ วณเขตรั ก ษาพัน ธุ์ สั ตว์ป่ าแม่ ตื่ น จัง หวัดตาก”.
เ ว็ บ ไ ซ ต์ http://frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/20140514_131933.pdf
24 พฤษภาคม 2557

สุ ดา สุ วรรณชาตรี , เกริ กชัย ทองหนู และเชาวน์ ยงเฉลิมชัย. 2555. “การพัฒนาวิธีการจําแนกเชิ งวัตถุ


ข อ ง ช่ ว ง ชั้ น อ า ยุ ต้ น ย า ง พ า ร า จ า ก ภ า พ ถ่ า ย ด า ว เ ที ย ม ธี อ อ ส ” . ก รุ ง เ ท พ ฯ :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ . สํานักงานคณะกรรมการการอุ ดมศึ กษา. กระทรวงศึกษาธิ การ.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ . กระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี . กระทรวง
ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้อ ม. กระทรวงเทคโนโลยี ส ารสนเทศและการสื่ อ สาร.
สํานักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั : 410-417

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2555. “สถิติการเกษตรของประเทศไทย”.


เว็บไซต์ http://www.rubbercenter.org/files/rtec/area-RTEC.pdf 8 กุมภาพันธ์ 2557

อภินนั ท์ ขันธิ ราช. 2545. “การประยุกต์ใช้ขอ้ มูลสํารวจระยะไกลในการจําแนกพื้นที่ป่าไม้ และการ


ประมาณมวลชี วภาพป่ าไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทันห้วยสําราญ จังหวัดสุ รินทร์ ”.
กรุ งเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .

อารั ก ษ์ จัน ทุ ม า, ธี ร ชาติ วิ ชิ ต ชลชัย , พิ ศ มัย จัน ทุ ม า, สุ จิ น ต์ แม้น เหมื อ น, วัน เพ็ญ พฤกษ์วิ ว ฒ
ั น์,
พนัส แพชนะ, สว่างรัตน์ สมนาค, พิบูลย์ เพ็ชรยิ่ง และสิ ริวตั ร เต็มสงสัย. 2550. “การเก็บรักษา
ก๊ าซคาร์ บอนในสวนยาง”. เว็ บไซต์ http://www.geocities.ws/oard6/Data/System_Research/13022549.pdf
8 กุมภาพันธ์ 2557

166
องค์การบริ หารจัดการก๊าซเรื อนกระจก องค์การมหาชน. 2554. “คู่มือศักยภาพของพรรณไม้ สําหรับ
ส่ ง เ ส ริ ม ภ า ย ใ ต้ โ ค ร ง ก า ร ก ล ไ ก ก า ร พั ฒ น า ที่ ส ะ อ า ด ภ า ค ป่ า ไ ม้ ” .
เว็ บไซต์ http://www.conference.tgo.or.th/download/tgo_main/publication/ARFR_Guideline/AR
FR.pdf 15 มกราคม 2557

Christopher, B. F., James, T. R,, and Carolyn, M. M. 1995. Global net primary production: Combining
ecology and remote sensing. Remote sensing environment, 51, 74-88. Website http://ac.els-
cdn.com/003442579400066V/1-s2.0-003442579400066Vmain.pdf?_tid=5d2f4360-3c51-
11e6-b04800000aacb360&acdnat=1467023263_af4ec153fbf04109e874c24ad9a1031c.
21 December 2015

Christopher, S. P., James, T. R., Christopher, B. F., Pamela, A. M., Peter, M. V., Harold A. M., and
Steven, A. K. 1993, Terrestrial Ecosystem Production: A process model based on global
satellite and surface data. Global Biochemical Cycles, 7,7,811-841

Geneletti, D and Gorte, B. G. H. (2003). A method for object-oriented land cover classification
combining Landsat TM data and aerial photographs. International Journal of Remote Sensing,
24, 1273–1286. Website, http://www.tandfonline.com/doi/pdf/10.1080/01431160210144499
21 December 2015

Hairiah, K., Sitompul, S., Noordwijk, M. and Palm, C. 2001. Methods for Sampling Carbon Stocks
Above and Below Ground. Website http://www.asb.cgiar.org/PDFwebdocs/LectureNotes
/ASB-LN-4B-Hairiah-et-al-2001-Methods-sampling-carbon-stocks.pdf 26 December 2015

Jefferson, F., Jean-Christophe, C., and Alan, D. Z. 2013. Swidden, rubber and carbon: Can REDD+
work for people and the environment in Montane Mainland Southeast Asia Global
Environmental Change, 29, 318-326. Website http://ac.els-cdn.com/S0959378013000964/1-
s2.0-S0959378013000964-main.pdf?_tid=f13470fe-3c50-11e6-8241-00000aacb361&acdnat
=1467023082_a13a5d4b68fc6a92ae55f35c5af1e319 21 December 2015

167
Charoenjit, K., Zuddas, P., Allemand, P., Pattanakiat, S., and Pachanad, K. 2015. Estimation of
biomass and carbon stock in Para rubber plantations using object-based classification from
Thaichote satellite data in Eastern Thailand. Text file file:///C:/Users/Windows/Downloads
/JARS_9_1_096072.pdf 21 December 2015

Lolupiman, T. 2015. Estimation of Net Primary Productivity (NPP) from CASA Model for Mangrove
Plantation using Remote Sensing. Master Thesis in Remote Sensing and GIS Field of Study,
School of Engineering and Technology, Asian Institute of Technology.

Petsri, S., Chidthaisong, A., Pumijumnong, N., and Wachrinrat, C. 2013. Greenhouse gas emissions
and carbon stock changes in rubber tree plantations in Thailand from 1990 to 2004. Journal of
Cleaner Production, 52, 61-70. Website http://ac.els-cdn.com/S0959652613000528/1-s2.0-
S0959652613000528-main.pdf?_tid=be8923f2-3c50-11e6-a808-00000aab0f26&acdnat
=1467022997_56c7dc166d2e818927217eced68c93db 21 December 2015

Saengruksawong, C., Khamyong, S., Anongrak, N., and Pinthong, J. 2012, Growths and Carbon
Stocks of Para Rubber Plantations on Phonpisai Soil Series in Northeastern Thailand. Rubber
Thai Journal, 1, 1-18

Tripathi, S., Soni, S., Maurya, A., and Soni, P. 2010, Calculating carbon sequestration using remote
sensing and GIS. Website http://www.geospatialworld.net/Paper/Technology/Article View.aspx?
aid=2228 21 December 2015

168
ภาคผนวก ก

ความสู งและเส้ นผ่าศู นย์ กลางของต้ นยางพารา


จากข้ อมูลภาคสนามในแต่ ละช่ วงอายุ

169
ตารางที่ 1 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 7 ปี จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 8.20 0.15
2 7.90 0.17
3 8.30 0.16
4 8.10 0.14
5 8.30 0.15
6 8.10 0.18
7 7.80 0.15
8 7.80 0.16
9 8.30 0.15
10 7.80 0.16
11 7.70 0.16
12 7.70 0.18
13 7.90 0.16
14 8.20 0.16
15 8.30 0.15
16 8.30 0.16
17 7.90 0.17
18 8.30 0.17
19 7.80 0.18
20 7.90 0.17
21 8.20 0.15
22 8.30 0.16
23 7.70 0.16
24 7.60 0.16
25 7.70 0.17
ค่ าเฉลีย่ 8.00 0.16

170
ตารางที่ 2 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 8 ปี จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 9.00 0.16
2 8.80 0.20
3 8.80 0.16
4 9.00 0.13
5 9.10 0.16
6 8.90 0.15
7 8.90 0.14
8 9.00 0.15
9 9.00 0.16
10 8.70 0.16
11 8.70 0.10
12 9.20 0.16
13 9.10 0.14
14 9.10 0.15
15 8.60 0.14
16 8.80 0.15
17 8.60 0.15
18 9.00 0.17
19 8.70 0.16
20 8.90 0.15
21 9.10 0.12
22 9.10 0.12
23 8.70 0.15
24 8.80 0.14
25 9.00 0.16
ค่ าเฉลีย่ 8.90 0.15

171
ตารางที่ 3 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 9 ปี จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 9.90 0.14
2 9.70 0.12
3 9.70 0.16
4 10.20 0.17
5 10.20 0.18
6 10.10 0.15
7 9.90 0.17
8 9.80 0.15
9 9.80 0.14
10 10.20 0.20
11 10.10 0.14
12 10.30 0.17
13 9.90 0.14
14 9.80 0.21
15 9.80 0.15
16 9.90 0.17
17 9.70 0.14
18 10.30 0.21
19 9.60 0.20
20 9.90 0.16
21 10.00 0.14
22 10.20 0.17
23 9.70 0.19
24 9.80 0.14
25 9.80 0.17
ค่ าเฉลีย่ 9.93 0.16

172
ตารางที่ 4 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 10 ปี จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 10.90 0.17
2 11.00 0.19
3 10.70 0.18
4 10.80 0.18
5 11.00 0.17
6 11.40 0.18
7 11.20 0.17
8 11.20 0.19
9 10.80 0.18
10 11.30 0.14
11 11.30 0.16
12 10.80 0.17
13 10.90 0.19
14 10.90 0.13
15 11.20 0.21
16 11.30 0.18
17 11.00 0.21
18 11.30 0.19
19 11.30 0.22
20 11.20 0.18
21 11.40 0.16
22 11.40 0.16
23 10.90 0.14
24 11.00 0.17
25 10.90 0.22
ค่ าเฉลีย่ 11.08 0.18

173
ตารางที่ 5 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 11 ปี จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 11.70 0.23
2 11.50 0.18
3 11.70 0.17
4 11.50 0.19
5 11.50 0.16
6 11.70 0.19
7 11.70 0.18
8 11.70 0.17
9 11.80 0.16
10 11.70 0.18
11 11.80 0.18
12 11.60 0.13
13 11.50 0.24
14 11.60 0.19
15 11.60 0.20
16 11.80 0.17
17 11.80 0.18
18 11.80 0.22
19 11.70 0.25
20 11.70 0.27
21 11.70 0.29
22 11.80 0.24
23 11.60 0.28
24 11.70 0.28
25 11.80 0.19
ค่ าเฉลีย่ 11.68 0.20

174
ตารางที่ 6 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 12 ปี จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 11.90 0.22
2 12.00 0.19
3 12.00 0.18
4 12.10 0.17
5 12.30 0.20
6 12.20 0.18
7 11.80 0.24
8 12.40 0.20
9 12.30 0.21
10 12.30 0.18
11 12.40 0.18
12 12.20 0.17
13 12.20 0.20
14 12.40 0.17
15 12.40 0.20
16 12.30 0.20
17 12.20 0.18
18 12.30 0.23
19 12.20 0.20
20 12.00 0.25
21 12.10 0.20
22 12.30 0.21
23 12.30 0.22
24 12.20 0.19
25 12.40 0.20
ค่ าเฉลีย่ 12.21 0.20

175
ตารางที่ 7 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 13 ปี จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 12.80 0.22
2 13.00 0.22
3 12.90 0.20
4 13.20 0.23
5 13.00 0.23
6 12.90 0.19
7 12.90 0.18
8 13.40 0.23
9 13.20 0.20
10 13.30 0.21
11 13.40 0.21
12 12.80 0.23
13 13.30 0.19
14 13.20 0.26
15 13.40 0.20
16 13.30 0.21
17 13.10 0.19
18 13.20 0.22
19 13.20 0.14
20 13.30 0.16
21 13.20 0.16
22 12.70 0.21
23 12.80 0.26
24 13.20 0.23
25 12.90 0.27
ค่ าเฉลีย่ 13.10 0.21

176
ตารางที่ 8 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 14 ปี (1) จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 14.00 0.21
2 13.70 0.24
3 13.90 0.25
4 13.70 0.16
5 13.90 0.20
6 14.20 0.20
7 13.80 0.19
8 14.30 0.20
9 13.90 0.20
10 13.90 0.21
11 14.00 0.19
12 14.00 0.21
13 13.90 0.20
14 13.80 0.21
15 14.20 0.22
16 13.90 0.18
17 13.70 0.19
18 14.00 0.20
19 14.30 0.18
20 14.10 0.22
21 14.00 0.17
22 13.80 0.22
23 13.90 0.27
24 13.90 0.22
25 13.80 0.19
ค่ าเฉลีย่ 13.94 0.21

177
ตารางที่ 9 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 14 ปี (2) จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 14.00 0.29
2 14.30 0.26
3 13.90 0.18
4 14.30 0.25
5 14.00 0.25
6 14.00 0.27
7 14.00 0.24
8 14.20 0.23
9 14.20 0.19
10 13.90 0.24
11 14.30 0.26
12 13.90 0.24
13 14.20 0.26
14 14.20 0.22
15 13.80 0.23
16 14.00 0.24
17 14.20 0.28
18 14.20 0.23
19 14.30 0.23
20 14.00 0.23
21 13.90 0.28
22 14.00 0.28
23 14.30 0.21
24 14.20 0.28
25 14.00 0.25
ค่ าเฉลีย่ 14.09 0.25

178
ตารางที่ 10 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 15 ปี (1) จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 15.40 0.22
2 15.50 0.23
3 14.90 0.23
4 15.50 0.21
5 15.30 0.20
6 15.50 0.18
7 14.80 0.20
8 15.30 0.20
9 15.20 0.18
10 15.40 0.21
11 15.50 0.19
12 15,5 0.25
13 15.60 0.19
14 15.40 0.22
15 15.40 0.22
16 15.30 0.25
17 15.30 0.25
18 14.90 0.23
19 15.50 0.22
20 15.60 0.26
21 15.50 0.26
22 15.50 0.25
23 15.60 0.25
24 15.50 0.20
25 14.80 0.22
ค่ าเฉลีย่ 15.34 0.22

179
ตารางที่ 11 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 15 ปี (2) จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 15.10 0.21
2 14.60 0.23
3 14.70 0.28
4 15.30 0.26
5 14.90 0.17
6 15.00 0.20
7 15.80 0.16
8 15.10 0.18
9 15.20 0.25
10 15.20 0.23
11 14.60 0.18
12 15.40 0.22
13 14.70 0.17
14 14.80 0.22
15 15.30 0.23
16 14.70 0.18
17 15.20 0.22
18 14.70 0.28
19 14.70 0.18
20 14.80 0.20
21 14.60 0.16
22 15.10 0.24
23 15.00 0.20
24 14.50 0.21
25 14.70 0.28
ค่ าเฉลีย่ 14.95 0.21

180
ตารางที่ 12 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 16 ปี (1) จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 15.90 0.25
2 15.90 0.27
3 15.80 0.23
4 16.00 0.18
5 16.00 0.20
6 15.80 0.22
7 15.80 0.20
8 16.00 0.18
9 15.90 0.21
10 15.90 0.21
11 16.00 0.23
12 15.80 0.21
13 15.70 0.25
14 15.70 0.20
15 15.90 0.26
16 16.00 0.24
17 16.00 0.25
18 16.00 0.23
19 16.10 0.21
20 15.80 0.23
21 15.80 0.17
22 15.80 0.25
23 16.30 0.22
24 15.90 0.24
25 15.80 0.20
ค่ าเฉลีย่ 15.90 0.22

181
ตารางที่ 13 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 16 ปี (2) จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 15.50 0.24
2 15.60 0.22
3 16.00 0.21
4 15.50 0.22
5 15.50 0.20
6 15.90 0.22
7 15.80 0.18
8 16.20 0.24
9 15.60 0.21
10 15.60 0.14
11 15.60 0.19
12 16.20 0.27
13 16.00 0.19
14 16.00 0.21
15 16.10 0.21
16 15.70 0.24
17 15.90 0.20
18 16.00 0.29
19 15.70 0.19
20 15.50 0.16
21 15.70 0.25
22 15.50 0.23
23 15.60 0.24
24 15.50 0.24
25 15.50 0.26
ค่ าเฉลีย่ 15.75 0.22

182
ตารางที่ 14 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 17 ปี จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 16.70 0.25
2 16.50 0.26
3 16.90 0.23
4 16.80 0.26
5 16.90 0.26
6 16.90 0.14
7 16.80 0.21
8 16.90 0.19
9 16.70 0.21
10 16.80 0.22
11 16.90 0.24
12 16.90 0.22
13 17.00 0.26
14 17.30 0.26
15 17.00 0.26
16 17.00 0.22
17 16.90 0.26
18 16.40 0.28
19 16.60 0.26
20 16.80 0.26
21 16.80 0.30
22 17.00 0.25
23 17.00 0.23
24 17.20 0.21
25 16.60 0.25
ค่ าเฉลีย่ 16.85 0.24

183
ตารางที่ 15 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 26 ปี (1) จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 19.00 0.42
2 19.00 0.32
3 19.30 0.37
4 19.20 0.31
5 19.00 0.24
6 18.90 0.34
7 19.40 0.36
8 19.30 0.29
9 19.60 0.33
10 19.50 0.32
11 19.50 0.36
12 19.70 0.33
13 19.30 0.31
14 19.40 0.25
15 19.70 0.32
16 19.10 0.36
17 19.00 0.38
18 19.00 0.48
19 19.50 0.30
20 19.70 0.44
21 19.00 0.33
22 19.70 0.36
23 19.80 0.37
24 19.90 0.33
25 19.80 0.34
ค่ าเฉลีย่ 19.37 0.34

184
ตารางที่ 16 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 26 ปี (2) จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 19.50 0.38
2 18.70 0.36
3 20.10 0.36
4 18.90 0.24
5 19.00 0.31
6 19.20 0.29
7 19.30 0.25
8 19.30 0.32
9 19.70 0.35
10 19.40 0.34
11 18.80 0.26
12 19.60 0.35
13 19.90 0.29
14 19.90 0.29
15 19.80 0.34
16 19.60 0.35
17 19.70 0.36
18 19.80 0.44
19 19.00 0.29
20 19.50 0.41
21 19.60 0.36
22 19.80 0.37
23 19.80 0.40
24 19.90 0.32
25 19.20 0.28
ค่ าเฉลีย่ 19.48 0.33

185
ตารางที่ 17 แสดงความสู งและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นยางพาราอายุ 26 ปี (3) จากการออกภาคสนาม
ลําดับ ความสู ง (เมตร) เส้ นผ่ าศูนย์ กลาง (เมตร)
1 19.30 0.41
2 19.00 0.38
3 18.50 0.38
4 18.90 0.32
5 19.00 0.28
6 18.90 0.32
7 18.60 0.25
8 19.10 0.32
9 19.80 0.38
10 18.80 0.33
11 19.00 0.27
12 19.40 0.28
13 19.50 0.26
14 18.90 0.32
15 18.30 0.41
16 19.20 0.34
17 19.50 0.37
18 19.80 0.39
19 18.70 0.28
20 18.80 0.36
21 19.20 0.42
22 19.90 0.38
23 19.90 0.39
24 19.90 0.32
25 19.40 0.28
ค่ าเฉลีย่ 19.17 0.34

186
ภาคผนวก ข

ภาพการสํ ารวจภาคสนาม

187
การลงพื้นที่ติดต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อสอบถามข้อมูลด้านต่างๆ
ในพื้นที่ศึกษา

การเข้าถึงพื้นที่แปลงตัวอย่าง โดยได้รับความอนุเคราะห์
จากผูน้ าํ ชุมชนและเจ้าของแปลงปลูกยางพารา

188
การลงพื้นที่สัมภาษณ์และสอบถามข้อมูลเกษตรกรรายแรกที่นาํ ยางพาราเข้ามาปลูกในพื้นที่ เพื่อศึกษา
ข้อมูลยางพาราในพื้นที่ รวมถึงข้อมูลทางด้านต่างๆ ที่เป็ นประโยชน์ในการศึกษา

ภาพตัวอย่างการลงพื้นที่สาํ รวจภาคสนามเพื่อวัดความสู ง เส้นรอบวงของต้นยางพารา


และเก็บพิกดั ตําแหน่งแปลงปลูกยางพาราตามช่วงอายุ

189
ภาพตัวอย่างการลงพื้นที่สาํ รวจภาคสนามเพื่อวัดความสู ง เส้นรอบวงของต้นยางพารา
และเก็บพิกดั ตําแหน่งแปลงปลูกยางพาราตามช่วงอายุ

190
ภาพตัวอย่างการลงพื้นที่สาํ รวจภาคสนามเพื่อวัดความสู ง เส้นรอบวงของต้นยางพารา
และเก็บพิกดั ตําแหน่งแปลงปลูกยางพาราตามช่วงอายุ

191
ภาพตัวอย่างการลงพื้นที่สาํ รวจภาคสนามเพื่อวัดความสู ง เส้นรอบวงของต้นยางพารา
และเก็บพิกดั ตําแหน่งแปลงปลูกยางพาราตามช่วงอายุ

192
ภาพตัวอย่างการลงพื้นที่สาํ รวจภาคสนามเพื่อวัดความสู ง เส้นรอบวงของต้นยางพารา
และเก็บพิกดั ตําแหน่งแปลงปลูกยางพาราตามช่วงอายุ

193
ภาพตัวอย่างการลงพื้นที่สาํ รวจภาคสนามเพื่อวัดความสู ง เส้นรอบวงของต้นยางพารา
และเก็บพิกดั ตําแหน่งแปลงปลูกยางพาราตามช่วงอายุ

194
ภาพตัวอย่างการลงพื้นที่สาํ รวจภาคสนามเพื่อวัดความสู ง เส้นรอบวงของต้นยางพารา
และเก็บพิกดั ตําแหน่งแปลงปลูกยางพาราตามช่วงอายุ

195
ประวัตผิ ้เู ขียน

ชื่อผูเ้ ขียน นางสาวชณัฐฎา แสงงาม


วัน เดือน ปี เกิด 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2532
สถานที่เกิด จังหวัดเชียงใหม่
การศึกษา ปี การศึกษา 2544 ประถมศึกษา โรงเรี ยนศีลรวีอาํ เภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ปี การศึกษา 2547 มัธยมศึ กษาตอนต้น โรงเรี ยนศี ลรวี อํา เภอเชี ย งดาว
จังหวัดเชียงใหม่
ปี การศึกษา 2551 มัธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย โรงเรี ย นวชิ ร วิ ท ย์ (มัธ ยม)
อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ปี การศึกษา 2555 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทุนการศึกษา ทุนสนับสนุนการทําวิจยั ระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี งบประมาณ 2558
ผลงานตีพิมพ์ ชณัฐฎา แสงงามและอริ ศรา เจริ ญปั ญญาเนตร, “การประเมิ นคาร์ บ อนกัก เก็ บ
เหนื อพื้นดินของยางพารา โดยอาศัยข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วยแบบจําลอง
ชี ว มณฑล CASA”, วารสารสมาคมสํ า รวจข้อ มู ล ระยะไกลและสารสนเทศ
ภูมิศาสตร์ แห่งประเทศไทย, ปี ที่ 17 เลขที่ 1513-4261/ ศูนย์ประชุ มแห่งชาติสิริกิต์ ิ,
3-5 กุมภาพันธ์ 2559, หน้า 109-120
ประสบการณ์ นักวิจยั ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ)
อื่นๆ พ.ศ. 2553 ประธานชมรมซอฟท์บอล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

196

You might also like