Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 42

ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 9) กรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ.

2562
ส�ำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
ISSN 2408-1892
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 177
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

คัมภีร์มิลินทปัญหา:
ปริศนาเรื่องก�ำเนิดและพัฒนาการ
Milindapañha: the Mystery of
its origin and development

เนาวรัตน์ พันธ์วิไล
Naowarat Panwilai
นักวิจัยประจ�ำศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา DCI
Researcher, DCI Center for Buddhist Studies, Thailand

ตอบรับบทความ (Received) : 19 ส.ค. 2562 เริ่มแก้ไขบทความ (Revised) : 30 ส.ค. 2562


รับบทความตีพิมพ์ (Accepted) : 22 ก.ย. 2562 เผยแพร่ออนไลน์ (Available Online) : 10 ต.ค. 2562
178
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

คัมภีร์มิลินทปัญหา:
ปริศนาเรื่องก�ำเนิดและพัฒนาการ

เนาวรัตน์ พันธ์วิไล

บทคัดย่อ

คัมภีรม์ ิลินทปั ญหาเป็ นคัมภีรท์ ่ีรวบรวมการถามและตอบปั ญหา


ส�ำคัญในพระพุทธศาสนาเอาไว้เป็ นจ�ำนวนมาก แต่ประเด็นที่มาของ
คัมภีรม์ ิลินทปั ญหายังคงเป็ นปริศนาให้ถกเถียงกันว่า เกิดขึน้ ในยุคไหน
และใครเป็ นผูแ้ ต่ง วัตถุประสงค์การศึกษาในบทความนีค้ ือ ศึกษาที่มา
ของคัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา
ผลการศึ ก ษาพบว่ า แนวคิ ด การก�ำ เนิ ด คั ม ภี ร ์มิ ลิ น ทปั ญ หา
ถูกแบ่งออกเป็ น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ ช่วงที่ 1 เรียกว่า มิลนิ ทปั ญหากัณฑ์ตน้
(กัณฑ์ท่ี 1-3) เชื่อว่าเกิดจาก 2 แนวคิดหลักคือ 1) แนวคิดที่สนับสนุนว่า
คัมภีรม์ ีตน้ ก�ำเนิดมาจากวัฒนธรรมกรีกและรจนาด้วยภาษากรีก และ 2)
กลุม่ ที่สนับสนุนว่า มาจากวัฒนธรรมอินเดีย และเชื่อว่าคัมภีรถ์ กู รจนา
ด้วยภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาปรากฤตหรือสันสกฤตในภูมิภาคตะวันตก
เฉียงเหนือของอินเดีย ผูเ้ ขียนสันนิษฐานว่า การที่รูปแบบและโครงสร้าง
ของคัมภีรม์ ลิ นิ ทปั ญหามีความคล้ายคลึงกับรูปแบบพิธีกรรมการสนทนา
ของอินเดียโบราณนัน้ ได้เกิดขึน้ จากการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 179
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

อินเดียโบราณและวัฒนธรรมกรีก ในยุคที่วฒ ั นธรรมกรีกรุง่ เรืองที่เรียกว่า


วัฒนธรรมแบบเฮลเลนิสต์ ดังปรากฏค�ำศัพท์ เช่น Greco-Buddhism
ซึ่ง เป็ น วัฒนธรรมที่ ผ สมผสานระหว่า งวัฒนธรรมแบบเฮเลนิ สต์แ ละ
พระพุทธศาสนา ส่วนช่วงหลังหรือที่เรียกว่า คัมภีรม์ ลิ นิ ทปัญหากัณฑ์หลัง
(กัณฑ์ท่ี 4-7) โดยเฉพาะมิลินทปั ญหากัณฑ์ท่ี 4 รจนาขึน้ ภายหลังใน
ประเทศศรีลงั กาเขตพืน้ ที่พระพุทธศาสนาแบบเถรวาท

ค�ำส�ำคัญ : มิลนิ ทปั ญหา วัฒนธรรมเฮลเลนิสต์

* บทความนีเ้ รียบเรียงมาจากส่วนหนึง่ ของวิทยานิพนธ์ปริญญาโท


ของผูเ้ ขียน เรือ่ ง “การวิเคราะห์บทสนทนาว่าด้วยปั ญหาอุภโตโกฏิ (ปั ญหา
สองเงื่อน) ในคัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา” หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
ปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2560 โดยมี ดร. ธเนศ
ปานหัวไผ่ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ เป็ นอาจารย์ท่ีปรึกษาหลัก ผูเ้ ขียนขอขอบพระคุณอาจารย์
เป็ นอย่างสูงมา ณ ที่นี ้
180
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

Milindapañha: the Mystery of


its origin and development

Naowarat Panwilai

Abstract

The Milindapañha is a collection of questions and answers


about the critical Buddhist problems. The Milindapañha’s origin
and author has remained a mystery. The objective of this study
is to investigate the background of this scripture.
The study indicates that the writing of the Milindapañha
occurred in two historical periods. The earlier part (chapters
1-3) consists of two main ideas. The first of these is believed to
have been originally a Greek concept, composed in the Greek
language, while the latter is suggested to be doctrines from
Indian culture written in a dialect such as Prakrit or Sanskrit in
the northwestern area of India. It is assumed that the form and
structure of the scripture looks like ancient Indian rituals because
of a mixing of ancient Indian and Greek culture in the Hellenistic
period. This constitutes what is termed Greco-Buddhism,
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 181
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

which means the amalgamated culture of Hellenistic Greece


and Buddhism. The latter part of the Milindapañha (chapters
4-7) however, especially the fourth chapter, is likely to have
been written later in Sri Lanka, a base of Theravada Buddhism.

Keywords : Origin of Milindapañha, Hellenistic period


182
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

บทน�ำ

คัมภีรม์ ิลินทปั ญหาเป็ นคัมภีรท์ ่ีรวบรวมการถามและตอบปั ญหา


ส�ำคัญในพระพุทธศาสนาเอาไว้เป็ นจ�ำนวนมาก แต่ประเด็นที่มาของ
คัมภีรม์ ลิ นิ ทปัญหายังคงเป็ นประเด็นถกเถียงกันว่า เกิดขึน้ ในยุคไหนและ
ผูแ้ ต่งเป็ นใคร นักวิชาการจ�ำนวนมากต่างให้ความเห็นที่หลากหลายเกี่ยว
กับที่มาของคัมภีรน์ ี ้ แนวคิดส่วนหนึ่งเสนอว่ามิลนิ ทปั ญหาได้รบั อิทธิพล
จากงานเขียนในยุคกรีกโบราณสมัยเฮลเลนิสต์ (Hellenistic Period)
นักวิชาการในกลุม่ นีท้ ่ีเป็ นที่รูจ้ กั กันเป็ นอย่างดี ได้แก่ ทาร์น (Tarn W.W.)
ซึ่งได้เสนอแนวคิดอันโด่งดังที่ เรียกว่า สมมติฐานของทาร์น (Tarn’s
Hypothesis) ขึน ้ โดยได้ตงั้ ข้อสมมติฐานว่า รูปแบบการเขียนของคัมภีร ์
มิ ลิ น ทปั ญ หาน่ า จะได้ร ับ อิ ท ธิ พ ลมาจากงานกรี ก ( Greek Work )
ชื่อปั ญหาของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ (the Alexander Questions)
โดยพบว่า ในระยะเวลาต่อมาได้ปรากฏคัมภีรท์ ่ีมีรูปแบบการเขียนเชิง
สนทนา (Dialogue) คล้ายกับคัมภีรด์ งั กล่าว อันได้แก่ คัมภีรป์ ั ญหาของ
พระเจ้าปโตเลมีท่ี 2 (the Questions of Ptolemy II) และคัมภีรก์ ำ� เนิด
ปั ญหาของพระเจ้ามิลินท์ (the Original Questions of Milinda )
โดยทาร์น เชื่ อ ว่ า งานเขี ย นฉบับ ดัง กล่ า ว คื อ ฉบับ เดี ย วกั บ คัม ภี ร ์
มิลนิ ทปั ญหา ดังนี… ้ ทาร์นได้พยายามชีใ้ ห้เห็นว่า คัมภีรพ์ ระพุทธศาสนา
อันโด่งดังที่ช่ือมิลนิ ทปั ญหา สันนิษฐานว่าเป็ นฉบับเดียวกันกับคัมภีรก์ รีก
(the Original Questions of Milinda)…1
อย่างไรก็ตาม เมื่อสืบค้นคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนาย้อนกลับขึน้ ไป
ผูเ้ ขี ยนพบว่า ลักษณะการประพันธ์แบบถาม-ตอบ ที่ มีลักษณะใกล้
เคี ย งกั บ มิ ลิ น ทปั ญ หา มี ป รากฏอยู่ บ ้า งในพระสุ ต ตั น ตปิ ฎก เช่ น

1 Gonda (1949: 44)


คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 183
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

ปายาสิสูตร2 เป็ นต้น และคัมภีรส์ ำ� คัญในพระอภิธรรมปิ ฎกอันได้แก่


กถาวัตถุ ซึง่ สันนิษฐานว่าเกิดขึน้ ในยุคใกล้เคียงกัน ดังนัน้ อาจเป็ นไปได้วา่
มิลนิ ทปั ญหาอาจจะได้รบั อิทธิพลมาจากคัมภีรเ์ หล่านี ้
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของปั ญหาในมิลนิ ทปั ญหาในแต่ละฉบับ
มีรายละเอียด การจัดวางแตกต่างกันไป แต่โดยภาพรวมเนือ้ หาในคัมภีร ์
เกือบทุกฉบับประกอบไปด้วย สามภาค โดยภาคแรก ประกอบไปด้วย ส่วนที่
เป็ นพาหิรกถามิลนิ ทปั ญหา ในภาคที่สอง คือ ส่วนที่เป็ นเมณฑกปั ญหา
และอนุมานปัญหา และภาคสุดท้าย คือ อุปมากถาปัญหา ซึง่ รายละเอียด
แต่ละกัณฑ์จะอธิบายในเนือ้ หาส่วนที่เป็ นโครงสร้างคัมภีรม์ ิลินทปั ญหา
ในล�ำดับต่อไป
ในบทความฉบับนี ้ ผูเ้ ขียนจะท�ำการศึกษาวิเคราะห์ท่ีมาของคัมภีร ์
มิลนิ ทปัญหาว่ามีทม่ี าจากวัฒนธรรมใด รจนาขึน้ เมือ่ ไหร่ และใครเป็ นผูแ้ ต่ง

โครงสร้างคัมภีร์มิลินทปัญหา
ฉบับแปลภาษาบาลีของสมาคมบาลีปกรณ์

เนือ่ งจากโครงสร้างและการจัดวรรคของคัมภีรม์ ลิ นิ ทปัญหาในแต่ละ


ฉบับมีความแตกต่างกัน เมือ่ นักวิชาการส่วนใหญ่ศกึ ษาเปรียบเทียบเนือ้ หา
คัมภีรใ์ นฉบับแปลภาษาบาลีมกั จะอ้างอิงเนือ้ หาจากฉบับแปลบาลีอกั ษร
โรมัน โดยสมาคมบาลีปกรณ์ ดังนัน้ เมือ่ มีการอ้างอิงถึงเนือ้ หาในฉบับภาษา
บาลีกณั ฑ์ท่ี 1-7 จึงหมายถึงเนือ้ หาทีบ่ รรจุอยูใ่ นฉบับดังกล่าว ดังต่อไปนี ้

2 ที.มหา. 10/406-441/341-372 (แปล.มจร)


184
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

กัณฑ์ที่ 1 พาหิรกถา ตอนว่าด้วยบุพกรรมและประวัตขิ องพระเจ้า


มิลนิ ท์และพระนาคเสน
เป็ นบทน�ำหรืออาจเรียกว่า เป็ นนิทานก่อนเข้าสู่เนือ้ หาของเรื่อง
ในคัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหาได้กล่าวถึงเรือ่ งราวพระเจ้ามิลนิ ท์กบั พระนาคเสน
ในอดีตชาติ และผูร้ จนายังได้กล่าวถึงปั จจุบนั ชาติของทัง้ สองว่า พระเจ้า
มิลินท์เป็ นผูม้ ีบุญบารมีและมีปัญญามาก เป็ นผูท้ ่ีชอบสนทนาโต้ตอบ
ปั ญหากับนักบวชและพราหมณ์ทงั้ หลายจนกระทั่งเป็ นที่เกรงขาม ท�ำให้
เหล่านักบวชต้องหนีออกไปอยู่ในป่ าหิมวันต์ และได้มีพระนาคเสนเถระ
ซึง่ มีปัญญามากมีความสามารถในการแก้ปัญหาพระเจ้ามิลนิ ท์ จึงท�ำให้
พระพุทธศาสนาเจริญรุง่ เรืองและตัง้ อยูไ่ ด้ถงึ 5,000 ปี

กัณฑ์ท่ี 2 ลักขณปัญหา ตอนว่าด้วยปัญหาลักษณะแห่งธรรมต่างๆ


ลักษณะของค�ำถามจะสัน้ กระชับ และตอบแบบตรงไปตรงมา เช่น
ถามเรื่อง ชื่อ พรรษา การบรรพชา สอบถามเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของ
ธรรมต่างๆ เช่น มนสิการ สีลปติปัฏฐาน สัทธา วิรยิ ะ สติ สมาธิ ปั ญญา
มีลกั ษณะอย่างไร

กัณฑ์ที่ 3 วิมตุ ติเขทานปัญหา ตอนว่าด้วยปัญหาเงื่อนเดียว


พระเจ้ามิลินท์ถามเรื่องอายตนะทัง้ ห้า ความแตกต่างระหว่าง
อายุมนุษย์ประกอบด้วยกรรมแตกต่างกันอย่างไร เรือ่ งการเข้าถึงนิพพาน
ของมนุษย์ การปฏิสนธิของสัตว์ ความเป็ นสัพพัญญูของพระพุทธเจ้า
อานุภาพของปั ญญา รวมถึงการถวายทานของพระนางปชาบดีโคตมี
เป็ นต้น ลักษณะค�ำถามและค�ำตอบมีความกระทัดรัด ตรงไป ตรงมา ไม่ได้
อาศัยค�ำอุปมาเพือ่ สนับสนุนการอธิบายมากนัก
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 185
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

กัณฑ์ที่ 4 เมณฑกปัญหา ตอนว่าด้วยปัญหาสองเงื่อน


เมณฑกปั ญหาเป็ นการตัง้ ปุจฉาแบบที่เรียกว่า “ปั ญหาอุภโตโกฏิ”
หรือปั ญหาสองเงื่อน หมายถึงการถามตอบปั ญหาที่ดปู ระหนึง่ ว่ามีความ
ขัดแย้งกัน เช่น ความขัดแย้งของพุทธพจน์และค�ำสอนเป็ นต้น ในคัมภีร ์
มิลินทปั ญหาได้เปรียบเทียบปั ญหาสองเงื่อนว่า เป็ นปริศนาสองเงื่อน
ดุจเขาแกะ เมณฑกปัญหาได้เน้นการวิเคราะห์ความหมายและเหตุการณ์
ที่ดเู หมือนขัดแย้งกันเองในพระไตรปิ ฎก เช่น ปั ญหาเรื่องพระพุทธเจ้า
ตรัสสอนให้มสี มั มาวาจา ไม่พดู ปด ไม่พดู หยาบ แต่เหตุไรพระองค์จงึ เรียก
คนบางคนว่า โฆษบุรุษ (เจ้าคนโง่) ซึง่ เป็ นค�ำไม่สภุ าพ เป็ นต้น ลักษณะ
ของค�ำถามและค�ำตอบค่อนข้างซับซ้อนและเต็มไปด้วยอุปมาเพือ่ ประกอบ
การอธิบายโดยเฉพาะการให้ความหมายเชิงนามธรรม

กัณฑ์ที่ 5 อนุมานปัญหา ตอนว่าด้วยปัญหาทีพ่ งึ ทราบโดยอนุมาน


เป็ นปั ญหาที่พระเจ้ามิลินท์นิมนต์พระนาคเสนให้อธิบายองค์แห่ง
ภิกษุทม่ี พี ร้อมในตนแล้วจะท�ำให้แจ้งพระนิพพานได้ เพือ่ ปฏิบตั ิ เพือ่ ความ
เป็ นพระอริยบุคคล เป็ นวิธีการที่จะเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธ-
ศาสนา การพัฒนาตัวเองให้หลุดพ้นจากกิเลส บรรพชิตและคฤหัสถ์
เมื่อปฏิบตั ิดี ปฏิบตั ิชอบ สามารถเป็ นพระอริยบุคคล บรรลุมรรคผลได้
เหมือนกับพระอริยบุคคล การบวชจึงเป็ นวิธีการอย่างหนึง่ ที่จะพัฒนาตน
ให้เป็ นพระอริยบุคคลได้รวดเร็วและมั่นคง เพราะต้องอาศัยจิตใจทีแ่ น่วแน่
จึงจะสามารถน�ำตนให้พน้ ความทุกข์และบ�ำเพ็ญประโยชน์แก่คนหมูม่ ากได้
186
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

กัณฑ์ที่ 6 ธุตงั คปัญหา


พระเจ้า มิ ลิ น ท์ถ ามเกี่ ย วกับ ความสามารถของคฤหัส ถ์ใ นการ
บรรลุธรรม ประโยชน์ของการอยูธ่ ดุ งค์ของพระภิกษุ ธุดงคคุณ 28 ประการ
อานิสงส์ของการอยูธ่ ดุ งค์บคุ คลทีจ่ ะรักษาธุดงค์ และชือ่ ธุดงค์ 13 ประการ
ว่าเป็ นอย่างไร

กัณฑ์ที่ 7 โอปัมมปัญหากัณฑ์ ตอนว่าด้วยปัญหาทีพ่ งึ ทราบด้วยอุปมา


ถามเกี่ ย วกับ ภิ ก ษุ ท่ี ส ำ� เร็จ พระอรหัต ประกอบด้ว ยคุณ กี่ อ ย่ า ง
วิสชั ชนาตัง้ เป็ นบทมาติกาว่า ให้ปฏิปทาเปรียบด้วยองค์ต่างๆ มีองค์
แห่งลา มีเสียงพิลกึ องค์แห่งไก่ องค์แห่งกระแต เป็ นต้น

ปริศนาเรื่องก�ำเนิดและพัฒนาการของคัมภีร์มิลินปัญหา

มิลินทปั ญหาเป็ นคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธทั่วโลกให้การ


ยอมรับว่า เป็ นหนึง่ ในคัมภีรป์ ระเภทแก้ปรับปวาท3 (Buddhist Apologetic
Text)4 เนื่องจากเนือ ้ หาในเล่มส่วนใหญ่เป็ นเรือ่ งของการพยายามปัดป้อง
ความสงสัยของพระเจ้ามิลนิ ท์โดยพระภิกษุในพระพุทธศาสนารูปหนึง่ ชื่อ
พระนาคเสน โดยในประเทศไทยได้ยกคัมภีรม์ ิลินทปั ญหาให้เป็ นคัมภีร ์
ส�ำคัญในชัน้ ปกรณ์วิเสส5 ส่วนพม่าได้จดั ให้มิลินทปั ญหาเป็ นคัมภีรช์ นั้

3 ค�ำกล่าวของคนพวกอื่ นหรือลัทธิ อ่ื น, ค�ำกล่าวโทษคัดค้านโต้แย้งของ


คนพวกอื่น, หลักการของฝ่ ายอื่น, ลัทธิภายนอก (พระธรรมปิ ฎก (ประยุทธ์
ปยุตฺโต), 2551: 152)
4 Takakusu (1896: 1-2)
5 ปกรณ์วิเสสเป็ นคัมภีรห์ รือหนังสือที่นกั ปราชญ์รจนาขึน้ เพื่อแสดงความ
คิดเห็นอันเป็ นภูมริ ูห้ รือภูมธิ รรมของท่าน โดยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวม
จากคัมภีรต์ า่ งๆ โดยกําหนดประเด็นหรือเนือ้ หาได้ตามความประสงค์ของ
ตนเอง (คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550: 117)
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 187
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

พระไตรปิ ฎกในหมวดขุททกนิกาย
ประวัตแิ ละที่มาของคัมภีรม์ ลิ นิ ทปั ญหายังคงเป็ นข้อถกเถียงกันใน
หมูน่ กั วิชาการทัง้ ชาวตะวันตกและตะวันออก โดยฝ่ ายตะวันตก ได้แก่ ริส
เดวิดส์ (Rhys Davids, T.W.), ฮอนเนอร์ (Horner, I.B.), ดัตต์ (Dutt, N.),
สกิลลิ่ง (Skilling, P.), ทาร์น (Tarn, W. W.) และชาวตะวันออก ได้แก่
มิซโุ นะ (Mizuno K.), กวง ซิง (Guang X.), โมริ (Mori, S.) และนานิวะ
(Naniwa, S.) เป็ นต้น จากการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับก�ำเนิดและพัฒนาการ
ของคัมภีรม์ ิลินทปั ญหาจากนักวิชาการต่างๆ เชื่อกันว่า ต้นฉบับคัมภีร ์
มิ ลิ น ทปั ญ หาหายสาบสูญ ไป นัก วิ ช าการส่ ว นหนึ่ ง เชื่ อ ว่ า ต้น ฉบับ
มิลนิ ทปัญหาน่าจะรจนาด้วยภาษากรีก เนื่องจากวัฒนธรรมกรีกโบราณที่
เริม่ แพร่หลายในสังคมอินเดียยุคนัน้ ดังที่มกี ารค้นพบการจารึกด้วยภาษา
กรีกในเสาหินของพระเจ้าอโศก6 บางส่วนเชื่อว่าต้นฉบับมิลินทปั ญหา
น่าจะรจนาด้วยภาษาปรากฤตหรือสันสกฤต ซึ่งเป็ นภาษาที่ใช้ในการ
สื่อสารอย่างแพร่หลายในดินแดนแถบตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย7
คัมภีรม์ ิลินทปั ญหาที่เป็ นที่รูจ้ กั กันในปั จจุบนั เป็ นฉบับที่แปลมา
จากต้นฉบับที่หายไป เท่าที่คน้ พบมีหลงเหลืออยู่ 2 ภาษา คือ ฉบับแปล
ภาษาจีนและภาษาบาลี ดังนัน้ เมือ่ ศึกษาแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับก�ำเนิดของ
คัมภีรม์ ลิ นิ ทปั ญหา นักวิชาการส่วนมากจึงมุง่ ศึกษาเนือ้ หาจากฉบับแปล
ทัง้ สอง แต่อย่างไรก็ตาม ที่มาของคัมภีรม์ ิลินทปั ญหายังคงเป็ นปริศนา
นักวิชาการต่างให้ความเห็นหลากหลายแตกต่างกันออกไป
โดยในเบือ้ งต้นผูเ้ ขียนได้จดั แบ่งแนวคิดที่สนับสนุนที่มาของคัมภีร ์
มิลินทปั ญหาออกเป็ น 2 แนวคิดใหญ่ คือ แนวคิดที่สนับสนุนว่าคัมภีร ์
มิลินทปั ญหามีกำ� เนิดมาจากวัฒนธรรมกรีก และแนวคิดที่สนับสนุนว่า

6 Wheeler (1968: 65-70; Karttunen (1997: 267-268) อ้างใน Aston


(2004: 65-66)
7 Skilling (1998: 92-96)
188
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

คัมภีรถ์ ือก�ำเนิดจากวัฒนธรรมอินเดียโบราณ ดังต่อไปนี ้

แนวคิดที่สนับสนุนว่าคัมภีร์มิลินทปัญหา
มีก�ำเนิดมาจากวัฒนธรรมกรีก

ยารอสลว์ (Yaroslav, V.)8 กล่าวว่า “วีเบอร์ (Weber, A.) เป็ นคนแรก


ที่สงั เกตว่า ลักษณะของค�ำถามในคัมภีรม์ ิลินทปั ญหามีลกั ษณะการ
สนทนาทีม่ าจากวัฒนธรรมกรีกคล้ายบทสนทนาของเพลโต”
นักวิชาการที่มแี นวคิดสอดคล้องกับ วีเบอร์ (Weber) ได้แก่ เปสลา
(Pesala) พระภิกษุ ท่ีสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะด้านการ
ปฏิบตั สิ มาธิเสนอความเห็นว่า “...ลักษณะการน�ำเสนอของมิลนิ ทปั ญหา
ละม้ายการสนทนาแบบเพลโต9 เป็ นอย่างมาก พระนาคเสนเล่นบท
โสเครตีสและท�ำให้พระเจ้ามิลนิ ท์เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาด้วยเหตุผล
ที่แน่นและความเปรียบที่เหมาะเจาะ…”10
นอกจากนีย้ งั มีนกั วิชาการที่มีความเห็นสอดคล้องกับวีเบอร์อีก
เช่นกัน โดยวูดคอค (Woodcock G.) ได้เสนอความเป็ นไปได้เกี่ยวกับ
การยอมรับว่าเนือ้ หาและรูปแบบของคัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหามีรูปแบบคล้าย
งานสนทนาของเพลโตดังนี ้

...ถ้ า เรายอมรับ ความเป็ นไปได้ข องพระนาคเสนว่ า


เป็ นภิกษุชาวกรีกในพุทธศาสนาไปแล้ว หากค�ำถามของกษัตริย ์
มิลนิ ท์จะมีกลิ่นอายของเพลโตบ้าง ก็จะกลายเป็ นสิ่งที่พออธิบาย

8 Yaroslav (1993: 64)


9 สมบัติ จันทรวงศ์ (2555)
10 นวพร เรืองสกุล (2558: 33)
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 189
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

ได้ว่าพระนาคเสนรู จ้ กั เพลโตและใช้วิธีการของโสเครตีสส�ำหรับ
อธิ บ ายความจริงทางพุทธศาสนาอย่า งละเอี ย ดรอบคอบและ
งดงามในรูปแบบเดียวกันนัน้ ด้วย...11

ในขณะเดี ย วกัน เซดลาร์ ( Sedlar ) ยัง ให้ทัศ นะเพิ่ ม เติ ม เพื่ อ


สนับสนุนแนวคิดของวีเบอร์วา่

“...โดยตัวค�ำถามเองสามารถอ้างได้วา่ เป็ นผลงานของการ


ผสมผสานของวัฒนธรรมเฮลเลนิสต์ (Hellenistic) อย่างแท้จริง
เนื่ องจากมี การยอมรับรู ปแบบการสนทนาแบบกรีกในหลายๆ
รูปแบบอย่างชัดเจน...”12

ในปี คริสต์ศกั ราช 1938 ทาร์นเขียนไว้ในหนังสือ The Greek in


Bactria & India ระบุวา่ ประมาณ 200 ปี ก่อนคริสต์ศก ั ราช งานเขียน
กรีกที่เรียกว่าชุดปั ญหาของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ (The Alexander
Questions) ซึง่ เป็ นค�ำถามระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์กบ ั นักบวชเชน
(Gymnosophists) ในระหว่างน�ำทัพบุกอินเดียราว 300 ปี ก่อนคริสต์-
ศักราชได้สญ ู หายไป ประเด็นส�ำคัญที่ทาร์นเสนอคือ งานเขียนกรีกเล่มนี ้
เป็ นต้นแบบให้กบั งานเขียนอื่นๆ อีก 2 เรื่อง คือ ชุดปั ญหาของพระเจ้า
ปโตเลมีท่ี 2 (The Question of Patolemy II) หรือที่เป็ นที่รูจ้ กั กันอีก
ชื่ อ หนึ่ ง ว่ า สูโ ด อริส เที ย ส ( Pseudo-Aristieas ) 13 และเชื่ อ ว่ า งาน

11 Woodcock (1966: 96 อ้างใน Aston, G.V. 2004)


12 Sedlar (1980: 64 อ้างใน Aston ( 2004)
13 เป็ นจดหมายทีบ่ อกเล่าถึงเรือ่ งราวของพระเจ้าปโตเลมีท่ี 2 ได้มรี บั สั่งให้เชิญ

(อ่านเชิงอรรถในหน้าต่อไป)
190
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

ชุดดังกล่าวยังเป็ นต้นแบบให้กบั ชุดต้นก�ำเนิดปั ญหาของพระเจ้ามิลินท์


(The Original Question of Milinda) อีกด้วย ลักษณะของวรรณกรรม
ทัง้ สองเรือ่ งหลังระบุถงึ กษัตริยช์ าวต่างชาติทม่ี อี ยูจ่ ริงทางประวัตศิ าสตร์วา่
ได้ทรงตัง้ ค�ำถามเชิงปรัชญาอย่างไรต่อผูแ้ ต่งนัน้ ๆ เช่น วรรณกรรมเรื่อง
ชุดปั ญหาของพระเจ้าปโตเลมีท่ี 2 สันนิษฐานว่า มีขึน้ ราว 300 ปี ก่อน
คริสต์ศักราช เป็ นวรรณกรรมที่ กล่าวถึงพระเจ้าปโตเลมี ท่ี 2 ซึ่งเป็ น
กษัตริยท์ ่ีมีอยูจ่ ริงทางประวัตศิ าสตร์ได้ทรงตัง้ ค�ำถามเชิงปรัชญา (เนือ้ หา
ปั ญหาเป็ นเรือ่ งของรัฐศาสตร์) กับกลุม่ นักปราชญ์ชาวยิวที่เชื่อว่า ผูแ้ ต่ง
สมมุติขึน้ มาเอง ส่วนชุดต้นก�ำเนิดปั ญหาของพระเจ้ามิลินท์เป็ นการ
ถาม-ตอบระหว่ า งกษั ต ริ ย ์เ มนั น เดอร์กั บ นั ก บวชชาวพุ ท ธที่ ผู้แ ต่ ง
สมมติ ขึน้ มาว่า ชื่ อ พระนาคเสน ทาร์น ตั้ง สมมติ ฐ านว่า ผู้แ ต่ง ที่ เ ป็ น
ชาวพุทธคนนัน้ ได้แต่งคัมภีร ์ 3 กัณฑ์แรกขึน้ ไม่เกิน 100 ปี ก่อนคริสต์-
ศักราช ซึ่งทาร์นเชื่อว่าเป็ นยุคที่ภาษากรีกเป็ นภาษาพูดทั่วไปในอินเดีย
และชาวอินเดียรูจ้ กั วรรณกรรมกรีกเป็ นอย่างดี14
เหตุผลของทาร์นส�ำหรับอ้างว่าต้นฉบับคัมภี รม์ ิลินทปั ญหาถื อ
ก�ำเนิดมาจากวัฒนธรรมกรีก ได้แก่ การปรากฏค�ำศัพท์ โยนกะ (Yonaka)
ที่ปรากฏในคัมภี รม์ ิลินทปั ญหากัณฑ์ตน้ เป็ นศัพท์ภาษากรีกที่ใช้กัน
แพร่หลายในยุคที่วฒ ั นธรรมเฮลเลนิสต์รุง่ เรือง (Hellenistic Period)15

(เชิงอรรถต่อจากหน้าที่แล้ว)

นักปราชญ์ชาวยิวจ�ำนวน 72 คนมาเข้าเฝ้าเพื่อทรงสอบถามปั ญหาต่างๆ


เช่น เรื่องศาสนาและราชประเพณี (P. Wendland. 1900: 280 อ้างใน
Tarn, W. W. 1938: 424)
14 Tarn (1938: 435)
15 ยุค เฮลเลนิ ส ต์ (Hellenistic Period ) (323-31 ปี ก่อ นคริสต์ศัก ราช)

(อ่านเชิงอรรถในหน้าต่อไป)
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 191
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

แต่ในขณะเดียวกันค�ำศัพท์ดงั กล่าวกลับปรากฏในคัมภีรม์ ิลินทปั ญหา


ฉบับภาษาบาลี และหมายถึง ชาวกรีก อีกด้วย
ถามว่าท�ำไมผูร้ จนามิลนิ ทปั ญหาในกัณฑ์ท่ี 1 ถึงเลือกใช้คำ� ศัพท์
โยนกะ ทาร์นให้เหตุผลว่า ถ้าหากฉบับภาษาบาลีถูกดัดแปลงมาจาก
ต้นฉบับภาษาสันสกฤตหรือปรากฤต (Northern Prakrit) แล้วท�ำไม
ค�ำศัพท์ “ยวนะ” หรือ “โยนะ” ไม่ถูกน�ำมาใช้ในภาษาสันสกฤตและ
ปรากฤตทั่ว ไป ดัง นั้น ถ้า ค�ำ ศัพ ท์ “โยนกะ” ที่ ห มายถึ ง ชาวกรี ก ถูก
น�ำมาใช้ และค�ำศัพท์นีถ้ กู คงไว้ในฉบับแปลภาษาบาลี และแม้แต่ในฉบับ
ภาษาบาลีกณ ั ฑ์ท่ี 2 ศัพท์นีก้ ็ยงั ถูกแทนที่ดว้ ยค�ำอธิบายความหมายของ
ศัพท์คล้ายกับที่พบในฉบับแปลภาษาจีน ดังนัน้ จึงอาจพิจารณาได้ว่า
ศัพท์คำ� นีเ้ ป็ นศัพท์ท่ีคอ่ นข้างยากในสังคมอินเดียและจีน16
เหตุผลประการต่อมาเพื่อสนับสนุนสมมติฐานข้างต้นคือ ทาร์น
เชื่อว่าจากประวัติพระเจ้ามิลินท์ในฉบับภาษาบาลีท่ีกล่าวว่า พระเจ้า
มิลนิ ท์ประสูตใิ นหมูบ่ า้ นเล็กๆ ชื่อ กลสิ (Kalasi) ไม่ไกลจากเกาะอลสันทะ
(Alasanda)17 นัน้ เป็ นไปได้ว่า กษัตริยเ์ มนันเดอร์เป็ นเพียงสามัญชนที่
ต่อมาภายหลังได้เป็ นกษัตริยส์ อดคล้องกับประวัตขิ องกษัตริยเ์ มนันเดอร์
ที่ 1 (King Menander I) ซึง่ เป็ นบุคคลที่มีตวั ตนจริงทางประวัตศิ าสตร์
โดยพระองค์เป็ นชาวกรีกจากเมืองปาโรปามิเสเด (Paropamisadae)18

(เชิงอรรถต่อจากหน้าที่แล้ว)

เป็ นยุคที่วฒ
ั นธรรมกรีกได้ขยายตัวไปอย่างกว้างขวางไปเกือบทั่วภูมิภาค
ยุโรปและพืน้ ที่ใกล้เคียงแถบเอเชีย สาเหตุมาจากการเมือง โดยการรุกราน
ของกษัตริยอ์ เล็กซานเดอร์ (Antoine, S. 2011)
16 Tarn (1938: 416 - 418)
17 Rhys Davids (1890: 127)
18 เมืองคาบูล (Kabul) ของประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน (Rapson, E.J.
1922: 431)
192
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

ประสูติดว้ ยฐานะของสามัญชนในหมู่บา้ น ค�ำว่า ประสูติในหมู่บา้ น


ทาร์นสันนิษฐานว่า น่าจะหมายความว่า บิดาเป็ นเจ้าของทีด่ นิ จ�ำนวนมาก
และมีขนาดใหญ่เกือบจะกลายเป็ นหมูบ่ า้ น นอกจากนี ้ กษัตริยพ์ ระองค์นี ้
สิน้ พระชนม์ราว 150-145 ก่อนคริสต์ศักราชและไม่ใช่กษั ตริยเ์ ลือด
ผสมกรีก (Euthydemid)19 อย่างที่สนั นิษฐานกันในคัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา
ฉบับบาลีอีกด้วย
ข้อขัดแย้งเรือ่ งสถานที่ประสูตริ ะหว่างคัมภีรฉ์ บับบาลีและภาษาจีน
กลายเป็ นหลักฐานส�ำคัญที่สนับสนุนแนวคิดของทาร์น โดยหลักฐาน
ที่พบในนาคเสนภิกษุสตู รฉบับภาษาจีนได้กล่าวถึงสถานที่ประสูติของ
กษัตริยว์ า่ อยูห่ า่ งจากเมืองสาคละ 2,000 โยชน์20 ซึง่ น่าจะหมายถึงเมือง
อเล็กซานเดรียแห่งอียิปต์ (Alexandria of Egypt)21 และได้เป็ นกษัตริย ์
ปกครองเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งใกล้ชายฝั่ งทะเล ในขณะที่ในคัมภีรภ์ าษา
บาลีกล่าวถึงสถานที่ ประสูติของกษั ตริยว์ ่าอยู่ห่างจากนครสาคละ22
200 โยชน์ทเ่ี กาะอลสันทะ (Alasanda) หรือเชื่อว่าเป็ นเมืองอเล็กซานเดรีย
แห่งเกากาซัส (Alexandria of the caucasus)23 แต่ในทางประวัตศิ าสตร์

19 ยูไธเดมิดส์ (Euthydemids) เป็ นชื่อของราชวงศ์ท่ีเกิดขึน้ ระหว่างกษัตริย ์


เชือ้ สาย อินโด-กรีก (Indo-Greek) และเกรโก แบคเตรียน (Greco-Bactrian)
มีกษัตรย์สืบเชือ้ สายประมาณ 25 พระองค์ ตัง้ แต่ 230-10 ปี ก่อนคริสต์-
ศักราช (Antoine, S. 2011)
20 Guang (2007: 183)
21 เมืองอเล็กซานเดรียเป็ นเมืองท่าส�ำคัญของทะเลเมดิเตอริเนียนทางเหนือ
ของประเทศอี ยิปต์ก่อตั้งขึน้ เมื่ อ 331 ปี ก่อนคริสต์ศักราชโดยพระเจ้า
อเล็กซานเดอร์มหาราช (Joshua J. Mark. 2018)
22 ในฉบับภาษาบาลี เมืองสาคละ (Sāgala ) ในปั จจุบนั หมายถึง เมือง
ไสอัลกอต (Sialkot) ในประเทศปากีสถาน (Upasak, C.S. 1990: 38)
23 ปั จ จุบัน คื อ เมื อ งกัน ทหารี ( Kandahari ) ในอัฟ กานิ ส ถานตอนใต้
(Pachow, W. 2000: 5)
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 193
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

ไม่พบว่ามีหมู่บา้ นกลสิ (Kalasi) อยู่เลย ทาร์นค่อนข้างจะมีความเห็น


โน้มเอียงไปทางฉบับแปลภาษาจีนมากกว่าฉบับแปลภาษาบาลี เนื่องจาก
ทาร์นสันนิ ษฐานว่า อาจจะเป็ นไปได้ว่าประมาณ 210-200 ปี ก่อน
คริสต์ศกั ราช เป็ นยุคที่เมืองอเล็กซานเดรียแห่งอียิปต์ถูกปกครองโดย
ราชวงศ์กรีก ดังนัน้ ความเป็ นไปได้เกี่ ยวกับสมมติฐานของทาร์นเรื่อง
พระเจ้าเมนันเดอร์ไม่ใช่กษัตริยเ์ ลือดผสมอินเดียกรีกจึงมีความหนักแน่น
มากยิ่งขึน้
แต่ในทางตรงกันข้าม หลักฐานส�ำคัญทีข่ ดั แย้งกับแนวคิดของทาร์น
ข้างต้นคือข้อเสนอของภิกษุเปสลา ที่วา่

...มีการค้นพบเหรียญกษาปณ์ของกษัตริยพ์ ระองค์นีท้ ่ วั ไป
ทางอินเดียตอนเหนือในบริเวณค่อนข้างกว้างขวาง คือ ทางทิศ
ตะวันตกไกลถึงกาบู (ในอัฟกานิสถาน) ทางตะวันออกไปไกลถึง
มถุ ร า (ในอิ น เดี ย ติ ด กั บ เนปาล) และเหนื อ สุด ไกลถึ ง กั ศ มี ร
(แคชเมียร์ในอินเดียตอนเหนือ) ภาพกษัตริยเ์ มนันเดอร์บนเหรียญ
กษาปณ์บางเหรียญเป็ นชายหนุม่ บางเหรียญเป็ นชายชรา…24

อุปาสัก (Upasak, C.S.)25 ให้ความเห็นเกี่ยวกับเมืองกลสิ ที่ถกู อ้าง


ว่าไม่มีอยูจ่ ริงทางประวัตศิ าสตร์ไว้ในหนังสือ History of Buddhism in
Afghanistan ว่าในฉบับแปลภาษาบาลีระบุวา่ พระเจ้ามิลน ิ ท์ประสูตใิ น
หมูบ่ า้ นกลสิ (Kalasi) ในนครอลสันทะ (Alasanda) นครอลสันทะถูกอ้างว่า
เป็ นเมืองอเล็กซานเดรียแห่งเกากาชัส (Alexandria in Caucasus) และ
หมูบ่ า้ นกลสิถกู ระบุวา่ น่าจะเป็ นเมืองกปิ ษะ (Kapiśa) หรือเมืองเบกราม

24 นวพร เรืองสกุล (2558: 35)


25 Upasak (1990: 100-103)
194
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

(Begram)26 ในปัจจุบนั ส่วนอลสันทะเป็ นชื่อทวีป (Dīpa) สันนิษฐานว่าคือ


ชมพูทวีป (Jampudīpa) ซึง่ เป็ นอีกชื่อหนึง่ ของอินเดีย ส่วนกลสินา่ จะเป็ น
ชื่อเมืองไม่ใช่หมู่บา้ น เพราะเรารู จ้ กั ชื่อของหมู่บา้ นว่ามักจะลงท้ายด้วย
ค�ำว่า คามะ (gāma) หรือ คฺรามะ (grāma) เช่น รามคามะ (Ramagāma)
ยิ่งไปกว่านัน้ เขาชีว้ า่ กลสิตอ้ งเป็ นเมืองอเล็กซานเดรียหรือสถานที่
บางแห่งในบริเวณใกล้เคียง และเชื่ ออย่างจริงจังว่า สถานที่ นั้น คือ
ต�ำแหน่งของเมืองเบกราม (Begram) ซึง่ ห่างเพียงไม่ก่ีไมล์จากทิศตะวัน
ออกของเมืองโอเปี ยน (Opian) (หรือเมืองอเล็กซานเดรียแห่งเกากาซัส)
ที่ถกู บันทึกไว้ในฉบับแปลภาษาจีนและค�ำว่า “กปิ ษะ” ก็ถกู บันทึกด้วย
ค�ำว่า Kipin อีกด้วย
เมื องกลสิ ต้องอยู่ใกล้เมื องอเล็กซานเดรียแห่งเกากาซัส สิ่งที่
พอจะระบุได้อย่างมีนยั ยะส�ำคัญ คือ ค�ำว่าเมืองกปิ ษะ น่าจะเกิดจาก
การคัดลอกที่ผิดพลาดของผูค้ ดั ส�ำนวนจากต้นฉบับมาเป็ นชื่อในภาษา
บาลีว่า กลสิ ดังนั้นหากยึดข้อสันนิ ษฐานนี ้ น่าจะเป็ นเรื่องที่ ถูกต้อง
แสดงว่าสถานที่ประสูตขิ องกษัตริยเ์ มนันเดอร์ควรจะเป็ นเมืองกปิ ษะหรือ
เมืองเบกรามในปั จจุบนั แนวคิดนีไ้ ด้รบั การยอมรับทั่วไปว่าเขตพืน้ ที่ของ
เมืองโบราณปาโรปามิเสเดในปั จจุบนั ได้แก่ เมืองเบกราม (Begram),
โชโตรัก (Shotorak), ไปตวะ (Paitava),และ ฉาริการ์ (Charikar) เป็ น
พืน้ ที่ในเขตปกครองของกษัตริยเ์ มนันเดอร์ นอกจากนีก้ ษัตริยเ์ มนันเดอร์
ยังถูกระบุว่าเป็ นพุทธศาสนิกชน เนื่องจากมีหลักฐานจากการค้นพบ
ในเหรียญกษาปณ์ของพระองค์ปรากฏมีสญ ั ลักษณ์จกั ร, สิงโต และช้าง

26 เบกราม (Begrām) เป็ นที่ตงั้ ของเมืองโบราณกปิ ษะ ตัง้ อยู่ทางทิศเหนือ


ของคาบูล ( Kabul ) ประมาณ 80.5 กิ โ ลเมตร เลยหุบ เขาปานเซอร์
(Panjšīr) และ แม่นำ้� กอร์แบนด์ (Ḡorband) ณ บริเวณที่ไหลบรรจบกัน
ของหุบเขาและแม่นำ้� (Marthal, L. Carter. 1989)
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 195
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

ซึง่ เป็ นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าและพุทธศาสนา นอกจากนีย้ งั ปรากฏ


ชื่อ “Dharmikas” (Dhārmikasya) ด้วยอักษรขโรษฐี (Kharosti) ซึง่ เป็ น
ชื่อที่ใช้สำ� หรับชาวพุทธเท่านัน้
อุปาสัก ระบุว่า รู จ้ กั กิจกรรมทางศาสนาของกษัตริยเ์ มนันเดอร์
ค่อนข้างน้อย แต่สนั นิษฐานว่าพระองค์อาจจะสร้าง วิหาร เจดีย ์ และ
สถูป ในอาณาจัก รของพระองค์เ นื่ อ งจาก อุป าสัก เชื่ อ ว่า เมื อ งกปิ ษ ะ
เป็ น ศูน ย์ก ลางของพุท ธศาสนาเถรวาทยุค ต้น และดูเ หมื อ นกษั ต ริย ์
เมนันเดอร์อาจจะน�ำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ท่ีดินแดนประสูติ ฉะนัน้
สถูปและวิหาร ย่อมต้องถูกสร้างโดยพระองค์ท่ีเมืองกปิ ษะ
ดังนัน้ จึงมีความเป็ นไปได้ว่า สถูปและวัดบางแห่งที่ถกู ขุดค้นพบ
อาจเป็ นผลงานของกษัตริยเ์ มนันเดอร์ก็ได้ และนักวิชาการหลายท่าน
ยังยอมรับก่อนที่พระเจ้ากนิษกะจะเข้าปกครองในเขตนี ้ เมืองเบกราม
เคยเป็ นศูนย์กลางพุทธศาสนาในเอเชีย และได้เผยแผ่พุทธศาสนาไป
ทางทิศตะวันตกจนถึงเอเชียกลางในระหว่างที่กษัตริยเ์ ชือ้ สายเกรคเก-
บัคเตรียน (Grace-Bactrian) ครองราชย์ในอัฟกานิสถาน ดังนัน้ เมือง
เบกรามน่าจะมีบทบาทส�ำคัญมากในการเผยแผ่พุทธศาสนาในช่วงที่
กษัตริยเ์ มนันเดอร์ปกครอง
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก คัมภีรม์ หาวังสะ (Mahāvamsa) ของศรีลงั กา
สนับสนุนข้อเท็จจริงที่วา่ ระหว่างที่กษัตริยเ์ มนันเดอร์ครองราชย์อยูห่ รือ
หลังจากนัน้ เมืองกปิ ษะเป็ นศูนย์กลางของพุทธศาสนาเถรวาทยุคต้น
(Early Theravada Buddhism) ซึง่ พระภิกษุจากทั่วสารทิศจะมาอาศัย
ในอารามในเมืองนี ้ เมืองกปิ ษะจึงด�ำรงไว้ซ่ึงการติดต่อทางศาสนากับ
ประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ผ่านมาทางพระภิกษุเหล่านี ้ ดังนัน้ จึงกล่าวได้วา่
เมืองกปิ ษะเคยเป็ นศูนย์กลางส�ำคัญทางศาสนามาก่อน ยกตัวอย่าง
196
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

ส�ำคัญ เช่น พระภิกษุเหล่านีไ้ ด้รบั นิมนต์ไปที่ศรีลงั กาเพื่อร่วมกิจกรรมทาง


ศาสนาเพื่อเฉลิมฉลองมหาสถูป พระเถระชาวกรีกชื่อ มหาธรรมรักขิตะ
(Yona Mahadhamarakkhita ) ผูท้ ำ� หน้าที่ เป็ นผูน้ ำ� คณะสงฆ์ผูค้ ง
แก่เรียนและเคร่งครัดในศาสนาจ�ำนวน 30,000 รู ป ประกอบพิธีกรรม
เป็ นพระสงฆ์จากเมืองกปิ ษะ นอกจากนีเ้ รายังได้รูจ้ กั พระโยนะธรรมรักขิตะ
จากคัมภีรม์ หาวังสะว่าเป็ นหนึ่งในพระธรรมทูตที่พระเจ้าอโศกทรงส่งไป
เผยแผ่พระพุทธศาสนายังอปรานตกประเทศ ดังนัน้ จึงไม่ตอ้ งสงสัยเลยว่า
เมืองกปิ ษะเป็ นเมืองศูนย์กลางพุทธศาสนาเถรวาทยุคต้น ที่ซง่ึ พระภิกษุ
ผูค้ งแก่เรียนอาศัยอยู่
สตราโบ ( Strabo ) 27 กล่า วไว้ใ นหนัง สื อ ภูมิ ศ าสตร์ข องเขาว่า
พระเจ้าเมนันเดอร์นัน้ เป็ นกษัตริยท์ ่ีสำ� คัญองค์หนึ่งในจ�ำนวน 2 องค์
ของบัคเตรียที่ทำ� ให้อำ� นาจของกรีกแผ่ไปไกลที่สดุ ทางตะวันออกจนเลย
เข้าไปถึงอินเดีย พระองค์ได้ขา้ มไฮปานิส (Hypanis) และรุกเข้าไปไกลถึง
ไอสาโมส (Isamos) บางทีอาจจะได้แก่ จุมมะ (Jumma) แต่ในบทความ
เกี่ยวกับงานนิพนธ์ของจัสติน (Justin) กล่าวว่า พระเจ้าเมนันเดอร์กบั
พระเจ้าอพอลโลโดตุส (Apollodotus) นัน้ เป็ นกษัตริยอ์ ินเดีย28
หลัก ฐานที่ อ ้า งถึ ง การมี อ ยู่ข องพระเจ้า เมนัน เดอร์ข องทาร์น
เมื่อเทียบกับหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ท่คี น้ พบในอัฟกานิสถานปั จจุบนั
พบว่า แนวคิดที่วา่ ต้นฉบับมิลนิ ทปัญหามีกำ� เนิดมาจากกรีก โดยกษัตริย ์
กรีกที่ปกครองเมืองอเล็กซานเดรียแห่งอียิปต์นนั้ เป็ นเรื่องที่สรุ ปได้ยาก
เนื่ องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จำ� นวนค่อนข้างมากปรากฏใน
อินเดีย และอัฟกานิสถาน ในขณะที่งานของทาร์นเต็มไปด้วยสมมติฐาน

27 สตราโบ เป็ นนักปรัชญา นักประวัติศาสตร์และนักภูมิศาสตร์ท่ีเชี่ยวชาญ


เกีย่ วกับประเทศกรีกมีชวี ติ อยูร่ าว 64 ปี กอ่ นคริสต์ศกั ราชถึงคริสต์ศกั ราชที่ 24
28 มหามกุฏราชวิทยาลัย (2547: 532)
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 197
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

ความเป็ นไปได้ ส่วนข้อขัดแย้งเรื่องระยะทางที่แตกต่างกันระหว่างฉบับ


แปลภาษาจีนและภาษาบาลีนนั้ ผูเ้ ขียนจะยกไปน�ำเสนอในล�ำดับต่อไป
เนื่องจากในเบือ้ งต้นจ�ำเป็ นต้องวิเคราะห์ขอ้ มูลความแตกต่างระหว่าง
ทัง้ สองฉบับ หลังจากนัน้ จึงจะวิเคราะห์ความเป็ นไปได้เรือ่ งความแตกต่าง
ระหว่างระยะทาง ดังนัน้ เมื่อกล่าวโดยย่อ สามารถสรุปเหตุผลของกลุม่
ที่เชื่อว่าต้นก�ำเนิดคัมภีรม์ าจากวัฒนธรรมกรีกได้ ดังต่อไปนี ้

1. รู ปแบบของคัมภีรม์ ิลินทปั ญหา มีรูปแบบคล้ายงานสนทนา


ของเพลโตซึง่ เป็ นนักปรัชญาชาวกรีก
2. ลักษณะของปั ญหาในคัมภีร ์ เป็ นผลงานของการผสมผสาน
ของวัฒนธรรมเฮลเลนิสต์ เนื่องจากมีการยอมรับรูปแบบการสนทนาแบบ
กรีกในหลายๆ รูปแบบอย่างชัดเจน
3. ลัก ษณะของปั ญ หา มี ค วามคล้า ยคลึ ง กั บ ชุ ด ปั ญ หาของ
พระเจ้าปโตเลมีท่ี 2 หรือที่เป็ นที่รูจ้ กั กันอีกชื่อหนึง่ ว่า สูโด อริสเทียส
4. ค�ำ ศัพ ท์ โยนกะ ที่ ป รากฏในคัม ภี ร ม์ ิ ลิ น ทปั ญ หากัณ ฑ์ต ้น
(กัณฑ์ท่ี 1-3) เป็ นศัพท์ภาษากรีกที่ใช้กนั แพร่หลายในยุคที่วฒ ั นธรรม
เฮลเลนิสต์ รุ ่งเรือง ค�ำศัพท์คำ� นัน้ เป็ นที่รูจ้ กั กันแพร่หลายในยุคนัน้ ว่า
หมายถึงชาวกรีก
5. กษั ต ริ ย ์ เ มนั น เดอร์ ท่ี 1 เป็ นบุ ค คลที่ มี ตั ว ตนจริ ง ทาง
ประวัติศาสตร์สิน้ พระชนม์ราว 150-145 ก่อนคริสต์ศักราชและเป็ น
กษัตริยช์ าวกรีกแท้
6. ภาษากรี ก เป็ น ภาษาที่ รู ้จัก แพร่ ห ลายในอิ น เดี ย สมัย นั้น
ดังปรากฏในจารึกเสาหินพระเจ้าอโศกจ�ำนวน 2 ต้น
198
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้วพบว่า
ที่กล่าวว่าต้นฉบับคัมภีรม์ ิลินทปั ญหากัณฑ์ตน้ (กัณฑ์ท่ี 1-3) เกิดใน
ดินแดนกรีกนัน้ มีความเป็ นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะเนือ้ หาในคัมภีร ์
กล่าวถึงสถานที่ตา่ งๆ ในประเทศอินเดียเป็ นจ�ำนวนมาก ในขณะเดียวกัน
หลักฐานที่อา้ งถึงการมีอยูข่ องสถานที่ประสูตขิ องพระเจ้ามิลนิ ท์ท่ีปรากฏ
ในหนังสือ History of Buddhism in Afghanistan ว่า หมู่บา้ นกลสิ
ที่ปรากฏในมิลนิ ทปั ญหาฉบับแปลภาษาบาลีน่าจะหมายถึงเมืองกปิ ษะ
หรือเมืองเบกรามในประเทศอัฟกานิสถานในปั จจุบนั นอกจากนัน้ การ
อ้างว่า มิลินทปั ญหาฉบับแปลภาษาบาลี มีรูปแบบคล้ายบทสนทนา
ของเพลโต ซึ่ ง มี ลัก ษณะเป็ น แบบวัฒ นธรรมกรี ก ท�ำ ให้ท าร์น และ
นักวิชาการต่างๆ ที่มีความเห็นในลักษณะเดียวกันกับ วีเบอร์ ข้างต้น
เชื่อว่ามิลินทปั ญหาได้รบั อิทธิ พลมาจากวัฒนธรรมกรีก แต่เนื่องจาก
วรรณกรรมประเภทถาม-ตอบ หรือการโต้วาทะ ในลักษณะอย่างนี ้ พบว่า
มีอยูแ่ ล้วในอินเดียยุคนัน้ ไม่วา่ จะเป็ นกถาวัตถุท่ีปรากฏในพระไตรปิ ฏก
หรื อ พระสูต รส�ำ คัญ อื่ น ๆ ล้ว นอยู่ใ นลัก ษณะถาม-ตอบ แทบทั้ง สิ น้
ผูเ้ ขี ยนจึงเห็นว่า การศึกษาที่ มาของคัมภี รม์ ิลินทปั ญหาจากแนวคิด
ที่ปรากฏในวัฒนธรรมอินเดียอาจจะน�ำมาซึ่งหลักฐานส�ำคัญส�ำหรับ
ไขปริศนาว่าด้วยก�ำเนิดคัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหาต่อไป

แนวคิดที่สนับสนุนว่าคัมภีร์มิลินทปัญหา
มีก�ำเนิดมาจากวัฒนธรรมอินเดีย

นักวิชาการด้านอินเดียศึกษาคนส�ำคัญ ได้แก่ ริส เดวิดส์ (Rhys


David, T.W.), วินเตอร์นต
ิ ซ์ (Winternitz, M.), เลปิ ง (Leiping), ฮาสติงส์
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 199
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

(Hastings, Ed. J) และกอนดา (Gonda, J.) เห็นว่า ลักษณะของการ


สนทนาแบบนักปราชญ์คล้ายกับที่ปรากฏในคัมภีรม์ ิลินทปั ญหาเป็ นที่
รู จ้ กั กันในอินเดียอยู่แล้วตัง้ แต่ยคุ พระเวทและพระพุทธศาสนายุคต้น29
พิธีกรรมรู ปแบบหนึ่งของการแลกเปลี่ยนความรู ด้ า้ นจักรวาลวิทยา คือ
การจัดให้ผเู้ ข้าร่วมแข่งขันนั่งหันหน้าเข้าหากันเป็ นวงกลม 2 วงซ้อนกัน
จากนั้น จะให้ส นทนาแลกเปลี่ ย น (แข่ ง ขัน โต้ว าทะ) ด้ว ยการถาม
และตอบความรูใ้ นคัมภีรพ์ ระเวทชื่อพราหมโมทยา (Brahmodya)30
ยารอสลว์ (Yaroslav)31 อ้างว่า รู ปแบบของการแข่งขันโต้วาทะ
โบราณแบบนี ้จ ะจัด ให้คู่แ ข่ ง พบกัน ที่ ห อประชุม ของชุม ชนหรื อ เผ่ า
สถานที่นั้นเรียกว่า บริษัทหรือสภา นอกจากนี ้ ยารอสลว์ ยังระบุว่า
รู ป แบบของการแต่ง คัม ภี ร ม์ ิ ลิน ทปั ญ หา สะท้อ นความมี อ ยู่จ ริง ของ
การแข่งขันโต้วาทีโบราณ (Archaic Verbal Agon) ดังกล่าว จากแนวคิด
ข้างต้น ยารอสลว์ อธิบายว่า ชุดค�ำถามและค�ำตอบที่เรียกว่า บทสนทนา
เป็ นรู ปแบบปกติท่ วั ไปของโครงสร้างคัมภีรท์ างศาสนาในอินเดีย เช่น
มหากาพย์ภ ารตะ บทสนทนาระหว่า งกฤษณะและอรชุน ในคัม ภี ร ์
ภควคีตาและอรรถาธิบายในคัมภีรอ์ ปุ นิษัท
ค�ำถามที่อาจจะเกิดขึน้ ตามมาคือ เมื่อการแข่งขันโต้วาทะมักจะ
ใช้สถานที่สำ� คัญคือ สภา หรือที่ประชุม แล้วการเข้าไปโต้วาทะในป่ า
สองต่ อ สองของพระเจ้า มิ ลิ น ท์แ ละพระนาคเสนในเมณฑกปั ญ หา
ขัดแย้งกับรูปแบบการโต้วาทะโบราณข้างต้นหรือไม่ ยารอสลว์32 เสนอว่า

29 Winternitz, Leiping, Rhys David, Hastings, Ed, และ Gonda อ้างใน


Yaroslav (1993:64)
30 เป็ นคัมภีรส์ ำ� คัญที่พดู ถึงพิธีกรรมการโต้วาที เรือ่ งเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา
31 Yaroslav (1993: 66)
32 Yaroslav (1993: 68)
200
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

…การสนทนาครัง้ ที่ 3 แขก คือ พระเจ้ามิลนิ ท์เสด็จมาพบ


เจ้าบ้าน คือ พระนาคเสนเพือ่ ทีจ่ ะถามปัญหาอีกครัง้ จากนัน้ ทัง้ สอง
ไปยังป่ าแห่งหนึ่งโดยล�ำพัง การเปลี่ยนสถานที่เช่นนีเ้ นื่องจาก
มีความเป็ นไปได้วา่ ความสัมพันธ์ระหว่างทัง้ สองได้เปลี่ยนแปลง
ไปแล้ว (พระเจ้ามิลินท์กลายมาเป็ นศิษย์ของพระนาคเสน) และ
เป็ นไปได้วา่ ที่ทงั้ สองไปสนทนาที่ป่าเพราะว่าธรรมชาติของปั ญหา
(ปั ญหาอุภโตโกฏิ) เป็ นที่เข้าใจกันได้ในวงจ�ำกัด…

ในขณะเดียวกัน เมื่อเทียบคัมภีรม์ ิลินทปั ญหากับคัมภีรก์ ถาวัตถุ


แล้วจะเห็นว่าข้อความในคัมภีรม์ ิลินทปั ญหาหลายตอนคล้ายคลึงกับ
เนือ้ หาจากคัมภีรก์ ถาวัตถุ เช่น ปั ญหาเรื่องทิพยจักษุเป็ นได้จริงหรือไม่
เรือ่ งคฤหัสถ์ท่ีบรรลุพระอรหันต์แล้วจะบวชด้วยวิธีอย่างไร เป็ นต้น ตรงกั
บความในกถาวัตถุทุกอย่าง และยังพบว่าเนื อ้ ความในกถาวัตถุมีค ำ�
อธิบายละเอียดพิสดารกว่าอีกด้วย33
คัมภีรม์ ลิ นิ ทปัญหา34 ฉบับภาษาบาลีนนั้ เท่าทีป่ รากฏอยูใ่ นปัจจุบนั
มีฉบับอักษรสิงหล อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรพม่าและอักษรขอม
ฉบับหลังๆ เชือ่ ว่า เนือ้ หาถูกน�ำมาจากฉบับอักษรสิงหลทัง้ สิน้ แต่ปรากฏว่า
แต่ละฉบับมีวิธีการจัดระเบียบเนื อ้ เรื่องไม่เหมือนกัน และมีขอ้ ความ
บางตอนแตกต่า งกัน ออกไปบ้า ง เช่ น ฉบับ อัก ษรโรมัน ต่า งกับ ฉบับ
อักษรไทย ทัง้ การจัดระเบียบและข้อความบางตอน เป็ นต้น การที่แตกต่าง
กันนั้น อาจถูกเปลี่ยนโดยผูค้ ัดลอกทางยุโรปหรือผูค้ ัดลอกทางพม่า
ศรีลังกา ไทย ก็ ได้ หรือไม่ก็เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ครัง้ ที่ มีการแปลจาก
สันสกฤตมาเป็ นบาลี

33 Müller
(1965.: xxvi) อ้างใน มหามกุฏราชวิทยาลัย (2547: 528)
34 มหามกุฏราชวิทยาลัย (2547: 538)
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 201
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

นอกจากนี ้ บาคธิน (Bakthin, M.M.) นักปรัชญาภาษาชาวรัสเซีย


ยัง ได้โ ต้แ ย้ง แนวคิ ด การก�ำ เนิ ด มิ ลิ น ทปั ญ หาจากวัฒ นธรรมกรี ก ว่ า
การสนทนาแบบโสเครตีสไม่มีการก�ำหนดรู ปแบบชัดเจน เช่น โสเครตีส
สามารถโต้วาทะได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็ นสี่แยกสาธารณะ บ้านคน ในคุก
หรือที่อ่ืนๆ ในขณะที่ของอินเดียมักจะใช้สถานที่คือ สภาเสมอ35
จากการศึกษาทัศนะของนักวิชาการต่างๆ ข้างต้นพบว่า แนวคิด
การก�ำเนิดคัมภี รม์ ิลินทปั ญหากลุ่มที่สนับสนุนว่า มาจากวัฒนธรรม
อินเดีย และเชื่อว่าคัมภีรถ์ กู รจนาด้วยภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาปรากฤต
หรือสันสกฤตในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย เนื่องจากเหตุผล
ดังต่อไปนี ้

1. รูปแบบการถามและตอบ ที่เรียกว่าการสนทนาเป็ นรูปแบบปกติ


ของของโครงสร้างคัมภีรใ์ นอินเดียทั่วไป เช่น มหากาพย์ภารตะ คัมภีร ์
ภควัทคีตา และอรรถธิบายในคัมภีรอ์ ปุ นิษัท
2. มีการค้นพบเหรียญกษาปณ์ของกษัตริยเ์ มนันเดอร์ทางอินเดีย
ตอนเหนือ จึงเชื่อว่าคัมภีรน์ า่ จะถูกรจนาขึน้ ในประเทศอินเดีย
3. หมู่บา้ นกลสิ สถานที่ประสูติของพระเจ้าเมนันเดอร์ท่ีปรากฏ
ในมิลนิ ทปั ญหาฉบับภาษาบาลีน่าจะเป็ นเมืองกปิ ษะ หรือเมืองเบกราม
ประเทศอัฟกานิสถานในปั จจุบนั ส่วนชื่อกลสิ น่าจะเกิดจากการคัดลอก
ที่ผิดพลาดของผูค้ ดั ส�ำนวน
4. ข้อมูลจากคัมภี รม์ หาวังสะของศรีลังการะบุว่า เมืองกปิ ษะ
เคยเป็ นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาที่ย่ิงใหญ่ ของนิกายเถรวาทยุคต้น
และเป็ นที่อาศัยของพระภิกษุผคู้ งแก่เรียนจ�ำนวนมาก
5. หลักฐานจากสถานที่สำ� คัญและแม่นำ้� ส�ำคัญที่ปรากฏในคัมภีร ์

35 Bakthin (1979) อ้างใน Yaroslav (1993 : 71)


202
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

อาจกล่าวได้วา่ คัมภีรถ์ กู รจนาขึน้ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียด้วย


ภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาปรากฤตหรือสันสกฤต

พัฒนาการของคัมภีร์มิลินทปัญหา

อย่ า งไรก็ ต าม แม้เ ราอาจจะพอสัน นิ ษ ฐานได้ว่า คัม ภี ร ม์ ิ ลิ น ท


ปั ญหามีท่ีมาจากอย่างน้อยสองสายวัฒนธรรมคือวัฒนธรรมอินเดียและ
วัฒนธรรมกรีก แต่เนื่องจากคัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหามีประวัติและพัฒนาการ
ยาวนาน การศึกษาคัมภีรฯ์ โดยการแยกออกเป็ นส่วนๆ อาจท�ำให้เกิด
ความเข้าใจที่มาของคัมภีรค์ ลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นผูเ้ ขียนจึงได้ศึกษา
พัฒนาการของคัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา ด้วยความพยายามที่จะน�ำเสนอโดย
การเปรียบเทียบหลักฐานของแต่ละฝ่ ายส�ำคัญที่หลงเหลืออยูใ่ นปั จจุบนั
ได้แก่ ฝ่ ายจีนและฝ่ ายบาลี
สกิลลิ่ง (Skilling, P.)36 เสนอว่า คัมภีรม์ ิลินทปั ญหาทุกฉบับที่
เป็ นที่รูจ้ กั กันนัน้ ต้นฉบับอาจจะรจนาด้วยภาษาปรากฤตทางตะวันตก
เฉี ยงเหนื อของอินเดีย และต่อมาชาวศรีลงั กาได้น ำ� ต้นฉบับดังกล่าว
มาแปลเป็ นภาษาบาลี ประมาณปี คริสต์ศกั ราช 100 ดังนัน้ จึงปรากฏมี
มิลนิ ทปัญหาฉบับภาษาบาลี 3 กัณฑ์แรก และเชื่อกันว่าฉบับนีเ้ ป็ นฉบับที่
ถูกแปลมาจากต้นฉบับ ส่วนกัณฑ์ท่ีปรากฏในส่วนหลังเชื่อกันว่าได้รบั
การแต่งเพิ่มด้วยภาษาบาลีในศรีลงั กา นอกจากนีย้ งั ถูกแปลเป็ นภาษา
จีน 2 ครัง้ ฉบับแรกแปลในปี คริสต์ศกั ราช 300 แปลครัง้ ที่ 2 ระหว่างปี
คริสต์ศกั ราช 317-420 และปั จจุบนั มีมิลินทปั ญหาฉบับแปลภาษาจีน
จ�ำนวน 2 ฉบับ คัมภีรม์ ลิ นิ ทปั ญหาส่วนหลังพบในฉบับภาษาบาลีเท่านัน้
ไม่ปรากฏในฉบับแปลภาษาจีน

36 Skilling (1998: 92-96)


คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 203
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

มิ ลิ น ทปั ญ หาฉบับ แปลภาษาจี น ใช้ช่ื อ ว่ า นาคเสนภิ ก ษุ สูต ร


เชื่อว่ามีทงั้ หมด 2 ฉบับ นักวิชาการที่ศกึ ษาคัมภีรส์ ายนีเ้ รียกฉบับแรกว่า
นาคเสนภิกษุสตู ร ฉบับ A (NBS-A) และเรียกฉบับที่สองว่า นาคเสน-
ภิกษุสตู ร ฉบับ B (NBS-B) มิซโุ นะ (Mizuno, K.)37 นักวิชาการชาวญี่ปนุ่ ได้
เสนอว่า นาคเสนภิกษุสตู ร (Nāgasena Bhikṣu Sūtra) เป็ นฉบับทีถ่ กู แปล
เป็ นภาษาจีนในสมัยราชวงศ์ฮ่นั ตอนปลายประมาณคริสต์ศกั ราช 25-220
ไม่เกินสมัยสามก๊ก (คริสต์ศกั ราช 220-280)
กวง ซิง (Guang, X.)38 เสนอความแตกต่างระหว่างนาคเสนภิกษุ
สูตรทัง้ 2 ฉบับว่า นาคเสนภิกษุ สตู รฉบับแปลภาษาจีนได้รบั การแปล
ในยุคต้น ตัง้ แต่ท่ีมีการเริม่ แปลคัมภีรพ์ ทุ ธศาสนาในประเทศจีน เหตุผลนี ้
ได้รบั การสนับสนุนมาจาก 2 ปัจจัยทีป่ รากฏในตัวคัมภีรเ์ อง คือ 1) ค�ำศัพท์
เฉพาะที่ใช้ในตัวคัมภีรเ์ ป็ นภาษาโบราณ และขาดความเป็ นเอกภาพ
2) เป็ นหนังสือที่มีลกั ษณะพืน้ ฐานที่ดีสำ� หรับชาวจีนที่เริ่มศึกษาศาสนา
แต่เชื่อกันว่า คัมภีรท์ ่ีแปลในช่วงแรกถูกแปลในสมัยที่บา้ นเมืองไม่สงบ
หลังจากนั้นเมื่อสถานการณ์บา้ นเมืองกลับมาสงบขึน้ ผูแ้ ปลจึงกลับ
มาปรับปรุ งใหม่แต่คาดว่าเนือ้ หาของต้นฉบับ A นัน้ ขาดหายไปหลาย
ส่วน ดังนัน้ จึงปรากฏนาคเสนภิกษุสตู รจ�ำนวน 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ขอ้ มูล
ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ (NBS-A) และฉบับที่สมบูรณ์กว่า (NBS-B)
กวง ซิ ง ( Guang X . ) ได้เ ปรี ย บเที ย บนาคเสนภิ ก ษุ สูต รของ
ฉบับแปลภาษาจีนกับมิลนิ ทปั ญหาฉบับแปลภาษาบาลีของสมาคมบาลี
ปกรณ์ (Pali Text Society Edition) แล้วพบว่า นาคเสนภิกษุสตู รฉบับ B
3 กัณ ฑ์แ รก มี ค วามคล้า ยคลึง กัน กับ ฉบับ ภาษาบาลี ค่ อ นข้า งมาก
มี ส่ ว นที่ แ ตกต่ า งกั น เพี ย งเล็ ก น้อ ย นอกจากนี ้ กวงยัง เสนออี ก ว่ า

37 Mizuno (1959: 29-33) อ้างใน Guang (2009: 236 )


38 Guang (2009: 243)
204
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

นาคเสนภิ ก ษุ สูต รฉบับ B น่ า จะเป็ น ฉบับ ที่ เ ก่ า กว่ า ฉบับ ภาษาบาลี


และมีความใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สดุ
อย่า งไรก็ ต าม โมริ และ นานิ ว ะ ( Mori, S., Naniwa, S. ) 39
นักวิชาการญี่ปนได้ ุ่ เสนอแนวคิดที่น่าสนใจแตกต่างกันออกไปกล่าวคือ
โมริ และนานิวะ สันนิษฐานว่ามิลนิ ทปั ญหาอาจจะมีตน้ ก�ำเนิดด้วยภาษา
กรีกและเกิดขึน้ ในช่วง 200 ปี ก่อนคริสต์ศกั ราชสอดคล้องกับแนวคิด
ของทาร์น ดัง ที่ ไ ด้อ ธิ บ ายมาข้า งต้น และต้น ฉบับ นี ไ้ ด้สูญ หายไปแล้ว
จากนัน้ ปรากฏฉบับที่เป็ นภาษาปรากฤตหรือสันสกฤตขึน้ (ซึง่ ไม่ชดั เจนว่า
อยู่ในรู ปแบบของมุขปาฐะหรือรู ปคัมภี ร)์ ถัดมาอี กราวคริสต์ศักราช
100 พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทรับคัมภีรม์ ิลินทปั ญหาเข้ามา และมี
การเขียนเพิ่มเติมเข้าไป อีก 4 กัณฑ์หลัง คือ กัณฑ์ท่ี 4-7 และคัมภีรฉ์ บับนี ้
ได้กลายมาเป็ นต้นฉบับของฉบับภาษาบาลี ซึ่งต่อมาได้ถกู ปริวรรตไป
อีก 3 ภาษา ได้แก่ ฉบับบาลีอกั ษรไทย ฉบับบาลีอกั ษรสิงหล และฉบับ
บาลีอกั ษรพม่า เมื่อพิจารณาปี ของการรับเข้ามาและการแต่งเติมระหว่าง
ฉบับ ภาษาบาลี แ ละภาษาจี น แล้ว พบว่ า ฉบับ ภาษาจี น เริ่ม ปรากฏ
“นาคเสนภิกษุสตู ร” ปี คริสต์ศกั ราช 150 ในขณะที่ตน้ ฉบับมิลนิ ทปั ญหา
ภาษาบาลีปรากฏในปี คริสต์ศกั ราช 100 ดังนัน้ จะเห็นได้วา่ ทางต้นฉบับ
บาลี มี ค วามเก่ า แก่ ก ว่า อย่า งชัด เจน ดัง แผนภูมิ ข องโมริแ ละนานิ ว ะ
ที่แสดงไว้นี ้ ดังนี ้

39 Mori และ Naniwa (1999: 66)


40
NBS A (มี 2 กันฐ์ ) NBS B (มี 3 กัณฐ์ ) ปริวรรตเป็ นฉบับบาลีอกั ษรโรมัน
(ค.ศ. 1880)
↑ ปี คริ สต์ศกั ราช 150 - 280 ↑ ↑

กาเนิด “นาคเสนภิกษุสตู ร” ฉบับแปลจีนโบราณ เป็ นฉบับบาลี เป็ นฉบับบาลี เป็ นฉบับบาลี


漢譯『那先比丘經』(NBS)

ของไทย
↑ ↑
ของพม่า ของสิงหล
(ปั จจุบนั หายสาบสูญ) ↑ ↑ ↑
ถูกอ้ างอิงไปยังคัมภีร์ตา่ ง ๆ ↑

(Ryukoku University)
บันทึกเพิ่มเติมมาก บันทึกเพิ่มเติมเล็กน้ อย บันทึกเพิ่มเติมเล็กน้ อย
ก่อนปี คริ สต์ศกั ราช 150

↑ เป็ นต้ นกาเนิดของฉบับแปลจีนโบราณ ↑ ↑ ↑


(ปั จจุบนั หายสาบสูญ)

มีปรากฎในคัมภีร์ของนิกาย “สรวาสติวาท ↑ ต้ นกาเนิดของฉบับภาษาบาลี (ก่อนปี คริสต์ศกั ราช


ภาษาสันสกฤต?” (ปั จจุบนั หายสาบสูญ) 100) ปั จจุบนั หายสาบสูญ
มีการเพิ่มเติมเล็กน้ อย
↑ ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล ↑

มีการเพิ่มเติมเล็กน้ อย ↑
มีการเพิ่มเติมกัณฐ์ ที่ 4 - 7
รูปแบบดังเดิ
้ ม (เฉพาะกัณฐ์ ที่ 1-3) ภาษาปรากฤตหรือสันสกฤต เข้ าไป
↑ แบบผสม (Hybrid Sanskrit) ? ↑

ที่มา : Mori, S., Naniwa, S.1999: 6640


รวบรวมบันทึกถาม-ตอบด้ วยภาษากรีก?
(กลางศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล)
Milindapañha: the Mystery of its origin and development
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ

ภาพที่ 1 : แผนภูมิภาพรวมก�ำเนิดและพัฒนาการของคัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา

แปลจาก Mori and Naniwa (1999: 66) โดย พระมหาพงศ์ศกั ดิ์ ฐานิโย
205
206
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

นอกจากนี ้ ริส เดวิดส์41 ได้แสดงความเห็นว่า คัมภีรน์ ีไ้ ด้แต่งเอาไว้


ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียด้วยภาษาสันสกฤตหรือ
ปรากฤต แต่มีการแต่งเพิ่มเติมในภายหลังประมาณต้นคริสต์ศักราช
ขณะที่ ท าร์น มี ค วามเห็ น สอดคล้อ งกับ ริส เดวิ ด ส์ ประเด็ น เกี่ ย วกับ
สถานที่แต่งคัมภีร ์ ส่วนประเด็นเรื่องเวลาในการรจนา มีความเห็นแย้ง
เนื่องจากเวลาแต่งจริงๆ น่าจะเป็ นช่วงไม่นานหลังจากพระเจ้าเมนันเดอร์
สิ น้ พระชนม์ คื อ 150-145 ปี ก่ อ นคริ ส ต์ศัก ราช 42 มิ ซุ โ นะเห็ น ด้ว ย
กับทาร์นในประเด็นเรื่องเวลาการรจนาคัมภีร ์ แต่เชื่อว่าฉบับแปลภาษา
สิงหลน่าจะเป็ นฉบับเก่ากว่า โดยอ้างว่าต้นฉบับน่าจะถูกเขียนขึน้ ไม่เกิน
100 ปี ก่อนคริสต์ศกั ราช43 วินเตอนิตซ์เสนอว่า ผูแ้ ต่งน่าจะแต่งในช่วงที่
วัฒนธรรมกรีกก�ำลังรุ ง่ เรืองแต่ในทางกลับกัน การปกครองของกรีกใน
อินเดียเสื่อมลงหลังจากที่พระเจ้าเมนันเดอร์สิน้ พระชนม์ (ประมาณ
100 ปี ก่ อ นคริส ต์ศัก ราช) ดังนั้นถ้าหากจะอ้า งว่า แต่งขึน้ ประมาณ
คริสต์ศกั ราช 50 ถือเป็ นเรื่องที่เป็ นไปได้ยากมากที่ผูร้ จนาจะยังจดจ�ำ
ความรู ด้ ้า นกรีก ได้สื บ ต่ อ มาอี ก กว่ า 100 ปี ดัง นั้น ตามแนวคิ ด ของ
กวง ซิง ถ้าจะสรุปได้ดที ่สี ดุ ก็นา่ จะบอกได้วา่ ต้นฉบับคัมภีรม์ ลิ นิ ทปั ญหา
แต่งขึน้ ระหว่าง 150 ปี ก่อนคริสต์ศกั ราช ถึงคริสต์ศกั ราช 50 ส่วนสถานที่
รจนาคัมภีรม์ ีความเป็ นไปได้ว่า จะอยู่ในแถบตะวันตกเฉี ยงเหนือของ
อินเดีย
เนื่องจากมีความเห็นจากนักวิชาการต่างๆ เกี่ ยวกับระยะเวลา
ในการรจนาหลากหลาย จนอาจน�ำไปสูค่ วามสับสนได้ ผูเ้ ขียนจึงประมวล
และสรุปเรือ่ งเวลาในการรจนาส�ำหรับมิลนิ ทปั ญหาฉบับต่างๆ ให้ชดั เจน
เพื่อป้องกันปั ญหาดังกล่าวได้ดงั นี ้

41 Rhys David (1890: xi)


42 Tarn (1966: 419) อ้างใน Guang (2008: 238)
43 Mizuno (1959: 54-55) อ้างใน Guang (2008: 238)
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 207
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

1. ต้น ก�ำ เนิ ด มิ ลิ น ทปั ญ หาที่ ร จนาด้ว ยภาษากรีก (ไม่ ป รากฏ


หลักฐานต้นฉบับเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน) ก�ำเนิดเมือ่ 200 ปีกอ่ นคริสต์ศกั ราช
2. ต้นก�ำเนิดมิลนิ ทปัญหาทีร่ จนาด้วยภาษาสันสกฤตหรือปรากฤต
(ไม่ปรากฏหลักฐานต้นฉบับเป็ นเพียงข้อสันนิษฐาน) (ฉบับ 3 กัณฑ์แรก)
ก�ำเนิดเมื่อ 100 ปี ก่อนคริสต์ศกั ราช
3. ต้นก�ำเนิดมิลินทปั ญหาฉบับแปลภาษาบาลี (ฉบับเพิ่มเติม
4 กัณฑ์หลัง) ก�ำเนิดไม่เกินคริสต์ศกั ราช 100
4. ต้นก�ำเนิดมิลนิ ทปั ญหาฉบับแปลภาษาจีน (นาคเสนภิกษุสตู ร)
ก�ำเนิดไม่เกินคริสต์ศกั ราช 150

บทสรุป

จากหลัก ฐานข้า งต้น จะเห็ น ได้ว่ า แนวคิ ด เรื่ อ งก�ำ เนิ ด คัม ภี ร ์
มิลนิ ทปัญหาจากกรีก ยังคงเป็ นปริศนา เนื่องจากต้นฉบับที่สนั นิษฐานว่า
มีอยู่นัน้ ไม่สามารถสืบค้นได้ ข้อสันนิษฐานของทาร์นยังคงเป็ นเรื่องที่
ท้าทายต่อการค้นคว้าต่อไป แม้แนวคิดเรื่องก�ำเนิดมิลินทปั ญหาจาก
กรีกตามสมมติฐานของทาร์นจะดูเหมือนไร้นำ้� หนักในส่วนของเนือ้ หาที่
เกี่ ยวกับสถานที่ในท้องเรื่อง แต่เค้าโครงของการถาม-ตอบส่วนหนึ่ง
มีความคล้ายคลึงกับโครงสร้างของวรรณกรรมกรีก ในขณะเดียวกัน
ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าใกล้เคียงกับรู ปแบบของคัมภีรพ์ ุทธศาสนาและฮินดู
ด้ว ยเช่ น กัน เมื่ อ ประมวลแนวคิ ด และหลัก ฐานจากข้อ สรุ ป ที่ ไ ด้จ าก
การศึกษาแนวคิดของนักวิชาการต่างๆ ข้างต้น ผูเ้ ขี ยนเห็นว่าการที่
รูปแบบและโครงสร้างของคัมภีรม์ ีความคล้ายคลึงกับรูปแบบวรรณกรรม
การสนทนาของกรีก และอิ น เดี ย โบราณนั้น เป็ น ไปได้ว่า เกิ ด ขึน้ จาก
การผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอินเดียโบราณและวัฒนธรรมกรีกใน
ยุ ค ที่ วั ฒ นธรรมกรี ก รุ ่ ง เรื อ งที่ เ รี ย กว่ า วั ฒ นธรรมแบบเฮลเลนิ ส ต์
208
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

จนปรากฏค�ำศัพท์เช่น Greco-Buddhism44 ขึน้ ซึง่ เป็ นที่ทราบกันดีวา่


เป็ นค�ำศัพท์ท่ีกล่าวถึงวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมแบบ
เฮลเลนิ ส ต์แ ละพุท ธศาสนา จากนั้น รู ป แบบการสนทนาดัง กล่า วได้
กลายมาเป็ นวัฒนธรรมการแต่งวรรณกรรมเพื่อปกป้องศาสนาแบบหนึ่ง
ของชาวอิ น เดี ย สอดคล้อ งกั บ แนวคิ ด ของ ธนู แก้ว โอภาส ที่ ว่ า
ภายหลังที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์สนิ ้ พระชนม์แล้ว ในสมัยราชวงค์เมารยะ
ซีลวิ คัสนิคาเทอร์ (Seluecus Nicator) ได้สง่ มากัสธีเนส (Megasthenes)
มาเป็ นเอกอัครราชทูตประจ�ำส�ำนักในอินเดีย แนวคิดดังกล่าวสนับสนุน
ทฤษฎีท่ีว่ามีการแลกเปลี่ยนแนวความคิดทางวิชาการระหว่างทัง้ สอง
ประเทศ45
หากมี ก ารแลกเปลี่ ย นความรู ้ท างวิ ช าการระหว่ า งสองสาย
วัฒนธรรมดังข้อมูลข้างต้น ความรู ใ้ นการประพันธ์วรรณกรรมจัดเป็ น
ความรู ท้ างวิชาการแขนงหนึ่ง ดังนัน้ จึงเป็ นไปได้ว่าคัมภีรม์ ิลินทปั ญหา
ซึง่ เป็ นวรรณกรรมทางศาสนาประเภทแก้ปรับปวาท (apologetic text)
อาจได้รบั อิทธิ พลด้านการประพันธ์มาจากวัฒนธรรมกรีก เนื่ องจาก
เนือ้ หาส่วนใหญ่เน้นไปที่การป้องกันความเข้าใจผิดในพระพุทธศาสนา
ส่วนโครงสร้างและรูปแบบอาจใช้วิธีการเดียวกับการรจนาคัมภีรศ์ าสนา
ในสายวัฒนธรรมอินเดีย ส่วนสถานที่ในการรจนานัน้ น่าจะเกิดขึน้ ใน
เขตประเทศอินเดียเนื่องจากมีเหตุผลสนับสนุนจ�ำนวนมากดังได้นำ� มา
อธิบายไว้แล้วข้างต้น

44 Greco-Buddhism บางครัง้ สะกดด้วย Graeco -Buddhism เป็ น


วัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมแบบเฮลเลนิสต์และพุทธศาสนา
พัฒนาขึน้ ประมาณ 800 ปี ในแถบเอเชียกลาง ในเขตพืน้ ที่ปัจจุบนั คือ
ประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถาน ระหว่าง 400 ปี ก่อนคริสต์ศกั ราชถึง
คริสต์ศกั ราช 500 (Schools Wikipedia Selection, 2007)
45 ธนู แก้วโอภาส (ม.ป.ป.: ฐ)
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 209
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

ประเด็นเรื่องสถานที่ประสูติของพระเจ้ามิลินท์ท่ีเป็ นข้อขัดแย้ง
ระหว่างฉบับแปลภาษาจีน (ฉบับนาคเสนภิกษุ สูตร) และภาษาบาลี
(ต้นฉบับที่ครบทัง้ 7 กัณฑ์) นัน้ ผูเ้ ขียนพบว่าแนวโน้มที่สถานที่ประสูติ
ของพระเจ้ามิลินท์จะอยู่ในเขตพืน้ ที่ของเมืองกปิ ษะหรือเมืองเบกราม
ในปั จจุบนั มีความเป็ นไปได้คอ่ นข้างมากเนื่องจากมีขอ้ มูลที่เป็ นหลักฐาน
ทางประวัตศิ าสตร์จำ� นวนมากหลงเหลืออยู่ ส่วนประเด็นเรือ่ งการเกิดขึน้
ก่ อ นหลัง ของฉบับ แปลภาษาจี น และภาษาบาลี ท่ี เ ป็ น ข้อ ขัด แย้ง นั้น
เมื่อสืบค้นฉบับต้นก�ำเนิดคัมภีรย์ อ้ นกลับไปตามแนวคิดของโมริและ
นานิวะ พบว่าหลังจากมีการสืบต่อต้นฉบับที่เป็ นภาษาปรากฤตหรือ
สัน สกฤตแล้ว คัม ภี ร ม์ ิ ลิ น ทปั ญ หาถูก น�ำ เข้า ไปสู่ท่ี ต่า งๆ อย่ า งน้อ ย
3 สาย ได้แ ก่ สายที่ เ ชื่ อ ว่ า เป็ น พระพุท ธศาสนานิ ก ายสรวาสติ ว าท
พระพุทธศาสนาในจีน และพระพุทธศาสนาเถรวาท เมื่อพิจารณาจาก
การแยกสายของคัมภีรจ์ ะเห็นได้ว่า ฉบับที่มาก่อนคือฉบับภาษาบาลี
กล่าวคือต้นฉบับภาษาบาลีหลังจากเพิ่มเติมกัณฑ์ท่ี 4-7 เข้าไปแล้ว เกิด
ขึน้ ก่อนปี คริสต์ศกั ราช 100 แต่ในขณะที่ตน้ ฉบับแปลภาษาจีน (นาคเสน-
ภิ กษุ สูตร) เกิ ดขึน้ ก่อนปี คริสต์ศักราช 150 ดังที่ ได้อธิ บายไว้ขา้ งต้น
ส่วนประเด็นเรื่องตัวเลข 200 โยชน์ในภาษาบาลีและ 2,000 โยชน์
ในภาษาจีนสันนิษฐานว่าอาจจะมีการดัดแปลงเรื่องตัวเลขในฉบับแปล
ภาษาจีนซึ่งเกิดขึน้ หลังต้นฉบับภาษาบาลีซ่ึงอาจเป็ นเพราะหน่วยนับ
ของจีนมีหน่วยระยะทางเป็ นหลี่ หรือ ลี46้ ไม่ได้เป็ นโยชน์เหมือนในอินเดีย
การจัดมาตราส่วนเมื่อแปลเป็ นภาษาจีนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนได้

46 หลีห่ รือภาษาจีนแต้จ๋วิ อ่านว่า “ลี”้ เป็ นหน่วยวัดความของจีน 1 หลี่ = 150 จ้าง


แต่ความยาวของหลี่มีจดุ ที่คลาดเคลื่อนระหว่างอดีตกับปั จจุบนั ตัง้ แต่ปี
ค.ศ. 1929 เป็ นต้นมา รัฐบาลจีนได้กำ� หนดให้ 1 หลี่ = 500 เมตร
(ซุนปิ น : 2008)
210
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

บรรณานุกรม

• ภาษาไทย

1. คัมภีร์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2539 พระไตรปิ ฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เล่มที่ 10, กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย
2547 มิ ลิ น ทปั ญหาฉบั บ แปลในมหามกุ ฏ ราชวิ ท ยาลั ย .
พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

2. หนังสือ
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2550 วรรณคดีบาลี. กรุ งเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยมหาจุฬา-
ลงกรณราชวิทยาลัย.

ธนู แก้วโอภาส.
มปป ปรัชญา-ศาสนา ตะวันออก ตะวันตก. กรุ งเทพมหานคร:
สากลการศึกษา จ�ำกัด

นวพร เรืองสกุล. แปล.


2558 มิ ลิ น ทปั ญหา: กษั ต ริ ย ์ ก รี ก ถาม-พระเถระตอบ.
กรุงเทพมหานคร: แปลจาก B. Pesala. 2001. The Debate
of King Milinda. Middlesex: Association for insight
meditation.
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 211
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).


2551 พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครัง้ ที่ 11.
กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริน้ ติง้ แมส โปรดักส์ จ�ำกัด.

สมบัติ จันทรวงศ์
2555 บทสนทนาของเพลโต: ยูไธโฟร อโพโลจี ไครโต. พิมพ์ครัง้ ที่ 3.
กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ

3. วิทยานิพนธ์
เนาวรัตน์ พันธ์วิไล.
2560 การวิเคราะห์บทสนทนาว่าด้วย ปั ญหาอุภโตโกฏิ (ปั ญหา
สองเงือ่ น) ในคัมภีรม์ ลิ นิ ทปั ญหา. วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตร-
มหาบัณฑิต สาขาปรัชญาและศาสนา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

4. ข้อมูลออนไลน์
ซุนปิ น.
2008 “ศัพท์จอมยุทธ์ภาษาจีนกลาง”
www.baanjomyut.com/webboard/window_2/, ค้นเมื่อ 17
สิงหาคม 2019.

• ภาษาต่างประเทศ

1. หนังสือ
Mizuno, K.
1996 The Kind of Milindapanha. Research of Buddhist Texts
(in Japanese) Tokyo: Shunjusha.
212
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

Müller, F.M.
1965 The sacred books of the East. Delhi [India]: Motilal
Banarsidass. อ้างใน มหามกุฏราชวิทยาลัย. 2547. มิลินท-
ปั ญหา. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Mori, Sodo and Naniwa Senmyo.


1999 King Milinda: The Greek who becomes a believer in the
Buddhism. (in Japanese) Tokyo: Shimizushoin.

Rhys Davids. T. W.
1890 The Questions of King Milinda, The sacred books of the
East. Oxford: Claren Press.
1915 Milinda in Encyclopedia of Religion and Ethics,
Ed.J Hastings,Vol. VII, Edinberge, J. Gonda. Tarn’s
Hypothesis pp. 54-57. อ้างใน Yaroslav, V. 1993. “Did East
and West really meet in Milinda’s Questions?”

The Petersburg Journal Of Cultural Studies. Vol I, (1):
64-77.

Rapson, E. J. M.A. (rev. ed.)


1992 The Cambridge History of India, Vol.I. Cambridge:
University Press.
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 213
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

Tarn, W.W.
1938 The Greek in Bactia & India. Cambridge: Cambridge
University Press.

Upasak. C.S.
1990 History of Buddhism in Afghanistan. Central Institute of
Higher Tibetan Studies, Sarnath, Varansi (U.P.) India.
Wheeler, R.E.M.
1968 Flames Over Persepolis, Turning-point in History.
London: Weidenfeld and Nicolson. อ้างใน Aston, G.V.
2004. Early India Logic and the Question of Greek
influence. Doctor of Philosophy Thesis in Philosophy,
University of Canterbury.

Wendland. P.
1900 Aristeae ad Phlocratem Epistula. n.d. n.p. อ้างใน Tarn, W. W.
1938. The Greek in Bactia & India. Cambridge: Cambridge
University Press.

Woodcock, G.
1966 The Greeks in India. London: Faber and Faber. อ้างใน
Aston, G.V. 2004. Early India Logic and the Question
of Greek influence. Doctor of Philosophy Thesis in
Philosophy, University of Canterbury.
214
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

2. วารสาร
Bakthin. M.M.
1979 Problemy poetiki Dostoyevskogo (Problems of
Dostoyevsky’s Poetics), 4th edition, Moscow, pp.
125-126,
152-153 อ้างใน Yaroslav, V. 1993. “Did East
and West really meet in Milinda’s Questions ?” The
Petersburg Journal of Cultural Studies. Vol I, (1): 64-77.
Gonda, J.
1949 “Tarn’s hypothesis on the origin of the Original of
Milindapanha.” Mnemosyne, Fourth Series Vol. 2:
pp. 44-62.

Guang, X.
2007 “The Nāgasena Bhikṣu Sūtra An Annotated Translation
from the Chinese Version” Journal of the Centre for
Buddhist Studies, Sri Lanka. Vol. V.: 113-216.
2008 “Introduction to the Nāgasena Bhikṣu Sūtra”. Journal
of Buddhist Studies. Vol. VI: 235-251.
2009 “ The Different Chinese Versions of the Nāgasena
BhikṣuSūtra”. Journal of Buddhist Studies. Vol. VII :
226 -247.
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 215
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

Mizuno, K.
1959 “On the Recensions of Milindapaha”in Komazawa
Daigaku kenkyu kiyo, (Summary of the Research Studies
of University of Komazawa)], 17-55. Chinese Translation:
關於《彌蘭陀王問經》類,水野弘元《佛教文獻 研究》,許洋主譯,
2003 年,頁 221-292. อ้างใน X. Guang. 2008. “Introduction
to the Nāgasena Bhikṣu Sūtra”. Journal of Buddhist
Studies VI: 235-251.

Mizuno, K. 水野弘元.
1959. 〈ミリンダ問經類について〉《駒澤大 学研究紀要》, Vol. 17,
17-55. (Mirinda-monkyo-rui ni tsuite) [“On the
Recensions of Milindapañha”, Komazawa Daigaku
kenkyu kiyo (Summary of the Research Studies of
University of Komazawa)] Chinese translation :關於《
彌蘭陀王問經》類 ,水野弘元《 佛教 文獻研究》,許洋主譯,
2003 年 ,頁 221-292. อ้ า งใน X . G u a n g . 2009.
“The Different Chinese Versions of the Nāgasena
Bhikṣu Sūtra”. Journal of Buddhist Studies VII: 226-247.

Pachow, W.
2000 “An Assessment of the Highlights in the Milindapanha.”
Chung-Hwa Buddhist Journal, No.13.2, 1-27. Tarn, W. W.
1938. The Greek in Bactia & India. Cambridge: Cambridge
University Press.
216
ธรรมธารา
วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปี ท่ี 5 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 9) ปี 2562

Takakusu. J.
1896 “Chinese Translations of the Milinda Paṇho” The Journal
of the Royal AsiaticSociety of Great Britain and Ireland.
E-Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain
and Ireland. : 1-21.

Tarn, W.W.
1966 The Greek in Bactia & India. Cambridge: Cambridge
University Press. cited in X. Guang. 2008. “Introduction
to the Nāgasena Bhikṣu Sūtra”. Journal of Buddhist
Studies VI: 235-251.

Sedlar, J.W.
1980 India and the Greek World: A study in the transmission
of culture. Totowa, New Jersey: Rowman and Littlefield.
อ้างใน Aston, G.V.
2004. Early India Logic and the
Question of Greek influence. Doctor of Philosophy
Thesis in Philosophy, University of Canterbury.

Skilling, P.
1998 A note on King Milinda in the Abhidharmakosabhaya.
Journal of the Pali Text Society. 24, 81-101.

Winternitz M.,
1913 Geschichte der Indischen Litterateur, Vol. 2, Hf. I,
Leiping, pp. 140-141.
คัมภีรม์ ิลนิ ทปั ญหา: ปริศนาเรือ่ งก�ำเนิดและพัฒนาการ 217
Milindapañha: the Mystery of its origin and development

Yaroslav, V.
1993 “Did East and West really meet in Milinda’s Questions?”
The Petersburg Journal of Cultural Studies. Vol I, (1):
64-77.

3. ข้อมูลออนไลน์
Carter, Marthal L.
1989 “BEGRĀM the site of ancient Kāpiśa, located 80.5 km
north of Kabul overlooking the Panjšīr valley at the
confluence of the Panjšīr and Ḡorband rivers.”

Encyclopædia Iranica (online). www.iranicaonline.org/,
Accessed August 17, 2019.

Mark, Joshua J.
2018 “alexandria” Ancient History Encyclopedia (online)
www.ancient.eu/alexandria/, Accessed August 17, 2019.

Schools Wikipedia Selection.


2007 Greco-Buddhism (Online). www.cs.mcgill.ca/,
Accessed August 17, 2019.

Simonin, Antoine.
2011 “Euthydemid” Ancient History Encyclopedia (online)
www.ancient.eu/euthydemid/, Accessed August 17, 2019.
2011 “Hellenistic_Period” Ancient History Encyclopedia
(online) www.ancient.eu/Hellenistic_Period/, Accessed
June 1, 2016.

You might also like