2. คู่มือฯ บทที่ 2

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 12

บทที่ 2 สมรรถนะ คืออะไร และนำไปใช้อย่างไร

เกริ่นนำ
โลกยุคศตวรรษที่ 21 มีความเปลี่ยนแปลงและผันแปรอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ทุก ประเทศย่อมต้องการ
ทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณภาพ มี ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำพาประเทศ
ให้เจริญก้าวหน้า การมีความรู้เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ต้องสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติ การทำงาน
และการดำรงชี ว ิ ตได้ การจั ด การศึก ษาเพื่ อ พั ฒ นาทรัพ ยากรมนุษ ย์ ข องประเทศ จึ ง มุ ่ ง เน้ น ให้ ค วามสำคัญ
กั บ การพั ฒ นาคนให้ม ี ล ั ก ษณะดัง กล่ า ว หรื อ เรี ย กได้ ว ่ า มี “สมรรถนะ” นั ่ น เอง การศึ ก ษา ทำความเข้ าใจ
เรื ่ อ งสมรรถนะและการนำสมรรถนะไปใช้ ใ นการจั ด การศึ ก ษา จึ ง เป็ น รากฐานที่ ส ำคั ญ ของการพั ฒ นาคน
ให้มีสมรรถนะตามความมุ่งหวัง

1. สมรรถนะ คือ อะไร


โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ ทุกคนมีศักยภาพ (Potential) ภายใน ซึ่งเป็นความสามารถที่แฝงอยู่ในตัวบุคคล
แต่ละคนจะมีศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านแฝงอยู่ ในตัว แต่อาจยังไม่ได้แสดงออกให้เห็น จนกว่า
จะได้รับการกระตุ้นหรือได้รับการศึกษาหรือเรียนรู้ที่เหมาะสมกับภาวะแฝงนั้น และเมื่อศักยภาพนั้นปรากฏออกมา
หากได้รับการส่งเสริมต่อไปก็จะทำให้บุคคลนั้นมีความสามารถในด้านนั้นสูงขึ้น ดังนั้นการได้เรียนรู้สาระความรู้
และได้รับการฝึกทักษะต่าง ๆ รวมทั้งได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์เหล่านั้น สามารถช่วยพัฒนาบุคคล
ให้มีความสามารถเพิ่มสูงขึ้นได้
อย่างไรก็ตามความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะต่าง ๆ ที่บุคคลได้เรียนรู้อาจไม่ช่วยให้บุคคลประสบ
ความสำเร็จในการทำงาน หากบุคคลนั้นขาดความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะต่าง ๆ
ที่ตนมีในการปฏิบัติงาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การขาดความสามารถเชิงสมรรถนะ ดังนั้น ความรู้ ทักษะ เจตคติและ
คุณลักษณะต่าง ๆ ที่บุคคลได้เรียนรู้นั้นจะยังไม่ใช่สมรรถนะ จนกว่าบุคคลนั้นจะได้แสดงพฤติกรรม แสดงออกถึง
ความสามารถในการนำความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่มีในการทำงานหรือการแก้ป ั ญ หา
ในสถานการณ์ต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จในระดับใดระดับหนึ่ง
ทฤษฎี ภ ู เ ขาน้ ำ แข็ ง (Iceberg Model) ของ เดวิ ด ซี แมคเค็ ล แลนด์ (David C. McClelland) แห่ ง
มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ได้กล่าวถึงแนวคิดเรื่องสมรรถนะไว้ว่า พฤติกรรมการทำงานของบุคคลขึ้นกับความรู้
(Knowledge) และทักษะ (Skills) ซึ่งเปรียบเสมือนส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่อยู่เหนือน้ำ รวมทั้งคุณลักษณะ ส่วนลึก
ภายในต่าง ๆ ของบุคคล เช่น เจตคติ แรงจูงใจ อุปนิสัย และภาพลักษณ์ภายใน ซึ่งเปรียบเหมือนส่วนฐานของภูเขา
น้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำและสังเกตได้ยาก การมีเพียงความรู้และทักษะนั้น ยังไม่ถือว่าเป็ นสมรรถนะ จนกว่าบุคคลนั้น
จะสามารถนำความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้กับงาน ทำงาน ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างชัดเจน ประสบความสำเร็จ
ในการปฏิบัติ จึงจะถือว่าบุคคลนั้นมีสมรรถนะ จากการศึกษาวิจัย พบว่า ฐานส่วนที่อยู่ใต้น้ำเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ขับเคลื่อนบุคคลสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน กล่าวคือ คุณลักษณะ ส่วนลึกภายในต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการ
9

ขับเคลื่อนให้บุคคลสามารถใช้ความรู้ ทักษะ และ ในการปฏิบัติงานได้สำเร็จ และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก


ในการพัฒนา “สมรรถนะ”
“สมรรถนะ” นำมาใช้อย่างกว้างขวางในการกำหนดความสามารถของบุคคลที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงาน
และการประกอบอาชีพ โดยได้มีการให้คำจำกัดความ “สมรรถนะ” ตามวัตถุประสงค์และบริบทของงาน หน่วยงาน
และองค์กร อย่างไรก็ตาม ในด้านการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับ ผู้เรียนอายุระหว่าง 7 - 18 ปี ที่มีความแตกต่าง
กันตามหลักของจิตวิทยาการเรียนรู้ ได้ให้ความหมายของ “สมรรถนะ” ดังนี้

สมรรถนะ (Competency) หมายถึง ความสามารถที่แสดงออกทางพฤติกรรมและการกระทำในการใช้


ชีวิต การแก้ปัญหา และการปฏิบัติงาน ให้ประสบความสำเร็จ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ (Knowledge)
ทักษะ (Skills) เจตคติ (Attitudes) และค่านิยม (Values) ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของสังคม
และวัฒนธรรมในสถานการณ์ที่หลากหลาย

2. สมรรถนะ เกิดขึ้นได้อย่างไร
องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation
and Development) หรือ OECD ได้อธิบายการเกิดสมรรถนะด้วยรูปภาพ ดังนี้

ที่มา: OECD, 2016


จากความหมายของสมรรถนะ และจากแผนภาพของ OECD องค์ประกอบสำคัญของสมรรถนะ
ประกอบด้วย
ความรู ้ (Knowledge) เป็ น สิ ่ ง ที ่ บ ุ ค คลรู ้ ในด้ า นความรู ้ เ ฉพาะศาสตร์ เ ฉพาะวิ ช า (Disciplinary
knowledge) ความรู้แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary knowledge) และความรู้ ด้านการปฏิบัติในการนำ
ความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ (Practical knowledge)
10

ทักษะ (Skills) เป็นการทำบางสิ่งให้ดี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคนิคที่เหมาะสมในเวลา


ที่เหมาะสม ทั้งที่เป็นทักษะทางปัญญาและอภิปัญญา (Cognitive and meta-cognitive skills) ทักษะทางด้าน
อารมณ์และสังคม (Social and emotional skills) และทักษะทางร่างกายและการปฏิบัติ
เจตคติ (Attitudes) เจตคติเป็นสิ่งที่เกิด จากความเชื่อและค่านิยม ที่ สะท้อนให้เห็นถึงนิสัยชอบที่จะ
ตอบสนองต่อบางสิ่งหรือบางคนในเชิงบวกหรือเชิงลบ และเจตคติอาจแตกต่างกันไปตามสถานการณ์บริบทเฉพาะ
ค่านิยม (Values) เป็นหลักชี้นำที่สนับสนุนสิ่งที่ผู้คนเชื่อว่ามีความสำคัญในการตัดสินใจในทุกด้านของ
ชีวิตส่วนตัวและในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นตัวกำหนดสิ่งที่บุคคลให้ความสำคัญในการตัดสิน และสิ่งที่บุคคลแสวงหา
ในการปรับปรุงให้ดีขึ้น
แผนภาพ ของ OECD สามารถอธิบายการเกิดสมรรถนะ ได้ว่า
“สมรรถนะ” เกิดจากการที่ผู้เรียนได้ประมวล ผสมผสานความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยมในการลงมือ
ปฏิบัติ (Action) ในงานหรือสถานการณ์ ที่เรียกว่า “การประยุกต์ใช้” ซึ่งผู้เรียนจะแสดง “สมรรถนะ” ออกมา
เป็นพฤติกรรมและการกระทำที่สามารถสังเกตได้
จุดที่เป็นคานงัดสำคัญ คือ การประยุกต์ใช้ เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ในเหตุการณ์ หรือ
สถานการณ์ที่ ห ลากหลายและแตกต่างจากการเรียนรู้และฝึกฝนในห้องเรียนด้วยตนเอง มักจะเชื่อมโยงกับ
การดำรงชีวิตจริงและสังคม ที่เป็นทั้งสถานการณ์จริง หรือใกล้เคียงความจริง
การพัฒนาสมรรถนะ เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง จำเป็นต้องฝึกฝนและทำซ้ำ ๆ จนเกิดความสามารถ
และพัฒนาในระดับที่สูงขึ้ น และเป็นเส้นทางการเรียนรู้ ของผู้เรียนแต่ละคน (Personal learning pathways)
ซึ่งอาจแตกต่างกันไป กระบวนการ “ไตร่ตรองสะท้อนคิด (reflection)” เพื่อการวิเคราะห์และประเมิน ตนเอง
สำหรับวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง จะเป็นทักษะสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning)
สมรรถนะเป็นสิ่งที่ติดตัว ผู้เรียน สามารถถ่ายโอนไปปรับหรือประยุกต์ ใช้ในการแก้ปัญหาและจัดการ
กับสิ่งต่าง ๆ ได้ และด้วยการไตร่ตรองและสะท้อนคิดจนเป็นนิสัย ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และต่อยอดสมรรถนะ
เฉพาะด้านต่าง ๆ สำหรับการใช้ชีวิตและการทำงานของตนในอนาคต
Sarah Beckette (2020) ผู้เชี่ยวชาญด้านสมรรถนะได้อธิบาย ทักษะและสมรรถนะ ดังนี้

ความเข้าใจที่ชัดเจน: ทักษะ และ สมรรถนะ


• ทักษะและสมรรถนะ แตกต่างกัน ในมโนทัศน์ (Concept) ทีใ่ ช้ในการทำงาน ทักษะเป็นการระบุ
แต่เพียงว่า ในการทำงานชิ้นหนึ่งต้องใช้ความสามารถอะไรบ้าง แต่บอกไม่ได้ว่าถ้าจะทำให้ประสบ
ความสำเร็จต้องทำอย่างไร ทั้งนี้ ทักษะเป็นองค์ประกอบของสมรรถนะ แต่สมรรถนะไม่ใช่
องค์ประกอบของทักษะ
• ทักษะและสมรรถนะ มีความคล้ายคลึงกันได้ กล่าวคือ สมรรถนะในระดับเบื้องต้น จะให้
คำจำกัดความที่คล้ายกันกับทักษะ คือ เป็นความสามารถที่ได้จากประสบการณ์และการฝึกฝน
11

3. แนวคิดและลักษณะของการศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency - Based Education)

การศึ ก ษาฐานสมรรถนะ เป็ น ระบบการศึ ก ษาที่ ม ุ่ ง เน้น การพั ฒ นาผู้ เรีย นเป็ นรายบุค คลเป็นสำคัญ
ดำเนินการจัดการศึกษาโดยนำสมรรถนะของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ทั้งทางด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการวัด
และประเมินผล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ความถนัด และก้าวหน้าไปตามความสามารถของตน
โดยเน้นการเชื่อมโยงกับบริบทชีวิต จริงและการนำสิ่งที่เรียนรู้ ไปใช้จริง และสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามความ
ต้องการเพื่อการส่งเสริมและบ่มเพาะสมรรถนะผู้เรียนทุกคนเต็มศักยภาพ การศึกษาฐานสมรรถนะที่มีคุณค่าและ
ประสบความสำเร็จนั้นต้องการความไว้วางใจ (Trust) และความร่วมมือของ สังคม ชุมชน โรงเรียน ผู้เรียน และ
ครอบครัว
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้เสนอลักษณะ
สำคัญของการศึกษาฐานสมรรถนะ ดังนี้
1) มุ่งให้ผู้เรียนแสดงความสามารถที่เชี่ยวชาญ เน้นการนำความรู้ไปใช้จริง
2) กำหนดความคาดหวังไว้สูง และคาดหวังกับผู้เรียนทุกคน
3) ผู้เรียนรับผิดชอบต่อตัวเองให้ถึงเป้าหมาย สามารถออกแบบการเรียนของตนเองได้ สามารถเรียนได้
ในสถานทีแ่ ละเวลาที่แตกต่างกัน โดยการช่วยเหลือ สนับสนุนอย่างยืดหยุ่น ตามลักษณะเฉพาะของผู้เรียน
4) ผู้เรียนจะได้รับการประเมินเมื่อพร้อม และเป็นการประเมินความก้าวหน้าตามอัตราของตนเอง
เน้นการประเมินที่ท้าทาย เน้นการปฏิบัติด้วยเครื่องมือวัดที่เข้าถึงความเชี่ยวชาญของผู้เรียน

4. แนวคิดและหลักการของหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency - Based Curriculum: CBC)

หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรที่มีพันธะต่อการความเจริญงอกงามและความสำเร็จของผู้เรียน
ทุ ก คน โดยใช้ ผ ลลั พ ธ์ ก ารเรี ย นรู ้ เ ชิ ง สมรรถนะเป็ น เป้ า หมายในการพั ฒ นาผู ้ เ รี ย นผ่ า นมวลประสบการณ์
ทางการเรียนรู้ที่บูรณาการอย่างมีความหมาย เพื่อการประยุกต์ใช้ได้จริงสำหรับการดำรงชีวิตในสังคม และ
ตอบสนองต่อการพัฒนาผู้เรียนจำเพาะบุคคล จึงเป็นหลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner Centric) โดย
คํานึงถึง ความสนใจ ความถนัด ความพร้อม ความสามารถ ปัญหา และความต้อ งการของผู้ เรี ยน รวมทั้ ง
ความเหมาะสมกับ บริบท วิถีชีวิต ภูมิสังคม ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ
ของผู้เรียน ครู และการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก
หลักสูตรฐานสมรรถนะ มีหลักการสำคัญ ดังนี้
1) เป็น หลักสูตรที่มีสมรรถนะเป็นเป้าหมายในการพัฒ นาผู้เรียน เป็นหลักสูตรฐานปฏิบัติ ( Action
Oriented) ที่มุ่งสู่การทำได้ (Able to Do) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่สำคัญและจำเป็นให้แก่ผู้เรียนตามช่วงวัย
โดยมีการวัดและประเมินผลเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2) เป็น หลักสูตรที่ย ึดผู ้เรี ย นเป็น สำคั ญ (Learner Centric) โดยเปิดโอกาสให้ผ ู้เรี ยนได้ เรียนรู ้ ต าม
ความสนใจ ความถนัด และก้าวหน้าไปตามความสามารถ รวมทั้งพัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญได้ เป็นหลักสูตร
ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล (Personalization)
12

3) เป็ น หลั ก สูต รที่ ม ี ค วามเชื่ อ มโยงกับ ชี ว ิ ต จริ ง (Related to Real Life) ของผู ้ เ รี ย น มี ค วามหมาย
ต่อผู้เรียน เพราะสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้จริง
4) เป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับบริบทแวดล้อม (Contextualized) ที่แตกต่างกันของผู้เรียน ซึ่งส่งผล
ต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของผู้เรียน
5) เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมการบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์ (Multidisciplinary) ช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้
ความรู้ ให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
6) เป็นหลักสูตรที่ยืดหยุ่น (Adaptive) สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้เรียน ครู สังคม
และโลก

5. แนวคิดและหลักการของการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ (Competency - Based Instruction : CBI)

การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เป็น กระบวนการพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้เกิดการสั่งสมความสามารถและ


เกิดสมรรถนะตามที่กำหนด เป็น การจัดประสบการณ์การเรียนรู อ้ ย่างเป็ นองค์รวมที่สร้างความสัมพันธ์ของ
ผูเ้ รียนกับโลกรอบตัว โดยผูเ้ รียนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนรู ้ กาหนดเป้าหมายการเรียนรู ้
เรียนรู ด้ ว้ ยตนเองและกับเพื่อน ๆ รวมถึงวิเคราะห์และจัดการการเรียนของตนเอง ในสภาวะแวดล้อมเชิงบวก
ที่สง่ เสริมคุณค่าในการเรียนรูแ้ ละการดารงชีวิตในสังคม
การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะจึงจัดการเรียนรู้โดยใช้ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นเป้าหมาย มุ่งเน้นผลที่จะเกิด
กับผู้เรียน ซึ่งก็คือ ความสามารถของผู้เรียนในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ
อย่างเป็นองค์รวมในการปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา และการใช้ชีวิต เป็นการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง
เรียนรู้ เพื่อให้สามารถใช้การได้จริ งในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตจริง เป็นการเรียนเพื่อใช้ประโยชน์ ไม่ใช่การเรียน
เพื่อรู้เท่านั้น
การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ มีหลักการและแนวทาง ดังนี้
1) มีการกำหนดสมรรถนะและผลลัพธ์การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเป็นเป้าหมาย นั่นคือ มุ่งเน้นการพัฒนา
ความสามารถในการประยุ ก ต์ ใ ช้ ค วามรู ้ ทั ก ษะ เจตคติ แ ละค่ า นิ ย ม อย่ า งเป็ น องค์ ร วมในการปฏิ บ ั ต ิ ง าน
การแก้ปัญหา และการใช้ชีวิต
2) เป็นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน
เน้น “การปฏิบัติ (Action)” โดยมีชุดของเนื้อหาความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยม ที่จำเป็นต่อการนำไปสู่
สมรรถนะที่ต้องการ เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น และมีโอกาสได้ฝึกฝนการใช้ความรู้ในสถานการณ์ ปัญหา
และอุปสรรคที่ท้าทาย ที่จะช่วยให้เกิดสมรรถนะตามเป้าหมาย
3) มีการเรียนรู้ที่เชื่ อมโยงกับชีวิตจริง เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตจริง
โดยส่งเสริมการใช้ความรู้ข้ามศาสตร์ (Multidisciplinary) อย่างบูรณาการ (Integration)
4) มีการเสริมสร้างคุณลักษณะต่าง ๆ (Attitude/ Attribute) สร้างแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ กระตุ้น
ความสนใจใฝ่รู้ ที่สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำตนเองและกำกับการเรียนรู้
13

ของตนเองได้ (Self-directed Learning) โดยสามารถการเรียนรู้/ทำงานตามความถนัดและความสามารถของตน


และสามารถก้าวหน้าไปเร็วช้าแตกต่างกันได้ (self-pacing)
5) มีการให้ผู้เรียนได้ประเมินการเรียนรู้ของตนเองระหว่างเรียน (Assessment as Learning) เพื่อ
การปรับปรุงวิธีการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ของตน
6) ให้ ข ้ อ มู ล ป้ อ นกลั บ (Feedback) แก่ ผ ู ้ เ รี ย นเพื ่ อ การปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาและให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ
ตามความต้องการของผู้เรียน เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ฐานสมรรถนะประสบความสำเร็จ
6. แนวคิดและหลักการของการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ (Competency - Based Assessment : CBA)

การวัดและประเมิน ฐานสมรรถนะ เป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดสมรรถนะ หรือมีความก้าวหน้า


ในสมรรถนะนั้นๆ โดยพิจารณาจากการแสดงออกทางพฤติกรรมหรือการกระทำในการใช้ชีวิต การแก้ปัญหา และ
การปฏิบัติงาน เน้นใช้การประเมินเพื่อพัฒนาที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อ ช่วยให้ผู้เรียนก้าวหน้า
ในการเรียนรู้เป็นรายบุคคล และใช้หลักฐานที่แสดงความเชี่ยวชาญตามสมรรถนะที่กำหนดสำหรับการประเมิน
เพื่อสรุปผล การวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
ฐานสมรรถนะ โดยมีหลักการและแนวทาง ดังนี้
1) ให้ ค วามสำคั ญ กั บ การประเมิ น เพื ่ อ พั ฒ นา (Formative Assessment) โดยถื อ ว่ า การประเมิ น
เป็นกิจกรรมในกระบวนการเรียนการสอนตามปกติ ผู้เรียนมีการประเมินตนเองระหว่างเรียน (Assessment as
Learning) เพื่อนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงวิธีการเรียนรู้ของตนให้ดียิ่งขึ้น ก้ าวหน้าขึ้น ครูสังเกต
และเก็บข้อมูลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการสอนของตน และพัฒนา
การเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดีขึ้น (Assessment for Learning)
2) การประเมินเพื่อพัฒนาใช้วิธีการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) จากสิ่งที่ผู้เรียน
ได้ปฏิบัติจริง เช่น การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การประเมินจากชิ้นงานจากการปฏิบัติงาน
รวมไปถึงการประเมินตนเองและการประเมินโดยเพื่อน
3) การประเมิ น ตั ด สิ น ผล (Summative Assessment) จะมุ ่ ง วั ด สมรรถนะองค์ ร วม ที ่ แ สดงถึ ง
ความสามารถในการประยุ ก ต์ ใ ช้ K (Knowledge) S (Skill) A (Attitude and Values) ในการปฏิ บ ั ต ิ ง าน
ในสถานการณ์ต่างๆ
4) การประเมินเพื่อตัดสินผล เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning) โดยใช้วิธีการ
วัดจากพฤติกรรม การกระทำ การปฏิบัติของผู้เรียนในสถานการณ์ต่างๆ (Performance Test) ที่แสดงออกถึง
ความสามารถในการประยุกต์ใช้ K S A ตามเกณฑ์การปฏิบัติ (Performance Criteria) และหลักฐานการเรียนรู้
อื่น ๆ (Evidence) เป็นการประเมินแบบอิงเกณฑ์ไม่ใช่องิ กลุ่ม
5) การประเมินฐานสมรรถนะ มีการใช้สถานการณ์เป็นฐาน เพื่อให้บริบทการประเมินเป็นสภาพจริง หรือ
ใกล้เคียงสภาพจริงมากที่สุด
14

6) ผู้เรียนจะได้รับการประเมินเมื่อพร้อม หากไม่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้เรียนจะต้องได้รับ


การสอนซ่อมเสริมหรือได้รับความช่วยเหลือด้วยวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมกับปัญหาและความต้องการของผู้เรียน
จนสามารถผ่านได้ตามเกณฑ์ จึงจะก้าวไปสู่การเรียนรู้ในขั้นหรือระดับที่สูงขึ้น
7) การรายงานผล เป็นการให้ข้อมูลพัฒนาการของผู้เรียนในด้านต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง
ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้แ ละการพัฒนาการของผู้เรียน ตามความเป็นจริงอย่างรอบด้าน ซึ่งแต่ละสถานศึกษา
สามารถพัฒนาขึ้นตามความเหมาะสมกับหลักสูตรสถานศึกษา

7. ลักษณะของหลักสูตรอิงมาตรฐาน กับหลักสูตรฐานสมรรถนะ

หลักสูตรฐานสมรรถนะมีลักษณะบางประการที่แตกต่างจากหลักสูตรอิงมาตรฐานที่ใช้กันอยู่เดิม
ได้เปรียบเทียบลักษณะของหลักสูตรอิงมาตรฐานกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ ไว้ดังนี้

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบระหว่างหลักสูตรอิงมาตรฐาน และหลักสูตรฐานสมรรถนะ

หลักสูตรอิงมาตรฐาน หลักสูตรฐานสมรรถนะ
1. เป็นหลักสูตรที่ใช้ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน 1. เป็นหลักสูตรที่ใช้ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน
- กำหนดสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้และสามารถทำได้ - กำหนดสิ่งที่ผู้เรียนสามารถทำอะไรได้ ในเชิง
- มีมาตรฐานและตัวชี้วัด สมรรถนะ
- มีผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ
2. เน้นความรู้เชิงเนื้อหา (Content knowledge) 2. เน้นในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ
หรือคุณลักษณะในชีวิตจริงที่มีความหมายต่อผู้เรียน
3. หลักสูตรอิงมาตรฐาน กำหนดชุดเป้าหมายการ 3. หลักสูตรฐานสมรรถนะ มีพันธะต่อการความเจริญ
เรียนรู้ โดยไม่มีพันธะ (commit) ว่าทุกคนจะต้อง งอกงามและความสำเร็จของผู้เรียนทุกคน โดยให้
บรรลุเป้าหมายนั้น การสนับสนุนทางวิชาการเพิ่มเติมจนกว่าจะบรรลุ
เป้าหมายการเรียนรู้
4. ผลลัพธ์การเรียนรู้เน้นความรู้และทักษะ 4. ผลลัพธ์การเรียนรู้เน้นสมรรถนะ (เน้นผลลัพธ์)
(เน้นปัจจัย) ที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ความรู้และทักษะ
5. การจัดการเรียนรู้แบบองค์รวมมักจะขาดหายไป 5. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบองค์รวมเพื่อสร้าง
เนื่องจากจะต้องวัดและสังเกตผลลัพธ์การเรียนรู้ย่อย สมรรถนะที่คาดหวัง
จำนวนมาก
6. การจัดการเรียนรู้ไม่สามารถประกันได้ว่าผู้เรียน 6. ใช้ความเชี่ยวชาญในการเรียนรู้เป็นหลักประกันว่า
ทุกคนจะบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้เรียนทุกคนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
7. ผู้เรียนเรียนรู้ตามช่วงเวลาที่กำหนด 7. ผู้เรียนได้รับโอกาสให้เรียนรู้ตามจังหวะการเรียนรู้
ของตนเองจนกว่าจะประสบความสำเร็จ
15

หลักสูตรอิงมาตรฐาน หลักสูตรฐานสมรรถนะ
8. ส่วนใหญ่ใช้การจัดการเรียนรู้เหมือนกันทั้งห้อง 8. ใช้การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างของ
บุคคล เพื่อช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนบรรลุจุดประสงค์
การเรียนรู้
9. การวางแผนสนับสนุนผู้เรียนเป็นรายบุคคลมีน้อย 9. ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนเป็นรายบุคคลในเวลา
ที่เหมาะสม
10. เน้นประเมินเพื่อสรุปผล เพื่อการให้ระดับ 10. เน้นใช้การประเมินเพื่อพัฒนาที่เป็นส่วนหนึ่งของ
ผลการเรียน กระบวนการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนก้าวหน้าในการ
เรียนรู้
11. การประเมินเพื่อสรุปผล อิงจากความรู้และทักษะ 11. การประเมินเพื่อสรุปผล ใช้การแสดง
ที่ระบุไว้ในหลักสูตร ความเชี่ยวชาญตามสมรรถนะที่กำหนด
12. ผู้เรียนก้าวหน้า/เลื่อนระดับ ขึ้นอยู่กับปฏิทิน 12. ผู้เรียนก้าวหน้า/เลื่อนระดับ ขึ้นอยู่กับการแสดง
การศึกษา หรือช่วงเวลา ความเชี่ยวชาญตามสมรรถนะที่กำหนด
13. ผู้เรียนอาจจะสอบตก หรืออาจสอบผ่านโดยไม่ได้ 13. ถ้าผู้เรียนยังไม่ได้ความเชี่ยวชาญตามสมรรถนะ
สมรรถนะอะไรเลย จะได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมเป็นรายบุคคล
ไม่มีการให้ผู้เรียนตกหรือล้มเหลว

6. การดำเนินการจัดทำ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... (หลักสูตรฐานสมรรถนะ)

จากความสำคัญของสมรรถนะที่เป็นยุทธศาสตร์ เป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแนวการจัด
การศึกษาของประเทศให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและสภาวะของประเทศ นำมาสู่การพัฒนา
ร่างกรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีกระบวนการที่เป็นระบบ ใช้การมีส่วนร่วม
จากทุกภาคส่ว นที่เกี่ย วข้อง ทั้ งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งใช้การวิจัยเป็นฐานในการดำเนินงานให้ได้มาซึ่ง
องค์ประกอบของหลักสูตร คือ สมรรถนะหลัก (Core Competency) และขอบข่ายการเรียนรู้ (Learning Area)
โดยสรุปดังต่อไปนี้
1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดสมรรถนะหลัก ดำเนินการโดย
- วิ เ คราะห์ ค วามท้ า ทายในการจั ด การศึ ก ษา สถานการณ์ ความผั น ผวน ปั ญ หา และ
การเปลี่ยนแปลงของบริบททางเศรษฐกิจและสังคมโลก
- ดำเนินการวิจัยเรื่องการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ขอ้ มูลเพื่อพัฒนากรอบการดาเนิน งาน
หลักสูตรฐานสมรรถนะสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย
- ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ
16

- กำหนดคุณลักษณะของคนไทยและทิศทางการจัดการศึกษา จากกฎหมายและยุทธศาสตร์
ประเทศ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรฐานการศึกษาชาติ พ.ศ. 2561
ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ... แผนยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2574 เป็นต้น
- สังเคราะห์ออกมาเป็น สมรรถนะหลัก ซึ่ง เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถ
ที่จำเป็นของผู้เรียนต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคต โดยเป็นสมรรถนะข้ามศาสตร์และวิชา ที่ สามารถพัฒนา
ผ่านศาสตร์วิชาต่าง ๆ หรือสหวิทยาการได้
2) ศึกษาแนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดองค์ประกอบและนิยามของสมรรถนะหลักแต่ละ
สมรรถนะ ดำเนินการโดย
- ศึกษาเอกสารเกี่ย วกับ สมรรถนะที่ส ำคัญในต่างประเทศ งานวิจัยของสำนักงานเลขาธิการ
สภาการศึกษา เอกสารทางการศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานเกณฑ์การประเมินที่เป็นสากล
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
- ระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสมรรถนะ (คณะอนุกรรมการพัฒนาสมรรถนะ)
- สังเคราะห์ออกมาเป็นองค์ประกอบและนิยาม
3) กำหนดพฤติกรรมบ่งชี้หลักของสมรรถนะหลักตามระดับการพัฒ นา และตามระดับที่คาดหวัง
ในแต่ละช่วงชั้น นำนิยามและองค์ประกอบของสมรรถนะ มาจัดเรียงให้เป็นระดับการพัฒนา โดยกำหนดให้
ทุกสมรรถนะมีระดับการพัฒนา 10 ระดับที่เท่ากัน ในลักษณะของการสะสมจากระดับหนึ่งไปอีกระดับหนึ่ง เพื่อให้
เกิดความยืดหยุ่นในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนที่แตกต่างกัน และการนำไปใช้ได้จริงสำหรับครูผู้สอนในประเมิน
สมรรถนะผู้เรียน
4) ตรวจสอบคุณภาพของคำบรรยายระดับและพฤติกรรมบ่งชี้หลักตามระดับการพัฒนา
ดำเนินการโดย
- พิจารณาตามระดับการพัฒนาของสมรรถนะกับพัฒนาการตามวัยของผู้เรียน คำบรรยายระดับ
สมรรถนะและพฤติกรรมบ่งชี้ ซึ่งต้องสอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก และเชื่อมโยงกับการศึกษาปฐมวัยและมีค วาม
สอดคล้องกับ ระดับ การพัฒ นาในระดับ ที่ส ูงขึ้น โดยดำเนินการตรวจสอบความสอดคล้องระดับการพัฒนา
ที่คาดหวังของแต่ละช่วงชั้นกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติปฐมวัย และหลักจิตวิทยา
การเรียนรู้และพัฒนาการเด็ก
- พิจารณาเทียบเคียงความคู่ขนานและความเกี่ยวข้องกันของพฤติกรรมบ่งชี้ระหว่างสมรรถนะ
เพื ่ อ ให้ เ กิ ด ความสมดุ ล ของการพั ฒ นาสมรรถนะผู ้ เ รี ย นไปในทิ ศ ทางเดี ย วกั น ด้ ว ยการตรวจสอบคุ ณ ภาพ
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการเรียนรู้และพัฒนาการเด็ก และการสนทนากลุ่มจากครูผู้สอนในระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
5) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดขอบข่ายการเรียนรู้ ดำเนินการโดย
17

- ศึกษาเอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับ การศึกษาฐานสมรรถนะในต่างประเทศ วิสัยทัศน์ของประเทศ


กฎหมายและยุทธศาสตร์ของประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผลการวิจัยเกี่ยวกับการติดตามการใช้
และข้อจำกัดของหลักสูตรฯ 2551 การเปลี่ยนแปลงของบริบททางเศรษฐกิจและสังคมโลก และความก้าวหน้าของ
ศาสตร์ต่าง ๆ รวมถึงธรรมชาติของศาสตร์และความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน
- กำหนดขอบข่ายการเรียนรู้ (Learning areas) เป็นเสมือนพื้นที่ในการบ่มเพาะให้ผู้เรียนได้พัฒนา
ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะต่าง ๆ และประยุกต์ใช้อย่างเป็นองค์รวมในการปฏิบัติงาน การแก้ปัญหาและการใช้
ชีวิต เป็นการเรียนรู้ที่ต้องเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันเพื่อให้สามารถใช้การได้จริงในสถานการณ์ต่าง ๆ และ
มี ค วามสำคั ญจำเป็น พื ้น ฐานต่อ การเรีย นรู้ แ ละการใช้ ง านในปัจ จุ บ ัน และอนาคต ซึ ่ ง จะเห็ น ว่า การใช้ช ีวิต
การแก้ปัญหาและทำงานใด ๆ จำเป็นต้องอาศัยความรู้หลายศาสตร์ประกอบกันจึงจะสำเร็จสมบูรณ์
- กำหนดขอบข่ายการเรียนรู้ที่ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหา เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เพิ่มความยืดหยุ่น
ในการจัดรายวิชา หรือสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการข้ามขอบข่ายการเรียนรู้อีกด้วย
- ประชุมปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหาร นักการศึกษาและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้
ต่าง ๆ เพื่อนำผลมาพิจารณาความเหมาะสมและเป็นไปได้
6) วิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายของขอบข่ายการเรียนรู้
เพื่อให้ได้แก่ น แท้และความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องของศาสตร์ต่าง ๆ ที่ทันสมัยและจำเป็นสำหรับ
การเรียนรู้ในโลกปัจจุบันและอนาคต
7) วิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างขอบข่ายการเรียนรู้กับสมรรถนะหลัก
เพื่อนำไปสู่การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะประจำขอบข่ายการเรียนรู้นั้น ๆ
8) นำเป้าหมายและผลการวิเคราะห์สมรรถนะหลักผ่านขอบข่ายการเรียนรู้มากำหนดเป็นผลลัพธ์
การเรียนรู้เชิงสมรรถนะของขอบข่ายการเรียนรู้ โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กรอบมาตรฐาน
การศึกษานานาชาติที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายการเรียนรู้นั้น ๆ เช่น มาตรฐานสากลที่ใช้อธิบายระดับความเชี่ยวชาญ
ทางภาษา (Common European Framework of Reference for Languages: CEFR) มาตรฐานของสภา
แห่งชาติของครูของคณิตศาสตร์ (National Council of Teachers of Mathematics: NCTM) กรอบการประเมิน
ความฉลาดรู้ของ PISA เป็นต้น และการทบทวนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เป็นต้น
9) กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะตามช่วงชั้น และมโนทัศน์สำคัญ (Key Concept) โดย
- ผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะตามช่วงชั้น ต้องกำหนดเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่สามารถประกัน
ได้ว่า เมื่อพัฒนาผู้เรียนจบช่วงชั้นแล้ว ผู้เรียนจะเกิดสมรรถนะตามผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะที่กำหนดไว้
- ผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ ต้องสอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย และระดับการพัฒนาของ
สมรรถนะหลักที่คาดหวังในแต่ละช่วงชั้นด้วย
10) ตรวจสอบคุณภาพของผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะของแต่ละขอบข่ายการเรียนรู้ เพื่อขจัด
ความคลุมเครือและซ้ำซ้อนของผลลัพธ์การเรียนรู้หลักแต่ละข้อ และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามช่วงชั้นแต่ละผลลัพธ์
การเรียนรู้หลัก สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย และคู่ขนานกัน
11) ตรวจสอบผลลัพธ์การเรียนรู้ระหว่างขอบข่ายการเรียนรู้ เพื่อ
18

- กำหนดขอบข่ายการเรียนรู้ให้ชัดเจนและไม่เกิดความซ้ำซ้อนกัน
- พิจารณาความเชื่อมโยงในการบูรณาการข้ามขอบข่าย และส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
12) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างระดับการพัฒนาสมรรถนะหลักที่คาดหวังตามช่วงชั้น กับ
ผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะในขอบข่ายการเรียนรู้ของแต่ละช่วงชั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าผลลัพธ์
การเรียนรู้เชิงสมรรถนะได้บูรณาการสมรรถนะหลักอย่างเหมาะสม ในแต่ละช่วงชั้นและทุกขอบข่ายการเรียนรู้
13) วิจัยและทดลองในพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา และโรงเรียทดลองใช้หลักสูตร เพื่อนำ
ผลการวิจัยมาปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ....
14) รับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ ครู นักเรียน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำข้อคิดเห็นและ
ข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. .... สำหรับการประกาศใช้ต่อไป

อ้างอิง:
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาและสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. รายงานเฉพาะเรื่องที่ 12
หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ. สืบค้นจาก
http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1746-file.pdf
วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning. กรุงเทพ ฯ : บริษัท เอส อาร์
พริ้นติ้ง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ.คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2564). งานวิจัย การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนา กรอบ
การดำเนินงานหลักสูตรฐานสมรรถนะ สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย. มปป.
OECD. (2016). A proposal for the PISA 2018 Assessment of Global Competence โดย Andreas
Schleicher. สืบค้นจาก https://www.slideshare.net/OECDEDU/a-proposal-for-the-pisa-2018-
assessment-of-global-competence
OECD, (2019). OECD Future of Education and Skills 2030, Conceptual learning framework,
Attitudes and Values for 2030. สืบค้นจาก https://www.oecd.org/education/2030-project/teaching-
and-learning/learning/attitudes-and-values/Attitudes_and_Values_for_2030_concept_note.pdf
Republic of Estonia, Ministry of Education and Research. (2017). National Curricula 2014. สืบค้น
จาก https://www.hm.ee/en/national-curricula-2014
Sarah Beckett. (2021). How are Skills and Competencies Similar? สืบค้นจาก
https://resources.hrsg.ca/blog/what-s-the-difference-between-skills-and-competencies
University of Victoria. Understanding and using competencies. สืบค้นจาก
https://www.uvic.ca/coopandcareer/career/build-skills/understanding/index.php
University of Victoria https://www.uvic.ca/coopandcareer/career/build-
skills/understanding/index.php
19

How are Skills and Competencies Similar? https://resources.hrsg.ca/blog/what-s-the-difference-


between-skills-and-competencies

You might also like