Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 175

ค�ำน�ำ

หนังสือ “๑๐๘ ข้อธรรม ขีณาลโย” เป็นการรวบรวมข้อธรรม ในหลายแง่


หลายมุมของการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์

เป็นธรรมอันบริสุทธิ์ ที่ออกมาจากน�้ำพระทัยอันบริสุทธิ์ ของพระพุทธเจ้า


ทุก ๆ พระองค์ ถ่ายทอดค�ำสอนโดย หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย มายัง
สรรพสัตว์ทั้งหลาย

ในโอกาสมุทิตาจิต มิ่งมงคลอายุวัฒนะ ๖๘ ปี ขององค์หลวงตา เหล่าศิษย์


จึงกราบขอโอกาสน้อมถวายหนังสือ “๑๐๘ ข้อธรรม ขีณาลโย” นี้ เพื่อเป็น
พุทธบูชา ธัมมบูชา สังฆบูชา และอาจาริยบูชา

ด้วยพุทธานุภาเวนะ
ด้วยธรรมานุภาเวนะ
ด้วยสังฆานุภาเวนะ

ขอกราบอาราธนาธาตุขันธ์องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย


ให้มีความแข็งแรง สดใส สดชื่น เบิกบาน เดินเหินสะดวก กระปรี้กระเปร่า
ตลอดไป ตราบนานเท่านาน เพื่อด�ำรงสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป
ด้วยเทอญ

น้อมกราบเท้าองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้า
คณะผู้จัดท�ำ
ค�ำขอขมา

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ด้วยกายก็ดี
ด้วยวาจาก็ดี
ด้วยใจก็ดี

กรรมน่ า ติ เ ตี ย นอั น ใด ที่ ค ณะผู ้ จั ด ท� ำ หนั ง สื อ “๑๐๘ ข้ อ ธรรม ขี ณ าลโย”


ได้ประมาทพลั้งเผลอกระท�ำแล้ว ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์
ที่ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ที่มีเจตนาก็ดี ไม่มีเจตนาก็ดี

คณะผู้จัดท�ำฯ น้อมกราบขอขมา ต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์


ด้วยเศียรเกล้า และกราบขอโปรดเมตตางดโทษล่วงเกินนัน้ เพือ่ การส�ำรวมระวัง
ในกาลต่อไปด้วยเทอญ
หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

“จากข้าราชการตุลาการระดับสูง สู่ร่มกาสาวพัสตร์สายวัดป่า”

หลวงตาถือก�ำเนิด ในวันจันทร์ที่ ๑๘ สิงหาคม ปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ ที่จังหวัด


นครสวรรค์

ในเพศฆราวาส ท่านเจริญเติบโตในสายงานของนักกฎหมาย
จบนิติศาสตร์บัณฑิต
จบเนติบัณฑิตไทย
สอบผู้พิพากษาได้ในครั้งแรก
และเจริญก้าวหน้าอย่างมากในสายงานตุลาการ ได้ด�ำรงต�ำแหน่งส�ำคัญ อาทิ
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง
- รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลอุทธรณ์ภาค ๑
- ผู้ก่อตั้งชมรมผู้ปฏิบัติธรรม ส�ำนักงานศาลยุติธรรม

หลวงตาเป็นอาจารย์สอนธรรมะ ขณะที่ยังเป็นฆราวาส ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช


๒๕๔๐ ได้ปฏิบตั ธิ รรม อบรมสนทนาธรรม และได้รบั ความเมตตาชีแ้ นะ แนวการ
ปฏิบัติภาวนาจากพระอริยสงฆ์พ่อแม่ครูอาจารย์หลายต่อหลายองค์ เรียงตาม
ล�ำดับพอสังเขปดังนี้

ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ ได้บวชพระภาคฤดูร้อนกับหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ


ขณะยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ระหว่างนั้น ได้มีโอกาสฟังธรรมปฏิบัติ
กับหลวงปู่ขาว อนาลโย พระอริยสงฆ์องค์แรก ที่วัดถ�้ำกลองเพล จังหวัด
หนองบัวล�ำภู จิตใจเกิดความสงบ สว่างไสว เยือกเย็น ซึง่ เป็นบาทฐานให้มคี วาม
สนใจประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ช่วงระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ถึง ๒๕๓๔ ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่จันทา


ถาวโร และหลวงปู่อ�่ำ ธัมมกาโม วัดป่าเขาน้อย จังหวัดพิจิตร

ประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ ท่านได้ย้ายเข้ามารับต�ำแหน่งหัวหน้าศาล


ที่สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร และได้มีโอกาสศึกษาธรรม แนวทางปฏิบัติ
ภาวนากับลูกศิษย์หลวงปู่มั่น หลายองค์ ได้แก่
- หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
- หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
- หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
- หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
- หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม
- หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก

หลวงปูส่ มัยได้ชมว่า ท่านเป็นผูต้ งั้ ใจปฏิบตั จิ ริง ได้ชกั ชวนน�ำพาคณะข้าราชการ


ศึกษาธรรม ปฏิบัติภาวนา เดินจงกรม นั่งสมาธิ ตลอดจนถึงเช้าอยู่เสมอ

เมือ่ ย้ายมาปฏิบตั หิ น้าทีร่ าชการทีจ่ งั หวัดสระบุรี ท่านได้กอ่ ตัง้ ชมรมปฏิบตั ธิ รรมที่


ศาลจังหวัดสระบุรี มีผใู้ ห้ความสนใจเป็นอันมาก โดยท่านเป็นผูส้ อนการท�ำสมาธิ
ในแบบสมถกรรมฐาน จนผู้ปฏิบัติเกิดความสงบร่มเย็น
ต่อมา ได้ยา้ ยเข้ามารับต�ำแหน่งในกรุงเทพฯ จึงได้กอ่ ตัง้ ชมรมปฏิบตั ธิ รรมอีกครัง้
ลูกศิษย์เห็นประโยชน์จากค�ำสอนและแนวทางการปฏิบัติ จึงร่วมกันเผยแผ่
หนังสือ และซีดีธรรมะ อย่างจริงจัง

ปีพทุ ธศักราช ๒๕๔๘ ท่านได้มาฝากตัวเป็นศิษย์ และพาคณะลูกศิษย์เข้าศึกษา


ธรรมกับหลวงปู่ทา จารุธัมโม วัดถ�้ำซับมืด อ�ำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

เมื่ออายุย่างเข้าปีที่ ๕๙ ท่านเห็นสมควรแก่เวลา ปัจจัยทุกอย่างลงตัวพร้อม


จึงตัดสินใจ ลาออกจากต�ำแหน่งข้าราชการตุลาการระดับสูง ออกบรรพชา
อุปสมบทสู่ร่มกาสาวพัสตร์ที่วัดโกเมศรัตนาราม (ธรรมยุต) จังหวัดปทุมธานี
โดยมีท่านเจ้าคุณเมธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้น เดินทางจาริกมากราบขอโอกาสถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่อว้าน เขมโก


วัดป่านาคนิมติ ต์ ต�ำบลตองโขบ อ�ำเภอโคกศรีสพุ รรณ จังหวัดสกลนคร ได้ศกึ ษา
ธรรม จ�ำพรรษาที่วัดป่านาคนิมิตต์ รวม ๔ พรรษา

ต่อมาได้เดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เพือ่ โปรดเมตตาญาติพนี่ อ้ ง และได้กราบ


ถวายตัวศึกษาธรรม เป็นศิษย์ใกล้ชิดของหลวงปู่ลี ตาณังกโร รวม ๒ พรรษา

ปัจจุบัน ได้มาเผยแผ่ธรรมะ ณ พุทธธรรมสถานปัญจคีรี เขาใหญ่ จังหวัด


นครราชสีมา

เผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อหนังสือหลายเล่ม, CD, YouTube, Facebook, Line,


Instagram, Podcast, Website
Luangta Narongsak Kheenalayo

From a high ranking judicial officer to a monk, Luangta


Narongsak was born in Nakhon Sawan Province on
Monday, August 18th, 1952.

Luangta became a lawyer, barrister and later a judge where


he passed the judiciary examination on his first attempt
and later succeeded in earning several titles and achieve-
ments throughout his career, notably including,

• Presiding Judge of the Civil Court


• Deputy Chief Justice of the Civil Court
• Presiding Judge of the Court of Appeal, Region 1
• Founder of Dhamma Practice Club of Court of Justice.
• Dhamma instructor since 1997 as a layman

Luangta also practiced Dhamma with many noble monks as


follows:

In 1976, Luangta Narongsak entered monkhood for a short


term under the guidance of Bhikkhupanyananda. During that
time, he met Luangpu Khao Anallayo at Wat Tam Klong Pel,
Nong Bua Lam Phu Province, who guided him in attaining
inner peace. The calmness which he had never experienced
before under the guidance of Luangpu Khao Anallayo led to
Luangta’s interest and eagerness to become committed to
practicing dhamma and attain nirvana since then.
From 1988 to 1991, Luangta practiced dhamma under the
guidance of Luangpu Janta Thavaro and Luangpu Am Dham-
makamo at Wat Pa Khao Noi, Pichit Province.

In 1992, he started to work at Sawang Daen Din Court, Sakon


Nakhon Province, which provided an opportunity for him to
meet and receive guidance from several noble monks:

• Luangpu Rian Vorarabho


• Luangpu Desaka
• Luangpu Ornsa Sukkaro
• Luangta Mahã Boowa Ñãnasampanno
• Luangpu Lah Khemmaputto
• Luangpu Lee Thitadhammo
• Luangpu Samai Teekayuko

Luangta was praised by Luangpu Samai for having an


unyielding dedication in practicing dhamma as he always
invited his disciples to practice dhamma or meditate together
all night long.

Afterward, he moved to Saraburi Province, where he founded


the Dhamma Club for the Court at Saraburi, which later caught
the attention of the judicial officers.

Later he moved to Bangkok, and once again, he founded


the Dhamma Practice Club of the Court of Justice. Many
dhamma-related media were released during this period,
such as books and CDs.
In 2005, Luangta and his followers met and practiced dhamma
under the guidance of Luangpu Tha Jarudhammo at Wat Tham
Sap Muet, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province.

At the age of 59, Luangta decided to retire and went into


monkhood at Wat Komet Rattanaram, Pathum Thani Province
where Chao Khun Medhajarn was his preceptor at that time.

After ordination, Luangta moved to Wat Pa Nak Nimit, Sakon


Nakhon Province to practice dhamma under the guidance of
Luangpu Awan Khemmako for 4 years.

Later on, Luangta went back to Nakhon Sawan Province,


where he received guidance from Luangpu Lee Tanangaro
for another 2 years.

Luangta Narongsak currently resides at Buddha Dhamma


Satharn Panjakiri, Khao Yai, Nakhon Ratchasima Province,
where he continues to teach dhamma.

Dhamma from Luangta Narongsak can be found in dhamma


books, CDs, youtube, facebook, line official account, podcast,
or internet.
บทอธิษฐาน

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ


ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ


ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ


ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

พุทธะบารมี ธรรมะบารมี สังฆะบารมี


รวมกับบุญบารมีที่ข้าพเจ้าได้กระท�ำมาแล้วทั้งหมด
ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะอธิษฐาน ขอถอนมิจฉาทิฏฐิ อวิชชา
ทิ้งเสียทั้งหมดโดยถาวรสิ้นเชิงตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ขอน้อมน�ำพระสัทธรรมอันออกจากใจอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า
น�ำมาพิจารณาตามจนมีความรู้แจ้ง (วิชชา) เกิดขึ้นที่ใจ
และขอเป็นผู้ตรัสรู้ตามพระสมณโคดมพระพุทธเจ้าในปัจจุบันนี้ด้วยเทอญ
Prayer

Buddham Saranam Gacchami


Dhammam Saranam Gacchami
Sangham Saranam Gacchami

Dutiyampi Buddham Saranam Gacchami


Dutiyampi Dhammam Saranam Gacchami
Dutiyampi Sangham Saranam Gacchami

Tatiyampi Buddham Saranam Gacchami


Tatiyampi Dhammam Saranam Gacchami
Tatiyampi Sangham Saranam Gacchami

Bhuddha Paramitas, Dhamma Paramitas,


and Sangha Paramitas,
Altogether with my merit,
To make a pledge, for any mistaken notions
and ignorance (Avidya) to be resolved from now on.

For the dhamma of the pure Buddha to be pour into this heart
and lighten up the path to enlightenment
as one of Gautama Buddha disciples.
อารัมภบทธรรม

กลางเดือนตุลาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๖๐


ย่างเข้าช่วงปลายฝน ต้นหนาว
เช้านั้น..
องค์หลวงตา ตื่นแต่เช้าตรู่ดั่งเช่นทุกวัน แต่ค�่ำคืนที่ผ่านมา ดูเหมือนองค์ท่านจะได้พักอย่างเต็มที่
“วาง” การตรากตร�ำงานสอนธรรม ที่ทุ่มเทก�ำลังอย่างเต็มที่ เพื่อเมตตาอบรมขัดเกลาเหล่าศิษย์ให้
ได้ดีในธรรม .. มาอย่างยาวนาน จนธาตุขันธ์ท่านอิดโรย อ่อนก�ำลังลงอย่างเห็นได้ชัด
ระหว่างการเดินทาง เมื่อค�่ำคืนที่ผ่านมา .. หลวงตา ได้มองขึ้นไปบนท้องฟ้า ผ่านกระจกด้านหน้า
บานใหญ่ของรถ แล้วปรารภขึ้นมาเบา ๆ ว่า . .
“หลายปีมานี้ เราไม่ได้เห็นดวงดาวบนท้องฟ้าแบบนี้เลย . . เราเห็นแต่หน้าของลูกศิษย์ ที่เราทุ่มเท
สอนให้เขาพ้นทุกข์”
เช้าวันนัน้ องค์ทา่ นดูสดใส สดชืน่ สงบงามท่ามกลางธรรมชาติ เวิง้ น�ำ้ ภูเขา ป่าไม้ และไอหมอกบาง ๆ
ศิษย์ผู้อุปัฏฐาก เฝ้าดูอยู่ห่าง ๆ เพื่อให้พ่อแม่ครูอาจารย์ได้พักผ่อนอิริยาบถ ใกล้ชิดธรรมชาติอย่าง
เต็มที่ ให้ท่านสัมผัสเติมเต็มพลังธรรมชาติสักพักใหญ่ ไม่เข้าไปขัดจังหวะและรบกวนห้วงเวลาที่
ดีต่อธาตุขันธ์องค์ท่าน
สักครูใ่ หญ่ ๆ หลวงตาหันหน้ามา แล้วเรียกให้เข้าไปหา พร้อมเทศน์สอน “ธรรม.. ท่ามกลางธรรมชาติ”
ผูอ้ ปุ ฏั ฐากจึงจดบันทึกธรรมอันบริสทุ ธิท์ มี่ คี ณ
ุ ค่ายิง่ นีไ้ ว้ ท�ำเป็นภาพธรรมขึน้ มา ให้องค์ทา่ นได้สอน
ธรรมผ่านภาพ ให้คนอ่านได้พิจารณาข้อธรรม ท่านจะได้ไม่ต้องคอยอ่านถามตอบ จะได้ไม่ต้อง
เหนื่อยจนเกินไป
จึงเป็นจุดเริ่มต้น ในการน�ำธรรมะค�ำสอนขององค์หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย มาเผยแผ่ ท�ำเป็น
ภาพธรรมนับแต่นั้นมา
Prelude

Mid October 2017, the monsoon season is coming to a closure, marking


the beginning of winter

This morning, Luangta has awoken since first light. These past few days,
it seems he was well rested.

�Abandonment� in teaching lord buddha's dhamma, Luangta had graced


his disciples with his utmost dedication, mercy, and sacrifice, but alas,
such charitable commitment is not without its toll, for it had greatly worn
down Luangta’s constitution.

In his journey on past fateful nights, Luangta had gazed upon the sky, and
witnessed through a car windowpane. He muttered.

�These past years, I never saw the stars shining so brightly... I have only
seen my disciple's faces, whom I've dedicated to teach to reach nirvana.�

That morning, Luangta appeared to be calm, serene, sublime amidst the


leaves, creaks, woods, and mists.

His disciples watched him from afar, to ease his rest, and to let him absorb
the spirit of nature. They did not disturb his recuperative meditation.

After a long while, Luangta beckoned us in.

He taught us �Dhamma... In Nature.�

Thus, this picture book is a recount of that priceless teaching. Illustrated


for your ease of understanding, so Luangta Narongsak need not wear
himself down.

This, is the story of this picture book.


๑๐๘
ข้อธรรม ขีณาลโย
108 DHAMMA KHEENALAYO
ชีวิตนี้..ส�ำคัญนัก
อย่าปล่อยให้พระพุทธเจ้า..ผ่านไป
อย่าปล่อยให้พระธรรมค�ำสอน..ผ่านไป
อย่าปล่อยให้พระอริยสงฆ์พ่อแม่ครูอาจารย์..ผ่านไป
จงน้อมธรรมแท้..เข้าสู่ใจ
จงใช้สติ ปัญญา บุญบารมี
ทุ่มเทหมดหน้าตัก...เพื่อชาติสุดท้าย

This present life is the only opportunity


Do not let the Buddha, the Dhamma, or the Noble Monks
simply pass by.
Cherish the heart of dhamma
Dedicate this entire life to dhamma
with mindfulness (Sati), wisdom (Phanya), and merit (Boon).

001

๐๐๑
ทางโลก “ มี ” . . . . ไม่มีที่สิ้นสุด
ทางธรรมสิ้นสุด ที่ ความ . . . “ ไม่มี ”

The world knows no ends,


but dhamma knows that ends are nothing.

002

๐๐๒
ธรรมะ
ไม่ใช่ การสวดมนต์ไหว้พระ หรือ นั่งสมาธิ เดินจงกรม
แต่ ธรรมะ คือ การยอมรับความจริงตามความเป็นจริง
. . . ว่าไม่มีสิ่งใดที่เที่ยง
และไม่มีสิ่งใดที่ ยึดมั่นถือมั่นได้

Dhamma is not praying nor meditating.


It is accepting the truth,
That nothing is everlasting
And nothing can be held upon.

003

๐๐๓
“ ธรรม ” ไม่ได้อยู่ไกล
ไม่ได้อยู่ที่หลวงตา
ไม่ได้อยู่ที่พ่อแม่ครูอาจารย์
อยู่ที่ “ ใจ ” ของเราทุกคนนั่นแหละ
เรียนที่ใจ พบที่ใจ
พบใจ ... พบธรรม
ถึงใจ ... ถึงพระนิพพาน

Dhamma is not far from reach, it is not with Luangta,


nor is it with any master.
But Dhamma is within our Hearts.
Find and Learn it from the Heart.
Discover what Heart is, discover the Dhamma,
Understand what Heart is, understand the Nirvana.

004

๐๐๔
การปฏิบัติธรรม
มิได้ปฏิบัติ
เพื่อให้ | ตัวเรา | พ้นทุกข์
แต่ปฏิบัติ เพื่อให้รู้ว่า
ตัวเรา ... | ไม่มี |
จึงสิ้นหลง สิ้นยึด

Practicing dhamma is not about liberating oneself from suffering.


It is about learning the truth that oneself does not exist,
Thus, there is nothing to hold on to.

005

๐๐๕
เพราะมี เรา จะไปหา ความสิ้นหลงอย่างถาวร
จึง “ หลง ” ไปอย่างถาวร

Because we seek the path to achieve nirvana


is why one will never ever achieve nirvana.

006

๐๐๖
ชีวิต ก็แค่ละครฉากหนึ่ง
ที่ต้องเล่นจนจบ
แต่ ไม่ยึด ตัวละครว่า
เป็น ตัวเรา

Life is just a scene from a drama


that one needs to play their role from the beginning to the end
but one must not attach themselves to the roles that were given.

007

๐๐๗
เกิด ก็ เพื่อ ตาย
พบ ก็ เพื่อ จาก
ได้มา เพื่อ พลัดพราก
แล้วเจ้ายังจะยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดได้อีก

we were born to die


we meet to part
we gain to lose
so, what is there to still hold on to?

008

๐๐๘
ร้ อ ย รั ด ผู ก มั ด
ยิ่ ง ยึ ด ยิ่ ง ทุ ก ข์

The more one is attached, the more suffering there lies.

009

๐๐๙
ทุกสรรพสิ่ง
ล้วน
เกิดขึ้น ใน เบื้องต้น
แปรปรวน ใน ท่ามกลาง
ดับสลาย ใน ที่สุด

Everything
was brought into an existence at the beginning,
changes as time goes by
and eventually, reaches its end.

010

๐๑๐
มาจากดิน..กลับคืนสู่ดิน
มาจากน�้ำ..กลับคืนสู่น�้ำ
ยืมธรรมชาติมาใช้
ถึงเวลา..ก็ต้องคืนธรรมชาติไป
“ ป ล่ อ ย ว า ง ”

Come from the earth, return to the earth


Come from water, return to water.
Those once borrowed from nature,
When the time comes,
Will be returned to where they once belonged.
let it go

011

๐๑๑
น้อมพิจารณาลงที่ภายในกายเรา
. . เมื่อเห็น อ นิ จ จั ง ชัด . .
อ นั ต ต า ย่อมแจ่มแจ้งเอง
สิ้นหลง . . สิ้นยึด . . สิ้นสมมติ . . พ้นทุกข์

Look into the truth of this body,


Once the impermanence (Anidya) is recognized,
Then non-self (Anatta) is discovered.
With the end of delusions, attachments and conditions,
Free from all suffering.

012

๐๑๒
“ สติ ” เป็นเขื่อนกั้น
ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปในกิเลส
“ ใจ ” จึงสงบ
เกิด “ ปัญญา ” เห็นว่าทุก ๆ สิ่ง . . มันเป็นสังขาร
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ตัวตนของเรา . . “ ไม่มี ”

Mindfulness is like a dam preventing oneself from


the distraction of defilements (Kilesa).
Mind will then be at peace,
allowing wisdom to manifest
and realize that everything is a conditioned thing.
It is Impermanent (Anitya),
Subject to suffering (Dukkha),
and Not-self (Anatta)
One’s self does not truly exist.

013

๐๑๓
อวิชชา คือ ความไม่รู้
ไม่รู้ต้น ไม่รู้กลาง ไม่รู้ปลาย
ไม่รู้ว่าปัจจุบันเราเป็นใคร มาจากไหน แล้วจะไปไหน
หลงยึดถือว่า . . มีตัวเรา เป็นตัวเป็นตนในความรู้สึก
เมื่อพิจารณาจนสิ้นความหลงว่า มีเรา ตัวเรา ของเรา
ก็ สิ้นอวิชชา

Ignorance is Unawareness.
Unaware of the beginning, in between, and the end
Unaware of the one's identity, origin, and destination
Deceived into believing that oneself truly exists.
By understanding that one came from nothingness
and let go of the premise belief,
One can be liberated from Ignorance (Avidya).

014

๐๑๔
จิต .... ใจ

จิต หมายถึง อาการหรือเงาของใจ


จิต ... เคลื่อนไหว ใจ ... ไม่เคลื่อนไหว
จิต ... ปรุงแต่ง ใจ ... ไม่อาจปรุงแต่ง
จิต คือ สังขาร ใจ คือ วิสังขาร
จิต คือ ความมี ใจ คือ ความไม่มี
จิต เหมือนดั่งนก ใจ เปรียบดั่งฟ้า
จิต เหมือนดั่งปลา ใจ เปรียบดั่งน�้ำ
ทั้งสองสิ่งมีอยู่อย่างปกติธรรมชาติ และอิสระต่อกัน
นกไม่สามารถไปเป็นฟ้า
ปลาไม่สามารถกลายเป็นน�้ำ
แต่อยู่ด้วยกัน .. เกื้อกูลกัน

๐๑๕
The Thought and the Mind
The Thought is the shadow or expression of the Mind.
The Thought has movement,
but the Mind is motionless
The Thought can be designed,
but the Mind cannot
The Thought is Sankhara (has existence),
but the Mind is Visankhara (Non-self).
The Thought exist,
but Mind is null.
The Thought is like a bird,
while Mind is like the sky.
The Thought is like a fish,
while the Mind is like a river.
Both naturally exist and are free from one another.
A bird cannot become the sky, nor can a fish become a river.
They coexist and are dependent of each other.

015
นก กับ ฟ้า

นกบินไปในท้องฟ้า
คือ ความเคลื่อนไหวที่มีในความไม่เคลื่อนไหว

นก .. ไม่อาจทิ้งร่องรอยไว้ในท้องฟ้าฉันใด
“ สังขาร ” ความเคลื่อนไหว
ก็ย่อมไม่ทิ้งร่องรอยไว้ในใจ
หรือ “ วิสังขาร ” ฉันนั้น

ทั้ง “ สังขาร ” และ “ วิสังขาร ” เป็นของคู่กัน


อยู่ด้วยกัน แต่ไม่ยึดถือกัน
เกื้อกูลกัน แต่ไม่เกาะเกี่ยวกัน
สันติ นิรันดร์ .. ธรรมชาติเป็นเช่นนั้นเอง

๐๑๖
“The Bird
and the Sky”

As birds soar in the sky,


they are the unrest within
the stillness.
They leave no trace behind in the sky;
Like birds, “Sankhara” or movements,
do not leave scars on the Heart, the “Visankhara”
Sankhara and Visankhara are counterparts
that will not interfere each other
nor are they attached to one another.
They live independently and harmoniously.
That is how Nature works.

016
“ สั ง ข า ร ” และ “ วิ สั ง ข า ร ”
เป็นธรรมชาติที่ ไม่เคยมีเรา

Formation (Sankhara) and Null (Visankhara) are the nature,


They never belong to anyone.

017

๐๑๗
เอา สังขาร ไปเป็น วิสังขาร
มันมีแต่ " สังขาร " กับ " สังขาร "

To attempt to shape something (Sankhara)


into nothing (Visankhara)
is to leave behind nothing but a void, another thing.

018

๐๑๘
มีเพียง ปัจจุบันขณะ
เราไม่มีหน้าที่อะไรใด ๆ กับผล
มีเพียงหน้าที่
ในการท�ำเหตุปัจจัยให้ดี...เท่านั้น

Only at the present,


The outcome is out of our control
Thus, our role is merely to keep on moving in the right direction.
That is to be committed to the cause of the outcome.

019

๐๑๙
คนจะล่วงทุกข์ได้
เพราะ
ค ว า ม เ พี ย ร

Only through grit and perseverance, shall one end all suffering

020

๐๒๐
การปฏิบัติ ... ไม่ได้ไปท�ำให้อัตตาเป็นอนัตตา
แต่ให้เห็นว่า ... ความรู้สึกเป็นอัตตา นั้นคือ อนัตตา

Practicing Dhamma is not about transforming oneself (Atta) into


non-self (Anatta)
but it is to realize that the cognition of regarding things as
self (Atta) is actually non-self (Anatta).

021

๐๒๑
ขันธ์ห้าไม่ใช่อวิชชา ไม่ใช่นิพพาน
ไม่ต้องไปยุ่ง หรือ ดับมัน
ปล่อยให้ขันธ์ห้า เป็นอย่างที่มันเป็น
หรือ ปล่อยวาง
จึงเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ

The Five Aggregates (Khandhas) are not the cause of Ignorance


or Nirvana.
Do not pester nor attempt to extinguish them.
To let go or leave the Khandas as they are,
leads to seeing the right view (Sammathitthi)

022

๐๒๒
สังขาร ไหลไป
ใจได้แต่ รู้

Things may come and go,


But the Mind can only “know”

023

๐๒๓
เมื่อมี...ราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในใจ
ไม่ต้องท�ำอะไร...แค่มีความรู้สึกตัวขึ้นมา
ไม่หลงจมไปใน ราคะ โทสะ โมหะ
สติ ปัญญา จะค่อย ๆ เกิด
เมื่อเห็นความจริงว่า
สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในใจย่อมดับไปเป็นธรรมดา
ให้จิตเรียนรู้และเห็นโทษเอง
ก็จะหลุดพ้นเอง

When greed, hatred or delusion manifests within the mind,


Do nothing but have awareness and mindfulness.
Do not let oneself be consumed by it.
The wisdom will bloom and come into realization that
everything that occurs inevitably reaches its end.
Let the mind observe and learn,
Eventually, the mind will be liberate from all suffering.

024

๐๒๔
เห็น “ ไอ้บ้า ” ในตัวเราไหม...ที่มันพูดไม่หยุดน่ะ
ปฏิบัติเพื่อให้เห็น “ ไอ้บ้า ” นี่แหละ

Have you ever noticed that internal monologue


that keeps narrating relentlessly.
We practice dhamma to find this voice

025

๐๒๕
รับรู้ทุก “ ประตู ”
ตา หู
จมูก ลิ้น
กาย ใจ
ด้วย “ ใจ ” ที่เป็นกลาง
Know through the 6 senses
through the eyes, ears, nose, tongue, body and mind
without prejudice.

026

๐๒๖
จงอยู่กับ “ รู้ ” ... อย่าอยู่กับ “ คิด ”

Just know
Do not fall, trapped in the thoughts.

027

๐๒๗
“ รู้ ” เองจากใจว่า . .
ความรู้สึก นึกคิด อารมณ์ ล้วนเป็นเพียง “ สังขาร ”
เป็นคลื่น wave vibration ที่เกิดเอง ดับเอง
เกิดเอง ดับเอง ตลอดเวลา
ไม่มีตัวตน ตัวเรา ของเรา จริง ๆ

Know from the Heart that


feelings, thoughts and emotions are merely parts of Sankhara.
They are like waves, forming and dissipating freely
in repeating cycles.
Thus, what we consider as ours does not truly exist,
Not even ourselves.

028

๐๒๘
รู้อยู่ เห็นอยู่ ทุกขณะปัจจุบัน
ไม่มีใครยึดถือ
ก็...พ้ น ทุ ก ข์

Cessation of Suffering
is to know and see at every present moment without attachment.

029

๐๒๙
รู้แท้ ๆ คือ “ ฮู้ ซือ ซือ ”
รู้ แบบ ตรงไปตรงมา
สุขก็รู้ .. ทุกข์ก็รู้
เลือกไม่ได้
สักแต่ว่า “ รู้ ” ก็พอแล้ว

To truly know is to simply and easily know.


When you are happy, you know.
When you are suffering, you know.
You cannot choose what you want to know.
But it is to solely know that is enough.

030

๐๓๐
“ รู้ ” แบบไม่มีตัวเรา ไปเป็นผู้รู้
ก็ . . ไม่มีผู้ยึด
พ้นทุกข์ (นิพพาน)

Know, with no one that is trying to observe


Know without seeking for more,
is how one is truly detached
or free from suffering (Nirvana)

031

๐๓๑
ไม่ต้องไปอยากได้ “ รู้ ที่ ไม่ คิด ”
เพราะถ้าแค่รู้ ก็ไม่ได้คิดแล้ว

Do not wish to know without thinking,


Because you are not thinking when you are knowing.

032

๐๓๒
ให้รู้ความคิด
แต่อย่าติดความคิดไป

Be aware of thoughts.
But do not cling on to them.

033

๐๓๓
รู้ไม่เกิด รู้ไม่ดับ
รู้ไม่จาง รู้ไม่หาย

รู้ .. ไม่ยึด
ไม่ยึด .. รู้

“ ธาตุรู้ ” ตามธรรมชาติ
ไม่มีตัวตน

It knows not of birth or death.


It does not flicker or fade away.
Mindfulness is never bound
Nor attached to by anyone.
There is no self within Mindfulness.

034

๐๓๔
อยู่กับ..รู้
รู้ว่า “ ไม่มีอะไรที่ยึดได้ ”
ทั้ง สังขาร และ วิสังขาร

Mind
knows that there is nothing that can be held on to,
Neither Sankhara (Formation) or Visankhara (Nothingness).

035

๐๓๕
อย่าทิ้ง “ รู้ ”
แต่
ไม่ยึด “ รู้ ”

Do not abandon knowing


but do not become attached to it.

036

๐๓๖
“ รู้ ” ทุกอาการ
ทุก ๆ อาการ ไม่ใช่ รู้

The Mind is in every living moment


and aware of everything that has occurred,
but none of these things are the Mind.

037

๐๓๗
“ รู้ ” สังขาร
ไม่หลงไปเป็นมัน
และไม่ไปไล่ดับมัน

Be aware of conditioned things (Sankhara).


Do not be deceived
nor try to quell them.

038

๐๓๘
อย่า “ ไ ห ล ” ไปกับสังขาร
อย่า “ ห นี ” ออกจากมัน
อย่า “ ห ยุ ด ” นิ่งเฉย ไม่รับรู้มัน
แต่จงรับรู้ความจริง ตามความเป็นจริง
กระทั่ง “ รู้ ” ออกมาจากใจ ว่า
ทุกสรรพสิ่งล้วน “ ว่ า ง เ ป ล่ า ”
ไม่มีสาระแก่นสาร ให้ยึดมั่นถือมั่น

Do not follow conditioned things (Sankhara).


Do not run away from it.
And do not stay still, or ignore it.
Accept the truth as it is
that nothing bound to identity
and condition;
Thus, does not truly have any value or should be hold on to.

039

๐๓๙
ถ้าอยากหยุด มันไม่หยุด
ต้องหยุดอยาก จึงจะหยุด

If one wants to stop, it will not stop.


Because one no longer desiring it; therefore, it stops.

040

๐๔๐
อยู่กับปัจจุบัน
รู้ในปัจจุบัน
รู้ว่าไม่มีอะไรยึดถือได้
รู้ว่าไม่มีอะไร ที่เป็น “ ตัวเรา ” “ ของเรา ”

Live in the present moment


Know of the present
Know that nothing can be held on to
And that nothing is us

041

๐๔๑
พ้น จาก ทุกข์
เพราะ
“รู้” เรื่อง “รู้” เหตุ แห่งทุกข์

Free from suffering


By knowing what cause the suffering.

042

๐๔๒
กิเลส เป็นเพียงของจรมา
เปรียบดั่งขณะจิตที่หลงยึดถือ
เหมือนเมฆมาบังพระอาทิตย์
หากไม่หลงยึดถือสิ่งใด
ไม่ว่าสุขทุกข์ ดีชั่ว
ก็เป็นเพียงธรรมชาติ
ที่ผ่านมาแล้วผ่านไปของเขาเอง
เหมือนกับนกบินผ่านท้องฟ้า
ย่อมไม่ทิ้งร่องรอย

๐๔๓
Defilement (Kilesa)
is merely a visitor.

As the mind clings on to attachments,


it is like the clouded sun.
When the mind is not deceived
into attachment,
Whether it may be
happiness or sadness,
good or bad,
All are merely essences
that come and go.
Like birds that fly across the sky
unable to leave any trace behind.

043
สังขารปัจจุบันขณะ เปรียบดั่งสายน�้ำที่ไหลผ่าน
ไหลเข้ามา...แล้วก็ ไหลออกไป
ไม่มีอะไร ที่เข้ามาแล้ว...ไม่ผ่านไป
ทุกสิ่งล้วน มาและไป...เป็นธรรมชาติ ธรรมดา

ถ้า “ ไม่มีอะไร ไปยึด อะไร ”


น�้ำก็ไหลผ่านไป ผ่านไป..เป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดา
ไม่มีใคร..เข้าไป ยึดรั้งข้องเกี่ยว
สิ้นผู้กินอาการตามงับเงา

Sankhara (Formation) is like


the river that flows through.
It flows in, and then flows out.
Nothing enters and never leaves,
Like all things natural taking its course, coming and going.
If one is attached to nothing,
Let the water in the river flow naturally,
One would live without attachment.

044

๐๔๔
อารมณ์ต่าง ๆ .. ที่มันเกิด
ทั้งหงุดหงิด น้อยใจ ดีใจ เสียใจ
ไม่ต้องพยายาม ลบอะไรออกไป
ยิ่งลบ...ยิ่งเห็นร่องรอย
เพราะมันมี “ ตั ว เ ร า ” เข้าไปจัดการ
เพียงแค่ไม่ยึด และ ไม่ผลักไส ในสิ่งต่าง ๆ
สักแต่ว่า | รู้ |

When any feeling emerges,


Whether it is irritation, pity, joy or sorrow, do not try to get rid of it.
The more you try erase it, the more traces are left behind.
They are the marks of your doing
Neither hold onto nor push things away.
Just simply know

045

๐๔๕
การปฏิบัติ ไม่ใช่คิดว่า ... ตัวเราไม่มี
แต่ “ รู้ ” ว่า ... ไม่มีตัวเรา

To practice dhamma is not about deluding oneself


into believing we are nonexistent
but to come to terms with which we are void of existence

046

๐๔๖
จะมีสภาวะใด
ดี .. ไม่ดี .. ชอบ .. ไม่ชอบ
ก็ปล่อยให้มันเป็นอย่างที่เป็น
ปล่อยวางที่ใจ
ไม่ใช่เอาใจไปปล่อยวาง

Whatever condition it may be,


whether it is good or bad,
wanted or unwanted,
let it be as it is,
Not by forcing your mind to set free from it,
but by letting it goes from your heart

047

๐๔๗
ธรรมชาติ นั้นเกื้อกูลกัน แต่ไม่ยึดถือกัน
ถ้าหากไร้เสียซึ่ง ดิน น�้ำ แสงแดด และอากาศ
ทุกชีวิตก็ไม่อาจอยู่ได้
ถ้าหากเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
เพราะไม่ยึดว่ามีตัวเรา ของเรา
ก็จะพ้นจากทุกข์โดยถาวร

The essences of Nature support each other in harmony


but do not cling to each other.
Without Nature, the unyielding Earth, Water, Sunlight, and Air,
all life would not exist.
Only when one act like how the nature is,
by no longer segregate things as our,
will one be free from suffering.

048

๐๔๘
ธรรมะท่ามกลางธรรมชาติ
ความเกิดดับ เกิดดับ ในความไม่เกิดดับ
หรือความเคลื่อนไหว เคลื่อนไหว ในความไม่เคลื่อนไหว
สิ่งใดเคลื่อนไหว เกิดดับเปลี่ยนแปลง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดไม่อาจเคลื่อนไหว ไม่เกิดดับ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เป็นทุกข์
สมดั่งค�ำตรัสของพระพุทธองค์ว่า
“ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
นอกจากทุกข์แล้ว
ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ไม่มีอะไรตั้งอยู่
ไม่มีอะไรดับไป”
Dhamma
within Nature

Everything exists within the blank space.


There is motion within stillness.
Things that are moving, occurring and ever changing, will only suffer
Things which cannot move, has no beginning or end, is unchanged, will not suffer.
Like the teaching of the Buddha
�Only suffering (Dukkha) is created, remains and eventually reaches its end.
All that is not suffering, they do not come to exist,
do not remain, never know ends.”

049

๐๔๙
น�้ำ ไหล นิ่ง
ผู้ใดเห็นความสงบในความเคลื่อนไหว
เห็นความว่างในความมี
ใจจะสุขสงบนิรันดร์
นั ต ถิ สั น ติ ป ะ รั ง สุ ขั ง
“ สุขใดเหนือกว่าใจที่สงบ เป็นไม่มี ”

The river runs still,


Whoever sees peace within motion,
Sees emptiness within a full glass of water,
One will attain eternal peace.
There are no happinesses beyond
The Peaceful Mind.

050

๐๕๐
ยอมรับทุกสิ่งตามที่มันเป็น
ไม่ว่าจะ ดี หรือ ไม่
ทุกสิ่งล้วนแต่ เกิดขึ้น และ ดับไป
ไม่มีอะไรที่จะเหลือให้ยึดมั่นถือมั่น

Accept things as they are


Whether it is good or bad.
All things come and go.
Nothing lasts to be held on to.

051

๐๕๑
อดีต ปัจจุบัน อนาคต จบไป
เพราะ ปล่อยวาง ที่ใจ
ใน ปัจจุบัน

Past, Present, and Future can truly end


If one let go of present.

052

๐๕๒
ไม่มี ผู้ยึดถือ
ไม่มี ผู้ทุกข์

Because no one is attached,


no one will suffer.

053

๐๕๓
ใจ ไร้ตัวใจ
ไม่มีใคร ไปยึดอะไรไว้
ปล่อยวางหมด จบที่ใจ

The heart which contains none.


No one can be attached.
Let go of everything
Starting from the heart

054

๐๕๔
ที่สุดของปัญญา
คือ
ก า ร ป ล่ อ ย ว า ง

The ultimate wisdom is to let it go.

055

๐๕๕
ปล่อยให้ทุกอย่าง..เป็นอย่างที่มันเป็น
คือ
ป ล่ อ ย ว า ง

To let things take their own course is to let go.

056

๐๕๖
ป ล่ อ ย ว า ง
คือ
ปล่อยวาง สิ่งที่รู้ ที่เห็น ที่เป็น ทุกขณะปัจจุบัน
ไม่ใช่ปล่อยวาง “ สติ ปัญญา ” เลยไม่รู้เห็นอะไรเลย

Letting go is to let go at the present moment of


the things one has known, seen and become.
But, letting go is not to let go of the mindfulness or wisdom
such that you see and know nothing.

057

๐๕๗
ไม่ใช่เอาตัวเราไปปล่อยวาง
เเต่ .. ปล่อยวางตัวเรา
ปล่อยวางที่ใจ .. พ้นทุกข์

It is not about you letting go of something,


but it is to let go of yourself.
Let it go from the heart
Cessation of Suffering

058

๐๕๘
อย่าทิ้ง สติ
ทั้งรู้ ทั้งเห็น
จนกว่า..เป็นธรรมจริงที่ใจ

Do not abandon consciousness,


nor mind
not until one finally enlighten in dhamma

059

๐๕๙
พบผู้รู้
ปล่อยวางผู้รู้
แ ค่ รู้
ไม่มี...ผู้รู้

Find the one who knows


And let go of them
Just know
Without the one who knows.

060

๐๖๐
ไม่ว่ามีสภาวะอัศจรรย์แค่ไหน
ก็เป็นแค่ สังขาร
ถ้ายึดไว้ก็เป็นทุกข์
“วาง”

However miraculous states seem,


they all are merely things (Sankhara).
Holding on will only cause suffering
Let go

061

๐๖๑
มีที่หมาย ก็มีที่ไป
เวียนวนเกิดตาย ไม่จบสิ้น
วางที่หมาย หมดที่ไป จบที่ใจ...ปล่อยวาง

Where there is a destination, there is a path


Circling endlessly within the cycle of life and death, Samsara
No destination thus, no path
Ends it with mind, by let it go

062

๐๖๒
ไ ม่ ดู ด ไ ม่ ผ ลั ก
รู้ทุกอย่าง แต่ไม่ยึดสักอย่าง
จึงพ้นทุกข์

Do not push away nor draw in


Know of everything but be attached to nothing
lead to the cessation of suffering

063

๐๖๓
อิสระจากความยึดถือ
เพียง “ รู้ ” และ
“ ปล่อยวาง ”

Free from Attachment


by simply know and let go

064

๐๖๔
อาศัยสติปัญญา
เพื่อปล่อยวางตัวเรา
ปล่อยวางแม้กระทั่ง ... ตัวเราผู้ปล่อยวาง

Let go of oneself by the wisdom.


To let go of oneself is to let go even of the one
who is trying to let go

065

๐๖๕
เมื่อ ปล่อยวาง “ความปรุงแต่ง”
และไม่โหยหา “ความไม่ปรุงแต่ง”
ก็ สิ้นยึด ทั้งสังขารและวิสังขาร
จึงพบ ใจที่เป็นพุทธะ
ใจที่ รู้จริง รู้แจ้ง รู้พ้น สิ้นอวิชชา กิเลสตัณหา

Letting go of the conditioned (Sankhara)


and do not crave for the unconditioned (Visankhara)
then you will no longer be attached.
You will find Buddha, Enlightenment, the end of Ignorance
(Avidya) and Defilement (Kilesa).

066

๐๖๖
สิ้ น ยึ ด ... พ้ น ทุ ก ข์

Free from all attachment, free from all suffering

067

๐๖๗
ใจสงบ
ก็ พบ ธ ร ร ม

Where there is inner peace, there is dhamma.

068

๐๖๘
เมื่อใจถึงธรรม...เมื่อธรรมถึงใจ
ทุกสรรพสิ่ง ล้วนเป็น ธ ร ร ม

When the mind has become dhamma,


Everything will be perceived as dhamma.

069

๐๖๙
ธ ร ร ม ทั้งหลาย ... มีเพียงปัจจุบัน

Dhamma only exists in the present

070

๐๗๐
ชีวิตจิตใจมีอยู่ตามปกติ
สุขทุกข์ ผ่องใส เศร้าหมอง มีอยู่ปกติ
แต่ผู้ยึดมั่นถือมั่น “ ไม่มี ”

Life takes its course naturally,


Joy and suffering,
happiness and sorrow,
those are a part of life
However, the one who hold onto things is now gone.

071

๐๗๑
เส้นทางนี้ .. ไม่มีผู้มา และ ไม่มีผู้ไป
สิ้นสุด .. เมื่อ “ หยุด ” เดินทาง

On this journey,
No one ever start it,
nor will travel to anywhere.
This journey ends,
only when one ends it.

072

๐๗๒
ต้องเดินทางจนถึงที่สุด
แต่จบด้วย “ หยุด ” การเดินทาง
จบที่ใจ หยุดที่ใจ

Though it is necessary to travel to the very end,


That end can only truly be reached when one ends the journey.
End it within the heart
Let go from the heart

073

๐๗๓
นิพพาน คือ ไม่มีตัวเรา ของเรา
เพราะ รู้ว่า ตัวเราไม่มี
รู้ว่า ความมี เกิดจาก ความไม่มี
มันเกิดเองดับเอง
ธรรมชาติเป็นเช่นนี้

Nirvana is not us or something to be attained,


because one does not exist.
Everything is born from Nothing,
thus, things naturally come into existence and erode away.
It is the fleeting essence of nature.

074

๐๗๔
ความไม่มี...ไม่ใช่ความว่าง
ความไม่มี…ไม่มีแม้แต่ “ ความว่าง ”

Nothingness is not emptiness.


Nothingness has nothing, not even emptiness.

075

๐๗๕
“ สิ้นยึด ” .. ตัวตนก็ดับหายไป
“ ดั่งเปลวไฟที่สิ้นเชื้อ ”

When there are no attachment, there is no self


Just like a flame that has been completely extinguished.

076

๐๗๖
“ สิ้นผู้เสวย ” . . . แค่นั้น

Allow no thought to consume you

077

๐๗๗
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
รวมลงอยู่ที่ “ ใจ ”

The Buddha, the dhamma, and the Noble Monk, all reside as one in
the Heart

078

๐๗๘
ที่สุดแห่งทุกข์
ไม่ใช่อยู่ตรงที่ .. เกิดดับ
แต่อยู่ตรงที่ .. ไม่เกิดดับ

The end of suffering does not come from


its occurrence and termination,
But it is to be unbound from the concept of life and death.

079

๐๗๙
อกิริยาจิต
คือ
“ ที่สุดแห่งทุกข์ ”
พ้นจาก สังขาร ทั้งปวง

Motionlessness
is the cessation of suffering

080

๐๘๐
เมื่อ สิ้นอวิชชา
ความเป็นตัวตน..ในความรู้สึก
จึง ดับไป

Because ignorance (Avidya) ceases to exist,


The feeling of oneself will also cease to exist.

081

๐๘๑
ผู้ใด ดับสังขารปรุงแต่งได้สมบูรณ์
ผู้นั้น จะพบ ความสุขที่แท้จริง

One who is completely free from mental formations (Sankhara),


will find true happiness.

082

๐๘๒
ร่ม..กางออก มิได้ท�ำให้ฝนหยุดตก
แต่ กางออก เพื่อมิให้เปียกฝน
การปฏิบัติธรรม ก็มิได้ท�ำให้ทุกข์ไม่มี
แต่ ท�ำให้ ไม่มีผู้ใดไปทุกข์

Umbrella does not stop the rain


but it prevents one from getting soaked.
Practicing dhamma does not eliminate pain or suffering
but the one who is bothered by suffering no longer exist.

083

๐๘๓
พระพุทธองค์ ทรงตรัสสอนว่า
สุดท้ายของการปฏิบัติธรรมนั้น “ ไม่ได้อะไรเลย ”
แต่ตถาคตสามารถบอกได้ถึง “ สิ่งที่หายไป ”
คือ กิเลส ตัณหา อวิชชา ได้สูญสิ้นไป

Lord Buddha said that,


Practicing dhamma would not allow one to gain,
but one could tell what had disappeared,
that is, the loss of Defilement (Kilesa), Desire (Tanha)
and Ignorance (Avidya)

084

๐๘๔
เมื่อความปรารถนาความสุขหมดไป
ความทุกข์ก็ดับลงพร้อม

Once the craving for happiness disappears, suffering will also


disappear.

085

๐๘๕
ธรรมทั้งปวง รวมลงตรงความ สิ้นยึด

All dhamma is about letting go of attachment.

086

๐๘๖
สิ้ น ยึ ด
ก็กลายเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

Because no one is attached,


No one will suffer.

087

๐๘๗
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
เพราะไม่มีสิ่งใดเกิด จึงไม่มีสิ่งใดดับ
ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นเช่นนั้นเอง
รู้ตามธรรมชาติ...อยู่อย่างนี้
“ ที่สุดแล้วมันไม่มีอะไร ”

Because it exists that this exists.


Because it happened that this happens.
Because it ceases to exist that this ceases to exist.
Because nothing began, then nothing can end.
Everything follows the same path.
Simply realize how the nature takes its course.
That in the end, this is how it is.

088

๐๘๘
“ จบลงที่ใจ ” ในปัจจุบัน
วาง...ทุกอย่าง
ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต
แม้ปัจจุบันก็ไม่รักษาไว้
“ สิ้นผู้เสวย สิ้นผู้ยึดมั่นถือมั่น ”
กลายเป็นใจที่สงบ...ว่างเปล่า
มีแต่...ความสงบร่มเย็น

End with the mind in the present


Let go of everything,
The past, present, and future do not exist
The one who takes or hold on cease to exist.
There is left a peaceful and empty mind,
There only exists the serenity.

089

๐๘๙
ไม่มีอะไรให้ยึดถือ
ไม่มีอะไรให้ปล่อยวาง
ไม่มีใครจะไปได้ ไปมี ไปเป็นอะไร
ไม่มีตัวตนของผู้ที่จะพ้นทุกข์

There is nothing to hold on to.


There is nothing to be let go of.
There is no one who will attain, be given, or become anything.
And there does not exist anyone who will be freed from suffering.

090

๐๙๐
ทุกข์นั่นแหละมีอยู่
แต่ผู้ทุกข์หามีไม่

การกระท�ำมีอยู่
แต่ผู้ท�ำไม่มี

นิพพานมีอยู่
แต่คนผู้นิพพานไม่มี

ทางก็มีอยู่
แต่ผู้เดินทางไม่มี

๐๙๑
Pain and suffering exists,
but the one who suffers does not.

Actions exist,
but the one who acts does not.

Nirvana exists,
but the one who has attained nirvana
does not.

The path to nirvana exists,


but the one who takes the journey does not.

091
ที่สุด..ไม่มีที่สุด
ไม่มีที่หมาย ไม่มีที่ไป
มันไม่มีอะไร..จะไปเป็นอะไร
เพราะมัน....“ ไม่มี ”

In the end, there is no end


Nothing to become and nowhere to go
Because there is nothing that is.

092

๐๙๒
สูงสุด คือ จุดเริ่มต้น
คือ ความ “ ไม่มี ” อะไร

The pinnacle of dhamma lies at the beginning


Which is Nothingness.

093

๐๙๓
ไม่มีตัวเรา มาแต่แรก
ใยต้อง “ ปล่อยวาง ” ตัวเรา

If oneself does not exist from the very beginning;


What need is there to let go of oneself.

094

๐๙๔
มาจากความว่างเปล่า
กลับคืนสู่ความว่างเปล่า

Come from emptiness


Return to emptiness

095

๐๙๕
ใช้ชีวิตอย่างสมมติ
แต่ใจเป็น วิ มุ ต ติ

Live the life perfectly,


But the mind attached to nothing

096

๐๙๖
ไม่มีตัวเรา ไป นิพพาน
เพราะ นิพพาน คือ สิ้นตัวเรา

One's self will never attain nirvana,


Because nirvana is the lack of self.

097

๐๙๗
ไม่มีเรา…เท่านั้น
จบ

The end lies where we do not truly exist

098

๐๙๘
ไม่มี “ ตัว ” ไปรับ

เห็นจีวรที่ตากอยู่ตรงนั้นไหม ?
ประเดี๋ยวก็สงบ ประเดี๋ยวก็ปลิว
เขากระเพื่อม ตามแรงลม
พิจารณาให้ดี
ถ้าไม่มี จีวร
ลม แม้พัดแรงเท่าใด
จะมีสิ่งใดปลิว

Hold onto none

�Do you see that Buddhist robe hanging over there?


Sometimes it sways, sometimes it remains still.
It moves with the push and pull of the fickle wind.

Now consider this,


No matter how strong the wind is,
Without a robe, nothing can be blown away.�

099

๐๙๙
สิ้นโลก เหลือธรรม (ใจว่าง)
สิ้นยึดทั้งโลกทั้งธรรม...“ นิพพาน ”

When it is the end of worldliness, what is left is dhamma.


When it is the end of attachment of both worldliness and dhamma,
there is nirvana

100

๑๐๐
ในนั้น
ไม่มีโลก ไม่มีธรรม
ไม่มีสมมติ ไม่มีวิมุตติ
ไม่มีอะไรเลยที่ยึดได้
เปล่าเปล่า
... บริสุทธิ์ ...

There,
Has no world or dhamma,
Has no condition or liberation.
There is nothing to be held on to.
Just purely, nothing

101

๑๐๑
ที่สุด..ของการปฏิบัติธรรม
ไม่มีผู้ถึงอะไร
ไม่มีผู้ได้อะไร
ไม่มีผู้เป็นอะไร
ไม่มีที่หมาย ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต
ไม่มีผู้หยุดอยู่ในปัจจุบัน

The essence of practicing dhamma is that,


No one will succeed nor fail,
None will attain nor fail to attain,
None will become anything.
There is no goal or destination.
There is no past or future.
No one will remain in the present.

102

๑๐๒
ความเกิดดับ เกิดดับ ในความไม่เกิดดับ
ปล่อยวาง..ทั้งความ “ เกิดดับ ” และความ “ ไม่เกิดดับ ”
พ้นทุกข์

Birth and Death of things concurrently exist within Deathlessness.


Let go of the existent and the nonexistent,
free from suffering.

103

๑๐๓
จิ ต เป็น ก ล า ง
วาง ใ จ เป็น ๑
“ เ อ ก ะ ธั ม โ ม ”

All Thoughts and Feeling exist but do not affect the mind.
When one lets go of the mind, everything will become one with nature.
E-KA-THAM-MO, The one and only Dhamma

104

๑๐๔
ห ยุ ด ทํ า
ครั้งหนึ่ง ..
หลวงตา ได้มีโอกาสจาริกไปกราบเยี่ยมพระเถระรูปหนึ่งบนเขาสูง
พระเถระ เมตตาต้อนรับด้วยความอบอุ่น
พร้อมทั้งสนทนาธรรมอย่างเป็นกันเอง

มีช่วงหนึ่ง พระเถระได้ปรารภขึ้นว่า ..
“ เราเพียร ท�ำทุก ๆ สิ่งทุก ๆ อย่างมาหมดแล้ว ”
“ แต่ไม่เห็นแม้เงาพระนิพพาน ”

หลวงตานิ่งส�ำรวมสักครู่ แล้วกล่าวขึ้นว่า
“ กราบขอโอกาสครับ ”
“ ยังมี สิ่งสิ่งหนึ่ง ”
“ ที่หลวงปู่ ยังมิได้ท�ำ ”
“ สิ่งนั้น . . . คือ ”

“ ห ยุ ด ทํ า ”

ความเงียบ สงบ สงัด เข้าแทนที่การสนทนา


สักครู่อึดใจ ความปีติที่ท่วมท้น
ระคนกับเสียงหัวเราะที่ดังกึกก้องกังวาน
ขององค์พระเถระ ดังทั่วหุบเขาอย่างไม่เคยมีมาก่อน
เนื่องเพราะสิ่งที่ติดค้างอยู่ในใจมานาน
ได้มลายทลายออกจนหมดสิ้น ...

๑๐๕
Stop Doing

Luangta went to visit a senior monk who lived


on the top of a mountain.

The monk kindly welcomed Luangta.

They discussed about dhamma. At the time, the monk


asked, “I had done everything I could do, but why I cannot
see even a glimpse of nirvana?”

Luangta was silent for a moment, then,


answered, “With all due respect, allow me to
tell you that, there is one thing that you still
have not done, and that is.... to stop doing.�

Silence overtook the conversation. In the blink


of an eye, the entire area of the mountain was
enchanted with the blissfulness and laughter
of the senior monk.

This was because the thing which has been


troubling the senior monk's mind for many
years was finally realized.

105
รู้ แ ท้ .. ไม่ปรากฏร่องรอย
ในวันหนึ่ง . . .
หลวงตา พิจารณาโดยแยบคาย เห็นว่า เป็นโอกาสอันเหมาะสม
ที่จะกราบเรียน ถวายแก้ข้อติดขัดแห่งการปฏิบัติอันละเอียดลึกซึ้ง
แด่พระสุปฏิปันโนพรรษาสูงรูปหนึ่ง ที่มีความสนิทคุ้นเคย

เมื่อพบกัน
หลวงตาได้ให้ศิษย์ ทั้งพระทั้งโยม ออกไปจากห้อง เพื่อสนทนาธรรมโดยล�ำพัง
“ หลวงพ่ออยู่กับรู้ที่ไม่คิดตลอดเวลา ”
“ กราบขอโอกาสครับหลวงพ่อ ”
“ หลวงพ่อยึด รู้ ”
“ แม้เป็น รู้ .. ที่ไม่คิด ”
“ แต่ !!! ก็ยังเป็น รู้ ที่ยังคงติดอยู่ ให้ปรากฏร่องรอย ”

“ ค�ำพ่อแม่ครูอาจารย์องค์หลวงปู่หล้า เขมปัตโต เพิ่นว่า ”


“ นิพพานไม่ใช่ผู้รู้ แต่เหนือผู้รู้ไปจนไม่มีที่หมาย ”

“ และค�ำขององค์หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า .. ”


“ พบผู้รู้ ให้ฆ่าผู้รู้ ”

๑๐๖
เมื่อได้ฟังดังนี้ . . .
. . ฉับพลัน! เกิด ธ ร ร ม กระแทกใจ
โลกธาตุสะเทือนสนั่นภายใน
อย่างที่ไม่เคยมาก่อน . .

เ ข้ า ใ จ . . ถึง “ ใ จ ”

สงบ สงัด นิ่ง . . หมดค�ำพูด ใด ๆ

ดาบแห่งธรรม คมกริบ ..
เพียงดาบเดียว .. บ่หลาย
. . เพียงพอ ส�ำหรับผู้มีธรรม
ที่เปี่ยมด้วยปัญญา และ ปราศจากมานะทิฏฐิ

๑๐๖
The Pure Mind (Buddha)
has no remains

One day, Luangta felt that it was time for the senior noble
monk, who Luangta is familiar with, to receive the practical
guidance.

The two met with each other in a certain room, wishing to


discuss in secrecy.
The senior monk stated “I am living every moment with the
pure mind that is no longer containing any thoughts.”

Luangta stated, �With all due respect, you are being attached
to pure mind. Although your pure mind seems not to be
thinking anymore; however, the mind still traceable.”

As Luangpu Lah Khemmaputto taught, �Nirvana is not the


mind, but it infinitely goes beyond the pure mind itself.�

106
Luang Pu Dune Atulo also taught, “Find the pure mind, then
destroy it.”

The Dhamma that Luangta told him had shaken the noble
monk’s world like never before. The noble monk had finally
truly comprehended. Peace of mind then blossomed, thus,
leaving him speechless.

This razor-sharp blade of wisdom is enough to cut through


ignorance for the one who possess wisdom but has no ego.

106
ป ล่ อ ย ว า ง . . ผู้ปล่อยวาง
จริยวัตรอันงดงามประการหนึ่ง ที่องค์หลวงตาน้อมท�ำอยู่เสมอ
คือการจาริกไปกราบเยี่ยมพ่อแม่ครูอาจารย์ที่เคารพคุ้นเคย

ณ วัดถ�้ำบนเขาแห่งหนึ่ง อันสัปปายะ

ความปีติยินดี ของหลวงปู่เจ้าอาวาส แสดงออกมาด้วยรอยยิ้มอย่างเมตตาไม่มี


ประมาณ ทันทีที่เห็นหลวงตามากราบเยี่ยม

การสนทนาที่เปี่ยมด้วยอรรถรสทางธรรม ด�ำเนินไปอย่างสนิทอบอุ่น . .
. . . จนมาตอนท้าย หลวงปู่ เมตตายื่นมือมาให้หลวงตาจับ พร้อมเอ่ยขึ้นว่า

“ หลวงตา ดู ซิ ว่า ” . .
“ เรา .. ปล่อยวางหมดแล้ว ! ”
“ ปล่อยวางหมดทุกอย่างเลย ! ! ! ”
“ ไม่มีอะไรแล้ว ที่ไม่ ปล่อยวาง ”

หลวงตา ประคองมือหลวงปู่ด้วยความนอบน้อม แล้วกล่าวด้วยน�้ำเสียงอันอ่อนน้อม


ส�ำรวมว่า . .

“ กราบขอโอกาสครับ หลวงปู่ ”
“ ยังครับ . . หลวงปู่ ”
“ หลวงปู่ . . ยังวางไม่หมด ครับ ”
“ หลวงปู่ ยังไม่ได้ . . ปล่อยวาง . .ผู้ ป ล่ อ ย ว า ง . . ”

๑๐๗
สิ้นประโยคนี้ . . .

หลวงปู่ นิ่งตะลึงครู่ใหญ่ . .
. . แหงนหน้าขึ้นมองท้องฟ้าออกไปไกล
คล้ายดั่งทุกสรรพสิ่ง ล้วนถูก “ปล่อยวาง” จนหมดสิ้น

. . “ เรา ปล่อยวางหมดทุกอย่างแล้ว ”
. . “ เสร็จแล้ววันหนึ่ง มีคนมาบอกเราว่า ”
. . “ เรายังไม่ได้ปล่อยวาง .. ผู้ ป ล่ อ ย ว า ง ”
. . “ ขี้ผงเข้าตาตัวเอง .. เขี่ยไม่ออก ”

. . . องค์หลวงปู่ ร�ำพึงขึ้นกับสายลม

โ ล ก ธ า ตุ . . เ งี ย บ ส ง บ ส งั ด

..ไม่มีค�ำพูดใด ๆ ออกจากใจของท่านอีก..

. . . แม้แต่ผู้ปล่อยวางยังไม่เหลือ
แล้วจะเหลืออะไรให้พูดอีกเล่า . . .

๑๐๗
Let go of the one who let go

One of the practices that Luangta always follows is to go


pay respect to a senior monk.

In the cave surrounded by the tranquility of the


mountains, the senior monk gave a warm welcome to
Luangta with an immeasurable joy.

The conversation went on for quite a while.

Towards the end of their conversation, the senior monk


reached out to Luangta and asked, “Look Luangta! I have
already let go everything. There is nothing left for me to
let go of.”

Then Luangta kindly replied, “No, not yet. You still did not
let go of the one who let go.”

The senior monk was dumbfounded.

107
The monk shifted his gaze towards the sky and uttered,
“I always thought that I have already let go of everything,
then, someone told me that I did not let go of the one
who let go.”

The monk then continued, “Like the dust in my eyes that


I cannot remove.”

After the monk finished speaking those words,


the quietness continued for a while as if the whole world
was put to silence.

If there is nothing left, even the one who let go, then,
to say anymore than that would be unnecessary.

107
ดิ้นรนค้นหา เหมือนคนบ้า
สัจธรรม ย่อมไม่ดิ้นรน
ห ยุ ด ดิ้ น ร น
จึง พบ ธ ร ร ม

Like a madman,
seeking desperately and relentlessly
will not allow dhamma to blossom.
Only when there is peace
is when one will find dhamma.

108

๑๐๘
ชื่อหนังสือ
๑๐๘ ข้อธรรม ขีณาลโย

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
พระณัฐ เขมปญฺโญ
มยุรี เนียมนัด
บรรณาธิการ
จิรัฏฐ์ จารุทัศน์
ฝ่ายศิลป์
ชนวีร์ จารุทัศน์
กองบรรณาธิการ
รวิณท์มาด โรจนอนันต์
ณิชมาศ โรจนอนันต์
ทีมแปล
จิรัฏฐ์ จารุทัศน์
ศิริวรรณ ธนวณิชย์วรชัย
ฐปนี ปิ่นทอง
อัทธ์ เหว่ยเหย้า อัง
ณัฐิดา ร่องวารี
สุรเชษฐ์ เหลืองสอาด
พัชรี โรจนอนันต์
สุเมธ โรจนอนันต์
พิสูจน์อักษร
ปรางทิพย์ ปางพุฒิพงษ์
อภิวุฒิ จารุทัศน์
ผู้จัดพิมพ์
สุเมธ โรจนอนันต์
เลขมาตรฐานหนังสือ (ISBN): 978-616-568-969-4
พิมพ์ครั้งที่ ๑: สิงหาคม ๒๕๖๓ จ�ำนวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ที่ บริษัท ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จ�ำกัด
โทรศัพท์ ๐­๒๔๔๔-๓๓๕๑-๒ e-mail: silpasiamprinting@hotmail.com

You might also like