Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 165

กาก 0

หลักสูตรออนไลน์ CHULA MOOC

ทรงศักดิ ์ หมัดสะและ

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้
จ ุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเรี ยนรู ้แบบไร้ขีดจาก ัด
หลักสูตรออนไลน์ CHULA MOOC

ภาษาอาหรับเบือ้ งต้ น
Basic Arabic

อาจารย์ ดร. ทรงศักดิ์ หมัดสะและ


สาขาวิชาภาษาอาหรับ ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้

จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
คานา
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สง่ เสริมสนับสนุนการผลิตสื่อการ
เรียนรู้ออนไลน์ Chula Mooc เพื่อมอบเป็นของขวัญในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chula Mooc เปิดโอกาสให้ผสู้ นใจสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และ
สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต lifelong learning โดยเปิดสอนรายวิชาต่าง ๆ มากมาย 5 หมวดวิชา
ได้แก่ ธุรกิจ ไอที ภาษา สุขภาพ และศิลปะ ซึ่งแต่ละรายวิชาล้วนแล้วแต่เป็นความรูท้ ี่มปี ระโยชน์
สามารถนาไปปรับใช้ได้จริง
ภาษาอาหรับเบื้องต้น Basic Arabic เป็นหนึ่งในรายวิชาหมวดภาษา รายวิชานี้เป็นก้าวแรก
ของการเรียนภาษาอาหรับรายวิชาอื่น ๆ เนื้อหาหลักเป็นการอธิบายการอ่านออกเสียงและการเขียน
อักษรภาษาอาหรับ โดยแบ่งเนื้อหาเรื่องอักษรภาษาอาหรับในแต่ละบทให้เหมาะสมกับเวลาในแต่ละ
ตอน นอกจากนี้ยังนาเสนอหลักภาษาพื้นฐานทีจ่ ะช่วยให้ผเู้ รียนเข้าใจชนิดของคา พจน์ และเพศของ
ภาษาอาหรับ ซึ่งจาเป็นต่อการเรียนภาษาอาหรับรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป
สื่อการสอนรายวิชา ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น Basic Arabic นี้ประกอบไปด้วย 1. คลิปวีดิโอ
ที่มีการบรรยายประกอบการสาธิตการออกเสียง และการสาธิตการเขียน ผู้เรียนสามารถหยุดชั่วคราว
หรือเปิดดูซ้าไปซ้ามาได้ 2. หนังสือประกอบการเรียนรายวิชา ภาษาอาหรับเบื้องต้น Basic Arabic
ซึ่งบรรจุเนือ้ หาทัง้ หมดจากคลิปวิดีโอ ผูจ้ ัดทาได้เพิ่มคาอธิบายบางประเด็นเข้าไปด้วย เนื่องจากคลิป
วีดิโอมีข้อจากัดด้านเวลา จึงไม่สามารถแทรกคาอธิบายเข้าไปได้มากเท่าที่ควร หนังสือเล่มนี้จงึ เป็น
คู่มือที่จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนมีสมาธิกบั การเรียนมากขึ้น ไม่ต้อง
กังวลการจดบันทึกเนื้อหาจากคลิปวิดีโอ และยังช่วยให้ผเู้ รียนสามารถทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา
ทางผูจ้ ัดทาหวังเป็นอย่างยิง่ ว่าหนังสือเล่มนีจ้ ะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน และผู้สนใจ

ผู้จัดทา
ทรงศักดิ์ หมัดสะและ
สารบัญ

คานา
สารบัญ
รายละเอียดรายวิชา
ขั้นตอนลงทะเบียนเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาอาหรับ 1
แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 1 16
บทที่ 2 อักษรภาษาอาหรับ 1-3 19
ตอนที่ 1 อักษรอาหรับ 1 25
ตอนที่ 2 อักษรอาหรับ 2 35
ตอนที่ 3 อักษรอาหรับ 3 47
แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 2 57
บทที่ 3 อักษรภาษาอาหรับ 4-5 59
ตอนที่ 1 อักษรอาหรับ 4 62
ตอนที่ 2 อักษรอาหรับ 5 71
แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 3 85
บทที่ 4 อักษรภาษาอาหรับ 6-7 87
ตอนที่ 1 อักษรอาหรับ 6 89
สารบัญ (ต่ อ)

ตอนที่ 2 อักษรอาหรับ 7 100


แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 4 109
บทที่ 5 สระและเครื่องหมายต่าง ๆ 111
สระ 113
ตันวีน 120
สัญลักษณ์ตัวสะกด 124
แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 5 126
บทที่ 6 หลักภาษาอาหรับพื้นฐาน 128
ประเภทของคา 131
เพศ 132
พจน์ 134
แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 6 138
แบบทดสอบหลังเรียน 140
ภาคผนวก 142
บรรณานุกรม 149
รายละเอียดรายวิชา

เกี่ยวกับรายวิชา
รายวิชาภาษาอาหรับเบื้องต้น เป็นการศึกษาลักษณะของภาษาอาหรับ ตัวอักษร การออกเสียง การ
เขียน และหลักภาษาเบื้องต้น
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. ผู้เรียนสามารถออกเสียงภาษาอาหรับและอ่านภาษาอาหรับได้
2. ผู้เรียนสามารถเขียนอักษรอาหรับในตาแหน่งต่าง ๆ ของคาได้
3. ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักภาษาอาหรับเบื้องต้นได้
เกณฑ์การวัดและประเมินผลในรายวิชา
มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะ
แบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้
ผู้เรียนต้องทาคะแนนรวมทัง้ หมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion
ได้
หมายเหตุ: ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทาแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course
Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป

อาจารย์ผู้สอน
1. อาจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ หมัดสะและ

อาจารย์ประจาสาขาภาษาอาหรับ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. อาจารย์ นิรันดร์ ขันธวิธิ
อาจารย์พเิ ศษ สาขาวิชาภาษาอาหรับ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขัน้ ตอนลงทะเบี ยนเรียน
เมื่อลงทะเบียนแล้วสามารถพูดคุยกับผู้สอนและเพื่อน ๆ ได้ผ่านช่องทาง Facebook
แบบทดสอบก่อนเรียน

1. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับอักษรอาหรับ
a. ภาษาอาหรับเขียนจากขวาไปซ้าย b. ภาษาอาหรับเขียนจากซ้ายไปขวา
c. ภาษาอาหรับสามารถเขียนจากบนลง d. ภาษาอาหรับสามารถเขียนจากล่างขึ้น
ล่างได้ บนได้
2. ข้อใดมีอักษร ‫ ج‬เป็นส่วนประกอบ

a. ‫جد‬ b. ‫تفاح‬

c. ‫مطبخ‬ d. ‫خبز‬

3. ข้อใดถูกต้อง
a. ภาษาอาหรับไม่มโี ทนเสียงเลย b. ภาษาอาหรับมีเสียงวรรณยุกต์ในระดับ
คา
c. ภาษาอาหรับมีโทนเสียงในระดับ d. ภาษาอาหรับมีเสียงวรรณยุกต์ในระดับ
ประโยค คาและโทนเสียงในระดับประโยค
4. ข้อใดทาให้เสียง อะ ยาวเป็นเสียง อา
a. ‫ا‬ b. ‫و‬

c. ‫ي‬ d. ‫ء‬

5. อักษรใดไม่มจี ุด
a. baa’ b. daal
c. jeem d. zaay
6. อักษรใดที่ออกเสียงตรงกับอักษรไทย
a. ‫ص‬ b. ‫غ‬

c. ‫ق‬ d. ‫ك‬

7. ภาษาอาหรับมีสระกีร่ ูป
a. 3 b. 4
c. 5 d. 6
8. ข้อใดคือเครื่องหมายทีม่ ีการซ้าตัวอักษร
a. ً b. ً
c. ً d. ً
9. ข้อใดเป็นคาเพศหญิง
a. ‫بَْيت‬ b. ‫طَالِبَة‬

c. ‫كِتَاب‬ d. ‫قَ لَم‬

10. ข้อใดเป็นพหูพจน์เพศชาย
a. ِ ْ ‫ص ِديْ َق‬
‫ي‬ َ b. ‫ي‬ ِِ
َ ْ ‫صديْق‬
َ
c. ِ ْ َ‫ص ِديْ َقت‬
‫ي‬ َ d. ِ ‫ص ِدي َق‬
‫ان‬ ْ َ
บทที่ 1

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาอาหรับ
2 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

แผนการสอนประจาบทที่ 1

เนื้อหา
รู้จักภาษาอาหรับ ความเป็นมา ลักษณะทางกายภาพของอักษรภาษาอาหรับ ระบบการ
เขียน และระบบเสียงของภาษาอาหรับ

แนวคิด
1. ภาษาอาหรับมีความเป็นมายาวนาน มีพฒ ั นาการเรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มี
ตัวเขียนเป็นของตัวเองทีม่ ีลักษณะเฉพาะตัว
2. ภาษาอาหรับเขียนเริม่ จากขวาไปซ้าย ตัวเลขเขียนเริ่มจากซ้ายไปขวา มีการเว้นวรรค
ระหว่างคา
3. เสียงพยัญชนะภาษาอาหรับมี 28 เสียง ตรงกับภาษาไทย 14 เสียง เสียงสระของ
ภาษาอาหรับทัง้ 6 เสียงมีในระบบเสียงภาษาไทย

วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาบทที่ 2 จบแล้ว ผูเ้ รียนสามารถ


1. อธิบายลักษณะของอักษรภาษาอาหรับได้
2. อธิบายลักษณะระบบการเขียนของภาษาอาหรับได้
3. อธิบายลักษณะเสียงของภาษาอาหรับได้

กิจกรรม
1. ทาแบบทดสอบก่อนเรียน
2. ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้ และอธิบายสรุป
3. ทาแบบทดสอบท้ายบทเรียน
ความรูท้ ั ่วไปเกีย่ วกับภาษาอาหรับ 3
___________________________________________________________________________

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาอาหรับ

ภาษาอาหรับ
ภาษาอาหรับ เป็นภาษากลุ่มเซมิ ติก (Semitic Languages) เป็นภาษาราชการของกลุ่ม
ประเทศอาหรับและประเทศอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับและแอฟริกาเหนือ รวม 26 ประเทศ มีผู้พูด
มากถึง 422 ล้านคน คิดเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจากภาษาจีนกลาง ภาษาอังกฤษ ภาษาสเปน และ
ภาษาฮินดี (Jason, 2016) ภาษาอาหรับเป็น 1 ใน 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ (UN, 1973)
ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่มีความสาคัญของศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์กุรอ่านเขียนเป็นภาษาอาหรับ
มุ ส ลิม ทั่วโลกกว่าพันล้านคนใช้ภาษาอาหรับประกอบศาสนกิจ ประจ าวัน และภาษาอาหรับ ยังมี
บทบาทสาคัญในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและวัฒนธรรม เพราะประเทศอาหรับเป็น
จุดเชื่อมของทวีปเอเชีย ยุโ รป และแอฟริก า เป็นดินแดนอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ามั น และก๊าซ
ธรรมชาติ ประชากรมีกาลังซื้อสูง เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ แหล่งความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรม
จึงมีคนให้ความสนใจเรียนภาษาอาหรับมากขึ้น เพราะเป็นโอกาสในการทาธุรกิจ และติดต่อสื่อสาร
กับชาวอาหรับทั่วโลก

ความเป็นมา
ภาษาอาหรับ เป็นภาษากลุ่ม ซามี ยะห์ห รือเซมิติก (Semitic Languages) เริ่ม แรกภาษา
อาหรับใช้อักษรที่มีพื้นฐานมาอักษรโปรโต-คะนาอันไนท์ (Proto-Canaanite Script) ซึ่งพัฒนามา
จากอัก ษรรูปภาพฮิ โรกราฟฟิ คของอิ ยิป ต์ (Egyptian Hieroglyphic) เป็นตัวเขียน และได้มี การ
พัฒนาเป็นอักษรฟินิเชียน (Phoenician Script) และอักษรอาราเมอิก (Aramaic Script) ตามลาดับ
มีการค้นพบแผ่นจารึกโบราณในประเทศซาอุดิอารเบียที่เ ขียนด้วยอักษรของพวกนาบาเตียน ซึ่ง
น่าจะท าขึ้นในปี ค.ศ. 267 อั ก ษรจารึก นี้เ ป็นลัก ษณะของอัก ษรอาหรับ ในยุคแรก ( Healey &
Smith, 1989) นักภาษาศาสตร์ชาวอาหรับมองว่า ภาษาอาหรับก็เป็นภาษาอาหรับมาตั้ง แต่ แรก
เป็นภาษาที่พูดกันในคาบสมุทรอาหรับ แต่ภาษาอาหรับก็ถูกเรียกเป็นชื่อภาษาต่าง ๆ ตามกลุ่มชนนัน้
ๆ มีข้อมูลสนับสนุนจากอัล-หะดิษว่า นบีอิสมาอีล บุตรของนบีอิบรอฮีมก็พูดภาษาอาหรับ หากเรา
จะแสวงหาข้อเท็จจริงของจุดกาเนิดภาษาอาหรับ เราต้องมองประวัติศาสตร์ภาษาอาหรับย้อนกลับ
ไปไกลมาก ไกลถึงหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล อับบาส อัลอักกอด กล่าวว่า วัฒนธรรมอาหรับ
4 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

เก่าแก่ เก่าแก่กว่าชาวกรีกและชาวยิว จนในปี ค.ศ. 610 อักษรอาหรับได้ถูกดัดแปลงและพัฒนาไป


จนมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรอาหรับในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
ต่อมาในสมัยคอลีฟะห์อับดุลมาลิก มีการกาหนดเครื่องหมายแทนเสียงสระโดยผู้บุกเบิกไวยากรณ์
ภาษาอาหรับ อบูอัสวัด อัดดุอะลีย์ (เสียชีวิตปี ค.ศ. 688) ภายหลังอัลคอลีล อิบนุ อะห์มัด ได้พัฒนา
สัญลักษณ์ทางเสียงดังกล่าวจนมีลักษณะดังเช่นที่เราเห็นกันในปัจจุบัน (Mohammad, 1939)

ลักษณะทางกายภาพของตัวอักษรอาหรับและระบบเขียนภาษาอาหรับ

1. ตั วอั ก ษรภาษาอาหรั บอ่า นจากขวาไปซ้า ย ต่ า งกั บภาษาไทยที่ อ่า นจากซ้า ยไปขวา ส่ วน


ตัวเลขอารบิก -อิ นเดีย 1ที่ใช้กั นในกลุ่ม ประเทศอาหรับ จะอ่านจากซ้ายไปขวาเหมือนกับ
ตัวเลขอารบิกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายๆ ประเทศ2

รูปที่ 1.1 การเขียนตัวเลขและอักษรภาษาอาหรับเปรียบเทียบกับอักษรภาษาไทย

ทิศทางการอ่านของตัวอักษรและตัวเลขจึงตรงข้ามกั น เราสังเกตเห็นได้ว่าหนังสือภาษา
อาหรับจะเปิดจากฝั่งตรงข้ามกับหนังสือภาษาไทย หรือปกหลังของหนังสือไทยนั่นเอง

1
ตัวเลขอารบิก-อินเดีย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวเลขอาหรับตะวันออก )‫ (العربية املشرقية‬พัฒนามาจากตัวเลขของภาษาอุรดูและภาษา
เปอร์เซีย
2
ตัวเลขอารบิกที่ชาวยุโรปได้นาไปใช้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวเลขอาหรับตะวันตก )‫(العربية املغربية‬
ความรูท้ ั ่วไปเกีย่ วกับภาษาอาหรับ 5
___________________________________________________________________________

รูปที่ 1.2 ปกหลังและปกหน้าหนังสือภาษาอาหรับ รูปที่ 1.3 หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษา


อาหรับ

นอกจากนี้ภาษาอาหรับไม่มีการเรียงตัวอักษรจากบนลงล่างอย่างการเขียนดั้งเดิมของภาษาจีน
เกาหลี และญี่ปุ่น

รูปที่ 1.4 ทิศทางการเขียนอักษรภาษาอาหรับ


6 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

2. ตัวเลขภาษาอาหรับมี 2 แบบ คือ 1. ตัวเลขอาหรับตะวันออก 2. ตัวเลขอาหรับตะวันตก


หรือตัวเลขอารบิกที่เรารูจ้ ักกัน (Abdul Fattah M. H., 2010)

เลขอาหรับ
ตะวันออก ٠ ١ ٢ ٣ ٤ ٥ ٦ ٧ ٨ ٩
เลขอาหรับ
ตะวันตก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
เลขไทย ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙

ตารางที่ 1.1 เปรียบเทียบตัวเลขแบบต่าง ๆ

3. เครื่องหมายปรัศนี และจุลภาคของภาษาอาหรับมีลกั ษณะต่างกับภาษาอังกฤษ โดยที่ปรัศนี


จะหันกลับด้าน และจุลภาคจะหันหางขึ้น

ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ
ปรัศนี _______? ‫_____؟‬
จุลภาค __ , __ __ ، __
ความรูท้ ั ่วไปเกีย่ วกับภาษาอาหรับ 7
___________________________________________________________________________

4. ภาษาอาหรับมี 29 อักษร ซึ่งแต่ละอักษรที่ประกอบกันขึ้นเป็นคานั้นจะมีลักษณะที่แตกต่าง


กันไปตามตาแหน่งของคา คือ อักษรเดี่ยว อักษรเริ่มคา อักษรกลางคา อักษรท้ายคา
สาหรับอักษรเริ่มคาและกลางคาบางตัวก็เขียนเหมือนกับอักษรเดี่ยวตามที่แสดงในตาราง
ต่อไปนี้
อักษรท้าย อักษรกลาง อักษรเริ่ม อักษรเดี่ยว ลาดับ
‫ا‬ ..‫ا‬ ‫ا‬ ‫ا‬ 1
‫ب‬ ‫ب‬ ‫ب‬ ‫ب‬ 2
‫ت‬ ‫ت‬ ‫ت‬ ‫ت‬ 3
‫ث‬ ‫ث‬ ‫ث‬ ‫ث‬ 4
‫ج‬ ‫ج‬ ‫ج‬ ‫ج‬ 5
‫ح‬ ‫ح‬ ‫ح‬ ‫ح‬ 6
‫خ‬ ‫خ‬ ‫خ‬ ‫خ‬ 7
‫د‬ .. ‫د‬ .. ‫د‬ ‫د‬ 8
‫ذ‬ .. ‫ذ‬ .. ‫ذ‬ ‫ذ‬ 9
‫ر‬ .. ‫ر‬ .. ‫ر‬ ‫ر‬ 10
‫ز‬ .. ‫ز‬ .. ‫ز‬ ‫ز‬ 11
‫س‬ ‫س‬ ‫س‬ ‫س‬ 12
‫ش‬ ‫ش‬ ‫ش‬ ‫ش‬ 13
‫ص‬ ‫ص‬ ‫ص‬ ‫ص‬ 14
‫ض‬ ‫ض‬ ‫ض‬ ‫ض‬ 15
‫ط‬ ‫ط‬ ‫ط‬ ‫ط‬ 16
‫ظ‬ ‫ظ‬ ‫ظ‬ ‫ظ‬ 17
‫ع‬ ‫ع‬ ‫ع‬ ‫ع‬ 18
‫غ‬ ‫غ‬ ‫غ‬ ‫غ‬ 19
8 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

อักษรท้าย อักษรกลาง อักษรเริ่ม อักษรเดี่ยว ลาดับ


‫ف‬ ‫ف‬ ‫ف‬ ‫ف‬ 20
‫ق‬ ‫ق‬ ‫ق‬ ‫ق‬ 21
‫ك‬ ‫ك‬ ‫ك‬ ‫ك‬ 22
‫ل‬ ‫ل‬ ‫ل‬ ‫ل‬ 23
‫م‬ ‫م‬ ‫م‬ ‫م‬ 24
‫ن‬ ‫ن‬ ‫ن‬ ‫ن‬ 25
‫و‬ ..‫و‬ .. ‫و‬ ‫و‬ 26
‫ه‬ ‫ه‬ ‫ه‬ ‫ه‬ 27
‫ي‬ ‫ي‬ ‫ي‬ ‫ي‬ 28
‫أ‬ ..‫أ‬ ‫إ‬،‫أ‬ ‫ء‬ 293
‫ؤ‬ ..‫ؤ‬
‫ئ‬ ‫ئ‬
‫ء‬.. .. ‫ء‬..

ตารางที่ 1.2 ลักษณะของอักษรภาษาอาหรับ

ฮัมซะห์ ‫ ء‬มีหลายรูป ปกติจะอยู่กับอักษรมัด )‫ ( ا و ى‬และจะเปลี่ยนรูปไปตามสระและ


อักษรที่อยู่ข้างหน้า เช่น
ตัวเดี่ยว ตัวอย่าง ตัวเริ่ม ตัวอย่าง ตัวกลาง ตัวอย่าง ตัวท้าย ตัวอย่าง
‫أ‬ ‫أ‬ ‫أ‬ ‫أعمال‬ ..‫أ‬ ‫سأل‬ ‫أ‬ ‫توضأ‬
‫إ‬ ‫إن‬ ..‫ؤ‬ ‫يؤمن‬ ‫ؤ‬ ‫توضؤ‬
‫ئ‬ ‫سئل‬ ‫ئ‬ ‫قارئ‬
.. ‫ء‬.. ‫قراءة‬ ‫ء‬.. ‫دعاء‬

3
นักวิชาการบางท่านมองว่า Hamza เป็ นสัญลักษณ์ ทใี่ ช้ แทนเสียง อ. จึงมองว่าภาษาอาหรับมี 28 อักษร ซึ่งไม่รวม
Hamza ดูเพิ่มเติม https://www.britannica.com/topic/Arabic-alphabet
ความรูท้ ั ่วไปเกีย่ วกับภาษาอาหรับ 9
___________________________________________________________________________

อักษร ‫ ا أ د ذ ر ز و‬ไม่สามารถเขียนติดกับตัวอักษรถัดไปได้ จึงต้องมีการเว้นช่องไฟ


และอักษรถัดไปจะเขียนเหมือนอักษรเริ่มคา เช่น อักษร ‫ د‬และ ‫ ر‬ใน ‫مدرسة‬

5. การเขียนคาจะเขียนตัวอักษรติดกันเป็นกลุ่ม เมื่อจบคาแล้วก็จะเริ่มกลุ่มอักษรใหม่สาหรับ
คาถัดไป เช่น ประโยคต่อไปนี้ ‫ جيلس حممد على الكرسي‬ที่ประกอบไปด้วย 4 คา คือ
1. ‫ جيلس‬2. ‫ حممد‬3. ‫ على‬4. ‫الكرسي‬
6. อักษรภาษาอาหรับบางตัวมีลักษณะคล้ายกัน ต่างกันที่จุดและเส้น ด้วยลักษณะที่คล้ายกัน
นี้เองอาจทาให้ผู้เริ่มเรียนภาษาอาหรับจาสับสนได้ หากใส่จุดของพยัญชนะไม่ครบหรือผิด
ตาแหน่ง จะทาให้ความหมายของคาเปลี่ยนไป

‫ك ل‬ ‫ر ز‬ ‫د ذ‬ ‫ح ج خ‬ ‫ب ت ث‬

ตารางที่ 1.3 คาที่เขียนคล้ ายและมีจุดต่างกัน

7. ตาแหน่งของพยัญชนะจะอยู่ในแนวราบเป็นแนวเดียวกัน โดยมีสระและเครื่องหมายทาง
เสียงอยู่ด้านบนและด้านล่างของพยัญชนะ แยกออกจากพยัญชนะอย่างชัดเจน ไม่สามารถ
นาสระไปติดกับตัวอักษรพยัญชนะได้

َّ ‫ب إِ ََل الْ َم ْد َر َس ِة ِِب‬


‫لسيَّ َارِة‬ ُ ‫أَ ْذ َه‬

8. ภาษาอาหรับสามารถอ่านได้โดยไม่ต้องเขียนสระกากับ

แบบไม่มีสระ แบบมีสระ
‫أذهب إَل املدرسة ِبلسيارة‬ َّ ‫ب إِ ََل الْ َم ْد َر َس ِة ِب‬
ِ‫لسيَّ َارة‬ ِ
ُ ‫أَ ْذ َه‬
10 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ภาษาอาหรับมีทงั้ อักษรที่อยูบ่ นเส้นบรรทัด และตัวอักษรทีม่ ีบางส่วนอยู่ต่ากว่าเส้นบรรทัด ได้แก่

ตัวอักษรที่อยู่บนเส้นบรรทัด
ตัวอักษรที่มีบางส่วนอยู่ใต้เส้นบรรทัด

9. สัญลักษณ์ทางเสียงประกอบไปด้วยสระ และสัญลักษณ์อื่น ๆ ได้แก่ ّ ْ ٌ ٍ ً ُ ِ َ


จะอยู่ตาแหน่งบนและล่างของพยัญชนะ จะไม่อยู่ตาแหน่งหน้าและหลังพยัญชนะ

รูปที่ 1.5 เปรียบเทียบภาษาอาหรับที่ไม่มีสระ และมีสระ

10. เครื่องหมายตัวสะกด ได้แก่ ซุกูน ْ และ ชัดดะห์ ّ เป็นเครื่องหมายที่บ่งชี้ว่าอักษรนั้น ๆ


เป็นตัวสะกดของพยางค์ ภาษาอาหรับจึงมีความชัดเจนเรือ่ งตัวสะกดของพยางค์ ต่างกับ
ภาษาอื่นที่บางครั้งสร้างความสับสนให้กบั ผู้อ่านที่ไม่รจู้ ักคานั้นมาก่อน ในภาษาไทยมีหลาย
คาที่มักออกเสียงผิด เช่น ภคภร (พะ-คะ-พอน) อาจออกเสียงผิดเป็น พก- พอน

11. ภาษาอาหรับมีการเขียนตัวอักษรหลายแบบ ภาษาอาหรับมีตัวอักษรที่ยืดหยุ่นและมีความ


งามในตัวเอง จึงสามารถสร้างสรรค์เป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ การเขียนทีเ่ ป็นที่นิยมกันมาก ได้แก่
การเขียนแบบนะซัค )‫ (نسخ‬ใช้เป็นตัวเขียนในหนังสือ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ และการเขียน
แบบรุกอะห์ หรือริกอะห์ )‫ (رقعة‬ที่ใช้เป็นลายมือเขียนทั่วไป หากเทียบกับภาษาอังกฤษการ
เขียนแบบนะซัคก็คือ ตัวพิมพ์ ส่วนการเขียนแบบริกอะห์ก็คือ ตัวเขียนนั่นเอง นอกจากนี้ยัง
มีการเขียนเชิงวิจิตรแบบอื่น ๆ อีก4ที่เขียนออกมาในรูปแบบของงานศิลป์ นาไปใช้ประดับ
ประดาสถานที่ ปกหนังสือ และวัตถุสงิ่ ของต่าง ๆ

4
OIC Research Center for Islamic History, Art and Culture ได้จัดแข่งขันการเขียนอักษรอาหรับแบบต่างๆ ระดับนานาชาติ
ครั้งที่ 9 ในค.ศ.2013 แบ่งการแข่งขันตามลักษณะการเขียนออกเป็น 10 ประเภท ได้แก่ Jaly Thuluth, Thuluth, Naskh, Jaly
Taliq, Nastaliq, Jaly Diwani, Diwani, kufi, Riqʿah และ Maghribi
ความรูท้ ั ่วไปเกีย่ วกับภาษาอาหรับ 11
___________________________________________________________________________

ตัวอย่างการเขียนแบบต่าง ๆ

รูปที่ 1.6 การเขียนแบบนัสค์

รูปที่ 1.7 การเขียนแบบรุกอะห์

รูปที่ 1.8 การเขียนอักษรอาหรับในรูปแบบงานศิลป์


12 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

12. ภาษาอาหรับมีตัวเขียนเป็นของตัวเอง และมีการใช้อักษรภาษาอาหรับกันอย่างแพร่หลาย


มากเป็นอันดับสองรองจากตัวอักษร ภาษาอาหรับถูกนาไปใช้เป็นตัวเขียนของภาษาต่าง ๆ
ทั้งในเอเชียและแอฟริกา ซึ่งส่วนใหญ่จะคงรูปอักษรเดิมไว้ แต่ก็มีการดัดแปลงบางอักษร
ปรับรูปร่าง เพิ่มจุด เพิ่มขีด เพิ่มสัญลักษณ์เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แทนหน่วยเสียงของภาษา
ตนเองที่ไม่มีในภาษาอาหรับอย่างในภาษาเปอร์เซีย ภาษาเคิร์ด ภาษาอุรดู ภาษามาลายู
และ ภาษาอุยกูร์ เป็นต้น

ตารางที่ 1.4 ตัวอย่างการดัดแปลงตัวอักษรอาหรับของภาษาต่าง ๆ


ความรูท้ ั ่วไปเกีย่ วกับภาษาอาหรับ 13
___________________________________________________________________________

เสียงภาษาอาหรับ
1. ภาษาอาหรับตัวเขียนมี 29 อักษร มีหน่วยเสียงพยัญชนะ 28 เสียง ส่วนอักษรที่ไม่ใช่หน่วย
เสียงพยัญชนะคือ อักษรอะลิฟ มีหน้าที่ทาให้เสียงสระยาวขึ้น
Semi-vowels

Fricative
Affricate
Lateral
Nasal

Stop
Trill

Voiced Voiceless Voiced Voiceless Voiced


Non- Emphatic

Non- Emphatic

Non- Emphatic

Non- Emphatic

Non- Emphatic

Non- Emphatic

Non- Emphatic

Non- Emphatic
Emphatic

Emphatic

Emphatic

Emphatic

Emphatic
‫و‬ ‫م‬ ‫ب‬ Bilabial
/w/ /m/ /b/
‫ف‬ Labio-
/f/ dental
‫ث‬ ‫ذ‬ ‫ظ‬
Inter-dental
/θ/ /ð/ /ðˤ/
‫ت‬ ‫ط‬ ‫د‬ ‫ض‬ Alveolar-
/t/ /tˤ/ /d/ /dˤ/ dental

‫ن‬ ‫ر‬ ‫ل‬ ‫س‬ ‫ص‬ ‫ز‬ Alveolar


/n/ /r/ /l/ /s/ /sˁ/ /z/
‫ج‬ ‫ش‬ Palatal-
/ʤ/ /ʃ/ alveolar
‫ي‬ Palatal
/j/
‫ك‬ Velar
/k/
‫خ‬ ‫غ‬ ‫ق‬
Uvular
/x/ /ɣ/ /q/
‫ح‬ ‫ع‬
Pharyngeal
/ħ/ /ʕ/
‫أ‬ Glottal
‫ ه‬/h/
/ɂ/

ตารางที่ 1.5 หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับ


14 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

หน่วยเสียงพยัญชนะแต่ละหน่วยเสียงจะใช้อักษรไม่ซ้ากัน สามารถทาหน้าที่เป็นได้ทั้งเสียง
นาและเสียงท้าย

2. เสียง ‫ ض‬/dˤ/ เป็นเสียงที่พบได้ในภาษาอาหรับเท่านั้น


3. เสียงหน้าในภาษาอาหรับจะเป็นเสียงเดี่ยวเท่านั้น ไม่มีเป็นเสียงควบกล้าอย่างในภาษาไทย
และภาษาอังกฤษ แต่ภาษาอาหรับมีเสียงท้ายหรือเสียงตัวสะกดเป็นเสียงควบกล้า

ตารางที่ 1.6 เสียงเริ่มพยางค์

ตารางที่ 1.7 เสียงท้ายพยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะสองเสียง

4. ภาษาอาหรับมีรูปสระเพียง 3 รูปเท่านั้น คือ ฟัตฮะห์ َ กัสเราะห์ ِ และฎอมมะห์ ُ


แต่มีเสียงสระ 6 เสียง ซึ่งประกอบไปด้วยสระเสียงสั้นตามรูปสระ 3 เสียง และเสียงสระ
เสียงยาวทีม่ ีอักษรมัด5ตามหลังสระเดิม 3 เสียง นอกจากนี้ยงั มีสัญลักษณ์ออกเสียงอื่นๆ อีก6

5
อักษรมัด )‫ (حروف املد‬คือ อักษรที่ทาให้เสียงสระยาว
6
สัญลักษณ์ทางเสียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวมาเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการลดรูปอักษร
ความรูท้ ั ่วไปเกีย่ วกับภาษาอาหรับ 15
___________________________________________________________________________

ได้แก่ ฟัตฮะตาน ً กัสเราะตาน ٍ ฎอมมะตาน ٌ ซุกูน ْ ชัดดะห์ ّ ดังตาราง


ต่อไปนี้

ชื่อ สัญลักษณ์ หน้าที่


ฟัตฮะห์ َ เสียงสระ /a/
กัสเราะห์ ِ เสียงสระ /i/
ฎอมมะห์ ُ เสียงสระ /u/
ฟัตฮะตาน ً เสียง /an/
กัสเราะตาน ٍ เสียง /in/
ฎอมมะตาน ٌ เสียง /un/
ซุกูน ْ ทาให้พยัญชนะตัวนั้นเป็นตัวสะกด หรือเสียงท้าย
ชัดดะห์ ّ ซ้าเสียง ทาให้พยัญชนะตัวนั้นเป็นทั้งตัวสะกดและ
พยัญชนะนาพยางค์ถัดไป

ตารางที่ 1.8 สระและสัญลักษณ์ทางเสียงในภาษาอาหรับ

5. ภาษาอาหรับไม่มหี น่วยเสียงวรรณยุกต์เป็นส่วนประกอบของพยางค์ แต่มีระดับโทนเสียงที่


สามารถทาให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนไป
16 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 1

เลือกคาตอบที่ถูกต้องเพียงคาตอบเดียว
1. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับอักษรอาหรับ
a. ภาษาอาหรับเขียนจากขวาไปซ้าย b. ภาษาอาหรับเขียนจากซ้ายไปขวา
c. ภาษาอาหรับสามารถเขียนจากบนลง d. ภาษาอาหรับสามารถเขียนจากล่างขึ้น
ล่างได้ บนได้
2. ข้อใดถูกต้อง
a. อักษรภาษาอาหรับมี 29 อักษร b. ภาษาอาหรับสามารถอ่านได้โดยไม่ต้อง
เขียนสระกากับ
c. ภาษาอาหรับมีเครื่องหมายเฉพาะเพื่อ d. ถูกทุกข้อ
แสดงว่าอักษรนั้นเป็นตัวสะกด
3. ข้อใดคือตาแหน่งของเครื่องหมายคาถามที่ถูกต้องในภาษาอาหรับ
a. _____? b. ?_____
c. ‫_____؟‬ d. ____‫؟‬
4. ตัวเลขที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือข้อใด
a. Northern Arabic b. Southern Arabic
c. Eastern Arabic d. Western Arabic
5. ข้ดมีอักษร ‫ ج‬เป็นส่วนประกอบ

a. ‫جد‬ b. ‫تفاح‬

c. ‫مطبخ‬ d. ‫خبز‬
ความรูท้ ั ่วไปเกีย่ วกับภาษาอาหรับ 17
___________________________________________________________________________

6. อักษรใดต่อไปนี้มสี ่วนที่อยู่ใต้เส้นบรรทัด
a. ‫ك‬ b. ‫ت‬

c. ‫ط‬ d. ‫ل‬

7. ข้อใดเป็นเครื่องหมายตัวสะกด
a. Fathah ً b. Kasrah ً
c. Dammah ً d. Sukun ً
8. เสียงภาษาอาหรับในข้อใดพบในภาษาอาหรับเท่านั้น
a. Aayn ‫ع‬ b. Daad ‫ض‬

c. Saad ‫ص‬ d. jeem ‫ج‬

9. ข้อใดถูกต้อง
a. ภาษาอาหรับมีเสียงต้นได้ 2 เสียง b. ภาษาอาหรับมีเสียงต้นได้ 3เสียง
c. ภาษาอาหรับมีเสียงท้ายได้ 2 เสียง d. ถูกทุกข้อ
10. ข้อใดถูกต้อง
a. ภาษาอาหรับไม่มโี ทนเสียงเลย b. ภาษาอาหรับมีเสียงวรรณยุกต์ในระดับ
คา
c. ภาษาอาหรับมีโทนเสียงในระดับ d. ภาษาอาหรับมีเสียงวรรณยุกต์ในระดับ
ประโยค คาและโทนเสียงในระดับประโยค
18 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________
บทที่ 2

อักษรภาษาอาหรับ
1-3
20 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

แผนการสอนประจาบทที่ 2

เนื้อหา

ตอนที่ 1 อักษรภาษาอาหรับ 1 ได้แก่อักษร ‫ا ب ت ث‬


ตอนที่ 2 อักษรภาษาอาหรับ 2 ได้แก่อักษร ‫ج ح خ د ذ‬
ตอนที่ 3 อักษรภาษาอาหรับ 1 ได้แก่อักษร ‫ر ز س ش‬

แนวคิด
1. อักษร ‫ ا‬ตามหลังพยัญชนะทาเสียงเสียงอะ ยาวเป็นเสียงอา เมื่อประกอบกับ
hamza จะออกเสียงเป็นพยัญชนะต้นเสียง อ.
2. พยัญชนะที่พบกับสระ fathah จะออกเสียงคล้ายเสียงเอาะ ได้แก่ ‫ خ‬และ ‫ر‬
3. เสียงพยัญชนะภาษาอาหรับสามารถเป็นเสียงท้ายหรือตัวสะกดได้ทุกเสียง ซึ่งมีหลาย
เสียงไม่พบในภาษาไทย
4. อักษรภาษาอาหรับบางตัวใช้โครงสร้างเดียวกัน แตกต่างกันที่การเขียนจุด
5. อักษรเขียนบนเส้นบรรทัดได้แก่ ‫ ا ب ت ث د ذ‬และอักษรที่มบี างส่วนอยูใ่ ต้
เส้นบรรทัดด้วยได้แก่ ‫ج ح خ ر ز س ش‬

วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาบทที่ 2 จบแล้ว ผูเ้ รียนสามารถ


1. ออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์ได้
2. เขียนอักษรภาษาอาหรับทีป่ รากฏในตาแหน่งต่าง ๆ ของคาได้
3. จาแนกอักษรที่มลี ักษณะใกล้เคียงกันได้
อักษรภาษาอาหรับ 1-3 21
___________________________________________________________________________

กิจกรรม
1. ฝึกออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับทั้งอักษรเดี่ยว และอักษรที่ผสมกับสระ
2. ฝึกเขียนอักษรภาษาอาหรับในลักษณะต่าง ๆ
3. ทาแบบฝึกหัดคัดอักษรภาษาอาหรับ
4. ทาแบบทดสอบหลังเรียนประจาบท
22 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

บทนา

ก่อนที่จะเริ่มฝึกออกเสียงและเขียนภาษาอาหรับ เราควรทาความเข้าใจกับเนื้อหาในส่วนนี้
เสียก่อน เพื่อจะได้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเรียน

การออกเสียง
การเปล่างเสียงเสียงในภาษาเกิดจากลมจากปอด ผ่านขึ้นมาทางหลอดลม กล่องเสียง ช่อง
คอ ผ่านออกไปทางช่องปาก หรือช่องจมูก อวัยวะต่าง ๆ ก็จะทางานประสานกัน

รูปที่ 2.0.1 อวัยวะในการออกเสียง

การฝึกออกเสียงภาษาอาหรับ จะเริม่ ฝึกจากออกเสียงเสียงพยัญชนะ หลังจากนั้นก็ฝกึ ออก


เสียงพยัญชนะกับเสียงสระในระดับหนึง่ พยางค์ แล้วจึงฝึกออกเสียงในระดับคา ควรฝึกทั้งเสียง
พยัญชนะต้นและเสียงตัวสะกดทั้งหมด 28 เสียง เช่น
b ba baf f fa fash
bi bif fi fish
bu buf fu fush
อักษรภาษาอาหรับ 1-3 23
___________________________________________________________________________

คาอ่านภาษาอาหรับ
ภาษาอาหรับมีหลายเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย จึงไม่สามารถใช้คาอ่านที่เป็นภาษาไทยได้
เพราะผู้เรียนจะอ่านและออกเสียงแบบภาษาไทย ซึ่งทาให้การออกเสียงภาษาอาหรับผิดเพี้ยนไป
ผู้สอนจึงเลือกใช้อักษรโรมัน7มาใช้เป็นคาอ่านแทน คาอ่านอักษรโรมันนี้ใกล้เคียงกับกับออกเสียง
ภาษาอังกฤษ แต่ผู้เรียนต้องระลึกอยูเ่ สมอว่า คาอ่านนี้ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ คาอ่านนี้สาหรับอ่านภาษา
อาหรับเท่านั้น การออกเสียงจึงต้องออกเสียงแบบภาษาอาหรับ อย่างไรก็ตามผู้สอนจะใช้สทั อักษร
สากล (IPA) แทรกเป็นบางกรณี สังเกตได้จากคาอยู่อยู่ระหว่าง / / การใช้คาอ่านอักษรโรมันใน
ลักษณะนี้จะใช้เป็นคาอ่านแบบเรียนภาษาอาหรับในรายวิชาอื่น ๆ ด้วย ผู้เรียนควรทาความเข้าใจให้
ดี
ลักษณะการอ่านคาภาษาอาหรับ
ผู้สอนเลือกการใช้การออกเสียงแบบหยุด )‫ (وقف‬พยัญชนะท้ ายเป็นตัวสะกด เนื่องจาก
เป็ นการอ่านและออกเสียงที่ใช้ กนั อย่างกว้ างขวาง พบได้ ในบทสนทนาทัว่ ไปในชีวิตประจาวัน สื่อ
โทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต ตัวอย่างการออกเสียงแบบมีเสียงสระท้ ายคา (แบบเต็ม) และออก
เสียงแบบหยุด

คาว่า ً‫ َم ْد َر َسة‬และคาว่า ٌ‫َم ْد َر َسة‬

การออกเสียงแบบแบบมีเสียงสระท้ ายคา ออกเสียงว่า mad-ra-sa-tan และ mad-ra-sa-tun


การออกเสียงแบบหยุด ออกเสียงว่า al-mad-ra-sah เพียงอย่างเดียว

และคาว่า ‫ُم ْسلِ ُم ْو َن‬


การออกเสียงแบบแบบมีเสียงสระท้ ายคา ออกเสียงว่า mus-li-moo-na
การออกเสียงแบบหยุด ออกเสียงว่า mus-li-moon

7
อักษรโรมันทีน่ ามาใช้ คือ Chula 100 เป็ นผลจากงานวิจยั เรื่ อง “การพัฒนาชุดอักษรโรมันเพื่อเสริ มทักษะการอ่านออก
เสียงภาษาอาหรับของผู้เรี ยนชาวไทย” ซึ่งเป็ นการศึกษาและพัฒนาคาอ่านอักษรโรมันสาหรับภาษาอาหรับทีเ่ หมาะกับ
ผู้เรี ยนชาวไทย
24 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ตัวอักษรภาษาอาหรับ
ฟอนต์ที่ใช้ในการพิมพ์มีข้อจากัดหลายอย่าง เช่น รูปร่าง การทาสีเพื่อจาแนกตัวอักษรเริม่
คา อักษรกลางคา และอักษรท้ายคา อีกทั้งยังไม่สามารถทาสีสระและเครือ่ งหมายแยกออกจากกันได้
ให้ผู้เรียนยึดการเขียนจากการสาธิตการเขียนเป็นหลัก8 การสาธิตการเขียนผู้สอนได้ใช้ปากกาเมจิก
หัวตัด เพื่อให้เห็นความชัดเจนของเส้นสาย ผู้เรียนอาจใช้ดินสอหรือปากแทนได้
การฝึกเขียนในระยะแรก ผู้เรียนควรใช้ดินสอเขียน เพราะจะลากเส้นได้ช้ากว่าปากกา ทาให้
สามารถควบคุมการขีดเขียนได้ง่ายกว่า และควรเขียนบนกระดาษที่มเี ส้น ซึง่ ผูเ้ รียนต้องจาให้ได้ว่า
อักษรใดอยู่บนบรรทัด และอักษรใดอยู่คาบบรรทัด โดยฝึกเขียนอักษรขนาดใหญ่ขนาด 3 บรรทัด

8
การสาธิตการเขียนในคลิปวิดิโอมีผิดพลาดบางในบางอักษร เช่น บางอักษรที่ใส่สไี ม่ตรง หรื อบางอักษรไม่ได้ ใส่จดุ ผู้สอน
จะแจ้ งให้ ทราบในหนังสือนี ้
อักษรภาษาอาหรับ 1-3 25
___________________________________________________________________________

ตอนที่ 1
อักษรภาษาอาหรับ 1 ‫ابتث‬
**************************************************************************

‫ا‬

‫ ا‬/ʔ/ alif อักษรนี้ไม่รบั สระ และไม่ออกเสียงต้นพยางค์ แต่จะปรากฏหลังพยัญชนะอื่นเสมอ โดย


ผสมกับสระฟัตฮะห์ทาให้เสียง /a/ ยาวเป็นเสียง /a:/ เช่น ‫ت‬ َ /ta/ ตะ ‫ َت‬/ta:/ ตา
ส่วน alif ที่อยู่ต้นพยางค์ จะเรียกว่า Hamza9 ในตาแหน่งต้นพยางค์จะออกเสียงเหมือนกับ อ. ใน
ภาษาไทย และตาแหน่งท้ายพยางค์หรือตัวสะกด จะออกเสียงคล้ายกับเสียงท้ายในคาว่า “ค่ะ”

รูปที่ 2.1.1 การออก


เสียงชื่ออักษร alif
และเสียง Hamza

9
Hamza มี 2 ประเภท คือ
1. Hamza ที่ปรากฏสัญลักษณ์ ‫ ء‬เรียกอีกอย่างว่า Hamza al-Qata’ จะออกเสียง /ɂ/ เสมอ เป็นได้ทั้งต้นพยางค์และ
ท้ายพยางค์ เช่น ‫ أُ َسا ِف ُر‬u-saa-fir และ ‫ ن َ َبأ‬na-ba’
2. Hamza ที่ไม่ปรากฏสัญลักษณ์ ‫ ء‬เรียกอีกอย่างว่า Hamza al-Wasl พบในตาแหน่งต้นคาเท่านั้น โดยจะออกเสียง /ɂ/
เมื่ออ่านเป็นคาแรก หากอ่านเชื่อมกับคาที่อยู่ข้างหน้า Hamza แบบนี้จะไม่ออกเสียง เช่น ‫ اجل َََلةل‬al-ja-laa-lah และ
‫ َصا ِح ُب الْ َج ََل َةل‬Saa-Hi-bul-ja-laa-lah
26 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

การออกเสียง Hamza ในตาแหน่งต้นคาจะใช้อักษรต่อไปนี้


a เมื่อออกเสียงเป็น อะ
aa เมื่อออกเสียงเป็น อา
i เมื่อออกเสียงเป็น อิ
ee เมื่อออกเสียงเป็น อี
u เมื่อออกเสียงเป็น อุ
oo เมื่อออกเสียงเป็น อู

ั ลักษณ์ ’ แทนเสียง
เมื่อ Hamza เป็นเสียงท้ายจะใช้สญ
ส่วน alif จะใช้อักษร aa เมื่อออกเสียงสระฟัตฮะห์สั้นให้ยาว เป็นเสียง อา

รูปที่ 2.1.2 เสียง Hamza ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 1-3 27
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเล้นลงมาเป็นแนวตรง
หากเป็น alif และ hamza ก็
‫أ‬
ใส่สัญลักษณ์ hamza ใน
ตาแหน่งบนหรือล่างของ alif

...‫أ‬
อักษรเริ่มคา
ลักษณะเดียวกับอักษรเดี่ยว ‫أمل‬
และไม่เขียนเชื่อมกับอักษร
ถัดไป
‫أ م ل = أمل‬

...‫ـ ـأ‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า ‫سأل‬
แต่ไม่เขียนเชื่อมกับอักษร
ถัดไป
‫س أ ل = سأ ل‬

‫ـ ـأ‬
อักษรท้ายคา
สามารถเขียนเชื่อมกับอักษร ‫نبأ‬
ข้างหน้าได้
‫ن ب أ = نبأ‬
28 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ب‬

อักษร ‫ب‬ /ba:’/ baa’ ออกเสียงเช่นเดียวกับ บ. ในภาษาไทย

รูปที่ 2.1.3 การออกเสียง baa’

รูปที่ 2.1.4 เสียง baa’ ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 1-3 29
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นลงมาเล็กน้อย แล้ว ‫ب‬
ลากเส้นโค้งในแนวนอน และ
ใส่ 1 จุดด้านล่าง

‫بــ‬
อักษรเริ่มคา
เริ่มเช่นเดียวกับอักษรเดี่ยว
แต่ลากเส้นในแนวนอนเพียง ‫بــاب‬
เล็กน้อย เพื่อไปเชื่อมกับอักษร
ถัดไป และใส่ 1 จุดด้านล่าง ‫ب ا ب = بــاب‬

‫ـ ـبـ ـ‬
อักษรกลางคา
ลากเส้นในแนวนอนเป็นเส้น ‫لبـن‬
โค้งเพียงเล็กน้อย และใส่ 1
จุดด้านล่าง
‫ل ب ن = لبـن‬

‫ـ ـب‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมกันอักษรข้างหน้า ‫تب‬
โดยใช้ลักษณะเช่นเดียวกับ
อักษรเดี่ยว
‫ت ب = تب‬
30 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ت‬

‫ت‬ /t/ taa’ มีลักษณะคล้ายกับอักษร ‫ ب‬จะต่างกันทีจ่ ุด เสียง ‫ ت‬เมือ่ อยู่ต้นพยางค์จะออกเสียง


เช่นเดียวกับ ต. ในภาษาไทย เมื่ออยู่ท้ายพยางค์จะออกเสียงโดยมีการพ่นลมเล็กน้ อยเหมือนเสียง
ท.

รูปที่ 2.1.5 การออกเสียง taa’

รูปที่ 2.1.6 เสียง taa’ ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 1-3 31
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นลงมาเล็กน้อย แล้ว ‫ت‬
ลากเส้นโค้งในแนวนอน และ
ใส่ 2 จุดด้านบน

‫تـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
เริ่มต้นเช่นเดียวกับอักษรเดี่ยว
แต่ลากเส้นในแนวนอนเพียง ‫تـ ـ ّفـاح‬
เล็กน้อย เพื่อไปเชื่อมกับอักษร
ถัดไป และใส่ 2 จุดด้านบน ‫ت ف ف ا ح = تـ ـ ّفـاح‬

‫ـ ـت ـ ـ‬
อักษรกลางคา
ลากเส้นในแนวนอนเป็นเส้น ‫ستّــة‬
โค้งเพียงเล็กน้อย และใส่ 2
จุดด้านบน
‫س ت ت ة = سّتــة‬

‫ـ ـت‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมกันอักษรข้างหน้า ‫بـيـت‬
โดยใช้ลักษณะเช่นเดียวกับ
อักษรเดี่ยว
‫ب ي ت = بـيـت‬
32 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ث‬

‫ ث‬/θ/ thaa’ มีลักษณะคล้ายกับอักษร ‫ ب‬จะต่างกันทีจ่ ดุ เสียง ‫ ث‬เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย


ออกเสียงคล้าย th ในคาว่า thin ภาษาอังกฤษ เมื่อเทียบกับภาษาไทยจะใกล้เคียงกับเสียง ส. แต่
เวลาออกเสียงปลายลิ้นจะอยูร่ ะหว่างฟันบนและฟันล่าง

รูปที่ 2.1.7 การออกเสียง thaa’

รูปที่ 2.1.8 เสียง thaa’ ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 1-3 33
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นลงมาเล็กน้อย แล้ว
ลากเส้นโค้งในแนวนอน และ ‫ث‬
ใส่ 3 จุดด้านบน

‫ثـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
เริ่มต้นเช่นเดียวกับอักษรเดี่ยว
แต่ลากเส้นในแนวนอนเพียง ‫ثوب‬
เล็กน้อย เพื่อไปเชื่อมกับอักษร
ถัดไป และใส่ 3 จุดด้านบน ‫ث و ب = ثوب‬

‫ـ ـث ـ ـ‬
อักษรกลางคา
ลากเส้นในแนวนอนเป็นเส้น ‫مث ـل‬
โค้งเพียงเล็กน้อย และใส่ 3
จุดด้านบน
‫م ث ل = مث ـل‬

‫ـ ـث‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมกันอักษรข้างหน้า ‫مـثـلّـث‬
โดยใช้ลักษณะเช่นเดียวกับ
อักษรเดี่ยว
‫م ث ل ل ث = مـثـلّـث‬
34 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ข้อสังเกต
1. alif ไม่ถือว่าเป็นเสียงพยัญชนะ ส่วน Hamza ออกเสียงเป็นเสียงต้น และเสียงท้ายได้
รูปร่าง Hamza แบบต่าง ๆ จะกล่าวในบทที่ 4
2. ‫ ا‬ในตาแหน่งกลางคา จะไม่เขียนเชื่อมกับอักษรถัดไป หากเขียนเชื่อมกับอักษรถัดไปจะ
กลายเป็นอักษร ‫ل‬
3. อักษรที่มโี ครงสร้างเดียวกัน แต่ต่างกันที่จุด ได้แก่
‫ب‬ baa’ มี 1 จุดอยู่ด้านล่าง

‫ت‬ taa’ มี 2 จุดอยู่ด้านบน

‫ث‬ thaa’ มี 3 จุดอยู่ด้านบน

4. เสียง ‫ ت‬taa’ เมื่อเป็นเสียงนาจะออกเสียงแบบ ต. เมื่อเป็นเสียงท้ายจะออกเสียงโดยพ่น


ลมเล็กน้อยแบบ ท.
5. เสียง ‫ ث‬thaa’ ไม่มีในภาษาไทย จะออกเสียงคล้าย th ในคาว่า think ภาษาอังกฤษ
อักษรภาษาอาหรับ 1-3 35
___________________________________________________________________________
36 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ตอนที่ 2
อักษรภาษาอาหรับ 2 ‫ج ح خ د ذ‬
**************************************************************************

‫ج‬
‫ ج‬/d͡ʒ/ jeem เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ออกเสียงคล้ายเสียง j ในคาว่า jewel ภาษาอังกฤษ

รูปที่ 2.2.1 การออก


เสียง jeem

รูปที่ 2.2.2 เสียง jeem ในตาแหน่ง


ต้นพยางค์และท้ายพยางค์
อักษรภาษาอาหรับ 1-3 37
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นแนวนอนจากซ้ายไป
ขวา แล้วลากเส้นโค้งมา ‫ج‬
ด้านล่างโดยให้ส่วนเส้นโค้งอยู่
คาบบรรทัด หลังจากนั้นใส่จุด
1 จุดด้านใน

‫جــ‬
อักษรเริ่มคา
เริ่มต้นเช่นเดียวกับอักษรเดี่ยว
แต่ลากเส้นกลับไปด้านขวา ‫جـ ـ ّد‬
เพื่อไปเชื่อมกับอักษรถัดไป
และใส่ 1 จุดด้านล่าง ‫ج د د = جـ ـ ّد‬

‫ـ ـج ـ ـ‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า ‫فج ــر‬
โดยใช้ลักษณะเช่นเดียวกับ
อักษรเริ่มคา
‫ف ج ر = فج ــر‬

‫ـ ـج‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมกันอักษรข้างหน้า ‫بيج‬
โดยใช้ลักษณะเช่นเดียวกับ
อักษรเดี่ยว
‫ب ي ج = بيج‬

หมายเหตุ: ในรูปคาว่า ‫ بيج‬อักษรแรกต้องมี 1 จุดล่าง อักษรต่อไปต้องมี 2 จุดล่าง


38 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ح‬

‫ح‬ /ħ/ Haa’ เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ออกเสียงคล้ายเสียง ฮ. ภาษาไทย โดยทาให้


ช่องลาคอแคบลงเป็นการบีบทางเดินลมให้เล็กลง

รูปที่ 2.2.3 การออกเสียง Haa’

รูปที่ 2.2.4 เสียง Haa’ ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 1-3 39
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นแนวนอนจากซ้ายไป
ขวา แล้วลากเส้นโค้งมา ‫ح‬
ด้านล่างโดยให้ส่วนเส้นโค้งอยู่
คาบบรรทัด

‫حـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
เริ่มต้นเช่นเดียวกับอักษรเดี่ยว ‫ح ـ ّد‬
แต่ลากเส้นกลับไปด้านขวา
เพื่อไปเชื่อมกับอักษรถัดไป
‫ح د د = ح ـ ّد‬

‫ـ ـحـ ـ‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า ‫بـ ـحر‬
โดยใช้ลักษณะเช่นเดียวกับ
อักษรเริ่มคา
‫ب ح ر = بـ ـحر‬

‫ـ ـح‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมกันอักษรข้างหน้า ‫بلح‬
โดยใช้ลักษณะเช่นเดียวกับ
อักษรเดี่ยว
‫ب ل ح = بلح‬

หมายเหตุ: ในรูปคาว่า ‫ بلح‬อักษรแรกต้องมี 1 จุดล่าง


40 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫خ‬
‫ خ‬/x/ khaa’ เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ออกเสียงคล้ายเสียง ค. ภาษาไทย โดยทาเสียงให้ไหล
และเสียดสีออกมา เสียงนีเ้ มื่อออกเสียงมีการยกโคนลิ้น เมื่อผสมกับเสียง อะ จะทาให้มเี สียงคล้าย
เป็นเสียง เอาะ

รูปที่ 2.2.5 การออกเสียง khaa’

รูปที่ 2.2.6 เสียง khaa’ ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 1-3 41
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นแนวนอนจากซ้ายไป
ขวา แล้วลากเส้นโค้งมา ‫خ‬
ด้านล่างโดยให้ส่วนเส้นโค้งอยู่
คาบบรรทัด หลังจากนั้นใส่จุด
1 จุดด้านบน

‫خـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
เริ่มต้นเช่นเดียวกับอักษรเดี่ยว
แต่ลากเส้นกลับไปด้านขวา ‫خ ّد‬
เพื่อไปเชื่อมกับอักษรถัดไป
และใส่ 1 จุดด้านบน ‫خ د د = خ ّد‬

‫ـ ـخ ـ ـ‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า ‫نـ ـخل‬
โดยใช้ลักษณะเช่นเดียวกับ
อักษรเริ่มคา
‫ن خ ل = نـ ـخل‬

‫ـ ـخ‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมกันอักษรข้างหน้า ‫ط ـب ـخ‬
โดยใช้ลักษณะเช่นเดียวกับ
อักษรเดี่ยว
‫ط ب خ = ط ـب ـ خ‬
42 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫د‬
‫ د‬daal ออกเสียงเช่นเดียวกับ ด. ในภาษาไทย

รูปที่ 2.2.7 การออกเสียง daal

รูปที่ 2.2.8 เสียง daal ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 1-3 43
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นลงมาเล็กน้อย แล้ว ‫د‬
ลากเส้นโค้งในแนวนอนบน
เส้นบรรทัด

...‫د‬
อักษรเริ่มคา
เขียนเช่นเดียวกับอักษรเดี่ยว ‫ب‬
ّ‫د‬
และไม่เชื่อมติดกับอักษรถัดไป
‫ب‬
ّ ‫دبب=د‬

...‫ـ ـد‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า
โดยมีลักษณะเหมือนกับอักษร ‫ج ّدة‬
เดี่ยว และเขียนไม่เชื่อมติดกับ
อักษรถัดไป ‫ج د د ة = ج ّدة‬

‫ـ ـد‬
อักษรท้ายคา
มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษร ‫ج ّد‬
กลางคา
‫ج د د = ج ّد‬
44 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ذ‬
‫ذ‬ /ð/ dzaal มีลักษณะคล้ายกับอักษร ‫ د‬จะต่างกันที่จุด เสียง ‫ ذ‬เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ออก
เสียงคล้าย th ในคาว่า that ภาษาอังกฤษ เมื่อเทียบกับภาษาไทยจะใกล้เคียงกันเสียง ส. และ ด.
รวมกัน เวลาออกเสียงปลายลิ้นจะอยู่ระหว่างฟันบนและฟันล่าง

รูปที่ 2.2.9 การออกเสียง dzaal

รูปที่ 2.2.10 เสียง dzaal ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 1-3 45
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นลงมาเล็กน้อย แล้ว ‫ذ‬
ลากเส้นโค้งในแนวนอนบนเส้น
บรรทัด และใส่ 1 จุดด้านบน

...‫ذ‬
อักษรเริ่มคา
เขียนเช่นเดียวกับอักษรเดี่ยว ‫ذهب‬
และไม่เชื่อมติดกับอักษรถัดไป
‫ذ ه ب = ذهب‬

...‫ـ ـذ‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้าโดย
มีลักษณะเหมือนกับอักษรเดี่ยว ‫ي ـذهب‬
และเขียนไม่เชื่อมติดกับอักษร
ถัดไป ‫ي ذ ه ب = ي ـذهب‬

‫ـ ـذ‬
อักษรท้ายคา
มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษร ‫خذ‬
กลางคา
‫خ ذ = خذ‬
46 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ข้อสังเกต
1. อักษรที่มลี ักษณะคล้ายกันกลุ่มที่ 1 ได้แก่
‫ج‬ jeem มี 1 จุดอยู่ด้านใน
‫ح‬ Haa’ ไม่มีจุด
‫خ‬ khaa’ มี 1 จุดอยู่ด้านบน
2. อักษรที่มลี ักษณะคล้ายกันกลุ่มที่ 2 ได้แก่
‫د‬ daal ไม่มีจุด
‫ذ‬ dzaal มี 1 จุดอยู่ด้านบน
3. อักษรทีเ่ ขียนอยู่คาบเส้นบรรทัดได้แก่ ‫ج ح خ‬
4. อักษรที่ไม่สามารถเขียนเชื่อมกับอักษรถัดไป คือ ‫د ذ‬
5. เสียงไม่มีในภาษาไทยได้แก่
‫ج‬ jeem
‫ح‬ Haa’
‫خ‬ khaa’
‫ذ‬ dzaal
6. เสียงทีป่ ระสมกับสระอะ จะออกเสียงเป็น เอาะ คือ ‫ خ‬khaa’
อักษรภาษาอาหรับ 1-3 47
___________________________________________________________________________
48 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ตอนที่ 3
อักษรภาษาอาหรับ 3 ‫ر ز س ش‬
**************************************************************************

‫ر‬
‫ر‬ /r/ raa’ ออกเสียงเช่นเดียวกับ ร. ในภาษาไทย คือมีการกระดกลิ้น เมื่อเป็นตัวสะกดจะออกเสียง
คล้ ายแม่ กด แต่มีการสะบัดลิ้น เสียงนี้เมื่อออกเสียงมีการยกโคนลิ้น เมือ่ ผสมกับเสียง อะ จะทาให้มี
เสียงคล้ายเป็นเสียง เอาะ

รูปที่ 2.3.1 การออกเสียง


raa’

รูปที่ 2.3.2 เสียง raa’ ในตาแหน่ง


ต้นพยางค์และท้ายพยางค์
อักษรภาษาอาหรับ 1-3 49
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นลงมาเล็กน้อย และ
ลากเส้นโค้งลงมาด้านล่าง ‫ر‬
บรรทัด

...‫ر‬
อักษรเริ่มคา
เขียนเช่นเดียวกับอักษรเดี่ยว ‫رجل‬
และไม่เชื่อมติดกับอักษรถัดไป
‫ر ج ل = رجل‬

...‫ـر‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า
โดยมีลักษณะเหมือนกับอักษร ‫فرح‬
เดี่ยว และเขียนไม่เชื่อมติดกับ
อักษรถัดไป ‫ف ر ح = فرح‬

‫ـ ـر‬
อักษรท้ายคา
มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษร ‫م ّر‬
กลางคา
‫م ر ر = م ّر‬
50 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ز‬

‫ز‬ /z/ zaay มีลักษณะคล้ายกับอักษร ‫ ر‬จะต่างกันทีจ่ ุด เสียง ‫ ز‬เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ออก


เสียงเหมือน z ในคาว่า zero ภาษาอังกฤษ

รูปที่ 2.3.3 การออกเสียง zaay

รูปที่ 2.3.4 เสียง zaay ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 1-3 51
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นลงมาเล็กน้อย และ ‫ز‬
ลากเส้นโค้งลงมาด้านล่าง
บรรทัด
และใส่ 1 จุดด้านบน

...‫ز‬
อักษรเริ่มคา
เขียนเช่นเดียวกับอักษรเดี่ยว ‫زيد‬
และไม่เชื่อมติดกับอักษรถัดไป
‫ز ي د = زيد‬

...‫ـ ـز‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า
โดยมีลักษณะเหมือนกับอักษร ‫وزارة‬
เดี่ยว และเขียนไม่เชื่อมติดกับ
อักษรถัดไป ‫و ز ا ر ة = وزارة‬

‫ـز‬
อักษรท้ายคา
มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษร ‫خبز‬
กลางคา
‫خ ب ز = خبز‬
52 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫س‬

‫ س‬/s/ seen ออกเสียงเช่นเดียวกับ ซ. ในภาษาไทย

รูปที่ 2.3.5 การออกเสียง seen

รูปที่ 2.3.6 เสียง seen ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 1-3 53
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
เริ่ม 3 หยักและลากเส้นโค้งให้ ‫س‬
อยู่ใต้บรรทัด

‫سـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
นามาแค่ส่วนแรก และส่วน
โค้งที่อยู่ใต้บรรทัด ให้มีความ ‫سنة‬
โค้งเล็กน้อยอยูบนบรรทัดเพื่อ
ไปเชื่อมกับอักษรถัดไป ‫س ن ة = سنة‬

‫ـ ـس ـ ـ‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า ‫مسلم‬
โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับ
อักษรเริ่มคา
‫م س ل م = مسلم‬

‫ـ ـس‬
อักษรท้ายคา
มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษร ‫مالبس‬
เดี่ยว แต่มีการเชื่อมกับอักษร
ที่อยู่ก่อนหน้า
‫م ل ا ب س = مالبس‬
54 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ش‬

‫ ش‬/ʃ/ sheen มีลักษณะคล้ายกับอักษร ‫ س‬จะต่างกันทีจ่ ุด เสียง ‫ ش‬เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย


ออกเสียงคล้าย sh ในคาว่า shine ภาษาอังกฤษ

รูปที่ 2.3.7 การออกเสียง sheen

รูปที่ 2.3.8 เสียง sheen ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 1-3 55
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
เริ่ม 3 หยักและลากเส้นโค้งให้
อยู่ใต้บรรทัด และใส่ 3 จุด ‫ش‬
ด้านบน

‫شـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
นามาแค่ส่วนแรก และส่วน
โค้งที่อยู่ใต้บรรทัด ให้มีความ ‫شــمس‬
โค้งเล็กน้อยอยูบนบรรทัดเพื่อ
ไปเชื่อมกับอักษรถัดไป ‫ش م س = شــمس‬

‫ـشـ ـ‬

อักษรกลางคา ‫مستشـفى‬
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า
โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับ =‫مستشفى‬
อักษรเริ่มคา

‫مستشـفى‬

‫ـش‬
อักษรท้ายคา
มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษร ‫ريش‬
เดี่ยว แต่มีการเชื่อมกับอักษร
ที่อยู่ก่อนหน้า
‫ر ي ش = ريش‬
56 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ข้อสังเกต
1. อักษรที่มลี ักษณะคล้ายกันกลุ่มที่ 1 ได้แก่
‫ر‬ raa’ ไม่มีจุด
‫ز‬ zaay มี 1 จุดอยู่ด้านบน
2. อักษรที่มลี ักษณะคล้ายกันกลุ่มที่ 2 ได้แก่
‫ س‬seen ไม่มีจุด
‫ش‬ sheen มี 3 จุดอยู่ด้านบน
3. อักษรทีเ่ ขียนอยู่คาบเส้นบรรทัดได้แก่ ‫ر ز س ش‬
4. อักษรที่ไม่สามารถเขียนเชื่อมกับอักษรถัดไป คือ ‫ر ز‬
5. เสียงไม่มีในภาษาไทยได้แก่
‫ز‬ zaay
‫ش‬ sheen
6. เสียงทีป่ ระสมกับสระอะ จะออกเสียงเป็น เอาะ คือ ‫ ر‬raa’
อักษรภาษาอาหรับ 1-3 57
___________________________________________________________________________

แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 2

เลือกคาตอบที่ถูกต้องเพียงคาตอบเดียว
1. ข้อใดทาให้เสียง อะ ยาวเป็นเสียง อา
a. ‫ا‬ b. ‫و‬

c. ‫ي‬ d. ‫ء‬

2. อักษรใดเมือ่ พบกับสระอะ จะออกเสียงเป็นเอาะ


a. ‫ج‬ b. ‫خ‬

c. ‫ح‬ d. ‫ث‬

3. เมื่อ ‫ ا‬alif จะประสมกับสระ ต้องนาสิ่งใดมาเป็นส่วนประกอบ


a. ‫ب‬ b. ‫س‬

c. ‫ح‬ d. ‫ء‬

4. อักษรใดที่ออกเสียงตรงกับอักษรไทย
a. ‫ث‬ b. ‫د‬

c. ‫ج‬ d. ‫ز‬

5. เสียงของอักษรใด เมื่อออกเสียงลิ้นจะอยู่ระหว่างฟัน
a. ‫س‬ b. ‫ت‬

c. ‫ذ‬ d. ‫ر‬
58 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

6. อักษรใดสามารถเขียนเชื่อมกับอักษรที่อยู่ถัดไปได้
a. ‫د‬ b. ‫أ‬

c. ‫ر‬ d. ‫خ‬

7. อักษรใดมีส่วนที่อยู่ใต้เส้นบรรทัด
a. ‫ر‬ b. ‫ب‬

c. ‫أ‬ d. ‫د‬

8. อักษรใดไม่มจี ุด
a. baa’ b. daal
c. jeem d. zaay
9. ข้อใดเขียนได้ถูกต้อง
a. ‫أرد‬ b. ‫ب تد‬

c. ‫سب ج‬ d. ‫رث د‬

10. ข้อใดเรียงลาดับของตัวอักษรได้ถูกต้อง
a. ‫حجخ‬ b. ‫بتث‬

c. ‫دذخ‬ d. ‫رزدذ‬
บทที่ 3

อักษรภาษาอาหรับ
4-5
60 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

แผนการสอนประจาบทที่ 3
เนื้อหา

ตอนที่ 1 อักษรภาษาอาหรับ 4 ได้แก่อักษร ‫ص ض ط ظ‬


ตอนที่ 2 อักษรภาษาอาหรับ 5 ได้แก่อักษร ‫ع غ ف ق ك ل‬

แนวคิด
1. เสียงพยัญชนะภาษาอาหรับบางเสียงมีในระบบเสียงภาษาไทย บางเสียงก็มีในระบบ
เสียงภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าบางเสียงจะไม่มที ั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ก็พบ
ลักษณะใกล้เคียงกัน
2. พยัญชนะที่พบกับ fathah จะออกเสียงคล้ายเสียงเอาะ ได้แก่ ‫ص ض ط ظ غ ق‬
3. เสียงพยัญชนะภาษาอาหรับสามารถเป็นเสียงท้ายหรือตัวสะกดได้ทุกเสียง ซึ่งหลาย
เสียงไม่พบในภาษาไทย
4. อักษรภาษาอาหรับบางตัวใช้โครงสร้างเดียวกัน แตกต่างกันที่การเขียนจุด
5. อักษรทีเ่ ขียนบนเส้นบรรทัดเท่านั้นได้แก่ ‫ ط ظ ف ك‬อักษรที่มบี างส่วนอยู่ใต้เส้น
บรรทัด ได้แก่ ‫ص ض ع غ ق ل‬

วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาบทที่ 3 จบแล้ว ผูเ้ รียนสามารถ


1. ออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์ได้
2. เขียนอักษรภาษาอาหรับทีป่ รากฏในตาแหน่งต่าง ๆ ของคาได้
3. จาแนกอักษรที่มลี ักษณะใกล้เคียงกันได้
อักษรภาษาอาหรับ 4-5 61
___________________________________________________________________________

กิจกรรม
1. ฝึกออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับทั้งอักษรเดี่ยว และอักษรที่ผสมกับสระ
2. ฝึกเขียนอักษรภาษาอาหรับในลักษณะต่าง ๆ
3. ทาแบบฝึกหัดคัดอักษรภาษาอาหรับ
4. ทาแบบทดสอบหลังเรียนประจาบท
62 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ตอนที่ 1
อักษรภาษาอาหรับ 4 ‫صض طظ‬
**************************************************************************

‫ص‬

‫ ص‬/sˤ/ Saad เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ออกเสียงคล้าย ซ. โดยมีการยกโคนลิ้น เมื่อผสมกับ


เสียง อะ จะทาให้มีเสียงคล้ายเป็นเสียง เอาะ

รูปที่ 3.1.1 การออกเสียง Saad

รูปที่ 3.1.2 เสียง Saad ใน


ตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์
อักษรภาษาอาหรับ 4-5 63
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
เริ่มเขียนส่วนหัวให้อยู่บน ‫ص‬
บรรทัดและเขียนส่วนท้ายอยู่
ใต้บรรทัด

อักษรเริ่มคา
‫صـ ـ‬
เขียนส่วนหัวเช่นเดียวกับ
อักษรเดี่ยว แต่ให้ส่วนท้ายจะ ‫صرب‬
มีขนาดย่อลง และอยู่บนเส้น
บรรทัด
‫ص ب ر = صرب‬

‫ـ ـص ـ ـ‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า
โดยให้มีลักษณะเช่นเดียวกับ ‫بصل‬
อักษรเริ่มคา
‫ب ص ل = بصل‬

‫ـ ـص‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า
โดยให้มีลักษณะเช่นเดียวกับ ‫ص‬
ّ ‫ن‬
อักษรเดี่ยว
‫ص‬
ّ ‫نصص=ن‬
64 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ض‬

‫ ض‬/dˤ/ Daad เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ออกเสียงคล้าย ด. โดยมีการยกโคนลิ้น เมื่อผสมกับ


เสียง อะ จะทาให้มีเสียงคล้ายเป็นเสียง เอาะ

รูปที่ 3.1.3 การออกเสียง Daad

รูปที่ 3.1.4 เสียง Daad ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 4-5 65
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
เริ่มเขียนส่วนหัวให้อยู่บน ‫ض‬
บรรทัดและเขียนส่วนท้ายอยู่
ใต้บรรทัด

อักษรเริ่มคา
‫ضـ ـ‬
เขียนส่วนหัวเช่นเดียวกับ
อักษรเดี่ยว แต่ให้ส่วนท้ายจะ ‫ض ّمة‬
มีขนาดย่อลง และอยู่บนเส้น
บรรทัด
‫ض م م ة = ض ّمة‬

‫ـضـ ـ‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า
โดยให้มีลักษณะเช่นเดียวกับ ‫مضرب‬
อักษรเริ่มคา
‫م ض ر ب = مضرب‬

‫ـ ـض‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า
โดยให้มีลักษณะเช่นเดียวกับ ‫بيض‬
อักษรเดี่ยว
‫ب ي ض = بيض‬
66 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ط‬

‫ ط‬/tˤ/ Taa’ เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ออกเสียงคล้าย ต. โดยมีการยกโคนลิ้น เมื่อผสมกับเสียง


อะ จะทาให้มีเสียงคล้ายเป็นเสียง เอาะ

รูปที่ 3.1.5 การออกเสียง Taa’

รูปที่ 3.1.6 เสียง Taa’ ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 4-5 67
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
เขียนส่วนแรกเช่นเดียวกับ
‫ط‬
อักษร ‫ ص‬และลากเส้น
ตรงลงมา

‫طـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
เขียนเหมือนกับอักษรเดี่ยว ‫طلب‬
และเชื่อมกับอักษรถัดไป
‫ط ل ب = طلب‬

‫ـ ـطـ ـ‬
อักษรกลางคา
เขียนเหมือนกับอักษรเดี่ยว
โดยเชื่อมกับอักษรข้างหน้า ‫مطر‬
และอักษรที่อยู่ถัดไป
‫م ط ر = مطر‬

อักษรท้ายคา ‫ـ ـط‬
เขียนเหมือนกับอักษรเดี่ยว
โดยเชื่อมกับอักษรที่อยู่ ‫فقط‬
ถัดไป
‫ف ق ط = فقط‬
68 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ظ‬

‫ظ‬ Dzaa’ เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ออกเสียงคล้าย ซ. และ ด. ผสมกัน โดยให้ลิ้นอยูร่ ะหว่าง


ฟัน และยกโคนลิ้น เมื่อผสมกับเสียง อะ จะทาให้มเี สียงคล้ายเป็นเสียง เอาะ
การฝึกออกเสียง ผู้เรียนอาจเริ่มฝึกจากเสียง ‫ س‬seen ‫ ث‬thaa’ ‫ ذ‬dzaal และ ‫ ظ‬Dzaa’
ตามลาดับ

รูปที่ 3.1.7 การออกเสียง Dzaa’

รูปที่ 3.1.8 เสียง Dzaa’ ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้าย


พยางค์
อักษรภาษาอาหรับ 4-5 69
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
เขียนส่วนแรกเช่นเดียวกับ
อักษร ‫ ص‬และลากเส้นตรง ‫ظ‬
ลงมา และใส่ 1 จุดด้านบน

‫ظـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
เขียนเหมือนกับอักษรเดี่ยว ‫ظ ّل‬
และเชื่อมกับอักษรถัดไป
‫ظ ل ل = ظ ّل‬

‫ــظـ ـ‬
อักษรกลางคา
เขียนเหมือนกับอักษรเดี่ยว ‫مظلّة‬
โดยเชื่อมกับอักษรข้างหน้า
และอักษรที่อยู่ถัดไป
‫م ظ ل ل ة = مظلّة‬

‫ـ ـظـ ـ‬
อักษรท้ายคา
เขียนเหมือนกับอักษรเดี่ยว
โดยเชื่อมกับอักษรที่อยู่ถัดไป
‫ظ‬
ّ‫ح‬

‫ظ‬
ّ ‫حظظ=ح‬
70 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ข้อสังเกต
1. อักษรที่มลี ักษณะคล้ายกันกลุ่มที่ 1 ได้แก่
‫ ص‬Saad ไม่มีจุด
‫ض‬ Daad มี 1 จุดอยู่ด้านบน
2. อักษรที่มลี ักษณะคล้ายกันกลุ่มที่ 2 ได้แก่
‫ ط‬Taa’ ไม่มีจุด
‫ظ‬ Dzaa’ มี 1 จุดอยู่ด้านบน
3. อักษรทีเ่ ขียนอยู่คาบเส้นบรรทัดได้แก่ ‫ص ض‬
4. ‫ ص‬Saad ‫ ض‬Daad ‫ط‬ Taa’ ‫ظ‬ Dzaa’ เป็ นเสียงไม่มีใน
ภาษาไทย และเมือ่ ผสมกับสระอะ จะออกเสียงเป็น เอาะ
อักษรภาษาอาหรับ 4-5 71
___________________________________________________________________________
72 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ตอนที่ 2
อักษรภาษาอาหรับ 5 ‫عغفقكل‬
**************************************************************************

‫ع‬

‫ ع‬/ʕ/ Aayn เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ออกเสียงใกล้เคียงกับ อ. ภาษาไทย ขณะออกเสียง


ช่องลาคอจะแคบลงเพือ่ บีบทางลม

รูปที่ 3.2.1 การออกเสียง Aayn

รูปที่ 3.2.2 เสียง Aayn ใน


ตาแหน่งต้นพยางค์และท้าย
พยางค์
อักษรภาษาอาหรับ 4-5 73
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
เขียนส่วนหัวอยู่บนบรรทัด
และลากเส้นโค้งลงมาให้คาบ ‫ع‬
เส้นบรรทัด

‫عـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
นามาเฉพาะส่วนหัว และ ‫عــني‬
ลากเส้นเพื่อไปเชื่อมกับอักษร
ถัดไป
‫ع ي ن = عــني‬

‫ـ ـعـ ـ‬
อักษรกลางคา
มีลักษณะต่างไปจากอักษร ‫معلّم‬
เดี่ยว ลากเส้นลักษณะขมวด
หัว และไม่มีช่องว่างภายใน
‫م ع ل ل م = معلم‬

อักษรท้ายคา
‫ـ ـع‬
เขียนเชื่อมต่อกับอักษรก่อน
หน้า โดยใช้ลักษณะส่วนหัว ‫بيع‬
ของอักษรกลางคา และ
ส่วนท้ายในลักษณะของอักษร
เดี่ยว ‫ب ي ع = بيع‬
74 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫غ‬

‫ غ‬/ɣ/ ghayn เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ออกเสียงใกล้เคียงกับ gh ในคาว่า ghost ภาษาอังกฤษ


แต่เสียงจะเป็นเสียดสี ขณะออกเสียงมีการยกโคนลิ้น เมื่อผสมกับเสียง อะ จะทาให้มีเสียงคล้ายเป็น
เสียง เอาะ

รูปที่ 3.2.3 การออกเสียง ghayn

รูปที่ 3.2.4 เสียง ghayn ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้าย


พยางค์
อักษรภาษาอาหรับ 4-5 75
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
เขียนส่วนหัวอยู่บนบรรทัด
และลากเส้นโค้งลงมาให้คาบ ‫غ‬
เส้นบรรทัด และใส่ 1 จุด
ด้านบน

‫غـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
นามาเฉพาะส่วนหัว และ ‫غــمامة‬
ลากเส้นเพื่อไปเชื่อมกับอักษร
ถัดไป
‫غ م ا م ة = غــمامة‬

‫ـ ـغـ ـ‬
อักษรกลางคา
มีลักษณะต่างไปจากอักษร ‫مغرب‬
เดี่ยว ลากเส้นลักษณะขมวด
หัว และไม่มีช่องว่างภายใน
‫م غ ر ب = غــمامة‬

อักษรท้ายคา
‫ــغ‬
เขียนเชื่อมต่อกับอักษรก่อน
หน้า โดยใช้ลักษณะส่วนหัว ‫ابلغ‬
ของอักษรกลางคา และ
ส่วนท้ายในลักษณะของอักษร
เดี่ยว ‫ب ا ل غ = ابلغ‬
76 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ف‬

‫ ف‬/f/ faa’ ออกเสียงเช่นเดียวกับ ฟ. ในภาษาไทย

รูปที่ 3.2.5 การออกเสียง faa’

รูปที่ 3.2.6 เสียง faa’ ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 4-5 77
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
เริ่มจากหัวและตามด้วย
ส่วนโค้งแบบเดียวกับ ‫ف‬
อักษร ‫ب‬

‫فـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
เริ่มจากส่วนหัวเช่นเดียวกับ ‫فوق‬
อักษรเดี่ยว และลากเส้นเพื่อ
ไปเชื่อมกับอักษรถัดไป
‫ف و ق = فوق‬

อักษรกลางคา ‫ـ ـفـ ـ‬
เขียนเชื่อมกับอักษร
ข้างหน้าโดยเริ่มจากหัว
และส่วนที่ตามมาจะสั้น
‫ت ّفاح‬
กว่าอักษรเดี่ยว
‫ت ف ف ا ح = ت ّفاح‬

‫ـ ـف‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมต่อกับอักษรก่อน
หน้า โดยใช้ลักษณะเดียวกับ ‫صيف‬
อักษรเดี่ยว
‫ص ي ف = صيف‬

.
78 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ق‬

‫ ق‬/q/ qaaf เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ออกเสียงคล้าย ก. โดยมีการยกโคนลิ้น เมื่อผสมกับเสียง


อะ จะทาให้มีเสียงคล้ายเป็นเสียง เอาะ

รูปที่ 3.2.7 การออกเสียง qaaf

รูปที่ 3.2.8 เสียง qaaf ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 4-5 79
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
เริ่มจากหัวและตามด้วยส่วน
โค้งลงมาใต้เส้นบรรทัด
‫ق‬

‫قـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
เริ่มจากส่วนหัวเช่นเดียวกับ ‫قلم‬
อักษรเดี่ยว และลากเส้นเพื่อ
ไปเชื่อมกับอักษรถัดไป
‫ق ل م = قلم‬

อักษรกลางคา
‫ـ ـقـ ـ‬
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า
โดยเริ่มจากหัว และส่วนที่ ‫نقرأ‬
ตามมาจะสั้นกว่าอักษรเดี่ยว
‫ن ق ر أ = نقرأ‬

‫ـ ـق‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมต่อกับอักษรก่อน
หน้า โดยใช้ลักษณะเดียวกับ ‫صديق‬
อักษรเดี่ยว
‫ص د ي ق = صديق‬
80 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ك‬

‫ ك‬/k/ kaaf ออกเสียงเช่นเดียวกับ ก. ในภาษาไทย

รูปที่ 3.2.9 การออกเสียง kaaf

รูปที่ 3.2.10 เสียง kaaf ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


อักษรภาษาอาหรับ 4-5 81
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นตรงลงมาและเส้นแนว ‫ك‬
นอน แล้วใส่ s ด้านใน

‫كـ ـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
ลากเส้นโค้งจากบนลงล่างตาม
ด้วยส่วนโค้งเล็กน้อยด้านล่าง ‫كتب‬
แล้วใส่ขีดเฉียงมาเชื่อมกับเส้น
แรก ‫ك ت ب = كتب‬

‫ـ ـك ـ ـ‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรอื่น โดยใช้ ‫مكتب‬
ลักษณะเช่นเดียวกับอักษรเริ่ม
คา
‫م ك ت ب = مكتب‬

‫ـ ـك‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า ‫ســمك‬
โดยใช้ลักษณะเดียวกับอักษร
เดี่ยว
‫س م ك = ســمك‬
82 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

‫ل‬

‫ ل‬/l/ laam ออกเสียงเช่นเดียวกับ ล. ในภาษาไทย

รูปที่ 3.2.11 การออกเสียง laam

รูปที่ 3.2.12 เสียง laam ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้าย


พยางค์
อักษรภาษาอาหรับ 4-5 83
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นลงมาเป็นแนวตรง ‫ل‬
และใส่ส่วนโค้งใต้บรรทัด

อักษรเริ่มคา
‫لـ ـ‬
มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษร
เดี่ยว แต่ตัดส่วนที่อยู่ใต้ ‫ليل‬
บรรทัดออกไป และใช้ส่วนโค้ง
เล็กน้อยเพื่อไปเชื่อมกับอักษร
ถัดไป ‫ل ي ل = ليل‬

‫ـ ـلـ ـ‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรอื่นโดยใช้ ‫علم‬
ลักษณะเดียวกับอักษรเริ่มคา
‫ع ل م = علم‬

‫ـ ـل‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมกับอักษรอื่นโดยใช้ ‫جبل‬
ลักษณะเดียวกับอักษรเดี่ยว
‫ج ب ل = جبل‬
84 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ข้อสังเกต
1. อักษรที่มลี ักษณะคล้ายกันกลุ่มที่ 1 ได้แก่
‫ع‬ Aayn ไม่มีจุด
‫غ‬ ghayn มี 1 จุดอยู่ด้านบน
2. อักษรที่มลี ักษณะคล้ายกันกลุ่มที่ 2 ได้แก่
‫ ف‬faa’ มี 1 จุดบนหัว และส่วนหางแบน
‫ق‬ qaaf มี 2 จุดบนหัว และหางโค้งกลม
3. อักษรที่มลี ักษณะคล้ายกันกลุ่มที่ 2 ได้แก่
‫ك‬ seen มีขีดคล้าย s อักษรทั้งหมดอยูบ่ นเส้นบรรทัด
‫ل‬ sheen อักษรบางส่วนอยู่ใต้เส้นบรรทัด
4. อักษรทีเ่ ขียนอยู่คาบเส้นบรรทัดได้แก่ ‫ع غ ق ل‬
5. เสียงไม่มีในภาษาไทยได้แก่
‫ع‬ Aayn
‫غ‬ ghayn
‫ق‬ qaaf
6. เสียงทีป่ ระสมกับสระอะ จะออกเสียงเป็น เอาะ คือ ‫ ق‬และ ‫غ‬
อักษรภาษาอาหรับ 4-5 85
___________________________________________________________________________

แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 3

เลือกคาตอบที่ถูกต้องเพียงคาตอบเดียว
1. อักษรใดเมือ่ พบกับสระอะ จะออกเสียงเป็นเอาะ
a. ‫ف‬ b. ‫ع‬

c. ‫ق‬ d. ‫ك‬

2. อักษรใดที่ออกเสียงตรงกับอักษรไทย
a. ‫ص‬ b. ‫غ‬

c. ‫ق‬ d. ‫ك‬

3. เสียงของอักษรใด เมื่อออกเสียงลิ้นจะอยู่ระหว่างฟัน
a. ‫ص‬ b. ‫ض‬

c. ‫ط‬ d. ‫ظ‬

4. อักษรใดสามารถเขียนเชื่อมกับอักษรที่อยู่ถัดไปได้
a. ‫ض‬ b. ‫ل‬

c. ‫ك‬ d. ถูกทุกข้อ

5. อักษรใดมีส่วนที่อยู่ใต้เส้นบรรทัด
a. ‫ع‬ b. ‫ف‬

c. ‫ك‬ d. ‫ط‬
86 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

6.. อักษรใดไม่มจี ุด
a. qaaf b. kaaf
c. ghayn d. Daad
7. อักษรใดเมือ่ ออกเสียง ลาคอจะแคบลง
a. ‫ع‬ b. ‫غ‬

c. ‫ق‬ d. ‫ف‬

8. อักษรใดอยู่บนเส้นบรรทัดทั้งหมด
a. ‫ع‬ b. ‫ض‬

c. ‫ل‬ d. ‫ظ‬

9. ข้อใดเขียนได้ถูกต้อง
a. ‫ط بخ‬ b. ‫قط ف‬

c. ‫سب ك‬ d. ‫أرض‬

10. ข้อใดเรียงลาดับตัวอักษรได้ถูกต้อง
a. ‫شصض‬ b. ‫غعط‬

c. ‫ضظط‬ d. ‫شسضص‬
บทที่ 4

ภาษาอาหรับ
6-7
88 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

แผนการสอนประจาบทที่ 4

เนื้อหา

ตอนที่ 1 อักษรภาษาอาหรับ 6 ได้แก่อักษร ‫م ن هوي‬


ตอนที่ 2 อักษรภาษาอาหรับ 7 ได้แก่อักษร ‫ء أ ئ ؤ ة‬

แนวคิด

1. อักษรอาหรับ ‫ م ن ه و ي‬พบในระบบเสียงภาษาไทย อักษรที่ทาหน้าทีป่ ระกอบกับ


สระทาให้เกิดเสียงสระยาว ได้แก่ ‫و ي‬
2. อักษร ‫ ه‬เมื่อปรากฏในตาแหน่งคาที่ต่างกันจะมีรปู ร่างเปลีย่ นไปจากเดิม
3. การเขียน Hamza มีหลายแบบ ทั้งแบบเดี่ยว และแบบทีป่ รากฏร่วมกันอักษรอื่น
4. อักษร ‫ ة‬เรียกว่า ‫ التاء املربوطة‬taa’ al marbootah เป็นโครงสร้าง ‫ ه‬ทีม่ ี 2 จุดบน
5. บางอักษรเขียนบนเส้นบรรทัดเท่านั้น บางอักษรมีส่วนที่อยู่ใต้เส้นบรรทัดด้วย

วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาบทที่ 4 จบแล้ว ผูเ้ รียนสามารถ


1. ออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์ได้
2. เขียนอักษรภาษาอาหรับทีป่ รากฏในตาแหน่งต่าง ๆ ของคาได้
3. จาแนกอักษรที่มลี ักษณะใกล้เคียงกันได้
กิจกรรม
1. ฝึกออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับทั้งอักษรเดี่ยว และอักษรที่ผสมกับสระ
2. ฝึกเขียนอักษรภาษาอาหรับในลักษณะต่าง ๆ
3. ทาแบบฝึกหัดคัดอักษรภาษาอาหรับ
4. ทาแบบทดสอบหลังเรียนประจาบท
อักษรภาษาอาหรับ 6-7 89
___________________________________________________________________________

ตอนที่ 1
อักษรภาษาอาหรับ 6 ‫م ن هوي‬
**************************************************************************

‫م‬

‫ م‬/m/ meem ออกเสียงเช่นเดียวกับ ม. ในภาษาไทย

รูปที่ 4.1.1 การออกเสียง


meem

รูปที่ 4.1.2 เสียง meem ใน


ตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์
90 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
เขียนส่วนหัวอยู่บนเส้นบรรทัด
และส่วนห่างลากลงมาใต้เส้น
‫م‬
บรรทัด

อักษรเริ่มคา
‫مـ ـ‬
มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษร
เดี่ยว แต่ตัดส่วนที่อยู่ใต้ ‫مدن‬
บรรทัดออกไป และใช้ส่วนโค้ง
เล็กน้อยเพื่อไปเชื่อมกับอักษร
ถัดไป ‫م د ن = مدن‬

‫ـ ـمـ ـ‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรอื่นโดยใช้ ‫ح ـ ّمام‬
ลักษณะเดียวกับอักษรเริ่มคา
‫ح م م ا م = ح ـ ّمام‬

‫ـ ـم‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมกับอักษรอื่นโดยใช้ ‫كم‬
ลักษณะเดียวกับอักษรเดี่ยว
‫ك م = كم‬
อักษรภาษาอาหรับ 6-7 91
___________________________________________________________________________

‫ن‬

‫ن‬ /n/ noon ออกเสียงเช่นเดียวกับ น. ในภาษาไทย

รูปที่ 4.1.3 การออกเสียง noon

รูปที่ 4.1.4 เสียง noon ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้าย


พยางค์
92 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ส่วนเริ่มอยู่บนบรรทัดและลาก ‫ن‬
ส่วนโค้งลงมาใต้บรรทัด และ
ใส่ 1 จุดด้านบน

‫نـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
เหมือนอักษรเริ่มของ ‫ ب‬แต่ ‫نـجم‬
ใส่จุดด้านบน
‫نـ ج م = نـجم‬

‫ـ ـنـ ـ‬
อักษรกลางคา
เหมือนอักษรกลางคาของ ‫ب‬ ‫تنّ ـورة‬
แต่ใส่จุดด้านบน
‫ت ن ن و ر ة = تنّ ـورة‬

‫ـ ـن‬
อักษรท้ายคา
เชื่อมกับอักษรอื่นโดยใช้ ‫من‬
ลักษณะเดียวกับอักษรเดี่ยว
‫م ن = من‬
อักษรภาษาอาหรับ 6-7 93
___________________________________________________________________________

‫ه‬

‫ه‬ /h/ haa’ ออกเสียงเช่นเดียวกับ ฮ. ในภาษาไทย

รูปที่ 4.1.5 การออกเสียง haa’

รูปที่ 4.1.6 เสียง haa’ ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


94 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
มีลักษณะคล้ายหยดน้า ‫ه‬

‫هـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
เริ่มจากการลากเส้นของอักษร
‫ د‬และตามวงกลมด้านในและ
‫هي‬
ลากเส้นไปเชื่อมกับอักษร
ถัดไป ‫ه ي = هي‬

‫ـ ـهـ ـ‬
อักษรกลางคา
ทาส่วนโค้งวงรีด้านล่างก่อน
แล้วทาวงรีด้านบน และ ‫قهوة‬
ลากเส้นไปเชื่อมกับอักษร
ถัดไป ‫ق ه و ة = قهوة‬

‫ـ ـه‬
อักษรท้ายคา
ลากเส้นไปทางซ้ายและเฉียง ‫له‬
ขึ้นบนคล้ายสามเหลี่ยม
‫ل ه = له‬

หมายเหตุ: คาว่า ‫ هي‬ต้องมี 2 จุดด้านล่าง


อักษรภาษาอาหรับ 6-7 95
___________________________________________________________________________

‫و‬

‫و‬ /w/ waaw ออกเสียงเช่นเดียวกับ ว. ในภาษาไทย

รูปที่ 4.1.7 การออกเสียง waaw

รูปที่ 4.1.8 เสียง waaw ในตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์


96 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
เริ่มจากหัวแบบเดียวกับหัว
‫ ف‬และลากเส้นแนวเฉียงใต้ ‫و‬
บรรทัดเช่นเดียวกับอักษร ‫ر‬

...‫و‬
อักษรเริ่มคา
ใช้ลักษณะเดียวกันกับอักษร ‫وردة‬
เดี่ยว และไม่เชื่อมติดกับอักษร
ถัดไป
‫و ر د ة = وردة‬

...‫ـ ـو‬
อักษรกลางคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า
โดยใช้ลักษณะเช่นเดียวกับ ‫يقول‬
อักษรเดี่ยว และไม่เชื่อมติดกับ
อักษรถัดไป ‫ي ق و ل = يقول‬

‫ـ ـو‬
อักษรท้ายคา
เขียนเชื่อมกับอักษรข้างหน้า ‫هو‬
เช่นเดียวกับอักษรเดี่ยว
‫ه و = هو‬
อักษรภาษาอาหรับ 6-7 97
___________________________________________________________________________

‫ي‬

‫ي‬ /j/ yaa’ ออกเสียงเช่นเดียวกับ ย. ในภาษาไทย10

รูปที่ 4.1.9 การออกเสียง yaa’

รูปที่ 4.1.10 เสียง yaa’ ใน


ตาแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์

10
การเขียนอักษร ‫ ي‬ในปัจจุบัน กาหนดให้มี 2 จุดด้านล่างไม่ว่าจะอยู่ในตาแหน่งใดของคาก็ตามโดยยึดตามการพิมพ์อัลกุรอาน
ฉบับล่าสุด ซึ่งก่อนหน้านี้ ‫ ي‬ที่เป็นอักษรเดี่ยวและอักษรท้ายคาจะไม่มีจุด แต่การถ่ายทาสื่อการเรียนการสอนได้จัดทาในช่วงที่
อักษร ‫ ي‬ยังคงใช้แบบไม่มีจุดด้านล่าง
98 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

วิธีการเขียน

อักษรเดี่ยว
ลากเส้นโค้งตามรูป และมี 2 ‫ي‬
จุดด้านล่าง

‫يـ ـ‬
อักษรเริ่มคา
เริ่มต้นเช่นเดียวกับอักษร ‫ب‬ ‫يوم‬
แต่มี 2 จุดด้านล่างบรรทัด
= ‫يوم ي و م‬

‫ـ ـيـ ـ‬
อักษรกลางคา
มีลักษณะเล่นเดียวกับอักษร ‫بيـت‬
กลางคาของ ‫ ب‬แต่มี 2 จุด
ด้านล่าง
‫ب ي ت = بيـت‬

‫ـ ـي‬
อักษรท้ายคา
มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษร ‫فـي‬
เดี่ยว แต่ไม่มีส่วนหัว และมี 2
จุดด้านล่าง
‫ف ي = فـي‬
อักษรภาษาอาหรับ 6-7 99
___________________________________________________________________________

ข้อสังเกต
1. อักษร ‫ ه‬เปลี่ยนรูปร่างไปตามตาแหน่งต่าง ๆ
2. อักษรที่มลี ักษณะคล้ายกัน
‫ق‬ qaaf มีหัว และมี 2 จุดบน
‫ن‬ noon ไม่มีหัว และมี 1 จุดบน
3. อักษรที่มลี ักษณะคล้ายกันกลุ่มที่ 2 ได้แก่
‫و‬ waaw มีหัว
‫ر‬ raa’ ไม่มีหัวแต่มีจุด
4. อักษรทีเ่ ขียนอยู่คาบเส้นบรรทัดได้แก่ ‫م ن و ي‬
5. เมือ่ อักษร ‫ و‬ออกเสียงเป็น ว. ยกเว้นมีสระฎอมมะห์ ً อยู่ข้างหน้า จะออกเสียงเป็น อู
6. เมือ่ อักษร ‫ ي‬ออกเสียงเป็น ย. ยกเว้นมีสระกัสเราะห์ ً อยู่ข้างหน้า จะออกเสียงเป็น อี
100 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ตอนที่ 2
อักษรภาษาอาหรับ 7 ‫ء أ ئ ؤ ة‬
**************************************************************************

ในบททีผ่ ่านมาได้อธิบายวิธีการออกเสียงและวิธีการเขียนอักษรภาษาอาหรับที่เป็นรูปแบบ
พื้นฐานของตัวอักษรแต่ละตัวไปแล้ว ในบทนีจ้ ะกล่าวการเขียนอักษรทีส่ ามารถเขียนในรูปแบบอื่นได้
อีก
❖ การเขียน ‫ أ‬และ ‫ ا‬แบบต่าง ๆ

ก่อนที่จะเข้าสูเ่ นื้อหาในตอนที่ 2 นี้ เราต้องทาความเข้าใจเกีย่ วกับ alif และ Hamza เสียก่อน

‫ا‬ alif เป็นอักษรแรกของภาษาอาหรับ alif ไม่ถือว่าเป็นหน่วยเสียง

‫ء‬ Hamza Hamza เป็นอักษรใช้แทนเสียง อ. มีลกั ษณะคล้ายส่วนหัวของ ‫ ع‬มักถูกนาไป


ประกอบกับอักษรอื่น เช่น ‫ ا و ى‬บางครั้งก็ปรากฏเป็นอิสระ

ลักษณะของ alif และ Hamza ในตาแหน่งต่าง ๆ ของคา


อักษรท้าย อักษรกลาง อักษรเริ่ม อักษรเดี่ยว

‫ــا‬ ...‫ــا‬ ‫ا‬ ‫ا‬


‫ــأ‬ ...‫ـ ــأ‬ ‫إ‬،‫أ‬ ‫ء‬
‫ــؤ‬ ...‫ــؤ‬
‫ـ ــئ‬ ‫ـ ــئـ ـ‬
‫ء‬... ... ‫ء‬...

ตารางที่ 4.2.1 ลักษณะของ Hamza แบบต่าง ๆ


อักษรภาษาอาหรับ 6-7 101
___________________________________________________________________________

Hamza ‫ ء‬ปกติจะอยู่กับอักษรมัด )‫ ( ا و ى‬และจะเปลี่ยนรูปไปตามสระและอักษรที่อยู่ข้างหน้า


ดังตัวอย่างในตาราง

ตัวเดี่ยว ตัวอย่าง ตัวเริ่ม ตัวอย่าง ตัวกลาง ตัวอย่าง ตัวท้าย ตัวอย่าง


‫أ‬ ‫أ‬ ‫أ‬ ‫أعمال‬ ..‫أ‬ ‫سأل‬ ‫أ‬ ‫توضأ‬
‫إ‬ ‫إن‬ ..‫ؤ‬ ‫يؤمن‬ ‫ؤ‬ ‫توضؤ‬
‫ئ‬ ‫سئل‬ ‫ئ‬ ‫قارئ‬
.. ‫ء‬.. ‫قراءة‬ ‫ء‬.. ‫دعاء‬

ตารางที่ 4.2.2 ตัวอย่างคาที่มี Hamza เป็นส่วนประกอบ

ตัวอย่าง Hamza ‫ ء‬ในคาต่าง ๆ (แบบมีสระ) พร้อมคาอ่าน

َ‫أ‬ a ‫قَِراءَة‬ qi-raa-ah


‫أَ ْع َمال‬ aA-maal ‫ضأ‬
َّ ‫تَ َو‬ ta-waD-Da’
‫إِ ْن‬ in ‫تَ َوضؤ‬ ta-waD-Du’
‫َسأَ َل‬ sa-a-la ‫قَا ِرئ‬ qaa-ri’
‫يُ ْؤِم ُن‬ yu’-mi-nu ‫ُد َعاء‬ du-Aaa’
‫ُسئِ َل‬ su-i-la
102 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ตัวอย่างการเขียน

คา ส่วนประกอบ ตัวอย่างการเขียน

‫أمل‬ ‫ألم‬

‫إ ّن‬ ‫إنن‬

‫مؤمن‬ ‫مؤمن‬

‫شيء‬ ‫شيء‬

‫بئر‬ ‫بئر‬
อักษรภาษาอาหรับ 6-7 103
___________________________________________________________________________

คา ส่วนประกอบ ตัวอย่างการเขียน

‫براءة‬ ‫براءة‬

‫مشى‬ ‫مشى‬

‫ماذا‬ ‫ماذا‬
104 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

❖ การเขียนอักษร ‫م‬

อักษร ‫ م‬มีทั้งแบบหัวตัน และหัวมีช่องว่าง


ตัวอย่างการเขียน

คา ส่วนประกอบ ตัวอย่างการเขียน

‫مح‬ ‫مح‬

‫مي‬ ‫مي‬

‫مما‬ ‫ممما‬

‫مر‬ ‫مرر‬

‫مل‬ ‫لم‬
อักษรภาษาอาหรับ 6-7 105
___________________________________________________________________________

❖ อักษรที่สามาถเขียนให้ส่วนท้ายยาวได้

‫ل‬ ‫ك‬ ‫ق‬ ‫ن‬ ‫ش‬ ‫س‬


laam kaaf qaaf noon sheen seen

ตัวอย่างการเขียน

รูปที่ 4.2.1 การเขียนอักษร ‫ س‬และ ‫ش‬ รูปที่ 4.2.2 การเขียนอักษร ‫ ن‬และ ‫ق‬

รูปที่ 4.2.3 การเขียนอักษร ‫ك‬


106 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

❖ การเขียนคาว่า ‫هللا‬

รูปที่ 4.2.4 การเขียนคาว่า ‫هللا‬ 11

❖ การเขียนอักษร ‫ي‬

รูปที่ 4.2.5 การเขียนอักษร ‫ي‬


❖ การเขียนอักษร ‫ ه‬และ ‫ة‬

‫ه‬ อักษร haa’ เรียกอีกอย่างว่า haa’ กลม ออกเสียง /h/ เหมือน ฮ. และ ห. ภาษาไทย
จะมีรูปร่างเป็น ‫ ه‬เป็นเป็นอักษรเดี่ยว

‫ة‬ taa’ al marbooTah หรือตากลม จะอยู่ท้ายคาแสดงเพศหญิง จะออกเสียงแบบ ‫ت‬


เมื่อมีสระหรืออ่านต่อเนื่อง และจะออกเสียงเป็น ‫ ه‬เมื่ออ่านหยุด หรือเป็นตัวสะกด

11
คาว่า ‫ هللا‬ประกอบไปด้วย ‫ ا ل ل ه‬รูปที่ 4.2.4 ภาพแสดงส่วนประกอบผิด เนื่องจากข้ อผิดพลาดในการ
พิมพ์
อักษรภาษาอาหรับ 6-7 107
___________________________________________________________________________

อักษร ตัวอย่าง ส่วนประกอบ

‫ه‬ ‫هلال‬
‫ة‬ ‫تلميذة‬ ‫تلميذة‬
‫ت‬ ‫تب‬ ‫تب‬

ตารางที่ 4.2.3 อักษร ‫ ت ة ه‬และตัวอย่างคา

รูปที่ 4.2.6 การเขียนอักษร ‫ة ه‬

❖ การเขียนอักษรที่มีโครงสร้างแบบ ‫ ب‬เชื่อมกับอักษร ‫ي‬

รูปที่ 4.2.7 การเขียนอักษร ‫ ب‬เชื่อมกับอักษร ‫ي‬


108 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

❖ การเขียน ‫ ل‬ตามด้วย ‫ا‬

รูปที่ 4.2.8 การเขียนอักษร ‫ ل‬เชื่อมกับอักษร ‫ا‬

รูปที่ 4.2.9 การเขียนอักษร ‫ ل‬เชื่อมกับอักษร ‫ ا‬ตอนท้ ายคา

❖ ข้อแตกต่างของ ‫ ع‬และ ‫ م‬ที่เป็นอักษรกลางคา

รูปที่ 4.2.10 การเขียนอักษร ‫ م‬และอักษร ‫ ع‬ในตาแหน่งกลางคา


อักษรภาษาอาหรับ 6-7 109
___________________________________________________________________________

แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 4

เลือกคาตอบที่ถูกต้องเพียงคาตอบเดียว

1. อักษรใดเมือ่ พบกับสระอะ จะออกเสียงเป็นเอาะ


a. ‫ه‬ b. ‫و‬
c. ‫م‬ d. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
2. อักษรใดที่ออกเสียงตรงกับอักษรไทย
a. ‫م‬ b. ‫ن‬
c. ‫ه‬ d. ถูกทุกข้อ
3. อักษรใดสามารถเขียนเชื่อมกับอักษรที่อยู่ถัดไปได้
a. ‫و‬ b. ‫ن‬
c. ‫ء‬ d. ‫ر‬
4. อักษรใดมีส่วนที่อยู่ใต้เส้นบรรทัด
a. ‫م‬ b. ‫ن‬
c. ‫و‬ d. ถูกทุกข้อ
5. อักษรใดไม่มจี ุด
a. meem b. noon
c. yaa’ d. ถูกทุกข้อ
110 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

6. อักษรใดเสียงออกโพรงจมูก
a. ‫م‬ b. ‫ه‬
c. ‫ي‬ d. ‫و‬
7. อักษร ‫ ة‬เมื่อเป็นตัวสะกดท้ายคาจะออกเสียงเป็นเสียงใด
a. ‫ت‬ b. ‫ه‬
c. ‫ث‬ d. ‫ش‬
8. อักษรใดมีจุดใต้อักษรเมื่อเป็นอักษรเริ่มคาและกลางคา
a. ‫م‬ b. ‫ه‬
c. ‫ي‬ d. ‫و‬
9.. อักษรใดที่มรี ูปร่างต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เมื่ออยู่ในตาแหน่งของคาที่ต่างกัน
a. ‫م‬ b. ‫ه‬
c. ‫ي‬ d. ‫و‬
10. ข้อใดเขียนถูกต้อง
a. ‫م وي‬ b. ‫ي وم‬
c. ‫وم ي‬ d. ‫يوم‬
บทที่ 5

สระและเครื่องหมายต่าง ๆ
112 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

แผนการสอนประจาบทที่ 5

เนือ้ หา
สระในภาษาอาหรับ และเครือ่ งหมายกาหนดเสียง ตัวอย่างคา และการออกเสียง

แนวคิด
1. สระพื้นฐานภาษาอาหรับมี 3 สระ คือ Fathah Kasrah และ Dammah โดยจะ
ออกเสียงสั้น ทั้ง 3 สระยังออกเสียงยาวด้วย เวลาเขียนจะนาพยัญชนะมาเป็น
ส่วนประกอบ
2. สัญลักษณ์ตัวสะกดจะปรากฏอยู่บนอักษรที่เป็นตัวสะกดของอักษรก่อนหน้า
สัญลักษณ์ตัวสะกดมีอยู่ 2 ชนิด คือ Sukun และ Shaddah

วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาบทที่ 2 จบแล้ว ผูเ้ รียนสามารถ


1. อ่านคาภาษาอาหรับโดยอาศัยสระและสัญลักษณ์ตัวสะกด
2. เขียนคาภาษาอาหรับพร้อมกับใส่สระและสัญลักษณ์ตัวสะกด

กิจกรรม
1. ฝึกออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับทั้งอักษรเดี่ยว และอักษรที่ผสมกับสระ
2. ฝึกเขียนอักษรภาษาอาหรับในลักษณะต่างๆ
3. ทาแบบฝึกหัดคัดอักษรภาษาอาหรับ
4. ทาแบบทดสอบหลังเรียนประจาบท
สระและเครือ่ งหมายต่าง ๆ 113
___________________________________________________________________________

สระและเครือ่ งหมายต่าง ๆ ในภาษาอาหรับ

❖ สระ
สระพื้นฐานภาษาอาหรับมี 3 สระ คือ Fathah Kasrah และ Dammah โดยจะออกเสียงสัน้ ทั้ง
3 สระยังออกเสียงยาวด้วย เวลาเขียนจะนาพยัญชนะมาเป็นส่วนประกอบ ตาแหน่งของสระจะอยูจ่ ะ
อยู่ด้านบน หรือไม่ก็อยู่ด้านล่างตัวอักษร รูปร่างของสระภาษาอาหรับเป็นดังนี้ (เส้นทึบยาวแทน
พยัญชนะ) ‫ ـَـ ـ ـ ـ ـ ـِ ـ ـ ـ ـُـ ـ‬ดูคาอธิบายลักษณะและการออกเสียงสระแต่ละตัวดังปรากฏในตาราง

สระ ลักษณะ คาอ่าน คาอ่าน ตัวอย่าง คาอ่าน

เสียงสัน้ ขีดเฉียงบนตัวอักษร ََ a อะ ‫ب‬


َ ba
Fathah
ขีดเฉียงบนตัวอักษร َ
َ และ
เสียงยาว
aa
อา ‫َِب‬ baa
ตามด้ วย ‫ا‬

เสียงสัน้ ขีดเฉียงใต้ ตวั อักษร َِ i อิ ِ


‫ب‬ bi

ِ และ
Kasrah
ขีดเฉียงใต้ ตวั อักษร َ
เสียงยาว ee อี ‫ِ ْب‬ bee
ตามด้ วย ‫ي‬
อักษรวาวตัวเล็กบนตัวอักษร
เสียงสัน้
َُ u อุ ‫ب‬
ُ bu
Dammah
อักษรวาวตัวเล็กบนตัวอักษร
เสียงยาว
َُ และตามด้วย ‫و‬ oo อู ‫بُ ْو‬ boo

ตารางที่ 5.1.1 สระภาษาอาหรับ


114 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

อักษรอาหรับเมื่อประกอบกับ Fathah เสียงสั้น

‫خ‬
َ ‫ح‬
َ ‫ج‬
َ ‫ث‬
َ ‫ت‬
َ ‫ب‬
َ َ‫أ‬
kha Ha ja tha ta ba a

‫ش‬
َ ‫س‬
َ ‫َز‬ ‫َر‬ َ‫ذ‬ ‫َد‬
sha sa za ra dza da

‫غ‬
َ ‫ع‬
َ ‫ظ‬
َ ‫ط‬
َ ‫ض‬
َ ‫ص‬
َ
gha Aa Dza Ta Da Sa

‫َن‬ ‫َم‬ ‫َل‬ ‫َك‬ ‫َق‬ ‫ف‬


َ
na ma la ka qa fa

‫ي‬
َ ‫َو‬ َ‫ه‬
ya wa ha

ข้ อสังเกต

‫ا‬
1. เมื่อ Alif เป็ นพยัญชนะต้ นของสระ Fathah َ
َ ต้องมี Hamza ‫ ء‬เป็นส่วนประกอบอยู่บน
Alif ด้ วย ‫أ‬
2. อักษรต่อไปนี ้ ‫ خ ر ص ض ط ظ غ ق‬เมื่อประกอบกับสระFathah َ
َ จะออกเสียง
จากอะ เป็ นเอาะ
สระและเครือ่ งหมายต่าง ๆ 115
___________________________________________________________________________

อักษรอาหรับเมื่อประกอบกับ Fathah เสียงยาว

‫َخا‬ ‫َحا‬ ‫َجا‬ ‫َث‬ ‫َت‬ ‫َاب‬ ‫آ‬


khaa Haa jaa thaa taa baa aa

‫َشا‬ ‫َسا‬ ‫َزا‬ ‫َرا‬ ‫ذَا‬ ‫َدا‬


shaa saa zaa raa dzaa daa

‫غَا‬ ‫َعا‬ ‫ظَا‬ ‫طَا‬ ‫ضا‬


َ ‫صا‬
َ
ghaa Aaa Dzaa Taa Daa Saa

‫َن‬ ‫َما‬ ‫َل‬ ‫َكا‬ ‫قَا‬ ‫فَا‬


naa maa laa kaa qaa faa

‫َي‬ ‫َوا‬ ‫َها‬


yaa waa haa

ข้ อสังเกต
1. เมื่อ ‫ أ‬ประกอบกับสระ Fathah َ และพบกับ ‫ ا‬จะมีการเปลี่ยนรูปจาก ‫ أَا‬เป็น ‫آ‬

2. ‫ ا‬ไม่สามารถเขียนเชื่อมกับตัวอักษรต่อไปนี ไ้ ด้ ‫د ذ ر ز و‬
116 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

อักษรอาหรับเมื่อประกอบกับ Kasrah เสียงสั้น

‫ِخ‬ ‫ِح‬ ‫ِج‬ ِ


‫ث‬ ِ
‫ت‬ ِ
‫ب‬ ِ‫إ‬
khi Hi ji thi ti bi i

ِ
‫ش‬ ِ
‫س‬ ‫ِز‬ ‫ِر‬ ‫ِذ‬ ‫ِد‬
shi si zi ri dzi di

‫ِغ‬ ‫ِع‬ ‫ِظ‬ ‫ِط‬ ِ


‫ض‬ ِ
‫ص‬
ghi Ai Dzi Ti Di Si

‫ِن‬ ‫ِم‬ ‫ِل‬ ‫ِك‬ ‫ِق‬ ِ


‫ف‬
ni mi li ki qi fi

‫ِي‬ ‫ِو‬ َ‫ه‬


yi wi hi

ข้ อสังเกต

‫ا‬ ِ ต้องมี Hamza ‫ ء‬เป็นส่วนประกอบอยูใ่ ต้ Alif


เมื่อ Alif เป็ นพยัญชนะต้ นของสระ Kasrah َ
ด้ วย ‫إ‬
สระและเครือ่ งหมายต่าง ๆ 117
___________________________________________________________________________

อักษรอาหรับเมื่อประกอบกับ Kasrah เสียงยาว

‫ِخي‬ ‫ِحي‬ ‫ِجي‬ ‫ثِي‬ ‫ِت‬ ‫ِب‬ ‫إِي‬


khee Hee jee thee tee bee ee

‫ِشي‬ ‫ِسي‬ ‫ِزي‬ ‫ِري‬ ‫ِذي‬ ‫ِدي‬


shee see zee ree dzee dee

‫ِغي‬ ‫ِعي‬ ‫ِظي‬ ‫ِطي‬ ِ


‫ضي‬ ِ
‫صي‬
ghee Aee Dzee Tee Dee See

‫ِن‬ ‫ِمي‬ ‫ِل‬ ‫كِي‬ ‫قِي‬ ‫ِف‬


nee mee lee kee qee fee

‫يِي‬ ‫ِوي‬ ‫ِهي‬


yee wee hee
118 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

อักษรอาหรับเมื่อประกอบกับ Dammah เสียงสั้น

‫خ‬
ُ ‫ح‬
ُ ‫ج‬
ُ ‫ث‬
ُ ‫ت‬
ُ ‫ب‬
ُ ُ‫أ‬
khu Hu ju thu tu bu u

‫ش‬
ُ ‫س‬
ُ ‫ُز‬ ‫ُر‬ ُ‫ذ‬ ‫ُد‬
shu su zu ru dzu du

ُ‫غ‬ ‫ع‬
ُ ‫ظ‬
ُ ‫ط‬
ُ ‫ض‬
ُ ‫ص‬
ُ
ghu Au Dzu Tu Du Su

‫ُن‬ ‫ُم‬ ‫ُل‬ ‫ُك‬ ‫ُق‬ ‫ف‬


ُ
nu mu lu ku qu fu

‫ي‬
ُ ‫ُو‬ َ‫ه‬
yu wu hu

ข้ อสังเกต

1. เมื่อ Alif ‫ ا‬เป็นพยัญชนะต้นของสระ Dammah ً ต้องมี Hamza ‫ ء‬เป็นส่วนประกอบอยู่บน


Alif ด้วย ‫أ‬
สระและเครือ่ งหมายต่าง ๆ 119
___________________________________________________________________________

อักษรอาหรับเมื่อประกอบกับ Dammah เสียงยาว

‫ُخو‬ ‫ُحو‬ ‫ُجو‬ ‫ثُـو‬ ‫تُـو‬ ‫بُـو‬ ‫أُو‬


khoo Hoo joo thoo too boo oo

‫ُشو‬ ‫ُسو‬ ‫ُزو‬ ‫ُرو‬ ‫ذُو‬ ‫ُدو‬


shoo soo zoo roo dzoo doo

‫غُو‬ ‫ُعو‬ ‫ظُو‬ ‫طُو‬ ‫ضو‬


ُ ‫صو‬
ُ
ghoo Aoo Dzoo Too Doo Soo

‫نُـو‬ ‫ُمو‬ ‫لُو‬ ‫ُكو‬ ‫قُـو‬ ‫فُـو‬


noo moo loo koo qoo foo

‫يُـو‬ ‫ُوو‬ ‫ُهو‬


yoo woo hoo
120 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

❖ ตันวีน ‫تنوين‬

ตันวีน ‫ تنوين‬หรือเรียกอีกอย่างว่า สระคู่ คือสระเสียงสันที


้ ่มีเสียง ‫ ْن‬อยู่ด้วย ตันวีนจะอยูห่ ลัง
คานามในภาษาอาหรับทาหน้ าที่ทางหลักภาษา

ชื่อ ลักษณะ คาอ่าน ออกเสียง ตัวอย่าง คาอ่าน


Fathatan เป็น Fathah 2 ตัว คือ มีขีดเฉียง 2
ขีดบนตัวอักษร َ มักจะมี Alif ‫ ا‬an อัน ‫اب‬ ban
ตามด้ วยเสมอ
Kasratan เป็ น Kasrah 2 ตัว คือมีขีดเฉียง 2
ขีดใต้ ตวั อักษร َ in อิน ‫ب‬ bin

Dammatan เป็ น Dammah 2 ตัว เป็ นอักษร


วาวเล็ก 2 ตัวบนอักษร ‫ ـــــ‬บ้ างก็
เขียนวาวอีกตัวกลับหัว บ้ างก็เขียน un อุน ‫ب‬ bun
วาวหางขยัก َ

ตารางที่ 5.1.2 ตันวีนและการออกเสียง


สระและเครือ่ งหมายต่าง ๆ 121
___________________________________________________________________________

อักษรอาหรับเมื่อประกอบกับ Fathatan

‫خا‬ ‫حا‬ ‫جا‬ ‫ث‬ ‫ت‬ ‫اب‬ ‫ءا‬


khan Han jan than tan ban an

‫شا‬ ‫سا‬ ‫زا‬ ‫را‬ ‫ذا‬ ‫دا‬


shan san zan ran dzan dan

‫غا‬ ‫عا‬ ‫ظا‬ ‫طا‬ ‫ضا‬ ‫صا‬


ghan Aan Dzan Tan Dan San

‫ن‬ ‫ما‬ ‫ـال‬ ‫كا‬ ‫قا‬ ‫فا‬


nan man lan kan qan fan

‫ي‬ ‫وا‬ ‫ها‬


yan wan han

ข้ อสังเกต
1. เมื่ออักษรอาหรับประกอบกับ Fathatan ً จะต้องมี ‫ ا‬ตามหลังเสมอ ยกเว้น ‫ ء‬และ ‫ة‬
2. หากข้างหน้า ‫ ء‬เป็น ‫ ا‬ก็จะไม่มี ‫ ا‬ตามหลัง ‫ ء‬เช่น ً‫ ََسَاء‬ตัวอย่าง ‫ ء‬และตันวีนที่มีอักษรอื่น
นาหน้า ‫ ُس ْوءًا ِرْزءًا َم ْل َجأً َشْي ئًا بَ ِطْي ئًا‬ทุกคาจะลงท้ายด้วยเสียง อัน
122 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

อักษรอาหรับเมื่อประกอบกับ Kasratan

‫خ‬ ‫ح‬ ‫ج‬ ‫ث‬ ‫ت‬ ‫ب‬ ‫إ‬


khin Hin jin thin tin bin in

‫ش‬ ‫س‬ ‫ز‬ ‫ر‬ ‫ذ‬ ‫د‬


shin sin zin rin dzin din

‫غ‬ ‫ع‬ ‫ظ‬ ‫ط‬ ‫ض‬ ‫ص‬


ghin Ain Dzin Tin Din Sin

‫ن‬ ‫م‬ ‫ل‬ ‫ك‬ ‫ق‬ ‫ف‬


nin min lin kin qin fin

‫ي‬ ‫و‬ َ‫ه‬


yin win hin
สระและเครือ่ งหมายต่าง ๆ 123
___________________________________________________________________________

อักษรอาหรับเมื่อประกอบกับ Dammatan

‫خ‬ ‫ح‬ ‫ج‬ ‫ث‬ ‫ت‬ ‫ب‬ ‫أ‬


khun Hun jun thun tun bun un

‫ش‬ ‫س‬ ‫ز‬ ‫ر‬ ‫ذ‬ ‫د‬


shun sun zun run dzun dun

‫غ‬ ‫ع‬ ‫ظ‬ ‫ط‬ ‫ض‬ ‫ص‬


ghun Aun Dzun Tun Dun Sun

‫ن‬ ‫م‬ ‫ل‬ ‫ك‬ ‫ق‬ ‫ف‬


nun mun lun kun qun fun

‫ي‬ ‫و‬ َ‫ه‬


yun wun hun

.
124 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

❖ สัญลักษณ์ตัวสะกด

สัญลักษณ์ตัวสะกดจะปรากฏอยู่บนอักษรที่เป็นตัวสะกดของอักษรก่อนหน้า สัญลักษณ์ตัวสะกดมีอยู่
2 ชนิด คือ Sukun และ Shaddah

ชื่อ ลักษณะ สัญลักษณ์ ตัวอย่าง คาอ่าน

เครื่องหมายที่มีรปู ร่างโค้งเกือบจะเป็น
Sukun วงกลม หรืออยู่ในรูปที่คล้ายวงกลม อยู่ َ ‫بَت‬ bat
เหนืออักษรทีจ่ ะเป็นตัวสะกด

เครื่องหมายที่มีรปู ร่างคล้ายหัวของอักษร
‫ س‬อยู่เหนืออักษรทีจ่ ะเป็นตัวสะกด
Shaddah นอกจากตัวอักษรนั้นจะเป็นตัวสะกดแล้ว َّ ‫بَت‬ bat-ta
ยังทาหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์
ถัดไปด้วย

ตารางที่ 5.1.3 ลักษณะและการอ่าน Sukun และ Shaddah


สระและเครือ่ งหมายต่าง ๆ 125
___________________________________________________________________________

เมื่อรู้จักตัวอักษรภาษาอาหรับแบบต่าง ๆ สระและสัญลักษณ์ทางเสียงไปแล้ว ต่อไปลอง


ผสมอักษร และลองฝึกอ่านคาศัพท์ภาษาอาหรับ อาจดูคาอ่านอักษรโรมันเป็นส่วนประกอบ

ความหมาย คาอ่าน คาศัพท์ ส่วนประกอบ อักษรเดี่ยว


บ้าน bayt ‫بَْيت‬ ‫بيت‬ ‫بيت‬
ขนมปัง khubz ‫ُخْبز‬ ‫خبز‬ ‫خبز‬
นักศึกษา Taa-lib ‫طَالِب‬ ‫ط ال ب‬ ‫طالب‬
มะกอก zay-toon ‫َزيْتُ ْون‬ ‫زي ت ون‬ ‫زيتون‬
ขอบคุณ shuk-ran ‫ُشكًْرا‬ ‫ش ك را‬ ‫شكرا‬
โรงพยาบาล mus-tash-faa ‫م س ت ش ف ى ُم ْستَ ْش َفى‬ ‫مستش‬
‫فى‬
ข้าวโพด dzur-rah ‫ذُ َّرة‬ ‫ذ ّر ة‬ ‫ذررة‬
รถยนต์ say-yaa-rah ‫َسيَّ َارة‬ ‫س يّ ا ر ة‬ ‫سييارة‬
แอปเปิล้ tuf-faaH ‫تُ َّفاح‬ ‫ت ّف ا ح‬ ‫تففاح‬
พยาบาล mu-mar-ri- ‫ض ِة‬
َ ‫مَُمِّر‬ ‫م م ّر ض ة‬ ‫ممررضة‬
Dah
อย่างดี jay-ji-dan ‫َجيِّ ًدا‬ ‫ج يّ د ا‬ ‫جييدا‬

ตารางที่ 5.1.4 การผสมอักษรภาษาอาหรับ


126 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 5

เลือกคาตอบที่ถูกต้องเพียงคาตอบเดียว
1. ภาษาอาหรับมีสระกีร่ ูป
a. 3 b. 4
c. 5 d. 6
2. ภาษาอาหรับมีเสียงสระกีเ่ สียง
a. 3 b. 4
c. 5 d. 6
3. สระในข้อใดเมื่อประกอบกับ ‫ ا‬ต้องมี ‫ ء‬อยู่ใต้ ‫ا‬
a. fathah b. kasrah
c. dammah d. sukun
4. ข้อใดคือเครื่องหมายตัวสะกด
a. ً b. ً
c. ً d. ً
5. ข้อใดคือเครื่องหมายทีม่ ีการซ้าตัวอักษร
a. ً b. ً
c. ً d. ً
สระและเครือ่ งหมายต่าง ๆ 127
___________________________________________________________________________

6. เครื่องหมายตันวีน หรือสระคู่ จะมีเสียงสระปกติผสมกับเสียงใด


a. ‫م‬ b. ‫ن‬
c. ‫و‬ d. ‫ك‬
7. สระเสียงอี คือสระที่มีตวั อักษรใดเป็ นตัวสะกด
a. ‫ا‬ b. ‫و‬
c. ‫ي‬ d. ‫ء‬
8. ข้อใดอ่านถูกต้อง
a. ‫ ص‬ซะ b. ‫ ض‬ดะ

c. ‫ ظ‬ตะ d. ‫ ك‬กะ
9. ข้อใดเขียนได้ถูกต้อง
a. ‫إ‬ b. ‫إ‬
c. ‫أ‬ d. ‫إ‬
10. ข้อใดอ่านถูกต้อง
a. ‫قبل‬ qib-la b. ‫ مد‬mad
c. ‫ صبرا‬Sab-ra d. ‫ قلم‬qa-la-mun
หลักภาษาอาหรับพื้นฐาน 129
___________________________________________________________________________

บทที่ 6

หลักภาษาอาหรับพื้นฐาน
130 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

แผนการสอนประจาบทที่ 6

เนือ้ หา
ประเภทของคา เพศ และพจน์

แนวคิด
1. ภาษาอาหรับแบ่งคาออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ‫ اسم‬Ism ‫ فعل‬Fe’l และ ‫حرف‬
Harf
2. คาภาษาอาหรับมี 2 เพศ คือ เพศชาย และเพศหญิง
3. คาภาษาอาหรับมี 3 พจน์ คือ เอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์

วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาบทที่ 2 จบแล้ว ผูเ้ รียนสามารถ


1. อธิบายลักษณะการแบ่งคาภาษาอาหรับได้
2. อธิบายลักษณะของคาทีเ่ ป็นเพศชายและเพศหญิงได้
3. อธิบายลักษณะของพจน์ต่าง ๆ ในภาษาอาหรับได้

กิจกรรม
1. สังเกตคาภาษาอาหรับ และจาแนกเพศของคา
2. ฝึกผันคาภาษาอาหรับทั้งเอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์
3. ทาแบบทดสอบหลังเรียนประจาบทที่ 6
หลักภาษาอาหรับพื้นฐาน 131
___________________________________________________________________________

หลายบททีผ่ ่านมา เนื้อหาหลักเป็นเรื่องของการออกเสียง การอ่าน และการเขียนภาษา


อาหรับ ซึ่งเป็นพื้นฐานสาคัญของผูเ้ ริ่มเรียนภาษาอาหรับทุกคน ในบทนี้จะกล่าวถึงไวยากรณ์ภาษา
อาหรับเบื้องต้นพอสังเขป เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกสังเกตและพิจารณาคาภาษาอาหรับขณะที่กาลังฝึกอ่าน
ฝึกเขียน

❖ ประเภทของคาภาษาอาหรับ

คาภาษาอาหรับแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ


‫ اِ ْس ٌم‬คือ คาที่มีความหมายสามารถเข้าใจได้โดยอิสระไม่มเี รื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่
คานาม สรรพนาม คุณศัพท์ กริยาวิเศษณ์ เช่น ‫ َسيَّ َارة‬รถยนต์ ‫ َس َع َادة‬ความสุข ‫ت‬ َ ْ‫أَن‬
َِ สวย ‫ َكثِْية‬มาก
คุณ ‫َجْي لَة‬ َْ
‫ فِ ْع ٌل‬คือ คาที่มีความหมายสามารถเข้าใจได้โดยอิสระและมีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง
ได้แก่ กริยา เช่น ‫ فَتَ َح‬เขาเปิดแล้ว ‫ يَ ْفتَ ُح‬เขาเปิด ‫ اِْف تَ ْح‬จงเปิด
‫ف‬
ٌ ‫ َح ْر‬คือ คาอนุภาค หรือ คาที่ไม่สามารถอยู่ได้โดยอิสระ ได้แก่ คาบุรพบท คาสันธาน และคาที่
ต้องไปประกอบกับคาอื่น เช่น ‫ب‬ ِ ด้วย ‫ َعلَى‬บน ْ‫ َل‬ไม่
132 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

❖ เพศ

คาภาษาอาหรับเมื่อพิจารณาตามเพศ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
‫ُم َذ َّك ُر‬ ‫ب‬ ِ
คาเพศชาย เช่น ٌ ‫ طَبْي‬แพทย์
‫َّث‬
ٌ ‫ ُم َؤن‬คาเพศหญิง เช่น ‫ طَبِْي بَة‬แพทย์หญิง

คานามเพศหญิงส่วนใหญ่มกั จะลงท้ายด้วยอักษรต่อไปนี้

อักษรที่เพิ่มเข้าไปท้ายคา คาเพศชาย คาเพศหญิง ความหมาย


1 ‫ة‬ ‫طبيب‬ ‫طَبِْي بَة‬ แพทย์

taa’ mar-boo-Tah Ta-beeb Ta-bee-bah

2 ‫ى‬ ‫َح َسن‬


ْ‫أ‬ ‫ُح ْسنَ ى‬ ดีกว่า

a-lif maq-Soo-rah aH-san Hus-naa


3 ‫ء‬ ‫َح َسن‬ ‫َح ْسنَاء‬ ดี

ham-zah Ha-san Has-naa’

ตารางที่ 6.1.1 คาเพศหญิง

คาภาษาอาหรับเมื่อมีการผันมาจากรากศัพท์แล้วจะเป็นเพศชาย เมื่อต้องการสร้างคา Ism ทีเ่ ป็น


คานาม คุณศัพท์ หรือกริยาวิเศษณ์ให้เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่จะเพิ่ม ‫ ة‬เข้าไปทีท่ ้ายคา แต่ทั้งนี้ก็ต้อง
พิจารณาตามหลักการสร้างคา หรือการใช้ของคนอาหรับด้วย
หลักภาษาอาหรับพื้นฐาน 133
___________________________________________________________________________

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

คาเพศหญิง คาเพศชาย คาเพศหญิง คาเพศชาย


‫ُم َهْن ِد َسة‬ ‫ُم َهْن ِدس‬ ‫طَالِبَة‬ ‫ب‬ ِ
ٌ ‫طَال‬
mu-han-di-sah mu-han-dis Taa-li-bah Taa-lib
วิศวกร (หญิง) วิศวกร (ชาย) นักศึกษา(หญิง) นักศึกษา(ชาย)

‫فَائَِزة‬ ‫فَائِز‬ ‫ُم ِديْ َرة‬ ‫ُم ِديْر‬


faa-i-zah faa-iz mu-dee-rah mu-deer
สวย หล่อ ใหญ่ ใหญ่

َِ
‫َجْي لَة‬ َِ
‫َجْيل‬ ‫قَلِْي لَة‬ ‫قَلِْيل‬
jameelah jameel qa-lee-lah qa-leel
สวย หล่อ เล็ก เล็ก

‫َسعِْي َدة‬ ‫َسعِْيد‬ ‫َكبِ ْ َْية‬ ‫َكبِ ْْي‬


sa-Aee-dah sa-Aeed kabeerah kabeer
มีความสุข มีความสุข ใหญ่ ใหญ่
134 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

❖ พจน์
พจน์ หรือ จานวนในภาษาอาหรับมี 3 พจน์ คือ เอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์

‫ ُم ْفَرٌد‬เอกพจน์ คือ คาที่มีหมายถึง หนึ่ง สิง่ เดียว อันเดียว หรือคนเดียว


เช่น ‫ يَ ْفَر ُح‬เขา(หนึ่งคน)ดีใจ ‫س‬ ِ
ٌ ‫ُم َد ّر‬ ครู(หนึ่งคน)

‫ ُمثَ َّّن‬ทวิพจน์ คือ คาที่มีความหมายสอง สองสิ่ง สองอัน หรือสองคน


เช่น ‫ان‬ ِ ‫ ي ْفرح‬เขา(สองคน)ดีใจ ِ ‫م َد ِرس‬
‫ان‬ ครู(สองคน)
ََ َ َّ ُ
‫ َجَْ ٌع‬พหูพจน์ คือ คาที่มีความหมายมากกว่าสอง หรือจานวนตั้งแต่สามเป็นต้นไป
เช่น ‫ يَ ْفَر ُح ْو َن‬พวกเขาดีใจ ‫ ُم َد ِّر ُس ْو َن‬ครู(หลายคน)

การเปลี่ยนคานามเอกพจน์ให้เป็นคานามทวิพจน์
• ทวิพจน์เพศชาย
1. เพิ่ม ‫ ان‬ไปที่ท้ายคา โดยให้สระก่อน ‫ ان‬เป็นสระฟัตฮะห์ ََ และสระที่ ‫ ن‬ของ ‫ان‬
เป็นสระกัสเราะห์ َِ ท้ายคาก็จะอ่านว่า ...a-ni
2. ถ้าคานั้นทาหน้าที่เป็นกรรมของประโยค ให้เปลี่ยนจาก ‫ ان‬เป็ น ‫ ين‬โดยให้สระก่อน ‫ين‬
เป็นสระฟัตฮะห์ ََ ให้อกั ษร ‫ ي‬เป็นตัวสะกด และให้สระที่ ‫ ن‬ของ ‫ ين‬เป็นสระกัสเราะห์
َِ ท้ายคาก็จะอ่านว่า ...ay-ni

• ทวิพจน์เพศหญิง
หากคานั้นเป็นคาเพศหญิง ให้เปลี่ยน ‫( ة‬taa’ กลม) ให้เป็น ‫( ت‬taa’ แบน) ก่อน แล้วจึง
ดาเนินการเช่นเดียวกับการทาทวิพจน์เพศชาย
หลักภาษาอาหรับพื้นฐาน 135
___________________________________________________________________________

ดูตัวอย่างการผันคาจากตารางต่อไปนี้
ความหมาย เอกพจน์ ส่วนประกอบ ทวิพจน์
ครู(ชาย) ‫ُم َد ِّرس‬ ‫ ِان‬+ ‫ُم َد ِّرس‬ ِ ‫م َد ِرس‬
‫ان‬ َّ ُ
mu-dar-ris mu-dar-ris + aa-ni mu-dar-ri-saa-ni
หรือ mu-dar-ri-saan
ครู(หญิง) ‫ُم َد ِّر َسة‬ ‫ ِان‬+ ‫ُم َد ِّر َسة‬ ِ َ‫م َد ِرست‬
‫ان‬ َّ ُ
mu-dar-ri-sah mu-dar-ri-sah + aa-ni mu-dar-ri-sa-taa-ni
หรือ mu-dar-ri-sa-taan
ครู(ชาย) ‫ُم َد ِّرس‬ ‫ يْ ِن‬+ ‫ُم َد ِّرس‬ ِ ْ ‫ُم َد ِّر َس‬
‫ي‬
mu-dar-ris mu-dar-ris + ay-ni mu-dar-ri-say-ni
หรือ mu-dar-ri-sayn
ครู(หญิง) ‫ُم َد ِّر َسة‬ ‫ يْ ِن‬+ ‫ُم َد ِّر َسة‬ ِ ْ َ‫ُم َد ِّر َست‬
‫ي‬
mu-dar-ri-sah mu-dar-ri-sah + ay-ni mu-dar-ri-sa-tay-ni
หรือ mu-dar-ri-sa-tayn

ตารางที่ 6.1.2 การเปลี่ยนคาเอกพจน์เป็นทวิพจน์


หมายเหตุ:
1. mu-dar-ri-saa-ni เป็นการออกเสียงแบบเต็ม โดยอ่านสระที่ท้ายคา ส่วน mu-dar-ri-saan
เป็นการออกเสียงแบบหยุด (waqf) ท้ายคาจะเป็นตัวสะกด การออกเสียงโดยให้ท้ายคาเป็น
ตัวสะกดพบมากในภาษาพูด
2. ในคาเพศหญิงที่ลงท้ายคาด้วย ‫( ة‬taa’ กลม) เมื่ออ่านแบบเต็ม จะออกเสียงแบบ ‫( ت‬taa’
แบน) คือ ต. เช่น ٌ‫ ُم َد ِّر َسة‬mu-dar-ri-sa-tun เมือ่ อ่านแบบหยุด จะออกเสียงแบบ ‫ه‬
/h/ เช่น ٌ‫ ُم َد ِّر َسة‬mu-dar-ri-sah ฉะนั้นเมื่อเมื่อเปลี่ยนคาเอกพจน์เป็นทวิพจน์ ให้เปลี่ยน
จาก ‫( ة‬taa’ กลม) เป็น ‫( ت‬taa’ แบน) เสียก่อนแล้วจึงเพิ่มส่วนท้ายเข้ามา
136 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

คาพหูพจน์
คาพหูพจน์ในภาษาอาหรับแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. พหูพจน์เพศชาย ‫ ( َجع املذكر السال‬jam-Aul-mu-dzak-ka-ris-saa-lim)

เช่น ‫ ُم َهْن ِد ُس ْو َن‬มาจาก ‫ُم َهْن ِدس‬

2. พหูพจน์เพศหญิง ‫ ( َجع املؤنث السال‬jam-Aul-mu-an-na-this-saa-lim)

เช่น ‫ ُم َهْن ِد َسات‬มาจาก ‫ُم َهْن ِد َسة‬

3. พหูพจน์ผันไม่ปกติ ‫َجع التكسْي‬ ( jam-Aut-tak-seer)

เช่น ‫طََُّّلب‬ มาจาก ‫طَالِب‬

การเปลี่ยนคานามเอกพจน์ให้เป็นคานามพหูพจน์
• พหูพจน์เพศชาย
1. เพิ่ม ‫ ون‬ไปที่ท้ายคา โดยให้สระก่อน ‫ ون‬เป็นสระฎอมมะห์ ً และให้สระ ‫ ن‬เป็นฟัต
ฮะห์ ً ท้ายคาก็จะอ่านว่า ...oo-na
2. ถ้าคานั้นทาหน้าที่เป็นกรรมของประโยค ให้เปลี่ยนจาก ‫ ون‬เป็ น ‫ ين‬โดยให้สระก่อน ‫ين‬
เป็นสระกัสเราะห์ َِ ให้อักษร ‫ ي‬เป็นตัวสะกด และให้สระที่ ‫ ن‬ของ ‫ ين‬เป็นสระฟัต
ฮะห์ ََ ท้ายคาก็จะอ่านว่า ...ee-ni

• พหูพจน์เพศหญิง
เพิ่ม ‫ ات‬เข้าไปที่ท้ายคาเอกพจน์เพศชาย โดยให้สระก่อน ‫ ات‬เป็นสระฟัตฮะห์ ً ท้ายคา
ก็จะออกเสียงว่า …aat หรือเติม ‫ ا‬ไปข้างหน้า ‫( ة‬taa’ กลม) ของคาเอกพจน์เพศหญิง และ
เปลี่ยน ‫( ة‬taa’ กลม) ให้เป็น ‫( ت‬taa’ แบน)
หลักภาษาอาหรับพื้นฐาน 137
___________________________________________________________________________

• พหูพจน์ผันไม่ปกติ12
การสร้างคาไม่เป็นไปตามกฎการผันพหูพจน์เพศชาย และพหูพจน์เพศหญิง แต่เป็นการผัน
คาที่ใช้โครงสร้างแบบอื่น ซึ่งก็มหี ลายโครงสร้าง ขึ้นอยู่กับว่าคานั้น มีการใช้มาอย่างไร เช่น
‫ َوقْت‬waqt พหูพจน์คือ ‫ أ َْوقَات‬aw-qaat
‫ طَالب‬Taa-lib พหูพจน์คือ ‫ طََُّّلب‬Tul-laab

ดูตัวอย่างการผันคาพหูพจน์เพศชายและพหูพจน์เพศหญิงจากตารางต่อไปนี้

ความหมาย เอกพจน์ ส่วนประกอบ ทวิพจน์


ครู(ชาย) ‫ُم َد ِّرس‬ ‫ ْو َن‬+ ‫ُم َد ِّرس‬ ‫ُم َد ِّر ُس ْو َن‬
mu-dar-ris mu-dar-ris + oo-na mu-dar-ri-soo-na
หรือ mu-dar-ri-soon
‫ُم َد ِّرس‬ ‫ يْ َن‬+ ‫ُم َد ِّرس‬ ِ
ครู(ชาย) َ ْ ‫ُم َد ِّرس‬
‫ي‬
mu-dar-ris mu-dar-ris + ee-na mu-dar-ri-see-na
หรือ mu-dar-ri-seen
ครู(หญิง) ‫ُم َد ِّر َسة‬ ‫ ات‬+ ‫ُم َد ِّرس‬ ‫ُم َد ِّر َسات‬
mu-dar-ri-sah mu-dar-ris + …aat mu-dar-ri-saat

ตารางที่ 6.1.3 การเปลี่ยนคาเอกพจน์เป็นพหูพจน์


หมายเหตุ:
1. ‫ ُم َد ِّر َسات‬mu-dar-ri-saat เป็นการออกเสียงแบบหยุด (waqf) ท้ายคาจะเป็นตัวสะกด
ส่วนการอ่านออกเสียงสระท้าย ต้องพิจารณาว่าคานั้นทาหน้าที่ใดในประโยค

12
ในหลักสูตรนี ้จะไม่กล่าวถึงวิธีการผันพหูพจน์ไม่ปกติ เนื่องจากมีรายละเอียดค่อนข้ างเยอะ
138 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 6

เลือกคาตอบที่ถูกต้องเพียงคาตอบเดียว
1. อิสม์ ‫ اسم‬ในภาษาอาหรับหมายถึงข้อใด
a. กริยา b. คานาม
c. สันธาน d. บุพบท

2. คาอนุภาคของภาษาอาหรับตรงกับข้อใด
a. สันธาน b. บุพบท
c. คาเชื่อม d. ถูกทุกข้อ

3. กริยาภาษาอาหรับมีกปี่ ระเภท อะไรบ้าง


a. 2 ประเภท กริยาอดีต และกริยาปัจจุบัน b. 3 ประเภท กริยาอดีต กริยาปัจจุบัน
และกริยาอนาคต
c. 3 ประเภท กริยาอดีต กริยาปัจจุบัน/ d. 4 ประเภท กริยาอดีต กริยาปัจจุบัน
อนาคต และกริยาคาสัง่ กริยาอนาคต และกริยาคาสั่ง

4. ภาษาอาหรับแบ่งออกเป็นกี่พจน์ อะไรบ้าง
a. 3 พจน์ เอกพจน์ ทวิจน์ ไวพจน์ b. 3 พจน์ เอกพจน์ พหูพจน์ ไวพจน์
c. 3 พจน์ เอกพจน์ ทวิพจน์ พหูพจน์ d. 4 พจน์ เอกพจน์ ทวิพจน์ ตรีพพจน์
พหูพจน์

5. ข้อใดมีจานวนสอง
ِ ‫م َد ِرس‬
a. ‫ان‬ b. ‫َم ْد َر َسة‬
َّ ُ
c. ‫ُم َد ِّرس‬ d. ‫ُم َد ِّر ُس ْو َن‬
หลักภาษาอาหรับพื้นฐาน 139
___________________________________________________________________________

6. ข้อใดเป็นคาเพศหญิง
a. ‫بَْيت‬ b. ‫طَالِبَة‬
c. ‫كِتَاب‬ d. ‫قَ لَم‬

7. ข้อใดเป็นคาเพศชาย
a. ‫تِْل ِمْي َذة‬ b. ‫أ ََْسَى‬
c. ‫بَْيت‬ d. ‫َس ْوَداء‬

8. ข้อใดเป็นพหูพจน์เพศหญิง
a. ‫طَالِبَات‬ b. ‫بَْيت‬
c. ‫ُم ْسلِ ُم ْون‬ d. ‫َزِمْي لَتَان‬

9. ข้อใดเป็นพหูพจน์เพศชาย
a. ‫ي‬ ِ ْ ‫ص ِديْ َق‬َ b. ‫ي‬ ِِ
َ ْ ‫صديْق‬َ
c. ‫ي‬ ِ ْ َ‫ص ِديْ َقت‬
َ
ِ ‫ص ِدي َق‬
d. ‫ان‬ ْ َ

10. ข้อใดเป็นพหูพจน์ผันไม่ปกติ
a. ‫ي‬ ِِ
َ ْ ‫قَائم‬ b. ‫ُم َهْن ِد ُس ْو َن‬
c. ‫ي‬ ِ ْ ‫ص ِديْ َق‬
َ d. ‫أَقْ ََّلم‬
แบบทดสอบหลังเรียน 140
___________________________________________________________________________

แบบทดสอบหลังเรียน

1. ข้อใดถูกต้อง
a. ตัวเลขอาหรับเขียนจากขวาไปซ้าย b. ตัวเลขอาหรับเขียนจากซ้ายไปขวา
c. ตัวเลขอาหรับตะวันออก เลขศูนย์ d. ตัวเลขอาหรับตะวันตก เลขศูนย์ คือ
คือ 0 (วงรี) . (จุด)

2. ข้อมีอักษร ‫ ك‬เป็นส่วนประกอบ
a. ‫ليمون‬ b. ‫فصل‬
c. ‫مكتب‬ d. ‫أل‬

3. ข้อใดถูกต้อง
a. ประโยคที่มีคาตอบเป็นใช่หรือไม่ b. ประโยคที่มีคาตอบเป็นใช่หรือไม่
ท้ายเสียงจะยกสูงขึ้น ท้ายเสียงจะลดต่าลง
c. ประโยคที่มีคาตอบเป็นใช่หรือไม่ d. ประโยคที่มีคาตอบเป็นใช่หรือไม่
ท้ายเสียงจะเป็นแนวราบ ท้ายเสียงจะเป็นลูกคลื่น

4. ข้อใดทาให้เสียง อิ ยาวเป็นเสียง อี
a. ‫ا‬ b. ‫و‬
c. ‫ي‬ d. ‫ء‬

5. อักษรใดไม่มจี ุด
a. taa’ b. dzaal
c. khaa’ d. seen
หลักภาษาอาหรับพื้นฐาน 141
___________________________________________________________________________

6. อักษรใดที่ออกเสียงตรงกับอักษรไทย
a. ‫ص‬ b. ‫ض‬

c. ‫ن‬ d. ‫ق‬

7. ภาษาอาหรับมีสระกี่เสียง
a. 3 b. 4
c. 5 d. 6
8. ข้อใดคือเครื่องหมายตัวสะกด
a. َِ b. َُ

c. َْ d. ََ

9. ข้อใดเป็นคาเพศหญิง
a. ‫صيف‬ b. ‫ص ْحَراء‬
َ
c. ‫قلمي‬ d. ‫له‬

10. ข้อใดเป็นพหูพจน์เพศชาย
ِ ‫جالِس‬
a. ‫ان‬ b. ‫َجالِس‬
َ َ
c. ‫َجالِسات‬ d. ‫َجالِ ُس ْو َن‬
َ
142 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

ภาคผนวก
ตารางเทียบเสียงภาษาอาหรับ-อังกฤษ-ไทย
ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย
อักษร ชื่ออักษร
‫أ‬ alif a ในคาว่า apple อ
‫ب‬ baa’ b บ
‫ت‬ taa’ t ในคาว่า stop ต
‫ث‬ thaa’ th ในคาว่า thin -
‫ج‬ jeem j ในคาว่า jam -
‫ح‬ Haa’ - -
‫خ‬ khaa’ - -
‫د‬ daal d ด
‫ذ‬ dzaa’ th ในคาว่า that -
‫ر‬ raa’ - ร
‫ز‬ zaay z -
‫س‬ seen s ซ
‫ش‬ sheen sh ในคาว่า she -
‫ص‬ Saad - -
‫ض‬ Daad - -
‫ط‬ Taa’ - -
‫ظ‬ Dzaa’ - -
‫ع‬ Aayn - -
‫غ‬ ghayn - -
ภาคผนวก 143
___________________________________________________________________________

ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย


อักษร ชื่ออักษร
‫ف‬ faa’ f ฟ
‫ق‬ qaaf - -
‫ك‬ kaaf k ในคาว่า sky ก
‫ل‬ laam l ล
‫م‬ meem m ม
‫ن‬ noon n น
‫ه‬ haa’ h ฮ
‫و‬ waaw w ว
‫ي‬ yaa’ y ย
‫‪144‬‬ ‫‪ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น‬‬
‫___________________________________________________________________________‬

‫‪พยัญชนะภาษาอาหรับ‬‬

‫‪ตัวท้าย‬‬ ‫‪ตัวกลาง‬‬ ‫‪ตัวเริ่ม‬‬ ‫‪ตัวเดี่ยว‬‬

‫ـ ـأ‬ ‫ـ ـأ‪...‬‬ ‫أ‬ ‫أ‬


‫نـبـأ‬ ‫سـأل‬ ‫أمـل‬

‫ـ ـا‬ ‫ـ ـا‪...‬‬ ‫ا‬ ‫ا‬


‫مـا‬ ‫ب ـاب‬ ‫‪...‬‬

‫ـ ـب‬ ‫ـ ـبـ ـ ـ‬ ‫بـ ـ ـ‬ ‫ب‬


‫حـبـيـب‬ ‫حـبـيـب‬ ‫بــاب‬

‫ــت‬ ‫ـ ـت ـ ـ‬ ‫تـ ـ‬ ‫ت‬


‫ذهـب ـت‬ ‫ستة‬ ‫تـ ـفـاح‬

‫ـ ـث‬ ‫ـ ـث ـ ـ‬ ‫ثـ ـ‬ ‫ث‬


‫مـثـلـث‬ ‫مـثـلث‬ ‫ثـلج‬

‫ـ ــج‬ ‫ـ ـج ـ ـ‬ ‫جــ‬ ‫ج‬


‫بـيـج‬ ‫فـجـر‬ ‫جــمل‬
‫‪ภาคผนวก‬‬ ‫‪145‬‬
‫___________________________________________________________________________‬

‫‪ตัวท้าย‬‬ ‫‪ตัวกลาง‬‬ ‫‪ตัวเริ่ม‬‬ ‫‪ตัวเดี่ยว‬‬

‫ــح‬ ‫ـ ـحـ ـ‬ ‫حـ ـ‬ ‫ح‬


‫بـلـح‬ ‫ب ـحـر‬ ‫حــمل‬

‫ـ ــخ‬ ‫ـ ـخ ـ ـ‬ ‫خـ ـ‬ ‫خ‬


‫ط ـب ـخ‬ ‫نـ ـ ـخ ـل‬ ‫خ ـري‬

‫ــد‬ ‫ــد ‪...‬‬ ‫د ‪...‬‬ ‫د‬


‫قد‬ ‫م ـدت‬ ‫دب‬

‫ــذ‬ ‫ــذ ‪...‬‬ ‫ذ ‪...‬‬ ‫ذ‬


‫نـبـيـذ‬ ‫ي ـذهب‬ ‫ذهب‬

‫ــر‬ ‫ــر ‪...‬‬ ‫ر ‪...‬‬ ‫ر‬


‫م ـر‬ ‫ف ـراولة‬ ‫ريــح‬

‫ــز‬ ‫ــز ‪...‬‬ ‫ز ‪...‬‬ ‫ز‬


‫خبز‬ ‫وزارة‬ ‫زرافة‬

‫ــس‬ ‫ـ ـس ـ ـ‬ ‫سـ ـ‬ ‫س‬


‫مالبس‬ ‫مستشفى‬ ‫سنة‬
‫‪146‬‬ ‫‪ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น‬‬
‫___________________________________________________________________________‬

‫‪ตัวท้าย‬‬ ‫‪ตัวกลาง‬‬ ‫‪ตัวเริ่ม‬‬ ‫‪ตัวเดี่ยว‬‬

‫ــش‬ ‫ـشـ ـ‬ ‫شـ ـ‬ ‫ش‬


‫قريش‬ ‫مستشفى‬ ‫شــمس‬

‫ــص‬ ‫ـ ـص ـ ـ‬ ‫صـ ـ‬ ‫ص‬


‫نص‬ ‫مصطفى‬ ‫صوم‬

‫ــض‬ ‫ـضـ ـ‬ ‫ضـ ـ‬ ‫ض‬


‫بيض‬ ‫مضرب‬ ‫ضوء‬

‫ــط‬ ‫ـ ـطـ ـ‬ ‫طـ ـ‬ ‫ط‬


‫فقط‬ ‫يطلب‬ ‫طالب‬

‫ـظ‬ ‫ـظ ـ‬ ‫ظـ ـ‬ ‫ظ‬


‫حظ‬ ‫مظلة‬ ‫ظلم‬

‫ــع‬ ‫ـ ـعـ ـ‬ ‫عـ ـ‬ ‫ع‬


‫بع‬ ‫م ـعلم‬ ‫عــني‬

‫ــغ‬ ‫ـ ـغـ ـ‬ ‫غـ ـ‬ ‫غ‬


‫ابلغ‬ ‫مغرب‬ ‫غــمامة‬
‫‪ภาคผนวก‬‬ ‫‪147‬‬
‫___________________________________________________________________________‬

‫‪ตัวท้าย‬‬ ‫‪ตัวกลาง‬‬ ‫‪ตัวเริ่ม‬‬ ‫‪ตัวเดี่ยว‬‬

‫ــف‬ ‫ـ ـفـ ـ‬ ‫فـ ـ‬ ‫ف‬


‫صيف‬ ‫تفاح‬ ‫فوق‬

‫ــق‬ ‫ـ ـقـ ـ‬ ‫قـ ـ‬ ‫ق‬


‫صديق‬ ‫نقرأ‬ ‫قلم‬

‫ــك‬ ‫ـــكـــ‬ ‫كـ ـ ـ‬ ‫ك‬


‫ســمك‬ ‫مكتب‬ ‫كتاب‬

‫ــل‬ ‫ـ ـلـ ـ‬ ‫لـ ـ‬ ‫ل‬


‫جبل‬ ‫علم‬ ‫ليمون‬

‫ــم‬ ‫ـ ـمـ ـ‬ ‫مـ ـ‬ ‫م‬


‫كم‬ ‫حـمام‬ ‫مدرسة‬

‫ــن‬ ‫ـ ـنـ ـ‬ ‫نـ ـ‬ ‫ن‬


‫من‬ ‫تنورة‬ ‫نـجم‬

‫ــه‬ ‫ـ ـهـ ـ‬ ‫هـ ـ‬ ‫ه‬


‫له‬ ‫قهوة‬ ‫هي‬
‫‪148‬‬ ‫‪ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น‬‬
‫___________________________________________________________________________‬

‫‪ตัวท้าย‬‬ ‫‪ตัวกลาง‬‬ ‫‪ตัวเริ่ม‬‬ ‫‪ตัวเดี่ยว‬‬

‫ــو‬ ‫ــو‪...‬‬ ‫و ‪...‬‬ ‫و‬


‫هو‬ ‫يقول‬ ‫وردة‬

‫ــي‬ ‫ـ ـيـ ـ‬ ‫يـ ـ‬ ‫ي‬


‫فـ ي‬ ‫بيت‬ ‫يوم‬
149 ภาษาอาหรับเบื้องต้น
___________________________________________________________________________

บรรณานุกรม

- Abdul al Sabour, S. (1983). ʿilmul ʼaswāt. Maktabah al Shabāb; Cairo (in


Arabic).
- Abdul Hameed, M. (2003). Al madkhal fī al ʿilmi al lughah. Azhar University
Press; Cairo. (in Arabic).
- BBC. (n.d.). A Guide to Arabic - The Arabic alphabet. Retrieved September
15,2017 from
http://www.bbc.co.uk/languages/other/arabic/guide/alphabet.shtml.
- Healey, J. F., Smith, G. R. (2012). A Brief Introduction to The Arabic
Alphabet. Saqi; London.
- Imran Hamza Alalawiye. (n.d.). GateWay to Arabic Book 1. Retrieved
September 15,2017 from
https://kalamullah.com/Books/GateWay%20to%20Arabic%20Book%201.pdf
- Mahdi Al-Sayyid Mahmood. (n.d.). ʿAllim nafsak al khutūt al arabīyah. Ibn
Sina Bookshop; Cairo. (in Arabic)
- Mohammad, I., Soleh, Abdul Karim, M. & Abdul Rahman, I. (1989).
Qawāʿid al ’imla’. Miftah el Uloom el Deeneeyah College; Bangkok. (in
Arabic)
- Muhammad Abdul Ruuf. (2004). Arabic for English Speaking Students. Al
AHRAM Commercial Press; Cairo.
- Muhammad, M. (2002). ʿilmul al Tajwīd al qurān. Al Azhar University Press;
Cairo. (in Arabic).
- The Editors of Encyclopaedia Britannica. (2016). Arabic alphabet. Retrieved
September 15,2017 from https://www.britannica.com/topic/Arabic-alphabet
- V. Abdurrahim. (n.d.). Madina book 1. Retrieved September 15,2017 from
https://abdurrahmanorg.files.wordpress.com/2014/01/madina-book-1-arabic-
text-dr-v-abdurrahim.pdf
150 ภาษาอาหรับเบือ้ งต้น
___________________________________________________________________________

You might also like