Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

ระเบียบกระทรวงกลาโหม

วาดวย การคํานวณวันหนีราชการของทหาร
พ.ศ. ๒๔๙๗
-------------------------
โดยที่ปรากฏวา สวนราชการตาง ๆ คํานวณวันหนีราชการของทหารยัง
ไมลงรอยเดียวกัน เปนเหตุใหผูกระทําผิดในระยะเวลาเทากัน ตองถูกสงคดีขึ้นศาลบาง
ถูกลงทัณฑทางวินัยบาง ทั้งนี้ก็โดยถือวิธีคํานวณตาง ๆ กันนั่นเอง แตก็เปนการยากที่
จะวางกฎเกณฑการคํานวณใหปราศจากปญหาได เชน เมื่อถือเอาปตามสุริยคติกาลและ
๓๐ วัน เทากับ ๑ เดือน ตามหลักกฎหมายเปนแนวคํานวณ ก็ยังเกิดปญหาขึ้นไดวา
ถาหนี ๓๖๐ ถึง ๓๖๔ วัน จะถือวาหนีกี่เดือนกี่วัน หากจะถือวาหนี ๓๖๐ วัน เทากับ
๑๒ เดือน (๑ ป) และหนี ๓๖๔ วัน เทากับ ๑๒ เดือน (๑ ป) ๔ วันแลว ก็จะขัดกับ
จํานวนวันของปตามสุริยคติกาลซึ่งปกติมี ๓๖๕ วัน (๑๒ เดือน) และผลจะเปนวาทหาร
ที่หนีครบรอบปตามสุริยคติกาล จะไดรับทัณฑนอยกวาทหารที่หนีเพียงระหวาง ๓๖๑
ถึง ๓๖๔ วัน เมื่อถือเอา ๑๒ เดือน (๑ ป) เปนหลักในการคํานวณทัณฑ เชน ๑๒ เดือน
หรือ ๓๖๕ วัน คือ ๑ ป ตามสุริยคติกาลเทากับ ๑๒ เดือน พอดี สวน ๓๖๔ วัน เทากับ
๑๒ เดือน ๔ วันเปนตน
เพื่อใหการคํานวณวันหนีราชการเปนไปในแนวเดียวกัน โดยถือเอาหลัก
กฎหมายและแนวทางที่เปนคุณแกผูกระทําผิด กระทรวงกลาโหมจึงวางระเบียบในการ
คํานวณวันหนีราชการของทหารไวดังนี้
ขอ ๑. ระเบียบนี้เรียกวา “ระเบียบกระทรวงกลาโหมวาดวยการคํานวณ
วันหนีราชการของทหาร พ.ศ.๒๔๙๗”
ขอ ๒. ใหใชระเบียบนี้ตั้งแตบัดนี้เปนตนไป
ขอ ๓. การคํานวณวันหนีราชการของทหารใหถือปฏิบัติดังนี้ คือ
๑๓๒

(๑) ใหนับตั้งแตวันแรกที่ขาดราชการไปเปน ๑ วัน ไมวาจะขาดไป


ในเวลาใดในวันนั้น และไมนับวันที่ไดตัวมา (กลับเองหรือจับสง) รวมเปนวันหนีราชการ
(๒) ถาหนีราชการครบรอบปตามสุริยคติกาล ใหนับ ๑ รอบ
๑๒ เดือนเปน ๑ ป (กฎหมายลักษณะอาญามาตรา ๖ ขอ ๒๒)

ตัวอยาง
ก. หนีราชการตั้งแต ๑ ม.ค. ๙๕ ถึง ๓๑ ธ.ค. ๙๕ (จับได ๑ ม.ค. ๙๖) = ๑ ป
ข. หนีราชการตั้งแต ๑ ก.ค. ๙๕ ถึง ๓๐ มิ.ย. ๙๗ (จับได ๑ ก.ค. ๙๗) =๒ ป
(๓) ถาหนีราชการไมครบปตามสุริยคติกาล หรือหนีราชการเกิน ๑
รอบปแตคํานวณจํานวนวันหนีราชการหรือเศษของจํานวนปหนีราชการไดไมถึง ๓๖๐
วัน ใหนับเศษของป ซึ่งเปนจํานวนวันนั้นใหเปนเดือนโดยถือเอาเกณฑ ๓๐ วัน เปน ๑
เดือน (กฎหมายลักษณะอาญามาตรา ๓๓ โดยอนุโลม)

ตัวอยาง
ก. หนีราชการตั้งแต ๑ ม.ค. ๙๗ ถึง ๑๔ ธ.ค. ๙๗ (จับได ๑๕ ธ.ค. ๙๗) =
๓๔๘ วัน หรือ ๑๑ เดือน ๑๘ วัน
ข. หนีราชการตั้งแต ๑ ม.ค. ๙๖ ถึง ๑๔ ธ.ค. ๙๗ (จับได ๑๕ ธ.ค. ๙๗) =
๑ ป ๓๔๘ วัน หรือ ๑ ป ๑๑ เดือน ๑๘ วัน
(๔) ถาหนีราชการไมครบรอบปตามสุริยคติกาล หรือหนีราชการ
เกิน ๑ รอบป แตคํานวณจํานวนวันหนีราชการหรือเศษของจํานวนปหนีราชการ
ไดตั้งแต ๓๖๐ วัน ถึง ๓๖๔ วัน ใหถือเอา ๓๖๐ วัน เปนหลักสําหรับคํานวณทัณฑ
เทากันหมด เพราะถาคิดเกณฑ ๓๐ วัน เปน ๑ เดือน ตามกฎหมาย ๓๖๐ วันจะเทากับ ๑๒
เดือนอยูแลว การคํานวณโดยวิธีนี้จึงเปนคุณแกผูกระทําผิด
๑๓๓

ตัวอยาง
ก. หนีราชการตั้งแต ๑ ม.ค. ๙๕ ถึง ๒๘ ธ.ค. ๙๕ (จับได ๒๙ ธ.ค. ๙๕)
=๓๖๒ วัน ใหถือเอา ๓๖๐ วัน สําหรับการคํานวณทัณฑ
ข. หนีราชการตั้งแต ๑ ม.ค. ๙๔ ถึง ๒๙ ธ.ค. ๙๕ (จับได ๓๐ ธ.ค. ๙๕)
= ๑ ป ๓๖๓ วัน ใหถือเอา ๑ ป ๓๖๐ วัน สําหรับการคํานวณทัณฑ
อนึ่ ง พึ ง เข า ใจว า หลั ก เกณฑ ต ามหมายเลข (๔) นั้ น มุ ง หมายเฉพาะเพื่ อ
ประโยชนในการคํานวณทัณฑที่จะลงแกผูหนีราชการตามขอบังคับกระทรวงกลาโหม
ที่วาดวยระเบียบการลงอาญาทหารขาดหนีราชการเทานั้น หากเปนการบรรยายวันหนี
ราชการในฟองแลวก็ถือเอาจํานวนวันหนีราชการตามจริงที่นับได เชน ถามีเศษวันหนี
ราชการจากป ตั้งแต ๓๖๐ วันขึ้นไปถึง ๓๖๕ วัน ก็สมควรเขียนเศษของปนั้นเปนวัน
เชน เขียนวา ๑ ป ๓๖๒ วัน ไมใช ๑ ป ๑๒ เดือน ๒ วัน หรือ ๒ ป ๒ วัน เพราะความจริง
เปนการหนีที่ยังไมครบ ๒ ป ตามสุริยคติกาล สวนสําหรับวันหนีราชการซึ่งมีเศษไมถึง
๓๖๐ วันนั้น คงบรรยายเปนเดือนและวันอยางธรรมดา

ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๙๗

(ลงชื่อ) จอมพล ป. พิบูลสงคราม


รัฐมนตรีวาการกระทรวงกลาโหม

You might also like