Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 20

นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (บริบททั่วไป หรือ ระดับมหภาค)


External Environment Analysis (General Or Macro Context)

1. สภาพแวดล้อมภายนอก
ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อองค์กร และองค์กรไม่สามารถควบคุมได้
ซึ่งมีผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบ องค์กรจะต้องรับมือกับสภาพแวดล้อมภายนอก การเผชิญหน้ากับ
ความไม่แน่นอนและการปรับตัวเป็นสิ่งสำคัญ (Sofyan, I. and Ina, P อ้างถึงในจุฑาลักษณ์ สายแปง และศิริ
จันทร์ เชื้อสุวรรณ, 2564) สอดคล้องกับณัฐธนภัสสร์ ไชยรินทร์ (2564) ที่นิยามคำว่าสภาพแวดล้อมภายนอก
(External Environment) คือ ปัจจัยจากภายนอกที่มีผลต่อองค์กรในด้านการอยู่รอดและการเติบโต โดยอาจ
เป็ น โอกาสหรื อ เป็ น อุ ป สรรคในการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ที ่ ต ้ อ งเผชิ ญ หน้ า การที่ อ งค์ ก รจะต้ อ งดำเนิ น การใน
สภาพแวดล้อมที่ มีความท้าทาย จะต้องมีการปรับตัว เพื่อตอบสนองกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
เช่นเดียวกับ ปรีดี นุกุลสมปรารถนา อ้างถึงในวรรัตน์ ศุภมงคลชัย (2565) ที่ให้ข้อมูลไว้ว่า สภาพแวดล้อม
ภายนอก เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่สามารถที่จะคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำมา
วิเคราะห์ ใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ว่าปัจจัยในด้านไหนบ้างที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์หรือเป็น
อุปสรรค ซึ่งมีความสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์และความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร อีกทั้ง Tokla
และคณะ (2564) ยังกล่าวถึงสภาพแวดล้อมภายนอกว่า เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ และ
อยู่ภายนอกองค์กร ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการดำเนินงานขององค์กร โดยอาจก่อให้เกิดโอกาสหรืออุปสรรคแก่
ธุรกิจได้ สภาพแวดล้อมภายนอกจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถละเลยได้ในการดำเนินงานของธุรกิจ
ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และในอนาคตมีแนวโน้ม
ว่าจะมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น องค์การจะต้องปรับตัวให้เข้ากับปัจจัยสภาพแวดล้ อม
ภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นปัจจัยที่องค์กรไม่สามารถควบคุมได้ แต่ปัจจัย
เหล่านั้นจะส่งผลกรทบต่อองค์กร (วันชัยมีชาติ อ้างถึงในทิวากาล ด่านแก้ว, ม.ป.ป.) สอดคล้องกับจักวาล วงศ์
มณี อ้างถึงในวรรัตน์ ศุภมงคลชัย (2565) ที่อธิบายไว้ว่า สภาพแวดล้อมภายนอก เป็นเหตุการณ์ ปัจจัย
ภายนอกองค์กร หรือสิ่งต่างๆ ที่มีอิทธิพล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรในทางใดทางหนึ่ง
อิทธิพลเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ จึงต้องมีวิธีการรับมือหรือ
ตอบสนองกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นด้วยแนวทางอื่นๆ
วรรัตน์ ศุภมงคลชัย (2565) กล่าวว่า สภาพแวดล้อมภายนอก เป็นปัจจัยที่องค์กรหรือผู้ประกอบการ
ไม่สามารถที่จะควบคุมหรือจัดการได้โดยตรง แต่ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อการดำเนินงาน และการบรรลุเป้าหมาย
ขององค์กรอย่างมาก หรือ อาจส่งผลไปถึง ความล้มเหลวขององค์ก รในระยะยาวได้ ทำให้ผ ู้บริห ารหรื อ
ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจและตระหนักถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อที่จะนำมา
วิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อองค์กรและนำไปใช้ในการดำเนินงานต่อไป
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

สภาพแวดล้อมภายนอก เป็นปัจจัยที่อยู่ภายนอก ไม่สามารถคาดเดาหรือกำหนดทิศทางให้เป็นไป


ตามที่องค์กรต้องการได้ แต่ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกนั้น สามารถส่งผลต่อการดำเนินงานในองค์กรได้ทั้ง
ทางบวกและทางลบ เป็นแรงกระตุ้นจากภายนอกที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามแผนงานที่ตั้งไว้ ซึ่งปัจจัยต่างๆ
เหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ สามารถก่อให้เกิดทั้งปัญหาในการทำงาน โอกาสต่อการลงทุน และการ
ดำเนินงานขององค์กร (ภาวิณี กาญจนาภา อ้างถึงในวรรัตน์ ศุภมงคลชัย, 2565) เช่นเดียวกับ โสรยา สุภาผล
และคณะ อ้างถึงในวรรัตน์ ศุภมงคลชัย (2565) ที่กล่าวว่ า สภาพแวดล้อมภายนอก ส่งผลกระทบต่อการ
ดำเนินการขององค์กร โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อการดำเนินงานใน
ปัจจุบันและอนาคตขององค์กร จึงเป็นปัจจัยที่องค์กรไม่สามารถที่จะควบคุมได้ แต่องค์กรจะต้องมี การ
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกอยู่เสมอ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ วางแผนในการทำงาน

1.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
ปาริฉัตร ศรีหะรัญ และคณะ (2563) ได้นิยามการตรวจสอบและประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกไว้ว่า
เป็นการวิเคราะห์ ประเมินหาโอกาส (Opportunities) และข้อจำกัด (Threats) ขององค์การที่ถือเป็นปัจจัยที่
องค์การไม่สามารถควบคุมได้ (David, 2004; Wheelen and Hunger, 2012; Namsirikul, 2000) มีความ
สอดคล้องกับ ปฏิพาร์ เพชรศิริ และคณะ (2560) ที่อธิบายเอาไว้ว่า การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
ภายใต้การประเมิน สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัท ทำให้ส ามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรค ในการ
ดำเนินงานของบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอก
การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร จะเป็นการวิเคราะห์ถึงโอกาสและอุปสรรคขององค์กร
โดยวิเคราะห์จากปัจจัยภายนอกองค์กรนั้นๆ ว่ามีโอกาสและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจอย่างไร ชุดาพร
สุวรรณวงษ์, 2556) เป็นไปในทิศทางเดียวกับ กิตติ เลิศวรวณิช (2552) ที่ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า การวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment Analysis) หมายถึง การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่อยู่
ภายนอกบริษัท การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ มีกระทบต่อความสำเร็จขององค์กร ถ้าปัจจัยสภาพแวดล้อม
ภายนอกนี้เข้ามาส่งเสริมหรือมีผลกระทบทางบวกต่อธุรกิจ จะเรียกว่า "โอกาส" หรือ "Opportunities" แต่
ในทางตรงกันข้าม หากปัจจัยแวดล้อมภายนอกเข้ามามีผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ จะเรียกว่า "อุปสรรค"
หรือ "Threats" มีความสอดคลอ้งกับ สุบิน ชะรอยรัมย์ (2560) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก หมายถึง
กระบวนการในการตรวจสอบและประเมิ น เกี ่ ยวกับ สภาพแวดล้อ มภายนอกองค์ ก าร ซึ ่ ง การวิ เ คราะห์
สภาพแวดล้อมภายนอกช่วยให้ผู้ บริหารสามารถทราบถึงโอกาสและอุปสรรคที่องค์การต้องประสบในอนาคต
โดยโอกาส (Opportunities) คือ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภายนอกองค์การที่มีผลสนับสนุนต่อการพัฒนาการ
ดำเนินงานขององค์การ ขณะที่อุปสรรค (Threats) คือ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภายนอกองค์การที่มีผลในแง่
ลบต่อการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร External environment analysis มีความสำคัญเป็น
อย่างมาก เนื่องจากเป็นสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นพลวัต และสภาพแวดล้อมภายนอกนั้นมีการเปลี่ยนแปลง
อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์การจะต้องทำการตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
อย่างสม่ำเสมอ (ภาคภูมิ หมีเงิน และคณะ, 2560)
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัท ทำให้


สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรค ในการดำเนินงานของบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอก
(ปฏิพาร์ เพชรศิริ และคณะ, 2560)
ปรียา จันทกูล (2560) กล่าวว่า การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นการประเมินสภาพแวดล้อม
ภายนอกองค์กร เพื่อค้นหาโอกาสและอุปสรรคจากการดำเนินงานที่องค์กรได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อม
ทางเศรษฐกิจ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น อัตราการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ การพัฒ นาของ
เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
Paul Newton อ้างถึงในอังคณา รักษาผล (ม.ป.ป.) กล่าวไว้ว่า องค์กรจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์
ปัจจัยภายนอก เนื่องจากปัจจัยภายนอก อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน ทั้งนี้ปัจจัยภายนอกเป็นปัจจัยที่
กิจการไม่สามารถควบคุมได้ แต่กิจการจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้

2. สภาพแวดล้อมทั่วไป (สภาพแวดล้อมมหภาค)
Evans, N. (2015) สภาพแวดล้อมทั่วไป เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกประการนึง บางครั้งเรียกว่า
สภาพแวดล้อมมหภาค หรือสภาพแวดล้อมระยะไกล หมายถึง สภาพแวดล้อมในวงกว้างที่อยู่นอกอุตสาหกรรม
และตลาดขององค์กรโดยทั่วไปมักจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของแต่ละองค์กร แต่อาจมีผลกระทบอย่างมี
นัยสำคัญต่อสภาพแวดล้อมระดับจุลภาค (อุตสาหกรรมและตลาด) ที่องค์กรดำเนินการอยู่ ซึง่ การเปลี่ยนแปลง
ของสภาพแวดล้อมหภาคอาจมีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กร เนื่องจาก
- นำมาซึ่งการเกิดหรือการตายของอุตสาหกรรมทั้งหมด
- ทำให้ตลาดขยายหรือหดตัว
- กำหนดระดับความสามารถในการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม
ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นทีจ่ ะต้องตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม
มหภาค และควรพยายามที่จะคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมและตลาดขององค์กร
Wang, L. & Hou, C. (2023) กล่าวว่าสภาพแวดล้อมมหภาค หมายถึง การพัฒนาทางเศรษฐกิจ
สังคม และการเปลี่ยนแปลงของประเทศ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมขนาดใหญ่ ที่ส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กร
และเป็นปัจจัยที่องค์กรไม่สามารถควบคุมได้ อุตสาหกรรมใดๆ ก็ตามจะได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อม
ระดับมหภาค
ชุดาพร สุวรรณวงษ์ (2556) กล่าวว่า สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เป็นปัจจัยที่ไม่
กระทบต่อการดำเนินงานในระยะสั้นขององค์กร แต่มีผลต่อการตัดสินใจในระยะยาว ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี ภูมิศาสตร์ และปัจจัยระหว่างประเทศ
สภาวะแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) ซึ่งสภาวะแวดล้อมเหล่านี้จะไม่มีความสัมพันธ์
กับองค์กรโดยตรง เป็นปัจจัยหรือตัว แปรต่างๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินงานขององค์ กร
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

แต่สามารถมีอิทธิผลหรือผลกระทบทางอ้อมต่อองค์กรได้ เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี


(กิตติ เลิศวรวณิช, 2552)
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์ (2559) ได้ให้ความหมายสภาพแวดล้อมทั่วไปไว้ว่า เป็นสภาพแวดล้อมที่มี
ขอบเขตกว้างขวางที่สุด จึงควบคุมได้ยากที่สุดเช่นกัน แต่เพื่อความอยู่รอดขององค์การแล้วก็จำเป็นต้องหาวิธี
จัดการสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสม
สภาพแวดล้อมทั่วไป สภาพแวดล้อมดังกล่าวไม่ใช่สภาพของอุตสาหกรรมที่กิจการดำเนินอยู่ แต่มี
ความสำคัญ เนื่องจากสภาพแวดล้อมทั่วไปส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและกิจการได้ สภาพแวดล้อมดังกล่าว
ประกอบด้วย การเมืองและภาครัฐ เศรษฐศาสตร์ มหภาค เทคโนโลยี สังคม-ประชากร และนิเวศวิทยา (จงพิศ
ศิริรัตน์ และคณะ, 2547)

2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment Analysis) ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ อ้างถึง
ในชนิดา โมทอง และทิพย์ว รรณา งามศักดิ์ (2560) เป็นการวิเคราะห์ส ภาพแวดล้อมที่มีผ ลกระทบต่ อ
อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วยการเมือง เศรษฐกิจ
สังคม และเทคโนโลยี
ณัฐธนภัสสร์ ไชยรินทร์ (2564) ที่ได้กล่าวถึง การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเอาไว้ว่า การ
วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เป็นการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายนอกที่อาจมีผลกระทบต่อองค์กรในระยะยาว
เพื่อใช้ในการวางแผนดำเนินงานขององค์กร ประกอบด้วย 4 กลุ่มปัจจัย คือ การเมือง (Political) เศรษฐกิจ
(Economic) สังคม (Social) และเทคโนโลยี (Technological)
ปฏิพาร์ เพชรศิริ และคณะ (2560) ที่กล่าวว่า การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก ภายใต้การ
ประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัท ทำให้สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคในการดำเนินงานของ
บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอกทั้งทางด้านสังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และ
กฎหมายการเมือง
การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment Assessment) เป็นการประเมินเพื่อ
หาโอกาสและข้อจำกัดหรือการคุกคามจากสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ
เทคโนโลยี (สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน, 2564)
ฉัฐวัฒน์ ลิมป์สุรพงษ์ และวินิจ วีรยางกูร (ม.ป.ป.) กล่าวว่าการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
องค์กร เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญ แต่อาจจะไม่ใช่สภาพแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์กรโดยตรง
แต่เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปมีตัวแบบในการพิจารณา หรือนิยมนำมาพิจารณาเพื่อหาโอกาสและข้อจำกัด
ของสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีต่อองค์กร
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

3. เป้าหมายของการประเมินสภาพแวดล้อมทั่วไป (Goal)

“ประเมินหาโอกาสและอุปสรรคที่มผี ลกระทบต่อองค์กรจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
เพื่อทำการตอบสนองให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกิดขึ้น”

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การในปัจจุบัน เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับ
สภาพแวดล้อมภายนอก โดยสภาพแวดล้อมทั่วไปจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การ ดังนั้น จึงมี
ความจำเป็นต้องมีการปรับกลยุทธ์องค์การใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
ภายนอก ทั้งจากสภาพแวดล้อมที่เป็นโอกาสและสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานขององค์การ
โดยนำข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกมากำหนดกลยุทธ์ใหม่ เพื่อให้กลยุทธ์ที่เลือกมีความ
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายในองค์การ
เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ (สุบิน ชะรอยรัมย์, 2560) สภาพแวดล้อมภายนอกนั้นจะประกอบไป
ด้วยตัวแปรที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัท แต่บริษัทเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ จึง
จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ขององค์กรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ปัจจัย
ภายนอกที่หลากหลายนี้ อาจมีผลกระทบสำคัญต่อการวางตำแหน่งทางการแข่งขันของบริษัท ดังนั้นบริษัท
จะต้องทำความเข้าใจปัจจัยภายนอกและประเมินว่ารูปแบบธุรกิจจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
อย่างไร ซึ่งการปรับกลยุทธ์ก่อน จะทำให้ผลกระทบจากปัจจัยภายนอกเหล่านี้ลดลง และมีโอกาสใช้ประโยชน์
จากสถานการณ์แข่งขันใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการนี้ได้ (เชาวลิต ประสิทธิ์, 2561)
Ginter & Duncan อ้างถึงใน Evans, N. (2015) ระบุถึงประโยชน์ของการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมมหภาค
ไว้ดังนี้
- เพิ่มความตระหนักในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
- เพิ่มความเข้าใจในบริบทอุตสาหกรรมและตลาดขององค์กร
- ปรับปรุงการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากร
- มีส่วนช่วยในการจัดการความเสี่ยง
- เป็นระบบเตือนล่วงหน้า โดยให้เวลาในการคาดการณ์โอกาสและอุปสรรค รวมถึงเวลาในการวาง
แผนการตอบสนองที่เหมาะสม
การตอบสนองและการรับมือกับปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่เข้ามามีผลกระทบต่อองค์กรจึงเป็นสิ่ง
ที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กรในการอยู่รอดในอุตสาหกรรม ดังนั้นการที่องค์กรสามารถ
วิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้อย่างชัดเจนจะช่วยทำให้องค์กรสามารถกำหนด
แผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายนอกนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (จุฑาลักษณ์ สายแปง และศิริ
จันทร์ เชื้อสุวรรณ, 2564)
การประเมินสภาพแวดล้อม จะส่งผลต่อความสามารถในการตอบสนองการดำเนิน งานขององค์กร
ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกาภิวัตน์ (Globalization) เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จและ
เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและอนาคต (ปาริฉัตร ศรีหะรัญ และคณะ, 2563)
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

4. กรอบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป (Framework)
Evans, N. (2015) หน่วยงานด้านการท่องเที่ยว การบริการ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม บริษัททัวร์ ตัวแทน
การท่องเที่ยว ผู้จัดงานอีเว้นท์ ฯลฯ ต่างก็ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้นการมีความเข้าใจ
เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายนอกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ องค์กร บางครั้งเรียกว่า การสแกนสภาพแวดล้อม
หรือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมหภาค
กรอบที่ได้รับความนิยมและใช้กันแพร่หลายในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมหภาค คือการแบ่งปัจจัย
ออกเป็น 5 ปัจจัย โดยใช่ตัวย่อคือ STEEP ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

ภาพที่ 1 องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทั่วไป (สภาพแวดล้อมมหภาค)


ที่มา : Evans, N. (2015)

4.1 ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม
สังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์การ มีหลายปัจจัย
ไม่ว ่าจะเป็น ลักษณะของสังคมที่องค์การกำลังดำเนินงานอยู่ ความเชื่อค่านิยมของคนในสังคม จำนวน
ประชากร โครงสร้างประชากร ระดับความรู้และการศึกษาของคน ประเพณีและวัฒนธรรม ทัศนคติของคน
ระบบความสัมพันธ์ของคนในสังคม การรวมกลุ่มขบวนการทางสังคม และการเลื่อนชั้นทางสังคม ปัจจัยเหล่านี้
ล้วนส่งผลกระทบต่อองค์การทั้งสิ้น (ทิวากาล ด่านแก้ว, ม.ป.ป.)
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ในแต่ละชุมชนท้องถิ่นย่อมมีสภาพสังคมและวัฒนธรรม
แตกต่างกัน ส่งผลให้องค์การต้องนำสภาพแวดล้อมเหล่านี้มาวิเคราะห์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น
รูปแบบการดำเนินชีวิต หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค (อุทัย ปริญญาสุทธินันท์, 2559)
Rastogi & Trivedi อ้างถึงใน Tokla และคณะ (2564) ได้กล่าวว่า ปัจจัยทางสังคม คำนึงถึงเหตุการณ์
ทั้งหมดที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร เช่น ชุมชนทางสังคม ความคาดหวังทางวัฒนธรรม บรรทัดฐาน พลวัตของ
ประชากร จิตสำนึกและทัศนคติ เป็นต้น
สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับ อัตราการเติบโตของจำนวนประชากร อายุเฉลี่ย
สุขภาพของประชากร และการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากร ประชากรที่ใช้แรงงานในตลาดแรงงาน สังคม
วิถีชีวิตของสังคมเมืองและสังคมชนบท ระดับการศึกษาเฉลี่ย หรือศึกษาถึงทัศนคติต่อการทำงาน การรักความ
อิสระ หรือทัศนคติของประชาชนทางสังคม และข้อห้ามต่างๆ ทางสังคม โดยรวมถึงรูปแบบของประเพณี
วัฒนธรรม วิถีชีวิตท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่กำลังเกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้นๆ (วรรณวิษา
วรฤทธินภา, 2555)
แนวโน้มทางสังคม เป็นตัว กำหนดแบบแผนประเพณี ทัศนคติ และรสนิยมของผู้บริโ ภค รวมถึง
ปริมาณความต้องการสินค้าหรือบริการ การติดตามแนวโน้มทางสังคมช่วยให้บริษัทสามารถปรับตำแหน่ง
ผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนให้พอดีกับความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค (เชาวลิต ประสิทธิ์, 2561)

4.2 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เช่น การพัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
แลปท็อปและแท็บเล็ต เครือข่ายการสื่อสารผ่านดาวเทียม เคเบิลและดิจิทัล อินเทอร์เน็ต และแอปพลิเคชัน
โทรศั พ ท์ ม ื อ ถื อ ร่ ว มกั บ ความก้ า วหน้ า อย่า งรวดเร็ ว ของซอฟต์ แวร์ ทั ้ ง หมดนี้ ล ้ ว นมี ส ่ ว นทำให้ เ กิด การ
เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวิธีการดำเนินธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรจะต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่อาจส่งผลกระทบ
ต่อการดำเนิน งานหรือตลาดของตน ในอุตสาหกรรมส่ว นใหญ่องค์กรต้องมีความยืดหยุ่นและพร้อมที่จ ะ
สร้างสรรค์นวัตกรรมและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Evans, N., 2015)
Babatunde &Adebisi อ้างถึงใน Tokla และคณะ (2564) ได้กล่าวว่า ปัจจัยทางเทคโนโลยี
ประกอบด้วยกิจกรรมการวิจัยและพัฒนา ระบบอัตโนมัติ แรงจูงใจด้านเทคโนโลยี และอัตราการเปลี่ยนแปลง
ทางเทคโนโลยี นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอาจส่งผลต่อ ต้นทุน คุณภาพ และนำไปสู่นวัตกรรม
สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มักก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ
อยู่เสมอ ซึ่งองค์การจะต้องเลือกใช้นวัตกรรม เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้แก่องค์การ (อุทัย
ปริญญาสุทธินันท์, 2559)
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่ผู้ประกอบการพยายาม
ผลักดันข้อจำกัดในปัจจุบัน เพื่อขยายขอบเขตความได้เปรียบของเทคโนโลยี และข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสามารถเป็นตัวกำหนดการตายของอุตสาหกรรมบางประเภท หรือสามารถสร้าง
โอกาสใหม่ๆ ได้ (เชาวลิต ประสิทธิ์, 2561)

4.3 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจจะมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ มหภาคและ
ผลกรทบต่อธุรกิจและผู้บริโภค
โดยทั่วไปแล้ว การควบคุมเศรษฐกิจของประเทศนั้นมาจากเครื่องมือนโยบายหลักสองประการ ได้แก่
นโยบายการคลังและนโยบายการเงิน เครื่องมือนโยบายเหล่านี้ ควบคู่ไปกับอิทธิพลจากตลาดต่างประเทศ
จะกำหนดบรรยากาศทางเศรษฐกิจในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยน ระดับ
รายได้ อัตราเงิน เฟ้อ และการว่างงาน ล้ว นส่งผลต่อความสามารถในการชำระค่าสินค้าและบริการของ
ประชาชน รวมถึงส่งผลต่อระดับและรูปแบบของอุปสงค์ด้วย ในทำนองเดียวกัน ระดับการผลิต ระดับค่าจ้าง
ระดับเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและความสามารถในการแข่งขัน ตัวชี้วัดทั้งหมด
นี ้ ต ้ อ งได้ ร ั บ การตรวจสอบเปรี ย บเที ย บกั บ คู ่ แข่ ง ในต่ า งประเทศ เพื ่ อ เป็ น ข้ อ บ่ ง ชี ้ ถ ึ ง การเปลี ่ ย นแปลง
ความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ (Evans, N., 2015)
สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ หมายถึง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจโดยตรงต่อการดำเนิน
การผลิต จำหน่าย และบริโภค เพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อความต้องการและเกิดผลที่สามารถประเมินค่าเป็น
เงินได้ (สำคัญสุด สีหตุลานนท์ อ้างถึงในTokla และคณะ, 2564)
ด้านเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยเกี่ยวกับภาพรวมด้านเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของแต่ละสังคม
ในแต่ละช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อการบริหารงานขององค์การทั้งภาครัฐ
และองค์การเอกชน (ทิวากาล ด่านแก้ว, ม.ป.ป)
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการจัดสรร และการใช้ทรัพยากรของ
องค์การ เนื่องจากสภาพแวดล้อมนี้ครอบคลุมหลายประเด็นด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน อัตราดอกเบี้ย
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราหรือการกีดกันทางการค้า (อุทัย ปริญญาสุทธินันท์, 2559)
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับ ขั้นตอนของวัฏจักรทางธุรกิจ สถานการณ์ปัจจุบันและการ
คาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย การว่างงานและอุปทานของแรงงาน
ต้นทุนค่าแรงงาน ระดับรายได้และการกระจายระดับชั้นรายได้ของคนทำงาน รวมถึงผลกระทบของการค้า
แบบโลกาภิวัตน์ (วรรณวิษา วรฤทธินภา, 2555)
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกัน บริษัท
จำเป็นต้องมองเห็นรูปแบบพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กันระหว่างเศรษฐกิจและอุ ตสาหกรรมให้
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

ชัดเจน ในบางกรณีผลการเปลี่ยนแปลงอาจไม่ส่งผลเพียงระดับของอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลการ


ดำเนินงานทางเศรษฐกิจของประเทศที่แตกต่างกัน (เชาวลิต ประสิทธิ์, 2561)

4.4 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมในที่นี้ หมาย ผลกระทบจากความกังวลต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (ทั้ง
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น) ต่อองค์กร ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้คนมีความกังวล
เพิ่มขึ้น เกี่ย วกับ ระบบนิเวศและสภาพแวดล้ อม เป็นกระแสสังคมที่ส ำคั ญ ซึ่งได้เปลี่ยนทัศนคติ ที่ ม ี ต่ อ
สิ่งแวดล้อมในประเด็นต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การสูญเสียโอโซน การตัดไม้ทำลายป่า
การสูญพันธุ์ของสายพันธุ์ การพังทลายของดิน การเกิดฝนกรด ของเสียที่เป็นพิษ มลพิษทางน้ำและเสียง
กลายเป็นข้อกังวลสำคัญเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ (Peattie & Moutinho อ้างถึงใน Evans, N.,
2015)
Islam, Mamunand & Amanullah อ้างถึงใน Tokla และคณะ (2564) ได้ให้มุมมองไว้ว่า หากมอง
ไปถึงสภาพแวดล้อมด้านสิ่ง แวดล้อ ม หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ย นแปลงสภาพภูม ิอ ากาศ
ทรัพยากรธรรมชาติหรือความพร้อมของแหล่งพลังงานหมุนเวียน และภัยธรรมชาติจะถูกนำมาพิจารณาเป็น
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
สภาพตลาดและสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันนี้สิ่งแวดล้อมกลายมาเป็นปัจจัยในการแข่งขัน ซึ่งแนวคิด
การตลาดสีเขียวหรือการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นกลยุทธ์ที่ถูกพัฒนาให้มุ่งเน้นไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือ
ผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งยินดีซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้นสำหรับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (อุทัย
ปริญญาสุทธินันท์, 2559)

4.5 ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์ (2559) กล่าวว่า สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย ผู้บริหารต้อง
ติดตามการดำเนินงานของฝ่ายการเมือง โดยฉพาะเสถียรภาพของรัฐบาล นโยบายภาครัฐ และการปรับปรุง
หรือบังคับใช้กฎหมายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประกอบการกำหนดกลยุทธ์ต่อไป
ด้านการเมืองและกฎหมาย ผลกระทบจากการเมืองและกฎหมาย รวมถึงนโยบายต่างๆ ของรัฐที่มีต่อ
องค์การ ระบบการเมืองและกฎหมายของแต่ละประเทศ จะแตกต่างกันและส่งผลกระทบต่อองค์การต่างๆ ซึ่ง
สิ่งเหล่านี้จะเข้ามาควบคุมการทำงานขององค์การ (ทิวากาล ด่านแก้ว, ม.ป.ป)
ธุรกิจทั้งหมดจะได้รับผลกระทบจากอิทธิพลทางการเมืองในระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่อง
สำคัญที่องค์กรจะต้องติดตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้สามารถ
ตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของสภาพแวดล้อมทางการเมือง คือ ความเสี่ยงทางการเมือง และผลกระทบ


ที่อาจเกิดขึ้นต่อธุรกิจ ความเสี่ยงทางการเมืองมีความสำคัญอย่างยิ่งในธุรกิจระหว่างประเทศ หลายประเทศ
ต่างประสบกับช่วงเวลาแห่งความไม่มั่นคง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องติดตามสถานกรณ์ทางการเมืองอย่างใ กล้ชิด
เนื่องจากความเสี่ยงทางการเมืองมีขนาดใหญ่ แม้แต่ในพื้นที่ที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ความไม่แน่นอนทาง
การเมืองก็อาจสูงขึ้นได้ เช่น เวลาการเลือกตั้ง หรือเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอื่นๆ (Evans, N., 2015)
อุไรวรรณ เลิศรัมย์ อ้างถึงใน Tokla และคณะ (2564) ได้กล่าวว่า สภาพแวดล้อมด้านการเมือง
หมายถึง แผนกระทรวง การปรับโครงสร้างการเข้าถึงบริการ ความร่วมมือ สนับสนุนจากทุกภาคส่วน
ภั ท รเวช ธาราเวชรั ก ษ์ และทองแท่ ง ทองลิ ่ ม อ้ า งถึ ง ใน Tokla และคณะ (2564) กล่ า วว่ า
สภาพแวดล้อมด้านกฎหมาย หมายถึงมาตรการหรือกฎเกณฑ์ที่ควบคุมดูแลพนักงาน การคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิมนุษยชน ราคาสินค้าและบริการ การส่งเสริมและรักษาภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในทิศทางการจัดการ
ธุรกิจ
สภาพแวดล้อมทางการเมือง เกี่ยวข้องกับ สถานะความมั่นคงของรัฐบาล รูปแบบของรัฐบาล เสรีภาพ
ของการสื่อสารตามหลัก นิติธ รรม และระบบการดำเนินการของราชการในแต่ล ะท้อ งถิ ่น แนวโน้มของ
กฎระเบียบข้อบังคับที่จะออกมาใหม่ และกฎระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมไปถึงลักษณะของสังคม
และกฎหมายการจ้างงานของท้องถิ่น นโยบายภาษีและการค้า รวมถึงการควบคุมอัตราค่าไฟฟ้า และการออก
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (วรรณวิษา วรฤทธินภา, 2555)
ขอบเขตของปั จ จั ย ด้ า นการเมื อ งนั ้ น กล่ า วถึ ง นโยบายรั ฐ บาลที ่ ม ี แ นวโน้ ม เข้ า ไปแทรกแซงใน
สภาพแวดล้อมทางการค้า กฎหมายการค้า รวมทั้งข้อจำกัดทางการค้าและความมั่นคงทางการเมืองก็เป็น
ปัจจัยสำคัญที่สามารถกำหนดความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของธุรกิจได้ เนื่องจากปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์
ในโลกธุรกิจมีมากยิ่งขึ้น (เชาวลิต ประสิทธิ์, 2561)
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

5. คำถามของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป (Question)

What to analyse ?
จะวิเคราะห์อะไร ?
Evans, N. (2015) ในบริบทของการดำเนินการวิเคราะห์ STEEP เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์
กลยุทธ์ โดยทั่วไปจะให้ความสำคัญในการประเมินว่าแต่ละปัจจัยจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อ 3 ส่วน ได้แก่
1. ส่วนภายในองค์กร - ผลกระทบของปัจจัย STEEP ที่มีต่อส่วนภายในองค์กร ได้แก่
1.1 ความสามารถหลักขององค์กร
1.2 ผลกระทบต่อกลยุทธ์ขององค์กร
1.3 ผลกระทบต่อทรัพยากรขององค์กร
1.4 ผลกระทบต่อค่านิยมขององค์กร
1.5 และผลกระทบต่อขอบเขตการทำงานขององค์กร เช่น ผลกระทบต่อการดำเนินงาน
2. ตลาดขององค์กร - ผลกระทบของปัจจัย STEEP ที่มีต่อตลาดขององค์กร ได้แก่
2.1 ตลาดของผลิตภัณฑ์ (เช่น ขนาดตลาด โครงสร้าง กลุ่ม ความต้องการของลูกค้า ฯลฯ)
2.2 ผลกระทบต่อตลาดทรัพยากร ซึง่ รวมถึงทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางการเงิน ฯลฯ
3. อุตสาหกรรมที่องค์กรแข่งขัน - ผลกระทบของปัจจัย STEEP ต่อพลังการแข่งขั้นทั้งห้า ได้แก่
3.1 อำนาจการต่อรองของลูกค้า
3.2 อำนาจต่อรองจากคู่ค้า
3.3 การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่
3.4 สินค้าทดแทน
3.5 การแข่งขันของคู่แข่งในธุรกิจ
ส่วนประกอบของ STEEP จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างเป็นระบบ โดยอิทธิพลที่อาจเกิดขึ้นต่อ
องค์กรนั้นขึ้นอยู่กับบบริบทขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นที่ตั้ง ภาคส่วน และขนาดขององค์กร
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

6. เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป (Tools)

6.1 STEEP Analysis


เป็นเครื่องมือหรือเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมหภาค คือ การแบ่ง
ปัจจัยออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ หรือที่เรียกว่า การวิเคราะห์ STEEP การวิเคราะห์ STEEP แบ่งอิทธิพล
สภาพแวดล้อมมหภาค ออกเป็น 5 หมวดดังนี้
- ด้านสังคมและวัฒนธรรม (S)
- ด้านเทคโนโลยี (T)
- ด้านเศรษฐกิจ (E)
- ด้านสิ่งแวดล้อม (E)
- ด้านการเมืองและกฎหมาย (P)
ซึ่งข้อมูลในบางแหล่ง ตัวย่อ STEEP จะถูกแทนที่ด้วย STEP โดยละเว้นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หรือ
ตัวย่อ STEP จะถูกหมุนและแสดงเป็น PEST และในบางครั้งกลายเป็น PESTEL (โดยการเพิ่มหมวดหมู่
สิ่งแวดล้อมและกฎหมายเข้าไป) (Evans, N., 2015)

6.2 STEP หรือ PEST Analysis


การวิเคราะห์ PEST Analysis เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุดในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมระดับมหภาค
ซึ่งหมายถึงการวิเคราะห์ปัจจัยด้านการเมือง (P) ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (E) ปัจจัยสภาพแวดล้อม
ทางสังคม (S) และปัจจัยสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (T) ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยทั้งสี่เหล่านี้ ทำให้สามารถ
เข้าใจสภาพแวดล้อมมหภาคของอุตสาหกรรมโดยรวมได้ (Wang, L. & Hou, C., 2023)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ของ Francis J. Aguilar ในปี ค.ศ. 1967 ประกอบไปด้วย
PEST โดยมีปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. Political ปัจจัยทางการเมือง เช่น นโยบายต่างๆของภาครัฐ, การเดินขบวนประท้วง
2. Economic ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว, เงินเฟ้อ, เงิน ฝืด, ราคาพืชผล
ทางการเกษตรตกต่ำ
3. Social ปัจจัยทางสังคม เช่น คนมีแนวโน้มรักสุขภาพมากขึ้น, พฤติกรรมคนมีการเดินทางท่องเที่ยว
ไปต่างประเทศสูงขึ้น
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

4. Technology ปัจจัยทางเทคโนโลยี การพัฒนาของเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ระบบการขนส่ง , การ


สื่อสาร และ Social Network (ปรียา จันทกูล, 2560)
วรรณวิษา วรฤทธินภา (2555) กล่าวว่า การวิเคราะห์ด้วย PEST Analysis เป็นเครื่องมือที่สำคัญ
และมีการใช้สำหรับการวิเคราะห์ในภาพรวมอย่างกว้างขวาง เป็นเครื่องมือที่ง่ายแก่การแบ่งแยกปั จจัยพื้นฐาน
ที่สำคัญ ได้แก่ Poltical, Economic, Socio-Cultural และ Technological
PEST เป็นตัวย่อสำหรับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัจจัยภายนอกในระดับกว้าง
- ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย (Political and Legal Factors)
- ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic Factors)
- ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม (Socio-Cultural Factors)
- ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technological Factors)
PEST Analysis จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการทำความเข้าใจกับ
ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ที่จะระบุการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบของสภาพแวดล้อมภายนอก ที่มีความสัมพันธ์
กับตำแหน่งการแข่งขันของบริษัท (เชาวลิต ประสิทธิ์, 2561)
ยุทธวัตร ประโมจนีย์ (2563) กล่าวว่า การวิเคราะห์ PEST Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ภายนอก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยการวิเคราะห์นี้ จะทำให้เข้าใจการเติบโตหรือการหดตัวของ
ตลาด ตำแหน่งของธุรกิจ ความเป็นไปได้ของการขยายธุรกิจ รวมไปถึงทิศทางของการดำเนินธุรกิจว่าจะเป็นไป
ในทิศทางไหน

6.3 PESTEL Analysis


จุฑาลักษณ์ สายแปง และศิริจันทร์ เชื้อสุวรรณ (2564) กล่าวว่า สำหรับเครื่องมือในการวิเคราะห์
ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ตัวแบบ PESTEL ที่ใช้ในการวิเคราะห์
ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกในระดับมหภาค ตัวแบบ PESTEL เริ่มแรกมีต้นกำเนิดจากตัวแบบ PEST ที่ถูก
คิดค้นโดย Francis J. Aguilar. ในปีค.ศ. 1967 และได้ถูกพัฒนาต่อยอดแนวคิดจากนักวิชาการหลายท่านจน
กลายเป็นตัวแบบ PESTEL ในปัจจุบัน ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่
ช่ ว ยทำให้ ผ ู ้ บ ริ ห ารสามารถมองเห็ น โอกาสหรือ อุ ป สรรคที ่ จ ะมากระทบต่ อ การดำเนิ น งานขององค์ กร
การวิเคราะห์โดยใช้ตัวแบบ PESTEL นี้จะช่วยทำให้องค์กรเห็นปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่จะมากระทบ
องค์กรได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ตัวแบบ PESTEL เป็นเครื่องมือที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อองค์กรใน
การวิเคราะห์ ก ารเปลี ่ย นแปลงของปั จ จัย สภาพแวดล้ อ มภายนอกในระดั บ มหภาคที ่เ กิด ขึ้ นในปัจ จุ บั น
การวิเคราะห์โดยใช้ตัวแบบ PESTEL ประกอบด้วย 6 ด้าน ดังนี้
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

1. ด้านการเมือง (P)
2. ด้านเศรษฐกิจ (E)
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม (S)
4. ด้านเทคโนโลยี (T)
5. ด้านสิ่งแวดล้อม (E)
6. ด้านกฎหมาย (L)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจแบบมหภาค โดย PESTEL Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ใน
การวิ เ คราะห์ ส ภาพแวดล้ อ มที ่ ค ำนึ ง ถึ ง ปั จ จั ย ภายนอกทั ้ ง หมด 6 ปั จ จั ย ได้ แ ก่ การเมื อ ง (Politics)
เศรษฐศาสตร์ (Economics) สังคม (Social) เทคโนโลยี (Technological) สิ่งแวดล้อม (Environmental
และกฎหมาย (Legal) (อัครพนธ์ เอี้ยวรัตนวดี, 2565)
จากเครื่อ งมื อ PEST ในบางที่อาจจะมี การเพิ่ ม ปัจจัย Environment และ Legal เข้าไปด้ ว ย
(กลายเป็น PESTEL)
Environment: ปัจจัยที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง, โลกร้อน, น้ำท่วม
Legal: ปัจจัยทางกฎหมาย เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, กฎหมายแรงงาน
PESTLE Analysis คือ เครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์และทำความเข้าใจ "ภาพรวม" ของ
สภาพแวดล้อมภายนอกในการดำเนินงานของธุรกิจ PESTLE Analysis จะช่วยในด้านการวิเคราะห์ปัจจัยด้าน
การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สภาวะแวดล้อม และกฎหมาย (เอกกมล เอี่ยมศรี อ้างถึงในปรียา จันท
กูล, 2560)
อังคณา รักษาผล. (ม.ป.ป.) กล่าวว่า ตัวแบบ PESTEL เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์
ในการวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเมือง
2) ด้านเศรษฐกิจ 3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม 4) ด้านเทคโนโลยี 5) ด้านสิ่งแวดล้อม และ 6) ด้านกฎหมาย
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

7. การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป (Implication)

วิธีดำเนินการวิเคราะห์ STEEP
Evans, N. (2015) โดยทั่วไปการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 การสแกนและตรวจสอบสภาพแวดล้อมมหภาคเพื่อดู การเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่หรือ การ
เปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ในทั้งปัจจุบันและในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัยทางสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อม และการเมือง โดยสิ่งที่จะต้องพิจารณาในด้านต่างๆ ได้แก่
1.1 ปัจ จัย ทางสังคม การวิเคราะห์ส ภาพแวดล้อ มทางสัง คมเกี่ ยวข้ องกับ การทำความเข้าใจผลกระทบ
ที่อาจเกิดขึ้นของสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่อธุรกิจ อุตสาหกรรม และตลาด สำหรับการวิเคราะห์
ส่วนใหญ่ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางสังคมจะต้องพิจารณาถึง
1.1.1 วัฒนธรรมทางสังคม (ค่านิยม ทัศนคติ และความเชื่อ) - ผลกระทบต่อความต้องการผลิตภัณฑ์
และบริการ ทัศนคติ การทำงาน การออมและการลงทุน จริยธรรม ฯลฯ
1.1.2 ประชากรศาสตร์ – ผลกระทบของขนาดและโครงสร้างของประชากร รวมถึงรูปแบบของความ
ต้องการของตลาด
1.1.3 โครงสร้างทางสังคม – ผลกระทบของทัศนคติต่อการทำงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการ
1.2 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาความเข้าใจถึง
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทั้งในธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจรวมถึง
1.2.1 ผลิตภัณฑ์และบริการ
1.2.2 กระบวนการดำเนินงาน
1.2.3 สารสนเทศและการสื่อสาร
1.2.4 การขนส่ง จัดจำหน่าย และการกระจายสินค้า
1.3 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยภายนอกอาจส่งผลกระทบต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้
1.3.1 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (โดยปกติจะวัดการเติบโตปีต่อปี ของเศรษฐกิจ ในประเทศ
ตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ)
1.3.2 ระดับรายได้ในระบบเศรษฐกิจ
1.3.3 ระดับของผลผลิต
1.3.4 ระดับค่าจ้าง และอัตราการขึ้นค่าจ้าง
1.3.5 ระดับเงินเฟ้อ
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

1.3.6 ระดับการว่างงาน
1.3.7 ดุลการค้า (การวัดความแข็งแกร่งทางการเศรษฐกิจระหว่างประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง)
1.3.8 อัตราแลกเปลี่ยน (มูลค่าการแลกเปลี่ยนของสกุลเงินหนึ่งต่ออีกสกุลเงินหนึ่ง)
1.4 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมในที่นี้ เป็นผลกระทบจากความกังวลต่อสภาพแวดล้อม
ทางกายภาพ (ทั้งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น) ต่อองค์กร เช่น การเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศโลก การสูญเสียโอโซน มลพิษทางน้ำและเสียง (Evans, N., 2015)
1.5 ปั จ จั ย ด้ า นการเมื อ ง การปกครอง สภาพแวดล้ อ มทางการเมื อ งถู ก กำหนดให้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของ
สภาพแวดล้อมมหภาค ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงหรืออิทธิพลของรัฐบาล รัฐบาลมีอำนาจควบคุมหรือมี
อิทธิพลโดยตรงต่อ
1.5.1 กฎหมายและข้อบังคับ - ครอบคลุมถึงกฎหมายที่มีอิทธิพลต่อการจ้างงาน การคุ้มครองผู้บริโภค
สุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน สัญญาและการค้า สหภาพแรงงาน การผูกขาดและการควบรวม
กิจการ ภาษี ฯลฯ
1.5.2 นโยบายเศรษฐกิจ - โดยเฉพาะโยบายการคลัง รัฐบาลมักจะกำหนดนโยบายเกี่ยวกับระดับการ
เก็บภาษีและรายจ่ายในประเทศ
1.5.3 นโยบายระหว่างประเทศของรัฐบาล - การแทรกแซงของรัฐบาลเพื่อควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน
การค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเกี่ยวข้องของการเปลี่ยนแปลงต่อส่วนภายในองค์กร ตลาดขององค์กร และ
อุตสาหกรรมที่องค์กรแข่งขัน
ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องแต่ละรายการอย่างละเอียด และระบุความสัมพันธ์ที่อาจ
เกิดขึ้นระหว่างการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงต่อส่วนภายในองค์กร ตลาดขององค์กร
และอุตสาหกรรมที่องค์กรแข่งขัน
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

8. บทสรุป

ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นปัจจัยที่ มีผลกระทบต่อองค์กร และองค์กร ไม่สามารถควบคุมได้


ซึ่งมีผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบ องค์กรจะต้องรับมือกับสภาพแวดล้อมภายนอก การเผชิญหน้ากับ
ความไม่ แ น่ น อนและการปรั บ ตั ว เป็ น สิ่ ง สำคัญ โดยสภาพแวดล้อ มภายนอกแบ่ง ออกเป็น 2 ระดั บ คื อ
สภาพแวดล้อมจุล ภาค และสภาพแวดล้อมมหภาคหรือ สภาพแวดล้อมทั่วไป โดยสภาพแวดล้อมทั่วไป
(General Environment) บางครั้งเรียกว่า สภาพแวดล้อมมหภาค เป็นสภาพแวดล้อมในวงกว้างที่อยู่นอก
อุตสาหกรรมและตลาดขององค์กร โดยทั่วไปมักจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของแต่ล ะองค์กร แต่อาจมี
ผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อองค์กร ดังนั้นจึงต้องมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป เพื่อ ปรับตัว ให้
สอดคล้อง กับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ทั้งจากสภาพแวดล้อมที่เป็น โอกาส และ
สภาพแวดล้อมที่เป็น อุปสรรค ต่อการดำเนินงานขององค์การ โดยกรอบของสภาพแวดล้อมทั่วไป คือ การแบ่ง
ปัจจัยออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และ
ด้านการเมือง การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกนั้นมีเครื่องมือหลากหลายที่ใช้ในการวิเคราะห์ เช่น PEST
(ที่ประกอบไปด้วย ปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ) หรือ STEEP (ที่มีการเพิ่มปัจจัยด้าน
สิ่งแวดล้อมเข้าไป) และเครื่องมือ PESTEL (ที่มีการเพิ่มปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและกฎหมายเพิ่มเข้าไปจาก
เครื่องมือ PEST) ซึ่งการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไปมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การแสกน สภาพแวดล้อม
2.ระบุความเกี่ยวข้อง ที่มีต่อตลาด อุตสาหกรรมและการดำเนินงานขององค์กร 3.ระบุความสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้น
4.ระบุผลกระทบ ของสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกิดขึ้นต่อองค์กร และที่สำคัญคือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ทั่วไปไม่ควรแยกปัจจัย STEEP ขาดออกจากกัน เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มักจะมี ความเชื่อมโยง ถึงกันได้
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

บรรณานุกรม

จุฑาลักษณ์ สายแปง และศิริจันทร์ เชื้อสุวรรณ. (2564). ตัวแบบการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของปัจจัย


สภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรข้ามชาติ. RMUTI JOURNAL
Humanities and Social Sciences, 8(2).
อัครพนธ์ เอี้ยวรัตนวดี. (2565). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจแบบมหภาค สำหรับการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารผสมกัญชา. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุบลราชธานี, 10(1).
ปาริฉัตร ศรีหะรัญ, ตรีฤกษ์ เพชรมนต์ และพรพิมล ขำเพชร. (2563). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและ
ภายนอกของการท่องเที่ยวโดยชุมชนพื้นที่ภาคเหนือของไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3).
Tokla, M., ชนม์ณัฐชา กังวานศุภพันธ์ และอุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์. (2564). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ภายนอกทางธุรกิจที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยบิวด์ไบรท์
ในประเทศกัมพูชา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(5).
ภาคภูมิ หมีเงิน, ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ, วสุ เชาว์พานนท์ และลําปาง แม่นมาตย์. (2560). การใช้สารสนเทศใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อวางแผนยุทธศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสาร
สารสนเทศศาสตร์, 35(1).
ทิวากาล ด่านแก้ว. (ม.ป.ป.). ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อศักยภาพในการทำงานของนักบัญชี องค์การ
บริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2559). การวิเคราะห์ SWOT แสงไฟส่องนำทางสู่การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ชุมชนทำได้.
Suranaree J. Soc. Sci., 10(2)
ปฏิพาร์ เพชรศิริ และคณะ. (2560). รูปแบบและกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ
เสื้อผ้าค้าส่งในตลาดโบ๊เบ๊ กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
มหาวิทยาลัยศิลปากรณ์, 10(2).
ชนิดา โมทอง และทิพย์วรรณา งามศักดิ์. (2560). กลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายเฟอร์นิเจอร์ร้าน ABC ใน
เขตอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
10(2).
ปรียา จันทกูล. (2560). แผนธุรกิจ ร้านนารา คาเฟ่ (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วรรณวิษา วรฤทธินภา. (2555). การศึกษาปัญหาและกําหนดกลยุทธ์ขององค์กร กรณีศึกษา บริษัท This
Work จํากัด (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

เชาวลิต ประสิทธิ์. (2561). ปัจจัยภายนอกที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด


ย่อม ในจังหวัดฉะเชิงเทรา (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณัฐธนภัสสร์ ไชยรินทร์. (2564). การพัฒนากลยุทธ์เพื่อเข้าสู่ตลาดประเทศจีนของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
กรณีศึกษาของบริษัท ทรอปิคานา ออยล์ จำกัด (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ยุทธวัตร ประโมจนีย์. (2563). การศึกษาแนวทางการลดต้นทุนการขนส่ง : กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง (สารนิพนธ์
ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฉัฐวัฒน์ ลิมป์สุรพงษ์ และวินิจ วีรยางกูร. (ม.ป.ป.). การพัฒนากลยุทธ์เพื่อการแข่งขันของโรงงานอาหารแปร
รูปแห่งที่ 3 อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ.
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน. (2564). แนวปฏิบัติการ
วิเคราะห์องค์กรเพื่อการจัดการความเสี่ยงและโอกาสต่อระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนา
มัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน.
อังคณา รักษาผล. (ม.ป.ป.). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชุดาพร สุวรรณวงษ์. (2556). กลยุทธ์การดําเนินงานของธุรกิจที่พักในเขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
(วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กิตติ เลิศวรวณิช. (2552). การศึกษาปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง
(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
วรรัตน์ ศุภมงคลชัย. (2565). อิทธิพลของการรับรู้สภาพแวดล้อมภายนอกและคุณลักษณะของผู้ประกอบการ
ที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และความสำเร็จในการดำเนินงานของเกษตรกรผู้
ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จงพิศ ศิริรัตน์, สมแก้ว รุ่งเลิศเกรียงไกร, ยุพาวดี สมบูรณกุล และเสาวณี จุลิรัชนีกร. (2547). สภาพแวดล้อม
ทางธุรกิจของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุบิน ชะรอยรัมย์. (2560). สภาพแวดล้อมภายนอกกับความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจการค้าชายแดน :
กรณีศึกษาอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
Wang, L. & Hou, C. (2023). Analysis of Macro Environment and Development
Countermeasures of the Education Industry Based on the PEST Model. Mathematics
and Nonlinear Sciences, 8(2).
นายอธิราช บุตร์น้อย 6611711004

Evans, N. (2015). Strategic Management For Tourism, Hospitality And Event (2 Edition).
Routledge: New York.

You might also like