Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 81

บรรยายโดย

อาจารย์อิทธิพล บัวย้อย
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยพะเยา
รายวิชา 143341 วรรณกรรมญี่ปุ่นเบื้องต้น
ยุคของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ยุคหิน 35000–14000 BCE
ยุคโจมง (縄文時代) 14000–400 BCE ยุคโบราณ
ยุคยะโยะอิ (弥生時代) 400 BCE–250 CE
ยุคโคะฟุง (古墳時代) ค.ศ. 250–538 ชนเผ่ายามาโตะผนวกดินแดน ติดต่อกับเกาหลี
ยุคอะซึกะ (飛鳥時代) ค.ศ. 538–710 ยุคกลาง
ยุคนารา (奈良時代) ค.ศ. 710–794
ยุคเฮอัง ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185 ช่วงยุคคลาสสิก : โดดเด่นทางวัฒนธรรม
ยุคคะมะกุระ ค.ศ. 1185 - ค.ศ. 1333 ยุคศักดินา
ยุคฟื้นฟูเกมมุ ค.ศ. 1333 - ค.ศ. 1336
ยุคมุโระมาจิ ค.ศ. 1336 - ค.ศ.1573
ยุคนัมโบะคุโจ ค.ศ. 1336 - ค.ศ. 1392
ยุคเซ็งโกะคุ ค.ศ. 1392- ค.ศ. 1603
ยุคอะซึจิ โมะโมะยะมะ ค.ศ. 1573 - ค.ศ. 1603 สงคราม-การแบ่งชนชั้น
ยุคเอะโดะ ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868 ยุคใกล้
ยุคเมจิ ค.ศ. 1868 ยุคใหม่
สมัยไทโช ค.ศ. 1912 ปิดประเทศ
สมัยโชวะ ค.ศ. 1926
สมัยเฮเซ ค.ศ. 1989
สมัยเรวะ ค.ศ. 2019 ~
ยุคหิน (35,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 14,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

•ดํารงชีพด้วยการ ล่าสัตว์ เก็บของ


ป่า เร่ร่อนหาแหล่งทํากินใหม่
•เริ่มมีวิวัฒนาการการทําหินเป็นมีด
และการประดิษฐ์อาวุธ
ยุคโจมง(縄文時代)
14,000 BEC – 400 BEC.
ยุคโจมง(縄文時代) 14,000 BCE – 400 BCE
• เครื่องมือเครื่องใช้ทําจากหินด้วยความประณีต
• พัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้ธนู
• ผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผา

縄文時代の石器入手
สมัยโจมง
• ผลิตเครื่องปั้นดินเผาใส่อาหาร
• พัฒนาวิธีล่าสัตว์ ธนู

โบราณสถานอุเอโนะฮาระ
จ.คาโกชิมะ (9,500 ปี)
ยุคโจมง(縄文時代) 14,000 BEC – 400 BEC.

土偶 (โดะงู) ที่พบในจังหวัดมิยะงิ

โจมง ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ลายเชือก ซึ่งสื่อถึงลวดลายบนภาชนะหรือตุ๊กตาดินเผาในยุคนั้น


ซึ่งทําโดยใช้เชือกพันรอบกิ่งไม้แล้วกดทาบลงบนวัสดุ
ยุคยะโยอิ(弥生時代)400 BEC – ค.ศ.250
•เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทําจากโลหะ
•พัฒนาการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
•พิธีเคารพบูชาภูตผีปีศาจ (จากเกาหลีและแผ่นดินใหญ่)
•รัฐเล็กๆ ก่อตัวขึ้นทั่วประเทศ (倭)
ยุคยะโยอิ(弥生時代)400 B.C – 250 B.C.

กระจกสัมฤทธิ์ หนึง่ ในวัตถุโบราณของยุคยะโยอิ

คําว่า ยะโยอิ นั้นได้มาจากแขวงหนึ่งในเขตบุงเกียว กรุงโตเกียว ซึ่งเป็นสถานที่


แรกที่ค้นพบร่องรอยเกี่ยวกับยุคนี้
ยุคโคะฟุน (古墳時代)ค.ศ. 250–538
• ชื่อจากลักษณะเด่น คือ สุสาน
• พัฒนาทางการเกษตรขนานใหญ่
ยุคโคะฟุง(古墳時代) ค.ศ. 250 – ค.ศ.538
•การปกครองแบ่งออกเป็นแคว้นต่างๆ ตระกูลที่มีอํานาจทางทหารและ
การเมืองมากที่สุดคือ ตระกูล ยามาโตะ
•ช่วงศตวรรษที่ 4 ได้ช่วยเหลืออาณาจักรแพคเจของเกาหลีรบกับอีก
สองแคว้น ทําให้วัฒนธรรมเกาหลีเข้ามาในญี่ปุ่น
•ช่วงศตวรรษที่ 5 วิทยาการต่างๆจากจีนเข้ามาสู่ญี่ปุ่น (การผลิต
เครื่องโลหะ เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า การถลุงเหล็ก วิศวกรรม
โยธา การฟอกหนัง การต่อเรือ และเริ่มใช้อักษรคันจิ)
•ญี่ปุ่นเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ เช่น การแพทย์ การใช้ปฏิทิน ดาราศาสตร์
ปรัชญา ขงจื๊อ จากอักษรนี้
ยุคอะซึกะ(飛鳥時代) ค.ศ. 538 – ค.ศ.710
• ครั้งแรกที่มีผู้ปกครอง“ยามาโตะ”(ยศตําแหน่ง )
• สถาปนาการปกครองแบบรวมศูนย์ แบ่งการปกครอง
ออกเป็นส่วนราชการต่างๆ
• ส่งราชทูตเจริญสัมพันธ์กับจีน

ส่วนหนึ่งในบันทึกโคจิกิ
ยุคอะซึกะ(飛鳥時代) ค.ศ. 538 – ค.ศ.710
•ศาสนาพุทธจากอินเดียและลัทธิขงจื๊อเริ่มเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่นครั้ง
แรกในปี ค.ศ. 538 ผ่านประเทศเกาหลีและจีน
•ศาสนาพุทธเฟื่องฟู มีการสร้าง วัด โฮริวกะคุมนจิ (法隆学問寺) วัดไม้
ที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น
• จักรพรรดิ คือ นักรบผู้เป็นเทพและราชวงศ์ยามาโตะก็สืบมาจากสุรยิ
เทพี จักรพรรดิทรงเป็น เทวจักรพรรดิ  ราชาธิปไตย
•ตรารัฐธรรมนูญ 17 มาตรา (อิทธิพลจากประเทศจีน)
• ศาสนาพุทธเฟื่องฟู (จากประเทศจีน)

วัดโฮริว (โฮริวจิ) จ. นารา


ยุคอะซึกะ(飛鳥時代) ค.ศ. 538 – ค.ศ.710
•รัฐ ยามาโตะ มีอํานาจขยายการปกครองมากขึ้น แคว้นต่างๆ เริ่มรวมตัวกันอยู่
ใต้อํานาจของราชสํานัก ยามาโตะ
•ศูนย์กลางของระบอบกษัตริย์ยามาโตะย้ายมาตั้งอยู่ใน อะซึกะ จังหวัดนารา

•ญี่ปุ่น(ยุคเจ้าชายโชโตกุ) รับวัฒนธรรมจากจีนมาเป็นจํานวนมาก (กฎหมาย 17


มาตรา ใน ค.ศ.604)
•จัดการปกครองโดยรวมอํานาจไว้ที่จักรพรรดิ (ตามแบบของราชวงศ์สุย)
•เจ้าชายโชโตกุ นําหลักการปกครองของจีนมาใช้ควบคุมอํานาจข้าราชการประจํา
ให้ ขึ้ น อยู่ แ ละจงรั ก ภั ก ดี ต่ อ ส่ ว นกลาง (ระบบการใช้ ย ศถาบรรดาศั ก ดิ์ ต าม
ตําแหน่งหน้าที่ที่ปฏิบัติ ทําให้ระบบยศถาบรรดาศักดิ์ตามสายโลหิตลดลง)
奈良時代
ค.ศ. 710 – ค.ศ.794
สมัยนารา
• จังหวัดนาราในปัจจุบัน
• วังหลวงถาวรแห่งแรกในญี่ปุ่น
“เฮโจเคียว”
ยุคนารา(奈良時代)ค.ศ. 710 – ค.ศ.794
• ปี ค.ศ. 710 สถาปนา เฮโจเคียว (นารา) ขึ้นเป็นเมืองหลวง
• ญี่ปุ่นส่งคณะทูตไปสูร่ าชวงศ์ถังของจีน ,ส่งนักศึกษาไปเรียนศิลปวัฒนธรรมจีน
• การพัฒนาประเทศโดยใช้จีนเป็นแบบอย่าง
• พัฒนาระบบการปกครองให้เหมือนจีน (กษัตริย์มีอํานาจสูงสุดเพียงผูเ้ ดียว)
• ขยายอํานาจไปทัว่ ประเทศทีละน้อยจนรวมประเทศเป็นปึกแผ่นได้ (ยกเว้นโอะกินะวะและฮอกไกโด)
• ชาวจีนอพยพมาอยูญ
่ ี่ปนุ่ มากขึ้น
• ศาสนาพุทธ = ศาสนรัฐ
• การปกครองโดยใช้แนวคิดตามแบบจีนไม่เหมาะกับญี่ปุ่น (ย้ายเมืองหลวงไปนะงะโอะกะเกียว ปี
ค.ศ.784)
(奈良時代) ค.ศ. 710 – ค.ศ.794
• ความเสื่อมของระบบโคจิโคมิน (公地公民制)+ หนีอํานาจและอิทธิพลของพระ
ในปี 784 จึงย้ายเมืองหลวงไปยัง นะงะโอกะเกียว (ปัจจุบันอยู่ในเมืองยามาชิโระ)

 โคจิโคมิน (公地公民制) = ระบบที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ครอบครองที่ดินทั้งหมดและ


ปันส่วนให้ขุนนางกับชาวนา โดยที่ชาวนาต้องเสียภาษีที่ดิน
 โชเอน = ที่ดินที่ได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งมีเป็นจํานวนมากขึ้น ทําให้ระบบโคจิโคมิน
เสื่อมลง

ฟิจิวาระ ทาเนะทสึงุ ถูกลอบฆาตรกรรม


ตระกูลโอโตะโมะ + ซะเอคิ ผู้ต้องสงสัย
อนุชาของจักรพรรดิ อยู่เบื้องหลังการฆาตรกรรม

• ปี 794 ย้ายเมืองหลวงมาที่ เฮอันเกียว(เมืองแห่งความสงบ ปลอดภัย ,เกียวโต)


• สร้างวัดทั่วเมือง อิทธิพลจากจีน
• ศิลปะ วัฒนธรรม ประยุกต์จากจีน

พระพุทธรูป “ไดบุทสึ” วัดโทไดจิ สูง 14.7 m


• พงศาวดาร,ตํานานทางประวัติศาสตร์ “โคจิกิ”
• บันทึกประวัติศาสตร์ญี่ปนุ่ “นิฮงโชะคิ”
• บทกวี เกี่ยวกับวิถีชีวิต “มันโยชู”

โคจิคิ มันโยชู
การเชื่อในพลังอํานาจลึกลับของธรรมชาติ

การบวงสรวงบูชาเทพเจ้าเพื่อขอให้ช่วยบันดาลให้
พืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์

บทสวดที่ใช้ในพิธี

พัฒนาเป็นตํานานเทพและบทเพลง

วรรณคดี
• วรรณคดียุคแรก พัฒนามาจากการบวงสรวง บูชาเทพเจ้า บทสวด
• คาตาริเบะ (語部)
• วรรณคดีปากเปล่า (มุขปาฐะ)(口承文学)
• การติดต่อกับเกาหลีและจีนในยุคนาราก่อให้เกิดวรรณคดีลายลักษณ์
อักษรขึ้นครั้งแรก
• โคจิคิ (古事記)ค.ศ.712
• นิฮนโชะคิ (日本書記) ค.ศ.720
• ฟุโดะคิ (風土記)
• นิฮนเรียวอิคิ (日本霊異記)
• โนะริโตะ และ เซ็มเมียว (祝詞、宣命)
• มันโยชู (万葉集) ค.ศ.759
โคะจิกิ (古事記) ค.ศ. 712
(古事記)ตํานานปรัมปรา ค.ศ. 712
• รวบรวมขึ้นตามพระราชดําริของจักรพรรดิเทมมุ(天武天皇) โดยให้นักเล่านิทานชื่อ 稗田阿礼
(ひえだのあれ)ท่องจําเรื่องราวเรือ
่ งราวต่างๆไว้
• จักรพรรดินี 元明天皇 โปรดเกล้าให้ 太安方侶(おおのやすまろ) บันทึกไว้ในปี ค.ศ.712
• เป็นวรรณคดีลายลักษณ์อักษรเล่มแรกของญี่ปุ่น
• เขียนด้วยอักษรจีน อ่านเป็นเสียงจีนและญี่ปุ่น ไวยากรณ์ญี่ปุ่น
• เนื้อหาไม่เรียงลําดับเวลา เป็นร้อยแก้ว แทรกด้วยเพลงพื้นบ้านหรือบทกลอน
• ว่าด้วยเรื่องของการกําเนิดเทพเจ้าและโลกมนุษย์
• ภาค 1 การกําเนิดของเทพและโลกมนุษย์ - สมัยจักรพรรดิจิมมุ
• ภาค 2 จักรพรรดิจิมมุ – จักรพรรดิโอจิน
• ภาค 3 จักรพรรดินินโตะกุ – จักรพรรดินีซุอิโกะ
• ประวัติการสร้างชาติ แนวคิด ความเป็นอยู่ ความเชื่อ ค่านิยม ศาสนา การเมือง
ในคํานํา(序)ของ โคะจิกิ ระบุว่า เนื่องจากจักรพรรดิเท็มมุ
ทรงตระหนักว่าตํานานและเรื่องราวต่างๆ ที่เล่าขานกันมา
อาจมี ข้อผิ ด พลาดหรื อสู ญ หายไปตามกาลเวลา จึ งมี พ ระ
ประสงค์จะเรียบเรียงข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรให้มีความ
ถูกต้อง โดยให้ 稗田阿礼(ひえだのあれ) ขณะนั้นมีอายุ
28 ปี เป็ น คนเฉลี ย วฉลาดสามารถจดจํ า ได้ ดี เล่ า เรื่ อ งที่
ได้รับฟังมาให้ 太安万侶(おおのやすまろ)บันทึกไว้
การเรียบเรียง โคะจิกิ ต้องระงับไปครั้งหนึ่งเนื่องจากการ
เสด็ จ สรรคตของจั ก รพรรดิ เ ท็ น มุ หลั ง จากนั้ น 30 ปี
จักรพรรดินี เก็มเมะอิ ได้มีพระราชโองการให้ริเริ่มการ
เรี ย บเรี ย งขึ้ น อี ก ครั้ ง 太安万侶(おおのやすまろ)ใช้
เวลาประมาณ 4 เดือน จึงเรียบเรียงเสร็จนําทูลเกล้า
ถวายแด่จักรพรรดินีเก็นเมะอิ
• จั ก รพรรดิ เ ทมมุ (ค.ศ.672-685) ทรงบั ญ ชาให้ ร วบรวมงานชิ้ น นี้ ขึ้ น โดยการ
นําเอางานชิ้นเก่า ๆ ดัง เช่น เทอิคิ (ราชพงศาวดาร) และ ฮอนจิ (ตํานานมูลบท)
นํามาชําระสะสาง แก้ข้อผิดพลาดและหาข้อมูลที่แท้จริง เพื่อจะได้ใช้สืบต่อไปใน
ภายภาคหน้า
• จักรพรรดิต้องการประวัติอันแน่ชัดของการก่อตั้งชาติ เพื่อเสริมสร้างรากฐานของ
ตนให้แน่นหนามั่นคง ในอันที่จะไปติดต่อกับต่างชาติได้
• จุดมุ่งหมายเคลือบแฝงทางการเมืองของจักรพรรดิ เทมมุ เพื่อให้งานชิ้นนี้ยืนยัน
ถึงสิทธิอันชอบธรรมของตนเหนือราชบัลลังก์และในการเป็นผู้ปกครอง
ข้อวิจารณ์เกีย่ วกับ โคะจิกิ
• การมอง โคะจิกิ ในด้านลบ จากการที่ยุคก่อนสงครามแปซิฟิก ได้ถือข้อมูลที่บันทึก
อยู่ใน โคะจิกิ ประดุจดั่งข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ และขึ้นหิ้งกราบไหว้บูชา
• การนําเอาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาจับ โคจิกิ โดยการศึกษาค้นคว้าทําให้เห็นว่า
เรื่องราวต่างๆ ที่บันทึกใน โคจิกิ ไม่อาจใช้เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้
• การตัดตอน โคจิกิ เอาไปเพียงบางส่วน เพื่อนําไปรับใช้ลัทธิทางทหารกับลัทธิคลั่ง
ชาติและความรู้สึกรังเกียจต่างชาติ
• การหลงลืม โคะจิกิ ไป เนื่องจาก นิฮนโชกิ มีรายละเอียดมากกว่า
• ถูกปฏิเสธโดยสิ้นเชิงจากครูประวัติศาสตร์ในช่วงหลังสงคราม
โคะจิกิ การก่อกําเนิดของจิตใจแบบวรรณกรรมซึ่งตอบสนองต่อชีวิต
ในแง่มุมที่กว้างขวางลึกซึ้งกว่าแค่เครื่องมือทางการเมือง
ผู้ใดก็ตาม
ผู้ใดก็ตามที่หมักเหล้านี้
คงจะหมักไปพลางด้วยการ
คว่ํากลองลงแท่นโม่บด,
พลางก็ร้องรําทําเพลงไปด้วย;
คงจะหมักในขณะที่เริงรํา
จึงทําให้เหล้านี้,
เหล้านี้ช่างรื่นเริงมีสุข
-ฮะ ๆ ฮา ๆ-
จากบทเพลง ซากะคุระ (เพลงฉลองเทศกาลเหล้า) ในบันทึกโคะจิกิ
โคะจิกิ การก่อกําเนิดของจิตใจแบบวรรณกรรมซึ่งตอบสนองต่อ
ชีวิตในแง่มุมที่กว้างขวางลึกซึ้งกว่าแค่เครื่องมือทางการเมือง
นิทานเรื่องกระต่ายขาวแห่งเมืองอินาบะในบทที่ 21
“เรามาลองนับกันดูว่าพวกพ้องของข้ากับของท่านใครมี
เด่นการใช้เทคนิค
เยอะกว่ากัน ท่านจงพาพวกพ้องของท่านทั้งหมดมาแล้วนอนหมอบเรียงจาก
บุคลาธิษฐาน
เกาะนี้ไปจนถึงแหลมเคะตะ ข้าจะวิ่งข้ามไปบนหลังของพวกท่านและนับจํานวนดู”
ขอให้ผู้ที่
อยากจะมีชีวิตยืนยาว
นําใบจากต้นโอ๊กใหญ่
แห่งเทือกเขาเฮกุริ
มาประดับเรือนผม
-โอ พ่อหนุ่มเอ๋ย-

บทกวีของยามาโตะ ทาเครุโนะมิโกะโตะ
• ตํานาน หรือ นิทานพื้นบ้านที่ถูกรวบรวมไว้ใน โคจิกิ เราจะพบนิทานในทํานอง
เดียวกันนี้ได้เช่นกันในเกาหลี (ตํานานเรื่อโอรสของเทพธิดาแห่งดวงอาทิตย์ลง
มาจากสวรรค์มาสู่ยอดเขาในคิวชู)
• ตํานานเทพ ซูซาโนะโอะโนะ มิโคโตะ (ปราบงูยักษ์ 8 หัว) คล้ายกับ ตํานาน
เปอร์ซีอุสช่วยอันโดรเมดาจากมังกร

• จากตํานานเหล่านี้ ทําให้เกิดข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับต้นกําเนิดของชนชาติญี่ปุ่น
เรื่องย่อ
ตามตํานานเชื่อกันว่าปีศาจตนนี้เกิดมาพร้อมการสร้างประเทศญี่ปุ่นของ เทพอิซานางิ และ เทพอิซานามิ จึงนับว่า ยามาตะ โนะ โอโรจิ เป็นปีศาจรุ่นแรกของ
ประเทศญี่ปุ่นเมือ่ ปีศาจตนนี้ไปที่หมู่บ้านใดก็จะเกิดการสูญเสียขึ้น ยกเว้นว่าจะสังเวยหญิงสาวให้จนกว่าจะพอใจและจะผ่านไปไม่ทําลายหมู่บ้านนั้น มีหญิงสาวที่ต้องถูกสังเวยไป
ทั้งหมด 7 คน จนกระทั่ง ยามาตะ โนะ โอโรจิ ผ่านมาที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งและหวังจะได้หญิงสาวมาสังเวยเป็นคนที่ 8 แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามที่ต้องการเพราะ เทพซุซาโนโอะ (須佐之男
命 Susano-o no Mikoto) ซึ่งโดนเนรเทศจากสวรรค์และโดนยึดอํานาจอิทธิฤทธิ์ ได้ผ่านมาที่หมู่บ้านแห่งนี้พอดีและวางแผนช่วยเหลือหญิงสาวคนดังกล่าวไว้ โดยนําเหล้า 8 จอกไป

วางเรียงกันแล้วให้หญิงสาวหลบไปอยู่ด้านในสุด ให้เงาของหญิงสาวสะท้อนไปบนเหล้าทั้ง 8 จอก เมื่อ ยามาตะ โนะ โอโรจิ เห็นเงาดังกล่าวก็ทยอยดื่มเหล้าทีละจอก จนเมื่อครบ 8


จอก ก็เริ่มเมาไม่ได้สติ แล้วเทพซุซาโนโอะ ที่ซอ่ นตัวอยูก่ ็ออกมาจัดการโดยตัดหัวทั้ง 8 ทิ้ง และเมื่อปราบเจ้าปีศาจได้แล้ว เทพสุซาโนะโอก็ได้พบกับ ดาบคุซานางิ (草薙の剣
Kusanagi no Tsurugi) อยู่ที่หางของมัน ก่อนที่จะนําดาบดังกล่าวไปมอบให้เทพอามาเทราซุ (天照) เพื่อขอขมาเรื่องที่ทําให้ถูกเนรเทศจากสวรรค์

草薙の剣 : บอกเล่าถึงที่มาของดาบคุซะนะงิ 1 ใน 3 สิ่งศักดิ์สทิ ธิ์ของจักรพรรดิญี่ปนุ่ ได้แก่ กระจกยะตะ ดาบคุซะนะงิ และสร้อยมณียะงะตะมะ


ปริศนาแห่งประวัติศาสตร์ยุคต้นๆ ของญี่ปุ่น
• การคาดคะเนเกี่ยวกับบรรพบุรุษของญี่ปุ่นว่ามาจากที่ใด
• อามาเตราสึ หรือ เทพธิดาแห่งดวงอาทิตย์นั้น จะใช่ตัวราชินี ฮิมิโกะ
หรือไม่
• ตํานานองค์ปฐมเทพ อิซานากิ และ อิซามิ ซึ่งพยายามจะอธิบายถึง
เรื่องของความตายและการหย่าร้าง “กําเนิดของความตาย”
イザナギ & イザナミ
เทพบิดรมารดาของญี่ปุ่น
•อิซานากิ และ อิซานามิ เป็นพระนามของเทพเจ้าชาย-เทพเจ้าหญิง
คู่แรกตามความเชื่อทางศาสนาชินโต
•ทรงเป็นเทพเจ้าผู้สร้างเกาะญี่ปุ่นขึ้นมาจากทะเล
•หลังจากได้รับเทวบัญชา ทั้งคู่ได้เสร็จประทับสะพานสายรุ้งกลาง
สรวงสวรรค์ แล้วจึงใช้หอกกวนน้ําทะเล เมื่อยกหอกขึ้นมาได้มีน้ํา
ทะเลติดมากับหอกและหยดกระทบผิวน้ําปลายเป็นเกาะขึ้นมา
• เมื่อลงมายังเกาะที่เกิดขึ้นนั้น ทั้งสองก็เกิดคําถามขึ้นกับฝ่ายตรงข้าง เรื่อง
ความแตกต่างของร่างกาย
“ร่างกายของเจ้ามีสภาพเป็นเช่นไร”
“ร่างกายของข้ามีสภาพสมบูรณ์ดี แต่มีส่วนหนึ่งแหว่งหายไปไม่สมบูรณ์”
“ร่างกายของข้ามีสภาพสมบูณด์ ี แต่มีส่วนหนึ่งยื่นเกินออกมา ถ้าอย่างนั้นข้า
จะเอาส่วนที่ยื่นเกินออกมาของร่างกายข้าสอดใส่เข้าไปในส่วนที่แหว่งหายของ
เจ้าแล้วเราสองคนก็สร้างผืนแผ่นดินกันขึ้นมา เจ้าคิดว่าอย่างไร”
“ตกลงตามนั้น”

เทพทั้งสองได้ทําพิธิเดินวนรอบเสาศักดิ์สิทธิ์ เมื่อวนมาเจอกันก็ได้จัดพิธีแต่งงาน
และให้กําเนิด “ฮิรุโกะ” (蛭子) บุตรที่พิกลพิการ

o ความเชื่อเรื่องสามีต้องเป็นผู้นําภรรยาต้องเป็นผู้ตาม
o ความเชือ่ เรื่องห้ามพี่น้องแต่งงานกัน
• ทั้งสองนําบุตรลงเรือหญ้าอ้อ พายออกสู่ทะเลไปพบกับเทพเจ้าองค์อื่นๆ เพื่ออ้อนวอนถามว่า
ตนได้กระทําผิดอะไร แล้วได้คําตอบจากทวยเทพโดยการทํานายว่า “ผู้หญิงกล่าวคําพูดก่อนไม่
เป็นการสมควร”

• เมื่อปฎิบัติตามคําแนะนําของทวยเทพ ทั้งสองก็ได้ประสบความสําเร็จในการร่วมรัก ซึ่ง


เทพธิดาอิซานามิได้ให้กําเนิดบุตรและธิดาที่เป็นเทพเจ้ามากมายแล้วล้วนมีหน้าที่พิทักษ์สิ่ง
ต่างๆในเกาะแห่งนี้ทั้งสิ้น
ความสําเร็จจากการแต่งงานทําให้เกิดโอยาชิมะ หรือเกาะ
8 เกาะในหมู่เกาะญี่ปุ่น
• เทพธิดาอิซานามิทรงสิ้นพระชนม์จากการถูกไฟเผาไหม้ช่องคลอด ในการให้
กําเนิดโอรส นามว่า “Hinoyagihayao” หรือเทพแห่งการเผาผลาญ

-แสดงถึงการเสียสละของแม่ที่ยอมสละชีวติ เพื่อลูก
-สะท้อนวิธีจุดไฟในสมัยโบราณ

• เทพอิซานางิเสียใจเป็นอย่างมากจากการจากไปของเทพอิซานามิ และทรงลง
มือสังหาร เทพคางุซุชิ โดยการใช้ดาบฟันคอเทพ คางุซุชิ ผู้เป็นบุตร เลือดที่ติด
ปลายดาบกระเด็นถูกก้อนหินศักดิ์สิทธิ์เกิดเป็นเทพแห่งการฟาดฟันทําลาย
หลังจากการตายของอิซานามิ อิซานากิเดินทางไปยัง “โยมิ”
(Yomi – ดินแดนแห่งความตายอันมืดมิด) เพื่อตามหาอิซานามิ
อิซานางิ
“เทพผู้เป็นภรรยาที่รักแห่งข้า ดินแดนที่เจ้ากับข้าร่วมกันสร้างขึ้นมานั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์เลย ได้
โปรดกลับไปยังโลกด้วยเถิด”
อิซานามิ
“ช่างน่าเสียดายนัก ถ้าท่านมาเร็วกว่านี้ก็คงจะดี ข้าได้ทานอาหารของดินแดนโยะมิเข้าไปเสียแล้ว
แต่ในเมื่อสามีของข้าอุตส่าห์มาหาข้าถึงที่นี่ ข้าก็อยากจะกลับไปกับท่าน ขอให้ข้าได้ปรึกษากับเทพแห่ง
ดินแดนโยะมิสักครู่ก่อน ระหว่างนั้นขอท่านจงอย่าได้มองรูปร่างของข้าเป็นอันขาด”

เมื่อกินอาหารของที่ไหนเข้าไปแล้วจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่สนิทแน่นแฟ้นกับที่นนั่ ขึน้
หลังจากการตายของอิซานามิ อิซานากิเดินทางไปยัง “โยมิ”
(Yomi – ดินแดนแห่งความตายอันมืดมิด) เพื่อตามหาอิซานามิ
• อิซานากิ ตกใจกับรูปลักษณ์ของภรรยา ที่เน่าเปื่อย กลายเป็นผีที่น่าเกลียด และแสดงอาการรังเกียจ
ออกมา จนถึงขนาดวิ่งหนี
• อิซานามิ เกิดความโกรธแค้นจึงให้เหล่าปีศาจในยมโลกตามจับสามีมาให้นาง
• เมื่อเทพอิซานางิหนีมาถึงทางออกจากโยมะได้สําเร็จแล้วทรงนําก้อนหินมาปิดปากทางเข้าแดนโยมะ
• เทพอิซานามิได้บังเกิดความแค้นและกล่าวว่า “จะฆ่ามนุษย์วันละ 1,000 คน ” อิซานากิ ได้โต้ตอบว่า
“จะทําให้มนุษย์เกิดวันละ 1,500 คน”

ความเชื่อเรื่อง การเกิด และ การตาย


หลังจากที่อิซานากิกลับมาจากโยมิ เมื่อเขาลงไปในน้ําชําระล้างร่างกาย เทพเจ้า 3 องค์
ก็ได้ถือกําเนิดขึ้นจากการล้างหน้าของอิซานากิ
• 天照大御神(あまてらすおおみかみ) - การจุติของดวงอาทิตย์ เกิดจากตาซ้าย
• 月読命(つくよみのみこと) - การจุติของดวงจันทร์ เกิดจากตาขวา
• 須佐之男命(すさのおのみこと) - การจุติของลมหรือพายุ) เกิดจากจมูก

ปกครองสวรรค์ ปกครองโลกยามราตรี ปกครองท้องทะเล


ความเชื่อที่ส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน
• คนญี่ปุ่นกําเนิดจากเทพเจ้า
• เป็นเทพในความเชื่อของศาสนาชินโต
• กําเนิดเกาะ 4 เกาะ หลักๆ เช่น คิวชู ฮอนชู อาวะจิ ชิโคคุ
• ตํานานองค์ปฐมเทพ อิซานากิ และ อิซามิ ซึ่งพยายามจะอธิบายถึง
เรื่องของความตายและการหย่าร้าง
• ความเชื่อเรื่องสวรรค์และนรก
• ความเชื่อเรื่องทูตผีปีศาจ
• ความเชื่อเรื่องการล้างมลทิน
(日本書記) ค.ศ. 720
• รวบรวมขึ้นโดยคณะราชบัณฑิตภายใต้การนําของ เจ้าชายโทเนริ(舎人)
• แบ่งเป็น 30 บท ใช้ภาษาจีนชั้นสูงในการบันทึก เขียนด้วยอักษรจีนและไวยากรณ์จีน
• มีระเบียบแบบแผนเหมือนกับหนังสือประวัติศาสตร์จีน (เรียงลําดับเหตุการณ์ก่อนหลัง)
• มีรายละเอียดสมบูรณ์กว่า โคะจิกิ เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ได้ดีกว่า แต่มีคุณค่า
ด้อยกว่าหากมองในเชิงวรรณกรรม
• เป็นหนึ่งใน 六国史(ประวัติศาสตร์ทั้งหก)
• ตํานานเรื่องเดียวกันที่ปรากฏใน โคะจิกิ จะถูกเล่าแตกต่างกันไปใน นิฮงโชะกิ
ในการเรียบเรียง นิฮนโชะกิ ก็สืบเนื่องจากจักรพรรดิเท็มมุเช่นกัน โดยมี
จุดประสงค์เพื่อเป็นหนังสือประวัติศาสตร์แห่งชาติ ผู้เรียบเรียงประกอบด้วยเชื้อพระ
วงศ์ ข้าราชการและ 太安万侶(おおのやすまろ)เข้าร่วมด้วย ใช้เวลา 40 ปี จึง
รวบรวมเสร็จเจ้าชาย 舎人親王(とねりしんのう) ได้นําถวายแก่จักรพรรดินีเก็นโช
(日本書記)
(日本書記)
• แม้เนื้อหาใน โคะจิกิ และ นิฮนโชะกิ จะคล้ายกันมาก แต่มุมมองที่มีต่อโลกของเทพเจ้าจะต่างกัน
• บันทึกทั้ง 2 เล่มนี้ มีจุดมุ่งหมายในการเรียบเรียงแตกต่างกัน
 โคจิกินั้น เป็นบันทึกที่เขียนขึ้นจากเรื่องราวที่เล่าขาน ต่อกันมาของตระกูลจักรพรรดิ
อย่างตรงไปตรงมา
 ส่วนนิฮงโชะกินั้น เป็นบันทึกที่เขียนขึ้นมาเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของชาติญี่ปุ่นที่สูญเสียไป
ในสงครามฮาคุซนโค (白村江:はくそんこう)ณ คาบสมุทรเกาหลีเมื่อปีค.ศ.663
ด้วยบันทึกประวัติศาสตร์ในฉบับภาษาจีน โดยใช้ข้อมูลหลากหลายอย่าง แต่ละเว้นการ
บันทึกเรื่องที่ไม่ดีเอาไว้
บางงานวิจัย กล่า ว่า โคะจิกิ ประพัน ธ์ขึ้นมาเพื่อ เผยแพร่ภายในประเทศให้เห็นถึงความถูกต้องในการที่จักรพรรดิปกครองบ้านเมือ ง
หลีกเลี่ยงการกล่าวถึงความสัมพันธ์กับต่างประเทศ แต่ นิฮนโชะกิ เรียบเรียงมาเพื่อเป็นตําราประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นใน
การเผยแพร่สู่ต่างประเทศและมีแนวคิดแบบจีนแฝงอยู่
(風土記)
ค.ศ.713
• เกิดจากจักรพรรดินี เก็มเมะอิ ประสงค์ให้หัวเมืองต่างๆ บันทึกข้อมูลในท้องถิ่น เช่น
ประวัติความเป็นมา ที่มา ตํานาน ประเพณี ผลผลิตและทรัพยากร จํานวนประชากร ฯ ส่ง
แก่ทางการ
• จักรพรรดินี เก็มเมะอิ กําหนดเนือ้ หาทีต่ ้องเขียนใน ฟุโดะกิไว้ 5 ประการ คือ
• ชื่อเมืองต้องเขียนด้วยคันจิสองตัว
• รายชื่อผลผลิต
• ความสมบูรณ์หรือกันดาร
• ชื่อภูเขา แม่น้ํา ท้องทุ่ง สถานที่
• ตํานานท้องถิ่น
• สะท้อนความคิด ความเชื่อของคนในท้องถิ่น ตํานานของคนในท้องถิ่น ไม่ใช่ของประเทศ
เหมือน โคะจิกิ หรือ นิฮงโชะกิ
• ประเพณี “อุตะงะกิ” (歌垣)
ประเพณี “อุตะงะกิ” (歌垣)ที่เขาทสึกุบะ

ที่ภูเขาทสึกุบะนั้นผู้คนต่างมาชุม นุมร้องเพลงเต้นรําและดื่มกินกัน เป็นอย่างนี้


เรื่อยมาตั้งแต่สมัยโบราณจึงถึงปัจจุบันมิเคยขาด..ต่างนําเอาอาหารเครื่องดื่มกัน
มามากมาย บ้างก็ขี่ม้ามา บ้างก็เดินขึ้นเขามาร่วมสนุกสนานกัน มีบทเพลงร้องว่า
“หญิงสาวคนนั้นที่บอกว่าจะมาเจอกันที่ภูเขาทสึกุบะคงจะตอบรับคําขานของใครไป
แล้วและคงกําลังสนุกสนานอยู่ที่ภูเขาแห่งเทพนี้”
(日本霊異記)
• หนังสือตํานานทางศาสนาที่แต่งขึ้นหลังจากที่ศาสนาพุทธเข้ามายัง
ประเทศญี่ปุ่นแล้ว (มิใช่ตํานานแต่ดั้งเดิม)
• รวบรวมโดยพระที่ชื่อ เคียวกะอิ แห่งวัดยะกิชิ ในตอนต้นสมัยเฮอัน
• ส่วนใหญ่เป็นตํานานที่แต่งขึ้นในสมัยนารา ชี้ให้เห็นเรื่องของกฎแห่ง
กรรม การทําดีได้ดีทําชั่วได้ชั่ว เป็นเรื่องเล่ากันในหมู่ชาวบ้าน
สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน
(祝詞) (宣命)
• โนะริโตะ “บทสวดร้องในพระราชพิธี” “บทสวดขอบคุณ”
• เซ็มเมียว “พระราชดํารัสของจักรพรรดิในวโรกาสสําคัญ”
• เป็นภาษาร้อยกรอง ใช้เทคนิคแบบ 対句(ついく) หรือ การใช้คําซ้ําเพื่อ
ความไพเราะ

対句(ついく) คือการนําเอาคําหรือวลีซึ่งสื่อถึงสิ่งที่ต่างกันมาจัดเรียงซ้อนคล้ายกันเพื่อให้เกิดจังหวะที่ไพเราะและยังช่วยเน้นความหมายอีกด้วย
(万葉集)
• หนังสือรวบรวมบทกลอนที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น
• กวีไม่น้อยกว่า 450 คน
• แบ่งออกเป็น 20 บท มีกวีนิพนธ์รวมกัน 4516 บทกวี
• รวบรวมขึ้นจากผลงานผู้คนทุกชนชั้นวรรณะในสังคม ตั้งแต่จักรพรรดิ
จักรพรรดินี เหล่าขุนนาง พระเถระ พลทหาร ไพร่ขอทาน ชาวนา
ชาวประมง แม้กระทั่งโสเภณี
• เนื้อหามีทั้งบทกวีไว้อาลัย นิราศ งานฉลอง ธรรมชาติ ความรัก ความไม่จี
รังยั่งยืนของชีวิต
• เขียนด้วยอักษรจีนทั้งหมด ยืมเอาเสียงอ่านทั้งแบบจีนและญี่ปุ่นมาเขียน
เป็นภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า มันโยงะนะ(万葉仮名)
ความแตกต่างของกวียุค มันโยชู กับ กวียุคหลัง
• บุคคลที่เขียนบทกวี มันโยชู ไม่ได้ใส่ใจในเรื่องแนวทางของกวีนิพนธ์ ไม่มี
การครุ่นคิดว่างานของตนจะส่งผลต่อสังคมอย่างไร
• คุณค่าและเสน่ห์อันแท้จริงของงานชิ้นนี้ อยู่ในผลงานกวีอันหลากหลายซึ่ง
แต่งขึ้นโดยผู้คนจากทุกชนชั้นวรรณะ
• ไม่ได้ถูกครอบงําด้วยลัทธิ หรือ อิทธิพลจากสื่อสารมวลชน
มันโยชู “กวีหมื่นบท” หรือ “หมื่นยุค” (บทกวีที่จะดํารงอยู่ชั่วนิรันดร์)
เพราะมันโยชู คือ ;
• ความเรียบง่าย
• เสมือนจริง
• เปิดเผยตรงไปตรงมา (หัวใจที่เปิดเผยตรงไปตรงมาของคนญี่ปุ่น)
บทกวีที่แสดงออกถึงวิญญาณแห่งกวีนิพนธ์ได้อย่างสูงสุด
“ตามสถานที่ ซึ่ ง เอ่ ย อยู่ ใ น “มั น โยชู ” เราจะไม่ พ บศิ ล ปวั ต ถุ ศาลเจ้ า หรื อ วั ด หรื อ
สิ่งก่อสร้างใดๆ เหลือตกทอดมาจากสมัยนั้นเลย หากเราจะได้พบเพียงขุนเขาและธารน้ํา ต้นไม้ใบหญ้า
ช่องแคบหรือทะเลสาบน้ําเค็ม ล้วนแต่เป็นทิวทัศน์ตามธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันได้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง
หรือถูกทําลายไปด้วยน้ํามือมนุษย์”
(万葉集)
• 短歌 (4200 บท)
5 7 5 7 7 (31 พยางค์)
• 長歌 (260 บท) ไม่กําหนดความยาวตายตัว ใช้อักษรบรรทัดละ 5 และ 7 สลับกันไป
และจบด้วยตัวอักษร 7 ตัวในบรรทัดสุดท้าย
5 7 5 7 …. 5 7 7 (ไม่จํากัดวรรคและพยางค์)
せ どう か
• 旋頭歌 (60 บท)
5 7 7 5 7 7 (36 พยางค์)
ぶっ そく せき か

• 仏足石歌 (1 บท)
5 7 5 7 7 7 (38 พยางค์)
(万葉仮名)
(1) การถอดเสียงแบบ อน
การถอดเสียงแบบตรง เช่น 力士(りきし) (ผู้มีพลัง) หรือการยืมเสียงแบบ
อน มาใช้ เช่น 許己呂(こころ=ใจ)、夜麻(やま=ภูเขา) 佐久良(さくら)

(2) การถอดเสียงแบบ คุน


การถอดเสียงแบบตรง เช่น 春(はる)(ฤดูใบไม้ผลิ) และการยืมเสียง คุน มาใช้
เช่น 夏樫(懐かし)、待つ(松)
(1) 枕詞(まくらことば)คําประดับหน้า
คือการนําเอาคําหรือวลีที่มีจํานวน 5 พยางค์ซึ่งได้กําหนดเอาไว้
แน่นอนมาวางไว้ข้างหน้าคําหรือวลีใดๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อประดับกลอนให้
มีความไพเราะสวยงาม
あかねさす ใช้เกริ่นนําถึง สีม่วง
あしひきの ใช้เกริ่นนําถึง ภูเขา
からころも ใช้เกริ่นนําถึง ชายเสื้อ
ひさかたの ใช้เกริ่นนําถึง ท้องฟ้า
(2) 序詞(じょことば)
คือการนําเอาคําหรือวลีหนึง่ ๆ (ไม่จํากัดความยาว) มากล่าวนํา
คําหรือวลีใดๆ ในกลอนเพื่อให้ผู้อา่ นเกิดภาพพจน์ จินตนาการ เข้าใจ
ความหมายของกลอนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
やまどり お
あしひきの よ 山鳥の尾の しだり尾の
ながながし夜を ひとりかも寝む

山鳥のたれさがった尾がながいように、長い長い夜を
一人で寝ることだろうか。

ฉันจะต้องนอนคนเดียวในค่ําคืนที่ยาวนานดุจดั่งความยาวของหางนกป่า
ที่ห้อยย้อยลงมากระนั้นหรือ
あしびきの 山鳥の尾の しだり尾の
ながながし夜を ひとりかも寝む
柿本人麻呂

ฉันจะต้องนอนคนเดียวในค่ําคืนที่ยาวนาน
ดุจดั่งความยาวของหางนกป่าที่ห้อยย้อยลงมากระนั้นหรือ
Kakinomoto no Hitomaro
จากกลอนบทที่ 778 ในหนังสือรวมกลอน ฌูอิวะกะฌู 拾遺和歌集 หมวดความรัก

• กลอนบทนี้แสดงถึงความโศกเศร้าอ้างว้างที่ไม่อาจจะพบกับคนรักได้ ต้องนอนอยู่คนเดียวในค่ําคืน
• นกป่า สื่ออารมณ์อ้างว้างของกวีที่ต้องนอนคนเดียวในค่ําคืนอันยาวนานของฤดู
• ธรรมชาติของ นกป่า(山鳥)เพศผู้และเพศเมียจะอยู่ร่วมกันในตอนกลางวัน แต่พอตกกลางคืนจะแยกกันนอนอยู่คนละ
ที่โดยจะบินแยกไปอยู่คนละหุบเขาจึงมักใช้เปรียบกับสามีภรรยาหรือคู่รักที่ต้องแยกกันอยู่หรือการนอนคนเดียว
(3) 対句(ついく)
คือการนําเอาคําหรือวลีซงึ่ สื่อถึงสิง่ ที่ตา่ งกันมาจัดเรียงซ้อน
คล้ายกันเพื่อให้เกิดจังหวะทีไ่ พเราะและยังช่วยเน้นความหมายอีกด้วย
かむつど つど かむはか はか
「神集 へ 集へたまひ、 神議り 議りたまひ」

จงหาเทคนิคการประพันธ์กลอนจากบทกลอนต่อไปนี้?
枕詞(まくらことば)

あしひきの 山鳥の尾の しだり尾の


序詞(じょことば))

ながながし夜を ひとりかも寝む
(1) 相聞(そうもん)
เพลงโต้ตอบกันหรือเพลงคู่ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับความรัก จึงมักเรียกว่าบทเพลงรัก

(2) 挽歌(ばんか)
บทเพลงไว้อาลัยผู้ตาย

(3) 雑歌(ぞうか)
บทเพลงอื่นๆ เช่น บทเพลงแสดงความรักชาติ ความสุข มักแต่งขึ้นในวัง
相聞
ดุจดังมัดป่านแห่งอะโสะ
ในท้องทุ่งคามิตสุเกะ
ข้าโอบกอดเจ้าไว้ในวงแขน
ร่วมหลับนอนกันไม่เหนื่อยหน่าย
จะให้ข้าทําสิ่งใดกันเล่า?

แสดงออกอย่างกล้าหาญและตรงไปตรงมา แต่กระนั้นก็
มิได้ทําให้รู้สึกถึงความหยาบโลนต่ําช้า
ความเบิกบานสะพรั่งของธรรมชาติซึ่งแวดล้อมอยู่ ความงามของ
ฤดูกาลทั้งสี่ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมา เหล่านี้ คือ สิ่งที่หล่อเลี้ยงสุนทรีย์ใน
จิตใจของคนญี่ปุ่นโบราณ จึงหลั่งไหลอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้นออกมาใน
“มันโยชู”
เหนือเวิ้งทะเล
ริ้วเมฆกระจ่างใส
แสงอาทิตย์อัสดงคงขับขาน;
ดวงจันทร์ยามค่ําคืนนี้-
จะสกาวฟ้าเพียงไหน
จักพรรดิเทนชิ(ค.ศ.626-671)
กวีนิพนธ์ส่วนใหญ่ซึ่งบันทึกอยู่ใน “มันโยชู” มักจะเป็นเรื่องราว
เกี่ยวกับราชสํานักและผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอบๆ เมืองนารา ทว่า
ยังได้ “บทกวีจากภาคตะวันออก” และ “บทกวีของทหารชายแดน”
อันเป็นผลงานของสามัญชนซึ่งอาศัยอยู่ในแถวภาคตะวันออกของญี่ปุ่น
มาช่วยเสริมให้ดูหลากหลายกว้างขึ้น
บทกวีเหล่านี้เป็นผลพวงจากหยาดเหงื่อแรงงานและชีวติ ประจําวันของชาวบ้าน
ในดินแดนภาคตะวันออก ซึ่งเต็มไปด้วยกลิ่นอายของท้องถิ่น เปี่ยมด้วยความรู้สึกเรียบ
ง่าย เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและสีสันของท้องถิ่นชนบท เต็มไปด้วยอารมณ์อ่อนโยน

หนทางสู่ชินาโนะ
เป็นหนทางตัดใหม่
ท่านคงจะต้องเดินบนทางสายขรุขระ
ระวังตอไม้ พี่จ๋า
ทางที่ดีควรจะใส่รองเท้า!
ในยามย่ําสนธยา,
วันที่เขาข้าม
ขุนเขาอูสุหินั้น
สามีของข้า -ข้าเห็นเขาถนัดชัดตา-
โบกไม้โบกมือด้วยแขนเสื้อ.
และแม้กระทั่งบัดนี้
ความรักของข้าก็ยังคงหนักแน่นลึกซึ้ง,
ลึกล้ําดุจดัง
ที่ราบลุ่ม
แห่งทาโกะ.

แสดงถึงความรักความห่วงใยของภรรยาต่อสามี
防人の歌

• บทกวีที่ต่อต้านการเกณฑ์ทหาร แสดงถึงอารมณ์ที่เป็นปรปักษ์ต่อการทําสงคราม
• ปรากฏใน มันโยชู ต้องแต่ที่บทที่ 13-14 แต่มีอยู่มากที่สุดในบทที่ 20
• ผู้ ช ายที่ ถู ก เกณฑ์ ไ ปสู้ ใ นสงครามเกาหลี ใ ห้ ไ ปรบที่ ช ายแดนที่ คิ ว ชู ต้ อ งเดิ น ทางไปด้ ว ย
ตนเอง และยังต้องจัดเสบียงอาหารและน้ําดื่มด้วยตัวเองอีกด้วย
• ระยะเวลาในการเกณฑ์คือสามปี ทุกๆปีเดือนกุมภาพันธ์ ทหารในสามจะได้รับการปลด
ประจําการ สามารถกลับบ้านได้ และต้องเดินทางกลับด้วยตัวเอง
(防人の歌)
ช่างน่าหวาดหวั่นพรั่นพรึงยิ่ง
หมายเกณฑ์ได้ตกมาถึงตัวข้า
นับแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป
ข้าคงต้องนอนในพงหญ้าร้าง,
ไม่มีโอกาสอยู่ข้างกายเมียรัก.

แสดงให้เห็นความทุกข์ของชายผู้ซึ่งจําต้องพลัดพรากจากภรรยามา
ด้วยจิตสํานึกที่มีต่อส่วนรวม
すそ

裾に取りつき 泣く⼦らを
置きてそ来ぬや ⺟なしにして
ลูกๆ พากัน
สะอึกสะอื้นร่ําไห้,
ตามยื้อยุดฉุดชายเสื้อ-
ข้าจะต้องจากไปและทิ้งพวกเจ้าไว้,
ทั้งๆที่ไม่มีแม้แต่พ่อแม่.

からぎぬ

(現代語訳) 唐衣にすがって泣きつく子どもたちを(防人に
出るため)置いてきてしまったなあ、母もいないのに。
จําใจต้องจากบ้านเกิดไปรบตามหมายเรียกจําใจต้องปล่อยเหล่าลูกน้อยที่ร้องไห้ดึงแขนเสื้อทั้งที่แม่ของพวกเจ้าก็ไม่อยู่แล้ว
つま こ

わが妻は いたく恋ひらし
かご よ

飲む⽔に 影さへ⾒えて 世に忘られず

こい

(現代語訳) 私の妻はとても恋しがっているようだ。飲もう
とする水に影までもみえていて、決して忘れられない。

แสดงให้เห็นถึงอาการพร่ําเพ้อถึงภรรยาเพราะอยู่ในสนามรบเป็นเวลานาน
บทกวีที่แต่งขึ้นโดยภรรยาของทหาร
た せ
さきもり

防⼈に ⾏くは誰が背と
とう ひと とも もの も

問ふ⼈を ⾒るが羨しさ 物思ひもせず

「防人に行くのは誰の夫なの」ときいている もの おも

人を見るうらやましさよ。物思いもせずに。
“ผัวของใครล่ะคราวนี้
ที่จะต้องไปสู่ชายแดน?”
ข้ารู้สึกอิจฉา
หญิงผู้เอ่ยคําถามนี้,
โดยไม่มีร่องรอยกังวลอยู่ในใจแม้แต่น้อย!
あらた とし はじ はつはる きょう

新しき 年の初めの 初春の今⽇


し よ ごと

降る雪の いや重け吉事
「 新しい年のはじめにあたって、このようなきれいな雪が降りつづいている。
今年もこのように美しい良い年でありますように」

แม้ว่าหิมะจะโปรยปรายลงมาในวันนี้
ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่
นับเป็นวันซึ่งฤดูใบไม้ผลิแรกแย้ม,
แม้ว่าหิมะจะตกหนา,แต่ก็ยังนับว่าเป็นวันมงคล!
โอโตโมะโนะ ยาคะโมชิ คศ.749
(巻20/4516)

แทนคําภาวนาเพื่อสวัสดิมงคลและโชคดีของปีที่จะมาถึง แต่ถูกชุบย้อมด้วยความเศร้าของคนผู้ซึ่ง
ตระหนักว่าช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ได้สิ้นสุดลงแล้ว
T H A N K YO U

81 P R E S E N TAT I O N T I T L E

You might also like