Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 16

การสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL

(The IDEAL Problem –Solving Strategy)

นางสาวนิรมล รัตนแก้ว รหัสนักศึกษา 5915105001208


นางสาววราภรณ์ เศษบุบผา รหัสนักศึกษา 5915105001216
นางสาววิมลวรรณ ไชยเพชร รหัสนักศึกษา 5915105001219
นายศิริชัย ช่วยจันทร์ รหัสนักศึกษา 5915105001221
นางสาวเกศวดี ปรีชา รหัสนักศึกษา 5915105001230
กลุ่มเรียน 59010.152
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเทคนิคการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ( ETH 0120 ) จัดทำ
ขึ้นเพื่อศึกษาเทคนิคการสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL (The IDEAL Problem –Solving Strategy)
และเทคนิคการสอน SQ6R เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษานำมาจัดทำแผนการจัดการเรียนการ
สอนวิชาภาษาไทยให้แก่ผู้เรียน
ในการจั ด ทำรายงานฉบั บ นี ้ ผู ้ จ ั ด ทำได้ ศ ึ ก ษาเทคนิ ค การสอนจำนวน 2 เทคนิ ค คื อ
1) การแก้ปัญหาแบบ IDEAL ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ความหมายของการสอนด้วยการแก้ปัญหาแบบ
IDEAL หลักการจัดกิจกรรมการสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL ขั้นการจัดการเรียนการสอนแก้ปัญหา
แบบ IDEAL แนวทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนแก้ปัญหาแบบ IDEAL การแปลขั้นตอนจัดการเรียน
การสอนการแก้ ป ั ญ หาแบบ IDEAL จากวิ จ ั ย และ 2) เทคนิ ค SQ6R ในประเด็ น ต่ า ง ๆ ได้ แ ก่
ความหมายของเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธี SQ6R ที่มาของเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธี
SQ6R และขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธี SQ6R
คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์ อาจารย์ประจำ
รายวิชาเทคนิคการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ( ETH 0120 ) ที่ให้คำปรึกษา และให้คำแนะนำ ตลอดจน
แนะแนวทางในการจัดทำรายงานฉบับนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

คณะผู้จัดทำ
15 ตุลาคม 2562
สารบัญ
เรื่อง หน้า
การสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL (The IDEAL Problem –Solving Strategy)...................1
ความหมายของการสอนด้วยการแก้ปัญหาแบบ IDEAL……………………………………….………………….1
หลักการจัดกิจกรรมการสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL……………………………………………………….….1
ขั้นการจัดการเรียนการสอนแก้ปัญหาแบบ IDEAL………………………………………………………………….3
แนวทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนแก้ปัญหาแบบ IDEAL………………………………………………………….5
การแปลขั้นตอนจัดการเรียนการสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL จากวิจัย........................................6
บรรณานุกรม………………………………………………………………………………………………………………………8
เทคนิคการจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้วิธี SQ6R…………………………………………………………………………….9
ความหมายของเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธี SQ6R………………………………………………….……..9
ที่มาของเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธี SQ6R………………………………………………….……………….9
ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธี SQ6R……………………….………10
บรรณานุกรม...................................................................................................................................13
1

การสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL (The IDEAL Problem –Solving Strategy)

ความหมายของการสอนด้วยการแก้ปัญหาแบบ IDEAL

การสอนการแก้ ป ั ญ หาแบบ IDEAL. (The IDEAL Problem Solving Model) หมายถึ ง


การสอนที่ช ่ว ยให้ผ ู้เรีย นรู้ขั้น ตอนของการแก้ปัญหาและยังช่ว ยให้นักเรียนมีโอกาสใช้ความคิด
วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น เพื่อแก้ปัญหา Bransford และคนอื่น ๆ เป็นผู้เริ่มกลวิธีแก้ปัญหาแบบนี้
และแนะนำให้ผสมผสานกับการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้สถานการณ์ปัญหาเป็นภาพ ข้อความ หรือบท
สนทนาของชีวิตประจำวันที่น่าสนใจนำมาเป็นสื่อในการสอนกับการใช้กลวิธีต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนฝึก
การอ่าน ฝึกการคิดรวบยอดในการค้นคว้าหาคำตอบ ฝึกการคิดพิจารณา การคิดวิเคราะห์ และใช้
ประสบการณ์เดิมมาช่วย ซึ่งนำไปสู่การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน สามารถที่ จะเกิด
กระบวนการคิดแก้ปัญหาได้และยังสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

การสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL จะต้องใช้ทักษะการอ่านแบบวิจารณ์ ต้องอาศัยความคิด


ในระดับสูง คือ การสังเคราะห์ การประเมินผล และการวิเคราะห์ เพื่อสามารถเข้าใจในบทอ่านและ
พัฒนาให้เกิดการแก้ปัญหา ผสมผสานกับการสอนแบบร่วมมือกันของนักเรียน ถ้านักเรียนจะร่วมมือ
กันแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม ซึ่งมีสมาชิกที่มีความสามารถต่าง ๆ กัน ทำให้เป้าหมายหรือจุดประสงค์ของ
กลุ่มได้ง่ายกว่า ทั้งนี้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มควรมีส่วนร่วมเพื่อความสำเร็จของกลุ่ม

หลักการจัดกิจกรรมการสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL
วารุณี สิงห์ประสาทพร (2544 : 10-15) ได้กล่าวถึง การสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL ที่มี
ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 บอกได้ว่าอะไรคือปัญหา (Identifying the Problem)
ลำดับแรกต้องรู้ว่าปัญหาคืออะไร จำเป็นต้องให้ผู้เรียนค้นหาปัญหาจากบทอ่าน โดยอภิปราย
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ขั้นที่ 2 ระบุปัญหาให้ชัดเจน (Defining the Problem)
หาคำจำกัดความของปัญหา ผู้เรียนสามารถบอกรายละเอียดของปัญหาและกำหนดปัญหาที่
แท้จริงได้ โดยผู้เรียนต้องใช้ประสบการณ์เดิม และนำข้อมูลมาโยงกับปัญหาที่คิดว่าน่าจ ะเกิดขึ้น
จากนั้นแจกแจงปัญหาออกมา
2

ขั้นที่ 3 หากลวิธีแก้ปัญหา (Exploring Strategies)


การหากลวิธีต่าง ๆ มาแก้ปัญหา ผู้เรียนต้องดูว่ากลวิธีที่มีอยู่เหมาะสมกับปัญหาที่พบหรือไม่
บางครั้งผู้เรียนอาจจะต้องปรับหรือแก้ไขดัดแปลงวิธี เพื่อให้ใช้ได้กับปัญหานั้น ๆ ในการหาวิธีที่จะ
แก้ปัญหา
1. แบ่งปัญหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ
2. มองปัญหาย้อนกลับไป
3. พยายามแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ง่ายขึ้นในการแก้ปัญหาควรมีข้อมูลและควรจะสอน
ความคิดรวบยอดของเนื้อหาเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 และ 5 แก้ปัญหาและดูผลที่เกิดขึ้น (Action on Idea and Looking)
ผู้เรียนแก้ปัญหาตามกลวิธีที่คิดไว้และดูว่ามีผลอะไรเกิดขึ้น ถ้ากลวิธีที่เลือกไม่สามารถให้
เกิดผลตามที่หวัง ควรใช้กลวิธีใหม่และประเมินผลที่เกิดขึ้น การสร้างวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นทางเลือก
อื่น ๆ นั้น ถ้าสามารถทำให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพได้มากกว่า อาจมี การเปลี่ยนแปลงได้ วิธีการ
ต่อไปนี้อาจมีประโยชน์ คือ
1. เขียนขั้นตอนในการแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียนได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย โดยให้ทำเป็น
กลุ่มเป็นขั้นตอนแรกและประเมินผลความมีประสิทธิภาพของงาน เมื่อแต่ละกลุ่มได้เขียนการประเมิน
แล้วแลกเปลี่ยนความคิดด้วยการอภิป ราย และการรับรู้ทางเลือกอื่น ๆ ของกลวิธีที่พวกเขาอาจพบ
แล้วและควรถามผู้เรียนว่าผู้เรียนหากลวิธีที่เป็นทางเลือกได้อย่างไร
2. เสนอปัญหาให้กับผู้เรียน และให้รู้ว่าต้องใช้ขั้นตอนในการได้คำตอบสำหรับแต่ละขั้นตอน
ให้แต่ละกลุ่มสร้างกระบวนการสำหรับแก้ปัญหาส่วนนั้น จากนั้นกระบวนการเหล่านั้นก็จะนำเสนอ
ความคิดเห็นด้านการอภิปรายทั้งชั้นเรียน ในระหว่างการอภิปรายควรจะสนับสนุนให้ผู้เรียนแต่ละ
กลุ่มบรรยายถึงกระบวนการและเหตุผลในการประยุกต์ใช้แต่ละกลวิธี
3. ทำงานโดยใช้กระบวนการแก้ไขปัญหาจากหลังมาหน้า จัดลำดับปัญหาและกลวิธีแก้ปัญหา
ให้กับผู้เรียน หลังจากนั้นให้ผู้เรียนตัดสินใจว่าขั้นตอนต่าง ๆ ที่พวกเขาจะใช้เพื่อสร้างคำตอบ
3

ขั้นการจัดการเรียนการสอนการเรียนการสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL
1. ขั้นบอกปัญหา (Identifying the Problem) นักเรียนอ่านบทความร่วมกันภายในกลุ่ม
นักเรียนเก่งจะให้คำปรึกษาและแนะนำ ช่วยเหลือนักเรียนอ่อน ครูจะใช้คำถามเพื่อให้นักเรียน
สามารถบอกรายละเอียดของบทความได้ ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดี จะเป็นแนวทางนำไปสู่การ
ค้นหาปัญหาในเรื่องเดียวกัน การหาปัญหาร่วมกันภายในกลุ่ม โดยการปรึกษาหรืออภิปรายซึ่งการ
อภิปรายในรูปของการพูดแบบไม่เป็นทางการ เป็นวิธีการจะช่วยให้นักเรียนได้รับการกระตุ้นให้พูด
อย่างสบาย ๆ กล้าพูดเรื่องที่คิดและซักถามในเรื่องที่สงสัยได้ ทำให้กล้าพูดมากขึ้น หลังจากนั้น
นักเรียนช่วยกันสรุปปัญหาลงในใบงาน
2. ขั้นระบุปัญหาให้ชัดเจน (Defining the Problem) นักเรียนจะต้องช่วยกันแจกแจงปัญหา
และบอกสาเหตุของปัญหานั้น ๆ โดยผู้เรียนต้องใช้ประสบการณ์เดิมมาช่วย จึงสามารถกำหนดปัญหา
ที่แท้จริงได้ ครูจะช่วยใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนเข้าใจถึงสถานการณ์อย่างชัดเจน นักเรียนจะช่วยกันหา
สาเหตุในบทความ ทำให้นักเรียนได้รูปแบบของภาษาและ รู้แนวทางในการปฏิบัติต่อไปได้อย่าง
ถูกต้องแล้วเขียนไว้ในใบงาน
3. ขั้นหากลวิธีแก้ปัญหา (Exploring Strategies) โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำด้วยวิธีนักเรียน
พูดบรรยายรูปภาพหรือครูใช้คำถามช่วยขั้นหากลวิธีแก้ปัญหา (Exploring Strategies) นักเรียน
ช่วยกันหาวิธีการแก้ปัญหาจากบทความ บางครั้งวิธีการแก้ปัญหาอาจจะมีน้อยเกินไป ครูจำเป็นต้อง
ใช้คำถามโยงปัญหาจากสื่อให้เข้าใจกับปัญหาที่ นักเรียนพบเห็นในชีวิตประจำวัน เพื่อให้นักเรียนได้
เกิดความคิดนำสู่การอภิปราย การพิจารณาปัญหา ครูอาจให้มองปัญหาย้อนกลับไปถึงปัญหาและ
สาเหตุต่าง ๆ หรือแยกปัญหาออกเป็นส่วนย่อยซึ่งง่ายต่อการหาวิธีแก้ปัญหา แล้วช่วยกันเขียนลงในใบ
งาน
4. ขั้น แก้ป ัญหา (Acting on Ideal) นักเรียนช่ว ยกันอภิปรายภายในกลุ่มถึงผลของการ
แก้ปัญหาเมื่อแน่ใจแล้วช่วยกันสรุปปัญหา สาเหตุ การแก้ไข และผลลัพธ์ของการแก้ไขปัญหาใน
ลักษณะของแผนภูมิความหมายนำส่งครู และขณะเดียวกันก็เขียนลงบนแผ่นใส นำเสนอภายในชั้น
เรียน ครูตรวจความถูกต้องในการใช้ภาษาอีกครั้ง แล้วจึงให้คำแนะนำและชมเชย
5. ขั้นดูผลที่เกิดขึ้น (Looking) ครูและนักเรียนช่วยกันพิจารณาวิธีการแก้ปัญหาจากข้อมูลที่
เสนอมาทั้งหมด โดยให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกับครูภายในชั้นเรียน วิธีนี้จะทำให้ทุกคนได้คิด
ไตร่ตรองถึงความถูกต้องและเหมาะสมในการแก้ปัญหา เพื่อเข้าใจถึงวิธีการแก้ปัญหาร่วมกันอย่าง
4

ชัดเจน แล้วจึงสรุปและให้นักเรียนลงในใบงานของตนเอง ครูประเมินผลโดยการสังเกตจากการทำงาน


กลุ่ม ตรวจแบบฝึกหัด การเขียนรายงาน แล้วแจ้งผลการปฏิบัติงาน
จากขั้นตอนทั้ง 5 ขั้น ผู้เรียนได้พั ฒนาทักษะการอ่านของตนเอง เมื่ออ่านแล้วสามารถคิด
วิเคราะห์และวิจารณ์ในบทอ่านซึ่งมีหัวข้อหรือประเด็นที่น่าสนใจ น่าติดตาม อันจะเป็นแนวทาง
นำไปสู่การค้นหาปัญหา ด้วยวิธีการอภิปรายซึ่งการอภิปรายจะส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์และ
ตีความของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นผู้สอนยังได้ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของผู้เรียน จึง
ทำให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในการอภิปรายร่วมกันในกลุ่ม เพื่อหาสาเหตุของปัญหาวิธีการ
แก้ปัญหา และผลของการแก้ปัญหา ด้วยความประนีประนอม ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ภายในกลุ่ม ดังนั้นผู้เรียนจึงมีความมั่นใจในตนเองเพิ่มมากขึ้น ในการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถใช้
ครบทุกทักษะ เพราะผู้เรียนได้แนวคิดจากบทอ่านที่เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอน จึงทำให้ผู้เรียนได้
รูปแบบภาษาอันนำไปสู่การแสดงแผนภูมิความหมายและการเขียนได้เป็นอย่างดี
การที่ผู้เรียนได้รู้ได้เห็นมาก่อนจะทำให้บอกรายละเอียดของสาเหตุปัญหาได้ง่าย เมื่อโยงเข้าสู่
ชีวิตจริง การแยกปัญหาที่ซับซ้อนเป็นส่วนๆ จะทำให้เข้าใจและเห็นแนวทางการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
เป็นการช่วยกันระดมหาแนวทางแก้ปัญหา ผู้เรียนจะสนุกสนานกับการร่วมมือกันหาแนวทางการ
แก้ปัญหา จึงมีความจำเป็นที่ครูผู้สอนควรจะนำโยงไปสู่ชีวิตจริงของผู้เรียน ถ้าพบเหตุการณ์อย่างนี้จะ
ทำอย่างไร จะทำให้การเรียนน่าสนใจยิ่งขึ้นและยังสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ การคาดคะเนผลลัพธ์
ที่จะเกิดขึ้นจากการช่วยกันคิดแล้วสรุปผลนำเสนอตามแนวคิดของแต่ละกลุ่ม ซึ่งเป็นกระบวนการให้
ผู้เรียนมีโอกาสแสดงออกทางภาษาได้เป็นอย่างดี และเป็นไปตามธรรมชาติด้ว ยความสนใจและ
กระตือรือร้นโดยครูและเพื่อนเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับแนวและ
ยอมรับความผิดพลาดของตนเองและนำมาสู่การอภิปรายเพื่อตกลงเลือกวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งแต่ละขั้นตอน
นักเรียนได้ใช้ครบทุกทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน มีการติดตามประเมินผลอย่าง
ใกล้ชิดและบันทึกเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ เพื่อที่จะนำไปสู่การอภิปรายปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป
จึงจะทำให้การพัฒนาภาษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ในการสอนอ่านภาษาอังกฤษการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านคิด ผู้อ่านสามารถใช้คำถาม
เป็นเครื่องในการจัดกระบวนความคิด เมื่อผู้อ่านเข้าใจหรือตีความเนื้อเรื่องที่อ่านผิด ครูผู้สอนจะ
สามารถรู้ได้จากคำตอบของเขา ครูจึงควรศึกษากลวิธีการใช้คำถามในกระบวนการเรียนการสอนให้มี
ประสิทธิภาพ เพราะการเรียนการสอนในห้อ งเรียนใช้กระบวนการถามคำถามเพื่อให้เกิดการสนทนา
และเริ่มต้นการอภิปราย กลวิธีการสอนมีหลายวิธีด้วยกัน การใช้คำถามเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมมากที่สุด
5

เนื่องจากช่วยให้ผู้เรียนอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถสังเกตและสรุป
ในสิ่งที่อ่านได้ สามารถให้ คำจำกัดความ จดจำรายละเอียด ทราบจุดประสงค์ของผู้เขียน สรุปโครง
เรื่อง เปรียบเทียบแสดงความเห็นด้วยหรือคัดค้าน ขยายความ เข้าใจเหตุผลที่เกี่ยวเนื่องกัน นำสิ่งที่
อ่านไปใช้ได้ในสถานการณ์ใหม่ สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ ใช้จินตนาการในการตั้งคำถามอื่น ๆ
อภิปรายความคิดและสามารถสรุปอ้างอิงไปถึงสิ่งรอบตัวได้

แนวทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนแก้ปัญหาแบบ IDEAL

Bransford และคนอื่น ๆ (1994 : 198-199) ได้กล่าวถึงแนวทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ การสอน


แก้ปัญหาแบบ IDEAL คือ

แนวทฤษฎีการสอนเพื่อการสื่อสาร (The Communicative teaching approach)


แนวทฤษฎีการสอนเพื่อการสื่อสาร (The Communicative teaching approach) เป็นการ
สอนที่เน้นการใช้ภาษาของผู้เรีย นเป็นหลักเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจําวัน โดยอาศัยหลักทาง
ภาษาศาสตร์เชิงสังคมวิทยา (Sociolinguistic) ซึ่งว่าด้วยเนื้อหาในบริบท (Context) และวัฒนธรรม
ที่แตกต่างกันในแต่ละชุมชนและสภาพแวดล้อม แนวการสอนตามทฤษฎีนี้จะ เน้นปฏิสัมพันธ์ในการใช้
ภาษาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนเป็น สําคัญ การกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิด
ความรู้สึกอยากแสดงออกทางภาษาหรือการทดลองการใช้ ภาษา เพื่อสื่อความหมายด้วยตนเองทั้ง
การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ย่อมจะทํา ให้การพัฒนาภาษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ
เป็น ไปอย่างธรรมชาติ ฉะนั้น ในการจัดซื้อ เนื้อหาเป็นบทเรียน จึงควรเน้นบริบททางภาษาที่มี
ความหมายแก่ผู้เรียนตามหลักการใช้ภาษา ในสังคมสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มากกว่าจะจัดแบบวิเคราะห์ภาษาให้ ผู้เรียนเพียงเพื่อให้เข้าใจระบบของเสียง คํา และไวยากรณ์
เท่านั้น นอกจากนี้กิจกรรม การเรียนการสอนจําเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องจัดให้ผู้เรียนมีโ อกาส
แสดงออกทางภาษาได้ อย่างเป็นธรรมชาติ ผู้สอนมีหน้าที่คอยช่วยเหลือแนะนำและแก้ไขการใช้ภาษา
ที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน กิจกรรมดังกล่าว เช่น กิจกรรมกลุ่มซึ่งการทำงานกลุ่มนั้นเป็นการเรียนการสอนที่
ทําให้ผู้เรียนเกิดการคิดในการทำงานร่ว มกันกับเพื่อน ๆ ได้ค้นพบข้อคำถามและคำตอบใหม่ ๆ
ประเด็น ที่ท้าทายความสามารถในเรื่ องใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็ นการจัดการเรียนการสอนแบบ
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนด้วยการแก้ปัญหาแบบ IDEAL เป็นวิธีที่จะต้องนํากลวิธีมาช่วยให้
ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ มีขั้นตอนรายละเอียดที่น่าสนใจที่ใช้ได้เหมาะสมกับผู้เรียนที่ได้นําเนื้อเรื่อง
เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของผู้เรียนมาใช้ในบทเรียน เพราะเป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รู้ได้เห็นมาก่อน
จะทําให้บอกรายละเอียดของสาเหตุปัญหาได้ง่ายเมื่อโยงเข้าสู่ชีวิตจริง การแยกปัญหาที่ซับซ้อนเป็น
6

ส่วน ๆ จะทําให้เข้าใจและเห็นแนวทางการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น เป็นการช่วยกันระดมสมองหาแนวทาง


แก้ปัญหา ผู้เรียนจะสนุกสนานกับการร่วมมือกันหาแนวทางการแก้ปัญหาจึงมีความจําเป็นที่ครูผู้สอน
จะนําโยงไปสู่ชีวิตจริงได้การคาดคะเนผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการช่วยกันคิด แล้วสรุปผลนำเสนอตาม
แนวคิดของแต่ล ะกลุ่ม ซึ่งเป็นกระบวนการให้ผู้เรียนมีโ อกาสแสดงออกทางภาษาได้เป็นอย่ างดี
และเป็นไปตามธรรมชาติด้วยความสนใจและกระตือรือร้น โดยครูและเพื่อนเป็นผู้พิจารณาความ
เหมาะสมเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับแนวคิดของตนเองและยอมรับความผิดพลาดของตนเองแล้ว
นำมาสู่การอภิปรายเพื่อตกลงเลือกวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งแต่ละขั้นตอนนักเรียนได้ใช้ครบทุกทักษะ การฟัง
การพู ด การอ่ า น และเขี ย น มี ก ารติ ด ตามประเมิ น ผลได้ ท ํา อย่า งใกล้ ช ิ ดและบั น ทึ ก เหตุการณ์
ทุกเหตุการณ์เพื่อที่จะนำไปสู่การอภิปรายแก้ไขในโอกาสต่อไป จึงจะทําให้การพัฒนาภาษา เป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ
แปลขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL จากวิจัย
ผลการแปลขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนการแก้ปัญหาแบบ IDEAL จากวิจัย Teaching
thinking and Problem Solving (Branford และคณะ 1994 : 67-68) ได้ความดังนี้
ถึงแม้ว่านี่ไม่ใช่วิธีการที่แก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว จากผลที่นักจิตวิทยาศึกษามาพบว่าผู้ที่มี
ความคิดสร้างสรรค์และมีความสามารถในการแก้ปัญหาจะใช้วิธีการที่ง่าย ๆ แต่ได้ผลแน่นอนและ
เทคนิคการคิดที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการแก้ปัญหา. ในโปรแกรมนี้คุณจะเรียนรู้เกี่ยวกับกรอบ
แนวคิดที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหา กรอบแนวคิดนี้สามารถนำไปใช้กับปัญหาประเภทใดก็ได้ที่เกิดจาก
การเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงการสื่อสารของคุณ
ขั้นที่ 1 I – Identify problems and possible opportunities for success ขั้นระบุปัญหา
คนที่มีความคิดสร้างสรรค์มีแนวโน้มที่จะทราบปัญหาที่คนอื่นอาจละเลยหรือหลีกเลี่ยงและ
การแก้ปัญหาเหล่านั้นเป็นโอกาสสำหรับการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. คุณเคยสงสัยไหมว่าผู้คน
คิดค้นไอเดียเช่นปากกาลูกลื่นหรือเครื่องถ่ายเอกสารได้ไอเดียจากที่ไหน ใช่ , ทุกความคิดเริ่มต้นด้วย
การสังเกตเห็นปัญหาที่คนอื่นมองข้ามหรือคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ในการ workshop นี้คุณจะเริ่มค้นพบ
ข้อบกพร่องที่อาจขัดขวางความสำเร็จในอนาคตของคุณ นอกจากนี้เรายังจะขอให้คุณระบุปัญหาใน
สถานที่ทำงานและที่บ้าน ต่อมาเราจะขอให้คุณเปลี่ยนบางส่วนของปัญหาเหล่านี้เป็นโอกาสในการ
แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
7

ขั้นที่ 2 D – define alternative goal and develop an understanding of the problem


ขั้นกำหนดปัญหา
คนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะกำหนดเป้าหมายทางเลือกที่หลากหลายเมื่อมีการระบุปัญหา
สำรวจผลกระทบที่สำคัญของเป้าหมายที่แตกต่างกันในการเรียนรู้และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ในขณะที่เราดำเนินการตามเป้าหมายของเรา เราก็ต้องการที่จะพัฒนาความเข้าใจที่ดีขึ้นของปัญหา
และอาจจะแก้ไขเป้าหมายเหล่านั้น นอกจากนี้มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้าใจว่าเป้าหมายไม่ใช่กลยุทธ์
เป้าหมายคือสิ่งที่เราต้องการและกลยุทธ์เป็นวิธีที่เราบรรลุเป้าหมายของเรา นอกจากนี้เราอาจ
ต้องการที่จะถามตัวเองว่าอะไรเป็นสาเหตุของปัญหา เพื่อช่วยให้เราพัฒนาความเข้าใจที่ดีของปัญหา
นั้น ๆ
ขั้นที่ 3 E - Explore Strategies ขั้นหาวิธีแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จ มักพยายามที่จะสำรวจกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้บรรลุ
เป้าหมายได้ บางครั้งพวกเขาต้องเรียนรู้กลยุทธ์ใหม่หรือได้รับทักษะและข้อมูลใหม่ๆจากแหล่งอื่น ๆ
ขั้นที่ 4 A - Anticipate and Act ขั้นแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จยังพยายามที่จะคาดการณ์ผลกระทบของการใช้กลยุทธ์ที่
เฉพาะเจาะจงเพื่อให้พวกเขาสามารถลดโอกาสของความล้มเหลว แต่ถึงกระนั้น พวกเขายังต้องมี
ความ
กล้าหาญที่จะทำหน้าที่ในกลยุทธ์ที่ดีที่สุดของพวกเขา หากพวกเขาต้องการที่จะประสบความสำเร็จ
9jvมาเราจะอธิบายวิธีการเฉพาะที่ครูสามารถช่วยคาดว่าจะมีผลกระทบของการใช้กลยุทธ์
ขั้นที่ 5 L - Look Back and Learn ขั้นมองย้อนกลับและเรียนรู้
นักแก้ปัญหา (นักเรียน) ที่ประสบความสำเร็จจะทบทวนผลของความพยายามของพวกเขาที่
จะแก้ไขปัญหาและพยายามที่จะเรียนรู้จากความผิด พลาดของพวกเขา ถ้าเราสามารถหลีกเลี่ยงความ
ผิดพลาดได้ ในอนาคตเราจะประสบความสำเร็จมากขึ้นอย่างแน่นอน
กิจกรรมพื้นฐานเหล่านี้ในรูปแบบสิ่งที่เรียกว่า กรอบแนวคิดของ IDEAL เราจะใช้กรอบนี้
ตลอดโครงการเพื่อช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
8

บรรณานุกรม
ยุดาพรรณ์ ธาดาเสถียร. (2546). ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษที่ไ ด้ รั บ
การสอนแก้ปัญหาแบบ IDEAL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพานพิเศษ
พิทยา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา
หลักสูตรและการสอน (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วารุณี สิงห์ประสาทพร. (2544). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน การเขียน และความ
สนใจในการเรียน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนการ
แก้ปัญหาแบบ IDEAL กับการสอนตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต วิชาเอกการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิรินารถ เทียนสันเทียะ. (2552). การศึกษาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ และความร่วมมือ
ในการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยการแก้ปัญหา
แบบ IDEAL. วิทยานิพนธ์ห ลักสูตรครุศาสตร์ มหาบั ณ ฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Brandford, J. and others. (1994). Teaching thinking and Problem Solving. Research
Foundation American Psychologist.
9

เทคนิคการจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้วิธี SQ6R


ความหมายของเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธี SQ6R
การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี SQ6R เป็นการสอนการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพที่ผู้วิจัยได้
ค้นคว้าข้อมูลที่นักวิชาการดัดแปลงนําวิธีการนี้มาใช้ในการสอนอ่าน เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธี
SQ6R มีนักวิชาการได้อธิบายความหมายดังนี้
มาธา (Mehta. 2007) กล่าวว่าการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี SQ6R เป็นการสอนอ่านที่
เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ จากบทอ่านอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน เช่น การอ่านและส ำรวจ
เนื้อหาในบทอ่านเพื่อหาความหมายโดยรวมและประเด็นสําคัญ ๆ ของการอ่าน การถามคำถามจาก
หัว ข้อต่าง ๆ ที่พบในขั้น ตอนที่ส ำรวจเนื้อหา การอ่านเนื้อหาในบทอ่าน การตอบคำถามดัง ๆ
ในตอนท้ายของแต่ละข้อความเพื่อให้จ ำเนื้อหาที่อ่านได้ การทบทวนประเด็นสําคัญต่าง ๆ ในรูปของ
งานเขียน นอกจากนี้การอ่านเพื่อการเรียนรู้ยังเสริมให้ผู้อ่านได้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ ผู้อ่านจะต้อง
อ่านอย่างพินิจพิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจความคิดของผู้แต่ง การอ้างอิงสื่อต่าง ๆ และการเชื่อมโยง
ความคิดจากสิ่งหนึ่งไปสู่สิ่งหนึ่ง เป็นต้น
ที่มาของเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธี SQ6R
วิลเลียม (จันทนา สุขสมบูรณ์. 2554 : 18-19 , อ้างอิงจาก Williams, 2010 : 192) กล่าวว่า
ในปี ค.ศ. 1946 นักจิตวิทยาชื่อ ฟรานซิส โรบินสัน (Francis Robinson) ได้พัฒนาเทคนิคการอ่าน
และการเรียนรู้เนื้อหาในบทอ่านเรียกว่า SQ3JR ซึ่งย่อมาจาก ค้นคว้า (Survey) ถาม (Question)
อ่าน (Read) จดจํา (Recite) และทบทวน (Review) เป็นเทคนิคที่สอนให้ผู้เรียนรู้จักตั้งคําถามก่อน
การอ่านเนื้อหา ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ตั้งแต่บัด นั้นเป็นต้นมา
นักวิชาการหลาย ๆ ท่านก็ได้นํากลยุทธ์การอ่านแบบ SQ3R เข้าไปใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวกับการอ่าน
เพื่อความเข้าใจและการเรียนรู้เรื่อยมา
ต่อมา ปี ค.ศ. 1972 โทมัส และโรบินสัน (Thomas and Robinson) ได้พัฒ นาเทคนิ ค
PQ4R ซึ่งย่อมาจาก Preview (ดูมาก่อน) Question (ถาม) Read (อ่าน) Reflect (สะท้อนกลั บ )
Recite (จดจํา) Review (ทบทวน)
ปี ค.ศ. 1994 ไมเคิล ฌองเนสซี (Michael Shaughnessy) ได้พัฒนาเทคนิค SQIOR ขึ้นเพื่อ
ช่วยให้ผู้เรียนชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย มีความสามารถในการอ่านหนังสือและ งานวิจัยได้อย่างมี
10

ประสิทธิภาพ และ จีเวสัน วิทแทงเคอร์ (Jewcleane Whitaker) พัฒนาเทคนิคชื่อ FAIRER ย่อมา


จาก Scan for Facts (อ่านแบบกวาดสายตาหาความจริง ) Ask Question (ตั้งคําถาม) Identity
Details as Major or Minor (หารายละเอียดของเนื้อหาและสามารถบอกได้ว่าเป็นเนื้อหาสําคัญหรือ
เนื ้ อ หาย่ อ ย) Read the Work as a whole (อ่ า นงานโดยรวม) Evaluate Comprehension
(วัดความเข้าใจ) Review by Summarizing each Subheading (ทบทวนความเข้าใจโดยทําการสรุป
แต่ละหัวข้อย่อย)
ปี ค.ศ. 1999 เฟลท์ และมัวร์ (Feldt and Moore) ได้คัดแปลง SQ3R จากเทคนิคดั้งเดิม
เล็กน้อยในขั้น Survey ให้อ่านบทนําหรือบทคัดย่อก่อน เพื่อให้สามารถนําความรู้เดิมกับข้อมูลใหม่มา
รวมเข้าด้วยกัน และขั้นการตั้งคําถามใช้คําถามของผู้เรียนที่ถามไว้มาหาคําตอบร่วมกัน
ปี ค.ศ. 2010 อะวิลา (Avila) ได้แนะนําให้ผู้เรียนใช้วิธี SQ6R ในการอ่านงานวิจัย หรือบท
อ่านซึ่งพัฒนามาจากทั้งของโรบินสัน เฟสต์ และมัวร์ วิทเทคเคอร์ และชอทเนสซี (Robinson, Feldt
and Moore, Whittaker and Shaughnessy) (จันทนา สุขสมบูรณ์. 2554: 18 - 19)
ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธี SQ6R
วิลเลียม (จันทนา สุขสมบูรณ์. 2554 : 19-20 : อ้างอิงจาก Williams, 2010 :199) กล่าวว่า
SQ6R ได้มีการแนะนําให้ผู้เรียนใช้ในการอ่านงานวิจัยหรือบทอ่าน ซึ่งพัฒนามาจากทั้งของ โรบินสัน ,
เฟลท์และมัวร์ และวิทแทงเคอร์และของเนสซี (Robinson, Felt and Moore, and Whitaker and
Shaughnessy) โดยมีการสอนด้วยเทคนิค SQ6R ดังนี้
Survey (สํารวจ) เช่น จดชื่อเรื่องของบทความ อ่านบทสรุปที่อยู่ใกล้กับชื่อเรื่อง (ถ้ามี)
อ่านแบบกวาดสายตาอย่างรวดเร็ว
Question (ตั้งคําถาม) เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น รวมทั้งการ
ชี้ให้เห็นถึงความสําคัญและประโยชน์ของเนื้อหาที่มีต่อผู้เรียนโดยตรง สามารถช่วยให้ผู้เรียนมีความ
กระตือรือร้นทีจ่ ะอ่านบทความมากขึ้น
Read (อ่าน) อ่านบทความแล้วสรุปใจความสําคัญของแต่ละหัวข้อให้อยู่ในรูปหัวข้อย่อยแต่
ละส่วนให้เหลือเพียงประโยคเดียว เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบอกได้ว่าอะไรคือใจความสําคัญของแต่ละย่อ
หน้า หรือจดบันทึกและหาความหมายของคําศัพท์ใหม่ ๆ ช่วยให้ผู้เรีย นมั่นใจมากขึ้นเพื่อลดความ
สับสน
11

Reflect (การสะท้อน) เป็นขั้นให้ความสนใจกับรายละเอียดเพื่อนำไปสู่การเห็นภาพโดยรวม


ได้ชัดเจนขึ้น
Review (ทบทวน) เป็นขั้นทบทวนหัวข้อเรื่อง บทสรุปใจความสําคัญ สรุปย่อ สำรวจตาราง
และแผนภูมิต่าง ๆ เพื่อหาความสําคัญ เพื่อเตรียมตัวสำหรับอภิปรายในชั้นเรียน
Rehash (ปรับปรุงใหม่) เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกัน
และกันในชั้นเรียน
Rethink (คิดอีกรอบ) เป็นขั้นที่ผู้เรียนคิดทบทวนและเขียนสิ่งที่เพื่อนแนะนำ
Revaluate (ประเมินผลอีกครั้ง) เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้แก้ไขหัวเรื่อง บทสรุป และบทสรุปโดยย่อ
(ถ้าจําเป็น) และสร้างแผนการเพื่อใช้ข้อมูลที่มีถ้าผู้เรียนอยู่ในสถานการณ์อย่างนี้
นอกเหนือจากนี้ อวิลา (จันทนา สุขสมบูรณ์. 2554 : 20-21 ; อ้างอิงจาก Avila, 2010 :98)
ได้กล่าวว่า SQ6R พัฒนามาจาก SQ3R เพื่อให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตัวเอง สามารถ
สร้างและตอบคำถามด้ว ยตัวเอง รวมไปถึงความสามารถในการใช้ Graphic Organizer สามารถ
วิเคราะห์โครงสร้างของเนื้อหาและสามารถสะท้อนการเรียนรู้ของตัวเองได้ ซึ่งได้เสนอขั้นตอนที่
ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นสำรวจ (Survey) โดยครูให้นักเรียนสำรวจเรื่องที่อ่านอย่างคร่าวๆ ว่ามีหัวเรื่อง หรือหัวข้อ
ย่อยอะไรบ้าง
ขั้นตั้งคำถาม (Question) การตั้งคำถาม จะทําให้ผู้อ่านมีความอยากรู้อยากเห็น ดังนั้น
จึงเพิ่มความเข้าใจในการอ่านมากยิ่งขึ้น คำถามจะช่วยให้ผู้อ่านระลึกถึงความรู้ เดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับ
เรื่องที่อ่านในเวลาเดียวกันก็ควรจะต้องถามตัวเองดูว่าใจความสําคัญที่ผู้เขียนกำลังพูดถึงอยู่นั้นคือ
อะไร ทำไมจึงสําคัญ สําคัญอย่างไร และเกี่ยวข้องกับอะไรหรือใครบ้าง ตอนไหนและเมื่อไร อย่างไรก็
ตามควรพยายามตั้งคำถามให้ได้ เพราะจะช่วยให้ การอ่านในขั้นต่อไปเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมายและ
สามารถจับประเด็นสําคัญได้ถูกต้องไม่ผิดพลาดในขั้นการอ่าน
ขั ้ น อ่ า น (Read) เป็ น การอ่ า นข้ อ ความในบทหรื อ ตอนนั ้ น ๆ ซ้ ำ ๆ อย่ า งละเอี ย ดและ
ในขณะเดียวกันก็ค้นหาคำตอบสำหรับคำถามที่ได้ตั้งไว้ ในขั้นนี้จะเป็นการอ่านเพื่อจับใจความและจับ
ประเด็นสําคัญ ๆ โดยแท้จริง ขณะที่กำลังอ่านอยู่ถ้านึกคำถามได้อีกก็อาจใช้วิธีจดบันทึกไว้ในที่ว่างริม
หน้าหนังสือก่อนแล้วตั้งใจอ่านต่อไปจนกว่าจะได้รับคำตอบที่ต้องการ
12

ขั้นบันทึก (Record) ให้ผู้เรียนจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้อ่านจากขั้นตอนที่ 3 โดยมุ่งจด


บันทึกในส่วนที่สําคัญและสิ่งที่จําเป็น โดยใช้ข้อความอย่างรัดกุมหรือย่อ ๆ ตามความเข้าใจของผู้เรียน
ขั้นจดจำหรืออ่านออกเสียง (Recite) ให้นักเรียนทําความเข้าใจคำตอบและเนื้อเรื่องจากการ
อ่านแล้วจดจำโดยการจดบันทึกย่อหรือขีดเส้นใต้ เพื่อเตือนความจำของตนเอง
ขั้นทบทวน (Review) ให้นักเรียนทบทวนเรื่องที่อ่านทั้งหมด โดยการอ่านคำถามที่นักเรียนตั้ง
ไว้และคำตอบของแต่ละข้อให้ครูและเพื่อนฟัง
สรุปได้ว่าการสอนอ่านด้วยวิธีสอนแบบ SQ6R เป็นวิธีการสอนอ่านที่พัฒนามาจาก วิธี SQ3R
(Survey, Question, Read, Recite, Review) โดยเพิ ่ ม ขึ ้ น จดบั น ทึ ก (Record) เข้ า ไปหลั ง จาก
ขั้นอ่านรายละเอียด (Read) ของบทอ่านเพื่อให้นักเรียนบันทึกในสิ่งที่สําคัญ ๆ และสิ่งที่จําเป็นตาม
ความเข้าใจของผู้เรียน และเพิ่มขั้นสะท้อน (Reflect) หลังจากได้ทบทวน (Review) เรื่องที่อ่าน
ทั้งหมดแล้ว เพื่อนําไปสู่การมองเห็นภาพโดยรวมได้ชัดเจนขึ้น สุดท้ายเพิ่มขั้นสร้างใหม่ (Reshape)
ให้ผ ู้เรีย นได้มีการเปลี่ย นรูป แบบข้อมูล จากบทอ่านที่ผ ู้เรียนอ่ านด้ว ยวิธ ีที่ตัว เองถนัด เช่น ทํา
แบบทดสอบ ตนเอง หรือเขียนสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ ซึ่ง SQ6R สามารถสรุปได้ 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้น
สํารวจ (Survey), ขั้นตั้งคําถาม (Question), ขั้นอ่าน (Read), ขั้นบันทึก (Record), ขั้นจดจําหรือ
อ่านออกเสียง (Recite), ขั้นทบทวน (Review), ขั้นสะท้อน (Reflect) และขั้นสร้างใหม่ (Reshape)
13

บรรณานุกรม
ปิยาภรณ์ ศรีจันทร์. (2557). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและความสามารถด้วนการอ่าน
เชิงวิเ คราะห์โ ดยใช้ วิธ ีส อนแบบ SQ6R ร่วมกับเทคนิค ผั งกราฟฟิ กของนั กเรี ย นชั้ น
ประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร
และการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อารี ทองเพ็ง. (2556). ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี SQ6R ร่วมกับเทคนิค KWL ที่มีต่อ
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในการอ่าน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

You might also like