Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 32

1

❖ สถิติและการแจกแจงความน่าจะเป็น
• วิชาสามัญ คณิต1
ข้อที่ 1. ร้านอาหารสองแห่งสำรวจระยะเวลา (นาที) ที่ลูกค้าแต่ละคนนั่งรับประทานอาหารในร้าน พบว่า มีเปอร์เซ็นไทล์
ของข้อมูลแต่ละร้านเป็นดังนี้
เปอร์เซ็นไทล์ที่ ระยะเวลา (นาที) ที่ลูกค้าแต่ละคน

นั่งรับประทานอาหาร

ร้านที่ 1 ร้านที่ 2

10 24.0 20.0

20 39.5 42.8

30 59.0 49.2

40 70.3 60.7

50 72.2 73.9

60 74.0 75.8

70 91.6 78.8

80 93.2 88.6

90 95.1 98.2

พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก) มัธยฐานของข้อมูลของร้านที่ 1 มากกว่ามัธยฐานของข้อมูลของร้านที่ 2
ข) ร้านที่ 2 มีลูกค้าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนลูกค้าของร้านที่ 2 ที่ใช้เวลานั่งรับประทานอาหารน้อยกว่า
50 นาที
ค) พิสัยระหว่างควอร์ไทล์ของข้อมูลของร้านที่ 1 น้อยกว่า 30 นาที
จากข้อความ ก) ข) และ ค) ข้างต้น ข้อใดถูกต้อง (วิชาสามัญ คณิต1 มี.ค. 65)
1. ข้อความ ก) ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
2. ข้อความ ข) ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
3. ข้อความ ค) ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
4. ข้อความ ก) และ ค) ถูกต้องเท่านั้น
5. ข้อความ ข) และ ค) ถูกต้องเท่านั้น
2

ข้อที่ 2. ในการทอดลูกเต๋าที่เที่ยงตรง 2 ลูก พร้อมกัน จำนวน 9 ครั้ง ความน่าจะเป็นที่จะได้ผลบวกของแต้มบนหน้าลูกเต๋า


มากกว่า 10 จำนวน 2 ครั้ง เท่ากับเท่าใด (วิชาสามัญ คณิต1 มี.ค. 65)
1 2 11 7
1. 45 (12) (12)
2 2 9 7
2. 45 (11) (11)
1 2 17 7
3. 36 (18) (18)
1 2 11 7
4. 36 (12) (12)
2 2 9 7
5. 36 (11) (11)

ข้อที่ 3. น้ำหนักของนักเรียนห้องหนึ่งมีการแจกแจงปกติ โดยมีค่าเฉลี่ยเป็น 5 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


และความน่าจะเป็นที่นักเรียนคนหนึ่งจะมีน้ำหนักน้อยกว่า 45.6 กิโลกรัม เท่ากับ 0.3300
ถ้าสุ่มนักเรียนในห้องนี้มา 1 คน แล้วความน่าจะเป็นที่นักเรียนคนนี้จะมีน้ำหนัก
อยู่ระหว่าง 54.5 ถึง 59.5 กิโลกรัม เท่ากับเท่าใด (วิชาสามัญ คณิต1 มี.ค. 65)
กำหนดตารางแสดงพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตรฐาน ดังนี้

𝑧 - 0.95 - 0.45 - 0.44 - 0.33 0.33 0.44 0.45 0.95

พื้นที่ใต้เส้นโค้ง 0.1711 0.3264 0.3300 0.3707 0.6293 0.6700 0.6736 0.8289


ปกติมาตรฐาน

1. 0.0407
2. 0.0443
3. 0.1553
4. 0.1589
5. 0.1711
3

ข้อที่ 4. สันติเปิดร้านขายกางเกงยีนส์ โดยขายกางเกงยีนส์ 3 แบบ ได้แก่ ทรงขากระบอก ทรงขาบาน และทรงรัดรูป ซึ่ง


แต่ละแบบมี 4 ขนาด ได้แก่ S, M, L และ XL จากการเก็บข้อมูลการขายกางเกงยีนส์ของสันติในเดือนมีนาคม
พบว่า
• สันติขายกางเกงยีนส์ได้ทั้งหมด 600 ตัว
• สันติขายกางเกงยีนส์ทรงขากระบอกขนาด M ได้มากกว่าทรงขากระบอกขนาด L อยู่ 55 ตัว
• สันติขายกางเกงยีนทรงขาบานขนาด M ได้ 68 ตัว
• สันติเขียนแผนภูมิแท่งส่วนประกอบที่แสดงร้อยละของกางเกงยีนส์แต่ละขนาดที่ขายได้ของกางเกงยีนส์ทรง
ขากระบอกและกางเกงยีนส์ทรงขาบาน ได้ดังนี้

ในเดือนมีนาคม สันติขายกางเกงยีนส์ทรงรัดรูปได้ทั้งหมดกี่ตัว (วิชาสามัญ คณิต1 มี.ค. 65)


4

ข้อที่ 5. ในการสอบชิงทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนต้องมีคะแนนสอบตั้งแต่


เปอร์เซ็นไทล์ที่ 85 ขึ้นไป ถ้าคะแนนของการสอบครั้งนี้มีการแจกแจงปกติ โดย
มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 80 คะแนน และความแปรปรวนเท่ากับ 9 คะแนน2
แล้วผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนจะต้องได้คะแนนสอบอย่างน้อยกี่คะแนน
(วิชาสามัญ คณิต1 เม.ย. 64)
กำหนดตารางแสดงพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตรฐานดังนี้

𝑧 0.85 1.04

พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตรฐาน 0.80 0.85

1. 82.55
2. 83.12
3. 85.00
4. 87.65
5. 89.36

ข้อที่ 6. ข้อมูลเชิงปริมาณชุดหนึ่งมีข้อมูลทั้งหมด 21 ตัว และข้อมูลชุดนี้มีฐานนิยม 1 ค่า เท่านั้น


พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก) ถ้าตัดข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุดออก 1 ตัว และเพิ่มข้อมูลที่มีค่าเท่ากับฐานนิยมแทนที่ข้อมูลที่ตัดออกแล้ว
ข้อมูลที่ได้จะมีฐานนิยมเท่าเดิม
ข) ถ้าตัดข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุดออก 1 ตัว แล้วข้อมูลที่ได้จะมีมัธยฐานมากขึ้น
ค) ถ้าเพิ่มข้อมูลอีก 2 ตัว ที่มีค่าเท่ากับค่าเฉลี่ยเลขคณิต แล้วข้อมูลที่ได้จะมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตมากขึ้น
จากข้อความ ก) ข) และ ค) ข้างต้นข้อใดถูกต้อง (วิชาสามัญ คณิต1 เม.ย. 64)
1. ข้อความ ก) ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
2. ข้อความ ข) ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
3. ข้อความ ค) ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
4. ข้อความ ก) และ ข) ถูกต้องเท่านั้น
5. ข้อความ ก) และ ค) ถูกต้องเท่านั้น
5

ข้อที่ 7. ซุ้มเกมส์จับสลากในงานกาชาดมีกล่องใบหนึ่งบรรจุสลาก 9 ใบ โดยมีหมายเลข 1, 2, 3, …, 9 กำกับไว้ใบละ


หนึ่งหมายเลขไม่ซ้ำกัน ในการเล่นเกมส์แต่ละครั้ง ผู้เล่นต้องจ่ายเงิน 90 บาท ก่อน เพื่อจับสลากพร้อมกันสองใบ
ถ้าผลคูณของหมายเลขสลากที่ได้เป็นจำนวนคู่ ผู้เล่นจะได้เงินรางวัล 180 บาท
ถ้าผลคูณของหมายเลขสลากที่ได้เป็นจำนวนคี่ ผู้เล่นจะไม่ได้รับรางวัลใดๆ
ในการเล่มเกมส์แต่ละครั้ง ข้อสรุปใดถูกต้อง (วิชาสามัญ คณิต1 เม.ย. 64)
1. โดยเฉลี่ยแล้วเท่าทุน
2. โดยเฉลี่ยแล้ว ได้กำไรครั้งละ 40 บาท
3. โดยเฉลี่ยแล้ว ได้กำไรครั้งละ 90 บาท
4. โดยเฉลี่ยแล้ว ขาดทุนครั้งละ 40 บาท
5. โดยเฉลี่ยแล้ว ขาดทุนครั้งละ 90 บาท

ข้อที่ 8. นักเรียนห้องหนึ่งมีจำนวน 50 คน ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์มีนักเรียนเข้าสอบทั้งหมด 49 คน ขาดสอบ 1 คน


โดยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนสอบของนักเรียน 49 คนเท่ากับ 10 คะแนน ต่อมา นักเรียนที่ขาดสอบได้
ขอสอบ
ในภายหลัง เมื่อนำคะแนนของนักเรียนที่ขาดสอบมาคำนวณค่าเฉลี่ยเลขคณิตด้วย พบว่า ค่าเฉลี่ยเลขคณิตไม่มีการ
เปลี่ยนแปลงความแปรปรวนของคะแนนสอบของนักเรียนทั้ง 50 คน เท่ากับกี่คะแนน2
(วิชาสามัญ คณิต1 เม.ย. 64)

ข้อที่ 9. กําหนดให้ 𝑎, 𝑏 เป็นจำนวนเต็มบวก ถ้าข้อมูลต่อไปนี้ 𝑎, 𝑏, 4, 4, 3, 3, 6, 5, 5, 8, 7, 7


มีค่า พิสัย = มัธยฐาน = ค่าเฉลี่ยเลขคณิต แล้ว 𝑎𝑏 มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (วิชาสามัญ คณิต1 มี.ค. 63)
1. 12
2. 15
3. 18
4. 20
5. 21

1
ข้อที่ 10. กําหนดให้ 𝑎1, 𝑎2, 𝑎3, … , 𝑎𝑚 เป็นข้อมูลซึ่งเรียงจากมากไปน้อย โดยที่ 𝑎𝑛 = 𝑛(𝑛+1)
1
เมื่อ 𝑛 = 1, 2, 3, . . . , 𝑚 ถ้าข้อมูลชุดนี้มีมัธยฐานเท่ากับ 120 แล้วค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนี้
เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (วิชาสามัญ คณิต1 มี.ค. 63)
1
1. 20
1
2. 21
1
3. 22
1
4. 23
1
5.
24
6

ข้อที่ 11. ให้ 𝑥1, 𝑥2, 𝑥3 , … , 𝑥100 เป็นข้อมูลชุดหนึ่ง ซึ่งมี 𝑎, 𝑚, 𝑥̅ เป็นฐานนิยม มัธยฐาน และค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ตามลำดับ พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. ถ้าเพิ่มข้อมูลอีก 1 ค่า คือ 𝑎 ลงในข้อมูลชุดนี้ แล้วฐานนิยมของข้อมูลชุดใหม่
เท่ากับฐานนิยมของข้อมูลชุดเก่า
ข. ถ้าเพิ่มข้อมูลอีก 1 ค่า คือ 𝑚 ลงในข้อมูลชุดนี้ แล้วมัธยฐานของข้อมูลชุดใหม่
เท่ากับมัธยฐานของข้อมูลชุดเก่า
ค. ถ้าเพิ่มข้อมูลอีก 1 ค่า คือ 𝑥̅ ลงในข้อมูลชุดนี้ แล้วค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดใหม่
เท่ากับค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดเก่า
ง. ถ้าเพิ่มข้อมูลอีก 3 ค่า คือ 𝑎, 𝑚 และ 𝑥̅ ลงในข้อมูลชุดนี้ แล้วพิสัยของข้อมูลชุดใหม่
เท่ากับพิสัยของข้อมูลชุดเก่า
จำนวนข้อความที่ถูกต้องเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (วิชาสามัญ คณิต1 มี.ค. 62 ข้อ25)
1. 0 (ไม่มีข้อที่ถูกต้อง)
2. 1
3. 2
4. 3
5. 4

ข้อที่ 12. จำนวนจริง 100 จำนวน มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 80 ถ้าสุ่มจำนวนเหล่านี้มา 10 จำนวน


พบว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 75.5 แล้วค่าเฉลี่ยเลขคณิตของจำนวนที่เหลือ 90 จำนวน
เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (วิชาสามัญ คณิต1 มี.ค. 62 ข้อ10)
1. 77.75
2. 78.5
3. 80.5
4. 81
5. 81.5
7

ข้อที่ 13. จากแผนภาพต้น – ใบ ที่กำหนดให้


4 2 4 5 6
5 1 1 2 3 5 8
6 0 0 0 2 3 4 𝑥
7 0 1 1 2
8 1 2 3

ถ้าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 70 ของข้อมูลมีค่าเท่ากับ 69 แล้ว 𝑥 มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้


(วิชาสามัญ คณิต1 มี.ค. 61 ข้อ8)
1. 5
2. 6
3. 7
4. 8
5. 9

ข้อที่ 14. คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ มีการแจกแจงปกติ


โดยที่ วิชาคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต 60 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8 คะแนน
และ วิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต 65 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6 คะแนน
ถ้านายมนัส มีคะแนนมาตรฐานของการสอบทั้งสองวิชาเท่ากัน แต่คะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์ มากกว่าวิชา
คณิตศาสตร์
อยู่ 2 คะแนน แล้วมนัสสอบได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ เท่ากับข้อใดต่อไปนี้
(วิชาสามัญ คณิต1 มี.ค. 61 ข้อ23)
1. 72 คะแนน
2. 74 คะแนน
3. 76 คะแนน
4. 83 คะแนน
5. 86 คะแนน
8

ข้อที่ 15. ข้อมูล 20 จำนวน เรียงจากน้อยไปมากได้เป็น 𝑥1, 𝑥2, 𝑥3 , … , 𝑥20


โดยมี ฐานนิยม ≠ 𝑥1
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = 𝑥̅
มัธยฐาน =𝑚
และ พิสัย =𝑅
ถ้าตัด 𝑥1 ออก จะได้ข้อมูลชุดใหม่คือ 𝑥2, 𝑥3, … , 𝑥20
พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. ฐานนิยมของข้อมูลชุดใหม่ เท่ากับฐานนิยมของข้อมูลชุดเก่า
ข. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดใหม่ ≥ 𝑥̅
ค. มัธยฐานของข้อมูลชุดใหม่ ≥ 𝑚
ง. พิสัยของข้อมูลชุดใหม่ > 𝑅
จำนวนข้อความที่ถูกต้องเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (วิชาสามัญ มี.ค. 61 ข้อ26)
1. 0 (ไม่มีข้อความใดถูกต้อง)
2. 1
3. 2
4. 3
5. 4

ข้อที่ 16. คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องหนึ่งมีการแจกแจงปกติ โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต และ


ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 60 และ 10 คะแนน ตามลำดับ
ถ้านักเรียนที่สอบได้คะแนนน้อยกว่า 70 คะแนน
มี 84.13% แล้วนักเรียนที่สอบได้ 50 คะแนน จะมีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่เท่ากับข้อใดต่อไปนี้
(วิชาสามัญ คณิต1 ธ.ค. 59)
1. 15.87
2. 24.13
3. 34.13
4. 47.16
5. 50
9

ข้อที่ 17. ความสูง (เซนติเมตร) ของเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งจำนวน 9 คน


152, 153, 155, 158, 159, 160, 162, 166, 175
ถ้าสุ่มเลือกเด็กกลุ่มนี้มา 3 คน ความน่าจะเป็นที่เด็กทั้งสามคนเตี้ยกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตของความสูงของเด็กกลุ่มนี้
เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (วิชาสามัญ คณิต1 ธ.ค. 58 ข้อ 20)
3
1. 84
5
2. 42
5
3. 28
5
4. 15
25
5. 42

ข้อที่ 18. ผลการสอบวิชาประวัติศาสตร์ซึ่งมีคะแนนเต็ม 20 คะแนนของนักเรียน 10 คน เป็นดังนี้


𝑥, 16, 8, 12, 13, 7, 9, 11, 18, 𝑦
ถ้าค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบเท่ากับ 12.7 คะแนน แล้วมัธยฐานของคะแนนสอบเท่ากับข้อใดต่อไปนี้
(วิชาสามัญ คณิต1 ธ.ค. 58 ข้อ 26)
1. 10 คะแนน
2. 11 คะแนน
3. 11.5 คะแนน
4. 12 คะแนน
5. 12.5 คะแนน

ข้อที่ 19. ถ้า 2, 5, 8, 10, 12, 15, 18 เป็นข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างหนึ่งของประชากร ความแปรปรวนของตัวอย่างนี้


เท่ากับเท่าใด (วิชาสามัญ คณิต1 ม.ค. 58 ข้อ7)

ข้อที่ 20. คะแนนสอบของนักเรียนกลุ่มหนึ่ง มีการแจกแจงปกติ โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10 คะแนน ถ้า


นักเรียนที่สอบได้น้อยกว่า 40 คะแนน มี 33% แล้วจำนวนเปอร์เซ็นต์ของนักเรียนที่สอบได้ระหว่าง 50 และ 60
คะแนน เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ เมื่อกำหนดตารางแสดงพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติดังนี้
(วิชาสามัญ คณิต1 ม.ค. 58 ข้อ21)
𝑧 0.44 0.56 1.44 1.56 1.7 2.44

พื้นที่ใต้เส้นโค้ง 0.17 0.2123 0.4251 0.4406 0.4554 0.4927

1. 6.76%
2. 22.83%
3. 25.51%
4. 35.51%
5. 45.83%
10

ข้อที่ 21. ข้อมูลชุดหนึ่งประกอบด้วย 𝑥, 3.5, 12, 7, 8.5, 8, 5 โดยที่ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนี้เท่ากับมัธยฐาน


และไม่มีฐานนิยม ถ้า 𝑅 คือพิสัยของข้อมูลชุดนี้แล้ว 𝑅 − 𝑥 มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้
(วิชาสามัญ คณิต1 ม.ค. 58 ข้อ22)
7
1. 6
5
2. 2
3. 3
7
4. 2
5. 4

ข้อที่ 22. โรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งมีนักเรียนอยู่ 4 ห้อง ครูบันทึกค่าเฉลี่ยของน้ำหนักของนักเรียนแต่ละห้องไว้ตามตาราง


ต่อไปนี้
ห้องที่ จำนวนนักเรียน (คน) ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักนักเรียน (กิโลกรัม)

1 22 17

2 23 16

3 25 14

4 30 15

ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักของนักเรียนทั้งโรงเรียนมีค่าเท่ากับกี่กิโลกรัม (วิชาสามัญ คณิต1 ม.ค. 57)

ข้อที่ 23. กำหนดให้ 𝑎1, 𝑎2, … , 𝑎9 เป็นข้อมูลชุดหนึ่ง ถ้า 𝑎1, 𝑎2, … , 𝑎9 เป็นลำดับเลขคณิต และมีมัธยฐาน
เท่ากับ 15 แล้วผลบวกของ 𝑎1 , 𝑎2 , … , 𝑎9 มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (วิชาสามัญ คณิต1 ม.ค. 57)
1. 117
2. 125
3. 135
4. 145
5. 153

ข้อที่ 24. ในการสอบวิชาประวัติศาสตร์ มีการสอบ 5 ครั้ง โดยที่อาจารย์ผู้สอนให้น้ำหนักของผลการสอบครั้งสุดท้ายเป็น


สองเท่าของผลการสอบครั้งอื่น ในการสอบสี่ครั้งแรก เด็กชายพลูสอบได้คะแนนเฉลี่ย 86 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเขา
ต้องการผลการสอบวิชานี้เป็น 90 เปอร์เซ็นต์แล้วเขาจะต้องได้คะแนนในการสอบครั้งที่ 5 เท่ากับกี่เปอร์เซ็นต์
(วิชาสามัญ คณิต1 ม.ค. 55 ข้อ8)
11

ข้อที่ 25. น้ำหนักของถุงซึ่งบรรจุอาหารขายส่งของบริษัทแห่งหนึ่งมีการแจกแจงปกติ ถ้าถุงที่มีน้ำหนักเกิน 117.8 กรัม


มีอยู่ 67% และถุงที่มีน้ำหนักเกิน 126.7 กรัม มีอยู่ 9% แล้วจำนวนเปอร์เซ็นต์ของถุงที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 125
กรัม เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ โดยกำหนดตารางแสดงพื้นที่ใต้โค้งปกติดังนี้ (วิชาสามัญ คณิต1 ม.ค. 55 ข้อ22)
Z 0.17 0.44 1 1.1 1.2 1.34

พื้นที่ใต้เส้นโค้ง 0.4554 0.1700 0.3413 0.3643 0.3849 0.41

1. 84.13
2. 86.43
3. 88.49
4. 89.25
5. 90

ข้อที่ 26. กำหนดให้ข้อมูลชุดหนึ่งประกอบด้วย 𝑎1, 𝑎2, 𝑎3 , … , 𝑎91 โดยที่


𝑛 เมื่อ 𝑛 เป็นจำนวนเต็มบวกคู่
𝑎𝑛 = {
3 + 4𝑛 เมื่อ 𝑛 เป็นจำนวนเต็มบวกคี่
มัธยฐานของข้อมูลชุดนี้มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (วิชาสามัญ คณิต1 ม.ค. 55 ข้อ29)
1. 63
2. 68
3. 71
4. 74
5. 76
12

• PAT1
ข้อที่ 27. จากการสำรวจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน ที่สมัครสอบ PAT ประจำปีการศึกษา 2564
มีรายละเอียดจำนวนวิชาที่นักเรียนสมัครสอบดังนี้
จำนวนวิชาที่นักเรียนสมัครสอบ (วิชา) จำนวนนักเรียน (คน)

1 2

2 5

3 7

4 5

5 4

6 4

แผนภาพกล่องในข้อใดที่นำเสนอข้อมูลชุดนี้ได้ถูกต้อง (PAT1 มี.ค. 65)


1.

2.

3.

4.

5.
13

ข้อที่ 28. จากการสอบถามนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้องหนึ่ง จำนวน 45 คน เกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงที่


อ่านหนังสือในวันเสาร์ของสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า
• ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนอ่านหนังสือในวันเสาร์ คือ 𝑎 ชั่วโมง
• ฐานนิยมของจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนอ่านหนังสือในวันเสาร์ คือ 𝑏 ชั่วโมง
• ความแปรปรวนของจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนอ่านหนังสือในวันเสาร์ คือ 𝑐 ชั่วโมง2
สัปดาห์นี้เป็นช่วงใกล้สอบ ทำให้นักเรียนทั้ง 45 คนนี้ ตั้งใจที่จะใช้เวลาอ่านหนังสือในวันเสาร์เพิ่มจากเดิม
อีกคนละ 1 ชั่วโมง พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก) ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนอ่านหนังสือในวันเสาร์ของสัปดาห์นี้ คือ 𝑎 + 1 ชั่วโมง
ข) ฐานนิยมของจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนอ่านหนังสือในวันเสาร์ของสัปดาห์นี้ คือ 𝑏 + 1 ชั่วโมง
ค) ความแปรปรวนของจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนอ่านหนังสือในวันเสาร์ของสัปดาห์นี้ คือ 𝑐 + 1 ชั่วโมง2
จากข้อความ ก) ข) และ ค) ข้างต้น ข้อใดถูกต้อง (PAT1 มี.ค. 65)
1. ข้อความ ก) ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
2. ข้อความ ก) และ ข) ถูกต้องเท่านั้น
3. ข้อความ ก) และ ค) ถูกต้องเท่านั้น
4. ข้อความ ข) และ ค) ถูกต้องเท่านั้น
5. ข้อความ ก) ข) และ ค) ถูกต้อง

สถานการณ์ต่อไปนี้ใช้ในการตอบคำถามข้อที่ 29 – 30
นักวิชาการจากกรมป่าไม้สำรวจข้อมูลของต้นมะค่าโมงทั้งหมดในป่าแห่งหนึ่ง พบว่า ความสูงของต้นมะค่าโมงมีการแจกแจง
ปกติ โดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความสูงของต้นมะค่าโมงเท่ากับ 15 และ 5 เมตร ตามลำดับ
กำหนดตารางแสงพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตรฐาน ดังนี้

𝑧 -2 -1 - 0.8 - 0.5 0 0.5 0.8 1 2

พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติ 0.02 0.16 0.21 0.31 0.50 0.69 0.79 0.84 0.98
มาตรฐาน
14

ข้อที่ 29. ถ้านักวิจัยสุ่มต้นมะค่าโมงในป่าแห่งนี้มา 3 ต้น แล้วความน่าจะเป็นที่จะสุ่มได้ต้นมะค่าโมงอย่างน้อย 1 ต้น


ที่มีความสูงตั้งแต่ 10 ถึง 15 เมตร เท่ากับเท่าใด (PAT1 มี.ค. 65)
1. 1 − (0.66)3
2. 1 − (0.34)3
3. (0.66)3
4. 0.66
5. 0.34

ข้อที่ 30. จากข้อมูลการสำรวจของนักวิชาการจากกรมป่าไม้ พบว่า ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลาง (หน่วยเป็นเซนติเมตร)


ของต้นมะค่าโมงในป่าแห่งนี้มีการแจกแจงปกติ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความยาวของ
เส้นผ่านศูนย์กลางของต้นมะค่าโมงเท่ากับ 5 เซนติเมตร ถ้าสุ่มต้นมะค่าโมงในป่าแห่งนี้มา 1 ต้น
แล้วความน่าจะเป็นที่จะได้ต้นมะค่าโมงที่มีผลต่างระหว่างความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางและ
ค่าเฉลี่ยของความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10 เซนติเมตรเท่ากับเท่าใด (PAT1 มี.ค. 65)
1. 0.98
2. 0.32
3. 0.16
4. 0.04
5. 0.02
15

ข้อที่ 31. ร้านแห่งหนึ่งทำซาลาเปาไส้ใหม่ 3 ไส้ ได้แก่ ซาลาเปาไส้ไข่เค็มลาวา ไส้ช็อกโกแลตลาวา และไส้ผักรวมมิตร


ร้านแห่งนี้ได้สำรวจความชอบของลูกค้าที่มีต่อซาลาเปาไส้ใหม่นี้เป็นเวลา 3 วัน โดยให้ลูกค้าชิมซาลาเปาไส้ใหม่
ทั้งสามไส้ แล้วเลือกไส้ที่ชอบที่สุดมาเพียง 1 ไส้ เท่านั้น ผลการสำรวจในแต่ละวันแสดงได้ด้วยแผนภูมิแท่งได้ดังนี้

จากการสำรวจข้อมูล พบว่า
• การสำรวจวันที่ 1 มีลูกค้าที่ชอบซาลาเปาไส้ผักรวมมิตร จำนวน 60 คน
• จำนวนลูกค้าที่ชอบซาลาเปาไส้ไข่เค็มลาวาจากการสำรวจวันที่ 2 น้อยกว่าจำนวนลูกค้าที่ชอบซาลาเปาไส้ไข่
เค็มลาวาจากการสำรวจวันที่ 3 อยู่ 1 คน
• การสำรวจวันที่ 1 ถึงวันที่ 3 มีลูกค้าที่ชอบซาลาเปาไส้ไข่เค็มลาวาทั้งหมด 229 คน
จากการสำรวจวันที่ 2 มีจำนวนลูกค้าที่ชอบซาลาเปาไส้ช็อกโกแลตลาวา มากกว่า ไส้ผักรวมมิตรอยู่กี่คน
(PAT1 มี.ค. 65)

ข้อที่ 32. จากข้อมูลของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเดือนตุลาคม 2564 พบว่า


• ความน่าจะเป็นที่ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว เท่ากับ 0.75
• ความน่าจะเป็นที่ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 60 ปี เท่ากับ 0.20
• ความน่าจะเป็นที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือมีอายุมากกว่า 60 ปี เท่ากับ 0.35
ถ้าสุ่มผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 มา 1 คน แล้วความน่าจะเป็นที่จะได้ผู้ป่วยที่มีโรค
ประจำตัวและมีอายุมากกว่า 60 ปี เท่ากับเท่าใด (PAT1 มี.ค. 65)
16

ข้อที่ 33. โรคโควิด–19 เป็นโรคระบาดที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คน


และก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ข้อมูลการระบาดของโรคโควิด –19 ของประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรป
จำนวน 9 ประเทศ ในช่วง 90 วันแรก หลังจากพบผู้ติดเชื้อรายแรกของประเทศนั้น แสดงดังตารางต่อไปนี้
จำนวนประชากร จำนวนผู้ติดเชื้อ อัตราส่วนของจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมต่อ
ประเทศ
(ล้านคน) สะสม จำนวนประชากรล้านคน

ฟินแลนด์ 5.54 4,695 847.36

ฝรั่งเศส 65.27 119,151 1,825.41

เยอรมนี 83.78 154,175 1,840.15

อิตาลี 60.46 201,505 3,332.76

นอร์เวย์ 5.42 8,352 1,540.61

โปแลนด์ 37.85 24,395 644.58

โปรตุเกส 10.20 31,596 3,098.65

สเปน 46.75 215,183 4,602.37

สวีเดน 10.10 20,302 2,010.24

จากข้อมูลในตาราง ข้อใดถูกต้อง (PAT1 มี.ค. 64)


1. ประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมน้อยที่สุด
2. ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด
3. ประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมน้อยที่สุด มีอัตราส่วนของผู้ติดเชื้อสะสมต่อจำนวนประชากรล้านคน
น้อยที่สุด
4. ประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด มีอัตราส่วนของผู้ติดเชื้อสะสมต่อจำนวนประชากรล้านคน
มากที่สุด
5. ประเทศที่มีอัตราส่วนของจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมต่อจำนวนประชากรล้านคนน้อยที่สุด
มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด
17

ข้อที่ 34. ชมรมหมากรุกในโรงเรียนแห่งหนึ่งมีสมาชิกจำนวน 9 คน ที่มีความสูง น้ำหนัก และ อายุ ดังตารางต่อไปนี้


ความสูง น้ำหนัก อายุ
นักเรียน
(เซนติเมตร) (กิโลกรัม) (ปี)

A 182 65 17

B 180 70 16

C 175 64 16

D 171 69 15

E 167 58 16

F 163 54 17

G 160 50 17

H 158 46 16

I 155 48 15

พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. นักเรียนคนที่มีความสูงเท่ากับมัธยฐานของความสูง มีน้ำหนักเท่ากับมัธยฐานของน้ำหนัก
ข. นักเรียนคนที่มีความสูงน้อยกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 20 ของความสูง มีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักของนักเรียนที่มี
ความสูงเท่ากับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 20 ของความสูง
ค. นักเรียนทุกคนที่มีน้ำหนักมากกว่าควอร์ไทล์ที่ 3 ของน้ำหนัก มีอายุมากกว่า 15 ปี
จากข้อความ ก) ข) และ ค) ข้างต้น ข้อใดถูกต้อง (PAT1 มี.ค. 64)
1. ข้อความ ก) ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
2. ข้อความ ข) ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
3. ข้อความ ก) และ ข) ถูกต้องเท่านั้น
4. ข้อความ ข) และ ค) ถูกต้องเท่านั้น
5. ข้อความ ก) ข) และ ค) ถูกต้อง
18

ข้อที่ 35. จากการสำรวจความสูงของนักเรียน 1,000 คน พบว่าความสูงของนักเรียนมีการแจกแจงปกติ ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ


160 เซนติเมตร และความแปรปรวนเท่ากับ 25 เซนติเมตร2 กำหนดตารางแสดงพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตรฐาน
ดังนี้

𝑧 –2.60 –1.40 –0.28 0.00 0.28 1.40 2.60

พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตรฐาน 0.005 0.081 0.390 0.5 0.610 0.919 0.995

จากข้อมูลดังกล่าวคาดว่าจะมีนักเรียนที่มีความสูงมากกว่า 167 เซนติเมตรอยู่จำนวนกี่คน (PAT1 มี.ค. 64)

ข้อที่ 36. กำหนดให้ 𝑥𝑖 แทนคะแนนของนักเรียนคนที่ 𝑖 เมื่อ 𝑖 ∈ { 1, 2, 3, … , 46 }


คุณครูคำนวณค่าเฉลี่ยเลขคณิตได้เท่ากับ
55 คะแนน จากนั้นจึงคำนวณ ∑46
𝑖=1(𝑥𝑖 − 55) แล้วจึงนำมาคำนวณความแปรปรวนได้เท่ากับ 30 คะแนน
2 2

ต่อมาครูพบว่า ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเดิมไม่ถูกต้อง เนื่องจากเกิดการหารที่ผิดพลาด


โดยค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่ถูกต้องเท่ากับ60 คะแนน คะแนนสอบของวิชานี้มีความแปรปรวนที่ถูกต้องเท่ากับเท่าใด
(PAT1 มี.ค. 64)
19

ข้อที่ 37. จากการสำรวจจำนวนสมาชิกในครัวเรือนของ 30 ครัวเรือน มีตารางแสดงความถี่สะสมสัมพัทธ์ ดังนี้


จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) ความถี่สะสมสัมพัทธ์

1 0.2

2 0.3

3 0.7

4 0.9

5 1.0

จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดต่อไปนี้ผิด (PAT1 ก.พ. 63)


1. มัธยฐานของจำนวนสมาชิกในครัวเรือน เท่ากับ 3 คน
2. ฐานนิยมของจำนวนสมาชิกในครัวเรือน เท่ากับ 3 คน
3. มี 24 ครัวเรือนที่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน น้อยกว่า 4 คน
4. มี 9 ครัวเรือนที่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน อย่างน้อย 4 คน
5. มี 9 ครัวเรือนที่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน อย่างมาก 2 คน

ข้อที่ 38. ห้องเรียนห้องหนึ่งมีนักเรียน 40 คน ผลการสำรวจน้ำหนักของนักเรียนห้องนี้พบว่า ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของน้ำหนัก


ของนักเรียนห้องนี้เท่ากับ 50 กิโลกรัม และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5 กิโลกรัม
ถ้าห้องเรียนนี้ มีนักเรียนชาย 22 คน
โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของน้ำหนักของ
นักเรียนชายเท่ากับ 50 กิโลกรัมและ 4 กิโลกรัม
ตามลำดับ แล้วน้ำหนักของนักเรียนหญิงมีสัมประสิทธิ์ของการแปรผันเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (PAT1 ก.พ. 63)
1. 0.10
2. 0.12
3. 0.14
4. 0.15
5. 0.16
20

คะแนน จำนวนนักเรียน (คน)


ข้อที่ 39. กำหนดตารางแจกแจงถี่แสดงผลทดสอบของนักเรียนห้องหนึ่ง ดังนี้
เมื่อ 𝑎 เป็นจำนวนเต็มบวก ถ้าคะแนนเฉลี่ยเลขคณิตของผลทดสอบ 0 𝑎−2

เท่ากับ 2.8 แล้วจำนวนนักเรียนห้องนี้เท่ากับเท่าใด 1 𝑎


(PAT1 ก.พ. 62 ข้อ 41) 2 𝑎2

3 (𝑎 + 1 )2

4 2𝑎

5 𝑎+1

ข้อที่ 40. กำหนดตารางแสดงพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตรฐานระหว่าง 0 ถึง 𝑧 ดังนี้


𝑧 0.35 0.5 0.85 1.00 1.20

พื้นที่ใต้เส้นโค้ง 0.1368 0.1915 0.3023 0.3413 0.3849

จากการสอบถามอายุของเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนแห่งหนึ่ง
พบว่าอายุของนักเรียนมีการแจกแจงปกติ
มีนักเรียนร้อยละ 30.85 ที่มีอายุมากกว่า 17 ปี และมีนักเรียนร้อยละ 53.28 ที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปี
แต่ไม่เกิน 17 ปี แล้วสัมประสิทธิ์การแปรผันของอายุนักเรียนกลุ่มนี้เท่ากับข้อใดต่อไปนี้
(PAT1 ก.พ. 61 ข้อ 20)
1. 0.125
2. 1.25
3. 4.0
4. 8.0
5. 12.5

ข้อที่ 41. กำหนดข้อมูล 𝑥1, 𝑥2, 𝑥3, 𝑥4 โดยที่ 0 < 𝑥1 ≤ 𝑥2 ≤ 𝑥3 ≤ 𝑥4


ถ้าข้อมูลชุดนี้มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 7
พิสัยเท่ากับ 9 และ มัธยฐานและฐานนิยมมีค่าเท่ากัน และมีค่าเท่ากับ 6 แล้วสัมประสิทธิ์ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์
ของข้อมูลชุดนี้ เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (PAT1 ก.พ. 61 ข้อ 21)
3
1. 19
5
2. 19
6
3. 19
7
4.
20
9
5. 20
21

ข้อที่ 42. ข้อมูลประชากรชุดหนึ่งมี 10 จำนวน ดังนี้ 𝑥1, 𝑥2 , 𝑥3 , … , 𝑥10 โดยที่ 𝑥𝑖 > 0


สำหรับ 𝑖 = 1,2,3, … ,10
ถ้า ∑10
𝑖=1(𝑥𝑖 − 4) = 40 และ ∑𝑖=1(𝑥𝑖 − 4) = 170 แล้วความแปรปรวนของข้อมูล
10 2

2(𝑥1 + 3), 2(𝑥2 + 3), 2(𝑥3 + 3), … , 2(𝑥10 + 3) เท่ากับเท่าใด (PAT1 ก.พ. 61 ข้อ 40)

ข้อที่ 43. จากการสำรวจคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ (𝑥𝑖 ) และคะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษ (𝑦𝑖 ) ของนักเรียน


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 คน พบว่ามีความสัมพันธ์เป็นสมการ 𝑦𝑖 = 10 + 2.5𝑥𝑖
เมื่อ 𝑖 = 1, 2, 3, … , 8
ถ้านักเรียนทั้ง 8 คนสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนเรียงลำดับจากน้อยไปมากดังนี้
25, 32, 48, 50, 𝑎, 𝑎 + 3, 𝑎 + 4, 𝑎 + 6 คะแนน ตามลำดับ เมื่อ 𝑎 เป็นจำนวนเต็มบวก
และมัธยฐานของคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ชุดนี้เท่ากับ 51 คะแนน แล้วผลบวกของค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ของคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์และค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนวิชาภาษาอังกฤษเท่ากับเท่าใด
(PAT1 ต.ค. 59 ข้อ38)

ข้อที่ 44. ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องหนึ่ง คะแนนสอบมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตและ


ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 𝑎 และ 𝑏 คะแนน ตามลำดับ นาย ก. และนาย ข. เป็นนักเรียนในห้องนี้
นาย ก. สอบวิชาคณิตศาสตร์ครั้งนี้ได้คะแนน 68 คะแนน คิดเป็นค่ามาตรฐานเท่ากับ 1.5
ถ้าครูผู้สอนวิชานี้ปรับคะแนนใหม่ โดยเพิ่มคะแนนของนักเรียนทุกคนเป็นสองเท่าของคะแนนเดิม
คะแนนใหม่ของนาย ข. มากกว่าคะแนนใหม่ของนาย ก. อยู่ 6 คะแนน และคะแนนใหม่ของนาย ข.
คิดเป็นค่ามาตรฐานเท่ากับ 1.9 แล้วค่าของ 𝑎 + 𝑏 เท่ากับเท่าใด (PAT1 ต.ค. 59 ข้อ40)

ข้อที่ 45. ให้ 𝑛 เป็นจำนวนเต็มบวก ถ้า 𝐴 เป็นเซตของข้อมูล 2𝑛 จำนวนคือ 1, 2, 3, … , 𝑛, −1, −2, −3, … , −𝑛
โดยที่ความแปรปรวนของข้อมูลในเซต 𝐴 เท่ากับ 46 แล้วค่าเฉลี่ยเลขคณิตของ 13, 23, 33, … , 𝑛3
เท่ากับเท่าใด(PAT1 มี.ค. 59)
22

ข้อที่ 46. คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องหนึ่งมีการแจกแจงปกติ โดยมีสัมประสิทธิ์ของการแปรผันของ


คะแนนสอบวิชานี้ เท่ากับ 25% และมีนักเรียนร้อยละ 15.87 ทีส่ อบได้คะแนนมากกว่า 85 คะแนน
ถ้านาย ก เป็นนักเรียนคนหนึ่งในห้องนี้ สอบได้คะแนน 47.6 คะแนน จะอยู่ในตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ตรงกับข้อใด
ต่อไปนี้ (PAT1 ต.ค. 58 ข้อ22)
เมื่อกำหนดพื้นที่ใต้โค้งปกติ ระหว่าง 0 ถึง 𝑧 ดังนี้
𝑧 0.4 0.9 1.0 1.1 1.2 1.3

พื้นที่ 0.1554 0.3159 0.3413 0.3643 0.3849 0.4032

1. 34.46
2. 18.41
3. 13.57
4. 11.51
5. 9.68

ข้อที่ 47. จากการสำรวจประชากรของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีผู้หญิงร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมดในหมู่บ้านนี้


และมีอัตราส่วนของจำนวนผู้หญิงที่มีสายตาผิดปกติ ต่อ จำนวนผู้หญิงที่มีสายตาปกติ เท่ากับ
อัตราส่วนของจำนวนประชากรในหมู่บ้านนี้ที่มีสายตาผิดปกติ ต่อ จำนวนประชากรในหมู่บ้านนี้ที่มีสายตาปกติ
พิจารณาข้อสรุปเกี่ยวกับประชากรในหมู่บ้านต่อไปนี้
ก) ผู้หญิงที่มีสายตาผิดปกติมีจำนวน 1.5 เท่าของจำนวนผู้ชายที่มีสายตาผิดปกติ
ข) ผู้ชายที่มีสายตาปกติมีจำนวนมากกว่าจำนวนผู้หญิงสายตาปกติ
ค) อัตราส่วนของจำนวนผู้หญิงที่มีสายตาผิดปกติ ต่อ จำนวนผู้หญิงทั้งหมดในหมู่บ้านนี้ มากกว่า
อัตราส่วนของจำนวนผู้ชายที่มีสายตาผิดปกติ ต่อจำนวนผู้ชายทั้งหมดในหมู่บ้านนี้
ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง (PAT1 ต.ค. 58 ข้อ30)
1. ข้อ ก) ถูกเพียงข้อเดียว
2. ข้อ ข) ถูกเพียงข้อเดียว
3. ข้อ ค) ถูกเพียงข้อเดียว
4. ข้อ ก) ข้อ ข) และ ข้อ ค) ถูกทั้งสามข้อ
5. ข้อ ก) ข้อ ข) และ ข้อ ค) ผิดทั้งสามข้อ
23

ข้อที่ 48. ข้อมูลชุดหนึ่งมี 60 จำนวน มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตและสัมประสิทธิ์ของการแปรผันเท่ากับ 40 และ 0.125


ตามลำดับ ถ้านาย ก. คำนวณค่าเฉลี่ยเลขคณิตได้น้อยกว่า 40 และคำนวณความแปรปรวนเท่ากับ 34
แล้วค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่ นาย ก. คำนวณได้ตรงกับข้อใดต่อไปนี้ (PAT1 มี.ค. 58)
1. 30
2. 33
3. 37
4. 39

ข้อที่ 49. คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 3 คน มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 45 คะแนน และ


ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับศูนย์ มีนักเรียนอีก 2 คน ได้คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์นี้
เท่ากับ 𝑎 และ 𝑏 คะแนน โดยอัตราส่วนของ 𝑎 ต่อ 𝑏 เป็น 2 : 3 ถ้านำคะแนนของนักเรียนทั้งสองคนนี้
รวมกับคะแนนสอบของนักเรียน 3 คน ได้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 50 คะแนน แล้ว
ความแปรปรวนของนักเรียนทั้ง 5 คนนี้เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (PAT1 มี.ค. 58)
1. 90
2. 90.4
3. 90.6
4. 92

ข้อที่ 50. ข้อมูลชุดที่ 1 มี 4 จำนวน คือ 𝑥1, 𝑥2, 𝑥3, 𝑥4 มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตของควอร์ไทล์ที่ 1 และควอร์ไทล์ที่ 3
เท่ากับ 18 และมัธยฐานเท่ากับ 15 ข้อมูลชุดที่ 2 มี 5 จำนวน คือ 𝑦1 , 𝑦2 , 𝑦3 , 𝑦4 , 𝑦5
มีควอร์ไทล์ที่ 3 มัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัย เท่ากับ 18.5, 15, 12 และ 8 ตามลำดับ
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูล 9 จำนวน
คือ 𝑥1, 𝑥2, 𝑥3, 𝑥4, 𝑦1 , 𝑦2 , 𝑦3 , 𝑦4, 𝑦5 เท่ากับเท่าใด (PAT1 มี.ค. 58)

ข้อที่ 51. คะแนนสอบของนักเรียนห้องหนึ่งมีการแจกแจงปกติ คะแนนเต็ม 100 คะแนน มัธยฐานเท่ากับ 45 คะแนน


และมีนักเรียนร้อยละ 34.13 ที่สอบได้คะแนนระหว่างมัธยฐานกับ 54 คะแนน ถ้านักเรียนคนหนึ่งมีคะแนนสอบ
เป็น 53 เท่าของคะแนนเปอร์เซ็นไทล์ที่ 33 แล้วนักเรียนคนนี้สอบได้คะแนนเท่ากับข้อใดต่อไปนี้
เมื่อกำหนดพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติ ระหว่าง 0 ถึง 𝑧 ดังตารางต่อไปนี้ (PAT1 เม.ย. 57 ข้อ24)
𝑧 0.33 0.36 0.41 0.44 0.50 1.0

พื้นที่ 0.1293 0.1406 0.1591 0.1700 0.1915 0.3413

1. 41.04%
2. 48.96%
3. 68.40%
4. 81.60%
24

ข้อที่ 52. ข้อมูลชุดหนึ่งมีค่าสังเกต (𝑥) และร้อยละของความถี่สะสมสัมพัทธ์ แสดงดังตารางต่อไปนี้


ค่าสังเกตุ (𝑥) ร้อยละของความถี่สะสมสัมพัทธ์

1 20

2 40

𝑎 70

6 90

10 100

เมื่อ 𝑎 เป็นจำนวนจริง ถ้าข้อมูลชุดนี้มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4 แล้วความแปรปรวนของข้อมูลชุดนี้เท่ากับเท่าใด


(PAT1 เม.ย. 57 ข้อ40)

ข้อที่ 53. ข้อมูลชุดหนึ่งเรียงจากน้อยไปหามาก ดังนี้ 𝑎, 3, 5, 7, 𝑏 ถ้าข้อมูลชุดนี้มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 7 และ


ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2√10 แล้วค่าของ 2𝑎 + 𝑏 เท่ากับเท่าใด (PAT1 มี.ค. 57)

ข้อที่ 54. คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มหนึ่งมีการแจกแจงปกติ


ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและความแปรปรวนของคะแนนแต่ละวิชามีดังนี้
วิชา ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (คะแนน) ความแปรปรวน (คะแนน2)

วิชาคณิตศาสตร์ 63 25

วิชาภาษาอังกฤษ 72 9

ถ้านักเรียนคนหนึ่งในกลุ่มนี้สอบทั้งสองวิชาได้คะแนนเท่ากัน พบว่าคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของ
เขาเป็นตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 88.49 คะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษเป็นตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์เท่ากับเท่าใด
(PAT1 มี.ค. 57)
เมื่อกำหนดพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติระหว่าง 0 ถึง 𝒛 ดังตารางต่อไปนี้
𝑍 0.9 1.0 1.1 1.2 1.3

พื้นที่ 0.3159 0.3413 0.3643 0.3849 0.4032


25

ข้อที่ 55. ครอบครัวหนึ่งมีสมาชิก 6 คน มีอายุเฉลี่ย 34 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอายุเท่ากับ 8 ปี อีก 6 ปี


ต่อมามีญาติสองคนมาขออยู่อาศัยด้วย โดยที่ญาติทั้งสองนี้มีอายุเท่ากันเท่ากับอายุเฉลี่ยของคนทั้ง 6 คน
ในครอบครัวนี้พอดี สัมประสิทธิ์การแปรผันของอายุของคนทั้ง 8 คนนี้เท่ากับข้อใดต่อไปนี้
(PAT1 มี.ค. 56 ข้อ23)
√3
1. 10
10
2.
√3
√3
3. 20
20
4.
√3

ข้อที่ 56. กำหนดให้ข้อมูลชุดหนึ่งมีดังนี้ 2, 4, 3, 5, 12, 5, 18, 6, 4, 2, 9, 4 ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง


(PAT1 มี.ค. 56 ข้อ24)
1. มัธยฐานน้อยกว่าฐานนิยม
2. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมากกว่ามัธยฐาน
3. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับมัธยฐาน
4. ฐานนิยมมากกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิต

ข้อที่ 57. จากการสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องหนึ่ง ปรากฏว่าคะแนนสอบของนักเรียนมีการแจกแจงปกติ


และกำหนด พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติระหว่าง 0 ถึง 𝑧 ดังตารางต่อไปนี้
𝑧 0.5 1.0 1.5 2.0

พื้นที่ 0.192 0.341 0.433 0.477

พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก) ถ้านักเรียนคนหนึ่งในห้องนี้สอบได้คะแนนน้อยกว่าค่าฐานนิยมอยู่สองเท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
แล้วค่ามาตรฐานของคะแนนสอบของนักเรียนคนนี้ เท่ากับ – 2
ข) ถ้าคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องนี้ มีค่ามั ธยฐานเท่ากับ 60 คะแนน
และมีนักเรียนในห้องนี้ สอบได้คะแนนน้อยกว่า 54 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 15.9 ของนักเรียนในห้องนี้
แล้วสัมประสิทธิ์ของการแปรผันของคะแนนสอบนี้เท่ากับ 0.1
ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง (PAT1 ต.ค. 55 ข้อ24)
1. ข้อ ก) ถูก และ ข้อ ข) ถูก
2. ข้อ ก) ถูก แต่ ข้อ ข) ผิด
3. ข้อ ก) ผิด แต่ ข้อ ข) ถูก
4. ข้อ ก) ผิด และ ข้อ ข) ผิด
26

ข้อที่ 58. นำข้อมูล 3 จำนวนที่แตกต่างกัน มารวมกันมีผลรวมเท่ากับ 195 ถ้าข้อมูลชุดนี้มีค่ามัธยฐานและ


สัมประสิทธิ์ของพิสัยเท่ากับ 60 และ 0.2 ตามลำดับ แล้วความแปรปรวนของข้อมูลชุดนี้เท่ากับเท่าใด
(PAT1 ต.ค. 55 ข้อ46)

ข้อที่ 59. ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนสองห้อง ปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบเท่ากับ 65 คะแนน


นักเรียนห้องแรกมี 40 คน ห้องที่สองมีนักเรียน 30 คน ถ้าคะแนนสอบของนักเรียนห้องแรกมีสัมประสิทธิ์ของ
การแปรผันเท่ากับ 0.2 นาย ก. เป็นนักเรียนห้องแรกสอบได้ 65 คะแนน คิดเป็นค่ามาตรฐานเท่ากับ 1.5 คะแนน
สอบของนักเรียนห้องที่สองมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 12 คะแนน และ นาย ข. เป็นนักเรียนห้องที่สองสอบ
ได้คะแนนคิดเป็นค่ามาตรฐานเท่ากับ – 2 แล้ว นาย ข. สอบได้กี่คะแนน (PAT1 ต.ค. 55 ข้อ47)

ข้อที่ 60. คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนจำนวน 30 คน มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ


25 คะแนน และ 5 คะแนน ตามลำดับ ถ้านำคะแนนของนายสายชลและนางสาวฟ้า ซึ่งสอบได้ 20 คะแนน
และ 30 คะแนน ตามลำดับ มารวมด้วยแล้ว ส่วนเบี่ยงมาตรฐานจะเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (PAT1 มี.ค. 55)
1. 4
2. 5
3. 6
4. 7

ข้อที่ 61. ข้อมูลชุดหนึ่งประกอบด้วยจำนวน 𝟏𝟏, 𝟑, 𝟔, 𝟑, 𝟓, 𝟑, 𝒙 ให้ 𝑺 เป็นเซตของ 𝒙 ที่เป็นไปได้ทั้งหมด


ซึ่งทำให้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม ของข้อมูลชุดนี้ มีค่าแตกต่างกันทั้งหมด และ
ในบรรดาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม เหล่านี้นำมาจัดเรียงใหม่จากน้อยไปมากแล้วเป็นลำดับเลขคณิต
จงหาผลบวกของสมาชิกทั้งหมดในเซต 𝑺 (PAT1 มี.ค. 55)

ข้อที่ 62. กำหนด ∑𝑁𝑖=1 𝑥𝑖 = 1125, 𝑁 = 45, 𝑥 เป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตและความแปรปรวนเท่ากับ 6.25


ถ้า 𝐴 และ 𝐵 เป็นนักเรียนของห้องนี้ 𝐴 ได้ 30 คะแนน มีค่ามาตรฐานมากกว่าค่ามาตรฐานของ 𝐵 อยู่ 0.8
แล้ว 𝐵 ได้กี่คะแนน (PAT1 ธ.ค. 54 ข้อ22)
1. 26
2. 27
3. 28
4. 30
27

ข้อที่ 63. ข้อมูลชุดหนึ่งมี 5 จำนวน มีมัธยฐาน = ฐานนิยม = 15 ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 16 ควอไทล์ที่ 1 เท่ากับ 14


และพิสัยเท่ากับ 7 จงหาความแปรปรวนของข้อมูลชุดนี้ (PAT1 ธ.ค. 54 ข้อ35)

ข้อที่ 64. กำหนดตารางแสดงพื้นที่ใต้โค้งปกติมาตรฐาน ที่อยู่ระหว่าง 0 ถึง 𝑧


𝑧 1.14 1.24 1.34 1.44

พื้นที่ 0.373 0.392 0.410 0.425

ความสูงของนักเรียน 2 กลุ่ม มีการแจกแจงปกติ ดังนี้

กลุ่ม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


นักเรียนหญิง 158 เซนติเมตร 4 เซนติเมตร

นักเรียนชาย 169.06 เซนติเมตร 5 เซนติเมตร

ถ้านักเรียนหญิงคนหนึ่งมีความสูงตรงกับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 91 ของกลุ่มนักเรียนหญิงนี้
แล้วจำนวนนักเรียนชายที่มีความสูงน้อยกว่าความสูงของนักเรียนหญิงคนนี้ คิดเป็นร้อยละเท่ากับข้อใดต่อไปนี้
(PAT1 มี.ค. 54 ข้อ24)
1. 12.7
2. 11.4
3. 10.7
4. 9.4

ข้อที่ 65. บริษัทผลิตหลอดไฟต้องการรับประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยจะเปลี่ยนเป็นหลอดใหม่


ถ้าหลอดเดิมชำรุดบริษัทจะรับประกันไม่เกิน 4.1% ของจำนวนที่ผลิต
หลอดไฟมีอายุใช้งานเฉลี่ย 2,500 ชั่วโมง มีสัมประสิทธิ์ของความแปรผันเท่ากับ 0.20
ถ้าคาดว่าตามปกติคนจะใช้หลอดไฟวันละ 5 ชั่วโมง
บริษัทนี้ควรกำหนดเวลาประกันมากที่สุดกี่วัน (PAT1 มี.ค. 54 ข้อ25)
กำหนดตารางแสดงพื้นที่ใต้โค้งปกติมาตรฐาน ที่อยู่ระหว่าง 0 ถึง 𝑧
𝑧 1.34 1.44 1.54 1.74 1.84

พื้นที่ 0.410 0.425 0.438 0.459 0.467

1. 362 วัน
2. 352 วัน
3. 346 วัน
4. 326 วัน
28

ข้อที่ 66. พิจารณาข้อความต่อไปนี้


ก) ในการสอบของนักเรียน 3 คน พบว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบเท่ากับ 80 คะแนน ค่ามัธยฐาน
เท่ากับ 75 คะแนน และ พิสัย เท่ากับ 25 คะแนน คะแนนสอบของนักเรียนที่ได้คะแนนต่ำสุดเท่ากับ 70
คะแนน
ข) ข้อมูลชุดที่หนึ่งมี 5 จำนวน คือ 𝑥1, 𝑥2, 𝑥3, 𝑥4, 𝑥5 และข้อมูลชุดที่สองมี 4 จำนวน คือ 𝑥1, 𝑥2, 𝑥3 , 𝑥4
โดยที่ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลทั้งสองชุดเท่ากัน ถ้า 𝑎 และ 𝑏 เป็นส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดที่
หนึ่งและชุดที่สองตามลำดับ แล้ว 𝑏𝑎 = √5
2
ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง (PAT1 ต.ค. 53)
1. ข้อ ก) ถูก และ ข้อ ข) ถูก
2. ข้อ ก) ถูก แต่ ข้อ ข) ผิด
3. ข้อ ก) ผิด แต่ ข้อ ข) ถูก
4. ข้อ ก) ผิด และ ข้อ ข) ผิด

ข้อที่ 67. ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 2 ห้อง ซึ่งทำคะแนนเฉลี่ยได้ 60 คะแนน โดยห้องแรกมีนักเรียนจำนวน


40 คน และห้องที่สองมีนักเรียนจำนวน 30 คน ถ้าคะแนนสอบในห้องแรก เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 มีค่า 64 คะแนน
และฐานนิยมมีค่าเป็น 66 คะแนน แล้วคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนห้องที่สองมีค่าเท่ากับเท่าใด (PAT1 ต.ค. 53)

ข้อที่ 68. ข้อมูลชุดหนึ่งมี 6 จำนวน คือ 2, 3, 6, 11, 𝑎, 𝑏 ถ้าค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนี้ เท่ากับ 8 และค่า


มัธยฐาน เท่ากับ 7 แล้ว |𝑎 − 𝑏| เท่ากับเท่าใด (PAT1 ต.ค. 53)

ข้อที่ 69. ถ้าคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 30 คน มีคะแนนเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 60 คะแนน


และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10 ถ้าผลรวมของค่ามาตรฐานของคะแนนของนักเรียนกลุ่มนี้เพียง 29 คน
เท่ากับ 2.5 แล้ว นักเรียนอีก 1 คนที่เหลือสอบได้คะแนนเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (PAT1 ก.ค. 53 ข้อ20)
1. 35
2. 58
3. 60
4. 85
29

ข้อที่ 70. มีนักเรียน 5 คน ร่วมกันบริจาคเงิน ได้เงินรวม 360 บาท ความแปรปรวน(ประชากร) เท่ากับ 660 ถ้ามีนักเรียน
เพิ่มอีก 1 คน มาร่วมบริจาคเป็นเงิน 60 บาท ความแปรปรวนจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(PAT1 ก.ค. 53 ข้อ21)
1. เพิ่มขึ้น 80
2. เพิ่มขึ้น 90
3. ลดลง 80
4. ลดลง 90

ข้อที่ 71. พิจารณาการจัดเรียงลำดับของจำนวนคี่ 1, 3, 5, 7, 9, ... ในตารางดังต่อไปนี้


แถวที่ 1 1

แถวที่ 2 3 5

แถวที่ 3 7 9 11

แถวที่ 4 13 15 17 19

แถวที่ 5 ⋮ ⋮ ⋮ ⋮ ⋮ ⋮

⋮ ⋮ ⋮ ⋮ ⋮ ⋮ ⋮

จากตารางจะเห็นว่า จำนวน 15 อยู่ตำแหน่งที่ 2 (จากซ้าย) ของแถวที่ 4 อยากทราบว่า จำนวน 361


จะอยู่ตำแหน่งใดในแถวที่เท่าใด (PAT1 ก.ค. 53 ข้อ25)
1. ตำแหน่งที่ 9 (จากซ้าย) ของแถวที่ 18
2. ตำแหน่งที่ 10 (จากซ้าย) ของแถวที่ 19
3. ตำแหน่งที่ 11 (จากซ้าย) ของแถวที่ 20
4. ตำแหน่งที่ 12 (จากซ้าย) ของแถวที่ 21

ข้อที่ 72. ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องหนึ่ง ถ้านักเรียนคนหนึ่งในห้องนี้ สอบได้ 55 คะแนน


คิดเป็นคะแนนมาตรฐาน ได้เท่ากับ 0.5 และสัมประสิทธิ์ของการแปรผัน (coefficient of variation)
ของคะแนนนักเรียนห้องนี้เท่ากับ 20% คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนห้องนี้เท่ากับเท่าใด (PAT1 ก.ค. 53 ข้อ43)
30

ข้อที่ 73. นักเรียนห้องหนึ่งสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนเฉลี่ยเลขคณิต เท่ากับ 40 คะแนน ถ้านักเรียนชายสอบได้คะแนน


เฉลี่ยเลขคณิต 35 คะแนน และนักเรียนหญิงสอบได้คะแนนเฉลี่ยเลขคณิต 50 คะแนน อัตราส่วนของนักเรียน
ชายต่อนักเรียนหญิงตรงกับข้อใดต่อไปนี้ (PAT1 มี.ค. 53 ข้อ21)
1. 3:2
2. 2:3
3. 2:1
4. 1:2

ข้อที่ 74. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบของนักเรียนกลุ่มหนึ่งเท่ากับ 72 คะแนน ความแปรปรวน (ประชากร)


เท่ากับ 600 ถ้ามีนักเรียนมาเพิ่มอีก 1 คน ซึ่งสอบได้ 60 คะแนน ทำให้ค่าเฉลี่ยเปลี่ยนไปเป็น 70 คะแนน
ความแปรปรวนของข้อมูลชุดใหม่เท่ากับเท่าใด (PAT1 มี.ค. 53 ข้อ42)

ข้อที่ 75. จากการสำรวจน้ำหนักของนักเรียนกลุ่มหนึ่งจำนวน 4 คน มี 2 คน น้ำหนักเท่ากันและหนักน้อยกว่าอีก 2 คน


ที่เหลือ ถ้าฐานนิยม มัธยฐาน และพิสัยของน้ำหนักของนักเรียน 4 คนนี้คือ 45, 46 และ 6 กิโลกรัม
ตามลำดับแล้วความแปรปรวนของน้ำหนักของนักเรียน 4 คนนี้เท่ากับเท่าใด (PAT1 มี.ค. 53 ข้อ43)

ข้อที่ 76. ในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ถ้าสอบได้ 700 คะแนน แปลงคะแนน


เป็นค่ามาตรฐานได้ 4 แต่ถ้าสอบได้ 400 คะแนน แปลงเป็นค่ามาตรฐานได้ – 2 แล้วสัมประสิทธิ์การแปรผัน
เท่ากับร้อยละเท่าใด (PAT1 มี.ค. 53 ข้อ44)

ข้อที่ 77. กำหนดให้ข้อมูลชุดหนึ่งมีการแจกแจงปกติ หยิบข้อมูล 𝑥1 , 𝑥2, 𝑥3 มาคำนวณค่ามาตรฐานปรากฏว่าได้ค่าเป็น


𝑧1 , 𝑧2 , 𝑧3 ตามลำดับ ถ้า 𝑧1 + 𝑧2 = 𝑧3 แล้ว ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนี้เท่ากับข้อใดต่อไปนี้
(PAT1 ต.ค. 52)
1. 𝑥1 + 𝑥2 − 𝑥3
2. 𝑥1 − 𝑥2 − 𝑥3
3. 𝑥3 − 𝑥2 − 𝑥1
4. 𝑥1 + 𝑥2 + 𝑥3

ข้อที่ 78. ถ้าความยาวรัศมีวงกลม 10 วงมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 3 และมีความแปรปรวนเท่ากับ 5


แล้วผลรวมของพื้นที่วงกลมทั้ง 10 วงนี้มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (PAT1 ก.ค. 52 ข้อ40)
1. 90𝜋
2. 95𝜋
3. 140𝜋
4. 340𝜋
31

ข้อที่ 79. คะแนนสอบวิชาความถนัดของนักเรียนกลุ่มหนึ่งมีการแจกแจงปกติ ถ้าผลรวมของค่ามาตรฐานของคะแนน


ของนายแดงและ นายดำเท่ากับ 0 และผลรวมของคะแนนของนายแดงและนายดำเป็น 4 เท่าของ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วสัมประสิทธิ์ของความแปรผันของคะแนนสอบของนักเรียนกลุ่มนี้เท่ากับ ข้อใดต่อไปนี้
(PAT1 ก.ค. 52 ข้อ44)
1. 0.5
2. 1
3. 1.5
4. 2

ข้อที่ 80. ข้อมูลชุดหนึ่งมี 99 จำนวน เรียงลำดับจากน้อยไปมากได้เป็น 𝑥1, 𝑥2, … , 𝑥99 ถ้าค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูล


ชุดนี้เท่ากับมัธยฐาน แล้วข้อใดต่อไปนี้ถูก (PAT1 มี.ค. 52 ข้อ40)
1. ∑49 99
𝑖=1 𝑥𝑖 = ∑𝑖=51 𝑥𝑖
2. ∑49 99
𝑖=1(𝑥50 − 𝑥𝑖 ) = ∑𝑖=51(𝑥50 − 𝑥𝑖 )
3. ∑49 99
𝑖=1|𝑥50 − 𝑥𝑖 | = ∑𝑖=51|𝑥50 − 𝑥𝑖 |
4. ∑49 2 99
𝑖=1(𝑥50 − 𝑥𝑖 ) = ∑𝑖=51(𝑥50 − 𝑥𝑖 )
2

ข้อที่ 81. ถ้าตารางแจกแจงความถี่แสดงน้ำหนักของเด็กจำนวน 40 คน เป็นดังนี้


น้ำหนัก (กิโลกรัม) จำนวน

9 – 11 15

12 – 14 5

15 – 17 5

18 – 20 10

21 – 23 5

ถ้า 𝑥̅ แทนค่าเฉลี่ยของน้ำหนักเด็กกลุ่มนี้ แล้วข้อใดต่อไปนี้ถูก (PAT1 มี.ค. 52 ข้อ42)


1. 𝑥̅ = 17.444 และมัธยฐานน้อยกว่าฐานนิยม
2. 𝑥̅ = 14.875 และมัธยฐานน้อยกว่าฐานนิยม
3. 𝑥̅ = 17.444 และมัธยฐานมากกว่าฐานนิยม
4. 𝑥̅ = 14.875 และมัธยฐานมากกว่าฐานนิยม
32

ข้อที่ 82. ข้อมูลชุดหนึ่งมีการแจกแจงปกติ ถ้าหยิบข้อมูล 𝑎, 𝑏, 𝑐, 𝑑 มาคำนวณค่ามาตรฐาน ปรากฏว่าได้ค่าดังตาราง


ข้อมูล 𝑎 𝑏 𝑐 𝑑

ค่ามาตรฐาน (𝑧) -3 - 0.45 0.45 1

ข้อใดต่อไปนี้ถูก (PAT1 มี.ค. 52 ข้อ43)


1. −𝑎 + 2𝑏 + 2𝑐 − 3𝑑 = 0
2. −𝑎 + 𝑏 + 𝑐 − 3𝑑 = 0
3. 𝑎 − 2𝑏 + 3𝑐 − 3𝑑 = 0
4. 𝑎−𝑏+𝑐−𝑑 =0

ข้อที่ 83. ข้อมูลความสูงของนักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนแห่งหนึ่งมีการแจกแจงปกติ ถ้าจำนวนนักเรียนที่มีความสูงน้อยกว่า


140.6 เซนติเมตร มีอยู่ 3.01% และจำนวนนักเรียนที่มีความสูงมากกว่าค่ามัธยฐานแต่น้อยกว่า
159.4 เซนติเมตร มีอยู่ 46.99% แล้วจำนวนนักเรียนที่มีความสูงไม่น้อยกว่า 155 เซนติเมตร
แต่ไม่เกิน 160 เซนติเมตร มีเปอร์เซ็นต์เท่ากับ ข้อใดต่อไปนี้ (PAT1 มี.ค. 52 ข้อ44)
เมื่อกำหนดตารางแสดงพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติมาตรฐาน ระหว่าง 0 ถึง 𝑧 เป็นดังนี้
𝑧 1.00 1.12 1.88 2.00

พื้นที่ใต้เส้นโค้ง 0.3413 0.3686 0.4699 0.4772

1. 12.86 %
2. 13.14 %
3. 15.87 %
4. 13.59 %

You might also like