Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 25

1

การเปลี่ยนแปลงประชากรโลกและประชากรไทย
1.อัตราการเกิด
11 กรกฎาคมของทุกปี องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้เป็นวันประชากรโลก (World
Population Day) ทั้งนี้เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาของประชากรโลก ส่งเสริมสนับสนุนให้ความรู้
สิทธิพื้นฐาน รวมถึงการวางแผนครอบครัวซึ่งจะนำไปสู่การมีประชากรโลกที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ประชากรโลกเรามีมากแค่ไหน คำถามนี้ถูกรายงานอย่างเป็นทางการล่าสุดเมื่อปี 2022 โดยรายงาน
ของ World Population Prospects 2022 ซึ่งระบุว่า ในปี ดังกล่าวนี้ โลกมีประชากรครบ 8 พันล้านคน
ถึงเช่นนั้น รายงานเดียวกัน ยังระบุด้วยว่า แม้จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ปัจจุบันเกิดสถานการณ์
ภาวะเจริญพันธุ์ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาในหลายประเทศ โดยในทุกวัน
นี้มี 2 ใน 3 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในประเทศหรือพื้นที่ที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ตลอดอายุขัยต่ำ
กว่า 2.1 คนต่อผู้หญิง 1 คน ซึ่งเป็นระดับโดยประมาณที่จำเป็นสำหรับการเติบโตเป็นศูนย์ในระยะ
ยาว สำหรับจำนวนประชากรที่มีอัตราการเสียชีวิตต่ำ ทั้งนี้ มีประชากรจาก 61 ประเทศหรือพื้นที่ ที่
คาดว่าจะลดลง 1% หรือมากกว่านั้นระหว่างปี 2565 ถึง 2593 อันเนื่องมาจากอัตราการเจริญพันธุ์ที่
ต่ำอย่างต่อเนื่อง และในบางกรณีเกิดจากอัตราการย้ายถิ่นฐานสูงขึ้น นอกจากนี้ มากกว่าครึ่งหนึ่ง
ของจำนวนประชากรโลก ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2593 จะกระจุกตัวอยู่ใน 8 ประเทศ ได้แก่
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อียิปต์ เอธิโอเปี ย อินเดีย ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิ ลิปปิ นส์ และสห
สาธารณรัฐแทนซาเนีย ทั้งยังมีการคาดการณ์อีกว่า ประเทศในแถบอนุภูมิภาคทะเลทรายซาฮาราจะ
มีประชากรคิดเป็นตัวเลขมากกว่าครึ่งหนึ่งของการเพิ่มขึ้นที่คาดการณ์ไว้จนถึงปี 2593 อย่างไรก็ดี
ในบริบทด้านประชากรในปี 2566 หนีไม่พ้นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดซึ่งเปลี่ยนจาก
จีนมาเป็นอินเดีย โดยองค์การสหประชาชาติ เปิ ดเผยรายงานสถานะประชากรโลกของกองทุน
ประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund) ระบุว่า ประชากรอินเดียจะเพิ่ม
จำนวนขึ้นแตะระดับ 1,428 ล้านคนในช่วงกลางปี นี้ และจะแซงหน้าจำนวนประชากรจากแชมป์ เก่า
ที่ผูกขาดมายาวนานอย่างจีน ซึ่งมีตัวเลข 1,425 ล้านคน ทำให้อินเดียกลายเป็นประเทศที่มีประชากร
มากที่สุดในโลกรายใหม่ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลประชากรโลก
เมื่อปี 2493 สาเหตุที่จำนวนประชากรของจีนลดลงนั้น เนื่องจากอัตราการเกิดที่ลดลง รวมทั้งการ
ชะลอตัวของเศรษฐกิจจากค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนสตรีที่เข้าสู่ตลาดแรงงานและ
แสวงหาการศึกษามากขึ้น และแม้รัฐบาลจีนจะยุติ “นโยบายลูกคนเดียว”
ที่เข้มงวด ซึ่งบังคับใช้ครั้งแรกในปี 2523 จากความหวาดกลัวประชากรล้นโลก ก่อนที่จะปรับ
เปลี่ยนนโยบายใหม่ในปี 2564 และเริ่มปล่อยให้แต่ละครอบครัวสามารถมีลูกได้ 3 คน ผนวกกับที่
หลายภูมิภาคของจีนได้ประกาศเดินหน้าแผนการเพิ่มอัตราการเกิดแล้ว แต่ความพยายามดังกล่าวก็
ยังไม่สามารถแก้ไขการลดลงของจำนวนประชากรได้ และสิ่งที่จีนเผชิญก็ไม่ต่างอะไรจากประเทศ
2

อื่น ทั้งญี่ปุ่ นและเกาหลีใต้ซึ่งมีอัตราการเกิดของประชากรต่ำลงและเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุขณะที่


ประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจกำลังดีขึ้น รายงานระบุว่า อินเดียไม่ได้จัดทำการสำรวจสำมะโน
ประชากรตั้งแต่ปี 2554 แม้จะเคยพยายามสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดในปี 2564 แต่
กระบวนการก็หยุดชะงักไปเพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 -ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า รัฐบาล
จงใจชะลอการสำรวจดังกล่าว เพื่อปกปิ ดข้อมูลในประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงก่อนการเลือกตั้งระดับ
ชาติในปี 2567 เช่น ตัวเลขการว่างงาน ถึงเช่นนั้น แม้อินเดียอาจแซงหน้าจีนในด้านจำนวน
ประชากรก็จริง แต่ข้อมูลของก็ยังแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันอัตราการขยายตัวของประชากรได้ชะลอ
ตัวลงแล้วเช่นเดียวกัน เพียงแต่จีนชะลอเร็วกว่าอินเดีย คาดการณ์กันว่า รูปแบบประชากรโลกกำลัง
เกิดการเปลี่ยนแปลง และหากถามชาวอินเดียเอง พวกเขาจะรู้สึกถึงความแออัด รู้สึกว่าจำนวน
ประชากรมากเกินไปและอัตราการเกิดในปัจจุบันสูงเกินไปจนเป็นปัญหา โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ
จากรายได้ประชากรแสดงว่า ชาวอินเดียหลายล้านคนยังต้องใช้ชีวิตอยู่บนเส้นความยากจน และแม้
ประเทศจะมีจำนวนประชากรที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดแรงงานจำนวนมหาศาล แต่กลับกลายเป็นว่า
อินเดียไม่มีตำแหน่งงานมากพอที่จะรองรับกลุ่มคนดังกล่าว ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความไม่เข้าถึง
ระบบการศึกษา
1.1 การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลกที่เปลี่ยนไป

โดยเฉลี่ยแล้วทุกๆ 1 นาที จะมีทารกเกิดขึ้น 250 คนทั่วโลก ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนมนุษย์ใหม่ให้กับ


โลกมากกว่า 130 ล้านคนทุกปี จึงไม่แปลกใจเลยที่ประชากรโลกขณะนี้มีจำนวนมากถึง 8 พันล้าน
คน เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในปี 2022
กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ จะมีทั้งประเทศที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และลดลง
อย่างไม่คาดคิด Truman Du รวมรวบข้อมูล จาก UN และบทสรุปจาก French Institute for
Demographic Studies (INED) โดยใช้ข้อมูลประชากรเดือนธันวาคม 2022 เพื่อแสดงการเพิ่มขึ้น
และลดลงของประชากรทั่วโลกปี 2050 ลองมาดูแนวโน้มการเพิ่ม-ลดของประชากรทั่วโลกเหล่านี้
3

กันอย่างละเอียดยิ่งขึ้นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด: 2022 vs 2050 ประเทศในเอเชียอย่างอินเดีย


และจีนครองอันดับประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเป็นเวลาหลายร้อยปี แล้ว ปัจจุบันจีนก็ยัง
คงครองอันดับ 1 อยู่ แต่คาดว่าจำนวนประชากรของอินเดียจะแซงหน้าจีนภายในสิ้นปี นี้ ซึ่งอาจจะมี
จำนวนถึง 1.67 พันล้านคนภายในปี 2050 ทางด้านสหรัฐอเมริกา ไนจีเรีย ปากีสถาน และ
อินโดนีเซียเป็นประเทศในลำดับถัดไปที่มีประชากรมากที่สุดในปี 2022 และคาดว่าจะรั้งตำแหน่ง
ไว้จนถึงปี 2050 เรียกได้ว่ายังอีกยาวไกลนัก สำหรับกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา ไนจีเรีย ปากีสถาน
และอินโดนีเซีย กว่าจะไล่ตาม 2 อันดับแรกได้ สังเกตจากจำนวนประชากรของทั้ง 4 ประเทศรวม
กัน ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมดของอินเดียหรือจีนเลย ที่น่าสนใจ คือมีการคาด
การณ์ว่าประชากรของไนจีเรียจะเพิ่มขึ้นเป็น 375 ล้านคนภายในปี 2050 ซึ่งเกือบจะเท่ากับจำนวน
ประชากรของสหรัฐอเมริกา ขณะที่ปี 2022 ประชากรของประเทศในแอฟริกามีประมาณ 219 ล้าน
คน โดยสาเหตุหลักของการพุ่งสูงขึ้นนี้คาดไว้อาจมาจากอัตราการเกิดที่สูงและเศรษฐกิจที่เฟื่ องฟู
ทำให้เกิดผลที่ตามมาคือการย้ายถิ่นฐานของคนจากชนบทสู่เมือง ประเทศที่มีประชากรลดลงใน
ขณะที่หลายๆ ประเทศจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มของจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นในอีก 3 ทศวรรษข้าง
หน้า แต่ประเทศอื่นอย่างจีนคาดว่าจะเผชิญกับสิ่งที่ตรงกันข้ามหลายประเทศในโลกคาดว่าจะมี
ประชากรลดลงในอีก 30 ปี ข้างหน้า โดยเหตุผลหลักสำหรับเรื่องนี้มากจากอัตราการเกิดที่ต่ำมาก
นั่นเองเกาหลีใต้ซึ่งมีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำที่สุดในโลก คาดว่าจะมีจำนวนประชากรลดลงเกือบ
12% เมื่อลดลงเหลือ 46 ล้านคนภายในปี 2593 ถามว่าการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มประชากรโลก
เช่นนี้จะสื่อความหมายอะไรหรือเปล่า? ก็ตอบได้เลยว่า ในอนาคตถ้าจำนวนประชากรมีการ
เปลี่ยนแปลงไปตามแนวโน้มที่คาดไว้ข้างต้นจะก่อให้เกิดความท้าทายต่อเศรษฐกิจทั่วโลก เช่น การ
ขาดแคลนแรงงาน ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น และภาระทางการเงินที่จะตกมาอยู่ที่คนรุ่นใหม่ เรียกได้
ว่าได้รับผลกระทบกันทั่วหน้า ใดๆ ก็ตามแต่ แนวโน้มดังกล่าวเป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น ดังนั้น
ไม่ควรรีบตื่นตระหนกกันไปก่อน แต่การระวังไว้ก็ไม่เสียหาย ถ้าเราเตรียมตัวให้เท่าทันเศรษฐกิจที่
เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเกิดอะไรเราก็พร้อมเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงกับเรา มีเพียงตัว
เราเท่านั้นที่กำหนดได้
4

10 อันดับประเทศประชากรมากที่สุดในโลก
ทะลุ 8,000 ล้านคนเป็นที่เรียบร้อยจนสหประชาชาติตั้งชื่อให้วันที่ 15 พ.ย.2565 ว่า "วันแปดพัน
ล้าน" (The 8,000 day) มีการตั้งคำถามว่า จำนวนนี้เป็นจำนวนที่ มากเกินไปหรือไม่ ? หรือยังน้อย
เกินไปอีก ? อัตราเติบโตของประชากรโลกเร็วเกินไปหรือยังช้าอยู่ ? จำนวน 8,000 ล้าน คือ สิ่งที่
แสดงถึงความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์มนุษยชาติในด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์ สุขภาพ
การเกษตร และ การศึกษา ที่ควรต้องตั้งคำถามว่า บนความก้าวหน้าของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
5

เช่นนี้ ประเทศที่เป็นเจ้าของประชากรจำนวนมาก มีนโยบาย แนวทางปฏิบัติต่อประชากรใน


ประเทศ อย่างไร ? ถึงแม้อินเดียจะแซงจีน แชมป์ ประชากรมากที่สุดในโลกมาอย่างยาวนานได้แล้ว
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า อินเดียจะภาคภูมิใจต่อสิ่งนี้สักเท่าไหร่ อินเดียต้องออกนโยบายควบคุม
ประชากรอย่างเร่งด่วน แม้อัตราการเกิดของประชากรอินเดียจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานอยู่
แล้วก็ตาม อัตราการเกิดของประชากรอินเดียปี 2565 อยู่ที่ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 1 คน ให้กำเนิดลูกได้
2 คนส่วนของจีนอยู่ที่ 1 : 1.3 คน ขณะที่ UN ตั้งค่าไว้ที่ 1 : 2.2 คน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นส่งผล
ต่อการควบคุมคุณภาพประชากรในประเทศอย่างมาก หลายประเทศต้องพบกับอัตราประชากรวัย
เจริญพันธุ์ที่ลดลง ประชากรสูงวัยและอายุยืนมากขึ้น หากไม่เตรียมตัวรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิด
ขึ้นนี้ โอกาสที่ระบบเศรษฐกิจ คุณภาพประชากร จะลดลง และอัตราอาชญากรรมในสังคมเพิ่มขึ้น
1.อินเดีย 1,428 ล้านคน
อัตราการเติบโตของ ประชากรอินเดีย ลดลงอย่างมาก ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากการ
ขยายตัวของเมืองที่เพิ่มขึ้น ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง เว็บไซต์ Worldometer
คาดการณ์ว่า อินเดียจะมีจำนวนประชากรสูงสุดที่ 1,650 ล้านคน ภายในปี 2603 หรืออีกไม่เกิน 40
ปี ข้างหน้า
2. จีน 1,425 ล้านคน
ขนาดของประชากรจีนเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองมาอย่างยาวนาน หลังจากจำนวนประชากรจีน
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ทำให้รัฐบาลจีนต้องประกาศ "นโยบายลูกคนเดียว"
เพื่อจำกัดการเติบโตของประชากร มีการให้รางวัลคู่สามีภรรยาที่ตกลงจะมีลูกคนเดียวด้วยโบนัส
เงินสดและระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้น จนจีนสามารถลดอัตราการเกิดของเด็กได้ถึง 1.3
คนต่อแม่ 1 คนครอบครัวคนจีนแต่นโยบายนี้ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างกังวลว่าอัตราการเกิดต่ำ
ของจีน ประกอบกับจำนวนประชากรสูงอายุ จะทำลายการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตของจีนได้
3.สหรัฐอเมริกา 340 ล้านคน
สหรัฐฯ มีความแตกต่างจากอินเดียและจีน เพราะมีการเติบโตของจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่อง
แบบที่ไม่สามารถคาดการณ์ถึงอัตราที่ลดลงได้ คาดการณ์ว่าในปี 2610 สหรัฐฯ จะมีประชากร
มากกว่า 400 ล้านคน สาเหตุไม่ได้มาจากอัตราการเกิด แต่มาจากการอพยพย้ายถิ่นฐาน
4. อินโดนีเซีย 277 ล้านคน
หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ รายงานว่า ในปี 2556 ว่า ประชากรของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 2 เท่า
ภายในเวลาเพียง 40 ปี จาก 119 ล้านคนในปี 2514 เป็นเกือบ 240 ล้านคนในปี 2553 สำนักงานสถิติ
กลางคาดการณ์ว่า ในอีก 40 ปี ข้างหน้า (ปี 2593) คาดว่าประชากรของประเทศจะสูงขึ้นเป็น 317
6

ล้านคน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนี้ เป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย คุกคามการเติบโตและ


การพัฒนาที่ช้าลง
5. ปากีสถาน 240 ล้านคน
ระหว่างปี 2541-2560 อัตราการเติบโตของประชากรโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 มีจำนวนผู้หญิง
ปากีสถานน้อยมากที่ถูกคุมกำเนิด จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นสร้างความล้มเหลวต่อระบบ
สาธารณสุขและระบบการศึกษามาก และยังส่งผลให้มีคนตกงานอีกหลายล้านคน คาดการณ์ว่าหาก
ปากีสถานยังเพิ่มจำนวนประชากรด้วยอัตราเช่นนี้ จะใช้เวลาอีกเพียง 25 ปี เท่านั้น จะแซงหน้า
อินโดนีเซีย ด้วยจำนวนประชากร 331 ล้านคน
6. ไนจีเรีย 223 ล้านคน
ไนจีเรียนับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปแอฟริกา ณ ปัจจุบัน อัตราการเกิดอยู่ที่ 3.7 ซึ่ง
ถือเป็นจำนวนที่สูงกว่ามาตรฐานมาก กองสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ เคยคาดการณ์ว่า
ด้วยอัตราการเกิดของไนจีเรียเช่นนี้ จะทำให้ประชากรไนจีเรียแซงหน้าสหรัฐฯ ด้วยจำนวน 380
ล้านคน ขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลกในปี 2590 รัฐบาลไนจีเรียพยายาม
อย่างมากที่จะลดจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ มีการเสนอการคุมกำเนิดฟรีในช่วง 10 ปี
ที่ผ่านมา ให้เงินทุนกับครอบครัวขนาดเล็กเป็นหลักประกันในอนาคต
7. บราซิล 216 ล้านคน
อัตราการเพิ่มประชากรบราซิลลดลงอย่างมากตั้งแต่ปี 2494 อัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 3.02 และ
ในปี 2562 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 0.72 สาเหตุมาจากเพศหญิงในบราซิลจำนวนมากถูกต้อนเข้าสู่ตลาด
แรงงาน ไม่มีเวลาครอบครัว มีการประเมินว่าแนวโน้มอัตราการเกิดที่ลดลงเช่นนี้ จะทำให้สังคม
บราซิลเผชิญกับผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และนำไปสู่อัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นตามมา
8. บังกลาเทศ 172 ล้านคน
ช่วง 50 ปี ที่ผ่านมา อัตราการเกิดของบังกลาเทศอยู่ที่ร้อยละ 3.23 แต่ลดลงจนเหลือร้อยละ 1 หรือแม่
1 คนจะให้กำเนิดลุกเพียง 1 คนตลอดช่วงชีวิต เหตุผลคือ มีการใช้การคุมกำเนิดมากขึ้น แต่สิ่งที่น่า
กังวลคือ บังกลาเทศยังมีอัตราการแต่งงานในเด็ก วัยรุ่นที่สูงอยู่ ประชากรที่แต่งงานอายุน้อยที่สุดอยู่
ที่อายุ 15 ปี มากถึงร้อยละ 34 ขณะที่หญิงอายุ 65 ปี ขึ้นไปที่แต่งงานมีเพียงร้อยละ 5
9. รัสเซีย 144 ล้านคน
เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วง 15 ปี (พ.ศ.2536-2551) ประชากรรัสเซีย มีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
จาก 148 ล้านคน เป็น 143 คน ในช่วงนั้น รัสเซียมีอัตราการเกิดต่ำที่และอัตราการเสียชีวิตสูงผิด
ปกติ ปัจจุบันรัสเซียถือเป็นอีกประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำมาก อยู่ที่ร้อยละ 1.58 วลาดิเมียร์ ปูติน
7

ปธน.รัสเซียต้องเปิ ดแผนขยายจำนวนประชากร โดยลดการอพยพและเพิ่มอัตราการเกิดให้สูงขึ้น


สร้างแรงจูงใจจ่ายเงิน 10,000 ดอลลาร์สำหรับแม่ที่มีลูกตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
10. เม็กซิโก 128 ล้านคน
ปัจจุบันอัตราการเกิดของประชากรเม็กซิโกอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษ
ที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราการแต่งงานลดลงและจำนวนการหย่าร้างเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราการเสีย
ชีวิตในเม็กซิโกอยู่ที่ร้อยละ 0.58 นั่นหมายถึง เม็กซิโกมีอัตราการเติบโตของประชากรที่ช้าและ
จำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น อายุขัยเฉลี่ยของผู้สูงวัยเม็กซิโกอยู่ที่ 60 ปี
หล่านี้คือปัจจัยภายในที่รัฐต้องจัดการกับประชากรในประเทศตน แต่ขณะเดียวกันยังมีข้อโต้เถียง
อีกมากถึงการใช้ทรัพยากรโลกที่หากว่ากันตามหลักสิทธิมนุษยชนแล้วนั้น

ปัจจุบันประเทศไทย มีจำนวนประชากรในประเทศทั้งหมด 66,171,439 คน แบ่งเป็น ชาย


32,339,118 คน และ หญิง 33,832,321 คน
1.กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทยมีประชากรรวมสูงสุดอันดับแรกอยู่ที่ 5,527,948 คน คิดเป็น
8.35 % ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ จังหวัดอื่นๆ ที่มีประชากรสูงสุดใน 10 อันดับแรกของ
ประเทศ ได้แก่
2.นครราชสีมา 2,634,145 คน
3.อุบลราชธานี 1,868,501 คน
4.ขอนแก่น 1,790,859 คน
5.เชียงใหม่ 1,787,295 คน
6.ชลบุรี 1,583,633 คน
7.บุรีรัมย์ 1,579,802 คน
8.อุดรธานี 1,566,510 คน
9.นครศรีธรรมราช 1,549,339 คน
10.ศรีสะเกษ 1,457,554 คน
8

ซึ่งจากข้อมูลการเพิ่มลดจำนวนประชากรปี 2564 มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้น


มาปี 2564 จำนวนการเกิดทั่วประเทศอยู่ที่ 544,570 คน จังหวัดที่มีการเกิดสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
กรุงเทพฯ นครราชสีมา และ อุบลราชธานีตามลำดับ ซึ่งอัตราการเกิดมีแนวโน้มต่ำลงเรื่อย ๆ นับ
ตั้งแต่ ปี 2660 เมื่อเทียบกับอัตราการตายทั่วประเทศในปี 2564 อยู่ที่ 563,650 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2563
ที่มีจำนวน 501,438 คน กว่า 62,212 คน
9

จากแผนที่ ประชากรไทยมีการกระจายและความหนาแน่นมากที่สุดบริเวณ ภาคกลาง รองลงมา คือ


ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันตก ตามลำดับ ดังนี้
10

2.1) ภาคกลาง เป็นภูมิภาคที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด 220 คน/ โดยเฉพาะ


กรุงเทพมหานคร มีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 3,600 คน/ตร.กม. เนื่องจากเป็นเมือง
หลวงและศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม และ
อุตสาหกรรม มีการกระจายอย่างหนาแน่นในเขตที่ราบภาคกลางตอนล่าง ที่เกิด จากการทับถมของ
ตะกอน เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีความ อุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อ
การเพาะปลูก ในขณะที่จังหวัดอุทัยธานีมีความหนาแน่นของประชากร น้อยที่สุด เนื่องจากพื้นที่
ส่วนใหญ่ทางตะวันตกเป็นป่ าและภูเขาสูงสลับซับซ้อน
2.2) ภาคตะวันออก มีความหนาแน่นของประชากร 142 คน/ตร.กม. พบมาก บริเวณด้านทิศตะวัน
ตกและทิศใต้ จังหวัดชลบุรีมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุด มีอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวที่
เจริญก้าวหน้าและมีชื่อเสียงมาก เพราะมีชายฝั่งทะเลที่มีความสวยงาม ในขณะที่จังหวัดสระแก้วมี
ควานาแน่นของประชากรน้อยที่สุด รวมถึงบริเวณตอนกลางของ ภูมิภาคเนื่องจากมีทิวเขาจันทบุรี
วางตัวในแนวตะวันออก - ตะวันตก ทำให้มีการตั้งถิ่นฐานน้อยกว่า บริเวณอื่น ๆ
2.3) ภาคใต้ มีความหนาแน่นของประชากร 134 คน คห 2.กม. จังหวัดที่มีประชากร อาศัยอยู่หนา
แน่นเกิน 100 คน/ตร.กม. ส่วนมากอยู่บริเวณที่ราบชายฝั่ง เพราะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม ต่อการเพาะ
ปลูกและการประมง บริเวณที่ราบชายฝั่งด้านตะวันออก เช่น จังหวัดปัตตานี สงขลา พัทลุง
นราธิวาส นครศรีธรรมราช ยกเว้นจังหวัดภูเก็ต ที่อยู่ชายฝั่งตะวันตก ซึ่งมีประชากร หนาแน่นที่สุด
ของภาคนี้ บริเวณที่มีประชากรเบาบาง เป็นภูมิประเทศแบบภูเขาสูงสลับซับซ้อน ส่วนใหญ่เป็น
พื้นที่ราบสูง และมีที่ราบต่ำน้อย ไม่เหมาะต่อการตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตร เช่น ทิวเขาฝั่งตะวัน
ตกของจังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานี
2.4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศ แต่มีความ หนาแน่นของ
ประชากร 129 คน/ตร.กม. มากเป็นอันดับที่ 4 รองจากภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่มีควาแห้งแล้ง ทำให้ประชากรตั้งถิ่นฐานหนา แน่นมากบริเวณ
ที่ราบลุ่มแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และรอบ ๆ อ่างเก็บน้ำ เพราะ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญ
ของการตั้งถิ่นฐานในเขตที่มีความแห้งแล้ง ซึ่งเป็นดินปนทรายไม่เก็บน้ำ จังหวัด ที่มีประชากรหนา
แน่นที่สุด ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม รองลงมา ได้แก่ หนองคาย และสุรินทร์ ในขณะที่จังหวัดเลย
มีความหนาแน่นน้อยที่สุดในภูมิภาค เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด เป็นเขตทิวเขาในแนวทิศ
เหนือ - ใต้ มีพื้นที่ราบลุ่มน้อยมากในตอนกลางของจังหวัด
2.5) ภาคเหนือ มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 67 คน/ตร.กม. การกระจาย ของประชากรใน
ภาคเหนือมีความสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศมาก กล่าวคือ บริเวณที่เป็นที่ราบ หรือแอ่งแผ่นดิน
ระหว่างภูเขาที่มีแม่น้ำลำธารไหลผ่าน พาโคลน ตะกอนมาทับถม ทำให้ดินมีความ อุดมสมบูรณ์
เหมาะในการเพาะปลูก ทำให้ประชากรเข้าไปตั้งถิ่นฐานหนาแน่นมาก กลายเป็นเมือง สำคัญต่าง ๆ
11

ในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน ลำพูน ซึ่งมีความ จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความ
หนาแน่นเปร่าข้าม เข้น้อยที่สุด หนาแน่นของประชากรมากที่สุดในภูมิภาค จังหวัดแม่ฮ่องสอนมี
ความหนาแน่นประชากรน้อยที่สุด 65 คน/ตร.กม. 2.6) ภาคตะวันตก เป็นภาคที่มีจำนวนประชากร
น้อยที่สุด มีความหนาแน่น ซึ่งมีความหนาแน่นน้อยที่สุดของประเทศ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่โดย
เฉพาะทาง ตะวันตกของภาคเป็นแนวทิวเขาสูง ได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรี ซึ่ง
เป็นแนว แบ่งเขตระหว่างไทยกับเมียนมา ส่วนบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นจะอยู่ทางฝั่งตะวันออก
ในบริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิ ง และแม่น้ำแม่กลอง โดยจังหวัดราชบุรีมีประชากรหนาแน่นมากที่สุด
จังหวัด ตากมีประชากรหนาแน่นน้อยที่สุด
12
13

2. อัตราการตาย
2.1 สาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก ในปี 2017 มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกราว 57 ล้านคน มากกว่าปี 1990
จำนวน 10 ล้านคน เพราะจำนวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น และโดยเฉลี่ยคนมีอายุยืนขึ้นผู้เสียชีวิต
มากกว่า 70% เสียชีวิตจากโรคเรื้อรังและไม่ใช่โรคติดต่อ โรคเหล่านี้ไม่ได้ติดจากคนหนึ่งไปยังอีก
คนหนึ่ง และมักมีพัฒนาการของโรคอย่างค่อยเป็นค่อยไปโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือ โรค
หัวใจและหลอดเลือด ซึ่งส่งผลกระทบการทำงานของหัวใจและเส้นเลือดแดงใหญ่ เป็นสาเหตุของ
การเสียชีวิตราว 1 ใน 3 ตัวเลขนี้สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 2 เท่า โดยโรคมะเร็งเป็น
สาเหตุของการเสียชีวิตราว 1 ใน 6 โรคที่ไม่ติดต่ออื่น ๆ อย่าง เบาหวาน โรคทางเดินหายใจ และ
ความจำเสื่อม ต่างติดอันดับต้น ๆ เช่นกัน

2.2 การเสียชีวิตจากโรคที่ป้ องกันได้ สิ่งที่น่าตกใจกว่าคือ คนจำนวนมากยังเสียชีวิตจากโรคที่


ป้ องกันได้หลายโรคมีคนราว 1.6 ล้านคนเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวกับท้องร่วงในปี 2017 ทำให้สาเหตุ
การเสียชีวิตนี้ติดอยู่ใน 10 อันดับแรก โดยในบางประเทศ มันเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต
มากที่สุดความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งทำให้ทารกเสียชีวิตภายใน 28 วันแรกหลังคลอด ทำให้
ทารกเกิดใหม่เสียชีวิตในปี 2017 จำนวน 1.8 ล้านคน
14

อัตราการเสียชีวิตนี้แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ในญี่ปุ่ น มีทารกที่เสียชีวิตใน 28 วันแรกที่อัตรา


น้อยกว่า 1 ต่อ 1,000 คน ขณะที่ในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกหลายประเทศอยู่ที่อัตราราว 1 ต่อ
20 คน การบาดเจ็บบนท้องถนน ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดและ
ยากจนที่สุด โดยในปี 2017 มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าวที่ 1.2 ล้านคนขณะที่ประเทศที่มีรายได้สูง
หลายประเทศ มีผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บบนท้องถนนลดลง อย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายสิบปี ที่
ผ่านมา แต่จำนวนผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บบนท้องถนนทั่วโลกไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก
ตัวเลขที่น่าสนใจอีกตัวเลขหนึ่งคือ จำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายทั่วโลก คิดเป็น 2 เท่า ของ
ตัวเลขของผู้ที่เสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรม โดยในสหราชอาณาจักร มีตัวเลขจากการฆ่าตัวตายสูง
กว่าถึง 16 เท่า และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้ชายวัย 20-40 ปี

อัตราการเสียชีวิตของเด็ก ลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพราะมีวัคซีนเกิดขึ้นหลาย


ชนิด และมีการพัฒนาเรื่องสุขอนามัย โภชนาการ การดูแลสุขภาพ และการเข้าถึงน้ำสะอาดการเสีย
ชีวิตของเด็กในประเทศร่ำรวยแทบจะไม่เกิดขึ้น ขณะที่ในภูมิภาคที่ยากจนต่าง ๆ มีอัตราการเสีย
15

ชีวิตของเด็กใกล้เคียงกับสหราชอาณาจักรและสวีเดนในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 และกำลัง
ลดต่ำลงเรื่อย ๆ

การที่เด็กทั่วโลกเสียชีวิตลดลง เป็นหนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการสาธารณสุขสมัย
ใหม่จำนวนเด็กที่เสียชีวิตในแต่ละปี ลดลงมากกว่าครึ่งในช่วงไม่กี่สิบปี ที่ผ่านมา เพราะเรามีการ
รับมือกับโรคติดเชื้อและโรคติดต่อได้ดีขึ้นทำให้อัตราการเสียชีวิตส่วนใหญ่เปลี่ยนไปอยู่ที่โรคไม่
ติดต่อในผู้สูงอายุหลายประเทศ มีความกังวลเกี่ยวกับญาติและระบบดูแลสุขภาพที่ต้องรับภาระ
หนักเพิ่มขึ้น เมื่อผู้คนอายุมากขึ้น และเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ยาวนานขึ้น

เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง ช่วยทำให้การพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องสะดุดลง วิกฤตเอชไอวี/เอดส์ใน


ทศวรรษ 1980 เป็นตัวอย่างของเรื่องนี้โรคระบาดนี้ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก แต่
ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดต่ออายุคาดเฉลี่ยคือ ซับซาอาราของแอฟริกาหลังจากที่อายุคาด
เฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาหลายสิบปี อายุคาดเฉลี่ยได้ลดต่ำลงอย่างมากในหลายประเทศในภูมิภาคนี้
การรักษาด้วยยาต้านไวรัสและการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการป้ องกันต่าง ๆ ทำให้การเสียชีวิตจากโรคที่
16

เกี่ยวข้องกับเอดส์ทั่วโลกลดลงครึ่งหนึ่งในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา จาก 2 ล้านคนต่อปี ลงมาอยู่ที่ 1 ล้าน


คนต่อปี

สำหรับอัตราการตายส่วนเกินนั้นวัดจากความแตกต่างระหว่างจำนวนผู้เสียชีวิตจริง (actual deaths)


จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 กับจำนวนผู้เสียชีวิตที่ถูกคาดการณ์ในกรณีที่ไม่มีการแพร่ระบาด
ของโรคโควิด-19 เกิดขึ้น ทั้งนี้ อัตราการตายส่วนเกินที่กล่าวถึงครอบคลุมทั้งการเสียชีวิตจากโควิด-
19 ด้วยตัวเอง และจากสาเหตุของการรักษาพยาบาลที่ไร้ประสิทธิภาพหรือมีความล่าช้าเอกสารยัง
ระบุด้วยว่าอัตราการเสียชีวิตส่วนเกินที่เปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาคและประเทศเกี่ยวเนื่องกับการ
เปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ โครงสร้างอายุของประชากร โครงสร้างพื้นฐาน
ด้านสุขภาพ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม มาตรการควบคุมโรคโควิด-19 และอัตราการฉีดวัคซีน
ด้านภาวะการเจริญพันธุ์ เอกสารระบุว่าผลกระทบของการระบาดใหญ่มีนัยสำคัญน้อยกว่าที่คาดไว้
และส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดยในประเทศที่มีรายได้สูง เช่น อิตาลี เยอรมนี และ
สหรัฐอเมริกา อัตราการเกิดดีดตัวเพิ่มขึ้นในปี 2564 หลังจากที่เคยลดลงเล็กน้อยในปี 2563 ขณะที่
อัตราการเกิดของประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มี
เลย
ข้อค้นพบสำคัญซึ่งเพิ่มอยู่ในเอกสารข้อมูลปี นี้
ในปี 2563-2564 จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกที่นับเป็นอัตราการตายส่วนเกิน มีประมาณ 15 ล้านคน
หากพิจารณาการเสียชีวิตที่ 300 คนต่อ 100, 000 คน พบว่ายุโรปตะวันออกมีอัตราการเสียชีวิตส่วน
เกินโดยเฉลี่ยต่อปี สูงสุดอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรงในปี 2563-2564
17

ระหว่างปี 2562 ถึง 2564 พบว่าอายุคาดเฉลี่ยในประเทศสหรัฐอเมริกาลดลงจาก 78 ปี เป็น 76 ปี


ขณะที่อายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกเมื่อแรกเกิดของเพศหญิงอยู่ที่ 75 ปี และเพศชายอยู่ที่ 70 ปี พิจารณาการ
เกิดที่ 2.3 ต่อผู้หญิงหนึ่งคน พบว่าอัตราการเกิดโดยรวม (Total Fertility Rate: TFR) ทั่วโลกยังคงสูง
กว่าระดับทดแทน (replacement level) โดยเอเชียตะวันออกมีอัตราการเกิดโดยรวมในระดับภูมิภาค
ต่ำสุดอยู่ที่เพียง 1.2 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคน ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และยังไม่ถึง 8 พันล้านคน
โดยคาดการณ์ว่าอินเดียจะเผชิญกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลกระหว่างปี 2565 ถึงปี
2593 จาก 253 ล้านคนเป็น 1.67 พันล้านคน ภูมิภาคที่มีผู้สูงวัยมากที่สุดคือยุโรปใต้ โดยมีประชากร
อายุ 65 ปี ขึ้นไปมากถึง 22 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ ภูมิภาคที่มีเด็กและเยาวชนมากที่สุดคือแอฟริกากลาง
โดยประชากรอายุน้อยกว่า 15 ปี มีมากถึง 45 เปอร์เซ็นต์ กล่าวได้ว่า การเพิ่มขึ้นและลดของจำนวน
ประชากรทั่วโลกมีความสัมพันธ์อย่างยากจะแยกออกจากการพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากเป็นภาพ
สะท้อนที่ฉายให้เห็นถึงความไม่พร้อม ขาดไร้ประสิทธิภาพ หรือล้มเหลวของการจัดการและตั้งรับ
ปรับตัวทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และโลก ในเรื่องสาธารณสุข การผลิตและการบริโภค และการ
จัดการด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่อีกแง่หนึ่งก็เป็นโจทย์ท้าทายในการบรรลุเป้ าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ซึ่งภาคส่วนต่าง ๆ อาจต้องหันหน้ามาร่วมกันหาแนวทาง เป็นต้นว่าจะเลือกลดอัตราการตาย จะ
ควบคุมอัตราการเกิด หรือจะทำให้อายุคาดเฉลี่ยของประชากรในประเทศเพิ่มขึ้นได้อย่างไร เพื่อ
รักษาสมดุลของการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพของทุกคน

และอีกหนึ่งประเด็นที่นำไปสู่ความน่ากังวลเป็นลำดับต่อมา คือ ‘อัตราการตาย’ ของปี 2564 ที่เพิ่ม


สูงขึ้นสวนทางการเกิดใหม่ของประชากรในประเทศไทยอย่างน่าตกใจ ซึ่งมีอัตราการตาย จำนวน
563,650 ราย ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติทั้งนี้ เมื่อปี 2563 มีการตีพิมพ์งานวิจัยของ
มหาวิทยาลัยวอชิงตันของสหรัฐอเมริกา ในวารสาร The Lancet (แลนเซ็ต) ที่เปิ ดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
กรณีดังกล่าว พร้อมคาดคะเนไว้ว่า ในภาพรวมอีกหลายปี ข้างหน้า หลายประเทศทั่วโลก รวมถึง
ประเทศไทย จะมีจำนวนประชากรเกิดใหม่ที่ลดลง และคาดการณ์ว่าภายในปี 2643 หรือ 78 ปี ข้าง
หน้า เมืองไทยจะประชากรลดลงจาก 71 ล้านคน มาอยู่ที่ 35 ล้านคน โดยความน่ากังวลของตัวเลข
เด็กเกิดใหม่ที่ลดลง กำลังเป็นสัญญาณร้ายถึงเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะชะลอตัว หรือเป็นสัญญาณ
ของจุดเริ่มต้นของหายนะทางเศรษฐกิจของประเทศที่เผชิญปัญญาดังกล่าว เพราะจะทำให้คนวัย
ทำงานลดน้อยลงจนไม่เพียงพอ (โดยเฉพาะประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ) ส่งผลให้
อัตราการเติบโตของ GDP ลดลง ต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติมากขึ้น
18

2.3 การเปลี่ยนแปลงประชากรสูงอายุ
ในปี 2565 นี้ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” นั่นหมายความว่า
ประเทศไทยใช้เวลา 17 ปี จากการเป็นสังคมสูงอายุในปี 2548 รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย
พ.ศ. 2563 ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ตามที่ได้รับมอบหมาย
จากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ระบุว่าโครงสร้างอายุของประชากรไทยได้เปลี่ยนไปอย่างมาก
ในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจากประชากรเยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัยในปี 2513 ประเทศไทยมี
ประชากรสูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปเพียง 1.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.9 ของประชากรทั้งหมด แต่ใน
ปี 2563 ประชากรสูงอายุได้เพิ่มเป็น 12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.1 ของประชากรทั้งหมด
ปัจจุบันประชากรไทยกำลังเพิ่มช้าลงอย่างต่อเนื่องและในอนาคตอีก 20 ปี ข้างหน้าอัตราการเพิ่ม
ประชากรไทยจะยิ่งช้าลงจนถึงขั้นติดลบ แต่ในขณะเดียวกันประชากรสูงอายุกลับจะเพิ่มขึ้นด้วย
อัตราที่สูงมากผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.5 ต่อปี และประชากรสูงอายุวัย
ปลาย 80 ปี ขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 7.1 ต่อปี โดยอีก 20 ปี ข้างหน้าคาดการณ์ว่า
จำนวนผู้สูงอายุวัยปลาย 80 ปี ขึ้นไปจะมีมากถึง 3.4 ล้านคน โดยคิดเป็นร้อยละ 5.2 ของประชากร
ทั้งหมด
19

“ประชากรรุ่นเกิดล้านกำลังจะเป็นผู้สูงอายุ” ในแต่ละปี จำนวนเกิดจะมากกว่าจำนวนตาย ในปี


2508 จำนวนเกิดมากกว่าจำนวนตายถึง 4 เท่า แต่ความแตกต่างระหว่างจำนวนเกิดและตายเริ่มลด
น้อยลงเรื่อยๆในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมาผู้สูงอายุเป็นประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป โดย
สหประชาชาติระบุไว้ว่าประเทศใด มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปในสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 10 ของ
จำนวนประชากรทั้งประเทศถือว่า ประเทศนั้นก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ช่องว่างระหว่าง
จำนวนคนเกิดและคนตายในแต่ละปี แคบลงทุกที ในปี 2563 คนเกิดมากกว่าคนตายเพียง 85,930 คน
หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มประชากรเพียงร้อยละ 0.12 ต่อปี เท่านั้น ระหว่างปี 2563–2583 ประชากรเยาว์
วัย (0-14 ปี ) จะลดลง ในขณะที่ประชากรสูงอายุจะเพิ่มขึ้น โดยปี 2562 เป็นปี แรกที่ประเทศไทยมี
ประชากรสูงอายุมากกว่าเด็ก ประชากรวัยแรงงานอายุ 15 -59 ปี จะค่อยๆลดลงจาก 43 ล้านคนในปี
2563 เหลือเพียง 36 ล้านคนในปี 2583 อัตราส่วนประชากรวัยแรงงานต่อประชากรสูงอายุจะลดลง
ครึ่งหนึ่งจาก 3.6 คนเหลือเพียง 1.8 คนประชากรรุ่นเกิดล้าน ที่เกิดระหว่างปี 2506 -2526 กำลังจะ
กลายเป็นผู้สูงอายุ คนที่เกิดปี 2506 จำนวนเกินล้านคนเป็นปี แรก กำลังจะกลายเป็นผู้สูงอายุในปี
2566 ภาพสะท้อนของประชากรสูงอายุไทยในอีก 20 ปี ข้างหน้าหรือในปี 2583 ประชากรไทยจะมี
จำนวนลดลงจาก 66.5 ล้านคน เหลือ 65.4 ล้านคน ประชากรเยาว์วัย (0-14 ปี ) จะมีสัดส่วนลดลง
จาก ร้อยละ 16.9 เหลือร้อยละ 12.8 ประชากรวัยแรงงาน ลดลงจากร้อยละ 65 เหลือร้อยละ
55.8 อัตราผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 18.1 ในปี 2563 เป็นร้อยละ 31.4 ในปี 2583
จำนวนผู้สูงอายุ จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก 12 ล้านคน เป็น 20.5 ล้านคน
20

การเปลี่ยนแปลงประชากรสูงอายุเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ และมีสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ดังนี้


1.1 การพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ
ความสามารถในการผลิต และการแข่งขันสูงขึ้น การพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลในระบบ
นิเวศ การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม การพัฒนาทางด้านจิตใจ รวมทั้งการพัฒนาชนบทให้เป็น
ระบบและเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ ที่กล่าวนี้คือความสำคัญ และแนวทางในการพัฒนาประเทศ
ในอนาคต โดยมุ่งเน้นให้มีเกิดการพัฒนาในทุกๆด้านเพื่อเพิ่มศักยภาพดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาเกษตรกรรม เป็นเกษตรกรรมที่แรรูปเป็นผลผลิตที่ทุกชนชาตินำไปใช้ได้เช่นมันสำ
ประหลังอัด เม็ดทำแป้ งผงไปปรุงอาหารที่เป็นต้องการของทั่วโลกทำให้เป็นสำเร็จรูปเพื่อเพิ่ม มูลค่า
ในตัวสินค้านั้นๆ
2. อุตสาหกรรม ส่งเสริมการศึกษาในรบบการคำนวณ-ภาษาต่างประเทศ เพื่อการติดต่อกับประเท
ศอื่นๆทั่วโลกเพื่อการค้าการลงทุนการคำนวณนั้นเหมาะ กับด้านวิศวกรรม ด้านการเงิน ระบบ
วิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ชีววิทยา เกิดจากการคำนวณ ดังนั้นควรปรับปรุงการศึกษาเร่งแก้ไขให้มี
ประสิทธิ์ภาพ อย่างถูกต้องเพื่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สรุปได้ว่าการแปรรูปนั้น
จะมีประสิทธิผลในด้านอุตสหกรรมลกการพึ่งหา เทคโนโลยีของต่างชาติในด้านวิศวกรรม
เทคโนโลยี ดังนั้นไทยจึงไม่สมควร แพ้ อเมริกันและญี่ปุ่ นอย่างแน่นอน
3.ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนไทย ส่งเสริมให้มีกฎหมายที่ครอบคุมเหมาะสมกับความยุติธรรมใน
สังคม ป้ องกันและปราบปรามปัญหาในสังคม ส่งเสริมการศึกษาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง
ของประเทศถ้าไทยเป็นประเทศอุตสหกรรมนั้นการเปลี่ยนแปลงการศึกษาและจริยธรรมคุณธรรม
คือศาสนาให้มีความสอด คล้องกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
4.พัฒนาบุคคลระดับประเทศ ให้มีความสามารถในด้านการเมือง การติดต่อการบริหารประเทศ รวม
ทั้งจริยธรรมแห่งชั้นชั้นปกครองให้เหมาะสม
5.พัฒนาระบบกองทัพ บก เรือ อากาศ ให้เข้มแข็งน่าเกรงขาม เพื่อป้ องปรามประเทศที่เป็นอัธพาล
และเพื่อการติดต่อเจรจาด้านต่างๆให้ดู ประเทศเราน่าเกรงขาม และเพื่อเป็นศักยภาพในการป้ องกัน
ประเทศซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นใรระบบทหาร อย่างที่อเมริกันติดต่อกับประเทศอื่นๆอย่างมี
ประสิทธิภาพ
1.2 ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และทางการแพทย์ในปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามา
มีความสำคัญต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เช่น เพื่อความสะดวกในการดูแลและรักษาชีวิตของ
มนุษย์และสัตว์ทั้งเพื่อความแม่นยำ ในการวินิจฉัยโรคต่างๆและผลิตตัวยาชนิดใหม่อีกทั้งยัง
สามารถทำให้มนุษย์ดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ยาวนานยิ่งขึ้นเทคโนโลยีทางการแพทย์มีเพื่อรักษาและ
21

เยียวยา ทั้งด้านร่างกายจิตใจของทั้งมนุษย์และสัตว์ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการดำรงชีวิตและการดา
รงเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ เทคโนโลยีทางการแพทย์เปรียบเทียบได้กับเครื่องมือที่ใช้ในการปรับตัวในการ
ดำรงเผ่าพันธุ์ เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ผ่านทางอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์
นั่นเอง
2. สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงประชากรสูงอายุ ในปัจจุบันโลกกำลังเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ เนื่องจาก
ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางการ การดูแลสุขภาพ การศึกษา
และความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและจำนวนประชากรสูงอายุประเทศพัฒนาแล้วและประเทศ
กำลังพัฒนา ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1950-2050 แสดงให้เห็นแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ
เนื่องมาจากอัตราเกิด ที่ลดลงในขณะที่ผู้คนมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและ
ประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ประชากรทั่วโลกมีอายุคาดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 9 ปี ประชากรทั่วโลก
ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นร้อยละ 20 พบได้ในประเทศแถบทวีปยุโรป และประเทศญี่ปุ่ นที่เป็น
สังคมผู้สูงอายุ โดยสมบูรณ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 และใน พ.ศ. 2560 มีประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี สูง
ที่สุดในโลก คือ ร้อยละ 26.7 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่ง หลายประเทศได้มีการประชุมเพื่อ
วางแผนรับมือ กับประชากรผู้สูงอายุในด้านสุขภาพ รวมถึง สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อผู้สูงอายุ
ภาวะประชากรในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย มีแนวโน้มเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ
ซึ่งทางภาครัฐควร มีการวางแผนเพื่อรองรับกับภาวะดังกล่าวประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ
ประมาณ ร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด รวมถึงการ ลดลงอย่างรวดเร็วของภาวะเจริญพันธุ์ โดย
ประเทศไทยได้มีนโยบายและเตรียมความพร้อม ในด้านต่าง ๆ เช่น การจ้างแรงงานทดแทนใน
ระบบเศรษฐกิจ การบริการสาธารณสุข การสร้าง แบบแผนการอยู่อาศัย
22

การย้ายถิ่นฐาน
การย้ายถิ่น
ปัจจุบันมีการย้ายถิ่นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วโลก เนื่องจากปัจจัยที่แตกต่างกัน ทั้งจาก ปัญหา
สภาพแวดล้อม ปัญหาทางเศรษฐกิจ และ ปัญหาด้านความปลอดภัย ส่งผลให้ประชากรใน พื้นที่ต่าง
ๆ ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการย้ายถิ่น มีหลายปัจจัย ดังนี้
1.1 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม มีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมทรัพยากร ธรรมชาติ
อุดมสมบูรณ์ เช่น พื้นที่ราบลุ่ม อากาศอบอุ่น
1.2 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี มีอาชีพที่หลากหลาย ทั้งด้านเกษตรกรรม
อุตสาหกรรม การค้า และการบริการ SORN
1.3 ปัจจัยด้านความปลอดภัย เช่น สงคราม โรคระบาด ภัยธรรมชาติ
2 ประเภทของการย้ายถิ่น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
2.1 การย้ายถิ่นแบบสมัครใจ (voluntary migration) คือ ส่วนใหญ่การอพยพย้ายถิ่นที่มี
ลักษณะของการย้ายถิ่นแบบสมัครใจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลในการ
ย้ายถิ่นต่าง ๆ ผู้ย้ายถิ่นมีความคาดหวังว่าจุดหมายปลายทางจะมีสภาพชีวิตและโอกาสทางเศรษฐกิจ
ที่ดีกว่า เช่น เมื่อมีการก่อตั้งสหภาพยุโรปใน พ.ศ. 2547 ประชากรในหลายประเทศ เช่น โปแลนด์
ฮังการี สาธารณรัฐเช็ก ได้รับสิทธิย้ายไปอยู่สหราชอาณาจักรเพื่อพำนักและทำงาน ส่งผลให้ผู้อพยพ
จำนวนมากเดินทางด้วยความสมัครใจมาอาศัยยังสหราชอาณาจักรเพื่อหางานทำเนื่องจากเศรษฐกิจ
สหราชอาณาจักรกำลังเฟื่ องฟู
2.2 การย้ายถิ่นโดยถูกบังคับ (forced migration) คือ การย้ายถิ่นที่ไม่ได้เป็นไปโดยความสมัครใจ
ของผู้ย้ายถิ่น แต่มีสาเหตุ มาจากการถูกบังคับ ข่มขู่ หรือรู้สึกว่าชีวิตหรือสุขภาวะของตน ถูกคุกคาม
ซึ่งหมายถึง ผู้พลัดถิ่น ผู้ลี้ภัย หรือทาสแรงงานรวมถึงเหยื่อของการค้ามนุษย์ เช่น วิกฤตการณ์ของ
ซีเรียใน พ.ศ. 2559 ส่งผลให้ประชากรประเทศซีเรียจดทะเบียนเป็นผู้ลี้ภัยจำนวนกว่า 4.5 ล้านคน
และมากกว่า ร้อยละ 50 ของประชากรซีเรียได้ย้ายถิ่นออก 4 การอพยพลี้ภัยสงครามของชาวซีเรีย
นอกประเทศ
3 สถานการณ์ย้ายถิ่นของโลก การย้ายถิ่นมี 3 ลักษณะ ดังนี้
23

3.1 การย้ายถิ่นของประชากรในประเทศ เป็นการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง เช่น การย้ายถิ่นจาก


แรงงานในภาคเกษตรกรรมสู่เมืองเพื่อหางานทำ เพราะราคาพืชผลทางการเกษตร ตกต่ำ หรือ
เป็นการย้ายถิ่นระหว่างเมืองที่มีลำดับศักดิ์ใกล้เคียงกัน
3.2 การย้ายถิ่นของประชากรระหว่างประเทศเป็นการย้ายถิ่นเพื่อตอบสนองต่อ วัตถุประสงค์ในการ
พัฒนาฐานะทางเศรษฐกิจของกลุ่มชนหรือบุคคลที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและสภาพ
แวดล้อมของตนเอง แต่บ่อยครั้งที่เป็นการอพยพเนื่องมาจากการหนีภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม
ปัญหาทางเศรษฐกิจ เพื่อแสวงหาสภาพชีวิตที่ดีกว่าในประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางวิกฤตการณ์
ซีเรียเป็นความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นในประเทศซีเรียระหว่างกองทัพที่จงรักภักดีต่อรัฐบาล Ba'ath และ
กลุ่มต่อต้าน ใน พ.ศ. 2559 รายงานประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตจาก สงครามกลางเมืองในซีเรีย
ประมาณ 470,000KSORD คน มีผู้ลี้ภัยประมาณ 4.5 ล้านคนหลบหนีออก จากประเทศไปยัง
ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ตุรกี จํานวน 2.5 ล้านคน เลบานอนจํานวน 1.1 ล้านคน และจอร์แดนจํา
นวน 6 แสนคน
3.3 การย้ายถิ่นของประชากรระหว่างทวีป คือ การเคลื่อนย้ายของประชากรต่างจากทวีปเดิม ระยะ
ทางการย้ายถิ่นไกลขึ้น นั่นหมายถึงประเทศจุดหมายปลายทางจะต้องมีแรงดึงดูดที่ทำให้ประชากร
ต้องการย้ายถิ่นไป เช่น มีงานทำ เศรษฐกิจดี แสวงหาสภาพชีวิตที่ดีกว่าในประเทศที่เป็นจุดหมาย
ปลายทาง ซึ่งปัจจุบันเป็นการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีปัจจัยเร่งที่สำคัญ เช่น การเปิ ดเสรี
ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยง ประเทศต่าง ๆ เข้า
ด้วยกัน การขยายการลงทุนไปยังพื้นที่ใหม่ ๆ และการปรับปรุงระบบสวัสดิการ ของแรงงานต่าง
ชาติ พบว่าในระหว่าง พ.ศ. 2553 - 2558 มีผู้อพยพเข้าไปยังทวีปอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกาและ
แคนาดา) ยุโรป และโอเชียเนีย มากกว่า 2 ล้านคนต่อปี ทวีปเอเชียเป็นทวีป ต้นทางที่มีการส่ง
ออกผู้อพยพออกมากที่สุดถึง 1.1 ล้านคน รองลงมา คือ ทวีปแอฟริกา ประมาณ 0.7 ล้านคน ส่วน
ใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ โดยประเทศอินเดียและจีนมีรายได้จากแรงงานข้ามชาติมากเป็นอันดับที่
1 และ 2 ของโลก ตามลำดับ

ในทางกลับกัน ประเทศปลายทางของการย้ายถิ่นระหว่างทวีปจากเอเชีย คือ สหรัฐอเมริกาและ


แคนาดา ทำให้ทวีปอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกาและแคนาดา) เป็นทวีป ปลายทางที่มีการรับผู้
อพยพเข้ามากที่สุด เป็นจำนวนประมาณ 1.1 ล้านคน รองลงมา ได้แก่ ทวีป ยุโรป 0.8 ล้านคน
ส่วนทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย 0.2 ล้านคน
24
25

You might also like