Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 14

A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

สมาชิกกลุ่ม: จณิสตา แท่นมณี 6240019222 จิณณพัต แดงใส 6240022022 พิมพ์อร โลหกิจ 6240153622
อารียา โฆษชุณห์นันท์ 6240260022
Roman Art: Aisle
รูปภาพที่ 1
Image of a church plan

หมายเหตุ. From Aisle [Image], n.d., (https://www.britannica.com/technology/aisle).


aisle หมายถึง พื้นที่ทางเดินที่ขนาบข้างไปกับ nave (ทางเดินหลักจากหน้าประตูไปสู่แท่นบูชา) โดยมี
เสาเรียงรายตลอดทาง ส่วนอีกด้านติดกับผนังอาคาร เมื่อก่อน aisle เป็นทางเดินสาหรับไปยังที่นั่งหรือหน้าโบสถ์
แต่ต่อมาสามารถนามาใช้เป็นพื้นที่สาหรับที่นั่ง และในปัจจุบันคาว่า ‘aisle’ ยังหมายถึงทางเดินต่าง ๆ ที่สามารถ
นาไปยังที่นั่งในโบสถ์ โรงหนัง หรือสิ่งก่อสร้างสาธารณะอื่น ๆ อีกด้วย (“Aisle”, n.d.)
รูปภาพที่ 2
An aisle of Bristol Cathedral, Bristol, England

หมายเหตุ. By Adrian Pingstone. From Old St. Peter's Basilica [Photograph], 2021,
(https://en.wikipedia.org/wiki/Old_St._Peter%27s_Basilica).
1
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

เมื่อนึกถึงคาว่า ‘aisle’ ในแง่ศัพท์ทางศิลปะและสถาปัตยกรรมแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะนึกถึง aisle ที่


อยู่ในแผนผังของโบสถ์ช่วงยุคกลาง(Middle Age) แต่ทว่าโบสถ์ในยุคกลางนั้นก็ได้รับอิทธิพลแผนผังมาจาก
basilica ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมสาคัญอย่างหนึ่งของยุคโรมัน
basilica ในยุคโรมันเป็นอาคารสาหรับที่พิจารณาคดีและกิจกรรมอื่น ๆ ภายในอาคารประกอบไปด้วย
nave และมีการแบ่งพื้นที่ aisle ทั้งสองข้างของ nave ด้วย colonnade (แนวเสา) เนื่องจากหลังคาของ aisle ต่า
กว่าหลังคาตรงส่วนของ nave จึงสามารถสร้าง clerestory หรือหน้าต่างตรงพื้นที่ต่างระดับของหลังคาได้ เนื่อง
ด้วยคนจานวนมากแผนผังแบบ basilica สามารถจุ ไว้ในพื้นที่ที่ใหญ่และกว้างขวางได้ แผนผังนี้จึงกลายเป็น
ทางเลือกในการก่อสร้างอาคารคริสเตียนในช่วงแรก (Spanswick, n.d.)
เพื่ อ เป็ น การศึ ก ษาศั พ ท์ ศิ ล ปะและสถาปั ต ยกรรมค าว่ า ‘aisle’ คณะผู้ จั ด ท าจึ ง ได้ เ ลื อ กตั ว อย่ า ง
สถาปั ต ยกรรมในยุ ค โรมั น ที่ มี aisle ภายในอาคารมาสองตั ว อย่ า ง ได้ แ ก่ Old St. Peter's Basilica และ The
Basilica of Santa Maria in Trastevere ถึ ง แม้ ว่ า ต้ น ก าเนิ ด รู ป แบบสถาปั ต ยกรรมประเภทนี้ จ ะมาจากโลก
ตะวันตก แต่เราก็สามารถพบเห็นตัวอย่างที่ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมเดียวกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้
เช่นกัน ในรายงานฉบับนี้จะใช้ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร และพระวิหาร วัดอรุณ
ราชวรารามราชวรมหาวิหารเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมในประเทศไทย
ศิลปะสถาปัตยกรรมในยุคโรมัน
1. มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่า (Old St. Peter's Basilica)
รูปภาพที่ 3
Old St. Peters Rome

หมายเหตุ. Drawn by H.W. Brewer, From Old St. Peter's Basilica [Drawing], 2021,
(https://en.wikipedia.org/wiki/Old_St._Peter%27s_Basilica).

2
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์หรือมหาวิหารนักบุญเปโตรตั้งอยู่ที่นครรัฐวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี


สร้างขึ้นในยุคโรมันช่วงศตวรรษที่ 4 โดยคาสั่งของจักรพรรดิคอนสแตนติน แต่ในยุคเรอเนซองส์ มหา
วิหารแห่งนี้ได้ถูกรื้อทิ้งโดยคาสั่งของพระสันตะปะปา พร้อมทั้งให้สร้างขึ้นใหม่บนพื้นที่เดิม จึงกลายเป็น
มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่เห็นในปัจจุบัน
รูปภาพที่ 4
Drawing of Old St. Peters Basilica

หมายเหตุ. Drawn by Grimaldi. From OLD ST. PETERS BASILICA [Drawing], n.d.,
(http://projects.leadr.msu.edu/medievalart/exhibits/show/roman_architecture_ages/old_st_peters).
แผนผังภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่านั้นมีลักษณะเหมือนกับ basilica อื่น ๆที่สร้างขึ้นในยุค
เดียวกัน ซึ่งก็คือประกอบไปด้วย nave, aisle และ clerestory แต่มหาวิหารแห่งนี้แทนที่จะมี aisle 2
แห่งเหมือนกับอาคารหลังอื่นๆ แต่กลับมีทั้งหมด 4 แห่ง เนื่องจากมหาวิหารแห่งนี้มีขนาดใหญ่มาก
นอกจากนี้ เสาที่ เ รี ย งแบ่ง พื้ น ที่ aisle แต่ ล ะแห่ง นั้ นตกแต่ ง แบบ Corinthian และมี ม ากกว่ า 20 ต้น
เพราะฉะนั้นเสาที่เรียงไปตาม aisle นั้นจึงมีมากถึง 80 กว่าต้น อีกทั้งเพดานของ aisle ที่อยู่ด้านนอกสุด
(ติดกับผนังโบสถ์) จะต่ากว่าเพดานของ aisle ที่อยู่ติดกับ nave ส่วนบนผนังข้างบน aisle ทั้ง 4 แห่งนี้มี
การเจาะช่องหน้าต่าง หรือที่เรียกว่า clerestory เพื่อให้แสงสว่างสามารถส่องมาถึงในตัวอาคารได้

2. มหาวิหารซานต้ามาริอาในตราสเตเวเร่ (The Basilica of Santa Maria in Trastevere)


เริ่มสร้างในค.ศ. 221 ซึ่งตรงกับยุคโรมันตอนปลาย ริเริ่มการก่อสร้างโดยสมเด็จพระสันตะปาปา
คาลิกซ์ตุสที่ 1 (Pope Callixtus I) มหาวิหารแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ย่านตราสเตเวเร่ ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี
วิหาร Santa Maria in Trastevere ถือเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงโรมอีกแห่ง เป็นโบสถ์แม่พระ Virgin
Mary แห่งแรก โบสถ์แห่งนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ โดยสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 2
แห่งเมืองตราสเตรเวเร่ ในศตวรรษที่ 12 โดยยังคงรักษาแบบแปลนเดิมไว้

3
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

รูปภาพที่ 5
S. Maria in Trastevere

หมายเหตุ. From SANTA MARIA IN TRASTEVERE [Image], n.d.,


(http://www.romainteractive.com/eng/trastevere/santa-maria-in-trastevere.html).

เช่นเดียวกันกับโบสถ์ทั่วไป โบสถ์แห่งนี้มี aisle เป็นทางเดินขนาบสองข้างระหว่างพื้นที่โถง


ทางเดินตรงกลางโบสถ์ ประกอบด้วยเสาหินแกรนิตแบบโครินเธียนทั้งหมด 21 ต้น โดยแบ่งเป็นด้าน
ซ้ายมือ 11 เสา และด้านขวามือ 10 เสา ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าด้านขวามือติดทางเข้าเป็นที่ตั้งของหอระฆัง
นั่นเอง
รูปภาพที่ 6
Photograph of Santa Maria in Trastevere

หมายเหตุ. From Santa Maria in Trastevere [Photograph], by Natalie,2016,


(https://anamericaninrome.com/wp/2016/07/santa-maria-in-trastevere/).
4
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022
รูปภาพที่ 7
Interior of the Basilica di Santa Maria in Trastevere

หมายเหตุ. From If Walls Could Talk: The Columns of Santa Maria in Trastevere [Photograph], By
Amanda Reeves, 2018, (https://medium.com/in-medias-res/if-the-walls-could-talk-the-columns-of-
santa-maria-in-trastevere-4c7e3bc0cbc2).

ศิลปะสถาปัตยกรรมในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ประเทศไทย)


1. พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
รูปภาพที่ 8
ภาพภายในอาคารพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

หมายเหตุ. จาก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ หรือวัดโพธิ์ [ภาพถ่าย], โดย insidewatthai, 2561,


(https://insidewatthai.com/วัดพระเชตุพน-วัดโพธิ์/).
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ นั้น แต่เดิมเป็น วัดโบราณราษฎร
สร้ า งในสมั ย อยุ ธ ยา แต่ ต่ อ มาพระบาทสมเด็ จ ระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราช (รั ชกาลที่ 1) ได้ มี
พระราชดาริให้ทาการบูรณะในปี พ.ศ. 2331 (ค.ศ. 1788) และพระราชทานนามใหม่ให้ว่า "วัดพระเชตุ

5
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

พนวิมลมังคลาวาศ" (มีการเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันในสมัยรัชกาลที่ 4) ต่อมาได้มีการบูรณะวัดแห่งนี้อีก


หลายครั้ง ได้แก่ ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อปีพ.ศ. 2374 (ค.ศ.
1831) สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เมื่อปีพ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) รวมถึง
ครั้งล่าสุดเมื่อมีการฉลองกรุง รัตนโกสินทร์ 200 ปีเมื่อปีพ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) แต่เป็นเพียงการซ่อม
สร้างของเก่าให้ดีขึ้น ไม่มีการสร้างสิ่งใดเพิ่มเติม
จากวิทยานิพนธ์ของวัชรี วัชรสินธุ์ (2534, หน้า 8) อธิบายว่าลักษณะสถาปัตยกรรมของพระ
อุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในระยะแรกเริ่มของการสร้างวัด พระเชตุพน
วิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารแห่งนี้ในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถนั้น
ไม่ได้มีลักษณะเป็นเหมือนดังรูปแบบในปัจจุบัน แต่จะมีขนาดเล็กกว่า โดยสร้างพระอุโบสถเป็นประธาน
อยู่ตรงกลางล้อมด้วยเสมา 8 ทิศและกาแพงแก้วคั่น ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธินามว่า “พระพุทธ
เทวปฏิมากร”

รูปภาพที่ 9
แผนผังพระอุโบสถที่ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 1

หมายเหตุ. จาก การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม [แผนผังลายเส้น], โดย วัชรี วัชรสินธุ์,


2534, (http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/2722?attempt=3&&attempt=2).

ในการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น ได้มีการรื้ออาคารเดิมออก กาแพงพระอุโบสถ


ขยายกว้างไปจรดแนวเสารับปีกชายคาเดิม สร้างเชิงเสาประธานจานวน 8 คู่ขึ้นเป็นตัวรับน้าหนักอาคาร
แทน แนวเสารับปีกชายคาใหม่ขยายออกไปจรดแนวสีมาเดิม แนวกาแพงแก้วขยายออกไปทาซุ้มสีมาและ
ซุ้ ม ประตู ใ หม่ แ ปลกไปจากเดิ ม ประดิ ษ ฐานพระพุทธปฏิ ม ากรองค์เ ดิ มแต่รื้ อท าฐานชุ กชี ใหม่ (วัชรี
วัชรสินธุ์, 2534, หน้า 10)

6
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

รูปภาพที่ 10
แผนผังพระอุโบสถที่ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3

หมายเหตุ. จาก การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม [แผนผังลายเส้น], โดย วัชรี วัชรสินธุ์,


2534, (http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/2722?attempt=3&&attempt=2).

ในยุคสมัยต่อมา วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารยังคงมีการบูรณะปฏิสังขรณ์อยู่เป็น
ระยะอย่างสม่าเสมอ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตกแต่งภายใน แต่พระอุโบสถนั้น
ยังคงรักษารูปแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมของการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ไว้จนถึงปัจจุบัน

2. พระวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
รูปภาพที่ 11
ภาพภายนอกพระวิหาร

หมายเหตุ. จาก พระวิหาร [ภาพถ่าย], ม.ป.ป., (https://www.watarun1.com/th/architecture-detail/52).


วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารถูกสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนสมัยของสมเด็จพระ
นารายณ์มหาราช แต่ตัวพระวิหารเริ่มสร้างขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 เมื่อประมาณ พ.ศ. 2328 (ค.ศ.
1785) และแล้ วเสร็จในรัช สมั ยของรัชกาลที่ 2 เมื่อประมาณ พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) และยั งคงถู ก
7
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

บู ร ณปฏิ สั ง ขรณ์ เ รื่ อ ยมาในรั ช กาลที่ 2 และรั ช กาลที่ 3 ตั้ ง อยู่ ที่ แ ขวงวั ด อรุ ณ เขตบางกอกใหญ่
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
รูปภาพที่ 12
แผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในวัดอรุณราชวราราม สมัยรัชกาลที่ 1

หมายเหตุ. จาก การศึกษาสถาปัตยกรรม วัดอรุณราชวราราม [แผนผังลายเส้น], โดย อนัสพงษ์ ไกรเกรียงศรี, 2535,


(http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/2727).

รูปภาพที่ 13
ภาพภายในพระวิหาร

หมายเหตุ. จาก วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร [ภาพถ่ายหน้าจอจากแผนที่ออนไลน์], โดย แก่นแก้วออนทัวร์, ม.ป.ป,


(https://360.kaenkaewontour.com/watarun).

8
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

รูปภาพที่ 14
ภาพภายในพระวิหาร

หมายเหตุ. จาก วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร [ภาพถ่ายหน้าจอจากแผนที่ออนไลน์], โดย แก่นแก้วออนทัวร์,


ม.ป.ป, (https://360.kaenkaewontour.com/watarun).

รูปภาพที่ 15
แผนผังการใช้สอยภายในวิหาร

หมายเหตุ. จาก การศึกษาสถาปัตยกรรม วัดอรุณราชวราราม [แผนผังลายเส้น], โดย อนัสพงษ์ ไกรเกรียงศรี,


2535, (http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/2727).

ภายในตัวพระวิหารจะมีโถงทางเดินตรงกลาง สุดทางเดินตรงกลางห้องจะเป็นที่ประดิษฐานของ
พระประธาน และมีแนวเสาเรียงรายตลอดสองข้างทางทั้งหมด 6 คู่ เกิดเป็นช่องว่างระหว่างแนวเสากับ
กาแพง
ลักษณะของเสา เป็นเสาแบบสี่เหลี่ยม ไม่มีการประดับลวดลายบริเวณหัวเสาและฐานเสาด้าน
นอก อันเป็นลักษณะเฉพาะของเสาภายในอาคารในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการเขียนจิตรกรรมลายดอกไม้
และมีลายกรุยเชิงเสาประดับ

9
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

รูปภาพที่ 16
ภาพภายในพระวิหาร

หมายเหตุ. จาก วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร [ภาพถ่ายหน้าจอจากแผนที่ออนไลน์], โดย แก่นแก้วออนทัวร์, ม.ป.ป,


(https://360.kaenkaewontour.com/watarun).
เพดานบริเวณช่องว่างที่ขนาบข้างโถงทางเดินหลัก มีระดับต่ากว่าเพดานตรงบริเวณทางเดินหลักเล็กน้อย
โดยมีการเฉียงลงตามแนวหลังคา

วิเคราะห์งานศิลปะและสถาปัตยกรรมทั้ง 4 แห่งจากคาว่า ‘aisle’


จากการศึกษาสถาปัตยกรรมทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ สถาปัตยกรรมในยุคโรมันคือ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เก่า
และมหาวิหารซานตามาริอา สถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพน
วิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร และพระวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร พบว่าสถาปัตยกรรมของวัด
ไทยทั้ง 2 แห่งมีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างจากสถาปัตยกรรมที่สร้างในยุคโรมันอีก 2 แห่ง ทั้งในด้าน
ลักษณะสถาปัตยกรรมและการใช้งาน เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม
ประเด็นแรกคือด้านเทคโนโลยีในการก่อสร้าง เนื่องจากยุคสมัยในการสร้างมหาวิหารสมัยโรมันและวัด
ไทยนั้นแตกต่างกันมากกว่า 1,000 ปี จึงทาให้วัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้นต่างกันไปด้วย ดังที่เห็นได้จากเสาภายใน
มหาวิหารสมัยโรมันทั้ง 2 แห่งสร้างขึ้นมาจากหินทั้งหมด ส่วนวัดไทยทั้ง 2 แห่งเสาภายในพระอุโบสถและพระ
วิหารล้วนสร้างด้วยอิฐ และฉาบด้วยปูนหมัก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความแตกต่างของช่วงเวลาก่อสร้างส่งผลให้
เทคโนโลยีในการผสมวัสดุของทั้ง 2 อารยธรรมต่างกัน
ประเด็ น ถั ด มาคื อ ลั ก ษณะสถาปั ต ยกรรม ทั้ ง พระอุ โ บสถของวั ด พระเชตุ พ นวิ ม ลมั ง คลารามราช
วรมหาวิหารและพระวิหารของวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ภายในอาคารมีโถงทางเดินกลางที่เหมือน
ลักษณะของ nave อีกทั้งยังมีแนวเสาเรียงเป็นแนวยาวตลอดโถงหลักซึ่งทาให้เกิดช่องว่างคล้ายทางเดิ นด้านข้าง
เหมือน aisle ของยุคโรมัน เพียงแต่มีจานวนเสาน้อยกว่ามหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และมหาวิหารซานตามาริอา
เนื่องจากวัดของไทยนั้นประกอบด้วยอาคารหลายรูปแบบที่ทาหน้าที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพระอุโบสถหรือวิหาร ทา
10
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

ให้อาคารแต่ละหลังมีขนาดเล็ก ตรงข้ามกับมหาวิหารทั้ง 2 แห่งที่ประกอบด้วยอาคารหลักเพียงแห่งเดียว จึง


จาเป็นต้องสร้างให้มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และมหาวิหาร
ซานตามาริอาที่สร้างขึ้นในสมัยโรมันจึงมีเสามากกว่าอาคารในวัดไทยเกือบ 2 เท่า อีกทั้งจากบทความเรื่องวัดไทย
ออกแบบตามพุทธปรัชญาหรือไม่ (2553) พบว่าจานวนเสาในพระอุโบถและพระวิหารอาจมีความเกี่ยวข้องกับ
ความเชื่อทางศาสนา เนื่องจากศาสนสถานในพุทธศาสนานั้นมีแนวคิดออกแบบตามหลักพุทธปรัชญา เช่น หากมี
8 เสา ก็จะสามารถเชื่อมโยงกับหลักธรรมมรรค 8 แต่ทว่าข้อมูลนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันและมีข้อมูลเพียงเล็กน้อย
เกี่ยวกับแนวคิดนี้
นอกจากนี้หลังคาของสถาปัตยกรรมวัดไทยและสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยโรมันยังมีความแตกต่างกัน
กล่าวคือหลังคาของพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารและพระวิหาร วัดอรุณราชวราราม
ราชวรมหาวิหาร เป็นหลังคาทรงจั่วตามลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดไทย ดังนั้นตัวอาคารทั้งหลังจึงมีหลังคาเดียว
ครอบคลุ มทั้ง โถงทางเดิ น กลางและช่ อ งว่ า งด้ า นข้ า งทั้ง สองฝั่ง ภายในอาคาร ส่ ง ผลให้ไ ม่มีพื้น ที่ในการสร้าง
clerestory ในทางกลับกัน หลังคาของ aisle ในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และมหาวิหารซานตามาริอานั้นจะแยกจาก
หลังคาของ nave และมีระดับต่ากว่า ทาให้ภายในอาคารมีพื้นที่บน aisle มากพอที่จะสร้าง clerestory เพื่อเป็น
ช่องแสงจากด้านบน ในขณะที่วัดไทยทั้ง 2 แห่ง จะมีหน้าต่างบนกาแพงด้านข้างทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อให้แสงสว่างเข้ามา
ภายในอาคาร
ส่วนในด้านความแตกต่างในการใช้งาน จุดประสงค์ในการสร้าง aisle ในสถาปัตยกรรมโรมัน คือใช้เป็น
ทางเดินเชื่อมไปยังที่นั่งบริเวณ nave หรือแท่นบูชาที่อยู่สุดทาง แต่ช่องว่างเลียบแนวเสาที่มีลักษณะคล้าย aisle
ของวัดไทยนั้น แนวเสาสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการค้ายันตัวอาคารให้มีความแข็งแรงเท่านั้น ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อ
เป็นช่องทางเดิน ทาให้ขนาดของช่องว่างนี้มีขนาดเล็กกว่า aisle ของสถาปัตยกรรมยุคโรมันมาก
ด้วยเหตุนี้ เนื่องจากยุคสมัยที่สร้างสถาปัตยกรรมมีความต่างกันมาก รวมถึงพื้นที่และวัฒนธรรมที่ต่างกัน
สถาปัตยกรรมสมัยโรมันและสถาปัตยกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในที่นี้คือสถาปัตยกรรมไทย จึงมีความ
แตกต่างกันทั้งทางด้านลักษณะสถาปัตยกรรมและประโยชน์ในการใช้สอย แต่แผนผังโดยภาพรวมของทั้ง 2 อารย-
ธรรมนั้นพบว่าคล้ายคลึงกัน คือรูปแบบการจัดวางองค์ประกอบภายในอาคาร เช่น การที่มีเสาเรียงอยู่ ด้านข้างทั้ง
2 ฝั่ง การประดิษฐานรูปเคารพไว้ตรงสุดทางเดินเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่สาคัญที่สุดในอาคาร เป็นต้น แสดงให้
เห็นว่าศิลปะและสถาปัตยกรรมนั้นมีความเป็นสากล แม้ยุคสมัยและอารยธรรมต่างกัน

11
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

บรรณานุกรม
ภาษาไทย
กรมศิลปากร. (ม.ป.ป.). วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร. เรียกใช้เมื่อ 26 สิงหาคม 2564 จาก
http://www.resource.lib.su.ac.th/rattanakosin/index.php/2014-10-27-08-52-05/2014-10-29-
02-26-23/2015-10-19-03-26-15/2015-10-19-03-43-59
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์. (ม.ป.ป.). แรกมีปูนซีเมนต์ใช้ในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 3 กันยายน 2564
จาก https://www.finearts.go.th/promotion/view/23079-
%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%
B9%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B
8%95%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%99%E0
%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0
แก่นแก้วออนทัวร์. (ม.ป.ป.). วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร. เรียกใช้เมื่อ 28 สิงหาคม 2564 จาก
https://360.kaenkaewontour.com/watarun
พระวิหาร. (ม.ป.ป.). เรียกใช้เมื่อ 28 สิงหาคม 2564 จาก https://www.watarun1.com/th/architecture-
detail/52
วัชรี วัชรสินธุ์. (2534). การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). เรียกใช้เมื่อ 28 สิงหาคม 2564 จาก
http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/2722?attempt=3&&attempt=2
วัดไทย ออกแบบตามพุทธปรัชญาหรือไม่? (28 มีนาคม 2553). โพสต์ทูเดย์. เรียกใช้เมื่อ 3 กันยายน 2564 จาก
https://www.posttoday.com/dhamma/19246
วัดอรุณราชวราราม. (ม.ป.ป.). เรียกใช้เมื่อ 28 สิงหาคม 2564 จาก
https://www.watportal.com/th/wat/region/detail/iid/25642
อนัสพงษ์ ไกรเกรียงศรี. (2535). การศึกษาสถาปัตยกรรม วัดอรุณราชวราราม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยศิลปากร). เรียกใช้เมื่อ 28 สิงหาคม 2564 จาก
http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/2727

12
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

insidewatthai. (24 กันยายน 2561). วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ หรือวัดโพธิ์. เรียกใช้เมื่อ 26 สิงหาคม


2564 จาก https://insidewatthai.com/วัดพระเชตุพน-วัดโพธิ์/

ภาษาอังกฤษ
Aisle. (n.d.). Britannica . Retrieved August 25, 2021, from
https://www.britannica.com/technology/aisle
Aisle. (2021, July 12). In Wikipedia. Retrieved August 26, 2021, from
https://en.wikipedia.org/wiki/Aisle
ars7. (2004, June 10). S. Maria in Trastevere. University of Washington. Retrieved August 28, 2021,
from
https://depts.washington.edu/hrome/Authors/ars7/SMariainTrastevere_1/pub_zbarticle_vi
ew_printable.html
Natalie. (2016, July 13). Santa Maria in Trastevere. An American in Rome. Retrieved August 28,
2021, from https://anamericaninrome.com/wp/2016/07/santa-maria-in-trastevere/
OLD ST. PETERS BASILICA. (n.d.). Medieval Art. Retrieved August 26, 2021, from
http://projects.leadr.msu.edu/medievalart/exhibits/show/roman_architecture_ages/old_st
_peters
Old St. Peter's Basilica. (2021, April 4). In Wikipedia. Retrieved August 26, 2021, from
https://en.wikipedia.org/wiki/Old_St._Peter%27s_Basilica
Prakitnonthakan, C. (2014). Symbolism in the Design of Wat Phra Chetuphon
Wimonmangkhalaram (Wat Pho). Journal of the Siam Society, 102, 1-41. Retrieved August
26, 2021, from https://thesiamsociety.org/wp-
content/uploads/2014/04/JSS_102_0b_ChatriPrakitnonthakan_SymbolismInTheDesignOfW
atPhraChetuphon.pdf

13
A01 Roman Aisle 6240019222 6240022022 6240153622 6240260022

Reeves, A. (2018, March 10). If Walls Could Talk: The Columns of Santa Maria in Trastevere. In
Medias Res. Retrieved August 28, 2021, from https://medium.com/in-medias-res/if-the-
walls-could-talk-the-columns-of-santa-maria-in-trastevere-4c7e3bc0cbc2
S. Maria in Trastevere. (n.d.). Mediakron. Retrieved August 28, 2021, from
https://mediakron.bc.edu/rome/church/s-maria-in-trastevere
SANTA MARIA IN TRASTEVERE. (n.d.). Romainteractive. Retrieved August 28, 2021, from
http://www.romainteractive.com/eng/trastevere/santa-maria-in-trastevere.html
Santa Maria in Trastevere. (2021, August 15). romanchurches.fandom. Retrieved August 28, 2021,
from https://romanchurches.fandom.com/wiki/Santa_Maria_in_Trastevere
Spanswick, V. (n.d.). Medieval churches: sources and forms. Khan Academy. Retrieved August 26,
2021, from https://www.khanacademy.org/humanities/medieval-world/romanesque-
art/beginners-guide-romanesque/a/medieval-churches-sources-and-forms
THE OLD BASILICA OF ST. PETER IN THE VATICAN. (2017, September 8). Vox Mundi. Retrieved
August 28, 2021, from https://www.voxmundi.eu/old-basilica-st-peter-vatican/

14

You might also like