Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 46

รายงานผลการวิจัย

เรื่อง การศึกษาสภาวะทีส่ ่งผลต่อการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ


ด้วยกระบวนการ Electrooxidation ร่วมกับ UV

รายชื่อ

นายพงศพล บรรเทพ 63050201


นายรัชตะ ไชยเชษฐ 63050204
นางสาวศศิพร บุญเขียว 63050490

อาจารย์ที่ปรึกษา
ดร. ตติยา วรรณโนมัย

ปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2566
ปริญญานิพนธ์ การศึกษาสภาวะที่ส่งผลต่อการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ
ด้วยกระบวนการ Electrooxidation ร่วมกับ UV
โดย พงศพล บรรเทพ
รัชตะ ไชยเชษฐ
ศศิพร บุญเขียว
จำนวนหน้า 46 หน้า
ปีการศึกษา 2566

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อนุมตั ิให้ปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่ง


ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

……………………………………………………………………………….กรรมการสอบปริญญานิพนธ์
(รองศาสตราจารย์ ดร. วิทวัส แจ้งเอี่ยม)

……………………………………………………………………………….กรรมการสอบปริญญานิพนธ์
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอมม่า อาสนจินดา)

………………………………………………………………………………………….…….อาจารย์ที่ปรึกษา
(ดร. ตติยา วรรณโนมัย)

………………………………………………………………………………หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี
(ดร. เจริญ ชินวานิชย์เจริญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพกระบวนการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่
ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะชนิดยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim, TMP) ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 50 µM ด้วยกระบวนการ
Electrooxidation เทียบกับ Electrooxidation/UV เมื่อมีความเข้มข้นของสารอิเล็กโทรไลต์ (NaCl) 500 mg/L
ความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้า 10 mA/cm² และหลอด UV 16 วัตต์ ที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร โดยทำ
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบำบัดจากปริมาณของยาที่เหลือในระบบด้วยเครื่องมือ High Performance
Liquid Chromatography (HPLC) จากการทดลองพบว่ า ประสิ ท ธิ ภ าพการบำบั ด TMP สอดคล้ อ งกั บ การ
ปรับเปลี่ยนค่า pH ในสภาวะการทดลอง ได้แก่ 5.8, 6.8 และ 7.8 ตามลำดับ จากการทดลองในกระบวนการ
Electrooxidation ที่ pH 5.8, 6.8 และ 7.8 มีประสิทธิภาพการบำบัดในช่วงระยะเวลา 30 นาที อยู่ที่ 100%
71.37% และ 96.49% ตามลำดั บ ในกระบวนการ Electrooxidation/UV ที ่ pH 5.8, 6.8 และ 7.8 มี
ประสิทธิภาพการบำบัดในช่วงระยะเวลา 30 นาที อยู่ที่ 100% 96.02% และ 100% ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า pH
มีผลต่อกระบวนการบำบัดตัวยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim)

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
สารบัญ ข-ค
สารบัญรูปภาพ ง
สารบัญตาราง จ
บทที่ 1 บทนำ 1-4
1.1 ทีม่ าและความสำคัญ 1
1.2 วัตถุประสงค์ 3
1.3 ขอบเขตการศึกษา 3
1.4 สมมติฐาน 3
1.5 ระยะเวลาในการดำเนินงาน 4
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4
บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5-19
2.1 ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) 5
2.2 กระบวนการออกซิเดชันด้วยไฟฟ้า (Electrooxidation) 8
2.3 อัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) 11
2.4 ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า (Current Density) 12
2.5 พีเอช (pH) 12
2.6 การเลือกวัสดุของขั้วแคโทดและแอโนด 13
2.7 อนุมลู อิสระ (Free radical) 14
2.8 ตัวจับอนุมลู อิสระ (Scavenger) 14
2.9 อุณหภูมิ (Temperature) 14
2.10 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 15
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน 20-26
3.1 สารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง 20
3.2 เครื่องมือในการทดลอง 22
3.3 ขั้นตอนการทดลอง 23
3.4 การวิเคราะห์ผล 25

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการศึกษาและอภิปราย 27-34
4.1 ตัวแปรศึกษาสำหรับการทดลอง Electrooxidation, Electrooxidation/UV 27
4.2 ประสิทธิภาพการบำบัด 29
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 35-36
5.1 สรุปผลการทดลอง 35
5.2 ข้อเสนอแนะ 36
5.3 กิตติกรรมประกาศ 36
บรรณานุกรม 37-39

สารบัญรูปภาพ
รูปที่ หน้า
รูปที่ 1 เครื่องมือ High Performance Liquid Chromatography (HPLC) 23
รูปที่ 2 ชุดปฏิกรณ์ Electrogen สำหรับการทดลอง Electrooxidation 23
รูปที่ 3 กราฟแสดงการเปรียบเทียบค่าพีเอช 5.8, 6.8, และ 7.8 ในกระบวนการ 29
Electrooxidation
รูปที่ 4 กราฟแสดงการเปรียบเทียบค่าพีเอช 5.8, 6.8, และ 7.8 ในกระบวนการ 29
Electrooxidation/UV
รูปที่ 5 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ 30
Electrooxidation/UV ที่สภาวะ pH 5.8
รูปที่ 6 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ 31
Electrooxidation/UV ที่สภาวะ pH 6.8
รูปที่ 7 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ 31
Electrooxidation/UV ที่สภาวะ pH 7.8
รูปที่ 8 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ 32
Electrooxidation/UV ที่สภาวะ pH 5.8 โดยมี Benzoic Acid ร่วมด้วย
รูปที่ 9 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ 33
Electrooxidation/UV ที่สภาวะ pH 5.8 โดยมี Nitrobenzene ร่วมด้วย
รูปที่ 10 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation ที่สภาวะ 33
pH 5.8 โดยใช้ Benzoic Acid เทียบกับ Nitrobenzene
รูปที่ 11 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation/UV ที่ 34
สภาวะ pH 5.8 โดยใช้ Benzoic Acid เทียบกับ Nitrobenzene

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
ตารางที่ 1 การดำเนินงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 4
ตารางที่ 2 ผลของการทดลองค่าความเข้มแสงกับหลอด UV 16 Watts 3 หลอดเปรียบเทียบ 27
กับการทดลองค่าความเข้มแสงหลอด UV 6 Watts 3 หลอด (ศราวุธ และคณะ,
2565)
ตารางที่ 3 pH 5.8 วิเคราะห์ปริมาณคลอรีนด้วยวิธีการ Titration 28
ตารางที่ 4 pH 6.8 วิเคราะห์ปริมาณคลอรีนด้วยเครื่องวัดค่าคลอรีน ponpe 505CL 28
ตารางที่ 5 pH 7.8 วิเคราะห์ปริมาณคลอรีนด้วยเครื่องวัดค่าคลอรีน ponpe 505CL 28
1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญ
การตกค้างและปนเปื้อนของยาในสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญในระดับโลก พบการตกค้างและปนเปื้อน
ทั้งในน้ำผิวดิน น้ำทิ้ง น้ำใต้ดิน ดิน เป็นต้น โดยยาที่พบตกค้างและปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม มี 3 ประเภทหลัก
ได้แก่ ยาในกลุ่มปฏิชีวนะ ยารบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ และสารในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาอื่น ๆ เช่น ไดโคลฟีแนค
(Diclofenac) ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) และพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นต้น ซึ่งหากพูดถึงยาปฏิชีวนะ
โดยยาปฏิชีวนะจัดเป็นกลุ่มของยาที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์อื่ น ๆ ในร่างกาย
ของมนุษย์ หนึ่งในยาปฏิชีวนะที่มักถูกใช้คือ ไตรเมโทพริม (Trimethoprim, TMP) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาการติด
เชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย โดยเฉพาะแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหรือสภาวะทางการแพทย์ตา่ ง ๆ ได้ โดยส่วนมาก TMP
เป็นยาปฏิชีวนะที่ มักถูกใช้ร่วมกับยา Sulfamethoxazole ในยา Trimethoprim-sulfamethoxazole (TMP-
SMX) หรือที่เรียกว่า Bactrim ยาปฏิชีวนะนี้มักถูกใช้ในการรักษาต่างๆ เช่น การติดเชื้อของทางเดินหายใจ ซึ่งควร
ถูกจัดการอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันความต้องการใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น แม้ Trimethoprim จะมีประโยชน์ในการ
รักษาโรคแต่ถ้ามีปนเปื้อนในแหล่งน้ำ อาจสร้างปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดีน้อยลง นี่คือ
เหตุผลที่การตรวจวัดและบำบัดการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในแหล่งน้ำเป็นสิ่งสำคัญ
การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ลักษณะของน้ำเสีย ค่าลงทุนการก่อสร้างและค่า
ดำเนินการดูแลและรักษาระบบ และขนาดของที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้าง เป็นต้น เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำที่เลือกมี
ความเหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยการบำบัดน้ำเสียสามารถแบ่งได้ตามกลไกที่
ใช้ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียได้ แก่ กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ (Physical Treatment) เป็น
วิธีการแยกเอาสิ่งเจือปนออกจากน้ำเสีย เช่น ของแข็งขนาดใหญ่ กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร กรวด ทราย ไขมัน
และน้ำมัน โดยใช้อุปกรณ์ในการบำบัดทางกายภาพ ซึ่งจะเป็นการลดปริมาณของแข็งทั้งหมดที่มีในน้ำเสียเป็นหลัก
กระบวนการบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment) เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพ
หรือใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารคาร์บอนอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยสิ่ง
สกปรกเหล่านี้จะถูกใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในถังเลี้ยงเชื้อเพื่อการเจริญเติบโตทำให้น้ำ
เสียมีค่าความสกปรกลดลง โดยจุลินทรีย์เหล่านี้อาจเป็นแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Organisms) หรือไม่ใช้
ออกซิเจน (Anaerobic Organisms) ก็ได้ และกระบวนการบำบัดทางเคมี (Chemical Treatment) เป็นวิธีการ
บำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางเคมี เพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนในน้ำเสีย วิธีการนี้จะใช้กับน้ำเสียที่มี
2

ส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ ค่าพีเอช (pH) สูงหรือต่ำเกินไป มีสารพิษ มีโลหะหนัก มีของแข็ง


แขวนลอยที่ตกตะกอนยาก มีไขมันและน้ำมันที่ละลายน้ำ มีไนโตรเจนหรือฟอสฟอรัสที่สูงเกินไป และมีเชื้อโรค
เป็นต้น (น้ำเสียชุม ชนและระบบบำบั ด , กรมควบคุมมลพิษ , 2563) นอกจากนี้ ยังมีก ารบำบัด น้ ำเสีย โดยใช้
กระบวนการทางเลือกการบำบัดขั้นสูง (Advance Oxidation Process, AOP) ซึ่งจะถูกเลือกตามคุณสมบัติของ
สารมลพิษที่มีอยู่ในน้ำเสีย ยกตัวอย่างเช่น การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการ Electrooxidation (EO) คือหนึ่งใน
กระบวนการออกซิเดชันขั้นสูง (AOP) เป็นกระบวนการทางเคมีที่ใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่
สามารถย่อยสลายสารมลพิษและสารอินทรีย์ในน้ำเสียเพื่อทำความสะอาดหรือบำบัดน้ำเสีย เพื่อทำให้สารปฏิกิริยา
เคมีที่มีในน้ำหรือสารอื่น ๆ สลายตัวหรือเปลี่ยนรูปโครงสร้างของสารนั้น โดยทำให้เกิดการออกซิเดชันของสาร
กระบวนการนี้มักถูกนำมาใช้ในการบำบัดสารปนเปื้อนหรือสารอันตรายออกจากน้ำหรือสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ใช้
สำหรับ การบำบัด น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี การบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการ
อัลตราไวโอเลต (Ultraviolet, UV) เป็นวิธีการที่ใช้รังสีแสงเพื่อทำลายหรือปกป้องจากการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
ในน้ำเสียในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราในน้ำปนเปื้อน และกระบวนการนี้ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีอันตรายอีกด้วย
ทั้งนี้ทางผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนการบำบัดน้ ำเสียทั้ง 2 รูปแบบ จึงได้ทำการศึกษาและ
พบว่า กระบวนการบำบัดดังกล่าวมีความสามารถในการบำบัดสารมลพิษที่สนใจได้ในประสิทธิภาพที่ดี (ศราวุธ
และคณะ, 2565) ดังนั้น ทางผู้วิจัยจึงได้มีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการบำบัด เช่น ค่าพีเอช
(pH) และความเข้มของแสง UV ที่ใช้ เป็นต้น เพื่อที่จะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ เพื่อให้เกิดความ
เหมาะสมสำหรับการบำบัดสารมลพิษที่สนใจ รวมถึงสามารถนำไปปรับประยุกต์ ใช้กับสารมลพิษอุบัติใหม่ใน
อนาคต
3

1.2 วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการบำบัดไตรเมโทพริม (Trimethoprim) ด้วยกระบวนการ Electrooxidation (EO) และ
Electrooxidation/Ultraviolet (EO/UV) ในสภาวะที่แตกต่างกัน
2. เพื่ อ เปรี ย บเที ย บประสิ ท ธิ ภ าพการบำบั ด ไตรเมโทพริ ม (Trimethoprim) ด้ ว ยกระบวนการ
Electrooxidation (EO) และ Electrooxidation/Ultraviolet (EO/UV)
3. เพื่อเปรียบเทียบสภาวะการทดลองที่ต่างกัน ที่ใช้ในกระบวนการบำบัดไตรเมโทพริม (TMP) ด้วย
วิธีการ Electrooxidation (EO) และ Electrooxidation/Ultraviolet (EO/UV)

1.3 ขอบเขตการศึกษา
1. บำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะชนิดไตรเมโทพริมด้วยกระบวนการ Electrooxidation
2. บำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะชนิดไตรเมโทพริมด้วยกระบวนการ Electrooxidation
ร่วมกับกระบวนการ Ultraviolet
3. กำหนดความเข้มข้นของตัวยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim) ในน้ำเสียสังเคราะห์ 50 µM (อ้างอิง
จากความสามารถของเครื่องมือ HPLC), ความเข้มข้นสารอิเล็กโทรไลต์ (NaCl) 500 mg/L, pH 5.8, 6.8 และ 7.8
ความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้า 10 mA/cm2 และหลอด UV 16 วัตต์ 254 นาโนเมตร
4. ใช้เครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC) สำหรับการวิเคราะห์ความเข้มข้น
ไตรเมโทพริมที่เหลืออยู่ในน้ำตัวอย่างหลังจากทำการทดลอง
5. ระยะเวลาทีใ่ ช้ในการเก็บน้ำตัวอย่างของการทดลองเริ่มจาก 0-60 นาที
6. ศึกษาอนุมลู อิสระที่เกิดขึน้ จากการทดลอง โดยใช้สาร Nitrobenzene (NB) และ Benzoic Acid (BA)

1.4 สมมติฐาน
1. กระบวนการ Electrooxidation/Ultraviolet (EO/UV) สามารถถูกเลือกใช้ให้เป็นหนึ่งในกระบวนการ
บำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่ปนเปื้อนยาไตรเมโทพริม
2. ปริมาณคลอรีนที่เหลือซึ่งได้มาจากสารอิเล็กโทรไลต์ (NaCl) สามารถถูกกำจัดได้ด้วยกระบวนการ UV
3. ความเข้มของแสง UV มีผลต่อเวลาในการกำจัดความเข้มข้นไตรเมโทพริมในน้ำเสียสังเคราะห์
4

4. ค่า pH ที่ 6.8 มีความเหมาะสมในการบำบัดไตรเมโทพริม ในเรื่องความคุ้มค่าเช่น เวลา ค่าใช้จ่าย


ปริมาณสารอิเล็กโทรไลต์

1.5 ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ตารางที่ 1 การดำเนินงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ปี พ.ศ. 2566 ปี พ.ศ. 2567
รายการ เดือน
ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ.
1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4
1.พบที่ปรึกษา
2.สืบค้นข้อมูล
3.วิเคราะห์
ปัญหา
4.ทำการ
ทดลอง และส่ง
วิเคราะห์
ตัวอย่าง
5.ประเมิน
ผลลัพธ์
6.การเขียน
สรุปรายงาน
7.ส่งรายางน
การวิจัย

1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. งานวิจัยนี้สามารถช่วยหรือเป็นพื้นฐานที่จะต่อยอดเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียจริงที่มีการปนเปื้อนยา
ไตรเมโทพริมได้
2. กระบวนการนี้อาจนำไปสู่การพัฒนาระบบการบำบัดน้ำในระบบน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนตัวยาประเภท
อื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
3. การลดปริมาณยาจะช่วยลดความเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
5

บทที่ 2
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) (ภกญ.ดร.ณัฏฐิณี ธีรกุลกิติพงศ์ และคณะ, 2561)


ในวงการแพทย์ ม ั ก เรี ย กยาปฏิ ช ี ว นะว่ า แอนไทไบโอติ ก หรื อ บางคนออกเสี ย งว่ า แอนติ ไ บโอติ ก
(Antibiotics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก หมายถึงยาต้านสิ่งมีชีวิต (Anti หมายถึง ต่อต้าน Bios หมายถึง ชีวิต) ซึ่ง
สิ่งมีชีวิต หมายถึง จุลชีพ หรือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น เชื้อโรค ดังนั้นยาปฏิชีวนะ คือ ยายับยั้ง ฆ่า หรือ ต้านทาน
จุลชีพซึ่งโดยทั่วไปมักเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรืออาจเรียกว่า ยาต้านแบคทีเรีย (Antibacterial) แต่ยังอาจครอบคลุม
ถึงเชื้อไวรัสและเชื้อราบางชนิดได้เช่นกัน ในร่างกายของมนุษย์จะมีระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น เม็ดเลือดขาว
ที่ใช้ป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อวัณโรค ปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดในการใช้ยาปฏิชีวนะ
เป็นอย่างมาก ใช้ผิดวิธีโดยไม่ได้ตั้งใจและก่อให้เกิดผลเสียตามมา ซึ่งบางครั้งอาจถึงกับเสียชีวิตได้ทั้งจากการแพ้ยา
และเชื้อดื้อยา
ยาปฏิชีวนะกลุ่มแรกเป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ซึ่งสังเคราะห์ได้จากเชื้อรา
แต่ในยุคปัจจุบันได้กำเนิดยาต้านเชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียหลากหลายมากขึ้น ยกตัวอย่าง กลุ่มยาปฏิชีวนะ
ที่นิยมใช้ในประเทศไทย ดังนี้
1. เพนิซิลลิน เป็นยาใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียได้ในหลายเนื้อเยื่อ อวัยวะ เช่น คออักเสบ เป็นต้น
เป็นกลุ่มยาที่ไม่ทนกับกรดในกระเพาะอาหาร จึงจำเป็นต้องรับประทานยาก่อนอาหาร และถูกขับ
ออกจากร่างกายโดยผ่านไต แต่ยาบางตัวในกลุ่มนี้ก็ถูกขับออกโดยผ่านกระบวนการที่ตับ ก่ อน
ตัวอย่างยาในกลุ่มเพนิซิลลิน เช่น อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) แอมพิซิลลิน (Ampicillin) คาร์เบนิ-
ซิลลิน (Carbenicillin) คลอกซาซิลลิน (Cloxacillin) และฟลูคลอซาซิลลิน (Flucloxacillin) เป็นต้น
2. อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่กระดูก ข้อ
การติดเชื้อที่ผิวหนัง การติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อหลังผ่าตัด ยากลุ่มนี้ไม่ดูดซึมทางลำไส้ ต้อง
ใช้วิธีฉีด เข้ากล้ามหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือด มีความเป็นพิษต่อไตและหูชั้นใน ตัวอย่างยากลุ่มอะมีโน
ไกลโคไซด์ เช่น เจนตามัยซิน (Gentamycin) โทบรามัยซิน (Tobramycin) อะมิคาซิน(Amikacin)
สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) สเปคทิโนมัยซิน (Spectinomycin) เป็นต้น
3. เซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) กานามัยซิน (Kanamycin) และนีโอมัยซิน (Neomycin) จัดเป็น
กลุ่มยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น ชนิดก่อการอักเสบของทางเดิน
6

หายใจและทางเดินอาหาร ยากลุ่มนี้ไม่ทนกรดเช่นเดียวกันกับกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) และดูดซึม


ในทางเดินอาหารได้ไม่ดี จึงต้องใช้การฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าหลอดเลือด แต่ก็พบว่ายาเซฟาโลสปอริน
บางตัวมีคุณสมบัติทนกรดได้ดีทั้งยังสามารถให้ยาโดยการรับประทานได้ ยาเซฟาโลสปอรินขับออก
จากร่างกายโดยผ่านทางไตออกมากับปัสสาวะ บางส่วนถูกทำลายและผ่านออกมาทางตับแต่เป็นส่วน
น้อย ตัวอย่างยาในกลุ่มเซฟาโลสปอริน เช่น เซฟาโซลิน (Cefazolin) เซฟาคลอร์ (Cefaclor) เซฟู-
รอกซีม (Cefuroxime) เซโฟแทคซีม (Cefotaxime) และ เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) เป็นต้น
4. แมคโครไลด์ (Macrolide) จัดเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้แพร่หลายอีกกลุ่มหนึ่ง สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
โดยการก่อกวนที่สารพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า อาร์เอนเอ (RNA) ตัวอย่างยากลุ่มแมคโครไลด์ เช่น อี-
รีโทรมัยซิ น (Erythromycin) อาซิโทรมัยซิน (Azithromycin) คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin)
และรอซิโทรมัยซิน (Roxithromycin) ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนในการดำรงชีวิตได้มักใช้
ในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง เป็นต้น
5. เตตราไซคลีน (Tetracyclines) ใช้รักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อในลำไส้ ฝีหนอง
มีกลไกการออกฤทธิ์โดยการก่อกวนการทำงานของสารพันธุกรรม หรือ RNA ของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้
เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนได้ และทำให้เชื้อหยุดการเจริญเติบโต ตัวอย่างยากลุ่มเตตราไซคลีน
เช่น ดอกซีไซคลีน (Doxycycline) และออกซีเตตราไซคลีน(Oxytetracycline) ข้อควรระวังเกี่ยวกับ
การใช้ยากลุ่มเตตราไซคลีน (Tetracyclines) คือ ห้ามใช้ยาในเด็กอ่อนและสตรีมีครรภ์เพราะอาจ
ส่งผลถึงการเจริญเติบโตของกระดูกของเด็กและของทารกในครรภ์ได้ หากใช้ร่วมกับยาคุมกำเนิดจะ
ลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจึงอาจตั้งท้องได้ ห้ามใช้ร่วมกับยาลดกรดและยากลุ่มวิตามินที่มี
เหล็กเป็นส่วนประกอบ เพราะจะลดการดูดซึมยาเตตราไซคลีนได้
6. ควิโนโลน (Quinolones) ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ทางไต และต่อม
ลูกหมาก แต่ไม่ค่อยนำไปใช้รักษาการติดเชื้อในโพรงไซนัส (Sinusitis) ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยรบกวน
การสร้างโปรตีนในสารพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า DNA ข้อควรระวังและห้ามใช้ยากลุ่มควิ-
โนโลน คือในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคลมชัก เพราะอาจกระตุ้นสมองเป็นสาเหตุให้ชักได้บ่อยขึ้น ตัวอย่างยา
กลุ่ ม ควิ โ นโลน เช่ น ไซโปรฟลอซาซิ น หรื อ ซิ โ ปรฟลอซาซิ น (Ciprofloxacin) เลโวฟลอซาซิ น
(Levofloxacin) นอร์ฟลอซาซิน (Norfloxacin) และโอฟลอซาซิน (Ofloxacin) เป็นต้น
7

กลไกการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะโดยมีกระบวนการทำลายและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
ดังต่อไปนี้
1. ทำลายเยื้อหุ้มเซลล์หรือที่เรียกว่าเซลล์เมมเบรน (Cell membrane) ซึ่งเป็นเยื่อบาง ๆ ที่หุ้มตัวเชื้อ
แบคทีเรีย (มีหน้าที่แลกเปลี่ยนสารต่าง ๆ ระหว่างภายในและภายนอกเซลล์) ส่งผลให้สมดุลในการ
ดำรงชีวิตของเชื้อโรคเสียไปและตายในที่สุด
2. ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่าเซลล์วอลล์ (Cell Wall) ซึ่งเป็นผนังภายนอกสุด
ของเซลล์ที่ห่อหุ้มเยื่อหุ้มเซลล์อีกที (มีหน้าที่ปกป้องและคงรูปร่างของเซลล์ มักพบกับเซลล์แบคทีเรียและ
เซลล์พืช ไม่พบในเซลล์สัตว์) ด้วยกลไกนี้จะทำให้เชื้อแบคทีเรียต่างๆไม่สามารถแพร่พันธุ์จึงหยุดการ
เจริญเติบโต
3. ก่อกวนการสังเคราะห์สารพันธุกรรมในตัวของเชื้อแบคทีเรีย สารพันธุกรรมที่เรามักคุ้นเคยกัน เรียกว่า
DNA และ RNA กลไกดังกล่าวจะทำให้เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถผลิตลูกหลานออกมาทำอันตรายต่อ
ร่างกายคนเราได้
4. กระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยตัวเองและตายลง โดยความสามารถในการทำลายเชื้อ
แบคทีเรียของยาปฏิชีวนะไม่ได้ขึ้นกับวิธีการหรือกลไกทำลายเชื้อโรคเท่านั้นแต่ยังขึ้นกับความสามารถใน
การนำหรือพายาปฏิชีวนะไปยังอวัยวะที่มีการติดเชื้อ หากร่างกายไม่สามารถนำยาไปยังอวัยวะที่มีการติด
เชื้อได้ก็ไม่สามารถทำลายเชื้อโรคได้ ซึ่งการนำยาไปยังอวัยวะเป้าหมายมีหลายช่องทาง เช่น การกิน การ
ฉีดใต้ผิวหนัง การฉีดเข้ากล้าม การฉีดเข้าหลอดเลือด และการทำที่ผิวหนัง เป็นต้น
ไตรเมโทพริม (Trimethoprim) คือ ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย มักถูกใช้เป็นยาป้องกันและ
รั ก ษาโรคติ ด เชื ้ อ ระบบทางเดิ น ปั ส สาวะ ต่ า งประเทศจะรู ้ จ ั ก ยาไตรเมโทพริ ม ในชื ่ อ การค้ า ว่ า Proloprim,
Monoprim และ Triprim และจัดเป็นสารเคมีประเภท Dihydrofolate reductase inhibitors (สารต้านการ
สร้างโปรตีนชนิดที่ใช้เพื่อการเจริญเติบโตของเซลล์) จากการศึกษาด้านเภสัชจลนศาสตร์ของยานี้พบว่า การดูดซึม
ยาไตรเมโทรพริมชนิดรับประทานเข้าสู่ร่างกายมีถึง 90-100% ซึ่งเมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือดจะเข้าจับกับพลาสมา
โปรตีนประมาณ 44% ซึ่งตับจะเป็นอวัยวะที่คอยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีของยานี้ โดยร่างกายต้องใช้เวลา
8-12 ชั่วโมง ในการกำจัดยา 50% ออกจากกระแสเลือดที่ผ่านไปกับปัสสาวะและอุจจาระ กลไกการออกฤทธิ์ของ
ยาไตรเมโทพริม คือ ตัวยาจะเข้าไปรบกวนกระบวนการสร้างโปรตีนของแบคทีเรีย โดยเปลี่ยนกรดไดไฮโดรโฟลิก
(Dihydrofolic acid) ไปเป็นกรดเตตระไฮโดรโฟลิก (Tetrahydrofolic acid) ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการ
8

สร้างสารพันธุกรรมชนิดดีเอ็นเอ (DNA) ทำให้แบคทีเรียหยุดการเจริญเติบโตหรือตายลง ยาไตรเมโทพริมยัง


สามารถออกฤทธิ ์ ด ั ง กล่ า วต่ อ แบคที เ รี ย ที ่ ต ้ อ งการออกซิ เ จนทั ้ ง ชนิ ด แกรมลบและแกรมบวก เช่ น เชื้ อชนิ ด
Staphylococcus species, Enterobacter species, Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae แ ล ะ
Proteus mirabilis นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์ได้ดีต่อโปรโตซัว/สัตว์เซลล์เดียว (Protozoa) บางจำพวกอีกด้วย (ภก.
อภัย ราษฎรวิจิตร, 2564)

2.2 กระบวนการออกซิเดชันด้วยไฟฟ้า (Electrooxidation) (Alkire et al., 2009 ; Sirachon, 2015)


ในการบำบัดน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์ที่ใช้กันปัจจุบันได้แก่ กระบวนการออกซิเดชันด้วยกระแสไฟฟ้าทางตรง
(Direct electrochemical process) และการบวนการออกซิ เ ดชั น ด้ ว ย กระแสไฟฟ้ า ทางอ้ อ ม (Indirect
electrochemical process)
2.2.1กระบวนการออกซิเดชันด้วยกระแสไฟฟ้าทางตรง
เป็นกระบวนการทีส่ ารอินทรีย์เกิดปฏิกิริยาขึน้ ที่ขั้วอิเล็กโทรดโดยตรงและเกิดการออกซิเดชัน หรือรีดักชัน
และมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนภายในโมเลกุลสารอินทรีย์เองหรือ
แลกเปลี่ยนกับตัวทำละลาย ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้อิเล็กตรอนเป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาโดยตรง มีข้อได้เปรียบ
ตรงที่มีค่าผลสุทธิของการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันสูง และมีผลิตภัณฑ์พลอยได้ (Byproduct) น้อย นอกจากนี้การ
ทำปฏิกิริยาไม่จำเป็นต้องกั้นหรือแยกเครื่องปฏิกรณ์ออกจากกัน อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาเกิดขึ้ นได้เพียงบริเวณขั้ว
อิเล็กโทรด การทำให้มีการแพร่กระจายของสารอินทรีย์ไปยังขั้ วอิเล็กโทรดมีความสำคัญมาก ในกรณีที่สารตั้งต้นมี
ความสามารถในการละลายต่ำหรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดมีความสามารถในการดูดติดผิวอิเล็กโทรด หรือมีการเกิดชั้ น
ฟิล์มบนขั้วอิเล็กโทรดอาจเป็นปัญหาสำคัญได้
2.2.2 กระบวนการออกซิเดชันด้วยกระแสไฟฟ้าทางอ้อม
เป็นกระบวนการให้เกิดสารที่ใช้ทำปฏิกิริยาซึ่งจะใช้ในการบำบัดสารอินทรีย์โดยที่สารอินทรีย์จะไม่สัมผัส
กับขั้วไฟฟ้า โดยปฏิกิริยาทางไฟฟ้าเคมีที่เกิดขึ้ นมักจะไม่ซับซ้อน และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก โดยวิธีการ
ออกซิเดชันด้วยกระแสไฟฟ้าทางอ้อมมีข้อได้เปรียบเนื่องจากสามารถจะเติมสารตั้ งต้นที่ทำให้เกิดสารที่ใช้ท ำ
ปฏิกิริยาได้มากเกินพอเพื่อให้ความเข้มข้นของสารที่ใช้ทำปฏิกิริยามีค่าคงที่ และลดปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการ
เกิดปฏิกิริยาลดลงก่อนสิ้นสุดกระบวนการ นอกจากนี้สารตั้งต้นที่เปลี่ยนรูปไปยังสามารถที่จะเวียนกลับมาใช้เพื่อ
ทำให้เกิดเป็นสารที่ใช้ทำปฏิกิริยาได้จึงไม่ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
9

2.2.3 กลไกการเกิดออกซิเดชันด้วยกระแสไฟฟ้า (Israilides et al., 1997)


ปฏิกิริยาทางเคมีไฟฟ้าที่เกิดขึ้ นระหว่างการแยกด้วยกระแสไฟฟ้าของสารละลายน้ ำเกลือมีความซับซ้อน
และไม่เป็นที่รู้จักทั้ งหมด ตั้งแต่เริ่มแรกมีเพียงการตั้ งสมมติฐานขึ้นมาจากผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้ นมา (Cl2, ClO2, O3,
OH-, O+, H2O2, O2, H2, CO2)
กลไกของการแยกทางกระแสไฟฟ้าที่เป็นไปได้อธิบายจากสมการที่ (1) การเกิดขึ้นของแก๊สไฮโดรเจนในสารละลาย
กรดและเบสเกิดจากวิธีการที่แตกต่างกัน ในสารละลายกรดแหล่งที่มาของแก๊สไฮโดรเจนเกิดจากไฮดรอกโซเนียม
ไอออนซึ่งปล่อยออกมาจากขัว้ แคโทดเพื่อที่จะสร้างแก๊สไฮโดรเจน (Antropov, 1977 ; Prentice, 1991)
2H3O+ + 2e- 2H2 + 2H2O (1)
ในสารละลายเบสมีสมมติฐานว่าอิเล็กตรอนถูกเติมเข้าไปในโมเลกุลของน้ ำซึ่งจะสลายตัวแล้วเกิดแก๊สไฮโดรเจน
และไฮดรอกซิลไอออน สารที่ปล่อยออกมาจากขั้ วแอโนดจากน้ำทำให้เกิดอนุมูลไฮดรอกซิล (Hydroxyl radical)
ซึ่งจะถูกดูดซึมบนบริเวณเร่ง (Active site) ของพืน้ ผิวอิเล็กโทรด M
H2O + M M[OH·] + H+ + e- (2)
เป็นที่เชื่อกันว่าปฏิกิริยา (2) สามารถจะเกิดในสารละลายด่างเมื่อค่าความหนาแน่นกระแสไฟฟ้ามีค่าสูง บริเวณที่
ใกล้กับพื้นที่ของขัว้ แอโนด ปฏิกิริยาข้างเคียงหลักระหว่างกระบวนการเกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี คือการเกิดแก๊ส
ออกซิเจนจากปฏิกิริยาดังต่อไปนี้
H2O + M[OH·] M + O2 + 3H+ + 3e- (3)
กระบวนการออกซิเดชันทางเคมีด้วยกระแสไฟฟ้าของสารละลายที่มีองค์ประกอบของสารอินทรีย์ โดยการใช้
ขั้วแอโนดแบบดั้งเดิม (Ti/Pt, Ti/PbO, Ti/IrO2) เกิดขึ้นด้วยสองขั้นตอน ขั้นตอนแรก คือปฏิกิริยาที่ (2) หลังจาก
นี้ไฮดรอกซิลอิสระที่ถูกดูดซึมจะออกซิไดซ์สารอินทรีย์
R + M[OH·] M + RO + H+ + e- (4)
เมื่อ RO แทนสารอินทรีย์ที่ถูกออกซิไดซ์ซึ่งสามารถจะเกิดขึ้ นได้อย่างต่อเนื่องจากไฮดรอกซิลอิสระที่เกิดขึ้ นอย่าง
ต่อเนื่องเช่นกัน เมื่อสารที่ปลดปล่อยจากขั้ วแอโนดของน้ำดำเนินการไป สารที่ถูกปลดปล่อยของคลอไรด์ก็เกิดขึ้ น
พร้อมกัน และทำให้เกิดสารอนุมูลคลอโรไฮดรอกซิล (Chlorohydroxyl radical) ซึ่งจะถูกดูดซึมบนบริเวณเร่ง
(Active site) ของพืน้ ผิวขัว้ แอโนด M
10

H2O + M + Cl- M[ClOH·] + H+ + 2e- (5)


ด้วยกระบวนการเกิดที่เหมือนกับ (3) และ (4) คลอรีนอิสระและคลอไรด์ไอออนรวมถึงสารอินทรีย์ที่ ถูกออกซิไดซ์
เกิดขึน้ จากปฏิกิริยาต่อไปนี้
H2O + M[ClOH·] + Cl- Cl2 + M + O2 + 3H+ + 4e- (6)
R + M[ClOH·] M + RO + H+ + Cl- + e- (7)
คลอรีนอิสระที่เกิดขึ้นอยู่ในสมดุลกับ OCl- ที่เกิดขึน้ จากปฏิกิริยาดังต่อไปนี้ (Prentice, 1991)
Cl2 + 2OH- H2O + OCl- +Cl- (8)
ดังนัน้ ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาทางไฟฟ้าเคมีเบื้องต้นคือ Cl2 , O2 , OCl- และ RO เมื่อความเข้มข้นของตัวออกซิไดซ์
ดังกล่าวมีค่าสูงขึ้นในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ปฏิกิริยาทางไฟฟ้าเคมีทุติยภูมิหลายปฏิกิริยาเกิดขึ้ นที่ความเข้มข้น
ของ OCl- มีค่าสูง อุณหภูมิสูงและความปั่นป่วนจากการไหลสูง การถ่ายเทมวลสารจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้ นเป็นดังนี้
(Couper et al, 1990)
3/2O2 + 6H+ + 4Cl- + 2ClO3- 6OCl- + 3H2O + 6e- ขั้วแอโนด (9)
OCl- + H2O + 2e- Cl- + 2OH- ขั้วแคโทด (10)
บนขั้วแคโทดในช่วงเวลาเดียวกัน โอโซนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และคลอรีนไดออกไซด์ถูกตรวจพบระหว่างตัว
ออกซิไดซ์ที่เกิดขึ้นจากขั้ว Ti/Pt สารอิเล็กโทรไลต์น้ำเกลือ ตัวออกซิไดซ์เหล่านี้ถูกพบที่ขั้วแอโนดจากสมมติฐาน
ปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าดังนี้
H2O + M[ClOH·] + Cl2 M + ClO2 + 3H+ + 2Cl- + e- (11)
O2 + M[OH·] M + O 3 + H + + e- (12)
H2O + M[OH·] M + H2O2 + H+ + e- (13)
ตัวออกซิไดซ์อิสระคงสภาพอยู่ในระยะเวลาที่สั้ นมากเนื่องจากศักยภาพในการออกซิไดซ์สูง และเนื่องจากเกิดการ
สลายตัวเป็นตัวออกซิไดซ์อื่น (Cl2, O2, ClO2, O3 และ H2O2) หรืออาจเกิดจากที่ตัวออกซิไดซ์อิสระออกซิไดซ์
สารอินทรีย์โดยตรง (Direct oxidation) หรือตัวออกซิไดซ์ทุติยภูมิ (ClO2, O3 และ H2O2) ที่เกิดจากการแตกตัว
ของตัวออกซิไดซ์อิสระมีความคงตัวสูงและแพร่สู่บริเวณที่ขั้ วอิเล็กโทรดเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Indirect
oxidation)
11

2.3 อัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) (สุวรรณา ภาณุตระกูล และคณะ, 2555)


อัลตราไวโอเลต (Ultraviolet, UV) และวิสิเบิลสเปกโตรโฟโตเมตริกเทคนิค เป็นเทคนิคหนึ่งของสเปกโตร
โฟโตสโกปีเทคนิค (Spectroscopy technique) ที่อาศัยหลักการที่สสารทุกชนิดจะเกิดอันตรกิริยา (Interaction)
กับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic spectrum) ที่ความยาวคลื่น (Wavelength) ต่าง ๆ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ประกอบไปด้วยรังสีแกมมา (Gramma ray) ซึ่งเป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่นสั้น (สั้นกว่า 0.1 นาโนเมตร) แต่มี
พลังงานสูง รังสีเอ็ กซ์ (X-rays) คลื่นแสงอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet, UV) มีช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 180 –
380 นาโนเมตร คลื่นแสงวิสิเบิล (Visible light) เป็นคลื่นแสงในช่วงที่ตามนุษย์มองเห็นได้ มีความยาวคลื่นระหว่าง
380 – 800 นาโนเมตร ไปจนถึงคลื่นวิทยุ (Radio waves) ที่มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร ถึง 100 กิโลเมตร
แต่มีพลังงานต่ำ คลื่นแสงเหล่านี้มีความยาวคลื่นที่ต่อเนื่องกันไป ลำแสงที่มีคลื่นแสงมากกว่า 1 ความยาวคลื่น
เรียกว่าคลื่นพหุรงค์ (Polychromatic light) ส่วนลำแสงที่มีคลื่นแสงเพียง 1 ความยาวคลื่นเรียกว่าคลื่นเอกรงค์
(Monochromatic light) การใช้รังสีเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำลายเชื้อที่อยู่บนพื้นผิวได้ โดยรังสีที่นำมาใช้สำหรับ
ฆ่าเชื้อคือ รังสียูวีซี (UVC) รังสียูวีซีเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่น 100 - 280 นาโนเมตร รังสียูวีซีมี
ความสามารถในการทำลายเชื ้ อ โรคหรื อ เรี ย กว่ า Ultraviolet Germicidal Irradiation ซึ ่ ง ทำลายเชื ้ อ โรค
แบคทีเรีย ไวรัส ราเส้นใย ยีสต์ เป็นต้น โดยจะทำลายโครงสร้างกรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นองค์ประกอบของดีเอ็นเอและ
อาร์เอ็นเอของเชื้อโรคที่ความยาวคลื่น 260 - 265 นาโนเมตร ซึ่งเป็นความยาวคลื่นที่ดีเอ็นเอถูกดูดซับได้ดีที่สุด ใน
ธรรมชาติจะไม่พบรังสียูวีซี เนื่องจากรังสีชนิดนี้ไม่สามารถผ่านชั้นโอโซนมายังผิวโลกได้ การใช้รังสีชนิดนี้เพื่อ
ทำลายเชื้อจึงต้องใช้แหล่งกำเนิดรังสี ได้แก่ UVC-LEDs หลอดปรอท เป็นต้น ประสิทธิภาพของรังสียูวีซีในการ
ทำลายเชื้อขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้รับ ความเข้มแสงและความยาวคลื่นของรังสี สำหรับการฆ่าเชื้อนั้นจำเป็นต้องใช้
เป็นรังสี UVC เท่านั้น ไม่สามารถใช้รังสียูวีชนิดอื่น ๆ ได้ เนื่องจากรังสีชนิดอื่น ๆ จะมีความเข้มข้นและพลังในการ
เผาไหม้ที่น้อยกว่ารังสี UVC ทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อนั้นต่ำกว่า จึงได้มีการนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในด้านอื่น
ๆ เช่น หลอดไฟ UVB ที่ใช้ในการแพทย์ หรือหลอดไฟ UVA ที่ใช้เพื่อการอบผิว ดักจับแมลง ตรวจสอบธนบัตร
ปลอม เพาะเลี้ยงพืชพรรณต่าง ๆ เป็นต้น สามารถใช้ UVC ในการฆ่าเชื้อที่ปะปนอยู่ในน้ำได้ โดยอาศัยการหมุนวน
ของน้ำผ่านหลอดกำเนิดรังสียูวีซีภายในระยะเวลาช่วงหนึ่งเพื่อให้รังสีทำลายเชื้อโรคได้หมด นอกจากนี้รังวียูวีซียัง
สามารถกำจั ด คลอรี น หรื อ สารกลุ่ ม คลอรามีน ที่ ป ะปนอยู่ ในน้ ำ ได้ ด้ ว ย อย่ า งไรก็ ต ามยู ว ีซ ี ไ ม่สามารถกำจัด
สารอินทรีย์ และอนินทรียห์ รืออนุภาคต่างๆ ที่ปะปนอยูใ่ นน้ำได้
12

2.4 ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า (Current Density) (Kumaret et al., 2013)


ความหนาแน่ น กระแสไฟฟ้ า (Current density) มี ผ ลต่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพของกระบวนการ
electrochemical oxidation หรือหลายกระบวนการทางอิเล็กโทรเคมี (electrochemical processes) อื่น ๆ
อย่างมีนัยสำคัญ การเปลี่ยนแปลงค่า current density สามารถมีผลต่อความเร็วและประสิทธิภาพในกระบวนการ
ที่มีปัจจัยเท่ากัน กล่าวคือ ทุกตัวแปรมีค่าเท่าเดิมเพียงเปลี่ยนแปลงค่า Current density
อย่ า งไรก็ ต าม ความหนาแน่ น กระแสไฟฟ้ า ไม่ ใ ช่ ป ั จ จั ย เดี ย วที ่ ม ี ผ ลต่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพของกระบวนการ
Electrochemical Oxidation ซึ่งยังขึ้นอยู่กับสมบัติของวัสดุแอโนด (Anode) และสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การ
ควบคุ ม Current density ให้ เ หมาะสมเป็ น ส่ ว นสำคั ญ ในการปรั บ ปรุ ง ประสิ ท ธิ ภ าพของกระบวนการ
Electrochemical Oxidation แต่ ไ ม่ ส ามารถอยู่ แ ยกออกจากบทบาทของวั ส ดุ แ ละสารต่ า ง ๆ ที่ มี อ ยู่ ใ น
กระบวนการนั้น ๆ ซึ่งทั้งหมดมีผ ลร่วมกันในการกำหนดประสิท ธิ ภ าพของกระบวนการ Electrochemical
Oxidation

2.5 พีเอช (pH)


pH คือการวัดความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนที่แตกตัวออกมาจากน้ำหรือสารละลายซึ่งโมเลกุลของน้ำ
จะสามารถแยกออกเป็นไฮโดรเจนไอออน (H+) และไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) ยิ่งไฮโดรเจนไอออนมีปริมาณมาก
น้ำหรือสารละลายยิ่งมีความเป็นกรดมากขึ้น เช่นเดียวกันถ้าน้ำหรือสารละลายมีไฮดรอกไซด์ไอออนมากยิ่งมีความ
เป็นเบสมากโดยที่ระดับพีเอชมักจะอยู่ในช่วง 0 ถึง 14 สารละลายที่มีค่า pH น้อยกว่า 7 จะเป็นกรด ในขณะที่
สารละลายที่มีค่ามากกว่า 7 เป็นด่าง ในขณะระดับพีเอชเท่ากับ 7.0 ที่ 25°C ถูกกำหนดให้เป็นเป็นกลาง pH ของ
น้ำธรรมชาติจะอยู่ในช่วง 6.5 ถึง 8.5 แต่ส่วนใหญ่แล้วค่อนข้างเป็นเบสเล็กน้อยเนื่องจากมีคาร์บอเนตและไบ -
คาร์ บ อเนต น้ ำ ที่ ม ี pH สู ง หรื อ ต่ ำ กว่ า นี ้ อ าจเนื ่ อ งจากถู ก ปะปนโดยกรดหรื อ ด่ า งแก่ จ ากน้ ำ ทิ ้ ง ของโรงงาน
อุตสาหกรรม น้ำเสี ยจากโรงพยาบาลมี pH 5.84 ถึง 6.55 (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , คณะการจัดการ
สิ่งแวดล้อม, 2543) ถือว่ามีสภาพเป็นกรด
การทราบค่า pH ไม่เพียงแต่ทำให้รู้คุณสมบัติความเป็นกรด-เบส แต่ยังสามารถบ่งบอกความไวของการทำปฏิกิริยา
ออกซิเดชัน โดยจะมีอีกค่าที่เกี่ยวข้องกันคือ ORP (Oxidation reduction potential) เป็นการวัดค่าไอออนในน้ำ
ที่สะท้อนความสามารถของโมเลกุลในการออกซิไดซ์หรือการรีดิวซ์โมเลกุลอื่น หาก ORP มีเป็นค่าลบ หมายถึง น้ำ
นั้นเป็นน้ำที่มีลักษณะเป็นน้ำอัลคาไลน์ (Alkaline Water) น้ำด่าง พร้อมที่จะให้อิเล็กตรอนกับกรด ถือว่ามี
13

ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ในกรณีที่ ORP มีค่าเป็นบวก หมายความว่าน้ำนั้นมีค่าเป็นกรด ยิ่งมีประจุ


บวกมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งเสริมการทำงานของปฏิกิริยาออกซิเดชัน

2.6 การเลือกวัสดุของขั้วแคโทดและแอโนด (Alibaba et al., 2023)


การเลือกวัสดุระหว่างไทเทเนียม (Titanium, Ti) และโบรอนเจือเพชร (Boron-Doped Diamond, BDD)
ในกระบวนการ Electrooxidation ขึ้นอยู่กับปัจจัยและเงื่อนไขการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยพิจารณาคุณสมบัติ
และประสิทธิภาพของแต่ละวัสดุ
1. ไทเทเนียม (Titanium, Ti)
- มีความทนต่อการกัดกร่อนและความทนทานต่อสภาวะต่างๆ ทำให้เป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับการนำไฟฟ้าใน
สภาวะที่มีสารเคมีที่กระตุ้นการตอบสนองไฟฟ้า เช่น กระบวนการ Electrooxidation
- มีความคงทนและคงตัวในสภาวะต่างๆ จึงเหมาะสำหรับใช้งานในเงื่อนไขที่มีการแกว่งของแรงดันไฟฟ้า
- ราคาไม่แพงมากและสามารถหาได้ง่ายในตลาด
2. โบรอนเจือเพชร (Boron-Doped Diamond, BDD)
- มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ยอดเยี่ยม มีความนำไฟฟ้าได้ดีมากและมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนและสภาวะ
ต่างๆ ทำให้เหมาะสำหรับกระบวนการ Electrooxidation โดยเฉพาะในสภาวะที่ต้องการความแม่นยำและความ
สูงสุดในประสิทธิภาพทางไฟฟ้า
- มีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าอย่างมาก ทำให้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความเสถียรภาพใน
การควบคุมกระบวนการ Electrooxidation
- มีการใช้งานที่ยาวนานและมีความทนทานต่อสภาวะที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เหมาะสำหรับงานวิจัยและใช้งานใน
สถานการณ์ที่ความน่าเชื่อถือในประสิทธิภาพทางไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญ
สรุป โบรอนเจือเพชร (Boron-doped diamond) มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพทางไฟฟ้าในกระบวนการ
Electrooxidation มากที ่ ส ุ ด ในการรั บ อิ เ ล็ ก ตรอน อี ก ทั ้ ง ยั ง มี ค วามทนทานต่ อ การสึ ก กร่ อ นในระบบ ส่ ว น
ไทเทเนียม (Titanium) มีประสิทธิภาพทางไฟฟ้าในการจ่ายอิเล็กตรอน และทนต่อการสึกกร่อนในระบบ
14

2.7 อนุมูลอิสระ (Free radical)


อนุมูลอิสระ คือ โมเลกุลหรืออะตอมที่ไม่เสถียรเนื่องจากขาดอิเล็กตรอน เนื่องจากการมีอิเล็กตรอนที่โดด
เดี่ยว อนุมูลอิสระจึงเป็นสารที่มีความไวในการเข้าทำปฏิกิริยาทางเคมีกับสารอื่นสูง โดยจะไปแย่งจับอิเล็กตรอน
จากโมเลกุลที่อยู่ข้างเคียงเพื่อให้ตัวมันเสถียร ส่วนโมเลกุลข้างเคียงที่สูญเสียหรือรับอิเล็กตรอนจะกลายเป็นอนุมูล
อิ ส ระชนิ ด ใหม่ จะไปทำปฏิ ก ิ ร ิ ย ากั บ สารโมเลกุ ล อื ่ น ต่ อ ไปเกิ ด เป็ น ปฏิ ก ิ ร ิ ย าลู ก โซ่ (Chain reaction) โดย
ความสามารถในการเข้าทำปฏิกิริยากับสารอื่นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอุณหภูมิและ pH
อนุมูลอิสระจะเกิดปฏิกิริยาที่เป็นแบบปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน (Hudson, 1990)
1. อินนิทิเอชัน (initiation step) เป็นขั้นที่อนุมูลอิสระถูกสร้างหรือผลิตขึ้น
2. พรอพาเกชัน (propagation step) อนุมูลอิสระถูกเปลี่ยนไปเป็นอนุมูลอิสระตัวอื่นต่อ ๆ กันไป
3. เทอร์มิเนชัน (termination step) เป็นขั้นหยุดปฏิกิริยาของอนุมูลอิสระ เป็นขั้นตอนที่มีการรวมกันของ
อนุมูลอิสระ 2 อนุมูล ได้เป็นสารที่มีความเสถียร

2.8 ตัวจับอนุมูลอิสระ (Scavenger) (Kleiner et al., 2004)


Scavengers หรือสารตัวกำหนด (scavenging agents) มีหลายประเภทและสามารถใช้ในหลายบริบท
เพื่อควบคุมหรือป้องกันปฏิกิริยาทางเคมีที่ไม่พึงปรารถนา เช่น ระหว่างกระบวนการอิเล็กโทรออกซิเดชัน (EO)
อาจเกิดสารประกอบที่มีอิเล็กตรอนไม่เป็นคู่และมีความเสี่ยงในการตอบสนองเคมีอิเล็กตรอนหรือเรียกว่าอนุมูล
อิสระ โดยมักจะมีความกระตุ้นในการเชื่อมต่อหรือตอบสนองกับสารต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพของ
กระบวนการ electrochemical oxidation เปลี่ยนแปลงได้ หากอนุมูล (Free radical) ที่เกิดขึ้นมีความสามารถ
ในการสร้างหรือทำลายสารต่าง ๆ ที่เข้ามาอยู่ในกระบวนการนี้

2.9 อุณหภูมิ (Temperature) (คงศักดิ์ แสงพวง, 2551)


อุณหภูมิที่สูงของน้ำจะทำให้เกิดการแบ่งชั้น (Stratification) ของลำน้ำ เร่งปฏิกิริยาการใช้ออกซิเจนของ
จุลินทรีย์และลดระดับของการละลายของออกซิเจนในน้ำ อาจทำให้เกิดสภาพเน่าเหม็นขึ้นได้อุณหภูมิของน้ำเสียที่
เหมาะสมควรอยู่ ประมาณ 25-35 องศาเซลเซียส มีการทดลองเกี่ยวกับผลกระทบของอุณหภูม ิในการเกิ ด
ออกซิเดชันด้วยไฟฟ้าของเอทานอลบนแพลทตินัมในกรดฟอสฟอริกพบว่าการเกิดปฏิกิริยามีอัตราเพิ่มขึ้นเมื่อ
อุณหภูมิเพิ่มขึ้น (Camargo et al., 2010) โดยอุณหภูมิมักจะทำให้ปฏิกิริยาเคมีทั่วๆไปมีอัตราเร็วสูงขึ้นเพราะจะ
ทำให้โมเลกุลของซับสเตรตมีพลังงานมากขึ้นและเพิ่มโมเลกุลที่มีพลังงานเพียงพอที่จะเข้าสู่การเปลี่ยนสภาพ
15

2.10 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Oxidation of Selected Trace Organic Compounds through the Combination of the Inline
Electro-Chlorination with UV Radiation (UV/ECl2) as Alternative AOP for Decentralized Drinking
Water Treatment (Philipp Otter et al., 2020) เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการผสมระหว่างการสร้างคลอรีน
ด้วยไฟฟ้าแบบอินไลน์ (ECl2) กับเครื่องปฏิกรณ์ UV ความดันต่ำ (UV/ECl2) เพื่อใช้งาน AOP ที่ใช้คลอรีนโดยไม่
ต้องเติมคลอรีน ผลในห้องแลปแสดงให้เห็นว่าจากช่วงความเข้มข้นของคลอรีนอิสระ (FAC) ระหว่าง1-18 mg/L ที่
ผลิตโดย ECl2 สูงถึง 84% สามารถโฟโตไลซ์เพื่อสร้างอนุมูลไฮดรอกซิล (OH•) ด้วยพลังงาน UV ที่ป้อนเข้า 0.48
kWh/m3 อัตราส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 97% โดยการเพิ่มพลังงาน UV เป็น 2 เท่า (0.96 kWh/m3) และมีค่าคงที่ตลอด
ช่วง FAC ที่ทดสอบ นอกจากนี้ ผลผลิตเชิงอนุมูลที่ได้ 64% ไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงความเข้มข้นของ FAC ที่กำหนด
โดย pH ระหว่าง 6 และ 8 ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของ FAC มีการลดความซับซ้อนของการทำงาน
ของระบบเครื่องชั่งนำร่องในการบำบัดน้ำดื่ม ในขณะที่ ECl2 อย่างเดียวย่อยสลาย benzotriazoles ได้ 5%
เ ท่ า นั้ น ก า ร ใ ช้ ร่ ว ม กั บ UV จ ะ ท ำ ใ ห้ ย่ อ ย ส ล า ย ดี ขึ้ น 89% ผ ล ลั พ ธ์ ที่ ค ล้ า ย ค ลึ ง กั น นี้ ใ ช้ ไ ด้ กั บ
4-methylbenzotriazole, 5-methylbenzotria-zole และ iomeprol ส่วน Oxipurinol และ gabapentin ถูก
ย่อยสลายอย่างง่ายดายโดยใช้ ECl2 เพียงอย่างเดียว ค่าไตรฮาโลมีเทนยังคงต่ำกว่ามาตรฐานน้ำดื่มของเยอรมันที่
50 µg/L โดยต้องรักษาความเข้มข้นคลอรีนที่เหลืออยู่ในขอบเขตที่อนุญาต วิธีนี้มีแนวโน้มดีสำหรับการใช้ เพื่อ
บำบัดน้ำสำหรับการบริโภค แต่ต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มเติมเพื่อลดการใช้พลังงาน
Trimethoprim removal from wastewater : Adsorption and electro-oxidation comparative
case study (Simeone Chianese et al., 2023) ได้ ท ำการเปรี ย บเที ย บระหว่ า งการดู ด ซั บ และการเกิ ด
ออกซิเดชันทางเคมีไฟฟ้าสำหรับการกําจัด TMP ออกจากน้ำเสีย โดยใช้การดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ F400 เป็นตัว
ดูดซับ ซึ่งมีประสิทธิภาพการกําจัด TMP ที่สูงขึ้น (70.6%) มากกว่าซีโอไลต์ธรรมชาติ (17.6%) ผลข้อมูลการ
ทดลองสำหรับการดูดซับ TMP ด้วย F400 ในรูปแบบเชิงเส้นได้ค่าของไอโซเทอมแบบแลงเมียร (Langmuir) (R2 =
0.986) โดยค่าของ qmax (qmax แสดงถึงปริมาณ TMP สูงสุดที่ถูกดูดซับโดยมวลต่อหน่วยของตัวดูดซับ ) และ KL
(KL แสดงถึงค่าคงที่การดูดซับของ Langmuir) คือ 18.40 mg/g และ 1.40 L/mg ตามลำดับ แบบจําลองของ
Pseudo-second order ให้ความสัมพันธ์ที่ดีที่สุดกับข้อมูลการทดลอง การเกิดออกซิเดชันทางเคมีไฟฟ้าบน
อิเล็กโทรดไทเทเนียมเคลือบทองคำขาวสองตัวนําไปสู่การกําจัด TMP 70.1% หลังจากการบำบัด 330 นาที
สภาวะการทำงานที่เหมาะสมที่สุดที่ความเข้มข้นของ NaCl ที่ 0.04 M และความหนาแน่นของกระแสที่ใช้ที่ 120
A/m2 การประมาณการต้นทุนสำหรับเทคโนโลยีทั้งสองระบุว่าการเกิดออกซิเดชันทางเคมีไฟฟ้าของ TMP นั้น
16

เทียบได้กับการดูดซับหากทำงานที่ความหนาแน่นกระแสต่ำ แต่ละกระบวนการมีข้อดีและข้อจํากัดหลายประการ
และการเลือกแนวทางที่เหมาะสมต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ รวมถึงองค์ประกอบของน้ำเสีย ต้นทุนและความพร้อม
ของทรัพยากร
Review of antibiotics treatment by advance oxidation processes (Mohammad Zahir Akbari
et al., 2021) ได้นําเสนอวิธี AOPs ต่างๆ สำหรับการเกิดออกซิเดชันและการบําบัดยาปฏิชีวนะจากน้ำเสีย เช่น
การเกิดออกซิเดชันแบบ Fenton โอโซน และโอโซนแบบเร่งปฏิกิริยา การเกิดออกซิเดชันด้วยแสง การเกิด
ออกซิเดชันทางเคมีไฟฟ้าและกระบวนการออกซิเดชันแบบเปียก รวมถึงการแนะนําสั้น ๆ เกี่ยวกับ หลักการ
ลักษณะสำคัญ ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาและการใช้งาน ได้ผลคือ AOPs แต่ละประเภทมีความสามารถสูงและ
ประสิทธิภาพในการบําบัดยาปฏิชีวนะต่าง ๆ แม้ AOPs ได้รับการปรับปรุงในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังต้องการการศึกษา
เพิ่มเติมสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อปรับปรุงความสามารถในการปรับตัวและการปฏิบัติจริงและการปรับปรุง
แร่ธาตุที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประสิทธิภาพของตัวเร่ง ปฏิกิริยาที่ใช้และการใช้โอโซนหรือ H2O2 เพื่อปรับปรุง
สำหรับการบำบัดยาปฏิชีวนะอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากน้ำทิ้งอาจมียาปฏิชีวนะหลายชนิด สารมลพิษอินทรีย์
และอนินทรีย์อื่นๆ ซึ่งอาจมีผลต่อกระบวนการกําจัดและประสิทธิภาพการย่อยสลายเมื่อเทียบกับการย่อยสลายยา
ปฏิชีวนะเพียงครั้งเดียว ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ที่สำคัญกว่านั้น ต้นทุนการดําเนินงานที่
จะลดและรวม AOPs กับการบําบัดทางชีวภาพ (โดยเฉพาะจุลินทรีย์) เป็ นการบําบัดทุติยภูมิอาจจำเป็นต้อง
ปรับปรุงการทำให้เป็นแร่และการกําจัดยาปฏิชีวนะออกจากน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นการยากที่จะ
กําจัดยาปฏิชีวนะออกจากน้ำเสียอย่างสมบูรณ์โดยใช้ AOPs เท่านั้น
Comparative removal of trimethoprim and its phytotoxicity by using chlorination, UV
irradiation, and UV/chlorine process : Factors affecting the removals and kinetics ( Sirilak Ekwong
et al., 2022) มีการเสนอกระบวนการ UV/Chlorine เนื่องจากมีการผลิตอนุมูลอิสระต่างๆ (เช่น HO•, Cl•)
การศึกษานี้ม ีจุดมุ่ งหมายเพื ่อ เปรีย บเที ย บการกําจัด TMP โดยคลอรีน การฉายรังสี UV และกระบวนการ
UV/Chlorine การทดลองดำเนินการในน้ำสังเคราะห์และน้ำทิ้งที่มีปริมาณคลอรีนที่แตกต่างกัน (50, 250, 500
µM), pHs (6, 7, 8) ความเข้มข้นของ TMP (25, 50, 75 µM) กระบวนการ UV/Chlorine แสดงผลเสริมฤทธิ์กัน
ในการกําจัด TMP เมื่อเทียบกับคลอรีนเพียงอย่างเดียวและการฉายรังสี UV พบว่ากระบวนการ UV/Chlorine
เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการกําจัด TMP ตามด้วยการใช้คลอรีน ส่วนการฉายรังสี UV ส่งผล
กระทบเล็กน้อยต่อการกําจัด TMP (น้อยกว่า 5%) กระบวนการ UV/Chlorine จะกําจัด TMP อย่างสมบูรณ์โดย
ใช้เวลาสัมผัส 15 นาที ในขณะที่คลอรีนใช้เวลา 60 นาทีสามารถกําจัด TMP ได้ 71% การกําจัด TMP เข้ากันได้ดี
กับจลนพลศาสตร์ Pseudo first-order และค่าคงที่อัตรา (k’) เพิ่มขึ้นพร้อมกับปริมาณคลอรีนที่สูงขึ้น ความ
17

เข้มข้นของ TMP ที่ลดลง และ pH ต่ำ ส่วน HO• เป็นกลุ่มออกซิแดนท์หลักที่ส่งผลต่อการกําจัด TMP และอัตรา
การย่อยสลาย เมื่อเทียบกับปฏิกิริยาคลอรีนชนิดอื่นๆ (เช่น Cl•, OCl•) การสัมผัสกับ TMP จะเพิ่มความเป็นพิษต่อ
พื ช โดยการลดอั ต ราการงอกของเมล็ ด Lactuca sativa และ Vigna radiata ส่ ว นการใช้ ก ระบวนการ
UV/Chlorine สามารถล้างพิษ TMP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับความเป็นพิษต่อพืชของน้ำที่ผ่านการ
บําบัดเทียบเท่าหรือต่ำกว่าน้ำทิ้งที่ปราศจาก TMP ระดับการล้างพิษขึ้นอยู่กับการกําจัด TMP และประมาณ 0.43
– 0.56 เท่าของการกําจัด TMP การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นถึงการใช้กระบวนการ UV/คลอรีนเพื่อควบคุม TMP ที่ตกค้าง
และความเป็นพิษต่อพืช
Application of Electrochemical Oxidation for Water and Wastewater Treatment : An
Overview (Mohammad Saleh Najafinejad et al.,2023) การเลือกวิธีการบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพและ
เป็นนวัตกรรมเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนจึงเป็ นสิ่งสำคัญ ในกระบวนการออกซิเดชันขั้นสูง การออกซิเดชันเคมีไฟฟ้า
(EO) เป็นวิธีการที่ใช้กันทั่วไปและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการกำจัดมลพิษที่ตกค้างยาวนานออกจากน้ำเสีย
ชุมชนและอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการใช้ EO บำบัดน้ำเสียจริงจะมีความก้าวหน้าไปมาก แต่ก็ยังมี
ช่องว่างอยู่มาก เนื่องจากขาดข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับพารามิเตอร์การทำงานซึ่งส่งผลต่อกระบวนการและต้นทุน
การดำเนินงาน ในบทความนี้ ในบรรดาบทความทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ มีการรายงานถึงผลกระทบของพารามิเตอร์
การดำเนินงานต่อประสิทธิภาพของ EO การเปรียบเทียบระหว่างการกำหนดค่าเครื่องปฏิกรณ์เคมีไฟฟ้าที่แตกต่าง
กัน และรายงานเกี่ยวกับกลไกทั่วไปของการเกิดออกซิเดชันเคมีไฟฟ้าของสารมลพิษอินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีการ
กล่าวถึงการประเมินการวิเคราะห์ต้นทุนและข้อกำหนดการใช้พลังงานอีกด้วย บทความนี้ให้ภาพรวมของ
กระบวนการ EO ที่ใช้เป็นวิธีการใหม่ในการกำจัดมลพิษที่เกิดขึ้นใหม่ออกจากน้ำและน้ำเสีย จากการทบทวน
บทความจำนวนหนึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บทบาทที่สำคัญของพารามิเตอร์การปฏิบัติงานหลายประการได้รับการ
ตรวจสอบ ข้อดีประการหนึ่งของการทำความเข้าใจเพิ่ มเติมถึงผลกระทบของพารามิเตอร์การปฏิบัติงานเหล่านี้ต่อ
กระบวนการ EO คือการลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดมลพิษ ในที่สุดก็มีการทบทวนเทคนิค
AOP ที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่เรียกว่าโฟโตอิเล็กโตรคะตะไลซิส (PEC) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในการย่อยสลาย
สารมลพิษที่เกิดขึ้นใหม่
Boron-Doped Diamond Electrodes : Fundamentals for Electrochemical Applications
(Yasuaki Einaga et al.,2022) การพัฒนาอิเล็กโทรดเพชรเจือโบรอน (BDD) มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้าน
กายภาพขั้นพื้นฐานความเข้าใจและการพัฒนาการใช้งานในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเริ่มต้นถูกนำไปใช้กับการ
บำบัดน้ำเสียและการทำให้บริสุทธิ์ ไม่นานมานี้พวกเขาได้พบการประยุกต์ใช้ในสิ่งแวดล้อม การติดตามและการวัด
ทางชีวการแพทย์ อิเล็กโทรด BDD มีคุณสมบัติทางเคมีไฟฟ้าที่เหนือกว่า ซึ่งบางส่วนได้แก่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
18

เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุอิเล็กโทรดทั่วไป ที่ขอบเขตการใช้งานที่เป็นไปได้นั้นมีความหลากหลายอย่างมาก ได้แก่


อิเล็กโทรดสำหรับการสร้างโอโซน สำหรับการสังเคราะห์สารอินทรีย์สารประกอบสำหรับการสังเคราะห์สารเคมีที่
เป็นประโยชน์จาก CO2 เป็นต้น เป็นที่ทราบกันว่าการเพิ่มการเติมโบรอนของเพชรทำให้เกิดสารกึ่งตัวนำชนิด
ตัวนำคล้ายโลหะ และแม้แต่ตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิต่ำมาก ฟิล์ม BDD มีค่าการนำไฟฟ้าสูงและแสดงคุณสมบัติทาง
เคมีไฟฟ้าที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น หน้าต่างศักย์กว้างในสารละลายที่เป็นน้ำและมีก ระแสไหลพื้นหลังน้อยมาก
คุณสมบัติทางเคมีไฟฟ้าโดยละเอียดขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของโบรอน การสิ้นสุดและการมีอยู่ของสิ่งสกปรก
คุณสมบัติของอิเล็กโทรด BDD อย่างไร อิเล็กโทรด BDD มีการใช้งานที่หลากหลาย และการเลือกขั้วปลายพื้นผิว
ขั้วลบเนื่องจากรับอิเล็กตรอนได้ดี การวางแนวพื้นผิว และความเข้มข้นของโบรอนที่เหมาะสมที่สุดนั้นต้องอาศัย
ความรู้พื้นฐานและขึ้นอยู่กับการใช้งาน การใช้งานเคมีไฟฟ้าของอิเล็กโทรด BDD มีความหลากหลาย และการ
พัฒนาของอิเล็กโทรดเหล่านี้มีความโดดเด่นในสมัยนี้ ลักษณะพื้นฐานที่แนะนำในที่นี้จะเป็นแนวทางสำหรับก าร
ออกแบบอิเล็กโทรด BDD ที่เหมาะสมกับการพัฒนาการใช้งานแต่ละอย่าง และคาดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการ
พัฒนาใหม่ ๆ ในอนาคต
Electrochemical-based advanced oxidation for hospital wastewater treatment (Motasem
Y.D. Alazaiza et al.,2023) น้ำเสียจากสถานพยาบาลจะเพิ่มระดับของมลพิษขนาดเล็กในน้ำเสียชุมชนอย่างมาก
เมื่อพิจารณาถึงสิ่งนี้ การมีอยู่ของสารปนเปื้อนซึ่งเป็นข้อกังวลที่เกิดขึ้นใหม่ในสภาพแวดล้อมได้รับการเน้นให้เป็น
ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก การออกซิเดชันขั้นสูงด้วยเคมีไฟฟ้า (Electro Advance Oxidation , EAO) จะสร้าง
สารออกซิแดนท์อย่างแรง เช่น HO•, H2O2 และ O3 ซึ่งสามารถกำจัดมลพิษอินทรีย์ในน้ำรวมทั้งยาได้ การทบทวน
นี้นำเสนอผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับกลไก ปัจจัยที่มีอิทธิพล และแนวทางใหม่ในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากสถาบัน
ดูแลสุขภาพ ออกซิเดชันทางเคมีไฟฟ้าได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียที่มีอนาคต โดยเฉพาะน้ำ เสียที่
ปนเปื้อนทางเภสัชกรรม EAO ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นเทคนิคบุกเบิกในด้านการบำบัดน้ำเสีย
เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่โดดเด่นในการบำบัดแร่สำหรับเภสัชกรรม เช่นเดียวกับการบำบัดล้างพิษของสารอินทรีย์
ที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยี EAO มีความสำคัญสูงสุดในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
ไฟฟ้าเคมีในการย่อยสลายสารอินทรีย์ นอกจากนี้ยังวางรากฐานสำหรับการนำระบบเหล่านี้ไปใช้เพื่อบำบัดน้ำเสียที่
ได้มาจากสถานพยาบาลและโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าการศึกษาเชิงทดลองส่วนใหญ่มุ่งเน้นไป
ที่น้ำเสียที่มีองค์ประกอบเดียวซึ่งได้รับการเตรียมแบบเทียมในห้องปฏิบัติการ น้ำเสียจากสถานพยาบาลมักมี
องค์ประกอบที่ซับซ้อนและหลากหลาย โดยได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ ความเข้มข้นของยาในน้ำทิ้งของ
โรงพยาบาล การวิจัยอย่างกว้างขวางมุ่งเน้นไปที่เทคนิคการเกิดออกซิเดชันขั้นสู งทางเคมีไฟฟ้า (EAO) ซึ่งเป็น
วิธีการกำจัดเภสัชภัณฑ์ออกจากน้ำเสียและปัสสาวะของโรงพยาบาล เทคนิคเหล่านี้ใช้ปฏิกิริยาออกซิเดชันทาง
19

เคมีไฟฟ้าเพื่อสร้างสายพันธุ์ที่มีปฏิกิริยาสูงซึ่งสามารถย่อยสลายสารปนเปื้อนอินทรีย์ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน
การกำจัด ผสมผสาน EAO เข้ากับการฉายรังสี UV ได้รับการทดสอบพร้อม ๆ กัน ด้วยขั้นตอนโฟโตคะตาไลติกโดย
ใช้ TiO2 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา EAO ที่มีเพอร์ซัลเฟตเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งควบคุมการสร้างอนุมูลซัลเฟตภายใต้
แสง UV ก็แสดงให้เห็นเช่นกัน EAO นำเสนอทางเลือกใหม่ในการสลายเภสัชภัณฑ์ในน้ำเสียของโรงพยาบาลโดย
การผลิตสายพันธุ์ออกซิไดซ์ในแหล่งกำเนิดผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชันและการรีดักชัน การใช้เทคโนโลยีการฉายรังสี
ต่างๆ เช่น UVA, UVC และรังสีแสงอาทิตย์ สามารถปรับปรุงกระบวนการเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น ออกซิเดชั นทาง
เคมีไฟฟ้าโดยใช้อิเล็กโทรดประเภทต่างๆ ได้รับการสำรวจอย่างกว้างขวางเพื่อการกำจัดทางเภสัชกรรม นอกจากนี้
กระบวนการอิเล็กโตร-เฟนตัน ซึ่งใช้วัสดุขั้วบวกและแคโทดหลายชนิด ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มสำหรับ
การกำจัดยาออกจากน้ำทิ้งของโรงพยาบาล ความก้าวหน้าเหล่ านี้มีส่วนสนับสนุนความพยายามอย่างต่อเนื่องใน
การปกป้องสภาพแวดล้อมทางน้ำจากผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการปนเปื้อนทางเภสัชกรรม
20

บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อศึกษาสภาวะที่ส่งผลต่อการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะด้วยกระบวนการ
Electrooxidation และกระบวนการ Electrooxidation/Ultraviolet โดยยาปฏิชีวนะที่ใช้ คือ ยาไตรเมโทพริม
(TMP) ผู้วิจัยได้แบ่งการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ สารเคมี และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
เครื่องมือในการทดลอง ขั้นตอนการทดลอง การวิเคราะห์ผลการทดลอง โดยมีรายละเอียดดังนี้

3.1 สารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
3.1.1 สารเคมี
1. สารเคมีที่ใช้ในการเตรียมน้ำเสียสังเคราะห์
- ไตรเมโทพริม (Trimethoprim), ความบริสุทธิ์ ≥ 98% จากบริษัท Sigma Aldrich
- สารอิเล็กโทรไลต์ที่ใช้ คือ เกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) 500 mg/L
- สาร pH Buffer สำหรั บ น้ ำ ตั ว อย่ า ง คื อ ไดโพแทสเซี ย มฟอสเฟต (K2HPO4) และ
โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (KH2PO4)
2. สารเคมีสำหรับการวิเคราะห์พารามิเตอร์ต่าง ๆ
2.1 การวิเคราะห์หาปริมาณความเข้มข้นของยาไตรเมโทพริมโดยใช้เครื่อง HPLC
- โซเดียมไทโอซัลเฟต (Na2S2O3)
- สาร Moblie phase ได้แก่ Methanol, Glacial Acetic Acid,
2.2 การวิเคราะห์หาคลอรีน
- Phosphate buffer (Disodium Phosphate; Na2HPO4, Potassium
dihydrogen phosphate; KH2PO4, Disodium EDTA; C10H16N2Na2O8)
- DPD (DPD sulfate; C10H16N2 · H2SO4, Sulfuric Acid; H2SO4, Disodium
EDTA; C10H16N2Na2O8)
21

- FAS (Ferrous Ammonium Sulfate; Fe(NH4)2(SO4)2 · 6H2O, Sulfuric


Acid; H2SO4)
2.3 การวิเคราะห์อนุมูลอิสระที่มีผลต่อปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในการทดลอง (Scavengers)
- กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid, BA)
- ไนโตรเบนซีน (Nitrobenzene, NB)
3.1.2 อุปกรณ์การทดลอง
1. อุปกรณ์เครื่องแก้วพื้นฐาน
- บีกเกอร์ (Beaker) ขนาด 600 ml
- ขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer flask) 250 ml
- กระบอกตวง (Cylinder)
- ปิเปต (Pipette)
- ขวดแก้วเก็บตัวอย่าง (Vial Bottle) 2 ml
- บิวเรต (Burette)
- Syringe 5 ml
- Syringe filter (Diameter 25 mm, pore size 0.22 µm)
2. ชุดปฏิกรณ์ Electrogen
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)
- พัดลมดูดอากาศ
- หลอด Ultraviolet (UV) จำนวน 3 หลอด โดยแต่ละหลอดมีพลังงาน 16 วัตต์ ความ
ยาวคลื่น 254 nm
- แผ่นโบรอนเจือเพชร (Boron-doped diamond), ขั้วแคโทด, ขนาด 4 × 7.5 cm
- แผ่นไทเทเนียม (Titanium), ขั้วแอโนด, ขนาด 4 × 7.5 cm
22

- ชุดสายไฟเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้า
3. เครื่องชั่งแบบละเอียด (4 และ 5 ตำแหน่ง)
4. เครื่องวัดพีเอช (pH meter)
5. เครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermometer)
6. Magnetic Stirrer
7. เครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC)

3.2 เครื่องมือในการทดลอง
3 . 2 . 1 เ ค รื่ อ ง มื อ High Performance Liquid Chromatography (HPLC) (ค ณ ะ แ พ ท ย ศ า ส ต ร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2566)
High Performance Liquid Chromatography (HPLC) เป็นเทคนิคที่ใช้แยกสารออกจากกัน โดยอาศัย
หลักการทางโครมาโตกราฟี (chromatography) จากความแตกต่างในด้านสมบัติที่ต่างกันของสารที่ต้องการแยก
เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ทั้งในเชิงคุณภาพวิเคราะห์ (Qualitative) และปริมาณวิเคราะห์ (Quantitative) ที่นิยม
ใช้มากวิธีหนึ่ง โดยสามารถใช้กับงานด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการวิเคราะห์ทางอาหาร ทางสมุนไพร
ยา ยาฆ่าแมลง ฯลฯ สามารถตรวจวิเคราะห์ปริมาณในระดับไมโครกรัม (µg) ในกรณีทั่ว ๆ ไป หรือละเอียดถึง
ระดับพิโคกรัม (pg) และยังสามารถนำเทคนิค HPLC นี้มาใช้ในการแยกสารบริสุทธิ์ได้อีกด้วย
หลักการทำงานของเครื่อง HPLC เป็นเทคนิคแยกสารผสมโดยใช้เครื่องสูบแรงดันสูง (High pressure
pump) สูบของเหลวหรือตัวทำละลายซึ่งทำหน้าที่เป็นวัฏภาคเคลื่อนที่ (Mobile phase) พาสารตัวอย่างที่ถูกฉีด
เข้าทางช่องฉีดสาร (Injector) เคลื่อนที่ผ่านอนุภาคที่เป็นวัฏภาคคงที่ (Stationary phase ) ซึ่งบรรจุอยู่ในคอลัมน์
(Column) สารผสมเคลื่อนที่ผ่านคอลัมน์แล้วจะถูกแยกออกมาในเวลาที่ต่างกัน ซึ่ง สารผสมที่อยู่ในตัวอย่าง
สามารถถูกแยกออกจากกันได้นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการเข้ากันได้ดีของสารนั้นกับ Mobile phase หรือ
Stationary phase สารประกอบตัวไหนที่สามารถเข้ากันหรือละลายได้ดีกับ Mobile phase สารนั้นก็จะถูกแยก
ออกมาก่อนส่วนสารที่เข้ากันได้ไม่ดีกับ Mobile phase หรือเข้ากันได้ดีกับ Stationary phase ก็จะถูกแยก
ออกมาทีหลัง ผ่านเข้าสู่เครื่องตรวจวัด (Detector) สัญญาณที่ตรวจวัดได้ซึ่งอยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้าตามเวลาและ
ปริมาณของสารแต่ละตัวที่ตรวจวัดได้ โดยสัญญาณจะถูกส่งไปยังเครื่องบันทึกสั ญญาณแสดงผลออกมาเป็น
Chromatogram ประกอบด้วย peaks ของสารที่เป็นองค์ประกอบของสารผสม
23

รูปที่ 1 : เครื่องมือ High Performance Liquid Chromatography (HPLC)


ที่มา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2566
3.2.2 ชุดปฏิกรณ์ Electrogen

รูปที่ 2 : ชุดปฏิกรณ์ Electrogen สำหรับการทดลอง Electrooxidation


ที่มา : สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2566

3.3 ขั้นตอนการทดลอง
3.3.1 การเตรียมน้ำเสียสังเคราะห์
ในการศึกษาครั้งนี้มีการเตรียมน้ำเสียที่มียาปฏิชีวนะชนิดไตรเมโทพริมผสมอยู่ โดยมีส่วนประกอบ คือ ยา
ไตรเมโทพริม (Trimethoprim) จากบริษัท Sigma-Aldrich ความบริสุทธิ์ ≥ 98% มาละลายในน้ำที่ปราศจาก
ไอออน หรือน้ำ Ultrapure โดยจะใช้เป็นความเข้มข้นต่ำสุดที่เครื่อง HPLC จะสามารถตรวจวัดได้ × 100%
24

เตรียมน้ำเสียปริมาตร 400 มิลลิลิตรต่อตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของน้ำเสียที่จะใช้ในการทดลอง


3.3.2 ขั้นตอนการทดลอง Electrooxidation
1. เตรียมน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นของตัวยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim) หลังจากนั้นทำการเติม
pH buffer โดยทำการเติมไดโพแทสเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต (K2HPO4) ผสมกับโพแทสเซียมไดไฮโดรเจน
ฟอสเฟต (KH2PO4) ให้ได้ค่า pH ที่ต้องการ เติมโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เพื่อเป็นสาร Electrolyte ให้ได้
ค่าความเข้มข้น 500 mg/l หลังจากนั้นเติมน้ำUltrapure ให้ได้ปริมาตรรวม 400 ml
2. วัดค่า pH ของน้ำเสียสังเคราะห์ทุกครั้งก่อนเริ่มการทดลอง
3. ทำการหนีบขั้ว ไฟฟ้ าโดยใช้ ขั้ วแคโทดเข้า กับแผ่น โบรอนเจือ เพชร และหนีบขั้วแอโนดเข้ ากั บ แผ่ น
ไทเทเนียม ให้มีระยะห่างระหว่างแผ่นทั้งสอง 4 เซนติเมตร
4. นำน้ำเสียสังเคราะห์เข้าทำการทดลองในชุดปฏิกรณ์ Electrogen
5. ทำการเปิดเครื่องทดลองโดยเลือกความหนาแน่นกระแส 10 mA/cm2 หลังจากนั้นทำการจับเวลา โดยจับ
เวลา 5, 10, 30 และ 60 นาที เพื่อเก็บตัวอย่างพร้อมวัดค่า pH และอุณหภูมิในทุก ๆ ช่วงการเก็บตัวอย่าง
6. เมื่อทำการทดลองเสร็จให้แบ่งน้ำเสียสังเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน โดย
6.1 นำไปวิเคราะห์ปริมาณคลอรีน (Cl2) ที่เหลืออยู่ ซึ่งมาจากการเติมโซเดียมคลอไรด์ NaCl โดยมีการ
เติม DPD (N,N-diethyl-p-phenylenediamine) เพื่อทำการยับยั้งการเกิดคลอรีน เติม pH buffer
(K2HPO4 และ KH2PO4) เพื่อปรับค่า pH หลังจากนั้นนำน้ำเสียสังเคราะห์เข้าสู่กระบวนการไทเทรต
โดยใช้สาร FAS ต่อไป
6.2 นำไปวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของไตรเมโทพริม (Trimethoprim) โดยมีการเติมสารโซเดียมไท-
โอซัลเฟต (Sodium thiosulfate) เพื่อกำจัดคลอรีน แล้วกรองด้วย Syringe filter pore size 0.22
µm ก่อนนำเข้าเครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC)
7. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1-6 โดยมีการเปลี่ยนค่า pH เพื่อเปรียบเทียบ
8. นำค่าที่ได้จากการทดลองไปพล๊อตกราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของตัวยาไตรเมโทพริม
(Trimethoprim) กับ ระยะเวลาการบำบัด
3.3.3 ขั้นตอนการทดลอง Electrooxidation/UV
1. หลังจากทำการวิเคราะห์ 3.3.2 ขั้นตอนการทดลอง Electrooxidation นำมาบำบัดร่วมกับรังสี UV โดย
ทำการเลือกสภาวะที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ทำขั้นตอนเริ่มต้นเช่นเดียวกับการทดลอง Electrooxidation ในข้อ 1-3
25

3. ก่อนเริ่มทำการทดลอง ทำการเปิดหลอด UV ที่จะใช้ โดยเปิดทิ้งไว้ 20-30 นาที


4. นำน้ำเสียสังเคราะห์เข้าทำการทดลองในชุดปฏิกรณ์ Electrogen ทำการเปิดแผ่นกั้นบริเวณการฉายของ
รังสี UV ออก เพื่อทำการฉายรังสี UV ลงสูน่ ้ำเสียสังเคราะห์ จากนั้นทำการจับเวลา 5, 10, 30 และ 60
นาที เพื่อเก็บตัวอย่างพร้อมวัดค่า pH
5. ทำการทดลองในข้อ 5-8 ในหัวข้อ 3.3.2 ขัน้ ตอนการทดลอง Electrooxidation ในค่า pH ทีม่ ีผลดีที่สุด
ในขั้นตอนการทดลอง Electrooxidation

3.4 การวิเคราะห์ผล
3.4.1 การวิเคราะห์ความหนาแน่นของกระแส (Current Density)
จากการทดลองมีการใช้ค่าความเข้มกระแสเพียง 1 ค่า ซึ่งในการวิเคราะห์เพื่อคำนวณหาค่า CD คือความ
หนาแน่นของกระแส ในหน่วย (mA/cm2) โดย I คือค่ากระแสไฟฟ้า ในหน่วย (mA) และ Ap คือพื้นที่ที่เปียกน้ำ
ของแผ่นขั้วกระแสไฟฟ้า ในหน่วย (cm2)
I
สูตร CD = AP

3.4.2 การวิเคราะห์คลอรีน
การวิเคราะห์คลอรีนที่มีผลมาจากความเข้มข้นของสารอิเล็กโทรไลต์ที่เกิดในระบบโดยใช้วิธีการไทเทรต
รายละเอียดดังนี้
1. เตรียม pH buffer และ DPD ตามข้อ 2.2 อย่างละ 5 ml จากนั้นนำไปผสมกับน้ำตัวอย่างที่เจือจาง
ด้วยน้ำ DI ให้ได้ 100 ml โดยมีปริมาตรรวม 110 ml จะมี pH อยู่ที่ 6.2 - 6.5
2. ทำการไทเทรตโดยใช้ FAS เพื่อหาปริมาณของสารคลอรีนในน้ำตัวอย่าง
3. นำผลที่ได้จาการไทเทรตไปคำนวณหาความเข้มข้นของคลอรีนในน้ำเสียสังเคราะห์ โดยค่ามิลลิลิตรที่
ไทเทรตจนสีแดงของ FAS หายไปคือค่ามิลลิกรัมต่อลิตรของคลอรีน
3.4.3 การวิเคราะห์ไตรเมโทพริม (Trimethoprim)
ใช้เครื่องมือ High Performance Liquid Chromatography (HPLC) รายละเอียดดังนี้
1. เงื่อนไขในการวิเคราห์ไตรเมโทพริม
26

- ใช้คอลัมน์ AQS C18 HPLC column (4.6 mm 150 mm 5 µm)


- เครื่องตรวจจับ UV ที่ 254 nm โดยใน Mobile phase มีอัตราส่วนอยู่ที่ 79:20:1 แบ่งเป็น น้ำ Ultra-
pure : เมทานอล : กรดอะซิติก
- อัตราการไหลอยู่ที่ 1.0 ml/min
- ปริมาณที่ฉีดเข้าสู่ระบบ 20 µm
- อุณหภูมิ 30 ºC
- Mobile phase เป็นการเตรียมสารที่เป็นตัวพาตัวอย่างเข้าสู่ระบบ
- น้ำเสียสังเคราะห์โดยมียาไตรเมโทพริมปนเปื้อนอยู่ โดยการนำน้ำเสียสังเคราะห์ที่ผ่านชุ ดปฏิกรณ์
Electrogen มาทำการเติมสารไทโอซัลเฟตและทำการกรองผ่าน Syringe Filter โดย filter size 0.22
µm นำไปใส่ ใ น Vial จากนั้ น นำน้ ำ เสี ย สั ง เคราะห์ น ี ้ เ ข้ า สู ่ เ ครื ่ อ ง High Performance Liquid
Chromatography (HPLC) ผ่านคอลัมน์และรอผลการวิเคราะห์
3.4.4 การวิเคราะห์อนุมูลอิสระ
การวิเคราะห์อนุมูลอิสระที่มีผลต่อปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในการทดลอง อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ
Electrooxidation ในระบบจะใช้ Scavengers 2 ชนิด คือ Nitrobenzene (NB) และ Benzoic Acid (BA) โดย
NB มีคุณสมบัติในการจับอนุมูลอิสระตระกูล OH• เท่านั้น และ BA มีคุณสมบัติในการจับอนุมูลอิสระตระกูล OH•
และ Cl• ซี่งปริมาณที่ใช้อ้างอิงจากปริมาณของการเตรียมความเข้มข้นไตรเมโทพริมเริ่มต้น (50 µM) จากนั้นนำ
ข้อมูลที่ได้ไปพล็อตกราฟระหว่าง C/C0 กับเวลา
27

บทที่ 4
ผลการศึกษาและอภิปราย

4.1 ตัวแปรศึกษาสำหรับการทดลอง Electrooxidation, Electrooxidation/UV


4.1.1 ความเข้มแสง UV (Light Intensity) พลังงานของรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) 16 Watts
ความยาวคลื่น 254 nm ในการทดลองใช้ทั้งหมด 3 หลอด การวัดความเข้มแสงด้วยเครื่อง Spectrophotometer
จะความยาวคลื่นที่ 352 nm เมื่อได้ผลแล้วนำไปคำนวณจากสูตรการหาความเข้มแสงดังสมการ
1 1
H′ = (23) × (ค่าที่ได้จาก 𝑆𝑝𝑒𝑐𝑡𝑟𝑜𝑝ℎ𝑜𝑡𝑜𝑚𝑒𝑡𝑒𝑟 ตามช่วงเวลา) × (V) × ( ) × (1000) × ( )
A T
โดยที่ H′ คือ ความเข้มแสง UV ในหน่วยมิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร (mW/cm2) V คือ ปริมาตรของสารผสม
กับน้ำ ในหน่วยลิตร (L) A คือ พื้นที่หน้าตัดของบีกเกอร์ ในหน่วยตารางเซนติเมตร (cm2) T คือ ระยะเวลาการ
ทดลองในหน่วยวินาที (s) จากการทดลองได้ค่าจากเครื่อง Spectrophotometer ดังนี้
ตารางที่ 2 ผลของการทดลองค่าความเข้มแสงกับหลอด UV 16 Watts 3 หลอดเปรียบเทียบกับการ
ทดลองค่าความเข้มแสงหลอด UV 6 Watts 3 หลอด (ศราวุธ และคณะ, 2565)*
เวลา ค่าจากเครื่อง Spectrophotometer UV 16 Watts 3 หลอด UV 6 Watts 3 หลอด
(min.) (Dilute 100 เท่า) (mW/cm2) (mW/cm2)*
5 - - 0.986
10 - - 0.920
30 0.2104 1.62 0.901
40 0.2321 1.34 -
50 0.3023 1.40 -
60 0.3532 1.36 0.858
70 0.3939 1.30 -
80 0.3860 1.11 -
90 0.5775 1.48 -
ค่าเฉลี่ย - 1.37 0.916

จากการทดลองการวัดความเข้มแสงโดยเครื่อง Spectrophotometer วัดค่าความเข้มแสง UV ทั้งหมด 3


หลอด ที่ระยะเวลา 30, 40, 50, 60, 70, 80 และ 90 นาที ค่าการเพิ่มขึ้นของความเข้มแสงจาก UV 6 Watts 3
หลอด เป็น UV 16 Watts 3 หลอด เท่ากับ 52.05%
28

4.1.2 ปริมาณคลอรีน (Cl2) ที่เกิดขึ้นจากการเข้าสู่ระบบบำบัดที่มีการผสมยา Trimethoprim


ตารางที่ 3 pH 5.8 วิเคราะห์ปริมาณคลอรีนด้วยวิธีการ Titration
เวลา EO EO/UV EO-BA EO/UV- EO-NB EO/UV-
(min.) (mg/L) (mg/L) (mg/L) BA (mg/L) NB
(mg/L) (mg/L)
1 9 12 5 4 3 4
5 35 18 7 3 6 6
15 18 22 11 12 12 13
30 22 23 18 12 13 21
60 49 36 31 15 18 35

ตารางที่ 4 pH 6.8 วิเคราะห์ปริมาณคลอรีนด้วยเครื่องวัดค่าคลอรีน ponpe 505CL


เวลา EO EO/UV EO (mg/L) (Titration)
(min.) (mg/L) (mg/L) (ศราวุธ และคณะ, 2565)
1 0.35 0.24 -
5 3.15 1.46 2
10 - 2.60 2
15 5.49 3.65 -
30 8.99 6.29 4
60 11.49 2.80 4

ตารางที่ 5 pH 7.8 วิเคราะห์ปริมาณคลอรีนด้วยเครื่องวัดค่าคลอรีน ponpe 505CL


เวลา EO EO/UV
(min.) (mg/L) (mg/L)
1 0.19 0.10
5 0.45 0.61
15 1.90 1.55
30 2.15 2.50
60 1.30 1.70

จากผลการวิ เ คราะห์ ป ริ ม าณคลอรี น ที่ เ กิ ด ขึ ้ น ในกระบวนการการบำบั ด ที ่ ม ี ต ั ว ยาไตรเมโทพริ ม


(Trimethoprim) ในสภาวะ pH 5.8 จะเห็นได้ว่าระบบมีการสร้างคลอรีนเพื่อช่วยในการบำบัดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตาม
ระยะเวลาที่บำบัด แต่ในสภาวะ pH 7.8 ปริมาณคลอรีนที่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลากลับลดลงเมื่อถึงจุดสูงสุดตาม
ระยะเวลาที่บำบัดหลังจาก 30 นาที ปริมาณคลอรีนที่ลดลงอาจเกิดจากคลอรีนอิสระที่มีอยู่ในระ บบมากเกินไป
และอยู่ในสภาวะที่สามารถระเหยกลายเป็นไอน้ำได้
29

4.2 ประสิทธิภาพการบำบัด
4.2.1 ผลของกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับพีเอชต่อการบำบัดยา TMP
เปรี ยบเที ย บค่ าพี เ อ ช 5.8 , 6 .8 , แล ะ 7 .8 ในก ระบวนก าร El e c tr ooxi dati on

pH 5.8 pH 6.8 pH 7.8

1.00
ความเข้มข้นของ TMP C/C0

0.80
0.60
0.40
0.20
0.00
0 1 2 5 8 10 15 30 60
เวลา (min.)

รูปที่ 3 กราฟแสดงการเปรียบเทียบค่าพีเอช 5.8, 6.8, และ 7.8 ในกระบวนการ Electrooxidation


จากการศึกษาผลการวิเคราะห์กระบวนการ Electrooxidation เทียบกับค่าพีเอชต่อการบำบัดยาไตร-
เมโทพริม (Trimethoprim) ที่ค่าพีเอช 5.8 6.8 และ 7.8 แสดงดังกราฟที่ 1 พบว่าค่าพีเอช 5.8 มีประสิทธิภาพ
การบำบัดสูงสุด เมื่อเทียบกับพีเอช 6.8 และ 7.8 โดยสามารถบำบัดค่าความเข้ม ข้นของตัวยาไตรเมโทพริมได้หมด
ไปตั้งแต่นาทีที่ 15 เนื่องจากค่าพีเอชที่มีค่าต่ำ ๆ หรือ ยิ่งมีสภาวะเป็นกรดมาก โดยกรดจะแตกตัวให้ไฮโดรเจน
ไอออน ยิ่งมีไฮโดรเจนไอออนมาก
4.2.2 ผลของกระบวนการ Electrooxidation/UV เทียบกับพีเอชต่อการบำบัดยา TMP

เปรี ยบเที ย บค่ าพี เ อ ช 5. 8, 6.8 , แล ะ 7. 8 ในก ระบวนก าร El e c tr ooxi dati on/ UV

pH 5.8 pH 6.8 pH 7.8

1.00
ความเข้มข้นของ TMP C/C0

0.80
0.60
0.40
0.20
0.00
0 1 2 5 8 10 15 30 60
เวลา (min.)

รูปที่ 4 กราฟแสดงการเปรียบเทียบค่าพีเอช 5.8, 6.8, และ 7.8 ในกระบวนการ Electrooxidation/UV


30

ผลการวิเคราะห์กระบวนการ Electrooxidation เทียบกับพีเอชต่อการบำบัดยาไตรเมโทรพริม (TMP) ที่


ค่าพีเอช 5.8 6.8 และ 7.8 แสดงดังกราฟที่ 2 พบว่าค่าพีเอช 5.8 มีประสิทธิภาพการบำบัดสูงสุด เช่นเดียวกันกั บ
ผลของกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับพีเอชต่อการบำบัดยา TMP เนื่องจากค่าพีเอชที่มีค่าต่ำ ๆ หรือมี
สภาวะเป็นกรด โดยมีค่าที่เกี่ยวข้องคือ Oxidation-reduction potential (ORP) ซึ่งหากค่า ORP มีค่าเป็นบวก
หมายความว่าน้ำนั้นมีค่าเป็นกรด ยิ่งมีสภาวะเป็นกรดมาก โดยกรดจะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน ยิ่งมีไฮโดรเจน
ไอออนมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งเสริมการทำงานของปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
4.2.3 ประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ Electrooxidation/UV
ประสิ ทธิ ภ าพก ารบาบั ด ด้ วยก ระบวนก าร El e c tr ooxi dati on เที ย บกั บ
El e c tr ooxi dati on/ UV ที่ ส ภ าวะ pH 5 .8

pH 5.8 No UV pH 5.8 With UV

1.00
ความเข้มข้นของ TMP C/C0

0.80
0.60
0.40
0.20
0.00
0 1 2 5 8 10 15 30 60
เวลา (min.)

รูปที่ 5 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ Electrooxidation/UV


ที่สภาวะ pH 5.8
31

ประสิ ทธิ ภ าพก ารบาบั ด ด้ วยก ระบวนก าร El e c tr ooxi dati on เที ย บกั บ
El e c tr ooxi dati on/ UV ที่ ส ภ าวะ pH 6. 8

pH 6.8 No UV pH 6.8 With UV

1.00
ความเข้มข้นของ TMP C/C0

0.80
0.60
0.40
0.20
0.00
0 1 2 5 8 10 15 30 60
เวลา (min.)

รูปที่ 6 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ Electrooxidation/UV


ที่สภาวะ pH 6.8

ประสิ ทธิ ภาพการบาบั ด ด้ วยกระบวนการ El ectrooxi dati on เที ย บกั บ


El ectrooxi dati on/ UV ที่ ส ภาวะ pH 7.8
pH 7.8 No UV pH 7.8 With UV

1.00
ความเข้มข้นของ TMP C/C0

0.80
0.60
0.40
0.20
0.00
0 1 2 5 8 10 15 30 60
เวลา (min.)

รูปที่ 7 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ Electrooxidation/UV


ที่สภาวะ pH 7.8
ผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง HPLC เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดระหว่างระบบที่มี UV และ ไม่มี
UV ในสภาวะ pH ต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าสภาวะที่ไม่มี UV ในพีเอช 5.8 มีประสิทธิภาพดีกว่าสภาวะที่มี UV ซึ่งขัด
กับทฤษฎีที่ว่า UV จะทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้น อาจเกิดได้จากการสลายตัวของอนุมูลอิสระที่มากเกินไปจนทำให้
เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่รวดเร็วขึ้น ตัวอนุมูลอิสระจับตัวกันจนมีจำนวนลดลง ทำให้ประสิทธิภาพการบำบัดแย่ลง เมื่อ
เปรียบเทียบกับสภาวะที่ไม่มี UV ส่วนที่สภาวะพีเอช 6.8 และ 7.8 ระบบที่มี UV สามารถบำบัดความเข้มข้นของ
32

ตัวยาไตรเมโทพริมได้ดีกว่า ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ หากเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่ได้นำมาต่อยอด (ศราวุธ


และคณะ, 2565) ในสภาวะพีเอช 6.8 ความเข้มข้นเกลือ 500 mg/L และความเข้มกระแส 10 mA/cm2 ที่เวลา 5
นาที พบว่ามีประสิทธิภาพการบำบัดอยู่ 10.7% ในขณะที่วิจัยดังกล่าวมีประสิทธิภาพการบำบัดตัวยาไตรเมโทพริม
ถึง 79.05% โดยในช่วงเริ่มต้นของสภาวะพีเอช 6.8 และ 7.8 ในระบบที่มี UV จะดีกว่า แล้วจึงลดประสิทธิภาพ
การบำบัดลงในช่วงหลัง
4.2.4 อนุมูลอิสระที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบ (Sirilak Ekwong et al., 2022)
จากการศึกษาพบว่า BA เป็นกลุ่มที่สามารถกำจัดอนุมูลอิสระ OH• และ Cl• ส่วน BA มีความสามารถใน
การกำจัดอนุมูลอิสระกลุ่ม OH• เท่านั้น โดยในการกำจัด scavenger ได้ผลการทดลองดังนี้
Benzoic Acid (BA)

ประสิ ทธิ ภ าพก ารบาบั ด ด้ วยก ระบวนก าร El e c tr ooxi dati on เที ย บกั บ
El e c tr ooxi dati on/ UV ที่ ส ภ าวะ pH 5 .8 โดยมี Be nz oi c Ac i d ร่ วมด้ วย

pH 5.8 No UV+BA pH 5.8 with UV+BA

1.00
0.80
ความเข้มข้นของ TMP C/C0

0.60
0.40
0.20
0.00
0 1 2 5 8 10 15 30 60
เวลา (min.)

รูปที่ 8 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ


Electrooxidation/UV ที่สภาวะ pH 5.8 โดยมี Benzoic Acid ร่วมด้วย
จากผลการทดลองที่ แ สดงในรู ป ที่ 8 กราฟแสดงประสิ ท ธิ ภ าพการบำบั ด ด้ ว ยกระบวนการ
Electrooxidation เที ย บกั บ Electrooxidation/UV ที ่ ส ภาวะ pH 5.8 โดยมี Benzoic Acid ร่ ว มด้ ว ย พบว่ า
สภาวะที่มี UV มีประสิทธิภาพการบำบัดที่ดีกว่า ซึ่งสอดคล้องกับรูปที่ 5 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วย
กระบวนการ Electrooxidation เที ย บกั บ Electrooxidation/UV ที ่ ส ภาวะ pH 5.8 โดยทั ้ ง สองรู ป ภาพมี
ประสิทธิภาพการบำบัดที่ไปในทิศทางเดียวกันคือ ระบบที่มี UV มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบผล
ระบบที่ใส่สาร BA กลับทำได้ดีกว่า ซึ่งเกิดจากการใส่สาร BA ที่ไม่เพียงพอ
33

Nitrobenzene (NB)

ประสิ ทธิ ภาพการบาบั ด ด้ วยกระบวนการ El ectrooxi dati on เที ย บกั บ


El e c tr ooxi dati on/ UV ที่ ส ภ าวะ pH 5 .8 โดยมี Ni tr o Be nz e ne ร่ วมด้ วย

pH 5.8 No UV+NB pH 5.8 with UV+NB

1.00
ความเข้มข้นของ TMP C/C0

0.80
0.60
0.40
0.20
0.00
0 1 2 5 8 10 15 30 60
เวลา (min.)

รูปที่ 9 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ


Electrooxidation/UV ที่สภาวะ pH 5.8 โดยมี Nitrobenzene ร่วมด้วย
จากผลการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดตัวยาไตรเมโทพริม ระหว่างพบว่า ในระยะเวลา
เริ่มต้น ค่าที่ได้เป็นไปตามสมมติฐาน โดยหากเปรียบเทียบกับรูปที่ 5 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วย
กระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ Electrooxidation/UV ที่สภาวะ pH 5.8 และรู ปที่ 8 กราฟแสดง
ประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation เทียบกับ Electrooxidation/UV ที่สภาวะ pH 5.8
โดยมี Benzoic Acid ร่วมด้วย กล่าวคือประสิทธิภาพในการบำบัดเรียงจากสภาวะปกติ > BA > NB
Electrooxidation + Benzoic Acid เปรียบเทียบกับ Nitrobenzene

ประสิ ทธิ ภ าพก าร บาบั ด ด้ วยก ระบวนก าร El e c tr ooxi dati on


ที่ ส ภ าวะ pH 5. 8 โดยใช้ Be nz oi c Ac i d เที ย บกั บ Ni tr o Be nz e ne

pH 5.8 No UV pH 5.8 No UV+BA pH 5.8 No UV+NB

1.00
ความเข้มข้นของ TMP C/C0

0.80
0.60
0.40
0.20
0.00
0 1 2 5 8 10 15 30 60
เวลา (min.)
34

รูปที่ 10 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation ทีส่ ภาวะ pH 5.8 โดย


ใช้ Benzoic Acid เทียบกับ Nitrobenzene
Electrooxidation/UV + Benzoic Acid เปรียบเทียบกับ Nitrobenzene

ประสิ ทธิ ภ าพก ารบาบั ด ด้ วยก ระบวนก าร El e c tr ooxi dati on/ UV


ที่ ส ภ าวะ ph 5. 8 โดยใช้ Be nz oi c Ac i d เที ย บกั บ Ni tr o Be nz e ne

pH 5.8 With UV pH 5.8 with UV+BA pH 5.8 with UV+NB

1.00
ความเข้มข้นของ TMP C/C0

0.80
0.60
0.40
0.20
0.00
0 1 2 5 8 10 15 30 60
เวลา (min.)

รูปที่ 11 กราฟแสดงประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการ Electrooxidation/UV ทีส่ ภาวะ pH 5.8 โดยใช้


Benzoic Acid เทียบกับ Nitrobenzene
จากผลการทดลองพบว่าในสภาวะที่ไม่มี UV และมี UV ประสิทธิภาพการบำบัดของ Nitrobenzene มี
ประสิทธิภาพสูงกว่า Benzoic Acid ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานว่า Benzoic Acid สามารถจับตัวอนุมูลอิสระได้
มากกว่า โดย Benzoic Acid สามารถจับตัว OH• และ Cl• ได้ เมื่อเวลาผ่านไป คลอรีนในระบบจะเพิ่มมากขึ้น ตัว
Benzoic Acid จะเข้าไปจับกับ Cl• ทำให้ปฏิกิริยาเกิดได้ช้าลง ในขณะที่ Nitrobenzene สามารถจับได้เพียงแค่
OH• ซึ่งทำให้ Cl• ในระบบไปกระตุ้นให้ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเกิดได้ไวขึน้
35

บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการทดลอง
จากสภาวะการทดลองที่เลือกใช้โดยมีความเข้มข้นของสารอิเล็กโทรไลต์ ที่ 500 mg/L และความเข้ม
กระแสเท่ากับ 10 mA/cm2 จะเห็นได้ว่ากระบวนการ Electrooxidation และ Electrooxidation/UV สามารถ
กำจัดยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim) ได้จริง โดยได้วัดค่าความเข้มแสง UV ทั้งหมด 3 หลอด ที่ระยะเวลา 30,
40, 50, 60, 70, 80 และ 90 นาที ค่าการเพิ่มขึ้นของความเข้มแสงจาก UV 6 วัตต์ 3 หลอด (ศราวุธ และคณะ,
2565) เป็น UV 16 วัตต์ 3 หลอด เท่ากับ 52.05% โดยมีตัวแปรอย่าง pH สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดตัว
ยา ไตรเมโทพริม (Trimethoprim) ในการทดลองได้ โดยใช้ค่า pH ที่ 5.8, 6.8 และ 7.8 ซึ่ง pH ที่ 5.8 เป็นเงื่อนไข
ที ่ สามารถบำบั ด ยาไตรเมโทพริ ม (Trimethoprim) ได้ ดี ที่ ส ุ ด ทั้ ง ในกระบวนการ Electrooxidation และ
Electrooxidation/UV ในกระบวนการ Electrooxidation ที่ pH 5.8, 6.8 และ 7.8 มีประสิทธิภาพการบำบัด
ในช่วงระยะเวลา 30 นาที อยู่ที่ 100% 71.37% และ 96.49% ตามลำดับ ในกระบวนการ Electrooxidation/UV
ที่ pH 5.8, 6.8 และ 7.8 มีประสิทธิภาพการบำบัดในช่วงระยะเวลา 30 นาที อยู่ที่ 100% 96.02% และ 100%
ตามลำดับ ในกระบวนการ Electrooxidation และ Electro oxidation/UV ร่วมกับ Benzoic Acid ที่ pH 5.8
ประสิทธิภาพการบำบัด ที่ 2 นาทีอยู่ที่ 8.5% และ 15.82% ตามลำดับ ในกระบวนการ Electrooxidation และ
Electrooxidation/UV ร่วมกับ Nitrobenzene ที่ pH 5.8 ประสิทธิภาพการบำบัด ที่ 2 นาทีอยู่ที่ 15.53% และ
15.90% ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า pH มีผลต่อกระบวนการบำบัดตัวยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim) เมื่อ pH มี
ค่าต่ำหรือสูงมากจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นเร็วเนื่องจากความเป็นกรดหรือด่างอย่างรุนแรงจะมีการทำปฏิกิริยาได้ดี
ในกระบวนการ Electrooxidation จากนั้นเราได้นำผลการวิจัยของเราไปเปรียบเทียบกับงานวิจัยก่อนที่ มีสภาวะ
การทดลองคล้ายกันต่างกันที่ไม่ทราบ pH คือ สภาวะ Electrooxidation without UV ที่ ความเข้มข้นของสาร
อิเล็กโทรไลต์ที่ 500 mg/L และความเข้มกระแสเท่ากับ 10 mA/cm2 ประสิทธิภาพการบำบัดที่ 5 นาที ของ
งานวิจัยก่อนกับงานวิจัยปัจจุบันที่ pH 5.8 และ 7.8 อยู่ที่ 23.14% 43.23% และ 14.6% ตามลำดับ ทำให้
คาดการณ์ได้ว่างานวิจัยก่อนหน้านี้ได้มี pH อยู่ทรี่ ะหว่าง 6.8 แต่ไม่น้อยกว่า 5.8 และมากกว่า 7.8 ทำให้เห็นได้ชัด
อีกว่า ความที่เป็นกรดและเบสมากส่งผลต่อประสิทธิภาพการบำบัด
36

5.2 ข้อเสนอแนะ
5.2.1 จากการศึ ก ษาผลของการบำบั ด ตั ว ยาไตรเมโทพริ ม (Trimethoprim) ด้ ว ยกระบวนการ
Electrooxidation/UV ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ได้จริง แต่เนื่องจากข้อจำกัดในการเลือกสภาวะการ
ทดลองแค่ 3 ตัว คือ pH 5.8, 6.8 และ 7.8 จึงแนะนำว่าการเพิ่มสภาวะการทดลอง เช่น ปรับเปลี่ยนการเพิ่มลด
ความเข้มกระแสไฟฟ้าหรือการเพิ่มลดความเข้มข้นของสารอิเล็กโทรไลต์ในการทดลอง เพื่อเพิ่มโอกาสในการหา
สภาวะที่เหมาะสมในการบำบัด
5.2.2 ในขั้นตอนการเตรียมการวิเคราะห์ควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ เช่น การใช้สารที่มี
ความเป็นอันตรายต่อร่างกายควรสวมใส่เสื้อแขนยาว ใส่แมส ใส่แว่นเพื่อป้องกันสารนั้นสัมผัสร่างกายโดยตรง และ
สารที่มีไอระเหยควรทำการเตรียมในเครื่องดูดควัน (Fume Hood) โดยเฉพาะ ดังนั้นในแต่ละขั้นตอนจึงต้อง
กระทำอย่างระมัดระวัง

5.3 กิตติกรรมประกาศ
ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยดี เพราะได้รับความอนุเคราะห์ การเอาใจใส่ และการให้
คำปรึกษาเป็นอย่างดียิ่งจาก ดร. ตติยา วรรณโนมัย อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยบูรพา และ
อาจารย์ที่ได้ให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องในการดำเนินงานทุกด้าน รวมทั้งให้คำแนะนำองค์
ความรู้แนวทางในการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่เริ่ม ต้นจนเสร็จสมบูรณ์ ขอขอบคุณท่านเจ้าของเอกสารและงานวิจัยทุก
ท่านที่ผู้วิจัยได้นำมาศึกษาอ้างอิงในการทำวิจัยครั้งนี้ รวมถึงคณะอาจารย์ และบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิ ท ยาลั ย บู ร พาที่ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการทำวิ จ ั ย ในครั ้ ง นี้ ทางคณะผู ้ ว ิ จั ย
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงและสุดท้ายนี้ คณะผู้วิจัยหวังว่างานวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องและผู้สนใจศึกษาต่อไป
37

บรรณานุกรม
1. Akbari, M.Z., Xu, Y., Lu, Z. and Peng, L. 2021. Review of antibiotics treatment by advance
oxidation processes. https://doi.org/10.1016/j.envadv.2021.100111
2. Alazaiza, M.Y.D., Albahnasawi, A., Eyvaz, M., Nassani, D.E., Abu Amr, S.S., Abujazar, M.S.S.
and Al-Maskari, O. 2023. Electrochemical-based advanced oxidation for hospital
wastewater treatment. DOI : 10.5004/dwt.2023.29714
3. Chianese, S., Fenti, A., Blotevogel, J., Musmarra, D. and Iovino P. 2023. Trimethoprim
removal from wastewater: Adsorption and electro-oxidation comparative case study.
https://doi.org/10.1016/j.cscee.2023.100433
4. Einaga, Y. 2022. Boron-Doped Diamond Electrodes: Fundamentals for Electrochemical
Applications. https://pubs.acs.org/doi/epdf/10.1021/acs.accounts.2c00597
5. Ekwong, S., Boonnorat, J., Lin, K.Y.A., Phattarapattamawong, S. 2022. Comparative
removal of trimethoprim and its phytotoxicity by using chlorination, UV irradiation, and
UV/chlorine process: Factors affecting the removals and kinetics.
6. Kleiner, K. 2004. Wrappers smarten up to protect food.
[https://www.newscientist.com/article/dn4904-wrappers-smarten-up-to-protect-food/]
Accessed 30, 2023.
7. Kumar, K.S.S. 2013. Electric Circuit Analysis.
[https://www.coursehero.com/file/190693077/learning-activity-25docx/] Accessed August
30, 2023.
8. Najafinejad, M.S., Chianese, S., Fenti, A., Iovino, P. and Musmarra, D. 2023. Application of
Electrochemical Oxidation for Water and Wastewater Treatment: An Overview.
https://doi.org/10.3390/molecules28104208
9. Otter, P., Mette, K., Wesch, R., Gerhardt, T., Kruger, F.M., Goldmaier, A., Benz, F., Malakar,
P. and Grischek, T. 2020. Oxidation of Selected Trace Organic Compounds through the
Combination of the Inline Electro-Chlorination with UV Radiation (UV/ECl2) as Alternative
AOP for Decentralized Drinking Water Treatment. https://www.mdpi.com/898012
38

10. กรมควบคุมมลพิษ. 2563. คูม่ ือน้ำเสียชุมชนและระบบบำบัดน้ำเสีย.


[https://www.pcd.go.th/publication/4468]. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2566.
11. เครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC). คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[https://www.med.tu.ac.th/UserFiles/File/vijai/equipment/High%20performance%20liquid
%20chromatography.htm] สืบค้น 28 ตุลาคม 2566.
12. วนไพศาล, ผ. 2563. การฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซี (UVC). ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล. [https://tinyurl.com/y9h3sofx]. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2566.
13. แผ่นเพชร BDD CVD นำไฟฟ้าสำหรับการบำบัดน้ำเสีย. [https://thai.alibaba.com/product-
detail/High-electrical-conductivity-Boron-doped-diamond-1600172847166.html] สืบค้น 14
กันยายน 2566.
14. ราษฎรวิจิตร, อ. 2564. ไตรเมโทพริม (Trimethoprim). [https://haamor.com/ไตรเมโทพริม]. สืบค้น
8 สิงหาคม 2566.
15. ธีรกุลกิติพงศ์, ณ., ทิพยรัตน์, อ., สุขพรสวรรค์, ภ., ดีพัฒนา, อ., โชคชัยธรรม, ส., สุขสวัสดิ์ชน, จ. และตั้ง
วัฒนาชุลีพร ม. 2561. การวิเคราะห์ความไวต่อยาปฏิชีวนะรูปแบบใหม่และมีประสิทธิภาพสูงสำหรับ การ
ทดสอบตัวอย่างทางคลินิกระดับจุลภาคด้วยวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์ภาพดิจิตอล (รายงานผลการวิจัย).
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
[http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3618].
16. อรรถสารประสิทธิ,์ ศ. 2558. การเปรียบเทียบการบำบัดน้ำเสียสีย้อมโดยวิธีการออกซิเดชันด้วย
กระแสไฟฟ้าและวิธีการตกตะกอนทางเคมี. (วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50223]
17. สิมมา, ศ., วรรณโนรักษ์, ก., เนตรช่วงโชติ, อ. และ วรรณโนมัย, ต. 2565. ผลของความเข้มข้นของเกลือ
และกระแสไฟฟ้าด้วยกระบวนการ Electro-oxidation/UV เทียบกับ Electro-oxidation ในการบำบัด
น้ำเสียที่มีการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ. (ปริญญานิพนธ์ (วศ.บ.)--มหาวิทยาลัยบูรพา). ภาควิชาวิศวกรรม
เคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
18. ภาณุตระกูล, ส. 2555. การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ Water Quality Analysis. หน้า 111. ภาควิชาวาริช
ศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
39

19. 2543. ลักษณะน้ำเสียจากโรงพยาบาล. คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้น


5 กันยายน 2566.
20. 2566. ข้อดีของขั้วบวกไทเทเนียมคืออะไร. [http://th.metal-ti.net/info/what-are-the-advantages-
of-titanium-anodes-54152679.html] สืบค้น 14 กันยายน 2566.

You might also like