Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 18

การทดสอบสูญเสีย

ของสารประกอบแอสฟัลต์
เมื่อให้ความร้อน (LOSS ON HEATING)
หลักการและเหตุผล

-โดยทั่วไปผิวทางที่นิยมใช้กันในประเทศไทย
มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
ผิวทางชนิดคอนกรีตและผิวทางเป็นลาดยาง
ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อของแอสฟัลท์

-ในการเลือกใช้วัสดุแต่ละชนิดนี้ก่อนนํามาใช้งาน
จะต้องมีการทดสอบให้องปฏิบัติการทดสอบ
ทางวิศวกรรมเพื่อให้เกิดความมั่นใจปลอดภัย
ในการใช้งานและจะต้องมีความแข็งแรง
สามารถทนทานต่อการรับน้ำหนักที่ออกแบบไว้
เครื่องมือและอุปกรณ์

1.เตาอบผนัง 2ชั้นให้ความร้อนด้วยระบบไฟฟ้า
ขนาดภายในสูงไม่น้อยกว่า 290มิลลิเมตร
กว้างและลึกไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร
มีประตูด้านหน้าปิดได้สนิทแน่น
ที่ประตูนี้มีช่องกระจกใสสี่เหลี่ยม
ขนาดกว้างยาวด้านละ 100 มิลลิเมตร
เครื่องมือและอุปกรณ์

2.เทอร์โมมิเตอร์ชนิดมีช่วงที่สามารถอ่านได้
ระหว่าง 155 - 170 องศาเซลเซียส
มีความละเอียดอ่านได้ถึง 1 องศาเซลเซียส
เครื่องมือและอุปกรณ์

3.ที่จับเทอร์โมมิเตอร์ยื่นออกมาจากแกนหมุน
ของชั้นวางตัวอย่างเพื่อจับเทอร์โมมิเตอร์
ให้ตั้งตรงอยู่ในแนวดิ่งและอยู่ห่างจาก
ขอบนอกของชั้นวางตัวอย่างเข้ามาข้างใน
ประมาณ 20 มิลลิเมตร
โดยให้ปลายกระเปาะอยู่สูงจากชั้นวางตัวอย่าง
ประมาณ 6 มิลลิเมตร
เครื่องมือและอุปกรณ์

4.ภาชนะบรรจุตัวอย่างเป็นโลหะหรือแก้ว
รูปทรงกระบอกก้นแบนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง
ภายใน55 มิลลิเมตรลึก 35 มิลลิเมตร

5.เครื่องชั่ง อ่านได้ละเอียดถึง 0.01 กรัม


การทดสอบ

1.นำตัวอย่างมาคนให้เข้ากัน ให้ความรู้อนเล็กน้อยถ้าจำเป็น
แล้วตรวจดูว่ามีน้ำหรือไม่ถ้าพบว่ามีน้ำปนอยู่ในตัวอย่างจะต้องทำการกำจัดน้ำ
ออกเสียก่อนโดยวิธีที่เหมาะสม เช่น ให้ความร้อนเพิ่มขึ้นจนน้ำระเหยไปหมด
โดยไม่มีน้ำเดือดกระเด็นออกมาให้เห็น แล้วจึงนำตัวอย่างที่ปราศจากน้ำ
มาทำการทดสอบหาค่าสูญเสียของวัสดุยางแอสฟัลต์เมื่อให้ความรู้อนต่อไป
2.นำตัวอย่างที่ได้เตรียมไว้แล้ว ใส่ในภาชนะบรรจุตัวอย่าง
ถ้าตัวอย่างมีอุณหภูมิีสูงกว่าอุณหภูมิห้องจะต้องปล่อยให้เย็นลงก่อน
แล้วทำการชั่งให้ได้น้ำหนักของตัวอย่าง 50+-0.50 กรัม
3.จัดเตรียมเตาอบให้มีอุณหภูมิ 163 องศาเซลเซียส
แล้วนำภาชนะบรรจุตัวอย่างไปวางบนพื้นสำหรับวางตัวอย่างในเตาอบ
โดยวางให้ชิดกับเส้นรอบวงด้านนอกของชั้นวางนั้น
แต่ถ้าทำการทดสอบหลายตัวอย่างให้วางถัดเข้าไปด้านในของชั้นวางนั้นได้
เสร็จแล้วปิดประตูเตาอบเดินเครื่องให้ชั้นวางตัวอย่างหมุนรอบตัวเองในอัตรา 5
ถึง 6 รอบต่อนาทีและชั้นนี้จะต้องหมุนอยู่ตลอดเวลาที่ทำการทดสอบ
ตัวอย่างจะต้องอยู่ในเตาอบ ซึ่งมีอุณหภูมิคงที่ที่ 163+-1 องศาเซลเซียส
เป็นเวลา 5 ชั่วโมง โดยระยะเวลา 5 ชั่วโมงนี้ให้นับเวลาหลังจากที่นำตัวอย่างเข้าไป
ในเตาอบและอุณหภูมิในเตาอบสูงขึ้นถึง 162 องศาเซลเซียส
ไม่ว่ากรณีใด ๆ ตัวอย่างจะต้องอยู่ในเตาอบไม่เกิน 5 ชั่วโมง 15 นาทีนับแต่เริ่มนำ
ตัวอย่างเข้าเตาอบ ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ให้ทำการทดสอบใหม่
รูปการทดลองขั้นตอนที่3
4.เมื่อครบเวลาที่กำหนดนำตัวอย่างออกจากเตาอบ
ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วชั่งน้ำหนัก น้ำหนักที่ชั่งได้เป็นน้ำหนักภายหลังอบ
5.ถ้าต้องการหาเพนิเทรชั่นหรือคุณสมบัติอื่นของตัวอย่างหลังจากที่อบแล้ว
ส่วนที่เหลือในภาชนจะต้องนำมาทำให้เหลวที่อุณหภูมิต่ำที่สุดเท่าที่สามารถ
จะคนให้เข้ากันได้ ระวังไม่ให้มีฟองอากาศอยู่ในตัวอย่างหลัง
จากนั้นจึงนำตัวอย่างไปดำเนินการทดสอบตามวิธีการที่ต้องการต่อไป
การคำนวณ

ค่าสูญเสียของวัสดุยางแอสฟัลต์
เมื่อให้ความร้อนคิดเป็นร้อยละ
(น้ำหนักของตัวอย่างก่อนอบ-น้ำหนักของตัวอย่างภายหลังอบ)
%น้ำหนักของตัวอย่างตัวอย่างก่อนอบ) X 100
เกณฑ์ตัดสินและความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้

1.เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเนื่องจากเครื่องมือทดสอบผลการทดสอบ
จากห้องทดสอบตัวอย่างเดียวกันต้องต่างกันไม่เกินค่าต่อไปนี้
1.1 ถ้าทดสอบแล้วค่าสูญเสียของวัสดุยางแอสฟัลต์ไม่เกิน
ร้อยละ 5 ผลทดสอบที่ได้ต่างกันไม่ เกิน 0.5 ถือว่าใช้ได้
1.2 ถ้าทดสอบแล้วค่าสูญเสียของวัสดุยางแอสฟัลต์เกิน
ร้อยละ 5 ผลทดสอบที่ถือว่าใช้ได้ยอมให้คลาดเคลื่อน
เพิ่ม 0.01 สำหรับทุกๆค่าสูญเสียที่เพิ่มร้อยละ 0.5
ดังในตารางตอไปนี้
ตาราง 1.1.2
ข้อควรระวัง

1.สำหรับตัวอย่างซึ่งมีอัตราการระเหยในสภาวะเดียวกันใกล้เคียงกัน
ให้ทำการทดสอบพร้อมกันในเตาอบเดียวกันได้
แต่ตัวอย่างที่มีอัตราการระเหยต่างกันมากในสภาวะเดียวกัน
ไม่ให้ทำการทดสอบพร้อมกัน ถ้าต้องการผลที่ถูกต้องแน่นอน
ควรจะแยกทำการทดสอบตัวอย่างแต่ละชนิดในการทดสอบแต่ละครั้ง
โดยใช้ 2 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

2.ในระหว่างการทดสอบถ้ามีฟองเกิดขึ้นในตัวอย่างมาก
ผลการทดสอบนั้นถือว่าใช้ไม่ได้
สรุป

•ผลที่ได้จากการทดสอบ
ให้รู้ว่าเมื่อแอสฟัลต์โดนความร้อนมากจะมีการเสียสารประกอบในตัวแอสฟัลต์
และเกิดการเสียรูปจากของแข็งเป็นของเหลว
•ประโยชน์ที่ได้จากการทดสอบ
ทำให้รู้ถึงการเปลี่ยนรูปของแอสฟัลต์เมื่อได้รับความร้อน
ทำให้ช่วยในการออกแบบสิ่งต่างๆที่มีแอสฟัลต์เป็นส่วนประกอบ
และเลือกใช้แอสฟัลต์ให้เหมาะกับงาน ต่างๆมากยิ่งขึ้น
THANK
YOU.
สมาชิกในกลุ่ม
1. นางสาวอดิศา บุญพันธ์ 056450407102-3
2. นางสาวคุณาพร รักชนะ 056450407103-1
3. นายวันชัย ชื่นบาน 056450407104-9
4. นายคณิน ยกเซ็น 056450407108-0
5. นายวัฒนา สีสา 056450407109-8
6. นายธนพนธ์ เวียงธรรม 056450407115-5
7. นางสาวนุติญา ราชเมืองขวาง 056450407125-4
8. นายจิรเมธ เทศชัยภูมิ 056450407126-2

You might also like