Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 6

รูปแบบของการขัดกันระหว่างประโยชน์สว่ นบ ุคคล

กับประโยชน์สว่ นรวม (Conflict of Interest)


ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
ผลประโยชน์ทบั ซ้อน หรือความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและ
ผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of interest: COI) เป็ นประเด็นปั ญหาทางการบริหารภาครัฐในปั จจุบัน
ที่เป็ นบ่อเกิดของปั ญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในระดับที่รนุ แรงขึ้น และยังสะท้อนปั ญหาการขาด
หลักธรรมาภิบาลและเป็ นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
ปั ญหาผลประโยชน์ทับ ซ้อ นเกิ ด จากการพั ฒ นาการทางการเมื อ งไทย
เปลี่ยนไป จากเดิมที่นักการเมืองและนักธุรกิจเป็ นบุคคลคนละกลุ่มกัน กล่าวคือ ในอดีตนักธุรกิจต้อง
พึ่งพิงนักการเมือง เพื่อให้นกั การเมืองช่วยเหลือสนับสนุนธุรกิจของตน ซึ่งในบางครั้งสิ่งที่นักธุรกิจ
ต้องการนัน้ มิได้รบั การตอบสนองจากนักการเมืองทุกครั้งเสมอไป นักธุรกิจก็ตอ้ งจ่ายเงินจานวนมาก
แก่นกั การเมือง ในปั จจุบนั นักธุรกิจจึงใช้วิธีการเข้ามาเล่นการเมืองเองเพื่อให้ตนเองสามารถเข้ามาเป็ น
ผูก้ าหนดนโยบายและออกกฎเกณฑ์ตา่ งๆ ในสังคมได้ และที่สาคัญคือทาให้ขา้ ราชการต่างๆ ต้องปฏิบัติ
ตามคาสัง่
ในต อนนี้ ผู้ เ ขี ย น จะไ ด้ น า เ สน อ
รูป แบบ ของการขั ด กั น ระหว่ า ง
ประโยชน์ส่ ว นบุค คลกั บ ประโยชน์
ส่วนรวม (Conflict of Interest) ให้
ผู้ อ่ า น ไ ด้ รั บ ท ร า บ แ ล ะ น า ไ ป
ประยุก ต์ใ ช้ใ นชี วิ ต ประจ าวั น เพื่ อ
หลี ก เลี่ ย งการปฏิ บั ติห น้า ที่ ซึ่ ง อาจ
เป็ นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วน
บุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม อันอาจ
นาไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันในที่สดุ
การขั ด กั น ระหว่ า งประโยชน์ส่ ว น
บุค คลกั บ ประโยชน์ส่ ว นรวม มี ไ ด้
 ภาพประกอบจาก www.pixabay.com หลายรูปแบบไม่จากัดอยู่เฉพาะใน

รูปแบบของตัวเงิน หรือทรัพย์สินเท่านัน้ แต่รวมถึงผลประโยชน์อื่น ๆ ด้วย ซึ่งนักวิชาการ 2 ราย ได้แก่


John Langford และ Kenneth Kernaghan ได้จาแนกดังนี้
ร ูปแบบของการขัดกันระหว่างประโยชน์สว่ นบ ุคคลกับประโยชน์สว่ นรวมออกเป็น 7 ร ูปแบบ

1 ) ก า รรั บ ผ ลประ โยชน์ ต่ า ง ๆ


(Accepting benefits) เช่ น การรั บ
ของขวัญจากบริษทั ธุรกิจบริษทั ขายยา
หรื อ อุป กรณ์การแพทย์ สนับ สนุน ค่า
เดิ น ทางให้ผ ู้บ ริ ห ารและเจ้า หน้า ที่ ไ ป
ประชุม เรื่องอาหารและยาที่ตา่ งประเทศ
หรื อ หน่ว ยงานราชการรับ เงินบริ จ าค
สร้า งส านัก งานจากธุร กิจ ที่ เ ป็ นลูก ค้า
ของหน่วยงาน หรือแม้กระทัง่ ในการใช้
งบประมาณของรั ฐ เพื่ อ จั ด ซื้ อ จั ด จ้า ง
แล้ ว เจ้ า หน้า ที่ ไ ด้ รั บ ของแถม หรื อ
 ภาพประกอบจาก www.pixabay.com ประโยชน์อื่นตอบแทน เป็ นต้น

2) การทาธ ุรกิจกับตนเอง (Self –dealing)


หรือเป็นคสู่ ญ
ั ญา (Contracts)
หมายถึ ง สถา นการณ์ ที่ ผู้ ด า รงต า แหน่ ง
สาธารณะมี ส่ ว นได้เ สี ย ในสั ญ ญาที่ ท ากั บ
หน่ ว ยงานที่ ต นสั ง กั ด ตั ว อย่ า งเช่ น การใช้
ตาแหน่ง หน้า ที่ ท าให้หน่ว ยงาน ท าสัญญาซื้ อ
สินค้าจากบริษทั ของตนเอง หรือจ้างบริษทั ของ
ตนเองเป็ นที่ปรึกษา หรือซื้อที่ดินของตนเองใน
การจัดสร้างสานักงาน สถานการณ์ เช่นนี้เกิด
บทบาทที่ขัดแย้ง เช่น เป็ นทั้งผูซ้ ื้อและผูข้ ายใน
เวลาเดียวกัน  ภาพประกอบจาก www.pixabay.com
3) การทางานหลังจากออกจากตาแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ (Post –employment)
หมายถึงการที่บคุ คลลาออกจากหน่วยงานของรัฐ และไปทางานในบริษทั เอกชนที่ดาเนินธุรกิจประเภท
เดียวกัน เช่น เป็ นผูบ้ ริหารหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การอาหารและยาลาออก จากงานราชการและไป
ทางานในบริษทั ผลิตหรือขายยา หรือผูบ้ ริหารหลังเกษียณออกไปทางานเป็ นผูบ้ ริหารของบริษทั ธุรกิจ
สื่อสาร
 ภาพประกอบจาก www.pixabay.com

4) การทางานพิเศษ (Outside employment or moonlighting) ในรูปแบบนี้มีได้หลายลักษณะ เช่น


ผูด้ ารงตาแหน่งสาธารณะตัง้ บริษทั ดาเนินธุรกิจที่เป็ นการแข่งขันกับหน่วยงานหรือองค์การสาธารณะ
ที่ตนสังกัด หรือการรับจ้างเป็ นที่ปรึกษาโครงการ โดยอาศัย ตาแหน่งในราชการสร้างความน่าเชื่อถือ
ว่าโครงการของผูว้ ่าจ้างจะไม่มีปัญหาติดขัดในการพิจารณาจากหน่วยงานที่ที่ปรึกษาสังกัดอยู่ หรือ
ในกรณีที่เป็ นผูต้ รวจสอบบัญชีของกรมสรรพากร ก็รบั งานพิเศษเป็ นที่ปรึกษาหรือเป็ นผูท้ าบัญชีให้กบั
บริษทั ที่ตอ้ งถูกตรวจสอบ
5)การรข้ ู อ้ มูลภายใน (Inside information)
หมายถึงสถานการณ์ที่ผดู้ ารงตาแหน่งสาธารณะใช้ประโยชน์จากการรูข้ อ้ มูลภายในเพื่อประโยชน์ของ
ตนเอง เช่น ทราบว่ามีการตัดถนนผ่านบริเวณใดก็จะเข้าไปซื้อที่ดินนัน้ ในนามของภรรยาหรือสามีหรือ
ทราบว่าจะมีการซื้อขายที่ดินเพื่อทาโครงการของรัฐ ก็จะเข้าไปซื้อที่ดินนัน้ เพื่อเก็ง กาไรและขายให้กบั รัฐ
ในราคาที่สงู ขึน้
6) การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ธ ุรกิจส่วนตัว (Using your employer’s property
for private advantage) เช่น การนาเครื่องใช้สานักงานต่าง ๆ กลับไปใช้ที่บา้ น การนารถยนต์ราชการ
ไปใช้ในงานส่วนตัว

 ภาพประกอบจาก Internet
7) การน าโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่ อประโยชน์ในทางการเมื อ ง (Pork –
barreling) เช่น รัฐมนตรีเ จ้าสังกัดอนุมัติโครงการไปลงในเขตพื้ นที่ เลือกตั้งตนเองเพื่อ ใช้หาเสียง
รวมถึงใส่ชื่อ ตนเองในฐานะรัฐมนตรี ส.ส. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) เพื่อแสดง
ความเป็ น เจ้าของทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ถนนที่พักรอรถประจาทางอ่างเก็บน้ าสวนสาธารณะ ทั้งนี้
เพื่อ ประโยชน์ทางการเมืองของตนเอง เป็ นต้น

 ภาพประกอบจาก Internet

แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา ผลประโยชน์ทบั ซ้อน


“ความขัดแย้ง ระหว่าง บทบาท” (Conflict of roles)
หมายความว่ า บุคคลด ารงตาแหน่ง ที่ มีบ ทบาทสองบทบาทขัด แย้งกัน เช่น
นายสมชายเป็ น กรรมการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าทางาน โดยที่บตุ รสาวของสมชายเป็ นผูส้ มัครสอบคน
หนึ่งด้วย ซึ่ง ในกรณีนี้ถือว่าเกิด “การดารงตาแหน่งอันหมิ่นเหม่ต่อการเกิดปั ญหาผลประโยชน์ทับ
ซ้อน” แต่ใน กรณีนถี้ ือว่ายังมิได้นาไปสูก่ ารกระทาความผิดแต่ประการใด
(เช่น การสอบคัดเลือกบุคคลยังมิได้เกิดขึ้นจริง หรือมีการสอบเกิดขึ้นแล้วแต่
นายสมชาย สามารถวางตัวเป็ นกลาง มิได้ช่วยเหลือ บุตรสาวของตนแต่ประการใด เป็ นต้น) กระนัน้ ก็ตาม
การดารงตาแหน่งอันหมิ่นเหม่ตอ่ การเกิดปั ญหาผลประโยชน์ทับซ้อนดังกล่าว ถือเป็ น สถานการณ์
ล่อแหลม ที่อาจจูงใจ/ชักนาให้เกิดการกระทา
เกิดผลประโยชน์ทบั ซ้อน จะต้องถอนตัวออกอย่างสมบูรณ์จากการเป็ น ผูม้ ีส่วน
ในการ ตัดสินใจ งดแสดงความคิดเห็น ละเว้นจากการให้คาปรึกษา และ งดออกเสียง (Recusal)
เช่น ในกรณี ที่ สมชายเป็ นกรรมการสอบคัด เลือกบุคลากรเข้า ท างาน โดยมี
บุตรสาวของตน สมัครเข้าร่วมสอบคัดเลือกด้วยนัน้ ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้สมชายจะต้องลาออกจาก
การเป็ น กรรมการสอบคัดเลือก เพื่อเป็ นการถอนตัวออกจากการเกี่ยวข้องกับสถานการณ์อนั หมิ่นเหม่
ต่อผลประโยชน์ทบั ซ้อนอย่างสูง
มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามรัฐธรรมนูญ
 การกาหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในตาแหน่ง
 การเพิ่มระบบและองค์การตรวจสอบการใช้อานาจ
 การมีสว่ นร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
 มาตรการคัดสรรคนดีเข้าสูต่ าแหน่งทางการเมือง
การกาหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในตาแหน่ง
 การมีประมวลจริยธรรมและการห้ามผลประโยชน์ทบั ซ้อน
 การแสดงบัญชีทรัพย์และหนีส้ ิน
 การใช้หลักโปร่งใสในการใช้อานาจ
แนวทางการปฏิบตั ติ นของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 หลักนิติธรรม  หลักการมีสว่ นร่วม
 หลักคุณธรรม  หลักความรับผิดชอบ
 หลักงความโปร่ใส  หลักความคุม้ ค่า
หลักธรรมาภิบาล และหลักค ุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบตั ิงาน
แนวทางการป้องกันและ ปราบปรามการท ุจริต (ANTI CORRUPTION)
หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร (Good Governance) หลักคุณธรรม
จริยธรรม ใน การปฏิบตั งิ าน การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ธรรมาภิบาล จะมีคาว่า integrity ค่านิยมของข้าราชการ I am ready
I = Integrity มีศักดิ์ศรี (ยึดมัน่ ในความถูกต้อง สุจริต เที่ยงธรรม)
A = Activeness ขยันตัง้ ใจทางาน (บริการ/แก้ไขปัญหาของประชาชน)
M = Morality มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
R = Relevance รูท้ นั โลก ปรับตัวทันโลก ตรงกับสังคม
E = Efficiency มุง่ เน้นประสิทธิภาพ (คุณภาพ ดัชนีประเมินผล)
A = Accountability รับผิดชอบต่อผลงาน ประชาชน
D = Democracy มีใจ/การกระทาเป็ น ประชาธิปไตย (มีสว่ นร่วม โปร่งใส)
Y = Yield มีผลงาน มุง่ เน้นผลงาน เพื่อประโยชน์สขุ ของประชาชน

เรียบเรียงข้อมูลจาก
o คณะกรรมการจริยธรรม สานักข่าวกรองแห่งชาติ คูม่ ือการป้องกันผลประโยชน์ทบั ซ้อน
o สานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คูม่ ือการพัฒนาและส่งเสริมการปฏิบตั ติ ามมาตรฐาน
ทางจริยธรรม ข้าราชการพลเรือนสาหรับคณะกรรมการจริยธรรม
o สานักงานตารวจแห่งชาติ คูม่ ือการพัฒนาและส่งเสริมการปฏิบตั งิ านเพื่อป้องกันผลประโยน์ทบั ซ้อน

You might also like