Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 24

แบบฟอร์มที่ 1 ใบสมัครขอรับรางวัลบริการ

ภาครัฐแห่งชาติ

แบบฟอร์มใบสมัครรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ
(Thailand Public Service Awards)

ประเภท  รางวัลภาพรวมมาตรฐานการบริการที่เป็ น
เลิศ

 รางวัลบูรณาการการบริการที่เป็ นเลิศ

 รางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็ นเลิศ

 รางวัลการพัฒนาการบริการที่เป็ นเลิศ

 รางวัลพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง

ชื่อผลงาน : อุปกรณ์ลดฝุ่นหิน นวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการป้ องกัน


ควบคุมโรคปอดฝุ่นหิน

ชื่อส่วนราชการ : กรมควบคุมโรค

หน่วยงาน (สำนัก/กอง/สถาบัน/กลุ่ม) : สำนักงานป้ องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัด


นครราชสีมา

ชื่อผู้ประสานงาน : นายวิเศษ วริศรางกูล ตำแหน่ง : นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญ


การพิเศษ
กลุ่ม/กลุ่มงาน : กลุ่มโรคจากการประกอบ เบอร์โทรศัพท์ : 044-212900 ต่อ 100
อาชีพและสิ่งแวดล้อม

เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 089-8459868 เบอร์โทรสาร : 044-218018

e – Mail : naipo492@gmail.com

ชื่อผู้ประสานงาน : นางนิ่มนวล ปุณย ตำแหน่ง : นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญ


หทัยพงศ์ การพิเศษ

กลุ่ม/กลุ่มงาน : กลุ่มพัฒนาองค์กร เบอร์โทรศัพท์ : 044-212900 ต่อ 128

เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 093-5596551 เบอร์โทรสาร : 044-218018

e – Mail : bonyapong@yahoo.com

ชื่อผู้ประสานงาน : นางสาวนันท์นภัส ตำแหน่ง : นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญ


สุขใจ การ

กลุ่ม/กลุ่มงาน : กลุ่มพัฒนาองค์กร เบอร์โทรศัพท์ : 044-212900 ต่อ 128

เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 087-8686013 เบอร์โทรสาร : 044-218018

e – Mail : fonitdpc5@yahoo.com

แบบฟอร์มที่ 2
แบบฟอร์มประเมินลักษณะของผลงานที่สมัครขอรับรางวัลเบื้อง
ต้น

คำอธิบาย : กรณีหน่วยงานขอรับรางวัลประเภทรางวัลภาพรวมมาตรฐานการบริการที่
เป็ นเลิศ รางวัลบูรณาการการบริการที่เป็ นเลิศ
รางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็ นเลิศ และรางวัลการพัฒนาการบริการที่เป็ น
ชื่อผลงาน : อุปกรณ์ลดฝุ่นหิน นวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการป้ องกัน

ควบคุมโรคปอดฝุ่นหิน

ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานป้ องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา

รางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็ นเลิศ

โปรดทำเครื่องหมาย  ในคุณสมบัติดังต่อไปนี้ที่ตรงกับผลงานของ
ท่าน (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)

 เป็ นผลงานที่มีการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/จดลิขสิทธิ์

 เป็ นผลงานที่มีการนำเทคนิคการบริหารจัดการ เครื่องมือ หลัก

การใหม่ ๆ มาใช้ แล้วทำให้ เกิดกระบวนการทำงานใหม่

 เป็ นผลงานที่มีการนำเทคนิคการบริหารจัดการ เครื่องมือ หลัก

การใหม่ ๆ มาใช้ แล้วทำให้ เกิดงานบริการหรือรูปแบบการให้

บริการใหม่

 เป็ นผลงานที่คิดค้นมาไม่เกิน 3 ปี

 เป็ นผลงานที่มีการนำผลงานไปใช้แล้วจริงเป็ นระยะเวลาไม่น้อย

กว่า 1 ปี และได้รับการ ยอมรับจากสาธารณะ

 เป็ นผลงานมีผลต่อประสิทธิภาพและคุณภาพของระบบการ

บริหารจัดการและการให้บริการ ประชาชน

 เป็ นผลงานสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ที่ไม่เคยมีในเมืองไทยมาก่อน

 เป็ นผลงานที่มีลักษณะบูรณาการงานบริการจากหลายหน่วย

งานมาให้บริการในสถานที่เดียว
 เป็ นผลงานที่มีลักษณะเป็ นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ

การสื่อสารมาใช้ในการให้บริการ

(e-Service)

 เป็ นผลงานที่มีลักษณะเป็ นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่มี

ประสิทธิภาพในการให้บริการ

 เป็ นผลงานที่มีลักษณะเป็ นการพัฒนาระบบจัดการข้อร้องเรียน

ที่มีประสิทธิภาพและการ ให้บริการเชิงรุก

 เป็ นผลงานที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใสในการ

ปฏิบัติราชการ

แบบฟอร์มที่ 3
แบบฟอร์มรายงานผลการดำเนินการ

แบบฟอร์มบทสรุปสาระสำคัญของผลงานที่เสนอขอรับรางวัล
(Executive Summary)

ประเภทรางวัล : รางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็ นเลิศ

ชื่อผลงาน : อุปกรณ์ลดฝุ่นหิน นวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการ

ป้ องกันควบคุมโรคปอดฝุ่นหิน
ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานป้ องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา

สรุปผลงานโดยย่อ :
โปรดสรุปเนื้อหาของผลงาน โดยมีความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ A 4
ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 โดยครอบคลุมหัวข้อ ดังนี้
1. สภาพการปฏิบัติงานเดิม
โรคซิลิโคสิสหรือโรคปอดฝุ่นหิน เป็ นโรคจากการประกอบอาชีพที่
เกิดจากการหายใจฝุ่นหินซิลิกาเข้าไปทำให้ปอดอักเสบและเกิดเนื้อพังผืด
การป้ องกันควบคุมโรคซิลิโคสีสตามที่องค์การอนามัยโลก และองค์การ
แรงงานระหว่างประเทศ ได้สรุปบทเรียนและเสนอมาตรการป้ องกัน
ควบคุมโรคซิลิโคสีสที่มีประสิทธิภาพคือ 1) มาตรการระดับปฐมภูมิ ได้แก่
การควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่น การเฝ้ าระวังสภาพแวดล้อมการทำงาน การ
ประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ การเฝ้ าระวังสภาวะสุขภาพของคนทำงาน
เพื่อวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มแรก 2) มาตรการระดับทุติยภูมิ ได้แก่ พัฒนา
ทักษะการอ่านฟิ ล์มมาตรฐาน และระบบเฝ้ าระวังสภาวะสุขภาพคนทำงาน
โดยปั จจุบันมีพื้นที่ 6 ตำ บล ของอำ เภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีผู้
ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินทรายที่เป็ นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคซิลิโคสีส
ตั้งแต่ปี 2550 - 2556 ประมาณ 8,000 ราย ได้รับการเอ๊กซ์เรย์ปอดด้วย
ฟิ ล์มมาตรฐาน 1,587 ราย ได้รับการวินิจฉัยและขึ้นทะเบียนเป็ นผู้ป่ วยโรค
ซิลิโคสีส 70 ราย และเสียชีวิต 2 ราย ซึ่งมีขนาดของปั ญหาและความ
รุนแรงสูงมาก อีกทั้งพบว่ามีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพจำนวนมากได้นำหินมา
แปรรูปในบ้านหรือที่พักอาศัยทำให้สมาชิกครอบครัว เช่น เด็ก คนชรา ได้
รับสัมผัสฝุ่นหินทรายในขณะอาศัยอยู่ในบ้าน ทำให้เสี่ยงต่อการหายใจเอา
ฝุ่นหินทรายเข้าไปและป่ วยเป็ นโรคในระยะต่อมาได้ มาตรการป้ องกัน
ควบคุมโรคที่สำคัญคือ การลดปริมาณฝุ่นที่แหล่งกำเนิด โดยการควบคุม
การฟุ้งกระจายของฝุ่นด้วยอุปกรณ์ลดฝุ่นที่เครื่องตัดหินแบบสะพาย และ
ลดฝุ่นในที่พักอาศัยด้วยการพัฒนาปรับปรุงบ้านตามเกณฑ์การปรับปรุง
สภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้าน ซึ่งจะลดความเสี่ยงในการรับฝุ่นเข้าสู่
ร่างกายและความเสี่ยงต่อการป่ วยด้วยโรคซิลิโคสีสลง

2. แนวทางในการปรับปรุงบริการ
จากปั ญหาของโรคซิลิโคสีส ที่มีผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่น
หินทรายและคนในครอบครัวที่เป็ นกลุ่มเสี่ยงจำนวนมากและเป็ นโรคที่มี
ความรุนแรงสูงคือไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องรักษาตามอาการและ
ใช้ค่ารักษามาก อุปกรณ์ลดฝุ่นมีราคาแพง และมีการนำหินมาแปรรูปใน
ที่พักอาศัยทำ ให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มขึ้น ดังนั้น สำ นักงาน
ป้ องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา (สคร.5) จึงได้มีแนวคิดในการ
จัดทำ ต้นแบบ “อุปกรณ์ลดฝุ่นหิน” ที่มีความเหมาะสมกับสภาพการ
ทำงาน ไม่ต้องพึ่งแหล่งพลังงานไฟฟ้ า สามารถทำได้ง่ายด้วยตนเอง ต้นทุน
ต่ำ ซึ่งลดฝุ่นได้เป็ นอย่างดี และดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายที่
เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงที่พักอาศัยของผู้ประกอบอาชีพสัมผัสฝุ่นหินให้เป็ น
“บ้านต้นแบบปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลซิลิโคสีส” ซึ่งจะนำไปสู่การ
ป้ องกันควบคุมโรคซิลิโคสีสที่มีประสิทธิภาพต่อไป

3. สภาพการปฏิบัติงานหลังการปรับปรุงบริการ
ผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินทรายที่นำอุปกรณ์ลดฝุ่นหินไปใช้ มี
ความพึงพอใจกับวิธีการใช้งานในระดับมากที่สุด (มากกว่าเท่ากับร้อยละ
90) รองลงมาคือการลดฝุ่น มีความพึงพอใจในระดับมาก (มากกว่าเท่ากับ
ร้อยละ 80) และสิ่งที่มีความพึงพอใจในระดับพอใช้คือ น้ำหนักของอุปกรณ์
และความทนทาน ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจผลงานเป็ นจำนวนมาก เมื่อประเมิน
ความคุ้มค่าเปรียบเทียบกับราคาต้นทุนการผลิตของอุปกรณ์ลดฝุ่นหินที่มี
จำ หน่ายทั่วไป โดยอุปกรณ์ลดฝุ่นชุดละประมาณ 10,000 บาท แต่
นวัตกรรมอุปกรณ์ลดฝุ่นหินมีต้นทุนการผลิตชุดละประมาณ 2,000 บาท มี
น้ำ หนักเบากว่าอุปกรณ์ลดฝุ่นอื่ น ไม่ต้องใช้ไฟฟ้ าในการใช้งาน มี
ประสิทธิภาพการลดฝุ่นได้เป็ นอย่างดี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50) และบ้านที่
อยู่อาศัยของผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหิน ผ่านเกณฑ์การปรับปรุงสภาพ
แวดล้อมการทำงานที่บ้าน (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)

4. ประโยชน์ที่ได้รับ
ประโยชน์ที่สำคัญของอุปกรณ์ลดฝุ่นหินคือ ผู้ประกอบอาชีพที่
สัมผัสฝุ่นหินทรายสามารถนำอุปกรณ์ไปใช้ในการลดฝุ่นจากการตัดหิน และ
นำไปเป็ นต้นแบบในการประดิษฐ์อุปกรณ์ลดปริมาณฝุ่นและควบคุมการฟุ้ง
กระจายของฝุ่นหินได้เอง รวมทั้งสามารถปรับปรุงสภาพที่ทำงานและที่อยู่
อาศัยให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้ องกันควบคุมโรคซิลิโคสีส
ในพื้นที่เสี่ยง และนำนวัตกรรมอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน และการพัฒนาบ้านปลอด
โรคปลอดภัยห่างไกลซิลิโคสีส ไปใช้เป็ นแนวทางในการดำเนินงานป้ องกัน
ควบคุมโรคซิลิโคสีสที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ รวมทั้งผู้ประกอบอาชีพที่
สัมผัสฝุ่นหินและหน่วยงานเครือข่ายนำไปใช้เป็ นต้นแบบอุปกรณ์ในการลด
ฝุ่นได้เป็ นอย่างดี

5. จุดเด่นของผลงาน และปั จจัยความสำเร็จ


มุ่งเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับหน่วยงานอื่นภาครัฐ เอกชน
และชุมชนทุกระดับ ทั้งระดับเขต จังหวัด อำเภอ และตำบล ในการพัฒนา
อุปกรณ์ลดฝุ่นจากเครื่ องตัดหินแบบสะพาย และพัฒนาปรับปรุงบ้านผู้
ประกอบอาชีพสัมผัสฝุ่นหินให้เป็ น “บ้านต้นแบบปลอดโรคปลอดภัยห่าง
ไกลซิลิโคสีส” โดยการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม “อุปกรณ์ลดฝุ่น
หิน” ติดตั้งที่เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายที่ผู้ประกอบอาชีพสัมผัสฝุ่นหินนำ
มาใช้ในลดฝุ่นหินจากการตัดหิน และการพัฒนา “บ้านปลอดโรคปลอดภัย
ห่างไกลซิลิโคสีส” ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อ
ปรับปรุงที่พักอาศัยของผู้ประกอบอาชีพสัมผัสฝุ่นหินตามเกณฑ์การ
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน ช่วยลดความเสี่ยงในการรับฝุ่นเข้าสู่
ร่างกายและลดความเสี่ยงต่อการป่ วยด้วยโรคซิลิโคสีสลงได้

แบบฟอร์มรายงานผลการดำเนินการ

1. ปั ญหา และสภาพการปฏิบัติงานเดิมก่อนที่จะริเริ่มการปรับปรุง
(อธิบาย ความเป็ นมา ปั ญหา และความสำคัญที่นำมาสู่การริเริ่มกิจกรรม/โครงการ
เพื่อการแก้ปั ญหา โดยให้เขียนประเด็นที่เป็นหัวใจสำคัญ แนวโน้ม และเงื่อนไขของสถานการณ์
รวมทั้งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบด้วย) (ความยาวไม่เกิน 700 คำ)
โรคซิลิโคสิสหรือโรคปอดฝุ่ นหิน เป็ นโรคจากการประกอบอาชีพ
ที่เกิดจากการหายใจฝุ่ นหินซิลิกาเข้าไปทำให้ปอดอักเสบและเกิดเนื้อ
พังผืด การป้ องกันควบคุมโรคซิลิโคสีสตามที่องค์การอนามัยโลก
(World Health Organization: WHO) และองค์การแรงงานระห ว่าง
ประเทศ (International Labour Organization: ILO) ได้สรุปบทเรียน
และเสนอมาตรการป้ องกันควบคุมโรคซิลิโคสีสที่มีประสิทธิภาพคือ 1)
มาตรการระดับปฐมภูมิ ได้แก่ การควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่ น เฝ้ าระวัง
สภาพแวดล้อมการทำงาน ประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ เฝ้ าระวัง
สภาวะสุขภาพของคนทำ งานเพื่อวินิจฉั ยตั้งแต่ระยะเริ่มแรก 2)
มาตรการระดับทุติยภูมิ ได้แก่ พัฒนาทักษะการอ่านฟิล์มมาตรฐาน และ
ระบบเฝ้ าระวังสภาวะสุขภาพคนทำงาน โดยปัจจุบันมีพื้นที่ 6 ตำบล
ของอำ เภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่ น
หินทรายที่เป็ นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคซิลิโคสีส ตั้งแต่ปี 2550-2556
ประมาณ 8,000 ราย ได้รับการเอ๊กซ์เรย์ปอดด้วยฟิล์มมาตรฐาน 1,587
ราย ได้รับการวินิจฉัยและขึ้นทะเบียนเป็ นผู้ป่ วยโรคซิลิโคสีส 70 ราย
และเสียชีวิต 2 ราย ซึ่งมีขนาดของปัญหาและความรุนแรงสูงมาก อีก
ทั้งพบว่ามีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพจำนวนมากได้นำหินมาแปรรูปในบ้าน
หรือที่พักอาศัย ทำให้สมาชิกครอบครัว เช่น เด็ก คนชรา ได้รับสัมผัส
ฝุ่ นหินทรายในขณะอาศัยอยู่ในบ้าน ทำให้เสี่ยงต่อการหายใจเอาฝุ่ น
หินทรายเข้าไปและป่ วยเป็ นโรคได้ ซึ่งพบเด็กที่มีผลการตรวจเอ๊กซ์เรย์
ปอดผิดปกติเข้าได้กับโรคซิลิโคสีส 1 ราย มาตรการป้องกันควบคุมโรค
ที่สำคัญคือ การลดปริมาณฝุ่ นในสภาพแวดล้อมที่ทำงาน ควบคุมการ
ฟุ้ งกระจายของฝุ่ นด้วยอุปกรณ์ลดฝุ่ นที่เครื่องตัดหินแบบสะพาย และ
ลดฝุ่ นในที่พักอาศัยด้วยการพัฒนาปรับปรุงบ้านตามเกณฑ์การปรับปรุง
สภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้าน จึงมีความสำคัญและมีผลในการลด
ปริมาณฝุ่ นในที่ทำงานและที่บ้าน ส่งผลต่อการลดความเสี่ยงในการรับ
ฝุ่ นเข้าสู่ร่างกายและความเสี่ยงต่อการป่ วยด้วยโรคซิลิโคสีสลงได้

รูปที่ 1 พื้นที่เสี่ยงต่อโรคซิลิโคสีสที่มีผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินทราย
ต.หนองน้ำใส อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
โรคซิลิโคสีสเป็ นโรคที่มีอันตรายอย่างยิ่งคือเป็ นโรคที่ไม่สามารถรักษา
ให้หายขาดได้ ดังนั้น การป้ องกันก่อนการเกิดโรคจึงเป็ นสิ่งที่มีความสำคัญ
มาก ประกอบด้วย การป้ องกันทางสุขภาพและป้ องกันทางสิ่งแวดล้อม

ผังการดำเนินงานป้ องกันควบคุมโรคซิลิโคสีส

1. การป้ องกันทางสุขภาพ 2. การป้ องกันทางสิ่ง

เฝ้ าระวังสภาวะสุขภาพของ แวดล้อม


เฝ้ าระวังสภาพแวดล้อมการ
คนทำงาน (ก่อน
ตรวจสุขภาพพนักงาน ทำงาน
ควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่นและคน
ปฏิบัติงาน/ ปี ละ 1-2 ที่ทำงาน
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ครั้ง/ เมื่อมีอาการ) ทำงาน
แพทย์วินิจฉัยว่าป่ วยด้วยโรค
ซิลิโคสิส
รักษาตามอาการแทรกซ้อน

รูปที่ 2 แผนผังการดำเนินงานป้ องกันควบคุมโรคซิลิโคสีส

จากปั ญหาของโรคซิลิโคสีส ที่มีผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินทราย


และคนในครอบครัวที่เป็ นกลุ่มเสี่ยงจำนวนมากและเป็ นโรคที่มีความรุนแรง
สูงคือไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องรักษาตามอาการและใช้ค่ารักษา
มาก อุปกรณ์ลดฝุ่นที่มีราคาแพงและไม่เหมาะต่อการนำไปใช้งาน รวมทั้งมี
การนำหินมาแปรรูปในที่พักอาศัยทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มมาก
ขึ้น ดังนั้น สำนักงานป้ องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา (สคร.5)
จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำต้นแบบ “อุปกรณ์ลดฝุ่นหิน” ที่มีความเหมาะ
สมกับสภาพการทำงาน สามารถลดฝุ่นได้เป็ นอย่างดี ไม่ต้องใช้พลังงาน
ไฟฟ้ า สามารถทำได้ง่ายด้วยตนเองโดยใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายและต้นทุนต่ำ
และการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุง
ที่พักอาศัยของผู้ประกอบอาชีพสัมผัสฝุ่นหินให้เป็ น “บ้านต้นแบบปลอด
โรค ปลอดภัย ห่างไกลซิลิโคสีส” ซึ่งจะนำไปสู่การป้ องกันควบคุมโรคซิลิโค
สีสที่มีประสิทธิภาพต่อไป
2. ผู้นำเสนอแนวทางการแก้ปั ญหา ผู้ดำเนินการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ของโครงการ
(ระบุว่าใครมีส่วนร่วมในการออกแบบและ/หรือดำเนินการ ให้รวมถึงผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ
ทั้ง ข้าราชการ หน่วยงานของรัฐ สถาบัน ประชาชน องค์กรเอกชน ภาคเอกชน ฯลฯ) (ความ
ยาวไม่เกิน 700 คำ)

สคร.5 จังหวัดนครราชสีมา จึงหาแนวทางการแก้ปั ญหา ได้คิดค้น


และประดิษฐ์ต้นแบบ “อุปกรณ์ลดฝุ่นหิน” ขึ้น เพื่อเป็ นอุปกรณ์ที่ใช้ใน
การลดปริมาณฝุ่นและควบคุมการฟุ้งกระจายของฝุ่น ด้วยอุปกรณ์ลดฝุ่นที่
ติดตั้งที่เครื่องตัดหินแบบสะพาย และการลดฝุ่นในที่พักอาศัยโดยร่วมกับ
หน่วยงานเครือข่าย ได้แก่ โรงพยาบาลสีคิ้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลหนองน้ำใส องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา และภาคเอกชน ดำเนินการพัฒนาตาม
เกณฑ์การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้าน ซึ่งส่งผลต่อการลด
ความเสี่ยงในการรับฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย และลดความเสี่ยงต่อการป่ วยด้วยโรค
ซิลิโคสีสลง โดยมีแนวคิดคือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบอาชีพ
ที่สัมผัสฝุ่นหินทรายสามารถนำต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหินไปประดิษฐ์ใช้เอง
ได้โดยใช้วัสดุที่หาได้ทั่วไป รวมทั้งนำไปปรับปรุงสภาพที่ทำงานและที่อยู่
อาศัยเพื่อลดปริมาณฝุ่นต่อไป
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการใช้นวัตกรรมนี้คือ ผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัส
ฝุ่นหินทราย ตามที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้กำหนดแนว
ปฏิบัติเรื่ องระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (ILO-
OSHMS 2001) ซึ่งสามารถนำระบบการจัดการไปใช้ในการลดความเสี่ยง
ต่ออันตรายและอุบัติเหตุต่างๆ ของผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง ถือเป็ นสิทธิ
ขั้นพื้นฐานและเป็ นบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.
2550 พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมใน
การทำงาน พ.ศ. 2554 และกฎหมายอื่นๆ อีกหลายฉบับ
3. ผลงานที่เป็ นความคิดริเริ่มในการพัฒนาคุณภาพการบริการ
(ให้อธิบายให้เห็นถึงสิ่งที่เป็นความคิดริเริ่มในการพัฒนาบริการ และแนวทางการแก้
ปัญหาที่เป็นรูปแบบใหม่ ระบุแนวคิด/แรงบันดาลใจที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มที่ทำให้การ
ปรับปรุงบริการประสบความสำเร็จ (ความยาวไม่เกิน 1,400 คำ)

ด้วยสถานการณ์โรคซิลิโคสีสในพื้นที่รับผิดชอบที่มีขนาดจำนวนผู้ป่ วย
เพิ่มสูงขึ้นทุกปี และเป็ นโรคที่มีความรุนแรงสูงคือ ไม่สามารถรักษาให้
หายขาดได้ ต้องรักษาตามอาการและใช้ค่ารักษามากตลอดชีวิต รวมทั้ง
อุปกรณ์ลดฝุ่นที่มีราคาแพงและไม่เหมาะต่อการนำไปใช้งาน และมีการนำ
หินมาแปรรูปในที่พักอาศัยทำให้คนในครอบครัว เด็ก คนชรา มีความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้น มาตรการที่สำคัญในการป้ องกันควบคุมโรคคือ
การลดปริมาณฝุ่นที่แหล่งกำเนิดด้วยวิธีทางวิศวกรรม ดังนั้น สคร.5 จังหวัด
นครราชสีมา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา จึงได้
พัฒนาต้นแบบ “อุปกรณ์ลดฝุ่นหิน” ซึ่งใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีใน
การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่าย ทนทาน น้ำหนักเบา
และราคาไม่แพง นำมาติดตั้งที่เครื่ องตัดหญ้าแบบสะพายซึ่งผู้ประกอบ
อาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินใช้ในการตัดหิน ซึ่งอุปกรณ์ลดฝุ่นหินที่ติดตั้งที่เครื่อง
ตัดหินแบบสะพายจะช่วยลดฝุ่นที่เกิดจากการตัดหินและควบคุมการฟุ้ง
กระจายของฝุ่น มีความเหมาะสมกับสภาพการทำงาน ไม่ต้องพึ่งแหล่ง
พลังงานไฟฟ้ า ผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สามารถนำต้นแบบที่จัดทำขึ้น ไปสร้างอุปกรณ์ลดฝุ่นหินได้ง่ายด้วยตนเอง
โดยใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายและต้นทุนต่ำ ซึ่งสามารถลดฝุ่นได้เป็ นอย่างดี (ไม่
น้อยกว่าร้อยละ 50) และเนื่ องจากมีการนำหินมาแปรรูปในที่พักอาศัย
ทำให้ผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินทรายและบุคคลในครอบครัวมีความ
เสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้น จึงต้องมีการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงาน
เครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ปรับปรุงที่พักอาศัยของผู้ประกอบอาชีพที่
สัมผัสฝุ่นหินให้เป็ น “บ้านต้นแบบปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลซิลิโค
สีส” เพื่อลดฝุ่นในที่พักอาศัยด้วยการพัฒนาปรับปรุงบ้านตามเกณฑ์การ
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้าน (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80) การ
พัฒนานวัตกรรมการบริการและแนวทางการแก้ปั ญหาดังกล่าว จึงมีความ
สำคัญและมีผลในการลดปริมาณฝุ่นในที่ทำงานและที่บ้าน ซึ่งส่งผลต่อการ
ลดความเสี่ยงในการรับฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย ลดความเสี่ยงต่อการป่ วยด้วยโรคซิ
ลิโคสีสของผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินและบุคคลในครอบครัวลง นำไป
สู่การป้ องกันควบคุมโรคซิลิโคสีสที่มีประสิทธิภาพต่อไป

4. กลยุทธ์ที่นำมาใช้ให้การพัฒนาบริการประสบผลสำเร็จ
(สรุปวัตถุประสงค์หลักและกลยุทธ์ที่ใช้ว่ามีวิธีการอย่างไร และแผนปฏิบัติการใน
การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ใครเป็ นผู้ดำเนินการ) (ความยาวไม่เกิน 1,400 คำ)

วัตถุประสงค์ของการพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน เพื่ อเพิ่ม


ประสิทธิภาพการป้ องกันควบคุมโรคซิลิโคสีสหรือโรคปอดฝุ่นหิน โดยการ
พัฒนาอุปกรณ์ลดฝุ่นจากเครื่ องตัดหินแบบสะพาย และพัฒนาปรับปรุง
ที่พักอาศัยของผู้ประกอบอาชีพสัมผัสฝุ่นหินให้เป็ นบ้านต้นแบบปลอดโรค
ปลอดภัย ห่างไกลซิลิโคสีส
สคร.5 จังหวัดนครราชสีมา โดยบุคลากรกลุ่มโรคจากการประกอบ
อาชีพและสิ่งแวดล้อม เป็ นผู้ดำเนินการ ได้ออกแบบแนวทางแก้ไขปั ญหาที่
พบจากการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ในการป้ องกันควบคุมโรคซิลิโคสีสในพื้นที่
เขตสุขภาพที่ 9 รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์
และสุรินทร์ จากการประเมินสถานการณ์การดำเนินงานเฝ้ าคุมเฝ้ าระวังโรค
ซิลิโคสีส ใช้กรอบกิจกรรมตามคู่มือการปฏิบัติงานสำ หรับเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขเรื่ องการเฝ้ าคุม/เฝ้ าระวังโรคซิลิโคสีส ได้แก่ การเฝ้ าคุมเฝ้ า
ระวังด้านสิ่งแวดล้อมในการทำ งาน และการเฝ้ าระวังด้านสุขภาพ พบ
ปั ญหาคือ มีค่าใช้จ่ายในการป้ องกันควบคุมโรคสูง ทั้งค่าอุปกรณ์ในการ
ป้ องกันฝุ่น ค่าตรวจสุขภาพ ค่ารักษาพยาบาล จึงมีการปรับเปลี่ยนวิธีการ
ทำ งาน โดยมุ่งเน้นการทำ งานแบบมีส่วนร่วมกับหน่วยงานอื่ นภาครัฐ
เอกชนและชุมชนทุกระดับ ทั้งระดับเขต จังหวัด อำ เภอและตำ บล
ประกอบด้วย สำนักงานป้ องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา (สค
ร.5) ศูนย์ความปลอดภัยแรงงานเขต (ศปร.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (
สสจ.) โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) โรงพยาบาล
ท้องถิ่น (รพท.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สอ.) ปสจ. สรจ. อจ. โรง
พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุร
นารี โดย สคร.5 จังหวัดนครราชสีมา จัดทำโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการ
ป้ องกันและควบคุมโรคปอดฝุ่นหิน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ปี
2558 ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ในการพัฒนาอุปกรณ์ลดฝุ่นจาก
เครื่องตัดหินแบบสะพาย และพัฒนาปรับปรุงบ้านผู้ประกอบอาชีพสัมผัส
ฝุ่นหินให้เป็ น “บ้านต้นแบบปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลซิลิโคสีส” มีราย
ละเอียดดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม “อุปกรณ์ลดฝุ่น
หิน” ติดตั้งที่เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายที่ผู้ประกอบอาชีพสัมผัสฝุ่นหินนำ
มาใช้ในการตัดหิน เพื่อใช้ในการลดฝุ่นหินที่เกิดจากการตัดหิน โดยมีแผน
ปฏิบัติการประกอบด้วย การประเมินปริมาณฝุ่นจากการการตัดหินด้วย
เครื่ องตัดหญ้าแบบสะพายที่ยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ลดฝุ่น มีการจัดทำ
ต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง น้ำหนักเบา
และเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการทำงาน ไม่ต้องพึ่งแหล่งพลังงานไฟฟ้ า
แล้วนำมาทดสอบใช้อุปกรณ์ลดฝุ่นติดตั้งที่เครื่องตัดหญ้าแบบสะพาย มีการ
ปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน จากนั้นมีการประเมิน
ปริมาณฝุ่นจากการการตัดหินด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายขณะติดตั้ง
อุปกรณ์ลดฝุ่น และประเมินประสิทธิภาพการลดฝุ่นของอุปกรณ์ลดฝุ่นจาก
เครื่องตัดหญ้าแบบสะพาย เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของอุปกรณ์ลดฝุ่น
รวมทั้งมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้อุปกรณ์
รูปที่ 3 ต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน
กลยุทธ์ที่ 2. การพัฒนา “บ้านปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลซิลิโค
สีส” ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องปรับปรุงที่พักอาศัย
ของผู้ประกอบอาชีพสัมผัสฝุ่นหิน ตามเกณฑ์การปรับปรุงสภาพแวดล้อม
การทำงาน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการรับฝุ่นเข้าสู่ร่างกายและลดความ
เสี่ยงต่อการป่ วยด้วยโรคซิลิโคสีสลง มีแผนปฏิบัติการประกอบด้วย การคัด
เลือกบ้านผู้ประกอบอาชีพทำหินทรายในพื้นที่ตำบลหนองน้ำใส อำเภอ
สีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ที่มีการตัดหินและนำหินมาแปรรูปในบ้านหรือ
ที่พักอาศัย มีการประเมินสภาพแวดล้อมก่อนการพัฒนาปรับปรุงบ้าน จาก
นั้นดำ เนินการปรับปรุงบ้านที่พักอาศัยตามเกณฑ์การปรับปรุงสภาพ
แวดล้อมการทำงานที่บ้าน และมีการประเมินหลังการพัฒนาปรับปรุงบ้าน
ที่พักอาศัย เพื่ อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการ
ทำงานที่บ้าน

รูปที่ 4 การพัฒนา “บ้านปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลซิลิโคสีส”

5. ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินการ
(ระบุทรัพยากรทั้งด้านการเงิน เทคนิค ทรัพยากรบุคคล ผู้สนับสนุนทางการเงินของ
การดำเนินโครงการและอธิบาย วิธีการจัดสรรหรือกระจายทรัพยากร) (ความยาวไม่เกิน 700
คำ)

ทรัพยากรด้านการเงิน
1. การพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน และการพัฒนาปรับปรุงบ้าน
ปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลซิลิโคสีส ตามเกณฑ์การปรับปรุงสภาพ
แวดล้อมการทำงานที่บ้าน ใช้งบประมาณจากสคร.5 จังหวัดนครราชสีมา
โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการป้ องกันและควบคุมโรคปอดฝุ่นหิน อำเภอ
สีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดทำต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน และเครื่องตัด
หินแบบสะพาย ใช้งบประมาณจากสคร.5 จังหวัดนครราชสีมา โครงการ
พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์กรให้ได้มาตรฐานสากล
ทรัพยากรด้านบุคคล
1. ผู้ดำเนินการคือ บุคลากรกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง
แวดล้อม สคร.5 จังหวัดนครราชสีมา มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบด้านการ
เฝ้ าระวังป้ องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
สนับสนุนถ่ายทอดองค์ความรู้ ประเมินมาตรฐาน นิเทศติดตามการดำเนิน
งานป้ องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขต
บริการสุขภาพที่ 9 (จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์)
2. ผู้ร่วมพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบลดฝุ่นหินคือ อาจารย์จาก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา ซึ่งใช้องค์ความรู้และ
เทคโนโลยีในการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน โดยใช้วัสดุที่
หาได้ง่าย ราคาไม่แพง ทนทาน และมีน้ำหนักเบา ติดตั้งที่เครื่องตัดหญ้า
แบบสะพายซึ่งผู้ประกอบอาชีพใช้ในการตัดหิน มีการทดสอบการใช้งาน
อุปกรณ์ลดฝุ่นหินและปรับปรุงให้เหมาะสมต่อการใช้งาน มีการประเมิน
ประสิทธิภาพการลดฝุ่นของอุปกรณ์ลดฝุ่นหินจากเครื่องตัดหญ้าแบบ
สะพาย ซึ่งมีประสิทธิภาพการลดฝุ่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
3. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง
แวดล้อม และผู้ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบอาชีพสัมผัสฝุ่นหิน
ของหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้แก่ โรงพยาบาลสีคิ้ว โรง
พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองน้ำใส องค์การบริหารส่วนตำบลหนอง
น้ำใส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา และภาคเอกชน ร่วมกัน
พัฒนาปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัยของผู้ประกอบอาชีพสัมผัสฝุ่นหิน ตามเกณฑ์
การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้าน เพื่อลดปริมาณฝุ่นในที่
ทำงานและที่บ้านตามเกณฑ์ประเมินบ้านปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลซิลิ
โคสีส ซึ่งผ่านเกณฑ์การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้านร้อยละ
80

6. ขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาการบริการและการนำไปปฏิบัติ
6.1 ลำดับขั้นตอนในการพัฒนา
(อธิบายขั้นตอนและลำดับเหตุการณ์การดำเนินงานหลักในการริเริ่มพัฒนาการ
บริการจนถึงขั้นวางแผนการพัฒนา) (ความยาวไม่เกิน 700 คำ)

ก่อนการดำเนินงาน
(1) วิเคราะห์ปั ญหาจากข้อมูลการดำเนินงานป้ องกันควบคุมโรคซิลิ
โคสีสในพื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 9 ปี พ.ศ. 2545 - 2556 มีการปรับ
เปลี่ยนวิธีการทำงาน โดยมุ่งเน้นการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นเป็ นเครือ
ข่าย การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การสร้างความรู้ความเข้าใจกับเครือข่าย
และกลุ่มเป้ าหมาย การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเฝ้ าระวังโรค มีการเฝ้ า
คุมเฝ้ าระวังด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และการเฝ้ าระวังด้านสุขภาพ มี
การสำรวจข้อมูลสถานการณ์โรคซิลิโคสิส และสถานประกอบการที่ดำเนิน
การเฝ้ าระวังโรคซิลิโคสีส ซึ่งพบผู้ป่ วย ผู้เสียชีวิต และกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้นทุกปี
(2) วางแผนการแก้ไขปั ญหาร่วมกันกับทีมงานและหน่วยงานเครือ
ข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการคิดค้นหาวิธีการและแนวทางการแก้ไขปั ญหาที่เกิด
ขึ้น
(3) เขียนโครงการของบประมาณ โดยมีการประชุมของกลุ่มงาน
คณะทำงาน และผู้บริหารของสคร.5 จังหวัดนครราชสีมา ในการพิจารณา
โครงการ โดยงบประมาณของโครงการจะใช้สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี
การป้ องกันและควบคุมโรคปอดฝุ่นหิน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
การพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน และการพัฒนาปรับปรุงบ้านปลอด
โรค ปลอดภัย ห่างไกลซิลิโคสีส ตามเกณฑ์การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการ
ทำงานที่บ้าน และประเมินผลการดำเนินงาน
การดำเนินการและลำดับขั้นตอนในการพัฒนา
(1) ดำเนินงานวางแผนตามโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการป้ องกัน
ควบคุมโรคปอดฝุ่นหิน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา การจัดทำเอกสาร
วิชาการ คู่มือการจัดทำอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน ประเมินผล และสรุปบทเรียน
(2) จัดทำต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน
(2.1) การจัดทำต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหินที่เหมาะสม โดยใช้วัสดุ
ที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง น้ำหนักเบา ไม่ต้องพึ่งแหล่งพลังงานไฟฟ้ า และ
เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการทำงาน แล้วนำมาทดสอบใช้อุปกรณ์ลดฝุ่น
โดยติดตั้งที่เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายที่ผู้ประกอบอาชีพใช้ในการตัดหิน
จากนั้นมีการประเมินปริมาณฝุ่นจากการตัดหินด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบ
สะพายขณะติดตั้งอุปกรณ์ลดฝุ่น และประเมินประสิทธิภาพการลดฝุ่นของ
อุปกรณ์ลดฝุ่นจากเครื่องตัดหญ้าแบบสะพาย เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผล
ของอุปกรณ์ลดฝุ่น รวมทั้งมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้อุปกรณ์ลด
ฝุ่นหิน
(2.2) ทำการทดสอบต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน มีการนำต้นแบบ
อุปกรณ์ลดฝุ่นหินไปใช้ โดยติดตั้งที่เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายที่ผู้ประกอบ
อาชีพใช้ในการตัดหิน มีการปรับปรุงพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหินให้
เหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน และใช้งานได้สะดวก มีการประเมินความพึง
พอใจของผู้ใช้อุปกรณ์ โดยมีผลการประเมินประสิทธิภาพการลดฝุ่นหินไม่
น้อยกว่าร้อยละ 50
(3) พัฒนาปรับปรุงบ้านปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลซิลิโคสีส ตาม
เกณฑ์การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้าน
(3.1) การนำเกณฑ์การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้าน
มาใช้ เนื่องจากมีการนำหินมาแปรรูปในที่พักอาศัย ทำให้ผู้ประกอบอาชีพ
ที่สัมผัสฝุ่นหินทรายและบุคคลในครอบครัวมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่ม
มากขึ้น
(3.2) มีการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ ให้มี
การนำเกณฑ์การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้านมาใช้ เพื่อ
ปรับปรุงที่พักอาศัยของผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินทรายให้เป็ น “บ้าน
ต้นแบบปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลซิลิโคสีส” ลดฝุ่นในที่พักอาศัย โดย
ผ่านเกณฑ์การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้านร้อยละ 80

6.2 ลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติ
(อธิบายขั้นตอนและลำดับเหตุการณ์การดำเนินงานหลักในการปฏิบัติตามแผนงาน
โครงการ) (ความยาวไม่เกิน 700 คำ)

ในปี 2558 มีการจัดทำโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการป้ องกันและ


ควบคุมโรคปอดฝุ่นหิน อำ เภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เพื่ อพัฒนา
เทคโนโลยีการป้ องกันและควบคุมโรคปอดฝุ่นหิน ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ
ทำหิน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีการริเริ่มการพัฒนาอุปกรณ์ลด
ฝุ่นจากเครื่องตัดหินแบบสะพาย และการพัฒนาบ้านปลอดโรค ปลอดภัย
ห่างไกลซิลิโคสีส ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1. การพัฒนาอุปกรณ์ลดฝุ่นจากเครื่องตัดหินแบบสะพาย
ประกอบด้วยกิจกรรม 1) การประเมินปริมาณฝุ่นจากการการตัดหินด้วย
เครื่ องตัดหญ้าแบบสะพายที่ยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ลดฝุ่น 2) การพัฒนา
อุปกรณ์ลดฝุ่นติดตั้งที่เครื่องตัดหญ้าแบบสะพาย 3) ทดสอบอุปกรณ์ลดฝุ่น
จากเครื่ องตัดหญ้าแบบสะพาย นำไปทดลองใช้และปรับปรุงอุปกรณ์ให้
เหมาะสม 4) ประเมินปริมาณฝุ่นจากการตัดหินด้วยเครื่ องตัดหญ้าแบบ
สะพายขณะติดตั้งอุปกรณ์ลดฝุ่น 5) ประเมินประสิทธิภาพการลดฝุ่นของ
อุปกรณ์ลดฝุ่นจากเครื่องตัดหญ้าแบบสะพาย และประเมินความพึงพอใจ
ของผู้ใช้อุปกรณ์ลดฝุ่นหิน
กลยุทธ์ที่ 2. การพัฒนาบ้านปลอดโรค ปลอดภัย ห่างไกลซิลิโคสีส
ประกอบด้วยกิจกรรม 1) การคัดเลือกบ้านผู้ประกอบอาชีพทำหินทราย 2)
การประเมินก่อนการพัฒนาปรับปรุงบ้าน 3) การปรับปรุงบ้านตามเกณฑ์
การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้าน 4) การประเมินหลังการ
พัฒนาปรับปรุงบ้าน ตามเกณฑ์การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่
บ้าน

6.3 ระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาบริการ
(อธิบายวิธีการที่ใช้ในการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการตามกลยุทธ์)
(ความยาวไม่เกิน 700 คำ)

การตรวจสอบและประเมินผลความสำเร็จการพัฒนาอุปกรณ์ลดฝุ่น
หิน โดยการวัดประสิทธิภาพการลดฝุ่น ด้วยเครื่ องเก็บตัวอย่างฝุ่นชนิด
ติดตัวบุคคล ซึ่งกำหนดเกณฑ์คือ อุปกรณ์ลดฝุ่นจากเครื่ องตัดหินแบบ
สะพายมีประสิทธิภาพการลดฝุ่นหินไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
การตรวจสอบและประเมินผลความสำเร็จการพัฒนาบ้านปลอดโรค
ปลอดภัยห่างไกลซิลิโคสีส โดยการประเมินเมินผลการพัฒนาบ้านที่พัก
อาศัยของผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหิน ซึ่งผ่านเกณฑ์การปรับปรุงสภาพ
แวดล้อมการทำงานที่บ้านร้อยละ 80 หน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่มีการร่วม
ติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

7. ปั ญหา อุปสรรค รวมถึงวิธีการบริหารจัดการ


(ระบุปั ญหา อุปสรรคหลักที่พบระหว่างการดำเนินการและวิธีการจัดการกับปั ญหา) (ความ
ยาวไม่เกิน 700 คำ)
(1) จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่น
หินทราย พบว่ามีอุปสรรคจากการนำอุปกรณ์ไปใช้ ดังนี้ การตัดหินด้วย
เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายค่อนข้างหนักและความเหนื่อยจากการทำงาน
และการทำงานในแหล่งตัดหินกลางแจ้งอาจทำให้อุปกรณ์บางส่วนชำรุด
หรือไม่สามารถใช้งานได้ ในบางครั้งน้ำที่ใช้ในการลดฝุ่นไม่เพียงพอ โดยมี
การปรับปรุงอุปกรณ์บางส่วนให้ง่ายต่อการแก้ไขปรับแต่ง และอุปกรณ์
บรรจุน้ำที่พอดีและเหมาะสมกับการใช้งานจริง
(2) การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดย
สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ให้มีการติดตามผลการ
ดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยั่งยืน รวมทั้งการให้
ความรู้ในการดูแลป้ องกันตนเอง

8. ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินการพัฒนาบริการ
(อธิบาย ผลลัพธ์ ผลสำเร็จ/ผลกระทบเชิงบวก และวิธีการวัดผลทั้งในเชิงปริมาณและ
คุณภาพ และใครคือผู้ได้รับประโยชน์) (ความยาวไม่เกิน 1,400 คำ)

ประโยชน์ที่สำคัญคือ ผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินทราย สามารถ


นำอุปกรณ์ไปใช้ในการลดฝุ่นจากการตัดหิน และสามารถนำไปเป็ นต้นแบบ
ในการประดิษฐ์อุปกรณ์ลดปริมาณฝุ่นและควบคุมการฟุ้งกระจายของฝุ่นได้
เอง รวมทั้งสามารถปรับปรุงสภาพที่ทำงานและที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้ องกันควบคุมโรคซิลิโคสีสในพื้นที่เสี่ยง
การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้อุปกรณ์ลดฝุ่นหิน โดยใช้
แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินทราย พบว่า
มีความพึงพอใจกับวิธีการใช้ในระดับมากที่สุด (มากกว่าเท่ากับร้อยละ 90)
รองลงมาคือการลดฝุ่น มีความพึงพอใจในระดับมาก (มากกว่าเท่ากับร้อย
ละ 80) และสิ่งที่มีความพึงพอใจในระดับพอใช้คือ น้ำหนักของอุปกรณ์และ
ความทนทาน มีการนำเสนอผลงานนวัตกรรมอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน พบว่ามีผู้
ให้ความสนใจผลงานเป็ นจำนวนมาก
มีการประเมินความคุ้มค่าของนวัตกรรมอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน เมื่อทำการ
ประเมินความคุ้มค่าเปรียบเทียบกับราคาต้นทุนการผลิตของอุปกรณ์ลดฝุ่น
หินที่มีจำหน่ายทั่วไป พบว่าผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินสามารถลดค่าใช้
จ่ายซื้ออุปกรณ์ลดฝุ่นได้ ซึ่งเดิมการซื้ออุปกรณ์ลดฝุ่นชุดละประมาณ
10,000 บาท แต่สำหรับนวัตกรรมอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน มีต้นทุนการผลิตเพียง
ชุด 2,000 บาท มีน้ำหนักเบากว่าอุปกรณ์ลดฝุ่นอื่น ไม่ต้องใช้ไฟฟ้ าในการ
ใช้งาน มีประสิทธิภาพการลดฝุ่นได้เป็ นอย่างดี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50)
และบ้านที่อยู่อาศัยของผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหิน ผ่านเกณฑ์การ
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้าน (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
ปั จจุบัน สคร.5 นครราชสีมา สามารถนำนวัตกรรมอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน
และการพัฒนาบ้านปลอดโรคปลอดภัยห่างไกลซิลิโคสีส ไปใช้เป็ นแนวทาง
ในการดำเนินงานป้ องกันควบคุมโรคซิลิโคสีสที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ รวม
ทั้งผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินและหน่วยงานเครือข่ายนำไปใช้เป็ นต้น
แบบอุปกรณ์ในการลดฝุ่นได้เป็ นอย่างดี ซึ่งส่งผลต่อการป้ องกันโรคซิลิโคสีส
และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการป่ วยในระยะยาวได้

9. การสร้างความยั่งยืนและการขยายผลไปยังหน่วยงานอื่นๆ
(อธิบายถึงวิธีการที่ทำให้เกิดความยั่งยืนในแง่ต่าง ๆ เช่น การเงิน เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สถาบันและกฎระเบียบ เป็ นต้น และอธิบายว่าหากการพัฒนาการ
บริการหรือ ความคิดริเริ่มนี้ถูกจำลองแบบหรือเผยแพร่สู่การบริการสาธารณะในระดับชาติ
และ/หรือ นานาชาติ จะสามารถนำไปขยายผลได้อย่างไร) (ความยาวไม่เกิน 700 คำ)

(1) ต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน มีการขอรับการจดสิทธิบัตรการ


ประดิษฐ์จากกรมทรัพย์สินทางปั ญญา
(2) การขยายผลเครือข่ายระดับพื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 9 (จังหวัด
นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) และระดับประเทศ กำลังอยู่ระหว่าง
ดำเนินการของบประมาณ เพื่อขยายอีก 12 แห่งทุกสำนักงานป้ องกัน
ควบคุมโรค เพื่อนำไปขยายในพื้นที่ที่มีผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหิน ซึ่งมี
ทีมร่วมดำเนินการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา
(3) การขยายผลไปยังหน่วยงานเครือข่ายอื่นๆ ได้แก่ หน่วยงานใน
ระดับจังหวัด หน่วยงานในระดับกรมควบคุมโรค เพื่อร่วมกันแก้ไขปั ญหา
โรคซิลิโคสิสหรือโรคปอดฝุ่นหิน และสร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน
ป้ องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
(4) ต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน และแนวทางการปรับปรุงสภาพ
แวดล้อมการทำงานที่บ้าน สามารถนำไปใช้ในการป้ องกันฝุ่นที่เกิดจากการ
ทำงานด้านอื่นๆ ซึ่งอาจเป็ นสาเหตุของการเกิดโรค และใช้ในการลดฝุ่นของ
หน่วยงานอื่น ในขณะนี้มีหน่วยงานต่างๆ ได้นำต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่นหิน
ไปประยุกต์ใช้ในการลดฝุ่น เนื่องจากใช้วัสดุที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง น้ำ
หนักเบา และนำไปติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้

10. บทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินการพัฒนาบริการ คืออะไร


(อธิบายถึงองค์ประกอบหลักที่ทำให้ประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดำเนิน
การพัฒนาบริการ และข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินการต่อไปในอนาคต) (ความยาวไม่เกิน
700 คำ)

สิ่งสำคัญที่สุดที่ได้รับคือ การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้ประกอบ
อาชีพและบุคคลในครอบครัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคซิลิโคสิสหรือโรคปอดฝุ่น
หิน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการประกอบอาชีพที่สัมผัสฝุ่นหินซึ่งเป็ นแรงงาน
ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากที่สุด ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่
ในพื้นที่ที่สละเวลาในการร่วมเรียนรู้และร่วมดำเนินการ ช่วยให้ผู้ประกอบ
อาชีพและบุคคลในครอบครัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคซิลิโคสิสหรือโรคปอดฝุ่น
หิน ซึ่งเป็ นโรคที่มีอันตรายอย่างยิ่งคือเป็ นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด
ได้ ได้รับการดูแลป้ องกันก่อนการเกิดโรค ทั้งการป้ องกันทางสุขภาพและ
การป้ องกันทางสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะไม่สามารถวัดผลในการลดโรคได้ใน
ภาพรวมด้วยระยะเวลาอันสั้นนี้ แต่นวัตกรรมบริการต้นแบบอุปกรณ์ลดฝุ่น
หินนี้ สามารถนำมาเป็ นเครื่องมือเพื่อช่วยป้ องกันสุขภาพของประชาชน
ก่อนการเกิดโรค แม้ช่วยลดการเจ็บป่ วยหรือการเสียชีวิตด้วยโรคซิลิโคสิสห
รือโรคปอดฝุ่นหินเพียง 1 ราย ก็คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้พัฒนานวัตกรรมการ
บริการที่ดำเนินการ เพื่อปกป้ องประชาชนจากโรคและภัยสุขภาพ

You might also like